• 33 ปี สิ้น “หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง” พระเถราจารย์แห่งอุบลราชธานี ผู้สร้างวัดสาขาต่างประเทศมากมาย

    ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และทั่วโลกต้องเศร้าโศก เมื่อหลวงปู่ชา สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พระเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพรัก ทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้ละสังขารอย่างสงบ หลังจากอาพาธ มายาวนาน

    หลวงปู่ชาไม่เพียงเป็น ผู้นำทางจิตวิญญาณ แต่ยังเป็นบุคคลสำคัญ ที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปสู่ชาวต่างชาติ ผ่านการปฏิบัติธรรม และการสร้างวัดสาขามากมาย ทั้งในและนอกประเทศไทย แม้ว่าท่านจะพูดได้เพียงภาษาไทย แต่ด้วยคำสอน และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย กลับสร้างแรงศรัทธา ให้แก่คนทั่วโลก

    วัยเยาว์หลวงปู่
    หลวงปู่ชา สุภัทโท เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ตามปฏิทินจันทรคติ ที่บ้านก่อ (เดิมชื่อบ้านก้นถ้วย) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดามารดาของท่านคือนายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ หลวงปู่ชาเป็นบุตรคนที่ 5 จากพี่น้องทั้งหมด 10 คน

    เริ่มต้นชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์
    เมื่อหลวงปู่ชามีอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาที่วัดบ้านก่อนอก ร่วมกับเพื่อนๆ หลายคน แต่ไม่นานท่านก็ลาสิกขาออกมา เพื่อช่วยครอบครัว อย่างไรก็ตาม ความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ได้ผลักดันให้ท่าน หันกลับมาสู่เส้นทางธรรมอีกครั้ง

    เมื่ออายุครบ 21 ปี หลังทราบว่า ไม่ติดทหารเกณฑ์ หลวงปู่ชาจึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "สุภัทโท" ซึ่งแปลว่า "ผู้เจริญด้วยดี"

    ธุดงค์พบทางธรรม
    หลวงปู่ชาได้ออกเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ผู้มีความรู้ทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ โดยเดินทางไกล ผ่านหลายจังหวัดของประเทศไทย รวมถึงการไปศึกษาธรรมกับ "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ สายวิปัสสนากรรมฐาน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น

    หลวงปู่ชาเล่าถึงความประทับใจ เมื่อได้พบหลวงปู่มั่นว่า การได้ฟังธรรมะจากท่าน ทำให้จิตใจของหลวงปู่ชา สงบลึกในทันที และทำให้เกิดความมั่นใจ ในแนวทางการปฏิบัติธรรม

    ตั้งวัดหนองป่าพง
    หลังจากธุดงค์ ยาวนานกว่า 8 ปี ในที่สุดหลวงปู่ชา ได้กลับมาที่บ้านเกิด และก่อตั้งวัดหนองป่าพง ขึ้นในปี พ.ศ. 2497 โดยพื้นที่ดั้งเดิมของวัด เป็นป่าอันเงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงปู่ชาใช้วิถีชีวิตเรียบง่าย และเน้นการปฏิบัติ เพื่อสร้างแบบอย่างให้ศิษย์เห็น

    วัดหนองป่าพง เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ในหมู่คนไทย แต่ยังรวมถึงชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาศึกษาธรรม กับหลวงปู่ชา

    เผยแผ่พุทธศาสนาไปต่างประเทศ
    หนึ่งในสิ่งที่น่าทึ่งที่สุด เกี่ยวกับหลวงปู่ชา คือความสามารถ ในการถ่ายทอดธรรมะ ให้แก่ชาวต่างชาติ แม้ว่าท่าน จะไม่ได้พูดภาษาอังกฤษก็ตาม ท่านสอนด้วยการกระทำเป็นหลัก โดยมักกล่าวว่า

    “น้ำร้อนก็มี น้ำฮ้อนก็มี ฮอตวอเตอร์ก็มี มันเป็นแต่ชื่อหรอก ถ้าเอามือจุ่มลงไป ก็ไม่ต้องใช้ภาษาหรอก คนชาติไหนก็รู้ได้เอง”

    วัดหนองป่าพง และวัดสาขาของหลวงปู่ชา กลายเป็นจุดหมายของชาวต่างชาติ ที่สนใจปฏิบัติธรรม ปัจจุบันวัดหนองป่าพง มีวัดสาขาทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศรวมกว่า 141 แห่ง โดยแบ่งเป็น 133 สาขา ในประเทศไทย และ 8 สาขา ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และสวิตเซอร์แลนด์

    คำสอนเรียบง่ายลึกซึ้ง
    คำสอนของหลวงปู่ชา เน้นไปที่การปฏิบัติจริง ในชีวิตประจำวัน ท่านสอนให้ศิษย์รักษาศีล เจริญสมาธิ และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาในชีวิต โดยหลวงปู่ชาเคยกล่าวไว้ว่า

    “พึงทำตน ให้ตั้งอยู่ในคุณธรรม อันสมควรเสียก่อน จึงค่อยสอนผู้อื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตทราม”

    ท่านยังเน้นย้ำว่า การปฏิบัติธรรมจะสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากการรักษาศีล เพราะศีลจะนำไปสู่สมาธิ และสมาธิจะนำไปสู่ปัญญา ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ ต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

    บั้นปลายชีวิต
    ในปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่ชาเริ่มอาพาธ และแม้ว่าท่าน จะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ และเผยแผ่ธรรมะจนถึงที่สุด

    หลวงปู่ชาได้ละสังขารเมื่อ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ณ วัดหนองป่าพง โดยทิ้งมรดกทางธรรม และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย ให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วโลก

    33 ปี หลังการละสังขารของหลวงปู่ชา คำสอนและวัตรปฏิบัติของท่าน ยังคงมีชีวิตอยู่ในใจ ของศิษยานุศิษย์ และผู้ปฏิบัติธรรมทั่วโลก วัดหนองป่าพง ยังคงเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนา และแหล่งเผยแผ่ธรรมะ ที่ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่ขยายไปสู่ชาวต่างชาติ

    หลวงปู่ชาเป็นตัวอย่าง ของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และยึดมั่นในคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างแท้จริง

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161017 ม.ค. 2568

    #หลวงปู่ชา #วัดหนองป่าพง #ธรรมะ #พระป่ากรรมฐาน #ปฏิบัติธรรม #ศาสนาพุทธ #คำสอนหลวงปู่ชา #พระพุทธศาสนา #ธรรมะอินเตอร์ #วัดสาขาต่างประเทศ
    33 ปี สิ้น “หลวงปู่ชา วัดหนองป่าพง” พระเถราจารย์แห่งอุบลราชธานี ผู้สร้างวัดสาขาต่างประเทศมากมาย ย้อนไปเมื่อ 33 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และทั่วโลกต้องเศร้าโศก เมื่อหลวงปู่ชา สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พระเถราจารย์ผู้เป็นที่เคารพรัก ทั้งในไทยและต่างประเทศ ได้ละสังขารอย่างสงบ หลังจากอาพาธ มายาวนาน หลวงปู่ชาไม่เพียงเป็น ผู้นำทางจิตวิญญาณ แต่ยังเป็นบุคคลสำคัญ ที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปสู่ชาวต่างชาติ ผ่านการปฏิบัติธรรม และการสร้างวัดสาขามากมาย ทั้งในและนอกประเทศไทย แม้ว่าท่านจะพูดได้เพียงภาษาไทย แต่ด้วยคำสอน และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย กลับสร้างแรงศรัทธา ให้แก่คนทั่วโลก วัยเยาว์หลวงปู่ หลวงปู่ชา สุภัทโท เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับวันแรม 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ตามปฏิทินจันทรคติ ที่บ้านก่อ (เดิมชื่อบ้านก้นถ้วย) อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดามารดาของท่านคือนายมา และนางพิมพ์ ช่วงโชติ หลวงปู่ชาเป็นบุตรคนที่ 5 จากพี่น้องทั้งหมด 10 คน เริ่มต้นชีวิตในร่มกาสาวพัสตร์ เมื่อหลวงปู่ชามีอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาที่วัดบ้านก่อนอก ร่วมกับเพื่อนๆ หลายคน แต่ไม่นานท่านก็ลาสิกขาออกมา เพื่อช่วยครอบครัว อย่างไรก็ตาม ความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส ได้ผลักดันให้ท่าน หันกลับมาสู่เส้นทางธรรมอีกครั้ง เมื่ออายุครบ 21 ปี หลังทราบว่า ไม่ติดทหารเกณฑ์ หลวงปู่ชาจึงได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 ณ วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ โดยมี พระครูอินทรสารคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า "สุภัทโท" ซึ่งแปลว่า "ผู้เจริญด้วยดี" ธุดงค์พบทางธรรม หลวงปู่ชาได้ออกเดินธุดงค์ เพื่อแสวงหาครูบาอาจารย์ ผู้มีความรู้ทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ โดยเดินทางไกล ผ่านหลายจังหวัดของประเทศไทย รวมถึงการไปศึกษาธรรมกับ "หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต" ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์ สายวิปัสสนากรรมฐาน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้น หลวงปู่ชาเล่าถึงความประทับใจ เมื่อได้พบหลวงปู่มั่นว่า การได้ฟังธรรมะจากท่าน ทำให้จิตใจของหลวงปู่ชา สงบลึกในทันที และทำให้เกิดความมั่นใจ ในแนวทางการปฏิบัติธรรม ตั้งวัดหนองป่าพง หลังจากธุดงค์ ยาวนานกว่า 8 ปี ในที่สุดหลวงปู่ชา ได้กลับมาที่บ้านเกิด และก่อตั้งวัดหนองป่าพง ขึ้นในปี พ.ศ. 2497 โดยพื้นที่ดั้งเดิมของวัด เป็นป่าอันเงียบสงบ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม หลวงปู่ชาใช้วิถีชีวิตเรียบง่าย และเน้นการปฏิบัติ เพื่อสร้างแบบอย่างให้ศิษย์เห็น วัดหนองป่าพง เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่ในหมู่คนไทย แต่ยังรวมถึงชาวต่างชาติ ที่เดินทางมาศึกษาธรรม กับหลวงปู่ชา เผยแผ่พุทธศาสนาไปต่างประเทศ หนึ่งในสิ่งที่น่าทึ่งที่สุด เกี่ยวกับหลวงปู่ชา คือความสามารถ ในการถ่ายทอดธรรมะ ให้แก่ชาวต่างชาติ แม้ว่าท่าน จะไม่ได้พูดภาษาอังกฤษก็ตาม ท่านสอนด้วยการกระทำเป็นหลัก โดยมักกล่าวว่า “น้ำร้อนก็มี น้ำฮ้อนก็มี ฮอตวอเตอร์ก็มี มันเป็นแต่ชื่อหรอก ถ้าเอามือจุ่มลงไป ก็ไม่ต้องใช้ภาษาหรอก คนชาติไหนก็รู้ได้เอง” วัดหนองป่าพง และวัดสาขาของหลวงปู่ชา กลายเป็นจุดหมายของชาวต่างชาติ ที่สนใจปฏิบัติธรรม ปัจจุบันวัดหนองป่าพง มีวัดสาขาทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศรวมกว่า 141 แห่ง โดยแบ่งเป็น 133 สาขา ในประเทศไทย และ 8 สาขา ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และสวิตเซอร์แลนด์ คำสอนเรียบง่ายลึกซึ้ง คำสอนของหลวงปู่ชา เน้นไปที่การปฏิบัติจริง ในชีวิตประจำวัน ท่านสอนให้ศิษย์รักษาศีล เจริญสมาธิ และใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาในชีวิต โดยหลวงปู่ชาเคยกล่าวไว้ว่า “พึงทำตน ให้ตั้งอยู่ในคุณธรรม อันสมควรเสียก่อน จึงค่อยสอนผู้อื่นทีหลัง จึงจักไม่เป็นบัณฑิตทราม” ท่านยังเน้นย้ำว่า การปฏิบัติธรรมจะสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากการรักษาศีล เพราะศีลจะนำไปสู่สมาธิ และสมาธิจะนำไปสู่ปัญญา ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ ต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน บั้นปลายชีวิต ในปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่ชาเริ่มอาพาธ และแม้ว่าท่าน จะมีอาการทรุดหนักลงเรื่อยๆ แต่ท่านก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ และเผยแผ่ธรรมะจนถึงที่สุด หลวงปู่ชาได้ละสังขารเมื่อ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ณ วัดหนองป่าพง โดยทิ้งมรดกทางธรรม และวัตรปฏิบัติอันเรียบง่าย ให้แก่ศิษยานุศิษย์ทั่วโลก 33 ปี หลังการละสังขารของหลวงปู่ชา คำสอนและวัตรปฏิบัติของท่าน ยังคงมีชีวิตอยู่ในใจ ของศิษยานุศิษย์ และผู้ปฏิบัติธรรมทั่วโลก วัดหนองป่าพง ยังคงเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนา และแหล่งเผยแผ่ธรรมะ ที่ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย แต่ขยายไปสู่ชาวต่างชาติ หลวงปู่ชาเป็นตัวอย่าง ของพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และยึดมั่นในคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างแท้จริง ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161017 ม.ค. 2568 #หลวงปู่ชา #วัดหนองป่าพง #ธรรมะ #พระป่ากรรมฐาน #ปฏิบัติธรรม #ศาสนาพุทธ #คำสอนหลวงปู่ชา #พระพุทธศาสนา #ธรรมะอินเตอร์ #วัดสาขาต่างประเทศ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 111 มุมมอง 0 รีวิว
  • 29 ปี สิ้น “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เจ้าแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร พระมหาเถราจารย์ สายวิปัสสนานครลำปาง

    ย้อนไปเมื่อ 29 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ถือเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก พระมหาเถราจารย์ ผู้เป็นที่เคารพรัก ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง สิริอายุ 83 ปี หลังจากที่พักรักษาอาการอาพาธ มาเป็นเวลานาน การจากไปของท่าน ไม่เพียงแต่สร้างความเศร้าโศก ให้กับชาวจังหวัดลำปางเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือน ต่อผู้เคารพศรัทธา ทั่วประเทศไทย

    ต้นกำเนิดหลวงพ่อเกษม
    "หลวงพ่อเกษม เขมโก" หรือชื่อเดิม "เจ้าเกษม ณ ลำปาง" เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 ท่านเป็นบุตรของ เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น "มณีอรุณ") ผู้รับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านาย ในราชวงศ์ทิพย์จักร โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก ยังเป็นราชปนัดดา (หลานเหลน) ของ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย

    บรรพชาในวัยเยาว์
    ในวัยเด็ก หลวงพ่อเกษม เขมโก ถูกเล่าขานว่า เป็นเด็กที่ซุกซนแต่ฉลาดเฉลียว มีครั้งหนึ่ง ท่านเคยปีนต้นฝรั่ง แล้วพลัดตก จนเกิดแผลเป็นที่ศีรษะ ซึ่งกลายเป็น เครื่องหมายแห่งความทรงจำ ในวัยเยาว์ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ที่วัดป่าดั๊ว เพื่อบวชหน้าไฟเจ้าอาวาส ที่มรณภาพ หลังจากนั้น 7 วันจึงลาสิกขา ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ท่านบรรพชาอีกครั้ง และจำวัด ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ในช่วงเวลานี้ ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม อย่างจริงจัง และสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ในปี พ.ศ. 2474

    อุปสมบท
    ในปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ท่านอายุ 20 ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญวาทย์วิหาร โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร และอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม”

    หลังอุปสมบท ท่านเริ่มศึกษาภาษาบาลี ที่วัดศรีล้อม และต่อมาย้ายไปศึกษาในแผนกนักธรรม ที่วัดเชียงราย ท่านสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. 2479 พร้อมความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการเขียน และแปลภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง ถึงแม้ว่า ท่านจะไม่สอบ เอาวุฒิทางวิชาการสูง ๆ ก็ตาม เนื่องจากเป้าหมายของท่าน คือการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อนำไปปฏิบัติ

    วิถีแห่งวิปัสสนา
    หลังจากสำเร็จการศึกษา ด้านปริยัติธรรม หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้แสวงหาครูบาอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญในสายวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งท่านได้พบกับ "ครูบาแก่น สุมโน" พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเริ่มออกธุดงค์ไปยังป่าลึก เพื่อแสวงหาความวิเวก และปฏิบัติธรรม ในสถานที่สงบเงียบ

    ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ท่านมีความเคร่งครัด ในธุดงควัตร (ข้อปฏิบัติสำหรับพระธุดงค์) โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ การฝึกสมาธิ และการเจริญวิปัสสนาของท่าน เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

    พระสายวิปัสสนาธุระแห่งลำปาง
    ในช่วงชีวิตที่เหลือ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้ตัดสินใจปลีกวิเวก และปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ท่านใช้ชีวิตเรียบง่ายในสถานที่แห่งนี้ โดยไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือยศศักดิ์ใด ๆ แม้กระทั่งตำแหน่ง เจ้าอาวาสที่วัดบุญยืน ซึ่งท่านได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ได้ลาออก เพื่อมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของท่านเอง

    ศรัทธาประชาชน
    ด้วยความสมถะ และการปฏิบัติที่เคร่งครัด "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้รับความเคารพนับถือ จากประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยเสด็จ ไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม ด้วยพระองค์เอง

    ละสังขารปาฏิหาริย์สรีระ
    หลวงพ่อเกษม เขมโก ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ณ โรงพยาบาลลำปาง สร้างความอาลัยอย่างยิ่ง ให้กับสานุศิษย์ทั่วประเทศ สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ สรีระของหลวงพ่อเกษม ไม่เน่าเปื่อย และยังคงสภาพสมบูรณ์ ทำให้ผู้ที่เคารพศรัทธา ยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระของท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์ จนถึงปัจจุบัน

    ปณิธานแห่งความเรียบง่าย
    คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก เน้นความเรียบง่ายในชีวิต และการยึดมั่นในธรรมะ ท่านสอนให้พุทธศาสนิกชน ละความยึดติดกับวัตถุ และกิเลส รวมถึงการเจริญวิปัสสนา เพื่อความสงบสุข และหลุดพ้น

    มรดกธรรมที่ยังคงอยู่
    แม้จะผ่านมา 29 ปีแล้ว หลังการละสังขารของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แต่ความศรัทธา และคำสอนของท่าน ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นสมบัติล้ำค่า ของพระพุทธศาสนาไทย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 150927 ม.ค. 2568

    #หลวงพ่อเกษมเขมโก #พระเกจิอาจารย์ #สายวิปัสสนา #ศรัทธา #ปาฏิหาริย์ #ลำปาง #พระมหาเถราจารย์ #ธรรมะ #พุทธศาสนาไทย #ประวัติศาสตร์
    29 ปี สิ้น “หลวงพ่อเกษม เขมโก” เจ้าแห่งราชวงศ์ทิพย์จักร พระมหาเถราจารย์ สายวิปัสสนานครลำปาง ย้อนไปเมื่อ 29 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ถือเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนไทย ต้องประสบกับความสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อหลวงพ่อเกษม เขมโก พระมหาเถราจารย์ ผู้เป็นที่เคารพรัก ได้ละสังขารลงอย่างสงบ ณ ห้องไอซียู โรงพยาบาลลำปาง สิริอายุ 83 ปี หลังจากที่พักรักษาอาการอาพาธ มาเป็นเวลานาน การจากไปของท่าน ไม่เพียงแต่สร้างความเศร้าโศก ให้กับชาวจังหวัดลำปางเท่านั้น แต่ยังส่งผลสะเทือน ต่อผู้เคารพศรัทธา ทั่วประเทศไทย ต้นกำเนิดหลวงพ่อเกษม "หลวงพ่อเกษม เขมโก" หรือชื่อเดิม "เจ้าเกษม ณ ลำปาง" เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ. 131 ท่านเป็นบุตรของ เจ้าน้อยหนู ณ ลำปาง (ซึ่งภายหลังเปลี่ยนนามสกุลเป็น "มณีอรุณ") ผู้รับราชการตำแหน่งปลัดอำเภอ และเจ้าแม่บัวจ้อน ณ ลำปาง ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านาย ในราชวงศ์ทิพย์จักร โดยหลวงพ่อเกษม เขมโก ยังเป็นราชปนัดดา (หลานเหลน) ของ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าหลวงผู้ครองนครลำปาง องค์สุดท้าย บรรพชาในวัยเยาว์ ในวัยเด็ก หลวงพ่อเกษม เขมโก ถูกเล่าขานว่า เป็นเด็กที่ซุกซนแต่ฉลาดเฉลียว มีครั้งหนึ่ง ท่านเคยปีนต้นฝรั่ง แล้วพลัดตก จนเกิดแผลเป็นที่ศีรษะ ซึ่งกลายเป็น เครื่องหมายแห่งความทรงจำ ในวัยเยาว์ เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรครั้งแรก ที่วัดป่าดั๊ว เพื่อบวชหน้าไฟเจ้าอาวาส ที่มรณภาพ หลังจากนั้น 7 วันจึงลาสิกขา ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ท่านบรรพชาอีกครั้ง และจำวัด ที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ในช่วงเวลานี้ ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม อย่างจริงจัง และสามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ ในปี พ.ศ. 2474 อุปสมบท ในปี พ.ศ. 2475 ขณะที่ท่านอายุ 20 ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบุญวาทย์วิหาร โดยมี พระธรรมจินดานายก (ฝ่าย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร และอดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้รับฉายาว่า “เขมโก” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้มีธรรมอันเกษม” หลังอุปสมบท ท่านเริ่มศึกษาภาษาบาลี ที่วัดศรีล้อม และต่อมาย้ายไปศึกษาในแผนกนักธรรม ที่วัดเชียงราย ท่านสามารถสอบได้ นักธรรมชั้นเอก ในปี พ.ศ. 2479 พร้อมความรู้เชี่ยวชาญ ด้านการเขียน และแปลภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง ถึงแม้ว่า ท่านจะไม่สอบ เอาวุฒิทางวิชาการสูง ๆ ก็ตาม เนื่องจากเป้าหมายของท่าน คือการศึกษาค้นคว้าธรรมะ เพื่อนำไปปฏิบัติ วิถีแห่งวิปัสสนา หลังจากสำเร็จการศึกษา ด้านปริยัติธรรม หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้แสวงหาครูบาอาจารย์ ที่เชี่ยวชาญในสายวิปัสสนาธุระ จนกระทั่งท่านได้พบกับ "ครูบาแก่น สุมโน" พระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเริ่มออกธุดงค์ไปยังป่าลึก เพื่อแสวงหาความวิเวก และปฏิบัติธรรม ในสถานที่สงบเงียบ ในระหว่างการปฏิบัติธรรม ท่านมีความเคร่งครัด ในธุดงควัตร (ข้อปฏิบัติสำหรับพระธุดงค์) โดยไม่ยึดติดกับสถานที่ หรือสิ่งของวัตถุใด ๆ การฝึกสมาธิ และการเจริญวิปัสสนาของท่าน เน้นการปฏิบัติจริง เพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง พระสายวิปัสสนาธุระแห่งลำปาง ในช่วงชีวิตที่เหลือ "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้ตัดสินใจปลีกวิเวก และปฏิบัติธรรม ณ สุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง ท่านใช้ชีวิตเรียบง่ายในสถานที่แห่งนี้ โดยไม่ยึดติดกับตำแหน่ง หรือยศศักดิ์ใด ๆ แม้กระทั่งตำแหน่ง เจ้าอาวาสที่วัดบุญยืน ซึ่งท่านได้รับแต่งตั้ง ท่านก็ได้ลาออก เพื่อมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของท่านเอง ศรัทธาประชาชน ด้วยความสมถะ และการปฏิบัติที่เคร่งครัด "หลวงพ่อเกษม เขมโก" ได้รับความเคารพนับถือ จากประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเคยเสด็จ ไปทรงนมัสการหลวงพ่อเกษม ด้วยพระองค์เอง ละสังขารปาฏิหาริย์สรีระ หลวงพ่อเกษม เขมโก ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 เวลา 19:40 น. ณ โรงพยาบาลลำปาง สร้างความอาลัยอย่างยิ่ง ให้กับสานุศิษย์ทั่วประเทศ สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ สรีระของหลวงพ่อเกษม ไม่เน่าเปื่อย และยังคงสภาพสมบูรณ์ ทำให้ผู้ที่เคารพศรัทธา ยังคงเดินทาง มากราบไหว้สรีระของท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์ จนถึงปัจจุบัน ปณิธานแห่งความเรียบง่าย คำสอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก เน้นความเรียบง่ายในชีวิต และการยึดมั่นในธรรมะ ท่านสอนให้พุทธศาสนิกชน ละความยึดติดกับวัตถุ และกิเลส รวมถึงการเจริญวิปัสสนา เพื่อความสงบสุข และหลุดพ้น มรดกธรรมที่ยังคงอยู่ แม้จะผ่านมา 29 ปีแล้ว หลังการละสังขารของ หลวงพ่อเกษม เขมโก แต่ความศรัทธา และคำสอนของท่าน ยังคงสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ท่านเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเป็นสมบัติล้ำค่า ของพระพุทธศาสนาไทย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 150927 ม.ค. 2568 #หลวงพ่อเกษมเขมโก #พระเกจิอาจารย์ #สายวิปัสสนา #ศรัทธา #ปาฏิหาริย์ #ลำปาง #พระมหาเถราจารย์ #ธรรมะ #พุทธศาสนาไทย #ประวัติศาสตร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨เหรียญหลวงปู่ดุลย์ อตุโล
    รุ่น กายทิพย์ ปี2521

    หลวงปู่ดุลย์ถือเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ยุคต้นๆจากได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียวของพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆหลายแห่ง
    ✨เหรียญหลวงปู่ดุลย์ อตุโล รุ่น กายทิพย์ ปี2521 หลวงปู่ดุลย์ถือเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ยุคต้นๆจากได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียวของพระอาจารย์มั่น ก็เกิดความอัศจรรย์ใจยิ่ง จึงได้เลิกศึกษาพระปริยัติแล้วออกธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่น ไปยังที่ต่างๆหลายแห่ง
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 72 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,635
    วันศุกร์: ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๘ (10 January 2025)

    โอนเงินทำบุญ 30 แห่ง เป็นเงิน 600 บาท
    01. รร.งำเมืองวิทยาคม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68)
    02. รร.ชุมชนบ้านดู่ใต้ อ.เมือง จ.น่าน
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68)
    03. รร.บ้านโนนหอม อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68)
    04. รร.บ้านป่ายางตะวันตก อ.สามเงา จ.ตาก
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68)
    05. รร.บ้านสมบูรณ์ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68)
    06. รร.วัดเขาราษฎร์บำรุง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 11 ม.ค.68)
    07. รร.วัดบ้านหมาก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 11 ม.ค.68)
    08. รร.บ้านชงโคสันติสุขวิทยาคาร อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 12 ม.ค.68)
    09. รร.ในเตาพิทยาคม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 13 ม.ค.68)
    10. รร.บ้านไร่เหนือ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
    (ทอดผ้าป่าสามัคคี 13 ม.ค.68)
    11. วัดเกาะหินตั้ง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    (สร้างอาคารปฏิบัติธรรม)
    12. วัดดอนชัย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
    (สร้างศาลาปฏิบัติธรรม)
    13. วัดดวงรัตนประทีป อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
    (สร้างศาลาปฏิบัติธรรม)
    14. วัดกลางบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    (สร้างศาลาอเนกประสงค์)
    15. วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    (สร้างอาคารปริยัติธรรม)
    16. วัดพนัญเชิงวรวิหาร อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา
    (สร้างอาคารเรียนสามเณร)
    17. วัดอุทุมพร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์
    (สร้างกุฏิสงฆ์)
    18. วัดกองเงินเวฬุวัน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
    (สร้างกุฏิสงฆ์)
    19. วัดศิริการ อ.เมือง จ.จันทบุรี
    (สร้างกุฏิสงฆ์)
    20. วัดป่าเทสรังสีแก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
    (สร้างห้องพักสงฆ์)
    21. วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    (สร้างห้องน้ำ)
    22. วัดตระพังทองหลาง อ.เมือง จ.สุโขทัย
    (สร้างห้องน้ำ)
    23. วัดเขาช่องประดู่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    (สร้างห้องน้ำ)
    24. วัดวังประดู่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
    (สร้างห้องน้ำ)
    25. วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    (สร้างห้องน้ำ)
    26. วัดบ้านหนองลาน อ.นครไทย จ.พิษณุโลก
    (สร้างห้องน้ำกุฏิพระสงฆ์)
    27. วัดโคกพิกุลเรียง อ.เมือง จ.ราชบุรี
    (สร้างศาลาธรรมสังเวช)
    28. วัดย่านขาด อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก
    (สร้างศาลาธรรมสังเวช)
    29. วัดพระธาตุวิสุทธิญาณ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
    (สร้างเมรุ)
    30. วัดตาสุด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
    (สร้างหอฉัน)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 33 วัน (75 ปี)
    เพื่อหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ ภายในปี พ.ศ. ๕๐๐๐
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,635 วันศุกร์: ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ ปีมะโรง วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๘ (10 January 2025) โอนเงินทำบุญ 30 แห่ง เป็นเงิน 600 บาท 01. รร.งำเมืองวิทยาคม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68) 02. รร.ชุมชนบ้านดู่ใต้ อ.เมือง จ.น่าน (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68) 03. รร.บ้านโนนหอม อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68) 04. รร.บ้านป่ายางตะวันตก อ.สามเงา จ.ตาก (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68) 05. รร.บ้านสมบูรณ์ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ (ทอดผ้าป่าสามัคคี 10 ม.ค.68) 06. รร.วัดเขาราษฎร์บำรุง อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ (ทอดผ้าป่าสามัคคี 11 ม.ค.68) 07. รร.วัดบ้านหมาก อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี (ทอดผ้าป่าสามัคคี 11 ม.ค.68) 08. รร.บ้านชงโคสันติสุขวิทยาคาร อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี (ทอดผ้าป่าสามัคคี 12 ม.ค.68) 09. รร.ในเตาพิทยาคม อ.ห้วยยอด จ.ตรัง (ทอดผ้าป่าสามัคคี 13 ม.ค.68) 10. รร.บ้านไร่เหนือ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี (ทอดผ้าป่าสามัคคี 13 ม.ค.68) 11. วัดเกาะหินตั้ง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย (สร้างอาคารปฏิบัติธรรม) 12. วัดดอนชัย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ (สร้างศาลาปฏิบัติธรรม) 13. วัดดวงรัตนประทีป อ.วังทอง จ.พิษณุโลก (สร้างศาลาปฏิบัติธรรม) 14. วัดกลางบางพระ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม (สร้างศาลาอเนกประสงค์) 15. วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา (สร้างอาคารปริยัติธรรม) 16. วัดพนัญเชิงวรวิหาร อ.เมือง จ.พระนครศรีอยุธยา (สร้างอาคารเรียนสามเณร) 17. วัดอุทุมพร อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ (สร้างกุฏิสงฆ์) 18. วัดกองเงินเวฬุวัน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (สร้างกุฏิสงฆ์) 19. วัดศิริการ อ.เมือง จ.จันทบุรี (สร้างกุฏิสงฆ์) 20. วัดป่าเทสรังสีแก่งคอย อ.แก่งคอย จ.สระบุรี (สร้างห้องพักสงฆ์) 21. วัดนาคปรก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ (สร้างห้องน้ำ) 22. วัดตระพังทองหลาง อ.เมือง จ.สุโขทัย (สร้างห้องน้ำ) 23. วัดเขาช่องประดู่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (สร้างห้องน้ำ) 24. วัดวังประดู่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก (สร้างห้องน้ำ) 25. วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ (สร้างห้องน้ำ) 26. วัดบ้านหนองลาน อ.นครไทย จ.พิษณุโลก (สร้างห้องน้ำกุฏิพระสงฆ์) 27. วัดโคกพิกุลเรียง อ.เมือง จ.ราชบุรี (สร้างศาลาธรรมสังเวช) 28. วัดย่านขาด อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก (สร้างศาลาธรรมสังเวช) 29. วัดพระธาตุวิสุทธิญาณ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ (สร้างเมรุ) 30. วัดตาสุด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ (สร้างหอฉัน) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 33 วัน (75 ปี) เพื่อหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ ภายในปี พ.ศ. ๕๐๐๐
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 207 มุมมอง 0 รีวิว
  • Credit : ดร.ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ กราบ กราบ กราบ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ท่านดำรัสถึงคนที่สอนธรรมทุกวันนี้ ขาดองค์ความรู้ ใช้วาทะ คารม ใช้อัตโนมติของตนเองกล่าวตู่พระพุทธพจน์ นับเป็นพฤติกรรมที่บ่อนทำลายพระพุทธศาสนาท่านยังฝากถึงผู้ศึกษารอบในพระปริยัติธรรม ช่วยกันกล่าวโต้แย้งบรรดานักพูดที่บิดเบือนพระธรรมวินัยด้วย ให้สมหน้าที่พุทธสาวกของพระบรมศาสดาสืบไป เกล้าดิฉัน น้อมกราบรับภาระหน้าที่ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมศาสดา จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถต่อไปhttps://youtu.be/W_o5TMPysx0?si=lv2ZksvhkhsefYp4
    Credit : ดร.ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ กราบ กราบ กราบ เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ท่านดำรัสถึงคนที่สอนธรรมทุกวันนี้ ขาดองค์ความรู้ ใช้วาทะ คารม ใช้อัตโนมติของตนเองกล่าวตู่พระพุทธพจน์ นับเป็นพฤติกรรมที่บ่อนทำลายพระพุทธศาสนาท่านยังฝากถึงผู้ศึกษารอบในพระปริยัติธรรม ช่วยกันกล่าวโต้แย้งบรรดานักพูดที่บิดเบือนพระธรรมวินัยด้วย ให้สมหน้าที่พุทธสาวกของพระบรมศาสดาสืบไป เกล้าดิฉัน น้อมกราบรับภาระหน้าที่ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมศาสดา จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถต่อไปhttps://youtu.be/W_o5TMPysx0?si=lv2ZksvhkhsefYp4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 228 มุมมอง 0 รีวิว
  • สงฆ์ เท่าที่เคยคุย กับระดับรักษาการเจ้าอาวาสวัดดัง..ใน กทม.เขาก็แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ปริยัติ แม่นมากสวดคล่อง พิธีการอะไรถนัด มียศตำแหน่ง กับ วิปัสสนา ทางนี้ไปทางปฏิบัติเลย ไม่สนตำแหน่งแห่งหน...ซึ่งประเภทนี้มีน้อยที่สุด..และ 3 ประกอบอาชีพ..เลี้ยงตนเอง และเลี้ยงผู้อื่น...ประเภทนี้ มีมากที่สุด (ผู้เล่ากล่าวแบบนั้นไม่ได้อุปมาเอง) เราก็เลยถามท่านว่า ท่านเข้าญาณอ่ะไร ขั้นไหนได้ไหม..ท่านตอบไม่อายว่า ไม่มีเลย..แต่ปริยัติท่านแม่นมาก.....เราถามต่อ แล้วพวกเสกอะไรทั้งหลายนั่นละ ท่านเคยรับรู้บ้างไหม ว่า อะไรจริง อะไรจัดฉาก ท่านก็ตอบว่า พอรู้บ้าง เอาแบบนี้นะ สงฆ์ก็มนุษย์ อายุมากเข้าก็อยากสบาย เจ็บไข้ได้ป่วยมีการรักษาที่ดี..ความเป็นอยู่ก็ดี ชื่อเสียงก็ดี เมื่อมีคนมีข้อเสนอมา มันก็ปฏิเสธยากนะ...และยุคนี้ เป็นยุคแข่งกันสร้าง สร้างเจดีย์ วิหารอ่ะไร ต้องอลังการ ต้องยิ่งใหญ่ คือ เกินความเป็นวัดไปแล้ว คล้ายๆจะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวไปในตัว..ซึ่งอาตมาเห็นว่า มันเกินพอดีไปมากแล้ว ..
    สงฆ์ เท่าที่เคยคุย กับระดับรักษาการเจ้าอาวาสวัดดัง..ใน กทม.เขาก็แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ปริยัติ แม่นมากสวดคล่อง พิธีการอะไรถนัด มียศตำแหน่ง กับ วิปัสสนา ทางนี้ไปทางปฏิบัติเลย ไม่สนตำแหน่งแห่งหน...ซึ่งประเภทนี้มีน้อยที่สุด..และ 3 ประกอบอาชีพ..เลี้ยงตนเอง และเลี้ยงผู้อื่น...ประเภทนี้ มีมากที่สุด (ผู้เล่ากล่าวแบบนั้นไม่ได้อุปมาเอง) เราก็เลยถามท่านว่า ท่านเข้าญาณอ่ะไร ขั้นไหนได้ไหม..ท่านตอบไม่อายว่า ไม่มีเลย..แต่ปริยัติท่านแม่นมาก.....เราถามต่อ แล้วพวกเสกอะไรทั้งหลายนั่นละ ท่านเคยรับรู้บ้างไหม ว่า อะไรจริง อะไรจัดฉาก ท่านก็ตอบว่า พอรู้บ้าง เอาแบบนี้นะ สงฆ์ก็มนุษย์ อายุมากเข้าก็อยากสบาย เจ็บไข้ได้ป่วยมีการรักษาที่ดี..ความเป็นอยู่ก็ดี ชื่อเสียงก็ดี เมื่อมีคนมีข้อเสนอมา มันก็ปฏิเสธยากนะ...และยุคนี้ เป็นยุคแข่งกันสร้าง สร้างเจดีย์ วิหารอ่ะไร ต้องอลังการ ต้องยิ่งใหญ่ คือ เกินความเป็นวัดไปแล้ว คล้ายๆจะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวไปในตัว..ซึ่งอาตมาเห็นว่า มันเกินพอดีไปมากแล้ว ..
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 278 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถาม chatGPT Search ให้สรุปเกี่ยวกับเราเอง นี่คือผลที่ได้ครับ

    วศิน ภิรมย์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2523 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปี พ.ศ. 2545 และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2548 (MGR Online)

    ในด้านอาชีพ วศินเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งบริษัท ไอยรา เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท อีเลิร์นนิ่ง กูรู จำกัด) ในปี พ.ศ. 2546 นอกจากนี้ เขายังมีบทบาทเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีความเชี่ยวชาญด้าน E-Learning และเทคโนโลยีมีเดีย (MGR Online)

    ในปี พ.ศ. 2556 วศินได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้สมัครอิสระ หมายเลข 13 โดยมีนโยบายที่เน้นการพัฒนากรุงเทพฯ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (MGR Online)

    ปัจจุบัน วศินดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ ที่สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และมีบทบาทในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการสัญจร เช่น การอบรมการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ให้กับโรงเรียนวัดปริยัติธรรม วัดธรรมมงคล (ปทุมธานีอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี)

    นอกจากนี้ วศินยังเคยปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์ “ไปไหนไปกัน” เมื่ออายุ 27 ปี ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของเขาในด้านต่างๆ (YouTube)

    สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวศิน ภิรมย์ สามารถรับชมวิดีโอด้านล่างนี้:

    วศิน ภิรมย์ ออกรายการไปไหนไปกัน ตอนอายุ 27 ปี
    ถาม chatGPT Search ให้สรุปเกี่ยวกับเราเอง นี่คือผลที่ได้ครับ วศิน ภิรมย์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2523 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในปี พ.ศ. 2545 และปริญญาโทวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2548 (MGR Online) ในด้านอาชีพ วศินเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งบริษัท ไอยรา เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท อีเลิร์นนิ่ง กูรู จำกัด) ในปี พ.ศ. 2546 นอกจากนี้ เขายังมีบทบาทเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีความเชี่ยวชาญด้าน E-Learning และเทคโนโลยีมีเดีย (MGR Online) ในปี พ.ศ. 2556 วศินได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้สมัครอิสระ หมายเลข 13 โดยมีนโยบายที่เน้นการพัฒนากรุงเทพฯ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (MGR Online) ปัจจุบัน วศินดำรงตำแหน่งหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ ที่สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน และมีบทบาทในการจัดกิจกรรมบริการวิชาการสัญจร เช่น การอบรมการสร้างสื่อประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ให้กับโรงเรียนวัดปริยัติธรรม วัดธรรมมงคล (ปทุมธานีอินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี) นอกจากนี้ วศินยังเคยปรากฏตัวในรายการโทรทัศน์ “ไปไหนไปกัน” เมื่ออายุ 27 ปี ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความสามารถของเขาในด้านต่างๆ (YouTube) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวศิน ภิรมย์ สามารถรับชมวิดีโอด้านล่างนี้: วศิน ภิรมย์ ออกรายการไปไหนไปกัน ตอนอายุ 27 ปี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 379 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ปริยัติ-ความจำ#ปฏิบัติ-ความจริงของแท้#ภาคปริยัติกับภาคปฏิบัติจึงแตกต่างกัน#เสียงเทศน์ หลวงตามหาบัว
    #ปริยัติ-ความจำ#ปฏิบัติ-ความจริงของแท้#ภาคปริยัติกับภาคปฏิบัติจึงแตกต่างกัน#เสียงเทศน์ หลวงตามหาบัว
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 598 มุมมอง 161 0 รีวิว
  • กระทู้ที่ 1 วันที่ 21 ตุลาคม 2567
    แรม 4 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง
    เรื่อง ความเป็นมาของ คาถาอาคม ในประเทศไทย
    ในอดีตทียังไม่เป็นประเทศไทยเหมือนในปัจจุบันอิทธิพลศาสนาฮินดูได้มีอิทธิพลต่อผู้นำในอดีต ผู้นำในอดีตได้รับเอาพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูมาเป็นที่ยึดเหนี่ยว วัฒนธรรมฮินดูในประเทศอินเดียมีมาช้านานก่อนศสนาพุทธ จะเห็นได้ในยุคขอมเรืองอำนาจ จะเห็นได้จากปราสาทขอมที่ทิ้งไว้ให้ปรากฎในปัจจุบัน เมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้าในยุคที่พระเจ้าอโศกส่งพระธรรมทูตเข้าเผยแพร่ในแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันผู้ปกครองในยุคต่อมาค่อยเปลี่ยนแปลงและนำเอาพระพุทธศาสนามาผสมประสานเข้ากับศาสนาฮินดู ในศาสนาฮินดูมีพิธีกรรมต่างๆมีบทสวดมากมายเป็นการร้องขอความช่วยเหลือต่างๆกับเทพเจ้าที่เชื่อว่าจะดลบันดาลให้สมความปรารถนา ต่อมาพระสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาผู้ทรงภูมปัญญาได้คิดวิธีการโดยอาศัยแบบอย่างของศาสนาฮินดูแต่แตกต่างโดยการแต่งมนต์โดยใช้บทสวดในทางพระพุทธศาสนามาเป็นมนต์คาถา ซึ่งเรียกว่าพระพุทธมนต์ การจะแต่งพระพุทธมนต์นั้นไม่ใช่จับแพะชนแกะ บูรพาจารผู้แต่งต้องแตกฉานในปริยัติ และต้องเข้าถึงการปฏิบัติจนได้ฌาณสมาบัติ ซึ่งเป็นความรู้ขั้นสูงจึงสามารถร้อยเรียงพุทธมนต์ขึ้นมาได้ แม้แต่การลงอักขระเลขยันต์ล้วนแล้วแต่ผ่านการคิดค้นออกมาจากบูรพาจารย์ผู้ทรงฌาณทั้งสิ้น พระพุทธมนต์เลขยันต์ต่างๆที่มีการจดบันทึกมานั้นนับเป็นพันตำหรับ การจะเขียนยันต์ในแต่ละตัวเขามีสูตรการลงไว้ไม่ใช่เขียนส่งเดชแล้วก็ใช้ได้ วันนี้ทดลองเขียนกระทู้ใน thaitimes ครั้งแรก เอาไว้ตอนต่อไปค่อยว่ากันใหม่ สวัสดี
    กระทู้ที่ 1 วันที่ 21 ตุลาคม 2567 แรม 4 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เรื่อง ความเป็นมาของ คาถาอาคม ในประเทศไทย ในอดีตทียังไม่เป็นประเทศไทยเหมือนในปัจจุบันอิทธิพลศาสนาฮินดูได้มีอิทธิพลต่อผู้นำในอดีต ผู้นำในอดีตได้รับเอาพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูมาเป็นที่ยึดเหนี่ยว วัฒนธรรมฮินดูในประเทศอินเดียมีมาช้านานก่อนศสนาพุทธ จะเห็นได้ในยุคขอมเรืองอำนาจ จะเห็นได้จากปราสาทขอมที่ทิ้งไว้ให้ปรากฎในปัจจุบัน เมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้าในยุคที่พระเจ้าอโศกส่งพระธรรมทูตเข้าเผยแพร่ในแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันผู้ปกครองในยุคต่อมาค่อยเปลี่ยนแปลงและนำเอาพระพุทธศาสนามาผสมประสานเข้ากับศาสนาฮินดู ในศาสนาฮินดูมีพิธีกรรมต่างๆมีบทสวดมากมายเป็นการร้องขอความช่วยเหลือต่างๆกับเทพเจ้าที่เชื่อว่าจะดลบันดาลให้สมความปรารถนา ต่อมาพระสงฆ์ทางพระพุทธศาสนาผู้ทรงภูมปัญญาได้คิดวิธีการโดยอาศัยแบบอย่างของศาสนาฮินดูแต่แตกต่างโดยการแต่งมนต์โดยใช้บทสวดในทางพระพุทธศาสนามาเป็นมนต์คาถา ซึ่งเรียกว่าพระพุทธมนต์ การจะแต่งพระพุทธมนต์นั้นไม่ใช่จับแพะชนแกะ บูรพาจารผู้แต่งต้องแตกฉานในปริยัติ และต้องเข้าถึงการปฏิบัติจนได้ฌาณสมาบัติ ซึ่งเป็นความรู้ขั้นสูงจึงสามารถร้อยเรียงพุทธมนต์ขึ้นมาได้ แม้แต่การลงอักขระเลขยันต์ล้วนแล้วแต่ผ่านการคิดค้นออกมาจากบูรพาจารย์ผู้ทรงฌาณทั้งสิ้น พระพุทธมนต์เลขยันต์ต่างๆที่มีการจดบันทึกมานั้นนับเป็นพันตำหรับ การจะเขียนยันต์ในแต่ละตัวเขามีสูตรการลงไว้ไม่ใช่เขียนส่งเดชแล้วก็ใช้ได้ วันนี้ทดลองเขียนกระทู้ใน thaitimes ครั้งแรก เอาไว้ตอนต่อไปค่อยว่ากันใหม่ สวัสดี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันอังคาร ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จไปมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ ๑๓๑ และพิธีทอดผ้าป่าเพื่อนำปัจจัยโดยเสด็จพระกุศลสมทบทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามที่เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงตั้งไว้ในมหาวิทยาลัย สำหรับประทานแก่พระภิกษุสามเณรนักศึกษา

    การนี้ โปรดประทานรางวัลแก่ผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรดีเด่น ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และของที่ระลึกแก่ผู้ร่วมโดยเสด็จพระกุศล

    โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระสัมโมทนียกถา ความตอนหนึ่งว่า

    “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนามหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยมีเจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นปฐมบูรพาจารย์ ด้วยทุก ๆ พระองค์ล้วนทรงมุ่งหมายให้พระพุทธศาสนา สถาพรอยู่คู่โลกนี้ และเป็นหลักชัยของบ้านเมืองไทยอยู่ตราบกาลนาน

    การที่พระพุทธศาสนาจะดำรงคงมั่น จำเป็นต้องสร้างสรรค์พุทธบริษัทให้รู้ลึกและรู้รอบในวิชชา ตามกระบวนการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมที่ถูกต้อง หากการศึกษาพระปริยัติธรรมอ่อนแอผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือรวนเรไปตามอัตโนมติแล้ว ย่อมปฏิบัติผิดและสอนผิด ทำให้ไม่อาจเข้าถึงปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรมได้

    ปริยัติธรรมอันควรศึกษาโดยรอบ ย่อมหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือพระไตรปิฎก รวมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจในหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย

    การศึกษาปริยัติธรรมอาจจำแนกได้เป็น ๓ ระดับ กล่าวคือ

    ๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หางคือ ศึกษาเพื่อลาภสักการะ เพื่อคำสรรเสริญหรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่นย่อมเป็นโทษ เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้

    ๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์ คือ เพื่ออบรมปัญญาเป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยในวัฏสงสาร

    และ ๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือเพื่อทรงพระศาสนาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญเป็นการศึกษาของผู้จบกิจในการอบรมปัญญา เพื่อละกิเลสแล้วแต่ยังมีฉันทะในการศึกษา เพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง

    ณ โอกาสอันเป็นมงคลนี้ จึงขอเตือนใจให้ทุกท่านอย่าได้คิดศึกษาแบบอลคัททูปริยัติ แต่ขอเป็นกำลังใจสนับสนุนให้ท่านจงเป็นผู้องอาจ และเข้มแข็งในอันที่จะศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อความออกจากทุกข์ และเพื่อรักษาพระสัทธรรม ไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์ ขออย่าให้อคติทั้ง ๔ เข้ามาบดบัง และบิดเบือน จนกลายเป็นมิจฉาทิฐิไปได้เป็นอันขาด

    อาตมภาพขออนุโมทนากุศลจริยาที่ทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย และขอแสดงมุทิตาจิตต่อผู้ได้รับตำแหน่ง ทุน และรางวัลต่าง ๆ กับทั้งขออำนวยพรให้ทุกท่าน จงเจริญรุ่งเรืองในพระบวรพุทธศาสนา ยิ่ง ๆ ขึ้นสืบไปเทอญ“

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/x6nCcePgoJRmbCxT/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    วันอังคาร ที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เสด็จไปมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปีที่ ๑๓๑ และพิธีทอดผ้าป่าเพื่อนำปัจจัยโดยเสด็จพระกุศลสมทบทุนการศึกษาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (วาสนมหาเถร) ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ตามที่เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ทรงตั้งไว้ในมหาวิทยาลัย สำหรับประทานแก่พระภิกษุสามเณรนักศึกษา การนี้ โปรดประทานรางวัลแก่ผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย แก่บุคลากรดีเด่น ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร และของที่ระลึกแก่ผู้ร่วมโดยเสด็จพระกุศล โอกาสนี้ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระสัมโมทนียกถา ความตอนหนึ่งว่า “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนามหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้น เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยมีเจ้าพระคุณ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นปฐมบูรพาจารย์ ด้วยทุก ๆ พระองค์ล้วนทรงมุ่งหมายให้พระพุทธศาสนา สถาพรอยู่คู่โลกนี้ และเป็นหลักชัยของบ้านเมืองไทยอยู่ตราบกาลนาน การที่พระพุทธศาสนาจะดำรงคงมั่น จำเป็นต้องสร้างสรรค์พุทธบริษัทให้รู้ลึกและรู้รอบในวิชชา ตามกระบวนการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมที่ถูกต้อง หากการศึกษาพระปริยัติธรรมอ่อนแอผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือรวนเรไปตามอัตโนมติแล้ว ย่อมปฏิบัติผิดและสอนผิด ทำให้ไม่อาจเข้าถึงปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรมได้ ปริยัติธรรมอันควรศึกษาโดยรอบ ย่อมหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือพระไตรปิฎก รวมทั้งอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และคำอธิบายต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจในหลักคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย การศึกษาปริยัติธรรมอาจจำแนกได้เป็น ๓ ระดับ กล่าวคือ ๑. อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบจับงูพิษที่หางคือ ศึกษาเพื่อลาภสักการะ เพื่อคำสรรเสริญหรือเพื่อยกตนข่มผู้อื่นย่อมเป็นโทษ เหมือนการจับงูพิษที่หาง งูย่อมแว้งขบกัดเอาได้ ๒. นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อประโยชน์แก่การออกไปจากทุกข์ คือ เพื่ออบรมปัญญาเป็นการศึกษาของผู้ที่เห็นโทษภัยในวัฏสงสาร และ ๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลัง คือเพื่อทรงพระศาสนาไว้ไม่ให้เสื่อมสูญเป็นการศึกษาของผู้จบกิจในการอบรมปัญญา เพื่อละกิเลสแล้วแต่ยังมีฉันทะในการศึกษา เพื่อถ่ายทอดพระธรรมคำสอนให้แก่ชนรุ่นหลัง ณ โอกาสอันเป็นมงคลนี้ จึงขอเตือนใจให้ทุกท่านอย่าได้คิดศึกษาแบบอลคัททูปริยัติ แต่ขอเป็นกำลังใจสนับสนุนให้ท่านจงเป็นผู้องอาจ และเข้มแข็งในอันที่จะศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อความออกจากทุกข์ และเพื่อรักษาพระสัทธรรม ไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของบูรพาจารย์ ขออย่าให้อคติทั้ง ๔ เข้ามาบดบัง และบิดเบือน จนกลายเป็นมิจฉาทิฐิไปได้เป็นอันขาด อาตมภาพขออนุโมทนากุศลจริยาที่ทุกท่านช่วยกันสนับสนุนกิจการของมหาวิทยาลัย และขอแสดงมุทิตาจิตต่อผู้ได้รับตำแหน่ง ทุน และรางวัลต่าง ๆ กับทั้งขออำนวยพรให้ทุกท่าน จงเจริญรุ่งเรืองในพระบวรพุทธศาสนา ยิ่ง ๆ ขึ้นสืบไปเทอญ“ ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/x6nCcePgoJRmbCxT/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 934 มุมมอง 0 รีวิว