• #วัดธาตุทอง
    #กรุงเทพมหานครฯ

    วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ

    ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง

    พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481

    ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน

    สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม

    ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​

    เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดธาตุทอง #กรุงเทพมหานครฯ วัดธาตุ​ทอง​ -​ ผมว่าหลาย​ ๆ​ ท่านที่โดยสารรถไฟฟ้า​ BTS.​ เป็น​ประจำ​ เมื่อผ่านสถานีเอกมัย​ มองไปจะเห็นเจดีย์​สีทองอร่าม​ ประดิษฐาน​ อยู่​ไกล​ๆ​ สวยงามมาก ที่สำคัญ​ดู​ contrast. กับตึกรามห้างสรรพสินค้า​ที่ตั้งตรงข้ามราวกับ​ โลกในอดีตกับปัจจุบัน​ประจันหน้ากันแบบ​ ไม่เกรงใจ ส่วนตัว​ จำได้ว่าเคยลงภาพและเรื่องราวของวัดธาตุทองไปแล้ว​ แต่ตอนนั้น​ พระมหาเจดีย์​กำลัง​บูรณะ​ วันนี้ขอแก้ตัว​ นำภาพสวย​ ๆ​ และเรื่องราววัดในเมือง​ ของชาวสุขุมวิท​แห่งนี้กลับมาอีกครั้ง​ มาฟังกันครับ​ วัดธาตุทอง พื้นที่แห่งนี้​ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของวัดหน้าพระธาตุกับวัดทองล่าง ซึ่งวัดหน้าพระธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่มาของชื่อวัดก็มาจากหน้าวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ภายใน ส่วนวัดทองล่างนั้นเดิมทีเป็นสวนผลไม้ที่มีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางสวน เจ้าของสวนเห็นว่าต้นโพธิ์ควรเป็นต้นไม้ในวัดมากกว่าที่จะปลูกไว้ในบ้าน ประกอบกับไม่ต้องการโค่นทิ้ง เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและครอบครัว จึงได้บริจาคที่ดินในบริเวณนั้นเพื่อสร้างเป็นวัดเล็ก ๆ ขึ้นมาและตั้งชื่อว่า วัดโพธิ์สุวรรณาราม หรือ วัดโพธิ์ทอง ต่อมาชาวบ้านในแถบนั้นเรียกชื่ออย่างสั้น ๆ ว่า วัดทอง แต่ทว่าตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งตอนบนและตอนล่างมีวัดทองอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดทองล่าง นั่นเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 รัฐบาลในสมัยนั้นต้องการขอเวนคืนพื้นที่วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่าง เพื่อสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ โดยชดเชยเงินให้ทั้ง 2 วัด เพื่อไปรวมกับวัดอื่นหรือสร้างวัดใหม่ขึ้นมา ทำให้คณะสงฆ์มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้น และมีความเห็นพ้องต้องกันในการซื้อที่ดินปัจจุบัน พร้อมกับย้ายเสนาสนะถาวรวัตถุของทั้ง 2 วัดมาปลูกสร้างรวมกันที่ตำบล คลองบ้านกล้วย โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นองค์อุปถัมภ์ และตั้งชื่อว่า วัดธาตุทอง โดยมีที่มาจากการนำชื่อของทั้ง 2 วัดรวมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2481 ในปี พ.ศ. 2550 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับวัดธาตุทองไว้ในพระอุปถัมภ์ และประทานตราสัญลักษณ์ใหม่ให้แก่วัด จากนั้นในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกให้ วัดธาตุทอง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มาจนถึงปัจจุบัน สิ่งที่ห้ามพลาด​ ไปกราบพระในพระอุโบสถ ภายใน​ ประดิษฐาน พระสัพพัญญู พระประธานประจำพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70 นิ้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 พระพุทธชินินทร ที่เป็นพระประจำอุโบสถ สมัยอู่ทอง และพระพุทธมนต์ปรีชา สุโขทัย ที่เป็นพระประธานหอประชุม ถัดจากนั้น​เดินไปด้านหลัง​ ไปสักการะ​ พระมหาเจดีย์ 84 พรรษา ราชนครินทร์ เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธรูปจากทั่วโลก รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุจากหลวงพ่อไจทีเซา เจ้าอาวาสวัดไจทีเซา ในประเทศพม่าด้วยครับ​ เป็น​ไงครับ​ แค่ลงรถไฟฟ้า​ สถานีเอกมัย​ มาไม่กี่ก้าว​ ก็จะพบกับ ความยิ่งใหญ่​ ความงาม​ และ​ความสงบ​ วัดธาตุ​ทอง​ ใกล้แค่นี้เอง #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 10 มุมมอง 0 รีวิว

  • #วัดชมภูเวก
    #นนทบุรี
    #เที่ยววัด

    วัดชมภูเวก - พาไปชมวัดมอญ กับ ภาพสีฝุ่นโบราณบนผนังโบสถ์ที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย

    วัดชมภูเวก ตั้งอยู่แถวสนามบินน้ำ สันนิษฐานว่าก่อสร้างโดยชาวมอญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ราว ๆ พศ 2300 เดิมชื่อว่า วัดชมภูวิเวก แปลว่า วัดที่ตั้งอยู่บนเนินอันเงียบสงบ ภายหลัง น่าจะเพี้ยนเป็น วัดชมภูเวก

    ทันทีที่เดินเข้ามา ก็จะเห็น พระมุดตา (ชื่อเรียกเจดีย์ที่มีศิลปะผสมผสานของมอญอยู่) สีขาว โดดเด่นสวยงามมาก ด้านหลังเจดีย์จะมีโบสถ์มหาอุด ผนังภายในมีภาพวาดสีฝุ่นที่งดงาม โดยเฉพาะภาพ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ที่อยู่เหนือประตูโบสถ์ ทางพุทธศิลป์แล้วได้รับการยกย่อง จัดว่าเป็นภาพที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบันโบสถ์มหาอุดดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานของชาติ

    นอกจากนี้ สายมู ห้ามพลาด ถัดไปด้านข้างโบสถ์มหาอุด เราสามารถลอดอุโบสถเพื่อสะเดาะเคราะห์ เสริมสร้างสิริมงคลให้กับชีวิตได้ โดยทางทางยังจัดให้มีการปิดทองลูกนิมิต และพระ ที่ใต้อุโบสถครับ

    เป็นไงครับ จะชมพุทธศิลป์ ก็มีของดี ระดับประเทศ จะเอาสะเดาะเคราะห์ ก็มาได้ หรือ สายถ่ายภาพก็มีมุมสวยๆ ให้ได้กดชัตเตอร์กัน ใกล้ๆ แค่ นนทบุรี นี่เอง ไม่มา ถือว่าพลาดนะครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #teavel #temple #nonthaburi #thailand #amazingthailand #thaitour
    #วัดชมภูเวก #นนทบุรี #เที่ยววัด วัดชมภูเวก - พาไปชมวัดมอญ กับ ภาพสีฝุ่นโบราณบนผนังโบสถ์ที่ได้รับการยกย่องว่าสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย วัดชมภูเวก ตั้งอยู่แถวสนามบินน้ำ สันนิษฐานว่าก่อสร้างโดยชาวมอญที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ราว ๆ พศ 2300 เดิมชื่อว่า วัดชมภูวิเวก แปลว่า วัดที่ตั้งอยู่บนเนินอันเงียบสงบ ภายหลัง น่าจะเพี้ยนเป็น วัดชมภูเวก ทันทีที่เดินเข้ามา ก็จะเห็น พระมุดตา (ชื่อเรียกเจดีย์ที่มีศิลปะผสมผสานของมอญอยู่) สีขาว โดดเด่นสวยงามมาก ด้านหลังเจดีย์จะมีโบสถ์มหาอุด ผนังภายในมีภาพวาดสีฝุ่นที่งดงาม โดยเฉพาะภาพ พระแม่ธรณีบีบมวยผม ที่อยู่เหนือประตูโบสถ์ ทางพุทธศิลป์แล้วได้รับการยกย่อง จัดว่าเป็นภาพที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด ปัจจุบันโบสถ์มหาอุดดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานของชาติ นอกจากนี้ สายมู ห้ามพลาด ถัดไปด้านข้างโบสถ์มหาอุด เราสามารถลอดอุโบสถเพื่อสะเดาะเคราะห์ เสริมสร้างสิริมงคลให้กับชีวิตได้ โดยทางทางยังจัดให้มีการปิดทองลูกนิมิต และพระ ที่ใต้อุโบสถครับ เป็นไงครับ จะชมพุทธศิลป์ ก็มีของดี ระดับประเทศ จะเอาสะเดาะเคราะห์ ก็มาได้ หรือ สายถ่ายภาพก็มีมุมสวยๆ ให้ได้กดชัตเตอร์กัน ใกล้ๆ แค่ นนทบุรี นี่เอง ไม่มา ถือว่าพลาดนะครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #teavel #temple #nonthaburi #thailand #amazingthailand #thaitour
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 190 มุมมอง 0 รีวิว

  • #วัดหนองป่าพง
    #อุบลราชธานี

    วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ)

    คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา

    หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"

    หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483)

    หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา

    กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง”

    จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น

    ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม

    รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ

    #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    #วัดหนองป่าพง #อุบลราชธานี วัดหนองป่าพง – ย้อนรำลึกความหลัง เมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมได้มีโอกาสสัมผัส วัดหนองป่าพง ด้วยความไม่รู้ และไม่ลึกซึ้งถึงแวดวงพระพุทธศาสนา เลยทำให้การไปวัดหนองป่าพง ครั้งแรก ผมไม่ได้อะไรติดมือติดใจกลับมาเป็นวิทยาทานเลย จนเมื่อครั้งล่าสุดที่ไป ชีวิตมีประสบการณ์ และพอมีพื้นฐานพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นบ้าง ครั้งนี้ เป็นการใช้เวลาอยู่ที่วัดนานขึ้น พร้อมพกพาความรู้สึก ความประทับใจที่ต่างออกไป กลับออกมาด้วยอย่างปลื้มอกปลื้มใจ ล้อมวงมาฟังกันครับ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี (ยาวสักหน่อยนะครับ) คงจะไม่ถูกต้อง ถ้าจะกล่าวถึงวัดหนองป่าพง โดยไม่กล่าวถึง หลวงปู่ชา หลวงปู่ชา พระสำคัญผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ให้สามารถไปเผยแพร่พุทธศาสนาได้กว้างไกล ไม่เพียงแค่ในประเทศไทย หากแต่ไปไกลถึงสิบกว่าประเทศทั่วโลก หลวงปู่ชา พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ต้นแบบของพระป่าทั่วโลก ด้วยวัตรปฎิบัติที่เคร่งครัดสายวิปัสสนากรรมฐานที่มีต้นแบบจาก"พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต" หลวงปู่ชา หรือ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) เกิดเมื่อ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2461 ตรงกับ วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย ณ บ้านจิกก่อ หมู่ที่ 9 ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อนายมา ช่วงโชติ มารดาชื่อ นางพิมพ์ ช่วงโชติ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน 10 คน ในวัยเด็ก หลวงปู่ชาเรียนชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนบ้านก่อ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนจบชั้นประถม 1 จึงขอลาออกเพื่อมาบวชเรียนตามความสนใจของตนเอง โดยช่วงอายุ 13 ปี หลังจากลาออกจากโรงเรียนประถมศึกษา โยมบิดาได้นำไปฝากกับเจ้าอาวาสเพื่อเรียนรู้บุพกิจเบื้องต้นเกี่ยวกับบรรพชาวิธี จึงได้รับอนุญาตให้บรรพชาเป็น “สามเณรชา โชติช่วง” จนอยู่ปฏิบัติครูอาจารย์ เป็นเวลา 3 ปี ได้แล้วจึงได้ลาสิกขาบทมาช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา แต่ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในทางธรรม เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ จึงลาพ่อแม่มาบวชเป็นพระ โดยอุปสมบทเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2482 เวลา 13.55 น. ณ พัทธสีมา วัดก่อใน ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี พระชา สุภทฺโท ได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดก่อนอก 2 พรรษา ตั้งใจศึกษาปริยัติธรรม ทั้งจากตำรับตำราและจากครูอาจารย์ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสำนักวัดแห่งนี้ แต่โชคร้าย ช่วงนั้น หลวงพ่อชา ได้ว่างเว้นจากการศึกษา เพื่อไปดูแลโยมบิดาที่ป่วย แม้หลวงพ่อชา ก็เกิดความลังเลใจ พะว้าพะวง ห่วงการศึกษาก็ห่วง ห่วงโยมบิดาก็ห่วง แต่ความห่วงผู้บังเกิดเกล้ามีน้ำหนักมากกว่า เพราะโยมบิดาเป็นผู้มีพระคุณอย่างเหลือล้น หลวงปู่จึงตัดสินใจกลับไปดูแลโยมพ่อทั้งที่วันสอบนักธรรมก็ใกล้เข้ามาทุกที แต่ก็เลือกที่จะเดินในเส้นทางสายกตัญญุตา โดยที่สุด มาอยู่เฝ้าดูแลอาการป่วยของโยมพ่อนับเป็นเวลา 13 วัน โยมพ่อจึงได้ถึงแก่กรรม (ปี 2483) หลังจากนั้น หลวงปู่ชา ก็ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนยังที่ต่างๆ เช่น ที่สำนักของหลวงพ่อเภา วัดเขาวงกฏ จ.ลพบุรี และพระอาจารย์ชาวกัมพูชาที่เป็นพระธุดงค์ซึ่งได้พบกันที่วัดเขาวงกฏ หลวงปู่กินรี อาจารย์คำดี หลวงปู่ทองรัตน์ พระอาจารย์มั่น เป็นต้น พออินทรีย์แก่กล้าแล้วก็ออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมต่อไปเรื่อยๆ โดยยังดำรงสมณเพศเป็นพระมหานิกายอยู่ตลอดเวลา กิจที่หลวงปู่ฯ โปรดปราน คือการได้ธุดงค์ไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อโปรดสานุศิษย์และเผยแพร่พุทธศาสนา จนที่สุดเมื่อคณะศิษย์ และหลวงพ่อได้เดินทางมาถึงชายดงป่าพง ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 พอเช้าวันที่ 9 มีนาคม 2497 จึงได้พากันเข้าสำรวจ สถานที่พักในดงป่านี้ และได้ช่วยกันดำเนินการสร้างวัดป่าขึ้น ซึ่งเรารู้จักในปัจจุบัน คือ “วัดหนองป่าพง” จนภายหลังมีสานุศิษย์มากมายทั้งไทยและเทศ ขยายไปหลายสาขา ดังที่กล่าวไปข้างต้น และท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนี้มาโดยตลอด และถึงแก่มรณภาพเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2535 เวลา 05.20 น. ที่ วัดหนองป่าพง อย่างสงบท่ามกลางธรรมสังเวชของศิษยานุศิษย์จากทุกสารทิศทั่วโลก ด้วยความที่วัดหนองป่าพง มีพระสงฆ์ต่างชาติ เป็นจำนวนมาก เคยมีคนไปถามหลวงปู่ว่า พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วจะสอนชาวต่างชาติได้อย่างไร หลวงปู่ท่านเมตตาตอบว่า น้ำร้อน ที่ฝรั่งว่ากันว่า ฮ๊อตวอเตอร์ เอามือลงไปสัมผัส ทุกชาติก็รู้ว่าร้อน ไม่เห็นต้องรู้ภาษาก่อนเลย นัยว่า ธรรมะ เรียนรู้ได้จากการสัมผัส การปฏิบัติ มิใช่การอ่านเขียนเท่านั้น ปัจจุบัน แม้หลวงปู่ชาฯ จะละสังขารไปแล้วกว่าสามสิบปีกว่าปี คำสอนและวัตรปฏิบัติอันดีงาม ก็ยังอยู่ในความทรงจำสานุศิษย์ทั้งหลาย เห็นได้จากการที่กลับไปสัมผัส วัดหนองป่าพง อีกครั้ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ความสงบ และ ความเคร่งครัด แบบพระป่า ยังคงมีให้เห็นและสัมผัสได้ มีโอกาสได้แวะเข้าไปชม พิพิธภัณฑ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) โดยจะจัดแสดงเครื่องอัฐบริขารและหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ชา สุภัทโท มีเครื่องทองเหลือง พระพุทธรูป และ เจดีย์ศรีโพธิญาณ เป็นสถานที่พระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ชาอีกด้วย จุดเด่นที่ประทับใจ คือ ป้าย คำสอนต่าง ๆ ที่ติดไว้ตามต้นไม้ อ่านแล้วทำให้เราได้นึกทบทวนชีวิตเราไปด้วยขณะเดินชมไปเงียบ ๆ นอกจากนี้ ได้มีโอกาสเข้าไปที่ อุโบสถด้านใน ทางเข้าเขตสังฆาวาส ที่พระสงฆ์ใช้ทำวัด ทำให้พอนึกเห็นภาพบรรยากาศเมื่อสมัยก่อน ที่หลวงปู่ ลงมาเทศนาธรรม รวม ๆ แล้วประทับใจมาก ครับ ผมกราบเรียนเชิญ ท่านที่มีโอกาสไป อุบลราชธานี อยากให้ไปสัมผัส วัดหนองป่าพง สักครั้งครับ #ชีวิตนี้ต้องมี1000วัด #เที่ยวไทยไปกับส้มโจ #เที่ยววัด #วัด #ไหว้พระ #ทำบุญ #travel #thailand #amazingthailand #thaitour #temple #history #architecture #culture #thaitemple #ท่องเที่ยว #CultureTrip
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทริปท่องเที่ยววัดแคเมืองสุพรรณบุรี
    ทริปท่องเที่ยววัดแคเมืองสุพรรณบุรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 258 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้

    แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน

    ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย

    การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ)

    นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย

    ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว

    ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย

    สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน

    สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย

    Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ

    จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY
    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html
    https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html
    https://baike.sogou.com/v8330278.htm
    https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607
    https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918
    https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html
    https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html
    https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378

    #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน

    เจ่าโต้ว สบู่จีนโบราณ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจะฟินจิกหมอนไม่น้อยกับฉากอาบน้ำของพระเอกนางเอก ในซีรีส์ไม่ได้พูดถึง แต่ในนิยายตอนที่องค์หญิงหลี่หรงสั่งให้สาวใช้เตรียมของใช้สำหรับอาบน้ำจังหวะนี้ นอกจากกลีบดอกไม้แล้ว ยังมีสิ่งที่เรียกว่า ‘เจ่าโต้ว’ (澡豆) แปลตรงตัวว่าถั่วอาบน้ำ ซึ่งก็คือสบู่โบราณนั่นเอง วันนี้เรามาคุยกันเรื่องนี้ แต่ก่อนอื่นขอเกริ่นถึงวัฒนธรรมการอาบน้ำ ปัจจุบันการอาบน้ำทั่วไปเรียกว่า ‘สีเจ่า’ (洗澡) แต่ถ้าอาบแบบแช่น้ำในอ่างทั้งตัวเรียกเป็น ‘มู่อวี้’ (沐浴) ซึ่งคำว่า ‘มู่อวี้’ นี้เป็นศัพท์ที่มีมาแต่โบราณและคำว่าห้องอาบน้ำ (浴室/อวี้ซึ) ปรากฏเป็นอักขระบนกระดูกโบราณมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง ดังนั้น วัฒนธรรมการอาบน้ำมีมาอย่างน้อยสามพันกว่าปีในประเทศจีน ในเอกสารสมัยราชวงศ์ฮั่นระบุจำแนกไว้ว่า ‘มู่’ คือการสระผม ‘อวี้’ คือการอาบชำระร่างกาย ‘สี่’ คือการล้างเท้า และ ‘เจ่า’ คือการล้างมือ ต่อมาคำว่า ‘เจ่า’ จึงค่อยๆ ถูกใช้สำหรับการชำระล้างส่วนอื่นๆ ด้วย การอาบน้ำแบบโบราณหรือมู่อวี้ โดยทั่วไปคือการอาบน้ำอุ่นในถังอาบน้ำ อาจแช่ทั้งตัวหรือนั่งราดอาบก็ได้ ดังที่เราเห็นในซีรีส์จีนว่าต้องมีการต้มน้ำไปใส่อ่าง หรืออย่างในวังจะมีสระน้ำร้อนให้ใช้ และชาวจีนโบราณก็ไม่ได้อาบน้ำทุกวัน (จะว่าไปแล้ว ชาติอื่นก็เหมือนกัน) โดยหลักปฏิบัติคือสามวันให้สระผมหนึ่งครั้ง ห้าวันอาบน้ำหนึ่งครั้ง ในสมัยฮั่นถึงกับกำหนดเป็นกฎที่ต้องปฏิบัติของข้าราชการโดยจะหยุดพักงานทุกห้าวัน เป็นนัยว่าหยุดเพื่อให้อยู่บ้านอาบน้ำ และวันหยุดนี้เรียกว่า ‘ซิวมู่’ (休沐 แปลตรงตัวว่าพักอาบน้ำ) นอกจากนี้ ก่อนเข้าร่วมพิธีสำคัญก็ต้องอาบน้ำโดยเฉพาะพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ต่างๆ เพื่อเป็นการชำระล้างสิ่งสกปรกออกจากกาย โดยในเอกสารโบราณมีระบุรายละเอียดเพิ่มเติมถึงขั้นตอนการอาบน้ำ เป็นต้นว่า การอาบน้ำนั้น ท่อนบนของร่างกายใช้ผ้าใยเนื้อละเอียดเช็ดถู ท่อนล่างใช้ผ้าใยเนื้อหยาบ สุดท้ายคือยืนล้าง (ขัด) เท้าบนเสื่อหญ้าหยาบ เมื่อเช็ดแห้งเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วให้ดื่มชาหรือน้ำเพื่อปรับอุณภูมิในร่างกายและชดเชยการเสียเหงื่อด้วย ในช่วงสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ปรากฏว่าตามวัดพุทธมีการขุดบ่อเป็นสระอาบน้ำรวมให้พระภิกษุใช้อาบทุกวันก่อนไหว้พระ และเนื่องจากในสมัยโบราณชาวบ้านนิยมเที่ยววัด จึงค่อยๆ กลายเป็นว่าชาวบ้านหรือข้าราชการก็ไปใช้บริการอาบน้ำที่วัด เสร็จแล้วก็นั่งดื่มชาสนทนากัน ต่อมาวัฒนธรรมการอาบน้ำรวมนี้เป็นที่นิยมมาก ในสมัยซ่งมีสระอาบน้ำสาธารณะในเมืองที่ชาวบ้านสามารถมาจ่ายเงินใช้บริการได้โดยแบ่งเป็นสระน้ำอุ่นและสระน้ำเย็นให้เลือกใช้ได้ตามใจชอบ และในสมัยหมิงถึงกับมีคนรับจ้างช่วยถูหลังสระผมตัดเล็บเลยทีเดียว ว่ากันว่า แรกเริ่มเลยในสมัยซางและฮั่น คนโบราณใช้น้ำซาวข้าวอาบน้ำสระผม ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการพัฒนาใช้เครื่องหอมต่างๆ จึงสันนิษฐานว่าสบู่โบราณเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นในสมัยนั้นเช่นกัน แต่ว่าแรกเริ่มมันเป็นของหรูที่มีใช้ในวังเท่านั้นและใช้สำหรับล้างมือ ต่อมาจึงแพร่สู่ชาวบ้านธรรมดา ใช้ได้ทั้งอาบน้ำสระผมล้างหน้าล้างมือล้างเท้า และใช้ซักเสื้อผ้าอีกด้วย สบู่เจ่าโต้วนี้ถูกเรียกว่า ‘ถั่วอาบน้ำ’ เพราะว่าส่วนผสมหลักของมันก็คือถั่วหรือธัญพืชบดละเอียด ผสมด้วย เครื่องหอม เครื่องเทศและยาสมุนไพรหลากหลาย และสูตรโบราณนี้นอกจากจะเป็นสครับขัดผิวให้ขาวเนียนและบำรุงผิวพรรณได้ดีแล้ว ยังล้างคราบได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคราบดินโคลน คราบมัน คราบเลือด และคราบเครื่องสำอาง ต่อมาภายหลังจึงใช้หันไปใช้ขี้เถ้าไม้และไขมันสัตว์เป็นส่วนผสมหลักเรียกว่า ‘อี๋จื่อ’ (胰子) ซึ่งเป็นพัฒนากลายมาเป็นสบู่ปัจจุบัน สูตรการทำเจ่าโต้วถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย แต่สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ (1) ธัญพืชและถั่วสารพัดชนิด บ้างต้มสุกบ้างใช้ถั่วดิบ บดละเอียด (2) สมุนไพรหรือเครื่องเทศบดละเอียด เช่น กานพลู การบูร อบเชย (3) เครื่องหอมที่ต้องการ เช่นไม้หอมอบแห้ง กลีบดอกไม้แห้ง บดละเอียดหรือหากเป็นดอกไม้อาจบดหยาบ (4) น้ำหรือน้ำแร่ ต้มเคี่ยวกับน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง (5) เอาส่วนผสมทั้งหมดผสมแล้วคลุกให้สม่ำเสมอ ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วเอาไปตากแห้งหลายๆ วัน เป็นอันจบขั้นตอน เวลาจะใช้ก็ชุบน้ำให้เปียกแล้วบี้แตกถูตามร่างกาย Storyฯ ผ่านตาคลิปของพ่อหนุ่มที่ทำสบู่โบราณนี้ เป็นคนเดียวกับที่เคยทำกระบอกจุดไฟและกระโปรงหม่าเมี่ยนที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (ค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญ) เข้าไปดูได้ตามลิ้งค์ข้างล่างค่ะ จะเห็นได้ว่าจริงๆ แล้วเจ่าโต้วทำไม่ยาก แต่สาเหตุที่เดิมเป็นของฟุ่มเฟือยเพราะส่วนผสมหลายอย่างมีราคาสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านธรรมดาจะนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน สู้ใช้พวกดินโคลนหินทรายจะง่ายกว่าและประหยัดทรัพย์ โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ คิดว่าส่วนผสมของเจ่าโต้วนี้ดูน่าใช้กว่าสบู่รุ่นหลังที่ทำจากไขมันสัตว์และขี้เถ้าไม้เสียอีก แต่ยังไม่ได้ทดลองทำดูนะ ใครลองทำแล้วได้ผลอย่างไรอย่าลืมมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะคะ หรือถ้าใครรู้ว่าภูมิปัญญาไทยโบราณใช้อะไรทำสบู่ แตกต่างมากน้อยอย่างไรกับเจ่าโต้วนี้ ก็มาเล่าให้ฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) คลิปสาธิตการทำเจ่าโต้ว: https://www.youtube.com/watch?v=kuCYk0hoAdY Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://k.sina.cn/article_2277596227_87c15c4304001633w.html https://kknews.cc/zh-my/history/p6b6orj.html https://baike.sogou.com/v8330278.htm https://zabar.pixnet.net/blog/post/64707721 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_23937607 https://baike.baidu.com/item/澡豆/687918 https://kknews.cc/zh-cn/history/qxyaj9b.html https://k.sina.cn/article_6395568294_17d34a0a600100cs21.html https://baike.baidu.com/item/胰子/5249378 #องค์หญิงใหญ่ #เจ่าโต้ว #สบู่จีนโบราณ #อาบน้ำจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1037 มุมมอง 0 รีวิว
  • เที่ยววัดบางชัน ขอพรท้าวเวสสุวรรณ

    วัดบางชัน: ศูนย์รวมศรัทธาและประวัติศาสตร์
    วัดบางชัน เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนา ตั้งอยู่ริมคลองบางชันในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2511
    สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดบางชัน:
    * ท้าวเวสสุวรรณ: วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะศูนย์รวมของรูปปั้นท้าวเวสสุวรรณหลากหลายปาง ผู้คนจำนวนมากมาสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลและโชคลาภ
    เที่ยววัดบางชัน ขอพรท้าวเวสสุวรรณ วัดบางชัน: ศูนย์รวมศรัทธาและประวัติศาสตร์ วัดบางชัน เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนา ตั้งอยู่ริมคลองบางชันในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2435 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2511 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดบางชัน: * ท้าวเวสสุวรรณ: วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะศูนย์รวมของรูปปั้นท้าวเวสสุวรรณหลากหลายปาง ผู้คนจำนวนมากมาสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลและโชคลาภ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 308 มุมมอง 39 0 รีวิว
  • วัดบางกะพ้อม เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงมากๆ ในสมัยโบราณ เนื่องจาก ความโด่งดังของ พลวงพ่อคง พระเกจิชื่อดัง ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อมในสมัยนั้น #วัดบางกะพ้อม #สมุทรสงคราม #เที่ยวอัมพวา #หลวงพ่อคง #วัดสมุทรสงคราม #เที่ยววัด #TikTokกินเที่ยว @ที่ไหนปัง พี่จะพาไปมู @ที่ไหนปัง พี่จะพาไปมู @ที่ไหนปัง พี่จะพาไปมู
    วัดบางกะพ้อม เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย วัดแห่งนี้มีชื่อเสียงมากๆ ในสมัยโบราณ เนื่องจาก ความโด่งดังของ พลวงพ่อคง พระเกจิชื่อดัง ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อมในสมัยนั้น #วัดบางกะพ้อม #สมุทรสงคราม #เที่ยวอัมพวา #หลวงพ่อคง #วัดสมุทรสงคราม #เที่ยววัด #TikTokกินเที่ยว @ที่ไหนปัง พี่จะพาไปมู @ที่ไหนปัง พี่จะพาไปมู @ที่ไหนปัง พี่จะพาไปมู
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 493 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • พาเที่ยววัดเก่าเมืองแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จ.ชัยนาท อายุ ราว 1,000 ปี
    พาเที่ยววัดเก่าเมืองแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จ.ชัยนาท อายุ ราว 1,000 ปี
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 201 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • เพิ่งเปิดให้เข้าชมได้ไม่นานมานี้เองค่ะ 📍 พระวิหาร วัดราชนัดดาราม วรวิหาร เขตพระนคร กทม ✅เปิดทุกวัน ⏰ 08:00น. - 17:00 น. #วัดสวย #สายมู #เที่ยววัด #เก่าแก่ #ไหว้พระ #วัดราชนัดดารามวรวิหาร #กินเที่ยววัด #tiktokพาเที่ยว
    เพิ่งเปิดให้เข้าชมได้ไม่นานมานี้เองค่ะ 📍 พระวิหาร วัดราชนัดดาราม วรวิหาร เขตพระนคร กทม ✅เปิดทุกวัน ⏰ 08:00น. - 17:00 น. #วัดสวย #สายมู #เที่ยววัด #เก่าแก่ #ไหว้พระ #วัดราชนัดดารามวรวิหาร #กินเที่ยววัด #tiktokพาเที่ยว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 433 มุมมอง 24 0 รีวิว
  • วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี (Wat Suvarnabhumi Buddhajayanti) ตั้งอยู่ไม่ไกลกับสนามบินสุวรรณภูมิ วัดนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและทันสมัย รวมถึงมีการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบไทยและอินเดีย ไฮไลท์ของวัดมีพระมหาธาตุเจดีย์ที่จำลองแบบจากวัดพุทธคยาในอินเดีย นอกจากนี้ยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่มาจากอินเดีย บรรยากาศรอบวัดเงียบสงบ ทำให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการมาปฏิบัติธรรม ทำบุญ และสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล เปิดให้เข้าชม : ทุกวันไม่เว้นวันหยุด 📍ตั้งอยู่ที่ : ซ.จระเข้8 ต.ศรีษะจรเข้น้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ #ขึ้นฟีดเถอะ #วัดใกล้กรุงเทพ #เที่ยววัด #เข้าวัดทําบุญ #สายมูห้ามพลาด #วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี #สมุทรปราการ #บุ๊คชอบเที่ยว📖🌤️🍃
    วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี (Wat Suvarnabhumi Buddhajayanti) ตั้งอยู่ไม่ไกลกับสนามบินสุวรรณภูมิ วัดนี้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ภายในวัดมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นและทันสมัย รวมถึงมีการผสมผสานระหว่างศิลปะแบบไทยและอินเดีย ไฮไลท์ของวัดมีพระมหาธาตุเจดีย์ที่จำลองแบบจากวัดพุทธคยาในอินเดีย นอกจากนี้ยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่มาจากอินเดีย บรรยากาศรอบวัดเงียบสงบ ทำให้เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการมาปฏิบัติธรรม ทำบุญ และสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล เปิดให้เข้าชม : ทุกวันไม่เว้นวันหยุด 📍ตั้งอยู่ที่ : ซ.จระเข้8 ต.ศรีษะจรเข้น้อย อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ #ขึ้นฟีดเถอะ #วัดใกล้กรุงเทพ #เที่ยววัด #เข้าวัดทําบุญ #สายมูห้ามพลาด #วัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี #สมุทรปราการ #บุ๊คชอบเที่ยว📖🌤️🍃
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 634 มุมมอง 23 0 รีวิว
  • โพสนี้ขอดราม่านิด ๆ เพราะความไม่เข้าใจว่าสิ่งนี้ควรหรือไม่ ?
    ....
    บ่ายนี้ lit nit พาอาไปเที่ยววัดแห่งหนึ่ง วัดแห่งนี้กำลังสร้างโบสถ์ ซึ่งก็เสร็จมาได้มากโขอยู่ และผู้คนก็เริ่มหลั่งไหลมาเที่ยว ชุมชนแถวนั้นได้ขายของมีรายได้ แต่ lit nit กลับหมองเศร้าในใจ
    ....
    อุโบสถแห่งนี้( หรือที่เราเรียกว่าโบสถ์) สร้างได้สวยงามมาก ๆ ตั้งแต่พื้นจรดหลังคา นั่นคือเหตุทำให้ผู้คนแห่มาเที่ยวกันมากมาย มากมายเสียจน lit nit เห็นว่านี่มันไม่ใช่เขตสังฆกรรมของสงฆ์แล้วล่ะ มันกลายเป็นแลนด์มาร์กไปเสียแล้ว
    ....
    คำถามมากมายเกิดขึ้นในหัว
    - เราไม่มีวิธีอื่นที่จะดึงผู้คนเข้ามาวัดหรือเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาแล้วหรือ ?
    - ถ้าวัดจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม เราจะเว้นโบสถ์ไว้สักที่หนึ่งไม่ได้หรือ ให้โบสถ์ยังคงเป็นที่ ๆ รักษาความเป็นพุทธ เป็นพื้นที่ที่พระสงฆ์ใช้ในการทำหน้าที่ที่พึงกระทำ ให้เป็นที่ที่ชาวพุทธได้ศึกษาประวัติ คำสอน และศึกษาความเป็นศาสนาพุทธ
    - เดี๋ยวนี้วัดส่วนใหญ่เริ่มชูการท่องเที่ยวมากกว่าการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาทางใจให้กับมนุษย์โลกแล้วใช่ไหม
    ....
    มีคำถามอีกมากมายที่ทำให้เอะใจว่าสรุปสิ่งนี้
    ควรหรือไม่ควร คิดมากใจก็เศร้าหมอง หน้าตาก็เลยหม่น ๆ ไม่สดชื่น กลับมาถึงบ้าน lit nit ก็เลยสอยมะพร้าวมาล้างหน้า เพราะโบราณว่า
    #น้ำมะพร้าวล้างหน้าแล้วจะจำอะไรไม่ได้555
    โพสนี้ขอดราม่านิด ๆ เพราะความไม่เข้าใจว่าสิ่งนี้ควรหรือไม่ ? .... บ่ายนี้ lit nit พาอาไปเที่ยววัดแห่งหนึ่ง วัดแห่งนี้กำลังสร้างโบสถ์ ซึ่งก็เสร็จมาได้มากโขอยู่ และผู้คนก็เริ่มหลั่งไหลมาเที่ยว ชุมชนแถวนั้นได้ขายของมีรายได้ แต่ lit nit กลับหมองเศร้าในใจ .... อุโบสถแห่งนี้( หรือที่เราเรียกว่าโบสถ์) สร้างได้สวยงามมาก ๆ ตั้งแต่พื้นจรดหลังคา นั่นคือเหตุทำให้ผู้คนแห่มาเที่ยวกันมากมาย มากมายเสียจน lit nit เห็นว่านี่มันไม่ใช่เขตสังฆกรรมของสงฆ์แล้วล่ะ มันกลายเป็นแลนด์มาร์กไปเสียแล้ว .... คำถามมากมายเกิดขึ้นในหัว - เราไม่มีวิธีอื่นที่จะดึงผู้คนเข้ามาวัดหรือเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาแล้วหรือ ? - ถ้าวัดจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคม เราจะเว้นโบสถ์ไว้สักที่หนึ่งไม่ได้หรือ ให้โบสถ์ยังคงเป็นที่ ๆ รักษาความเป็นพุทธ เป็นพื้นที่ที่พระสงฆ์ใช้ในการทำหน้าที่ที่พึงกระทำ ให้เป็นที่ที่ชาวพุทธได้ศึกษาประวัติ คำสอน และศึกษาความเป็นศาสนาพุทธ - เดี๋ยวนี้วัดส่วนใหญ่เริ่มชูการท่องเที่ยวมากกว่าการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาทางใจให้กับมนุษย์โลกแล้วใช่ไหม .... มีคำถามอีกมากมายที่ทำให้เอะใจว่าสรุปสิ่งนี้ ควรหรือไม่ควร คิดมากใจก็เศร้าหมอง หน้าตาก็เลยหม่น ๆ ไม่สดชื่น กลับมาถึงบ้าน lit nit ก็เลยสอยมะพร้าวมาล้างหน้า เพราะโบราณว่า #น้ำมะพร้าวล้างหน้าแล้วจะจำอะไรไม่ได้555
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 564 มุมมอง 0 รีวิว