**คัมภีร์ชุนชิว**
สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน
คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย
ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ
ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่
แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร!
แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว)
จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ
ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ
ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889
https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html
https://www.chinasage.info/ancient-states.htm
http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html
https://www.sohu.com/a/445253069_120791762
https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723
http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html
https://baike.baidu.com/item/左传/371757
https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689
https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850
#จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน
คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย
ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ
ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่
แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร!
แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว)
จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ
ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ
ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889
https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html
https://www.chinasage.info/ancient-states.htm
http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html
https://www.sohu.com/a/445253069_120791762
https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723
http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html
https://baike.baidu.com/item/左传/371757
https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689
https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850
#จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
**คัมภีร์ชุนชิว**
สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งเพื่อนเพจที่ได้ดูคงจำได้ว่าพ่อของนางเอกเป็นคนชอบหนังสือมาก และหนึ่งในหนังสือที่ถูกคุณพ่อกล่าวถึงอย่างยกย่องคือคัมภีร์ชุนชิว เดือดร้อนถึงพระเอกต้องรีบให้ผู้ติดตามคนสนิทไปหาหนังสือดังกล่าวมาตั้งไว้ในบ้าน
คัมภีร์ชุนชิว (春秋) เป็นหนึ่งใน ‘สี่หนังสือห้าคัมภีร์’ (四书五经 /ซื่อซูอู่จิง บ้างก็แปลว่า ‘สี่ตำราห้าคัมภีร์’) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นหนังสือว่าด้วยคำสอนของลัทธิหรู (หรือเรียกง่ายๆ ว่าลัทธิขงจื๊อ) ที่ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่โบราณและเนื้อหาของมันยังถูกนำมาใช้ในการสอบราชบัณฑิตอีกด้วย
ถ้าจะให้อธิบายถึงสี่หนังสือห้าคัมภีร์ทั้งหมดมันจะยาวไป Storyฯ ขอพูดถึงแต่ในส่วนห้าคัมภีร์แล้วกันนะคะ
ห้าคัมภีร์ประกอบด้วย (1) ‘ซือจิง’ (诗经) ซึ่งเป็นการรวมเล่มบทกวีและเพลงโบราณ (2) ‘ซ่างซู’ (尚书) ซึ่งเป็นการรวบรวมเหตุการณ์ผ่านบทสนทนาของกษัตริย์และรัฐบุรุษในประวัติศาสตร์เพื่อสะท้อนปรัชญาการปกครอง (3) ‘หลี่จี้’ (礼记 ) ซึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับจารีตประเพณีและแนวทางปฏิบัติในด้านพิธีการต่างๆ (4) ‘โจวอี้’ (周易) หรือคัมภีร์อี้จิง ซึ่งเป็นตำราพยากรณ์ว่าด้วยหลักการดูฟ้าดิน หยินหยาง ฤดูการต่างๆ ฯลฯ และ (5) ‘ชุนชิว’ (春秋) หรือที่บางท่านแปลว่า ‘จดหมายเหตุวสันต์สารท’ ซึ่งเป็นบันทึกเหตุการณ์รายปีสมัยชุนชิวหรือยุควสันต์สารท (ปี 770-476 ก่อนคริสตกาล) เกี่ยวกับแคว้นหลู่
แคว้นหลู่เป็นหนึ่งในแคว้นเล็กโดยมีขุนนางระดับบรรดาศักดิ์กงเป็นผู้ปกครองแคว้นและมีสถานะเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์โจว และมันเป็นบ้านเกิดของขงจื๊อ คัมภีร์ชุนชิวบันทึกถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นผลงานเขียนและเรียบเรียงของขงจื๊อ แบ่งเป็นสิบสองบทสำหรับเหตุการณ์ในช่วงการปกครองของหลู่กงสิบสองคน โดยส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ทางการเมืองของแคว้นหลู่ และมีกล่าวถึงแคว้นอื่นๆ และราชสำนักโจวด้วย
ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคัมภีร์ชุนชิวคือการตีความเนื้อหาของมัน ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าเหตุการณ์ต่างๆ ถูกเขียนบรรยายในลักษณะประโยคสั้น เช่น “ในวันฤดูใบไม้ผลิปีที่สิบสี่ของหลู่ไอกง ล่าได้กิเลนทางทิศตะวันตก” เขียนเป็นภาษาจีนเพียงเก้าอักษร และตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์สองร้อยสี่สิบกว่าปีที่คัมภีร์ชุนชิวกล่าวถึงนั้น บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยหนึ่งหมื่นหกพันกว่าอักษรเท่านั้น ในแต่ละเหตุการณ์สั้นสุดคือหนึ่งอักษรและยาวสุดคือสี่สิบอักษร!
แต่ชนรุ่นหลังมองว่าเหตุการณ์สำคัญเหล่านี้มักแฝงด้วยความรู้และปรัชญาทางการเมืองและการปกครอง จึงเกิดการเขียนขยายความประโยคสั้นๆ ให้เป็นข้อความที่ยาวและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นคัมภีร์ชุนชิวในหลากหลายเวอร์ชั่น โดยมีสามเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและสืบทอดต่อเป็นตำราสำคัญของชนรุ่นหลัง เรียกรวมว่า ‘ชุนชิวสามฉบับ’ (ชุนชิวซานจ้วน/春秋三传) โดยแบ่งเป็นฉบับจั่วจ้วน (ประพันธ์โดยจั่วชิวหมิงในปลายสมัยชุนชิว) ฉบับกงหยางจ้วน (ประพันธ์โดยกงหยางเกาในยุคสมัยจ้านกั๋วหรือรณรัฐ) และฉบับกู่เหลียงจ้วน (ประพันธ์โดยกู่เหลียงชึในยุคสมัยจ้านกั๋ว)
จั่วชิวหมิงเป็นขุนนางนักจดหมายเหตุ ดังนั้นคัมภีร์ชุนชิวฉบับจั่วจ้วนจึงเน้นการให้ข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์ที่ถูกกล่าวถึงในต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวให้ละเอียดขึ้นและถูกต้องยิ่งขึ้นตามข้อมูลจริงทางประวัติศาสตร์และอธิบายให้เห็นถึงบริบทชนชั้นทางสังคมและแนวความคิดในสมัยนั้น โดยขยายความจากหนึ่งหมื่นกว่าอักษรเป็นสองแสนอักษร ความยาวทั้งสิ้นสามสิบบรรพ
ส่วนคัมภีร์ชุนชิวฉบับกงหยางจ้วนและกู่เหลียงจ้วนนั้น ล้วนยาวสิบเอ็ดบรรพ เนื้อความเน้นไปทางการอธิบายปรัชญาขงจื๊อที่สอดแทรกอยู่ในเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตามต้นฉบับคัมภีร์ชุนชิวและฉบับจั่วจ้วน โดยเรียบเรียงเป็นบทสนทนาเชิงถามตอบเพื่อเน้นให้คิด มากกว่าเป็นการลำดับเหตุการณ์อย่างเอกสารต้นฉบับ
ดังนั้น คัมภีร์ชุนชิวที่ถูกกล่าวถึงในปัจจุบันไม่ใช่หนังสือเล่มเดียว หากแต่เป็นชุดสามฉบับที่กล่าวมาข้างต้น
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
บทความเก่าเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนของเด็ก: https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/696535652474730
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=218889
https://www.sucaisucai.com/sucai/12330646.html
https://www.chinasage.info/ancient-states.htm
http://www.360doc.com/content/23/0602/14/35924208_1083211701.shtml
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://m.bjnews.com.cn/detail/1719635772168981.html
https://www.sohu.com/a/445253069_120791762
https://baike.baidu.com/item/四书五经/96723
http://www.chinaknowledge.de/Literature/Classics/chunqiuzuozhuan.html
https://baike.baidu.com/item/左传/371757
https://baike.baidu.com/item/公羊传/685689
https://baike.baidu.com/item/穀梁传/64769850
#จิ่วฉงจื่อ #สี่ตำราห้าคัมภีร์ #ขงจื๊อ #คัมภีร์ชุนชิว #จั่วจ้วน #กงหยางจ้วน #กู่เหลียงจ้วน #สาระจีน
2 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
170 มุมมอง
0 รีวิว