• เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี

    Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้

    ความมีอยู่ว่า
    ...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์
    ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ...
    - จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้

    พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า

    1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ

    2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน

    3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3)

    3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง

    3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ

    3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’

    3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้

    3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน

    แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น

    อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006
    http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
    https://www.sohu.com/a/203002032_790378
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e
    http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm
    http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html
    https://baike.sogou.com/v193017.htm
    #พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
    เพื่อนเพจหลายคนคงทราบว่าการปักปิ่นนั้น เป็นสัญลักษณ์ว่าสตรีได้เติบใหญ่สามารถครองเรือนได้แล้ว และอายุทั่วไปของการปักปิ่นคือ 15 ปี แต่หากได้รับการหมั้นหมายก่อนอายุ 15 ปีก็สามารถทำพิธีปักปิ่นได้เลย หรือหากยังไม่ได้ทำพิธีและยังไม่ได้แต่งงานก็ให้ทำพิธีปักปิ่นได้เมื่ออายุ 20 ปี Storyฯ ได้เห็นฉากพิธีปักปิ่นในละครเรื่อง <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ที่ดูแปลกประหลาดนัก มีการเจิมหน้าผากแต้มชาดที่หางตา (ดูรูป 1) และมีแขกผู้ชายเพียบ เลยต้องรีบไปค้นหนังสือนิยายมาอ่านว่าต้นฉบับบรรยายไว้อย่างไร คัดมาบางส่วนดังนี้ ความมีอยู่ว่า ...พิธีปักปิ่นของข้ามีพระเชษฐภคินีจิ้นหมิ่นเป็นประธานดำเนินพิธี มีองค์ฮองเฮาเป็นแขกกิตติมศักดิ์ ผู้ที่มาร่วมเป็นสักขีพยานมีทั้งเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในและบรรดาฝ่ายในของเหล่าตระกูลสูงศักดิ์ ... ข้าสวมชุดสีสันสดใส ผมเกล้ามวยคู่ ... พระชายาในองค์ชายรัชทายาท (ไท่จื่อเฟย) ประทับอยู่ด้านตะวันตก ... ไท่จื่อเฟยทรงแกะมวยคู่ของข้าออกหวีผมให้ ... พระมารดาของข้าหวีผมเกล้าขึ้นให้ ... ประดับปิ่นแรก สวมหรู่ฉวิน ... ประดับปิ่นสอง สวมชุดยาวชวีจวี ... ประดับปิ่นสาม สวมชุดแขนกว้างเต็มพิธีการ ... สามประดับสามคำนับ เสร็จพิธีการ... - จากเรื่อง <มังกรผู้พิชิต หงส์คู่บัลลังก์> ผู้แต่ง เม่ยอวี๋เจ่อ (ชื่อตามฉบับแปล แต่บทความ Storyฯ แปลเอง) หมายเหตุ ละคร <ซ่างหยาง ลำนำหงส์ลิขิตบัลลังก์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้ พิธีปักปิ่นมีปรากฏในบันทึก ‘หลี่จี้ เน่ยเจ๋อ’ (礼记·内则) ซึ่งเป็นหนึ่งในบันทึกประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดของจีนโดยพูดถึงพิธีการสมัยราชวงศ์โจวเป็นหลัก และเป็นหลักปฏิบัติที่ใช้สืบทอดกันมาหลายยุคสมัย พิธีมีรายละเอียดมาก Storyฯ สรุปได้ว่า 1. ผู้ที่เข้าร่วม: พิธีปักปิ่นจัดเป็นงาน ‘ฝ่ายใน’ และผู้เข้าร่วมงานต้องเป็นสตรีเท่านั้น ยกเว้นบุรุษในครอบครัวและญาติสนิท (เช่นพ่อ พี่ชาย น้องชาย ลุง อา) โดยปกติประธานในพิธีคือแม่ และผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือ ‘แขกกิตติมศักดิ์’ ซึ่งจะเป็นญาติผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงดีงาม เธอมีหน้าที่ปักปิ่นและตั้งชื่อรองให้ตัวเอกของเรา นอกจากนี้ยังมีผู้ช่วยดำเนินการ ซึ่งอาจมีหลายคนไว้ทำหลายอย่างเช่น เชิญแขกเหรื่อ ประกาศขั้นตอน ประเคนของ ช่วยตัวเอกเปลี่ยนเสื้อผ้า ฯลฯ และมีนักดนตรีที่บรรเลงดนตรีประกอบพิธีการเป็นช่วงๆ 2. สถานที่ (ดูรูปประกอบ 2): พื้นที่แบ่งสองส่วน ส่วนที่ใช้ดำเนินพิธีมีการยกพื้น หากไม่มียกพื้นให้ใช้วาดแบ่งเขตให้ชัดเจน ทิศที่สำคัญคือทิศเหนือ มีป้ายบรรพบุรุษหรือที่นิยมคือรูปของขงจื้อ ทิศตะวันออกถือเป็นทิศของตัวเอก จะมีการใช้ฉากกั้นเป็นห้องไว้ให้นางเปลี่ยนเสื้อ แขกกิตติมศักดิ์จะนั่งอยู่ทิศตะวันตกหันหน้าเข้าทิศตะวันออก ขั้นตอนต่างๆ จะมีการกำหนดเส้นทางที่ใช้เดินและจุดยืน/นั่งที่ชัดเจน 3. พิธี: โดยหลักมี ‘สามประดับ สามคำนับ’ ซึ่ง ‘สามประดับ’ นี้หมายถึงการปักปิ่นและการเปลี่ยนชุด และเนื่องจากการแต่งกายของสตรีเปลี่ยนไปตามยุคสมัย Storyฯ ใช้ตัวอย่างสมัยราชวงศ์หมิงมาให้ดู (รูป 3) 3.1 ประดับแรก: ตัวเอกแรกเริ่มอยู่ในชุดเด็ก ผมมัดเป็นมวยคู่ ขั้นตอนนี้คือปลดมวยคู่ออกแล้วหวีผมใหม่เกล้าขึ้นแบบผู้ใหญ่ แล้วแขกกิตติมศักดิ์ก็จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรเป็นสัญลักษณ์ของการเติบใหญ่แล้ว ปิ่นนี้เรียกว่า ‘จี’ หรือ ‘จาน’ เป็นปิ่นขาเดียว เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเสื้อเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘หรู่ฉวิน’ สีขาวหรือสีสุภาพ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวิน’ เสร็จแล้วจึงกลับออกมาบริเวณทำพิธีอีกครั้ง 3.2 ประดับสอง: แขกกิตติมศักดิ์ปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง โดยอาจใช้ปิ่นก้านเดียวหรือปิ่นสองก้านที่เรียกว่า ‘ไช้’ เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุด ‘ชวีจวี’ หรือในสมัยหมิงใช้ชุด ‘เอ่าฉวินแบบยาว’ ซึ่งในสมัยอื่นๆ ก็จะเป็นชุดที่ค่อนข้างทางการแต่ไม่ใช่ชุดเต็มยศ 3.3 ประดับสาม: แขกกิตติมศักดิ์จะปักปิ่นและกล่าวคำอวยพรอีกครั้ง รอบนี้บ้างใช้เป็นมงกุฎผมหรือปิ่นแบบที่เรียกว่า ‘ไช้ก้วน’ คือดูเหมือนมงกุฎแต่ก้านเป็นปิ่น เสร็จแล้วตัวเอกกลับเข้าห้องเปลี่ยนชุดสวมใส่เป็นชุดแขนกว้างแบบเต็มยศหรือในสมัยหมิงเรียกว่าชุดคลุม ‘พีเฟิง’ 3.4 พิธีการก่อนสามคำนับ: ภายหลังจากตัวเอกเปลี่ยนชุดเสร็จแล้ว จะมีการคำนับขงจื้อหรือป้ายบรรพบุรุษที่จัดไว้ทางทิศเหนือ เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงที่จะทำสิ่งดีมีคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง และเป็นวาระที่จะมีการตั้งชื่อรองให้ (Storyฯ เคยเขียนเรื่องชื่อเอกชื่อรองไว้นานมากแล้วตอนคุยถึงละครเรื่อง <ปรมาจารย์ลัทธิมาร> ลองหาอ่านดูนะคะ) และมีพิธีการอื่นเช่นเทเหล้าเซ่นไหว้ 3.4 เสร็จแล้วตัวเอกต้องคำนับสามครั้ง ครั้งแรกคำนับพ่อแม่เพื่อแสดงความกตัญญูรู้คุณ ครั้งที่สองคือเปรียบเป็นการคำนับครูบาอาจารย์ แล้วครั้งสุดท้ายคือคำนับบรรพบุรุษ เสร็จแล้วบิดามารดาให้โอวาท ก็เป็นอันเสร็จพิธีและตัวเอกคำนับขอบคุณแขกที่มาร่วมงาน แน่นอนว่าคนที่ดำเนินพิธีอาจปรับเปลี่ยนตามญาติของตัวเอกที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ขั้นตอนจะเป็นไปตามข้างต้น จะเห็นว่าพิธีการนี้ได้รับความสำคัญและมีรายละเอียดมาก จากข้อมูลที่หาได้ แม้เป็นองค์หญิงแต่พิธีการหลักของ ‘สามประดับสามคำนับ’ นั้นยังคงเดิม ความแตกต่างจะอยู่ที่เครื่องแต่งกาย เช่นใช้มงกุฎลายหงส์ห้าสี เป็นต้น อ่านถึงตรงนี้เพื่อนเพจคงพอเห็นภาพว่าทำไม Storyฯ จึงเกิดอาการ ‘อึ้ง’ ไปเมื่อได้เห็นพิธีนี้ในละคร ซ่างหยางฯ! ใครได้เห็นพิธีปักปิ่นในละครหรือนิยายเรื่องอื่น มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.laoziliao.net/tv/info/46887006 http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e https://www.sohu.com/a/203002032_790378 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.cunman.com/new/4b9474b18da54ca59d78d567fd0d323e http://www.chinakongzi.org/zt/zhonghualiyue/201905/t20190510_194759.htm http://www.qulishi.com/article/202104/501662.html https://baike.sogou.com/v193017.htm #พิธีปักปิ่น #จีหลี่ #ซ่างหยาง #สตรีวัยสิบห้า #ปิ่นจีน
    《上陽賦》被嘲“夕陽賦”,高開低走收視撲街 - 老資料网
    在婦女節來臨前,國際影星章子怡領銜主演的瑪麗蘇巨制權謀大戲《上陽賦》迎來了大結局。該劇從開拍就引起了極大的關注,各種通稿爭相報道,國際章要從大銀幕轉戰電視劇,老戲骨加盟,大制作大手筆,改編小說《帝凰業》,是一部大型權謀大劇,引人關注。從官宣到開拍再到路透,
    3 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 42 มุมมอง 0 รีวิว
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน

    หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน

    หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป

    ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ
    (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ
    (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม
    (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ
    (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ
    (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น

    แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm
    https://baike.baidu.com/item/五礼/491424

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์ สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949 https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm https://baike.baidu.com/item/五礼/491424 #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    WWW.UPMEDIA.MG
    張凌赫新劇《度華年》對打王星越《墨雨雲間》 他與趙今麥演歡喜冤家3關鍵獲好評--上報
    張凌赫近年事業蒸蒸日上,他2022年擔任王鶴棣、虞書欣的爆款劇《蒼蘭訣》男配嶄露頭角,接著又在2023年與虞......
    Like
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1290 มุมมอง 0 รีวิว