วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
-----------------------------------------
๑ ปี มี ๑ ครั้ง #บุญประเพณีเทศกาลเดือนสิบ
#สารทเดือบสิบ ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป
การทำบุญทั้งสองครั้งเป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อบุพการีผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอุทิศส่วนกุศลไปให้วิญญาณของบรรพบุรุษที่ตกอยู่ในเปรตภูมิเป็นคติของศาสนาพราหมณ์ที่ผสมในประเพณีของพุทธศาสนา ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ชาวบ้านจัดภัตตาหารไปทำบุญที่วัดชาวบ้านเรียกวันนี้ว่า วันชิงเปรต เป็นวันที่ยมบาลเปิดนรกปล่อยเปรต พวกเปรตซึ่งกำลังผอมโซหิวโหยมากดังคำพังเพยว่า "#อดอยากเหมือนเปรตเดือนสิบ” จะกลับมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานของตนในเมืองมนุษย์ เพื่อมาขอเสื้อผ้าอาหาร ขอส่วนบุญกุศลต่างๆ ที่ญาติจะอุทิศทำบุญให้ และจะต้องรีบกลับไปเมืองนรกเมื่อถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 หรือ วันส่งเปรต จะมีประเพณีมีความสำคัญที่เราจะทำบุญ “#ปุพพเปตพลี” หรือ ที่ทั่วไปมักเรียกกันว่าพิธีทอดผ้าบังสุกุล เพื่ออุทิศบุญกุศลให้กับท่านที่ล่วงลับไปแล้ว
ดังนั้นถ้าลูกหลานไม่ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ปู่ย่าตายายก็จะอดอยากหิวโหยอัตคัดขัดสนสิ่งของเครื่องใช้ ได้รับความทุกข์ยาก และก่นด่าสาปแช่งลูกหลานที่ไม่รู้จักกตัญญูรู้คุณของบรรพบุรุษ ให้ได้รับความเดือดร้อนชีวิตไม่เจริญรุ่งเรืองตามไปด้วย ในอดีตลูกหลานจึงต้องยึดมั่นถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญยิ่ง เป็นกิจกรรมที่คนไทยถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลมากน้อยจะขาดเสียมิได้ ทางภาคใต้วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวพื้นเมืองเรียก "#วันฉลองหมรับ” หรือเป็น "#วันสารท” อันเป็นวันสุดท้ายของการทำบุญครบสมบูรณ์ตามประเพณี วันนี้จึงมีพิธีทำบุญเลี้ยงพระ และทำพิธีบังสุกุลกระดูกเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษญาติมิตรผู้ล่วงลับไปถือเป็นวันสุดท้ายของงานบุญใหญ่ ใครมีอาหารมีสิ่งใดที่จะทำบุญก็มาทำให้หมดในวันนี้จึงถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งเป็นการส่งบรรพบุรุษและญาติพี่น้องให้กลับไปเมืองนรก ที่ต้องกลับลงนรก คือเพราะเศษกรรมนั้น ยังไม่หมดสิ้น ยังต้องได้รับผลกรรมสืบไปอยู่ จึงจะเปลี่ยนภพภูมิลงได้ พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญ ณ วัดที่เป็นภูมิลำเนาของตนเพื่อร่วมพิธีตั้งเปรตและชิงเปรตอาจสับเปลี่ยนกันไปทำบุญ ณ ภูมิลำเนาของฝ่ายบิดาครั้งหนึ่งฝ่ายมารดาครั้งหนึ่งจึงทำให้ผู้ที่ไปประกอบ อาชีพจากถิ่นห่างไกลจากบ้านเกิดได้มีโอกาสได้กลับมาพบปะสังสรรค์และรู้จักวงศาคณาญาติเพิ่มขึ้น ขนมเดือนสิบจัดขึ้นโดยเฉพาะใช้ในโอกาสทำบุญเดือนสิบที่จำเป็นมี 5 อย่าง คือ
#ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
#ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับญาติผู้ล่วงลับใช้เดินทาง
#ขนมกง ( ขนมไข่ปลา ) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
#ขนมเจาะรู หรือขนมเจาะหู หรือขนมเบซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินสำหรับใช้จ่าย
#ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก เมื่อพิจารณาจากมุมมองของพระพุทธศาสนาแล้ว ถือเป็นประเพณีที่มุ่งเน้นเรื่องกรรมและการทำบุญทำกุศล ปฎิบัติภาวนา เพื่ออุทิศส่วนกุศล เป็นหลักซึ่งแจงได้ ดังนี้คือ
1) คติความเชื่อเรื่องบุญ เช่น การให้ทาน การรักษาศีล การภาวนา เพื่อความสุขของตัเอง และเพื่อทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย
2) คติความเชื่อเรื่องการบูชา เช่น การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ และการปฏิบัติ แต่การบูชาตามคติความเชื่อแบบโบราณก็ยังปรากฏอยู่เพราะมีการฆ่าสัตว์ คือ ไก่ ปลา และหมู เป็นเครื่องเซ่นไหว้ด้วย
3) คติความเชื่อเรื่องความกตัญญู คือ การปรนนิบัติบิดามารดา ครูอาจารย์ ยอมรับคำสั่งสอน และตอบแทนผู้มีพระคุณ ด้วยปัจจัยสี่
4) คติความเชื่อเรื่องสังคหวัตถุ คือ ในประเพณีสารทนี้จะมีการแบ่งปันกันของคนในครอบครัวและชุมชน
-----------------------------------------
#กำหนดการ
#บุญแรก (รับตายาย)
วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๗
ตรงกับแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐
- #กิจกรรมรับตายาย
- #พระธรรมเทศนา
- #มาติกาบรรพบุรุษ
- #ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
- #กรวดน้ำ / #รับพร / #เสร็จพิธี
#หมายเหตุ วันรับตายายกรุณานำรูปถ่ายบรรพบุรุษมาด้วย
-----------------------------------------
#บุญหลัง (ส่งตายาย)
วันพุธที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗
ตรงกับแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
- #กิจกรรมทำบุญเดือนสิบ
- #กิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเช้า
- #แสดงพระธรรมเทศนา
- #ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์
- #กรวดน้ำ / #รับพร / #เสร็จพิธี
- #กิจกรรมส่งตายาย
-----------------------------------------
#หมายเหตุ - #กิจกรรม ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
-----------------------------------------
#สนใจร่วมบุญออนไลน์ได้ที่
#ธนาคารกรุงไทย สาขาทุ่งลุง
#ชื่อบัญชี : วัดควนเนียง
#เลขบัญชี : 938-1-10075-6
-----------------------------------------
ขออนุโมทนาบุญ กับ ญาติโยม ทุกคน ทุกท่าน...
  • 9 Posts
  • 8 Photos
  • 0 Videos
  • Phra Thanakorn Kalayano at Khuanneang Temple
  • Lives in Songkhla
  • From Hatyai
  • Studied Buddhism at Rsutsv Songkhla.
    Class of 1
  • Single
  • 14/06/1971
  • Followed by 10 people
Recent Updates
  • Love
    1
    0 Comments 0 Shares 35 Views 0 Reviews
  • Love
    1
    0 Comments 0 Shares 36 Views 0 Reviews
  • #ญาณวัตถุ_๔๔ [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉนคือ ความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยูความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิดเพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชราและมรณะ ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้วอันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ตัณหาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ... สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๓พระไตรปิฎก(ฉบับหลวง) E-Tipitakaเล่มที่ ๑๖/๕๓-๕๕/๑๑๙-๑๒๕
    #ญาณวัตถุ_๔๔ [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉนคือ ความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยูความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิดเพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชราและมรณะ ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้วอันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ตัณหาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ... สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๓พระไตรปิฎก(ฉบับหลวง) E-Tipitakaเล่มที่ ๑๖/๕๓-๕๕/๑๑๙-๑๒๕
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 207 Views 0 Reviews
  • Love
    1
    0 Comments 0 Shares 45 Views 0 Reviews
  • ในขณะที่ร.9 กลับมาเมืองไทยในฐานะน้องชายของ
    ร.8 ซึ่งมีแม่ มีพี่สาว รวม 4 คน ท่านอยู่ท่ามกลางประชาชนที่แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งไม่เอาเจ้าอยู่หัว # ฝ่ายหนึ่งเอาเจ้าอยู่หัวแล้วพร้อมที่จะปกป้องดูแลอารักขาให้อย่างดี ขอเพียงเสด็จกลับนิวัตรพระนคร มาเป็นมิ่งขวัญให้คนไทยอีกครั้ง
    หลังจากที่ พวกกบฎ 2475 ไล่เจ้าอยู่หัวไปแล้ว ไม่มีเจ้าแล้ว อยู่กันแบบไร้ทิศไร้ทาง นักการเมืองเริ่มส่อแววเอาเปรียบประชาชน เห็นแก่ประโยชน์ของพวกพ้องและตนเอง การรักษาความปลอดภัย พระเจ้าอยู่หัวเหมือนปล่อยให้พกปืนเดินยามดูแลตัวเอง สุดท้าย ร.8 ที่เป็นพี่ชาย ร.9 เป็นลุง ร.10 ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ในหลวง ร.9 จึงปรารภว่า คนบ้านนี้เมืองนี้ โหดร้ายป่าเถื่อน เราจะกลับไปแล้วไม่มาอีกดีกว่า
    ระหว่างที่เสด็จดำเนินไป
    มีชาวบ้านที่มารอส่งเสด็จ ตะโกนว่า ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน พระองค์จึงต้องมาเป็นพระราชาให้คนไทยอีกครั้งต่อจากพี่ชาย ต้องเลี้ยงหมาไว้ดูแลตนเอง ต้องสอนลูกสาวลูกชายให้เข้มแข็ง ต้องสอนพระราชินีให้ยิงปืนให้เป็น ต้องสอนหลานๆให้ทำงานเลี้ยงดูตัวเองได้ ต้องให้ลูกชายไปเป็นทหาร เพื่อป้องกันประเทศ และราชบัลลังก์ ข่าวในพระราชสำนักเกิน 80% ทรงอยู่ในป่ากับราษฎร และทหารตามแนวชายแดน คอยป้องกันประเทศ
    มีแม่เป็นพี่เลี้ยงในการปกครองประชาราษฎร์ มีพี่สาวเป็นเสมือนเพื่อน และคนดูแล ยามที่ท้อใจเมื่อนึกถึงภาพพี่ชายโดนยิงตาย ไปต่อหน้า
    พัฒนาประเทศได้ไม่นาน แม่กับพี่สาวก็มาจากไป ร.9 จึงเหลือแต่ลูกๆ ท่ามกลางพายุการเมืองที่บ้าคลั่งของพวกไม่เอาเจ้า เผาบ้านเผาเมือง ทำให้พระองค์ที่ทรงประชวรอยู่แล้ว เพราะโหมงานหนักมานานถึง 70 ปี ต้องจากพวกเราไป อย่างสงบ
    ขึ้นสู่รัชสมัยของรัชกาลที่10 ด้วยความอึมครึมทางการเมือง
    พระองค์ไม่มีพ่อแล้ว ไม่มีย่าแล้ว มีแต่แม่ ที่ป่วย กับน้องสาวอีกคนที่ป่วยเช่นกัน และสมเด็จพระเทพฯ ในวัยเกษียณ ที่มีโครงการ ของในหลวง ร.9 ต้องคอยดูแลเยอะแยะ หลังการสวรรคตของร.9 รัฐบาลทำเรื่องกราบบังคมทูล อัญเชิญให้เข้ารับตำแหน่ง เป็นรัชกาลที่10 หากพระองค์ไม่รับตำแหน่ง ก็คงไปอยู่ต่างประเทศ ดำเนินชีวิตตามปกติของคนทั่วไป แต่เป็นเพราะเบ้าหลอมที่ถูกโยนเข้าไปตั้งแต่เยาว์วัยซึ่งสอนให้รู้ว่า พระองค์เลือกเกิดไม่ได้ เพราะการสืบทอดอำนาจทางสายโลหิต มันไม่ได้เกิดจากตัวท่านเองอยากมาเป็น แต่ว่าฟ้าเบื้องบนเขากำหนดมาแบบนี้ จึงต้องลุกขึ้น แล้วลงมือพายนาวาฝ่ามรสุมกันต่อไป เพียงหวังว่า คงไม่มีใครเอาเท้าลงไปราน้ำ เพราะคนพายมันเหนื่อยสายตัวแทบขาด..
    ~~~~
    รักในหลวง...
    ในขณะที่ร.9 กลับมาเมืองไทยในฐานะน้องชายของ ร.8 ซึ่งมีแม่ มีพี่สาว รวม 4 คน ท่านอยู่ท่ามกลางประชาชนที่แบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งไม่เอาเจ้าอยู่หัว # ฝ่ายหนึ่งเอาเจ้าอยู่หัวแล้วพร้อมที่จะปกป้องดูแลอารักขาให้อย่างดี ขอเพียงเสด็จกลับนิวัตรพระนคร มาเป็นมิ่งขวัญให้คนไทยอีกครั้ง หลังจากที่ พวกกบฎ 2475 ไล่เจ้าอยู่หัวไปแล้ว ไม่มีเจ้าแล้ว อยู่กันแบบไร้ทิศไร้ทาง นักการเมืองเริ่มส่อแววเอาเปรียบประชาชน เห็นแก่ประโยชน์ของพวกพ้องและตนเอง การรักษาความปลอดภัย พระเจ้าอยู่หัวเหมือนปล่อยให้พกปืนเดินยามดูแลตัวเอง สุดท้าย ร.8 ที่เป็นพี่ชาย ร.9 เป็นลุง ร.10 ก็ถูกลอบปลงพระชนม์ ในหลวง ร.9 จึงปรารภว่า คนบ้านนี้เมืองนี้ โหดร้ายป่าเถื่อน เราจะกลับไปแล้วไม่มาอีกดีกว่า ระหว่างที่เสด็จดำเนินไป มีชาวบ้านที่มารอส่งเสด็จ ตะโกนว่า ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน พระองค์จึงต้องมาเป็นพระราชาให้คนไทยอีกครั้งต่อจากพี่ชาย ต้องเลี้ยงหมาไว้ดูแลตนเอง ต้องสอนลูกสาวลูกชายให้เข้มแข็ง ต้องสอนพระราชินีให้ยิงปืนให้เป็น ต้องสอนหลานๆให้ทำงานเลี้ยงดูตัวเองได้ ต้องให้ลูกชายไปเป็นทหาร เพื่อป้องกันประเทศ และราชบัลลังก์ ข่าวในพระราชสำนักเกิน 80% ทรงอยู่ในป่ากับราษฎร และทหารตามแนวชายแดน คอยป้องกันประเทศ มีแม่เป็นพี่เลี้ยงในการปกครองประชาราษฎร์ มีพี่สาวเป็นเสมือนเพื่อน และคนดูแล ยามที่ท้อใจเมื่อนึกถึงภาพพี่ชายโดนยิงตาย ไปต่อหน้า พัฒนาประเทศได้ไม่นาน แม่กับพี่สาวก็มาจากไป ร.9 จึงเหลือแต่ลูกๆ ท่ามกลางพายุการเมืองที่บ้าคลั่งของพวกไม่เอาเจ้า เผาบ้านเผาเมือง ทำให้พระองค์ที่ทรงประชวรอยู่แล้ว เพราะโหมงานหนักมานานถึง 70 ปี ต้องจากพวกเราไป อย่างสงบ ขึ้นสู่รัชสมัยของรัชกาลที่10 ด้วยความอึมครึมทางการเมือง พระองค์ไม่มีพ่อแล้ว ไม่มีย่าแล้ว มีแต่แม่ ที่ป่วย กับน้องสาวอีกคนที่ป่วยเช่นกัน และสมเด็จพระเทพฯ ในวัยเกษียณ ที่มีโครงการ ของในหลวง ร.9 ต้องคอยดูแลเยอะแยะ หลังการสวรรคตของร.9 รัฐบาลทำเรื่องกราบบังคมทูล อัญเชิญให้เข้ารับตำแหน่ง เป็นรัชกาลที่10 หากพระองค์ไม่รับตำแหน่ง ก็คงไปอยู่ต่างประเทศ ดำเนินชีวิตตามปกติของคนทั่วไป แต่เป็นเพราะเบ้าหลอมที่ถูกโยนเข้าไปตั้งแต่เยาว์วัยซึ่งสอนให้รู้ว่า พระองค์เลือกเกิดไม่ได้ เพราะการสืบทอดอำนาจทางสายโลหิต มันไม่ได้เกิดจากตัวท่านเองอยากมาเป็น แต่ว่าฟ้าเบื้องบนเขากำหนดมาแบบนี้ จึงต้องลุกขึ้น แล้วลงมือพายนาวาฝ่ามรสุมกันต่อไป เพียงหวังว่า คงไม่มีใครเอาเท้าลงไปราน้ำ เพราะคนพายมันเหนื่อยสายตัวแทบขาด.. ~~~~ รักในหลวง...
    Yay
    1
    0 Comments 0 Shares 243 Views 0 Reviews
  • ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา
    ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
    ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์
    รู้จักประมาณในการบริโภค
    ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ
    มีความเพียรอยู่อย่างนี้
    ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน
    ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม
    เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ
    ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
    หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท
    ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้
    .................
    ข้อความบางตอนใน อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม
    อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=37
    ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี นอนดุจราชสีห์โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นเหตุขัดขวางด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี ภิกษุประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้ ภิกษุตั้งอยู่ในศีล สำรวมอินทรีย์ รู้จักประมาณในการบริโภค ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ มีความเพียรอยู่อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านตลอดคืนและวัน ชื่อว่าบำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุสภาวะอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท หรือมีปกติเห็นภัยในความประมาท ไม่อาจเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพานแน่แท้ ................. ข้อความบางตอนใน อปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=37
    มจร. ๗. อปริหานิยสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑
    พระพุทธศาสนา พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา อรรถกถา Buddhism Dhamma tipitaka atthakatha
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 150 Views 0 Reviews
  • Love
    1
    0 Comments 0 Shares 29 Views 0 Reviews
  • Love
    1
    0 Comments 0 Shares 30 Views 0 Reviews
  • Love
    1
    0 Comments 0 Shares 28 Views 0 Reviews
More Stories