พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรี พ.ศ.2560 เป็นศิลปิน นักดนตรี นักแต่งเพลง คอมโพสเซอร์ และโปรดิวเซอร์ ที่เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศไทย ในฐานะศิลปิน เขาเคยมีผลงานร่วมกับวงดนตรีชื่อ “วงตาวัน” 5 ชุด ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2529-2538 (ค.ศ. 1986-1995) และมีผลงานในฐานะศิลปินเดี่ยว 4 ชุด คือ Shambala ในปี (2538), Ei (เปลี่ยนผ่าน) (2556/2558), ไตรรงค์ (2557), และอัลบั้ม Hymn (2558)
.
นับตั้่งแต่ช่วงยุค 2530s (90s) จนถึงปัจจุบัน เขาเป็นที่รู้จักมากกว่าในฐานะคอมโพสเซอร์และโปรดิวเซอร์ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของศิลปินชั้นนำในเมืองไทยหลายต่อหลายคน โดยได้สร้างสรรค์ผลงานเพลงให้กับศิลปินต่างๆ ไว้มากมายนับร้อยเพลง เช่น ยืนยง โอภากุล และวงคาราบาว, ธเนศ วรากุลนุเคราะห์, สุรสีห์ อิทธิกุล, อัสนี และ วสันต์ โชติกุล, นูโว, ไมโคร, คริสติน่า อากีล่าร์, ทาทา ยัง, มาช่า, ใหม่ เจริญปุระ, Y not 7, นัท มีเรีย, นิโคล เทริโอ, แอม เสาวลักษณ์, โบ สุนิตา, ธงชัย แมคอินไตย์, Double U, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, มิสเตอร์ทีม, ตุ้ย ธีรภัทร, ปาล์มมี่, ศุ บุญเลี้ยง ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีผลงานดนตรีด้านอื่นๆ อีกมากมายนอกเหนือไปจากงานอัลบั้มเพลง เช่น ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ดนตรีประกอบละคร ดนตรีประกอบสารคดี ดนตรีประกอบโฆษณา..
.
เขาเริ่มสร้างผลงานในฐานะนักแต่งเพลงและคอมโพสเซอร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เริ่มจากการประพันธ์ดนตรีประกอบละครเวทีเรื่อง "หัวเราะกับน้ำตา" (กำกับการแสดงโดย ภาสุรี ภาวิไล) จากนั้นเข้าทำงานเป็นคอมโพสเซอร์ โปรดิวเซอร์ และนักดนตรีบันทึกเสียง กับบริษัทบัตเตอร์ฟลาย ซาวนด์แอนด์ฟิล์ม เซอร์วิส จำกัด สร้างผลงานดนตรีให้กับตนเองและศิลปินหลายคน รวมทั้งผลงานเพลงโฆษณา เพลงประกอบละคร สารคดี และดนตรีประกอบภาพยนตร์
.
ในปี พ.ศ. 2535 เขาได้ย้ายไปทำงานที่บริษัท วอร์เนอร์ มิวสิก (ประเทศไทย) จำกัด ในตำแหน่ง Executive Producer ต่อมาได้ลาออก และย้ายมาทำงานกับคุณ เรวัต พุทธินันทน์ ที่บริษัทแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด) ในตำแหน่ง คอมโพสเซอร์และโปรดิวเซอร์ มีผลงานมากมายอยู่เบื้องหลังศิลปินชื่อดังจำนวนมาก จนกระทั่งเมื่อคุณเรวัต พุทธินันทน์ เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2539 จึงได้ลาออกมาทำงานอิสระ
.
ในปีพ.ศ. 2542 เขาเริ่มก่อตั้งสถาบันเจนเอ็กซ์อะคาเดมี่ ซึ่งเป็นสถาบันแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคคลากรวิชาชีพสายบันเทิง (ดนตรี สื่อสารมวลชน และมัลติมีเดีย) โดยทำหน้าที่เป็นหัวหน้าภาควิชาดนตรีและเทคโนโลยี เป็นคนกำกับและดูแลรวมทั้งเป็นผู้จัดทำหลักสูตรของภาควิชานี้หลายวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาประพันธ์เพลง วิชาออกแบบเสียง วิชาประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ ฯ ซึ่งเขาเป็นผู้สอนอย่างต่อเนื่องยาวนานมากว่า 12 ปี ก่อนหน้านั้นวิชาเหล่านี้มีการสอนในต่างประเทศมานานแล้ว แต่ในเมืองไทยไม่เคยมีการสอนมาก่อน เขาเป็นผู้บุกเบิกให้มีการสอนวิชาเหล่านี้ขึ้นจนกระทั่งมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ทำการบรรจุวิชาเหล่านี้เข้าในหลักสูตรในที่สุด นี่จึงเป็นเหตุทำให้เขาหันเหมาทางด้านวิชาการ
.
ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 เขาได้ย้ายมาเป็น Executive Producer ให้กับบริษัท บัตเตอร์ฟลาย เรคคอร์ด จำกัด ควบคู่ไปกับการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับดนตรีชาติพันธ์ุในเอเชีย ซึ่งได้ทำมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2547 โดยเขาได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการที่มีชื่อว่า “อุษาอัสลิ สายเลือดเดียวกันสายพันธ์ุนาฏดนตรี” (Usa Asli Genomusic Project) ซึ่งนำเสนอสมมุติฐานใหม่แก่ทางสาขาวิชาดนตรีชาติพันธ์ุวิทยาสองข้อ [1.ในเมื่อมนุษย์มีพันธุกรรมที่เชื่อมโยงเป็นครอบครัวเดียวกันทางสายเลือดแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่าดนตรีหรือศิลปะวัฒนธรรมอื่น เช่น นาฏศิลป์ จะมีพันธุกรรมเชื่อมโยงเช่นเดียวกันและสัมพันธ์กับการอพยพย้ายถิ่น, 2.หากสมมุติฐานข้อแรกเป็นไปได้ ดนตรีก็น่าจะจำแนกออกเป็นสาแหรกวงศ์ตระกูลได้เหมือนที่ภาษาแยกออกได้เป็นตระกูลต่างๆ] เขาได้ทำการเก็บข้อมูลและศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังเรื่อยมาและยังคงทำมาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีความตั้งใจว่าข้อมูลที่ได้รวบรวมมาทั้งหมดจะจัดสร้างเป็นฐานข้อมูลนาฏดนตรีเอเชียเพื่อให้คนอื่นๆ ได้ศึกษากันต่อไป
.
ในปีพ.ศ. 2549 เขาได้เป็นผู้ริเริ่มโครงการ H.M. Blues หรือ "ร้อง บรรเลง เพลงของพ่อ" โครงการเผยแผ่เพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นหลังรู้จักเพลงพระราชนิพนธ์ดีขึ้น เพื่อจะได้สืบสานรักษามรดกที่ได้ทรงพระราชทานให้แก่ชาวไทยสืบต่อไปในอนาคต โครงการประกอบด้วยอัลบั้มเพลง ภาพยนตร์สารคดี และคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติ
.
ต่อมาในปีพ.ศ. 2555 เขาได้เป็นผู้ริเริ่มและเป็นหัวหน้าโครงการศิลปะเทิดพระเกียรติครั้งประวัติศาสตร์ "นิทานแผ่นดิน" ที่มีขึ้นเนื่องในวโรกาสครบรอบ 84 พระชนม์พรรษาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร โครงการนำเสนอด้วยบทเพลงชื่อ นิทานแผ่นดิน ที่เล่าความเป็นมาของคำว่า ราชา-พระเจ้าแผ่นดิน รวมทั้งเป็นการทำงานร่วมกันของศิลปินดนตรีมากมายหลายท่านจากทั้งสี่ภาค และศิลปินทัศนศิลป์ระดับชาติอีก 9 ท่าน ที่มาร่วมกันทำ Land Art หรือนิเวศศิลป์ขนาดใหญ่ขึ้น 9 แห่งทั่วประเทศ ทั้งหมดถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์สารคดียาว 10 ตอน ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
.
ในปีพ.ศ. 2557 เขารับหน้าที่เป็นมิวสิคไดเร็คเตอร์และคอมโพสเซอร์ ประพันธ์ดนตรีให้กับการแสดงครั้งประวัติศาสตร์อีกครั้งของเมืองไทย เป็นการแสดงมิวสิคอลเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่อง “พระมหาชนก เดอะฟีโนมินอนไลฟ์โชว์” (Mahajanaka The Phenomenon Live Show) ซึ่งจัดแสดงบนเวทีขนาดมหึมาที่สร้างขึ้นกลางทะเลสาปของสวนเบญจกิตติ
.
ในปีพ.ศ. 2558 ในคอนเสิร์ท “The Symphonic of Wongtawan Concert” เขาได้ทำการแสดงดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานดนตรีโปรเกรสซีฟร๊อคเข้ากับดนตรีซิมโฟนี่ออร์เคสตร้า ซึ่งเป็นการกลับมารวมตัวกันแสดงอีกครั้งของวงตาวัน เพื่อฉลองครบรอบ 30 ปีของวง ร่วมกับวงออร์เคสตร้า 60 ชิ้นที่ใช้ชื่อว่า มหานครฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตร้า นับเป็นปรากฏการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งในวงการดนตรี
.
เขาปิดท้ายปี 2558 ด้วยการแสดงชุด “มหากาพย์นิทานแผ่นดิน” ในงาน “Thailand Countdown 2016” ซึ่งจัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การแสดงครั้งนี้ได้นำเสนอวงดนตรีวงใหม่ของเขาที่ชื่อ อุษาอัสลิ ประกอบด้วยนักดนตรีจากไทยและนักดนตรีจากอาเซี่ยนอีก 7 ประเทศร่วมด้วยวงมหานครฟิลฮาร์โมนิคออร์เคสตร้า ทำการแสดงบนเวทีที่สร้างบนเรือขนาดยักษ์ลอยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีพระปรางค์วัดอรุณเป็นฉากหลัง ถ่ายทอดสดเผยแพร่ไปทั่วโลก บทเพลงบอกเล่าเรื่องราวของความเป็นไทยและชนชาติพี่น้องในสุวรรณภูมิ เริ่มตั้งแต่ปรัมปราคติไทของการสร้างโลกและสวรรค์จากคัมภีร์อาหมบุราณจี มาจนสิ้นสุดที่ยุคปัจจุบัน เป็นการแสดงดนตรีที่ผสานดนตรีหลากหลายชาติพันธ์ุอันก้าวไกลและกว้างขวางกว่าที่เคยทำกันมาก่อน
.
ในปีพ.ศ. 2560 ท่ามกลางความโศกเศร้าของชาวไทยทั้งประเทศจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร์ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชฯ เขาได้ประพันธ์บทเพลงประเภทที่เรียกว่า Requiem ซึ่งเป็นธรรมเนียมแสดงความอาลัยแด่ผู้วายชนม์อันเป็นที่รักยิ่ง บทเพลงชื่อ “พระผู้มาโปรด” ความยาวสิบเอ็ดนาที มีศิลปินร้อยกว่าคนมาร่วมร้องบรรเลงถวายความอาลัยและศิลปินทัศนศิลป์อีกสามสิบกว่าท่านร่วมเขียนภาพประกอบ เพื่อไว้อาลัยและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาธรรมราชาภูมิพลมหาราชฯ
.
พ.ศ.2561 ในห้วงเวลาแห่งการผลัดแผ่นดินสู่รัชกาลใหม่ เขาได้รับมอบหมายจากกองทัพบกให้ประพันธ์เพลงถวายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จำนวนสองเพลง เพลงแรกชื่อ สยามินทร์ราชามหาวชิราลงกรณ ขับร้องโดย กิตตินันท์ ชินสำราญ และคณะขับร้องประสานเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพลงที่สองชื่อ ดุจดังสายฟ้า ขับร้องโดย อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้แสลม) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เผยแพร่สู่สาธารณะ
.
ในปีพ.ศ. 2566 เขาได้จัดทำโครงการ “คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี” สิบบทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ร่วมกับศิลปินจิตอาสาหลายท่าน โดยเผยแพร่ผ่านสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และช่องทางออนไลน์ รวมถึงได้จัดทำอัลบั้มขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่สาธารณะชนเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ท่านฯ
.
ผลงานดนตรีที่เพิ่งผ่านไปในช่วงหลังๆ มาจนกระทั่งปี 2567 มีงานโดดเด่นหลายชิ้น เช่น บทเพลงให้กำลังใจบุคคลากรการแพทย์ในช่วงการระบาดโควิด 19 ชื่อเพลง “ไม่มีภูเขาสูงเกินปีนป่าย” ซึ่งบรรเลงและขับร้องโดยคณะแพทย์และพยาบาล, เพลงแคมเปญชุด “สยามเมืองยิ้ม” เพลงรณรงค์ให้รักและภักดีต่อบ้านเกิดเมืองนอน, เพลงแคมเปญรณรงค์ต่อต้านความรุนแรงชื่อเพลง “ปล่อยผ่าน” ร่วมกับโรงพยาบาลตำรวจและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, เพลงประกอบรายการโทรทัศน์ The Camp รายการที่มุ่งพัฒนาเด็กให้เป็นกำลังสำคัญของชาติ, เพลง “เพื่อน” ประกอบสารคดีเรื่องถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน, งานดนตรีประกอบสารคดีชุดชีพจรไพร (Mind Traveller) ของ ม.ล.ปริญญากร วรวรรณ, เพลงนำและดนตรีประกอบรายการโทรทัศน์ “Thailand Long Stay” รายการเกี่ยวกับชาวต่างชาติที่รักเมืองไทยและเลือกประเทศไทยเป็นบ้านของพวกเขา และเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวครบหกรอบ 72 พรรษาในปี 2567 กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดการแสดงมหรสพสมโภช เทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สิบ รวมทั้งบุรพกษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่หนึ่งจนถึงรัชกาลที่เก้า ได้มอบหมายให้เขาในฐานะศิลปินศิลปาธร เรียบเรียงดนตรีใหม่ให้บทพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่เจ็ดชื่อเพลง ราตรีประดับดาว และเรียบเรียงดนตรีเพลง สยามินทร์ราชามหาวชิราลงกรณ ใหม่ให้มีความยาวกว่าเดิมและบรรเลงด้วยออร์เคสตร้าวงใหญ่ขึ้นสำหรับมหรสพสมโภชในครั้งนี้
.
ปัจจุบันเขาเป็น Executive Producer และ Composer อยู่ที่บริษัท ฮัมมิ่งเฮ้าส์ จำกัด เป็นอาจารย์พิเศษวิชา Sound For Motion Picture ให้กับคณะวิศวกรรมดนตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และรับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษในเรื่อง การประพันธ์เพลง การใช้คอมพิวเตอร์ในงานดนตรี ดนตรีประกอบภาพยนตร์ และการออกแบบเสียงให้กับสถาบันต่างๆ ทั้งยังเปิดโรงเรียนสอนออนไลน์ชื่อ ProTrains (www.protrains.com)
.
ในส่วนของงานวิชาการ เขากำลังเขียนหนังสือวิชาการอยู่สองเล่ม คือ “Songwriting” และ “Music and Sound Design for Motion Picture” และยังคงทำการค้นคว้าในส่วนของโครงการอุษาอัสลิ สายเลือดเดียวกัน สายพันธุ์นาฏดนตรี ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติมด้วยงานค้นคว้าเกี่ยวกับ “Music and Sonic Therapy” และกำลังริเริ่มขึ้นต้นโครงการใหม่ เป็นสารคดีสำรวจศิลปวัฒนธรรมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อ “Siamese Project” (โครงการชาวสยาม)
.
ลิงก์โซเชียล
อัปเดตล่าสุด
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    เกี่ยวกับโครงการบทเพลงเทิดพระเกียรติ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี
    ========================================
    .
    โครงการบทเพลงเทิดพระเกียรติ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี เกิดขึ้นจากการริเริ่มของสมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมป์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับศิลปินกลุ่มนักประพันธ์เพลงจิตอาสา และคณะบุคคลผู้มีความจงรักภักดี นำโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรีปี พ.ศ.2560 ได้ร่วมกันสร้างสรรค์และจัดทำอัลบั้มบทเพลงเทิดพระเกียรติถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงขึ้น โดยมีจุดประสงค์นอกจากเพื่อเทิดพระเกียรติแล้ว ยังเป็นการนำเสนอบทเพลงที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันซาบซึ้งประทับใจและเป็นที่จดจำของปวงชนชาวไทยเกี่ยวกับพระองค์ท่านจำนวนทั้งสิ้น ๑๐ บทเพลง ในการนี้ พงศ์พรหม หัวหน้าโครงการที่ดูแลในส่วนของการสร้างสรรค์บทเพลงได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของงานว่า...
    .
    "ผมจะมีความคุ้นเคยกับศิลปินนักร้องกลุ่มหนึ่งที่ถวายงานการแสดงให้สมเด็จพระพันปีฯ มานานนับสิบปี อาทิเช่น คุณอิสริยา คูประเสริฐ คุณกันยารัตน์ กุยสุวรรณ พันเอกนายแพทย์วิภู กำเหนิดดี คุณอภิภู โสรพิมาย.. เรามักสนทนากันบ่อยๆ ว่าสมเด็จพระพันปีท่านไม่มีเพลงของพระองค์ท่านให้นึกถึงได้เลย เราก็ช่วยกันคิดว่ามีเพลงอะไรบ้างนะที่เราพอจะคุ้นเคย ก็นึกไม่ออก เราก็เลยเอ่ยปากตั้งใจกันไว้ว่าสักวันเมื่อมีโอกาสอำนวยเรามาช่วยกันทำเพลงถวายพระองค์ท่านสักชุดหนึ่งดีไหม ทุกคนก็เห็นว่าดี ก็ลั่นวาจากันไว้อย่างนั้น จนกระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว พ.ศ. 2565 เป็นปีที่สมเด็จพระพันปีหลวงฯ ท่านจะมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ผมก็คิดว่านี่แหละที่เป็นโอกาสที่ดี ก็เลยนัดมาเจอกันแล้วเริ่มงานกันตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2565 โดยตั้งใจว่าต้องทำให้เสร็จสองเพลงก่อน ให้ทันวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ก็มีเพลงแรกชื่อ "เพลงไหมแพรวา" คุณดลชัย บุณยะรัตเวช ขับร้อง อีกเพลงชื่อ "สุดหัวใจ" คุณกันยารัตน์ กุยสุวรรณ ขับร้อง ก็ทำกันเสร็จทันออกมาให้ได้ฟังกันในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาปีที่แล้ว จากนั้นเราก็แต่งเพลงเพิ่ม มีนักร้องมาร่วมอีกหลายคน อาทิ คุณสุนทรี เวชานนท์ คุณปาน ธนพร แวกประยูร ม.ล.วันรัชดา วรวุฒิ กลุ่มนักร้องเยาวชนจากว๊อยซ์อคาเดมีหกคน.. ได้ทำการบันทึกเสียงมาเรื่อยๆ จนเสร็จสิ้นครบทั้ง 10 เพลงเมื่อเดือนมกราคม 2566 ต้นปีนี้เอง โดยที่ศิลปินทุกคนไม่ว่าจะขับร้องหรือเล่นดนตรี รวมทั้งนักแต่งเพลงที่มาช่วยกันทำงานทุกคน ต่างมาร่วมกันทำงานนี้ถวายด้วยจิตอาสา ไม่มีใครคิดค่าทำงานใดๆ ทั้งสิ้น"...
    .
    "แต่แน่นอนว่าการทำงานโครงการขนาดนี้ย่อมมีค่าใช้จ่าย ในขั้นแรกก็มีเพื่อนๆ ที่มีความจงรักภักดีสองสามท่านช่วยกันสนับสนุนให้งานเริ่มดำเนินไปได้ ต่อมาเนื่องจากผมเป็นนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ผมนำโครงการไปปรึกษากับเพื่อนนักเรียนเก่าราชวิทย์ด้วยกัน คือ พ.ต.อ.ศุภชัชจ์ เปี่ยมมนัส ก็เลยได้สมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาสนับสนุนงบประมาณในขั้นตอนการบันทึกเสียง ประสานงานหาผู้สนับสนุนในส่วนของห้องบันทึกเสียง การผลิตมิวสิควิดิโอ การผลิตแพคเกจ จนกระทั่งกระบวนการสร้างสรรค์ทั้งหมดสำเร็จเสร็จสิ้น"...
    .
    "เมื่อผลงานทั้งหมดบันทึกเสียงเสร็จ ผมได้นำโครงการไปเรียนปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่อีกสองท่านว่าจะทำการเผยแพร่โครงการออกไปอย่างไรบ้าง ท่านแรกคือคุณสมยศ เกียรติอร่ามกุล ผู้บริหารท่านหนึ่งของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และอีกท่านคือ คุณประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมโดยทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจะทำการผลิตสารคดีเพลงจำนวนหกเรื่อง และละครเทิดพระเกียรติอีกสามเรื่อง โดยทางกระทรวงวัฒนธรรมจะรับผิดชอบในการดูแลและเผยแพร่คอนเท้นท์ ประชาสัมพันธ์ทางภาครัฐและสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันเฉลิมฉลองและถวายพระพรในช่วงวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 12 สิงหาคม 2566 ที่กำลังจะมาถึงนี้"
    .
    โครงการอัลบั้มบทเพลงเทิดพระเกียรตินี้ จะทำการผลิตออกมาในรูปของแพคเกจที่ประณีตสวยงามสมพระเกียรติ กล่องบรรจุใช้กระดาษรีไซเคิลของไทยและหมึกถั่วเหลืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในแพคเกจประกอบไปด้วยภาพวาดปกพระฉายาสาทิสลักษณ์โดยศิลปินทัศนศิลป์ นิติกร กรัยวิเชียร โปสการ์ดภาพวาดพระฉายาสาทิสลักษณ์ โดยศิลปินทัศนศิลป์ สุวิทย์ ใจป้อม จำนวน 10 ภาพ ภาพประกอบด้านในโดยศิลปิน ปันนรัตน์ บวรภัคพาณิช และเครดิตการ์ดยูเอสบีขนาดความจุ 16 กิกาไบ๊ต์ ท่ีบรรจุไฟล์เพลงรายละเอียดสูงทั้งสิบเพลง ทั้งแบบเพลงเต็มและแบ๊คกิ้งแทร็ค ไฟล์มิวสิควิดิโอขนาดฟูลเอชดีทั้งสิบเพลง และข้อมูลของบทเพลงในอัลบั้ม
    .
    แพคเกจอัลบั้มนี้จะไม่มีวางจำหน่าย แต่จะเผยแพร่ผ่านทางกิจกรรมที่ไม่แสวงผลกำไรทางการค้าเท่านั้น ผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถดาวน์โหลดไฟล์บทเพลงได้ฟรีผ่านทางเฟซบุ๊คเพจของโครงการ https://www.facebook.com/songsforqueensirikit/
    (หรือตามลิ๊งค์ที่อยู่ล่างสุดในโพสนี้)
    รักพระพันปี กรุณาช่วยกันกดไล๊ค์ กดแชร์ ร่วมกันเผยแพร่
    .
    .
    ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของโครงการที่ให้ความอนุเคราะห์จนโครงการ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปีนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ได้แก่..
    - สมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    - สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
    - กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
    - บริษัท ธนัทเฮิร์บ พาณิชย์ จำกัด
    - บริษัท IFCG จำกัด (มหาชน)
    - บริษัท พีที พลัส จำกัด
    - บริษัท ลอรีส จำกัด (ออด๊าซ)
    - บริษัท ไทย ทีเอเอ็น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด
    .
    ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบทเพลงทั้งสิบเพลง
    ในอัลบั้มชุดนี้บทเพลงที่ประพันธขึ้นประกอบด้วยบทเพลงทั้งสิ้น ๑๐ เพลง ดังนี้
    .
    ๑. บทเพลงชื่อ "เพลงไหมแพรวา" ขับร้องโดย ดลชัย บุณยะรัตเวช ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ภาณุ เทศะศิริ เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าไหมแพรวาที่สมเด็จพระพันปีทรงอุปถัมภ์จนกลายเป็นราชินีผ้าไหมไทยที่เลื่องลือทั่วโลก
    .
    ๒. บทเพลงชื่อ "สุดหัวใจ" ขับร้องโดย กันยารัตน์ กุยสุวรรณ ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ศรีจิตรา นานานุกูล เรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล - เป็นการถ่ายทอดความรักความผูกพันที่พสกนิกรชาวไทยมีต่อสมเด็จพระพันปีผ่านมุมมองข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่
    .
    ๓. บทเพลงชื่อ "ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ" ขับร้องโดย ดลชัย บุณยะรัตเวช ประพันธ์ทำนอง-คำร้องและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเรื่องของชาวนาและเกษตรแผนใหม่ตามแนวพระราชดำริและการรักษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาประเพณีท้องถิ่น
    .
    ๔. บทเพลงชื่อ "โพธิ์ทองของปวงไทย" ขับร้องโดย ด.ญ. มนภทริตา ทองเกิด, ด.ญ. จิรัชญา ศรีนุช, ด.ญ. ธนัชญา ศรีนุช, ด.ญ. ศิตภัทร ตันติเวสส, ด.ญ. นภัสร์นันท์ วงศ์วิวัฒน์, ด.ญ. ปวริศา เติมจิตรอารีย์ ประพันธ์คำร้องโดย ชโลธร ควรหาเวช ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นการบรรยายพระมหากรุณาธิคุณและพระกรณีกิจมากมายที่พระพันปีทรงทุ่มเท ผ่านมุมมองเยาวชน
    .
    ๕. บทเพลงชื่อ "พ่อเป็นน้ำ แม่เป็นป่า" ขับร้องโดย หม่อมหลวงวันรัชดา วรวุฒิ และตัวแทนชาวไทยภูเขาหกเผ่า ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย โอฬาร เนตรหาญ เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามแนวพระราชดำริและความผูกพันของชาวไทยภูเขากับพระพันปีหลวง
    .
    ๖. บทเพลงชื่อ "ภาพพันปี" ขับร้องโดย อิสริยา คูประเสริฐ ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ธนชัย ยงพิพัฒน์วงศ์ และ ชาตรี ทับละม่อม เรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล - เป็นเพลงพรรณาให้เห็นความรักและความทุ่มเทของพระพันปีที่มีต่อพสกนิกร ผ่านภาพถ่ายมากมายที่ประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยมานานแสนนาน
    .
    ๗. บทเพลงชื่อ "คนโขน" ขับร้องโดย อภิภู โสรพิมาย ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ศรีจิตรา นานานุกูล และ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ณ อยุธยา เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเพลงเกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระพันปีที่มีต่อนาฏศิลป์โขนไทย
    .
    ๘. บทเพลงชื่อ "กายเราคือเสาหลัก" ขับร้องโดย พันเอกนายแพทย์วิภู กำเนิดดี ประพันธ์ทำนอง-คำร้องและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเพลงเกี่ยวกับตำรวจตระเวนชายแดน ความรักที่พวกเขามีต่อชาติ ต่อสถาบัน และความห่วงใยเมตตาของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีที่มีต่อพวกเขา
    .
    ๙. บทเพลงชื่อ "ศิลปาชีพ" ขับร้องโดย สุนทรี เวชานนท์ ประพันธ์ทำนองโดย วีระ วัฒนะจันทรกุล ประพันธ์คำร้องโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เรียบเรียงดนตรีโดย วีระ วัฒนะจันทรกุล และ ปวรินทร์ พิเกณฑ์ - ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านศิลปาชีพ โดยถ่ายทอดด้วยภาษาพื้นถิ่นล้านนา
    .
    ๑๐. บทเพลงชื่อ "กางเขนแดง หัวใจขาว" ขับร้องโดย ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร) ประพันธ์คำร้องโดย ชาตรี ทับละม่อม ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล - เรื่องราวเกี่ยวกับแพทย์พยาบาลที่เสียสละตนเองเพื่อสืบสานปณิธานพระพันปีที่ทรงเป็นสภานายิกาสภากาชาดไทย
    .
    ============================================
    สามารถดาวน์โหลดเพลงทั้งหมดมาฟังฟรีได้ที่
    https://soundcloud.com/pongprom.../sets/rvjqypbout7k...
    (ดาวน์โหลดอยู่ที่เครื่องหมาย ••• บนแทร็ค)
    ============================================
    ต้องการนำบทเพลงไปขับร้องหรือทำกิจกรรม ดาวน์โหลด Backingtrack ที่นี่
    https://soundcloud.com/pongprom.../sets/backingtrack...
    (ดาวน์โหลดอยู่ที่เครื่องหมาย ••• บนแทร็ค)
    -------------------------------------------------------------
    เฟซบุ๊คเพจของโครงการ https://www.facebook.com/songsforqueensirikit/
    .
    สามารถ Streaming เพลงจากอัลบั้ม #คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี ที่...
    .
    Spotify
    https://open.spotify.com/album/3ctqdqlVfGywJ4vLIaE3GE
    .
    ============================================
    รักพระพันปี กรุณาช่วยกันกดไล๊ค์ กดแชร์ ร่วมกันเผยแพร่
    .
    ข่าวประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับโครงการบทเพลงเทิดพระเกียรติ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี ======================================== . โครงการบทเพลงเทิดพระเกียรติ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี เกิดขึ้นจากการริเริ่มของสมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมป์ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับศิลปินกลุ่มนักประพันธ์เพลงจิตอาสา และคณะบุคคลผู้มีความจงรักภักดี นำโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ศิลปินศิลปาธร สาขาดนตรีปี พ.ศ.2560 ได้ร่วมกันสร้างสรรค์และจัดทำอัลบั้มบทเพลงเทิดพระเกียรติถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงขึ้น โดยมีจุดประสงค์นอกจากเพื่อเทิดพระเกียรติแล้ว ยังเป็นการนำเสนอบทเพลงที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันซาบซึ้งประทับใจและเป็นที่จดจำของปวงชนชาวไทยเกี่ยวกับพระองค์ท่านจำนวนทั้งสิ้น ๑๐ บทเพลง ในการนี้ พงศ์พรหม หัวหน้าโครงการที่ดูแลในส่วนของการสร้างสรรค์บทเพลงได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของงานว่า... . "ผมจะมีความคุ้นเคยกับศิลปินนักร้องกลุ่มหนึ่งที่ถวายงานการแสดงให้สมเด็จพระพันปีฯ มานานนับสิบปี อาทิเช่น คุณอิสริยา คูประเสริฐ คุณกันยารัตน์ กุยสุวรรณ พันเอกนายแพทย์วิภู กำเหนิดดี คุณอภิภู โสรพิมาย.. เรามักสนทนากันบ่อยๆ ว่าสมเด็จพระพันปีท่านไม่มีเพลงของพระองค์ท่านให้นึกถึงได้เลย เราก็ช่วยกันคิดว่ามีเพลงอะไรบ้างนะที่เราพอจะคุ้นเคย ก็นึกไม่ออก เราก็เลยเอ่ยปากตั้งใจกันไว้ว่าสักวันเมื่อมีโอกาสอำนวยเรามาช่วยกันทำเพลงถวายพระองค์ท่านสักชุดหนึ่งดีไหม ทุกคนก็เห็นว่าดี ก็ลั่นวาจากันไว้อย่างนั้น จนกระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว พ.ศ. 2565 เป็นปีที่สมเด็จพระพันปีหลวงฯ ท่านจะมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา ผมก็คิดว่านี่แหละที่เป็นโอกาสที่ดี ก็เลยนัดมาเจอกันแล้วเริ่มงานกันตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2565 โดยตั้งใจว่าต้องทำให้เสร็จสองเพลงก่อน ให้ทันวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ก็มีเพลงแรกชื่อ "เพลงไหมแพรวา" คุณดลชัย บุณยะรัตเวช ขับร้อง อีกเพลงชื่อ "สุดหัวใจ" คุณกันยารัตน์ กุยสุวรรณ ขับร้อง ก็ทำกันเสร็จทันออกมาให้ได้ฟังกันในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาปีที่แล้ว จากนั้นเราก็แต่งเพลงเพิ่ม มีนักร้องมาร่วมอีกหลายคน อาทิ คุณสุนทรี เวชานนท์ คุณปาน ธนพร แวกประยูร ม.ล.วันรัชดา วรวุฒิ กลุ่มนักร้องเยาวชนจากว๊อยซ์อคาเดมีหกคน.. ได้ทำการบันทึกเสียงมาเรื่อยๆ จนเสร็จสิ้นครบทั้ง 10 เพลงเมื่อเดือนมกราคม 2566 ต้นปีนี้เอง โดยที่ศิลปินทุกคนไม่ว่าจะขับร้องหรือเล่นดนตรี รวมทั้งนักแต่งเพลงที่มาช่วยกันทำงานทุกคน ต่างมาร่วมกันทำงานนี้ถวายด้วยจิตอาสา ไม่มีใครคิดค่าทำงานใดๆ ทั้งสิ้น"... . "แต่แน่นอนว่าการทำงานโครงการขนาดนี้ย่อมมีค่าใช้จ่าย ในขั้นแรกก็มีเพื่อนๆ ที่มีความจงรักภักดีสองสามท่านช่วยกันสนับสนุนให้งานเริ่มดำเนินไปได้ ต่อมาเนื่องจากผมเป็นนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ผมนำโครงการไปปรึกษากับเพื่อนนักเรียนเก่าราชวิทย์ด้วยกัน คือ พ.ต.อ.ศุภชัชจ์ เปี่ยมมนัส ก็เลยได้สมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาสนับสนุนงบประมาณในขั้นตอนการบันทึกเสียง ประสานงานหาผู้สนับสนุนในส่วนของห้องบันทึกเสียง การผลิตมิวสิควิดิโอ การผลิตแพคเกจ จนกระทั่งกระบวนการสร้างสรรค์ทั้งหมดสำเร็จเสร็จสิ้น"... . "เมื่อผลงานทั้งหมดบันทึกเสียงเสร็จ ผมได้นำโครงการไปเรียนปรึกษาหารือกับผู้ใหญ่อีกสองท่านว่าจะทำการเผยแพร่โครงการออกไปอย่างไรบ้าง ท่านแรกคือคุณสมยศ เกียรติอร่ามกุล ผู้บริหารท่านหนึ่งของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และอีกท่านคือ คุณประสพ เรียงเงิน ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมโดยทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสจะทำการผลิตสารคดีเพลงจำนวนหกเรื่อง และละครเทิดพระเกียรติอีกสามเรื่อง โดยทางกระทรวงวัฒนธรรมจะรับผิดชอบในการดูแลและเผยแพร่คอนเท้นท์ ประชาสัมพันธ์ทางภาครัฐและสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันเฉลิมฉลองและถวายพระพรในช่วงวโรกาสวันเฉลิมพระชนม์พรรษา 12 สิงหาคม 2566 ที่กำลังจะมาถึงนี้" . โครงการอัลบั้มบทเพลงเทิดพระเกียรตินี้ จะทำการผลิตออกมาในรูปของแพคเกจที่ประณีตสวยงามสมพระเกียรติ กล่องบรรจุใช้กระดาษรีไซเคิลของไทยและหมึกถั่วเหลืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในแพคเกจประกอบไปด้วยภาพวาดปกพระฉายาสาทิสลักษณ์โดยศิลปินทัศนศิลป์ นิติกร กรัยวิเชียร โปสการ์ดภาพวาดพระฉายาสาทิสลักษณ์ โดยศิลปินทัศนศิลป์ สุวิทย์ ใจป้อม จำนวน 10 ภาพ ภาพประกอบด้านในโดยศิลปิน ปันนรัตน์ บวรภัคพาณิช และเครดิตการ์ดยูเอสบีขนาดความจุ 16 กิกาไบ๊ต์ ท่ีบรรจุไฟล์เพลงรายละเอียดสูงทั้งสิบเพลง ทั้งแบบเพลงเต็มและแบ๊คกิ้งแทร็ค ไฟล์มิวสิควิดิโอขนาดฟูลเอชดีทั้งสิบเพลง และข้อมูลของบทเพลงในอัลบั้ม . แพคเกจอัลบั้มนี้จะไม่มีวางจำหน่าย แต่จะเผยแพร่ผ่านทางกิจกรรมที่ไม่แสวงผลกำไรทางการค้าเท่านั้น ผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถดาวน์โหลดไฟล์บทเพลงได้ฟรีผ่านทางเฟซบุ๊คเพจของโครงการ https://www.facebook.com/songsforqueensirikit/ (หรือตามลิ๊งค์ที่อยู่ล่างสุดในโพสนี้) รักพระพันปี กรุณาช่วยกันกดไล๊ค์ กดแชร์ ร่วมกันเผยแพร่ . . ขอขอบคุณผู้สนับสนุนหลักของโครงการที่ให้ความอนุเคราะห์จนโครงการ คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปีนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ได้แก่.. - สมาคมนักเรียนเก่า ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ - สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส - กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม - บริษัท ธนัทเฮิร์บ พาณิชย์ จำกัด - บริษัท IFCG จำกัด (มหาชน) - บริษัท พีที พลัส จำกัด - บริษัท ลอรีส จำกัด (ออด๊าซ) - บริษัท ไทย ทีเอเอ็น อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด . ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบทเพลงทั้งสิบเพลง ในอัลบั้มชุดนี้บทเพลงที่ประพันธขึ้นประกอบด้วยบทเพลงทั้งสิ้น ๑๐ เพลง ดังนี้ . ๑. บทเพลงชื่อ "เพลงไหมแพรวา" ขับร้องโดย ดลชัย บุณยะรัตเวช ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ภาณุ เทศะศิริ เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าไหมแพรวาที่สมเด็จพระพันปีทรงอุปถัมภ์จนกลายเป็นราชินีผ้าไหมไทยที่เลื่องลือทั่วโลก . ๒. บทเพลงชื่อ "สุดหัวใจ" ขับร้องโดย กันยารัตน์ กุยสุวรรณ ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ศรีจิตรา นานานุกูล เรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล - เป็นการถ่ายทอดความรักความผูกพันที่พสกนิกรชาวไทยมีต่อสมเด็จพระพันปีผ่านมุมมองข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ . ๓. บทเพลงชื่อ "ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ" ขับร้องโดย ดลชัย บุณยะรัตเวช ประพันธ์ทำนอง-คำร้องและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเรื่องของชาวนาและเกษตรแผนใหม่ตามแนวพระราชดำริและการรักษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาประเพณีท้องถิ่น . ๔. บทเพลงชื่อ "โพธิ์ทองของปวงไทย" ขับร้องโดย ด.ญ. มนภทริตา ทองเกิด, ด.ญ. จิรัชญา ศรีนุช, ด.ญ. ธนัชญา ศรีนุช, ด.ญ. ศิตภัทร ตันติเวสส, ด.ญ. นภัสร์นันท์ วงศ์วิวัฒน์, ด.ญ. ปวริศา เติมจิตรอารีย์ ประพันธ์คำร้องโดย ชโลธร ควรหาเวช ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นการบรรยายพระมหากรุณาธิคุณและพระกรณีกิจมากมายที่พระพันปีทรงทุ่มเท ผ่านมุมมองเยาวชน . ๕. บทเพลงชื่อ "พ่อเป็นน้ำ แม่เป็นป่า" ขับร้องโดย หม่อมหลวงวันรัชดา วรวุฒิ และตัวแทนชาวไทยภูเขาหกเผ่า ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย โอฬาร เนตรหาญ เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามแนวพระราชดำริและความผูกพันของชาวไทยภูเขากับพระพันปีหลวง . ๖. บทเพลงชื่อ "ภาพพันปี" ขับร้องโดย อิสริยา คูประเสริฐ ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ธนชัย ยงพิพัฒน์วงศ์ และ ชาตรี ทับละม่อม เรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล - เป็นเพลงพรรณาให้เห็นความรักและความทุ่มเทของพระพันปีที่มีต่อพสกนิกร ผ่านภาพถ่ายมากมายที่ประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยมานานแสนนาน . ๗. บทเพลงชื่อ "คนโขน" ขับร้องโดย อภิภู โสรพิมาย ประพันธ์ทำนองและคำร้องโดย ศรีจิตรา นานานุกูล และ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ณ อยุธยา เรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเพลงเกี่ยวกับพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระพันปีที่มีต่อนาฏศิลป์โขนไทย . ๘. บทเพลงชื่อ "กายเราคือเสาหลัก" ขับร้องโดย พันเอกนายแพทย์วิภู กำเนิดดี ประพันธ์ทำนอง-คำร้องและเรียบเรียงดนตรีโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - เป็นเพลงเกี่ยวกับตำรวจตระเวนชายแดน ความรักที่พวกเขามีต่อชาติ ต่อสถาบัน และความห่วงใยเมตตาของพระเจ้าอยู่หัวและพระราชินีที่มีต่อพวกเขา . ๙. บทเพลงชื่อ "ศิลปาชีพ" ขับร้องโดย สุนทรี เวชานนท์ ประพันธ์ทำนองโดย วีระ วัฒนะจันทรกุล ประพันธ์คำร้องโดย พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เรียบเรียงดนตรีโดย วีระ วัฒนะจันทรกุล และ ปวรินทร์ พิเกณฑ์ - ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านศิลปาชีพ โดยถ่ายทอดด้วยภาษาพื้นถิ่นล้านนา . ๑๐. บทเพลงชื่อ "กางเขนแดง หัวใจขาว" ขับร้องโดย ธนพร แวกประยูร (ปาน ธนพร) ประพันธ์คำร้องโดย ชาตรี ทับละม่อม ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงดนตรีโดย รัฐกรณ์ โกมล - เรื่องราวเกี่ยวกับแพทย์พยาบาลที่เสียสละตนเองเพื่อสืบสานปณิธานพระพันปีที่ทรงเป็นสภานายิกาสภากาชาดไทย . ============================================ สามารถดาวน์โหลดเพลงทั้งหมดมาฟังฟรีได้ที่ https://soundcloud.com/pongprom.../sets/rvjqypbout7k... (ดาวน์โหลดอยู่ที่เครื่องหมาย ••• บนแทร็ค) ============================================ ต้องการนำบทเพลงไปขับร้องหรือทำกิจกรรม ดาวน์โหลด Backingtrack ที่นี่ https://soundcloud.com/pongprom.../sets/backingtrack... (ดาวน์โหลดอยู่ที่เครื่องหมาย ••• บนแทร็ค) ------------------------------------------------------------- เฟซบุ๊คเพจของโครงการ https://www.facebook.com/songsforqueensirikit/ . สามารถ Streaming เพลงจากอัลบั้ม #คีตามาลัยเทิดไท้พระพันปี ที่... . Spotify https://open.spotify.com/album/3ctqdqlVfGywJ4vLIaE3GE . ============================================ รักพระพันปี กรุณาช่วยกันกดไล๊ค์ กดแชร์ ร่วมกันเผยแพร่ .
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1286 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม