การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ
สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ
วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี
วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย
มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย
และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง
การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย
และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย
แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ
จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้
อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml
#ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ
วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี
วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย
มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย
และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง
การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย
และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย
แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ
จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้
อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml
#ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
การหย่าร้างในสมัยจีนโบราณ
สวัสดีค่ะ ในเรื่อง <ทำนองรักกังวานแดนดิน> พูดถึงการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) บ่อยครั้ง ชวนให้ Storyฯ คิดถึงนิยายและซีรีส์ไม่น้อยที่กล่าวถึงการเลิกรากันด้วยวิธีต่างๆ
วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการหย่าร้างหรือเลิกราของสามีภรรยาในจีนโบราณว่ามีกี่วิธี
วิธีแรกคือบุรุษเป็นฝ่ายทิ้งสตรี หรือที่เรียกว่า ‘ซิว’ (休) หรือ ‘ชู’ (出) หรือ ‘ชวี่’ (去) โดยมีหลักการว่า ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ (七出,三不去) ซึ่งเป็นหลักการที่เริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) และพัฒนาขึ้นมาเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ผ่านหลายยุคหลายสมัย
มีบทความภาษาไทยหลายบทความที่กล่าวถึงหลักการ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ นี้โดยละเอียด เพื่อนเพจสามารถหาอ่านดูได้ Storyฯ ขอพูดแบบสรุปว่า หากภรรยาเข้าข่ายประการใดประการหนึ่งในเจ็ดประการนี้สามีและ/หรือพ่อแม่สามีสามารถขับภรรยาได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายหญิง ขอเพียงสองฝ่ายรับทราบและมีพยานลงนามรับรู้ถือว่าจบ แต่หากฝ่ายชายทิ้งเมียโดยไม่เข้าข่ายเจ็ดข้อนี้ ก็จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย อย่างในสมัยถังคือให้ไปเป็นแรงงานหนักหนึ่งปีครึ่ง และเจ็ดประการนี้คือ (1) ไม่เชื่อฟังพ่อแม่สามี (2) ไม่มีบุตรชาย (3) คบชู้สู่ชาย (4) หึงหวงสามี (5) มีโรคร้ายหรือพิการ (6) ปากไม่ดี และ (7) ลักขโมย
และแม้ว่าภรรยาจะเข้าข่ายเจ็ดประการนี้ แต่หากมีความจำเป็นหนึ่งในสามลักษณะนี้ กฎหมายก็ห้ามไม่ให้บุรุษทิ้งเมีย กล่าวคือ (ก) ภรรยาเมื่อถูกทิ้งและขับออกจากเรือนของสามีแล้วจะไม่มีที่ไป เช่น ตอนแต่งงานพ่อแม่ของสตรียังมีชีวิตอยู่แต่ตอนนี้เสียไปแล้ว (ข) ได้เคยร่วมไว้ทุกข์ให้พ่อแม่สามีนานสามปีแล้ว ถือว่ามีความกตัญญูอย่างยิ่งยวดจนไม่อาจขับไล่ และ (ค) สามีแต่งภรรยามาตอนยากจน พอรวยแล้วจะทิ้งเมีย ทำไม่ได้ หากใครฝ่าฝืนก็มีบทลงโทษทางกฎหมายเช่นกัน อย่างในสมัยถังคือโบยหนึ่งร้อยครั้ง
การเลิกราแบบที่สองคือ ‘อี้เจวี๋ย’ (义绝 /ตัดสัมพันธ์) หรือการบังคับหย่าโดยอำนาจศาลหรือที่ว่าการท้องถิ่น ปรากฏครั้งแรกในประมวลกฎหมายถัง ซึ่งถูกประกาศใช้ในยุคถังเกาจง (ฮ่องเต้องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ถัง) เมื่อปีค.ศ. 653 เป็นกรณีที่ฝ่ายหญิงถูกสามีหรือคนในบ้านสามีกระทำรุนแรง เช่น ตบตีทำร้ายร่างกายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด บังคับให้ภรรยาไปหลับนอนกับชายอื่น เอาเมียไปขาย หรือมีการประทุษร้ายรุนแรงต่อครอบครัวจนไม่อาจอยู่ร่วมกันได้แล้ว เช่น ฆ่าพ่อแม่ของอีกฝ่าย เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรงลักษณะนี้ ไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงอาจฟ้องหย่าได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีกฎหมายนี้ แม้ว่าสตรีจะร้องทุกข์เพื่อขอหย่ายังมักถูกตัดสินให้รับโทษด้วยเพราะถูกมองว่าการร้องเรียนสามีหรือครอบครัวสามีเป็นการกระทำที่ไม่ถูกจรรยาของสตรี แต่เมื่อมีกฎหมายรองรับแล้ว การบังคับหย่าจึงเป็นเส้นทางสู่อิสรภาพของสตรีวิธีหนึ่ง และเป็นการตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูลอีกด้วย
และการเลิกราแบบสุดท้ายคือการหย่าร้างแบบสมัครใจทั้งสองฝ่ายหรือที่เรียกว่า ‘เหอหลี’ (和离) ซึ่งว่ากันว่ามีปฏิบัติกันมาตั้งแต่ก่อนยุคสมัยราชวงศ์ฉิน แต่... มันไม่ได้เป็นกฎหมายบังคับใช้จวบจนสมัยถัง โดยประมวลกฎหมายแห่งถังบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อสามีภรรยาไม่พอใจซึ่งกันและกันจนไม่สามารถอยู่ร่วมครองเรือนกันต่อไปได้แล้วนั้น ให้เลิกรากันได้โดยไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย
แม้ว่าบทกฎหมายดังกล่าวจะถูกใช้ต่อมาอีกหลายยุคสมัย แต่ไม่มีการอธิบายหลักการนี้เพิ่มเติม และในปัจจุบันยังมีบทความวิเคราะห์ที่ให้ความคิดเห็นแตกต่างกันไปเกี่ยวกับเลิกโดยสมัครใจนี้ในบริบทของสังคมจีนโบราณ ทั้งนี้ ในบริบทของสังคมจีนโบราณ การแต่งงานถูกมองว่าเป็นการเกี่ยวดองของสองตระกูลที่ได้รับการยินยอมจากพ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายและไม่ใช่เรื่องของคนสองคนเท่านั้น อย่างที่กล่าวในตอนต้น การเลิกหรือขับเมียยังสามารถทำได้โดยพ่อแม่ของฝ่ายชาย และการถูกบังคับหย่าโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐเป็นการกระทำที่ตัดสัมพันธ์ระหว่างสองตระกูล จึงเป็นที่กังขาว่า การเลิกราโดยสมัครใจเป็นการตัดสินใจร่วมของคนสองคนเท่านั้นจริงหรือ
จะเห็นได้ว่า นับแต่สมัยถังมามีบทกฎหมายที่คุ้มครองสตรีในการสมรสมากขึ้น แต่กระนั้น บุรุษก็ยังมีทางเลือกมากกว่าสตรี โดยอาจใช้ข้ออ้างของ ‘เจ็ดขับสามไม่ไป’ มาใช้เป็นเหตุผลในการทิ้งเมีย และหากบุรุษไม่ยินยอมเลิกรา สตรีก็หย่าขาดจากสามีไม่ได้ยกเว้นเกิดกรณีร้ายแรงพอที่จะฟ้องหย่าได้
อย่างไรก็ดี ในยุคสมัยต่อๆ มามีการเพิ่มเติมข้ออนุโลมให้สตรีใช้เป็นเหตุผลการหย่าร้างได้อีกแต่ไม่มาก ตัวอย่างเช่น ในสมัยหมิงมีการกำหนดไว้ว่า หากสามีหายตัวไปไม่กลับบ้านนานเกินสามปี ภรรยาสามารถยกเลิกพันธะสมรสได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายโดยมีเอกสารราชการยืนยัน
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.manmankan.com/dy2013/202401/20764.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.chinacourt.org/article/detail/2022/11/id/7011234.shtml
https://www.legal-theory.org/?mod=info&act=view&id=21560
http://www.legaldaily.com.cn/fxjy/content/2021-05/12/content_8503165.html
http://law.newdu.com/uploads/202401/31/201005130115.pdf
https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml
#ทำนองรักกังวานแดนดิน #การหย่าร้าง #เหอหลี #สาระจีน
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
148 มุมมอง
0 รีวิว