• ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭)

    ความมีอยู่ว่า
    ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...”
    - จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ
    (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้

    ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง)

    คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง

    ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย

    ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html
    http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570
    https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9
    https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk

    #หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
    ตอนนี้ประเทศอื่นเขาเจอหิมะตก Storyฯ เลยอยากชวนคุยเกี่ยวกับหนึ่งในวิธีที่ทำให้อุ่นในสมัยโบราณ ซึ่งก็คือวางเตาถ่านไว้ในห้องใกล้ตัว แต่เกิดความเอ๊ะเกี่ยวกับถ่านที่มีชื่อว่า ‘ถ่านหงหลัว’ (红箩炭) ความมีอยู่ว่า ฮ่องเต้ตรัสด้วยสุรเสียงเอื่อย ราวกับว่ากำลังรับสั่งถึงเรื่องที่ไม่สำคัญ “อันใด? เราจำได้ว่าก่อนหน้านี้เมื่อเริ่มหนาวก็ได้สั่งเจ้าไว้แล้วว่า ในวังนี้มีแต่เพียงไห่ฉางจ้ายและหว่านตาอิ้งไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้ ยังกังวลว่าถ่านดำจะมีควันรบกวนพวกนาง...ของไห่ฉางจ้ายให้เจ้าเจียดจากตำหนักเจ้าให้นาง...” - จากเรื่อง <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง หลิวเลี่ยนจื่อ (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) บทความข้างต้นเป็นเรื่องราวในสมัยขององค์เฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิง กล่าวถึงเรื่องที่พระสนมไห่หลันถูกกล่าวหาว่าขโมยถ่านหงหลัว และจากบทความจะเห็นว่าพระสนมระดับล่างอย่างฉางจ้ายและตาอิ้งจะไม่มีสิทธิ์ใช้ถ่านชนิดนี้ ถ่านหงหลัวคืออะไร Storyฯ หาชื่อแปลเป็นไทยไม่มี ขออธิบายลักษณะของมันว่าเป็นถ่านที่ทำจากไม้เนื้อแข็ง โดยไม้เนื้อแข็งดังกล่าวต้องเป็นไม้จากแถบดินแดนตอนเหนือ (มณฑลเหอเป่ย) ไม่ไกลจากนครปักกิ่ง เช่นจัวโจว ทงโจว จี้โจว ฯลฯ ไม้เหล่านี้จะถูกตัดเป็นท่อนสม่ำเสมอ เผาจนกลายเป็นถ่าน บรรจุไว้ในตะกร้าเคลือบด้วยดินแดง (เป็นที่มาของชื่อว่า ‘หงหลัว’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าเคลือบด้วยสีแดง) ก่อนจะลำเลียงส่งไปเมืองหลวง ในนครปักกิ่งมีถนนสายหนึ่งเรียกว่า ‘ถนนต้าหงหลัวฉ่าง’ (大红罗厂街) มีมาแต่ยุคสมัยราชวงศ์หมิง เป็นเส้นทางที่ใช้ลำเลียงถ่านนี้เข้าวัง (ดูรูปแรกขวาล่าง) คุณสมบัติเด่นของถ่านหงหลัวก็คือ เผาได้นาน ไม่มีควัน เถ้าไม่กระจายและไม่แตก และในตอนเผายังมีกลิ่นหอมจาง ถ่าน เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีการกำกับดูแลมาหลายยุคสมัยตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในวังยังมีกองกรมรับผิดชอบการเก็บและจัดสรรถ่าน ถ่านหงหลัวเป็นถ่านที่ผลิตได้ในปริมาณที่น้อยและด้วยคุณสมบัติโดดเด่นของมัน จึงมีการจำกัดการใช้งาน จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในยุคสมัยขององค์เฉียนหลงฮ่องเต้นั้น ทุกตำหนักในวังจะได้รับการจัดสรรถ่านในปริมาณที่ต่างกันไปตามยศศักดิ์และฤดูกาล รายละเอียด Storyฯ รวบรวมเป็นตารางให้ดูในรูปที่สองสำหรับวังหลัง จะเห็นว่า ฉางจ้าย และ ตาอิ้ง ซึ่งเป็นสนมระดับล่างสุดจะไม่สามารถใช้ถ่านหงหลัวได้เลย ใครได้ติดตามนิยาย/ละครเรื่องนี้คงจะเห็นภาพชัดขึ้นแล้วนะคะว่า ทำไมแค่เรื่องถ่าน ในวังหลังยังเอามาเป็นเหตุการต่อสู้ทางอำนาจกันได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.uni-hankyu.com.tw/huaxu/153491887715333.html http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.manyanu.com/new/085fdf5f6b084823bf3569b010c4d570 https://www.xuehua.us/a/5eb6fd5186ec4d0bd8cbf5f9 https://www.gushiciku.cn/dl/0f0zv/zh-hk #หรูอี้ #ไห่หลัน #ถ่านหงหลัว #ราชวงศ์ชิง #จีนโบราณ #สู้ความหนาว #ถ่านจีน #ถ่านในวัง #ถ่าน
    係?如懿傳海蘭是好人還是壞人?海蘭和如懿是什麼關係?由周迅、霍建華領銜主演的古裝清宮劇《如懿傳》正在騰訊視頻熱播中,雖然目前該劇收視並不理想,但依然還是值得追的,畢竟都是實力派演員出演,如懿傳劇情中出現了很多的人物,雖然是後宮嬪妃都是爭寵,但是也有著關係非常好的人,那么海蘭是好人還是壞人?海蘭和如懿是什麼關係?下面就來看看吧。如懿傳海蘭是好人還是壞人?海蘭和
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 84 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子)

    ความมีอยู่ว่า
    ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”...
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ:
    1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
    2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
    3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
    4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
    5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ
    6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ

    สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก)

    แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน)

    ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า

    ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/491583437_515879
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html
    https://kknews.cc/culture/6er9xv.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html
    https://www.sohu.com/a/249960097_105772
    https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html

    #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子) ความมีอยู่ว่า ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”... - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ: 1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ 2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ 3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ 5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ 6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก) แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน) ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/491583437_515879 https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html https://kknews.cc/culture/6er9xv.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html https://www.sohu.com/a/249960097_105772 https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 248 มุมมอง 0 รีวิว
  • ควันหลงจากงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศจีน สืบเนื่องจาก ‘เงื่อนจีน’ หรือที่เรียกว่า ‘จงกั๋วเจี๋ย’ (中国结) ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงาน แม้แต่พิธีปิดยังมีให้เห็น เพื่อนเพจหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างอยู่แล้ว วันนี้เรามาคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับเงื่อนจีน

    คำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ภายใต้คำขวัญ “ก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน”

    เงื่อนจีนถูกค้นพบขึ้นเมื่อใดไม่ชัดเจน ทราบแต่ว่ามนุษย์เรารู้จักการผูกเงื่อนมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ในสมัยดึกดำบรรพ์ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือล่าสัตว์หรือเครื่องมือช่วยดำรงชีพอื่นๆ และลวดลายและวิธีผูกเงื่อนพัฒนามาเรื่อยๆ หลังจากนั้น ในยุคสมัยชุนชิว เงื่อนจีนถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย เช่นเป็นกระดุม ใช้ผูกพวงเหรียญไว้พกพา และถูกนำมาใช้ในการสื่อสารหรือจดจำเหตุการณ์ ในบันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) มีการกล่าวถึงหลักการจารึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ว่า ‘เหตุการณ์ใหญ่ ใช้เงื่อนใหญ่ เรื่องเล็ก ใช้เงื่อนเล็ก’ และมีการใช้ลายเงื่อนที่แตกต่างกันสำหรับหมวดหมู่ที่แตกต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    เงื่อนจีนถูกยกระดับเป็นศิลปะอย่างหนึ่งและแพร่หลายเป็นอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง มีการนำมาใช้เป็นสร้อยหรืออุบะสำหรับเครื่องประดับหลายชนิดเช่นป้ายหยก พัด ขลุ่ย กระบี่ ถุงหอม ฯลฯ และในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิงก็ยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นในเรื่องของความหลากหลายของลวดลายและความวิจิตร มีการตั้งชื่อและคิดค้นลายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย รวมถึงการนำมาใช้ประดับบ้านเรือน

    เงื่อนจีนแตกต่างจากเงื่อนในวัฒนธรรมฟากตะวันตกอย่างไร? เอกลักษณ์ของเงื่อนจีนคือผูกขึ้นด้วยเชือกเส้นเดียวเท่านั้น เป็นการผูกสองชั้นดังนั้นลายหน้าหลังจะเหมือนกัน Storyฯ อ่านเจอว่าเงื่อนจีนที่วางขายในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เชือกยาวมาตรฐานประมาณหนึ่งเมตร

    ลายเงื่อนจีนมีใช้เป็นสัญลักษณ์ในหลายกรณี เช่นเพื่อเป็นของมงคล หรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความผูกพัน ชื่อเรียกก็มีหลากหลาย โดยลายที่เราเห็นในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ (ดูภาพประกอบ) มีชื่อเรียกว่า ‘เงื่อนมงคล’ (จี๋เสียงเจี๋ย/吉祥结) ว่ากันว่าลายพื้นฐานนี้เป็นหนึ่งในลายที่เก่าแก่ที่สุดของเงื่อนจีน พัฒนาขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข โชคลาภ รวมถึงช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย

    (หมายเหตุ เพื่อนเพจที่สนใจชนิดของเงื่อนต่างๆ ดูได้ที่นี่ค่ะ https://tcm.dtam.moph.go.th/images/files/kch002.pdf)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.fudan.edu.cn/en/2022/0208/c1092a130100/page.htm
    https://www.chinadaily.com.cn/a/202202/21/WS62134c14a310cdd39bc87f6d_5.html
    https://kknews.cc/culture/25y4r.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/culture/yjgakzn.html
    https://baike.baidu.com/item/中国结/187053
    https://www.aizsg.com/post/9365.html

    #สัญลักษณ์โอลิมปิก2022 #เงื่อนจีน #ผูกเชือกจีน #จงกั๋วเจี๋ย #จี๋เสียงเจี๋ยน
    ควันหลงจากงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศจีน สืบเนื่องจาก ‘เงื่อนจีน’ หรือที่เรียกว่า ‘จงกั๋วเจี๋ย’ (中国结) ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงาน แม้แต่พิธีปิดยังมีให้เห็น เพื่อนเพจหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างอยู่แล้ว วันนี้เรามาคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับเงื่อนจีน คำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ภายใต้คำขวัญ “ก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน” เงื่อนจีนถูกค้นพบขึ้นเมื่อใดไม่ชัดเจน ทราบแต่ว่ามนุษย์เรารู้จักการผูกเงื่อนมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ในสมัยดึกดำบรรพ์ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือล่าสัตว์หรือเครื่องมือช่วยดำรงชีพอื่นๆ และลวดลายและวิธีผูกเงื่อนพัฒนามาเรื่อยๆ หลังจากนั้น ในยุคสมัยชุนชิว เงื่อนจีนถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย เช่นเป็นกระดุม ใช้ผูกพวงเหรียญไว้พกพา และถูกนำมาใช้ในการสื่อสารหรือจดจำเหตุการณ์ ในบันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) มีการกล่าวถึงหลักการจารึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ว่า ‘เหตุการณ์ใหญ่ ใช้เงื่อนใหญ่ เรื่องเล็ก ใช้เงื่อนเล็ก’ และมีการใช้ลายเงื่อนที่แตกต่างกันสำหรับหมวดหมู่ที่แตกต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เงื่อนจีนถูกยกระดับเป็นศิลปะอย่างหนึ่งและแพร่หลายเป็นอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง มีการนำมาใช้เป็นสร้อยหรืออุบะสำหรับเครื่องประดับหลายชนิดเช่นป้ายหยก พัด ขลุ่ย กระบี่ ถุงหอม ฯลฯ และในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิงก็ยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นในเรื่องของความหลากหลายของลวดลายและความวิจิตร มีการตั้งชื่อและคิดค้นลายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย รวมถึงการนำมาใช้ประดับบ้านเรือน เงื่อนจีนแตกต่างจากเงื่อนในวัฒนธรรมฟากตะวันตกอย่างไร? เอกลักษณ์ของเงื่อนจีนคือผูกขึ้นด้วยเชือกเส้นเดียวเท่านั้น เป็นการผูกสองชั้นดังนั้นลายหน้าหลังจะเหมือนกัน Storyฯ อ่านเจอว่าเงื่อนจีนที่วางขายในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เชือกยาวมาตรฐานประมาณหนึ่งเมตร ลายเงื่อนจีนมีใช้เป็นสัญลักษณ์ในหลายกรณี เช่นเพื่อเป็นของมงคล หรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความผูกพัน ชื่อเรียกก็มีหลากหลาย โดยลายที่เราเห็นในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ (ดูภาพประกอบ) มีชื่อเรียกว่า ‘เงื่อนมงคล’ (จี๋เสียงเจี๋ย/吉祥结) ว่ากันว่าลายพื้นฐานนี้เป็นหนึ่งในลายที่เก่าแก่ที่สุดของเงื่อนจีน พัฒนาขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข โชคลาภ รวมถึงช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย (หมายเหตุ เพื่อนเพจที่สนใจชนิดของเงื่อนต่างๆ ดูได้ที่นี่ค่ะ https://tcm.dtam.moph.go.th/images/files/kch002.pdf) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.fudan.edu.cn/en/2022/0208/c1092a130100/page.htm https://www.chinadaily.com.cn/a/202202/21/WS62134c14a310cdd39bc87f6d_5.html https://kknews.cc/culture/25y4r.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/culture/yjgakzn.html https://baike.baidu.com/item/中国结/187053 https://www.aizsg.com/post/9365.html #สัญลักษณ์โอลิมปิก2022 #เงื่อนจีน #ผูกเชือกจีน #จงกั๋วเจี๋ย #จี๋เสียงเจี๋ยน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 359 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพเหตุการณ์หลังคาหอกลอง (drum towe) อายุ 650 ปี ในมณฑลอานฮุย (Anhui) ประเทศจีน พังถล่มลงมา

    "ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้"

    รายงานเพิ่มเติมระบุว่า หลังคาหอกลองหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อปี ค.ศ. 1375

    ส่วนหนึ่งของอาคารถูกทำลายในปี 1853 ในช่วงราชวงศ์ชิง และได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปี 1995 หลังจากผ่านมา 150 ปี


    ต่อมาในปี 2023 โครงการบูรณะในส่วนของหลังคาของอาคารเริ่มขึ้นอีกครั้ง และเพิ่งเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2024

    ภาพเหตุการณ์หลังคาหอกลอง (drum towe) อายุ 650 ปี ในมณฑลอานฮุย (Anhui) ประเทศจีน พังถล่มลงมา "ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์นี้" รายงานเพิ่มเติมระบุว่า หลังคาหอกลองหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาในสมัยราชวงศ์หมิงเมื่อปี ค.ศ. 1375 ส่วนหนึ่งของอาคารถูกทำลายในปี 1853 ในช่วงราชวงศ์ชิง และได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปี 1995 หลังจากผ่านมา 150 ปี ต่อมาในปี 2023 โครงการบูรณะในส่วนของหลังคาของอาคารเริ่มขึ้นอีกครั้ง และเพิ่งเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2024
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 153 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี

    Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้

    ความมีอยู่ว่า
    ...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์
    ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ...
    - จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้

    พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า

    1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ

    2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน

    3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3)

    3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง

    3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ

    3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’

    3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้

    3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน

    แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น

    อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006
    http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
    https://www.sohu.com/a/203002032_790378
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
    http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm
    http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html
    https://baike.sogou.com/v193017.htm
    #พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
    เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้ ความมีอยู่ว่า ...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์ ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ... - จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้ พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า 1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ 2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน 3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3) 3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง 3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ 3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’ 3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้ 3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006 http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e https://www.sohu.com/a/203002032_790378 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html https://baike.sogou.com/v193017.htm #พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
    《上陽賦》被嘲“夕陽賦”,高開低走收視撲街 - 老資料网
    在婦女節來臨前,國際影星章子怡領銜主演的瑪麗蘇巨制權謀大戲《上陽賦》迎來了大結局。該劇從開拍就引起了極大的關注,各種通稿爭相報道,國際章要從大銀幕轉戰電視劇,老戲骨加盟,大制作大手筆,改編小說《帝凰業》,是一部大型權謀大劇,引人關注。從官宣到開拍再到路透,
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 364 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง

    เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน

    จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา

    เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป

    Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป)

    เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ

    ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit วิดิโอและรูปภาพจาก:
    https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI
    https://kknews.cc/history/g93o88.html
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116
    https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml
    https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html

    #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีสู้กับความหนาวของจีนโบราณซึ่งหนึ่งในนั้นคือใช้เสื้อผ้าและผ้าห่มที่ทำมาจากกระดาษ ซึ่งในสมัยถังมีวิวัฒนาการการผลิตกระดาษอย่างก้าวกระโดด เสื้อหรือผ้าห่มนั้นใช้กระดาษที่ทำจากเปลือกของกิ่งหม่อน วิธีทำและหน้าตาคล้ายผลิตกระดาษสาบ้านเรา เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า มีการนำกระดาษมาทำเสื้อเกราะให้ทหารสวมใส่ด้วย? บ้างก็ว่ามีมาแต่สมัยราชวงศ์เหนือใต้ บ้างก็ว่าเสื้อเกราะกระดาษนั้นถูกคิดค้นขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง เสื้อเกราะกระดาษนี้เรียกตรงตัวว่า ‘จื๋อข่าย’ (纸铠)หรือ ‘จื๋อเจี่ย’ (纸甲) ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังที่จัดทำขึ้นโดยสำนักราชบัณฑิตสมัยซ่ง (ซินถังซู/新唐书) มีจารึกไว้ว่า เสื้อเกราะกระดาษเหล่านี้ป้องกันได้จากคมดาบและธนู ต่อมาในยุคสมัยหมิงนิยมใช้ในพื้นที่ทางตอนใต้ โดยเฉพาะกับทหารเรือ เนื่องจากพื้นที่แถบนั้นอากาศชื้น เสื้อเกราะเหล็กขึ้นสนิมได้ง่ายและหนัก ในทางกลับกัน เสื้อเกราะกระดาษใช้ได้ในหลายสภาพอากาศทั้งร้อนทั้งหนาว มีน้ำหนักเบาและเมื่อโดนน้ำยิ่งทำให้มีความทนทานมากขึ้น ป้องกันได้แม้กระทั่งระเบิดดินปืน จากบันทึกทางการทหารในสมัยหมิงมีการกล่าวว่า เสื้อเกราะกระดาษประกอบขึ้นจากกระดาษเยื่อไม้และใยผ้าอัดแน่นซ้ำๆ จนเป็นชั้นหนาประมาณหนึ่งนิ้ว ตรึงด้วยหมุดเหล็ก เย็บขึ้นเป็นเกราะแบบเกล็ดปลา เสื้อเกราะกระดาษถูกใช้อย่างแพร่หลายในราชวงศ์หมิง แม้จะยังมีใช้บ้างในสมัยราชวงศ์ชิง (มีการค้นพบเสื้อเกราะกระดาษจากสมัยราชวงศ์ชิงจริงในกุ้ยโจวเมื่อปี 2004) แต่ในยุคสมัยที่ระเบิดมีประสิทธิภาพมากขึ้นและมีไฟแรง เกราะกระดาษใช้ไม่ได้ดีนักจึงค่อยๆ หายไป Storyฯ ก็นึกไม่ออกว่าเกราะกระดาษจะทนทานต่ออาวุธได้อย่างไร? ไปพบเจอกับวิดิโอคลิปเลยนำมาแบ่งปันให้ดู (ขออภัยไร้ความสามารถทำคำแปลบนคลิป) เป็นคลิปที่ตัดตอนมาจากรายการเกมการแข่งขันความรู้ของเด็กนักเรียน มีการเชิญมือธนูมาทดลองยิงเปรียบเทียบระหว่างเกราะโซ่และเกราะกระดาษ (ซึ่งใช้กระดาษเท่านั้น ยังไม่ได้รวมใยผ้าอัดผสมเข้าไป) โดยหัวธนูที่ใช้นั้นเป็นแบบที่มือธนูเรียกว่าเป็นธนูสำหรับยิงเกราะ หัวธนูเป็นเหล็กแหลมสองชั้น ยิงในระยะ 10 เมตร โดยตอนท้ายมีการสรุปว่าการที่จะเจาะให้ทะลุกระดาษที่เรียงเป็นชั้นๆ จนถึงผิวของคนใส่นั้น ต้องมีแรงอัดหลายทอด หัวธนูจึงไม่สามารถยิงทะลุได้ในคราวเดียว ใครอยากดูคลิปเต็มดูได้ตามลิ้งค์ยูทูบข้างล่างเลยค่ะ ดูแล้วรู้สึกอย่างไรคะ? เม้นท์บอกกันมาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit วิดิโอและรูปภาพจาก: https://www.youtube.com/watch?v=9lG3aWRDQtI https://kknews.cc/history/g93o88.html https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E7%BA%B8%E7%94%B2/8697116 https://www.chinanews.com.cn/hb/news/2009/11-18/1971854.shtml https://kknews.cc/other/mo6gpg6.html #เสื้อเกราะจีนโบราณ #เสื้อกระดาษ #จื๋อเจี่ย #จื๋อข่าย #อาวุธจีนโบราณ #เสื้อเกราะกระดาษ
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 440 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในท่ามกลางความตึงเครียดของการขึ้นภาษีของทรัมพ์ต่อชาวโลก โดยเฉพาะกับจีนที่ตามมาด้วยการตอบโต้อย่างถึงพริกถึงขิง
    เขาพูดกัน "นี่คือสงครามการค้า"
    เหล่าบรรดาข้าทาสผู้สวามิภักดิ์ใต้อุ้งตีนอเมริกาพากันถ่มถุย
    "จีนจะต้องย่อยยับในคราวนี้"......
    .
    พวกนี้ไม่ได้สำเหนียกในข้อเท็จจริงที่ว่า
    ประชากรจีนโพ้นทะเล กระจายไปในโลกตั้งแต่ยุคกลางของยุโรปแล้ว
    ก่อนยุคการล่าอาณานิคม ประชากรจีนโพ้นทะเลก็อยู่ในทุกแห่งหน
    ทำงานหนักและขยันขันแข็ง อดทน ไม่เกี่ยงความลำบาก
    พรสวรรค์ในด้านการค้าขายเป็นที่ประจักษ์เพราะฝังรากลึกอยู่ในทุกดินแดน
    เส้นทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณคือเส้นทางสายไหมของจีน
    พวกเขาไม่ได้ไปด้วยการรุกราน ยึดครองดินแดนต่างๆ ด้วยแสนยานุภาพ
    แต่พวกเขาแพร่กระจายไปพร้อมกับแรงงานและการค้าขาย
    และมักตั้งตัวขึ้นมากลายเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่งกว่าชนชาติอื่นอยู่ในทุกทวีป
    .
    ก่อนการออกท่องสมุทรไปของพ่อค้าชาวยุโรปและอาหรับ
    นายพลเรือผู้หนึ่งของจีนนาม เจิ้งเหอ ออกเดินทางสมุทรยาตราด้วยกองเรือมหาสมบัติที่มีขนาดมหึมากว่าสามร้อยลำ ออกค้าขายไปทั่วทุกคาบสมุทร นักวิชาการหลายคนสันนิษฐานว่ากองเรือของเขาอาจไปถึงทวีปอเมริกาก่อนใคร แต่ไม่ว่ามันจะจริงหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์ดินแดนที่เขาเดินทางไปถึงก็ชัดเจนแจ่มแจ้งมากพอถึงความยิ่งใหญ่ของความรู้และพรสวรรค์ทางการค้า
    .
    ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1405 ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง.. เจิ้งเหอ ออกเดินทางเพื่อทำการค้าและสำรวจโลกทั้งสิ้น 7 ครั้ง ยาวนานและกินเวลาราว 28 ปี ไปถึงดินแดนต่างๆ ราว 37 ประเทศ ท่องมหาสมุทรไปมากกว่า 50,000 กิโลเมตร เรือสำเภา "เป่าฉวน" หรือที่เรียกว่าเรือมหาสมบัติของเขา ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง มันมีขนาดราว 400 ฟุต ใหญ่กว่าเรือซานตามาเรียของโคลัมบัสซึ่งยาวแค่ 85 ฟุตถึง 5 เท่า กองเรือของเขาประกอบด้วยเรือขนาดใหญ่ 60 ลำ และเรือขนาดเล็กอีก 255 ลำ ประมาณว่ามีลูกเรือทั้งหมดกว่า 27,870 คน เดินทางผ่านชายฝั่งฟุเกี้ยน ท่องไปยังอาณาจักรต่างๆ เช่น จามปา เสียนหลอ (สยาม) มะละกา สมุทรา ชวา สุมาตรา ลังกา กาลิกัต... ผ่านทะเลอันดามัน เลาะฝั่งทะเลตะวันออกของชมพูทวีปเพื่อซื้อขายเครื่องเทศ ไปจนถึงเปอร์เซียและแอฟริกา หลักฐานปรากฏให้เห็นจากบันทึก ภาพเขียน และจากเครื่องบรรณาการที่เขานำกลับไปถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งได้รวมเอา สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ ซึ่งเป็นสัตว์จากดินแดนเหล่านั้น
    .
    เจิ้งเหอ เดิมแช่หม่า เป็นมุสลิมเชื้อสายตระกูลขุนนางใหญ่จากอุซเบกที่อาศัยในยูนนาน มีชื่อมุสลิมว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบารฺ ต่อมาจักรพรรดิหย่งเล่อพระราชทานแซ่เจิ้ง จากบันทึกประมาณเวลาว่าเขามาถึงอยุธยาราวรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แต่คนไทยรู้จักในอีกชื่อว่า เจ้าพ่อซำปอกง ซึ่ง ซำปอกง นี้เป็นอีกชื่อหนึ่งของเขา วัดที่มีชื่อว่าวัดซำปอกงหรือวัดพนัญเชิงวรวิหารในจังหวัดอยุธยานี้ เขาเป็นผู้สร้างขึ้น นอกจากนั้นยังพบหลักฐานว่าเจิ้งเหอมีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธด้วยการถวายพระสูตรให้แก่วัดเก้าแห่ง แต่กระนั้น เจิ้งเหอเมื่อวายชนม์ก็ยังมีสถานะเป็นมุสลิม เพราะมีสุสานอย่างมุสลิมอยู่บนภูเขาที่นานกิง เขาเสียชีวิตที่อินเดียในปี 1432 เชื่อกันว่า อาจเป็นเพราะทัศนคติที่เปิดกว้างทางศาสนาของเขา จึงทำให้เขาเข้าไปมีส่วนในการยุติความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างศาสนาอิสลามของพ่อค้าและศาสนาพื้นถิ่นตามเมืองท่าต่างๆ ที่เขาผ่านไปหลายแห่ง ทำให้เมืองท่าเหล่านั้นยอมรับในความหลากหลายทางศาสนามากขึ้น
    .
    เจิ้งเหอแม้จะเป็นขันที แต่พี่ชายของเขาได้ยกลูกชายและลูกสาวให้แก่เขา ปัจจุบันนี้มีทายาทในสกุลเจิ้งของเขาบางส่วนจากครอบครัวของทายาทรุ่นหลังที่ชื่อ เจิ้งชงหลิ่ง ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทย พวกเขายังคงเป็นมุสลิม ในหลวงรัชกาลที่หกพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ เจิ้งชงหลิ่ง ว่า ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ ลูกหลานของเขาใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ
    .
    รูปปั้นหินที่เห็นจากภาพประกอบ เป็นอนุสาวรีย์ของเจิ้งเหอที่มะละกา ประเทศมาเลเซีย อย่างที่เคยเล่า มีหลักฐานว่าเมืองท่าโบราณแห่งนี้เขาเป็นคนตั้งขึ้น
    .
    เรื่องของเจิ้งเหอ ยังถูกหยิบมาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยนายพลเรือดำน้ำคนหนึ่งของราชนาวีอังกฤษ ชื่อ Gavin Menzies ที่ซึ่งปกติเรือดำน้ำของเขามีหน้าที่ลาดตระเวณไปทั่วโลกด้วยการดำอย่างเงียบเชียบ แต่คิดว่าเขาคงจะว่างมากนั่นแหละในภาวะที่โลกในช่วงนั้นไม่มีความตึงเครียด เขาจึงเปลี่ยนมาลอยลำวิ่งบนผิวน้ำแล้วเริ่มวิเคราะห์ทัศนียภาพชายฝั่งเทียบกับแผนที่โบราณต่างๆ ซึ่งต่อมามันนำมาด้วยสมมุติฐานของเขาที่เขย่าโลกว่า นักเดินเรือฝรั่งในยุคแรกๆ ของ Maritime เช่น วาสโกเดอกามา เจ้าชายเฮนรี่ โคลัมบัส..ฯ ล้วนเดินเรือด้วยแผนที่ที่คัดลอกมาจากแผนที่ของกองเรือเจิ้งเหอ เขาเขียนหนังสือยาว 500 หน้าชื่อ 1421 และแน่นอนว่า นี่เป็นการทำให้ประวัติศาสตร์การท่องสมุทรของชาวยุโรปเสื่อมเสียไปจากค่านิยมเดิม เกวิน เมนซีส์ถูกถล่มจากนักวิชาการตะวันตกแบบรุมสกรัม แต่น้าแกไม่สน หนังสือของแกติดอันดับขายดีมากอย่างรวดเร็ว และเขายักไหล่ใส่ "พวกคุณจะต่อต้านอย่างไรก็ว่าไป แต่ประชาชนอยู่กับผม..."
    .
    กลับไปที่จั่วหัว...
    อย่างที่เห็น พรสวรรค์ในด้านการค้าของจีนนั้น เป็นที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์โลกนับพันปี ชาติยุโรปลืมข้อเท็จจริงว่านวัตกรรมมากมายที่พวกเขาใช้ มีต้นกำเนิดมาจากจีน โดยเฉพาะแสนยานุภาพที่พวกฝรั่งนำไปใช้พิชิตชนชาติที่อ่อนแอกว่าอย่างเช่น ดินปืน ถ้าไม่มีดินปืน ก็ไม่มีปืน ไม่มีระเบิด นอกจากนั้นพวกตะวันตกยังโขมยความรู้จากจีนทุกวิถีทางตั้งแต่ยุคของมาร์โคโปโล โขมยแม้กระทั่งใบชา และพวกยุโรปรู้ดีว่าไม่อาจเอาชนะจีนอย่างขาวสะอาดได้ จึงใช้กลยุทธอันต่ำช้าด้วยการมอมเมาจีนด้วยฝิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นบทเรียนที่จีนไม่เคยลืม และเตรียมตัวให้พร้อมมาตลอดนับสิบปีของการปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู
    .
    สงครามการค้าในตอนนี้ ที่ซึ่ง...
    - จีนถือครองพันธบัตรสหรัฐอยู่ 759,000 ล้านดอลลาร์
    - สหรัฐเป็นหนี้จีนอยู่อีกมหาศาลและไม่มีปัญญาใช้คืน
    - ซัพพลายเชนมากมายของสหรัฐมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่
    - แรงงานในสหรัฐแทบไม่มีเลย แถมราคาแพงและไม่มีคุณภาพ
    จะผลิตอะไรเองก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนาทักษะอีกนาน
    -ใครจะมาลงทุนเปิดโรงงานในอเมริกา ในเมื่อค่าแรงจะแพงมากแต่ด้อยทักษะ ง่อยและทำอะไรเองไม่เป็นมานานแล้ว
    - ถ้าแกผลิตเองไม่ได้แต่เที่ยวโขกภาษีจากคู่ค้าชาติอื่น สิ่งของที่คนอเมริกันต้องใช้ จะต้องจ่ายแพงทบทวี แม้กระทั่งกระดาษเช็ดขี้ที่พวกเอ็งเคยชักดิ้นชักงอเมื่อมันขาดตลาดตอนช่วงโควิดระบาด
    - ไอ้เบื้อกพวกนี้คงจำไม่ได้ว่าช่วงโควิด จีนห้ามเรือสินค้าต่างชาติเข้าเทียบท่า จนพวกนี้ไปออกันอยู่กลางทะเลหลายพันลำ เดือดร้อนชิบหายวายป่วง แต่จีนไม่เดือดร้อนอะไร
    - จีนมีประชากร 1400 ล้านคน เขาซื้อขายกันเองก็พอจะอยู่กันได้แล้ว แต่วันนี้จีนแบนไม่ให้หนังฮอลลีวู๊ดเข้าฉายในประเทศ ลูกค้า 1400 ล้านคนหายไปกับตา เดี๋ยวคงตามมาด้วยการแบนแบรนด์อื่นอย่าง KFC McDonald...
    - กลายเป็นว่า คนอเมริกันจะกลายเป็นผู้ใช้ iPhone ที่ต้องจ่ายแพงกว่าใครในโลก เพราะมันผลิตในจีน คิดว่าอินเดียจะพร้อมในการเปิดโรงงานใหม่ในปีนี้หรือ?
    - จีนผลิตไมโครชิพเองแล้ว มีขนาดเล็กกว่า มีประสิทธิภาพและความเร็วเหนือกว่าชิพของตะวันตก
    - จีนมีระบบปฏิบัติการโมบายล์ของจีนเองที่ทำงานได้ดีกว่าแอนดรอยด์เรียกว่า ฮาร์โมนี่
    - จีนพัฒนาระบบเชื่อมต่อดาวเทียมเป๋ยโต่ที่ล้ำหน้ากว่าจีพีเอสของตะวันตกมาก
    - จีนพัฒนาระบบชื่อ Near Link ที่ล้ำหน้าระบบ Bluetooth ไปไกลกว่าหลายเท่า
    - เอไอจีนแซงเอไอของตะวันตกไปแล้วเช่นกัน
    - แสนยานุภาพจีนกำลังแซงตะวันตกทุกนาทีที่ผ่านไป
    - เส้นทางการค้าใหม่ที่เรียก One Belt One Road ครอบคลุมเครือข่ายการค้าที่กว้างขวางที่สุดในโลก โดยที่จีนไม่จำเป็นต้องค้าขายกับอเมริกา
    - ความก้าวหน้าทางโลจิสติกของจีนแซงอเมริกาไปนานแล้ว ในโลกนี้ไม่มีใครมีระบบรถไฟความเร็วสูงที่ดีเท่าจีน
    - ตลาดรถไฟฟ้าในโลก จีนคืออันดับหนึ่ง
    - เทคโนโลยีอวกาศของจีนแซงนาซ่าไปแล้ว จีนมีสถานีอวกาศของตัวเองที่ทันสมัยและก้าวหน้ากว่าชาติตะวันตก ในเวลาเดียวกันนี้พวกเขากำลังสำรวจด้านมืดของดวงจันทร์ที่โลกไม่เคยมองเห็น
    blablablabla......
    .
    ที่ร่ายมานี่ สงครามนี้จะลงเอยยังไง คนไทยก็ซวยอยู่ดี ขอให้รู้ไว้เถอะ
    ยิ่งไปเลียมัน พวกแกก็ยิ่งเจ็บตัวหนัก
    แจกฟรีแล้วยังไม่ได้อะไรแบบเวียตนามเอาไหม
    เจ็บปวดหน่อย มันไม่ซื้อเรา ก็ไปขายคนอื่น
    ก็ให้มันเจ็บปวดบ้าง ด้วยการไม่ซื้อมัน
    เราตัวเล็ก ยักษ์ตีกันย่อมต้องโดนลูกหลง
    ต้องเอาความตัวเล็กมาเป็นความได้เปรียบ
    และเรามีความอุดมสมบูรณ์เป็นทรัพย์สมบัติ
    ใครมีไก่ มีไข่ มีผัก มีปลา คุณรอดแล้ว
    ให้พรุ่งนี้แม่งยิงปรมาณูกันก็เถอะ
    ส่วนไอ้พวกโง่ ไอ้พวกเด็กเมื่อวาน เชื่อแต่เรื่องไร้สาระ
    ไม่ดูแลป้องกันประเทศ ชักนำภัยเข้าสู่ชาติบ้านเมือง
    มึงตายแน่ มีสาเหตุให้มึงตายเป็นร้อยเหตุ
    ในท่ามกลางความตึงเครียดของการขึ้นภาษีของทรัมพ์ต่อชาวโลก โดยเฉพาะกับจีนที่ตามมาด้วยการตอบโต้อย่างถึงพริกถึงขิง เขาพูดกัน "นี่คือสงครามการค้า" เหล่าบรรดาข้าทาสผู้สวามิภักดิ์ใต้อุ้งตีนอเมริกาพากันถ่มถุย "จีนจะต้องย่อยยับในคราวนี้"...... . พวกนี้ไม่ได้สำเหนียกในข้อเท็จจริงที่ว่า ประชากรจีนโพ้นทะเล กระจายไปในโลกตั้งแต่ยุคกลางของยุโรปแล้ว ก่อนยุคการล่าอาณานิคม ประชากรจีนโพ้นทะเลก็อยู่ในทุกแห่งหน ทำงานหนักและขยันขันแข็ง อดทน ไม่เกี่ยงความลำบาก พรสวรรค์ในด้านการค้าขายเป็นที่ประจักษ์เพราะฝังรากลึกอยู่ในทุกดินแดน เส้นทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกยุคโบราณคือเส้นทางสายไหมของจีน พวกเขาไม่ได้ไปด้วยการรุกราน ยึดครองดินแดนต่างๆ ด้วยแสนยานุภาพ แต่พวกเขาแพร่กระจายไปพร้อมกับแรงงานและการค้าขาย และมักตั้งตัวขึ้นมากลายเป็นนักธุรกิจที่มั่งคั่งกว่าชนชาติอื่นอยู่ในทุกทวีป . ก่อนการออกท่องสมุทรไปของพ่อค้าชาวยุโรปและอาหรับ นายพลเรือผู้หนึ่งของจีนนาม เจิ้งเหอ ออกเดินทางสมุทรยาตราด้วยกองเรือมหาสมบัติที่มีขนาดมหึมากว่าสามร้อยลำ ออกค้าขายไปทั่วทุกคาบสมุทร นักวิชาการหลายคนสันนิษฐานว่ากองเรือของเขาอาจไปถึงทวีปอเมริกาก่อนใคร แต่ไม่ว่ามันจะจริงหรือไม่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนและประวัติศาสตร์ดินแดนที่เขาเดินทางไปถึงก็ชัดเจนแจ่มแจ้งมากพอถึงความยิ่งใหญ่ของความรู้และพรสวรรค์ทางการค้า . ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1405 ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง.. เจิ้งเหอ ออกเดินทางเพื่อทำการค้าและสำรวจโลกทั้งสิ้น 7 ครั้ง ยาวนานและกินเวลาราว 28 ปี ไปถึงดินแดนต่างๆ ราว 37 ประเทศ ท่องมหาสมุทรไปมากกว่า 50,000 กิโลเมตร เรือสำเภา "เป่าฉวน" หรือที่เรียกว่าเรือมหาสมบัติของเขา ต่อขึ้นที่เมืองนานกิง มันมีขนาดราว 400 ฟุต ใหญ่กว่าเรือซานตามาเรียของโคลัมบัสซึ่งยาวแค่ 85 ฟุตถึง 5 เท่า กองเรือของเขาประกอบด้วยเรือขนาดใหญ่ 60 ลำ และเรือขนาดเล็กอีก 255 ลำ ประมาณว่ามีลูกเรือทั้งหมดกว่า 27,870 คน เดินทางผ่านชายฝั่งฟุเกี้ยน ท่องไปยังอาณาจักรต่างๆ เช่น จามปา เสียนหลอ (สยาม) มะละกา สมุทรา ชวา สุมาตรา ลังกา กาลิกัต... ผ่านทะเลอันดามัน เลาะฝั่งทะเลตะวันออกของชมพูทวีปเพื่อซื้อขายเครื่องเทศ ไปจนถึงเปอร์เซียและแอฟริกา หลักฐานปรากฏให้เห็นจากบันทึก ภาพเขียน และจากเครื่องบรรณาการที่เขานำกลับไปถวายจักรพรรดิหย่งเล่อ ซึ่งได้รวมเอา สิงโต เสือดาว นกกระจอกเทศ ม้าลาย และยีราฟ ซึ่งเป็นสัตว์จากดินแดนเหล่านั้น . เจิ้งเหอ เดิมแช่หม่า เป็นมุสลิมเชื้อสายตระกูลขุนนางใหญ่จากอุซเบกที่อาศัยในยูนนาน มีชื่อมุสลิมว่า มูฮัมมัด อับดุลญับบารฺ ต่อมาจักรพรรดิหย่งเล่อพระราชทานแซ่เจิ้ง จากบันทึกประมาณเวลาว่าเขามาถึงอยุธยาราวรัชสมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช แต่คนไทยรู้จักในอีกชื่อว่า เจ้าพ่อซำปอกง ซึ่ง ซำปอกง นี้เป็นอีกชื่อหนึ่งของเขา วัดที่มีชื่อว่าวัดซำปอกงหรือวัดพนัญเชิงวรวิหารในจังหวัดอยุธยานี้ เขาเป็นผู้สร้างขึ้น นอกจากนั้นยังพบหลักฐานว่าเจิ้งเหอมีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธด้วยการถวายพระสูตรให้แก่วัดเก้าแห่ง แต่กระนั้น เจิ้งเหอเมื่อวายชนม์ก็ยังมีสถานะเป็นมุสลิม เพราะมีสุสานอย่างมุสลิมอยู่บนภูเขาที่นานกิง เขาเสียชีวิตที่อินเดียในปี 1432 เชื่อกันว่า อาจเป็นเพราะทัศนคติที่เปิดกว้างทางศาสนาของเขา จึงทำให้เขาเข้าไปมีส่วนในการยุติความขัดแย้งทางศาสนาระหว่างศาสนาอิสลามของพ่อค้าและศาสนาพื้นถิ่นตามเมืองท่าต่างๆ ที่เขาผ่านไปหลายแห่ง ทำให้เมืองท่าเหล่านั้นยอมรับในความหลากหลายทางศาสนามากขึ้น . เจิ้งเหอแม้จะเป็นขันที แต่พี่ชายของเขาได้ยกลูกชายและลูกสาวให้แก่เขา ปัจจุบันนี้มีทายาทในสกุลเจิ้งของเขาบางส่วนจากครอบครัวของทายาทรุ่นหลังที่ชื่อ เจิ้งชงหลิ่ง ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทย พวกเขายังคงเป็นมุสลิม ในหลวงรัชกาลที่หกพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ เจิ้งชงหลิ่ง ว่า ขุนชวงเลียงฦๅเกียรติ ลูกหลานของเขาใช้นามสกุล วงศ์ลือเกียรติ . รูปปั้นหินที่เห็นจากภาพประกอบ เป็นอนุสาวรีย์ของเจิ้งเหอที่มะละกา ประเทศมาเลเซีย อย่างที่เคยเล่า มีหลักฐานว่าเมืองท่าโบราณแห่งนี้เขาเป็นคนตั้งขึ้น . เรื่องของเจิ้งเหอ ยังถูกหยิบมาค้นคว้าเพิ่มเติมโดยนายพลเรือดำน้ำคนหนึ่งของราชนาวีอังกฤษ ชื่อ Gavin Menzies ที่ซึ่งปกติเรือดำน้ำของเขามีหน้าที่ลาดตระเวณไปทั่วโลกด้วยการดำอย่างเงียบเชียบ แต่คิดว่าเขาคงจะว่างมากนั่นแหละในภาวะที่โลกในช่วงนั้นไม่มีความตึงเครียด เขาจึงเปลี่ยนมาลอยลำวิ่งบนผิวน้ำแล้วเริ่มวิเคราะห์ทัศนียภาพชายฝั่งเทียบกับแผนที่โบราณต่างๆ ซึ่งต่อมามันนำมาด้วยสมมุติฐานของเขาที่เขย่าโลกว่า นักเดินเรือฝรั่งในยุคแรกๆ ของ Maritime เช่น วาสโกเดอกามา เจ้าชายเฮนรี่ โคลัมบัส..ฯ ล้วนเดินเรือด้วยแผนที่ที่คัดลอกมาจากแผนที่ของกองเรือเจิ้งเหอ เขาเขียนหนังสือยาว 500 หน้าชื่อ 1421 และแน่นอนว่า นี่เป็นการทำให้ประวัติศาสตร์การท่องสมุทรของชาวยุโรปเสื่อมเสียไปจากค่านิยมเดิม เกวิน เมนซีส์ถูกถล่มจากนักวิชาการตะวันตกแบบรุมสกรัม แต่น้าแกไม่สน หนังสือของแกติดอันดับขายดีมากอย่างรวดเร็ว และเขายักไหล่ใส่ "พวกคุณจะต่อต้านอย่างไรก็ว่าไป แต่ประชาชนอยู่กับผม..." . กลับไปที่จั่วหัว... อย่างที่เห็น พรสวรรค์ในด้านการค้าของจีนนั้น เป็นที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์โลกนับพันปี ชาติยุโรปลืมข้อเท็จจริงว่านวัตกรรมมากมายที่พวกเขาใช้ มีต้นกำเนิดมาจากจีน โดยเฉพาะแสนยานุภาพที่พวกฝรั่งนำไปใช้พิชิตชนชาติที่อ่อนแอกว่าอย่างเช่น ดินปืน ถ้าไม่มีดินปืน ก็ไม่มีปืน ไม่มีระเบิด นอกจากนั้นพวกตะวันตกยังโขมยความรู้จากจีนทุกวิถีทางตั้งแต่ยุคของมาร์โคโปโล โขมยแม้กระทั่งใบชา และพวกยุโรปรู้ดีว่าไม่อาจเอาชนะจีนอย่างขาวสะอาดได้ จึงใช้กลยุทธอันต่ำช้าด้วยการมอมเมาจีนด้วยฝิ่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นบทเรียนที่จีนไม่เคยลืม และเตรียมตัวให้พร้อมมาตลอดนับสิบปีของการปิดประเทศเพื่อฟื้นฟู . สงครามการค้าในตอนนี้ ที่ซึ่ง... - จีนถือครองพันธบัตรสหรัฐอยู่ 759,000 ล้านดอลลาร์ - สหรัฐเป็นหนี้จีนอยู่อีกมหาศาลและไม่มีปัญญาใช้คืน - ซัพพลายเชนมากมายของสหรัฐมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่ - แรงงานในสหรัฐแทบไม่มีเลย แถมราคาแพงและไม่มีคุณภาพ จะผลิตอะไรเองก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนาทักษะอีกนาน -ใครจะมาลงทุนเปิดโรงงานในอเมริกา ในเมื่อค่าแรงจะแพงมากแต่ด้อยทักษะ ง่อยและทำอะไรเองไม่เป็นมานานแล้ว - ถ้าแกผลิตเองไม่ได้แต่เที่ยวโขกภาษีจากคู่ค้าชาติอื่น สิ่งของที่คนอเมริกันต้องใช้ จะต้องจ่ายแพงทบทวี แม้กระทั่งกระดาษเช็ดขี้ที่พวกเอ็งเคยชักดิ้นชักงอเมื่อมันขาดตลาดตอนช่วงโควิดระบาด - ไอ้เบื้อกพวกนี้คงจำไม่ได้ว่าช่วงโควิด จีนห้ามเรือสินค้าต่างชาติเข้าเทียบท่า จนพวกนี้ไปออกันอยู่กลางทะเลหลายพันลำ เดือดร้อนชิบหายวายป่วง แต่จีนไม่เดือดร้อนอะไร - จีนมีประชากร 1400 ล้านคน เขาซื้อขายกันเองก็พอจะอยู่กันได้แล้ว แต่วันนี้จีนแบนไม่ให้หนังฮอลลีวู๊ดเข้าฉายในประเทศ ลูกค้า 1400 ล้านคนหายไปกับตา เดี๋ยวคงตามมาด้วยการแบนแบรนด์อื่นอย่าง KFC McDonald... - กลายเป็นว่า คนอเมริกันจะกลายเป็นผู้ใช้ iPhone ที่ต้องจ่ายแพงกว่าใครในโลก เพราะมันผลิตในจีน คิดว่าอินเดียจะพร้อมในการเปิดโรงงานใหม่ในปีนี้หรือ? - จีนผลิตไมโครชิพเองแล้ว มีขนาดเล็กกว่า มีประสิทธิภาพและความเร็วเหนือกว่าชิพของตะวันตก - จีนมีระบบปฏิบัติการโมบายล์ของจีนเองที่ทำงานได้ดีกว่าแอนดรอยด์เรียกว่า ฮาร์โมนี่ - จีนพัฒนาระบบเชื่อมต่อดาวเทียมเป๋ยโต่ที่ล้ำหน้ากว่าจีพีเอสของตะวันตกมาก - จีนพัฒนาระบบชื่อ Near Link ที่ล้ำหน้าระบบ Bluetooth ไปไกลกว่าหลายเท่า - เอไอจีนแซงเอไอของตะวันตกไปแล้วเช่นกัน - แสนยานุภาพจีนกำลังแซงตะวันตกทุกนาทีที่ผ่านไป - เส้นทางการค้าใหม่ที่เรียก One Belt One Road ครอบคลุมเครือข่ายการค้าที่กว้างขวางที่สุดในโลก โดยที่จีนไม่จำเป็นต้องค้าขายกับอเมริกา - ความก้าวหน้าทางโลจิสติกของจีนแซงอเมริกาไปนานแล้ว ในโลกนี้ไม่มีใครมีระบบรถไฟความเร็วสูงที่ดีเท่าจีน - ตลาดรถไฟฟ้าในโลก จีนคืออันดับหนึ่ง - เทคโนโลยีอวกาศของจีนแซงนาซ่าไปแล้ว จีนมีสถานีอวกาศของตัวเองที่ทันสมัยและก้าวหน้ากว่าชาติตะวันตก ในเวลาเดียวกันนี้พวกเขากำลังสำรวจด้านมืดของดวงจันทร์ที่โลกไม่เคยมองเห็น blablablabla...... . ที่ร่ายมานี่ สงครามนี้จะลงเอยยังไง คนไทยก็ซวยอยู่ดี ขอให้รู้ไว้เถอะ ยิ่งไปเลียมัน พวกแกก็ยิ่งเจ็บตัวหนัก แจกฟรีแล้วยังไม่ได้อะไรแบบเวียตนามเอาไหม เจ็บปวดหน่อย มันไม่ซื้อเรา ก็ไปขายคนอื่น ก็ให้มันเจ็บปวดบ้าง ด้วยการไม่ซื้อมัน เราตัวเล็ก ยักษ์ตีกันย่อมต้องโดนลูกหลง ต้องเอาความตัวเล็กมาเป็นความได้เปรียบ และเรามีความอุดมสมบูรณ์เป็นทรัพย์สมบัติ ใครมีไก่ มีไข่ มีผัก มีปลา คุณรอดแล้ว ให้พรุ่งนี้แม่งยิงปรมาณูกันก็เถอะ ส่วนไอ้พวกโง่ ไอ้พวกเด็กเมื่อวาน เชื่อแต่เรื่องไร้สาระ ไม่ดูแลป้องกันประเทศ ชักนำภัยเข้าสู่ชาติบ้านเมือง มึงตายแน่ มีสาเหตุให้มึงตายเป็นร้อยเหตุ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 599 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก

    มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม

    ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม

    จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ

    ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง

    กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน

    ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/步打球/192835
    https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675
    https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml
    https://www.sohu.com/a/423834335_120059786
    https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/

    #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    Storyฯ เพิ่งจะได้เริ่มดูละครเรื่อง <ชิวเยียนยอดหญิงพลิกชะตา> ได้เห็นเกมการแข่งขันชนิดหนึ่ง (ดูรูปแรก) มีลานที่เป็นเนินเล็กเนินน้อย ผู้เล่นจับคู่กันใช้ไม้ปลายงอตีลูกบอลขนาดเล็กกว่าหัวทารกหน่อยเพื่อให้ลงหลุมที่มีปักธงไว้ เกมนี้เรียกว่า ‘ฉุยหวาน’ (捶丸 แปลตรงตัวว่า ตี+ลูกทรงกลมขนาดเล็ก) เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ทันทีเพราะมันเหมือนกอล์ฟมาก มีการบันทึกกติกาการเล่น ‘ฉุยหวาน’ และรายละเอียดของอุปกรณ์ไว้ใน ‘ตำราหวานจิง’ (丸经) ในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) แต่จริงๆ แล้วมีการเล่นเกมกีฬานี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127) ว่ากันว่าพัฒนามาจากการเล่น ‘ปู้ต่าฉิว’ (步打球)ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) ซึ่งเป็นการเดินใช้ไม้ตีลูกบอลเข้าโกล แต่ไม่ได้ขุดเป็นหลุม ในพิพิธภัณฑ์ในพระราชวังต้องห้ามมีแสดงภาพวาดการเล่นฉุยหวานขององค์เซวียนจงแห่งราชวงศ์หมิง มีการวิเคราะห์ว่าทั้งสองพระหัตถ์ทรงถือไม้ แสดงให้เห็นว่าทรงกำลังเลือกอยู่ว่าจะใช้ไม้อันไหนดี มีคนคอยแนะนำอยู่ด้านข้าง มีรูห้ารูปักธงไว้ มีลักษณะเล่นกันเป็นทีม จากบันทึกโบราณ ฉุยหวานเป็นการเล่นกลางแจ้ง ทั้งบนสนามเฉพาะและบนลานพื้นทั่วไปที่อาจไม่เรียบ แต่เอกลักษณ์คือให้ตีลูกหวานที่ทำจากไม้ให้ลงหลุม โดยไม้ตีมีปลายงอ กำหนดให้ตีได้เพียงสามครั้งต่อหนึ่งเกม (สรุปการเล่นในรูปสองด้านล่าง ส่วนด้านบนเป็นรูปลูกหวานโบราณ) การแข่งขันสามารถจัดได้รอบเล็กใหญ่ตามจำนวนผู้ที่เข้าร่วม เล่นได้แบบเป็นทีมและแบบเดี่ยว ลูกหวานจะใช้ลวดลายหรือสีแตกต่างกันไปสำหรับผู้แข่งเพื่อป้องกันความสับสน (ซึ่งดูจะต่างจากในละคร) ตามบันทึกนั้นขั้นตอนการทำไม้ตีก็มีความละเมียดละไม เช่นเก็บเกี่ยวไม้ในฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูหนาว ทิ้งไว้หนึ่งฤดูกาลค่อยเอามาขึ้นรูป ใช้กาวทำจากเจลาตินของวัวเพื่อช่วยประกอบ ฯลฯ ที่ Storyฯ คิดว่าแปลกคือ ใน ‘ตำราหวานจิง’ มีการพูดถึงว่า ไม้ที่สองต้องตีด้วยท่าคุกเข่า (ในละครไม่มี) ซึ่งคล้ายคลึงกับเกม Colf ของชาวดัตช์ในยุคศตวรรษที่ 13 เพียงแต่ Colf เป็นการตีเล่นบทถนน ไม่ได้มีสนามเฉพาะ ว่ากันว่ากอล์ฟ (Golf) พัฒนามาจากเกมคอล์ฟ (Colf) นี่เอง กลับมาที่ฉุยหวาน มันเป็นเกมกีฬาที่เล่นได้ทั้งชายและหญิงในกลุ่มชนชั้นสูง นิยมมากในสมัยหมิง แต่ต่อมาคลายความนิยมลงในสมัยราชวงศ์ชิง กลายเป็นเพียงเกมละเล่นของเด็กและแม่บ้าน ฉุยหวานเป็นต้นกำเนิดของกอล์ฟหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ เพราะทางฝั่งฝรั่งก็มีการละเล่นที่คล้ายคลึงเหมือนกัน แต่ที่แน่ๆ คือว่า ฉุยหวานดูจะมีมาก่อนการละเล่นพวกนี้ในแถบยุโรปเป็นพันปี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://ancientgolf.missionhillschina.com/index_en.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20200422/20200422A0M90Z00.html?pc https://baike.baidu.com/item/步打球/192835 https://baike.baidu.com/item/捶丸/3805675 https://www.chinanews.com.cn/cul/2015/07-31/7440448.shtml https://www.sohu.com/a/423834335_120059786 https://www.scottishgolfhistory.org/news/chuiwan/ #ชิวเยียนยอดหญิง #ฉุยหวาน #ฉุยหวัน #กีฬาจีนโบราณ #กีฬาซ่ง #กอล์ฟจีนโบราณ
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 416 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 437 มุมมอง 0 รีวิว
  • Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ

    ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ)

    การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖)

    จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย

    ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ
    - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า;
    - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า;
    - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์;
    - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม;
    - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม;
    - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ
    - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้

    แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน

    จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน

    ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน

    เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317
    https://kknews.cc/history/4lyoojx.html
    https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html
    https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96

    #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสดูละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ซึ่งเป็นเรื่องราวสมัยราชวงศ์หมิง สิ่งที่สะดุดตามากคือท่าทำความเคารพ รู้สึกว่าทำออกมาได้ดีมากในหลายฉาก วันนี้เลยมาคุยให้ฟังกันสั้นๆ ฉากที่สะดุดตา Storyฯ มากคือฉากพิธีกราบไหว้ฟ้าดินของพระเอกนางเอก ลักษณะการคำนับคือยกมือขึ้นประสานทับกันระดับหน้าอกโดยฝ่ามือหันเข้าหาตัว จากนั้นดันมือออกไปให้ห่างตัวพร้อมกับค้อมตัวลง (ดูรูปประกอบ) การโค้งคำนับแบบนี้มีชื่อเรียกค่ะ คือ ‘จั๊วอี๊’ (作揖) จั๊วอี๊เป็นการคำนับอย่างเป็นทางการโดยไม่คุกเข่าลง ด้วยการยกมือขึ้นแบบที่กล่าวมาข้างต้น (อาจวางมือทาบซ้อนกันหรือกุมมือก็ได้) หากเป็นชายจะเป็นมือซ้ายทับมือขวา และหากเป็นหญิงจะเป็นขวาทับซ้าย (สังเกตเปรียบเทียบได้จากรูป) จากนั้นก้มหลังตรงจากเอวลงมาพร้อมกับดันมือออกไปข้างหน้าเล็กน้อย ในบันทึกทางพิธีการสมัยราชวงศ์โจว (1050-256 ปีก่อนคริสตกาล) มีการจำแนกจั๊วอี๊ออกเป็นอีกหลายลักษณะ คือ - ‘ถู่อี๊’ (土揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) แล้วมือโน้มลงต่ำเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่มีอาวุโสน้อยกว่าหรือศักดิ์ด้อยกว่า; - ‘สืออี๊’(時揖) คือการโค้งต่ำ (ประมาณ 60 องศา) โดยที่ระดับมือยังอยู่ที่หน้าอก เป็นการเคารพคนที่อาวุโสกว่า; - ‘เทียนอี๊’(天揖) คือการโค้งเล็กน้อย (ประมาณ 30 องศา) และมือยกขึ้นสูงเล็กน้อย เป็นการเคารพคนที่เสมอศักดิ์; - ‘เท่ออี๊’ (特揖) คือคำนับอีกฝ่ายทีละคนแทนที่จะคำนับครั้งเดียวต่อคนทั้งกลุ่ม; - ‘หลี่ว์อี๊’(旅揖) คือคำนับในแบบที่แตกต่างกันตามศักดิ์ของฝ่ายตรงข้าม; - ‘ผางซานอี๊’(旁三揖) คือการคำนับสามครั้งต่อคนทั้งกลุ่ม; และ - ‘ฉางอี๊’ (长揖) คือการคำนับแบบโค้งตัวลงต่ำมาก มือยืดออกไปมากขึ้นและยกขึ้นสูง เป็นการเคารพแบบสูงสุดของการทำจั๊วอี๊ แต่ยังเทียบไม่ได้กับการคุกเข่าคำนับ จึงมีวลีที่ว่า ‘ฉางอี๊ปู๋ไป้’ (长揖不拜) อันหมายถึงการแสดงความทะนงตนด้วยการเคารพนอบน้อมแต่ไม่ยอมคุกเข่าให้ แต่ในกรณีที่เป็นการทำความเคารพในงานศพจะสลับมือกัน คือเป็นขวาทับซ้ายสำหรับชาย และซ้ายทับขวาสำหรับหญิงแทน จริงๆ แล้วตามบันทึกและภาพวาดทางประวัติศาสตร์กลับไม่ค่อยปรากฏสตรีมีการทำจั๊วอี๊สักเท่าไหร่ โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังลงมา แล้วผู้หญิงเขาทำความเคารพอย่างไร? ในละครเรื่องเดียวกันจะเห็นผู้หญิงกำมือวางซ้อนกัน (ขวาบนซ้ายล่าง) อยู่ระดับเอวแล้วย่อตัวลงเล็กน้อย (ดูรูปประกอบ) ท่านี้เรียกว่า ‘ว่านฝู’ (万福) ซึ่งใช้ปกติทั่วไปในยุคสมัยหมิงยกเว้นกรณีที่เป็นทางการอย่างยิ่ง อย่างเช่นในเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ที่นางเอกทำจั๊วอี๊ในพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งจั๊วอี๊และว่านฝูที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการทำความเคารพแบบของชาวจีนเชื้อสายฮั่น ไม่ใช่แมนจู ดังนั้นเพื่อนเพจที่ดูละครสมัยราชวงศ์ชิงจะไม่เห็นท่าทำความเคารพแบบนี้แม้ว่าในสมัยชิงจะมีท่าทำความเคารพที่เรียกว่าว่านฝูเหมือนกัน เขียนเพิ่มเมื่อวันที่ 11/6: ท่าทำความเคารพของจั๊วอี๊ที่ถูกต้องคือประสานมือก่อนแล้วค่อยดันมือออกไป (เหมือนที่ Storyฯ ได้บรรยายภาพที่เห็นในละครนะคะ ไม่ใช่กางแขนออกแล้วประสานไว้ไกลๆ เป็นวงใหญ่) อันนี้เป็นนัยว่าเรากำลังยื่นมือออกไปเชื้อเชิญให้อีกฝ่ายเปิดใจกับเราและเรากำลังเปิดใจให้กับเขา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/l5nNxB Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.hk/item/%E4%BD%9C%E6%8F%96/6203317 https://kknews.cc/history/4lyoojx.html https://new.qq.com/omn/20190803/20190803A08S2B00.html https://www.newton.com.tw/wiki/%E4%BD%9C%E6%8F%96 #จั๊วอี๊ #จัวอี #การคำนับแบบจีน #ว่านฝู #ราชวงศ์หมิง
    TODAY.LINE.ME
    鍾漢良、譚松韻《錦心似玉》開播倒數,「庶女逆襲」超勵志,老夫少妻寵溺甜炸! | Bella儂儂 | LINE TODAY
    2020年許多陸劇都已就定位,目前正被排在待播的佇列,最近由鍾漢良、譚松韻主演的《錦心似玉》就已經邁入開播倒數,不過男主角從原本的宋威龍換角成鍾漢良,與女主角譚松韻配對卻被大家吐槽沒有CP感?大家就來看看這部戲還有什麼精彩亮點吧! 延伸閱讀:2020網友熱議6部陸劇推薦!甜寵神劇、懸疑推理、都市溫馨,每部讓人想一看再看 「庶女逆襲」劇情設定 source:#锦心似玉#-weibo 《錦心似玉》改編自紅遍中國網路的吱吱小說《庶女攻略》,「庶女逆襲」的安排,與唐嫣主演的《錦繡未央》、趙麗穎的《知否知否應是綠肥紅瘦》,劇情設定相同,女主角不再是天真無害的甜白傻,而是一步一步晉級打怪的「庶女逆襲」
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 446 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน

    ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป

    เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก

    ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย

    ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ

    ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ
    1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน)
    2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก)
    3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น
    4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด
    5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย
    แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก

    กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ

    ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี

    ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน

    เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499
    https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/news/gpevjl.html
    https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html
    https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060
    https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc
    https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561

    #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ 1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน) 2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก) 3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น 4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด 5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499 https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/news/gpevjl.html https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060 https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561 #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
    WWW.MYVIDEO.NET.TW
    大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻
    《大唐女法醫》描述18歲落魄貴女冉顏為了查明母親自殺真相,從小開始學習驗屍絕學,成人後巧遇刑部侍郎蕭頌、絕命殺手蘇伏和天才書生桑辰,解開一個又一個殺人情案,在探求真相的過程中遇到真愛的故事。大唐女法醫線上看-陸劇、浪漫愛情劇-戲劇-MyVideo|陪你每一刻 標籤:劇情,古裝,推理懸疑...
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 686 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation)

    เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน

    Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1)

    จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน

    ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า

    ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น

    คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก

    Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm
    https://sunnews.cc/entertainment/376897.html
    https://m.aihanfu.com/wen/3546/
    https://www.aihanfu.com/wen/2902/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845
    https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717

    #คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน
    ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation) เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1) จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm https://sunnews.cc/entertainment/376897.html https://m.aihanfu.com/wen/3546/ https://www.aihanfu.com/wen/2902/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845 https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717 #คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน
    玉楼春剧情介绍(1-43全集)大结局_电视剧_剧情客
    电视剧玉楼春剧情介绍,父亲遭人陷害,家道中落流离市井的官家千金林少春(白鹿饰)与当朝首辅之子孙玉楼(王一哲饰)相爱,嫁入了钟鸣鼎食的孙家。因出身问题,林少春屡遭排挤,但她凭着自身的智慧和善良,拯救濒临危机的家族财政、帮助不睦的兄嫂们重归于好,并使各怀心思的家人团...
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 469 มุมมอง 0 รีวิว
  • “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深)

    ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล)

    ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง!

    ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦)

    ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป

    จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้

    เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47
    https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深
    https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump

    #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深) ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล) ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง! ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦) ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47 https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深 https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 788 มุมมอง 0 รีวิว
  • นี่ละยิวจอมทรยศและเนรคุณ..#เมื่อยิวถามจีนว่า
    ทำไมไม่ช่วยอิสรา.เอล​รบกับ ฮามา.ส
    ลองฟังคับตอบ ประชาชนจีนที่รู้ประวัติศาสตร์​อ่านแล้วถึงกับอึง ยาวหน่อย แต่เป็นความรู้ระดับ #พันปี

    “เมื่อ Ross อเมริกันเชื้อสายยิวกล่าวโจมตี ทำไม จีน ไม่สนับสนุนอิสราเอลโจมตี ฮามาส“

    นี่คือคำตอบ
    ประวัติศาสตร์อีกมุมหนึ่งของชนชาติยิว...

    สองวันที่ผ่านมา
    Ross อดีตประธานภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคของ พรรครีพับริกัน
    ได้สร้างข่าวพาดหัวด้วยการ กล่าวหา ชาวจีน ที่เล่นอินเตอร์เนต ว่า ไม่มีความเห็นอกเห็นใจชาวยิว อันเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่กาซ่า..

    ต่อมา มีชาวเนตจีนรายหนึ่ง เข้ามาเห็น จึงเขียนบทความอย่างยืดยาว เพื่อสอนบทเรียนทาง ประวัติศาสตร์ แก่ชาวอเมริกันยิวคนนี้..
    สรุปว่า ต่อมา Ross ได้แอบลบบทวิจารณ์นี้ทิ้งไป...

    ไม่มีใครรู้ว่าผู้เขียนบทความโต้แย้งชายจีนผู้นี้เป็นใคร
    แต่ อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนของเขาได้หลุดรอดออกมา และ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง!

    เป็นข้อเขียนที่ทุกคนต้องอ่าน!

    เพราะเป็นการตอบโต้ที่แข็งกร้าวของชาวเนตจีน..( 11 กค. 2024 )

    สวัสดีครับคุณ Enge...
    ผมรู้สึกช๊อคไปกับคำพูดของคุณที่ว่า
    "หากโลกจะสนใจช่วยชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW II)ืชาวยิวหกล้านคนก็คงไม่ถูกสังหาร"...

    แต่นี่ คงมิใช่ เหตุผล หรือ ทำให้กองทัพยิว มีสิทธิที่จะก่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าแต่อย่างใด...

    ยิ่งไปกว่า มันไม่เป็นความจริงด้วย..

    ในระหว่าง WW II นั้น ชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ และ นานจิง กำลังถูกรุกราน และ ถูกสังหารหมู่ โดยกองทัพญี่ปุ่น
    ในขณะที่ชาวยิวถูกฆ่าโดยนาซี..

    แต่กระนั้นก็ดี แม้ชาวจีนจะประสบเคราะห์กรรมขนาดนั้น ก็ยังยินดีรับเอาชาวยิวกว่า 50,000 คน ที่อพยพไปยังประเทศจีนเพื่อหนีภัยจากนาซี...

    แต่วิธีตอบแทนแบบยิวก็คือ การร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทรัฐชาวยิว ขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน!
    แผนงานนี้เป็นที่เลื่องลือในนามของ Pufferfish Plan..
    แต่ก็โชคร้าย ซึ่งในที่สุดแผนการณ์นี้ล้มเหลว..
    ทำให้นิทานเรื่องชาวนาและงูเห่า ไม่อาจเกิดเป็นจริงได้ในแผ่นดินจีน...

    แต่ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อราวสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
    เจ้าหน้าที่คนของสถานทูตอิสราเอล ได้กล่าวอ้างอย่างเปิดเผยผ่านทางรูปถ่ายว่า ที่ตั้งของสถานทูตที่อยู่บนถนนในเซี่ยงไฮ้ เกิดจากการยินยอมให้ใช้ของฝรั่งเศส!(ทั้งที่เรื่องกฏหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ถูกยกเลิกไปนานแล้ว)

    แต่แน่นอน
    หากพูดถึงสัมพันธภาพระหว่างจีน กับ ชาวยิว ย่อมมีอะไรที่มากไปกว่านั้นมากมาย

    ชาวยิวได้ร่อนเร่มายังประเทศจีนตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ซ่ง
    หรือ ราวพันปีที่ผ่านมา และ ได้ตั้งถิ่นฐานในจีนตั้งแต่นั้นมา

    ราชวงศ์ซ่ง ปกครองอาณาจักรจีนโบราณ ที่ถือกันว่าสมบูรณ์พูนสุขิและ ร่ำรวยที่สุดราชวงศ์หนึ่ง

    อย่างไรก็ดี
    ในกาลต่อมา เมื่อราชวงศ์ซ่งล่มสลาย ผู้คนอพยพหนีภัยไปทางทิศใต้
    นักธุรกิจชาวยิว ที่มีชื่อสกุล Pu ได้ใช้กำลังทหารส่วนตัว เข่นฆ่าชาวเมืองจำนวนมากที่เคยเป็นราษฎรภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซ่ง แล้วนำศพไปให้กองทัพของราชวงศ์ หยวน
    เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของการยอมรับในอำนาจของผู้ปกครองชาว มงโกล รายใหม่

    ในหลายสิบปีหลังจากนั้น ราชวงศ์ จูหยวนจาง ได้โค่นราชวงศ์หยวนลง และ จัดตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น
    คนจีนที่สืบเชื้อสายจากชาวฮั่น จึงกลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง
    แต่ก็มิได้ขับไล่ชุมชนชาวยิวกลุ่มทรยศเหล่านี้ออกไป (ทั้งที่ได้เข่นฆ่าชาวจีนไปมากก่อนหน้านั้น)

    ต่อมา ในสมัยประวัติศาสตร์ช่วงการเกิดสงครามฝิ่น
    มีนักธุรกิจชาวยิว ตระกูล Sassoon ได้นำฝิ่นจำนวนมากมาจำหน่ายเพื่อหวังผลกำไร
    ทำให้ชาวจีนติดฝิ่นกันงอมแงม ประชากรชาวจีน อ่อนแอ และ ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก.. คุณ (Mr Ross)เคยใช้ชีวิตอยู่ในเอเซียมาหลายปี น่าจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้ดี

    เหตุการณ์ สงครามฉนวนกาซ่าในครั้งนี้
    ชาวจีน มิได้รู้สึกเห็นใจ ชาวยิว เพราะชาวจีน มีการศึกษาเรื่องคุณธรรม ร่วมสามพันปีมาแล้ว

    "Shangshu" วรรณกรรมคลาสิกที่ยังเหลืออยู่ของจีน ที่เขียนขึ้นมาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลหรือราว 3,000 ปีพอดี ซึ่งคงเป็นระยะเวลาเดียวกับที่ชาวยิวถูกขับไล่ออกจากดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promised Land) และเป็นชนชาติเร่ร่อนตั้งแต่นั้นมา

    ถ้าคุณ( Mr. Ross )คุ้นเคย กับอดีต และ ประวัติศาสตร์ ชาวยิว ของคุณ คุณก็ควรรับรู้และตระหนักถึงมันด้วย

    ชาวอียิปต์ ยอมรับ ชาวยิว เข้าไปในดินแดนของตน
    แต่ ชาวยิว กลับทรยศ ต่อชาวอียิปต์ หลายต่อหลายครั้ง
    จนในที่สุด ชาวยิว ก็ถูกเข่นฆ่าและ ขับไล่ออกไปจากดินแดนอียิปต์โดย กษัตริย์ฟาโรห์

    อาณาจักรโรมัน ยอมรับ ชาวยิว เป็นส่วนหนึ่งของโรมัน ถึงขนาดจัดตั้งชุมชนให้เป็น กลุ่มก้อน โดยเฉพาะ
    แต่ ชาวยิว กลับถือโอกาสก่อการกบฎ ในช่วงเวลาที่กษัตริย์ Trajan มุ่งขยายดินแดนไปทางตะวันออก และ กองกำลังความมั่นคงในโรมันอ่อนแอลง

    หลังจาก ชาวยิว สังหารกองกำลังโรมัน ที่มีอยู่น้อยนิด
    ชาวยิว ก็บุกสังหาร พลเรือนชาวโรมัน อย่างบ้าคลั่ง
    ถึงขนาด เฉือนเอาผิวหนังมาทำเสื้อผ้า กินเนื้อเป็นอาหาร และ โยนซากศพไปเป็นอาหารของสัตว์ดุร้าย..

    ในเมือง Cyprus Salamis และ Libya พลเรือนชาวโรมันราว 220,000 คน ถูกสังหารโดย ชาวยิว

    แม้ต่อหน้าพลเรือนชาวโรมัน
    ชาวยิวดูจะทารุณโหดร้ายมาก
    แต่ในที่สุดกษัตริย์ Trajan ใช้กำลังทหารเพียงสองชุด ก็สามารถทวงคืนอำนาจจากชาวยิวได้อย่างสมบูรณ์

    กองทัพโรมันที่โกรธแค้นได้เคลื่อนทัพจากดินแดนเมโสโปเตเมีย ไปตามฝั่ง ตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน..จนทำให้ชาวยิวที่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ถูกเข่นฆ่าจนเกือบหมด
    ต่อมา ชาวยิว ก็ก่อกบฎอีกครั้ง ครววนี้ มุ่งสังหารผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ

    แต่ครั้งนี้ โชคไม่เข้าข้างชาวยิว เมื่อต้องพบกับกษัตริย์ Hadrian ผู้ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดที่สุดคนหนึ่งของกรุงโรม ผู้ที่ได้ระดมกำลังทหาร 120,000 นาย เข้าจัดการสังหาร ชาวยิว ที่ก่อการกบฎได้อย่างเบ็ดเสร็จ

    กษัตริย์ Hadrian ได้ศึกษาบทเรียนจากยุคสมัยของกษัตริย์ Trajan
    จึงได้ยกเลิก ชุมชนชาวยิว เสียทั้งหมด
    ทำให้ชาวยิวต้องอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และ แตกกระสานซ่านเซ็นไปทั่วโลก

    นอกจากนั้น ยังมีจักรพรรดิ Titus ผู้บุกทำลาย และ สังหาร ชาวยิวในกรุงเยลูซาเล็ม
    ที่เคยเป็น Second Temple จนปัจจุบันเหลือเพียง Western Wall (หรือที่เรียกว่า กำแพงร้องไห้)ที่ชาวยิวใช้เป็นที่สวดมนต์ไปติดต่อพระเจ้าฯ

    เป็นเวลานับพันปี ที่ชาวยิว ต้องถูก เข่นฆ่า และ ขับออกนอกประเทศต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน
    แต่ พวกคุณ ชาวยิว ก็ได้ทรยศต่อ ชาติต่างๆ จำนวนไม่น้อย ที่เห็นอกเห็นใจต่อความยากลำบากของพวกคุณ

    กระนั้นก็ดี
    พวกคุณ ก็ยังคงโอหัง เชื่อว่า ชนชาติตน เป็นชนชาติอภิสิทธิ์ ที่เหนือกว่าคนชาติอื่นๆ และ เชื่อว่า เป็น ชนชาติ ที่พระเจ้าเลือกสรรไว้ ให้เป็นใหญ่กว่าชนชาติอื่นใด

    ทำให้ ชาวไซออนนิสยิว ไม่เคยตระหนักถึงอดีตของตน..
    จนเป็นที่สรุปกันแล้วว่า วัฒนธรรมของชนชาติยิว มีลักษณะที่เข้ากับใครยาก และ ไม่ยอมปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรมอื่น

    ความเชื่อของชาวยิวเหล่านี้ จะใช้กับคนจีนไม่ได้
    เพราะ คนจีนมีหลักการด้านคุณธรรมของตนเอง และ ไม่เคยคิดว่าชนชาติตนเหนือกว่าคนชนะชาติอื่น
    แต่จะปฏิบัติต่อคนชาติอื่น อย่างเท่าเทียมกัน และ ไม่เกรงกลัวต่อชนชาติอื่น ที่คิดว่าเหนือกว่าชาวจีน

    คนจีน จะมีความ อดทน อดกลั้น มีความละอายใจ มีความกตัญญูรู้คุณ และ รู้จักตอบแทนบุญคุณคน

    John Rabe อดีตนาซี ผู้ที่ครั้งหนึ่ง เคยช่วยชีวิตชาวจีนที่นานจิง คนจีนที่รู้เรื่องนี้ จะนึกถึงบุญคุณของเขาเสมอ

    จากเหตุการณ์ เมื่อสองปีที่แล้ว ที่โรงพยาบาล สถานที่ที่หลานของ John Rabe ทำงานอยู่ เกิดการขาดแคลนยารักษาโรค
    จึงร้องขอความช่วยเหลือไปยังสถานทูตจีนในเยอรมัน
    ปรากฏว่า ชาวจีนต่างช่วยกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กันอย่างแข็งขัน ด้วยความสำนึกในพระคุณในอดีต ของ John Rabe

    ในช่วง WW II ประธานของสภากาชาดแห่งสวีเดน เคยช่วยเหลือเชลยถึง 35,000 คน จากค่ายกักกันของนาซี
    โดยในจำนวนนี้เป็นชาวยิวถึง 6,000 คน..

    ต่อมา เมื่อเขาถูกยูเอ็น ส่งไปเป็นผู้แทน เพื่อยืนยันประเด็นที่เกี่ยวกับขอบเขตดินแดนในกรุงเยรูซาเล็ม ที่กำหนดขึ้นใหม่ระหว่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์

    ปรากฏว่าเขาถูกยิงถึงหกนัดและเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ จากมือสังหารชาวยิว..
    เพียงเพราะ เขาพูดถึง "ความยุติธรรม" เพียงไม่กี่คำ

    ในระหว่าง WW II เช่นเดียวกัน
    ประเทศยูโกสลาเวีย เคยช่วยชีวิตเด็กผู้หญิงชาวยิวไว้คนหนึ่ง..
    แต่ 50 ปีต่อมา เธอกลับเป็นคนสั่งให้ทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียอย่างไม่เลือกหน้า...

    หลายปีต่อมา
    เมื่อเธอ ถูกผู้สื่อข่าวถามในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า เธอรู้สึกเสียใจบ้างหรือไม่ กับการสั่งทิ้งระเบิดยูโกสลาเวีย..
    เธอตอบว่า.."ไม่เลย"..

    เธอผู้นั้น คือ อดีตสตรีที่เป็น รัฐมนตรีต่างประเทศ คนแรกของสหรัฐ..Madeleine Albright!

    ในการให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 Minutes ในปี1996..
    M. Albright กล่าวว่า
    การที่สหรัฐแซงชั่นอิรัค(สมัยซัดดัม) ซึ่งได้สังหารเด็กชาวอิรัคไปกว่าครึ่งล้าน (เพราะขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค)นั้น
    เป็นสิ่งที่คุ้มค่า!
    ทั้งๆที่ การบุกเข้ายึดครองอิรัคเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ
    เพราะสหรัฐอ้างว่า อิรัคกำลังผลิตอาวุธทำลายล้าง
    ด้วยการนำเสนอเพียงภาพ “ผงซักฟอก” ในสื่อ ว่าคือ “สารเคมี” ที่ใช้สร้างอาวุธชีวภาพ

    นาง M. Albright กล่าวอย่างโจ่งแจ้งท้าทายว่า..
    การเข่นฆ่าเด็กนับล้าน เป็นสิ่งที่คุ้มค่าแล้ว!

    ในปี 1947 เมื่อชาวยิว อพยพทางเรือมายังดินแดนปาเลสไตน์
    มีการเขียนข้างลำเรือไว้ว่า..
    "คนเยอรมันได้ทำลายบ้านเรือนของเรา โปรดอย่าทำลายความหวังของเราอีก"...

    ด้วยความเมตตา ชาวปาเลสไตน์ยอมรับชาวยิวอพยพเข้าสู่ดินแดนของตน..
    ในที่สุด ชาวยิว อ้างในภายหลังว่า ดินแดน ปาเลสไตน์ นี้ เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา- Promised Land ของพวกเราชนชาติยิว!

    ตลอดเวลากว่า 70 ปี ที่ชาวไซออนนิสต์ยิว ได้สังหารชาวปาเลสไตน์ ผู้ที่เมตตา และ ยินยอมให้ชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องยาวนาน

    แต่ ชาวยิว กลับมาเนรคุณ สร้างอาณาจักรแห่งการเหยียดผิว ที่เปรียบเสมือนเรือนจำกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก..
    และ ยังปฏิบัติ ต่อชาวปาเลสไตน์เยี่ยงสัตว์ (subhumans)

    พวกคุณชาวยิว
    ยังจะต้องการความเห็นอกเห็นใจอีกมากแค่ไหน คุณจึงจะพอใจ

    สำหรับการไม่รู้จักบุญคุณคน และ จากข้อมูลใน ประวัติศาสตร์ที่พวกคุณตอบแทนความเมตตา และ ตอบแทนการยอมรับของคนชาติอื่นด้วยการทรยศ ด้วยการพร้อมที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาติอื่นที่เคยช่วยเหลือพวกคุณ ชาวยิว อีกหรือ!

    ประโยคหนึ่ง ที่เขียนในวรรณกรรมคลาสสิก ของจีน ที่ชื่อว่า..“การเดินหน้าเข้าสู่ตวามตาย” (The Death March)...กล่าวว่า

    "ประเทศเล็ก ที่ไม่ตระหนักในตนเอง ไม่เคารพต่อประเทศอื่นๆ แสดงความหยาบช้า ดูถูกดูแคลน ประเทศเพื่อนบ้านอันมั่นคงที่ตั้งอยู่ก่อน
    พลันแต่มี ความโลภ ไม่อินังขังขอบต่อ มิตรภาพ และ ความเป็นเพื่อน..
    ก็ย่อมจะนำพาตนเอง เดินทางไปสู่ความพินาศย่อยยับอย่างไม่ต้องสงสัย“

    บทความนี้น่าสนใจมาก
    เป็นประวัติศาสตร์ ที่ชาวโลกอีกหลายล้านอาจจะยังไม่เคยได้รับรู้

    ซึ่ง อาจจะมีคนตั้งกระทู้ ตั้งข้อโต้แย้ง ขึ้นมาได้

    อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทราบความเป็นจริง
    อยู่ที่ คนตั้งกระทู้ จะหาหลักฐานมาโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ ได้ หรือ ไม่ได้

    ซึ่งหากมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาโต้แย้งได้
    ก็จะยิ่งน่าศึกษา น่าติดตาม
    เพื่อให้ความจริงกระจ่างยิ่งขึ้น
    และ นับเป็นเรื่องดี ที่จะได้ทราบกันจริงๆว่า
    “ ยิว เป็นชนชาติประเภทใด?“
    ดีจริงแท้ หรือ ซาตานลวงโลก กันแน่ ?
    ......
    (แปลโดย : SB-22/07/24)
    ส่งต่อจาก วิชา มหาคุณ
    นี่ละยิวจอมทรยศและเนรคุณ..#เมื่อยิวถามจีนว่า ทำไมไม่ช่วยอิสรา.เอล​รบกับ ฮามา.ส ลองฟังคับตอบ ประชาชนจีนที่รู้ประวัติศาสตร์​อ่านแล้วถึงกับอึง ยาวหน่อย แต่เป็นความรู้ระดับ #พันปี “เมื่อ Ross อเมริกันเชื้อสายยิวกล่าวโจมตี ทำไม จีน ไม่สนับสนุนอิสราเอลโจมตี ฮามาส“ นี่คือคำตอบ ประวัติศาสตร์อีกมุมหนึ่งของชนชาติยิว... สองวันที่ผ่านมา Ross อดีตประธานภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคของ พรรครีพับริกัน ได้สร้างข่าวพาดหัวด้วยการ กล่าวหา ชาวจีน ที่เล่นอินเตอร์เนต ว่า ไม่มีความเห็นอกเห็นใจชาวยิว อันเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่กาซ่า.. ต่อมา มีชาวเนตจีนรายหนึ่ง เข้ามาเห็น จึงเขียนบทความอย่างยืดยาว เพื่อสอนบทเรียนทาง ประวัติศาสตร์ แก่ชาวอเมริกันยิวคนนี้.. สรุปว่า ต่อมา Ross ได้แอบลบบทวิจารณ์นี้ทิ้งไป... ไม่มีใครรู้ว่าผู้เขียนบทความโต้แย้งชายจีนผู้นี้เป็นใคร แต่ อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนของเขาได้หลุดรอดออกมา และ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง! เป็นข้อเขียนที่ทุกคนต้องอ่าน! เพราะเป็นการตอบโต้ที่แข็งกร้าวของชาวเนตจีน..( 11 กค. 2024 ) สวัสดีครับคุณ Enge... ผมรู้สึกช๊อคไปกับคำพูดของคุณที่ว่า "หากโลกจะสนใจช่วยชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW II)ืชาวยิวหกล้านคนก็คงไม่ถูกสังหาร"... แต่นี่ คงมิใช่ เหตุผล หรือ ทำให้กองทัพยิว มีสิทธิที่จะก่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าแต่อย่างใด... ยิ่งไปกว่า มันไม่เป็นความจริงด้วย.. ในระหว่าง WW II นั้น ชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ และ นานจิง กำลังถูกรุกราน และ ถูกสังหารหมู่ โดยกองทัพญี่ปุ่น ในขณะที่ชาวยิวถูกฆ่าโดยนาซี.. แต่กระนั้นก็ดี แม้ชาวจีนจะประสบเคราะห์กรรมขนาดนั้น ก็ยังยินดีรับเอาชาวยิวกว่า 50,000 คน ที่อพยพไปยังประเทศจีนเพื่อหนีภัยจากนาซี... แต่วิธีตอบแทนแบบยิวก็คือ การร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทรัฐชาวยิว ขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน! แผนงานนี้เป็นที่เลื่องลือในนามของ Pufferfish Plan.. แต่ก็โชคร้าย ซึ่งในที่สุดแผนการณ์นี้ล้มเหลว.. ทำให้นิทานเรื่องชาวนาและงูเห่า ไม่อาจเกิดเป็นจริงได้ในแผ่นดินจีน... แต่ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อราวสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่คนของสถานทูตอิสราเอล ได้กล่าวอ้างอย่างเปิดเผยผ่านทางรูปถ่ายว่า ที่ตั้งของสถานทูตที่อยู่บนถนนในเซี่ยงไฮ้ เกิดจากการยินยอมให้ใช้ของฝรั่งเศส!(ทั้งที่เรื่องกฏหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ถูกยกเลิกไปนานแล้ว) แต่แน่นอน หากพูดถึงสัมพันธภาพระหว่างจีน กับ ชาวยิว ย่อมมีอะไรที่มากไปกว่านั้นมากมาย ชาวยิวได้ร่อนเร่มายังประเทศจีนตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ซ่ง หรือ ราวพันปีที่ผ่านมา และ ได้ตั้งถิ่นฐานในจีนตั้งแต่นั้นมา ราชวงศ์ซ่ง ปกครองอาณาจักรจีนโบราณ ที่ถือกันว่าสมบูรณ์พูนสุขิและ ร่ำรวยที่สุดราชวงศ์หนึ่ง อย่างไรก็ดี ในกาลต่อมา เมื่อราชวงศ์ซ่งล่มสลาย ผู้คนอพยพหนีภัยไปทางทิศใต้ นักธุรกิจชาวยิว ที่มีชื่อสกุล Pu ได้ใช้กำลังทหารส่วนตัว เข่นฆ่าชาวเมืองจำนวนมากที่เคยเป็นราษฎรภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซ่ง แล้วนำศพไปให้กองทัพของราชวงศ์ หยวน เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของการยอมรับในอำนาจของผู้ปกครองชาว มงโกล รายใหม่ ในหลายสิบปีหลังจากนั้น ราชวงศ์ จูหยวนจาง ได้โค่นราชวงศ์หยวนลง และ จัดตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น คนจีนที่สืบเชื้อสายจากชาวฮั่น จึงกลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง แต่ก็มิได้ขับไล่ชุมชนชาวยิวกลุ่มทรยศเหล่านี้ออกไป (ทั้งที่ได้เข่นฆ่าชาวจีนไปมากก่อนหน้านั้น) ต่อมา ในสมัยประวัติศาสตร์ช่วงการเกิดสงครามฝิ่น มีนักธุรกิจชาวยิว ตระกูล Sassoon ได้นำฝิ่นจำนวนมากมาจำหน่ายเพื่อหวังผลกำไร ทำให้ชาวจีนติดฝิ่นกันงอมแงม ประชากรชาวจีน อ่อนแอ และ ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก.. คุณ (Mr Ross)เคยใช้ชีวิตอยู่ในเอเซียมาหลายปี น่าจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้ดี เหตุการณ์ สงครามฉนวนกาซ่าในครั้งนี้ ชาวจีน มิได้รู้สึกเห็นใจ ชาวยิว เพราะชาวจีน มีการศึกษาเรื่องคุณธรรม ร่วมสามพันปีมาแล้ว "Shangshu" วรรณกรรมคลาสิกที่ยังเหลืออยู่ของจีน ที่เขียนขึ้นมาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลหรือราว 3,000 ปีพอดี ซึ่งคงเป็นระยะเวลาเดียวกับที่ชาวยิวถูกขับไล่ออกจากดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promised Land) และเป็นชนชาติเร่ร่อนตั้งแต่นั้นมา ถ้าคุณ( Mr. Ross )คุ้นเคย กับอดีต และ ประวัติศาสตร์ ชาวยิว ของคุณ คุณก็ควรรับรู้และตระหนักถึงมันด้วย ชาวอียิปต์ ยอมรับ ชาวยิว เข้าไปในดินแดนของตน แต่ ชาวยิว กลับทรยศ ต่อชาวอียิปต์ หลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุด ชาวยิว ก็ถูกเข่นฆ่าและ ขับไล่ออกไปจากดินแดนอียิปต์โดย กษัตริย์ฟาโรห์ อาณาจักรโรมัน ยอมรับ ชาวยิว เป็นส่วนหนึ่งของโรมัน ถึงขนาดจัดตั้งชุมชนให้เป็น กลุ่มก้อน โดยเฉพาะ แต่ ชาวยิว กลับถือโอกาสก่อการกบฎ ในช่วงเวลาที่กษัตริย์ Trajan มุ่งขยายดินแดนไปทางตะวันออก และ กองกำลังความมั่นคงในโรมันอ่อนแอลง หลังจาก ชาวยิว สังหารกองกำลังโรมัน ที่มีอยู่น้อยนิด ชาวยิว ก็บุกสังหาร พลเรือนชาวโรมัน อย่างบ้าคลั่ง ถึงขนาด เฉือนเอาผิวหนังมาทำเสื้อผ้า กินเนื้อเป็นอาหาร และ โยนซากศพไปเป็นอาหารของสัตว์ดุร้าย.. ในเมือง Cyprus Salamis และ Libya พลเรือนชาวโรมันราว 220,000 คน ถูกสังหารโดย ชาวยิว แม้ต่อหน้าพลเรือนชาวโรมัน ชาวยิวดูจะทารุณโหดร้ายมาก แต่ในที่สุดกษัตริย์ Trajan ใช้กำลังทหารเพียงสองชุด ก็สามารถทวงคืนอำนาจจากชาวยิวได้อย่างสมบูรณ์ กองทัพโรมันที่โกรธแค้นได้เคลื่อนทัพจากดินแดนเมโสโปเตเมีย ไปตามฝั่ง ตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน..จนทำให้ชาวยิวที่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ถูกเข่นฆ่าจนเกือบหมด ต่อมา ชาวยิว ก็ก่อกบฎอีกครั้ง ครววนี้ มุ่งสังหารผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ แต่ครั้งนี้ โชคไม่เข้าข้างชาวยิว เมื่อต้องพบกับกษัตริย์ Hadrian ผู้ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดที่สุดคนหนึ่งของกรุงโรม ผู้ที่ได้ระดมกำลังทหาร 120,000 นาย เข้าจัดการสังหาร ชาวยิว ที่ก่อการกบฎได้อย่างเบ็ดเสร็จ กษัตริย์ Hadrian ได้ศึกษาบทเรียนจากยุคสมัยของกษัตริย์ Trajan จึงได้ยกเลิก ชุมชนชาวยิว เสียทั้งหมด ทำให้ชาวยิวต้องอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และ แตกกระสานซ่านเซ็นไปทั่วโลก นอกจากนั้น ยังมีจักรพรรดิ Titus ผู้บุกทำลาย และ สังหาร ชาวยิวในกรุงเยลูซาเล็ม ที่เคยเป็น Second Temple จนปัจจุบันเหลือเพียง Western Wall (หรือที่เรียกว่า กำแพงร้องไห้)ที่ชาวยิวใช้เป็นที่สวดมนต์ไปติดต่อพระเจ้าฯ เป็นเวลานับพันปี ที่ชาวยิว ต้องถูก เข่นฆ่า และ ขับออกนอกประเทศต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน แต่ พวกคุณ ชาวยิว ก็ได้ทรยศต่อ ชาติต่างๆ จำนวนไม่น้อย ที่เห็นอกเห็นใจต่อความยากลำบากของพวกคุณ กระนั้นก็ดี พวกคุณ ก็ยังคงโอหัง เชื่อว่า ชนชาติตน เป็นชนชาติอภิสิทธิ์ ที่เหนือกว่าคนชาติอื่นๆ และ เชื่อว่า เป็น ชนชาติ ที่พระเจ้าเลือกสรรไว้ ให้เป็นใหญ่กว่าชนชาติอื่นใด ทำให้ ชาวไซออนนิสยิว ไม่เคยตระหนักถึงอดีตของตน.. จนเป็นที่สรุปกันแล้วว่า วัฒนธรรมของชนชาติยิว มีลักษณะที่เข้ากับใครยาก และ ไม่ยอมปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรมอื่น ความเชื่อของชาวยิวเหล่านี้ จะใช้กับคนจีนไม่ได้ เพราะ คนจีนมีหลักการด้านคุณธรรมของตนเอง และ ไม่เคยคิดว่าชนชาติตนเหนือกว่าคนชนะชาติอื่น แต่จะปฏิบัติต่อคนชาติอื่น อย่างเท่าเทียมกัน และ ไม่เกรงกลัวต่อชนชาติอื่น ที่คิดว่าเหนือกว่าชาวจีน คนจีน จะมีความ อดทน อดกลั้น มีความละอายใจ มีความกตัญญูรู้คุณ และ รู้จักตอบแทนบุญคุณคน John Rabe อดีตนาซี ผู้ที่ครั้งหนึ่ง เคยช่วยชีวิตชาวจีนที่นานจิง คนจีนที่รู้เรื่องนี้ จะนึกถึงบุญคุณของเขาเสมอ จากเหตุการณ์ เมื่อสองปีที่แล้ว ที่โรงพยาบาล สถานที่ที่หลานของ John Rabe ทำงานอยู่ เกิดการขาดแคลนยารักษาโรค จึงร้องขอความช่วยเหลือไปยังสถานทูตจีนในเยอรมัน ปรากฏว่า ชาวจีนต่างช่วยกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กันอย่างแข็งขัน ด้วยความสำนึกในพระคุณในอดีต ของ John Rabe ในช่วง WW II ประธานของสภากาชาดแห่งสวีเดน เคยช่วยเหลือเชลยถึง 35,000 คน จากค่ายกักกันของนาซี โดยในจำนวนนี้เป็นชาวยิวถึง 6,000 คน.. ต่อมา เมื่อเขาถูกยูเอ็น ส่งไปเป็นผู้แทน เพื่อยืนยันประเด็นที่เกี่ยวกับขอบเขตดินแดนในกรุงเยรูซาเล็ม ที่กำหนดขึ้นใหม่ระหว่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ปรากฏว่าเขาถูกยิงถึงหกนัดและเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ จากมือสังหารชาวยิว.. เพียงเพราะ เขาพูดถึง "ความยุติธรรม" เพียงไม่กี่คำ ในระหว่าง WW II เช่นเดียวกัน ประเทศยูโกสลาเวีย เคยช่วยชีวิตเด็กผู้หญิงชาวยิวไว้คนหนึ่ง.. แต่ 50 ปีต่อมา เธอกลับเป็นคนสั่งให้ทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียอย่างไม่เลือกหน้า... หลายปีต่อมา เมื่อเธอ ถูกผู้สื่อข่าวถามในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า เธอรู้สึกเสียใจบ้างหรือไม่ กับการสั่งทิ้งระเบิดยูโกสลาเวีย.. เธอตอบว่า.."ไม่เลย".. เธอผู้นั้น คือ อดีตสตรีที่เป็น รัฐมนตรีต่างประเทศ คนแรกของสหรัฐ..Madeleine Albright! ในการให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 Minutes ในปี1996.. M. Albright กล่าวว่า การที่สหรัฐแซงชั่นอิรัค(สมัยซัดดัม) ซึ่งได้สังหารเด็กชาวอิรัคไปกว่าครึ่งล้าน (เพราะขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค)นั้น เป็นสิ่งที่คุ้มค่า! ทั้งๆที่ การบุกเข้ายึดครองอิรัคเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะสหรัฐอ้างว่า อิรัคกำลังผลิตอาวุธทำลายล้าง ด้วยการนำเสนอเพียงภาพ “ผงซักฟอก” ในสื่อ ว่าคือ “สารเคมี” ที่ใช้สร้างอาวุธชีวภาพ นาง M. Albright กล่าวอย่างโจ่งแจ้งท้าทายว่า.. การเข่นฆ่าเด็กนับล้าน เป็นสิ่งที่คุ้มค่าแล้ว! ในปี 1947 เมื่อชาวยิว อพยพทางเรือมายังดินแดนปาเลสไตน์ มีการเขียนข้างลำเรือไว้ว่า.. "คนเยอรมันได้ทำลายบ้านเรือนของเรา โปรดอย่าทำลายความหวังของเราอีก"... ด้วยความเมตตา ชาวปาเลสไตน์ยอมรับชาวยิวอพยพเข้าสู่ดินแดนของตน.. ในที่สุด ชาวยิว อ้างในภายหลังว่า ดินแดน ปาเลสไตน์ นี้ เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา- Promised Land ของพวกเราชนชาติยิว! ตลอดเวลากว่า 70 ปี ที่ชาวไซออนนิสต์ยิว ได้สังหารชาวปาเลสไตน์ ผู้ที่เมตตา และ ยินยอมให้ชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องยาวนาน แต่ ชาวยิว กลับมาเนรคุณ สร้างอาณาจักรแห่งการเหยียดผิว ที่เปรียบเสมือนเรือนจำกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก.. และ ยังปฏิบัติ ต่อชาวปาเลสไตน์เยี่ยงสัตว์ (subhumans) พวกคุณชาวยิว ยังจะต้องการความเห็นอกเห็นใจอีกมากแค่ไหน คุณจึงจะพอใจ สำหรับการไม่รู้จักบุญคุณคน และ จากข้อมูลใน ประวัติศาสตร์ที่พวกคุณตอบแทนความเมตตา และ ตอบแทนการยอมรับของคนชาติอื่นด้วยการทรยศ ด้วยการพร้อมที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาติอื่นที่เคยช่วยเหลือพวกคุณ ชาวยิว อีกหรือ! ประโยคหนึ่ง ที่เขียนในวรรณกรรมคลาสสิก ของจีน ที่ชื่อว่า..“การเดินหน้าเข้าสู่ตวามตาย” (The Death March)...กล่าวว่า "ประเทศเล็ก ที่ไม่ตระหนักในตนเอง ไม่เคารพต่อประเทศอื่นๆ แสดงความหยาบช้า ดูถูกดูแคลน ประเทศเพื่อนบ้านอันมั่นคงที่ตั้งอยู่ก่อน พลันแต่มี ความโลภ ไม่อินังขังขอบต่อ มิตรภาพ และ ความเป็นเพื่อน.. ก็ย่อมจะนำพาตนเอง เดินทางไปสู่ความพินาศย่อยยับอย่างไม่ต้องสงสัย“ บทความนี้น่าสนใจมาก เป็นประวัติศาสตร์ ที่ชาวโลกอีกหลายล้านอาจจะยังไม่เคยได้รับรู้ ซึ่ง อาจจะมีคนตั้งกระทู้ ตั้งข้อโต้แย้ง ขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทราบความเป็นจริง อยู่ที่ คนตั้งกระทู้ จะหาหลักฐานมาโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ ได้ หรือ ไม่ได้ ซึ่งหากมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาโต้แย้งได้ ก็จะยิ่งน่าศึกษา น่าติดตาม เพื่อให้ความจริงกระจ่างยิ่งขึ้น และ นับเป็นเรื่องดี ที่จะได้ทราบกันจริงๆว่า “ ยิว เป็นชนชาติประเภทใด?“ ดีจริงแท้ หรือ ซาตานลวงโลก กันแน่ ? ...... (แปลโดย : SB-22/07/24) ส่งต่อจาก วิชา มหาคุณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1430 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ่านกันมานานเป็นเดือนกับบทความชุดเรื่องราวสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) จากละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ยังคุยกันไม่ครบสิบสองภาพ แต่ขอคั่นเปลี่ยนเรื่องคุยกันบ้าง เรื่องที่จะคุยในวันนี้ไม่เกี่ยวกับละครหรือนวนิยาย แต่เป็นเรื่องเล่าจากเพลงที่ Storyฯ ชอบมากเพลงหนึ่ง

    เพลงนี้โด่งดังในประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2018 เป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์เพราะมีกลิ่นอายของงิ้วแฝงอยู่ มีชื่อว่า ‘ชึหลิง’ (赤伶) หรือ ‘นักแสดงสีชาด’ ร้องโดย HITA แต่งเนื้อร้องโดย ชิงเยี่ยน (清彦) ดนตรีโดย หลี่เจี้ยนเหิง (李建衡) ต่อมามีหลายคนนำมาขับร้อง ทั้งที่เปลี่ยนเนื้อร้องและทั้งที่ใช้เนื้อร้องเดิม เชื่อว่าคงมีเพื่อนเพจบางท่านเคยได้ยิน แต่ Storyฯ มั่นใจว่าน้อยคนนักจะทราบถึงเรื่องราวที่แฝงไว้ในเพลงนี้

    ‘หลิง’ หมายถึงนักแสดงละครงิ้ว ส่วน ‘ชึ’ แปลตรงตัวว่าสีแดงชาด และอาจย่อมาจากคำว่า ‘ชึซิน’ ที่แปลว่าใจที่จงรักภักดีหรือปณิธานแรงกล้า ชื่อเพลงที่สั้นเพียงสองอักษรแต่มีความหมายสองชั้น เนื้อเพลงก็แฝงความหมายสองสามชั้นเช่นกัน เนื้อเพลงค่อนข้างยาว Storyฯ ขอแปลไว้ในรูปภาพที่สองแทน บางคำแปลอย่างตรงตัวเพื่อให้เพื่อนเพจได้ตีความและเห็นถึงเสน่ห์ของความหมายหลายชั้นของเพลงนี้

    เรื่องราวเบื้องหลังของเนื้อเพลง ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นอิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเข้าบุกและยึดครองหลายพื้นที่ของจีน กล่าวถึงนักแสดงงิ้วนามว่า เผยเยี่ยนจือ ที่โด่งดังในเมืองอันหย่วน เขาถูกทหารญี่ปุ่นเชิญแกมบังคับให้ขึ้นแสดงงิ้ว โดยขู่ว่าหากเขาไม่ยอมแสดง ทหารก็จะเผาโรงละครทิ้ง แต่เผยเยี่ยนจือรับคำอย่างไม่อิดออดและรับจัดแสดงเรื่อง ‘พัดดอกท้อ’ (桃花扇 / เถาฮวาซ่าน) ในคืนที่แสดงนั้น เผยเยี่ยนจืออยู่บนเวทีร้องออกมาว่า “จุดไฟ” กว่าทหารญี่ปุ่นจะรู้ตัวก็ถูกกักอยู่ในโรงละครที่ลุกเป็นไฟ เพราะก่อนหน้านี้คณะละครได้ราดน้ำมันเตรียมวางเพลิงไว้แล้ว ไฟลามไปเรื่อยๆ ทหารญี่ปุ่นพยายามหนีตายแต่หนีไม่พ้น ละครงิ้วก็แสดงไปเรื่อยๆ จวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายของคณะละคร

    มันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยใช้เผยเยี่ยนจือเป็นตัวแทนความรักชาติของประชาชนคนธรรมดา แต่เสน่ห์ของเพลงนี้คือความหมายหลายชั้นของคำที่ใช้ ยังมีอีกสองประเด็นที่จะทำให้เราเข้าใจเพลงนี้ได้ดียิ่งขึ้น

    ประเด็นแรกคือปูมหลังทางวัฒนธรรม มีวลีจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ‘นางคณิกาไร้ใจ นักแสดงไร้คุณธรรม’ ซึ่งมีบริบททางสังคมที่ดูถูกนักแสดงว่าเป็นชนชั้นต่ำ ทำทุกอย่างได้เพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นในเนื้อเพลงนี้ว่า นักแสดงละครรำพันว่าแม้ตัวเองด้อยค่า แต่มิใช่ไร้ใจภักดีต่อชาติบ้านเมือง

    ประเด็นที่สองคือเรื่องราวของ ‘พัดดอกท้อ’ มันเป็นละครงิ้วในสมัยชิงที่นิยมแสดงกันมาจวบปัจจุบัน เป็นเรื่องราวรักรันทดของหลี่เซียงจวินและโหวฟางอวี้

    หลี่เซียงจวินเป็นคณิกาชื่อดังสมัยปลายราชวงศ์หมิง อันเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักวุ่นวาย ขุนนางทุจริตมากมาย ชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งยังถูกรุกรานจากแมนจู นางเป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาแห่งแม่น้ำฉินหวย เช่นเดียวกับหลิ่วหรูซื่อที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0yKKz9BJs6VheqVhGF7RAW67QKyFaA3PEVX5j9zxCpdd4VCaNpFdXo3pbB2xkAS2wl)

    หลี่เซียงจวินเป็นลูกขุนนางที่ได้รับโทษเพราะไปมีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริต ถูกเชื่อมโยงกลายเป็นต่อต้านราชสำนัก จึงถูกขายไปอยู่หอนางโลมเมื่ออายุเพียงแปดขวบ แต่ยังโชคดีที่แม่เล้ารับเป็นบุตรบุญธรรม จึงโตมาอย่างเพียบพร้อมด้านการศึกษาและความสามารถทางดนตรี เน้นขายศิลปะไม่ขายตัว นางพบรักกับโหวฟางอวี้ซึ่งเป็นราชบัณฑิตมาจากตระกูลขุนนาง แต่เพราะพ่อของเขามีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริตและถูกกวาดล้างเช่นกัน ทางบ้านจึงตกอับยากจน ถึงขนาดต้องยืมเงินเพื่อนมาประมูลซื้อ ‘คืนแรก’ ของหลี่เซียงจวินเมื่อนางอายุครบสิบหกปี (เป็นธรรมเนียมของนางคณิกาสมัยนั้น เมื่ออายุสิบหกหากยังเป็นสาวพรหมจรรย์จะต้องเปิดประมูลซื้อตัว เป็นโอกาสที่จะได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปกับผู้ชนะการประมูล แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นได้เพียงอนุภรรยา) ต่อมาทั้งสองใช้ชีวิตคู่ด้วยกันในหอนางโลมนั้นเอง

    พวกเขามารู้ความจริงทีหลังว่า เงินก้อนที่ยืมเพื่อนมานั้น จริงๆ แล้วเป็นเงินของหร่วนต้าเฉิง ขุนนางใจโหดที่กวาดล้างขบวนการต่อต้านราชสำนัก หร่วนต้าเฉิงประสงค์ใช้เงินก้อนนี้มาดึงโหวฟางอวี้เข้าเป็นพวกเพราะชื่นชมในความรู้ความสามารถของเขา แต่ทั้งคู่ไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับหร่วนต้าเฉิง หลี่เซียงจวินจึงขายเครื่องประดับเอาเงินมาใช้หนี้ สร้างความโกรธแค้นให้หร่วนต้าเฉิงไม่น้อย เขาแก้แค้นด้วยการยัดเยียดข้อหาจับกลุ่มเพื่อนของโหวฟางอวี้ขังคุก โหวฟางอวี้ตัดสินใจหนีไปเข้าร่วมกับกองกำลังรักชาติ ก่อนไปเขามอบพัดเป็นของแทนใจให้นาง หร่วนต้าเฉิงจึงเอาความแค้นมาลงที่หลี่เซียงจวินแทน เขาวางแผนบีบให้นางแต่งไปเป็นอนุของขุนนางใกล้ชิดของฮ่องเต้ แต่นางเอาหัวชนเสาจนเลือดสาดไปบนพัดสลบไป เกิดเป็นคดีความใหญ่โตแต่ก็นับว่าหนีรอดจากการแต่งงานครั้งนี้ได้ ต่อมาเพื่อนของโหวฟางอวี้ได้วาดลายดอกท้อทับไปบนรอยเลือดบนพัด เกิดเป็นชื่อ ‘พัดดอกท้อ’ นี้ขึ้นมา

    แต่เรื่องยังไม่จบ สุดท้ายหร่วนต้าเฉิงวางแผนทำให้หลี่เซียงจวินถูกรับเข้าวังเป็นสนม เมื่อพระราชวังถูกตีแตก นางหนีรอดออกมาได้แต่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คลาดกันกับโหวฟางอวี้ที่ย้อนกลับมาหานาง เรื่องเล่าบั้นปลายชีวิตของนางมีหลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นหนึ่งคือต่อมานางป่วยหนักจนตาย ทิ้งไว้เพียงพัดที่เปื้อนเลือดให้โหวฟางอวี้ดูต่างหน้า

    ส่วนโหวฟางอวี้นั้นอยู่กับกองกำลังรักชาติ แต่สุดท้ายชาติล่มสลาย บั้นปลายชีวิตไม่เหลือใคร จึงปลงผมออกบวช วรรคที่ถูกพูดเป็นงิ้วในเพลงนักแสดงสีชาดนี้ สื่อถึงการปล่อยวางความรักหญิงชาย เป็นวรรคที่ยกมาจากบทละครงิ้วเรื่องพัดดอกท้อในตอนที่เขาออกบวชนี้เอง

    เพลงหนึ่งเพลงกับเรื่องราวซ้อนกันสองชั้น บนเวทีแสดงเรื่องราวรักรันทดพลัดพรากให้คนชม นักแสดงอยู่บนเวทีก็มองดูเรื่องราวบ้านเมืองที่เกิดขึ้นข้างล่างเวที ส่วนคนฟังอย่างเราก็ดูทั้งเรื่องราวบนและล่างเวที คงจะกล่าวได้ว่า ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเพลงที่สะท้อนถึงสัจธรรมชีวิต... แท้จริงแล้วโลกเรานี้คือละคร เรามองคนอื่น คนอื่นก็มองเรา

    เข้าใจความหมายและเรื่องราวแล้ว ลองอ่านคำแปลเนื้อเพลงอีกครั้งและเชิญเพื่อนเพจอินกับเพลงกันได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wIyq_jTZsBY&list=WL&index=245 หรือหาฟังเวอร์ชั่นอื่นได้ด้วยชื่อเพลง 赤伶 ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.jitapuji.com/5258.html
    https://www.art-mate.net/doc/63311?name=千珊粵劇工作坊《桃花扇》
    https://ppfocus.com/0/en57cfaab.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/news/8yly6nl.html
    https://www.sohu.com/a/475761718_120934298#google_vignette
    https://baike.baidu.com/item/侯方域/380394
    https://baike.baidu.com/item/桃花扇/5499
    https://shidian.baike.com/wikiid/7245205732429414461?prd=mobile&anchor=lj2jc6p91rp7
    https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F8F70CCD565152E14.aspx

    #ชึหลิง #HITA #หลี่เซียงจวิน #โหวเซียงอวี้ #พัดดอกท้อ #เถาฮวาซ่าน
    ผ่านกันมานานเป็นเดือนกับบทความชุดเรื่องราวสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) จากละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ยังคุยกันไม่ครบสิบสองภาพ แต่ขอคั่นเปลี่ยนเรื่องคุยกันบ้าง เรื่องที่จะคุยในวันนี้ไม่เกี่ยวกับละครหรือนวนิยาย แต่เป็นเรื่องเล่าจากเพลงที่ Storyฯ ชอบมากเพลงหนึ่ง เพลงนี้โด่งดังในประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2018 เป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์เพราะมีกลิ่นอายของงิ้วแฝงอยู่ มีชื่อว่า ‘ชึหลิง’ (赤伶) หรือ ‘นักแสดงสีชาด’ ร้องโดย HITA แต่งเนื้อร้องโดย ชิงเยี่ยน (清彦) ดนตรีโดย หลี่เจี้ยนเหิง (李建衡) ต่อมามีหลายคนนำมาขับร้อง ทั้งที่เปลี่ยนเนื้อร้องและทั้งที่ใช้เนื้อร้องเดิม เชื่อว่าคงมีเพื่อนเพจบางท่านเคยได้ยิน แต่ Storyฯ มั่นใจว่าน้อยคนนักจะทราบถึงเรื่องราวที่แฝงไว้ในเพลงนี้ ‘หลิง’ หมายถึงนักแสดงละครงิ้ว ส่วน ‘ชึ’ แปลตรงตัวว่าสีแดงชาด และอาจย่อมาจากคำว่า ‘ชึซิน’ ที่แปลว่าใจที่จงรักภักดีหรือปณิธานแรงกล้า ชื่อเพลงที่สั้นเพียงสองอักษรแต่มีความหมายสองชั้น เนื้อเพลงก็แฝงความหมายสองสามชั้นเช่นกัน เนื้อเพลงค่อนข้างยาว Storyฯ ขอแปลไว้ในรูปภาพที่สองแทน บางคำแปลอย่างตรงตัวเพื่อให้เพื่อนเพจได้ตีความและเห็นถึงเสน่ห์ของความหมายหลายชั้นของเพลงนี้ เรื่องราวเบื้องหลังของเนื้อเพลง ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นอิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเข้าบุกและยึดครองหลายพื้นที่ของจีน กล่าวถึงนักแสดงงิ้วนามว่า เผยเยี่ยนจือ ที่โด่งดังในเมืองอันหย่วน เขาถูกทหารญี่ปุ่นเชิญแกมบังคับให้ขึ้นแสดงงิ้ว โดยขู่ว่าหากเขาไม่ยอมแสดง ทหารก็จะเผาโรงละครทิ้ง แต่เผยเยี่ยนจือรับคำอย่างไม่อิดออดและรับจัดแสดงเรื่อง ‘พัดดอกท้อ’ (桃花扇 / เถาฮวาซ่าน) ในคืนที่แสดงนั้น เผยเยี่ยนจืออยู่บนเวทีร้องออกมาว่า “จุดไฟ” กว่าทหารญี่ปุ่นจะรู้ตัวก็ถูกกักอยู่ในโรงละครที่ลุกเป็นไฟ เพราะก่อนหน้านี้คณะละครได้ราดน้ำมันเตรียมวางเพลิงไว้แล้ว ไฟลามไปเรื่อยๆ ทหารญี่ปุ่นพยายามหนีตายแต่หนีไม่พ้น ละครงิ้วก็แสดงไปเรื่อยๆ จวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายของคณะละคร มันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยใช้เผยเยี่ยนจือเป็นตัวแทนความรักชาติของประชาชนคนธรรมดา แต่เสน่ห์ของเพลงนี้คือความหมายหลายชั้นของคำที่ใช้ ยังมีอีกสองประเด็นที่จะทำให้เราเข้าใจเพลงนี้ได้ดียิ่งขึ้น ประเด็นแรกคือปูมหลังทางวัฒนธรรม มีวลีจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ‘นางคณิกาไร้ใจ นักแสดงไร้คุณธรรม’ ซึ่งมีบริบททางสังคมที่ดูถูกนักแสดงว่าเป็นชนชั้นต่ำ ทำทุกอย่างได้เพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นในเนื้อเพลงนี้ว่า นักแสดงละครรำพันว่าแม้ตัวเองด้อยค่า แต่มิใช่ไร้ใจภักดีต่อชาติบ้านเมือง ประเด็นที่สองคือเรื่องราวของ ‘พัดดอกท้อ’ มันเป็นละครงิ้วในสมัยชิงที่นิยมแสดงกันมาจวบปัจจุบัน เป็นเรื่องราวรักรันทดของหลี่เซียงจวินและโหวฟางอวี้ หลี่เซียงจวินเป็นคณิกาชื่อดังสมัยปลายราชวงศ์หมิง อันเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักวุ่นวาย ขุนนางทุจริตมากมาย ชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งยังถูกรุกรานจากแมนจู นางเป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาแห่งแม่น้ำฉินหวย เช่นเดียวกับหลิ่วหรูซื่อที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0yKKz9BJs6VheqVhGF7RAW67QKyFaA3PEVX5j9zxCpdd4VCaNpFdXo3pbB2xkAS2wl) หลี่เซียงจวินเป็นลูกขุนนางที่ได้รับโทษเพราะไปมีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริต ถูกเชื่อมโยงกลายเป็นต่อต้านราชสำนัก จึงถูกขายไปอยู่หอนางโลมเมื่ออายุเพียงแปดขวบ แต่ยังโชคดีที่แม่เล้ารับเป็นบุตรบุญธรรม จึงโตมาอย่างเพียบพร้อมด้านการศึกษาและความสามารถทางดนตรี เน้นขายศิลปะไม่ขายตัว นางพบรักกับโหวฟางอวี้ซึ่งเป็นราชบัณฑิตมาจากตระกูลขุนนาง แต่เพราะพ่อของเขามีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริตและถูกกวาดล้างเช่นกัน ทางบ้านจึงตกอับยากจน ถึงขนาดต้องยืมเงินเพื่อนมาประมูลซื้อ ‘คืนแรก’ ของหลี่เซียงจวินเมื่อนางอายุครบสิบหกปี (เป็นธรรมเนียมของนางคณิกาสมัยนั้น เมื่ออายุสิบหกหากยังเป็นสาวพรหมจรรย์จะต้องเปิดประมูลซื้อตัว เป็นโอกาสที่จะได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปกับผู้ชนะการประมูล แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นได้เพียงอนุภรรยา) ต่อมาทั้งสองใช้ชีวิตคู่ด้วยกันในหอนางโลมนั้นเอง พวกเขามารู้ความจริงทีหลังว่า เงินก้อนที่ยืมเพื่อนมานั้น จริงๆ แล้วเป็นเงินของหร่วนต้าเฉิง ขุนนางใจโหดที่กวาดล้างขบวนการต่อต้านราชสำนัก หร่วนต้าเฉิงประสงค์ใช้เงินก้อนนี้มาดึงโหวฟางอวี้เข้าเป็นพวกเพราะชื่นชมในความรู้ความสามารถของเขา แต่ทั้งคู่ไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับหร่วนต้าเฉิง หลี่เซียงจวินจึงขายเครื่องประดับเอาเงินมาใช้หนี้ สร้างความโกรธแค้นให้หร่วนต้าเฉิงไม่น้อย เขาแก้แค้นด้วยการยัดเยียดข้อหาจับกลุ่มเพื่อนของโหวฟางอวี้ขังคุก โหวฟางอวี้ตัดสินใจหนีไปเข้าร่วมกับกองกำลังรักชาติ ก่อนไปเขามอบพัดเป็นของแทนใจให้นาง หร่วนต้าเฉิงจึงเอาความแค้นมาลงที่หลี่เซียงจวินแทน เขาวางแผนบีบให้นางแต่งไปเป็นอนุของขุนนางใกล้ชิดของฮ่องเต้ แต่นางเอาหัวชนเสาจนเลือดสาดไปบนพัดสลบไป เกิดเป็นคดีความใหญ่โตแต่ก็นับว่าหนีรอดจากการแต่งงานครั้งนี้ได้ ต่อมาเพื่อนของโหวฟางอวี้ได้วาดลายดอกท้อทับไปบนรอยเลือดบนพัด เกิดเป็นชื่อ ‘พัดดอกท้อ’ นี้ขึ้นมา แต่เรื่องยังไม่จบ สุดท้ายหร่วนต้าเฉิงวางแผนทำให้หลี่เซียงจวินถูกรับเข้าวังเป็นสนม เมื่อพระราชวังถูกตีแตก นางหนีรอดออกมาได้แต่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คลาดกันกับโหวฟางอวี้ที่ย้อนกลับมาหานาง เรื่องเล่าบั้นปลายชีวิตของนางมีหลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นหนึ่งคือต่อมานางป่วยหนักจนตาย ทิ้งไว้เพียงพัดที่เปื้อนเลือดให้โหวฟางอวี้ดูต่างหน้า ส่วนโหวฟางอวี้นั้นอยู่กับกองกำลังรักชาติ แต่สุดท้ายชาติล่มสลาย บั้นปลายชีวิตไม่เหลือใคร จึงปลงผมออกบวช วรรคที่ถูกพูดเป็นงิ้วในเพลงนักแสดงสีชาดนี้ สื่อถึงการปล่อยวางความรักหญิงชาย เป็นวรรคที่ยกมาจากบทละครงิ้วเรื่องพัดดอกท้อในตอนที่เขาออกบวชนี้เอง เพลงหนึ่งเพลงกับเรื่องราวซ้อนกันสองชั้น บนเวทีแสดงเรื่องราวรักรันทดพลัดพรากให้คนชม นักแสดงอยู่บนเวทีก็มองดูเรื่องราวบ้านเมืองที่เกิดขึ้นข้างล่างเวที ส่วนคนฟังอย่างเราก็ดูทั้งเรื่องราวบนและล่างเวที คงจะกล่าวได้ว่า ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเพลงที่สะท้อนถึงสัจธรรมชีวิต... แท้จริงแล้วโลกเรานี้คือละคร เรามองคนอื่น คนอื่นก็มองเรา เข้าใจความหมายและเรื่องราวแล้ว ลองอ่านคำแปลเนื้อเพลงอีกครั้งและเชิญเพื่อนเพจอินกับเพลงกันได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wIyq_jTZsBY&list=WL&index=245 หรือหาฟังเวอร์ชั่นอื่นได้ด้วยชื่อเพลง 赤伶 ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.jitapuji.com/5258.html https://www.art-mate.net/doc/63311?name=千珊粵劇工作坊《桃花扇》 https://ppfocus.com/0/en57cfaab.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/news/8yly6nl.html https://www.sohu.com/a/475761718_120934298#google_vignette https://baike.baidu.com/item/侯方域/380394 https://baike.baidu.com/item/桃花扇/5499 https://shidian.baike.com/wikiid/7245205732429414461?prd=mobile&anchor=lj2jc6p91rp7 https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F8F70CCD565152E14.aspx #ชึหลิง #HITA #หลี่เซียงจวิน #โหวเซียงอวี้ #พัดดอกท้อ #เถาฮวาซ่าน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1376 มุมมอง 0 รีวิว
  • #เมื่อยิวถามจีนว่า
    ทำไมไม่ช่วยอิสรา.เอล​รบกับ ฮามา.ส
    ลองฟังคับตอบ ประชาชนจีนที่รู้ประวัติศาสตร์​อ่านแล้วถึงกับอึง ยาวหน่อย แต่เป็นความรู้ระดับ #พันปี

    “เมื่อ Ross อเมริกันเชื้อสายยิวกล่าวโจมตี ทำไม จีน ไม่สนับสนุนอิสราเอลโจมตี ฮามาส“

    นี่คือคำตอบ

    (แปลโดย SB-22/07/24)
    ส่งต่อจาก วิชา มหาคุณ

    ประวัติศาสตร์อีกมุมหนึ่งของชนชาติยิว...

    สองวันที่ผ่านมา
    Ross อดีตประธานภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคของ พรรครีพับริกัน
    ได้สร้างข่าวพาดหัวด้วยการ กล่าวหา ชาวจีน ที่เล่นอินเตอร์เนต ว่า ไม่มีความเห็นอกเห็นใจชาวยิว อันเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่กาซ่า..

    ต่อมา มีชาวเนตจีนรายหนึ่ง เข้ามาเห็น จึงเขียนบทความอย่างยืดยาว เพื่อสอนบทเรียนทาง ประวัติศาสตร์ แก่ชาวอเมริกันยิวคนนี้..
    สรุปว่า ต่อมา Ross ได้แอบลบบทวิจารณ์นี้ทิ้งไป...

    ไม่มีใครรู้ว่าผู้เขียนบทความโต้แย้งชายจีนผู้นี้เป็นใคร
    แต่ อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนของเขาได้หลุดรอดออกมา และ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง!

    เป็นข้อเขียนที่ทุกคนต้องอ่าน!

    เพราะเป็นการตอบโต้ที่แข็งกร้าวของชาวเนตจีน..( 11 กค. 2024 )

    สวัสดีครับคุณ Enge...
    ผมรู้สึกช๊อคไปกับคำพูดของคุณที่ว่า
    "หากโลกจะสนใจช่วยชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW II)ืชาวยิวหกล้านคนก็คงไม่ถูกสังหาร"...

    แต่นี่ คงมิใช่ เหตุผล หรือ ทำให้กองทัพยิว มีสิทธิที่จะก่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าแต่อย่างใด...

    ยิ่งไปกว่า มันไม่เป็นความจริงด้วย..

    ในระหว่าง WW II นั้น ชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ และ นานจิง กำลังถูกรุกราน และ ถูกสังหารหมู่ โดยกองทัพญี่ปุ่น
    ในขณะที่ชาวยิวถูกฆ่าโดยนาซี..

    แต่กระนั้นก็ดี แม้ชาวจีนจะประสบเคราะห์กรรมขนาดนั้น ก็ยังยินดีรับเอาชาวยิวกว่า 50,000 คน ที่อพยพไปยังประเทศจีนเพื่อหนีภัยจากนาซี...

    แต่วิธีตอบแทนแบบยิวก็คือ การร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทรัฐชาวยิว ขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน!
    แผนงานนี้เป็นที่เลื่องลือในนามของ Pufferfish Plan..
    แต่ก็โชคร้าย ซึ่งในที่สุดแผนการณ์นี้ล้มเหลว..
    ทำให้นิทานเรื่องชาวนาและงูเห่า ไม่อาจเกิดเป็นจริงได้ในแผ่นดินจีน...

    แต่ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อราวสองสัปดาห์ที่ผ่านมา
    เจ้าหน้าที่คนของสถานทูตอิสราเอล ได้กล่าวอ้างอย่างเปิดเผยผ่านทางรูปถ่ายว่า ที่ตั้งของสถานทูตที่อยู่บนถนนในเซี่ยงไฮ้ เกิดจากการยินยอมให้ใช้ของฝรั่งเศส!(ทั้งที่เรื่องกฏหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ถูกยกเลิกไปนานแล้ว)

    แต่แน่นอน
    หากพูดถึงสัมพันธภาพระหว่างจีน กับ ชาวยิว ย่อมมีอะไรที่มากไปกว่านั้นมากมาย

    ชาวยิวได้ร่อนเร่มายังประเทศจีนตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ซ่ง
    หรือ ราวพันปีที่ผ่านมา และ ได้ตั้งถิ่นฐานในจีนตั้งแต่นั้นมา

    ราชวงศ์ซ่ง ปกครองอาณาจักรจีนโบราณ ที่ถือกันว่าสมบูรณ์พูนสุขิและ ร่ำรวยที่สุดราชวงศ์หนึ่ง

    อย่างไรก็ดี
    ในกาลต่อมา เมื่อราชวงศ์ซ่งล่มสลาย ผู้คนอพยพหนีภัยไปทางทิศใต้
    นักธุรกิจชาวยิว ที่มีชื่อสกุล Pu ได้ใช้กำลังทหารส่วนตัว เข่นฆ่าชาวเมืองจำนวนมากที่เคยเป็นราษฎรภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซ่ง แล้วนำศพไปให้กองทัพของราชวงศ์ หยวน
    เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของการยอมรับในอำนาจของผู้ปกครองชาว มงโกล รายใหม่

    ในหลายสิบปีหลังจากนั้น ราชวงศ์ จูหยวนจาง ได้โค่นราชวงศ์หยวนลง และ จัดตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น
    คนจีนที่สืบเชื้อสายจากชาวฮั่น จึงกลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง
    แต่ก็มิได้ขับไล่ชุมชนชาวยิวกลุ่มทรยศเหล่านี้ออกไป (ทั้งที่ได้เข่นฆ่าชาวจีนไปมากก่อนหน้านั้น)

    ต่อมา ในสมัยประวัติศาสตร์ช่วงการเกิดสงครามฝิ่น
    มีนักธุรกิจชาวยิว ตระกูล Sassoon ได้นำฝิ่นจำนวนมากมาจำหน่ายเพื่อหวังผลกำไร
    ทำให้ชาวจีนติดฝิ่นกันงอมแงม ประชากรชาวจีน อ่อนแอ และ ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก.. คุณ (Mr Ross)เคยใช้ชีวิตอยู่ในเอเซียมาหลายปี น่าจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้ดี

    เหตุการณ์ สงครามฉนวนกาซ่าในครั้งนี้
    ชาวจีน มิได้รู้สึกเห็นใจ ชาวยิว เพราะชาวจีน มีการศึกษาเรื่องคุณธรรม ร่วมสามพันปีมาแล้ว

    "Shangshu" วรรณกรรมคลาสิกที่ยังเหลืออยู่ของจีน ที่เขียนขึ้นมาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลหรือราว 3,000 ปีพอดี ซึ่งคงเป็นระยะเวลาเดียวกับที่ชาวยิวถูกขับไล่ออกจากดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promised Land) และเป็นชนชาติเร่ร่อนตั้งแต่นั้นมา

    ถ้าคุณ( Mr. Ross )คุ้นเคย กับอดีต และ ประวัติศาสตร์ ชาวยิว ของคุณ คุณก็ควรรับรู้และตระหนักถึงมันด้วย

    ชาวอียิปต์ ยอมรับ ชาวยิว เข้าไปในดินแดนของตน
    แต่ ชาวยิว กลับทรยศ ต่อชาวอียิปต์ หลายต่อหลายครั้ง
    จนในที่สุด ชาวยิว ก็ถูกเข่นฆ่าและ ขับไล่ออกไปจากดินแดนอียิปต์โดย กษัตริย์ฟาโรห์

    อาณาจักรโรมัน ยอมรับ ชาวยิว เป็นส่วนหนึ่งของโรมัน ถึงขนาดจัดตั้งชุมชนให้เป็น กลุ่มก้อน โดยเฉพาะ
    แต่ ชาวยิว กลับถือโอกาสก่อการกบฎ ในช่วงเวลาที่กษัตริย์ Trajan มุ่งขยายดินแดนไปทางตะวันออก และ กองกำลังความมั่นคงในโรมันอ่อนแอลง

    หลังจาก ชาวยิว สังหารกองกำลังโรมัน ที่มีอยู่น้อยนิด
    ชาวยิว ก็บุกสังหาร พลเรือนชาวโรมัน อย่างบ้าคลั่ง
    ถึงขนาด เฉือนเอาผิวหนังมาทำเสื้อผ้า กินเนื้อเป็นอาหาร และ โยนซากศพไปเป็นอาหารของสัตว์ดุร้าย..

    ในเมือง Cyprus Salamis และ Libya พลเรือนชาวโรมันราว 220,000 คน ถูกสังหารโดย ชาวยิว

    แม้ต่อหน้าพลเรือนชาวโรมัน
    ชาวยิวดูจะทารุณโหดร้ายมาก
    แต่ในที่สุดกษัตริย์ Trajan ใช้กำลังทหารเพียงสองชุด ก็สามารถทวงคืนอำนาจจากชาวยิวได้อย่างสมบูรณ์

    กองทัพโรมันที่โกรธแค้นได้เคลื่อนทัพจากดินแดนเมโสโปเตเมีย ไปตามฝั่ง ตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน..จนทำให้ชาวยิวที่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ถูกเข่นฆ่าจนเกือบหมด
    ต่อมา ชาวยิว ก็ก่อกบฎอีกครั้ง ครววนี้ มุ่งสังหารผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ

    แต่ครั้งนี้ โชคไม่เข้าข้างชาวยิว เมื่อต้องพบกับกษัตริย์ Hadrian ผู้ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดที่สุดคนหนึ่งของกรุงโรม ผู้ที่ได้ระดมกำลังทหาร 120,000 นาย เข้าจัดการสังหาร ชาวยิว ที่ก่อการกบฎได้อย่างเบ็ดเสร็จ

    กษัตริย์ Hadrian ได้ศึกษาบทเรียนจากยุคสมัยของกษัตริย์ Trajan
    จึงได้ยกเลิก ชุมชนชาวยิว เสียทั้งหมด
    ทำให้ชาวยิวต้องอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และ แตกกระสานซ่านเซ็นไปทั่วโลก

    นอกจากนั้น ยังมีจักรพรรดิ Titus ผู้บุกทำลาย และ สังหาร ชาวยิวในกรุงเยลูซาเล็ม
    ที่เคยเป็น Second Temple จนปัจจุบันเหลือเพียง Western Wall (หรือที่เรียกว่า กำแพงร้องไห้)ที่ชาวยิวใช้เป็นที่สวดมนต์ไปติดต่อพระเจ้าฯ

    เป็นเวลานับพันปี ที่ชาวยิว ต้องถูก เข่นฆ่า และ ขับออกนอกประเทศต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน
    แต่ พวกคุณ ชาวยิว ก็ได้ทรยศต่อ ชาติต่างๆ จำนวนไม่น้อย ที่เห็นอกเห็นใจต่อความยากลำบากของพวกคุณ

    กระนั้นก็ดี
    พวกคุณ ก็ยังคงโอหัง เชื่อว่า ชนชาติตน เป็นชนชาติอภิสิทธิ์ ที่เหนือกว่าคนชาติอื่นๆ และ เชื่อว่า เป็น ชนชาติ ที่พระเจ้าเลือกสรรไว้ ให้เป็นใหญ่กว่าชนชาติอื่นใด

    ทำให้ ชาวไซออนนิสยิว ไม่เคยตระหนักถึงอดีตของตน..
    จนเป็นที่สรุปกันแล้วว่า วัฒนธรรมของชนชาติยิว มีลักษณะที่เข้ากับใครยาก และ ไม่ยอมปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรมอื่น

    ความเชื่อของชาวยิวเหล่านี้ จะใช้กับคนจีนไม่ได้
    เพราะ คนจีนมีหลักการด้านคุณธรรมของตนเอง และ ไม่เคยคิดว่าชนชาติตนเหนือกว่าคนชนะชาติอื่น
    แต่จะปฏิบัติต่อคนชาติอื่น อย่างเท่าเทียมกัน และ ไม่เกรงกลัวต่อชนชาติอื่น ที่คิดว่าเหนือกว่าชาวจีน

    คนจีน จะมีความ อดทน อดกลั้น มีความละอายใจ มีความกตัญญูรู้คุณ และ รู้จักตอบแทนบุญคุณคน

    John Rabe อดีตนาซี ผู้ที่ครั้งหนึ่ง เคยช่วยชีวิตชาวจีนที่นานจิง คนจีนที่รู้เรื่องนี้ จะนึกถึงบุญคุณของเขาเสมอ

    จากเหตุการณ์ เมื่อสองปีที่แล้ว ที่โรงพยาบาล สถานที่ที่หลานของ John Rabe ทำงานอยู่ เกิดการขาดแคลนยารักษาโรค
    จึงร้องขอความช่วยเหลือไปยังสถานทูตจีนในเยอรมัน
    ปรากฏว่า ชาวจีนต่างช่วยกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กันอย่างแข็งขัน ด้วยความสำนึกในพระคุณในอดีต ของ John Rabe

    ในช่วง WW II ประธานของสภากาชาดแห่งสวีเดน เคยช่วยเหลือเชลยถึง 35,000 คน จากค่ายกักกันของนาซี
    โดยในจำนวนนี้เป็นชาวยิวถึง 6,000 คน..

    ต่อมา เมื่อเขาถูกยูเอ็น ส่งไปเป็นผู้แทน เพื่อยืนยันประเด็นที่เกี่ยวกับขอบเขตดินแดนในกรุงเยรูซาเล็ม ที่กำหนดขึ้นใหม่ระหว่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์

    ปรากฏว่าเขาถูกยิงถึงหกนัดและเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ จากมือสังหารชาวยิว..
    เพียงเพราะ เขาพูดถึง "ความยุติธรรม" เพียงไม่กี่คำ

    ในระหว่าง WW II เช่นเดียวกัน
    ประเทศยูโกสลาเวีย เคยช่วยชีวิตเด็กผู้หญิงชาวยิวไว้คนหนึ่ง..
    แต่ 50 ปีต่อมา เธอกลับเป็นคนสั่งให้ทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียอย่างไม่เลือกหน้า...

    หลายปีต่อมา
    เมื่อเธอ ถูกผู้สื่อข่าวถามในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า เธอรู้สึกเสียใจบ้างหรือไม่ กับการสั่งทิ้งระเบิดยูโกสลาเวีย..
    เธอตอบว่า.."ไม่เลย"..

    เธอผู้นั้น คือ อดีตสตรีที่เป็น รัฐมนตรีต่างประเทศ คนแรกของสหรัฐ..Madeleine Albright!

    ในการให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 Minutes ในปี1996..
    M. Albright กล่าวว่า
    การที่สหรัฐแซงชั่นอิรัค(สมัยซัดดัม) ซึ่งได้สังหารเด็กชาวอิรัคไปกว่าครึ่งล้าน (เพราะขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค)นั้น
    เป็นสิ่งที่คุ้มค่า!
    ทั้งๆที่ การบุกเข้ายึดครองอิรัคเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ
    เพราะสหรัฐอ้างว่า อิรัคกำลังผลิตอาวุธทำลายล้าง
    ด้วยการนำเสนอเพียงภาพ “ผงซักฟอก” ในสื่อ ว่าคือ “สารเคมี” ที่ใช้สร้างอาวุธชีวภาพ

    นาง M. Albright กล่าวอย่างโจ่งแจ้งท้าทายว่า..
    การเข่นฆ่าเด็กนับล้าน เป็นสิ่งที่คุ้มค่าแล้ว!

    ในปี 1947 เมื่อชาวยิว อพยพทางเรือมายังดินแดนปาเลสไตน์
    มีการเขียนข้างลำเรือไว้ว่า..
    "คนเยอรมันได้ทำลายบ้านเรือนของเรา โปรดอย่าทำลายความหวังของเราอีก"...

    ด้วยความเมตตา ชาวปาเลสไตน์ยอมรับชาวยิวอพยพเข้าสู่ดินแดนของตน..
    ในที่สุด ชาวยิว อ้างในภายหลังว่า ดินแดน ปาเลสไตน์ นี้ เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา- Promised Land ของพวกเราชนชาติยิว!

    ตลอดเวลากว่า 70 ปี ที่ชาวไซออนนิสต์ยิว ได้สังหารชาวปาเลสไตน์ ผู้ที่เมตตา และ ยินยอมให้ชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องยาวนาน

    แต่ ชาวยิว กลับมาเนรคุณ สร้างอาณาจักรแห่งการเหยียดผิว ที่เปรียบเสมือนเรือนจำกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก..
    และ ยังปฏิบัติ ต่อชาวปาเลสไตน์เยี่ยงสัตว์ (subhumans)

    พวกคุณชาวยิว
    ยังจะต้องการความเห็นอกเห็นใจอีกมากแค่ไหน คุณจึงจะพอใจ

    สำหรับการไม่รู้จักบุญคุณคน และ จากข้อมูลใน ประวัติศาสตร์ที่พวกคุณตอบแทนความเมตตา และ ตอบแทนการยอมรับของคนชาติอื่นด้วยการทรยศ ด้วยการพร้อมที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาติอื่นที่เคยช่วยเหลือพวกคุณ ชาวยิว อีกหรือ!

    ประโยคหนึ่ง ที่เขียนในวรรณกรรมคลาสสิก ของจีน ที่ชื่อว่า..“การเดินหน้าเข้าสู่ตวามตาย” (The Death March)...กล่าวว่า

    "ประเทศเล็ก ที่ไม่ตระหนักในตนเอง ไม่เคารพต่อประเทศอื่นๆ แสดงความหยาบช้า ดูถูกดูแคลน ประเทศเพื่อนบ้านอันมั่นคงที่ตั้งอยู่ก่อน
    พลันแต่มี ความโลภ ไม่อินังขังขอบต่อ มิตรภาพ และ ความเป็นเพื่อน..
    ก็ย่อมจะนำพาตนเอง เดินทางไปสู่ความพินาศย่อยยับอย่างไม่ต้องสงสัย“

    บทความนี้น่าสนใจมาก
    เป็นประวัติศาสตร์ ที่ชาวโลกอีกหลายล้านอาจจะยังไม่เคยได้รับรู้

    ซึ่ง อาจจะมีคนตั้งกระทู้ ตั้งข้อโต้แย้ง ขึ้นมาได้

    อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทราบความเป็นจริง
    อยู่ที่ คนตั้งกระทู้ จะหาหลักฐานมาโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ ได้ หรือ ไม่ได้

    ซึ่งหากมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาโต้แย้งได้
    ก็จะยิ่งน่าศึกษา น่าติดตาม
    เพื่อให้ความจริงกระจ่างยิ่งขึ้น
    และ นับเป็นเรื่องดี ที่จะได้ทราบกันจริงๆว่า
    “ ยิว เป็นชนชาติประเภทใด?“
    ดีจริงแท้ หรือ ซาตานลวงโลก กันแน่ ?
    ......
    (แปลโดย : SB-22/07/24)
    ส่งต่อจาก วิชา มหาคุณ
    #เมื่อยิวถามจีนว่า ทำไมไม่ช่วยอิสรา.เอล​รบกับ ฮามา.ส ลองฟังคับตอบ ประชาชนจีนที่รู้ประวัติศาสตร์​อ่านแล้วถึงกับอึง ยาวหน่อย แต่เป็นความรู้ระดับ #พันปี “เมื่อ Ross อเมริกันเชื้อสายยิวกล่าวโจมตี ทำไม จีน ไม่สนับสนุนอิสราเอลโจมตี ฮามาส“ นี่คือคำตอบ (แปลโดย SB-22/07/24) ส่งต่อจาก วิชา มหาคุณ ประวัติศาสตร์อีกมุมหนึ่งของชนชาติยิว... สองวันที่ผ่านมา Ross อดีตประธานภาคพื้นเอเซียแปซิฟิคของ พรรครีพับริกัน ได้สร้างข่าวพาดหัวด้วยการ กล่าวหา ชาวจีน ที่เล่นอินเตอร์เนต ว่า ไม่มีความเห็นอกเห็นใจชาวยิว อันเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งที่กาซ่า.. ต่อมา มีชาวเนตจีนรายหนึ่ง เข้ามาเห็น จึงเขียนบทความอย่างยืดยาว เพื่อสอนบทเรียนทาง ประวัติศาสตร์ แก่ชาวอเมริกันยิวคนนี้.. สรุปว่า ต่อมา Ross ได้แอบลบบทวิจารณ์นี้ทิ้งไป... ไม่มีใครรู้ว่าผู้เขียนบทความโต้แย้งชายจีนผู้นี้เป็นใคร แต่ อย่างไรก็ตาม ข้อเขียนของเขาได้หลุดรอดออกมา และ ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง! เป็นข้อเขียนที่ทุกคนต้องอ่าน! เพราะเป็นการตอบโต้ที่แข็งกร้าวของชาวเนตจีน..( 11 กค. 2024 ) สวัสดีครับคุณ Enge... ผมรู้สึกช๊อคไปกับคำพูดของคุณที่ว่า "หากโลกจะสนใจช่วยชาวยิวในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW II)ืชาวยิวหกล้านคนก็คงไม่ถูกสังหาร"... แต่นี่ คงมิใช่ เหตุผล หรือ ทำให้กองทัพยิว มีสิทธิที่จะก่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซ่าแต่อย่างใด... ยิ่งไปกว่า มันไม่เป็นความจริงด้วย.. ในระหว่าง WW II นั้น ชาวจีนในเซี่ยงไฮ้ และ นานจิง กำลังถูกรุกราน และ ถูกสังหารหมู่ โดยกองทัพญี่ปุ่น ในขณะที่ชาวยิวถูกฆ่าโดยนาซี.. แต่กระนั้นก็ดี แม้ชาวจีนจะประสบเคราะห์กรรมขนาดนั้น ก็ยังยินดีรับเอาชาวยิวกว่า 50,000 คน ที่อพยพไปยังประเทศจีนเพื่อหนีภัยจากนาซี... แต่วิธีตอบแทนแบบยิวก็คือ การร่วมมือกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างทรัฐชาวยิว ขึ้นในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน! แผนงานนี้เป็นที่เลื่องลือในนามของ Pufferfish Plan.. แต่ก็โชคร้าย ซึ่งในที่สุดแผนการณ์นี้ล้มเหลว.. ทำให้นิทานเรื่องชาวนาและงูเห่า ไม่อาจเกิดเป็นจริงได้ในแผ่นดินจีน... แต่ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่านั้นคือ เมื่อราวสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่คนของสถานทูตอิสราเอล ได้กล่าวอ้างอย่างเปิดเผยผ่านทางรูปถ่ายว่า ที่ตั้งของสถานทูตที่อยู่บนถนนในเซี่ยงไฮ้ เกิดจากการยินยอมให้ใช้ของฝรั่งเศส!(ทั้งที่เรื่องกฏหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ถูกยกเลิกไปนานแล้ว) แต่แน่นอน หากพูดถึงสัมพันธภาพระหว่างจีน กับ ชาวยิว ย่อมมีอะไรที่มากไปกว่านั้นมากมาย ชาวยิวได้ร่อนเร่มายังประเทศจีนตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ซ่ง หรือ ราวพันปีที่ผ่านมา และ ได้ตั้งถิ่นฐานในจีนตั้งแต่นั้นมา ราชวงศ์ซ่ง ปกครองอาณาจักรจีนโบราณ ที่ถือกันว่าสมบูรณ์พูนสุขิและ ร่ำรวยที่สุดราชวงศ์หนึ่ง อย่างไรก็ดี ในกาลต่อมา เมื่อราชวงศ์ซ่งล่มสลาย ผู้คนอพยพหนีภัยไปทางทิศใต้ นักธุรกิจชาวยิว ที่มีชื่อสกุล Pu ได้ใช้กำลังทหารส่วนตัว เข่นฆ่าชาวเมืองจำนวนมากที่เคยเป็นราษฎรภายใต้การปกครองของราชวงศ์ซ่ง แล้วนำศพไปให้กองทัพของราชวงศ์ หยวน เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของการยอมรับในอำนาจของผู้ปกครองชาว มงโกล รายใหม่ ในหลายสิบปีหลังจากนั้น ราชวงศ์ จูหยวนจาง ได้โค่นราชวงศ์หยวนลง และ จัดตั้งราชวงศ์หมิงขึ้น คนจีนที่สืบเชื้อสายจากชาวฮั่น จึงกลับขึ้นมามีอำนาจอีกครั้ง แต่ก็มิได้ขับไล่ชุมชนชาวยิวกลุ่มทรยศเหล่านี้ออกไป (ทั้งที่ได้เข่นฆ่าชาวจีนไปมากก่อนหน้านั้น) ต่อมา ในสมัยประวัติศาสตร์ช่วงการเกิดสงครามฝิ่น มีนักธุรกิจชาวยิว ตระกูล Sassoon ได้นำฝิ่นจำนวนมากมาจำหน่ายเพื่อหวังผลกำไร ทำให้ชาวจีนติดฝิ่นกันงอมแงม ประชากรชาวจีน อ่อนแอ และ ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก.. คุณ (Mr Ross)เคยใช้ชีวิตอยู่ในเอเซียมาหลายปี น่าจะคุ้นเคยกับเรื่องนี้ดี เหตุการณ์ สงครามฉนวนกาซ่าในครั้งนี้ ชาวจีน มิได้รู้สึกเห็นใจ ชาวยิว เพราะชาวจีน มีการศึกษาเรื่องคุณธรรม ร่วมสามพันปีมาแล้ว "Shangshu" วรรณกรรมคลาสิกที่ยังเหลืออยู่ของจีน ที่เขียนขึ้นมาตั้งแต่ยุคศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาลหรือราว 3,000 ปีพอดี ซึ่งคงเป็นระยะเวลาเดียวกับที่ชาวยิวถูกขับไล่ออกจากดินแดนแห่งพันธสัญญา (Promised Land) และเป็นชนชาติเร่ร่อนตั้งแต่นั้นมา ถ้าคุณ( Mr. Ross )คุ้นเคย กับอดีต และ ประวัติศาสตร์ ชาวยิว ของคุณ คุณก็ควรรับรู้และตระหนักถึงมันด้วย ชาวอียิปต์ ยอมรับ ชาวยิว เข้าไปในดินแดนของตน แต่ ชาวยิว กลับทรยศ ต่อชาวอียิปต์ หลายต่อหลายครั้ง จนในที่สุด ชาวยิว ก็ถูกเข่นฆ่าและ ขับไล่ออกไปจากดินแดนอียิปต์โดย กษัตริย์ฟาโรห์ อาณาจักรโรมัน ยอมรับ ชาวยิว เป็นส่วนหนึ่งของโรมัน ถึงขนาดจัดตั้งชุมชนให้เป็น กลุ่มก้อน โดยเฉพาะ แต่ ชาวยิว กลับถือโอกาสก่อการกบฎ ในช่วงเวลาที่กษัตริย์ Trajan มุ่งขยายดินแดนไปทางตะวันออก และ กองกำลังความมั่นคงในโรมันอ่อนแอลง หลังจาก ชาวยิว สังหารกองกำลังโรมัน ที่มีอยู่น้อยนิด ชาวยิว ก็บุกสังหาร พลเรือนชาวโรมัน อย่างบ้าคลั่ง ถึงขนาด เฉือนเอาผิวหนังมาทำเสื้อผ้า กินเนื้อเป็นอาหาร และ โยนซากศพไปเป็นอาหารของสัตว์ดุร้าย.. ในเมือง Cyprus Salamis และ Libya พลเรือนชาวโรมันราว 220,000 คน ถูกสังหารโดย ชาวยิว แม้ต่อหน้าพลเรือนชาวโรมัน ชาวยิวดูจะทารุณโหดร้ายมาก แต่ในที่สุดกษัตริย์ Trajan ใช้กำลังทหารเพียงสองชุด ก็สามารถทวงคืนอำนาจจากชาวยิวได้อย่างสมบูรณ์ กองทัพโรมันที่โกรธแค้นได้เคลื่อนทัพจากดินแดนเมโสโปเตเมีย ไปตามฝั่ง ตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน..จนทำให้ชาวยิวที่อาศัยในพื้นที่เหล่านี้ถูกเข่นฆ่าจนเกือบหมด ต่อมา ชาวยิว ก็ก่อกบฎอีกครั้ง ครววนี้ มุ่งสังหารผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะ แต่ครั้งนี้ โชคไม่เข้าข้างชาวยิว เมื่อต้องพบกับกษัตริย์ Hadrian ผู้ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่เฉลียวฉลาดที่สุดคนหนึ่งของกรุงโรม ผู้ที่ได้ระดมกำลังทหาร 120,000 นาย เข้าจัดการสังหาร ชาวยิว ที่ก่อการกบฎได้อย่างเบ็ดเสร็จ กษัตริย์ Hadrian ได้ศึกษาบทเรียนจากยุคสมัยของกษัตริย์ Trajan จึงได้ยกเลิก ชุมชนชาวยิว เสียทั้งหมด ทำให้ชาวยิวต้องอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย และ แตกกระสานซ่านเซ็นไปทั่วโลก นอกจากนั้น ยังมีจักรพรรดิ Titus ผู้บุกทำลาย และ สังหาร ชาวยิวในกรุงเยลูซาเล็ม ที่เคยเป็น Second Temple จนปัจจุบันเหลือเพียง Western Wall (หรือที่เรียกว่า กำแพงร้องไห้)ที่ชาวยิวใช้เป็นที่สวดมนต์ไปติดต่อพระเจ้าฯ เป็นเวลานับพันปี ที่ชาวยิว ต้องถูก เข่นฆ่า และ ขับออกนอกประเทศต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน แต่ พวกคุณ ชาวยิว ก็ได้ทรยศต่อ ชาติต่างๆ จำนวนไม่น้อย ที่เห็นอกเห็นใจต่อความยากลำบากของพวกคุณ กระนั้นก็ดี พวกคุณ ก็ยังคงโอหัง เชื่อว่า ชนชาติตน เป็นชนชาติอภิสิทธิ์ ที่เหนือกว่าคนชาติอื่นๆ และ เชื่อว่า เป็น ชนชาติ ที่พระเจ้าเลือกสรรไว้ ให้เป็นใหญ่กว่าชนชาติอื่นใด ทำให้ ชาวไซออนนิสยิว ไม่เคยตระหนักถึงอดีตของตน.. จนเป็นที่สรุปกันแล้วว่า วัฒนธรรมของชนชาติยิว มีลักษณะที่เข้ากับใครยาก และ ไม่ยอมปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรมอื่น ความเชื่อของชาวยิวเหล่านี้ จะใช้กับคนจีนไม่ได้ เพราะ คนจีนมีหลักการด้านคุณธรรมของตนเอง และ ไม่เคยคิดว่าชนชาติตนเหนือกว่าคนชนะชาติอื่น แต่จะปฏิบัติต่อคนชาติอื่น อย่างเท่าเทียมกัน และ ไม่เกรงกลัวต่อชนชาติอื่น ที่คิดว่าเหนือกว่าชาวจีน คนจีน จะมีความ อดทน อดกลั้น มีความละอายใจ มีความกตัญญูรู้คุณ และ รู้จักตอบแทนบุญคุณคน John Rabe อดีตนาซี ผู้ที่ครั้งหนึ่ง เคยช่วยชีวิตชาวจีนที่นานจิง คนจีนที่รู้เรื่องนี้ จะนึกถึงบุญคุณของเขาเสมอ จากเหตุการณ์ เมื่อสองปีที่แล้ว ที่โรงพยาบาล สถานที่ที่หลานของ John Rabe ทำงานอยู่ เกิดการขาดแคลนยารักษาโรค จึงร้องขอความช่วยเหลือไปยังสถานทูตจีนในเยอรมัน ปรากฏว่า ชาวจีนต่างช่วยกันบริจาคเงินและสิ่งของให้กันอย่างแข็งขัน ด้วยความสำนึกในพระคุณในอดีต ของ John Rabe ในช่วง WW II ประธานของสภากาชาดแห่งสวีเดน เคยช่วยเหลือเชลยถึง 35,000 คน จากค่ายกักกันของนาซี โดยในจำนวนนี้เป็นชาวยิวถึง 6,000 คน.. ต่อมา เมื่อเขาถูกยูเอ็น ส่งไปเป็นผู้แทน เพื่อยืนยันประเด็นที่เกี่ยวกับขอบเขตดินแดนในกรุงเยรูซาเล็ม ที่กำหนดขึ้นใหม่ระหว่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ ปรากฏว่าเขาถูกยิงถึงหกนัดและเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ จากมือสังหารชาวยิว.. เพียงเพราะ เขาพูดถึง "ความยุติธรรม" เพียงไม่กี่คำ ในระหว่าง WW II เช่นเดียวกัน ประเทศยูโกสลาเวีย เคยช่วยชีวิตเด็กผู้หญิงชาวยิวไว้คนหนึ่ง.. แต่ 50 ปีต่อมา เธอกลับเป็นคนสั่งให้ทิ้งระเบิดยูโกสลาเวียอย่างไม่เลือกหน้า... หลายปีต่อมา เมื่อเธอ ถูกผู้สื่อข่าวถามในระหว่างการให้สัมภาษณ์ว่า เธอรู้สึกเสียใจบ้างหรือไม่ กับการสั่งทิ้งระเบิดยูโกสลาเวีย.. เธอตอบว่า.."ไม่เลย".. เธอผู้นั้น คือ อดีตสตรีที่เป็น รัฐมนตรีต่างประเทศ คนแรกของสหรัฐ..Madeleine Albright! ในการให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 Minutes ในปี1996.. M. Albright กล่าวว่า การที่สหรัฐแซงชั่นอิรัค(สมัยซัดดัม) ซึ่งได้สังหารเด็กชาวอิรัคไปกว่าครึ่งล้าน (เพราะขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค)นั้น เป็นสิ่งที่คุ้มค่า! ทั้งๆที่ การบุกเข้ายึดครองอิรัคเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ เพราะสหรัฐอ้างว่า อิรัคกำลังผลิตอาวุธทำลายล้าง ด้วยการนำเสนอเพียงภาพ “ผงซักฟอก” ในสื่อ ว่าคือ “สารเคมี” ที่ใช้สร้างอาวุธชีวภาพ นาง M. Albright กล่าวอย่างโจ่งแจ้งท้าทายว่า.. การเข่นฆ่าเด็กนับล้าน เป็นสิ่งที่คุ้มค่าแล้ว! ในปี 1947 เมื่อชาวยิว อพยพทางเรือมายังดินแดนปาเลสไตน์ มีการเขียนข้างลำเรือไว้ว่า.. "คนเยอรมันได้ทำลายบ้านเรือนของเรา โปรดอย่าทำลายความหวังของเราอีก"... ด้วยความเมตตา ชาวปาเลสไตน์ยอมรับชาวยิวอพยพเข้าสู่ดินแดนของตน.. ในที่สุด ชาวยิว อ้างในภายหลังว่า ดินแดน ปาเลสไตน์ นี้ เป็นดินแดนแห่งพันธสัญญา- Promised Land ของพวกเราชนชาติยิว! ตลอดเวลากว่า 70 ปี ที่ชาวไซออนนิสต์ยิว ได้สังหารชาวปาเลสไตน์ ผู้ที่เมตตา และ ยินยอมให้ชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานต่อเนื่องยาวนาน แต่ ชาวยิว กลับมาเนรคุณ สร้างอาณาจักรแห่งการเหยียดผิว ที่เปรียบเสมือนเรือนจำกลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก.. และ ยังปฏิบัติ ต่อชาวปาเลสไตน์เยี่ยงสัตว์ (subhumans) พวกคุณชาวยิว ยังจะต้องการความเห็นอกเห็นใจอีกมากแค่ไหน คุณจึงจะพอใจ สำหรับการไม่รู้จักบุญคุณคน และ จากข้อมูลใน ประวัติศาสตร์ที่พวกคุณตอบแทนความเมตตา และ ตอบแทนการยอมรับของคนชาติอื่นด้วยการทรยศ ด้วยการพร้อมที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาติอื่นที่เคยช่วยเหลือพวกคุณ ชาวยิว อีกหรือ! ประโยคหนึ่ง ที่เขียนในวรรณกรรมคลาสสิก ของจีน ที่ชื่อว่า..“การเดินหน้าเข้าสู่ตวามตาย” (The Death March)...กล่าวว่า "ประเทศเล็ก ที่ไม่ตระหนักในตนเอง ไม่เคารพต่อประเทศอื่นๆ แสดงความหยาบช้า ดูถูกดูแคลน ประเทศเพื่อนบ้านอันมั่นคงที่ตั้งอยู่ก่อน พลันแต่มี ความโลภ ไม่อินังขังขอบต่อ มิตรภาพ และ ความเป็นเพื่อน.. ก็ย่อมจะนำพาตนเอง เดินทางไปสู่ความพินาศย่อยยับอย่างไม่ต้องสงสัย“ บทความนี้น่าสนใจมาก เป็นประวัติศาสตร์ ที่ชาวโลกอีกหลายล้านอาจจะยังไม่เคยได้รับรู้ ซึ่ง อาจจะมีคนตั้งกระทู้ ตั้งข้อโต้แย้ง ขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม ไม่มีใครทราบความเป็นจริง อยู่ที่ คนตั้งกระทู้ จะหาหลักฐานมาโต้แย้งทางประวัติศาสตร์ ได้ หรือ ไม่ได้ ซึ่งหากมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาโต้แย้งได้ ก็จะยิ่งน่าศึกษา น่าติดตาม เพื่อให้ความจริงกระจ่างยิ่งขึ้น และ นับเป็นเรื่องดี ที่จะได้ทราบกันจริงๆว่า “ ยิว เป็นชนชาติประเภทใด?“ ดีจริงแท้ หรือ ซาตานลวงโลก กันแน่ ? ...... (แปลโดย : SB-22/07/24) ส่งต่อจาก วิชา มหาคุณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1411 มุมมอง 0 รีวิว
  • วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว

    ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城)
    ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย

    ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京)

    สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง

    ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม

    นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก

    ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน

    สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา
    เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม)

    ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ

    พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก

    จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย


    วางแผนการเดิน "พระราชวังต้องห้าม" (ปักกิ่ง) ในวันเดียว ประวัติ "พระราชวังต้องห้าม" “จื่อจิ้นเฉิง”(紫禁城) ‘จื่อ’ (紫)แปลว่า สีม่วง ในวัฒนธรรมจีน หมายถึง ความศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงฐานะอันสูงส่งของฮ่องเต้ อย่างเช่นเวลาที่ฮ่องเต้เสด็จ ราชรถก็จะชูธงสีม่วงขึ้น ดังนั้น สีม่วงจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของราชสำนักอีกด้วย ‘จื่อ’ (紫) จากคำว่า จื่อจิ้นเฉิง(紫禁城) มาจาก จื่อเวยซิง(紫薇星)ที่เป็นชื่อดาวเหนือ เป็นเหมือนดาวพระราชา ดังนั้นเลยสื่อได้ว่า คนจีนในสมัยก่อนมองว่า จื่อจิ้นเฉิง หรือ พระราชวังต้องห้าม ถือเป็นศูนย์กลางของโลก และภายหลังจึงเปลี่ยนมาเรียก กู้กง(故宫) ที่มาจากคำว่า 故宫博物馆 หรือแปลว่า พิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้ามนั่นเอง พระราชวังต้องห้ามสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1368 ตรงกับสมัยจักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์หมิง หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ(永乐)ในตอนนั้นเมืองหลวงของจีนอยู่ที่เมืองหนานจิง(南京)หรือที่เรารู้จักกันว่านานกิง แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ต้องการจะย้ายเมืองหลวงมาไว้ที่ปักกิ่ง(北京) สาเหตุก็เพราะต้องการถอนรากถอนโคนอำนาจเดิม เลยสร้างพระราชวังนี้ขึ้นมาในเมืองหลวงใหม่อย่างปักกิ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับของราชวงศ์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ประชาชนคนนอกเข้ามาได้ และนี่ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า ‘ต้องห้าม’ ในพระราชวังต้องห้ามนั่นเอง ในส่วนของตัวพระราชวังต้องห้าม พระราชวังต้องห้ามถือว่าเป็นหนึ่งในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก โครงสร้างจะแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นป้อมปราการที่มีกำแพงสูงกั้นไว้ ชั้นพระราชฐานชั้นนอกที่ฮ่องเต้ใช้ประกอบพิธีต่าง ๆ และสุดท้ายจะเป็นพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของฮ่องเต้และเหล่าสนม นางกำนัล รวมแล้ว 9,000 คนและขันทีอีก 70,000 คน เรียกได้ว่าแม้จะพูดว่าห้ามคนนอกเข้า แต่ข้างในก็คนเยอะมาก ต่อมาสมัยราชวงศ์ชิง จริง ๆ ราชวงศ์หมิงสร้างพระราชวังต้องห้ามได้อย่างอลังการมากจนภายหลังราชวงศ์ชิงสามารถเข้าไปใช้ต่อได้เลย แต่กับฮ่องเต้บางพระองค์ก็จะไม่ค่อยประทับที่พระราชวังต้องห้าม เพราะราชวงศ์ชิงเป็นชาวแมนจู ซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยตามทุ่งหญ้าและป่าเขา ชอบขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ พอมาอยู่ในพระราชวังต้องห้ามก็รู้สึกอึดอัด จนต้องไปสร้างพระราชวัง หรือ อุทยานอื่นในการประทับอยู่แทน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่พระราชวังต้องห้ามแห่งนี้กัน สมัยชิงสามารถยกให้เป็นสมัยแห่งการต่อเติมพระราชวังต้องห้ามให้ยิ่งใหญ่กว่าเดิมได้เลย ที่เด่น ๆ จะเป็นสมัยของฮ่องเต้เฉียนหลง (ในเรื่องหรูอี้แหละ ยุคนั้น) ที่มีการสร้างอุทยานหนิงโซ่วกง (寧壽宮) หรือที่เราเรียกกันว่า สวนเฉียนหลง ไว้ทางตะวันออกเฉียงเหนือของพระราชวังต้องห้าม เพื่อใช้ประทับยามชรา เป็นอุทยานที่มีเอกลักษณ์มาก ๆ เพราะทุกอาคารเชื่อมถึงกัน มีภูเขาจำลองที่ประกอบไปด้วยทิวทัศน์ของต้นสน ต้นไผ่ ต้นเหมย อันเป็นสัญลักษณ์ของความสันโดษ ที่พระองค์ตั้งให้เป็นเหมือนแนวคิดหลักของอุทยานแห่งนี้ค่ะ (และนี่จะโยงกับเรื่องที่ว่าทำไมฝรั่งไม่เผาพระราชวังต้องห้าม) ไฮไลท์ อื่น ๆ ของพระราชวังต้องห้ามที่ไม่ควรพลาด ได้แก่ ประตูอู่เหมิน(午门)เป็นประตูที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม ในอดีตที่ประตูนี้เป็นที่รวมตัวกันของข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหารเพื่อฟังพระราชโองการหรือประกาศกำหนดการณ์ต่างๆ พระที่นั่งไท่เหอ(太和殿)โด่งดังมาก เพราะถือเป็นพระที่นั่งที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้าม เป็นจุดศูนย์กลางและเป็นจุดสูงสุดของพระราชวังแห่งนี้เลย และยังมีอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในจีนอีกด้วย พระที่นั่งไท่เหอจะใช้ในงานพระราชพิธีสำคัญของราชสำนัก จัตุรัสเทียนอันเหมิน(天安门)อยู่ทางทิศเหนือของเขตพระราชวังต้องห้าม (ถ้าเข้าทางประตูอู่เหมินจะเจอเทียนอันเหมินก่อน) จะเห็นได้จากอนุสรณ์สถานประธานเหมาที่ตั้งอยู่อย่างเป็นเอกลักษณ์ในจัตุรัสแห่งนี้ ซึ่งเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์การเมืองของจีนมากทีเดียว เพราะเป็นอนุสรณ์ถึงความเสียสละเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 701 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    ช่วงนี้กระแสหนังภารตะเรื่องหนึ่งแรงมาก เป็นเรื่องราวอิงชีวประวัติของโสเภณีหญิงที่กลายมาเป็นแม่เล้าผู้ทรงอิทธิพลในอินเดีย เห็นว่าฟ้องร้องกันอยู่ว่าเรื่องราวบิดเบือนเพราะเธอไม่ได้เป็นโสเภณีจริง ความจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แต่หนังเรื่องนี้ทำให้ Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1146 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ

    ความมีอยู่ว่า
    ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง

    ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้

    จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย)

    จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว

    ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ

    Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html
    https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    ปกติจะมาโพสต์อาทิตย์ละครั้ง แต่วันนี้มีควันหลงจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> มาแบ่งปันต่อแฟนคลับของใต้เท้าลู่ เป็นเรื่องที่ Storyฯ อ่านเจอโดยบังเอิญ ความมีอยู่ว่า ... ชายในชุดเขียวที่ยืนอยู่เบื้องหน้าของจินเซี่ยขณะนี้ก็คือบุตรชายของลู่ปิ่ง นามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งเป็นจอหงวนบู๊ ส่วนฝีมือของลู่อี้ผู้เป็นลูกนั้น ได้ยินมาว่าสูงส่งไม่เป็นรองผู้เป็นบิดา นับว่าเป็นยอดฝีมือลำดับต้นๆ ของหน่วยองครักษ์เสื้อแพร... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ยอดองค์รักษ์เสื้อแพร> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ที่ต้องมาพูดถึงใต้เท้าลู่อี้และบิดาของเขา เป็นเพราะ Storyฯ อ่านเจอมาอย่างเซอร์ไพรส์ว่า ทั้งสองคนนี้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์! ในละครบิดาของลู่อี้ชื่อว่าลู่ถิง แต่ในหนังสือเขาชื่อลู่ปิ่ง ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ปรากฏมีผู้บัญชาการสูงสุดขององครักษ์เสื้อแพรที่ชื่อว่าลู่ปิ่งอยู่ในยุคสมัยขององค์หมิงสื้อจง (ค.ศ. 1521-1567) มีบุตรชายคนที่สามนามว่าลู่อี้ ลู่ปิ่งอยู่ในตำแหน่งนี้ได้หกปีก็เสียชีวิตลง ลู่อี้ซึ่งในขณะนั้นรับราชการเป็นองครักษ์เสื้อแพรด้วย จึงขึ้นสืบทอดตำแหน่งนี้แทนผู้เป็นบิดา เนื่องจากพี่ชายสองคนของเขาได้เสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ จากเรื่องราวที่บันทึกไว้ ในชีวิตจริงลู่อี้เป็นคนที่รอบรู้และมีผลงานมากมาย ทั้งชีวิตมีภรรยาเดียว (ซึ่งต่างจากข้าราชการระดับสูงทั่วไปในสมัยนั้น) คือบุตรีของเสนาบดีกระทรวงขุนนาง มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ในระหว่างที่รับราชการนั้น เคยถูกปลดออกจากตำแหน่งเพราะถูกรื้อฟื้นเรื่องที่บิดาของเขาเคยสมคบคิดกับเหยียนซงซึ่งเป็นขุนนางที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เพื่อให้ร้ายขุนนางน้ำดีนามว่าเซี่ยเหยียน ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัชสมัยจึงได้รับการอภัยโทษและคืนยศให้ (เหมือนในละครเล้ย) จะเห็นว่าทั้งนิยายและละครคงความเป็น “ลู่อี้” ได้ค่อนข้างครบถ้วนตามประวัติศาสตร์ทีเดียว ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยแชร์กันด้วยนะคะ Credit รูปภาพจาก: https://j.17qq.com/article/fggpidhdz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.tspweb.com/key/%E9%94%A6%E8%A1%A3%E5%8D%AB%E9%99%86%E7%BB%8E%E7%9A%84%E5%A6%BB%E5%AD%90%E5%90%B4%E6%B0%8F.html https://ld.sogou.com/article/i5630311.htm?ch=lds.pc.art.media.all #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #องครักษ์เสื้อแพร #ลู่อี้ #ใต้เท้าลู่ #ราชวงศ์หมิง #StoryfromStory
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 859 มุมมอง 0 รีวิว
  • บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน

    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง

    การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง

    การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง

    ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ
    1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡)

    อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย

    นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒)

    2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน

    แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ

    Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน)

    ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี

    ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว

    ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ

    Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/省试/7492071
    https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374
    https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904
    https://core.ac.uk/download/41444977.pdf
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb
    https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html

    #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    บัณทิตหลวงระดับจวี่เหริน วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดจากละครเรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้อาจพอจำได้ว่า ในตอนแรกๆ ที่นางเอกถูกตามไปสอบปากคำเมื่อเกิดเหตุมีนางคณิกาเสียชีวิต นางได้บอกกับสาวใช้ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” (举人见官不下跪) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ไม่รู้ว่ามีใครเกิดความ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ หรือไม่ว่า มีกฎอย่างนี้ด้วยหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘จวี่เหริน / 举人’ และระบบการสอบขุนนาง การสอบขุนนางหรือ ‘เคอจวี่’ ในสมัยโบราณหรือที่เรียกอย่างง่ายว่าสอบจอหงวนนั้น คือการสอบส่วนกลางเพื่อคัดเลือกคนที่จะเข้ามารับราชการ ซึ่งหนทางการสอบเคอจวี่นั้นยาวไกลและกฎกติกาเปลี่ยนไปในแต่ละยุคสมัย เรื่อง <ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์> เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติ แต่ดูจากการแต่งกายและเนื้อหาแล้ว พอเปรียบเทียบได้กับสมัยราชวงศ์ถัง ดังนั้นเรามาคุยกันเกี่ยวกับการสอบเคอจวี่ในสมัยถัง การสอบเคอจวี่ในสมัยถังมีความแตกต่างจากสมัยอื่นที่เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยผ่านตา ความแตกต่างนี้ก็คือมีการจัดสอบทุกปีและไม่มีการสอบระดับซิ่วไฉ (秀才) ทั้งนี้ ในสมัยอื่นนั้น การสอบซิ่วไฉคือรอบคัดเลือกระดับท้องถิ่นก่อนจะไปสอบต่อในระดับภูมิภาค/มณฑล แต่ในสมัยถังตอนต้นเมื่อกล่าวถึง ‘ซิ่วไฉ’ นั้น ไม่ได้หมายถึงวุฒิหรือรอบการสอบ แต่เป็นการเรียกหนึ่งในแขนงวิชาความรู้ทั่วไปที่ต้องสอบ ต่อมาในสมัยปลายถังวิชานี้ถูกยุบไปรวมกับวิชาอื่นและคำว่า ‘ซิ่วไฉ’ กลายเป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มีการศึกษาทั่วไป จวบจนสมัยซ่งคำนี้จึงกลับมาเป็นคำเรียกวุฒิการสอบคัดเลือกอีกครั้ง ในสมัยราชวงศ์ถัง การสอบจอหงวนมี 2 ระดับ คือ 1) การสอบคัดเลือกระดับภูมิภาค/มณฑลหรือที่เรียกว่า ‘เซียงซื่อ’ (乡试) จัดทุกปีในฤดูใบไม้ร่วงช่วงประมาณเดือนสิบ ซึ่งคนทั่วไปสามารถสมัครชื่อเข้าสอบในแต่ละพื้นที่ได้เลย และผู้ที่สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จวี่เหริน’ (举人) จากนั้นจะได้รับการเสนอชื่อโดยฝ่ายปกครองพื้นที่ให้ไปสอบต่อในระดับต่อไปที่เมืองหลวง โดยกำหนดโควต้าจำนวนคนที่ได้รับการเสนอชื่อไว้ 1-3 คนต่อพื้นที่ ทั้งนี้ แล้วแต่ขนาดของพื้นที่ แต่สามารถเสนอเพิ่มได้หากมีคนที่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นเกินจำนวนโควต้า ซึ่งคนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้จะเรียกรวมว่า ‘เซียงก้ง’ (乡贡) อนึ่ง มีกำหนดไว้ว่าฝ่ายปกครองพื้นที่ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลต้องห้ามเข้าเป็นเซียงก้งได้ ซึ่งหมายรวมถึง คนที่มาจากครอบครัวนายช่างและพ่อค้า (Storyฯ เคยกล่าวถึงแล้วในบทความสัปดาห์ที่แล้ว); คนที่มีสถานะเป็นเจี้ยนหมินหรือชนชั้นต่ำ เช่นทาส ลูกหลานนักโทษ ฯลฯ; นักบวช นักพรต; นักโทษ ; คนที่มีชื่อเสียงไม่ดี; ผู้ป่วยเป็นโรคร้ายหรือพิการบางอย่าง เช่นตาบอด หูหนวก; ฯลฯ แต่ข้อห้ามเหล่านี้มีการผ่อนคลายไปตามยุคสมัย นอกจากนี้ เนื่องจากในสมัยถังมีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาหลวงมากมายหลายระดับตามพื้นที่ต่างๆ นักเรียนที่เข้าเรียนในสถานการศึกษาหลวงจนถึงระดับสูงสุดและสอบผ่านสำเร็จการศึกษาก็จะได้วุฒิเทียบเท่าเป็นจวี่เหรินนี้เช่นกัน และผู้ที่จะได้เข้าสอบในรอบถัดไปก็จะผ่านการเสนอชื่อโดยสถาบันนั้นๆ คนที่ได้รับการเสนอชื่อผ่านกระบวนการนี้เรียกว่า ‘เซิงถู’ (生徒) 2) ลำดับถัดมาคือการสอบที่เมืองหลวงหรือเรียกว่า ‘เสิ่งซื่อ’ (省试) ซึ่งเรียกย่อมาจากหน่วยงานซ่างซูเสิ่งซึ่งเป็นผู้จัดการสอบนี้ เป็นการสอบทุกปีอีกเช่นกัน จัดขึ้นที่เมืองหลวงฉางอันในช่วงประมาณเดือนสอง ผู้มีสิทธิเข้าสอบคือเซียงก้งและเซิงถูตามที่กล่าวมาข้างต้น ผู้สอบผ่านรอบนี้จะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน แต่... ในละครเราจะเห็นการสอบรอบสุดท้ายเป็นการสอบหน้าพระที่นั่งฮ่องเต้ หรือที่เรียกว่า ‘เตี้ยนซื่อ’ (殿试) ซึ่งบางข้อมูลบอกว่าริเริ่มในสมัยราชวงศ์ถัง เพราะปรากฏมีฮ่องเต้บางองค์ทรงคุมสอบด้วยองค์เอง และบางข้อมูลบอกว่าเริ่มในสมัยซ่งเพราะนั่นคือสมัยที่มีการจัดการสอบรอบดังกล่าวเข้าเป็นหลักสูตรและขั้นตอนการสอบอย่างเป็นทางการ Storyฯ เลยสรุปเป็นผังไว้ให้ดูในรูปประกอบว่า ในกรณีที่มีการสอบเตี้ยนซื่อนี้เพิ่มเข้ามา ผู้ที่สอบผ่านระดับเสิ่งซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘ก้งซื่อ’ (贡士) และผู้ที่สอบได้ที่หนึ่งจะเรียกว่า ‘ฮุ่ยหยวน’ (会元) และผู้ที่สอบผ่านรอบเตี้ยนซื่อจะมีสถานะเป็นบัณฑิตหลวงระดับ ‘จิ้นซื่อ’ (进士) และผู้ที่สอบได้ลำดับสูงสุดคือจอหงวน (หรือในสำเนียงจีนกลางคือ จ้วงหยวน) ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจิ้นซื่อทุกคนจะได้รับการขึ้นบัญชีเพื่อรอการเรียกบรรจุเข้ารับราชการในราชสำนัก (คือยังไม่ถือว่าเป็นขุนนางจนกว่าจะได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง) ซึ่งในการบรรจุเข้าราชสำนักจะมีการสอบเพิ่มเพื่อคัดสรรไปหน่วยงานที่เหมาะสม โดยเป็นกระบวนการที่อาจใช้เวลาอีกนานเป็นปี ดังนั้น บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินที่กล่าวในวลีที่ว่า “บัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินเมื่อพบเห็นขุนนาง ไม่ต้องคุกเข่า” นี้คือบันฑิตหลวงที่สอบผ่านในระดับภูมิภาค/มณฑลแล้ว ในสมัยถังนั้น จวี่เหรินมีอภิสิทธิ์อย่างนี้จริงหรือไม่ Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีกล่าวถึงว่า ‘จวี่เหริน’ นี้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งทางการที่กำหนดขึ้นโดยราชสำนัก ซึ่งถือว่าไม่ด้อยไปกว่าตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และบัณฑิตหลวงระดับจวี่เหรินสามารถเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นได้เลยหากมีตำแหน่งว่างที่เหมาะสม ดังนั้นหนึ่งในอภิสิทธิ์ที่มีคือ เมื่อได้พบขุนนางระดับท้องถิ่นจึงไม่ต้องคุกเข่า (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) หมายเหตุ มีการลบลิ้งค์ข้อมูลบางลิ้งค์ออกไปเนื่องจากติดปัญหากับเฟสค่ะ Credit รูปภาพจาก: https://fashion.ettoday.net/news/2573514 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/省试/7492071 https://baike.baidu.com/item/秀才/14691374 https://baike.baidu.com/item/乡贡/8989904 https://core.ac.uk/download/41444977.pdf https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=999762&remap=gb https://kknews.cc/history/ekkz4ry.html #ยอดขุนนางหญิงเจ้าเสน่ห์ #บัณฑิตหลวง #จวี่เหริน #สอบขุนนาง #สอบเคอจวี่ #ราชวงศ์ถัง
    FASHION.ETTODAY.NET
    《灼灼風流》10金句:不是所有的陪伴都必須以夫妻的名義 | ET Fashion | ETtoday新聞雲
    陸劇《灼灼風流》改編自隨宇而安的小說《曾風流》,由景甜、馮紹峰出演,講述了擺脫傳統女子命運、想科舉求仕的女官慕灼華,與驍勇善戰的議政王劉衍相知相守、並肩而行,開創女子可入仕的新局面。當中以不少經典台詞道出了男女之間互相尊重,簡單又美好的愛情理念,不妨一起來看看!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1118 มุมมอง 0 รีวิว
  • เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง
    .
    บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550)
    .
    แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง
    .
    ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง
    .
    เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด!
    .
    ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว
    .
    งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน”
    .
    งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย
    .
    อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม
     งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม
    .
    กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก
    .
    เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519)
    .
    ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ
    .
    ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง . บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550) . แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง . ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI . กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561 . กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง . เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด! . ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว . งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน” . งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย . อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม  งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม . กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก . เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519) . ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ . ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    Like
    Love
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1011 มุมมอง 0 รีวิว
  • เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ

    เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ)

    วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้

    เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน
    ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่
    พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง
    ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า

    ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’

    แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ

    ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่

    ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง

    แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’)

    ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว

    เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน

    และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน

    ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm
    https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml
    https://kknews.cc/culture/3am8x23.html
    http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx
    https://www.soundofhope.org/post/468983
    https://baike.baidu.com/item/桃符

    #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    เถาฝู ป้ายมงคลฉลองตรุษจีนโบราณ เข้าสู่เทศกาลตรุษจีนแล้ว ก็คงไม่แคล้วต้องคุยถึงประเพณีและวัฒนธรรมจีนโบราณที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีน ปีก่อนๆ ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงไปคือ: การโส่วซุ่ยหรืออดนอนข้ามคืนเป็นนัยว่าให้ผู้ใหญ่ในบ้านอายุยืนยาว; การกินสุราสมุนไพรเช่นสุราพริกหอม; คำมงคลและอักษรประสม ใครยังไม่ได้อ่านลองย้อนกลับไปอ่านนะคะ (หาลิ้งค์ได้ในสารบัญของเพจ) วันนี้มาคุยกันถึงป้ายมงคลคู่แบบหนึ่ง เรียกว่า ‘เถาฝู’ (桃符) แปลตรงตัวว่าป้ายที่ทำจากไม้ท้อ เป็นป้ายมงคลคู่ที่ในสมัยจีนโบราณนิยมติดกันหน้าบ้านเพื่อต้อนรับตรุษจีน อดีตกวีเอกและนักการเมืองสมัยซ่งเคยประพันธ์บทกวีชื่อ <หยวนรึ> (元日/วันขึ้นปีใหม่) บรรยายถึงธรรมเนียมตรุษจีนไว้ Storyฯ เรียบเรียงดังนี้ เสียงประทัดลั่นคือหนึ่งปีที่ผันผ่าน ลมวสันต์อุ่นสุราแห่งศกใหม่ พันบ้านหมื่นเรือนก่อนอรุณรุ่ง ล้วนนำท้อใหม่เปลี่ยนป้ายเก่า ‘ท้อใหม่ป้ายเก่า’ ที่กล่าวถึงก็คือ ‘เถาฝู’ แรกเริ่มเลย ‘เถาฝู’ คือป้ายไม้ที่ทำจากต้นท้อ ในเอกสารที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เกี่ยวกับราชวงศ์ก่อนๆ นั้น มีบรรยายไว้ว่า: เถาฝูมีขนาดยาวหกนิ้ว กว้างสามนิ้ว; วันที่หนึ่งเดือนหนึ่ง ทำป้ายติดเรือนด้วยไม้ท้อ คือไม้ศักดิ์สิทธิ์; บนป้ายเขียนชื่อสองเทพเจ้าแปะไว้ซ้ายขวา ซ้ายคือเทพเซินซู ขวาคือเทพอวี้ลวี่ ฯลฯ ประวัติของเทพเจ้าสององค์นี้แตกต่างกันไปตามตำนานปรัมปราหลากหลายที่เล่าขานกันมา แต่เรื่องราวที่เหมือนกันก็คือทั้งสองเทพเจ้านี้เฝ้าอยู่ใต้ร่มไม้ต้นท้อยักษ์ ใช้กิ่งเถาของต้นท้อจับภูตผีที่ทำตัวไม่ดีไปโยนให้เสือกิน จึงเป็นที่มาว่าไม้ท้อเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ สามารถขับไล่ภูตผีและสิ่งชั่วร้ายได้ ในวันปีใหม่จึงมีธรรมเนียมแปะเถาฝูเพื่อให้ปกปักษ์คุ้มครองบ้าน ป้องกันภูตผีและสิ่งชั่วร้าย พอขึ้นปีใหม่ก็เปลี่ยนเถาฝูชุดใหม่ ธรรมเนียมหลายพันปีย่อมมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง จากการเขียนชื่อสองเทพเจ้ากลายเป็นการแกะสลักรูปภาพเทพเจ้าบนไม้ท้อ กลายเป็นภาพวาดบนกระดาษ นอกจากนี้ในสมัยถังก็เปลี่ยนจากรูปของเทพเซินซูอวี้ลวี่เป็นรูปขุนพลในสมัยถังที่ถูกยกย่องประหนึ่งเป็นเทพสงคราม ซึ่งที่กล่าวมานี้ก็คือธรรมเนียมการแปะรูปเทพเจ้าเหมินเสิน (เทพพิทักษ์ประตู/เทพทวารบาล) ในปัจจุบันนั่นเอง แต่คำว่า ‘เถาฝู’ ในสมัยซ่งไม่เพียงหมายถึงป้ายชื่อหรือรูปภาพเทพทวารบาล หากแต่ยังหมายรวมถึงป้ายที่มีกลอนคู่มงคลหรือวลีรับตรุษจีน (หมายเหตุ กลอนคู่เรียกรวมว่า ‘ตุ้ยเหลียน’ ส่วนวลีมงคลที่มีใจความรับปีใหม่เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงได้ว่า ‘ชุนเหลียน’) ไอเดียการเขียนกลอนคู่ลงบนป้ายไม้ท้อนี้ ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าริเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับแคว้นซีสู่ (สมัยสิบหกแคว้นช่วงปีค.ศ. 304-439) มีกล่าวถึงการเขียนกลอนคู่บนป้ายไม้ท้อเพื่อประดับในพระราชวังแล้ว เอกสารโบราณของสมัยหมิงกล่าวไว้ว่า: ประเพณีการติดกลอนคู่มงคลชุนเหลียนในวันตรุษจีนนั้น ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการโดยองค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) โดยมีการประกาศในเมืองหลวงในคืนวันสิ้นปีให้ขุนนางข้าราชการต่างๆ ติดชุนเหลียนไว้หน้าจวน/เรือนของตน เพื่อว่าเวลาทรงเสด็จประพาสต้นจะได้ทอดพระเนตร และในสมัยนั้นได้มีการเรียกจำแนกไว้ว่า ‘เถาฝู’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนป้ายไม้ท้อ และ ‘ชุนเทีย’ หมายรวมถึงภาพและกลอนที่ทำขึ้นบนกระดาษเพื่อรับตรุษจีน และต่อมาในสมัยชิง กระดาษชุนเทียมีดีไซน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอักษรเดียว วลีเดี่ยวติดแนวขวางเหนือประตู แนวตรงติดข้างประตู ติดหน้าบานประตู ฯลฯ สืบทอดมาจนปัจจุบัน ประเพณีติดป้ายเถาฝูหายไปตามยุคสมัย แต่เราจะเห็นได้ว่า แท้จริงแล้วมันคือต้นกำเนิดของการติดภาพวาดเหมินเสินที่ประตู และเป็นต้นกำเนิดของการแปะกลอนคู่มงคลตุ้ยเหลียนที่ยังทำกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันอีกด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://www.gov.cn/govweb/ztzl/08cjtbch/content_861150.htm https://www.workercn.cn/32843/201902/06/190206095618327_3.shtml https://kknews.cc/culture/3am8x23.html http://weixin.chinafolklore.org/?p=15620 https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e3da8d97be73.aspx https://www.soundofhope.org/post/468983 https://baike.baidu.com/item/桃符 #ประเพณีตรุษจีน #ตุ้นเหลียน #เหมินเสิน #เทพเจ้าประตู #กลอนคู่มงคล #เถาฟู #ป้ายไม้ท้อ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1231 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง

    ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่

    ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม)

    ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด

    คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี

    จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน

    และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น

    แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง

    ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

    นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1
    http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html
    https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่ ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม) ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760 https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1 http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1048 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    ถิงจ้าง - การโบยพระราชทานสวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <หาญท้าชะตาฟ้า ปริศนายุทธจักร ภาค 2> คงจำได้ถึงเรื่องราวตอนที่ผู้ตรวจการล่ายหมิงเฉิงร้องเรียนฮ่องเต้ว่าประพฤติตนไม่ถูกต้อง (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) ฮ่องเต้เลย ‘ตกรางวัล’ ให้เป็นการลงทัณฑ์ด้วยการโบยพร้อมกับคำพูดที่ว่า ยอมเสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเองเพื่อให้ผู้ตรวจการล่ายมีชื่อจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตีเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยจากหลายซีรีส์และนิยายจีน การลงทัณฑ์นี้ทั่วไปเรียกว่า ‘จ้างสิง’ (杖刑) เป็นวิธีการลงทัณฑ์ที่ถูกบัญญัติเข้าไปในกฎหมาย เพียงแต่รูปแบบและรายละเอียดอาจแตกต่างกันไปตามยุคสมัย แต่ที่วันนี้จะคุยถึงคือการโบยที่เรียกว่า ‘ถิงจ้าง’ (廷杖) ซึ่งเป็นกรณีที่เราเห็นในเรื่อง <หาญชะตาฯ 2> ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ‘จ้าง’ แปลว่าตีด้วยไม้ ส่วน ‘ถิง’ หมายถึงส่วนของพระราชวังที่ฮ่องเต้ใช้ทรงงานและประชุมกับขุนนางหรือหมายถึงราชสำนัก ดังนั้น ‘ถิงจ้าง’ จึงเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้หมายถึงการโบยขุนนางระดับสูงหน้าพระที่นั่งและเป็นคำสั่งของฮ่องเต้เท่านั้น การลงทัณฑ์ด้วยการโบยตามคำสั่งของฮ่องเต้มีมาตั้งแต่สมัยฮั่น แต่จากสมัยฮั่นจนถึงสมัยหยวนเกิดกรณีอย่างนี้น้อยมาก มันไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัวและไม่ใช่บทลงโทษตามกฎหมาย หากแต่เป็นอำนาจของฮ่องเต้ที่จะเลือกใช้ได้ตามความต้องการและสั่งลงทัณฑ์ได้เลยโดยไม่ผ่านขั้นตอนพิจารณาความผิดตามกฎหมาย ต่อมาในสมัยหมิงมีการถิงจ้างหน้าพระที่นั่งบ่อยมากโดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์และมีการกำหนดกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วแรกเริ่มเลย การถิงจ้างในสมัยหมิงไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อลงโทษสถานหนัก หากแต่เป็นการสร้างความอัปยศอดสูให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เพราะว่าหลักปฏิบัติแต่ไหนแต่ไรมาคือไม่ลงทัณฑ์ขุนนาง หากจะลงทัณฑ์จะปลดออกจากตำแหน่งก่อน ดังนั้น การที่ขุนนางถูกถกชุดชั้นนอกออกแล้วโบยก้นอีกทั้งทำต่อหน้าขุนนางด้วยกันนั้นจึงเป็นเรื่องอัปยศมาก ซึ่งเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในรัชสมัยขององค์หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง) เป็นช่วงตอนที่เพิ่งครองราชย์ได้สักแปดปี (ค.ศ. 1376) เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องของขุนนางจากกระทรวงราชทัณฑ์นามว่าหรูไท่ซู่ เขาถวายฎีกาฉบับหนึ่งยาวถึงหมื่นกว่าอักษรร้องเรียนการขาดแคลนข้าราชการที่มีคุณภาพ ซึ่งยาวจนองค์หมิงไท่จู่ต้องให้คนอ่านให้ฟัง ฟังๆ ไปก็รู้สึกว่าน้ำเยอะเนื้อน้อย ถ้อยคำที่ใช้ก็ยิ่งฟังไม่เข้าหู อุตส่าห์เรียกให้หรู่ไท่ซู่มานั่งคุยให้ฟัง แต่ก็ทนไม่ได้กับการพูดวกไปวนมา ว่ากันว่า ยังมีถ้อยคำที่ฟังดูเหมือนยกให้บัณฑิตสูงส่งกว่าซึ่งไม่เข้าหูฮ่องเต้ที่มีพื้นเพเป็นลูกชาวนา สุดท้ายฮ่องเต้โกรธจัดเลยสั่งให้โบยก้นต่อหน้าข้าราชสำนักในท้องพระโรง ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ว่าโบยไปกี่ครั้ง ต่อมาภายหลังองค์หมิงไท่จู่ไตร่ตรองทบทวนเห็นว่าบางข้อเสนอของฎีกานั้นน่าสนใจจึงเอาไปใช้ จึงกลายเป็นว่าความผิดที่ทำให้หรูไท่ซู่ถูกถิงจ้างไม่ใช่เป็นเพราะสาระ แต่เป็นเพราะเขียนยาวเกินไปทำให้สิ้นเปลืองเวลาของฮ่องเต้ เนื้อหาที่เขียนได้ภายในห้าร้อยอักษรกลับเขียนยาวถึงหมื่นอักษร และเพราะเหตุการณ์นี้องค์หมิงไท่จู่จึงให้มีการกำหนดรูปแบบของการเขียนฎีกาขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้อีก การโบยเพื่อสร้างความอัปยศเป็นการแสดงอำนาจของฮ่องเต้เมื่อถูกหมิ่นหรือขัดใจโดยขุนนาง แต่กลับกลายเป็นวัฒนธรรมที่ขุนนางมองว่าการถูกถิงจ้างนี้เป็นการแสดงความกล้าหาญและเป็นสิ่งที่ควรทำ ต่อมาการถิงจ้างจึงเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นตายได้ แน่นอนว่าการสั่งโบยได้เลยโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการไต่สวนพิพากษาตามกฎหมายก็กลายเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จที่ฮ่องเต้ใช้ควบคุมขุนนางไม่ให้กระด้างกระเดื่อง จะตีเมื่อไหร่ ตีกี่ครั้ง ตีหนักตีเบา ล้วนแล้วแต่ฮ่องเต้จะกำหนดเอง ถิงจ้างกลายเป็นภาพที่เห็นบ่อยในราชสำนักเมื่อเข้าสู่ช่วงกลางราชวงศ์หมิง สถานที่ลงทัณฑ์เปลี่ยนจากในท้องพระโรงมาเป็นริมทางเดินเข้าวังด้านประตูอู่เหมิน ซึ่งก็คือประตูด้านหน้าของวัง และถิงจ้างทวีความรุนแรงมากขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงอู่จง (ฮ่องเต้องค์ที่สิบเอ็ด) เมื่อมีการเปลี่ยนกฎไม่ให้วางเบาะรองและผู้ถูกโบยห้ามใส่กางเกง ตลอดการครองราชย์สิบหกปีขององค์หมิงอู่จงนั้น มีคนถูกถิงจ้างทั้งสิ้นกว่าหนึ่งร้อยคน ตายสิบเอ็ดคน และนี่เป็นรัชสมัยที่เริ่มใช้ถิงจ้างกับคนจากสำนักผู้ตรวจการ ในรายละเอียดมีเรื่องการใช้อำนาจเกินควรของกลุ่มขันที แต่ Storyฯ ขอไม่เล่าเพราะเรื่องยาวและออกนอกประเด็นเหตุการณ์ถิงจ้างที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์จีนเกิดขึ้นในรัชสมัยของฮ่องเต้หมิงซื่อจง (ฮ่องเต้องค์ที่ สิบสอง) เมื่อปีค.ศ. 1525 เพราะเป็นการโบยพร้อมกันถึงหนึ่งร้อยสามสิบสี่คน มีคนตายในระหว่างโบยสิบเจ็ดคน (หมายเหตุ เรื่องจำนวนคนแตกต่างกันในหลายบทความ แต่ตัวเลขนี้ Storyฯ ใช้ตามเอกสารของพิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม)เรื่องมีอยู่ว่าฮ่องเต้หมิงซื่อจงไม่ใช่ลูกของฮ่องเต้องค์ก่อนคือฮ่องเต้หมิงอู่จง หากแต่มีศักดิ์เป็นหลานลุง ตามธรรมเนียมเมื่อหมิงซื่อจงขึ้นครองราชย์แล้วก็ต้องรับฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นพ่อ ส่วนพ่อแม่ตัวเองก็ต้องกลายเป็นน้าและน้าสะใภ้ นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติ แต่องค์หมิงซื่อจงไม่ยอม ยืนยันจะคงไว้ว่าฮ่องเต้หมิงอู่จงเป็นลุง ขุนนางสองร้อยสามสิบคนคุกเข่าอ้อนวอนอยู่หน้าประตูพระที่นั่งเพื่อหวังจะบีบให้ฮ่องเต้เปลี่ยนใจ สุดท้ายขุนนางขั้นที่ห้าขึ้นไปโดนปลด ที่เหลือโดนโบยหมู่และเนรเทศ ในการถิงจ้างสมัยหมิงนั้น ผู้ที่มีหน้าที่โบยคือขันทีหรือองครักษ์เสื้อแพร ว่ากันว่าจริงจังถึงขนาดฝึกซ้อมโบยโดยใช้หุ่นฟางยัดไส้แผ่นกระเบื้องแล้วห่อด้วยกระดาษ ต้องฝึกจนสามารถตีให้กระเบื้องข้างในแตกละเอียดได้โดยที่กระดาษหุ้มข้างนอกไม่ขาด! ที่ต้องฝึกเพราะคำสั่งโบยมีสองแบบคือ ‘ตีอย่างใส่ใจ’ (用心打) และ ‘ตีอย่างจริงจัง’ (着实打) ซึ่งแบบแรกคือไม่ให้เจ็บมากและแบบหลังคือจัดเต็ม และเนื่องจากมันต้องใช้แรงมาก จะมีการเปลี่ยนคนโบยทุกๆ ห้าครั้งจากที่ Storyฯ อ่านเจอมา ไม้ที่ใช้โบยนั้นทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างไม้เกาลัด หน้าตาของมันมีสองแบบ แบบแรกคือไม้พลองที่มีปลายแบนหน้าตาเหมือนไม้พาย แบบที่สองฟังดูโหดร้ายคือเป็นไม้พลองที่มีปลายหุ้มด้วยแผ่นเหล็กบากเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ เป็นที่มาว่าทำไมคนจึงถูกโบยจนเนื้อก้นเละเหวอะหวะได้ ว่ากันว่าถูกโบยสิบพลองก็ทำต้องพักติดเตียงเป็นแรมเดือนแล้ว(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://reading.udn.com/read/story/7046/7952824https://www.163.com/dy/article/J2USN6TV0517QCSB.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:https://www.dpm.org.cn/Uploads/pdf/1942/T00017_00.pdf https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_1800722 https://www.hunantoday.cn/news/xhn/202310/18872283.html https://www.sohu.com/a/771696490_121165427 https://www.sohu.com/a/773532850_121921623 https://www.163.com/dy/article/G86EPNJQ0528NB1M.html #หาญท้าชะตาฟ้า #ถิงจ้าง #โบยตี #ลงทัณฑ์พระราชทาน #จูหยวนจาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1228 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1667 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts