วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
-----------------------------------------
๑ ปี มี ๑ ครั้ง #บุญประเพณีเทศกาลเดือนสิบ
#สารทเดือบสิบ ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป
การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่า วันชิงเปรต เป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรต พวกเปรตซึ่งกำลังผอมโซหิวโหยมากดังคำพังเพยว่า "#อดอยากเหมือนเปรตเดือนสิบ” จะกลับมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานของตนในเมืองมนุษย์ เพื่อมาขอเสื้อผ้าอาหาร ขอส่วนบุญกุศลต่างๆ ที่ญาติจะอุทิศทำบุญให้ และจะต้องรีบกลับไปเมืองนรกเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 หรือ วันส่งเปรต จะมีประเพณีมีความสำคัญที่เราจะทำบุญ “#ปุพพเปตพลี” หรือ ที่ทั่วไปมักเรียกกันว่าพิธีทอดผ้าบังสุกุล เพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับท่านที่ล่วงลับไปแล้ว
ดังนั้นถ้าลูกหลานไม่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ปู่ย่าตายายก็จะอดอยากหิวโหยอัตคัดขัดสนสิ่งของเครื่องใช้ ได้รับความทุกข์ยาก และก่นด่าสาปแช่งลูกหลานที่ไม่รู้จักกตัญญูรู้คุณของบรรพบุรุษ ให้ได้รับความเดือดร้อนชีวิตไม่เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย ในอดีตลูกหลานจึงต้องยึดมั่นถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญยิ่ง เป็นกิจกรรมที่คนไทยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลมากน้อยจะขาดเสียมิได้ ทางภาคใต้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวพื้นเมืองเรียก "#วันฉลองหมรับ” หรือเป็น "#วันสารท” อันเป็นวันสุดท้ายของการทำบุญครบสมบูรณ์ตามประเพณี วันนี้จึงมีพิธีทำบุญเลี้ยงพระ และทำพิธีบังสุกุลกระดูกเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปถือเป็นวันสุดท้ายของงานบุญใหญ่ ใครมีอาหารมีสิ่งใดที่จะทำบุญก็มาทำให้หมดในวันนี้จึงถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งเป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปเมืองนรก ที่ต้องกลับลงนรก คือเพราะเศษกรรมนั้น ยังไม่หมดสิ้น ยังต้องได้รับผลกรรมสืบไปอยู่ จึงจะเปลี่ยนภพภูมิลงได้ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น ขนมเดือนสิบจัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบที่จำเป็นมี 5 อย่าง คือ
#ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
#ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
#ขนมกง ( ขนมไข่ปลา ) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
#ขนมเจาะรู หรือขนมเจาะหู หรือขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
#ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก เมื่อพิจารณาจากมุมมองของพระพุทธศาสนาแล้ว ถือเป็นประเพณีที่มุ่งเน้นเรื่องกรรมและการทำบุญทำกุศล ปฎิบัติภาวนา เพื่ออุทิศส่วนกุศล เป็นหลักซึ่งแจงได้ ดังนี้คือ
1) คติความเชื่อเรื่องบุญ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา เพื่อความสุขของตัเอง และเพื่อทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย
2) คติความเชื่อเรื่องการบูชา เช่น การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ และการปฏิบัติ แต่การบูชาตามคติความเชื่อแบบโบราณก็ยังปรากฏอยู่เพราะมีการฆ่าสัตว์ คือ ไก่ ปลา และหมู เป็นเครื่องเซ่นไหว้ด้วย
3) คติความเชื่อเรื่องความกตัญญู คือ การปรนนิบัติบิดามารดา ครูอาจารย์ ยอมรับคำสั่งสอน และตอบแทนผู้มีพระคุณ ด้วยปัจจัยสี่
4) คติความเชื่อเรื่องสังคหวัตถุ คือ ในประเพณีสารทนี้จะมีการแบ่งปันกันของคนในครอบครัวและชุมชน
-----------------------------------------
#กำหนดการ
#บุญแรก (รับตายาย)
วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
ตรงกับแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐
- #กิจกรรมรับตายาย
- #พระธรรมเทศนา
- #มาติกาบรรพบุรุษ
- #ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
- #กรวดน้ำ / #รับพร / #เสร็จพิธี
#หมายเหตุ วันรับตายายกรุณานำรูปถ่ายบรรพบุรุษมาด้วย
-----------------------------------------
#บุญหลัง (ส่งตายาย)
วันพุธที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ตรงกับแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
- #กิจกรรมทำบุญเดือนสิบ
- #กิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเช้า
- #แสดงพระธรรมเทศนา
- #ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
- #กรวดน้ำ / #รับพร / #เสร็จพิธี
- #กิจกรรมส่งตายาย
-----------------------------------------
#หมายเหตุ - #กิจกรรม ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
-----------------------------------------
#สนใจร่วมบุญออนไลน์ได้ที่
#ธนาคารกรุงไทย สาขาทุ่งลุง
#ชื่อบัญชี : วัดควนเนียง
#เลขบัญชี : 938-1-10075-6
-----------------------------------------
ขออนุโมทนาบุญ กับ ญาติโยม ทุกคน ทุกท่าน...
-----------------------------------------
๑ ปี มี ๑ ครั้ง #บุญประเพณีเทศกาลเดือนสิบ
#สารทเดือบสิบ ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป
การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่า วันชิงเปรต เป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรต พวกเปรตซึ่งกำลังผอมโซหิวโหยมากดังคำพังเพยว่า "#อดอยากเหมือนเปรตเดือนสิบ” จะกลับมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานของตนในเมืองมนุษย์ เพื่อมาขอเสื้อผ้าอาหาร ขอส่วนบุญกุศลต่างๆ ที่ญาติจะอุทิศทำบุญให้ และจะต้องรีบกลับไปเมืองนรกเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 หรือ วันส่งเปรต จะมีประเพณีมีความสำคัญที่เราจะทำบุญ “#ปุพพเปตพลี” หรือ ที่ทั่วไปมักเรียกกันว่าพิธีทอดผ้าบังสุกุล เพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับท่านที่ล่วงลับไปแล้ว
ดังนั้นถ้าลูกหลานไม่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ปู่ย่าตายายก็จะอดอยากหิวโหยอัตคัดขัดสนสิ่งของเครื่องใช้ ได้รับความทุกข์ยาก และก่นด่าสาปแช่งลูกหลานที่ไม่รู้จักกตัญญูรู้คุณของบรรพบุรุษ ให้ได้รับความเดือดร้อนชีวิตไม่เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย ในอดีตลูกหลานจึงต้องยึดมั่นถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญยิ่ง เป็นกิจกรรมที่คนไทยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลมากน้อยจะขาดเสียมิได้ ทางภาคใต้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวพื้นเมืองเรียก "#วันฉลองหมรับ” หรือเป็น "#วันสารท” อันเป็นวันสุดท้ายของการทำบุญครบสมบูรณ์ตามประเพณี วันนี้จึงมีพิธีทำบุญเลี้ยงพระ และทำพิธีบังสุกุลกระดูกเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปถือเป็นวันสุดท้ายของงานบุญใหญ่ ใครมีอาหารมีสิ่งใดที่จะทำบุญก็มาทำให้หมดในวันนี้จึงถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งเป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปเมืองนรก ที่ต้องกลับลงนรก คือเพราะเศษกรรมนั้น ยังไม่หมดสิ้น ยังต้องได้รับผลกรรมสืบไปอยู่ จึงจะเปลี่ยนภพภูมิลงได้ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น ขนมเดือนสิบจัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบที่จำเป็นมี 5 อย่าง คือ
#ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
#ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
#ขนมกง ( ขนมไข่ปลา ) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
#ขนมเจาะรู หรือขนมเจาะหู หรือขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
#ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก เมื่อพิจารณาจากมุมมองของพระพุทธศาสนาแล้ว ถือเป็นประเพณีที่มุ่งเน้นเรื่องกรรมและการทำบุญทำกุศล ปฎิบัติภาวนา เพื่ออุทิศส่วนกุศล เป็นหลักซึ่งแจงได้ ดังนี้คือ
1) คติความเชื่อเรื่องบุญ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา เพื่อความสุขของตัเอง และเพื่อทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย
2) คติความเชื่อเรื่องการบูชา เช่น การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ และการปฏิบัติ แต่การบูชาตามคติความเชื่อแบบโบราณก็ยังปรากฏอยู่เพราะมีการฆ่าสัตว์ คือ ไก่ ปลา และหมู เป็นเครื่องเซ่นไหว้ด้วย
3) คติความเชื่อเรื่องความกตัญญู คือ การปรนนิบัติบิดามารดา ครูอาจารย์ ยอมรับคำสั่งสอน และตอบแทนผู้มีพระคุณ ด้วยปัจจัยสี่
4) คติความเชื่อเรื่องสังคหวัตถุ คือ ในประเพณีสารทนี้จะมีการแบ่งปันกันของคนในครอบครัวและชุมชน
-----------------------------------------
#กำหนดการ
#บุญแรก (รับตายาย)
วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
ตรงกับแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐
- #กิจกรรมรับตายาย
- #พระธรรมเทศนา
- #มาติกาบรรพบุรุษ
- #ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
- #กรวดน้ำ / #รับพร / #เสร็จพิธี
#หมายเหตุ วันรับตายายกรุณานำรูปถ่ายบรรพบุรุษมาด้วย
-----------------------------------------
#บุญหลัง (ส่งตายาย)
วันพุธที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ตรงกับแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
- #กิจกรรมทำบุญเดือนสิบ
- #กิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเช้า
- #แสดงพระธรรมเทศนา
- #ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
- #กรวดน้ำ / #รับพร / #เสร็จพิธี
- #กิจกรรมส่งตายาย
-----------------------------------------
#หมายเหตุ - #กิจกรรม ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
-----------------------------------------
#สนใจร่วมบุญออนไลน์ได้ที่
#ธนาคารกรุงไทย สาขาทุ่งลุง
#ชื่อบัญชี : วัดควนเนียง
#เลขบัญชี : 938-1-10075-6
-----------------------------------------
ขออนุโมทนาบุญ กับ ญาติโยม ทุกคน ทุกท่าน...
-
-
-
-
-
-
- Class of 1
-
-
-
อัปเดตล่าสุด
- กรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อกดถูกใจ แชร์ และแสดงความคิดเห็น!
เรื่องราวเพิ่มเติม