• มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพมูลค่ากว่า 3 แสนบาท แก่สตรี แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
    .
    วันนี้ (วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร รวม 2 แห่ง 20 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 393,570 บาท (สามแสนเก้าหมื่นสามพันห้าร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) โดยมี นางสาวราภรณ์ พงศ์พนิตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว (ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) พร้อมด้วย นางสาวศุภวรรณ ขูดแก้ว ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ นางสาวพรมณี พุ่มอิ่ม ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง นางอภิรดี สุสุทธิ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี
    .
    นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการ “ส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรีและครอบครัว” มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ แก่ สตรี บุรุษ พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความรู้และความสามารถ ฐานะยากจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก โดยมูลนิธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินการโครงการดังกล่าวนี้ จะมีส่วนสนับสนุน ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัว ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป
    .
    ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    .
    ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
    .
    #ป่อเต็กตึ๊งช่วยชีวิตรักษาชีวิตสร้างชีวิต
    #แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418
    #ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพมูลค่ากว่า 3 แสนบาท แก่สตรี แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร . วันนี้ (วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร รวม 2 แห่ง 20 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 393,570 บาท (สามแสนเก้าหมื่นสามพันห้าร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) โดยมี นางสาวราภรณ์ พงศ์พนิตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว (ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) พร้อมด้วย นางสาวศุภวรรณ ขูดแก้ว ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ นางสาวพรมณี พุ่มอิ่ม ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง นางอภิรดี สุสุทธิ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี . นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการ “ส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรีและครอบครัว” มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ แก่ สตรี บุรุษ พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความรู้และความสามารถ ฐานะยากจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก โดยมูลนิธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินการโครงการดังกล่าวนี้ จะมีส่วนสนับสนุน ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัว ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป . ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” . ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung . #ป่อเต็กตึ๊งช่วยชีวิตรักษาชีวิตสร้างชีวิต #แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418 #ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน
    0 Comments 0 Shares 84 Views 0 Reviews
  • เขียนเล่าเรื่องพันธุกรรมมนุษย์มาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งที่ความรู้นี้โลกเขารับรู้มาตั้งแต่ปี 2004 แล้ว ปัจจุบันนักวิชาการไทยหลายคนก็ทำวิจัยเรื่องนี้ตีพิมพ์ออกมาพอสมควร แต่ก็ยังมีบางพวกบางกลุ่มที่ยังตะแบงติดกับดักวังวนของสำนักคิดเก่าๆ อยู่อย่างนั้น ไอ้ที่แย่กว่าคือ จำต้องยอมรับวิทยาศาสตร์นี้โดยปริยายทั้งที่ไปกันไม่ได้กับเรื่องที่ตนเขียน แต่ความที่เคยพูดเคยเขียนหนังสือขายหาเงินรับประทานมาไม่น้อยกับความรู้ผิดๆ ครึ่งๆกลางๆ งูๆปลาๆ ก็เลยยังต้องยืนยันความคิดเดิมตะแบงต่อไป ถ้าไอ้ส่วนที่ความรู้ใหม่มันไปกันได้กับที่เคยเขียนก็จะหยิบมาอ้าง แต่ส่วนที่มันฟ้องว่าเอ็งเข้าใจผิดแล้วก็จะเลี่ยงเสีย เช่นกรณีเฒ่าเจ๊กปนลาวชังชาตินั่น
    .
    ความแบ่งแยกอันเป็นความคิดของปีศาจ นำมาซึ่งชื่อสมมุติ ที่โดยมากมักอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธความเกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ เพื่อให้ดูแตกต่างกับผู้คนหรือบรรพบุรุษที่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่าเครื่องแต่งกายก็ตาม ความเชื่อ ภาษาพูดก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องพิสูจน์องค์ประกอบของตัวมนุษย์แต่ละผู้ว่าเป็นใครหรือเผ่าพันธุ์ไหน เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าความเป็นเจ๊กปนลาวที่พูดไทยหากินกับภาษาไทยของเฒ่าผู้นั้น อาจเป็นเรื่องเลื่อนลอยไปได้ ลาวที่เขาคิดว่าเป็นพ่ออาจเป็นกัมมุ และเจ๊กที่เขาคิดว่าเป็นแม่อาจเป็นชนเผ่าฮักกา ที่ซึ่งไม่ใช่เจ๊ก แต่เป็นเยว่ ก็เป็นได้... อยากจะแน่ใจก็ไปตรวจซะ
    .
    อย่างที่ทราบ (เอ๊ะ หรือใครยังไม่ทราบ?) มนุษย์ที่เป็นชนชาติต่างๆในโลกนี้ อพยพออกมาจากแอฟริกาเมื่อแสนกว่าปีก่อน เป็นหน่อเนื้อลูกหลานของบรรพบุรุษที่อาศัยในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าซาฮาร่า ดังนั้นนักวิชาการเลย "นิยามชื่อ" พวกเขาว่าพวก "ซาฮารันโบราณ" ผู้ชายทุกคนในโลกนี้ไม่ว่าคนออสตราอะบอริจิ้น คนเอเชีย คนตะวันออกกลาง คนยุโรป คนเมโสอเมริกา ล้วนมียีนของอาดัมทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าวายโครโมโซม M168 นี้ทุกคน ยกเว้นพวกแอฟริกาบางเผ่าที่บรรพบุรุษไม่ได้อพยพออกมาและยังคงอยู่รอดในแอฟริกาจนถึงปัจจุบันนี้
    .
    ด้วยภาพใหญ่นี้ สาแหรกพันธุกรรมแสดงให้เห็น "DEEP ANCESTOR" โคตรเหง้าที่ลึกที่สุดของมนุษย์โลก "การที่พวกอาหรับพูดภาษาสกุลเซมิติคส่วนคนไทยอย่างเราพูดภาษาสกุลจ้วง-ไท ความแตกต่างนี้ไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงทางพันธุกรรมที่ทั้งคู่มี Deep Ancestor ร่วมกันไปได้". ทุกวันนี้มนุษย์ที่มียีนของ M168 เก่าแก่กว่าใครในโลกคือพวก San Bushman พวกเขาพูดภาษาสกุลกอยซานที่ในทาง Linguistic ถือว่าเป็นภาษาลูกของภาษาซาฮารันโบราณที่ยอมรับกันว่าคือ Global Early Language * หมายถึงภาษาแรกของโลก เมื่อพิจารณาจากวิทยาศาสตร์ข้อนี้ มนุษย์ทุกชนชาติที่มีชื่อสมมุติกันไปต่างๆ จะว่าไปก็ถือเป็นคนกอยซานทั้งสิ้น ดังนั้นคุณจงอย่าได้ยึดติดว่าภาษาพูดของชาติพันธ์หนึ่ง จะบ่งบอกว่าเขาคือชาติพันธ์นั้นเสมอไป... คนจีนอพยพตั้งแต่รุ่นที่สองที่อยู่ในเมืองไทยพูดภาษาไทยชัดทุกคน คนอเมริกันที่เกิดที่นี่ คนอินเดียที่เกิดที่นี่พูดไทยสำเนียงไทยชัดทุกคน และเป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเขาอาจย้ายไปอยู่ที่ภูฏานเป็นการถาวรจนลูกหลานเขาเกิดที่นั่น แล้วพูดภาษาภูฏานชัดเจน
    .
    [* ภาษากอยซาน : นักภาษาศาสตร์ลงความเห็นว่าคือภาษาที่เก่าที่สุดในโลก มีลักษณะพิเศษคือมีเสียงคลิ๊กอยู่ในคำ ซึ่งได้หายไปจากภาษาอื่นๆ ที่เกิดภายหลัง นักวิชาการเชื่อว่า เมื่อบรรพบุรุษของเราอพยพออกจากแอฟริกาเมื่อแสนปีก่อน พวกเขามีภาษาพูดแล้ว ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะไม่สามารถล่าสัตว์ใหญ่อย่างแมมมอธได้ เพราะการล่าเช่นนี้ต้องทำงานเป็นทีม ไม่มีภาษาก็ทำงานเป็นทีมไม่ได้]
    .
    เมื่อมนุษย์มาจากแอฟริกาและเรามีเชื้อสายซาฮารันมาก่อน ทำไมเราจึงพูดกันไม่รู้เรื่อง พูดกันคนละภาษา ผมเคยเขียนบทความหนึ่งชื่อ บาเบล สืบเนื่องจากคัมภีร์ปฐมกาลบทที่ชื่อบาเบล เล่าว่า “พระเจ้าทรงเห็นว่ามนุษย์สร้างหอคอยใหญ่เทียมฟ้าขึ้นมาได้ พวกเขาอยากจะทำอะไรก็จะสำเร็จได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะบันดาลให้เขาพูดกันไม่รู้เรื่อง ผู้คนก็แยกย้ายกันไป เป็นชนชาติต่างๆ ภาษาต่างๆ” นี่...ใครสักคนป้ายสีพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นมูลเหตุให้มนุษย์พูดกันไม่รู้เรื่อง. ใครสักคนในที่นี้มีอย่างน้อยสามคน นักภาษาศาสตร์ยุคใหม่วิเคราะห์ลักษณะการเขียน สำนวน คำศัพท์ที่ใช้ซึ่งบ่งบอกรากฐานและยุคสมัยได้ ทำการวิเคราะห์พระคัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับคิงเจมส์ พวกเขาลงความเห็นว่า คัมภีร์ไบเบิ้ลมีผู้เขียนราวสามคน มีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกันสามสำนวน คละเคล้ากันไปในแต่ละบท บางบทมีการปนกันมากกว่าหนึ่งสำนวน และยังลงความเห็นว่ารูปแบบการเขียนของบทปฐมกาล (genesis) เขียนทีหลังบทอพยพ (exodus)
    .
    นอกจากนี้นักภาษาศาสตร์ยุคหลังมานี่เชื่อว่าภาษาอินโดยูโรเปี้ยนนี้ คือผลของการทุบทำลายภาษาแม่ครั้งสำคัญในโลก เมื่อคุณพิจารณาพันธุกรรม คุณจะต้องทราบว่าผู้ชายชาวยุโรปและตะวันออกกลางแชร์สาแหรกพันธุกรรมในเครือเดียวกันคือ R / J / E อย่างที่ผมเขียนเรื่องยิวและปาเลสไตน์ไปก่อนนี้.. พวกคนยุโรป เปอร์เซีย อารยัน (ที่ภายหลังไปบุกอินเดียโบราณ) ล้วนเป็นสาแหรกเดียวกัน อย่าว่าแต่ยิวซึ่งเป็น semitic speaker ฆ่าปาเลสไตน์ที่เป็นพี่น้องใกล้ชิดเลย หากคนกรีก คนโรมัน ไปฆ่าคนเปอร์เซียหรือกลับกัน ก็คือพี่น้องฆ่ากันอยู่ดีนั่นแหละ อยู่มาวันหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าอะไรเป็นเหตุ หลังสงครามเทวีที่เกิดการต่อต้านปฏิเสธความเชื่อที่นับถือแม่เป็นใหญ่ เทวรูปของเทพีมากมาย เช่น Artemis เทวีผู้มอบความอุดมสมบูรณ์ ต่างพากันถูกทุบจมูกทุบใบหน้าทิ้งให้ดูน่าเกลียด ชนชาติที่เคยเกี่ยวดองกัน พลันแยกออกจากกันเป็นชนชาติใหม่ พูดภาษาใหม่ เด็กที่เกิดใหม่นับแต่นั้นจะถูกฝึกให้พูดภาษาที่สร้างขึ้นมา จากนั้นก็ตามมาด้วยชื่อสมมุติอย่างเช่น อัสซีเรีย อัคเคเดียน ฮิตไทท์... จากนั้นก็ตามมาด้วยสงครามพี่น้องฆ่ากัน ทั้งที่ชีววิทยาพันธุกรรมบอกว่าพวกเขาคือพี่น้องคลานตามกันมาทั้งนั้น และถ้าอ้างไบเบิ้ล อย่างเช่นกรณีของบุตรหลานของ Sam ลูกหลานของโนอาห์ ก็อย่างที่เคยเล่าไปแล้ว ความแบ่งแยกทำให้พวกเขาปฏิเสธสายใยที่มี
    .
    อย่างที่ชี้ให้เห็นนี่ ดีเอ็นเอบอกเราถึงความเป็นพี่น้องร่วมสาแหรก แต่พวกเขาปฏิเสธกันเองแล้วแบ่งแยก ทุบทำลายภาษาแม่ทิ้งไปพร้อมๆ กันในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่ใช่เพราะฝีมือพระเจ้าหรอก มนุษย์นี่แหละ นักภาษาศาสตร์โบราณคดีทำการค้นคว้าเรื่องนี้แล้วทำการโยงภาษาในสกุลอินโดยูโรเปี้ยนทั้งหมด ย้อนกลับไปสู่ภาษาซาฮารันโบราณ ด้วยพจนานุกรมคำศัพท์ของพวก Basque (กลุ่มคนที่ isolated อยู่ในสเปนซึ่งเชื่อว่าเป็นภาษาลูกที่เหลืออยู่ของภาษาซาฮารัน).. เรื่องนี้ยาวนะ ผมเคยเล่าไว้ในบทความชื่อบาเบลที่ผมเกริ่นไปข้างบน ใครอยากลงลึกให้ไปอ่าน Linguistic Archaeology เขียนโดย Edo Nyland
    .
    เวลาเจอบทความอะไรจากเฒ่าเจ๊กปนลาวผู้นี้ รวมทั้งจากพวกสาวกกระดูกอ่อนของเขาก็เลยออกจะรำคาญ ด้วยการอ้างชื่อต่างๆ พวกเขาเชื่อมโยงยกแม่น้ำเป็นตุเป็นตะ ไอ้นั่นมาจากไหน ไอ้นี่มาจากไหน โดยไม่มีหลักฐานอะไรที่หนักแน่นพอมารองรับ… ยกตัวอย่างเช่นใช้กลองสำริดบ้าง ใช้ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณบ้าง มาอ้างอิงทั้งที่ไม่เข้าใจว่าดูอะไรอยู่
    .
    ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณแต่ละแห่งที่พบในโลกที่รังสรรค์โดยบรรพบุรุษยุคแรก ถ้าคุณทาบข้อมูลทางโบราณคดีของมันกับข้อมูลอื่น เช่น พันธุกรรมและการอพยพย้ายถิ่น ธรณีวิทยา ภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์.. ก็จะรู้อะไรที่ต่างไปจากที่เคยมีคนสันนิษฐานกันออกมาก่อนหน้านี้ได้ เช่น ภูมิศาสตร์บอกว่าลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่มนุษย์โบราณในยุคนั้นชอบใช้เป็นที่อาศัยและหลบภัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์แบบไหนที่พบภาพเขียนสี ทำไมมันจึงถูกเลือกเป็นที่จัดทำนิทรรศการ.. ธรณีวิทยาบอกว่า พบดินแบบเดียวกันถูกใช้เป็นสีเขียนผนังถ้ำทุกแห่ง.. วิทยาศาสตร์บอกองค์ประกอบธาตุของสีที่ใช้เขียนว่าเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งแปลได้ว่าพวกเขาเรียนหนังสือมาจากที่เดียวกัน คือเรียนรู้เทคนิคในการทำแบบนี้ซ้ำต่อๆ กันมาเหมือนๆ กัน.. มานุษยวิทยาเห็นการสะท้อนธรรมเนียมนิยมทางวัฒนธรรมบรรพกาลของพวกเขา เช่น เอาสีใส่ปากพ่นผ่านมือให้เป็นรูปมือ เขียนรูปคนและสัตว์ที่มีลักษณะทาง figure ที่คล้ายคลึงกัน มีจินตนาการในการสร้างลักษณะของบุคคลที่พิเศษออกไปจากคนปกติเพื่อแสดงว่าเป็นผีสางเทวดาที่เขานับถือ... มีการวิเคราะห์คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ของสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ที่พวกเขาไปเขียนรูปไว้ เช่น คุณสมบัติการก้องสะท้อนเสียงของสถานที่
    .
    และเมื่อทาบพันธุกรรมลงไปดูความสอดคล้องกัน เริ่มจากพวกเผ่า San Bushman ที่มียีนของอดัมที่เก่าที่สุดในโลก พบว่าพวกเขาทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันทุกด้านดังที่ได้กล่าวไปนั่น พวกอัสเลียนโบราณก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันกับที่กล่าวไปเช่นกัน เอาภาพเขียนสีเช่นที่ถ้ำเขาจันทร์งาม สีคิ้ว ไปเปรียบกับภาพเขียนสีในแอฟริกาที่พวกกอยซานทำ ทุกองค์ประกอบที่ว่านั่นก็จะเห็นว่าเหมือนกัน... พวกปาปัว-ออสตราอะบอริจิ้น ก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกับที่กล่าวไป นี่เป็นนวัตกรรมที่เป็นมรดกโคตรยาวนานของมนุษย์ จากแอฟริกาไปสู่จุดต่างๆในโลก ในวันนี้ พวกเขาเหล่านี้พูดกันคนละภาษา มันดูไม่มีความกี่ยวข้องกันใช่ไหมล่ะ? แต่วิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกเช่นนั้น ในพันธุกรรมมี mutation ในวัฒนธรรมมี cultural transmission ถ้าเราขยับไปดูสิ่งที่คุ้นเคยกว่านั้นอีกสักอย่าง เช่น "กลอง".. มนุษย์ทุกแห่ง ตั้งแต่พวกที่อยู่ในแอฟริกา แม้แต่พวกชนเผ่าที่ไม่ได้อพยพไปไหนเลยจนกระทั่งยุคล่าอาณานิคม กับมนุษย์ทุกชนชาติที่กระจายอยู่ในทุกมุมโลก พวกเขาต่างทำกลองเหมือนกัน วิธีการคือ ด้วยการขึงหนังสัตว์ (membrane) ลงบนปากทรงกลมของวัตถุทรงกระบอก (cylinder) ขึงให้ตึงและตีให้สั่น นี่คือนวัตกรรมที่เรียก Membranophones คนทั้งโลกไม่ได้ต่างคนต่างทำเหมือนกันโดยบังเอิญ มันคือมรดกที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่ก่อนอพยพเมื่อแสนปีที่แล้วและเก่าพอๆ กับภาษาแรก
    .
    ซากบรรพชีวินที่นักวิชาการไทยอย่างที่อาจารย์รัศมีท่านสำรวจและค้นคว้าอยู่ กรอบเวลาเท่าไหร่? โนนนกทา? บ้านเชียง? พวกนั้นเป็นใคร? โฮโมเซเปี้ยนส์แน่นอน ชีววิทยาบอกชัดว่าเซเปี้ยนส์ เราไม่ได้วิวัฒน์มาจากโฮโมอีเร็คตัส พวกนั้นสูญพันธ์ไปแล้วก็จบ ยีนพ่อไม่เคยหายไปจากมนุษย์และเราไม่มียีนของอีเร็คตัสอยู่ในตัวเรา เมื่อราวเจ็ดหมื่นปีก่อน เกิด super eruption ขึ้นที่ภูเขาโทบาในสุมาตราโบราณ [https://geographical.co.uk/.../explainer-the-toba...] ทิ้งบาดแผลไว้เป็นทะเลสาปโทบาให้ดูในทุกวันนี้ ภัยพิบัตินี้รุนแรง มันตามมาด้วยฤดูหนาวนิวเคลียร์ (นักวิชาการว่าเช่นนี้) เถ้าภูเขาไฟปกคลุมโลกนานหลายปีและลอยไปไกลถึงกรีนแลนด์ โฮโมอีเร็คตัสในเอเชียถ้ายังมีชีวิตอยู่จะต้องตายหมด ดังนั้นไม่ว่าจะมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ชวาอะไร ไม่เกี่ยวกับเราทั้งนั้น กรอบเวลาของบรรพบุรุษเราที่มาถึงที่นี่คือห้าหมื่นและสามหมื่นปีมาแล้ว มากันสองระลอก และคนพื้นเมืองที่บุกเบิกดินแดนนี้ไม่ได้แปะยี่ห้ออะไรเมื่อมาถึง นอกจากเรียกตัวเองว่า กอย หมายถึง คน… (ข่า ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย.. ลาว ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย)
    .
    ในความเป็นจริง มนุษย์โบราณที่เป็นบรรพบุรุษของชายชาวเอเชียราว 75 เปอร์เซ็นต์ล้วนเป็น Y DNA Hg O คือครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก พวกเขามิวเททมาจากสาแหรกของพ่อ Y DNA Hg K ซึ่งมาถึงเอเชียกลางเมื่อราวสี่หมื่นปีและกระจายออกไป ทั้งที่ข้ามโกบีและไซบีเรีย ข้ามเบริงเจียไปอเมริกา (Hg Q) กลายเป็นพวกนาวาโฮ... ทั้งที่ย้อนกลับเข้าไปในยุโรปเผชิญความทารุณของยุคน้ำแข็งกลายเป็นพวกยุโรป (Hg R)… บรรพบุรุษพวกนี้ เมื่อตั้งถิ่นฐานตรงจุดใด ก็มักอยู่ตรงนั้น ลองนึกถึงความเป็นจริงว่า การย้ายถิ่นฐานใช้เวลายาวนานหลายชั่วคน เมื่อผู้อาวุโสหรือพ่อของเขาแก่เฒ่าไร้เรี่ยวแรงที่จะเดินทางบุกเบิกต่อไป บางส่วนของพวกเขาจะหยุดการเดินทางและตั้งหลักแหล่งโดยเฉพาะเมื่อพบสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์พอจะดำรงชีพ คนหนุ่มจะเดินทางผจญภัยต่อไปเพื่อหาที่ของตนที่จะได้ขึ้นมาเป็นผู้นำ ได้มองโลกด้วยทัศนะของพวกเขาเอง พวกเขาจะพบปัญหาใหม่ จะได้หาทางแก้ไขสถานะการณ์ที่ไม่เคยพบ ดังนั้นพวกเขาจะมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ จนเมื่อพวกเขาพบว่าได้เจอสถานที่ที่พึงพอใจหรือไปต่อไม่ได้แล้ว การเดินทางก็จะหยุด
    .
    คุณคิดว่ามีมนุษย์จำนวนเท่าไหร่ เมื่อพวกเขามาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นปีก่อน?
    .
    บรรพบุรุษของเรา เดินทางมาตามซุปเปอร์ไฮเวย์โบราณสายเอเชียกลางที่เป็นทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ อุดมด้วยกวางแอนทีโลฟและช้างแมมมอธ ท้องอิ่ม อบอุ่น และอันตรายน้อย เมื่อมาถึงซุนดา คุณคิดว่าพวกเขาจะอยู่อาศัยกันที่ไหน? บนภูเขา ในป่า หรือที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ? ไปคิดดูเป็นการบ้าน
    .
    หากพิจารณาดูปัจจัยต่างๆ เราจะรู้ได้ว่าชุมชนบรรพกาล มักจะตั้งอยู่บนที่ที่เหมาะสมในการผดุงชีพ อ.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ให้ความเห็นว่า เนื่องเพราะบรรพบุรุษพวกนี้ต้องเผชิญกับน้ำท่วมซุนดาถึงสามครั้ง พวกเขานิยมสร้างบ้านที่มีเสาสูงและมีไต้ถุนสูง ทำแพและมีทักษะในการเดินทางด้วยแพ ซึ่งพร้อมที่จะอพยพหนีโดยล่องด้วยแพขึ้นไปเรื่อยๆ สู่ทิศทางต้นน้ำ ไม่เดินเท้าเพราะไม่รู้ว่าน้ำจะมาทางไหน เมื่อเห็นและแน่ใจว่าน้ำหยุดท่วมแล้วก็ปักหลักตั้งถิ่นฐานใหม่ เพราะพวกเขารู้ดีว่าไม่มีจุดไหนที่มีทรัพยากรอุดมไปกว่าริมแม่น้ำ ทั้งสัตว์น้ำและดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ในป่านั้นมีโรคมากมายและสัตว์ร้าย พวกเขาจะเข้าไปต่อเมื่อต้องการล่าหรือหาของป่า
    .
    ชุมชนบรรพกาลเหล่านี้ เมื่อพบพื้นที่ที่พวกเขาพึงพอใจแล้วก็มักจะปักหลักอยู่เช่นนั้น สืบต่อกันไปหลายชั่วคน หลักฐานทางโบราณคดีก็ชี้ชัดเช่นนั้น ทำให้เกิดชุมชนโบราณขึ้นตรงนั้นตรงนี้มากมายและขยายตัวออกไป เกษตรกรรมเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เลิกเร่ร่อนแล้วหยุดตั้งหลักแหล่ง ผลที่เก็บเกี่ยวแน่นอนตามฤดูกาลทำให้ปัจจัยทางอาหารมั่นคง ดังนั้นพวกเขาจะไม่ย้ายไปไหนโดยง่ายถ้าไม่ใช่เพราะภัยธรรมชาติ โรคระบาด หรือสงครามจากคนกลุ่มอื่นมาบีบบังคับให้ย้ายไปที่อื่น ชุมชนบรรพกาลซึ่งประชากรมีอยู่น้อย ย่อมต้องการปริมาณแรงงานไว้เพื่อสร้างชุมชนของตนให้เติบโตรุ่งเรืองขึ้น ถ้าไม่เกิดปัญหาที่ว่านี้ พวกเขาก็จะไม่ย้ายไปไหน พวกเขาจำฤดูกาลประจำถิ่น ทิศทางลม เวลาน้ำขึ้นลง ยาอยู่ที่ไหน อะไรเป็นยา จำต้นไม้ได้ทุกต้นและรู้ว่าอะไรใช้ทำอะไรได้บ้าง สัตว์อยู่ที่ไหน หาเจอยังไง จับยังไง... ความรู้ในภูมิลำเนาพวกนี้ใช้เวลาสั่งสมยาวนาน
    .
    เราต่างได้เรียนรู้กันมามากพอสมควรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ แต่บางครั้งนิยามหรือความสมมุติในความเป็นชนชาติบ้านเมืองต่างๆ มักพาให้ไขว้เขว บางถิ่นฐาน ผู้ปกครองเป็นผู้มีศักดิ์ฐานะ มีทรัพยากรมาก แต่เป็นคนต่างถิ่นมาจากที่อื่น ไม่ต่างกับทุกวันนี้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหัวเมืองเช่นเชียงราย อาจเป็นลูกเศรษฐีตระกูลใหญ่จากกรุงเทพ สมัยโบราณก็เช่นกัน ประชากรเป็นคนพื้นเมืองท้องถิ่น อาจอยู่ที่นั่นมาแปดชั่วคนแล้ว เขาไม่ย้ายไปที่อื่นเพียงเพราะผู้ปกครองไม่ใช่คนพื้นเมืองเหมือนตน ถ้าปกครองดี ทุกคนยังกินอิ่ม ไม่รีดภาษี ไม่ก่อกรรมทำเข็ญ ข่มเหงรังแก พวกเขาก็จะอยู่อย่างนั้นต่อไปในรุ่นลูกรุ่นหลาน จักรวรรดิจีนโบราณดินแดนกว้างใหญ่ ประชากรไม่ได้มีแต่จีนฮั่นเท่านั้น ยังมีประชากรที่เป็นชนเผ่าอื่นๆในปกครองหลายสิบเผ่า แล้วก็มีผู้ปกครองที่มาจากถิ่นอื่นมาปกครอง เคยมีกษัตริย์ที่เป็นมองโกล กษัตริย์ที่เป็นแมนจูมานั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ ยิ่งรูปงามผิวพรรณผุดผ่องมาพร้อมโปรโมชั่นว่าเป็นเทพลงมาเกิดก็จะทำให้รู้สึกนับถืออยากพึ่งพาบารมี ดังนั้นผู้ปกครองก็อาจเป็นชาติพันธุ์หนึ่งขณะที่ประชากรในดินแดนเป็นอีกชาติพันธุ์หนึ่งได้ เช่น ผู้ปกครองมีชื่อสมมุติว่าเป็นชาติพันธุ์ลาว ผู้ใต้ปกครองอาจเป็นชาวพื้นเมืองมีชื่อสมมุติว่าชาติพันธุ์ข่า เป็นต้น.. ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่พูดนี่ เป็นคนละเรื่องกับแนวความคิดเรื่องชาติ ประเทศ รัฐ ชนชาติและสัญชาติ ซึ่งเป็นความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังตามคติของอาณานิคมตะวันตก
    .
    สำหรับผมมันเป็นเรื่องตลก ที่พูดว่าคนโคราชไม่ใช่คนอีสาน
    ความยึดมั่นของผู้พูดผูกโยงกับภูมิลำเนา ผูกกับสำเนียงภาษาที่ใช้ แล้วเอามามัดให้ประชากรนั้นเป็นเผ่าพันธ์ตามที่ตนผูกไว้
    .
    คนอีสานคือใครในทัศนะวิทยาศาสตร์ คนอีสานอาจประกอบด้วยพลเมืองจากทางเหนือที่มาไกลจากจีน มาจากหยุนหนาน หรืออาจมาจากเวียตนาม ได้มากพอกับมีพลเมืองที่มีชื่อสมมุติว่า "ลาว" ที่เฒ่างี่เง่านี้นิยามให้สาวกเชื่อว่าเป็นคนท้องถิ่นโดยแท้แล้วก็ปฏิเสธในเชิงที่รู้สึกได้ว่าพยายามจะบอกใครๆ ว่าคนโคราชเป็น "สิ่งแปลกปลอมในท่ามกลางคนอีสาน" ผมรู้สึกอย่างนั้น แล้วเขาก็โยงเรื่องโยงชื่อ ทั้งคนทั้งสถานที่ มั่วไปหมดชนแพะชนแกะชนควาย อนุมานเอาตามความเชื่อตน ทั้งที่ความเป็นจริงทุกมนุษย์ที่อ้างอิงมานั่นไม่ว่าจะด้วยคำ สยาม ทวารวดี มอญ อยุธยา สุพรรณ โคราช ศรีโคตรบูรณ์ เวียงจันทร์ ชัยวรมัน.... บลาๆๆ... ล้วนคือ Y Chromosome DNA Haplogroup O (O2 เป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์สูงสุด) ทั้งนั้น ต่อให้หมู่บ้านนึงมันดันพูดได้สามภาษา ทั้งลาวทั้งอังกฤษทั้งเกาหลีสำเนียงเป๊ะทั้งหมู่บ้านก็ตามที
    .
    เขย่าไว้ไม่ให้นอนก้น
    ข้าว่าพวกเอ็งมันนอนก้นถอยหลังไปสองร้อยปี
    ฟังวนอยู่ห้าคำสิบคำ เต็มไปด้วยคำว่า “สันนิษฐานว่า…“
    แปลเป็นไทยคือ คาดว่า เดาว่า... คือเอ็งไม่รู้ไง เชื่อเองเออเองแล้วมาชวนคนอื่นให้เชื่อตาม
    .
    นี่รู้ไหม...
    มีไม่น้อยนะที่สันนิษฐานว่ามนุษย์เซเปี้ยนส์นี่น่ะ มาจากเชื้อพันธุ์มนุษย์ต่างดาวชื่อ อนูนากิ แกเชื่อไหมเล่า?
    .
    - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [2568] -
    .
    เขียนเล่าเรื่องพันธุกรรมมนุษย์มาหลายต่อหลายครั้ง ทั้งที่ความรู้นี้โลกเขารับรู้มาตั้งแต่ปี 2004 แล้ว ปัจจุบันนักวิชาการไทยหลายคนก็ทำวิจัยเรื่องนี้ตีพิมพ์ออกมาพอสมควร แต่ก็ยังมีบางพวกบางกลุ่มที่ยังตะแบงติดกับดักวังวนของสำนักคิดเก่าๆ อยู่อย่างนั้น ไอ้ที่แย่กว่าคือ จำต้องยอมรับวิทยาศาสตร์นี้โดยปริยายทั้งที่ไปกันไม่ได้กับเรื่องที่ตนเขียน แต่ความที่เคยพูดเคยเขียนหนังสือขายหาเงินรับประทานมาไม่น้อยกับความรู้ผิดๆ ครึ่งๆกลางๆ งูๆปลาๆ ก็เลยยังต้องยืนยันความคิดเดิมตะแบงต่อไป ถ้าไอ้ส่วนที่ความรู้ใหม่มันไปกันได้กับที่เคยเขียนก็จะหยิบมาอ้าง แต่ส่วนที่มันฟ้องว่าเอ็งเข้าใจผิดแล้วก็จะเลี่ยงเสีย เช่นกรณีเฒ่าเจ๊กปนลาวชังชาตินั่น . ความแบ่งแยกอันเป็นความคิดของปีศาจ นำมาซึ่งชื่อสมมุติ ที่โดยมากมักอุปโลกน์ขึ้นมาเพื่อปฏิเสธความเกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างอัตลักษณ์ใหม่ เพื่อให้ดูแตกต่างกับผู้คนหรือบรรพบุรุษที่เคยเกี่ยวข้อง ไม่ว่าเครื่องแต่งกายก็ตาม ความเชื่อ ภาษาพูดก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องพิสูจน์องค์ประกอบของตัวมนุษย์แต่ละผู้ว่าเป็นใครหรือเผ่าพันธุ์ไหน เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าความเป็นเจ๊กปนลาวที่พูดไทยหากินกับภาษาไทยของเฒ่าผู้นั้น อาจเป็นเรื่องเลื่อนลอยไปได้ ลาวที่เขาคิดว่าเป็นพ่ออาจเป็นกัมมุ และเจ๊กที่เขาคิดว่าเป็นแม่อาจเป็นชนเผ่าฮักกา ที่ซึ่งไม่ใช่เจ๊ก แต่เป็นเยว่ ก็เป็นได้... อยากจะแน่ใจก็ไปตรวจซะ . อย่างที่ทราบ (เอ๊ะ หรือใครยังไม่ทราบ?) มนุษย์ที่เป็นชนชาติต่างๆในโลกนี้ อพยพออกมาจากแอฟริกาเมื่อแสนกว่าปีก่อน เป็นหน่อเนื้อลูกหลานของบรรพบุรุษที่อาศัยในบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่าซาฮาร่า ดังนั้นนักวิชาการเลย "นิยามชื่อ" พวกเขาว่าพวก "ซาฮารันโบราณ" ผู้ชายทุกคนในโลกนี้ไม่ว่าคนออสตราอะบอริจิ้น คนเอเชีย คนตะวันออกกลาง คนยุโรป คนเมโสอเมริกา ล้วนมียีนของอาดัมทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าวายโครโมโซม M168 นี้ทุกคน ยกเว้นพวกแอฟริกาบางเผ่าที่บรรพบุรุษไม่ได้อพยพออกมาและยังคงอยู่รอดในแอฟริกาจนถึงปัจจุบันนี้ . ด้วยภาพใหญ่นี้ สาแหรกพันธุกรรมแสดงให้เห็น "DEEP ANCESTOR" โคตรเหง้าที่ลึกที่สุดของมนุษย์โลก "การที่พวกอาหรับพูดภาษาสกุลเซมิติคส่วนคนไทยอย่างเราพูดภาษาสกุลจ้วง-ไท ความแตกต่างนี้ไม่อาจลบล้างข้อเท็จจริงทางพันธุกรรมที่ทั้งคู่มี Deep Ancestor ร่วมกันไปได้". ทุกวันนี้มนุษย์ที่มียีนของ M168 เก่าแก่กว่าใครในโลกคือพวก San Bushman พวกเขาพูดภาษาสกุลกอยซานที่ในทาง Linguistic ถือว่าเป็นภาษาลูกของภาษาซาฮารันโบราณที่ยอมรับกันว่าคือ Global Early Language * หมายถึงภาษาแรกของโลก เมื่อพิจารณาจากวิทยาศาสตร์ข้อนี้ มนุษย์ทุกชนชาติที่มีชื่อสมมุติกันไปต่างๆ จะว่าไปก็ถือเป็นคนกอยซานทั้งสิ้น ดังนั้นคุณจงอย่าได้ยึดติดว่าภาษาพูดของชาติพันธ์หนึ่ง จะบ่งบอกว่าเขาคือชาติพันธ์นั้นเสมอไป... คนจีนอพยพตั้งแต่รุ่นที่สองที่อยู่ในเมืองไทยพูดภาษาไทยชัดทุกคน คนอเมริกันที่เกิดที่นี่ คนอินเดียที่เกิดที่นี่พูดไทยสำเนียงไทยชัดทุกคน และเป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเขาอาจย้ายไปอยู่ที่ภูฏานเป็นการถาวรจนลูกหลานเขาเกิดที่นั่น แล้วพูดภาษาภูฏานชัดเจน . [* ภาษากอยซาน : นักภาษาศาสตร์ลงความเห็นว่าคือภาษาที่เก่าที่สุดในโลก มีลักษณะพิเศษคือมีเสียงคลิ๊กอยู่ในคำ ซึ่งได้หายไปจากภาษาอื่นๆ ที่เกิดภายหลัง นักวิชาการเชื่อว่า เมื่อบรรพบุรุษของเราอพยพออกจากแอฟริกาเมื่อแสนปีก่อน พวกเขามีภาษาพูดแล้ว ไม่เช่นนั้นพวกเขาจะไม่สามารถล่าสัตว์ใหญ่อย่างแมมมอธได้ เพราะการล่าเช่นนี้ต้องทำงานเป็นทีม ไม่มีภาษาก็ทำงานเป็นทีมไม่ได้] . เมื่อมนุษย์มาจากแอฟริกาและเรามีเชื้อสายซาฮารันมาก่อน ทำไมเราจึงพูดกันไม่รู้เรื่อง พูดกันคนละภาษา ผมเคยเขียนบทความหนึ่งชื่อ บาเบล สืบเนื่องจากคัมภีร์ปฐมกาลบทที่ชื่อบาเบล เล่าว่า “พระเจ้าทรงเห็นว่ามนุษย์สร้างหอคอยใหญ่เทียมฟ้าขึ้นมาได้ พวกเขาอยากจะทำอะไรก็จะสำเร็จได้ อย่ากระนั้นเลย เราจะบันดาลให้เขาพูดกันไม่รู้เรื่อง ผู้คนก็แยกย้ายกันไป เป็นชนชาติต่างๆ ภาษาต่างๆ” นี่...ใครสักคนป้ายสีพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นมูลเหตุให้มนุษย์พูดกันไม่รู้เรื่อง. ใครสักคนในที่นี้มีอย่างน้อยสามคน นักภาษาศาสตร์ยุคใหม่วิเคราะห์ลักษณะการเขียน สำนวน คำศัพท์ที่ใช้ซึ่งบ่งบอกรากฐานและยุคสมัยได้ ทำการวิเคราะห์พระคัมภีร์ไบเบิ้ลฉบับคิงเจมส์ พวกเขาลงความเห็นว่า คัมภีร์ไบเบิ้ลมีผู้เขียนราวสามคน มีลักษณะการเขียนที่แตกต่างกันสามสำนวน คละเคล้ากันไปในแต่ละบท บางบทมีการปนกันมากกว่าหนึ่งสำนวน และยังลงความเห็นว่ารูปแบบการเขียนของบทปฐมกาล (genesis) เขียนทีหลังบทอพยพ (exodus) . นอกจากนี้นักภาษาศาสตร์ยุคหลังมานี่เชื่อว่าภาษาอินโดยูโรเปี้ยนนี้ คือผลของการทุบทำลายภาษาแม่ครั้งสำคัญในโลก เมื่อคุณพิจารณาพันธุกรรม คุณจะต้องทราบว่าผู้ชายชาวยุโรปและตะวันออกกลางแชร์สาแหรกพันธุกรรมในเครือเดียวกันคือ R / J / E อย่างที่ผมเขียนเรื่องยิวและปาเลสไตน์ไปก่อนนี้.. พวกคนยุโรป เปอร์เซีย อารยัน (ที่ภายหลังไปบุกอินเดียโบราณ) ล้วนเป็นสาแหรกเดียวกัน อย่าว่าแต่ยิวซึ่งเป็น semitic speaker ฆ่าปาเลสไตน์ที่เป็นพี่น้องใกล้ชิดเลย หากคนกรีก คนโรมัน ไปฆ่าคนเปอร์เซียหรือกลับกัน ก็คือพี่น้องฆ่ากันอยู่ดีนั่นแหละ อยู่มาวันหนึ่ง ไม่แน่ชัดว่าอะไรเป็นเหตุ หลังสงครามเทวีที่เกิดการต่อต้านปฏิเสธความเชื่อที่นับถือแม่เป็นใหญ่ เทวรูปของเทพีมากมาย เช่น Artemis เทวีผู้มอบความอุดมสมบูรณ์ ต่างพากันถูกทุบจมูกทุบใบหน้าทิ้งให้ดูน่าเกลียด ชนชาติที่เคยเกี่ยวดองกัน พลันแยกออกจากกันเป็นชนชาติใหม่ พูดภาษาใหม่ เด็กที่เกิดใหม่นับแต่นั้นจะถูกฝึกให้พูดภาษาที่สร้างขึ้นมา จากนั้นก็ตามมาด้วยชื่อสมมุติอย่างเช่น อัสซีเรีย อัคเคเดียน ฮิตไทท์... จากนั้นก็ตามมาด้วยสงครามพี่น้องฆ่ากัน ทั้งที่ชีววิทยาพันธุกรรมบอกว่าพวกเขาคือพี่น้องคลานตามกันมาทั้งนั้น และถ้าอ้างไบเบิ้ล อย่างเช่นกรณีของบุตรหลานของ Sam ลูกหลานของโนอาห์ ก็อย่างที่เคยเล่าไปแล้ว ความแบ่งแยกทำให้พวกเขาปฏิเสธสายใยที่มี . อย่างที่ชี้ให้เห็นนี่ ดีเอ็นเอบอกเราถึงความเป็นพี่น้องร่วมสาแหรก แต่พวกเขาปฏิเสธกันเองแล้วแบ่งแยก ทุบทำลายภาษาแม่ทิ้งไปพร้อมๆ กันในเวลาไล่เลี่ยกัน ไม่ใช่เพราะฝีมือพระเจ้าหรอก มนุษย์นี่แหละ นักภาษาศาสตร์โบราณคดีทำการค้นคว้าเรื่องนี้แล้วทำการโยงภาษาในสกุลอินโดยูโรเปี้ยนทั้งหมด ย้อนกลับไปสู่ภาษาซาฮารันโบราณ ด้วยพจนานุกรมคำศัพท์ของพวก Basque (กลุ่มคนที่ isolated อยู่ในสเปนซึ่งเชื่อว่าเป็นภาษาลูกที่เหลืออยู่ของภาษาซาฮารัน).. เรื่องนี้ยาวนะ ผมเคยเล่าไว้ในบทความชื่อบาเบลที่ผมเกริ่นไปข้างบน ใครอยากลงลึกให้ไปอ่าน Linguistic Archaeology เขียนโดย Edo Nyland . เวลาเจอบทความอะไรจากเฒ่าเจ๊กปนลาวผู้นี้ รวมทั้งจากพวกสาวกกระดูกอ่อนของเขาก็เลยออกจะรำคาญ ด้วยการอ้างชื่อต่างๆ พวกเขาเชื่อมโยงยกแม่น้ำเป็นตุเป็นตะ ไอ้นั่นมาจากไหน ไอ้นี่มาจากไหน โดยไม่มีหลักฐานอะไรที่หนักแน่นพอมารองรับ… ยกตัวอย่างเช่นใช้กลองสำริดบ้าง ใช้ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณบ้าง มาอ้างอิงทั้งที่ไม่เข้าใจว่าดูอะไรอยู่ . ภาพเขียนสีผนังถ้ำโบราณแต่ละแห่งที่พบในโลกที่รังสรรค์โดยบรรพบุรุษยุคแรก ถ้าคุณทาบข้อมูลทางโบราณคดีของมันกับข้อมูลอื่น เช่น พันธุกรรมและการอพยพย้ายถิ่น ธรณีวิทยา ภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา วิทยาศาสตร์.. ก็จะรู้อะไรที่ต่างไปจากที่เคยมีคนสันนิษฐานกันออกมาก่อนหน้านี้ได้ เช่น ภูมิศาสตร์บอกว่าลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่มนุษย์โบราณในยุคนั้นชอบใช้เป็นที่อาศัยและหลบภัย ลักษณะทางภูมิศาสตร์แบบไหนที่พบภาพเขียนสี ทำไมมันจึงถูกเลือกเป็นที่จัดทำนิทรรศการ.. ธรณีวิทยาบอกว่า พบดินแบบเดียวกันถูกใช้เป็นสีเขียนผนังถ้ำทุกแห่ง.. วิทยาศาสตร์บอกองค์ประกอบธาตุของสีที่ใช้เขียนว่าเป็นแบบเดียวกัน ซึ่งแปลได้ว่าพวกเขาเรียนหนังสือมาจากที่เดียวกัน คือเรียนรู้เทคนิคในการทำแบบนี้ซ้ำต่อๆ กันมาเหมือนๆ กัน.. มานุษยวิทยาเห็นการสะท้อนธรรมเนียมนิยมทางวัฒนธรรมบรรพกาลของพวกเขา เช่น เอาสีใส่ปากพ่นผ่านมือให้เป็นรูปมือ เขียนรูปคนและสัตว์ที่มีลักษณะทาง figure ที่คล้ายคลึงกัน มีจินตนาการในการสร้างลักษณะของบุคคลที่พิเศษออกไปจากคนปกติเพื่อแสดงว่าเป็นผีสางเทวดาที่เขานับถือ... มีการวิเคราะห์คุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ของสภาวะแวดล้อมของพื้นที่ศักดิ์สิทธ์ที่พวกเขาไปเขียนรูปไว้ เช่น คุณสมบัติการก้องสะท้อนเสียงของสถานที่ . และเมื่อทาบพันธุกรรมลงไปดูความสอดคล้องกัน เริ่มจากพวกเผ่า San Bushman ที่มียีนของอดัมที่เก่าที่สุดในโลก พบว่าพวกเขาทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันทุกด้านดังที่ได้กล่าวไปนั่น พวกอัสเลียนโบราณก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกันกับที่กล่าวไปเช่นกัน เอาภาพเขียนสีเช่นที่ถ้ำเขาจันทร์งาม สีคิ้ว ไปเปรียบกับภาพเขียนสีในแอฟริกาที่พวกกอยซานทำ ทุกองค์ประกอบที่ว่านั่นก็จะเห็นว่าเหมือนกัน... พวกปาปัว-ออสตราอะบอริจิ้น ก็ทำภาพเขียนสีผนังถ้ำด้วยคุณสมบัติเดียวกับที่กล่าวไป นี่เป็นนวัตกรรมที่เป็นมรดกโคตรยาวนานของมนุษย์ จากแอฟริกาไปสู่จุดต่างๆในโลก ในวันนี้ พวกเขาเหล่านี้พูดกันคนละภาษา มันดูไม่มีความกี่ยวข้องกันใช่ไหมล่ะ? แต่วิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกเช่นนั้น ในพันธุกรรมมี mutation ในวัฒนธรรมมี cultural transmission ถ้าเราขยับไปดูสิ่งที่คุ้นเคยกว่านั้นอีกสักอย่าง เช่น "กลอง".. มนุษย์ทุกแห่ง ตั้งแต่พวกที่อยู่ในแอฟริกา แม้แต่พวกชนเผ่าที่ไม่ได้อพยพไปไหนเลยจนกระทั่งยุคล่าอาณานิคม กับมนุษย์ทุกชนชาติที่กระจายอยู่ในทุกมุมโลก พวกเขาต่างทำกลองเหมือนกัน วิธีการคือ ด้วยการขึงหนังสัตว์ (membrane) ลงบนปากทรงกลมของวัตถุทรงกระบอก (cylinder) ขึงให้ตึงและตีให้สั่น นี่คือนวัตกรรมที่เรียก Membranophones คนทั้งโลกไม่ได้ต่างคนต่างทำเหมือนกันโดยบังเอิญ มันคือมรดกที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่ก่อนอพยพเมื่อแสนปีที่แล้วและเก่าพอๆ กับภาษาแรก . ซากบรรพชีวินที่นักวิชาการไทยอย่างที่อาจารย์รัศมีท่านสำรวจและค้นคว้าอยู่ กรอบเวลาเท่าไหร่? โนนนกทา? บ้านเชียง? พวกนั้นเป็นใคร? โฮโมเซเปี้ยนส์แน่นอน ชีววิทยาบอกชัดว่าเซเปี้ยนส์ เราไม่ได้วิวัฒน์มาจากโฮโมอีเร็คตัส พวกนั้นสูญพันธ์ไปแล้วก็จบ ยีนพ่อไม่เคยหายไปจากมนุษย์และเราไม่มียีนของอีเร็คตัสอยู่ในตัวเรา เมื่อราวเจ็ดหมื่นปีก่อน เกิด super eruption ขึ้นที่ภูเขาโทบาในสุมาตราโบราณ [https://geographical.co.uk/.../explainer-the-toba...] ทิ้งบาดแผลไว้เป็นทะเลสาปโทบาให้ดูในทุกวันนี้ ภัยพิบัตินี้รุนแรง มันตามมาด้วยฤดูหนาวนิวเคลียร์ (นักวิชาการว่าเช่นนี้) เถ้าภูเขาไฟปกคลุมโลกนานหลายปีและลอยไปไกลถึงกรีนแลนด์ โฮโมอีเร็คตัสในเอเชียถ้ายังมีชีวิตอยู่จะต้องตายหมด ดังนั้นไม่ว่าจะมนุษย์ปักกิ่ง มนุษย์ชวาอะไร ไม่เกี่ยวกับเราทั้งนั้น กรอบเวลาของบรรพบุรุษเราที่มาถึงที่นี่คือห้าหมื่นและสามหมื่นปีมาแล้ว มากันสองระลอก และคนพื้นเมืองที่บุกเบิกดินแดนนี้ไม่ได้แปะยี่ห้ออะไรเมื่อมาถึง นอกจากเรียกตัวเองว่า กอย หมายถึง คน… (ข่า ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย.. ลาว ก็เรียกตัวเองว่า ข้อย) . ในความเป็นจริง มนุษย์โบราณที่เป็นบรรพบุรุษของชายชาวเอเชียราว 75 เปอร์เซ็นต์ล้วนเป็น Y DNA Hg O คือครอบครัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก พวกเขามิวเททมาจากสาแหรกของพ่อ Y DNA Hg K ซึ่งมาถึงเอเชียกลางเมื่อราวสี่หมื่นปีและกระจายออกไป ทั้งที่ข้ามโกบีและไซบีเรีย ข้ามเบริงเจียไปอเมริกา (Hg Q) กลายเป็นพวกนาวาโฮ... ทั้งที่ย้อนกลับเข้าไปในยุโรปเผชิญความทารุณของยุคน้ำแข็งกลายเป็นพวกยุโรป (Hg R)… บรรพบุรุษพวกนี้ เมื่อตั้งถิ่นฐานตรงจุดใด ก็มักอยู่ตรงนั้น ลองนึกถึงความเป็นจริงว่า การย้ายถิ่นฐานใช้เวลายาวนานหลายชั่วคน เมื่อผู้อาวุโสหรือพ่อของเขาแก่เฒ่าไร้เรี่ยวแรงที่จะเดินทางบุกเบิกต่อไป บางส่วนของพวกเขาจะหยุดการเดินทางและตั้งหลักแหล่งโดยเฉพาะเมื่อพบสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์พอจะดำรงชีพ คนหนุ่มจะเดินทางผจญภัยต่อไปเพื่อหาที่ของตนที่จะได้ขึ้นมาเป็นผู้นำ ได้มองโลกด้วยทัศนะของพวกเขาเอง พวกเขาจะพบปัญหาใหม่ จะได้หาทางแก้ไขสถานะการณ์ที่ไม่เคยพบ ดังนั้นพวกเขาจะมีเทคโนโลยีที่ดีขึ้นไปเองโดยธรรมชาติ จนเมื่อพวกเขาพบว่าได้เจอสถานที่ที่พึงพอใจหรือไปต่อไม่ได้แล้ว การเดินทางก็จะหยุด . คุณคิดว่ามีมนุษย์จำนวนเท่าไหร่ เมื่อพวกเขามาถึงแผ่นดินซุนดาเมื่อสามหมื่นปีก่อน? . บรรพบุรุษของเรา เดินทางมาตามซุปเปอร์ไฮเวย์โบราณสายเอเชียกลางที่เป็นทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ อุดมด้วยกวางแอนทีโลฟและช้างแมมมอธ ท้องอิ่ม อบอุ่น และอันตรายน้อย เมื่อมาถึงซุนดา คุณคิดว่าพวกเขาจะอยู่อาศัยกันที่ไหน? บนภูเขา ในป่า หรือที่ราบลุ่มปากแม่น้ำ? ไปคิดดูเป็นการบ้าน . หากพิจารณาดูปัจจัยต่างๆ เราจะรู้ได้ว่าชุมชนบรรพกาล มักจะตั้งอยู่บนที่ที่เหมาะสมในการผดุงชีพ อ.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ให้ความเห็นว่า เนื่องเพราะบรรพบุรุษพวกนี้ต้องเผชิญกับน้ำท่วมซุนดาถึงสามครั้ง พวกเขานิยมสร้างบ้านที่มีเสาสูงและมีไต้ถุนสูง ทำแพและมีทักษะในการเดินทางด้วยแพ ซึ่งพร้อมที่จะอพยพหนีโดยล่องด้วยแพขึ้นไปเรื่อยๆ สู่ทิศทางต้นน้ำ ไม่เดินเท้าเพราะไม่รู้ว่าน้ำจะมาทางไหน เมื่อเห็นและแน่ใจว่าน้ำหยุดท่วมแล้วก็ปักหลักตั้งถิ่นฐานใหม่ เพราะพวกเขารู้ดีว่าไม่มีจุดไหนที่มีทรัพยากรอุดมไปกว่าริมแม่น้ำ ทั้งสัตว์น้ำและดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูก ในป่านั้นมีโรคมากมายและสัตว์ร้าย พวกเขาจะเข้าไปต่อเมื่อต้องการล่าหรือหาของป่า . ชุมชนบรรพกาลเหล่านี้ เมื่อพบพื้นที่ที่พวกเขาพึงพอใจแล้วก็มักจะปักหลักอยู่เช่นนั้น สืบต่อกันไปหลายชั่วคน หลักฐานทางโบราณคดีก็ชี้ชัดเช่นนั้น ทำให้เกิดชุมชนโบราณขึ้นตรงนั้นตรงนี้มากมายและขยายตัวออกไป เกษตรกรรมเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เลิกเร่ร่อนแล้วหยุดตั้งหลักแหล่ง ผลที่เก็บเกี่ยวแน่นอนตามฤดูกาลทำให้ปัจจัยทางอาหารมั่นคง ดังนั้นพวกเขาจะไม่ย้ายไปไหนโดยง่ายถ้าไม่ใช่เพราะภัยธรรมชาติ โรคระบาด หรือสงครามจากคนกลุ่มอื่นมาบีบบังคับให้ย้ายไปที่อื่น ชุมชนบรรพกาลซึ่งประชากรมีอยู่น้อย ย่อมต้องการปริมาณแรงงานไว้เพื่อสร้างชุมชนของตนให้เติบโตรุ่งเรืองขึ้น ถ้าไม่เกิดปัญหาที่ว่านี้ พวกเขาก็จะไม่ย้ายไปไหน พวกเขาจำฤดูกาลประจำถิ่น ทิศทางลม เวลาน้ำขึ้นลง ยาอยู่ที่ไหน อะไรเป็นยา จำต้นไม้ได้ทุกต้นและรู้ว่าอะไรใช้ทำอะไรได้บ้าง สัตว์อยู่ที่ไหน หาเจอยังไง จับยังไง... ความรู้ในภูมิลำเนาพวกนี้ใช้เวลาสั่งสมยาวนาน . เราต่างได้เรียนรู้กันมามากพอสมควรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ แต่บางครั้งนิยามหรือความสมมุติในความเป็นชนชาติบ้านเมืองต่างๆ มักพาให้ไขว้เขว บางถิ่นฐาน ผู้ปกครองเป็นผู้มีศักดิ์ฐานะ มีทรัพยากรมาก แต่เป็นคนต่างถิ่นมาจากที่อื่น ไม่ต่างกับทุกวันนี้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหัวเมืองเช่นเชียงราย อาจเป็นลูกเศรษฐีตระกูลใหญ่จากกรุงเทพ สมัยโบราณก็เช่นกัน ประชากรเป็นคนพื้นเมืองท้องถิ่น อาจอยู่ที่นั่นมาแปดชั่วคนแล้ว เขาไม่ย้ายไปที่อื่นเพียงเพราะผู้ปกครองไม่ใช่คนพื้นเมืองเหมือนตน ถ้าปกครองดี ทุกคนยังกินอิ่ม ไม่รีดภาษี ไม่ก่อกรรมทำเข็ญ ข่มเหงรังแก พวกเขาก็จะอยู่อย่างนั้นต่อไปในรุ่นลูกรุ่นหลาน จักรวรรดิจีนโบราณดินแดนกว้างใหญ่ ประชากรไม่ได้มีแต่จีนฮั่นเท่านั้น ยังมีประชากรที่เป็นชนเผ่าอื่นๆในปกครองหลายสิบเผ่า แล้วก็มีผู้ปกครองที่มาจากถิ่นอื่นมาปกครอง เคยมีกษัตริย์ที่เป็นมองโกล กษัตริย์ที่เป็นแมนจูมานั่งบัลลังก์ฮ่องเต้ ยิ่งรูปงามผิวพรรณผุดผ่องมาพร้อมโปรโมชั่นว่าเป็นเทพลงมาเกิดก็จะทำให้รู้สึกนับถืออยากพึ่งพาบารมี ดังนั้นผู้ปกครองก็อาจเป็นชาติพันธุ์หนึ่งขณะที่ประชากรในดินแดนเป็นอีกชาติพันธุ์หนึ่งได้ เช่น ผู้ปกครองมีชื่อสมมุติว่าเป็นชาติพันธุ์ลาว ผู้ใต้ปกครองอาจเป็นชาวพื้นเมืองมีชื่อสมมุติว่าชาติพันธุ์ข่า เป็นต้น.. ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่พูดนี่ เป็นคนละเรื่องกับแนวความคิดเรื่องชาติ ประเทศ รัฐ ชนชาติและสัญชาติ ซึ่งเป็นความคิดใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังตามคติของอาณานิคมตะวันตก . สำหรับผมมันเป็นเรื่องตลก ที่พูดว่าคนโคราชไม่ใช่คนอีสาน ความยึดมั่นของผู้พูดผูกโยงกับภูมิลำเนา ผูกกับสำเนียงภาษาที่ใช้ แล้วเอามามัดให้ประชากรนั้นเป็นเผ่าพันธ์ตามที่ตนผูกไว้ . คนอีสานคือใครในทัศนะวิทยาศาสตร์ คนอีสานอาจประกอบด้วยพลเมืองจากทางเหนือที่มาไกลจากจีน มาจากหยุนหนาน หรืออาจมาจากเวียตนาม ได้มากพอกับมีพลเมืองที่มีชื่อสมมุติว่า "ลาว" ที่เฒ่างี่เง่านี้นิยามให้สาวกเชื่อว่าเป็นคนท้องถิ่นโดยแท้แล้วก็ปฏิเสธในเชิงที่รู้สึกได้ว่าพยายามจะบอกใครๆ ว่าคนโคราชเป็น "สิ่งแปลกปลอมในท่ามกลางคนอีสาน" ผมรู้สึกอย่างนั้น แล้วเขาก็โยงเรื่องโยงชื่อ ทั้งคนทั้งสถานที่ มั่วไปหมดชนแพะชนแกะชนควาย อนุมานเอาตามความเชื่อตน ทั้งที่ความเป็นจริงทุกมนุษย์ที่อ้างอิงมานั่นไม่ว่าจะด้วยคำ สยาม ทวารวดี มอญ อยุธยา สุพรรณ โคราช ศรีโคตรบูรณ์ เวียงจันทร์ ชัยวรมัน.... บลาๆๆ... ล้วนคือ Y Chromosome DNA Haplogroup O (O2 เป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์สูงสุด) ทั้งนั้น ต่อให้หมู่บ้านนึงมันดันพูดได้สามภาษา ทั้งลาวทั้งอังกฤษทั้งเกาหลีสำเนียงเป๊ะทั้งหมู่บ้านก็ตามที . เขย่าไว้ไม่ให้นอนก้น ข้าว่าพวกเอ็งมันนอนก้นถอยหลังไปสองร้อยปี ฟังวนอยู่ห้าคำสิบคำ เต็มไปด้วยคำว่า “สันนิษฐานว่า…“ แปลเป็นไทยคือ คาดว่า เดาว่า... คือเอ็งไม่รู้ไง เชื่อเองเออเองแล้วมาชวนคนอื่นให้เชื่อตาม . นี่รู้ไหม... มีไม่น้อยนะที่สันนิษฐานว่ามนุษย์เซเปี้ยนส์นี่น่ะ มาจากเชื้อพันธุ์มนุษย์ต่างดาวชื่อ อนูนากิ แกเชื่อไหมเล่า? . - พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา [2568] - .
    0 Comments 0 Shares 325 Views 0 Reviews
  • เชียงราย – น้ำสายทะลักท่วมระลอกล่าสุด แม้ลดแล้ว แต่ชาวบ้านยิ่งวิตกสารพิษปนเปื้อนเพิ่ม..ภาค ปชช.เดินหน้านัดรวมตัวปลุกพลังเรียกร้องรัฐบาล 3 ชาติ ทั้งไทย-เมียนมา-จีน รวมทั้งว้าแดง แก้ปัญหาเหมืองทอง-แรร์เอิร์ธ-แมงกานิส ต้นน้ำทิ้งสายหนู/โลหะหนัก ปนเปื้อนน้ำกก-น้ำสาย-น้ำรวก ยันน้ำโขง
    .
    ขณะที่น้ำสายขุ่นคลั่ก ทะลักล้นพนัง-บิ๊กแบ็ค เข้าท่วมพื้นที่ชุมชนชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ตั้งแต่ต้นฤดูฝนปีนี้แล้ว 2 รอบ ยิ่งทำให้ผู้คนในลุ่มน้ำกก-น้ำสาย-น้ำรวก รวมถึงน้ำโขงลุ่มสามเหลี่ยมทองคำ บางส่วน ยิ่งวิตกกับปัญหาสารพิษในน้ำ แต่ละสายที่ขุ่นมากผิดปกติมาตั้งแต่ต้นปี 68 รวมทั้งมีการตรวจพบสารหนู-โลหะหนัก ปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ซึ่งเชื่อกันว่า เกิดจากการทำเหมืองทอง-แรร์เอิร์ธ ในพื้นที่ต้นแม่น้ำเขตว้าแดงตอนใต้ของกลุ่มทุนจีน
    .
    คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/local/detail/9680000048747
    .
    #MGROnline #เชียงราย #สารพิษปนเปื้อน
    เชียงราย – น้ำสายทะลักท่วมระลอกล่าสุด แม้ลดแล้ว แต่ชาวบ้านยิ่งวิตกสารพิษปนเปื้อนเพิ่ม..ภาค ปชช.เดินหน้านัดรวมตัวปลุกพลังเรียกร้องรัฐบาล 3 ชาติ ทั้งไทย-เมียนมา-จีน รวมทั้งว้าแดง แก้ปัญหาเหมืองทอง-แรร์เอิร์ธ-แมงกานิส ต้นน้ำทิ้งสายหนู/โลหะหนัก ปนเปื้อนน้ำกก-น้ำสาย-น้ำรวก ยันน้ำโขง . ขณะที่น้ำสายขุ่นคลั่ก ทะลักล้นพนัง-บิ๊กแบ็ค เข้าท่วมพื้นที่ชุมชนชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ตั้งแต่ต้นฤดูฝนปีนี้แล้ว 2 รอบ ยิ่งทำให้ผู้คนในลุ่มน้ำกก-น้ำสาย-น้ำรวก รวมถึงน้ำโขงลุ่มสามเหลี่ยมทองคำ บางส่วน ยิ่งวิตกกับปัญหาสารพิษในน้ำ แต่ละสายที่ขุ่นมากผิดปกติมาตั้งแต่ต้นปี 68 รวมทั้งมีการตรวจพบสารหนู-โลหะหนัก ปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ซึ่งเชื่อกันว่า เกิดจากการทำเหมืองทอง-แรร์เอิร์ธ ในพื้นที่ต้นแม่น้ำเขตว้าแดงตอนใต้ของกลุ่มทุนจีน . คลิกรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ >> https://mgronline.com/local/detail/9680000048747 . #MGROnline #เชียงราย #สารพิษปนเปื้อน
    MGRONLINE.COM
    น้ำขุ่นคลั่กทะลักยิ่งวิตกเพิ่ม!ภาค ปชช.เดินหน้าปลุกพลังรวมตัวจี้รัฐ 3 ชาติ-ว้า ปิดเหมือง/แก้ปมสารพิษปนเปื้อน
    เชียงราย – น้ำสายทะลักท่วมระลอกล่าสุด แม้ลดแล้ว แต่ชาวบ้านยิ่งวิตกสารพิษปนเปื้อนเพิ่ม..ภาค ปชช.เดินหน้านัดรวมตัวปลุกพลังเรียกร้องรัฐบาล 3 ชาติ ทั้งไทย-เมียนมา-จีน รวมทั้งว้าแดง แก้ปัญหาเหมืองทอง-แรร์เอิร์ธ-แมงกานิส ต้นน้ำทิ้งสายหน
    0 Comments 0 Shares 260 Views 0 Reviews
  • มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพมูลค่ากว่า 3 แสนบาท แก่สตรี แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร
    .
    วันนี้ (วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร รวม 2 แห่ง 20 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 393,570 บาท (สามแสนเก้าหมื่นสามพันห้าร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) โดยมี นางสาวราภรณ์ พงศ์พนิตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว (ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) พร้อมด้วย นางสาวศุภวรรณ ขูดแก้ว ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ นางสาวพรมณี พุ่มอิ่ม ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง นางอภิรดี สุสุทธิ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี
    .
    นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการ “ส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรีและครอบครัว” มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ แก่ สตรี บุรุษ พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความรู้และความสามารถ ฐานะยากจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก โดยมูลนิธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินการโครงการดังกล่าวนี้ จะมีส่วนสนับสนุน ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัว ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป
    .
    ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    .
    ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
    .
    ## ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ##
    #แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418 #ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพมูลค่ากว่า 3 แสนบาท แก่สตรี แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร . วันนี้ (วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก พร้อมด้วย นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ กรรมการ นางศิริพร กระจ่างหล้า ผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ และ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ นำทีมลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี และสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร รวม 2 แห่ง 20 ราย คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 393,570 บาท (สามแสนเก้าหมื่นสามพันห้าร้อยเจ็ดสิบบาทถ้วน) โดยมี นางสาวราภรณ์ พงศ์พนิตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว (ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) พร้อมด้วย นางสาวศุภวรรณ ขูดแก้ว ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ นางสาวพรมณี พุ่มอิ่ม ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง นางอภิรดี สุสุทธิ ผู้อำนวยการสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ บ้านเกร็ดตระการ กรุงเทพมหานคร ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคกลาง จังหวัดนนทบุรี . นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร กรรมการและรองเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการ “ส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรีและครอบครัว” มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ แก่ สตรี บุรุษ พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความรู้และความสามารถ ฐานะยากจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก โดยมูลนิธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการดำเนินการโครงการดังกล่าวนี้ จะมีส่วนสนับสนุน ช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ เลี้ยงตนเองและครอบครัว ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม สร้างความสุขสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป . ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” . ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung . ## ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ## #แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418 #ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน
    0 Comments 0 Shares 384 Views 0 Reviews
  • ชนวนปะทุเดือดชายแดนไทย-สปป.ลาว ความสุ่มเสี่ยงความมั่นคงลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่จะลุกลามรอบไทย

    เสียงปืนลั่นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย และนับเป็นปัญหาเฉพาะในแผ่นดินลาวที่ไม่ได้มีชายแดนติดกับเมียนมาร์ การปะทะเริ่มเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ในฝั่ง สปป.ลาว บริเวณค่ายภูผาหม่น เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันกรมทหารพรานที่ 31 และกองกำลังผาเมือง ตรึงกำลังเฝ้าระวัง

    ทั้งแถบชายแดนทยอดปิดแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 68 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฝั่งตรงข้ามมีการใช้อาวุธปืนขนาด 7.62 ใช้สำหรับปืนอาก้า และอาวุธหนักกระทั่งมีเจ้าหน้าทีทหารของสปป.ลาวเสียชีวิต

    ความสุ่มเสี่ยงของสถานการณ์นี้คือจุดเริ่มที่ต้องสืบสาวหาต้นตอต้นเหตุ เพราะพื้นที่สถานการณ์ติดกับชายแดนไทยอย่างมาก

    The Analyzt ขอนำเสนอข้อมูลประกอบความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นี้ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ที่จะไม่เป็นผลดีต่อภาคเศรษฐกิจ ความมั่นคงในอนาคต

    1. การวิเคราะห์สถานการณ์
    บริบททางประวัติศาสตร์และสาเหตุที่อาจเป็นไปได้:

    สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518): ในอดีต ลาวตอนเหนือเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนักระหว่างฝ่ายปะเทดลาว (คอมมิวนิสต์) และรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยมีมหาอำนาจในสงครามเย็น (สหรัฐฯ และสหภาพโซเวีย ศูนย์กลางของการสู้รบอยู่ในพื้นที่เช่น แขวงเชียงขวาง ซึ่งกองพันปะเทดลาวเคยตั้งมั่น. สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ เช่น เวียดนามเหนือและสหรัฐฯ

    ความขัดแย้งชาติพันธุ์: ลาวตอนเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ชาวม้ง ลาวสูง และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางเนื่องจากความต้องการปกครองตนเองหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม.
    ยาเสพติดและการค้ามนุษย์: พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ (รอยต่อระหว่างลาว เมียนมา และไทย) เป็นแหล่งผลิตและลักลอบขนส่งยาเสพติด เช่น ไอซ์และยาบ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะระหว่างกลุ่มค้ายาและกองกำลังรัฐบาล

    ข้อพิพาทชายแดน: ความไม่ชัดเจนของเขตแดนในลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างลาวและไทยอาจก่อให้เกิดความตึงเครียด โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะกลางน้ำ ซึ่งเคยเกิดข้อพิพาทในอดีต.

    อิทธิพลจากเพื่อนบ้าน: สถานการณ์ในเมียนมา เช่น การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่น KIA, MNDAA) อาจส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมายังลาวตอนเหนือ

    กลุ่มกองกำลังที่อาจเกี่ยวข้อง:

    กองทัพประชาชนลาว (LPAF): เป็นกองทัพอย่างเป็นทางการของลาว มีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายในและปกป้องพรมแดน อาจเกี่ยวข้องหากมีการปะทะกับกลุ่มค้ายาหรือกลุ่มกบฏ.

    กลุ่มชาติพันธุ์: เช่น ชาวม้งหรือกลุ่มลาวสูง ซึ่งในอดีตเคยต่อสู้เพื่อปกครองตนเอง อาจยังคงมีความเคลื่อนไหวในระดับเล็กน้อย.

    กลุ่มค้ายาเสพติด: กลุ่มอาชญากรข้ามชาติที่ใช้ลาวตอนเหนือเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด มักปะทะกับกองกำลังรัฐบาลหรือทหารไทยบริเวณชายแดน.

    กลุ่มกบฏหรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล: แม้ว่าปะเทดลาวจะสิ้นสุดบทบาทในฐานะกองกำลังติดอาวุธหลังสงครามกลางเมือง แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาลอาจยังคงเคลื่อนไหวในพื้นที่ห่างไกล.

    แนวโน้มในอนาคต:
    การปะทะจากยาเสพติด: พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนจะยังคงเป็นจุดร้อนของการค้ายา ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะเป็นระยะๆ ระหว่างกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มค้ายา.

    ผลกระทบจากเมียนมา: หากสถานการณ์ในเมียนมา (เช่น ปฏิบัติการ 1027 ของกลุ่มพันธมิตร 3 พี่น้อง) ทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนเข้าสู่ลาว สร้างความตึงเครียดในพื้นที่.

    ความร่วมมือในภูมิภาค: ลาวอาจเพิ่มความร่วมมือกับจีนและไทยในการควบคุมยาเสพติดและความมั่นคงชายแดน ซึ่งอาจลดการปะทะในระยะยาว.

    ข้อพิพาทแม่น้ำโขง: ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนในแม่น้ำโขงอาจทวีความรุนแรงหากมีการอ้างสิทธิ์ในเกาะกลางน้ำหรือทรัพยากรในแม่น้ำ.

    ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
    ความเชื่อมโยงด้านพลังงานระหว่างลาวและไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาหนี้สินของลาวและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนอาจเป็นความเสี่ยงในระยะยาว

    รายงานระบุว่าลาวมีหนี้สูงและต้องชำระหนี้ต่อจีน ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้า Opportunities for Development Cooperation in Lao Strategic Sectors | CSIS. นอกจากนี้ การอพยพแรงงานจากลาวอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานในไทย แต่ก็อาจสร้างความตึงเครียดทางสังคม

    ความเชื่อมโยงทางพลังงาน: ลาวถูกเรียกว่า "แบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เนื่องจากส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อนไฮโดรพาวเวอร์ไปยังไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Energy in Laos - Wikipedia.

    การค้าข้ามพรมแดน: ลาวและไทยมีความเชื่อมโยงผ่านการค้าข้ามพรมแดน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค หากลาวประสบปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการลงทุนหรือการชะลอตัวของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลให้การค้าข้ามพรมแดนลดลง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ชายแดนของไทย เช่น จังหวัดเชียงรายและหนองคาย Laos - The World Factbook

    การปรับตัวของระบบการค้าในภูมิภาคอาจเกิดการปรับเปลี่ยนเส้นทางการค้าและการลงทุนไทยอาจลดการพึ่งพาเส้นทางผ่านลาวไปยังจีน โดยหันไปใช้เส้นทางอื่นมากขึ้นอาจมีการพัฒนาเส้นทางการค้าทางทะเลเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง

    แรงงานข้ามชาติ: ปัญหาเศรษฐกิจในลาวอาจทำให้มีแรงงานชาวลาวเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานให้กับนายจ้างไทย แต่ในทางกลับกันอาจสร้างความตึงเครียดทางสังคมและแรงกดดันต่อระบบสวัสดิการของไทย BTI 2024 Laos Country Report: BTI 2024.
    ท่าทีของไทยและการประเมินสถานการณ์

    ท่าทีของไทย
    ไทยมีแนวโน้มร่วมมือกับลาวในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ:

    การปราบปรามยาเสพติด: ไทยและลาวมีความร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ เช่น การจัดตั้งจุดตรวจชายแดนร่วมและการลาดตระเวนร่วม Fighting drug trafficking in the Golden Triangle: a UN Resident Coordinator blog | UN News. นอกจากนี้ ไทยยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNODC เพื่อลดการลักลอบขนยา Thai authorities and UNODC meet about precursor chemical trafficking in the Golden Triangle - UNODC.

    ความร่วมมือด้านพลังงาน: ไทยยังคงเป็นตลาดหลักในการซื้อไฟฟ้าจากลาว และอาจผลักดันการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนร่วมกันเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม Alternative Development Pathways for Thailand’s Sustainable Electricity Trade with Laos • Stimson Center

    การเตรียมพร้อมรับมือ: ไทยควรเพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันชายแดน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดและเพิ่มกำลังทหารในพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันผลกระทบจากความไม่สงบในลาว Guide to Investigating Organized Crime in the Golden Triangle — Introduction.

    มิติความมั่นคง: ดูเหมือนว่าปัญหายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นความท้าทายหลัก โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีการผลิตและลักลอบขนส่งเพิ่มขึ้น รายงานระบุว่ากลุ่มเครือข่ายค้ายาเสพติดสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนเส้นทางผ่านลาวและกลับเข้ามาในไทย Asia's infamous Golden Triangle and the soldiers tracking down the drug smugglers who rule its narcotics trade - ABC News.

    นอกจากนี้ หากสถานการณ์ในเมียนมาทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนมายังไทยเพิ่มขึ้น.

    การค้ายาเสพติด: ดูเหมือนว่าการค้ายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีตลาดเพิ่มขึ้นในภูมิภาค Q&A: The opium surge in Southeast Asia’s ‘Golden Triangle’ | Drugs News | Al Jazeera.

    ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: ไทยและลาวจะยังคงมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านพลังงาน แต่ไทยควรพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนในลาวด้วย Locked In – Why Thailand Buys Electricity from Laos | Earth Journalism Network.

    ความมั่นคงชายแดน: ไทยควรเสริมสร้างความร่วมมือกับลาวและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เมียนมาและจีน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางความมั่นคงข้ามพรมแดน Lao delegation explores renewable energy in Thailand | Partnerships for Infrastructure.

    ข้อสรุป
    สถานการณ์ในลาวตอนเหนือกำลังส่งผลกระทบและจะยังคงส่งผลต่อไทยในหลายมิติ หากประเมินแล้วสถานการณ์ในลาวตอนเหนือมีผลกระทบต่อไทยทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากการค้ายาเสพติดและความเชื่อมโยงด้านพลังงาน ไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันภัยคุกคามข้ามพรมแดนและพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาในลาวอย่างรอบคอบ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ


    การอ้างอิง:
    Laotian Civil War - Wikipedia
    Insurgency in Laos - Wikipedia
    Unprecedented Protests Are Putting Laos in Uncharted Waters | Council on Foreign Relations
    Assessment for Hmong in Laos | Refworld
    Laos | History, Flag, Map, Capital, Population, & Facts | Britannica
    From jungles to suburbs, warlord led Hmong struggle | Reuters
    Apocalypse Laos: The devastating legacy of the ‘Secret War’ | CEPR
    Laos country profile - BBC News
    Violence Flares in Laos | Council on Foreign Relations
    Laos: Latest News and Updates | South China Morning Post
    Collateral Damage: The Legacy of the Secret War in Laos | The Economic Journal | Oxford Academic
    Laos | AP News






    ชนวนปะทุเดือดชายแดนไทย-สปป.ลาว ความสุ่มเสี่ยงความมั่นคงลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนที่จะลุกลามรอบไทย เสียงปืนลั่นแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย และนับเป็นปัญหาเฉพาะในแผ่นดินลาวที่ไม่ได้มีชายแดนติดกับเมียนมาร์ การปะทะเริ่มเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ในฝั่ง สปป.ลาว บริเวณค่ายภูผาหม่น เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว ตรงข้ามอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันกรมทหารพรานที่ 31 และกองกำลังผาเมือง ตรึงกำลังเฝ้าระวัง ทั้งแถบชายแดนทยอดปิดแหล่งท่องเที่ยวจุดชมวิวภูชี้ฟ้า ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 68 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะฝั่งตรงข้ามมีการใช้อาวุธปืนขนาด 7.62 ใช้สำหรับปืนอาก้า และอาวุธหนักกระทั่งมีเจ้าหน้าทีทหารของสปป.ลาวเสียชีวิต ความสุ่มเสี่ยงของสถานการณ์นี้คือจุดเริ่มที่ต้องสืบสาวหาต้นตอต้นเหตุ เพราะพื้นที่สถานการณ์ติดกับชายแดนไทยอย่างมาก The Analyzt ขอนำเสนอข้อมูลประกอบความเป็นไปได้ในการวิเคราะห์สถานการณ์นี้ที่จะส่งผลต่อความมั่นคงชายแดนฝั่งตะวันออกของไทยที่ติดกับจังหวัดเชียงราย ที่จะไม่เป็นผลดีต่อภาคเศรษฐกิจ ความมั่นคงในอนาคต 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ บริบททางประวัติศาสตร์และสาเหตุที่อาจเป็นไปได้: สงครามกลางเมืองลาว (พ.ศ. 2502-2518): ในอดีต ลาวตอนเหนือเป็นพื้นที่ที่มีการสู้รบอย่างหนักระหว่างฝ่ายปะเทดลาว (คอมมิวนิสต์) และรัฐบาลราชอาณาจักรลาว โดยมีมหาอำนาจในสงครามเย็น (สหรัฐฯ และสหภาพโซเวีย ศูนย์กลางของการสู้รบอยู่ในพื้นที่เช่น แขวงเชียงขวาง ซึ่งกองพันปะเทดลาวเคยตั้งมั่น. สาเหตุหลักมาจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์และฝ่ายโลกเสรี รวมถึงการแทรกแซงจากต่างชาติ เช่น เวียดนามเหนือและสหรัฐฯ ความขัดแย้งชาติพันธุ์: ลาวตอนเหนือเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย เช่น ชาวม้ง ลาวสูง และอื่นๆ ซึ่งบางครั้งเกิดความขัดแย้งกับรัฐบาลกลางเนื่องจากความต้องการปกครองตนเองหรือความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม. ยาเสพติดและการค้ามนุษย์: พื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน โดยเฉพาะบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ (รอยต่อระหว่างลาว เมียนมา และไทย) เป็นแหล่งผลิตและลักลอบขนส่งยาเสพติด เช่น ไอซ์และยาบ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะระหว่างกลุ่มค้ายาและกองกำลังรัฐบาล ข้อพิพาทชายแดน: ความไม่ชัดเจนของเขตแดนในลุ่มแม่น้ำโขงระหว่างลาวและไทยอาจก่อให้เกิดความตึงเครียด โดยเฉพาะในพื้นที่เกาะกลางน้ำ ซึ่งเคยเกิดข้อพิพาทในอดีต. อิทธิพลจากเพื่อนบ้าน: สถานการณ์ในเมียนมา เช่น การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ (เช่น KIA, MNDAA) อาจส่งผลกระทบข้ามพรมแดนมายังลาวตอนเหนือ กลุ่มกองกำลังที่อาจเกี่ยวข้อง: กองทัพประชาชนลาว (LPAF): เป็นกองทัพอย่างเป็นทางการของลาว มีบทบาทในการรักษาความมั่นคงภายในและปกป้องพรมแดน อาจเกี่ยวข้องหากมีการปะทะกับกลุ่มค้ายาหรือกลุ่มกบฏ. กลุ่มชาติพันธุ์: เช่น ชาวม้งหรือกลุ่มลาวสูง ซึ่งในอดีตเคยต่อสู้เพื่อปกครองตนเอง อาจยังคงมีความเคลื่อนไหวในระดับเล็กน้อย. กลุ่มค้ายาเสพติด: กลุ่มอาชญากรข้ามชาติที่ใช้ลาวตอนเหนือเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติด มักปะทะกับกองกำลังรัฐบาลหรือทหารไทยบริเวณชายแดน. กลุ่มกบฏหรือกลุ่มต่อต้านรัฐบาล: แม้ว่าปะเทดลาวจะสิ้นสุดบทบาทในฐานะกองกำลังติดอาวุธหลังสงครามกลางเมือง แต่กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่พอใจรัฐบาลอาจยังคงเคลื่อนไหวในพื้นที่ห่างไกล. แนวโน้มในอนาคต: การปะทะจากยาเสพติด: พื้นที่สามเหลี่ยมทองคำและลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนจะยังคงเป็นจุดร้อนของการค้ายา ซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะเป็นระยะๆ ระหว่างกองกำลังรัฐบาลและกลุ่มค้ายา. ผลกระทบจากเมียนมา: หากสถานการณ์ในเมียนมา (เช่น ปฏิบัติการ 1027 ของกลุ่มพันธมิตร 3 พี่น้อง) ทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนเข้าสู่ลาว สร้างความตึงเครียดในพื้นที่. ความร่วมมือในภูมิภาค: ลาวอาจเพิ่มความร่วมมือกับจีนและไทยในการควบคุมยาเสพติดและความมั่นคงชายแดน ซึ่งอาจลดการปะทะในระยะยาว. ข้อพิพาทแม่น้ำโขง: ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนในแม่น้ำโขงอาจทวีความรุนแรงหากมีการอ้างสิทธิ์ในเกาะกลางน้ำหรือทรัพยากรในแม่น้ำ. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมโยงด้านพลังงานระหว่างลาวและไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ แต่ปัญหาหนี้สินของลาวและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากเขื่อนอาจเป็นความเสี่ยงในระยะยาว รายงานระบุว่าลาวมีหนี้สูงและต้องชำระหนี้ต่อจีน ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้า Opportunities for Development Cooperation in Lao Strategic Sectors | CSIS. นอกจากนี้ การอพยพแรงงานจากลาวอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานในไทย แต่ก็อาจสร้างความตึงเครียดทางสังคม ความเชื่อมโยงทางพลังงาน: ลาวถูกเรียกว่า "แบตเตอรี่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" เนื่องจากส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อนไฮโดรพาวเวอร์ไปยังไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Energy in Laos - Wikipedia. การค้าข้ามพรมแดน: ลาวและไทยมีความเชื่อมโยงผ่านการค้าข้ามพรมแดน โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าอุปโภคบริโภค หากลาวประสบปัญหาเศรษฐกิจ เช่น การลดลงของการลงทุนหรือการชะลอตัวของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาจส่งผลให้การค้าข้ามพรมแดนลดลง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจของชุมชนในพื้นที่ชายแดนของไทย เช่น จังหวัดเชียงรายและหนองคาย Laos - The World Factbook การปรับตัวของระบบการค้าในภูมิภาคอาจเกิดการปรับเปลี่ยนเส้นทางการค้าและการลงทุนไทยอาจลดการพึ่งพาเส้นทางผ่านลาวไปยังจีน โดยหันไปใช้เส้นทางอื่นมากขึ้นอาจมีการพัฒนาเส้นทางการค้าทางทะเลเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยง แรงงานข้ามชาติ: ปัญหาเศรษฐกิจในลาวอาจทำให้มีแรงงานชาวลาวเข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนแรงงานให้กับนายจ้างไทย แต่ในทางกลับกันอาจสร้างความตึงเครียดทางสังคมและแรงกดดันต่อระบบสวัสดิการของไทย BTI 2024 Laos Country Report: BTI 2024. ท่าทีของไทยและการประเมินสถานการณ์ ท่าทีของไทย ไทยมีแนวโน้มร่วมมือกับลาวในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ: การปราบปรามยาเสพติด: ไทยและลาวมีความร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำ เช่น การจัดตั้งจุดตรวจชายแดนร่วมและการลาดตระเวนร่วม Fighting drug trafficking in the Golden Triangle: a UN Resident Coordinator blog | UN News. นอกจากนี้ ไทยยังทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNODC เพื่อลดการลักลอบขนยา Thai authorities and UNODC meet about precursor chemical trafficking in the Golden Triangle - UNODC. ความร่วมมือด้านพลังงาน: ไทยยังคงเป็นตลาดหลักในการซื้อไฟฟ้าจากลาว และอาจผลักดันการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนร่วมกันเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม Alternative Development Pathways for Thailand’s Sustainable Electricity Trade with Laos • Stimson Center การเตรียมพร้อมรับมือ: ไทยควรเพิ่มความเข้มงวดในการป้องกันชายแดน เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิดและเพิ่มกำลังทหารในพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันผลกระทบจากความไม่สงบในลาว Guide to Investigating Organized Crime in the Golden Triangle — Introduction. มิติความมั่นคง: ดูเหมือนว่าปัญหายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นความท้าทายหลัก โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีการผลิตและลักลอบขนส่งเพิ่มขึ้น รายงานระบุว่ากลุ่มเครือข่ายค้ายาเสพติดสามารถปรับตัวได้รวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนเส้นทางผ่านลาวและกลับเข้ามาในไทย Asia's infamous Golden Triangle and the soldiers tracking down the drug smugglers who rule its narcotics trade - ABC News. นอกจากนี้ หากสถานการณ์ในเมียนมาทวีความรุนแรง อาจส่งผลให้มีกลุ่มชาติพันธุ์หรือผู้ลี้ภัยเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนมายังไทยเพิ่มขึ้น. การค้ายาเสพติด: ดูเหมือนว่าการค้ายาเสพติดในสามเหลี่ยมทองคำจะยังคงเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อ โดยเฉพาะยาเสพติดสังเคราะห์ที่มีตลาดเพิ่มขึ้นในภูมิภาค Q&A: The opium surge in Southeast Asia’s ‘Golden Triangle’ | Drugs News | Al Jazeera. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ: ไทยและลาวจะยังคงมีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านพลังงาน แต่ไทยควรพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมจากโครงการเขื่อนในลาวด้วย Locked In – Why Thailand Buys Electricity from Laos | Earth Journalism Network. ความมั่นคงชายแดน: ไทยควรเสริมสร้างความร่วมมือกับลาวและประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เช่น เมียนมาและจีน เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางความมั่นคงข้ามพรมแดน Lao delegation explores renewable energy in Thailand | Partnerships for Infrastructure. ข้อสรุป สถานการณ์ในลาวตอนเหนือกำลังส่งผลกระทบและจะยังคงส่งผลต่อไทยในหลายมิติ หากประเมินแล้วสถานการณ์ในลาวตอนเหนือมีผลกระทบต่อไทยทั้งด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากการค้ายาเสพติดและความเชื่อมโยงด้านพลังงาน ไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันภัยคุกคามข้ามพรมแดนและพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาในลาวอย่างรอบคอบ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ การอ้างอิง: Laotian Civil War - Wikipedia Insurgency in Laos - Wikipedia Unprecedented Protests Are Putting Laos in Uncharted Waters | Council on Foreign Relations Assessment for Hmong in Laos | Refworld Laos | History, Flag, Map, Capital, Population, & Facts | Britannica From jungles to suburbs, warlord led Hmong struggle | Reuters Apocalypse Laos: The devastating legacy of the ‘Secret War’ | CEPR Laos country profile - BBC News Violence Flares in Laos | Council on Foreign Relations Laos: Latest News and Updates | South China Morning Post Collateral Damage: The Legacy of the Secret War in Laos | The Economic Journal | Oxford Academic Laos | AP News
    0 Comments 0 Shares 829 Views 0 Reviews
  • ประชาโจนใจสัส หาเสียงขอคะแนน เสรือกด้อยค่าว่าเป็นจังหวัดที่ตายแล้ว ไม่มีอนาคตให้ลูกหลาน นี่ขนาดเชียงรายมีสส.พรรคมรึง 3 เขต ไม่โทษตัวเองเลย โยนคนอื่นหมด
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #พรรคประชาโจน
    #เลือกตั้งเชียงราย
    ประชาโจนใจสัส หาเสียงขอคะแนน เสรือกด้อยค่าว่าเป็นจังหวัดที่ตายแล้ว ไม่มีอนาคตให้ลูกหลาน นี่ขนาดเชียงรายมีสส.พรรคมรึง 3 เขต ไม่โทษตัวเองเลย โยนคนอื่นหมด #คิงส์โพธิ์แดง #พรรคประชาโจน #เลือกตั้งเชียงราย
    0 Comments 0 Shares 131 Views 0 Reviews
  • แม่น้ำกกป่วยเพราะสารพิษหนักเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่าใครจะเป็นหมอรักษา (ตอนที่ 5)
    .................
    มหากาพย์แร่หายากกำลังเป็นฝีแตกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพราะทำให้แม่น้ำกก แม่น้ำสาย และจะส่งผลต่อแม่น้ำโขงป่วยหนักขึ้น การบริโภค การใช้แม่น้ำที่มีวิญญาณของความเป็นแม่ ถูกความโลภ อำนาจ เผาผลาญ และเอากากความความโลภทิ้งลงแม่น้ำ แล้วทุนแร่หายากในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้กำลังสร้างตำนานซ้ำซากที่เกิดขึ้นในแอฟริกา เป็นกระบวนการถลุงแร่ธาตุ เพื่อให้เป็นเลือด
    .................
    สัญญาณแรก ประมงจังหวัดเชียงราย แถลงเมื่อ 25 เม.ย.68 ระบุพบปลากลุ่มตัวอย่างพบโลหะหนัก เช่น สารหนูและปรอท ไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็อาจจะไม่ให้เราเบาใจและปล่อยปละละเลย และแสดงความกังวลว่าปลาลดน้อยลงมาก เพราะแม่น้ำเสื่อมโทรม ตั้งแต่ความตื้นเขิน น้ำมีตะกอนดินทั้งปี

    สัญญาณที่สอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) ก็หวั่น ๆ ว่า ผลสรุปการตรวจสอบคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำแม่น้ำกก บริเวณ อ.แม่อาย และอ.เมือง จ.เชียงราย พบมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินเพื่อปกป้องสัตว์หน้าดิน อาจจะเกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ปลา จะทำให้จำนวนหรือประเภทของสัตว์หน้าดินลดลง ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศลดลง สัตว์น้ำลดจำนวนลง และชาวบ้านจับสัตว์น้ำได้น้อยลง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่กินสัตว์น้ำ แต่ไม่แน่ว่าหากมีการสะสมในปลา ถ้าชาวบ้านบริโภคปลาเป็นจำนวนมากและเป็นประจำ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ชาที่ปลายมือปลายเท้า (ไข้ดำ: ผิวหนังหนาและเข้ม) มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    สัญญาณที่สาม 30 เมษายน ผลตรวจสารหนูเบื้องต้นในแม่น้ำ อ.แม่สาย - อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พบเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่า มีหมายเหตุ ผลดังกล่าวเป็นเพียงผลการตรวจเบื้องต้นทางทีมวิจัยจะนำตัวอย่างน้ำส่งตรวจใน Lab มาตรฐานต่อไป
    .................
    แรงกระเพื่อมต่อถึงทำเนียบ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุม ติดตามสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในแม่น้ำกก ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล องค์ประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ

    ในการประชุม กระจายหน้าที่แต่ละกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เร่งสั่งการการประปาส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำดิบในการผลิตน้ำประปา พร้อมทั้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลสารปนเปื้อนในน้ำ แนวทางการกรองน้ำเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย รวมถึงการเร่งตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่อย่างเข้มข้น

    ประธานในการประชุมมีข้อสั่งการด้านการแก้ไขปัญหา 6 ประเด็น ดังนี้ 1. มอบหมายกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกัน เร่งประสานประเทศเพื่อนบ้าน ใช้กลไกความร่วมมือทุกระดับเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก

    2. มอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติใช้กลไกลุ่มน้ำโขงเหนือ บริหารจัดการปริมาณน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพิ่มน้ำต้นทุนเข้าสู่แม่น้ำกก

    3. มอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ช่วยประเมินความขุ่น สารแขวนลอยในแม่น้ำกกทั้งในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

    4. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก

    5. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในแม่น้ำกก และลำน้ำสาขา การปนเปื้อนในสัตว์น้ำและการสะสมในร่างกายมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

    6. มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากการทำเหมืองและประสานความร่วมมือในการเผยแพร่ให้ประเทศเพื่อนบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ
    คำถามที่ท้าทาย จะปล่อยให้ภาวะสะสมเกิดกับประชาชนชาวเชียงราย และประชาชนลุ่มน้ำสาย กก โขงแบบนี้เรื่อย ๆ ใช่หรือไม่

    .................
    เสียงประชาชนต้องดังกว่านี้ เครือข่ายข้อมูลอุทกภัยแม่น้ำกก (ค.อ.ก) ก็ได้จัดเวทีความร่วมมือเตือนภัยน้ำกกหลากท่วมปี 2568 โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ. เป็นประธานการประชุม โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานในพื้นที่แม่น้ำกก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมแลกเปลี่ยนพร้อมนำเสนอ ถึงนายกรรัฐมนตรี

    1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งในแหล่งกำเนิดมลพิษ ระหว่างทาง และผู้รับผลพิษ จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำในจังหวัดเชียงราย
    2. เปิดเผยและซักซ้อมมาตรการรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำสาย อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ
    3. สร้างความร่วมมือกับประเทศเมียนมา หรือกองกำลังที่ดูแลในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อน ตลอดลำน้ำกก น้ำสาย ทั้ง พื้นที่ต้นน้ำ ก่อนเหมืองในรัฐฉาน
    4 .สร้างระบบสื่อสารสาธารณะที่โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน
    5. ขยายขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นการลุกล้ำหรือทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดลุ่มน้ำกกและลุ่มน้ำสาย
    6. เปิดการเจรจา 4 ฝ่ายคือ ไทย เมียนมา กองกำลังชาติพันธุ์ที่ควบคุมพื้นที่สัมปทานเหมือง และประเทศจีน เพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ

    สรุปคือการส่งเสียงว่ารัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การทำเหมืองทองต้องกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐไปเจรจา ทุกฝ่ายร่วมกัน ทั้งฝ่ายความมั่นคง รัฐบาล สื่อมวลชน ชาวบ้าน ประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าระดับประเทศแก้ไม่ได้ก็ต้องเป็นระดับอาเซียน ภูมิภาค หรือระดับนานาชาติร่วมกันแก้ไข ต้องคุยกับรัฐบาลพม่ารวมถึงรัฐบาลจีน เพราะเป็นพื้นที่ของกลุ่มว้า เป็นการเมืองระหว่างประเทศ

    เปิดพื้นที่ผ่านการเล่าเรื่องของแม่น้ำกกระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสิทธิของแม่น้ำ และ การเจรจาระหว่างรัฐกับธรรมชาติ ข้ามเขตแดนรัฐและแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (Transboundary Environmental Governance)”
    .................

    ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้แนวคิดการทูตสิ่งแวดล้อมสร้างความร่วมมือแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด นอกจากนี้ต้องเสนอให้เมียนมาเข้าใจด้วยว่า เหมืองแร่อยู่ในเขตควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่การเจรจาสันติภาพในเมียนมา ต้องหยิบยกเอาประเด็นมลพิษข้ามพรมแดนเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้วย

    น.ส.เพียงพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) และผู้อำนวยการฝ่ายรณรงรงค์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่า ทั้งแม่น้ำกกและแม่น้ำสายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยมีต้นน้ำอยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า การสร้างเหมืองทองที่บริเวณต้นน้ำ ทำให้ประชาชนและระบบนิเวศท้ายน้ำซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งหาทางยุติการทำเหมืองและเปิดหน้าดินในวงกว้างให้ได้ เพราะนอกจากส่งผลในเรื่องการปนเปื้อนสารโลหะหนักลงแม่น้ำแล้ว ยังส่งผลต่ออุทกภัยที่มีดินโคลนปนมาด้วย กลายเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่คนท้ายน้ำต้องเผชิญและหวาดผวาอยู่ตลอดเวลา

    ก่อนหน้านี้กระแสกระเพื่อมขึ้นในพื้นที่ที่ดีมาก ที่ทาง พล.ท.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เลขานุการคณะกรรมการระดับสูงไทย-เมียนมา ร่วมรับฟังปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย

    เนื้อหาจึงเจาะประเด็นเชิงความมั่นคงทันทีในมิติของผลกระทบข้ามแดน ตามที่ได้นำเสนอในตอนต้น ๆ เป็นเรื่องของกระบวนการขุมเหมืองแร่สีเลือกเพื่อนำผลประโยชน์มาห่ำหั่นกันทางการเมือง ที่รัฐบาลทหารพม่า อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ในรัฐฉาน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนจีน แต่ก็มีประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย และอิตาลีด้วย เหมืองทั้งหมดอยู่เหนือน้ำกก น้ำสาย น้ำรวก
    .................

    มิติทางแม่น้ำระหว่างประเทศ เป็นวิกฤติมลพิษข้ามแดนที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับฝุ่นควันข้ามแดน ที่มีปลายทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่เบื้องหลัง ต้องใช้เวลาเกลี่ย ล๊อบบี้ กดดัน การตีโอบ เพื่อกระทบ อันจะให้การกดดันทุน และอำนาจรัฐเข้ามาเร่งรัดจัดการปัญหาข้ามพรมแดนไมว่าจะเป็น การทำระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ต้องเพิ่มต้นทุนก็ต้องทำ กรองน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อน

    การให้ความสำคัญมิติ สาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร การสื่อสาร กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างสัมพันธ์และความเข้าใจนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานทุกฝ่ายต่อการโต้ตอบเหตุสารเคมีปนเปื้อน เพื่อสื่อสารและการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารได้รับฟังข้อมูลจากผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาการจัดทำรายงานนำเสนอต้นสังกัดและรัฐบาลในการดำเนินการงานร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่อไป

    แม่น้ำกกป่วยเพราะสารพิษหนักเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่าใครจะเป็นหมอรักษา (ตอนที่ 5) ................. มหากาพย์แร่หายากกำลังเป็นฝีแตกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เพราะทำให้แม่น้ำกก แม่น้ำสาย และจะส่งผลต่อแม่น้ำโขงป่วยหนักขึ้น การบริโภค การใช้แม่น้ำที่มีวิญญาณของความเป็นแม่ ถูกความโลภ อำนาจ เผาผลาญ และเอากากความความโลภทิ้งลงแม่น้ำ แล้วทุนแร่หายากในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งนี้กำลังสร้างตำนานซ้ำซากที่เกิดขึ้นในแอฟริกา เป็นกระบวนการถลุงแร่ธาตุ เพื่อให้เป็นเลือด ................. สัญญาณแรก ประมงจังหวัดเชียงราย แถลงเมื่อ 25 เม.ย.68 ระบุพบปลากลุ่มตัวอย่างพบโลหะหนัก เช่น สารหนูและปรอท ไม่เกินค่ามาตรฐาน ก็อาจจะไม่ให้เราเบาใจและปล่อยปละละเลย และแสดงความกังวลว่าปลาลดน้อยลงมาก เพราะแม่น้ำเสื่อมโทรม ตั้งแต่ความตื้นเขิน น้ำมีตะกอนดินทั้งปี สัญญาณที่สอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) ก็หวั่น ๆ ว่า ผลสรุปการตรวจสอบคุณภาพตะกอนดินในแหล่งน้ำแม่น้ำกก บริเวณ อ.แม่อาย และอ.เมือง จ.เชียงราย พบมาตรฐานคุณภาพตะกอนดินเพื่อปกป้องสัตว์หน้าดิน อาจจะเกิดอันตรายต่อสัตว์หน้าดินที่เป็นอาหารของสัตว์น้ำ เช่น ปลา จะทำให้จำนวนหรือประเภทของสัตว์หน้าดินลดลง ความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศลดลง สัตว์น้ำลดจำนวนลง และชาวบ้านจับสัตว์น้ำได้น้อยลง แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ที่กินสัตว์น้ำ แต่ไม่แน่ว่าหากมีการสะสมในปลา ถ้าชาวบ้านบริโภคปลาเป็นจำนวนมากและเป็นประจำ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เช่น ชาที่ปลายมือปลายเท้า (ไข้ดำ: ผิวหนังหนาและเข้ม) มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ สัญญาณที่สาม 30 เมษายน ผลตรวจสารหนูเบื้องต้นในแม่น้ำ อ.แม่สาย - อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย พบเกินค่ามาตรฐานสูงสุด 19 เท่า มีหมายเหตุ ผลดังกล่าวเป็นเพียงผลการตรวจเบื้องต้นทางทีมวิจัยจะนำตัวอย่างน้ำส่งตรวจใน Lab มาตรฐานต่อไป ................. แรงกระเพื่อมต่อถึงทำเนียบ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุม ติดตามสถานการณ์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานในแม่น้ำกก ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล องค์ประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการต่างประเทศ ในการประชุม กระจายหน้าที่แต่ละกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เร่งสั่งการการประปาส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการใช้น้ำดิบในการผลิตน้ำประปา พร้อมทั้งกำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับข้อมูลสารปนเปื้อนในน้ำ แนวทางการกรองน้ำเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย รวมถึงการเร่งตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่อย่างเข้มข้น ประธานในการประชุมมีข้อสั่งการด้านการแก้ไขปัญหา 6 ประเด็น ดังนี้ 1. มอบหมายกระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติบูรณาการร่วมกัน เร่งประสานประเทศเพื่อนบ้าน ใช้กลไกความร่วมมือทุกระดับเพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก 2. มอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติใช้กลไกลุ่มน้ำโขงเหนือ บริหารจัดการปริมาณน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ เพิ่มน้ำต้นทุนเข้าสู่แม่น้ำกก 3. มอบหมายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใช้นวัตกรรมดาวเทียม และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ช่วยประเมินความขุ่น สารแขวนลอยในแม่น้ำกกทั้งในเขตประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน 4. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนและสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก 5. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนในแม่น้ำกก และลำน้ำสาขา การปนเปื้อนในสัตว์น้ำและการสะสมในร่างกายมนุษย์อย่างต่อเนื่อง 6. มอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรม จัดทำแนวทางการลดผลกระทบจากการทำเหมืองและประสานความร่วมมือในการเผยแพร่ให้ประเทศเพื่อนบ้านผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศ คำถามที่ท้าทาย จะปล่อยให้ภาวะสะสมเกิดกับประชาชนชาวเชียงราย และประชาชนลุ่มน้ำสาย กก โขงแบบนี้เรื่อย ๆ ใช่หรือไม่ ................. เสียงประชาชนต้องดังกว่านี้ เครือข่ายข้อมูลอุทกภัยแม่น้ำกก (ค.อ.ก) ก็ได้จัดเวทีความร่วมมือเตือนภัยน้ำกกหลากท่วมปี 2568 โดยมีนางเตือนใจ ดีเทศน์ หรือ “ครูแดง” ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ พชภ. เป็นประธานการประชุม โดยมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ดำเนินงานในพื้นที่แม่น้ำกก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมแลกเปลี่ยนพร้อมนำเสนอ ถึงนายกรรัฐมนตรี 1.แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษข้ามพรมแดน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน และนักวิชาการ เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งในแหล่งกำเนิดมลพิษ ระหว่างทาง และผู้รับผลพิษ จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคุณภาพน้ำในจังหวัดเชียงราย 2. เปิดเผยและซักซ้อมมาตรการรับมืออุทกภัยลุ่มน้ำกก และลุ่มน้ำสาย อย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม และมีประสิทธิภาพ 3. สร้างความร่วมมือกับประเทศเมียนมา หรือกองกำลังที่ดูแลในพื้นที่ เพื่อเพิ่มจุดเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจสอบแหล่งที่มาของสารปนเปื้อน ตลอดลำน้ำกก น้ำสาย ทั้ง พื้นที่ต้นน้ำ ก่อนเหมืองในรัฐฉาน 4 .สร้างระบบสื่อสารสาธารณะที่โปร่งใส เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน 5. ขยายขอบเขตการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เป็นการลุกล้ำหรือทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดลุ่มน้ำกกและลุ่มน้ำสาย 6. เปิดการเจรจา 4 ฝ่ายคือ ไทย เมียนมา กองกำลังชาติพันธุ์ที่ควบคุมพื้นที่สัมปทานเหมือง และประเทศจีน เพื่อร่วมกันหาทางออกอย่างสร้างสรรค์และรับผิดชอบ สรุปคือการส่งเสียงว่ารัฐบาลจะต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ การทำเหมืองทองต้องกระตุ้นให้หน่วยงานรัฐไปเจรจา ทุกฝ่ายร่วมกัน ทั้งฝ่ายความมั่นคง รัฐบาล สื่อมวลชน ชาวบ้าน ประเทศเพื่อนบ้าน ถ้าระดับประเทศแก้ไม่ได้ก็ต้องเป็นระดับอาเซียน ภูมิภาค หรือระดับนานาชาติร่วมกันแก้ไข ต้องคุยกับรัฐบาลพม่ารวมถึงรัฐบาลจีน เพราะเป็นพื้นที่ของกลุ่มว้า เป็นการเมืองระหว่างประเทศ เปิดพื้นที่ผ่านการเล่าเรื่องของแม่น้ำกกระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับสิทธิของแม่น้ำ และ การเจรจาระหว่างรัฐกับธรรมชาติ ข้ามเขตแดนรัฐและแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (Transboundary Environmental Governance)” ................. ดร.สืบสกุล กิจนุกร อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกล่าวว่า รัฐบาลต้องใช้แนวคิดการทูตสิ่งแวดล้อมสร้างความร่วมมือแก้ปัญหามลพิษข้ามพรมแดนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด นอกจากนี้ต้องเสนอให้เมียนมาเข้าใจด้วยว่า เหมืองแร่อยู่ในเขตควบคุมของกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์ที่การเจรจาสันติภาพในเมียนมา ต้องหยิบยกเอาประเด็นมลพิษข้ามพรมแดนเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้วย น.ส.เพียงพร ดีเทศน์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) และผู้อำนวยการฝ่ายรณรงรงค์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ (International Rivers) กล่าวว่า ทั้งแม่น้ำกกและแม่น้ำสายเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศ โดยมีต้นน้ำอยู่ในเขตรัฐฉาน ประเทศพม่า การสร้างเหมืองทองที่บริเวณต้นน้ำ ทำให้ประชาชนและระบบนิเวศท้ายน้ำซึ่งอยู่ในประเทศไทยได้รับความเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งหาทางยุติการทำเหมืองและเปิดหน้าดินในวงกว้างให้ได้ เพราะนอกจากส่งผลในเรื่องการปนเปื้อนสารโลหะหนักลงแม่น้ำแล้ว ยังส่งผลต่ออุทกภัยที่มีดินโคลนปนมาด้วย กลายเป็นภัยพิบัติร้ายแรงที่คนท้ายน้ำต้องเผชิญและหวาดผวาอยู่ตลอดเวลา ก่อนหน้านี้กระแสกระเพื่อมขึ้นในพื้นที่ที่ดีมาก ที่ทาง พล.ท.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร เลขานุการคณะกรรมการระดับสูงไทย-เมียนมา ร่วมรับฟังปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำกกและแม่น้ำสาย เนื้อหาจึงเจาะประเด็นเชิงความมั่นคงทันทีในมิติของผลกระทบข้ามแดน ตามที่ได้นำเสนอในตอนต้น ๆ เป็นเรื่องของกระบวนการขุมเหมืองแร่สีเลือกเพื่อนำผลประโยชน์มาห่ำหั่นกันทางการเมือง ที่รัฐบาลทหารพม่า อนุญาตให้ทำเหมืองแร่ต่าง ๆ ในรัฐฉาน ส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนจีน แต่ก็มีประเทศออสเตรเลีย รัสเซีย และอิตาลีด้วย เหมืองทั้งหมดอยู่เหนือน้ำกก น้ำสาย น้ำรวก ................. มิติทางแม่น้ำระหว่างประเทศ เป็นวิกฤติมลพิษข้ามแดนที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับฝุ่นควันข้ามแดน ที่มีปลายทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองอยู่เบื้องหลัง ต้องใช้เวลาเกลี่ย ล๊อบบี้ กดดัน การตีโอบ เพื่อกระทบ อันจะให้การกดดันทุน และอำนาจรัฐเข้ามาเร่งรัดจัดการปัญหาข้ามพรมแดนไมว่าจะเป็น การทำระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ต้องเพิ่มต้นทุนก็ต้องทำ กรองน้ำที่มีสารหนูปนเปื้อน การให้ความสำคัญมิติ สาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร การสื่อสาร กับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างสัมพันธ์และความเข้าใจนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และเสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานทุกฝ่ายต่อการโต้ตอบเหตุสารเคมีปนเปื้อน เพื่อสื่อสารและการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารได้รับฟังข้อมูลจากผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลเพื่อนำไปศึกษาการจัดทำรายงานนำเสนอต้นสังกัดและรัฐบาลในการดำเนินการงานร่วมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาต่อไป
    0 Comments 0 Shares 786 Views 0 Reviews
  • ผู้ว่าฯ เชียงรายจ่อใช้ยาแรงแจ้งคนรุกล้ำลำน้ำสายรื้อถอน เปิดทางขุดลอก หลังฝนตกแค่ 69 มม.ทำท่วมป่วนทั้งฝั่งไทย-เมียนมา

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000040217

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ผู้ว่าฯ เชียงรายจ่อใช้ยาแรงแจ้งคนรุกล้ำลำน้ำสายรื้อถอน เปิดทางขุดลอก หลังฝนตกแค่ 69 มม.ทำท่วมป่วนทั้งฝั่งไทย-เมียนมา อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000040217 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Haha
    5
    0 Comments 0 Shares 637 Views 0 Reviews
  • มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพแก่สตรี แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พร้อมมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการด้อยโอกาส มอบจักรยานให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ชนบท และนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี
    .
    วันนี้ (วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก นางชุติมา ตันติศิริวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการ นางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ และ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม มีความรู้ความสามารถ แต่ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ จำนวน 6 ราย พร้อมมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการด้อยโอกาส จำนวน 10 ราย และมอบจักรยาน แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน จำนวน 2 โรงเรียน รวมจำนวน 20 คัน พร้อมกระบอกน้ำขนาด 1 ลิตร รวมมูลค่าการดำเนินการช่วยเหลือชาวชลบุรีในครั้งนี้ทั้งสิ้น 184,072 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยยี่สิบบาทถ้วน) พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้นำทีมหน่วยแพทย์ฯ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น ฯลฯ โดยมี นายพงศ์ธสิษฐ์ ปิจนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นายนัธทวัฒน์ ธนโชติชัยพัชร์ ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี และนางสาวอัญชลี จงคดีกิจ (ปุ๊-อัญชลี) อาสาสมัครศิลปินมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี
    .
    นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรีและครอบครัว มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ แก่ สตรี บุรุษ พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความรู้และความสามารถ ฐานะยากจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ โดยเราได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก
    .
    ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    .
    ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
    .
    ## ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ##
    #แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418 #ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง สร้างอาชีพ สร้างชีวิต มอบอุปกรณ์ประกอบอาชีพแก่สตรี แม่เลี้ยงเดี่ยวหรือด้อยโอกาส ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี พร้อมมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการด้อยโอกาส มอบจักรยานให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ชนบท และนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกบริการประชาชนฟรี . วันนี้ (วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ กรรมการและเหรัญญิก นางชุติมา ตันติศิริวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการ นางสาวดวงชุตา ติยะพจนพรกุล ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายสังคมสงเคราะห์ นางสาวศุภรัตน์ สมบัติเจริญไทย หัวหน้าแผนกส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ และ นางสาวเนาวรัตน์ วรรณศิริ หัวหน้าแผนกหน่วยแพทย์สงเคราะห์ชุมชน นำทีมลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี มอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพให้แก่สตรีที่มีรายได้น้อยมีภาระหน้าที่ดูแลคนในครอบครัว เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือด้อยโอกาสทางสังคม มีความรู้ความสามารถ แต่ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ จำนวน 6 ราย พร้อมมอบรถเข็นวีลแชร์แก่ผู้พิการด้อยโอกาส จำนวน 10 ราย และมอบจักรยาน แก่โรงเรียนชนบทที่ขาดแคลน จำนวน 2 โรงเรียน รวมจำนวน 20 คัน พร้อมกระบอกน้ำขนาด 1 ลิตร รวมมูลค่าการดำเนินการช่วยเหลือชาวชลบุรีในครั้งนี้ทั้งสิ้น 184,072 บาท (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นแปดพันห้าร้อยยี่สิบบาทถ้วน) พร้อมกันนี้ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้นำทีมหน่วยแพทย์ฯ ลงพื้นที่ให้บริการประชาชนฟรี ประกอบด้วย บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป จ่ายยา ตรวจวัดสายตาพร้อมแจกแว่น ฯลฯ โดยมี นายพงศ์ธสิษฐ์ ปิจนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นายนัธทวัฒน์ ธนโชติชัยพัชร์ ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี และนางสาวอัญชลี จงคดีกิจ (ปุ๊-อัญชลี) อาสาสมัครศิลปินมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมในพิธี ณ ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ 36 พรรษา จังหวัดชลบุรี . นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ เปิดเผยว่า โครงการส่งเสริมอาชีพเพื่อสตรีและครอบครัว มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบวัสดุอุปกรณ์ประกอบอาชีพ แก่ สตรี บุรุษ พ่อเลี้ยงเดี่ยว หรือผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ที่มีความรู้และความสามารถ ฐานะยากจน ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพ โดยเราได้รับความร่วมมือจากศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวและสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา ศรีสะเกษ ขอนแก่น ลำพูน ลำปาง เชียงราย และพิษณุโลก . ตลอดระยะเวลากว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต” . ติดตามข่าวสาร และกิจกรรมการช่วยเหลือของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ที่เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung . ## ป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต ## #แอปพลิเคชันป่อเต็กตึ๊ง1418 #ช่วยจริงอุ่นใจแม้ในนาทีฉุกเฉิน
    0 Comments 0 Shares 824 Views 0 Reviews

  • Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4)
    *****************
    เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ
    เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน
    กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ
    ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย
    มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น
    พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น
    *****************
    USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ
    สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู
    ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้
    1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563
    2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566
    3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563
    4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571
    5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold

    *****************
    รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน
    การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ
    ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
    การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น
    *****************
    EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม
    ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA
    *****************
    ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
    พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน
    สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย
    เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้
    *****************
    อ้างอิง :
    • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia
    • World Gold Council https://www.gold.org/
    • EarthRights International
    Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4) ***************** เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น ***************** USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้ 1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563 2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566 3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563 4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571 5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold ***************** รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น ***************** EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA ***************** ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้ ***************** อ้างอิง : • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia • World Gold Council https://www.gold.org/ • EarthRights International
    0 Comments 0 Shares 1104 Views 0 Reviews
  • ปภ. แจ้ง 23 จังหวัด ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ช่วงวันที่ 15 -17 เมษายน 68 เร่งประสานพื้นที่เสี่ยงภัยเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์

    เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 68 เวลา 12.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 15 -17 เมษายน 2568 โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่เสี่ยงและบริเวณที่มีฝนตกสะสม เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้สามารถเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยขึ้น รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์และวิธีการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง

    นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศพบว่าบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น และได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ซึ่งมีพื้นที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ระหว่างวันที่ 15 -17 เมษายน 2568 ดังนี้

    ภาคเหนือ จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่สะเรียง) เชียงใหม่ (อำเภอเมืองเชียงใหม่ จอมทอง เชียงดาว ดอยสะเก็ด ดอยหล่อ พร้าว แม่แจ่ม แม่แตง แม่ริม แม่วาง แม่ออน สันกำแพง สันทราย และอำเภออมก๋อย) เชียงราย (อำเภอเวียงป่าเป้า) ลำพูน (อำเภอเมืองลำพูน บ้านธิ ป่าซาง และอำเภอแม่ทา) ลำปาง (อำเภอเมืองลำปาง งาว แจ้ห่ม เมืองปาน วังเหนือ สบปราบ เสริมงาม และอำเภอห้างฉัตร) พะเยา (อำเภอปง) แพร่ (อำเภอสอง) และจังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง และอำเภออุ้มผาง)

    ภาคกลาง จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี ไทรโยค ทองผาภูมิ บ่อพลอย ศรีสวัสดิ์ สังขละบุรี และอำเภอหนองปรือ) สระบุรี (อำเภอแก่งคอย) ตราด (อําเภอเขาสมิง และอำเภอบ่อไร่) และจังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน)

    ภาคใต้ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอชัยบุรี พนม บ้านตาขุน พระแสง และอำเภอเวียงสระ) นครศรีธรรมราช (อำเภอฉวาง ชะอวด ช้างกลาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งสง ทุ่งใหญ่ และอำเภอนาบอน) พัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน ป่าพะยอม และอำเภอป่าบอน) สงขลา (อำเภอนาทวี คลองหอยโข่ง ควนเนียง รัตภูมิ สะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย) ยะลา (อำเภอเมืองยะลา กรงปินัง เบตง ธารโต บันนังสตา กาบัง ยะหา และอำเภอรามัน) นราธิวาส (อำเภอจะแนะ และอำเภอระแงะ) ระนอง (อำเภอกระบุรี) พังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง คุระบุรี ทับปุด และอำเภอท้ายเหมือง) กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ เขาพนม คลองท่อม ปลายพระยา เหนือคลอง และอำเภออ่าวลึก) ตรัง (อำเภอกันตัง วังวิเศษ สีเกา และอำเภอหัวยอด) และจังหวังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตล ควนกาหลง ควนโดน ท่าแพ ทุ่งหว้า มะนัง และอำเภอละงู)

    กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้งจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัย โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด และจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีคลื่นลมแรง ให้แจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเลและนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำโดยเด็ดขาด พร้อมให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำ แจ้งเตือนการเดินเรือ ให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ให้พิจารณาห้ามเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ให้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ให้พร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดสถานการณ์ขึ้น และให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด

    ท้ายนี้ ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสภาพอากาศ ข้อมูลสถานการณ์ และข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นโดยปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android และทางสื่อสังคมออนไลน์บัญชีทางการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews ทั้งนี้ หากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป

    ได้เลยครับ นี่คือตัวอย่างสรุปข่าวในรูปแบบที่เหมาะสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือใช้ในสคริปต์ข่าวทีวี/ออนไลน์:
    ปภ. แจ้งเตือน 23 จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วม-ดินถล่ม ช่วง 15-17 เม.ย. 68 เร่งเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์
    วันนี้ (15 เม.ย. 2568) เวลา 12.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือน 23 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 15 - 17 เมษายน 2568 พร้อมสั่งการให้พื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ
    พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่
    • ภาคเหนือ: แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ ตาก
    • ภาคกลาง: กาญจนบุรี สระบุรี ตราด เพชรบุรี
    • ภาคใต้: สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
    นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดี ปภ. เปิดเผยว่า จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พบว่า ความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้หลายพื้นที่ยังมีพายุฤดูร้อนและฝนตกหนักต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เช่น น้ำตก ถ้ำ และถ้ำลอด หากพบความเสี่ยงให้สั่งปิดทันที
    พร้อมกันนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย หากพบเหตุหรือได้รับความเดือดร้อน สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่
    • ไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” (Line ID: @1784DDPM)
    • สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง
    • หรือผ่านแอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT


    ปภ. แจ้ง 23 จังหวัด ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ช่วงวันที่ 15 -17 เมษายน 68 เร่งประสานพื้นที่เสี่ยงภัยเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 68 เวลา 12.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 15 -17 เมษายน 2568 โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่เสี่ยงและบริเวณที่มีฝนตกสะสม เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้สามารถเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยขึ้น รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า และประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานการณ์และวิธีการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามการคาดการณ์สภาพอากาศพบว่าบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากสาธารณรัฐประชาชนจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น และได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ซึ่งมีพื้นที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ระหว่างวันที่ 15 -17 เมษายน 2568 ดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่สะเรียง) เชียงใหม่ (อำเภอเมืองเชียงใหม่ จอมทอง เชียงดาว ดอยสะเก็ด ดอยหล่อ พร้าว แม่แจ่ม แม่แตง แม่ริม แม่วาง แม่ออน สันกำแพง สันทราย และอำเภออมก๋อย) เชียงราย (อำเภอเวียงป่าเป้า) ลำพูน (อำเภอเมืองลำพูน บ้านธิ ป่าซาง และอำเภอแม่ทา) ลำปาง (อำเภอเมืองลำปาง งาว แจ้ห่ม เมืองปาน วังเหนือ สบปราบ เสริมงาม และอำเภอห้างฉัตร) พะเยา (อำเภอปง) แพร่ (อำเภอสอง) และจังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง และอำเภออุ้มผาง) ภาคกลาง จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี ไทรโยค ทองผาภูมิ บ่อพลอย ศรีสวัสดิ์ สังขละบุรี และอำเภอหนองปรือ) สระบุรี (อำเภอแก่งคอย) ตราด (อําเภอเขาสมิง และอำเภอบ่อไร่) และจังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน) ภาคใต้ จำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอชัยบุรี พนม บ้านตาขุน พระแสง และอำเภอเวียงสระ) นครศรีธรรมราช (อำเภอฉวาง ชะอวด ช้างกลาง ถ้ำพรรณรา ทุ่งสง ทุ่งใหญ่ และอำเภอนาบอน) พัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ควนขนุน ป่าพะยอม และอำเภอป่าบอน) สงขลา (อำเภอนาทวี คลองหอยโข่ง ควนเนียง รัตภูมิ สะเดา และอำเภอสะบ้าย้อย) ยะลา (อำเภอเมืองยะลา กรงปินัง เบตง ธารโต บันนังสตา กาบัง ยะหา และอำเภอรามัน) นราธิวาส (อำเภอจะแนะ และอำเภอระแงะ) ระนอง (อำเภอกระบุรี) พังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง คุระบุรี ทับปุด และอำเภอท้ายเหมือง) กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ เขาพนม คลองท่อม ปลายพระยา เหนือคลอง และอำเภออ่าวลึก) ตรัง (อำเภอกันตัง วังวิเศษ สีเกา และอำเภอหัวยอด) และจังหวังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตล ควนกาหลง ควนโดน ท่าแพ ทุ่งหว้า มะนัง และอำเภอละงู) กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้งจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนักซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัย โดยกำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตก ถ้ำลอด หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด และจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีคลื่นลมแรง ให้แจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเลและนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำโดยเด็ดขาด พร้อมให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ ตำรวจน้ำ แจ้งเตือนการเดินเรือ ให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ให้พิจารณาห้ามเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด นอกจากนี้ ให้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ให้พร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดสถานการณ์ขึ้น และให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้าเพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด ท้ายนี้ ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสภาพอากาศ ข้อมูลสถานการณ์ และข่าวสารจากทางราชการอย่างต่อเนื่อง และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นโดยปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการอย่างเคร่งครัด โดยสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ IOS และ Android และทางสื่อสังคมออนไลน์บัญชีทางการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย Facebook กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM และ X @DDPMNews ทั้งนี้ หากได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย ประชาชนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือต่อไป ได้เลยครับ นี่คือตัวอย่างสรุปข่าวในรูปแบบที่เหมาะสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือใช้ในสคริปต์ข่าวทีวี/ออนไลน์: ปภ. แจ้งเตือน 23 จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วม-ดินถล่ม ช่วง 15-17 เม.ย. 68 เร่งเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ วันนี้ (15 เม.ย. 2568) เวลา 12.30 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือน 23 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ เฝ้าระวังสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 15 - 17 เมษายน 2568 พร้อมสั่งการให้พื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด และเตรียมพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกล อุปกรณ์ เพื่อสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุ พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ • ภาคเหนือ: แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ ตาก • ภาคกลาง: กาญจนบุรี สระบุรี ตราด เพชรบุรี • ภาคใต้: สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง และสตูล นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดี ปภ. เปิดเผยว่า จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พบว่า ความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้หลายพื้นที่ยังมีพายุฤดูร้อนและฝนตกหนักต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เช่น น้ำตก ถ้ำ และถ้ำลอด หากพบความเสี่ยงให้สั่งปิดทันที พร้อมกันนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัย หากพบเหตุหรือได้รับความเดือดร้อน สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้ที่ • ไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” (Line ID: @1784DDPM) • สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง • หรือผ่านแอปพลิเคชัน THAI DISASTER ALERT
    0 Comments 0 Shares 1118 Views 0 Reviews
  • Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 Comments 0 Shares 1123 Views 0 Reviews
  • Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1
    .
    ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ
    .
    Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร
    .
    หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย”
    .
    เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า
    .
    ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน
    .
    Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน
    .
    ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง
    .
    เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน
    .
    ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ
    .
    ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์
    .
    ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ
    .
    หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ
    .
    จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)
    .
    ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด
    .
    ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์
    .
    ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป
    .
    หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม

    อ้างอิง :
    • มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/
    • วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140
    • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/
    • ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/
    • Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers
    By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
    Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1 . ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ . Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร . หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย” . เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า . ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน . Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน . ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง . เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน . ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ . ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์ . ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ . หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ . จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) . ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด . ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์ . ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป . หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม อ้างอิง : • มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/ • วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140 • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/ • ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/ • Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
    0 Comments 0 Shares 983 Views 0 Reviews
  • 📌แผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 บริเวณประเทศเมียนมา🔸13 เม.ย. 68 เวลา 09.24 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเมะทีลา ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 271 กิโลเมตร 🔸สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ในแนวระนาบเหลื่อมขวา (right-lateral strike-slip fault) 🔸เบื้องต้นประชาชนที่อาศัยอยู่บนอาคารสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เเละเชียงราย สามารถรับรู้ถึงเเรงสั่นสะเทือน ยังไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
    📌แผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 บริเวณประเทศเมียนมา🔸13 เม.ย. 68 เวลา 09.24 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเมะทีลา ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 271 กิโลเมตร 🔸สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ในแนวระนาบเหลื่อมขวา (right-lateral strike-slip fault) 🔸เบื้องต้นประชาชนที่อาศัยอยู่บนอาคารสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เเละเชียงราย สามารถรับรู้ถึงเเรงสั่นสะเทือน ยังไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
    0 Comments 0 Shares 359 Views 0 Reviews
  • 24 ปี ประหารชีวิต ‘สมคิด นามแก้ว’ นักโทษคดียาบ้าคนแรก ที่ถูกประหาร ด้วยการยิงเป้า” เสียงครวญสะท้านใจ “เงินห้าหมื่นแลกกับชีวิต มันไม่คุ้มเลย” แง่คิดที่เตือนให้รู้คุณค่าของชีวิต

    “สมคิด นามแก้ว” นักโทษคดียาบ้า คนแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่ถูกประหารชีวิตเมื่อ 24 ปี ที่ผ่านไป ภายใต้บรรยากาศอันน่าสะเทือนใจ ของการเปลี่ยนแปลงสังคม การปราบปรามยาเสพติด ชีวิตมีค่ามากกว่าเงินทอง และความจำเป็นในการต่อต้านอาชญากรรมยาเสพติด อย่างเด็ดขาด

    ในโลกที่ความมีค่าแห่งชีวิต ศีลธรรม ถูกท้าทายด้วยความโลภ และความอยากรวย เรื่องราวของ “สมคิด นามแก้ว” นักโทษคดียาบ้าคนแรกของประเทศไทย ที่ถูกประหารชีวิตเมื่อ 24 ปี ที่ผ่านมานั้น ยังคงสะเทือนใจคนไทยทุกวันนี้ 😢

    ย้อนไปเมื่อ 24 ปี ที่ผ่านมา ในบ่ายวันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2544 ที่แดนประหาร เรือนจำกลางบางขวาง เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศ ต้องจ้องมองและตั้งคำถาม ถึงความหมายของความถูกต้อง และความยุติธรรมในสังคม อย่างลึกซึ้ง

    ยาบ้าและปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดทุกชนิด ต่างก็เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในทุกชั้นสังคม แต่ยาบ้าในสมัยนั้นเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดอาชญากรรมร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่คลุ้มคลั่ง และทำให้ผู้เสพมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตัวเองและสังคมทั่วไป

    นายสมคิด นามแก้ว ได้ถูกจับในคดีมียาเสพติด โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ต้องขนส่งยาบ้าปริมาณมหาศาล ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสืบสวน ที่เชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายค้ายาเสพติด ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ และในขณะที่ระบบการปราบปรามยาเสพติด เริ่มเข้มงวดขึ้น เพื่อยับยั้งอาชญากรรม และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหายาบ้าในสังคม 👮‍♂️

    ประเทศไทยมีกฎหมายที่เข้มงวด เกี่ยวกับคดียาเสพติด โดยหลักฐานและการรับสารภาพ มักนำไปสู่โทษที่ร้ายแรงที่สุดในบางกรณี โดยเฉพาะในคดียาบ้า ที่มักจะมีมาตรการประหารชีวิต สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีจุดประสงค์ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือน ให้กับผู้ที่คิดจะเข้ามามีส่วนร่วมกับการค้า และเสพติดยาเสพติด

    ในคดีของสมคิด ศาลชั้นต้นเห็นว่า ความผิดไม่ได้เกิดจาก ความประมาทเลินเล่อเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการกระทำ ที่บ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม และเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า การกระทำความผิดในฐานะที่เป็น “นักโทษคดียาบ้า” นั้น จะต้องได้รับโทษในระดับสูงสุด ซึ่งก็คือการประหารชีวิต ตามที่ได้เกิดขึ้นจริงในวันนั้น

    ในช่วงเวลานั้น ยาบ้าเป็นที่แพร่หลายในสังคมในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นชั้นคนทำงานข้างนอก หรือแม้แต่ในวงการขบวนการอาชญากรรมขนาดใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของเครือข่ายค้ายาเสพติด ทำให้การปราบปรามเป็นเรื่องท้าทาย และต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยังทำให้เกิดความรู้สึกสับสนในสังคม ที่มองเห็นภาพของความยุติธรรม ที่อาจไม่ชัดเจนในบางครั้ง

    เหตุการณ์ของคดีนี้ เริ่มต้นในกลางดึกวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2540 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับข้อมูล เกี่ยวกับการลำเลียงยาบ้าปริมาณมาก จากพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย เข้าสู่กรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางผ่านทางหลวงหมายเลข 103

    เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง กองบังคับการทางหลวง 5 จังหวัดพะเยา ได้ตั้งด่านสกัด ที่ตู้ยามตำรวจทางหลวงร้องกวาง ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตามข้อมูลที่ได้รับ และมีรถเก๋งโตโยต้า โคโรน่าสีน้ำตาล ทะเบียน 3ว-8505 กทม. วิ่งเข้ามาที่จุดสกัด เมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้รถหยุด เพื่อทำการตรวจค้น

    ในขณะตรวจค้น นายสมคิด ซึ่งในตอนนั้นอายุ 31 ปี พักอาศัยอยู่ที่หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ได้แสดงออกถึงพิรุธ ด้วยการกล่าวว่า “ในรถไม่มีสิ่งผิดกฎหมาย” และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ตนเองเกลียดยาบ้ามากที่สุด” แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำการค้นอย่างละเอียด พบยาบ้าบรรจุในห่อพลาสติก ซุกซ่อนอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในรถ ทั้งที่ประตูรถและใต้เบาะนั่ง พบว่ามียาบ้าปริมาณถึง 203 ห่อ ๆ ละ 2,000 เม็ด รวมเป็นจำนวน 406,000 เม็ด ซึ่งมีสีสันปรากฏเป็นสีส้มและเขียว ประทับตัวอักษรว่า “wy” โดยมูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท จึงติดสินบนตำรวจ 5 ล้านบาท แต่ตำรวจไม่เล่นด้วย🚔

    หลังจากจับกุม ในขั้นตอนการสอบสวน นายสมคิดได้ให้การรับสารภาพว่า ได้รับจ้างขนยาบ้าจากพ่อค้ายาเสพติด ด้วยค่าจ้าง 50,000 บาท เพื่อนำส่งให้ลูกค้าที่ปั๊มน้ำมัน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    เหตุการณ์ที่น่าสลดใจนี้ เผยให้เห็นว่า แม้จะมีกำไรในทางการค้ายาเสพติด แต่ในความเป็นจริงแล้ว “เงินห้าหมื่นแลกกับชีวิต” นั้นไม่คุ้มค่าเลย เพราะชีวิตที่ถูกประหารนั้น เป็นชีวิตที่จบลงไปในพริบตา ไม่มีวันได้กลับคืน หรือแก้ไขได้หลังจากนั้น

    นายสมคิดถูกส่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี ในศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยในชั้นต้นศาลเห็นว่า แม้จะมีการรับสารภาพ แต่การกระทำของนายสมคิดนั้นทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรง ต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงได้พิพากษาให้ลงโทษในระดับสูงสุด นั่นคือโทษประหารชีวิต

    หลังจากคำพิพากษาของศาลชั้นต้น นายสมคิดได้ดำเนินการอุทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา พร้อมทั้งได้ยื่นหนังสือถวายฎีกา ทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543

    นายสมคิดได้ให้เหตุผลว่า “ตนมีการรับสารภาพมาตั้งแต่แรก และไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน” รวมทั้งระบุว่า ตนได้กระทำเ พราะต้องการหาเงินมารักษาพยาบาลพี่สาว ที่ป่วยเป็นโรคสมองฝ่อ เนื่องจากฐานะทางการเงินที่ยากจน แต่ข้ออ้างเหล่านี้ถู กศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปฏิเสธ โดยให้ความสำคัญกับความมั่นคงของประเทศชาติ และความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยกล่าวว่าเรื่องส่วนตัว ไม่สามารถเปรียบเทียบ กับประโยชน์ส่วนรวมของสังคมได้

    ในกระบวนการพิจารณา ศาลได้พิจารณาหลักฐาน และพฤติกรรมของนายสมคิด ที่ชัดเจนว่าเป็นผู้รับจ้างขนยาบ้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้า และการค้ายาเสพติด ที่สร้างความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม การที่นายสมคิดพยายามให้สินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็น ที่เน้นย้ำถึงความจริงที่ว่า ระบบค้ายาเสพติด มีการแทรกซึมลึกในสังคม

    ศาลอุทธรณ์จึงตัดสินยืน ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และเมื่อเรื่องนั้นถูกส่งต่อมายังศาลฎีกา คำพิพากษาก็ยังคงยืนหยัด นำมาซึ่งวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นวันที่ประหารชีวิตเกิดขึ้นจริง

    วันประหารชีวิตของนายสมคิด นามแก้ว ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดความสลดใจ และสะเทือนใจคนไทยอย่างแท้จริง โดยรายละเอียดในวันนั้นถูกบันทึกไว้ในหลาย ๆ ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบันทึกของเจ้าหน้าที่ หรือรายงานของนักข่าว ภาพความทุกข์ และความหวาดกลัวของนักโทษที่ต้องรอประหาร ได้สะท้อนให้เห็นถึงความหนักแน่น ในการปราบปรามยาเสพติดในสมัยนั้น

    ในช่วงบ่ายของวันประหาร ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ต่างเข้ามาจัดเตรียมสิ่งของ ที่จำเป็นสำหรับการประหารชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้ขั้นตอนทั้งหมด เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นความลับ เมื่อถึงเวลาที่นายสมคิด ถูกเบิกตัวออกจากห้องคุม ทุกอย่างดูเหมือนจะเต็มไปด้วยความเงียบสงัด และบรรยากาศที่หนักอึ้ง

    นายสมคิดในวันนั้น แสดงอาการที่ชัดเจนว่า รู้สึกกลัวและทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายที่เริ่มอ่อนแรง และจิตใจที่สั่นคลอน ถึงแม้ว่าในช่วงท้ายของการเดิน จากห้องคุมไปสู่หลักประหาร นายสมคิดยังคงตั้งคำถามกับเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของตนเอง “ผมเป็นคนแรกที่ถูกประหาร เพราะคดียาบ้าใช่ไหมครับ” และยังได้เตือนผู้อื่น เกี่ยวกับการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ที่อาจนำมาซึ่งความทุกข์ และความเสียหายต่อชีวิต 😔

    ระหว่างทาง ในขณะที่นายสมคิดถูกนำไปประหาร มีการสนทนาที่บ่งบอกถึงความทรงจำ และความเจ็บปวดภายในจิตใจของเขา รวมถึงการแฉข้อเท็จจริงของเครือข่ายค้ายาเสพติด ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองในระดับท้องถิ่น “ถ้าจะปราบยาเสพติดให้หมดไปจริงๆ ก็ต้องเอาคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในทุกระดับออกไป” นายสมคิดกล่าว ในช่วงเวลาที่อารมณ์ผ่อนคลายลงเล็กน้อย แต่ก็เต็มไปด้วยความจริงใจ และความรู้สึกที่อยากจะบอกต่อสังคม

    ผู้คุมในวันนั้น ได้พยายามปลอบใจนายสมคิดว่า “อย่างน้อยสมคิดยังได้ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นครั้งสุดท้าย” แม้ว่าจะมองในแง่ของการเป็นบทเตือน สำหรับผู้ที่คิดจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่คำพูดเหล่านี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งของจิตใจ ระหว่างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และความเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ของมนุษย์

    ในห้องประหาร ที่จัดเตรียมขึ้นอย่างเคร่งครัด นายสมคิดถูกนำเข้ามาในห้องที่แสงไฟสลัว ๆ และบรรยากาศเงียบสงัด ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ ทำการเตรียมเครื่องมือ และตรวจสอบความพร้อมในทุกขั้นตอน ก่อนที่หัวหน้าชุดประหารจะโบกธงแดง เพื่อเริ่มกระบวนการประหาร

    ในช่วงเวลานั้น ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ทุกคน ต่างมีความรู้สึกที่ผสมผสานระหว่างหน้าที่ และความสำนึกในความทุกข์ทรมานของนายสมคิด ขณะที่นายสมคิดเอง ก็ได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่ ในการรำลึกถึงชีวิตที่ผ่านมา ทั้งความรัก ความฝัน และความผิดพลาด ที่ไม่อาจย้อนกลับได้อีกต่อไป

    คำบอกลาและพินัยกรรมของนายสมคิด เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงข้อคิดที่ว่า “ชีวิตมนุษย์มีค่า เกินกว่าจะถูกแลกด้วยเงินเพียงเพราะความจน หรือความสิ้นหวัง” เขาได้ฝากท้ายจดหมายถึงญาติพี่น้องว่า “อย่าได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเด็ดขาด” ซึ่งเป็นคำเตือนที่หวังว่า จะช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่น เดินตามรอยเท้าของเขาในอนาคต

    แม้คดีของนายสมคิด นามแก้ว จะเกิดขึ้นเมื่อกว่า 24 ปี ที่ผ่านมา แต่ผลกระทบ และบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์นี้ ยังคงสะท้อนอยู่ในสังคมไทยในหลายมิติ ทั้งในแง่ของการปราบปรามยาเสพติด และการตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตมนุษย์

    คดีนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญให้กับนโยบาย และวิธีการปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับบทเรียนอันทรงคุณค่าจากการจับกุม และการดำเนินคดีที่เป็นแบบอย่าง แม้ว่าจะมีความท้าทาย จากเครือข่ายอาชญากรรมที่ซับซ้อน แต่การดำเนินการที่เข้มแข็ง และเด็ดขาดในคดีนี้ ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่า ไม่มีทางที่ผู้กระทำผิด จะหลุดพ้นไปจากกฎหมาย

    นอกจากนี้ ความเข้มงวดในการลงโทษสูงสุด อย่างการประหารชีวิต ได้เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา ที่ทำให้ผู้ค้ายาเสพติดต้องคิดทบทวนถึงความเสี่ยง และผลที่ตามมา หากตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางอาชญากรรมดังกล่าว

    หนึ่งในแง่คิดที่ทรงพลัง จากเหตุการณ์ของนายสมคิด คือ “ชีวิตมนุษย์มีค่าเกินกว่าจะแลกด้วยเงิน” เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ นายสมคิดได้รับเงินค่าจ้างเ 50,000 บาท เพื่อการขนส่งยาบ้า แต่ท้ายที่สุดค่าใช้จ่ายนั้น กลับสูงกว่ามาก เมื่อชีวิตของเขา ถูกสังหารไปในพริบตา

    เหตุการณ์ครั้งนี้เตือนใจให้กับทุกคนว่า ไม่ว่าเราจะเผชิญกับความยากจน หรือความท้าทายใด ๆ ในชีวิต การก้าวเข้าสู่เส้นทางผิดกฎหมาย ด้วยเงินทองเพียงไม่กี่บาทนั้น ไม่สามารถชดเชยค่าของชีวิต และความมีคุณค่าที่แท้จริงได้

    ในมุมมองของสังคม สิ่งนี้ยังเป็นการเผยให้เห็นถึง ความจำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ในระบบเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม เพื่อให้คนไทยทุกคน มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือ และการสนับสนุนที่เหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องเสี่ยงชีวิต หรือกระทำความผิดเพื่อความอยู่รอด

    นอกจากความเสียหาย ที่เกิดกับตัวนายสมคิดแล้ว คดีนี้ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องของเขาอีกด้วย ภาพของคนในบ้าน ที่ต้องสูญเสียสมาชิกอันมีค่าไป จากการกระทำที่นำไปสู่การประหารชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงความสูญเสีย ทั้งทางด้านอารมณ์ และชื่อเสียงในสังคม

    การที่คนรอบข้าง ต้องเผชิญกับความสลด จากการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวนั้น ทำให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของการมีคุณค่าชีวิต และความจำเป็นในการสนับสนุน และช่วยเหลือกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผ่านนโยบายสังคมที่เข้มแข็ง หรือการให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติด

    ในหลายช่วงของเรื่องราวนี้ อารมณ์และความรู้สึก ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างละเอียด ทั้งความกลัว ความเสียใจ และความหวาดกลัวของนายสมคิด ในนาทีสุดท้าย และความเหงาเศร้าใจของผู้คุมและเจ้าหน้าที่ ที่ต้องเผชิญกับการปฏิบัติหน้าที่หนักอึ้ง เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องหันมาสำรวจ และตั้งคำถามว่า “เราจะทำอะไร เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นอีก?”

    สังคมไทยในปัจจุบัน ยังคงต้องรับมือกับปัญหายาบ้า และปัญหาอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีมาตรการส่งเสริมคุณค่าชีวิต การให้คำปรึกษาด้านจิตใจ และโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิต ให้กับผู้ที่ตกอยู่ในวงจรอาชญากรรมเหล่านั้น โดยที่ไม่ใช่แค่การลงโทษเท่านั้น แต่ยังเป็นการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้น

    เหตุการณ์ของนายสมคิด นามแก้ว ได้เปิดเผยประเด็นสำคัญทางจริยธรรม ที่สังคมไทยต้องเผชิญ โดยเฉพาะในแง่ของการให้คุณค่ากับชีวิตมนุษย์ และการตัดสินใจที่มีผลตามมาตลอดชีพ

    ในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ยังคงมีอยู่ ความจนหรือความจำเป็นบางครั้ง ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกระทำผิด แต่เหตุการณ์ของนายสมคิด สอนเราให้เห็นว่า การกระทำผิดไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ แม้จะมีเหตุผลส่วนตัว ที่น่าสงสารเพียงใดก็ตาม

    “เงินห้าหมื่นแลกกับชีวิต” เป็นวาทะที่ชัดเจนที่เตือนใจว่า ค่าใช้จ่ายในชีวิตนั้น สูงเกินกว่าที่จะวัดด้วยเงินทอง ใครที่ตกอยู่ในภาวะยากจน ควรได้รับความช่วยเหลือจากสังคม มากกว่าที่จะถูกผลัก ให้เข้าสู่เส้นทางที่ไร้ทางออก

    การลงโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด อาจดูเหมือนเป็นการลงโทษที่รุนแรง แต่ในมุมมองของสังคมไทยในขณะนั้นแล้ว ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เครือข่ายค้ายาเสพติด เติบโตและแพร่กระจาย

    อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน ก็มีความถกเถียงกันในหลายมุมมอง เกี่ยวกับความถูกต้องของการลงโทษสูงสุดนี้ ว่าจะสามารถช่วยลดอาชญากรรมในระยะยาว ได้จริงหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงที่เห็นจากคดีของนายสมคิดคือ การลงโทษอย่างเด็ดขาดนั้น เป็นการยืนยันถึงความเข้มงวด ของระบบยุติธรรมในยุคนั้น

    หากเรามองในแง่ของการป้องกัน การลงโทษที่รุนแรง ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการกระทำผิด ได้ในระยะยาว สังคมจำเป็นต้องหันมาสนับสนุนการศึกษา สวัสดิการ และระบบช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ

    ในบทเรียนจากคดีนี้ เราได้รู้ว่าการแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาสังคมในมิติ ที่ลึกกว่าเพียงการลงโทษนั้น สำคัญมาก การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ทุกคน มีโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาตนเอง อาจเป็นกุญแจสำคัญ ในการป้องกันไม่ให้เกิดคดี ที่คล้ายคลึงกันในอนาคต

    เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต 24 ปีที่ผ่านมา คดีของนายสมคิด นามแก้ว ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจให้กับสังคมไทย ถึงความเปราะบางของชีวิตมนุษย์ และความรับผิดชอบ ที่เราต้องมีต่อกันในฐานะสมาชิกของสังคม

    แม้ว่าในนาทีสุดท้ายของชีวิต นายสมคิดจะต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน และความกลัวที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่คำพูดและการกระทำของเขา กลับเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า สำหรับคนไทยทุกคน “อย่าได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด” คือคำเตือนที่เกิดจากความเจ็บปวดส่วนตัว ที่สุดท้ายแล้ว กลับกลายเป็นเสียงเตือนถึงความผิดพลาด ที่อาจส่งผลให้ชีวิตของเรา และคนที่เรารักต้องจบลงในพริบตา

    การประหารชีวิตในคดีนี้ ทำให้เราได้ตระหนักว่า การเลือกทางเดินในชีวิตนั้น สำคัญมากกว่าเงินทอง หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ เพราะเมื่อชีวิตถูกใช้ไปแล้ว เราจะไม่มีทางหวนคืนกลับมาได้อีก 😔

    สังคมไทยในปัจจุบัน ย่อมต้องหันมาสนับสนุนกัน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณค่าแ ละถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติด การสนับสนุนให้ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะยากจน ได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง รวมถึงการส่งเสริมค่านิยมในด้านความซื่อสัตย์ และความมีคุณธรรม

    ในมุมมองนี้ คดีของนายสมคิด ไม่ได้เป็นเพียงคดีของนักโทษ ที่ถูกประหารชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นบทเรียนสำหรับทุกคน ที่ต้องคิดทบทวน ถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ชีวิตมีค่า” เมื่อชีวิตของเราถูกกีดกันด้วยความผิดพลาด ในเส้นทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีสิ่งใดสามารถทดแทนความเสียหาย ที่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง

    เพื่อป้องกันไม่ให้มีคดีที่คล้ายคลึงกัน เกิดขึ้นอีกในอนาคต จำเป็นต้องมีการสร้างระบบ ที่ช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในวงจรอาชญากรรม อย่างครบวงจร ตั้งแต่การศึกษาเรื่องผลกระทบของยาเสพติด การให้คำปรึกษาด้านจิตใจ ไปจนถึงการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ ให้กับกลุ่มคนที่อาจตกเป็นเหยื่อของความยากจน และการล่อลวงของเครือข่ายค้ายาเสพติด

    นอกจากนี้ การให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกในสังคมว่า “การแลกเปลี่ยนชีวิตมนุษย์เพื่อเงิน” นั้นไม่มีค่าเทียบเท่ากับความมีชีวิตอยู่ และความสมบูรณ์ของจิตใจ จะช่วยลดโอกาสให้คนเข้าสู่แนวทางที่ผิด และนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ดีขึ้น อย่างแท้จริง

    เรื่องราวของ “สมคิด นามแก้ว” ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความจริง ที่บางครั้งเราอาจมองข้ามไป ในแง่ของคุณค่าชีวิต และผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการกระทำผิดกฎหมาย 🤔 ชีวิตที่ถูกแลกด้วยเงินเพียงเล็กน้อยนั้นไม่มีค่า เมื่อเทียบกับความรักและความสัมพันธ์ของคนรอบข้า งที่สูญเสียไปไปพร้อมกัน

    ทั้งนี้ คดีนี้เป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า ที่สังคมไทยไม่ควรลืม และเป็นเครื่องเตือนใจว่า แม้จะอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก หรือมีความยากจน แต่ทางออกที่ถูกต้องคือ การมองหาแนวทางช่วยเหลือ และการพัฒนาชีวิตให้ดีกว่าเดิม ไม่ใช่การเลือกเส้นทาง ที่นำพามาซึ่งความผิดพลาด และจุดจบที่น่าเศร้า

    เหตุการณ์ประหารชีวิต “สมคิด นามแก้ว” ในคดีคดียาบ้าคนแรกของประเทศไทย ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจอันทรงคุณค่าให้กับคนไทยในทุกยุคสมัย แม้จะผ่านไปนาน 24 ปี แต่บาดแผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ยังคงปรากฏให้เห็นในแง่มุมของการต่อสู้กับยาเสพติด และการรักษาคุณค่าของชีวิตมนุษย์

    จากคดีนี้เราได้เรียนรู้ว่า "ชีวิตมีค่า" และไม่ควรนำมาแลกเปลี่ยนกับเงินทอง แม้เพียงเล็กน้อย เพราะผลที่ตามมาหลังจากนั้น คือความสูญเสีย ที่ไม่อาจชดเชยได้ทั้งในทางกายและจิตใจ

    สิ่งที่เราได้จากเรื่องราวของสมคิด คือการตระหนักในความสำคัญ ของการเลือกเส้นทางชีวิตที่ถูกต้อง การช่วยเหลือ และสนับสนุนกันในสังคม ในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และความยากจน เราควรเลือกที่จะอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง และมีความหมาย แม้ทางเดินจะยากลำบาก แต่ความมีคุณค่าในชีวิตและความจริงใจ จะนำเราไปสู่อนาคตที่ดีกว่า เส้นทางที่ไม่ต้องแลกเปลี่ยนชีวิตอันมีค่า เพื่อเงินทองที่ว่างเปล่า

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 121635 เม.ย. 2568

    #24ปีประหาร #สมคิดนามแก้ว #นักโทษคดียาบ้า #ปราบยาเสพติด #ชีวิตมีค่า #คดียาบ้า #ยับยั้งอาชญากรรม #สังคมปลอดภัย #อาลัยในชีวิต #ความจริงที่ไม่ควรลืม
    24 ปี ประหารชีวิต ‘สมคิด นามแก้ว’ นักโทษคดียาบ้าคนแรก ที่ถูกประหาร ด้วยการยิงเป้า” เสียงครวญสะท้านใจ “เงินห้าหมื่นแลกกับชีวิต มันไม่คุ้มเลย” แง่คิดที่เตือนให้รู้คุณค่าของชีวิต “สมคิด นามแก้ว” นักโทษคดียาบ้า คนแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่ถูกประหารชีวิตเมื่อ 24 ปี ที่ผ่านไป ภายใต้บรรยากาศอันน่าสะเทือนใจ ของการเปลี่ยนแปลงสังคม การปราบปรามยาเสพติด ชีวิตมีค่ามากกว่าเงินทอง และความจำเป็นในการต่อต้านอาชญากรรมยาเสพติด อย่างเด็ดขาด ในโลกที่ความมีค่าแห่งชีวิต ศีลธรรม ถูกท้าทายด้วยความโลภ และความอยากรวย เรื่องราวของ “สมคิด นามแก้ว” นักโทษคดียาบ้าคนแรกของประเทศไทย ที่ถูกประหารชีวิตเมื่อ 24 ปี ที่ผ่านมานั้น ยังคงสะเทือนใจคนไทยทุกวันนี้ 😢 ย้อนไปเมื่อ 24 ปี ที่ผ่านมา ในบ่ายวันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2544 ที่แดนประหาร เรือนจำกลางบางขวาง เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศ ต้องจ้องมองและตั้งคำถาม ถึงความหมายของความถูกต้อง และความยุติธรรมในสังคม อย่างลึกซึ้ง ยาบ้าและปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติดทุกชนิด ต่างก็เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในทุกชั้นสังคม แต่ยาบ้าในสมัยนั้นเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้เกิดอาชญากรรมร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่คลุ้มคลั่ง และทำให้ผู้เสพมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตัวเองและสังคมทั่วไป นายสมคิด นามแก้ว ได้ถูกจับในคดีมียาเสพติด โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ต้องขนส่งยาบ้าปริมาณมหาศาล ซึ่งสืบเนื่องมาจากการสืบสวน ที่เชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายค้ายาเสพติด ทั้งในประเทศและในต่างประเทศ และในขณะที่ระบบการปราบปรามยาเสพติด เริ่มเข้มงวดขึ้น เพื่อยับยั้งอาชญากรรม และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหายาบ้าในสังคม 👮‍♂️ ประเทศไทยมีกฎหมายที่เข้มงวด เกี่ยวกับคดียาเสพติด โดยหลักฐานและการรับสารภาพ มักนำไปสู่โทษที่ร้ายแรงที่สุดในบางกรณี โดยเฉพาะในคดียาบ้า ที่มักจะมีมาตรการประหารชีวิต สำหรับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมีจุดประสงค์ เพื่อเป็นการส่งสัญญาณเตือน ให้กับผู้ที่คิดจะเข้ามามีส่วนร่วมกับการค้า และเสพติดยาเสพติด ในคดีของสมคิด ศาลชั้นต้นเห็นว่า ความผิดไม่ได้เกิดจาก ความประมาทเลินเล่อเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการกระทำ ที่บ่อนทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม และเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า การกระทำความผิดในฐานะที่เป็น “นักโทษคดียาบ้า” นั้น จะต้องได้รับโทษในระดับสูงสุด ซึ่งก็คือการประหารชีวิต ตามที่ได้เกิดขึ้นจริงในวันนั้น ในช่วงเวลานั้น ยาบ้าเป็นที่แพร่หลายในสังคมในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นชั้นคนทำงานข้างนอก หรือแม้แต่ในวงการขบวนการอาชญากรรมขนาดใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ของเครือข่ายค้ายาเสพติด ทำให้การปราบปรามเป็นเรื่องท้าทาย และต้องใช้ความพยายามอย่างมาก จากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยังทำให้เกิดความรู้สึกสับสนในสังคม ที่มองเห็นภาพของความยุติธรรม ที่อาจไม่ชัดเจนในบางครั้ง เหตุการณ์ของคดีนี้ เริ่มต้นในกลางดึกวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2540 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับข้อมูล เกี่ยวกับการลำเลียงยาบ้าปริมาณมาก จากพื้นที่ชายแดนจังหวัดเชียงราย เข้าสู่กรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางผ่านทางหลวงหมายเลข 103 เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง กองบังคับการทางหลวง 5 จังหวัดพะเยา ได้ตั้งด่านสกัด ที่ตู้ยามตำรวจทางหลวงร้องกวาง ตำบลร้องเข็ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ตามข้อมูลที่ได้รับ และมีรถเก๋งโตโยต้า โคโรน่าสีน้ำตาล ทะเบียน 3ว-8505 กทม. วิ่งเข้ามาที่จุดสกัด เมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้รถหยุด เพื่อทำการตรวจค้น ในขณะตรวจค้น นายสมคิด ซึ่งในตอนนั้นอายุ 31 ปี พักอาศัยอยู่ที่หมู่ที่ 10 ตำบลแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ได้แสดงออกถึงพิรุธ ด้วยการกล่าวว่า “ในรถไม่มีสิ่งผิดกฎหมาย” และยังกล่าวเพิ่มเติมว่า “ตนเองเกลียดยาบ้ามากที่สุด” แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำการค้นอย่างละเอียด พบยาบ้าบรรจุในห่อพลาสติก ซุกซ่อนอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในรถ ทั้งที่ประตูรถและใต้เบาะนั่ง พบว่ามียาบ้าปริมาณถึง 203 ห่อ ๆ ละ 2,000 เม็ด รวมเป็นจำนวน 406,000 เม็ด ซึ่งมีสีสันปรากฏเป็นสีส้มและเขียว ประทับตัวอักษรว่า “wy” โดยมูลค่าประมาณ 40 ล้านบาท จึงติดสินบนตำรวจ 5 ล้านบาท แต่ตำรวจไม่เล่นด้วย🚔 หลังจากจับกุม ในขั้นตอนการสอบสวน นายสมคิดได้ให้การรับสารภาพว่า ได้รับจ้างขนยาบ้าจากพ่อค้ายาเสพติด ด้วยค่าจ้าง 50,000 บาท เพื่อนำส่งให้ลูกค้าที่ปั๊มน้ำมัน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เหตุการณ์ที่น่าสลดใจนี้ เผยให้เห็นว่า แม้จะมีกำไรในทางการค้ายาเสพติด แต่ในความเป็นจริงแล้ว “เงินห้าหมื่นแลกกับชีวิต” นั้นไม่คุ้มค่าเลย เพราะชีวิตที่ถูกประหารนั้น เป็นชีวิตที่จบลงไปในพริบตา ไม่มีวันได้กลับคืน หรือแก้ไขได้หลังจากนั้น นายสมคิดถูกส่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี ในศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยในชั้นต้นศาลเห็นว่า แม้จะมีการรับสารภาพ แต่การกระทำของนายสมคิดนั้นทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรง ต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงได้พิพากษาให้ลงโทษในระดับสูงสุด นั่นคือโทษประหารชีวิต หลังจากคำพิพากษาของศาลชั้นต้น นายสมคิดได้ดำเนินการอุทธรณ์ ต่อศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา พร้อมทั้งได้ยื่นหนังสือถวายฎีกา ทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543 นายสมคิดได้ให้เหตุผลว่า “ตนมีการรับสารภาพมาตั้งแต่แรก และไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน” รวมทั้งระบุว่า ตนได้กระทำเ พราะต้องการหาเงินมารักษาพยาบาลพี่สาว ที่ป่วยเป็นโรคสมองฝ่อ เนื่องจากฐานะทางการเงินที่ยากจน แต่ข้ออ้างเหล่านี้ถู กศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปฏิเสธ โดยให้ความสำคัญกับความมั่นคงของประเทศชาติ และความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยกล่าวว่าเรื่องส่วนตัว ไม่สามารถเปรียบเทียบ กับประโยชน์ส่วนรวมของสังคมได้ ในกระบวนการพิจารณา ศาลได้พิจารณาหลักฐาน และพฤติกรรมของนายสมคิด ที่ชัดเจนว่าเป็นผู้รับจ้างขนยาบ้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการค้า และการค้ายาเสพติด ที่สร้างความไม่สงบเรียบร้อยในสังคม การที่นายสมคิดพยายามให้สินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็น ที่เน้นย้ำถึงความจริงที่ว่า ระบบค้ายาเสพติด มีการแทรกซึมลึกในสังคม ศาลอุทธรณ์จึงตัดสินยืน ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และเมื่อเรื่องนั้นถูกส่งต่อมายังศาลฎีกา คำพิพากษาก็ยังคงยืนหยัด นำมาซึ่งวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2544 เป็นวันที่ประหารชีวิตเกิดขึ้นจริง วันประหารชีวิตของนายสมคิด นามแก้ว ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดความสลดใจ และสะเทือนใจคนไทยอย่างแท้จริง โดยรายละเอียดในวันนั้นถูกบันทึกไว้ในหลาย ๆ ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นบันทึกของเจ้าหน้าที่ หรือรายงานของนักข่าว ภาพความทุกข์ และความหวาดกลัวของนักโทษที่ต้องรอประหาร ได้สะท้อนให้เห็นถึงความหนักแน่น ในการปราบปรามยาเสพติดในสมัยนั้น ในช่วงบ่ายของวันประหาร ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ต่างเข้ามาจัดเตรียมสิ่งของ ที่จำเป็นสำหรับการประหารชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้ขั้นตอนทั้งหมด เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นความลับ เมื่อถึงเวลาที่นายสมคิด ถูกเบิกตัวออกจากห้องคุม ทุกอย่างดูเหมือนจะเต็มไปด้วยความเงียบสงัด และบรรยากาศที่หนักอึ้ง นายสมคิดในวันนั้น แสดงอาการที่ชัดเจนว่า รู้สึกกลัวและทุกข์ทรมาน ทั้งทางร่างกายที่เริ่มอ่อนแรง และจิตใจที่สั่นคลอน ถึงแม้ว่าในช่วงท้ายของการเดิน จากห้องคุมไปสู่หลักประหาร นายสมคิดยังคงตั้งคำถามกับเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับความรู้สึกและความคิดของตนเอง “ผมเป็นคนแรกที่ถูกประหาร เพราะคดียาบ้าใช่ไหมครับ” และยังได้เตือนผู้อื่น เกี่ยวกับการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ที่อาจนำมาซึ่งความทุกข์ และความเสียหายต่อชีวิต 😔 ระหว่างทาง ในขณะที่นายสมคิดถูกนำไปประหาร มีการสนทนาที่บ่งบอกถึงความทรงจำ และความเจ็บปวดภายในจิตใจของเขา รวมถึงการแฉข้อเท็จจริงของเครือข่ายค้ายาเสพติด ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองในระดับท้องถิ่น “ถ้าจะปราบยาเสพติดให้หมดไปจริงๆ ก็ต้องเอาคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ในทุกระดับออกไป” นายสมคิดกล่าว ในช่วงเวลาที่อารมณ์ผ่อนคลายลงเล็กน้อย แต่ก็เต็มไปด้วยความจริงใจ และความรู้สึกที่อยากจะบอกต่อสังคม ผู้คุมในวันนั้น ได้พยายามปลอบใจนายสมคิดว่า “อย่างน้อยสมคิดยังได้ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นครั้งสุดท้าย” แม้ว่าจะมองในแง่ของการเป็นบทเตือน สำหรับผู้ที่คิดจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่คำพูดเหล่านี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งของจิตใจ ระหว่างความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และความเห็นอกเห็นใจในความทุกข์ของมนุษย์ ในห้องประหาร ที่จัดเตรียมขึ้นอย่างเคร่งครัด นายสมคิดถูกนำเข้ามาในห้องที่แสงไฟสลัว ๆ และบรรยากาศเงียบสงัด ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ ทำการเตรียมเครื่องมือ และตรวจสอบความพร้อมในทุกขั้นตอน ก่อนที่หัวหน้าชุดประหารจะโบกธงแดง เพื่อเริ่มกระบวนการประหาร ในช่วงเวลานั้น ผู้คุมและเจ้าหน้าที่ทุกคน ต่างมีความรู้สึกที่ผสมผสานระหว่างหน้าที่ และความสำนึกในความทุกข์ทรมานของนายสมคิด ขณะที่นายสมคิดเอง ก็ได้ใช้เวลาที่เหลืออยู่ ในการรำลึกถึงชีวิตที่ผ่านมา ทั้งความรัก ความฝัน และความผิดพลาด ที่ไม่อาจย้อนกลับได้อีกต่อไป คำบอกลาและพินัยกรรมของนายสมคิด เป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงข้อคิดที่ว่า “ชีวิตมนุษย์มีค่า เกินกว่าจะถูกแลกด้วยเงินเพียงเพราะความจน หรือความสิ้นหวัง” เขาได้ฝากท้ายจดหมายถึงญาติพี่น้องว่า “อย่าได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างเด็ดขาด” ซึ่งเป็นคำเตือนที่หวังว่า จะช่วยป้องกันไม่ให้คนอื่น เดินตามรอยเท้าของเขาในอนาคต แม้คดีของนายสมคิด นามแก้ว จะเกิดขึ้นเมื่อกว่า 24 ปี ที่ผ่านมา แต่ผลกระทบ และบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์นี้ ยังคงสะท้อนอยู่ในสังคมไทยในหลายมิติ ทั้งในแง่ของการปราบปรามยาเสพติด และการตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตมนุษย์ คดีนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญให้กับนโยบาย และวิธีการปราบปรามยาเสพติดในประเทศไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับบทเรียนอันทรงคุณค่าจากการจับกุม และการดำเนินคดีที่เป็นแบบอย่าง แม้ว่าจะมีความท้าทาย จากเครือข่ายอาชญากรรมที่ซับซ้อน แต่การดำเนินการที่เข้มแข็ง และเด็ดขาดในคดีนี้ ได้ส่งสัญญาณชัดเจนว่า ไม่มีทางที่ผู้กระทำผิด จะหลุดพ้นไปจากกฎหมาย นอกจากนี้ ความเข้มงวดในการลงโทษสูงสุด อย่างการประหารชีวิต ได้เป็นเครื่องมือทางจิตวิทยา ที่ทำให้ผู้ค้ายาเสพติดต้องคิดทบทวนถึงความเสี่ยง และผลที่ตามมา หากตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางอาชญากรรมดังกล่าว หนึ่งในแง่คิดที่ทรงพลัง จากเหตุการณ์ของนายสมคิด คือ “ชีวิตมนุษย์มีค่าเกินกว่าจะแลกด้วยเงิน” เมื่อพิจารณาจากเหตุการณ์ นายสมคิดได้รับเงินค่าจ้างเ 50,000 บาท เพื่อการขนส่งยาบ้า แต่ท้ายที่สุดค่าใช้จ่ายนั้น กลับสูงกว่ามาก เมื่อชีวิตของเขา ถูกสังหารไปในพริบตา เหตุการณ์ครั้งนี้เตือนใจให้กับทุกคนว่า ไม่ว่าเราจะเผชิญกับความยากจน หรือความท้าทายใด ๆ ในชีวิต การก้าวเข้าสู่เส้นทางผิดกฎหมาย ด้วยเงินทองเพียงไม่กี่บาทนั้น ไม่สามารถชดเชยค่าของชีวิต และความมีคุณค่าที่แท้จริงได้ ในมุมมองของสังคม สิ่งนี้ยังเป็นการเผยให้เห็นถึง ความจำเป็นในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ในระบบเศรษฐกิจ และสวัสดิการสังคม เพื่อให้คนไทยทุกคน มีโอกาสได้รับความช่วยเหลือ และการสนับสนุนที่เหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องเสี่ยงชีวิต หรือกระทำความผิดเพื่อความอยู่รอด นอกจากความเสียหาย ที่เกิดกับตัวนายสมคิดแล้ว คดีนี้ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัว และญาติพี่น้องของเขาอีกด้วย ภาพของคนในบ้าน ที่ต้องสูญเสียสมาชิกอันมีค่าไป จากการกระทำที่นำไปสู่การประหารชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงความสูญเสีย ทั้งทางด้านอารมณ์ และชื่อเสียงในสังคม การที่คนรอบข้าง ต้องเผชิญกับความสลด จากการสูญเสียสมาชิกในครอบครัวนั้น ทำให้เราได้ตระหนักถึงความสำคัญ ของการมีคุณค่าชีวิต และความจำเป็นในการสนับสนุน และช่วยเหลือกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผ่านนโยบายสังคมที่เข้มแข็ง หรือการให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติด ในหลายช่วงของเรื่องราวนี้ อารมณ์และความรู้สึก ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างละเอียด ทั้งความกลัว ความเสียใจ และความหวาดกลัวของนายสมคิด ในนาทีสุดท้าย และความเหงาเศร้าใจของผู้คุมและเจ้าหน้าที่ ที่ต้องเผชิญกับการปฏิบัติหน้าที่หนักอึ้ง เหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องหันมาสำรวจ และตั้งคำถามว่า “เราจะทำอะไร เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นอีก?” สังคมไทยในปัจจุบัน ยังคงต้องรับมือกับปัญหายาบ้า และปัญหาอาชญากรรมในรูปแบบต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีมาตรการส่งเสริมคุณค่าชีวิต การให้คำปรึกษาด้านจิตใจ และโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิต ให้กับผู้ที่ตกอยู่ในวงจรอาชญากรรมเหล่านั้น โดยที่ไม่ใช่แค่การลงโทษเท่านั้น แต่ยังเป็นการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้น เหตุการณ์ของนายสมคิด นามแก้ว ได้เปิดเผยประเด็นสำคัญทางจริยธรรม ที่สังคมไทยต้องเผชิญ โดยเฉพาะในแง่ของการให้คุณค่ากับชีวิตมนุษย์ และการตัดสินใจที่มีผลตามมาตลอดชีพ ในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ยังคงมีอยู่ ความจนหรือความจำเป็นบางครั้ง ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกระทำผิด แต่เหตุการณ์ของนายสมคิด สอนเราให้เห็นว่า การกระทำผิดไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ แม้จะมีเหตุผลส่วนตัว ที่น่าสงสารเพียงใดก็ตาม “เงินห้าหมื่นแลกกับชีวิต” เป็นวาทะที่ชัดเจนที่เตือนใจว่า ค่าใช้จ่ายในชีวิตนั้น สูงเกินกว่าที่จะวัดด้วยเงินทอง ใครที่ตกอยู่ในภาวะยากจน ควรได้รับความช่วยเหลือจากสังคม มากกว่าที่จะถูกผลัก ให้เข้าสู่เส้นทางที่ไร้ทางออก การลงโทษประหารชีวิตในคดียาเสพติด อาจดูเหมือนเป็นการลงโทษที่รุนแรง แต่ในมุมมองของสังคมไทยในขณะนั้นแล้ว ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัยอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เครือข่ายค้ายาเสพติด เติบโตและแพร่กระจาย อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน ก็มีความถกเถียงกันในหลายมุมมอง เกี่ยวกับความถูกต้องของการลงโทษสูงสุดนี้ ว่าจะสามารถช่วยลดอาชญากรรมในระยะยาว ได้จริงหรือไม่ แต่ข้อเท็จจริงที่เห็นจากคดีของนายสมคิดคือ การลงโทษอย่างเด็ดขาดนั้น เป็นการยืนยันถึงความเข้มงวด ของระบบยุติธรรมในยุคนั้น หากเรามองในแง่ของการป้องกัน การลงโทษที่รุนแรง ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการกระทำผิด ได้ในระยะยาว สังคมจำเป็นต้องหันมาสนับสนุนการศึกษา สวัสดิการ และระบบช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ ในบทเรียนจากคดีนี้ เราได้รู้ว่าการแก้ไขปัญหาความยากจน และปัญหาสังคมในมิติ ที่ลึกกว่าเพียงการลงโทษนั้น สำคัญมาก การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ทุกคน มีโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาตนเอง อาจเป็นกุญแจสำคัญ ในการป้องกันไม่ให้เกิดคดี ที่คล้ายคลึงกันในอนาคต เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต 24 ปีที่ผ่านมา คดีของนายสมคิด นามแก้ว ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจให้กับสังคมไทย ถึงความเปราะบางของชีวิตมนุษย์ และความรับผิดชอบ ที่เราต้องมีต่อกันในฐานะสมาชิกของสังคม แม้ว่าในนาทีสุดท้ายของชีวิต นายสมคิดจะต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมาน และความกลัวที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่คำพูดและการกระทำของเขา กลับเป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า สำหรับคนไทยทุกคน “อย่าได้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด” คือคำเตือนที่เกิดจากความเจ็บปวดส่วนตัว ที่สุดท้ายแล้ว กลับกลายเป็นเสียงเตือนถึงความผิดพลาด ที่อาจส่งผลให้ชีวิตของเรา และคนที่เรารักต้องจบลงในพริบตา การประหารชีวิตในคดีนี้ ทำให้เราได้ตระหนักว่า การเลือกทางเดินในชีวิตนั้น สำคัญมากกว่าเงินทอง หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ เพราะเมื่อชีวิตถูกใช้ไปแล้ว เราจะไม่มีทางหวนคืนกลับมาได้อีก 😔 สังคมไทยในปัจจุบัน ย่อมต้องหันมาสนับสนุนกัน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณค่าแ ละถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ เกี่ยวกับผลกระทบของยาเสพติด การสนับสนุนให้ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะยากจน ได้รับความช่วยเหลืออย่างทั่วถึง รวมถึงการส่งเสริมค่านิยมในด้านความซื่อสัตย์ และความมีคุณธรรม ในมุมมองนี้ คดีของนายสมคิด ไม่ได้เป็นเพียงคดีของนักโทษ ที่ถูกประหารชีวิตเท่านั้น แต่ยังเป็นบทเรียนสำหรับทุกคน ที่ต้องคิดทบทวน ถึงความหมายที่แท้จริงของคำว่า “ชีวิตมีค่า” เมื่อชีวิตของเราถูกกีดกันด้วยความผิดพลาด ในเส้นทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีสิ่งใดสามารถทดแทนความเสียหาย ที่เกิดขึ้นได้ในภายหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้มีคดีที่คล้ายคลึงกัน เกิดขึ้นอีกในอนาคต จำเป็นต้องมีการสร้างระบบ ที่ช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในวงจรอาชญากรรม อย่างครบวงจร ตั้งแต่การศึกษาเรื่องผลกระทบของยาเสพติด การให้คำปรึกษาด้านจิตใจ ไปจนถึงการสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ ให้กับกลุ่มคนที่อาจตกเป็นเหยื่อของความยากจน และการล่อลวงของเครือข่ายค้ายาเสพติด นอกจากนี้ การให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกในสังคมว่า “การแลกเปลี่ยนชีวิตมนุษย์เพื่อเงิน” นั้นไม่มีค่าเทียบเท่ากับความมีชีวิตอยู่ และความสมบูรณ์ของจิตใจ จะช่วยลดโอกาสให้คนเข้าสู่แนวทางที่ผิด และนำไปสู่การพัฒนาสังคมที่ดีขึ้น อย่างแท้จริง เรื่องราวของ “สมคิด นามแก้ว” ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความจริง ที่บางครั้งเราอาจมองข้ามไป ในแง่ของคุณค่าชีวิต และผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการกระทำผิดกฎหมาย 🤔 ชีวิตที่ถูกแลกด้วยเงินเพียงเล็กน้อยนั้นไม่มีค่า เมื่อเทียบกับความรักและความสัมพันธ์ของคนรอบข้า งที่สูญเสียไปไปพร้อมกัน ทั้งนี้ คดีนี้เป็นบทเรียนอันทรงคุณค่า ที่สังคมไทยไม่ควรลืม และเป็นเครื่องเตือนใจว่า แม้จะอยู่ในสภาวะที่ยากลำบาก หรือมีความยากจน แต่ทางออกที่ถูกต้องคือ การมองหาแนวทางช่วยเหลือ และการพัฒนาชีวิตให้ดีกว่าเดิม ไม่ใช่การเลือกเส้นทาง ที่นำพามาซึ่งความผิดพลาด และจุดจบที่น่าเศร้า เหตุการณ์ประหารชีวิต “สมคิด นามแก้ว” ในคดีคดียาบ้าคนแรกของประเทศไทย ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจอันทรงคุณค่าให้กับคนไทยในทุกยุคสมัย แม้จะผ่านไปนาน 24 ปี แต่บาดแผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ยังคงปรากฏให้เห็นในแง่มุมของการต่อสู้กับยาเสพติด และการรักษาคุณค่าของชีวิตมนุษย์ จากคดีนี้เราได้เรียนรู้ว่า "ชีวิตมีค่า" และไม่ควรนำมาแลกเปลี่ยนกับเงินทอง แม้เพียงเล็กน้อย เพราะผลที่ตามมาหลังจากนั้น คือความสูญเสีย ที่ไม่อาจชดเชยได้ทั้งในทางกายและจิตใจ สิ่งที่เราได้จากเรื่องราวของสมคิด คือการตระหนักในความสำคัญ ของการเลือกเส้นทางชีวิตที่ถูกต้อง การช่วยเหลือ และสนับสนุนกันในสังคม ในโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทาย และความยากจน เราควรเลือกที่จะอยู่ในเส้นทางที่ถูกต้อง และมีความหมาย แม้ทางเดินจะยากลำบาก แต่ความมีคุณค่าในชีวิตและความจริงใจ จะนำเราไปสู่อนาคตที่ดีกว่า เส้นทางที่ไม่ต้องแลกเปลี่ยนชีวิตอันมีค่า เพื่อเงินทองที่ว่างเปล่า ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 121635 เม.ย. 2568 #24ปีประหาร #สมคิดนามแก้ว #นักโทษคดียาบ้า #ปราบยาเสพติด #ชีวิตมีค่า #คดียาบ้า #ยับยั้งอาชญากรรม #สังคมปลอดภัย #อาลัยในชีวิต #ความจริงที่ไม่ควรลืม
    0 Comments 0 Shares 1309 Views 0 Reviews
  • เชียงราย – เผยหลังเหมืองทองทุนจีน โผล่ทั้งพื้นที่เมืองยอน เขตอุทธิพลว้าแดง-ตอนเหนือท่าขี้เหล็ก..พบสารหนูปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ทั้งน้ำกก ที่ไหลเข้าไทยทางแม่อาย เชียงใหม่-เชียงแสน เชียงราย / น้ำสาย เส้นกั้นพรมแดนไทย-เมียนมา ด้านแม่สาย

    หลังจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) แจ้งว่าแม่น้ำกกตั้งแต่ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ปนปื้อนสารหนูเกินมาตรฐานโดยที่ อ.แม่อาย สูงถึง 0.026 มิลลิกรัมต่อลิตร และ อ.เมืองเชียงราย 0.012-13 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะที่ค่ามาตรฐานคือไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร

    ล่าสุดที่ว่าการ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีแม่น้ำสายไหลมาจากประเทศเมียนมา ได้เผยแพร่ข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำสาย ว่าการประปาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สาขาเชียงราย ได้เก็บตัวอย่างน้ำสายตั้งแต่ 17 ก.พ.ค ส่งหน่วยงานภายนอกคือบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด วิเคราะห์ทดสอบ ผลออกมาเมื่อวันที่ 9 เม.ย.พบแม่น้ำสายมีสารหนูปนเปื้อนเกินกว่ามาตรฐาน แต่ในการผลิตน้ำประปามีการใช้กระบวนการผลิตกำจัดโลหะหนักทำให้คุณภาพน้ำยังคงได้มาตรฐานสามารถอุปโภคบริโภคได้ตามปกติ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000034555

    #MGROnline #เชียงราย #สารหนูปนเปื้อน
    เชียงราย – เผยหลังเหมืองทองทุนจีน โผล่ทั้งพื้นที่เมืองยอน เขตอุทธิพลว้าแดง-ตอนเหนือท่าขี้เหล็ก..พบสารหนูปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ทั้งน้ำกก ที่ไหลเข้าไทยทางแม่อาย เชียงใหม่-เชียงแสน เชียงราย / น้ำสาย เส้นกั้นพรมแดนไทย-เมียนมา ด้านแม่สาย • หลังจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) แจ้งว่าแม่น้ำกกตั้งแต่ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ปนปื้อนสารหนูเกินมาตรฐานโดยที่ อ.แม่อาย สูงถึง 0.026 มิลลิกรัมต่อลิตร และ อ.เมืองเชียงราย 0.012-13 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะที่ค่ามาตรฐานคือไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร • ล่าสุดที่ว่าการ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีแม่น้ำสายไหลมาจากประเทศเมียนมา ได้เผยแพร่ข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำสาย ว่าการประปาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สาขาเชียงราย ได้เก็บตัวอย่างน้ำสายตั้งแต่ 17 ก.พ.ค ส่งหน่วยงานภายนอกคือบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด วิเคราะห์ทดสอบ ผลออกมาเมื่อวันที่ 9 เม.ย.พบแม่น้ำสายมีสารหนูปนเปื้อนเกินกว่ามาตรฐาน แต่ในการผลิตน้ำประปามีการใช้กระบวนการผลิตกำจัดโลหะหนักทำให้คุณภาพน้ำยังคงได้มาตรฐานสามารถอุปโภคบริโภคได้ตามปกติ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000034555 • #MGROnline #เชียงราย #สารหนูปนเปื้อน
    Sad
    1
    0 Comments 1 Shares 432 Views 0 Reviews
  • ไม่เกิน 2025 น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ(อย่างถาวร)

    ไม่ใช่ท่วมตามฤดูกาลแล้วแห้ง ไม่เหมือน น้ำท่วมที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย และ อ.เมือง อ.สารภี จ.เชียงใหม่

    แต่..เป็น การเพิ่มมวลน้ำทะเล ทำให้มีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่าปกติ รุกล้ำที่ลุ่มทั้งหมดในภาคกลาง 14 จังหวัดได้รับผลกระทบอย่างหนัก..จะจมหายไป ซึ่งเป็นการขยายอาณาเขตของทะเลตามปรับตัวของธรรมชาติ



    อ้างอิง :
    1. Report: Flooded Future: Global vulnerability to sea level rise worse than previously understood
    2. Rising Seas Will Erase More Cities by 2050, New Research Shows
    3. The Projected Economic Impact of Extreme Sea-Level Rise in Seven Asian Cities in 2030
    ไม่เกิน 2025 น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ(อย่างถาวร) ไม่ใช่ท่วมตามฤดูกาลแล้วแห้ง ไม่เหมือน น้ำท่วมที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย และ อ.เมือง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ แต่..เป็น การเพิ่มมวลน้ำทะเล ทำให้มีระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากกว่าปกติ รุกล้ำที่ลุ่มทั้งหมดในภาคกลาง 14 จังหวัดได้รับผลกระทบอย่างหนัก..จะจมหายไป ซึ่งเป็นการขยายอาณาเขตของทะเลตามปรับตัวของธรรมชาติ อ้างอิง : 1. Report: Flooded Future: Global vulnerability to sea level rise worse than previously understood 2. Rising Seas Will Erase More Cities by 2050, New Research Shows 3. The Projected Economic Impact of Extreme Sea-Level Rise in Seven Asian Cities in 2030
    0 Comments 0 Shares 373 Views 0 Reviews
  • สำหรับ 29 โครงการ ที่ DSI เปิดรายชื่อออกมามีดังนี้ คือ1.อาคารพักอาศัยสูง 32 ชั้น ชุมชนดินแดง การเคหะแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 807 ล้านบาท2.ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาพวะผู้สูงอายุแบบครบวงจร โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร วงเงิน 563 ล้านบาท3.เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนอรุณอมรินทร์-บรมราชชนนี-พรานนก การไฟฟ้านครหลวง กรุงเทพมหานคร วงเงิน 1,261 ล้านบาท4.อาคารที่ทำการสถานีตำรวจ สน.สุทธิสาร กรุงเทพมหานคร วงเงิน 139 ล้านบาท5.อาคารบ้านพักส่วนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ลือชา) กรุงเทพมหานคร วงเงิน 231 ล้านบาท6.อาคารที่ทำการศาลแรงงานกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 467 ล้านบาท7.ระบบรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติม ริมคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 541 ล้านบาท8.วางท่อประปาและงานที่เกี่ยวข้อง การประปานครหลวง กรุงเทพมหานคร วงเงิน 347 ล้านบาท9.อาคารที่ทำการศาลแพ่งมีนบุรีและศาลอาญามีนบุรี สำนักงานศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 782 ล้านบาท10.หอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 129 ล้านบาท11.ทาวน์โฮมสองชั้น โครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชนจังหวัดภูเก็ต วงเงิน 343 ล้านบาท12.อาคารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต วงเงิน 210 ล้านบาท13.อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 9 จังหวัดสงขลา วงเงิน 386 ล้านบาท14.อาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุโรงพยาบาลสงขลา วงเงิน 424 ล้านบาท15.อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ท่าอากาศยานนราธิวาส วงเงิน 639 ล้านบาท16.งานเสริมเสถียรภาพและป้องกันน้ำท่วมตามแนวคลองประปาจังหวัดปทุมธานี วงเงิน 194 ล้านบาท17.ระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณโดยรอบสถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานี วงเงิน 372 ล้านบาท18.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) จังหวัดนนทบุรี วงเงิน 716 ล้านบาท19.อาคารคลังพัสดุสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร วงเงิน 146 ล้านบาท20.อาคารกองบังคับการ กรมพลาธิการทหารเรือ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 179 ล้านบาท21.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) กรุงเทพมหานคร วงเงิน 2,136 ล้านบาท22.อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างของโรงเรียนวัดอัมรินทราราม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 160 ล้านบาท23.อาคารสถาบันวิชาการ (PEA ACADEMY) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครปฐม วงเงิน 606 ล้านบาท24.อาคารหอพักบุคลากรกางการแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย วงเงิน468 ล้านบาท25.ศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ วงเงิน 540 ล้านบาท26.การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) วงเงิน 608 ล้านบาท27.แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี วงเงิน 10.7 ล้านบาท28.แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี วงเงิน 9.9 ล้านบาท29.รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 9,348 ล้านบาท
    สำหรับ 29 โครงการ ที่ DSI เปิดรายชื่อออกมามีดังนี้ คือ1.อาคารพักอาศัยสูง 32 ชั้น ชุมชนดินแดง การเคหะแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 807 ล้านบาท2.ศูนย์เรียนรู้และพัฒนาสุขภาพวะผู้สูงอายุแบบครบวงจร โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร วงเงิน 563 ล้านบาท3.เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนอรุณอมรินทร์-บรมราชชนนี-พรานนก การไฟฟ้านครหลวง กรุงเทพมหานคร วงเงิน 1,261 ล้านบาท4.อาคารที่ทำการสถานีตำรวจ สน.สุทธิสาร กรุงเทพมหานคร วงเงิน 139 ล้านบาท5.อาคารบ้านพักส่วนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ลือชา) กรุงเทพมหานคร วงเงิน 231 ล้านบาท6.อาคารที่ทำการศาลแรงงานกลาง สำนักงานศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 467 ล้านบาท7.ระบบรวบรวมน้ำเสียเพิ่มเติม ริมคลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 541 ล้านบาท8.วางท่อประปาและงานที่เกี่ยวข้อง การประปานครหลวง กรุงเทพมหานคร วงเงิน 347 ล้านบาท9.อาคารที่ทำการศาลแพ่งมีนบุรีและศาลอาญามีนบุรี สำนักงานศาลยุติธรรม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 782 ล้านบาท10.หอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต วงเงิน 129 ล้านบาท11.ทาวน์โฮมสองชั้น โครงการเคหะชุมชนและบริการชุมชนจังหวัดภูเก็ต วงเงิน 343 ล้านบาท12.อาคารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดภูเก็ต วงเงิน 210 ล้านบาท13.อาคารชุดพักอาศัยข้าราชการตุลาการศาลอุทธรณ์ภาค 9 จังหวัดสงขลา วงเงิน 386 ล้านบาท14.อาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุโรงพยาบาลสงขลา วงเงิน 424 ล้านบาท15.อาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ท่าอากาศยานนราธิวาส วงเงิน 639 ล้านบาท16.งานเสริมเสถียรภาพและป้องกันน้ำท่วมตามแนวคลองประปาจังหวัดปทุมธานี วงเงิน 194 ล้านบาท17.ระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณโดยรอบสถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานี วงเงิน 372 ล้านบาท18.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) จังหวัดนนทบุรี วงเงิน 716 ล้านบาท19.อาคารคลังพัสดุสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร วงเงิน 146 ล้านบาท20.อาคารกองบังคับการ กรมพลาธิการทหารเรือ กรุงเทพมหานคร วงเงิน 179 ล้านบาท21.สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (แห่งใหม่) กรุงเทพมหานคร วงเงิน 2,136 ล้านบาท22.อาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างของโรงเรียนวัดอัมรินทราราม กรุงเทพมหานคร วงเงิน 160 ล้านบาท23.อาคารสถาบันวิชาการ (PEA ACADEMY) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดนครปฐม วงเงิน 606 ล้านบาท24.อาคารหอพักบุคลากรกางการแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย วงเงิน468 ล้านบาท25.ศูนย์ราชการจังหวัดแพร่ วงเงิน 540 ล้านบาท26.การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) วงเงิน 608 ล้านบาท27.แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี วงเงิน 10.7 ล้านบาท28.แขวงทางหลวงชนบทสุพรรณบุรี วงเงิน 9.9 ล้านบาท29.รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 9,348 ล้านบาท
    Angry
    1
    1 Comments 1 Shares 832 Views 0 Reviews
  • คุ๊กกี้มะพร้าวจากเชียงรายนะ
    ถวายพระ2กล่อง20ชิ้น สาธุ
    คุ๊กกี้มะพร้าวจากเชียงรายนะ ถวายพระ2กล่อง20ชิ้น สาธุ
    0 Comments 0 Shares 101 Views 0 Reviews
  • เมียนม่าระทึก! แผ่นดินไหวซ้ำ ขนาด 5.9 เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน โดยรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้
    https://www.thai-tai.tv/news/17937/
    เมียนม่าระทึก! แผ่นดินไหวซ้ำ ขนาด 5.9 เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน โดยรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้ https://www.thai-tai.tv/news/17937/
    0 Comments 0 Shares 171 Views 0 Reviews
  • คืบหน้ารอยเลื่อนสะกายเขย่า แผ่นดินไหวในเมียนมาครั้งใหญ่..แรงสั่นสะเทือนทำคานคอนกรีตทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่กำลังก่อสร้างถึงกับถล่ม ทับรถยนต์พังเสียหายหลายคัน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000029595
    คืบหน้ารอยเลื่อนสะกายเขย่า แผ่นดินไหวในเมียนมาครั้งใหญ่..แรงสั่นสะเทือนทำคานคอนกรีตทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ที่กำลังก่อสร้างถึงกับถล่ม ทับรถยนต์พังเสียหายหลายคัน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000029595
    Like
    Sad
    4
    0 Comments 0 Shares 680 Views 0 Reviews
  • เชียงราย - ตม.แม่สายเผยยังไร้วี่แววหนุ่มสิงคโปร์ ผู้ต้องสงสัยฆ่าสาวขอนแก่นคาคอนโดฯ หรูสุขุมวิท ก่อนขึ้นเชียงราย บอกด่านฯ แม่สายอนุญาตแค่คนไทย-เมียนมา เข้า-ออกช่องทางธรรมชาติ มีทหาร-จนท.เฝ้า หนียาก

    วันนี้ (27 มี.ค.) กรณีเกิดเหตุฆาตกรรม น.ส.พราวพิลาศ หญิงสาวชาวขอนแก่น อายุ 30 ปี ภายในคอนโดมิเนียมที่หรูหราย่านสุขุมวิท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา และทางตำรวจนครบาลได้ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดพบคนใกล้ชิดชื่อนายเดเนียล ชาวสิงคโปร์ เดินออกจากคอนโดมิเนียมด้วยทาทางเร่งรีบ ต่อมาตำรวจนครบาลระบุว่าผู้ต้องสงสัยมีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน จ.เชียงราย

    ล่าสุดที่จุดผ่านแดนถาวร อ.แม่สาย ตรงสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 ยังคงมีการเดินทางเข้าออกพรมแดนโดยเป็นชาวไทยและเมียนมา ขณะที่ทางด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จ.เชียงราย ได้อำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกและตรวจสอบเอกสารบุคคลต่างๆ เพื่อตรวจสอบไม่ให้มีบุคคลต้องห้ามอย่างเข้มงวด ทั้งนี้จนถึงช่วงบ่ายวันที่ 27 ม.ค.ยังไม่พบตัวนายเดเนียลแต่อย่างใด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000029151

    #MGROnline #เชียงราย
    เชียงราย - ตม.แม่สายเผยยังไร้วี่แววหนุ่มสิงคโปร์ ผู้ต้องสงสัยฆ่าสาวขอนแก่นคาคอนโดฯ หรูสุขุมวิท ก่อนขึ้นเชียงราย บอกด่านฯ แม่สายอนุญาตแค่คนไทย-เมียนมา เข้า-ออกช่องทางธรรมชาติ มีทหาร-จนท.เฝ้า หนียาก • วันนี้ (27 มี.ค.) กรณีเกิดเหตุฆาตกรรม น.ส.พราวพิลาศ หญิงสาวชาวขอนแก่น อายุ 30 ปี ภายในคอนโดมิเนียมที่หรูหราย่านสุขุมวิท กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา และทางตำรวจนครบาลได้ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดพบคนใกล้ชิดชื่อนายเดเนียล ชาวสิงคโปร์ เดินออกจากคอนโดมิเนียมด้วยทาทางเร่งรีบ ต่อมาตำรวจนครบาลระบุว่าผู้ต้องสงสัยมีการเคลื่อนไหวอยู่ที่ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน จ.เชียงราย • ล่าสุดที่จุดผ่านแดนถาวร อ.แม่สาย ตรงสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 ยังคงมีการเดินทางเข้าออกพรมแดนโดยเป็นชาวไทยและเมียนมา ขณะที่ทางด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) จ.เชียงราย ได้อำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกและตรวจสอบเอกสารบุคคลต่างๆ เพื่อตรวจสอบไม่ให้มีบุคคลต้องห้ามอย่างเข้มงวด ทั้งนี้จนถึงช่วงบ่ายวันที่ 27 ม.ค.ยังไม่พบตัวนายเดเนียลแต่อย่างใด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000029151 • #MGROnline #เชียงราย
    0 Comments 0 Shares 495 Views 0 Reviews
  • “รองนพศิลป์” ติดตามความคืบหน้า การเสียชีวิตของสาวในคอนโดหรู เร่งล่าสุดแฟนหนุ่มต้องสงสัย หลังพบว่าขับรถมุ่งหน้าไปชายแดนเชียงราย

    เมื่อเวลา 11.50 น. วันที่ 27 มี.ค. ที่ สน.ทองหล่อ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผบช.น.พร้อมด้วย พล.ต.ต. โชติวัฒน์ เหลืองวิลัย ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.รัฐธนนท์ เอกฐิติกุลพัทธ์ ผกก.สน.ทองหล่อ เดินทางมาติดตามความคืบหน้าคดีพบศพ นางสาวพราวพิลาศ (สงวนนามสกุล) อายุ 30 ปี ชาว จ.ขอนแก่นเสียชีวิตภายในคอนโดมิเนียมหรูย่านสุขุมวิท ที่ สน.ทองหล่อ และพบว่าผู้ต้องสงสัยคือ นายเดเนียล (สงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี ชาวสิงคโปร์ แฟนหนุ่ม

    พล.ต.ต.นพศิลป์ กล่าวว่า เมื่อวานช่วงประมาณ 18.00 น. สน. ทองหล่อได้รับแจ้งจากเพื่อนของผู้เสียชีวิต บอกว่าไม่สามารถติดต่อเพื่อนได้ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา จากนั้นก็มาแจ้งความและไปที่พักที่คอนโด เพื่อขอความร่วมมือจากทางนิติบุคคล ขึ้นไปตรวจสอบที่ห้องชั้น 22 ปรากฏว่าห้องยังเปิดแอร์ ประตูไม่ได้ล็อก เมื่อเข้าไปภายในห้องไปเจอกับผู้เสียชีวิต นอนอยู่ในห้องน้ำ ลักษณะถูกนำเอาผ้าสีฟ้าและสีขาวคลุมไว้ และพบกองเลือดในห้องน้ำ จึงได้แจ้งให้กับตำรวจนิติเวช และพนักงานสอบสวนตรวจสอบซึ่งเพื่อยืนยันว่า ผู้ตายเป็นเพื่อนของผู้เสียชีวิตจริง ๆ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000029145

    #MGROnline #สนทองหล่อ #ผู้เสียชีวิต #ทรัพย์สินแบรนด์เนม

    “รองนพศิลป์” ติดตามความคืบหน้า การเสียชีวิตของสาวในคอนโดหรู เร่งล่าสุดแฟนหนุ่มต้องสงสัย หลังพบว่าขับรถมุ่งหน้าไปชายแดนเชียงราย • เมื่อเวลา 11.50 น. วันที่ 27 มี.ค. ที่ สน.ทองหล่อ พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รองผบช.น.พร้อมด้วย พล.ต.ต. โชติวัฒน์ เหลืองวิลัย ผบก.สส.บช.น. พ.ต.อ.รัฐธนนท์ เอกฐิติกุลพัทธ์ ผกก.สน.ทองหล่อ เดินทางมาติดตามความคืบหน้าคดีพบศพ นางสาวพราวพิลาศ (สงวนนามสกุล) อายุ 30 ปี ชาว จ.ขอนแก่นเสียชีวิตภายในคอนโดมิเนียมหรูย่านสุขุมวิท ที่ สน.ทองหล่อ และพบว่าผู้ต้องสงสัยคือ นายเดเนียล (สงวนนามสกุล) อายุ 32 ปี ชาวสิงคโปร์ แฟนหนุ่ม • พล.ต.ต.นพศิลป์ กล่าวว่า เมื่อวานช่วงประมาณ 18.00 น. สน. ทองหล่อได้รับแจ้งจากเพื่อนของผู้เสียชีวิต บอกว่าไม่สามารถติดต่อเพื่อนได้ ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา จากนั้นก็มาแจ้งความและไปที่พักที่คอนโด เพื่อขอความร่วมมือจากทางนิติบุคคล ขึ้นไปตรวจสอบที่ห้องชั้น 22 ปรากฏว่าห้องยังเปิดแอร์ ประตูไม่ได้ล็อก เมื่อเข้าไปภายในห้องไปเจอกับผู้เสียชีวิต นอนอยู่ในห้องน้ำ ลักษณะถูกนำเอาผ้าสีฟ้าและสีขาวคลุมไว้ และพบกองเลือดในห้องน้ำ จึงได้แจ้งให้กับตำรวจนิติเวช และพนักงานสอบสวนตรวจสอบซึ่งเพื่อยืนยันว่า ผู้ตายเป็นเพื่อนของผู้เสียชีวิตจริง ๆ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000029145 • #MGROnline #สนทองหล่อ #ผู้เสียชีวิต #ทรัพย์สินแบรนด์เนม
    0 Comments 0 Shares 498 Views 0 Reviews
  • FD เพิ่มเที่ยวบินสุวรรณภูมิ ส่งรูทเชียงใหม่ชิงไทเป-ซัปโปโร

    ช่วงนี้สายการบินไทยแอร์เอเชีย (FD) ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV มีความเคลื่อนไหวหลายอย่าง เริ่มจากการสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส A321neo จำนวน 6 ลำ โดยเครื่องบินใหม่ลำแรกทะเบียน HS-EAU จากโรงงานแอร์บัสที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี มาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองเมื่อเวลา 05.44 น. วันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา นำมาให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มี.ค.เที่ยวบิน FD3437 ดอนเมือง-เชียงใหม่ ส่วนที่เหลืออีก 5 ลำจะทยอยส่งมอบต่อไป ซึ่งจะทำให้ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินรวมกัน 66 ลำ

    อย่างต่อมา คือ การเพิ่มเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากท่าอากาศยานดอนเมืองซึ่งเป็นฮับของไทยแอร์เอเชีย ตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ชูจุดขายบินในประเทศเลือกได้ 2 สนามบิน นอกจากเส้นทางยอดนิยมอย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และหาดใหญ่แล้ว เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมาได้เพิ่มเส้นทางขอนแก่น และอุดรธานี ล่าสุดประกาศว่าได้เพิ่มเส้นทางสุราษฎร์ธานี นราธิวาส และบุรีรีมย์ (ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์) ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป รวมเส้นทางจากสุวรณภูมิทั้งสิ้น 9 เส้นทาง ขณะเดียวกัน AAV มีแผนที่จะเพิ่มเส้นทางไปพิษณุโลก อุบลราชธานี นครพนม ลำปาง และการกลับมาของเชียงราย

    ก่อนหน้านี้การบินไทยยกเลิกเส้นทางสุวรรณภูมิ-นราธิวาส เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2567 ทำให้ท่าอากาศยานนราธิวาส มีเพียงเที่ยวบินไทยแอร์เอเชีย ดอนเมือง-นราธิวาสเพียงวันละ 1-2 เที่ยวบิน ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกแก่ผู้โดยสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2564 ไทยแอร์เอเชียเคยบินตรงสุวรรณภูมิไปน่านและนครศรีธรรมราช แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

    อีกด้านหนึ่ง คือ การเปิดเส้นทางใหม่ เชียงใหม่-ไทเป-ซัปโปโร ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยใช้สิทธิทางการบินที่ 5 (Fifth Freedom) ต่อจากดอนเมือง-ไทเป-โอกินาว่า และดอนเมือง-เกาสง-โตเกียว (นาริตะ) เชื่อมระหว่างประเทศไทย ไปยังไต้หวันและญี่ปุ่น เจาะตลาดนักท่องเที่ยวไต้หวันไปญี่ปุ่น ซึ่งต้องแข่งขันกับคู่แข่งอีก 5 ราย ได้แก่ สกู๊ตที่ใช้สิทธิในเส้นทางสิงคโปร์-ไทเป-ซัปโปโร ไทเกอร์แอร์ อีวีเอแอร์ ไชน่าแอร์ไลน์ และสตาร์ลักซ์แอร์ไลน์ที่บินตรง ส่วนชาวไทยจากเชียงใหม่ไปซัปโปโรได้โดยไม่ต้องไปต่อเครื่องที่ดอนเมือง

    นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มบริการเที่ยวบินพร้อมรถรับส่ง พัทยา-อินเดีย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป โดยจุดจอดท่าอากาศยานดอนเมืองอยู่ที่อาคาร Service Hall และพัทยารถจอดที่ห้างเซ็นทรัลพัทยา ชั้น 1 ประตู 5 ข้างซอยพัทยา 9

    #Newskit
    FD เพิ่มเที่ยวบินสุวรรณภูมิ ส่งรูทเชียงใหม่ชิงไทเป-ซัปโปโร ช่วงนี้สายการบินไทยแอร์เอเชีย (FD) ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV มีความเคลื่อนไหวหลายอย่าง เริ่มจากการสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส A321neo จำนวน 6 ลำ โดยเครื่องบินใหม่ลำแรกทะเบียน HS-EAU จากโรงงานแอร์บัสที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี มาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองเมื่อเวลา 05.44 น. วันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมา นำมาให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มี.ค.เที่ยวบิน FD3437 ดอนเมือง-เชียงใหม่ ส่วนที่เหลืออีก 5 ลำจะทยอยส่งมอบต่อไป ซึ่งจะทำให้ไทยแอร์เอเชียมีฝูงบินรวมกัน 66 ลำ อย่างต่อมา คือ การเพิ่มเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากท่าอากาศยานดอนเมืองซึ่งเป็นฮับของไทยแอร์เอเชีย ตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด-19 ชูจุดขายบินในประเทศเลือกได้ 2 สนามบิน นอกจากเส้นทางยอดนิยมอย่างเชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และหาดใหญ่แล้ว เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมาได้เพิ่มเส้นทางขอนแก่น และอุดรธานี ล่าสุดประกาศว่าได้เพิ่มเส้นทางสุราษฎร์ธานี นราธิวาส และบุรีรีมย์ (ทุกวันอังคาร พฤหัสบดี และเสาร์) ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป รวมเส้นทางจากสุวรณภูมิทั้งสิ้น 9 เส้นทาง ขณะเดียวกัน AAV มีแผนที่จะเพิ่มเส้นทางไปพิษณุโลก อุบลราชธานี นครพนม ลำปาง และการกลับมาของเชียงราย ก่อนหน้านี้การบินไทยยกเลิกเส้นทางสุวรรณภูมิ-นราธิวาส เมื่อวันที่ 30 มี.ค.2567 ทำให้ท่าอากาศยานนราธิวาส มีเพียงเที่ยวบินไทยแอร์เอเชีย ดอนเมือง-นราธิวาสเพียงวันละ 1-2 เที่ยวบิน ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกแก่ผู้โดยสารในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2564 ไทยแอร์เอเชียเคยบินตรงสุวรรณภูมิไปน่านและนครศรีธรรมราช แต่ไม่ประสบความสำเร็จ อีกด้านหนึ่ง คือ การเปิดเส้นทางใหม่ เชียงใหม่-ไทเป-ซัปโปโร ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.เป็นต้นไป โดยใช้สิทธิทางการบินที่ 5 (Fifth Freedom) ต่อจากดอนเมือง-ไทเป-โอกินาว่า และดอนเมือง-เกาสง-โตเกียว (นาริตะ) เชื่อมระหว่างประเทศไทย ไปยังไต้หวันและญี่ปุ่น เจาะตลาดนักท่องเที่ยวไต้หวันไปญี่ปุ่น ซึ่งต้องแข่งขันกับคู่แข่งอีก 5 ราย ได้แก่ สกู๊ตที่ใช้สิทธิในเส้นทางสิงคโปร์-ไทเป-ซัปโปโร ไทเกอร์แอร์ อีวีเอแอร์ ไชน่าแอร์ไลน์ และสตาร์ลักซ์แอร์ไลน์ที่บินตรง ส่วนชาวไทยจากเชียงใหม่ไปซัปโปโรได้โดยไม่ต้องไปต่อเครื่องที่ดอนเมือง นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มบริการเที่ยวบินพร้อมรถรับส่ง พัทยา-อินเดีย ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป โดยจุดจอดท่าอากาศยานดอนเมืองอยู่ที่อาคาร Service Hall และพัทยารถจอดที่ห้างเซ็นทรัลพัทยา ชั้น 1 ประตู 5 ข้างซอยพัทยา 9 #Newskit
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 1124 Views 0 Reviews
  • การเดินทางของ "พระแก้วมรกต"

    เชียงราย ประดิษฐานถึงปี พ.ศ. 1990 (ไม่ปรากฏปีสร้าง)
    ลำปาง พ.ศ.1990-2022 ระยะเวลา 32 ปี
    เชียงใหม่ พ.ศ.2022-2091 ระยะเวลา 69 ปี
    หลวงพระบาง พ.ศ.2091-2103 ระยะเวลา 12 ปี
    เวียงจันทร์ พ.ศ.2103-2322 ระยะวลา 219 ปี
    ธนบุรี พ.ศ.2322-2325 ระยะเวลา 3 ปี
    รัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-ปัจจุบัน ระยะเวลา 243 ปี

    เมื่อวานนี้ 14 มีนาคม 2568 พระแก้วมรกตเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ได้มีโอกาสอ่านการเดินทางของพระแก้ว ที่ทางเพจโบราณนานมา เรียบเรียงไว้ เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอเอามาโพสต์ให้อ่านกัน

    ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา
    การเดินทางของ "พระแก้วมรกต" เชียงราย ประดิษฐานถึงปี พ.ศ. 1990 (ไม่ปรากฏปีสร้าง) ลำปาง พ.ศ.1990-2022 ระยะเวลา 32 ปี เชียงใหม่ พ.ศ.2022-2091 ระยะเวลา 69 ปี หลวงพระบาง พ.ศ.2091-2103 ระยะเวลา 12 ปี เวียงจันทร์ พ.ศ.2103-2322 ระยะวลา 219 ปี ธนบุรี พ.ศ.2322-2325 ระยะเวลา 3 ปี รัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325-ปัจจุบัน ระยะเวลา 243 ปี เมื่อวานนี้ 14 มีนาคม 2568 พระแก้วมรกตเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน ได้มีโอกาสอ่านการเดินทางของพระแก้ว ที่ทางเพจโบราณนานมา เรียบเรียงไว้ เห็นว่าน่าสนใจ จึงขอเอามาโพสต์ให้อ่านกัน ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เพจโบราณนานมา
    0 Comments 0 Shares 336 Views 0 Reviews
More Results