สายสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน สองราชวงศ์เชื่อมใจประชาชน

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ระหว่างวันที่ 25-28 เม.ย. 2568 ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน นับเป็นการกระชับมิตรภาพและความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างราชอาณาจักรทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากการมีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสอง รวมทั้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ

พระราชกรณียกิจที่น่าสนใจ อาทิ ทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้แก่ โครงการฝึกอบรมเกียลซุง (Gyalsung National Service) ให้เยาวชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปี เข้าร่วมการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีทักษะประจำตัวในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ โครงการจิตอาสาเดซุง (De-suung) เพื่อส่งเสริมให้ชาวภูฏานมีบทบาทในการสร้างชาติและพัฒนาประเทศ มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม ความสมานฉันท์ สามารถทำงานเป็นทีมและมีระเบียบวินัย

การเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดอร์เดนมา เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล โดยคณะสงฆ์ฝ่ายภูฏานและคณะสงฆ์ไทย ฝ่ายละ 74 รูป การเสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการหลวงเดเชนโชลิง ทอดพระเนตรนิทรรศการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงของไทย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภูฏาน ทอดพระเนตรโครงการเดชุง และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

การเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังลิงคานา เพื่อทอดพระเนตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภูฏาน การยิงธนู และกีฬาพื้นบ้าน ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมผ้าและสิ่งทอของราชอาณาจักรภูฏาน การเสด็จพระราชดำเนินไปยังตลาดกลางประจำกรุงทิมพู ทอดพระเนตรโครงการพัฒนาทักษะอาสาสมัครในโครงการเดซุง ทอดพระเนตรร้านค้าจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร การเสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมดุงการ์ ทรงสักการะพระศากยมุนี ทอดพระเนตรกิจกรรมของราชวิทยาลัย และโครงการพัฒนาเมืองเกเลฟู ให้เป็นเมืองแห่งสติปัญญาในเขตปกครองพิเศษ

นับเป็นพระราชไมตรีส่วนพระองค์ ที่มีค่านิยมร่วมกันในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและศรัทธา​ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการน้อมนำหลักการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ที่มุ่งเน้นความสุขของประชาชนมากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ

#Newskit
สายสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน สองราชวงศ์เชื่อมใจประชาชน การเสด็จพระราชดำเนินเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ระหว่างวันที่ 25-28 เม.ย. 2568 ตามคำทูลเชิญของสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก แห่งภูฏาน นับเป็นการกระชับมิตรภาพและความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างราชอาณาจักรทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จากการมีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกันในความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนาและสายสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ทั้งสอง รวมทั้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ พระราชกรณียกิจที่น่าสนใจ อาทิ ทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏาน เพื่อพัฒนาศักยภาพเยาวชน ได้แก่ โครงการฝึกอบรมเกียลซุง (Gyalsung National Service) ให้เยาวชนทุกคนที่มีอายุ 18 ปี เข้าร่วมการฝึกอบรมระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และมีทักษะประจำตัวในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ โครงการจิตอาสาเดซุง (De-suung) เพื่อส่งเสริมให้ชาวภูฏานมีบทบาทในการสร้างชาติและพัฒนาประเทศ มีจิตอาสาทำงานเพื่อสังคมและส่วนรวม ความสมานฉันท์ สามารถทำงานเป็นทีมและมีระเบียบวินัย การเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดอร์เดนมา เพื่อร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล โดยคณะสงฆ์ฝ่ายภูฏานและคณะสงฆ์ไทย ฝ่ายละ 74 รูป การเสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการหลวงเดเชนโชลิง ทอดพระเนตรนิทรรศการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงของไทย กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภูฏาน ทอดพระเนตรโครงการเดชุง และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระราชวังลิงคานา เพื่อทอดพระเนตรการแสดงศิลปวัฒนธรรมของภูฏาน การยิงธนู และกีฬาพื้นบ้าน ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมผ้าและสิ่งทอของราชอาณาจักรภูฏาน การเสด็จพระราชดำเนินไปยังตลาดกลางประจำกรุงทิมพู ทอดพระเนตรโครงการพัฒนาทักษะอาสาสมัครในโครงการเดซุง ทอดพระเนตรร้านค้าจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร การเสด็จพระราชดำเนินไปยังป้อมดุงการ์ ทรงสักการะพระศากยมุนี ทอดพระเนตรกิจกรรมของราชวิทยาลัย และโครงการพัฒนาเมืองเกเลฟู ให้เป็นเมืองแห่งสติปัญญาในเขตปกครองพิเศษ นับเป็นพระราชไมตรีส่วนพระองค์ ที่มีค่านิยมร่วมกันในการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล บนพื้นฐานของวัฒนธรรมและศรัทธา​ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะการน้อมนำหลักการของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ตามนโยบายความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness) ที่มุ่งเน้นความสุขของประชาชนมากกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจ #Newskit
Love
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 46 มุมมอง 0 รีวิว