เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี
Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้
ความมีอยู่ว่า
...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์
ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ...
- จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้
พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า
1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ
2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน
3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3)
3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง
3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ
3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’
3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้
3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน
แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น
อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006
http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
https://www.sohu.com/a/203002032_790378
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm
http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html
https://baike.sogou.com/v193017.htm
#พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้
ความมีอยู่ว่า
...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์
ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ...
- จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้
พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า
1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ
2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน
3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3)
3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง
3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ
3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’
3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้
3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน
แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น
อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006
http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
https://www.sohu.com/a/203002032_790378
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm
http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html
https://baike.sogou.com/v193017.htm
#พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี
Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้
ความมีอยู่ว่า
...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์
ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ...
- จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้
พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า
1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ
2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน
3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3)
3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง
3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ
3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’
3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้
3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน
แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น
อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006
http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
https://www.sohu.com/a/203002032_790378
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm
http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html
https://baike.sogou.com/v193017.htm
#พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
3 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
49 มุมมอง
0 รีวิว