ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ
ความมีอยู่ว่า
... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ...
- ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย)
กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่)
บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน
‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ
แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี
เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน
ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย
บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html
https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551
https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html
https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545
https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00
https://www.sohu.com/a/249005081_100234890
#ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
ความมีอยู่ว่า
... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ...
- ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย)
กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่)
บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน
‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ
แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี
เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน
ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย
บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html
https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551
https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html
https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545
https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00
https://www.sohu.com/a/249005081_100234890
#ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ
ความมีอยู่ว่า
... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ...
- ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย)
กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่)
บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน
‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ
แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี
เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน
ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย
บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html
https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551
https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html
https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545
https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00
https://www.sohu.com/a/249005081_100234890
#ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
1 Comments
0 Shares
85 Views
0 Reviews