• วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子)

    ความมีอยู่ว่า
    ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”...
    - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ:
    1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
    2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
    3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
    4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
    5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ
    6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ

    สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก)

    แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน)

    ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า

    ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/491583437_515879
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html
    https://kknews.cc/culture/6er9xv.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html
    https://www.sohu.com/a/249960097_105772
    https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html
    https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html
    https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html

    #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    วันนี้เรามาคุยถึงเครื่องประดับชนิดหนึ่งในสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูจะไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูละครของยุคสมัยนั้นอย่างเช่น <หรูอี้ จอมนางเคียงบัลลังก์> หรือ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> จะเห็นนางในมีสร้อยประคำผูกไว้ที่คอเสื้อ จริงๆ แล้วมันก็คือสร้อยประคำมือ เรียกว่า ‘สือปาจื่อ’ (十八子) ความมีอยู่ว่า ... โจวเซิงเฉินเดินออกมาพอดี เห็นสร้อยประคำมือหยก 18 เม็ดบนข้อมือของเธอ ในแววตาปรากฏความแปลกใจแวบหนึ่ง ในระหว่างเดินทางกลับ เขาค่อยเล่าให้ฟังถึงที่มาของสร้อยประคำนี้: “ยาว 28ซม. เม็ดประคำหยกสิบแปดเม็ด” เขาชี้นิ้วไล่ตามเชือกใต้เม็ดปะการังสีแดง “พลอยทัวร์มารีนสีชมพูแกะสลักเป็นดอกไม้ แล้วยังมีเม็ดปะการังและไข่มุก...เป็นของจากสมัยปลายราชวงศ์หมิงต้นราชวงศ์ชิง”... - จาก <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) สร้อยประคำมือที่กล่าวถึงในบทความข้างต้นนั้นมีลูกประคำ 18 เม็ด ซึ่งมีความหมายทางศาสนาพุทธ บ้างก็ว่าหมายถึง 18 อรหันต์ แต่ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ Storyฯ ค้นพบจะบอกว่าหมายถึง 6 ผัสสะซึ่งก็คือ: 1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ 2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ 3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ 4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ 5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) +กายวิญญาณ 6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) +มโนวิญญาณ สร้อยประคำมือนี้เดิมมีไว้ใช้ตอนสวดมนต์ ต่อมากลายเป็นเครื่องประดับในสมัยราชวงศ์ชิง การนำมาใช้เป็นเครื่องประดับนี้เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่แน่ชัด รู้แต่ว่าในสมัยกลางของราชวงศ์ชิงยังไม่มีการกล่าวถึงนัก ต่อมาจึงเห็นจากภาพวาดในช่วงปลายราชวงศ์ชิงว่ามันได้กลายเป็นเครื่องประดับติดกายที่นิยมอย่างมากทั้งในหญิงและชาย (ดูรูปแรก) แรกเริ่มใช้กันในวัง แต่มันไม่ใช่เครื่องประดับอย่างเป็นทางการ ดังนั้นจึงใช้ได้ทุกระดับยศและเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย แต่แน่นอนว่ายศยิ่งสูง วัสดุที่ใช้ก็ยิ่งเลอค่า ต่อมาความนิยมนี้แพร่หลายออกมานอกวัง แต่ยังอยู่เฉพาะในกลุ่มชนชั้นสูงอย่างเช่นคนในตระกูลกองธงต่างๆ รูปแบบหรือองค์ประกอบของสร้อยก็มีการแปลงง่ายลงโดยคงไว้ซึ่งส่วนสำคัญของสร้อยประคำเท่านั้น ซึ่งก็คือส่วนที่เรียกว่าเศียรพระพุทธเจ้า เม็ดคั่น และเม็ดหลัก 18 เม็ด (ดูรูปสองบน) ตำแหน่งที่แขวนสร้อยประคำมือเป็นเครื่องประดับนั้น หากเป็นเสื้อสาบเฉียงให้ห้อยไว้ทางด้านขวา หากเป็นสาบตรงให้ห้อยไว้ที่กระดุมเม็ดที่สองข้างหน้า ใครตามละครเรื่องราวในวังยุคสมัยราชวงศ์ชิงอยู่ลองสังเกตดูนะคะ Storyฯ เห็นอยู่ในหลายเรื่องเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/491583437_515879 https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://m.xing73.com/zt/yiL5Lmo5Q2a5Q_o5p_I6Q2a5rWY5B2Y5.html https://kknews.cc/culture/6er9xv.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/omn/20191012/20191012A0N7RC00.html https://www.sohu.com/a/249960097_105772 https://kknews.cc/collect/q5k3bvb.html https://kknews.cc/collect/jjzjqoe.html https://www.baanjomyut.com/pratripidok/41.html #กระดูกงดงาม #สร้อยประคำมือ #สือปาจื่อ #ผัสสะ #เครื่องแต่งกายสตรีจีนโบราณ #ราชวงศ์ชิง
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 111 มุมมอง 0 รีวิว
  • ควันหลงจากงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศจีน สืบเนื่องจาก ‘เงื่อนจีน’ หรือที่เรียกว่า ‘จงกั๋วเจี๋ย’ (中国结) ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงาน แม้แต่พิธีปิดยังมีให้เห็น เพื่อนเพจหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างอยู่แล้ว วันนี้เรามาคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับเงื่อนจีน

    คำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ภายใต้คำขวัญ “ก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน”

    เงื่อนจีนถูกค้นพบขึ้นเมื่อใดไม่ชัดเจน ทราบแต่ว่ามนุษย์เรารู้จักการผูกเงื่อนมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ในสมัยดึกดำบรรพ์ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือล่าสัตว์หรือเครื่องมือช่วยดำรงชีพอื่นๆ และลวดลายและวิธีผูกเงื่อนพัฒนามาเรื่อยๆ หลังจากนั้น ในยุคสมัยชุนชิว เงื่อนจีนถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย เช่นเป็นกระดุม ใช้ผูกพวงเหรียญไว้พกพา และถูกนำมาใช้ในการสื่อสารหรือจดจำเหตุการณ์ ในบันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) มีการกล่าวถึงหลักการจารึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ว่า ‘เหตุการณ์ใหญ่ ใช้เงื่อนใหญ่ เรื่องเล็ก ใช้เงื่อนเล็ก’ และมีการใช้ลายเงื่อนที่แตกต่างกันสำหรับหมวดหมู่ที่แตกต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

    เงื่อนจีนถูกยกระดับเป็นศิลปะอย่างหนึ่งและแพร่หลายเป็นอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง มีการนำมาใช้เป็นสร้อยหรืออุบะสำหรับเครื่องประดับหลายชนิดเช่นป้ายหยก พัด ขลุ่ย กระบี่ ถุงหอม ฯลฯ และในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิงก็ยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นในเรื่องของความหลากหลายของลวดลายและความวิจิตร มีการตั้งชื่อและคิดค้นลายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย รวมถึงการนำมาใช้ประดับบ้านเรือน

    เงื่อนจีนแตกต่างจากเงื่อนในวัฒนธรรมฟากตะวันตกอย่างไร? เอกลักษณ์ของเงื่อนจีนคือผูกขึ้นด้วยเชือกเส้นเดียวเท่านั้น เป็นการผูกสองชั้นดังนั้นลายหน้าหลังจะเหมือนกัน Storyฯ อ่านเจอว่าเงื่อนจีนที่วางขายในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เชือกยาวมาตรฐานประมาณหนึ่งเมตร

    ลายเงื่อนจีนมีใช้เป็นสัญลักษณ์ในหลายกรณี เช่นเพื่อเป็นของมงคล หรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความผูกพัน ชื่อเรียกก็มีหลากหลาย โดยลายที่เราเห็นในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ (ดูภาพประกอบ) มีชื่อเรียกว่า ‘เงื่อนมงคล’ (จี๋เสียงเจี๋ย/吉祥结) ว่ากันว่าลายพื้นฐานนี้เป็นหนึ่งในลายที่เก่าแก่ที่สุดของเงื่อนจีน พัฒนาขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข โชคลาภ รวมถึงช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย

    (หมายเหตุ เพื่อนเพจที่สนใจชนิดของเงื่อนต่างๆ ดูได้ที่นี่ค่ะ https://tcm.dtam.moph.go.th/images/files/kch002.pdf)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.fudan.edu.cn/en/2022/0208/c1092a130100/page.htm
    https://www.chinadaily.com.cn/a/202202/21/WS62134c14a310cdd39bc87f6d_5.html
    https://kknews.cc/culture/25y4r.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/culture/yjgakzn.html
    https://baike.baidu.com/item/中国结/187053
    https://www.aizsg.com/post/9365.html

    #สัญลักษณ์โอลิมปิก2022 #เงื่อนจีน #ผูกเชือกจีน #จงกั๋วเจี๋ย #จี๋เสียงเจี๋ยน
    ควันหลงจากงานโอลิมปิกฤดูหนาวที่ประเทศจีน สืบเนื่องจาก ‘เงื่อนจีน’ หรือที่เรียกว่า ‘จงกั๋วเจี๋ย’ (中国结) ถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงาน แม้แต่พิธีปิดยังมีให้เห็น เพื่อนเพจหลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตากันบ้างอยู่แล้ว วันนี้เรามาคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับเงื่อนจีน คำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน จึงเป็นที่มาของการถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ภายใต้คำขวัญ “ก้าวสู่อนาคตไปด้วยกัน” เงื่อนจีนถูกค้นพบขึ้นเมื่อใดไม่ชัดเจน ทราบแต่ว่ามนุษย์เรารู้จักการผูกเงื่อนมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ในสมัยดึกดำบรรพ์ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องมือล่าสัตว์หรือเครื่องมือช่วยดำรงชีพอื่นๆ และลวดลายและวิธีผูกเงื่อนพัฒนามาเรื่อยๆ หลังจากนั้น ในยุคสมัยชุนชิว เงื่อนจีนถูกนำมาใช้อย่างหลากหลาย เช่นเป็นกระดุม ใช้ผูกพวงเหรียญไว้พกพา และถูกนำมาใช้ในการสื่อสารหรือจดจำเหตุการณ์ ในบันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ปีค.ศ. 220) มีการกล่าวถึงหลักการจารึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ว่า ‘เหตุการณ์ใหญ่ ใช้เงื่อนใหญ่ เรื่องเล็ก ใช้เงื่อนเล็ก’ และมีการใช้ลายเงื่อนที่แตกต่างกันสำหรับหมวดหมู่ที่แตกต่างของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เงื่อนจีนถูกยกระดับเป็นศิลปะอย่างหนึ่งและแพร่หลายเป็นอย่างมากในยุคสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง มีการนำมาใช้เป็นสร้อยหรืออุบะสำหรับเครื่องประดับหลายชนิดเช่นป้ายหยก พัด ขลุ่ย กระบี่ ถุงหอม ฯลฯ และในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิงก็ยิ่งพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นในเรื่องของความหลากหลายของลวดลายและความวิจิตร มีการตั้งชื่อและคิดค้นลายใหม่ๆ ขึ้นมากมาย รวมถึงการนำมาใช้ประดับบ้านเรือน เงื่อนจีนแตกต่างจากเงื่อนในวัฒนธรรมฟากตะวันตกอย่างไร? เอกลักษณ์ของเงื่อนจีนคือผูกขึ้นด้วยเชือกเส้นเดียวเท่านั้น เป็นการผูกสองชั้นดังนั้นลายหน้าหลังจะเหมือนกัน Storyฯ อ่านเจอว่าเงื่อนจีนที่วางขายในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เชือกยาวมาตรฐานประมาณหนึ่งเมตร ลายเงื่อนจีนมีใช้เป็นสัญลักษณ์ในหลายกรณี เช่นเพื่อเป็นของมงคล หรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย และใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความผูกพัน ชื่อเรียกก็มีหลากหลาย โดยลายที่เราเห็นในงานโอลิมปิกฤดูหนาวปีนี้ (ดูภาพประกอบ) มีชื่อเรียกว่า ‘เงื่อนมงคล’ (จี๋เสียงเจี๋ย/吉祥结) ว่ากันว่าลายพื้นฐานนี้เป็นหนึ่งในลายที่เก่าแก่ที่สุดของเงื่อนจีน พัฒนาขึ้นมาในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นสัญลักษณ์ของความสงบสุข โชคลาภ รวมถึงช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย (หมายเหตุ เพื่อนเพจที่สนใจชนิดของเงื่อนต่างๆ ดูได้ที่นี่ค่ะ https://tcm.dtam.moph.go.th/images/files/kch002.pdf) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.fudan.edu.cn/en/2022/0208/c1092a130100/page.htm https://www.chinadaily.com.cn/a/202202/21/WS62134c14a310cdd39bc87f6d_5.html https://kknews.cc/culture/25y4r.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/culture/yjgakzn.html https://baike.baidu.com/item/中国结/187053 https://www.aizsg.com/post/9365.html #สัญลักษณ์โอลิมปิก2022 #เงื่อนจีน #ผูกเชือกจีน #จงกั๋วเจี๋ย #จี๋เสียงเจี๋ยน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 259 มุมมอง 0 รีวิว
  • YouTube เพิ่มมาตรการเข้มงวดต่อช่องที่เผยแพร่ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม

    YouTube ได้ดำเนินมาตรการเข้มงวดขึ้นต่อช่องที่เผยแพร่ ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม โดยล่าสุดได้ ระงับรายได้โฆษณาของช่อง Screen Trailers และ Royal Trailer ซึ่งเป็นช่องที่ดำเนินการโดยผู้สร้างเดียวกันกับ Screen Culture และ KH Studio ที่ถูกแบนไปก่อนหน้านี้

    ✅ YouTube ระงับรายได้โฆษณาของช่อง Screen Trailers และ Royal Trailer
    - ช่องเหล่านี้เป็น ช่องสำรองของ Screen Culture และ KH Studio

    ✅ ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอมมักใช้ฟุตเทจเก่าหรือ AI เพื่อสร้างภาพลวงตาว่ามีภาพยนตร์ใหม่
    - เช่น Henry Cavill และ Margot Robbie ใน James Bond หรือ Leonardo DiCaprio ใน Squid Game ซีซั่น 3

    ✅ Hollywood Studios ไม่ได้ดำเนินการทางกฎหมายต่อช่องเหล่านี้ เพราะช่วยโปรโมตภาพยนตร์จริง
    - บางสตูดิโอ ขอให้ YouTube ส่งรายได้โฆษณาไปยังเจ้าของลิขสิทธิ์แทน

    ✅ SAG-AFTRA ออกแถลงการณ์ประณามเนื้อหาหลอกลวงเหล่านี้
    - ส่งผลให้ YouTube ตัดสินใจดำเนินมาตรการเข้มงวดขึ้น

    ✅ ช่อง Screen Culture ยังคงมีผู้ติดตามกว่า 1.42 ล้านคน แม้จะถูกแบนจากการสร้างรายได้
    - KH Studio มี 724,000 ผู้ติดตาม, Royal Trailer มี 153,000 ผู้ติดตาม, และ Screen Trailers มี 33,000 ผู้ติดตาม

    https://www.techspot.com/news/107897-youtube-cracks-down-harder-fake-movie-trailer-channels.html
    YouTube เพิ่มมาตรการเข้มงวดต่อช่องที่เผยแพร่ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม YouTube ได้ดำเนินมาตรการเข้มงวดขึ้นต่อช่องที่เผยแพร่ ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม โดยล่าสุดได้ ระงับรายได้โฆษณาของช่อง Screen Trailers และ Royal Trailer ซึ่งเป็นช่องที่ดำเนินการโดยผู้สร้างเดียวกันกับ Screen Culture และ KH Studio ที่ถูกแบนไปก่อนหน้านี้ ✅ YouTube ระงับรายได้โฆษณาของช่อง Screen Trailers และ Royal Trailer - ช่องเหล่านี้เป็น ช่องสำรองของ Screen Culture และ KH Studio ✅ ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอมมักใช้ฟุตเทจเก่าหรือ AI เพื่อสร้างภาพลวงตาว่ามีภาพยนตร์ใหม่ - เช่น Henry Cavill และ Margot Robbie ใน James Bond หรือ Leonardo DiCaprio ใน Squid Game ซีซั่น 3 ✅ Hollywood Studios ไม่ได้ดำเนินการทางกฎหมายต่อช่องเหล่านี้ เพราะช่วยโปรโมตภาพยนตร์จริง - บางสตูดิโอ ขอให้ YouTube ส่งรายได้โฆษณาไปยังเจ้าของลิขสิทธิ์แทน ✅ SAG-AFTRA ออกแถลงการณ์ประณามเนื้อหาหลอกลวงเหล่านี้ - ส่งผลให้ YouTube ตัดสินใจดำเนินมาตรการเข้มงวดขึ้น ✅ ช่อง Screen Culture ยังคงมีผู้ติดตามกว่า 1.42 ล้านคน แม้จะถูกแบนจากการสร้างรายได้ - KH Studio มี 724,000 ผู้ติดตาม, Royal Trailer มี 153,000 ผู้ติดตาม, และ Screen Trailers มี 33,000 ผู้ติดตาม https://www.techspot.com/news/107897-youtube-cracks-down-harder-fake-movie-trailer-channels.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    YouTube cracks down harder on fake movie trailer channels with new demonetizations
    Fake trailers, sometimes known as fan trailers, have become a very common sight on YouTube. They usually show what is supposed to be clips from sequels or...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 152 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง

    ความมีอยู่ว่า
    ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก”
    เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะ
    เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน”
    เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก”
    ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก

    เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้
    นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน
    นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู
    นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี

    ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง

    หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ

    (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mydramalist.com/photos/eVR3n
    https://www.sohu.com/a/474755225_419393
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushiji.cc/gushi/170.html
    https://baike.baidu.com/item/王风·采葛
    https://www.sohu.com/a/462824147_120340030
    https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html

    #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง ความมีอยู่ว่า ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก” เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?” ตี้จวินส่ายศีรษะ เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?” ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน” เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก” ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้ นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mydramalist.com/photos/eVR3n https://www.sohu.com/a/474755225_419393 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushiji.cc/gushi/170.html https://baike.baidu.com/item/王风·采葛 https://www.sohu.com/a/462824147_120340030 https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 310 มุมมอง 0 รีวิว
  • สลามเมืองไทย EP19 | Walking Street อาหารฮาลาลพี่น้องมุสลิม

    "Walking Street ฮาลาล: สีสันแห่งวิถีชีวิต ศรัทธา และรสชาติที่หลอมรวมใจพี่น้องมุสลิม"

    ย่าน Walking Street อาหารฮาลาล คือแหล่งรวมของ อาหารฮาลาลหลากหลายเมนู ที่ไม่เพียงตอบโจทย์เรื่องความอร่อย แต่ยังแฝงไปด้วยคุณค่าแห่งความศรัทธา ความสะอาด และมาตรฐานที่พี่น้องมุสลิมให้ความสำคัญ

    "อาหารฮาลาล: มากกว่าความอร่อย คือความบริสุทธิ์และความรับผิดชอบต่อศาสนา"
    ทั้งของคาว ของหวาน เครื่องดื่ม ไปจนถึงสินค้าโอท็อปฮาลาล ที่สะท้อนถึงความขยัน อดทน และความสร้างสรรค์ของชุมชนมุสลิมในประเทศไทย

    ร่วมเดินสัมผัสเสน่ห์ของ Walking Street อาหารฮาลาล พบกับรอยยิ้ม มิตรภาพ และความอบอุ่นของพี่น้องมุสลิม ที่รอให้คุณมาลิ้มลองและเรียนรู้ด้วยหัวใจ

    #สลามเมืองไทย #EP19 #WalkingStreetฮาลาล #อาหารฮาลาล #HalalStreetFood #MuslimCommunity #ศรัทธาและรสชาติ #HalalThailand #ThaiMuslimCulture #ThaiTimes
    สลามเมืองไทย EP19 | Walking Street อาหารฮาลาลพี่น้องมุสลิม "Walking Street ฮาลาล: สีสันแห่งวิถีชีวิต ศรัทธา และรสชาติที่หลอมรวมใจพี่น้องมุสลิม" ย่าน Walking Street อาหารฮาลาล คือแหล่งรวมของ อาหารฮาลาลหลากหลายเมนู ที่ไม่เพียงตอบโจทย์เรื่องความอร่อย แต่ยังแฝงไปด้วยคุณค่าแห่งความศรัทธา ความสะอาด และมาตรฐานที่พี่น้องมุสลิมให้ความสำคัญ "อาหารฮาลาล: มากกว่าความอร่อย คือความบริสุทธิ์และความรับผิดชอบต่อศาสนา" ทั้งของคาว ของหวาน เครื่องดื่ม ไปจนถึงสินค้าโอท็อปฮาลาล ที่สะท้อนถึงความขยัน อดทน และความสร้างสรรค์ของชุมชนมุสลิมในประเทศไทย ร่วมเดินสัมผัสเสน่ห์ของ Walking Street อาหารฮาลาล พบกับรอยยิ้ม มิตรภาพ และความอบอุ่นของพี่น้องมุสลิม ที่รอให้คุณมาลิ้มลองและเรียนรู้ด้วยหัวใจ #สลามเมืองไทย #EP19 #WalkingStreetฮาลาล #อาหารฮาลาล #HalalStreetFood #MuslimCommunity #ศรัทธาและรสชาติ #HalalThailand #ThaiMuslimCulture #ThaiTimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 321 มุมมอง 9 0 รีวิว
  • **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ

    จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น

    แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน)

    ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้

    ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง

    นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง

    เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น

    แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/
    https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00
    https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xinghuozhiku.com/76834.html
    https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html
    http://www.fs7000.com/news/?12143.html
    https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00
    https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html

    #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    **ดินแดนเนรเทศจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ สองสัปดาห์ที่แล้วเราคุยเรื่องการไถ่โทษเนรเทศ วันนี้เลยมาคุยกันต่อเกี่ยวกับเกร็ดความรู้จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ว่าด้วยดินแดนเนรเทศ จิ่วฉงจื่อฯ เป็นเรื่องราวในราชวงศ์สมมุติแต่เสื้อผ้าและสภาพสังคมอิงตามสมัยหมิง และในเรื่องนี้ บุรุษในครอบครัวสกุลเจี่ยงของติ้งกั๋วกงเจี่ยงเหมยซุน (ลุงของพระเอก) ถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ที่มีชื่อว่า ‘เถียหลิ่งเว่ย’ ซึ่งเป็นหนึ่งในดินแดนเนรเทศยอดนิยมทางเหนือในสมัยนั้น แรกเริ่มเลยในสมัยบรรพกาล หากมีการเนรเทศจะนิยมส่งไปพื้นที่โยวโจว (แถบปักกิ่งปัจจุบัน) ต่อมามีการใช้พื้นที่อื่น ซึ่งโดยหลักการคือต้องเป็นพื้นที่ทุรกันดารและด้อยพัฒนา ไม่ว่าจะด้วยสภาพดินฟ้าอากาศหรือภูมิประเทศ ในสมัยฮั่นนิยมใช้พื้นที่แถบภูเขาทางตะวันตกในมณฑลเสฉวน เนื่องจากหนาวเย็น ไกลจากเส้นทางการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ อีกทั้งภูมิประเทศเป็นเขาสูงทำให้ง่ายต่อการกักบริเวณนักโทษ ต่อมาเมื่อมีการขยายดินแดนและพัฒนาเศรษฐกิจลงใต้ ก็ยิ่งส่งนักโทษเนรเทศลงใต้ไปไกลยิ่งขึ้นโดยมีพื้นที่ยอดฮิตคือแถบหลิ่งหนานและไห่หนาน (กวางเจา กวางซี ฯลฯ) และไกลลงไปถึงเวียดนาม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ห่างไกลความเจริญและมีพายุฝนและสภาพอากาศร้อนชื้น ง่ายต่อการล้มป่วย นับว่าทุรกันดารไม่แพ้กัน จวบจนยุคถังและซ่งก็ยังนิยมใช้พื้นที่ติดชายแดนทางตอนใต้นี้ (ดูรูปประกอบขวาบน) ส่วนพื้นที่ทางเหนือที่นิยมใช้เป็นดินแดนเนรเทศนั้น คือพื้นที่ทหารทางชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวมากและชีวิตความเป็นอยู่ลำเค็ญ อีกทั้งการเดินทางไปมาก็ยากลำบาก มักถูกเรียกรวมว่า ‘ขู่หานจือตี้’ (แปลตรงตัวว่าพื้นที่หนาวมากและยากลำบาก) (ดูรูปประกอบขวาล่าง) แต่การใช้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินแดนเนรเทศไม่สามารถทำได้ทุกยุคสมัย เนื่องจากดินแดนดังกล่าวไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรภาคกลางเสมอไป จวบจนสมัยหยวนเป็นต้นมาจึงกลายเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยม โดยมีหลักการว่า คนจากพื้นที่ทางใต้จะถูกเนรเทศไปยังแดนเหนือ และคนจากพื้นที่ทางเหนือจะถูกเนรเทศลงใต้ ในสมัยหมิง พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นดินแดนเนรเทศยอดนิยม โดยพื้นที่เถียหลิ่งเว่ยที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ นี้เป็นที่นิยมในช่วงยุคกลางของสมัยหมิง ต่อมาในสมัยชิงจึงเปลี่ยนไปเป็นหนิงกู๋ถ่าและเฮยหลงเจียง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือที่ไม่ได้มีลงไว้ในรูปประกอบ ซึ่งก็คือบริเวณซีอวี้หรือซินเกียงปัจจุบัน ซึ่งเป็นดินแดนเนรเทศในสมัยฮั่น แต่ต่อมาเนื่องจากการครอบครองพื้นที่ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จึงไม่ได้มีการส่งนักโทษเนรเทศไปยังพื้นที่นี้อีกต่อไปจวบจนสมัยชิงจึงกลับมาเป็นดินแดนเนรเทศที่นิยมอีกครั้ง เพื่อนเพจอาจติดภาพลักษณ์จากในซีรีส์ว่านักโทษเนรเทศจะถูกตีตรวนและมีการกักบริเวณ ทั้งนี้ ในหลายกรณีนักโทษเนรเทศเหล่านี้จะถูกใช้เป็นแรงงานในค่ายทหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทัพทางชายแดน นักโทษจึงทำหน้าที่หลากหลาย เช่นเผาฟืนทำถ่าน ทำการเกษตร ฯลฯ เหมือนอย่างการถูกเนรเทศไปยังเถียหลิ่งเว่ยซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอย่างในเรื่องจิ่วฉงจื่อฯ เป็นต้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่นักโทษเนรเทศทุกคนที่ต้องอยู่ภายในค่ายกักกัน การเนรเทศยังมีอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือเพื่อช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ดังนั้น นักโทษอาจถูกลงทะเบียนเป็นทาสรับใช้ทำงานให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ (ซึ่งก็อาจเป็นแรงงานหนักและถูกกักบริเวณโดยผู้เป็นนายได้) หรืออาจเพียงถูกปล่อยทิ้งให้ใช้ชีวิตในดินแดนเนรเทศตามบุญตามกรรม ซึ่งหากเป็นอย่างหลังก็คือต้องขึ้นทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่นั้นๆ เดินทางออกนอกพื้นที่ไม่ได้ แต่สามารถทำมาหากินสร้างเนื้อสร้างตัวได้ ในบางรัชสมัยยังอนุญาตให้สมาชิกครอบครัวฝ่ายหญิงเดินทางย้ายรกรากไปอยู่ร่วมกับสมาชิกครอบครัวฝ่ายชายได้ด้วย อย่าลืมว่านักโทษเนรเทศจำนวนมากเป็นนักโทษทางการเมืองเช่นอดีตขุนนางที่มีการศึกษา พวกเขาจึงมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรมไปยังพื้นที่ทุรกันดารเหล่านี้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g63130394/blossom-highlights/ https://news.qq.com/rain/a/20250305A08SXM00 https://news.qq.com/rain/a/20230809A078JQ00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xinghuozhiku.com/76834.html https://m.fx361.com/news/2018/0201/16397999.html http://www.fs7000.com/news/?12143.html https://news.qq.com/rain/a/20240427A081KW00 https://www.163.com/dy/article/HDA24IDA0552XK8U.html #จิ่วฉงจื่อ #ดินแดนเนรเทศ #เถียหลิ่งเว่ย #โทษเนรเทศ #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 444 มุมมอง 0 รีวิว
  • สลามเมืองไทย EP18 | มัสยิดจักรพงษ์ มัสยิดเก่าแก่ย่านบางลำพู

    "มัสยิดจักรพงษ์: ศูนย์กลางศรัทธาแห่งบางลำพู สะท้อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมุสลิมไทย"

    ตั้งอยู่ใจกลางย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ มัสยิดจักรพงษ์ เป็นหนึ่งในมัสยิดที่มี ประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมและจิตวิญญาณของชุมชนมุสลิมในเขตเมืองได้อย่างงดงาม

    "มากกว่าสถานที่ประกอบศาสนกิจ คือรากเหง้าแห่งความศรัทธาและความผูกพันของชุมชน"
    มัสยิดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งศูนย์กลางของการละหมาด การเรียนรู้ และการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชนมาหลายชั่วอายุคน

    ร่วมสัมผัสเสน่ห์ของมัสยิดเก่าแก่แห่งบางลำพู และเรียนรู้เรื่องราวของศรัทธาที่สืบทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน

    #สลามเมืองไทย #EP18 #มัสยิดจักรพงษ์ #มัสยิดเก่าแก่ #บางลำพู #IslamicHeritage #MuslimCommunity #ศรัทธาแห่งบางลำพู #มัสยิดในกรุงเทพ #ThaiMuslimCulture #ThaiTimes
    สลามเมืองไทย EP18 | มัสยิดจักรพงษ์ มัสยิดเก่าแก่ย่านบางลำพู "มัสยิดจักรพงษ์: ศูนย์กลางศรัทธาแห่งบางลำพู สะท้อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมุสลิมไทย" ตั้งอยู่ใจกลางย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ มัสยิดจักรพงษ์ เป็นหนึ่งในมัสยิดที่มี ประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมและจิตวิญญาณของชุมชนมุสลิมในเขตเมืองได้อย่างงดงาม "มากกว่าสถานที่ประกอบศาสนกิจ คือรากเหง้าแห่งความศรัทธาและความผูกพันของชุมชน" มัสยิดแห่งนี้ทำหน้าที่เป็นทั้งศูนย์กลางของการละหมาด การเรียนรู้ และการสานสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในชุมชนมาหลายชั่วอายุคน ร่วมสัมผัสเสน่ห์ของมัสยิดเก่าแก่แห่งบางลำพู และเรียนรู้เรื่องราวของศรัทธาที่สืบทอดจากอดีตถึงปัจจุบัน #สลามเมืองไทย #EP18 #มัสยิดจักรพงษ์ #มัสยิดเก่าแก่ #บางลำพู #IslamicHeritage #MuslimCommunity #ศรัทธาแห่งบางลำพู #มัสยิดในกรุงเทพ #ThaiMuslimCulture #ThaiTimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 326 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • ละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> เห็นมีคนถามหาหนังสือนิยายเรื่องนี้กัน วันนี้เลยมาคุยถึงบทประพันธ์ดั้งเดิมที่มีคนเขียนถึงไปแล้วบ้าง แต่หวังว่าจะให้มุมมองได้ในอีกแง่มุม

    จริงๆ แล้วไม่มีนิยายค่ะ ซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทละครโบราณสมัยราชวงศ์หยวน

    เรียกว่า ‘ละคร’ เพื่อนเพจอาจนึกภาพไม่ออก จริงๆ แล้วละครในสมัยนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอุปรากรจีนหรืองิ้วนั่นเอง ในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกบทละครเหล่านี้ว่า ‘หยวนฉวี่’ (元曲 / เพลงงิ้วสมัยหยวน)

    บทงิ้วเรื่องนี้มีชื่อว่า < จ้าวพ่านเอ๋อร์เฟิงเยวี่ยจิ้วเฟิงเฉิน> (赵盼儿风月救风尘 แปลได้ประมาณว่า จ้าวพ่านเอ๋อร์ใช้มารยาสวาทช่วยหญิงคณิกา) หรือเรียกสั้นๆ ว่า <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นผลงานหนึ่งในกว่าหกสิบชิ้นของนักเขียนบทละครนามว่า ‘กวนฮ่านชิง’ (关汉卿 ปีค.ศ. 1222-1300) โดยปัจจุบันยังมีการแสดงอุปรากรจีนเรื่องนี้อยู่เรื่อยๆ (ดูรูปประกอบ)

    กวนฮ่านชิงถูกยกย่องให้เป็นที่หนึ่งของสี่ยอดนักเขียนบทอุปรากรจีนสมัยหยวน (元曲四大家) เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนและโรงละครหลายแห่ง เขาไม่ได้มีฐานะดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมชนชั้นล่าง บทละครของเขาจึงมีความสมจริงและมีหลากหลายอรรถรส ตีแผ่ด้านมืดของสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น กวนฮ่านชิงเก่งเรื่องร้องรำทำเพลงและมีฝีมือด้านการดนตรี ดังนั้นละครของเขาส่วนใหญ่เป็น ‘จ๋าจวี้’ (杂剧 / Mixed Play) เรื่อง ‘จิ้วเฟิงเฉิน’ นี้ก็เช่นกัน

    อะไรคือ ‘จ๋าจวี้’? มันคือการแสดงละครที่มีการเอาบทพูดและบทกลอน การร้องเพลง ดนตรี การเต้นรำ และแม้กระทั่งบทบู๊มารวมกันในละครเรื่องเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ถัง และนิยมเป็นอย่างมากในสมัยซ่งและหยวน

    <จิ้วเฟิงเฉิน> มีทั้งหมด 4 องค์ มีฉากหลังเป็นยุคสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวโดยย่อก็คือนางคณิกา ‘จ้าวพ่านเอ๋อร์’ มีเพื่อนสนิทเป็นนางคณิกานามว่า ‘ซ่งอิ่งจาง’ ซึ่งเดิมมีคนที่ตกลงปลงใจด้วยอยู่แล้วแต่มาหลงคารมชายที่ร่ำรวยแต่เจ้าชู้นามว่า ‘โจวเส่อ’ จึงแต่งงานไปกับเขา แต่ชีวิตหลังแต่งงานขมขื่นนัก ถูกโจวเส่อด่าทอทุบตีเป็นประจำจนเจียนตาย จ้าวพ่านเอ๋อร์จึงมาช่วย นางใช้เสน่ห์และมารยาหญิงหลอกล่อจนโจวเส่อลุ่มหลงยอมเซ็นใบหย่ากับซ่งอิ่งจางเพื่อมาแต่งงานกับนาง แต่เมื่อนางได้หนังสือหย่าก็ช่วยซ่งอิ่งจางหนีไป โจวเส่อไปฟ้องร้องว่าโดนหลอกเลยถูกฟ้องกลับว่าเขาเป็นคนหลอกภรรยาคนอื่นมา สุดท้ายโจวเส่อถูกศาลตัดสินลงโทษ

    ทำไมละคร <จิ้วเฟิงเฉิน> เรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมและโด่งดังมาก? Storyฯ จับใจความได้ดังนี้
     หลากหลายอรรถรส: เพราะเป็นละครแบบ ‘จ๋าจวี้’ จึงมีหลากหลายอรรถรส มีความรันทดของชีวิตหญิงคณิกาและชนชั้นล่าง แต่ก็มีการสอดแทรกมุขตลกไปเป็นระยะ อีกทั้งยังมีมุมมองของสังคมที่สมจริงและคนส่วนใหญ่สัมผัสได้
     ชัยชนะของชนชั้นล่าง: เป็นการชิงไหวชิงพริบและอาศัยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของจ้าวพ่านเอ๋อร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและสตรีเพศที่ต่ำต้อย เอาชนะโจวเส่อซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกดขี่ เป็นเรื่องราวที่สอดแทรกความเป็นฮีโร่เข้าไปในบุคคลธรรมดา
     เป็นบทเรียนต่อชนรุ่นหลัง: ผลงานของเขาเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ให้ชนรุ่นหลังเข้าใจถึงวัฒธรรมและสภาพสังคมในสมัยซ่งและหยวนได้ดี

    เท่าที่อ่านเรื่องย่อมา <สามบุปผาลิขิตฝัน> ดัดแปลงจาก <จิ้วเฟิงเฉิน> ไปมาก เช่น นางเอกในเรื่อง <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นนางคณิกาขายตัวจริงๆ และไม่ปรากฏรายละเอียดเรื่องราวความรักกับพระเอกเหมือนที่ดัดแปลงออกมาเป็นซีรีส์ <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่เห็นว่าซีรีส์ลงรายละเอียดวิถีชีวิตสมัยซ่งได้ดี และมีคนเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับซีรีส์เรื่องนี้มาเขียนเล่ากันไม่น้อย เพื่อนเพจที่เห็นอะไรน่าสนใจมาแบ่งปันกันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://culture.qianlong.com/2020/1223/5179821.shtml
    http://www.518yp.com/jitexingzhang/3873.html
    http://www.xinhuanet.com/ent/20220606/a7a1df7f71fb4466a7aa39849e0c513e/c.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.52lishi.com/article/64952.html
    http://www.hwjyw.com/zhwh/ctwh/zgwx/zmzj/ydzj/200709/t20070929_8194.shtml
    https://www.hao86.com/shiren_view_9bb64f43ac9bb64f/
    https://www.toutiao.com/article/6808002291593904654/?&source=m_redirect&wid=1655353365341

    #สามบุปผาลิขิตฝัน #จ้าวพ่านเอ๋อร์ #เจ้าพานเอ๋อร์ #จิ้วเฟิงเฉิน #อุปรากรจีน #จ๋าจวี้ #ราชวงศ์หยวน #กวงฮั่นชิง #หยวนฉวี่
    ละครเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน> เห็นมีคนถามหาหนังสือนิยายเรื่องนี้กัน วันนี้เลยมาคุยถึงบทประพันธ์ดั้งเดิมที่มีคนเขียนถึงไปแล้วบ้าง แต่หวังว่าจะให้มุมมองได้ในอีกแง่มุม จริงๆ แล้วไม่มีนิยายค่ะ ซีรีส์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทละครโบราณสมัยราชวงศ์หยวน เรียกว่า ‘ละคร’ เพื่อนเพจอาจนึกภาพไม่ออก จริงๆ แล้วละครในสมัยนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกว่าอุปรากรจีนหรืองิ้วนั่นเอง ในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกบทละครเหล่านี้ว่า ‘หยวนฉวี่’ (元曲 / เพลงงิ้วสมัยหยวน) บทงิ้วเรื่องนี้มีชื่อว่า < จ้าวพ่านเอ๋อร์เฟิงเยวี่ยจิ้วเฟิงเฉิน> (赵盼儿风月救风尘 แปลได้ประมาณว่า จ้าวพ่านเอ๋อร์ใช้มารยาสวาทช่วยหญิงคณิกา) หรือเรียกสั้นๆ ว่า <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นผลงานหนึ่งในกว่าหกสิบชิ้นของนักเขียนบทละครนามว่า ‘กวนฮ่านชิง’ (关汉卿 ปีค.ศ. 1222-1300) โดยปัจจุบันยังมีการแสดงอุปรากรจีนเรื่องนี้อยู่เรื่อยๆ (ดูรูปประกอบ) กวนฮ่านชิงถูกยกย่องให้เป็นที่หนึ่งของสี่ยอดนักเขียนบทอุปรากรจีนสมัยหยวน (元曲四大家) เขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนและโรงละครหลายแห่ง เขาไม่ได้มีฐานะดี ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมชนชั้นล่าง บทละครของเขาจึงมีความสมจริงและมีหลากหลายอรรถรส ตีแผ่ด้านมืดของสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น กวนฮ่านชิงเก่งเรื่องร้องรำทำเพลงและมีฝีมือด้านการดนตรี ดังนั้นละครของเขาส่วนใหญ่เป็น ‘จ๋าจวี้’ (杂剧 / Mixed Play) เรื่อง ‘จิ้วเฟิงเฉิน’ นี้ก็เช่นกัน อะไรคือ ‘จ๋าจวี้’? มันคือการแสดงละครที่มีการเอาบทพูดและบทกลอน การร้องเพลง ดนตรี การเต้นรำ และแม้กระทั่งบทบู๊มารวมกันในละครเรื่องเดียวกัน เป็นรูปแบบที่มีขึ้นตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ถัง และนิยมเป็นอย่างมากในสมัยซ่งและหยวน <จิ้วเฟิงเฉิน> มีทั้งหมด 4 องค์ มีฉากหลังเป็นยุคสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ เรื่องราวโดยย่อก็คือนางคณิกา ‘จ้าวพ่านเอ๋อร์’ มีเพื่อนสนิทเป็นนางคณิกานามว่า ‘ซ่งอิ่งจาง’ ซึ่งเดิมมีคนที่ตกลงปลงใจด้วยอยู่แล้วแต่มาหลงคารมชายที่ร่ำรวยแต่เจ้าชู้นามว่า ‘โจวเส่อ’ จึงแต่งงานไปกับเขา แต่ชีวิตหลังแต่งงานขมขื่นนัก ถูกโจวเส่อด่าทอทุบตีเป็นประจำจนเจียนตาย จ้าวพ่านเอ๋อร์จึงมาช่วย นางใช้เสน่ห์และมารยาหญิงหลอกล่อจนโจวเส่อลุ่มหลงยอมเซ็นใบหย่ากับซ่งอิ่งจางเพื่อมาแต่งงานกับนาง แต่เมื่อนางได้หนังสือหย่าก็ช่วยซ่งอิ่งจางหนีไป โจวเส่อไปฟ้องร้องว่าโดนหลอกเลยถูกฟ้องกลับว่าเขาเป็นคนหลอกภรรยาคนอื่นมา สุดท้ายโจวเส่อถูกศาลตัดสินลงโทษ ทำไมละคร <จิ้วเฟิงเฉิน> เรื่องนี้จึงเป็นที่นิยมและโด่งดังมาก? Storyฯ จับใจความได้ดังนี้  หลากหลายอรรถรส: เพราะเป็นละครแบบ ‘จ๋าจวี้’ จึงมีหลากหลายอรรถรส มีความรันทดของชีวิตหญิงคณิกาและชนชั้นล่าง แต่ก็มีการสอดแทรกมุขตลกไปเป็นระยะ อีกทั้งยังมีมุมมองของสังคมที่สมจริงและคนส่วนใหญ่สัมผัสได้  ชัยชนะของชนชั้นล่าง: เป็นการชิงไหวชิงพริบและอาศัยความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของจ้าวพ่านเอ๋อร์ซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นล่างและสตรีเพศที่ต่ำต้อย เอาชนะโจวเส่อซึ่งเป็นตัวแทนของชนชั้นกดขี่ เป็นเรื่องราวที่สอดแทรกความเป็นฮีโร่เข้าไปในบุคคลธรรมดา  เป็นบทเรียนต่อชนรุ่นหลัง: ผลงานของเขาเป็นอีกหนึ่งแหล่งความรู้ให้ชนรุ่นหลังเข้าใจถึงวัฒธรรมและสภาพสังคมในสมัยซ่งและหยวนได้ดี เท่าที่อ่านเรื่องย่อมา <สามบุปผาลิขิตฝัน> ดัดแปลงจาก <จิ้วเฟิงเฉิน> ไปมาก เช่น นางเอกในเรื่อง <จิ้วเฟิงเฉิน> เป็นนางคณิกาขายตัวจริงๆ และไม่ปรากฏรายละเอียดเรื่องราวความรักกับพระเอกเหมือนที่ดัดแปลงออกมาเป็นซีรีส์ <สามบุปผาลิขิตฝัน> แต่เห็นว่าซีรีส์ลงรายละเอียดวิถีชีวิตสมัยซ่งได้ดี และมีคนเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับซีรีส์เรื่องนี้มาเขียนเล่ากันไม่น้อย เพื่อนเพจที่เห็นอะไรน่าสนใจมาแบ่งปันกันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://culture.qianlong.com/2020/1223/5179821.shtml http://www.518yp.com/jitexingzhang/3873.html http://www.xinhuanet.com/ent/20220606/a7a1df7f71fb4466a7aa39849e0c513e/c.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.52lishi.com/article/64952.html http://www.hwjyw.com/zhwh/ctwh/zgwx/zmzj/ydzj/200709/t20070929_8194.shtml https://www.hao86.com/shiren_view_9bb64f43ac9bb64f/ https://www.toutiao.com/article/6808002291593904654/?&source=m_redirect&wid=1655353365341 #สามบุปผาลิขิตฝัน #จ้าวพ่านเอ๋อร์ #เจ้าพานเอ๋อร์ #จิ้วเฟิงเฉิน #อุปรากรจีน #จ๋าจวี้ #ราชวงศ์หยวน #กวงฮั่นชิง #หยวนฉวี่
    北昆《救风尘》亮相长安大戏院 且看赵盼儿“雪夜行路”-千龙网·中国首都网
    北昆《救风尘》亮相长安大戏院 且看赵盼儿“雪夜行路”
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 539 มุมมอง 0 รีวิว
  • สลามเมืองไทย EP17 | วิวัฒนาการดนตรีมุสลิม

    "จากเสียงสวดสู่บทเพลงแห่งศรัทธา... ดนตรีมุสลิมกับเส้นทางที่เปลี่ยนแปลงแต่ไม่ทิ้งรากเหง้า"

    EP นี้จะพาคุณไปรู้จักกับ วิวัฒนาการของดนตรีในชุมชนมุสลิมไทย ที่มีความหลากหลายทั้งในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ซิกิร ซอลาวาต อะนาชีด จนถึงดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมสากล

    ดนตรีมุสลิมไม่เพียงแค่ให้ความบันเทิง แต่ยังสะท้อนถึง ศรัทธา ความสามัคคี และการส่งต่อคุณค่าทางศาสนาและสังคม ไปสู่คนรุ่นใหม่ ผ่านเครื่องดนตรี เสียงร้อง และท่วงทำนองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

    ร่วมเดินทางผ่านกาลเวลากับเสียงเพลงของพี่น้องมุสลิม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งหัวใจของศรัทธา

    #สลามเมืองไทย #EP17 #วิวัฒนาการดนตรีมุสลิม #MuslimMusic #ซอลาวาต #ซิกิร #อะนาชีด #ศรัทธาและเสียงเพลง #IslamicCulture #MuslimCommunity #ThaiTimes
    สลามเมืองไทย EP17 | วิวัฒนาการดนตรีมุสลิม "จากเสียงสวดสู่บทเพลงแห่งศรัทธา... ดนตรีมุสลิมกับเส้นทางที่เปลี่ยนแปลงแต่ไม่ทิ้งรากเหง้า" EP นี้จะพาคุณไปรู้จักกับ วิวัฒนาการของดนตรีในชุมชนมุสลิมไทย ที่มีความหลากหลายทั้งในรูปแบบดั้งเดิม เช่น ซิกิร ซอลาวาต อะนาชีด จนถึงดนตรีร่วมสมัยที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมสากล ดนตรีมุสลิมไม่เพียงแค่ให้ความบันเทิง แต่ยังสะท้อนถึง ศรัทธา ความสามัคคี และการส่งต่อคุณค่าทางศาสนาและสังคม ไปสู่คนรุ่นใหม่ ผ่านเครื่องดนตรี เสียงร้อง และท่วงทำนองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ร่วมเดินทางผ่านกาลเวลากับเสียงเพลงของพี่น้องมุสลิม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งหัวใจของศรัทธา #สลามเมืองไทย #EP17 #วิวัฒนาการดนตรีมุสลิม #MuslimMusic #ซอลาวาต #ซิกิร #อะนาชีด #ศรัทธาและเสียงเพลง #IslamicCulture #MuslimCommunity #ThaiTimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 436 มุมมอง 10 0 รีวิว
  • Afghanization, Finlandization, And The Politic-ization Of Place Names

    Recent news has been filled with analysis that attempts to make sense of current events by comparing them to past moments in history—and applying some of the terminology that originated in the midst or aftermath of those earlier events. Prominent examples include terms based on the combination of a place name and the ending -ization, such as Afghanization (in the context of the withdrawal of US forces from Afghanistan) and Finlandization (in the context of the Russian invasion of Ukraine).

    Not only are such terms used in fraught political discussions, use of the words themselves is often controversial due to debates about what they mean exactly as well as how—or whether—they should be used.

    Add context to your reading of current events with this list of some of the -ization terms you’re most likely to encounter in historical analysis, along with explanations about the different meanings they can have.

    Afghanization
    The term Afghanization is most prominently used in the context of US forces in Afghanistan, particularly in the lead-up to and during the withdrawal of those forces in 2021. Specifically, it refers to the US strategy of attempting to return political and military control to Afghan forces. The term is also used separately to refer to ethnic and language assimilation within the country.

    Africanization
    The term Africanization can be used in a variety of ways. It can mean “to bring under African, especially Black African, influence or to adapt to African needs” or more specifically, “to make African, especially to give control of (policy, government, etc.) to Africans.” It is commonly used to discuss postcolonial Africa and post-apartheid South Africa. In this context, Africanization refers to restoring political, economic, and civil power to Black Africans.

    Americanization
    The word Americanization is used to refer to two separate ideas. In the early 1900s, many advocated for “Americanizing” the large number of new immigrants who were entering the United States at the time as a way to instill cultural values considered quintessentially “American.” During and after, this approach has faced criticism for forcing the loss of immigrants’ original cultures.

    More currently, the word Americanization is often used to refer to the spread of American culture across the world, especially through American media and popular culture. This term can refer to the wide availability of American pop culture, which has been noted for its influence on many other nations’ cultures.

    Arabization
    The word Arabization is used to refer to a process of promoting Arabic language and Arabic culture in education, government, and media. In particular, Arabization is often used to describe government policies that enforce this process in countries that were formerly under the control of non-Arab colonizers.

    balkanization
    The term balkanization is sometimes applied when a large place or country divides up into smaller, more homogenous communities. It can also refer to conflict between various ethnic groups in one state. The term balkanization makes reference to the Balkans, also known as the Balkan Peninsula, which split into many small countries first after the fall of the Ottoman Empire and again after the fall of the Soviet Union and the breakup of Yugoslavia.

    Dubaization
    Dubaization refers to a rapid period of development of a city or area with futuristic architecture. Dubaization takes its name from the city of Dubai in the United Arab Emirates, which is known for its architectural development dating back to the 1990s.

    Finlandization
    Finlandization refers to the process by which a smaller country maintains a neutral or favorable policy toward a larger country due to influence from that larger country. Coined by political scientist Richard Lowenthal in the 1960s, the term references Finland’s neutrality toward the Soviet Union during the Cold War. A 1948 treaty stipulated Finland would remain neutral during the Cold War if in turn the Soviet Union refrained from invading the country. The term can have negative connotations, as it can imply one country is under the thumb of a more powerful one and has opted for neutrality under undue pressure.

    Japanization
    In economics, the term Japanization is used to refer to a period of deflation and economic stagnation in a country. The term references the nation of Japan, whose economic stagnation in the 1990s led to a severe financial crisis in what is now often referred to as the Lost Decade.

    Latinization
    The term Latinization has several distinct senses:

    - Latinization can refer to the act of rendering a language into a script that uses the Latin alphabet. For example, a translator might Latinize a text by taking Chinese or Hindi characters and converting them to Latin letters.
    - In religious context, Latinization can refer to the process by which non-Latin Christian churches were made to conform to the practices of the Latin and Roman Catholic Church, primarily during the Middle Ages.
    - Latinization can also refer to a place becoming similar to places in Latin America. For example, US cities with large Hispanic populations, such as Miami, have been described as being Latinized.

    Mongolization
    The term Mongolization is often used to refer to the assimilation of language and culture that occurred by peoples who were conquered by the Mongol Empire. For many peoples, this process occurred over a long period of time and often involved their traditional culture slowly blending with Mongol culture.

    Ottomanization
    Ottomanization refers to the adoption of the culture of the Ottoman Empire by the peoples and places under its rule. Historically, this term has referred to the transition from the Christian, Greek traditions of the Byzantines to the Islamic, Turkish traditions and culture of the Ottomans.

    Romanization
    The term Romanization is often used to refer to the cultural influence practiced by the Roman Empire. At its peak, the Roman Empire encompassed an incredibly diverse range of countries and cultures, which allowed for a large-scale Romanization, the influence of which can still be seen today in the many languages, architecture, and cultures retaining Roman influences.

    Sinicization
    Sinicization refers to the spreading of Chinese culture, religion, and politics. The term Sinicization has also been used, including by the Chinese government, to refer to China’s policy of enforcing the assimilation of ethnic and religious minorities to Chinese practices. The beginning of the term is a version of Sino-, which comes from a Latin word referring to China and is used in many other terms referring to China or Chinese culture (such as Sinology).

    Vietnamization
    Vietnamization is the name given to a strategy employed by the Nixon administration as an attempt to end US involvement in the highly unpopular Vietnam War. The strategy intended for the US to transfer all military responsibility to South Vietnamese forces and prepare South Vietnam to fight North Vietnam. The process called Afghanization is sometimes likened to Vietnamization due to similarities in the failures and other aspects of the respective conflicts.

    © 2025, Aakkhra, All rights reserved.
    Afghanization, Finlandization, And The Politic-ization Of Place Names Recent news has been filled with analysis that attempts to make sense of current events by comparing them to past moments in history—and applying some of the terminology that originated in the midst or aftermath of those earlier events. Prominent examples include terms based on the combination of a place name and the ending -ization, such as Afghanization (in the context of the withdrawal of US forces from Afghanistan) and Finlandization (in the context of the Russian invasion of Ukraine). Not only are such terms used in fraught political discussions, use of the words themselves is often controversial due to debates about what they mean exactly as well as how—or whether—they should be used. Add context to your reading of current events with this list of some of the -ization terms you’re most likely to encounter in historical analysis, along with explanations about the different meanings they can have. Afghanization The term Afghanization is most prominently used in the context of US forces in Afghanistan, particularly in the lead-up to and during the withdrawal of those forces in 2021. Specifically, it refers to the US strategy of attempting to return political and military control to Afghan forces. The term is also used separately to refer to ethnic and language assimilation within the country. Africanization The term Africanization can be used in a variety of ways. It can mean “to bring under African, especially Black African, influence or to adapt to African needs” or more specifically, “to make African, especially to give control of (policy, government, etc.) to Africans.” It is commonly used to discuss postcolonial Africa and post-apartheid South Africa. In this context, Africanization refers to restoring political, economic, and civil power to Black Africans. Americanization The word Americanization is used to refer to two separate ideas. In the early 1900s, many advocated for “Americanizing” the large number of new immigrants who were entering the United States at the time as a way to instill cultural values considered quintessentially “American.” During and after, this approach has faced criticism for forcing the loss of immigrants’ original cultures. More currently, the word Americanization is often used to refer to the spread of American culture across the world, especially through American media and popular culture. This term can refer to the wide availability of American pop culture, which has been noted for its influence on many other nations’ cultures. Arabization The word Arabization is used to refer to a process of promoting Arabic language and Arabic culture in education, government, and media. In particular, Arabization is often used to describe government policies that enforce this process in countries that were formerly under the control of non-Arab colonizers. balkanization The term balkanization is sometimes applied when a large place or country divides up into smaller, more homogenous communities. It can also refer to conflict between various ethnic groups in one state. The term balkanization makes reference to the Balkans, also known as the Balkan Peninsula, which split into many small countries first after the fall of the Ottoman Empire and again after the fall of the Soviet Union and the breakup of Yugoslavia. Dubaization Dubaization refers to a rapid period of development of a city or area with futuristic architecture. Dubaization takes its name from the city of Dubai in the United Arab Emirates, which is known for its architectural development dating back to the 1990s. Finlandization Finlandization refers to the process by which a smaller country maintains a neutral or favorable policy toward a larger country due to influence from that larger country. Coined by political scientist Richard Lowenthal in the 1960s, the term references Finland’s neutrality toward the Soviet Union during the Cold War. A 1948 treaty stipulated Finland would remain neutral during the Cold War if in turn the Soviet Union refrained from invading the country. The term can have negative connotations, as it can imply one country is under the thumb of a more powerful one and has opted for neutrality under undue pressure. Japanization In economics, the term Japanization is used to refer to a period of deflation and economic stagnation in a country. The term references the nation of Japan, whose economic stagnation in the 1990s led to a severe financial crisis in what is now often referred to as the Lost Decade. Latinization The term Latinization has several distinct senses: - Latinization can refer to the act of rendering a language into a script that uses the Latin alphabet. For example, a translator might Latinize a text by taking Chinese or Hindi characters and converting them to Latin letters. - In religious context, Latinization can refer to the process by which non-Latin Christian churches were made to conform to the practices of the Latin and Roman Catholic Church, primarily during the Middle Ages. - Latinization can also refer to a place becoming similar to places in Latin America. For example, US cities with large Hispanic populations, such as Miami, have been described as being Latinized. Mongolization The term Mongolization is often used to refer to the assimilation of language and culture that occurred by peoples who were conquered by the Mongol Empire. For many peoples, this process occurred over a long period of time and often involved their traditional culture slowly blending with Mongol culture. Ottomanization Ottomanization refers to the adoption of the culture of the Ottoman Empire by the peoples and places under its rule. Historically, this term has referred to the transition from the Christian, Greek traditions of the Byzantines to the Islamic, Turkish traditions and culture of the Ottomans. Romanization The term Romanization is often used to refer to the cultural influence practiced by the Roman Empire. At its peak, the Roman Empire encompassed an incredibly diverse range of countries and cultures, which allowed for a large-scale Romanization, the influence of which can still be seen today in the many languages, architecture, and cultures retaining Roman influences. Sinicization Sinicization refers to the spreading of Chinese culture, religion, and politics. The term Sinicization has also been used, including by the Chinese government, to refer to China’s policy of enforcing the assimilation of ethnic and religious minorities to Chinese practices. The beginning of the term is a version of Sino-, which comes from a Latin word referring to China and is used in many other terms referring to China or Chinese culture (such as Sinology). Vietnamization Vietnamization is the name given to a strategy employed by the Nixon administration as an attempt to end US involvement in the highly unpopular Vietnam War. The strategy intended for the US to transfer all military responsibility to South Vietnamese forces and prepare South Vietnam to fight North Vietnam. The process called Afghanization is sometimes likened to Vietnamization due to similarities in the failures and other aspects of the respective conflicts. © 2025, Aakkhra, All rights reserved.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 674 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1)

    การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง

    แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด?

    วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง

    ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา

    รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย

    คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2)

    ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ

    (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/292070252_100132268
    https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803
    https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269
    https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html
    https://kknews.cc/food/pnborxz.html
    https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html
    https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html
    #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องการลอยสุรามาตามน้ำหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ วันนี้มาคุยต่อว่าด้วยเรื่องการลอยอาหารมาตามน้ำ เชื่อว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ตำนานหมิงหลัน> หรือ <ตำนานลั่วหยาง> ต้องเคยผ่านตาฉากงานเลี้ยงที่มีการวางจานอาหารให้ลอยมาตามน้ำผ่านหน้าแขกผู้มาร่วมงาน (ดูรูปประกอบ1) การจัดให้จานอาหารลอยมาตามน้ำในงานเลี้ยงนั้น ในประวัติศาสตร์มีอยู่จริง เรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ (流水席) เป็นลักษณะการจัดวางอาหารให้ลอยไปตามสายธารจำลองบนโต๊ะ นิยมใช้ในงานเลี้ยงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย-ถัง แต่รู้หรือไม่... ‘หลิวสุ่ยสี’ เกิดจากงานวัด? วัดดังกล่าวคือวัดจิ้งเจวี๋ย (ต่อมาในสมัยชิง เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานนามใหม่ว่าวัดไท่หนิง) ตั้งอยู่มณฑลเหอเป่ย มีทิวทัศน์งดงาม ว่ากันว่าในวันสำคัญจะมีผู้คนมาไหว้พระรับประทานอาหารเจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ (หรือก็คือวันซ่างซึ 上巳节 ที่ Storyฯ เคยกล่าวถึงสัปดาห์ที่แล้ว) จะมีคนจำนวนมาก แออัดชุลมุนจนดูแลไม่ไหว ทางวัดเลยคิดสร้างเป็นคลอง/ลำธารจำลองทะลุออกไปยังด้านนอกวัด คดเคี้ยวไปตามเนินหิน จัดวางโต๊ะหินตามรายทาง แล้วส่งอาหารด้วยการลอยถาดไปตามน้ำโดยอาศัยแรงดันของน้ำพุและลำธารธรรมชาติ ชาวบ้านที่มาไหว้พระเสร็จแล้วก็สามารถเรียงคิวนั่งหยิบอาหารเจทานได้จากด้านนอก ไม่ต้องเข้ามาแออัดกันอยู่ในวัด เกิดเป็นการเรียกกันอย่างง่ายว่า ‘อาหารที่ลอยมาตามน้ำ’ หรือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั่นเอง ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลาย และรูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ ถูกนำมาใช้กันในงานเลี้ยงของคนที่มีฐานะหรือมียศศักดิ์อย่างที่เห็นในตัวอย่างละครที่กล่าวมา รูปแบบ ‘หลิวสุ่ยสี’ แปรเปลี่ยนไปเมื่อใดไม่ชัดเจน แต่ปัจจุบัน ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการเสิร์ฟอาหารแบบโต๊ะจีนที่เราคุ้นเคย โดยมีสองคำอธิบาย คำอธิบายแรกก็คือ ‘หลิวสุ่ยสี’ นั้นหมายถึง ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ (หมายเหตุ เมืองลั่วหยางในสมัยราชวงศ์ถังมีศักดิ์เป็นเมืองหลวงรองทางทิศบูรพา หรือ Eastern Capital) เพราะเผยแพร่มาจากลั่วหยางและมีตำนานเกี่ยวโยงถึงจักรพรรดินีบูเช็กเทียน เพราะว่าโหรหลวงทำนายได้ว่าอีก 24 ปี นางอู่เม่ยเหนียง (ชื่อเดิมขององค์บูเช็กเทียน) จะได้ขึ้นครองราชย์ ในงานเลี้ยงที่จัดขึ้นจึงมีอาหาร 24 อย่าง และเอกลักษณ์ของ ‘ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี’ ก็คือเมนูอาหารจะประกอบด้วยอาหารจานเย็น 8 อย่าง ตามด้วยจานร้อนอีก 16 อย่าง รวมเป็น 24 อย่าง โดยทุกจานต้องเป็นอาหารที่มีน้ำแกง/น้ำซุป ตามวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านของลั่วหยาง (ดูรูปประกอบ2) ส่วนอีกคำอธิบายนั้นก็คือว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ เป็นการจัดเลี้ยงแบบโต๊ะจีนโดยจัดเสิร์ฟอาหารทีละจาน รับประทานจานหนึ่งเสร็จแล้วค่อยเสิร์ฟจานใหม่ ทำอย่างนี้ต่อเนื่องดุจสายน้ำที่ไหลไม่หยุด เป็นสัญลักษณ์ของความราบรื่น ดังนั้น หากเพื่อนเพจได้ยินคำเรียกว่า ‘หลิวสุ่ยสี’ แต่หน้าตาอาหารไม่เน้นน้ำแกงและไม่ได้มีอะไรแตกต่างจากโต๊ะจีนที่พวกเราคุ้นเคยก็อย่าได้แปลกใจนะคะ เขาเรียกชื่อเอาเคล็ดว่าอาหารการกินไม่ขาดสาย สมบูรณ์และราบรื่นค่ะ (ป.ล. อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/292070252_100132268 https://www.jiuzyoung.com/entertain/watch/fengqiluoyang/ https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/流水席/1930803 https://baike.baidu.com/item/洛阳水席 /81269 https://k.sina.cn/article_6270609874_175c1e9d200101ikw3.html https://kknews.cc/food/pnborxz.html https://kknews.cc/culture/xmnqp89.html https://inf.news/zh-hans/travel/1bb8077672e35d14d648ed2a929afc92.html #หลิวสุ่ยสี #ลั่วหยางหลิวสุ่ยสี #โต๊ะจีน
    明兰、二郎、小公爷,《知否》三大主角艰难原生家庭描绘三种人生_顾廷烨
    而元若哥哥呢,在母亲掌控一切的情况中顺从听话,老妈说要读书,那就读书;老妈说要事业,那就考公民,如果说这辈子唯一有点主见的,那就是遇到明兰,争取扑腾起的小浪花。 于是,借着嘉成县主逼迫齐衡也就从了家…
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 474 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง

    แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร

    ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร?

    เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม

    การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต

    คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ

    การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา)

    สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’

    ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว

    ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d
    https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116
    https://www.sohu.com/a/222355523_99902358
    https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html

    #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร? เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา) สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’ ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116 https://www.sohu.com/a/222355523_99902358 https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 506 มุมมอง 0 รีวิว
  • **พิธีแต่งงาน กราบไหว้กระจก**

    สวัสดีค่ะ วันนี้คุยกันสั้นๆ ว่าด้วยเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เกี่ยวกับพิธีแต่งงาน
    เราเคยคุยกันเกี่ยวกับหลากหลายธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีแต่งงาน แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฏในเรื่องนี้เป็นที่สะดุดตา Storyฯ ไม่น้อย ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูถึงฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงจะรู้สึกสะดุดตากับการไหว้กระจกหรือไม่?

    การไหว้กระจกนี้เรียกว่า ‘ว่องจิ้งจ่านป้าย’ (望镜展拜) เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการกราบไหว้ตอนแต่งงาน โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่ากระจกสามารถขับสิ่งอัปมงคลออกจากชีวิต อีกทั้งสื่อความหมายของความกระจ่างเปิดเผย สะท้อนให้เห็นว่างานมงคลครั้งนี้ทำอย่างถูกต้องตามพิธีการ เปิดเผยและสมเกียรติ

    แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนจะคุ้นหูคุ้นตามากกว่ากับการกราบไหว้สามครั้ง ประกอบด้วยการกราบไหว้ฟ้าดิน กราบไหว้บิดามารดาฝ่ายชาย และกราบไหว้คู่แต่งงาน จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วกราบไหว้กระจกตอนไหน Storyฯ จึงไปหาข้อมูลมาเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้วพิธีแต่งงานแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ดังนั้นเราจึงพบเห็นความหลากหลายในซีรีส์ต่างๆ ที่พยายามเอาธรรมเนียมจีนมาถ่ายทอดให้ดู

    การไหว้กระจกเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่สมัยใดไม่ทราบชัด แต่มีปรากฏอยู่บนภาพวาดในถ้ำโบราณม่อเกาถ้ำที่สิบสองแห่งเมืองโบราณตุนหวง ซึ่งเป็นภาพวาดสมัยถังตอนปลาย (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นคู่บ่าวสาวอยู่หน้ากระจกที่ตั้งอยู่บนขาตั้งสามขา โดยฝ่ายชายคุกเข่ากราบไหว้ ฝ่ายหญิงยืนคารวะอยู่ข้างๆ ซึ่งการที่ฝ่ายชายคุกเข่าแต่ฝ่ายหญิงคุกเข่านั้น บางข้อมูลกล่าวว่าเป็นเพราะว่ามันเป็นพิธีของการที่ฝ่ายชายแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง แต่ก็มีบางบทความที่กล่าวว่านี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งในสมัยถัง

    ในสมัยถัง หนึ่งในรูปแบบพิธีแต่งงานคือมีการกราบไหว้บรรพบุรุษที่วัดของตระกูลต่างหาก และในส่วนพิธีในบ้านนั้นบอกแต่เพียงว่าเป็นการกราบไหว้ของคู่บ่าวสาว โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ไหว้ฟ้าดินหรือบิดามารดาหรือใคร จึงกลายเป็นการกราบไหว้กระจกอย่างเดียวก็จบพิธีแล้วส่งตัวเข้าห้องหอเลย

    วิธีปฏิบัตินี้มีสืบทอดต่อไปจนถึงสมัยซ่งเหนือ ปรากฏในบันทึกตงจิงเมิ่งหัวลู่ว่า เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว จะมีคนโปรยถั่วต่างๆ พร้อมเอ่ยคำอวยพร บ่าวสาวก้าวไปบนผ้าหรือพรมคนนำมาสลับวาง (เรียกว่า ‘จ่วนสี’ / 转席) เพื่อไม่ให้เท้าแตะพื้น มีคนถือกระจกกลับด้าน (คือให้สะท้อนไปที่คู่บ่าวสาว) นำทางบ่าวสาวเดินข้ามผ่านอานม้าไปยังหน้าแท่นพิธี กราบไหว้แล้วส่งตัวเข้าห้องหอ แล้วบ่าวสาวค่อยไปคำนับซึ่งกันและกันตอนดื่มสุรามงคลในห้องหอ

    จากคำบรรยายฟังดูใกล้เคียงมากกับฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงที่เราเห็นในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> ที่มีสมัยถังเป็นฉากหลัง เพียงแต่ว่าเท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลมาการก้าวข้ามอานม้าเพิ่งมีปฏิบัติในสมัยซ่ง แต่อย่างที่เราพอจะเห็นภาพว่าพิธีการเกี่ยวกับการแต่งงานมีรายละเอียดมากและแตกต่างกันไปตามพื้นที่และยุคสมัย และแน่นอนว่าเราจะเห็นอีกหลายหลายซีรีส์ทั้งในยุคถังและซ่งที่มีขั้นตอนการกราบไหว้ฟ้าดินที่แตกต่างกันในรายละเอียด

    ได้ยินว่าในเรื่อง <งามบุปผาสกุณา> ก็มีฉากกราบไหว้กระจกในพิธีแต่งงานเช่นกัน แต่ Storyฯ ยังไม่ได้ดู เพื่อนเพจเคยผ่านตาธรรมเนียมนี้ในเรื่องใด เม้นท์กันเข้ามาเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.yicai.com/news/102418541.html
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251
    https://baike.baidu.com/item/拜堂/63174
    https://yuedu.163.com/book_reader/eba5f99b2df44d1781d1e12e583d647c_4/95a26035c7624257a18cd5c3819a33bc_5
    https://chiculture.org.hk/sc/china-five-thousand-years/4488

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #พิธีแต่งงานจีน #กราบไหว้กระจก #ว่องจิ้งจ่านป้าย #สาระจีน
    **พิธีแต่งงาน กราบไหว้กระจก** สวัสดีค่ะ วันนี้คุยกันสั้นๆ ว่าด้วยเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เกี่ยวกับพิธีแต่งงาน เราเคยคุยกันเกี่ยวกับหลากหลายธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีแต่งงาน แต่มีขั้นตอนหนึ่งที่ปรากฏในเรื่องนี้เป็นที่สะดุดตา Storyฯ ไม่น้อย ไม่ทราบว่าเพื่อนเพจที่ได้ดูถึงฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงจะรู้สึกสะดุดตากับการไหว้กระจกหรือไม่? การไหว้กระจกนี้เรียกว่า ‘ว่องจิ้งจ่านป้าย’ (望镜展拜) เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการกราบไหว้ตอนแต่งงาน โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อว่ากระจกสามารถขับสิ่งอัปมงคลออกจากชีวิต อีกทั้งสื่อความหมายของความกระจ่างเปิดเผย สะท้อนให้เห็นว่างานมงคลครั้งนี้ทำอย่างถูกต้องตามพิธีการ เปิดเผยและสมเกียรติ แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนจะคุ้นหูคุ้นตามากกว่ากับการกราบไหว้สามครั้ง ประกอบด้วยการกราบไหว้ฟ้าดิน กราบไหว้บิดามารดาฝ่ายชาย และกราบไหว้คู่แต่งงาน จึงเป็นที่มาของความ ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วกราบไหว้กระจกตอนไหน Storyฯ จึงไปหาข้อมูลมาเพิ่ม และพบว่าจริงๆ แล้วพิธีแต่งงานแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและพื้นที่ ดังนั้นเราจึงพบเห็นความหลากหลายในซีรีส์ต่างๆ ที่พยายามเอาธรรมเนียมจีนมาถ่ายทอดให้ดู การไหว้กระจกเป็นธรรมเนียมที่มีมาแต่สมัยใดไม่ทราบชัด แต่มีปรากฏอยู่บนภาพวาดในถ้ำโบราณม่อเกาถ้ำที่สิบสองแห่งเมืองโบราณตุนหวง ซึ่งเป็นภาพวาดสมัยถังตอนปลาย (ดูรูปประกอบ) เราจะเห็นคู่บ่าวสาวอยู่หน้ากระจกที่ตั้งอยู่บนขาตั้งสามขา โดยฝ่ายชายคุกเข่ากราบไหว้ ฝ่ายหญิงยืนคารวะอยู่ข้างๆ ซึ่งการที่ฝ่ายชายคุกเข่าแต่ฝ่ายหญิงคุกเข่านั้น บางข้อมูลกล่าวว่าเป็นเพราะว่ามันเป็นพิธีของการที่ฝ่ายชายแต่งเข้าบ้านฝ่ายหญิง แต่ก็มีบางบทความที่กล่าวว่านี่เป็นวิธีปฏิบัติทั่วไปในช่วงเวลาหนึ่งในสมัยถัง ในสมัยถัง หนึ่งในรูปแบบพิธีแต่งงานคือมีการกราบไหว้บรรพบุรุษที่วัดของตระกูลต่างหาก และในส่วนพิธีในบ้านนั้นบอกแต่เพียงว่าเป็นการกราบไหว้ของคู่บ่าวสาว โดยไม่ได้กำหนดว่าให้ไหว้ฟ้าดินหรือบิดามารดาหรือใคร จึงกลายเป็นการกราบไหว้กระจกอย่างเดียวก็จบพิธีแล้วส่งตัวเข้าห้องหอเลย วิธีปฏิบัตินี้มีสืบทอดต่อไปจนถึงสมัยซ่งเหนือ ปรากฏในบันทึกตงจิงเมิ่งหัวลู่ว่า เมื่อถึงบ้านเจ้าบ่าว จะมีคนโปรยถั่วต่างๆ พร้อมเอ่ยคำอวยพร บ่าวสาวก้าวไปบนผ้าหรือพรมคนนำมาสลับวาง (เรียกว่า ‘จ่วนสี’ / 转席) เพื่อไม่ให้เท้าแตะพื้น มีคนถือกระจกกลับด้าน (คือให้สะท้อนไปที่คู่บ่าวสาว) นำทางบ่าวสาวเดินข้ามผ่านอานม้าไปยังหน้าแท่นพิธี กราบไหว้แล้วส่งตัวเข้าห้องหอ แล้วบ่าวสาวค่อยไปคำนับซึ่งกันและกันตอนดื่มสุรามงคลในห้องหอ จากคำบรรยายฟังดูใกล้เคียงมากกับฉากแต่งงานของจ้าวซิวเหยวียนและหนิวอู่เหนียงที่เราเห็นในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> ที่มีสมัยถังเป็นฉากหลัง เพียงแต่ว่าเท่าที่ Storyฯ หาข้อมูลมาการก้าวข้ามอานม้าเพิ่งมีปฏิบัติในสมัยซ่ง แต่อย่างที่เราพอจะเห็นภาพว่าพิธีการเกี่ยวกับการแต่งงานมีรายละเอียดมากและแตกต่างกันไปตามพื้นที่และยุคสมัย และแน่นอนว่าเราจะเห็นอีกหลายหลายซีรีส์ทั้งในยุคถังและซ่งที่มีขั้นตอนการกราบไหว้ฟ้าดินที่แตกต่างกันในรายละเอียด ได้ยินว่าในเรื่อง <งามบุปผาสกุณา> ก็มีฉากกราบไหว้กระจกในพิธีแต่งงานเช่นกัน แต่ Storyฯ ยังไม่ได้ดู เพื่อนเพจเคยผ่านตาธรรมเนียมนี้ในเรื่องใด เม้นท์กันเข้ามาเล่าให้ฟังหน่อยนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.yicai.com/news/102418541.html https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_29901251 https://baike.baidu.com/item/拜堂/63174 https://yuedu.163.com/book_reader/eba5f99b2df44d1781d1e12e583d647c_4/95a26035c7624257a18cd5c3819a33bc_5 https://chiculture.org.hk/sc/china-five-thousand-years/4488 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #พิธีแต่งงานจีน #กราบไหว้กระจก #ว่องจิ้งจ่านป้าย #สาระจีน
    从《蜀锦人家》看非遗生意经,这些诀窍可借鉴|乐言商业
    《蜀锦人家》通过女主角季英英的故事,展示了核心技术、创新、产业链合作、资本运作和渠道拓展等商业策略,为现代消费企业提供了宝贵的启示。
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 600 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออภัยที่มาอัพเรื่องให้อ่านช้า (อีกแล้ว) เพราะ Storyฯ หมดเวลาไปกับการเตรียมทริปเที่ยวหน้าหนาวค่ะ วันนี้ยังคงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> มาเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับชื่อของนางเอกเฉินเซ่าซาง ที่ในละครมีกล่าวถึงหลายครั้งว่าแปลว่า ‘สายพิณ’ และถึงขนาดองค์ฮองเฮายังตรัสชมว่าเป็นชื่อที่ดี

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้รู้สึกงงกันบ้างไหมว่า มีชื่อเป็นสายพิณมันดียังไงคะ?

    แน่นอนว่าเรากำลังคุยกันถึงพิณโบราณของจีนหรือที่เรียกว่า ‘กู่ฉิน’ (古琴) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดมาก่อนยุคสมัยชุนชิวและการดีดพิณถือเป็นศิลปะชั้นสูงที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาชีวิต โดยมีการกล่าวถึงปรัชญาเหล่านี้ในบันทึกเกี่ยวกับพิธีการโบราณสมัยราชวงศ์โจว วันนี้ Storyฯ จะกล่าวถึงชื่อเรียกและปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสายพิณ

    แรกเริ่มเลยกู่ฉินมีเพียงสายพิณห้าเส้น เรียกกันว่า ‘กงซางเจวี๋ยจื่ออวี่’ ซึ่งชื่อเรียกเหล่านี้มาจากดวงดาว สรุปได้ดังนี้
    1. กง (宫) : เป็นเส้นที่ใหญ่สุด เสียงทุ้มหนักแน่น เป็นสัญลักษณ์แห่งราชัน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการปกครองและความเป็นเจ้าคนนายคน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุดินหรือ ‘ดาวดิน’ (คือชื่อเรียกภาษาจีนของดาวเสาร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘โด’ นั่นเอง
    2. ซาง (商) : เป็นสัญลักษณ์ของข้าราชสำนักหรือรัฐบุรุษ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการบริหารงาน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุทองหรือ ‘ดาวทอง’ (ดาวศุกร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘เร’
    3. เจวี๋ย (角) : เป็นสัญลักษณ์ของประชาชน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเติบโตจากผืนดิน และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไม้หรือ ‘ดาวไม้’ (ดาวพฤหัส) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘มี’
    4. จื่อ (徵) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเจริญงอกงาม และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไฟหรือ ‘ดาวไฟ’ (ดาวอังคาร) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ฟา’
    5. อวี่ (羽) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการหล่อหลอมกลมเกลียวและเป็นตัวแทนแห่งธาตุน้ำหรือ ‘ดาวน้ำ’ (ดาวพุธ) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ซอล’

    ต่อมากู่ฉินจึงถูกเพิ่มสายพิณขึ้นมาอีกสองเส้น จนครบคีย์ ‘ลา’ และ ‘ที’

    โดยเส้นที่หกเรียกว่า ‘เซ่ากง’ (少宫) เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบุ๋น’ (文星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘เหวิน’ เป็นหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่หกนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวเหวินหวาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว (ปี 1152-1050 ก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นที่ระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ไป สายพิณเซ่ากงนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความอ่อนโยนเข้าสยบความแข็งแกร่ง

    และเส้นที่เจ็ดเรียกว่า เซ่าซาง (少商)เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบู๊’ (武星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘อู่’ เป็นอีกหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่เช่นกัน) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่เจ็ดนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวอู่หวางแห่งราชวงศ์โจว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ สายพิณเซ่าซางนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความแข็งแกร่งเข้าสยบความอ่อนแอ

    ดังนั้น ชื่อของนางเอกที่คนเขาชมว่าความหมายดีนั้น ก็คือแปลว่าเป็นคนเข้มแข็งเป็นผู้ชนะค่ะ และเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ดาราจักรรักลำนำใจ> คงพอจำได้ว่านางเอกมีพี่ชายฝาแฝดนามว่า เซ่ากง ที่มีบุคลิกเป็นคนนุ่มนิ่มอยู่หนึ่งคน ทีนี้คงพอเข้าใจถึงความหมายแฝงอันบ่งบอกบุคลิกของสองพี่น้องฝาแฝดคู่นี้อันมาจากชื่อเซ่ากงและเซ่าซางแล้วนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g40713266/love-like-the-galaxy-ending/
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/21940180
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    บทความเรื่อง “คัมภีร์พิณ ดนตรีแห่งลมปราณและจิตวิญญาณ” โดย ดร.อัญชลี กิ๊บบินส์
    https://www.jianshu.com/p/11cc57a753ad
    https://baike.baidu.com/item/宫商角徵羽/85388
    https://baike.baidu.com/item/少商/10047831
    https://www.sohu.com/a/566244575_120498438

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #สายพิณจีน #เซ่าซาง #เซ่ากง #กู่ฉิน
    ขออภัยที่มาอัพเรื่องให้อ่านช้า (อีกแล้ว) เพราะ Storyฯ หมดเวลาไปกับการเตรียมทริปเที่ยวหน้าหนาวค่ะ วันนี้ยังคงมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> มาเล่าให้ฟัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับชื่อของนางเอกเฉินเซ่าซาง ที่ในละครมีกล่าวถึงหลายครั้งว่าแปลว่า ‘สายพิณ’ และถึงขนาดองค์ฮองเฮายังตรัสชมว่าเป็นชื่อที่ดี เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้รู้สึกงงกันบ้างไหมว่า มีชื่อเป็นสายพิณมันดียังไงคะ? แน่นอนว่าเรากำลังคุยกันถึงพิณโบราณของจีนหรือที่เรียกว่า ‘กู่ฉิน’ (古琴) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดมาก่อนยุคสมัยชุนชิวและการดีดพิณถือเป็นศิลปะชั้นสูงที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาชีวิต โดยมีการกล่าวถึงปรัชญาเหล่านี้ในบันทึกเกี่ยวกับพิธีการโบราณสมัยราชวงศ์โจว วันนี้ Storyฯ จะกล่าวถึงชื่อเรียกและปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับสายพิณ แรกเริ่มเลยกู่ฉินมีเพียงสายพิณห้าเส้น เรียกกันว่า ‘กงซางเจวี๋ยจื่ออวี่’ ซึ่งชื่อเรียกเหล่านี้มาจากดวงดาว สรุปได้ดังนี้ 1. กง (宫) : เป็นเส้นที่ใหญ่สุด เสียงทุ้มหนักแน่น เป็นสัญลักษณ์แห่งราชัน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการปกครองและความเป็นเจ้าคนนายคน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุดินหรือ ‘ดาวดิน’ (คือชื่อเรียกภาษาจีนของดาวเสาร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘โด’ นั่นเอง 2. ซาง (商) : เป็นสัญลักษณ์ของข้าราชสำนักหรือรัฐบุรุษ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการบริหารงาน และจัดเป็นตัวแทนแห่งธาตุทองหรือ ‘ดาวทอง’ (ดาวศุกร์) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘เร’ 3. เจวี๋ย (角) : เป็นสัญลักษณ์ของประชาชน แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเติบโตจากผืนดิน และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไม้หรือ ‘ดาวไม้’ (ดาวพฤหัส) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘มี’ 4. จื่อ (徵) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการเจริญงอกงาม และเป็นตัวแทนแห่งธาตุไฟหรือ ‘ดาวไฟ’ (ดาวอังคาร) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ฟา’ 5. อวี่ (羽) : เป็นสัญลักษณ์แห่งทุกสรรพสิ่งที่จับต้องได้ แฝงด้วยปรัชญาแห่งการหล่อหลอมกลมเกลียวและเป็นตัวแทนแห่งธาตุน้ำหรือ ‘ดาวน้ำ’ (ดาวพุธ) คีย์ของสายพิณเส้นนี้คือ ‘ซอล’ ต่อมากู่ฉินจึงถูกเพิ่มสายพิณขึ้นมาอีกสองเส้น จนครบคีย์ ‘ลา’ และ ‘ที’ โดยเส้นที่หกเรียกว่า ‘เซ่ากง’ (少宫) เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบุ๋น’ (文星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘เหวิน’ เป็นหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่หกนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวเหวินหวาง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว (ปี 1152-1050 ก่อนคริสตกาล) เพื่อเป็นที่ระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ไป สายพิณเซ่ากงนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความอ่อนโยนเข้าสยบความแข็งแกร่ง และเส้นที่เจ็ดเรียกว่า เซ่าซาง (少商)เป็นตัวแทนแห่ง ‘ดาวบู๊’ (武星 หรือออกเสียงตามจีนกลางว่าดาว ‘อู่’ เป็นอีกหนึ่งในดวงดาวในกลุ่มดาวหมีใหญ่เช่นกัน) มีตำนานว่าสายพิณเส้นที่เจ็ดนี้ถูกเพิ่มเข้ามาโดยองค์โจวอู่หวางแห่งราชวงศ์โจว เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่ล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ สายพิณเซ่าซางนี้แฝงด้วยปรัชญาของการใช้ความแข็งแกร่งเข้าสยบความอ่อนแอ ดังนั้น ชื่อของนางเอกที่คนเขาชมว่าความหมายดีนั้น ก็คือแปลว่าเป็นคนเข้มแข็งเป็นผู้ชนะค่ะ และเพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <ดาราจักรรักลำนำใจ> คงพอจำได้ว่านางเอกมีพี่ชายฝาแฝดนามว่า เซ่ากง ที่มีบุคลิกเป็นคนนุ่มนิ่มอยู่หนึ่งคน ทีนี้คงพอเข้าใจถึงความหมายแฝงอันบ่งบอกบุคลิกของสองพี่น้องฝาแฝดคู่นี้อันมาจากชื่อเซ่ากงและเซ่าซางแล้วนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g40713266/love-like-the-galaxy-ending/ https://zhuanlan.zhihu.com/p/21940180 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: บทความเรื่อง “คัมภีร์พิณ ดนตรีแห่งลมปราณและจิตวิญญาณ” โดย ดร.อัญชลี กิ๊บบินส์ https://www.jianshu.com/p/11cc57a753ad https://baike.baidu.com/item/宫商角徵羽/85388 https://baike.baidu.com/item/少商/10047831 https://www.sohu.com/a/566244575_120498438 #ดาราจักรรักลำนำใจ #สายพิณจีน #เซ่าซาง #เซ่ากง #กู่ฉิน
    WWW.HARPERSBAZAAR.COM
    《星漢燦爛》第一部結局趙露思、吳磊定親!「疑商夫婦」高甜名場景回顧,凌不疑化身男友力頂級教科書
    《星漢燦爛》趙露思、吳磊的感情線看得太不過癮,期待《月升滄海》開始大撒糖!
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 550 มุมมอง 0 รีวิว
  • “โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเข้าถึงง่าย”: กระจกบานใหญ่จาก Bundestag สู่สภาไทย

    ในขณะที่การเมืองไทยยังคงติดหล่มแห่งความไม่โปร่งใส การซื้อเสียง ความไม่รับผิดชอบ และการลอยตัวของผู้มีอำนาจเหนือประชาชน ประเทศเยอรมนีกลับสร้างต้นแบบของความซื่อสัตย์สุจริตไว้ตรงกลางกรุงเบอร์ลิน

    Bundestag หรือรัฐสภาเยอรมัน ที่สะท้อนหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

    ตัวอาคาร Reichstag ไม่ได้มีดีแค่ความอลังการทางสถาปัตยกรรม แต่คือคำประกาศเจตนารมณ์แห่งความโปร่งใส โดมแก้วเหนือห้องประชุมคือการบอกกับประชาชนว่า “พวกคุณมีสิทธิ์รู้ เห็น และตรวจสอบได้ทุกการเคลื่อนไหวของเรา” ผู้แทนราษฎรที่นั่งอยู่ภายใต้แสงธรรมชาติจากโดมแก้วนั้น จึงไม่มีที่ให้ซ่อน ไม่มีเงามืดให้แอบแฝง

    ขณะที่เมืองไทยกลับเต็มไปด้วย "โดมทึบ" ที่ประชาชนไม่มีวันมองผ่านได้ ห้องประชุมที่ถูกใช้เป็นเวทีลิเก ผลาญงบประมาณและโต้เถียงกันเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม มากกว่าจะออกกฎหมายที่ตอบสนองต่อเสียงของประชาชน

    นักการเมืองไทยบางคนกลัวความโปร่งใสเหมือนผีเห็นแสงแดด กลัวการตรวจสอบเหมือนขโมยกลัวกล้องวงจรปิด เพราะพวกเขาไม่ได้มองว่าตัวเองเป็น "ผู้รับใช้ประชาชน" แต่เป็นเจ้าของอำนาจ

    ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะสร้าง "Reichstag ทางจิตวิญญาณ" — ที่ไม่ต้องใช้กระจกจริงมาติด แต่ใช้หลักคิดแห่งความโปร่งใส เปิดเผย และเคารพประชาชนอย่างแท้จริง

    ความโปร่งใสไม่ใช่แค่เครื่องประดับของระบอบประชาธิปไตย แต่มันคือหัวใจของมัน ถ้าไม่มีหัวใจนี้ สภาก็ไม่ต่างอะไรจากโรงละครที่แสดงละครซ้ำซากเรื่องเดียว — “อำนาจเป็นของข้า ประชาชนจงเงียบ”

    #thawornboonyawan
    #คนไทยต้องรอด
    #คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง
    Credit image : Twontrot Boon

    “Transparency, Accountability, and Accessibility”: A Giant Mirror from the Bundestag to Thailand’s Parliament

    While Thai politics remains mired in a culture of opacity, vote-buying, irresponsibility, and the detachment of power from the people, Germany has built a powerful symbol of integrity in the heart of Berlin — the Bundestag, or German federal parliament, which embodies the true essence of democracy.

    The Reichstag building is more than an architectural marvel; it is a declaration of transparency. The glass dome above the parliamentary chamber sends a clear message to the public: “You have the right to see, know, and scrutinize every action we take.” Lawmakers sit beneath natural light, visible from above — there is nowhere to hide, no shadow to scheme in.

    In contrast, Thailand is shrouded in “opaque domes” through which the people can never see. Parliamentary halls have become theatrical stages — wasting public funds and bickering over special interests rather than legislating in the people's best interest.

    Some Thai politicians fear transparency like ghosts fear daylight. They fear scrutiny the way thieves fear surveillance cameras. Because deep down, they don't see themselves as public servants — but as power-holders.

    Isn’t it time for Thailand to build its own “spiritual Reichstag”? Not with physical glass, but with a mindset rooted in openness, honesty, and deep respect for the people.

    Transparency is not a decorative feature of democracy — it is its heart. Without that heart, the parliament is nothing more than a stage for a tired play, endlessly repeating the same act: “Power belongs to us; the people must stay silent.”
    “โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเข้าถึงง่าย”: กระจกบานใหญ่จาก Bundestag สู่สภาไทย ในขณะที่การเมืองไทยยังคงติดหล่มแห่งความไม่โปร่งใส การซื้อเสียง ความไม่รับผิดชอบ และการลอยตัวของผู้มีอำนาจเหนือประชาชน ประเทศเยอรมนีกลับสร้างต้นแบบของความซื่อสัตย์สุจริตไว้ตรงกลางกรุงเบอร์ลิน Bundestag หรือรัฐสภาเยอรมัน ที่สะท้อนหลักประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ตัวอาคาร Reichstag ไม่ได้มีดีแค่ความอลังการทางสถาปัตยกรรม แต่คือคำประกาศเจตนารมณ์แห่งความโปร่งใส โดมแก้วเหนือห้องประชุมคือการบอกกับประชาชนว่า “พวกคุณมีสิทธิ์รู้ เห็น และตรวจสอบได้ทุกการเคลื่อนไหวของเรา” ผู้แทนราษฎรที่นั่งอยู่ภายใต้แสงธรรมชาติจากโดมแก้วนั้น จึงไม่มีที่ให้ซ่อน ไม่มีเงามืดให้แอบแฝง ขณะที่เมืองไทยกลับเต็มไปด้วย "โดมทึบ" ที่ประชาชนไม่มีวันมองผ่านได้ ห้องประชุมที่ถูกใช้เป็นเวทีลิเก ผลาญงบประมาณและโต้เถียงกันเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม มากกว่าจะออกกฎหมายที่ตอบสนองต่อเสียงของประชาชน นักการเมืองไทยบางคนกลัวความโปร่งใสเหมือนผีเห็นแสงแดด กลัวการตรวจสอบเหมือนขโมยกลัวกล้องวงจรปิด เพราะพวกเขาไม่ได้มองว่าตัวเองเป็น "ผู้รับใช้ประชาชน" แต่เป็นเจ้าของอำนาจ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ประเทศไทยจะสร้าง "Reichstag ทางจิตวิญญาณ" — ที่ไม่ต้องใช้กระจกจริงมาติด แต่ใช้หลักคิดแห่งความโปร่งใส เปิดเผย และเคารพประชาชนอย่างแท้จริง ความโปร่งใสไม่ใช่แค่เครื่องประดับของระบอบประชาธิปไตย แต่มันคือหัวใจของมัน ถ้าไม่มีหัวใจนี้ สภาก็ไม่ต่างอะไรจากโรงละครที่แสดงละครซ้ำซากเรื่องเดียว — “อำนาจเป็นของข้า ประชาชนจงเงียบ” #thawornboonyawan #คนไทยต้องรอด #คนดีสำคัญกว่าทุกสิ่ง Credit image : Twontrot Boon “Transparency, Accountability, and Accessibility”: A Giant Mirror from the Bundestag to Thailand’s Parliament While Thai politics remains mired in a culture of opacity, vote-buying, irresponsibility, and the detachment of power from the people, Germany has built a powerful symbol of integrity in the heart of Berlin — the Bundestag, or German federal parliament, which embodies the true essence of democracy. The Reichstag building is more than an architectural marvel; it is a declaration of transparency. The glass dome above the parliamentary chamber sends a clear message to the public: “You have the right to see, know, and scrutinize every action we take.” Lawmakers sit beneath natural light, visible from above — there is nowhere to hide, no shadow to scheme in. In contrast, Thailand is shrouded in “opaque domes” through which the people can never see. Parliamentary halls have become theatrical stages — wasting public funds and bickering over special interests rather than legislating in the people's best interest. Some Thai politicians fear transparency like ghosts fear daylight. They fear scrutiny the way thieves fear surveillance cameras. Because deep down, they don't see themselves as public servants — but as power-holders. Isn’t it time for Thailand to build its own “spiritual Reichstag”? Not with physical glass, but with a mindset rooted in openness, honesty, and deep respect for the people. Transparency is not a decorative feature of democracy — it is its heart. Without that heart, the parliament is nothing more than a stage for a tired play, endlessly repeating the same act: “Power belongs to us; the people must stay silent.”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 835 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประกาศนโยบายภาษีใหม่ของประธานาธิบดี Donald Trump ส่งผลกระทบต่อวงการ Cybersecurity ของสหรัฐฯ อย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะในตลาดหุ้นและงบประมาณการดำเนินงานของบริษัทด้านความมั่นคงไซเบอร์ ความท้าทายนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สร้างความเสียหาย รวมถึงการลดงบประมาณและการพัฒนาเทคโนโลยีที่อาจหยุดชะงัก

    == ประเด็นสำคัญจากผลกระทบของนโยบายภาษีใหม่ ==
    ✅ ตลาดหุ้นด้านความมั่นคงไซเบอร์ดิ่งลงอย่างรุนแรง
    - นโยบายภาษีใหม่ที่เพิ่มต้นทุนสินค้านำเข้าจากประเทศต่าง ๆ สูงถึง 67% ทำให้บริษัทด้านความมั่นคงไซเบอร์สูญเสียมูลค่าทางตลาดไปหลายพันล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 2 วัน
    - นักลงทุนวิตกกังวลเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโอกาสที่อาจเกิดภาวะถดถอยและการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

    ✅ ลูกค้าต้องลดงบประมาณด้านความมั่นคงไซเบอร์
    - หลายบริษัทที่ใช้งานบริการหรือซอฟต์แวร์ไซเบอร์ต้องลดงบประมาณเพื่อชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาษี การตัดงบนี้ส่งผลให้บริษัทไซเบอร์ขาดทุนและอาจต้องปลดพนักงาน

    ✅ ความเสี่ยงต่อการพึ่งพาเทคโนโลยีภูมิภาคเดียว
    - ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจทำให้หลายประเทศพึ่งพาเทคโนโลยีในภูมิภาคของตนมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด "monoculture" หรือการใช้ผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียว ซึ่งมีข้อเสียในด้านความปลอดภัยที่หลากหลาย

    ✅ ความท้าทายในโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT
    - อุตสาหกรรม IT ต้องปรับตัวเพราะอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานในระบบไซเบอร์กำลังเผชิญราคาที่พุ่งสูงขึ้น

    ✅ การปรับตัวของบริษัทในวงการ
    - บริษัทอย่าง Palo Alto Networks เน้นสร้างความยืดหยุ่นให้กับลูกค้า แม้ว่าจะมีอุปสรรคในการบริหารซัพพลายเชนและต้นทุนอุปกรณ์

    https://www.csoonline.com/article/3955013/how-trumps-tariffs-are-shaking-up-the-cybersecurity-sector.html
    ประกาศนโยบายภาษีใหม่ของประธานาธิบดี Donald Trump ส่งผลกระทบต่อวงการ Cybersecurity ของสหรัฐฯ อย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะในตลาดหุ้นและงบประมาณการดำเนินงานของบริษัทด้านความมั่นคงไซเบอร์ ความท้าทายนี้อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สร้างความเสียหาย รวมถึงการลดงบประมาณและการพัฒนาเทคโนโลยีที่อาจหยุดชะงัก == ประเด็นสำคัญจากผลกระทบของนโยบายภาษีใหม่ == ✅ ตลาดหุ้นด้านความมั่นคงไซเบอร์ดิ่งลงอย่างรุนแรง - นโยบายภาษีใหม่ที่เพิ่มต้นทุนสินค้านำเข้าจากประเทศต่าง ๆ สูงถึง 67% ทำให้บริษัทด้านความมั่นคงไซเบอร์สูญเสียมูลค่าทางตลาดไปหลายพันล้านดอลลาร์ในเวลาเพียง 2 วัน - นักลงทุนวิตกกังวลเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโอกาสที่อาจเกิดภาวะถดถอยและการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ✅ ลูกค้าต้องลดงบประมาณด้านความมั่นคงไซเบอร์ - หลายบริษัทที่ใช้งานบริการหรือซอฟต์แวร์ไซเบอร์ต้องลดงบประมาณเพื่อชดเชยต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาษี การตัดงบนี้ส่งผลให้บริษัทไซเบอร์ขาดทุนและอาจต้องปลดพนักงาน ✅ ความเสี่ยงต่อการพึ่งพาเทคโนโลยีภูมิภาคเดียว - ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อาจทำให้หลายประเทศพึ่งพาเทคโนโลยีในภูมิภาคของตนมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิด "monoculture" หรือการใช้ผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียว ซึ่งมีข้อเสียในด้านความปลอดภัยที่หลากหลาย ✅ ความท้าทายในโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT - อุตสาหกรรม IT ต้องปรับตัวเพราะอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์และฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานในระบบไซเบอร์กำลังเผชิญราคาที่พุ่งสูงขึ้น ✅ การปรับตัวของบริษัทในวงการ - บริษัทอย่าง Palo Alto Networks เน้นสร้างความยืดหยุ่นให้กับลูกค้า แม้ว่าจะมีอุปสรรคในการบริหารซัพพลายเชนและต้นทุนอุปกรณ์ https://www.csoonline.com/article/3955013/how-trumps-tariffs-are-shaking-up-the-cybersecurity-sector.html
    WWW.CSOONLINE.COM
    How Trump’s tariffs are shaking up the cybersecurity sector
    President Trump’s tariffs announcement sent US cybersecurity stocks into a precipitous spiral, fostering fears of cyber spending cuts and the possible rise of cyber ‘monocultures.’
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 326 มุมมอง 0 รีวิว
  • สลามเมืองไทย EP15 | เสียงดนตรีของชาวมุสลิม

    "เมื่อดนตรีกลายเป็นสะพานแห่งศรัทธาและวัฒนธรรม"

    ดนตรีไม่ใช่เพียงเสียงของความบันเทิง แต่สำหรับชาวมุสลิมหลายคนในประเทศไทย มันคือ เครื่องมือแห่งการสื่อสาร การแสดงออกทางวัฒนธรรม และการเชื่อมโยงจิตวิญญาณ

    EP นี้พาคุณไปสัมผัส พลังของเสียงดนตรีในชุมชนมุสลิม ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคี และจังหวะแห่งศรัทธา ผ่านกิจกรรมดนตรีพื้นบ้าน การฝึกฝนของเยาวชน ไปจนถึงเวทีแสดงที่สื่อถึงตัวตนและความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของพวกเขา

    #สลามเมืองไทย #EP15 #เสียงดนตรีของชาวมุสลิม #MuslimMusic #IslamicCulture #เยาวชนมุสลิม #ดนตรีพื้นบ้าน #MuslimCommunity #เสียงแห่งศรัทธา #ThaiMuslim #ThaiTimes
    สลามเมืองไทย EP15 | เสียงดนตรีของชาวมุสลิม "เมื่อดนตรีกลายเป็นสะพานแห่งศรัทธาและวัฒนธรรม" ดนตรีไม่ใช่เพียงเสียงของความบันเทิง แต่สำหรับชาวมุสลิมหลายคนในประเทศไทย มันคือ เครื่องมือแห่งการสื่อสาร การแสดงออกทางวัฒนธรรม และการเชื่อมโยงจิตวิญญาณ EP นี้พาคุณไปสัมผัส พลังของเสียงดนตรีในชุมชนมุสลิม ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ความสามัคคี และจังหวะแห่งศรัทธา ผ่านกิจกรรมดนตรีพื้นบ้าน การฝึกฝนของเยาวชน ไปจนถึงเวทีแสดงที่สื่อถึงตัวตนและความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของพวกเขา #สลามเมืองไทย #EP15 #เสียงดนตรีของชาวมุสลิม #MuslimMusic #IslamicCulture #เยาวชนมุสลิม #ดนตรีพื้นบ้าน #MuslimCommunity #เสียงแห่งศรัทธา #ThaiMuslim #ThaiTimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 690 มุมมอง 12 0 รีวิว
  • YouTube ดำเนินมาตรการระงับรายได้ของช่องที่สร้างตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม ซึ่งมักใช้ AI สร้างภาพและนักแสดงโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าบางสตูดิโอมองว่าสิ่งนี้ช่วยสร้างกระแสให้ภาพยนตร์จริง แต่สหภาพนักแสดงและองค์กรด้านลิขสิทธิ์ไม่พอใจ โดย YouTube ได้ปิดกั้นการสร้างรายได้ของช่องที่ละเมิดนโยบาย เพื่อรักษามาตรฐานเนื้อหาที่ถูกต้อง

    ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอมที่แพร่หลายใน YouTube
    - ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม หรือ "Fan Trailer" มักแสดงภาพนักแสดงดังในบทบาทที่พวกเขาไม่ได้เล่น เช่น Leonardo DiCaprio ใน Squid Game ซีซั่น 3 หรือ Henry Cavill และ Margot Robbie ใน James Bond ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิด

    ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
    - แทนที่จะได้รับ การแจ้งเตือนด้านลิขสิทธิ์ ช่องเหล่านี้กลับได้รับการสนับสนุนจากสตูดิโอฮอลลีวูดบางแห่ง เนื่องจากพวกเขามองว่าคลิปเหล่านี้ช่วยสร้างกระแสให้ภาพยนตร์จริง

    ข้อโต้แย้งจากนักแสดงและองค์กรด้านสิทธิ
    - SAG-AFTRA ซึ่งเป็นสหภาพนักแสดงในสหรัฐฯ มองว่าการใช้ AI สร้างตัวอย่างภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการ "ลดทอนความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และให้ผลประโยชน์กับบริษัทเทคโนโลยี"

    การดำเนินการของ YouTube
    - หลังการสอบสวนจาก Deadline YouTube ได้ระงับการสร้างรายได้จากช่อง Screen Culture และ KH Studio สองช่องที่ใหญ่ที่สุดที่ทำตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม โดยอ้างว่าเนื้อหาเหล่านี้ละเมิด นโยบายการสร้างรายได้ ที่กำหนดให้เนื้อหาที่ใช้วัตถุดิบจากแหล่งอื่นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

    https://www.techspot.com/news/107350-youtube-demonetizes-fake-movie-trailer-channels-after-investigation.html
    YouTube ดำเนินมาตรการระงับรายได้ของช่องที่สร้างตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม ซึ่งมักใช้ AI สร้างภาพและนักแสดงโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าบางสตูดิโอมองว่าสิ่งนี้ช่วยสร้างกระแสให้ภาพยนตร์จริง แต่สหภาพนักแสดงและองค์กรด้านลิขสิทธิ์ไม่พอใจ โดย YouTube ได้ปิดกั้นการสร้างรายได้ของช่องที่ละเมิดนโยบาย เพื่อรักษามาตรฐานเนื้อหาที่ถูกต้อง ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอมที่แพร่หลายใน YouTube - ตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม หรือ "Fan Trailer" มักแสดงภาพนักแสดงดังในบทบาทที่พวกเขาไม่ได้เล่น เช่น Leonardo DiCaprio ใน Squid Game ซีซั่น 3 หรือ Henry Cavill และ Margot Robbie ใน James Bond ซึ่งทำให้หลายคนเข้าใจผิด ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม - แทนที่จะได้รับ การแจ้งเตือนด้านลิขสิทธิ์ ช่องเหล่านี้กลับได้รับการสนับสนุนจากสตูดิโอฮอลลีวูดบางแห่ง เนื่องจากพวกเขามองว่าคลิปเหล่านี้ช่วยสร้างกระแสให้ภาพยนตร์จริง ข้อโต้แย้งจากนักแสดงและองค์กรด้านสิทธิ - SAG-AFTRA ซึ่งเป็นสหภาพนักแสดงในสหรัฐฯ มองว่าการใช้ AI สร้างตัวอย่างภาพยนตร์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการ "ลดทอนความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และให้ผลประโยชน์กับบริษัทเทคโนโลยี" การดำเนินการของ YouTube - หลังการสอบสวนจาก Deadline YouTube ได้ระงับการสร้างรายได้จากช่อง Screen Culture และ KH Studio สองช่องที่ใหญ่ที่สุดที่ทำตัวอย่างภาพยนตร์ปลอม โดยอ้างว่าเนื้อหาเหล่านี้ละเมิด นโยบายการสร้างรายได้ ที่กำหนดให้เนื้อหาที่ใช้วัตถุดิบจากแหล่งอื่นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ https://www.techspot.com/news/107350-youtube-demonetizes-fake-movie-trailer-channels-after-investigation.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    YouTube demonetizes fake movie trailer channels after investigation
    You've likely seen at least one fake trailer, aka fan trailer, on YouTube. There are ones for sequels or new franchise entries that aren't being made (Henry...
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 385 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时)

    จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย)

    ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง

    เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น

    ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ

    ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม?

    ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ

    ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว

    วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286
    https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616
    http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx
    http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时) จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย) ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม? ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286 https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616 http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1083 มุมมอง 0 รีวิว
  • บทความเอ็ดดี้ อัษฎางค์นี้มีความหมายที่ควรค่าการอ่านเกี่ยวกับอคติของวัฒนธรรมของฝรั่งเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น กรณีนาย Jimmy Kimmel พิธีกรรายการดังสัมภาษณ์ ลิซ่า ลลิษา มโนบาล เมื่อรายการ Jimmy Kimmel Live บอกกับลิซ่าว่า ชื่อ มุก ของเธอใน #TheWhiteLotus แปลว่า โง่งี่เง่า#อัษฎางค์ยมนาค“Ethnocentrism“แนวคิดที่มองว่าวัฒนธรรมของตนเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น ลิซ่า ไปออกรายการ Jimmy Kimmel Live แล้วพิธีกร Jimmy ถามถึงการสวมบทเป็น “มุก” ใน #TheWhiteLotus ว่าตัวละครที่้ที่ชื่อ “มุก” ในภาษาไทยมุก (Mook) แปลว่าอะไร?ลิซ่า ตอบว่า Pearl (ไข่มุก) แต่ Jimmy สวนกลับว่า Mook มันเป็นแสลงประมาณว่า Dumb นะ ไม่มีใครบอกเธอหรอ ลิซ่า บอกไม่มีนะ แต่มันเป็นชื่อคนไทยไง Jimmy พูดต่อว่าคงไม่มีปัญหาที่ไทย แต่ที่นี่อ่ะมีแน่ ลิซ่าตอบกลับว่า ถ้าอย่างนั้นอย่าเรียกว่ามุกที่นี่แล้วกัน ในภาษาไทย “มุก” หมายถึง ไข่มุก ซึ่งเป็นของมีค่า สวยงาม และมีความหมายดี ในขณะที่ มุก เป็นชื่อที่ดีในภาษาไทย แต่เสียงของคำนี้ไปพ้องกับคำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายแย่ คำว่า “Mook” เป็นแสลงที่ใช้ดูถูกคน แปลประมาณว่า “คนโง่, ไร้ค่า”การที่ Jimmy Kimmel แซวชื่อว่า “Mook” แปลว่า Dumb (โง่) ในภาษาอังกฤษ อาจดูเหมือนเป็นมุกตลกของเขา แต่จริง ๆ แล้วเป็น การแสดงออกถึง Ethnocentrism (แนวคิดที่เอาวัฒนธรรมของตัวเองเป็นศูนย์กลาง) หรือไม่? Jimmy Kimmel มีสิทธิ์บอกว่า ควรเปลี่ยนชื่อไทยเพื่อให้เข้ากับภาษาอังกฤษ หรือไม่ชื่อเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ไม่ควรถูกลดค่าหรือถูกทำให้เป็นเรื่องตลก คนไทย ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ เพียงเพราะมันไปพ้องเสียงกับคำที่ไม่ดีในภาษาอื่น จริงมั้ย?Ethnocentrism หรือ แนวคิดที่มองว่าวัฒนธรรมของตนเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมตะวันตกและมักปรากฏในวงการบันเทิง สื่อมวลชน และชีวิตประจำวันของผู้คนที่ไม่ตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมกรณีของ Jimmy Kimmel และชื่อ “มุก” (Mook) เป็นตัวอย่างที่ดีของ ethnocentric bias หรืออคติทางวัฒนธรรมที่ตะวันตกเป็นศูนย์กลาง Jimmy ตั้งคำถามถึงชื่อไทยโดยไม่ได้พยายามทำความเข้าใจวัฒนธรรมไทยก่อน เมื่อ Lisa อธิบายว่า “Mook” แปลว่า Pearl (ไข่มุก) ซึ่งเป็นชื่อที่มีความหมายดี Jimmy กลับ ตอบโต้โดยอ้างถึงความหมายในภาษาอังกฤษ เขาไม่ได้ตระหนักเลยว่าชื่อนี้เป็นเรื่องปกติในประเทศไทย และไม่มีเหตุผลที่ต้องเปลี่ยนชื่อ “มุก” เป็นชื่อที่ดีในภาษาไทย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพียงเพราะมันไปพ้องกับคำที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษ และ Jimmy Kimmel ไม่ควรใช้มุกตลกที่อาจเป็นการลดค่าชื่อของคนไทย คนไทยควรภาคภูมิใจในชื่อของตัวเอง และมีสิทธิ์ใช้ชื่อตามวัฒนธรรมของตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อให้ใครพอใจทำไม Ethnocentrism เป็นปัญหา?Ethnocentrism ทำให้เกิดแนวคิดว่าคนจากวัฒนธรรมอื่นต้องปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานของตะวันตก แทนที่จะเคารพความแตกต่างสร้างอคติทางภาษา เช่น “ชื่อของคุณฟังดูแปลกในภาษาเรา ดังนั้นมันต้องผิด”ลดทอนคุณค่าทางวัฒนธรรม แทนที่จะเรียนรู้จากวัฒนธรรมอื่น และส่งเสริมแนวคิด “อารยธรรมของฉันสูงกว่า วัฒนธรรมของคุณต้องเปลี่ยน” ซึ่งเคยถูกใช้เป็นข้ออ้างในยุคล่าอาณานิคมสื่อมวลชนตะวันตกควรรับผิดชอบอย่างไร?Jimmy Kimmel เป็นพิธีกรระดับโลก ควรมีตระหนักถึงอิทธิพลของตนเอง คำพูดของเขามีผลกระทบต่อความคิดของผู้ชม ซึ่งควรให้เคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม การถามคำถามที่สะท้อนอคติทางวัฒนธรรมทำให้ผู้คนจากวัฒนธรรมอื่นรู้สึกถูกลดค่า Jimmy ควรเรียนรู้และให้เกียรติชื่อและอัตลักษณ์ของผู้อื่น ไม่ใช่ทุกอย่างต้องเข้ากับมาตรฐานของตะวันตกหาก Jimmy Kimmel เรียนรู้ที่จะเคารพวัฒนธรรมอื่นเพียงพอ เขาอาจเปลี่ยนมุกตลกที่เหยียดคนอื่นของเขานี้เป็นโอกาสอธิบายให้ผู้ชมรู้ว่า "มุก" คือไข่มุกอันทรงคุณค่าในภาษาไทย แทนที่จะลดทอนมันให้เป็นคำหยาบคาย ซึ่งนั่นคือบทบาทของสื่อที่ควรเป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมมากกว่าสร้างกำแพงในขณะที่ น้องลิซ่าถูกอบรมสั่งสอนมาดีทั้งจากเมืองไทยและเกาหลี ไม่งั้นเธอคงพูดสวนกับคุณว่า ชื่อ Jimmy ของคุณก็ฟังพ้องเสียงกับคำว่า “จิมิ” ซึ่งเป็นคำแสลงในภาษาไทย ซึ่งหมายถึง……จุดซ่อนเร้นของคุณผู้หญิง คุณจะรู้สึกอย่างไร? จิมิโชว์?รายการจิมิโชว์?https://youtu.be/ga7NkYeqh_A?si=C5yYwJEBKo-0Gvuh………………………………………………………………………………….“Ethnocentrism”Lisa appeared on Jimmy Kimmel Live, and the host, Jimmy, asked about her role as “Mook” in The White Lotus, specifically what the name “Mook” means in Thai.Lisa answered that it means “Pearl”, but Jimmy responded that “Mook” is slang for something like “Dumb.” “No one told you?” he asked.Lisa replied, “No, they didn’t, but it’s a Thai name.” Jimmy then said, “Maybe it’s not a problem in Thailand, but here, it definitely is.” Lisa responded, “Then don’t call me Mook here.”In Thai, “Mook” means pearl, which is valuable, beautiful, and meaningful. While “Mook” is a good name in Thai, the pronunciation of this word coincidentally resembles an English slang term with a negative meaning. In American English, “Mook” is slang used to insult someone, meaning something like “a fool” or “a worthless person.”When Jimmy Kimmel joked that “Mook” means “Dumb” in English, it might have seemed like a joke to him. But is it actually an expression of ethnocentrism—the belief that one’s own culture is the center of everything?Does Jimmy Kimmel have the right to say that a Thai name should be changed to fit the English language?A name is a part of cultural identity. It should not be devalued or turned into a joke. Thai people do not need to change their names just because they sound similar to an undesirable word in another language. Isn’t that true?Ethnocentrism, or the belief that one’s culture is superior to others, is a deeply rooted issue in Western society. It often appears in entertainment, media, and daily life among people who are unaware of cultural differences.The case of Jimmy Kimmel and the name “Mook” is a prime example of ethnocentric bias, where Western perspectives are centered, ignoring non-Western cultures.Jimmy questioned a Thai name without trying to understand Thai culture first. When Lisa explained that “Mook” means Pearl, a meaningful and positive name, Jimmy instead argued based on the English slang meaning. He did not recognize that this name is completely normal in Thailand and that there is no reason to change it.The name “Mook” is a good Thai name. There is no need to change it just because it coincidentally matches an English word with a bad meaning. And Jimmy Kimmel should not make jokes that diminish the value of Thai names.Thai people should be proud of their names and have the right to use them according to their culture without needing to change them for anyone else’s comfort.Why is Ethnocentrism a Problem?Ethnocentrism creates the belief that people from other cultures must adjust to Western standards instead of respecting diversity. • It creates linguistic bias, implying that “Your name sounds strange in our language, so it must be wrong.” • It devalues cultural identity, instead of encouraging learning from other cultures. • It promotes the idea that “My civilization is superior; your culture must change,” which was historically used as a justification for colonialism.How Should Western Media Be More Responsible?Jimmy Kimmel is a globally recognized host. He should be aware of his influence. His words impact public perception.Asking a question that reflects cultural bias makes people from other cultures feel devalued.Jimmy Kimmel should learn and respect other people’s names and identities. Not everything has to fit into Western standards.If Jimmy Kimmel had learned to respect other cultures more, he might have turned his joke into an opportunity to educate his audience that ‘Mook’ means a precious pearl in Thai, rather than reducing it to a vulgar term. That is the true role of the media—to serve as a bridge for cross-cultural understanding rather than building walls.On the other hand, Lisa has been well-raised and well-trained, both in Thailand and Korea. Otherwise, she might have responded to you by saying, ‘Your name, Jimmy, also sounds like ‘Jimi’ in Thai slang, which refers to… a woman’s private part. How would you feel? Jimi show!”"https://www.facebook.com/share/v/16CtwRaMG4/?mibextid=wwXIfr
    บทความเอ็ดดี้ อัษฎางค์นี้มีความหมายที่ควรค่าการอ่านเกี่ยวกับอคติของวัฒนธรรมของฝรั่งเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น กรณีนาย Jimmy Kimmel พิธีกรรายการดังสัมภาษณ์ ลิซ่า ลลิษา มโนบาล เมื่อรายการ Jimmy Kimmel Live บอกกับลิซ่าว่า ชื่อ มุก ของเธอใน #TheWhiteLotus แปลว่า โง่งี่เง่า#อัษฎางค์ยมนาค“Ethnocentrism“แนวคิดที่มองว่าวัฒนธรรมของตนเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น ลิซ่า ไปออกรายการ Jimmy Kimmel Live แล้วพิธีกร Jimmy ถามถึงการสวมบทเป็น “มุก” ใน #TheWhiteLotus ว่าตัวละครที่้ที่ชื่อ “มุก” ในภาษาไทยมุก (Mook) แปลว่าอะไร?ลิซ่า ตอบว่า Pearl (ไข่มุก) แต่ Jimmy สวนกลับว่า Mook มันเป็นแสลงประมาณว่า Dumb นะ ไม่มีใครบอกเธอหรอ ลิซ่า บอกไม่มีนะ แต่มันเป็นชื่อคนไทยไง Jimmy พูดต่อว่าคงไม่มีปัญหาที่ไทย แต่ที่นี่อ่ะมีแน่ ลิซ่าตอบกลับว่า ถ้าอย่างนั้นอย่าเรียกว่ามุกที่นี่แล้วกัน ในภาษาไทย “มุก” หมายถึง ไข่มุก ซึ่งเป็นของมีค่า สวยงาม และมีความหมายดี ในขณะที่ มุก เป็นชื่อที่ดีในภาษาไทย แต่เสียงของคำนี้ไปพ้องกับคำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายแย่ คำว่า “Mook” เป็นแสลงที่ใช้ดูถูกคน แปลประมาณว่า “คนโง่, ไร้ค่า”การที่ Jimmy Kimmel แซวชื่อว่า “Mook” แปลว่า Dumb (โง่) ในภาษาอังกฤษ อาจดูเหมือนเป็นมุกตลกของเขา แต่จริง ๆ แล้วเป็น การแสดงออกถึง Ethnocentrism (แนวคิดที่เอาวัฒนธรรมของตัวเองเป็นศูนย์กลาง) หรือไม่? Jimmy Kimmel มีสิทธิ์บอกว่า ควรเปลี่ยนชื่อไทยเพื่อให้เข้ากับภาษาอังกฤษ หรือไม่ชื่อเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ไม่ควรถูกลดค่าหรือถูกทำให้เป็นเรื่องตลก คนไทย ไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ เพียงเพราะมันไปพ้องเสียงกับคำที่ไม่ดีในภาษาอื่น จริงมั้ย?Ethnocentrism หรือ แนวคิดที่มองว่าวัฒนธรรมของตนเหนือกว่าวัฒนธรรมอื่น เป็นปัญหาที่ฝังรากลึกในสังคมตะวันตกและมักปรากฏในวงการบันเทิง สื่อมวลชน และชีวิตประจำวันของผู้คนที่ไม่ตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมกรณีของ Jimmy Kimmel และชื่อ “มุก” (Mook) เป็นตัวอย่างที่ดีของ ethnocentric bias หรืออคติทางวัฒนธรรมที่ตะวันตกเป็นศูนย์กลาง Jimmy ตั้งคำถามถึงชื่อไทยโดยไม่ได้พยายามทำความเข้าใจวัฒนธรรมไทยก่อน เมื่อ Lisa อธิบายว่า “Mook” แปลว่า Pearl (ไข่มุก) ซึ่งเป็นชื่อที่มีความหมายดี Jimmy กลับ ตอบโต้โดยอ้างถึงความหมายในภาษาอังกฤษ เขาไม่ได้ตระหนักเลยว่าชื่อนี้เป็นเรื่องปกติในประเทศไทย และไม่มีเหตุผลที่ต้องเปลี่ยนชื่อ “มุก” เป็นชื่อที่ดีในภาษาไทย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพียงเพราะมันไปพ้องกับคำที่ไม่ดีในภาษาอังกฤษ และ Jimmy Kimmel ไม่ควรใช้มุกตลกที่อาจเป็นการลดค่าชื่อของคนไทย คนไทยควรภาคภูมิใจในชื่อของตัวเอง และมีสิทธิ์ใช้ชื่อตามวัฒนธรรมของตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อให้ใครพอใจทำไม Ethnocentrism เป็นปัญหา?Ethnocentrism ทำให้เกิดแนวคิดว่าคนจากวัฒนธรรมอื่นต้องปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานของตะวันตก แทนที่จะเคารพความแตกต่างสร้างอคติทางภาษา เช่น “ชื่อของคุณฟังดูแปลกในภาษาเรา ดังนั้นมันต้องผิด”ลดทอนคุณค่าทางวัฒนธรรม แทนที่จะเรียนรู้จากวัฒนธรรมอื่น และส่งเสริมแนวคิด “อารยธรรมของฉันสูงกว่า วัฒนธรรมของคุณต้องเปลี่ยน” ซึ่งเคยถูกใช้เป็นข้ออ้างในยุคล่าอาณานิคมสื่อมวลชนตะวันตกควรรับผิดชอบอย่างไร?Jimmy Kimmel เป็นพิธีกรระดับโลก ควรมีตระหนักถึงอิทธิพลของตนเอง คำพูดของเขามีผลกระทบต่อความคิดของผู้ชม ซึ่งควรให้เคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม การถามคำถามที่สะท้อนอคติทางวัฒนธรรมทำให้ผู้คนจากวัฒนธรรมอื่นรู้สึกถูกลดค่า Jimmy ควรเรียนรู้และให้เกียรติชื่อและอัตลักษณ์ของผู้อื่น ไม่ใช่ทุกอย่างต้องเข้ากับมาตรฐานของตะวันตกหาก Jimmy Kimmel เรียนรู้ที่จะเคารพวัฒนธรรมอื่นเพียงพอ เขาอาจเปลี่ยนมุกตลกที่เหยียดคนอื่นของเขานี้เป็นโอกาสอธิบายให้ผู้ชมรู้ว่า "มุก" คือไข่มุกอันทรงคุณค่าในภาษาไทย แทนที่จะลดทอนมันให้เป็นคำหยาบคาย ซึ่งนั่นคือบทบาทของสื่อที่ควรเป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจข้ามวัฒนธรรมมากกว่าสร้างกำแพงในขณะที่ น้องลิซ่าถูกอบรมสั่งสอนมาดีทั้งจากเมืองไทยและเกาหลี ไม่งั้นเธอคงพูดสวนกับคุณว่า ชื่อ Jimmy ของคุณก็ฟังพ้องเสียงกับคำว่า “จิมิ” ซึ่งเป็นคำแสลงในภาษาไทย ซึ่งหมายถึง……จุดซ่อนเร้นของคุณผู้หญิง คุณจะรู้สึกอย่างไร? จิมิโชว์?รายการจิมิโชว์?https://youtu.be/ga7NkYeqh_A?si=C5yYwJEBKo-0Gvuh………………………………………………………………………………….“Ethnocentrism”Lisa appeared on Jimmy Kimmel Live, and the host, Jimmy, asked about her role as “Mook” in The White Lotus, specifically what the name “Mook” means in Thai.Lisa answered that it means “Pearl”, but Jimmy responded that “Mook” is slang for something like “Dumb.” “No one told you?” he asked.Lisa replied, “No, they didn’t, but it’s a Thai name.” Jimmy then said, “Maybe it’s not a problem in Thailand, but here, it definitely is.” Lisa responded, “Then don’t call me Mook here.”In Thai, “Mook” means pearl, which is valuable, beautiful, and meaningful. While “Mook” is a good name in Thai, the pronunciation of this word coincidentally resembles an English slang term with a negative meaning. In American English, “Mook” is slang used to insult someone, meaning something like “a fool” or “a worthless person.”When Jimmy Kimmel joked that “Mook” means “Dumb” in English, it might have seemed like a joke to him. But is it actually an expression of ethnocentrism—the belief that one’s own culture is the center of everything?Does Jimmy Kimmel have the right to say that a Thai name should be changed to fit the English language?A name is a part of cultural identity. It should not be devalued or turned into a joke. Thai people do not need to change their names just because they sound similar to an undesirable word in another language. Isn’t that true?Ethnocentrism, or the belief that one’s culture is superior to others, is a deeply rooted issue in Western society. It often appears in entertainment, media, and daily life among people who are unaware of cultural differences.The case of Jimmy Kimmel and the name “Mook” is a prime example of ethnocentric bias, where Western perspectives are centered, ignoring non-Western cultures.Jimmy questioned a Thai name without trying to understand Thai culture first. When Lisa explained that “Mook” means Pearl, a meaningful and positive name, Jimmy instead argued based on the English slang meaning. He did not recognize that this name is completely normal in Thailand and that there is no reason to change it.The name “Mook” is a good Thai name. There is no need to change it just because it coincidentally matches an English word with a bad meaning. And Jimmy Kimmel should not make jokes that diminish the value of Thai names.Thai people should be proud of their names and have the right to use them according to their culture without needing to change them for anyone else’s comfort.Why is Ethnocentrism a Problem?Ethnocentrism creates the belief that people from other cultures must adjust to Western standards instead of respecting diversity. • It creates linguistic bias, implying that “Your name sounds strange in our language, so it must be wrong.” • It devalues cultural identity, instead of encouraging learning from other cultures. • It promotes the idea that “My civilization is superior; your culture must change,” which was historically used as a justification for colonialism.How Should Western Media Be More Responsible?Jimmy Kimmel is a globally recognized host. He should be aware of his influence. His words impact public perception.Asking a question that reflects cultural bias makes people from other cultures feel devalued.Jimmy Kimmel should learn and respect other people’s names and identities. Not everything has to fit into Western standards.If Jimmy Kimmel had learned to respect other cultures more, he might have turned his joke into an opportunity to educate his audience that ‘Mook’ means a precious pearl in Thai, rather than reducing it to a vulgar term. That is the true role of the media—to serve as a bridge for cross-cultural understanding rather than building walls.On the other hand, Lisa has been well-raised and well-trained, both in Thailand and Korea. Otherwise, she might have responded to you by saying, ‘Your name, Jimmy, also sounds like ‘Jimi’ in Thai slang, which refers to… a woman’s private part. How would you feel? Jimi show!”"https://www.facebook.com/share/v/16CtwRaMG4/?mibextid=wwXIfr
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1328 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิเคราะห์สถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น และคำแนะนำที่เป็นรูปธรรมสำหรับการเตรียมตัวรับมือยุคใหม่

    ---

    1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Deep Analysis)

    สิ่งที่คุณวิเคราะห์มานั้นมีความเป็นไปได้สูง และสอดคล้องกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน (AI, Automation, Digitalization, และการเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจโลก) นี่คือมุมมองที่ลึกขึ้นสำหรับแต่ละประเด็น

    1.1 ธุรกิจเก่าจะล่มสลาย - แรงงานตกงานเป็นจำนวนมาก

    Real Data: ยอดขายของธุรกิจดั้งเดิมลดลงจริง และอัตราการปิดกิจการเพิ่มขึ้น

    AI Disruption: AI และ Automation แทนที่แรงงานที่ไร้ทักษะ คนที่ไม่ Reskill จะตกงานแน่นอน

    Middle-Class Crisis: รายได้ชนชั้นกลางถูกกดดัน หนี้สินครัวเรือนสูงขึ้น

    → การเตรียมตัว:
    ✅ Upskill & Reskill อย่างต่อเนื่อง
    ✅ พัฒนาอาชีพทางเลือก (Freelance, Online Business, Tech Skills)
    ✅ วางแผนการเงินแบบอนุรักษ์นิยม (ลดหนี้, สร้าง Passive Income)

    ---

    1.2 ธุรกิจยุคใหม่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี

    Tech-Driven Economy: คนที่เก่งเทคโนโลยีจะเป็นกลุ่มที่มั่งคั่ง

    Job Market Shift: สายงานดั้งเดิมหดตัว แต่สายงาน Tech, Data Science, AI, และ Digital Business จะเติบโต

    New Wealth Creation: คนทำงานออนไลน์จะมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งได้ง่ายขึ้น

    → การเตรียมตัว:
    ✅ ฝึก Coding, Data Analysis, Blockchain, Digital Marketing
    ✅ เรียนรู้ AI Tools (ChatGPT, MidJourney, Copilot, Automation Tools)
    ✅ สร้างรายได้จาก Gig Economy, Online Business, Digital Assets

    ---

    1.3 ภาษาอังกฤษ, คอมพิวเตอร์, เทรดดิ้ง, และสุขภาพจิตเป็นทักษะจำเป็น

    Linguistic Economy: คนที่สื่อสารได้หลายภาษา (โดยเฉพาะอังกฤษ) ได้เปรียบ

    Financial Intelligence: การเทรดหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, Crypto จะเป็นทางเลือกของคนฉลาดด้านการเงิน

    Mental Health Crisis: คนที่ปรับตัวไม่ได้จะเกิดภาวะเครียดและซึมเศร้า

    → การเตรียมตัว:
    ✅ ฝึก ภาษาอังกฤษ + ภาษาที่สาม (จีน/สเปน/ญี่ปุ่น/เยอรมัน)
    ✅ เรียน พื้นฐานการลงทุน, Financial Literacy, Asset Allocation
    ✅ ฝึก สมาธิ, Mental Resilience, Self-Healing Skills

    ---

    1.4 ร้านค้าออฟไลน์ล้มหาย ธุรกิจออนไลน์ครองเมือง

    Retail Apocalypse: ร้านค้าที่มีหน้าร้านจะลดลง 60-80%

    E-Commerce Dominance: Shopee, Lazada, Amazon, TikTok Shop จะเป็นช่องทางหลักของการค้า

    → การเตรียมตัว:
    ✅ ทำธุรกิจออนไลน์ให้เป็น (E-Commerce, Digital Marketing, Dropshipping, Affiliate, Influencer Economy)
    ✅ ลงทุนในโลจิสติกส์ & AI-driven Sales

    ---

    1.5 คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนจะยิ่งจนลง

    Wealth Inequality: 1% ของประชากรโลกถือครองทรัพย์สิน 90% ของโลก

    Rich Get Richer: คนที่เข้าใจการลงทุนจะเพิ่มทรัพย์สินได้มหาศาล

    Poor Get Poorer: คนที่ไม่มี Financial Literacy จะจมอยู่กับหนี้

    → การเตรียมตัว:
    ✅ ศึกษาและลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้าง Passive Income
    ✅ หลีกเลี่ยงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Bad Debt)
    ✅ สร้าง Mindset แบบเจ้าของกิจการ (Owner Mindset vs. Employee Mindset)

    ---

    1.6 คนจำนวนมากจะหนีความจริงไปอยู่ในวัดและโลกเสมือน

    Spiritual Escapism: คนที่รับมือกับความเปลี่ยนแปลงไม่ได้จะเลือกอยู่กับศาสนาหรือ Metaverse

    Virtual Reality Economy: การใช้ชีวิตใน Metaverse และ Virtual Work จะกลายเป็นกระแสหลัก

    → การเตรียมตัว:
    ✅ ทำความเข้าใจ Digital Economy และ Virtual Business Models
    ✅ ฝึกทักษะ Mindfulness + Resilience ให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้

    ---

    1.7 คนจะวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น สังคมปั่นป่วน

    Social Discontent: ความเหลื่อมล้ำสูงทำให้เกิดความไม่พอใจ

    Cancel Culture & Digital Mobs: สังคมออนไลน์จะดุเดือดขึ้น

    Political & Economic Shifts: อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในหลายประเทศ

    → การเตรียมตัว:
    ✅ เป็นนักคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinker) อย่าโดนชักจูงง่ายๆ
    ✅ บริหารความเสี่ยงการลงทุน และไม่ขึ้นกับประเทศเดียว
    ✅ รักษาความเป็นกลาง & มองเกมระยะยาว

    ---

    2. แผนการเตรียมตัวสำหรับยุคใหม่

    ✅ 3 สิ่งที่ต้องทำทันที

    1. ลงทุนในตัวเอง (Tech Skills, Financial Literacy, Global Mindset)

    2. สร้างรายได้หลายทาง (Online Income, Passive Income, Investing)

    3. รักษาสุขภาพกาย-ใจ (Mental Health, Meditation, Longevity Science)

    ⚠️ 3 สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง

    1. การเป็นหนี้เพื่อบริโภค (เน้นลงทุน ไม่ใช่ใช้จ่ายเกินตัว)

    2. อาศัยเพียงรายได้ทางเดียว (กระจายความเสี่ยงให้หลากหลาย)

    3. คิดแบบเดิมๆ ในโลกที่เปลี่ยนไป (Open-minded, Adaptive, Resilient)

    ---

    3. คำแนะนำจาก Mentor

    1️⃣ Be Ahead of the Curve

    คนที่อ่านเกมออกเร็วจะได้เปรียบ ถ้าคุณเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ คุณจะเป็น First Mover ในยุคใหม่

    2️⃣ Invest in High-Leverage Skills

    คนที่เก่ง AI, Automation, Financial Literacy, และ Digital Business จะอยู่รอดและรุ่งเรือง

    3️⃣ Own Assets, Not Just Earn Money

    อย่าทำงานเพื่อเงิน แต่ให้เงินทำงานแทนคุณ (Asset Mindset)

    4️⃣ Stay Mentally & Physically Fit

    คนที่รอดคือคนที่แข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ

    5️⃣ Build Multiple Income Streams

    รายได้เดียว = ความเสี่ยงสูง ต้องมี Passive Income & Location-Independent Income
    วิเคราะห์สถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น และคำแนะนำที่เป็นรูปธรรมสำหรับการเตรียมตัวรับมือยุคใหม่ --- 1. วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Deep Analysis) สิ่งที่คุณวิเคราะห์มานั้นมีความเป็นไปได้สูง และสอดคล้องกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน (AI, Automation, Digitalization, และการเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจโลก) นี่คือมุมมองที่ลึกขึ้นสำหรับแต่ละประเด็น 1.1 ธุรกิจเก่าจะล่มสลาย - แรงงานตกงานเป็นจำนวนมาก Real Data: ยอดขายของธุรกิจดั้งเดิมลดลงจริง และอัตราการปิดกิจการเพิ่มขึ้น AI Disruption: AI และ Automation แทนที่แรงงานที่ไร้ทักษะ คนที่ไม่ Reskill จะตกงานแน่นอน Middle-Class Crisis: รายได้ชนชั้นกลางถูกกดดัน หนี้สินครัวเรือนสูงขึ้น → การเตรียมตัว: ✅ Upskill & Reskill อย่างต่อเนื่อง ✅ พัฒนาอาชีพทางเลือก (Freelance, Online Business, Tech Skills) ✅ วางแผนการเงินแบบอนุรักษ์นิยม (ลดหนี้, สร้าง Passive Income) --- 1.2 ธุรกิจยุคใหม่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี Tech-Driven Economy: คนที่เก่งเทคโนโลยีจะเป็นกลุ่มที่มั่งคั่ง Job Market Shift: สายงานดั้งเดิมหดตัว แต่สายงาน Tech, Data Science, AI, และ Digital Business จะเติบโต New Wealth Creation: คนทำงานออนไลน์จะมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งได้ง่ายขึ้น → การเตรียมตัว: ✅ ฝึก Coding, Data Analysis, Blockchain, Digital Marketing ✅ เรียนรู้ AI Tools (ChatGPT, MidJourney, Copilot, Automation Tools) ✅ สร้างรายได้จาก Gig Economy, Online Business, Digital Assets --- 1.3 ภาษาอังกฤษ, คอมพิวเตอร์, เทรดดิ้ง, และสุขภาพจิตเป็นทักษะจำเป็น Linguistic Economy: คนที่สื่อสารได้หลายภาษา (โดยเฉพาะอังกฤษ) ได้เปรียบ Financial Intelligence: การเทรดหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์, Crypto จะเป็นทางเลือกของคนฉลาดด้านการเงิน Mental Health Crisis: คนที่ปรับตัวไม่ได้จะเกิดภาวะเครียดและซึมเศร้า → การเตรียมตัว: ✅ ฝึก ภาษาอังกฤษ + ภาษาที่สาม (จีน/สเปน/ญี่ปุ่น/เยอรมัน) ✅ เรียน พื้นฐานการลงทุน, Financial Literacy, Asset Allocation ✅ ฝึก สมาธิ, Mental Resilience, Self-Healing Skills --- 1.4 ร้านค้าออฟไลน์ล้มหาย ธุรกิจออนไลน์ครองเมือง Retail Apocalypse: ร้านค้าที่มีหน้าร้านจะลดลง 60-80% E-Commerce Dominance: Shopee, Lazada, Amazon, TikTok Shop จะเป็นช่องทางหลักของการค้า → การเตรียมตัว: ✅ ทำธุรกิจออนไลน์ให้เป็น (E-Commerce, Digital Marketing, Dropshipping, Affiliate, Influencer Economy) ✅ ลงทุนในโลจิสติกส์ & AI-driven Sales --- 1.5 คนรวยยิ่งรวยขึ้น คนจนจะยิ่งจนลง Wealth Inequality: 1% ของประชากรโลกถือครองทรัพย์สิน 90% ของโลก Rich Get Richer: คนที่เข้าใจการลงทุนจะเพิ่มทรัพย์สินได้มหาศาล Poor Get Poorer: คนที่ไม่มี Financial Literacy จะจมอยู่กับหนี้ → การเตรียมตัว: ✅ ศึกษาและลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้าง Passive Income ✅ หลีกเลี่ยงหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Bad Debt) ✅ สร้าง Mindset แบบเจ้าของกิจการ (Owner Mindset vs. Employee Mindset) --- 1.6 คนจำนวนมากจะหนีความจริงไปอยู่ในวัดและโลกเสมือน Spiritual Escapism: คนที่รับมือกับความเปลี่ยนแปลงไม่ได้จะเลือกอยู่กับศาสนาหรือ Metaverse Virtual Reality Economy: การใช้ชีวิตใน Metaverse และ Virtual Work จะกลายเป็นกระแสหลัก → การเตรียมตัว: ✅ ทำความเข้าใจ Digital Economy และ Virtual Business Models ✅ ฝึกทักษะ Mindfulness + Resilience ให้รับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ --- 1.7 คนจะวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น สังคมปั่นป่วน Social Discontent: ความเหลื่อมล้ำสูงทำให้เกิดความไม่พอใจ Cancel Culture & Digital Mobs: สังคมออนไลน์จะดุเดือดขึ้น Political & Economic Shifts: อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในหลายประเทศ → การเตรียมตัว: ✅ เป็นนักคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinker) อย่าโดนชักจูงง่ายๆ ✅ บริหารความเสี่ยงการลงทุน และไม่ขึ้นกับประเทศเดียว ✅ รักษาความเป็นกลาง & มองเกมระยะยาว --- 2. แผนการเตรียมตัวสำหรับยุคใหม่ ✅ 3 สิ่งที่ต้องทำทันที 1. ลงทุนในตัวเอง (Tech Skills, Financial Literacy, Global Mindset) 2. สร้างรายได้หลายทาง (Online Income, Passive Income, Investing) 3. รักษาสุขภาพกาย-ใจ (Mental Health, Meditation, Longevity Science) ⚠️ 3 สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง 1. การเป็นหนี้เพื่อบริโภค (เน้นลงทุน ไม่ใช่ใช้จ่ายเกินตัว) 2. อาศัยเพียงรายได้ทางเดียว (กระจายความเสี่ยงให้หลากหลาย) 3. คิดแบบเดิมๆ ในโลกที่เปลี่ยนไป (Open-minded, Adaptive, Resilient) --- 3. คำแนะนำจาก Mentor 1️⃣ Be Ahead of the Curve คนที่อ่านเกมออกเร็วจะได้เปรียบ ถ้าคุณเริ่มปรับตัวตั้งแต่วันนี้ คุณจะเป็น First Mover ในยุคใหม่ 2️⃣ Invest in High-Leverage Skills คนที่เก่ง AI, Automation, Financial Literacy, และ Digital Business จะอยู่รอดและรุ่งเรือง 3️⃣ Own Assets, Not Just Earn Money อย่าทำงานเพื่อเงิน แต่ให้เงินทำงานแทนคุณ (Asset Mindset) 4️⃣ Stay Mentally & Physically Fit คนที่รอดคือคนที่แข็งแกร่งทั้งร่างกายและจิตใจ 5️⃣ Build Multiple Income Streams รายได้เดียว = ความเสี่ยงสูง ต้องมี Passive Income & Location-Independent Income
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1466 มุมมอง 0 รีวิว
  • การเก็บมุกในจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ

    การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ

    การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

    ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย

    จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2)

    ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย

    ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป

    แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm
    https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html
    https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312
    https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf

    #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    การเก็บมุกในจีนโบราณ สวัสดีค่ะ ผ่านบทความยาวๆ กันมาหลายสัปดาห์ วันนี้มาคุยกันสั้นหน่อยเกี่ยวกับการเก็บมุก เพื่อนเพจที่ได้ดู <ม่านมุกม่านหยก> คงจะจำได้ถึงเรื่องราวตอนเปิดเรื่องที่นางเอกเป็นทาสเก็บมุก และในฉากดำน้ำเก็บมุกจะเห็นว่าทาสเก็บมุกทุกคนมีถุงทรายช่วยถ่วงให้ลงน้ำได้เร็วขึ้น แต่ทุกคนดำน้ำได้ลึกมากและอึดมากจนอดไม่ได้ที่จะสงสัยว่าในสมัยก่อนเขาดำน้ำเก็บมุกกันอย่างนี้จริงๆ หรือ การดำน้ำเก็บมุกมีมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏชัด แต่ไข่มุกเป็นของบรรณาการที่ต้องส่งเข้าวังมาแต่โบราณโดยในสมัยฉินมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจน และในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นก็มีการกล่าวถึงการเก็บมุกในฝั่งทะเลตอนใต้ในเขตการปกครองที่เรียกว่า ‘เหอผู่’ ปัจจุบันคือแถบตอนใต้ของมณฑลก่วงซี ว่ากันว่าชาวบ้านในแถบพื้นที่นั้นไม่มีอาชีพอื่นเลยนอกจากเก็บมุก และเด็กเริ่มฝึกลงทะเลดำน้ำตั้งแต่อายุสิบขวบ การเก็บมุกในทะเลมีมาเรื่อยตลอดทุกยุคสมัย ยกเว้นในสมัยซ่งที่มีการประกาศห้ามลงทะเลเก็บมุกเพราะอันตรายเกินไปและมีการพัฒนามุกน้ำจืดและเรือเก็บหอยมุก แต่เมื่อพ้นสมัยซ่งก็กลับมาใช้คนลงทะเลเก็บมุกกันอีก โดยเฉพาะในสมัยหมิงการเก็บมุกทำกันอย่างขยันขันแข็ง มีคนเก็บมุกกว่าแปดพันคน จนทำให้จำนวนมุกที่เก็บได้มากสุดและจำนวนคนเก็บมุกตายมากสุดในประวัติศาสตร์จีน ทำเอามุกทะเลธรรมชาติร่อยหรอจนในสมัยชิงหันมาใช้ ‘มุกตะวันออก’ ซึ่งก็คือมุกน้ำจืดที่เก็บจากบริเวณแม่น้ำซงหัวทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ว่ากันว่ากรรมวิธีการดำน้ำเก็บมุกในทะเลไม่ได้เปลี่ยนไปมากตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของมัน แต่เอกสารบรรยายเกี่ยวกับวิธีการเก็บมุกมีน้อยมาก และเอกสารที่คนมักใช้อ้างอิงคือบันทึก ‘เทียนกงคายอู้’ (天工开物 /The Exploitation of the Works of Nature) ซึ่งเป็นหนังสือสมัยหมิงจัดทำขึ้นโดยซ่งอิงซิงเมื่อปีค.ศ. 1637 หนังสือเล่มนี้บรรยายถึงกว่า 300 อาชีพที่เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและกรรมวิธีการผลิตที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการเก็บมุกด้วย จริงๆ แล้ว ‘เทียนกงคายอู้’ เป็นเอกสารบรรยาย แต่ต่อมามีคนอิงเอกสารนี้จัดวาดเป็นภาพขึ้นในหลากหลายเวอร์ชั่น Storyฯ เอาเวอร์ชั่นที่คนส่วนใหญ่อ้างอิงเพราะใกล้เคียงกับคำบรรยายมากที่สุดมาให้ดู (รูปประกอบ 2) ‘เทียนกงคายอู้’ อธิบายไว้ว่า... เรือเก็บมุกจะรูปทรงอ้วนกว่าเรืออื่นและหัวมน บนเรือมีฟางมัดเป็นแผ่น เมื่อผ่านน้ำวนให้โยนแผ่นฟางลงไป เรือก็จะผ่านไปได้อย่างปลอดภัย... คนเก็บมุกลงน้ำพร้อมตะกร้าไผ่ เอวถูกมัดไว้กับเชือกยาวที่ถูกยึดไว้บนเรือ... คนเก็บมุกมีหลอดโค้งทำจากดีบุก ปลายหลอดเสียบเข้าที่จมูกและใช้ถุงหนังนิ่มพันรอบคอและซอกหูเพื่อช่วยหายใจ... คนที่ดำลงได้ลึกจริงๆ สามารถลงไปถึงสี่ห้าร้อยฉื่อ (ประมาณ 90-115 เมตร) เพื่อเก็บหอยมุกใส่ตะกร้า เมื่ออากาศใกล้หมดก็จะกระตุกเชือกให้คนข้างบนดึงขึ้นไป เมื่อขึ้นไปแล้วต้องรีบเอาผืนหนังต้มร้อนมาห่อตัวให้อุ่นเพื่อจะได้ไม่แข็งตาย ในหนังสือ ‘เทียนคายกงอู้’ ไม่ได้บรรยายไว้ว่าคนเก็บมุกแต่งกายอย่างไร แต่ข้อมูลอื่นรวมถึงภาพวาดหลายเวอร์ชั่นแสดงให้เห็นว่าในสมัยโบราณนั้น คนเก็บมุกใช้หินมัดไว้ที่เอวเพื่อถ่วงให้จมเร็วขึ้นและลงน้ำโดยไม่ใส่เสื้อผ้าเลย โดยปกติแล้วคนเก็บมุกออกเรือด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กและจับคู่กันเช่นพ่อลูกหรือพี่น้องชายผลัดกันดึงเชือกผลัดกันดำลงไป แม้ว่าการบรรยายข้างต้นจะพอให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกเหมือน Storyฯ ว่าคำบรรยายในหนังสือยังมีประเด็นชวนสงสัยอีก เป็นต้นว่า ท่อหายใจกับถุงหนังต่อเข้ากันอย่างไร? กันน้ำได้อย่างไร? อากาศในถุงหนังคือคนเป่าเข้าไป? ฯลฯ แต่จนใจที่ Storyฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมไม่พบ เพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็รบกวนมาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g62771163/the-story-of-pearl-girl/ https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/18/3/14/n10216310.htm https://news.bjd.com.cn/read/2021/07/23/134795t172.html https://baike.baidu.com/item/天工开物/29312 https://core.ac.uk/download/pdf/323959493.pdf #ม่านมุกม่านหยก #มุกทะเลใต้ #การเก็บมุก #คนเก็บมุก #ไฉ่จู #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 909 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง

    ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10)

    Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง)

    บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้)

    เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง

    ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034

    ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร

    เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน

    ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย

    ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป

    ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน

    คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872)

    อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย

    เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง

    ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร

    ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9
    https://www.sohu.com/a/394407332_100120829
    https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://www.guoxue.com/?p=42472
    https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html
    https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5
    https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    มาถึงรูปที่ 8 ของ 12 กงซวิ่นถู (宫训图) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก โดยเป็นภาพที่เล่าเรื่องราวของพระภรรยาในประวัติศาสตร์ที่ถูกจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดี วันนี้เราคุยกันถึงภาพที่แขวนในพระตำหนักเหยียนสี่กง ในละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่พระทับของลิ่งเฟย (เว่ยอิงหลัว) ซึ่งก็คือฮองเฮาเซี่ยวอี๋ฉุน ฮองเฮาองค์ที่สามของเฉียนหลงฮ่องเต้ แต่... ในปีรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีที่จัดทำกงซวิ่นถูกขึ้นนั้น ในละครเว่ยอิงหลัวเพิ่งเข้าวังเป็นนางกำนัลยังไม่ได้เป็นสนม (ในประวัติศาสตร์จริงเชื่อว่านางเข้าถวายตัวเป็นนางกำนัลในช่วงรัชศกเฉียนหลงปีที่ 6-9 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกุ้ยเหรินในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 10) Storyฯ หาไม่พบว่าในปีที่จัดทำกงซวิ่นถูนั้น พระตำหนักเหยียนสี่กงเป็นที่ประทับของพระองค์ใด แต่ภาพที่ถูกพระราชทานมายังพระตำหนักนี้คือภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ (曹后重农图 / เฉาฮองเฮาให้ความสำคัญกับการเกษตร) แต่ภาพจริงสูญหายไปแล้ว ภาพที่แปะมาให้ดูเป็นภาพเรื่องราวเดียวกันจากสมัยองค์คังซี เป็นผลงานของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจิน มีชื่อว่า ‘จิ้งย่วนจ้งกู่’ (禁苑种谷/ เพาะเมล็ดพืชในพระราชวัง) บุคคลที่ถูกกล่าวถึงในภาพก็คือเฉาฮองเฮาในจักรพรรดิซ่งเหรินจง (จักรพรรดิองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ซ่ง) เพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับเรื่องราวของเฉาฮองเฮาจากละครเรื่อง <วังเดียวดาย> วันนี้เรามาคุยกันเกี่ยวกับสตรีผู้ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในฮองเฮาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์จีนคนนี้ (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์ในบทความนี้) เฉาฮองเฮา (ค.ศ. 1016-1079) นามเดิมในละคร <วังเดียวดาย> คือเฉาตานซู แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่พบว่านี่ใช่นามเดิมที่ถูกต้องหรือไม่ ทราบแต่ว่านางมาจากตระกูลเรืองอำนาจ เป็นบุตรีของเฉาฉี่ซึ่งมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูงในกรมราชสำนักและเป็นหลานปู่ของแม่ทัพเฉาปินซึ่งเป็นหนึ่งในเรี่ยวแรงสำคัญในการก่อตั้งราชวงศ์ซ่ง ซ่งเหรินจงเดิมทีมีฮองเฮาอยู่แล้วคือกัวฮองเฮา แต่ภายหลังจากหลิวเอ๋อไทเฮาสิ้นชีพลง ซ่งเหรินจงสั่งปลดกัวฮองเฮาด้วยข้ออ้างว่านางไม่สามารถมีบุตรสืบสกุลให้ได้ เหล่าขุนนางจึงเสนอชื่อธิดาสกุลเฉาวัยสิบแปดปีผู้นี้เป็นฮองเฮา ว่ากันว่าซ่งเหรินจงไม่ชอบนาง แต่นางกลับเป็นที่ถูกใจของฮุ่ยหยางไทเฮา เพราะนางไม่สวยเย้ายวน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ฮ่องเต้มัวเมาจนละเลยหน้าที่การงาน สุดท้ายนางได้รับการสถาปนาเป็นฮองเฮาในปีค.ศ. 1034 ในบันทึกประวัติศาสตร์ซ่ง (宋史) จารึกถึงนางไว้ว่าเป็นคนมีเมตตาโอบอ้อมอารี ให้ความสำคัญกับการเกษตร มักปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหมในวังเพื่อพัฒนาการเกษตร เฉาฮองเฮาถูกยกย่องว่าวางตนได้ดีเยี่ยม และนางระมัดระวังไม่ก้าวก่ายงานราชการ ไม่เคยพบปะกับคนในตระกูลเฉาตามลำพังให้เป็นที่สงสัยหรือเปิดโอกาสให้เป็นครหาได้ว่าตระกูลเฉาใช้อำนาจในทางที่ผิด แม้แต่ญาติของนางบางคนยังถึงขนาดขอลดตำแหน่งราชการลงหรือขอลาออกจากตำแหน่งสำคัญภายหลังจากที่นางได้รับการแต่งตั้งให้เป็นฮองเฮาแล้ว และตลอดเวลาที่นางดำรงตำแหน่งนี้ ตระกูลเฉาพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับตำแหน่งขุนนางระดับสูงใดๆ นอกจากนี้ นางยังวางตัวอย่างสงบในวังหลัง ไม่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกับใคร เคร่งครัดเรื่องกฎเกณฑ์ในวัง ฉลาดใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง จึงเป็นที่ยำเกรงและเคารพจากทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ซ่งเหรินจงไม่ได้รักและโปรดปรานนาง และมีหลายครั้งที่คิดจะปลดนางเพื่อยกกุ้ยเฟยคนโปรดขึ้นแทน แต่เพราะนางวางตัวได้ไร้ที่ติ อีกทั้งปกครองวังหลังได้ดี สุดท้ายซ่งเหรินจงจึงไม่ได้ปลดนางและยังต้องให้เกียรตินางเป็นอย่างดีอีกด้วย ต่อมาในรัชสมัยของจักรพรรดิซ่งอิงจง ซ่งอิงจงป่วยหนักภายหลังจากขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน นางในฐานะไทเฮาถูกเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนและออกว่าราชการหลังม่าน แต่มักหารือด้วยกับเหล่าขุนนาง ไม่ใช้อำนาจโดยพละการ จนงานราชการผ่านไปได้ด้วยดี หนึ่งปีให้หลังองค์ซ่งอิงจงหายป่วย เฉาไทเฮาก็คืนอำนาจบริหารบ้านเมืองให้ฮ่องเต้ บ้างว่านางเสนอคืนอำนาจเอง บ้างก็ว่านางถูกบีบโดยเหล่าขุนนาง ในรัชสมัยของซ่งอิงจงสี่ปีนี้ แม้ซ่งอิงจงมีความขัดแย้งกับนางมาโดยตลอดแต่ก็ไม่ได้เกิดเรื่องใหญ่จนทำให้สถานะของนางคลอนแคลนหรือความยำเกรงในตัวนางหายไป ในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง นางเป็นไทฮองไทเฮาก็ได้รับความเคารพรักอย่างมากจากซ่งเสินจง นางยังคงวางตัวอย่างระมัดระวังเช่นเดิม แต่ในรัชสมัยของซ่งอิงจงนี้ มีเรื่องราวที่นางมีบทบาทต่อชีวิตของคนสองคนในราชสำนักที่เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของจีน คนแรกก็คือ อัครมหาเสนาบดีหวางอันสือ เขาคือนักปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการปกครอง แต่แนวทางปฏิรูปของเขาทำไปได้ประมาณ 3-4 ปีก็ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม ว่ากันว่าเฉาไทฮองไทเฮาก็เป็นหนึ่งในฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง แต่นางก็ชื่นชมในความสามารถของหวางอันสือ เมื่อสถานการณ์ราชสำนักตึงเครียดถึงขีดสุด ซ่งเสินจงเองก็หวั่นไหวกับความคิดที่จะล้มเลิกแผนปฏิรูปนี้ นางได้แนะนำซ่งเสินจงว่า หวางอันสือมีศัตรูในราชสำนักมากเกินไป หากต้องการรักษาชีวิตคนผู้นี้ไว้ ควรให้ออกจากราชการไปหลบพายุทางการเมืองสักพักแล้วค่อยกลับมาใหม่ แต่สุดท้ายหวางอันสือเลือกที่จะไม่มารับราชการอีกเลย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องที่เขาแต่งบทกกวี ‘เหมยฮวา’ มาแล้ว อ่านย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/672174234910872) อีกบุคคลหนึ่งคือซูซึ หรือซูตงปอ (กวีเอกสมัยนั้น) เขาถูกจำคุกเนื่องจากเขียนบทประพันธ์พาดพิงวิจารณ์เรื่องปฏิรูปข้างต้น ว่ากันว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ชีวิตตกต่ำที่สุดของซูตงปอ ในช่วงเวลานั้น เฉาไทฮองไทเฮาป่วยหนัก ก่อนตายนางได้บอกกับซ่งเสินจงว่า ซูซึผู้นี้ เมื่อครั้งที่สอบราชบัณฑิตในรัชสมัยของซ่งเหรินจง ซ่งเหรินจงเคยบอกว่าเขาผู้นี้มีความสามารถพอที่จะเป็นถึงอัครเสนาบดีในอนาคตได้ และนางไม่อยากให้เขาต้องหมดอนาคตอยู่ในคุกด้วยเรื่องการเมือง สุดท้ายซูตงปอได้รับการปล่อยออกจากคุกและถูกลดตำแหน่งและให้ไปประจำที่เมืองหางโจว เรียกได้ว่า หากไม่ใช่เพราะนาง ชาวจีนอาจไม่มีโอกาสได้เห็นคุณงามความดีของขุนนางที่ชื่อซูซึที่หางโจว หรือผลงานวรรณกรรมอันมีค่าของซูตงปอต่อไปอีกเลย เมื่อนางสิ้นชีพลงด้วยวัยหกสิบสี่ปี องค์ซ่งเสินจงเศร้าโศกเป็นอย่างมาก เขาปรับระดับคนจากตระกูลเฉาขึ้นเป็นขุนนางระดับสูงกว่าสี่สิบคน และแต่งตั้งย้อนหลังให้เป็นฉือเซิ่งกวงเซี่ยนฮองเฮา เพื่อเป็นการตอบแทนคุณงามความดีของนาง ภาพ ‘เฉาโฮ่วจ้งหนง’ นี้บรรยายถึงกิจกรรมประจำวันของเฉาฮองเฮาตั้งแต่เมื่อครั้งเข้าวังใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเพาะปลูกธัญพืชและเลี้ยงหนอนไหม และภาพนี้ถูกตีความว่าหมายถึงความขยันหมั่นเพียร ส่วนป้ายที่องค์เฉียนหลงพระราชทานไปคู่กับภาพนี้เขียนไว้ว่า ‘เซิ่นจ้านเวยอิน’ (慎赞徽音) แปลได้ประมาณว่า ความระมัดระวังตนนำมาซึ่งความเคารพยกย่อง เป็นประโยคที่สะท้อนได้ดีถึงชีวิตของสตรีที่อดทนและเฉลียวฉลาดคนนี้... เฉาฮองเฮาไม่ได้รับความรักความโปรดปรานจากสามี ไม่มีลูก และไม่เคยใช้ตระกูลเฉาเป็นฐานอำนาจ แต่ตลอดชีวิตในวังเกือบห้าสิบปีผ่านสามรัชสมัย นางกลับได้รับความเคารพยำเกรงด้วยคุณงามความดีและการวางตัวของนางเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://wapbaike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=114318e9a8c1c9eee79397a9 https://www.sohu.com/a/394407332_100120829 https://baike.baidu.com/item/清焦秉贞绘禁苑种谷图/386137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://www.guoxue.com/?p=42472 https://www.duguoxue.com/ershisishi/12686.html https://www.soundofhope.org/post/472643?lang=b5 https://www.silpa-mag.com/history/article_23090#google_vignette #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เฉาฮองเฮา #ซ่งเหรินจง #วังเดียวดาย #หวางอันสือ #ซูตงปอ #เฉาโฮ่วจ้งหนง #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1319 มุมมอง 0 รีวิว
  • Explore The Wide Expanse Of Synonyms For “Multiverse”

    All of space as we know it makes up the universe. The universe is gargantuan and is home to an untold number of galaxies, stars, and planets. But what if there were two universes? Or five? Or five hundred? We aren’t just talking about the universe anymore. We are talking about the multiverse, the theoretical collection of our universe plus all those other universes out there (including the one that has an evil version of you, but with a goatee—or is clean-shaven if you already have a goatee). Multiverse is a term used both in science and science fiction to refer to the idea of other existing universes. It’s not the only such term, though. We’ve scoured the lexicological multiverse to find a collection of ways that we refer to the possible worlds beyond.

    parallel universes

    The term parallel universe is used in science to refer to other hypothetical universes that exist alongside ours. We can’t see or interact with these universes in any way; they don’t exist in our universe, but they may exist … somewhere. Scientists have many theories about parallel universes. One of the more popular theories is that every possibility that could have happened has—in another parallel universe somewhere.

    megaverse

    The term megaverse is used, particularly in science fiction, to refer to a humongous universe that contains many multiverses within it. This grandiose-sounding word is often used to refer collectively to all of the parallel universes and multiverses that exist within a given fictional reality or possibly even within our own.

    omniverse

    A megaverse isn’t big enough for you? Then, you need an omniverse. The word omniverse is often used in science fiction to refer to all of reality and includes all of the universes, multiverses, pocket dimensions, celestial realms, and anything else that makes up existence. In comic books, Marvel and Marvel fans collectively refer to all universes that have existed and will ever exist (including our reality and other fictional multiverses) as the omniverse. So while Spider-Man (a Marvel character) and Batman (DC) may not exist in the same universe, multiverse, or megaverse, they (and every other fictional character) are part of the omniverse.

    other dimensions

    In science and mathematics, the term dimension is used to describe space and time. For example, our everyday lives involve three spatial dimensions (height, width, and depth) and time exists as the fourth dimension.

    In science fiction, technology often allows people to discover other dimensions and use them to explore places that we can’t while limited to only the four dimensions we know about. The places that this technology allows them to travel to are often referred to as “other dimensions” or a fifth dimension. Because these travelers are already breaking the laws of physics, these other dimensions can often get pretty weird and abstract.

    alternate realities

    The abstract word reality is used to collectively describe everything that exists or isn’t fictional. An alternate reality is a reality that exists beyond the one we experience right now. In popular culture, this term is often used interchangeably with similar words, like parallel universe. Because alternate realities are not the same reality we know, they don’t follow the laws of physics and can be pretty magical. For example, the Harry Potter series takes place in an alternate reality of our world in which witches, wizards, and magical creatures are real.

    parallel timelines

    The word timeline is used to describe a chronological series of events. For example, the Egyptian empire existed thousands of years ago in our timeline. A major theme in popular culture is the possibility of parallel or alternate timelines. The most common and basic version of this concept describes time as a tree with major events causing time to split into multiple branches, each branch containing the timelines that include the different possible outcomes of that event.

    The concept of parallel and alternate timelines can often get very confusing, particularly in fiction featuring time travel that explores changes in history due to these alternate timelines. Less seriously, the idea of parallel timelines is often jokingly used to explain the Mandela Effect (when a large number of people share a false memory) and the Berenstein (not Berenstain) Bears books we all remember reading in what was clearly an alternate timeline.

    alternate planes of existence

    The word plane is generally used in mathematics to refer to a flat two-dimensional surface. Outside of math, the word plane is sometimes used to describe alternate realities or “planes of existence” as if they were planes of glass placed alongside each other. For example, Buddhist teachings include the idea of 31 “planes” or “lands” that a person travels through in the cycle of life and death: our mortal plane and 30 others that belong to spiritual beings.

    In popular culture, the word plane is often used to refer to alternate words that are home to strange creatures or different rules of reality. For example, Dungeons and Dragons has a strange Plane of Mirrors that is home to dangerous monsters and allows travel through mirrors.

    other realms

    The word realm refers to a region where something happens. In our real world, the word realm is sometimes used in the phrase quantum realm to refer to the subatomic part of reality that is home to very small and very confusing things. In brief, the quantum realm seems to be a place where normally impossible things may be possible, such as particles existing in multiple places at once.

    Outside of science, the word realm is often used in popular culture, theology, spiritual, and paranormal science to refer to places beyond our reality. For example, the idea of a spirit realm that is home to ghosts and souls of the dead is common in religion and spirituality. Other stories and belief systems tell of realms beyond our world, such as the realm of fairies, the realm of elves, or the realms of gods such as Olympus or Asgard.

    isekai

    Isekai, which translates to “different word” or “another world,” is a popular Japanese fiction genre that features characters who are transported from our world to another one. Isekai stories are similar to classic stories, like Alice in Wonderland or The Wizard of Oz, in which a character winds up in a strange new world.

    In isekai fiction, sometimes characters travel back in time or travel to those alternate timelines we mentioned before. Some other possible destinations in isekai stories include the demon realm, a classical medieval fantasy world with dragons and magic, or even the world of a video game.

    Based on how often it comes up in popular culture, the possibility that other universes besides our own exist somewhere has mesmerized us for quite a long time. This idea is also still a frequent topic of discussion among scientists, too, which has led to theories like the many-worlds interpretation that try to explain how a multiverse might work if it is actually real. If you are curious as to what science has to say about all this multiverse madness, check out our discussion of the language about the multiverse.

    Copyright 2025, AAKKHRA, All Rights Reserved.
    Explore The Wide Expanse Of Synonyms For “Multiverse” All of space as we know it makes up the universe. The universe is gargantuan and is home to an untold number of galaxies, stars, and planets. But what if there were two universes? Or five? Or five hundred? We aren’t just talking about the universe anymore. We are talking about the multiverse, the theoretical collection of our universe plus all those other universes out there (including the one that has an evil version of you, but with a goatee—or is clean-shaven if you already have a goatee). Multiverse is a term used both in science and science fiction to refer to the idea of other existing universes. It’s not the only such term, though. We’ve scoured the lexicological multiverse to find a collection of ways that we refer to the possible worlds beyond. parallel universes The term parallel universe is used in science to refer to other hypothetical universes that exist alongside ours. We can’t see or interact with these universes in any way; they don’t exist in our universe, but they may exist … somewhere. Scientists have many theories about parallel universes. One of the more popular theories is that every possibility that could have happened has—in another parallel universe somewhere. megaverse The term megaverse is used, particularly in science fiction, to refer to a humongous universe that contains many multiverses within it. This grandiose-sounding word is often used to refer collectively to all of the parallel universes and multiverses that exist within a given fictional reality or possibly even within our own. omniverse A megaverse isn’t big enough for you? Then, you need an omniverse. The word omniverse is often used in science fiction to refer to all of reality and includes all of the universes, multiverses, pocket dimensions, celestial realms, and anything else that makes up existence. In comic books, Marvel and Marvel fans collectively refer to all universes that have existed and will ever exist (including our reality and other fictional multiverses) as the omniverse. So while Spider-Man (a Marvel character) and Batman (DC) may not exist in the same universe, multiverse, or megaverse, they (and every other fictional character) are part of the omniverse. other dimensions In science and mathematics, the term dimension is used to describe space and time. For example, our everyday lives involve three spatial dimensions (height, width, and depth) and time exists as the fourth dimension. In science fiction, technology often allows people to discover other dimensions and use them to explore places that we can’t while limited to only the four dimensions we know about. The places that this technology allows them to travel to are often referred to as “other dimensions” or a fifth dimension. Because these travelers are already breaking the laws of physics, these other dimensions can often get pretty weird and abstract. alternate realities The abstract word reality is used to collectively describe everything that exists or isn’t fictional. An alternate reality is a reality that exists beyond the one we experience right now. In popular culture, this term is often used interchangeably with similar words, like parallel universe. Because alternate realities are not the same reality we know, they don’t follow the laws of physics and can be pretty magical. For example, the Harry Potter series takes place in an alternate reality of our world in which witches, wizards, and magical creatures are real. parallel timelines The word timeline is used to describe a chronological series of events. For example, the Egyptian empire existed thousands of years ago in our timeline. A major theme in popular culture is the possibility of parallel or alternate timelines. The most common and basic version of this concept describes time as a tree with major events causing time to split into multiple branches, each branch containing the timelines that include the different possible outcomes of that event. The concept of parallel and alternate timelines can often get very confusing, particularly in fiction featuring time travel that explores changes in history due to these alternate timelines. Less seriously, the idea of parallel timelines is often jokingly used to explain the Mandela Effect (when a large number of people share a false memory) and the Berenstein (not Berenstain) Bears books we all remember reading in what was clearly an alternate timeline. alternate planes of existence The word plane is generally used in mathematics to refer to a flat two-dimensional surface. Outside of math, the word plane is sometimes used to describe alternate realities or “planes of existence” as if they were planes of glass placed alongside each other. For example, Buddhist teachings include the idea of 31 “planes” or “lands” that a person travels through in the cycle of life and death: our mortal plane and 30 others that belong to spiritual beings. In popular culture, the word plane is often used to refer to alternate words that are home to strange creatures or different rules of reality. For example, Dungeons and Dragons has a strange Plane of Mirrors that is home to dangerous monsters and allows travel through mirrors. other realms The word realm refers to a region where something happens. In our real world, the word realm is sometimes used in the phrase quantum realm to refer to the subatomic part of reality that is home to very small and very confusing things. In brief, the quantum realm seems to be a place where normally impossible things may be possible, such as particles existing in multiple places at once. Outside of science, the word realm is often used in popular culture, theology, spiritual, and paranormal science to refer to places beyond our reality. For example, the idea of a spirit realm that is home to ghosts and souls of the dead is common in religion and spirituality. Other stories and belief systems tell of realms beyond our world, such as the realm of fairies, the realm of elves, or the realms of gods such as Olympus or Asgard. isekai Isekai, which translates to “different word” or “another world,” is a popular Japanese fiction genre that features characters who are transported from our world to another one. Isekai stories are similar to classic stories, like Alice in Wonderland or The Wizard of Oz, in which a character winds up in a strange new world. In isekai fiction, sometimes characters travel back in time or travel to those alternate timelines we mentioned before. Some other possible destinations in isekai stories include the demon realm, a classical medieval fantasy world with dragons and magic, or even the world of a video game. Based on how often it comes up in popular culture, the possibility that other universes besides our own exist somewhere has mesmerized us for quite a long time. This idea is also still a frequent topic of discussion among scientists, too, which has led to theories like the many-worlds interpretation that try to explain how a multiverse might work if it is actually real. If you are curious as to what science has to say about all this multiverse madness, check out our discussion of the language about the multiverse. Copyright 2025, AAKKHRA, All Rights Reserved.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1131 มุมมอง 0 รีวิว
  • #วัดที่สี่ร้อยเก้าสิบเอ็ด
    #วัดราชคฤห์
    #กรุงเทพ

    วัดราชคฤห์​ -​ เธอจ๋า​ ๆ​ ตลาดพลู​ ไม่​ได้มีดีแค่ของอร่อยนะจ๊ะ​ เพราะย่านนี้​ ในอดีตเป็นชุมชนมอญเก่า​ เลยมีศิลปะ​วัฒนธรรม​ของชนชาวมอญปะปนอยู่​ โดยเฉพาะวัดวาอาราม​ต่าง​ ๆ​ ก็สวยงาม​ และ​น่าสนใจไม่แพ้ ย่านเก่า​ๆ​ ในพระนครเลยนะครับ​ วันนี้​ ขอ​อาสาพามาชมของดี​ ของหายากหนึ่งเดียว​ในประเทศไทย​ พระพุทธ​รูปนอนหงาย​ แห่งวัดราชคฤห์​ ตลาด​พลู​ครับ

    วัดแห่งนี้​ เล่าขานกันว่า​ สร้างสมัยอยุธยา​ตอนต้น​ ชาวบ้านร้านตลาด​ นิยมเรียกขานว่า​ วัดวังน้ำวน​ ด้วยเหตุที่​ ตั้งอยู่​จุดที่คลองสามสาย​ มาบรรจบ​กัน​ ได้แก่​ คลองท่าพระ​ คลอง​บางกอกใหญ่​ และคลองบางน้ำชน​ แถวนั้นเกิดเป็นน้ำวน​ เกิดขึ้น​ แต่คนพื้นเพเดิม​ ก็นิยมเรืยก​ วัดมอญ​ ด้วยชาวบ้านแถบนี้เป็นชุมชนชาวมอญ​

    สิ่งที่พลาดไม่ได้​ คือ​ หลวงพ่อนอนหงาย​ หรือ​พระพุทธรูป​ปางถวายเพลิง​ สันนิษฐาน​ว่า​ สร้างสมัยพระเอกาทศรถ​ ว่ากันว่าสมัยนั้น​ เกิดโรคระบาด​ เพื่อ​แก้ดวงเมือง​ จึงมีการสร้างพระพุทธรูป​ปางนอนหงาย​ ด้วย​ความเชื่อ​ว่า​ กลับคว่ำเป็นหงาย​ กลับร้ายเป็นดี​ เมื่อเดินเข้าไป​ เขาจะให้แยกชายหญิง​ไหว้คนละฝั่ง​ โดนมีป้ายบทสวดให้​ ผู้มาสักการะ​ เมื่อสวดเรียบร้อย​ ให้​ นำมือไปสัมผัสใต้พระบาท​ ของพระพุทธรูป​ อธิษฐาน​จิต​ จากนั้น​ นำมือมาสัมผัส​ศรีษะครับ​ เรื้องทุกข์​ร้อน​ใจ​ เรื่อง​ร้าย​กลับกลายเป็น​ดีครับ​

    จากนั้น​ เดินเข้าไปที่อุโบสถ​ด้านข้าง​ เพื่อกราบสักการะ​ หลวงพ่อโต​ พระประธานในอุโบสถ​ มียทสวดพาหุง​ ถ้ามีเวลาใจเย็น​ ๆ​ สงบ​ ๆ​ นั่งสวดไปจะดีมากเลยครับ​

    นอกจากนี้​ ยังสามารถเดินไปกราบรอยพระบาท​จำลอง​ ที่เขามอ​ ภูเขาจำลองด้านข้างครับ​ วิวสวย​ ผู้สูงวัย​ อาจต้องอาศัยแรงข้อเข่า​เล็กน้อยนะครับ

    นอกจากนี้​ ยังไปกราบ​ พระบรมรูป​ สมเด็จ​พระเจ้าตากสิน​ และ​ ทหารเอกคือ​พระยาพิชัยดาบ​หัก​ได้ด้วยครับ​ สำหรับใครมีแผนมาชิมอาหารอร่อย​ ๆ​ ที่ตลาดพลู​ ก็อยากให้แวะมาสักการะ​สิ่งศักดิ์สิทธิ์​ หาชมได้ยาก​ ณ​ วัดราชคฤห์​ ตลาดพลู​ กันครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #ท่องเที่ยว #thaitemple #CultureTrip
    #วัดที่สี่ร้อยเก้าสิบเอ็ด #วัดราชคฤห์ #กรุงเทพ​ วัดราชคฤห์​ -​ เธอจ๋า​ ๆ​ ตลาดพลู​ ไม่​ได้มีดีแค่ของอร่อยนะจ๊ะ​ เพราะย่านนี้​ ในอดีตเป็นชุมชนมอญเก่า​ เลยมีศิลปะ​วัฒนธรรม​ของชนชาวมอญปะปนอยู่​ โดยเฉพาะวัดวาอาราม​ต่าง​ ๆ​ ก็สวยงาม​ และ​น่าสนใจไม่แพ้ ย่านเก่า​ๆ​ ในพระนครเลยนะครับ​ วันนี้​ ขอ​อาสาพามาชมของดี​ ของหายากหนึ่งเดียว​ในประเทศไทย​ พระพุทธ​รูปนอนหงาย​ แห่งวัดราชคฤห์​ ตลาด​พลู​ครับ วัดแห่งนี้​ เล่าขานกันว่า​ สร้างสมัยอยุธยา​ตอนต้น​ ชาวบ้านร้านตลาด​ นิยมเรียกขานว่า​ วัดวังน้ำวน​ ด้วยเหตุที่​ ตั้งอยู่​จุดที่คลองสามสาย​ มาบรรจบ​กัน​ ได้แก่​ คลองท่าพระ​ คลอง​บางกอกใหญ่​ และคลองบางน้ำชน​ แถวนั้นเกิดเป็นน้ำวน​ เกิดขึ้น​ แต่คนพื้นเพเดิม​ ก็นิยมเรืยก​ วัดมอญ​ ด้วยชาวบ้านแถบนี้เป็นชุมชนชาวมอญ​ สิ่งที่พลาดไม่ได้​ คือ​ หลวงพ่อนอนหงาย​ หรือ​พระพุทธรูป​ปางถวายเพลิง​ สันนิษฐาน​ว่า​ สร้างสมัยพระเอกาทศรถ​ ว่ากันว่าสมัยนั้น​ เกิดโรคระบาด​ เพื่อ​แก้ดวงเมือง​ จึงมีการสร้างพระพุทธรูป​ปางนอนหงาย​ ด้วย​ความเชื่อ​ว่า​ กลับคว่ำเป็นหงาย​ กลับร้ายเป็นดี​ เมื่อเดินเข้าไป​ เขาจะให้แยกชายหญิง​ไหว้คนละฝั่ง​ โดนมีป้ายบทสวดให้​ ผู้มาสักการะ​ เมื่อสวดเรียบร้อย​ ให้​ นำมือไปสัมผัสใต้พระบาท​ ของพระพุทธรูป​ อธิษฐาน​จิต​ จากนั้น​ นำมือมาสัมผัส​ศรีษะครับ​ เรื้องทุกข์​ร้อน​ใจ​ เรื่อง​ร้าย​กลับกลายเป็น​ดีครับ​ จากนั้น​ เดินเข้าไปที่อุโบสถ​ด้านข้าง​ เพื่อกราบสักการะ​ หลวงพ่อโต​ พระประธานในอุโบสถ​ มียทสวดพาหุง​ ถ้ามีเวลาใจเย็น​ ๆ​ สงบ​ ๆ​ นั่งสวดไปจะดีมากเลยครับ​ นอกจากนี้​ ยังสามารถเดินไปกราบรอยพระบาท​จำลอง​ ที่เขามอ​ ภูเขาจำลองด้านข้างครับ​ วิวสวย​ ผู้สูงวัย​ อาจต้องอาศัยแรงข้อเข่า​เล็กน้อยนะครับ นอกจากนี้​ ยังไปกราบ​ พระบรมรูป​ สมเด็จ​พระเจ้าตากสิน​ และ​ ทหารเอกคือ​พระยาพิชัยดาบ​หัก​ได้ด้วยครับ​ สำหรับใครมีแผนมาชิมอาหารอร่อย​ ๆ​ ที่ตลาดพลู​ ก็อยากให้แวะมาสักการะ​สิ่งศักดิ์สิทธิ์​ หาชมได้ยาก​ ณ​ วัดราชคฤห์​ ตลาดพลู​ กันครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #ท่องเที่ยว #thaitemple #CultureTrip
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1124 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts