• สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้)

    วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู

    ความมีอยู่ว่า
    ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา...
    - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง
    (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้

    คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง

    วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393

    #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้) วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู ความมีอยู่ว่า ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา... - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้ คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/ https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243 https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393 #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    WWW.CDRAMALOVE.COM
    Love And Redemption Summary - C-Drama Love - Show Summary
    Chinese Drama Love And Redemption Summary (琉璃) The drama tells the story of Chu Xuan Ji, a girl born with an incomplete "sixth sense", and Yu
    1 Comments 0 Shares 243 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงสัตว์เทพในคัมภีร์ซานไห่จิง (คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล) ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉินที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน วันนี้เรามาคุยกันถึงจิ้งจอกเก้าหาง

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ที่เสวียนหนี่ว์กล่าวมา ท่านราชาปีศาจฟังเข้าใจแล้วหรือไม่ ป๋ายเฉี่ยนแห่งชิงชิวเป็นจิ้งจอกขาวเก้าหาง เลือดหัวใจของจิ้งจอกขาวเก้าหางมีสรรพคุณเยี่ยงไร ท่านถามถามชายาของท่านดู”...
    - จากเรื่อง <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบหลี่> ผู้แต่ง ถังชีกงจื่อ

    ตำนานเกี่ยวกับจิ้งจอกเก้าหางมีไม่น้อย ส่วนใหญ่ผูกโยงกับปีศาจจิ้งจอกที่ทำให้คนลุ่มหลง แต่แฟนคลับจากเรื่องชุดสามชาติสามภพฯ จะรู้ว่า ในเรื่องนี้จิ้งจอกเก้าหางเป็นเทพขั้นสูงปกครองดินแดนชิงชิว ไม่ใช่ปีศาจร้ายที่คอยยั่วราคะใคร

    ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจคือ ในบรรดาเอกสารโบราณหรือวรรณคดีที่พูดถึงจิ้งจอกเก้าหางนั้น ดูจะมีในคัมภีร์ซานไห่จิงที่เดียวที่กล่าวถึงจิ้งจอกเก้าหางและดินแดนชิงชิวไปพร้อมๆ กัน โดยมีการบรรยายไว้ว่า เขาชิงชิวอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกอีกสามร้อยหลี่ ด้านที่เจอแสงอาทิตย์ของเขานั้นอุดมด้วยหยก ด้านที่มืดมีแร่ธาตุที่ใช้ผลิตสีเขียวได้ บนเขามีสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง รูปร่างเป็นจิ้งจอก มีเก้าหาง เสียงของมันเหมือนเสียงร้องไห้ของทารก มันกินมนุษย์ได้ และหากมนุษย์ใดกินเนื้อมันเข้าไปจะมีภูมิต้านทานมนต์ดำของปีศาจ

    จิ้งจอกเก้าหางเดิมได้รับการยกย่องเป็นสัตว์มงคล ในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นนั้น ในรูปภาพของพระแม่ตะวันตก(ซีหวางหมู่) มักปรากฎสัตว์เทพสี่ตัวอยู่แทบพระบาท หนึ่งในนั้นคือจิ้งจอกเก้าหาง ว่ากันว่า มันเป็นสัญลักษณ์ของการมีบุตรหลานมากมาย

    แต่ภาพลักษณ์ของจิ้งจอกเก้าหางเริ่มตกต่ำลงเมื่อพ้นยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อความนับถือในพระแม่ซีหวางหมู่ลดลง และเริ่มพูดถึงจิ้งจอกแปลงกายเป็นคนได้เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ พร้อมๆ กับความเป็น “สัตว์เทพ” แปรเปลี่ยนไปเป็น “ปีศาจ” มีนิทานปรัมปราเรื่องปีศาจจิ้งจอกเก้าหางมาสิงร่างของต๋าจีผู้เป็นพระสนมขององค์โจ้วหวางแห่งราชวงศ์ซาง แล้วทำให้พระองค์ทรงลุ่มหลงจนทำแต่เรื่องร้ายๆ อย่างไม่ลืมหูลืมตา ตอกย้ำภาพลักษณ์ปีศาจเพศหญิงที่งามสะคราญยั่วยวนให้ชายลุ่มหลงมัวเมาในกิเลสตัณหา เป็นภาพลักษณ์ที่คงอยู่มาจนปัจจุบัน

    แต่สำหรับ Storyฯ แล้ว จิ้งจอกเก้าหางตัวไหนก็ไม่ประทับใจเท่าป๋ายเฉี่ยนแห่งชิงชิว เพื่อนเพจล่ะคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1636558
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/7367050
    https://3g.163.com/dy/article_cambrian/EJB4QI9105418R2V.html
    https://zhidao.baidu.com/question/175130842.html

    #สามชาติสามภพ #จิ้งจอกเก้าหาง #ป๋ายเฉี่ยน #ต๋าจี #ซานไห่จิง #ชิงชิว #ตำนานจีน #StoryfromStory
    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงสัตว์เทพในคัมภีร์ซานไห่จิง (คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล) ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉินที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน วันนี้เรามาคุยกันถึงจิ้งจอกเก้าหาง ความมีอยู่ว่า ... “ที่เสวียนหนี่ว์กล่าวมา ท่านราชาปีศาจฟังเข้าใจแล้วหรือไม่ ป๋ายเฉี่ยนแห่งชิงชิวเป็นจิ้งจอกขาวเก้าหาง เลือดหัวใจของจิ้งจอกขาวเก้าหางมีสรรพคุณเยี่ยงไร ท่านถามถามชายาของท่านดู”... - จากเรื่อง <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบหลี่> ผู้แต่ง ถังชีกงจื่อ ตำนานเกี่ยวกับจิ้งจอกเก้าหางมีไม่น้อย ส่วนใหญ่ผูกโยงกับปีศาจจิ้งจอกที่ทำให้คนลุ่มหลง แต่แฟนคลับจากเรื่องชุดสามชาติสามภพฯ จะรู้ว่า ในเรื่องนี้จิ้งจอกเก้าหางเป็นเทพขั้นสูงปกครองดินแดนชิงชิว ไม่ใช่ปีศาจร้ายที่คอยยั่วราคะใคร ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจคือ ในบรรดาเอกสารโบราณหรือวรรณคดีที่พูดถึงจิ้งจอกเก้าหางนั้น ดูจะมีในคัมภีร์ซานไห่จิงที่เดียวที่กล่าวถึงจิ้งจอกเก้าหางและดินแดนชิงชิวไปพร้อมๆ กัน โดยมีการบรรยายไว้ว่า เขาชิงชิวอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันออกอีกสามร้อยหลี่ ด้านที่เจอแสงอาทิตย์ของเขานั้นอุดมด้วยหยก ด้านที่มืดมีแร่ธาตุที่ใช้ผลิตสีเขียวได้ บนเขามีสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง รูปร่างเป็นจิ้งจอก มีเก้าหาง เสียงของมันเหมือนเสียงร้องไห้ของทารก มันกินมนุษย์ได้ และหากมนุษย์ใดกินเนื้อมันเข้าไปจะมีภูมิต้านทานมนต์ดำของปีศาจ จิ้งจอกเก้าหางเดิมได้รับการยกย่องเป็นสัตว์มงคล ในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นนั้น ในรูปภาพของพระแม่ตะวันตก(ซีหวางหมู่) มักปรากฎสัตว์เทพสี่ตัวอยู่แทบพระบาท หนึ่งในนั้นคือจิ้งจอกเก้าหาง ว่ากันว่า มันเป็นสัญลักษณ์ของการมีบุตรหลานมากมาย แต่ภาพลักษณ์ของจิ้งจอกเก้าหางเริ่มตกต่ำลงเมื่อพ้นยุคสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อความนับถือในพระแม่ซีหวางหมู่ลดลง และเริ่มพูดถึงจิ้งจอกแปลงกายเป็นคนได้เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ พร้อมๆ กับความเป็น “สัตว์เทพ” แปรเปลี่ยนไปเป็น “ปีศาจ” มีนิทานปรัมปราเรื่องปีศาจจิ้งจอกเก้าหางมาสิงร่างของต๋าจีผู้เป็นพระสนมขององค์โจ้วหวางแห่งราชวงศ์ซาง แล้วทำให้พระองค์ทรงลุ่มหลงจนทำแต่เรื่องร้ายๆ อย่างไม่ลืมหูลืมตา ตอกย้ำภาพลักษณ์ปีศาจเพศหญิงที่งามสะคราญยั่วยวนให้ชายลุ่มหลงมัวเมาในกิเลสตัณหา เป็นภาพลักษณ์ที่คงอยู่มาจนปัจจุบัน แต่สำหรับ Storyฯ แล้ว จิ้งจอกเก้าหางตัวไหนก็ไม่ประทับใจเท่าป๋ายเฉี่ยนแห่งชิงชิว เพื่อนเพจล่ะคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_1636558 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/7367050 https://3g.163.com/dy/article_cambrian/EJB4QI9105418R2V.html https://zhidao.baidu.com/question/175130842.html #สามชาติสามภพ #จิ้งจอกเก้าหาง #ป๋ายเฉี่ยน #ต๋าจี #ซานไห่จิง #ชิงชิว #ตำนานจีน #StoryfromStory
    《三生三世十里桃花》里的青丘到底在四海八荒的哪里_翻书党_澎湃新闻-The Paper
    随着《三生三世十里桃花》的热播,“青丘”、“帝君”等热门词的流行唤起了广大观众对神仙世界、对中国古代神话的求知兴趣。那么青丘国究竟坐落于四海八荒的何处?
    1 Comments 0 Shares 231 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้ยังคงวนเวียนอยู่กับนิยาย/ละครแนวเทพเซียน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง มนุษย์เงือก

    สืบเนื่องจากสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคุยกันถึงสัตว์เทพในคัมภีร์ซานไห่จิง (คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล) ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน เพื่อนเพจคงคิดเหมือน Storyฯ ว่าต้องมีเรื่องราวของมนุษย์เงือกปรากฎในคัมภีร์ฯ นี้แน่นอน คำตอบคือไม่เชิง เพราะว่าคัมภีร์ฯ กล่าวถึงสัตว์ประหลาดกึ่งมนุษย์กึ่งปลาหลายชนิด บ้างมีขาบ้างไม่มีขา และไม่ได้เรียกชื่อเดียวกับมนุษย์เงือก (เจียวเหริน หรือ 鲛人) ที่เรามักได้ยินทั่วไป

    แต่ตำนานเกี่ยวกับมนุษย์เงือกนั้นมีมากมาย รวมถึงไข่มุกเงือกที่กล่าวถึงในบทความจากนิยายข้างล่างนี้
    ความมีอยู่ว่า
    ...นักล่าไข่มุกเมื่อหาไข่มุกไม่พอ ก็จะใช้เด็กผูกเชือกไว้ที่เอวดำลงไปในทะเลเพื่อล่อให้มนุษย์เงือก (เจียวเหริน) ปรากฎ จากนั้นก็ฆ่าเด็กให้มนุษย์เงือกดู มนุษย์เงือกมีจิตใจอ่อนโยน ยามน้ำตาไหลจะเกิดเป็นไข่มุกสะท้อนแสงภายใต้แสงจันทร์...
    - จากเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง เซียงหรูเซ่อ
    (หมายเหตุ ชื่อไทยตามฉบับแปลอย่างเป็นทางการ แต่บทความข้างต้น Storyฯ แปลเองจ้า)

    ตำนานที่ว่าน้ำตาของมนุษย์เงือกกลายเป็นไข่มุกได้นั้น ปรากฎอยู่ในบันทึกโซวเสินจี้ หรือ 搜神记 (สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ในบันทึกฯ นี้กล่าวถึงมนุษย์เงือก (เจียวเหริน) นี้ว่าอาศัยอยู่ในทะเลใต้ สันทัดการถักทอ ยามร้องไห้ น้ำตาจะกลายเป็นไข่มุก

    มีเรื่องเล่าขานอีกว่า ยังมีของวิเศษที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เงือกอีกสองอย่าง หนึ่งคือผ้าไหม “เจียวซา” ที่ทอจากน้ำโดยมนุษย์เงือก มีสรรพคุณคือเป็นผ้าที่โดนน้ำไม่เปียก สองคือน้ำมันที่สกัดจากมนุษย์เงือกนั้นสามารถจุดไฟได้นานพันปีไม่มีดับ (ฟังดูโหดร้าย!) ว่ากันว่าในสุสานขององค์จิ๋นซีฮ่องเต้ก็มีตะเกียงที่จุดไว้ด้วยน้ำมันมนุษย์เงือก (จริงเท็จแค่ไหนไม่รู้เลย)

    นอกจากเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> แล้ว เพื่อนเพจลองนึกออกไหมว่าเคยพบเจอมนุษย์เงือกจากนิยาย/ละครเรื่องอื่นเรื่องไหนอีก?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://dramapanda.com/2020/05/novoland-pearl-eclipse-releases-dreamy.html
    http://chinesemov.com/tv/2020/Novoland-Pearl-Eclipse.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://cul.qq.com/a/20160219/041874.htm
    https://baike.baidu.com/item/鲛人/3813051

    #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #มนุษย์เงือก #ตำนานจีน #เจียวเหริน #สัตว์เทพจีน #โซวเสินจี้ #StoryfromStory
    สัปดาห์นี้ยังคงวนเวียนอยู่กับนิยาย/ละครแนวเทพเซียน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง มนุษย์เงือก สืบเนื่องจากสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเราคุยกันถึงสัตว์เทพในคัมภีร์ซานไห่จิง (คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล) ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน เพื่อนเพจคงคิดเหมือน Storyฯ ว่าต้องมีเรื่องราวของมนุษย์เงือกปรากฎในคัมภีร์ฯ นี้แน่นอน คำตอบคือไม่เชิง เพราะว่าคัมภีร์ฯ กล่าวถึงสัตว์ประหลาดกึ่งมนุษย์กึ่งปลาหลายชนิด บ้างมีขาบ้างไม่มีขา และไม่ได้เรียกชื่อเดียวกับมนุษย์เงือก (เจียวเหริน หรือ 鲛人) ที่เรามักได้ยินทั่วไป แต่ตำนานเกี่ยวกับมนุษย์เงือกนั้นมีมากมาย รวมถึงไข่มุกเงือกที่กล่าวถึงในบทความจากนิยายข้างล่างนี้ ความมีอยู่ว่า ...นักล่าไข่มุกเมื่อหาไข่มุกไม่พอ ก็จะใช้เด็กผูกเชือกไว้ที่เอวดำลงไปในทะเลเพื่อล่อให้มนุษย์เงือก (เจียวเหริน) ปรากฎ จากนั้นก็ฆ่าเด็กให้มนุษย์เงือกดู มนุษย์เงือกมีจิตใจอ่อนโยน ยามน้ำตาไหลจะเกิดเป็นไข่มุกสะท้อนแสงภายใต้แสงจันทร์... - จากเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> ผู้แต่ง เซียงหรูเซ่อ (หมายเหตุ ชื่อไทยตามฉบับแปลอย่างเป็นทางการ แต่บทความข้างต้น Storyฯ แปลเองจ้า) ตำนานที่ว่าน้ำตาของมนุษย์เงือกกลายเป็นไข่มุกได้นั้น ปรากฎอยู่ในบันทึกโซวเสินจี้ หรือ 搜神记 (สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก) ในบันทึกฯ นี้กล่าวถึงมนุษย์เงือก (เจียวเหริน) นี้ว่าอาศัยอยู่ในทะเลใต้ สันทัดการถักทอ ยามร้องไห้ น้ำตาจะกลายเป็นไข่มุก มีเรื่องเล่าขานอีกว่า ยังมีของวิเศษที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์เงือกอีกสองอย่าง หนึ่งคือผ้าไหม “เจียวซา” ที่ทอจากน้ำโดยมนุษย์เงือก มีสรรพคุณคือเป็นผ้าที่โดนน้ำไม่เปียก สองคือน้ำมันที่สกัดจากมนุษย์เงือกนั้นสามารถจุดไฟได้นานพันปีไม่มีดับ (ฟังดูโหดร้าย!) ว่ากันว่าในสุสานขององค์จิ๋นซีฮ่องเต้ก็มีตะเกียงที่จุดไว้ด้วยน้ำมันมนุษย์เงือก (จริงเท็จแค่ไหนไม่รู้เลย) นอกจากเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> แล้ว เพื่อนเพจลองนึกออกไหมว่าเคยพบเจอมนุษย์เงือกจากนิยาย/ละครเรื่องอื่นเรื่องไหนอีก? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://dramapanda.com/2020/05/novoland-pearl-eclipse-releases-dreamy.html http://chinesemov.com/tv/2020/Novoland-Pearl-Eclipse.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://cul.qq.com/a/20160219/041874.htm https://baike.baidu.com/item/鲛人/3813051 #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #มนุษย์เงือก #ตำนานจีน #เจียวเหริน #สัตว์เทพจีน #โซวเสินจี้ #StoryfromStory
    DRAMAPANDA.COM
    Novoland: Pearl Eclipse Releases Dreamy Posters to Announce Cast Led by Yang Mi and William Chan - DramaPanda
    If that poster didn’t have you clicking fast enough, just wait until you see the rest! The team behind the newest addition to the Novoland franchise, Novoland: Pearl Eclipse 斛珠夫人 just gave us all a little peek at what’s in store for viewers with these gorgeous posters below. It’s a wee bit different from the usual angsty dark tones in some of its earlier offerings, but with a title like Pearl Eclipse, the colour palette change to aquatic shades is certainly quite apt. If you can still remember, the drama was actually included in the line-up of dramas announced by Tencent (Pearl Eclipse will
    1 Comments 0 Shares 244 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้)

    วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู

    ความมีอยู่ว่า
    ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา...
    - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง
    (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้

    คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง

    วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393

    #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้) วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู ความมีอยู่ว่า ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา... - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้ คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/ https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243 https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393 #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    WWW.CDRAMALOVE.COM
    Love And Redemption Summary - C-Drama Love - Show Summary
    Chinese Drama Love And Redemption Summary (琉璃) The drama tells the story of Chu Xuan Ji, a girl born with an incomplete "sixth sense", and Yu
    1 Comments 0 Shares 369 Views 0 Reviews
  • ควันหลงจากการที่ Storyฯ ได้ดูหนังเรื่อง ชางชี แล้วเห็นสัตว์เทพในตำนาน วันนี้เลยกลับมาอีกครั้งกับคัมภีร์ซานไห่จิง (คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล) ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉินที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน วันนี้เรามาคุยกันถึงสัตว์ในเทพนิยายที่เชื่อว่าทุกคนต้องรู้สึกคุ้นเคย --- เฟิ่งหวง หรือ หงส์ฟ้า

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ราชันแห่งเผ่าพันธ์เฟิ่งหวงสืบทอดพระบัญชาจากปฐมเทพให้เป็นพาหนะของข้า... เฟิ่งหวงห้าสีแม้เป็นสัตว์เทพหายาก แต่มิใช่เหมาะสมที่สุดในการฝึกฝนพลังเทพ.... เฟิ่งหวงอัคคีสามารถตายดับแล้วเกิดใหม่เป็นอมตะ เป็นราชันแห่งเผ่าพันธุ์เฟิ่งหวงทั้งหมด เฟิ่งหวงอัคคีในรุ่นหนึ่งเมื่อยอมสละสังขาร ราชันเฟิ่งหวงรุ่นถัดไปต้องรอนานถึงหนึ่งแสนปีจึงจะเกิดใหม่...” ซ่างกู่ตอบ
    - จากเรื่อง <ซ่างกู่ ตำนานบรรพกาล> ผู้แต่ง ซิงหลิง (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ตำนานรักสองสวรรค์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    เรามักจะคุ้นเคยจากละครหลายเรื่องว่าเฟิ่งหวงเป็นหงส์เพลิง และนิยายข้างต้นดูจะเกริ่นว่าเฟิ่งหวงมีหลายชนิด

    ในคัมภีร์ซานไห่จิงมีการพูดถึงเฟิ่งหวง (ดูรูปขวาล่าง) ไว้ว่า รูปร่างเหมือนไก่ ขนเป็นลายห้าสี ลายบนหัวเป็นอักษร ‘เต๋อ’ (คุณธรรม) ลายบนปีกเป็นอักษร ‘อี้’ (ความถูกต้อง) ลายบนหลังเป็นอักษร ‘หลี่’ (พิธีการ) ลายบนอกเป็นอักษร ‘เหริน’ (ความเมตตา) และลายบนท้องเป็นอักษร ‘ซิ่น’ (ความเชื่อใจ) นกนี้ร้องรำทำเพลงอิสระ กินอาหารได้ตามใจ มีฝูงนกบินตามเป็นหมื่น ยามปรากฏกายแผ่นดินจะบังเกิดสันติสุข นอกจากนี้ยังพูดถึงว่าเป็นนกห้าสีที่อาศัยอยู่ในหลายดินแดน รวมถึงเขาคุนลุ้น และยังกล่าวถึงว่าเป็นพาหนะของกษัตริย์เทพบรรพกาลแห่งดินแดนทุรกันดารด้วยด้วย

    ดังนั้น นกเฟิ่งหวงตามคัมภีร์ซานไห่จิงเป็นนกที่มีขนห้าเฉดสี และเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามและสันติสุข ไม่มีการพูดถึงนกเพลิงหรือการตายแล้วเกิดใหม่จากขี้เถ้า ซึ่งอย่างหลังนี้ จริงๆ แล้วได้รับอิทธิพลมาจากตำนานของฝรั่งเรื่องนกฟีนิกซ์ แต่ในตำนานปรัมปราจีนมีการยกย่องนับถือสัตว์เทพสี่องค์ หนึ่งในนั้นคือ หงส์แดง (จูเชวี่ย 朱雀) เป็นเทพอัคคี และว่ากันว่านกเฟิ่งหวงเป็นสัตว์ที่สืบทอดมาจากหงส์แดงนั่นเอง

    ในหนังสือบันทึกเกร็ดความรู้โบราณในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ที่มีชื่อว่า “อวี้ไห่” (玉海 มีทั้งหมด 204 บท) มีสรุปไว้ว่า นกในตระกูลเฟิ่งหวงมี 5 ชนิดคือ มีสีแดงมากหน่อยคือเฟิ่งหวง; สีเหลืองมากหน่อยคือยวนฉู (鹓鶵); สีเขียวฟ้ามากหน่อยคือหลวน (鸾); สีม่วงมากหน่อยคือเยวี่ยจั๋ว (鸑鷟); และสีขาวคือหงหู (鸿鹄) แต่ไม่ได้มีการบรรยายไว้ถึงรูปพรรณสัณฐานที่ขัดเจนว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ดังนั้นในรูปภาพแนวแฟนตาซีจีนทั้งหลายจะเห็นลักษณะใกล้เคียงกัน ต่างกันเพียงสี

    จริงๆ แล้ว ‘เฟิ่ง’ คือหงส์ตัวผู้ ‘หวง’ เป็นหงส์ตัวเมีย เมื่อเรียกรวมกันเป็น ‘เฟิ่งหวง’ หมายถึงเผ่าพันธุ์หงส์โดยรวม และเป็นสัญลักษณ์แห่งสมดุลของหยินหยาง เกิดเป็นลวดลายของเฟิ่งและหวงมาบรรจบกัน ต่อมาเมื่อมังกรถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของเพศชายและฮ่องเต้ เฟิ่งซึ่งเป็นการเรียกย่อของเฟิ่งหวงจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิงและฮองเฮาแทน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.1905.com/m/news/zaker/1531311.shtml?__hz=1fc214004c9481e4&api_source=zaker_news_add
    https://m.52lishi.com/article/78597.html
    http://www.gd.chinanews.com.cn/2019/2019-05-28/403356.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/book/shanhaijing/0001.htm
    https://baike.baidu.com/item/%E5%87%A4%E5%87%B0/5433
    https://baike.baidu.com/item/%E6%9C%B1%E9%9B%80/2305467
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/45506725
    #เฟิ่งหวง #ซานไห่จิง #คัมภีร์แห่งขุนเขาและทะเล #ตำนานจีน #สัตว์เทพจีน #วัฒนธรรมจีน
    ควันหลงจากการที่ Storyฯ ได้ดูหนังเรื่อง ชางชี แล้วเห็นสัตว์เทพในตำนาน วันนี้เลยกลับมาอีกครั้งกับคัมภีร์ซานไห่จิง (คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล) ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉินที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน วันนี้เรามาคุยกันถึงสัตว์ในเทพนิยายที่เชื่อว่าทุกคนต้องรู้สึกคุ้นเคย --- เฟิ่งหวง หรือ หงส์ฟ้า ความมีอยู่ว่า ... “ราชันแห่งเผ่าพันธ์เฟิ่งหวงสืบทอดพระบัญชาจากปฐมเทพให้เป็นพาหนะของข้า... เฟิ่งหวงห้าสีแม้เป็นสัตว์เทพหายาก แต่มิใช่เหมาะสมที่สุดในการฝึกฝนพลังเทพ.... เฟิ่งหวงอัคคีสามารถตายดับแล้วเกิดใหม่เป็นอมตะ เป็นราชันแห่งเผ่าพันธุ์เฟิ่งหวงทั้งหมด เฟิ่งหวงอัคคีในรุ่นหนึ่งเมื่อยอมสละสังขาร ราชันเฟิ่งหวงรุ่นถัดไปต้องรอนานถึงหนึ่งแสนปีจึงจะเกิดใหม่...” ซ่างกู่ตอบ - จากเรื่อง <ซ่างกู่ ตำนานบรรพกาล> ผู้แต่ง ซิงหลิง (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ตำนานรักสองสวรรค์> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) เรามักจะคุ้นเคยจากละครหลายเรื่องว่าเฟิ่งหวงเป็นหงส์เพลิง และนิยายข้างต้นดูจะเกริ่นว่าเฟิ่งหวงมีหลายชนิด ในคัมภีร์ซานไห่จิงมีการพูดถึงเฟิ่งหวง (ดูรูปขวาล่าง) ไว้ว่า รูปร่างเหมือนไก่ ขนเป็นลายห้าสี ลายบนหัวเป็นอักษร ‘เต๋อ’ (คุณธรรม) ลายบนปีกเป็นอักษร ‘อี้’ (ความถูกต้อง) ลายบนหลังเป็นอักษร ‘หลี่’ (พิธีการ) ลายบนอกเป็นอักษร ‘เหริน’ (ความเมตตา) และลายบนท้องเป็นอักษร ‘ซิ่น’ (ความเชื่อใจ) นกนี้ร้องรำทำเพลงอิสระ กินอาหารได้ตามใจ มีฝูงนกบินตามเป็นหมื่น ยามปรากฏกายแผ่นดินจะบังเกิดสันติสุข นอกจากนี้ยังพูดถึงว่าเป็นนกห้าสีที่อาศัยอยู่ในหลายดินแดน รวมถึงเขาคุนลุ้น และยังกล่าวถึงว่าเป็นพาหนะของกษัตริย์เทพบรรพกาลแห่งดินแดนทุรกันดารด้วยด้วย ดังนั้น นกเฟิ่งหวงตามคัมภีร์ซานไห่จิงเป็นนกที่มีขนห้าเฉดสี และเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามและสันติสุข ไม่มีการพูดถึงนกเพลิงหรือการตายแล้วเกิดใหม่จากขี้เถ้า ซึ่งอย่างหลังนี้ จริงๆ แล้วได้รับอิทธิพลมาจากตำนานของฝรั่งเรื่องนกฟีนิกซ์ แต่ในตำนานปรัมปราจีนมีการยกย่องนับถือสัตว์เทพสี่องค์ หนึ่งในนั้นคือ หงส์แดง (จูเชวี่ย 朱雀) เป็นเทพอัคคี และว่ากันว่านกเฟิ่งหวงเป็นสัตว์ที่สืบทอดมาจากหงส์แดงนั่นเอง ในหนังสือบันทึกเกร็ดความรู้โบราณในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ที่มีชื่อว่า “อวี้ไห่” (玉海 มีทั้งหมด 204 บท) มีสรุปไว้ว่า นกในตระกูลเฟิ่งหวงมี 5 ชนิดคือ มีสีแดงมากหน่อยคือเฟิ่งหวง; สีเหลืองมากหน่อยคือยวนฉู (鹓鶵); สีเขียวฟ้ามากหน่อยคือหลวน (鸾); สีม่วงมากหน่อยคือเยวี่ยจั๋ว (鸑鷟); และสีขาวคือหงหู (鸿鹄) แต่ไม่ได้มีการบรรยายไว้ถึงรูปพรรณสัณฐานที่ขัดเจนว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่ ดังนั้นในรูปภาพแนวแฟนตาซีจีนทั้งหลายจะเห็นลักษณะใกล้เคียงกัน ต่างกันเพียงสี จริงๆ แล้ว ‘เฟิ่ง’ คือหงส์ตัวผู้ ‘หวง’ เป็นหงส์ตัวเมีย เมื่อเรียกรวมกันเป็น ‘เฟิ่งหวง’ หมายถึงเผ่าพันธุ์หงส์โดยรวม และเป็นสัญลักษณ์แห่งสมดุลของหยินหยาง เกิดเป็นลวดลายของเฟิ่งและหวงมาบรรจบกัน ต่อมาเมื่อมังกรถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของเพศชายและฮ่องเต้ เฟิ่งซึ่งเป็นการเรียกย่อของเฟิ่งหวงจึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิงและฮองเฮาแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.1905.com/m/news/zaker/1531311.shtml?__hz=1fc214004c9481e4&api_source=zaker_news_add https://m.52lishi.com/article/78597.html http://www.gd.chinanews.com.cn/2019/2019-05-28/403356.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/book/shanhaijing/0001.htm https://baike.baidu.com/item/%E5%87%A4%E5%87%B0/5433 https://baike.baidu.com/item/%E6%9C%B1%E9%9B%80/2305467 https://zhuanlan.zhihu.com/p/45506725 #เฟิ่งหวง #ซานไห่จิง #คัมภีร์แห่งขุนเขาและทะเล #ตำนานจีน #สัตว์เทพจีน #วัฒนธรรมจีน
    1 Comments 0 Shares 524 Views 0 Reviews
  • ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า>

    วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้)

    วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง

    วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว

    แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว

    และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี

    ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว

    Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://imgur.com/20Mx6mv
    http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article
    https://www.sohu.com/a/325578545_594411

    #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    ช่วงนี้ Storyฯ ย้อนไปดูซีรีส์เก่า มีฉากหนึ่งในเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ที่เตะตา เพื่อนเพจที่เคยดูคงจำได้ว่าพระนางของเรื่องต้องผ่านด่านกลหมากปริวรรตเพื่อช่วงชิงสุดยอดวิชาหลันอิงปี้เยวี่ย ซึ่งเป็นการต่อสู้กับจิตใจของตนเอง โดยในด่านสุดท้ายนั้นพระเอกต้องตัดสายใยที่อยู่ในใจทั้งหมดทิ้ง แต่พระเอกเลือกที่จะเหลือสายใยไว้หนึ่งเส้นซึ่งก็คือสายใยที่มีต่อนางเอก พร้อมกับวลีที่ว่า “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม สายใยความวุ่นวายแห่งทางโลกสามพันเส้น ข้าเหลือไว้เส้นหนึ่งจะเป็นไรไป?” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า> วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เรื่องวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” (รั่วสุ่ยซันเชียน จื๋อฉวี่อี้เผียว / 弱水三千只取一瓢) (หมายเหตุ ซันเชียน แปลว่า สามพัน เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงสามพันลี้) วลีนี้เคยถูกแปลไว้ว่า “แม่น้ำรั่วสามพันลี้ หนึ่งจอกดับกระหาย” เพื่อนเพจบางท่านอาจงงว่ามันต่างกันหรือไม่อย่างไร ขออธิบายก่อนว่า คำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณใช้หมายถึงลำธารที่อันตราบไม่สามารถใช้สัญจรได้ และ ‘รั่วสุ่ย’ ยังเป็นชื่อแม่น้ำสายหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซานไห่จิงหรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ และแม่น้ำสายนี้ได้ถูกแปลมาเป็นภาษาไทยและอังกฤษว่า ‘แม่น้ำรั่ว’ นั่นเอง วลีนี้มีที่มาจากคำสอนทางศาสนาพุทธ เป็นนิทานว่าชายผู้ที่กำลังจะขาดน้ำตายเมื่อได้เห็นน้ำในลำธารก็โอดครวญอย่างเสียดายว่าน้ำทั้งลำธารจะดื่มอย่างไรหมด พระพุทธเจ้าจึงสอนว่าในชีวิตเรานั้นอาจพานพบหลากหลายสรรพสิ่งที่ดีงาม แต่เราไม่จำเป็นต้องครอบครองได้ทั้งหมด เพียงมีสิ่งเล็กๆ ที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว ดังวลีนี้ที่เปรียบเปรยว่า น้ำในสายธารที่ทอดยาว ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำมาดื่มใช้ให้หมด ขอเพียงหนึ่งชามก็พอยังชีพแล้ว แม้ว่าคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ จะมีมาแต่โบราณ แต่วรรคที่ว่า ‘รั่วสุ่ยซันเชียน’ หรือ ‘ธารน้ำสามพัน(ลี้)’ ในรูปประโยคอย่างนี้ แรกปรากฏให้เห็นในอมตะวรรณกรรมเรื่อง <ความฝันในหอแดง> โดยเป็นตอนที่พระเอกเจี๋ยเป่าอวี้ใช้วลีเต็ม “แม้ธารน้ำยาวสามพันลี้ ข้าก็จะขอตักเพียงหนึ่งชาม” เพื่อบอกต่อนางเอกหลินไต้อวี้ว่า แม้จะมีสตรีอื่นรายล้อมเพียงใด เขาขอเพียงนางคนเดียวมาเป็นคู่ครองก็พอใจแล้ว และต่อมาวลีนี้จึงกลายเป็นวลีอมตะที่บ่งบอกถึงรักอันมั่นคง รักเดียวใจเดียว และด้วยคำว่า ‘รั่วสุ่ย’ ในโบราณแปลว่าสายธารที่อันตราย จึงมีการตีความวลี “ธารน้ำสามพัน(ลี้) ขอตักเพียงหนึ่งชาม” นี้เพิ่มเติมด้วยว่า กว่าจะตักน้ำนั้นมาได้หนึ่งชามก็ยากแสนยาก พึงเห็นคุณค่าของมันให้จงดี ดังนั้น จริงๆ แล้ววลีนี้ใช้ในบริบทอื่นก็ได้ เพื่อสื่อความหมายว่า ในบรรดาสรรพสิ่งมากมาย ขอเพียงได้ในสิ่งเดียวที่ตั้งใจที่มีคุณค่ามากมายต่อจิตใจเรา ก็เพียงพอแล้ว Storyฯ ถือโอกาสนี้แปะรูปมาให้แฟนคลับของหยางหยางดูว่า เขาไม่เพียงกล่าววลีนี้มาแล้วในละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> แต่เมื่อปี 2010 ยังเคยแสดงเป็นเจี๋ยเป่าอวี้ ในเรื่อง <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นต้นฉบับของวลีอมตะนี้ด้วย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://imgur.com/20Mx6mv http://yule.sohu.com/20160617/n454973158.shtml Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/弱水三千只取一瓢/96378 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=242a130850f0cbde411c456e&lemmaId=96378&fromLemmaModule=pcBottom&lemmaTitle=%E5%BC%B1%E6%B0%B4%E4%B8%89%E5%8D%83%E5%8F%AA%E5%8F%96%E4%B8%80%E7%93%A2&fromModule=lemma_bottom-tashuo-article https://www.sohu.com/a/325578545_594411 #เทียบท้าปฐพี #แม่น้ำรั่ว #สายธารสามพันลี้
    1 Comments 0 Shares 864 Views 0 Reviews