เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน
ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป
เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก
ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย
ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ
ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ
1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน)
2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก)
3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น
4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด
5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย
แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก
กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ
ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี
ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน
เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499
https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://kknews.cc/news/gpevjl.html
https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html
https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060
https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc
https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561
#นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป
เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก
ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย
ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ
ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ
1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน)
2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก)
3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น
4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด
5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย
แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก
กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ
ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี
ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน
เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499
https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://kknews.cc/news/gpevjl.html
https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html
https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060
https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc
https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561
#นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ดูละครจีนหลายคนต้องเคยเห็นเสื้อที่ทำจากผ้าต่อหรือที่เรียกว่า ‘patchwork’ หรือบางคนอาจเรียกเล่นๆ แถวบ้านว่า ‘เสื้อพรรคกระยาจก’! วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับประเพณีดั้งเดิมที่เกี่ยวกับเสื้อที่ทำจากผ้าต่อและความหมายของมัน
ในละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> มีอยู่ตอนหนึ่งที่เซียวซ่ง ซื่อหลางแห่งกรมอาญา สืบเรื่องถึงหมอตำแยคนหนึ่งชื่อ เว่ยซื่อเหนียง จากบทสนทนากับลูกค้าของนางคนหนึ่งได้ความว่านางจะแนะนำให้เด็กแรกเกิดใส่เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ โดยมีการพูดถึงว่าต้องใส่เป็นเวลาสามวัน ผ่านสามวันต้องทำพิธี ‘สี่ซานหลี่’ แล้วจึงจะถอดเสื้อนั้นออกได้ และในพิธีดังกล่าวต้องมีการเลี้ยงสุราและใช้เครื่องประดับทองคำ ซึ่งองค์ประกอบนี้กลายมาเป็นเบาะแสให้สืบต่อไป
เสื้อ ‘ไป่เจียอี’ (百家衣) นั้นแปลตรงตัวว่า ‘เสื้อร้อยครอบครัว’ มีชื่อเรียกอื่นที่หลากหลาย เช่น ไป่ซุ่ยอี/百岁衣 ไป๋เป่าอี/百保衣 เป็นเสื้อที่ทำขึ้นจากผ้าที่เอาผ้าหลายชิ้นมาเย็บต่อกันขึ้นเป็นลวดลายสวยงาม มักมีสีสันฉูดฉาดเพราะเป็นเสื้อเด็ก
ทำไมต้องใส่เสื้อไป่เจียอี? ในสมัยโบราณนั้น อัตราการตายของทารกและเด็กเล็กสูงมาก ดังนั้นจึงมีการแก้เคล็ดด้วยการเอาเสื้อผ้าเก่าของเด็กที่แข็งแรงจากหลายครอบครัวมาเย็บติดกันแล้วทำขึ้นเป็นเสื้อให้เด็กใส่ เพื่อว่าเด็กจะได้มีสุขภาพดีแคล้วคลาดจากโรคภัย
ขออธิบายเพิ่มว่า แม้จะใช้คำว่า ‘ไป่’ ที่แปลว่าหนึ่งร้อย แต่จริงๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าต้องนับให้ได้ถึงหนึ่งร้อยจริงๆ ค่ะ คำนี้เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของจีนที่ต้องการสื่อถึงความหมายว่ามีจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน มักปรากฏในวลีในนิยายหรือคำคมจีนเช่น ผ้าปักร้อยอักษร รักกันร้อยปี ได้ยินร้อยครั้ง ฯลฯ
ส่วน ‘สี่ซานหลี่’ (洗三礼)นั้นก็คือการทำพิธีอาบน้ำให้กับทารกในวันที่สามหลังจากเกิดมา พิธีนี้มีมาแต่เมื่อใดไม่แน่ชัด แต่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ต่างๆ สมัยถังและซ่ง สรุปพิธีโดยคร่าวคือ
1. ญาติสนิทจะมาร่วมกันรับประทานอาหารกลางวัน อาหารจานหลักจะเป็นบะหมี่ (สัญลักษณ์ของความอายุยืน)
2. เสร็จแล้วหมอตำแยจะเป็นคนเริ่มประกอบพิธี โดยเริ่มจากกราบไหว้เทพยดา (แน่นอนว่าจะต้องมีหลักการว่าเป็นเทพยดาองค์ใดบ้าง แต่ Storyฯ ขอไม่กล่าวถึงเพราะจะยาวมาก)
3. จากนั้นญาติสนิทก็จะเติมน้ำคนละช้อนลงในกาละมังที่มีน้ำสมุนไพรอยู่แล้ว แล้วก็เติมของขวัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเหรียญทองและของมงคลอย่างเช่นเมล็ดพืชผลไม้ที่มีชื่อมงคลอย่างเช่นพุทราจีนลงไปในกาละมังเดียวกันนั้น (แต่หากเป็นตั๋วเงินให้วางแยก) ใครใส่อะไร หมอตำแยก็จะเอ่ยเป็นคำอวยพรที่พ้องเสียงกับของสิ่งนั้น
4. เสร็จแล้วหมอตำแยก็จะใช้น้ำนั้นอาบน้ำให้ทารก ระหว่างอาบก็จะเอ่ยคำอวยพรไปตลอด
5. เสร็จแล้วนำเครื่องประดับเงินทอง (หากไม่มีให้ใช้เครื่องประดับสีขาวสีเหลือง) มาวางทาบกับทารกเป็นนัยว่าให้อนาคตรุ่งเรืองร่ำรวย
แน่นอนว่า Storyฯ เล่าอย่างซูเปอร์ย่อ พิธีกรรมจริงๆ ละเอียดกว่านี้มาก
กลับมาที่ไป่เจียอีต่อ
ว่ากันว่าไป่เจียอีนี้ เดิมเป็นชุดที่นักบวชนิยมใส่ (เรียกว่าไป่น่าอี) มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาจึงนำมาทำเป็นเสื้อเด็ก เสื้อผู้ใหญ่ก็ยังนิยมอยู่ในกลุ่มนักบวช แต่ในสมัยหมิงและชิงกลายมาเป็นแฟชั่นที่นิยมมากในกลุ่มสตรีสามัญชน มีการปักเย็บลวดลายประณีตและสีสันสวยงาม เรียกว่าชุด ‘สุ่ยเถียนอี’ (水田衣 แปลตรงตัวว่า ‘ชุดนาข้าว’ ดูรูปขวา) ความนิยมนี้ว่ากันว่าเป็นเพราะองค์จูหยวนจาง (ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง) และพระมเหสีต่างทรงมีนิสัยมัธยัสถ์ ทรงเคยบริจาคผ้าห่มและเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากเส้นด้ายและผ้าที่เหลือใช้ แม้แต่องค์หญิงและสนมในวังยังเคยทรงพระราชทานให้ใส่ จึงทำให้สุ่ยเถียนอีเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย ต่อมากลายเป็นการประชันความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบลายเสื้อของสตรี
ธรรมเนียมการให้เด็กใส่เสื้อผ้าต่อไป่เจียอีนี้มีการกล่าวถึงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง และปฏิบัติกันมาทุกระดับชนชั้น แม้แต่ในบันทึกเกี่ยวกับประวัติของฮ่องเต้สมัยราชวงศ์ชิงในยุคสมัยของคังซีและเฉียนหลงยังมีกล่าวถึงการให้องค์ชายและราชนิกูลสวมเสื้อไป่เจียอีในตอนเด็ก และธรรมเนียมนี้ยังมีอยู่ในปัจจุบัน เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นในหลายพื้นที่ของจีน
เป็นอย่างไรบ้าง? ‘เสื้อพรรคกระยาจก’ เขาก็มีความเป็นมานะเออ! ของไทยมีอะไรคล้ายคลึงอย่างนี้บ้างไหมคะ? Storyฯ ไม่สันทัด หากเพื่อนเพจท่านใดผ่านตาก็เล่าสู่กันฟังได้นะคะ
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.myvideo.net.tw/details/3/12499
https://nicecasio.pixnet.net/blog/post/467691023
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://kknews.cc/news/gpevjl.html
https://www.lishiziliao.com/jiemi/21683.html
https://www.hanspub.org/journal/PaperInformation.aspx?paperID=25060
https://new.qq.com/omn/20200819/20200819A0D3IY00.html?pc
https:// baike.baidu.com/item/洗三/912561
#นิติเวชสาวยอดนักสืบ #นิติเวชสาวราชวงศ์ถัง #ผ้าต่อจีน #ผ้าปะจีน #ไป่ซุ่ยอี #ไป่น่าอี #สุ่ยเถียนอี #พิธีอาบน้ำทารก #สี่ซานหลี่
1 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
37 มุมมอง
0 รีวิว