• "อัจฉริยะ !"

    สำหรับตัวผมแล้ว ถ้าพูดถึงนักเขียนญี่ปุ่นที่เป็นปรมาจารย์ด้านการเล่าเรื่อง และการบรรยายที่สร้างบรรยากาศที่หลอน ๆ สั่นประสาท ความดำมืดและวิปริตของจิตใจของตัวฆาตกรร้าย รวมถึงความรู้สึกเย็บวาบ ขนลุกซู่เมื่ออ่านไปเรื่อย ๆ ที่มีความโดดเด่นแล้ว ชื่อที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเลยคือ เอโดะงะวะ รัมโปะ ตามมาด้วย โยโคมิโซะ เซชิ

    #ลายนิ้วมือปีศาจ คืออีกหนึ่งผลงานที่ยืนยันข้อความข้างต้น

    สนพ.เจคลาส
    ผู้เขียน เอโดะงาวะ รัมโปะ
    ผู้แปล ทินภาส พาหะนิชย์
    พิมพ์ เม.ย.2561
    230 บาท 226 หน้า

    เมื่อเกิดคดีฆาตกรรมไม่คาดฝันขึ้น โดยเหยื่อรายแรกเป็นผู้ช่วยงานของนักสืบเอกชนผู้มีชื่อเสียงนามว่า ดร.มุนะกะตะ ซึ่งมีความสามารถและเชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ชื่อเสียงควบคู่มากับยอดนักสืบเอกอะเกะชิ โคะโงะโร เรื่องราวจึงไม่ธรรมดา แต่เป็นคดีที่มีความยอกย้อนซ่อนเงื่อน และคนร้ายมีวิธีการที่น่ากลัวกว่าฆาตกรทั่วไปอย่างเทียบไม่ได้

    เนื่องจาก นักสืบอะเกะชิที่เป็นเพื่อนและรู้จักกับสารวัตรนะกะมุระแห่งกรมตำรวจนครบาลโตเกียวไม่ว่าง ติดภารกิจที่ต่างแดน จึงเป็นหน้าที่ของ ดร.มุนะกะตะ ที่ต้องออกโรง ทั้งเพื่อล้างอายตนเองที่ไม่สามารถช่วยลูกน้องได้ และเพื่อชื่อเสียงในฐานะนักสืบของตนไม่ให้มัวหมอง เขาจึงเริ่มตามสืบหาตัวคนร้าย ที่ส่งข้อความมาถึง เศรษฐีนักธุรกิจผู้หนึ่งที่มีกิจการค้าของตนเองนาม คะวะเตะ โชตะโร ระบุชัดว่ามีเป้าหมายเพื่อต้องการฆ่าล้างแค้นคนในครอบครัวของเขาทั้งหมด 3 ชีวิต คือตัวคะวะเตะ และลูกสาวอีกสองคนที่เติบโตเป็นสาวสวยแล้ว โดยเขาก็นึกไม่ออกว่าได้สร้างความโกรธแค้นให้เกิดแก่ใครจนถึงขั้นจ้องจะทำลายล้างตระกูลให้ไม่เหลือสักคนเดียว

    แม้นว่า ดร.มุนะกะตะ จะได้หลักฐานสำคัญที่พบจากซองเอกสารที่ผู้ช่วยชายพยายามจะส่งให้ถึงมือเขา ก่อนจะถูกวางยาพิษเสียชีวิต เป็นรอยนิ้วมือที่คาดว่าน่าจะเป็นของผู้ที่กำลังวางแผนฆ่าครอบครัวคะวะเตะ เป็นรอยนิ้วประหลาดน่าขนลุกที่มีลักษณะคล้ายก้นหอย3วง จึงพยายามตามสืบจากเบาะแสดังกล่าว โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยชายอีกคนไปดำเนินการ ไม่นานต่อมาลูกสาวทั้งสองของผู้ว่าจ้างกลับพบชะตากรรมดำมืด กลายเป็นเหยื่อถูกฆ่าตายไปทีละคนอย่างน่าพิศวง ทั้งที่มีตำรวจจำนวนมาก และนักสืบคอยเฝ้ายามรักษาความปลอดภัยให้อย่างรัดกุมแน่นหนา

    นี่..ไม่น่าเป็นไปได้ ฆาตกรทำอย่างไร จึงสามารถราวกับภูติผีปีศาจ แถมยังหยามน้ำหน้านักสืบด้วยการทิ้งรอยนิ้วมือที่มีก้นหอย3วงเอาไว้ในหลายวาระ ดร.มุนะกะตะเหมือนถูกคนร้ายนำหน้าหนึ่งก้าวเสมอ สถานการณ์เลวร้ายลง คะวะตะเองนั้นทั้งเศร้าเสียใจและตื่นกลัวอย่างมาก ความแค้นใดในอดีต ที่ฝังแน่นในจิตใจของฆาตกร จนถึงขั้นวางแผนเพื่อจะกำจัดตระกูลของเขาให้สิ้นซาก หลังฆ่าเหยื่อแล้วยังจัดแสดงศพเพื่อหวังให้สาธารณะพบเห็นเป็นการประจานอย่างอำมหิต แต่ในที่สุดฆาตกรก็ไม่อาจรอดพ้นฝีมือในการสืบสวนและแกะรอยของดร.มุนะกะตะ จนสามารถปิดคดีลงได้ แม้จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกถึง 3 รายก็ตาม

    แต่เรื่องราวกลับไม่จบลงง่ายดายเพียงนั้น หลังจากนักสืบอะเกะชิเสร็จจากภารกิจกลับมา และได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมดจากคำบอกเล่าของสารวัตรนะกะมุระ เขาจึงเริ่มดำเนินการสืบสวนในแบบฉบับของตนอย่างลับ ๆ และได้ข้อสรุปที่มีมุมมองต่อคดีนี้แตกต่างไปจากของตำรวจและ ดร.มุนะกะตะโดยสิ้นเชิง อาเกะชิเชื่อว่าคดียังไม่จบ คนร้ายตัวจริงยังลอยนวล แล้วที่แท้ได้เกิดอะไรขึ้นกับเหยื่อทั้งหมดที่สูญเสียไปกันแน่ ตกลงความจริงคือ..ใครกันที่สืบสวนผิดพลาดระหว่าง ดร.มุนะกะตะ กับอาเกะชิ

    นี่คืออีกหนึ่งสุดยอดของความร้ายกาจ กับความจงเกลียดจงชังเข้าขั้นหมกมุ่น และอาฆาตพยาบาทรุนแรงที่สุดคดีหนึ่งเท่าที่ผมเคยได้อ่านมา

    🖋หลังอ่านจบ

    โคตรน่าทึ่ง...คงต้องใช้คำนี้ ไม่นึกว่าผู้เขียนจะบรรจงสร้างโครงเรื่องที่ดูเหมือนเป็นการฆ่าล้างแค้นที่พบได้ในนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมทั่วไป ให้มีความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ และชั้นเชิงลูกเล่นเทคนิกแพรวพรายได้ขนาดนี้ ดูเหมือนคนร้ายแทบจะไม่ได้ใช้หรืออาศัยความรู้เฉพาะทางพิเศษใดในวิธีการลงมือฆ่าเหยื่อ เพียงอาศัยเรื่องที่ดูธรรมดาสามัญที่สุด มาสร้างขึ้นเป็นกำดักทางจิตใจ หลอกทั้งตัวละครนักสืบในเรื่องและหลอกคนอ่านได้อย่างแนบเนียน แม้นจะมีวางจุดสังเกตที่ชวนให้คิดด้วยความน่าฉงนตามรายทางเป็นระยะ ซึ่งหากใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนดี ๆ อาจพอจะเริ่มจับจุดและสังเกตเห็นบางอย่าง แต่ถ้าอ่านแบบขี้เกียจคิดให้วุ่นวาย แค่ตามเรื่องราวไปเรื่อย ๆ พอถึงช่วงเฉลยจะส่งผลให้ชวนอัศจรรย์ใจเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินเรื่องตั้งแต่เริ่มต้นจนตลอดทางถึงตอนจบ ไม่มีความน่าเบื่อปรากฏให้เห็น มีแต่สร้างความรู้สึกอยากรู้ ชวนลุ้น เอาใจช่วยให้เหยื่อรอดพ้น และนักสืบจับคนร้ายได้โดยไว ขณะเดียวกันก็อดไม่ได้ที่จะสยิวไปกับบรรยากาศแห่งความไม่น่าไว้ใจ ปริศนาที่ราวกับลูกเล่นหรือมายากลของปีศาจฆาตกร ความโรคจิตขั้นรุนแรงชวนสะอิดสะเอียนที่เลือดเย็น ปนเปกับความรู้สึกอกสั่นขวัญบิน เมื่อนึกถึงแผนการอันชั่วร้ายที่ถูกวางแผนมาอย่างยาวนานหลายสิบปี ตอนนี้ดีที่ไม่ยาวมาก เรียกว่าเนื้อหากำลังเหมาะ

    เอโดะงาวะมีความสามารถในการสร้างปมตัวร้ายที่น่าเศร้าระคนน่ารังเกียจ ไปจนถึงขั้นน่าเกลียดได้อย่างถึงแก่น ราวกับว่าเขาสามารถมองทะลุเห็นถึงสิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ภายในของบุคคลธรรมดา ที่ภายนอกดูไม่เหมือนจะเป็นคนร้ายได้เลยนำมาใช้เป็นวัตถุดิบชั้นดี แต่ทั้งอย่างนั้นชีวิตเบื้องหลังที่ถูกแต่งแต้มขึ้นก็ช่างสมจริง จนทำให้รู้สึกสงสารในชะตากรรมรันทดของผู้ก่ออาชญากรรมด้วยเช่นกัน เมื่อบวกกับสไตล์ที่เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ในการเล่าเรื่องเสมือนประหนึ่งตัวเองกำลังนั่งชวนคุยกับคนอ่านในวงล้อมรอบกองไฟยามดึกสงัด และรู้จักการหยอดถ้อยคำบางช่วงตอนที่ยิ่งสร้างอารมณ์ให้คนที่กำลังติดตามเรื่องเล่าของเขาอย่างจดจ่อ เกิดความตื่นเต้นตึงเตรียดไปด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นความน่าหลงใหลอันชวนให้ไม่อยากลุกไปไหนหรือทำอิริยาบถใดอื่น นอกจากฟังสิ่งที่เขาเล่าต่อจนจบเรื่อง ใจที่เขม็งเกลียวจนแน่นจึงคลายออกและปลอดโปร่งในที่สุด เรื่องนี้ก็เป็นเช่นที่ว่ามานี้ แม้นถูกเขียนมานานกว่า 80 ปี แต่อ่านในยุคปัจจุบันยังคงได้อรรถรส สาระความบันเทิงไม่ด้อยกว่าเรื่องที่แต่งโดยนักเขียนรุ่นใหม่ยุคหลังเลย

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    และอะเกะชิเองก็สมกับความเป็นยอดนักสืบเอกโดยแท้ บุคลิกที่ดูน่าเกรงขามในยามที่ต้องแสดงออกถึงอำนาจให้คนอื่นเห็น แต่ก็ขี้เล่น หัวเราะง่ายยิ้มง่าย ช่วยทำให้ผู้ฟังผ่อนคลาย อีกทั้งวาทศิลป์ในการเลือกใช้คำพูดให้เข้ากับสถานการณ์ก็ยอดเยี่ยม ประกอบกับไหวพริบความช่างสังเกตในการแยกแยะและประมวลผลข้อมูล เห็นถึงจุดอื่นที่คนทั้งหลายไม่ทันเห็นหรือมองข้ามไป ล้วนเป็นคุณสมบัติและภาพลักษณ์ที่น่าจดจำ แม้นจะปรากฏตัวมาในช่วงท้ายใกล้จบ แต่มีบทบาทสำคัญยิ่งที่ส่งผลต่อการพลิกโฉมของคดีนี้ที่สุด

    สำหรับใครที่ยังไม่เคยอ่านงานของรัมโปะมาก่อนเลย เริ่มต้นด้วย "ลายนิ้วมือปีศาจ" ก็ไม่เลวครับ

    ป.ล. พบความผิดพลาดในการพิมพ์หนึ่งจุด

    #thaitimes
    #เอโดะงาวะรัมโปะ
    #ฆาตกรรม
    #สืบสวน
    #นิยายแปล
    #นิยายญี่ปุ่น
    #หนังสือน่าอ่าน
    #ล้างแค้น
    #นักสืบ
    #รีวิวหนังสือ
    #วิจารณ์หนังสือ
    "อัจฉริยะ !" สำหรับตัวผมแล้ว ถ้าพูดถึงนักเขียนญี่ปุ่นที่เป็นปรมาจารย์ด้านการเล่าเรื่อง และการบรรยายที่สร้างบรรยากาศที่หลอน ๆ สั่นประสาท ความดำมืดและวิปริตของจิตใจของตัวฆาตกรร้าย รวมถึงความรู้สึกเย็บวาบ ขนลุกซู่เมื่ออ่านไปเรื่อย ๆ ที่มีความโดดเด่นแล้ว ชื่อที่นึกถึงเป็นอันดับแรกเลยคือ เอโดะงะวะ รัมโปะ ตามมาด้วย โยโคมิโซะ เซชิ #ลายนิ้วมือปีศาจ คืออีกหนึ่งผลงานที่ยืนยันข้อความข้างต้น สนพ.เจคลาส ผู้เขียน เอโดะงาวะ รัมโปะ ผู้แปล ทินภาส พาหะนิชย์ พิมพ์ เม.ย.2561 230 บาท 226 หน้า เมื่อเกิดคดีฆาตกรรมไม่คาดฝันขึ้น โดยเหยื่อรายแรกเป็นผู้ช่วยงานของนักสืบเอกชนผู้มีชื่อเสียงนามว่า ดร.มุนะกะตะ ซึ่งมีความสามารถและเชี่ยวชาญทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ชื่อเสียงควบคู่มากับยอดนักสืบเอกอะเกะชิ โคะโงะโร เรื่องราวจึงไม่ธรรมดา แต่เป็นคดีที่มีความยอกย้อนซ่อนเงื่อน และคนร้ายมีวิธีการที่น่ากลัวกว่าฆาตกรทั่วไปอย่างเทียบไม่ได้ เนื่องจาก นักสืบอะเกะชิที่เป็นเพื่อนและรู้จักกับสารวัตรนะกะมุระแห่งกรมตำรวจนครบาลโตเกียวไม่ว่าง ติดภารกิจที่ต่างแดน จึงเป็นหน้าที่ของ ดร.มุนะกะตะ ที่ต้องออกโรง ทั้งเพื่อล้างอายตนเองที่ไม่สามารถช่วยลูกน้องได้ และเพื่อชื่อเสียงในฐานะนักสืบของตนไม่ให้มัวหมอง เขาจึงเริ่มตามสืบหาตัวคนร้าย ที่ส่งข้อความมาถึง เศรษฐีนักธุรกิจผู้หนึ่งที่มีกิจการค้าของตนเองนาม คะวะเตะ โชตะโร ระบุชัดว่ามีเป้าหมายเพื่อต้องการฆ่าล้างแค้นคนในครอบครัวของเขาทั้งหมด 3 ชีวิต คือตัวคะวะเตะ และลูกสาวอีกสองคนที่เติบโตเป็นสาวสวยแล้ว โดยเขาก็นึกไม่ออกว่าได้สร้างความโกรธแค้นให้เกิดแก่ใครจนถึงขั้นจ้องจะทำลายล้างตระกูลให้ไม่เหลือสักคนเดียว แม้นว่า ดร.มุนะกะตะ จะได้หลักฐานสำคัญที่พบจากซองเอกสารที่ผู้ช่วยชายพยายามจะส่งให้ถึงมือเขา ก่อนจะถูกวางยาพิษเสียชีวิต เป็นรอยนิ้วมือที่คาดว่าน่าจะเป็นของผู้ที่กำลังวางแผนฆ่าครอบครัวคะวะเตะ เป็นรอยนิ้วประหลาดน่าขนลุกที่มีลักษณะคล้ายก้นหอย3วง จึงพยายามตามสืบจากเบาะแสดังกล่าว โดยมอบหมายให้ผู้ช่วยชายอีกคนไปดำเนินการ ไม่นานต่อมาลูกสาวทั้งสองของผู้ว่าจ้างกลับพบชะตากรรมดำมืด กลายเป็นเหยื่อถูกฆ่าตายไปทีละคนอย่างน่าพิศวง ทั้งที่มีตำรวจจำนวนมาก และนักสืบคอยเฝ้ายามรักษาความปลอดภัยให้อย่างรัดกุมแน่นหนา นี่..ไม่น่าเป็นไปได้ ฆาตกรทำอย่างไร จึงสามารถราวกับภูติผีปีศาจ แถมยังหยามน้ำหน้านักสืบด้วยการทิ้งรอยนิ้วมือที่มีก้นหอย3วงเอาไว้ในหลายวาระ ดร.มุนะกะตะเหมือนถูกคนร้ายนำหน้าหนึ่งก้าวเสมอ สถานการณ์เลวร้ายลง คะวะตะเองนั้นทั้งเศร้าเสียใจและตื่นกลัวอย่างมาก ความแค้นใดในอดีต ที่ฝังแน่นในจิตใจของฆาตกร จนถึงขั้นวางแผนเพื่อจะกำจัดตระกูลของเขาให้สิ้นซาก หลังฆ่าเหยื่อแล้วยังจัดแสดงศพเพื่อหวังให้สาธารณะพบเห็นเป็นการประจานอย่างอำมหิต แต่ในที่สุดฆาตกรก็ไม่อาจรอดพ้นฝีมือในการสืบสวนและแกะรอยของดร.มุนะกะตะ จนสามารถปิดคดีลงได้ แม้จะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีกถึง 3 รายก็ตาม แต่เรื่องราวกลับไม่จบลงง่ายดายเพียงนั้น หลังจากนักสืบอะเกะชิเสร็จจากภารกิจกลับมา และได้รับทราบเรื่องราวทั้งหมดจากคำบอกเล่าของสารวัตรนะกะมุระ เขาจึงเริ่มดำเนินการสืบสวนในแบบฉบับของตนอย่างลับ ๆ และได้ข้อสรุปที่มีมุมมองต่อคดีนี้แตกต่างไปจากของตำรวจและ ดร.มุนะกะตะโดยสิ้นเชิง อาเกะชิเชื่อว่าคดียังไม่จบ คนร้ายตัวจริงยังลอยนวล แล้วที่แท้ได้เกิดอะไรขึ้นกับเหยื่อทั้งหมดที่สูญเสียไปกันแน่ ตกลงความจริงคือ..ใครกันที่สืบสวนผิดพลาดระหว่าง ดร.มุนะกะตะ กับอาเกะชิ นี่คืออีกหนึ่งสุดยอดของความร้ายกาจ กับความจงเกลียดจงชังเข้าขั้นหมกมุ่น และอาฆาตพยาบาทรุนแรงที่สุดคดีหนึ่งเท่าที่ผมเคยได้อ่านมา 🖋หลังอ่านจบ โคตรน่าทึ่ง...คงต้องใช้คำนี้ ไม่นึกว่าผู้เขียนจะบรรจงสร้างโครงเรื่องที่ดูเหมือนเป็นการฆ่าล้างแค้นที่พบได้ในนิยายแนวสืบสวนฆาตกรรมทั่วไป ให้มีความแตกต่างอย่างมีเอกลักษณ์ และชั้นเชิงลูกเล่นเทคนิกแพรวพรายได้ขนาดนี้ ดูเหมือนคนร้ายแทบจะไม่ได้ใช้หรืออาศัยความรู้เฉพาะทางพิเศษใดในวิธีการลงมือฆ่าเหยื่อ เพียงอาศัยเรื่องที่ดูธรรมดาสามัญที่สุด มาสร้างขึ้นเป็นกำดักทางจิตใจ หลอกทั้งตัวละครนักสืบในเรื่องและหลอกคนอ่านได้อย่างแนบเนียน แม้นจะมีวางจุดสังเกตที่ชวนให้คิดด้วยความน่าฉงนตามรายทางเป็นระยะ ซึ่งหากใคร่ครวญอย่างถี่ถ้วนดี ๆ อาจพอจะเริ่มจับจุดและสังเกตเห็นบางอย่าง แต่ถ้าอ่านแบบขี้เกียจคิดให้วุ่นวาย แค่ตามเรื่องราวไปเรื่อย ๆ พอถึงช่วงเฉลยจะส่งผลให้ชวนอัศจรรย์ใจเพิ่มขึ้น ในส่วนของการดำเนินเรื่องตั้งแต่เริ่มต้นจนตลอดทางถึงตอนจบ ไม่มีความน่าเบื่อปรากฏให้เห็น มีแต่สร้างความรู้สึกอยากรู้ ชวนลุ้น เอาใจช่วยให้เหยื่อรอดพ้น และนักสืบจับคนร้ายได้โดยไว ขณะเดียวกันก็อดไม่ได้ที่จะสยิวไปกับบรรยากาศแห่งความไม่น่าไว้ใจ ปริศนาที่ราวกับลูกเล่นหรือมายากลของปีศาจฆาตกร ความโรคจิตขั้นรุนแรงชวนสะอิดสะเอียนที่เลือดเย็น ปนเปกับความรู้สึกอกสั่นขวัญบิน เมื่อนึกถึงแผนการอันชั่วร้ายที่ถูกวางแผนมาอย่างยาวนานหลายสิบปี ตอนนี้ดีที่ไม่ยาวมาก เรียกว่าเนื้อหากำลังเหมาะ เอโดะงาวะมีความสามารถในการสร้างปมตัวร้ายที่น่าเศร้าระคนน่ารังเกียจ ไปจนถึงขั้นน่าเกลียดได้อย่างถึงแก่น ราวกับว่าเขาสามารถมองทะลุเห็นถึงสิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ภายในของบุคคลธรรมดา ที่ภายนอกดูไม่เหมือนจะเป็นคนร้ายได้เลยนำมาใช้เป็นวัตถุดิบชั้นดี แต่ทั้งอย่างนั้นชีวิตเบื้องหลังที่ถูกแต่งแต้มขึ้นก็ช่างสมจริง จนทำให้รู้สึกสงสารในชะตากรรมรันทดของผู้ก่ออาชญากรรมด้วยเช่นกัน เมื่อบวกกับสไตล์ที่เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ในการเล่าเรื่องเสมือนประหนึ่งตัวเองกำลังนั่งชวนคุยกับคนอ่านในวงล้อมรอบกองไฟยามดึกสงัด และรู้จักการหยอดถ้อยคำบางช่วงตอนที่ยิ่งสร้างอารมณ์ให้คนที่กำลังติดตามเรื่องเล่าของเขาอย่างจดจ่อ เกิดความตื่นเต้นตึงเตรียดไปด้วยแล้ว ก็ยิ่งเป็นความน่าหลงใหลอันชวนให้ไม่อยากลุกไปไหนหรือทำอิริยาบถใดอื่น นอกจากฟังสิ่งที่เขาเล่าต่อจนจบเรื่อง ใจที่เขม็งเกลียวจนแน่นจึงคลายออกและปลอดโปร่งในที่สุด เรื่องนี้ก็เป็นเช่นที่ว่ามานี้ แม้นถูกเขียนมานานกว่า 80 ปี แต่อ่านในยุคปัจจุบันยังคงได้อรรถรส สาระความบันเทิงไม่ด้อยกว่าเรื่องที่แต่งโดยนักเขียนรุ่นใหม่ยุคหลังเลย . . . . . . . . . . . และอะเกะชิเองก็สมกับความเป็นยอดนักสืบเอกโดยแท้ บุคลิกที่ดูน่าเกรงขามในยามที่ต้องแสดงออกถึงอำนาจให้คนอื่นเห็น แต่ก็ขี้เล่น หัวเราะง่ายยิ้มง่าย ช่วยทำให้ผู้ฟังผ่อนคลาย อีกทั้งวาทศิลป์ในการเลือกใช้คำพูดให้เข้ากับสถานการณ์ก็ยอดเยี่ยม ประกอบกับไหวพริบความช่างสังเกตในการแยกแยะและประมวลผลข้อมูล เห็นถึงจุดอื่นที่คนทั้งหลายไม่ทันเห็นหรือมองข้ามไป ล้วนเป็นคุณสมบัติและภาพลักษณ์ที่น่าจดจำ แม้นจะปรากฏตัวมาในช่วงท้ายใกล้จบ แต่มีบทบาทสำคัญยิ่งที่ส่งผลต่อการพลิกโฉมของคดีนี้ที่สุด สำหรับใครที่ยังไม่เคยอ่านงานของรัมโปะมาก่อนเลย เริ่มต้นด้วย "ลายนิ้วมือปีศาจ" ก็ไม่เลวครับ ป.ล. พบความผิดพลาดในการพิมพ์หนึ่งจุด #thaitimes #เอโดะงาวะรัมโปะ #ฆาตกรรม #สืบสวน #นิยายแปล #นิยายญี่ปุ่น #หนังสือน่าอ่าน #ล้างแค้น #นักสืบ #รีวิวหนังสือ #วิจารณ์หนังสือ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 555 มุมมอง 0 รีวิว
  • วิเคราะห์หนังสือในมือ

    เล่มล่าสุดที่เพิ่งอ่านจบครับ เป็นหนังสือที่เพิ่งเห็นในห้องสมุดไม่นานนี้ ก่อนหน้าได้เคยอ่านบ้านวิกลคนประหลาดเล่มแรกไปเมื่อหลายเดือนก่อน รู้สึกว่าผลงานนักเขียนคนนี้จะค่อนข้างมีกระแสแรงทั้งสองด้าน คนที่ชอบก็จะชอบมาก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็ไม่ชอบมากถึงขั้นเกลียดก็มี ที่จะอยู่ตรงกลางไม่ค่อยเห็น ผมสนใจอ่านผลงานของเขาด้วยเหตุผล 2 ประการ

    1. อยากอ่านจริง ๆ เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกทั้งการนำเสนอที่มีอะไรให้เล่นสนุกได้นอกเหนือไปจากตัวอักษรล้วน ปกติชอบหนังสือประเภทมีภาพประกอบให้ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์อยู่แล้ว

    2 อยากทราบว่าทำไมผลงานของเขาถึงก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงการนักอ่านได้อย่างรุนแรงชนิดที่เป็นขั้วตรงข้ามขนาดนั้น

    อ่านแล้วได้ข้อสรุปกับตัวเองคือ ผมชอบนะ แต่ไม่ได้ถึงขนาดชอบมาก ชอบในการสร้างสรรค์งานเขียนที่สร้างจุดแปลกให้แตกต่าง อาจจะไม่ได้เป็นครั้งแรก คนแรก ที่ใช้กลวิธีนำเสนอภาพกับเนื้อหาให้สอดคล้องกันไปกับเรื่องที่ต้องการเล่า ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้คนเขียนได้ออกกำลังทางความคิด ไปจนถึงความขัดแย้งทางความเห็นได้มากกว่างานเขียนอื่นที่ปรากฏสู่สายตานักอ่านในช่วงเดียวกันในเมืองไทย

    ไม่ว่าอ่านแล้ว จะมีทั้งคนชอบหรือคนไม่ชอบ ไปจนถึงรักหรือเกลียดในผลงาน หรืออาจพาไปถึงเกลียดคนเขียนด้วยหรือไม่นั้น ผมถือว่าเขาทำสำเร็จแล้วในแง่ของนักเขียนผู้สร้างปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการ อย่างน้อยที่สุดการที่ได้มีการโต้แย้งทางความเห็นที่ไม่ไหลไปในทางเดียวกันทั้งหมด คือมีทั้งคนที่ชี้ข้อดี และข้อเสีย ก็น่าเป็นผลดีที่ทำให้เกิดความตื่นตัวต่อแวดวงคนอ่าน จะได้ไม่ซบเซาเหงาหงอยเกินไป

    ส่วนความเห็น ไม่ว่าจะฝั่งไหน ก็ไม่ได้ลดทอนคุณค่าหรือสาระที่มีอยู่ในหนังสือเล่มใดให้มากขึ้น หรือลดลง เนื่องจากความเห็นยังไม่เที่ยงแท้และไม่ใช่ความจริง ด้วยขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมมากมายในแต่ละบุคคล ไม่ได้หมายความว่าความเห็นของคนที่ชอบจะต้องถูก หรือความเห็นของคนที่ไม่ชอบจะต้องผิด

    แม้แต่ความเห็นของเราเองยังเชื่อใจไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ไม่แน่ว่ากาลเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่งในวันข้างหน้า ที่เราเติบโตขึ้นต่างไปจากความรู้สึกในปัจจุบัน มุมมองความเห็นเราอาจกลายเป็นตรงข้ามกับตัวเองในตอนนี้ก็ยังได้ นั่นต่างหากคือความจริง

    #ภาพวาดปริศนากับการตามหาฆาตกร
    สนพ.Prism
    ฉบับพิมพ์ครั้ง4 ม.ค.2567
    อุเก็ตสึ เขียน
    ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล
    335 บาท 274 หน้า

    เนื้อหาอย่างคร่าว

    เริ่มต้นบทนำด้วยหญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้ศึกษามาทางด้านจิตวิเคราะห์ นำภาพวาดของเด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เคยเป็นคนในความดูแลของตนช่วงเวลาหนึ่งมาฉายให้นักศึกษาที่เข้าฟังบรรยายชม และบอกว่าเด็กหญิงฆ่าแม่ตัวเองตาย เธออธิบายความหมายเบื้องหลังภาพนั้น ก่อนจะลงท้ายว่าเด็กหญิงเคยถูกแม่ทารุณกรรม แต่มีแนวโน้มพอจะเยียวยาได้ ปัจจุบันมีข่าวว่าเธอเป็นแม่คนแล้ว

    บทที่1ภาพวาดผู้หญิงยืนกลางสายลม

    เข้าสู่เรื่องราวของความแปลกด้วยการที่ นักศีกษาชมรมเรื่องลี้ลับชายคนหนึ่ง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดสนใจในการเข้าไปอ่านในบล็อก ที่ผู้เขียนไม่เปิดเผยตัวตน แต่พิมพ์เล่าเรื่องราวในชีวิตตนเองคล้ายไดอารีให้คนที่เข้ามาอ่านทราบความเป็นไปของเขา ซึ่งมีอะไรที่ชวนฉงน อีกทั้งเจ้าของบล็อกลงรูปภาพหลายภาพ ที่ชวนให้รู้สึกว่าเรื่องราวที่เขาเล่ามีอะไรที่ไม่ปกติซ่อนเร้นอยู่ ยิ่งสุดท้ายมีการระบุว่าเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นกับคนในครอบครัว และจะไม่อัปบล็อกอีกต่อไป เนื้อหาเหล่านั้นจึงค้างคาในใจของรุ่นน้อง แล้วพลอยส่งต่อความรู้สึกมายังรุ่นพี่ให้อยากรู้ตาม จนนอนไม่หลับ ใคร่จะไขปริศนาให้จงได้ จบตอน

    บทที่2 ภาพวาดหมอกปกคลุมห้อง

    กล่าวถึงหญิงคนหนึ่งที่ถูกเรียกหาว่า หม่าม้า จากลูกชายวัย 6 ขวบ ทั้งคู่อาศัยอยู่ด้วยกันตามลำพังในแมนชั่นแห่งหนึ่ง แม่ทำงานเป็นพนักงานในซูเปอร์มาร์เก็ต ลูกชายนั้นเรียนที่โรงเรียนใกล้ที่พัก ระยะนี้คนเป็นแม่รู้สึกได้ว่าถูกใครสักคนลอบดูและแอบติดตามขณะเธอและลูกออกนอกแมนชั่น โดยเฉพาะช่วงเวลากลับจากรับลูกที่โรงเรียน จนมีความเครียดและกังวล ในขณะคุณครูที่ดูแลเด็กนักเรียนห้องที่ลูกชายของเธอเรียนอยู่นั้น ก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาพวาดของเขามาหารือ เป็นภาพที่มีหัวข้อเกี่ยวกับแม่ แต่มีอะไรบางอย่างในภาพนั้นที่รบกวนใจของครูอย่างแปลกประหลาด จนภายหลังเมื่อค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์คำพูดของเพื่อนครูคนอื่น รวมถึงคำบอกเล่าของเด็กหญิงที่เป็นเพื่อนสนิทกันของเด็กชาย ดูเหมือนจะมีความลับที่น่าตกใจซ่อนอยู่ เกี่ยวกับแม่ลูกคู่นี้

    บทที่3 ภาพวาดในวาระสุดท้ายของครูสอนศิลปะ

    ครูหนุ่มใหญ่ซึ่งสอนในชมรมศิลปะของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นคนค่อนข้างตรง และอุปนิสัยแข็งกร้าว เขามีน้ำใจชอบช่วยลูกศิษย์ และกับเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันในอดีต ชื่นชอบการวาดรูปกับปีนเขา เรื่องเกิดขึ้นในวันหนึ่งที่เขาขึ้นไปวาดรูปบนยอดเขาแล้วถูกพบเป็นศพในวันต่อมา สภาพศพน่าอเนจอนาถ คดีนี้มีผู้ได้รับการสอบถามจากนักข่าว 4 รายคือพนักงานที่คอยดูแลตรวจตราสภาพของภูเขา ,เมียผู้ตาย ซึ่งมีลูกชายวัยประถม ,เพื่อนสมัยเป็นนักศึกษาที่ปัจจุบันทำงานพิเศษเป็นครูอยู่โรงเรียนเดียวกับผู้ตาย และนักเรียนชมรมศิลปะที่ผู้ตายสอน แต่ตำรวจไม่สามารถจับคนร้าย ต่อมาหนุ่มนักศึกษาที่เคยเป็นลูกศิษย์ของผู้ตาย ที่หลังจบม.ปลายได้เข้าทำงานกับบริษัทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขารักครูผู้ตายที่เคยช่วยเหลือตนสมัยเรียน จึงอยากสืบหาความจริง จากเบาะแสภาพวาดที่ทิ้งไว้ก่อนเสียชีวิต ทว่าเรื่องราวช่างซับซ้อนซ่อนกล และแฝงไว้ซึ่งความจริงอันน่าตื่นตระหนก

    บทที่4 ภาพวาดต้นไม้ปกป้องนกกระจอกชวา

    บทสุดท้ายที่จะขมวดทุกเหตุการณ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเข้าสู่เรื่องยาวของชีวิต ๆ หนึ่ง ที่ย้อนกลับสู่บทนำในภาพแรกที่นักจิตวิเคราะห์ได้นำเสนอ โดยเล่าถึงชีวิตที่น่าสงสารและเห็นใจของเด็กหญิงที่บอกเล่าที่มาซึ่งทำให้เธอกลายเป็นฆาตกรฆ่าแม่ และเรื่องราวหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่จะไปเชื่อมต่อกับเนื้อหาในบทที่ 1 2 3 ตามลำดับ เพื่อจะได้ทราบความจริงที่ถูกซ้อนทับด้วยคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตหลายคดีด้วยกัน ทั้งหมดล้วนมีต้อตอมาจากคนคนเดียว

    เป็นใคร และทำไม ไปตามต่อได้ในเล่มครับ

    🖋หลังอ่านจบ

    ชอบในความอ่านง่าย ยิ่งมีภาพประกอบสลับเป็นช่วง ทำให้ได้พักสายตา จะขอไม่กล่าวถึงในแง่ต่าง ๆ ที่ทั้งคนชอบและไม่ชอบต่างวิจารณ์กันไปเยอะแล้ว แต่อยากพูดถึงในแง่ว่า ผู้เขียนฉลาดนักในการตัดสินใจเล่าอย่างตรงไปตรงมา ไม่อธิบายบรรยายฉากหรือเรื่องที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์อย่างละเอียดมาก บางฉากถึงกับใช้วิธีที่ง่าย สั้น และตรง ๆ ทื่อ ๆ เลยด้วยซ้ำ

    ซึ่งมันกลับได้ผล ทรงพลัง เมื่อเราได้จินตนาการไปตามตัวอักษรเหล่านั้น เช่น

    ปั้กกก

    แล้วก็
    ปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกก...

    แค่ตอนที่อ่านถึงตรงบรรทัดนี้ ความรู้สึกเวลาหลับตานึกถึงกิริยาที่ก่อให้เกิดเสียง กับอาการที่เกิดขึ้นอันเป็นผลลัพธ์ ก็ทำเอาใจคอไม่เป็นปกติแล้ว

    เสียงชนิดเดียวที่ดังต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีกชั่วระยะเวลาที่แม้นไม่นานนัก แต่น่าจะยาวนานที่สุดในชีวิตสำหรับความรู้สึกของผู้อยู่ในเหตุการณ์

    เพียงแค่ฉากนี้ฉากเดียว สามารถสื่อถึงความวิปริตผิดปกติของจิตใจคนคนนั้นได้อย่างชัดเจน เพราะแสดงให้เห็นถึงสภาพคนที่มีความเก็บกด อดกลั้น ย้ำคิดย้ำทำ กังวลและเครียด ไม่สามารถจะควบคุมหรือยับยั้งความคิดหรืออารมณ์ที่ผุดพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว พอปล่อยให้มันแสดงออกตามสบาย จึงล้นทะลักราวทำนบทลาย

    ซึ่งสังเกตได้ว่าไม่ได้ปรากฏขึ้นแค่เฉพาะฉากนี้เท่านั้น

    นี่คือความน่ากลัว และน่าขนลุกอย่างแท้จริง

    อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสังคมไทยในปัจจุบัน เด็กหญิงชายจำนวนมากมาย ที่เติบโตขึ้นมาอย่างผู้ถูกกระทำจากคนใกล้ชิดในครอบครัว แม้บางส่วนถูกช่วยเหลือออกมาได้ และเข้าสู่ขั้นตอนช่วยเหลือเยียวยา

    ทว่า..เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของเด็ก ๆ ได้รับการสะสางชำระล้างไปจนหมดสิ้น แล้วจะไม่กลายร่างเป็นดังเช่นคนร้ายที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้

    เด็กทั้งหลาย เขาได้เติบโตขึ้นมาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม โดยที่เหมือนมีระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่ในตัว รอวันที่จะถูกสิ่งใดมากระตุ้นโดนจุดอ่อนนั้นให้เกิดเป็นเรื่องราวบทใหม่หรือไม่

    เป็นไปได้ว่าสักวันเหยื่อเหมือนในหนังสือเล่มนี้ อาจเป็นใครบางคนที่เรารักหรือรักเรา แม้กระทั่งตัวเราเองก็เป็นได้ ใครจะรู้?!

    #บทความ
    #บทวิจารณ์
    #หนังสือน่าอ่าน
    #ฆาตกรรม
    #จิตวิทยา
    #หนังสือแปล
    #นิยายแปล
    #ความรุนแรงในครอบครีว
    #พ่อแม่รังแกฉัน
    #ปริศนา
    #ภาพวาด
    #thaitimes
    #อุเก็ตสึ
    วิเคราะห์หนังสือในมือ เล่มล่าสุดที่เพิ่งอ่านจบครับ เป็นหนังสือที่เพิ่งเห็นในห้องสมุดไม่นานนี้ ก่อนหน้าได้เคยอ่านบ้านวิกลคนประหลาดเล่มแรกไปเมื่อหลายเดือนก่อน รู้สึกว่าผลงานนักเขียนคนนี้จะค่อนข้างมีกระแสแรงทั้งสองด้าน คนที่ชอบก็จะชอบมาก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็ไม่ชอบมากถึงขั้นเกลียดก็มี ที่จะอยู่ตรงกลางไม่ค่อยเห็น ผมสนใจอ่านผลงานของเขาด้วยเหตุผล 2 ประการ 1. อยากอ่านจริง ๆ เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกทั้งการนำเสนอที่มีอะไรให้เล่นสนุกได้นอกเหนือไปจากตัวอักษรล้วน ปกติชอบหนังสือประเภทมีภาพประกอบให้ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์อยู่แล้ว 2 อยากทราบว่าทำไมผลงานของเขาถึงก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงการนักอ่านได้อย่างรุนแรงชนิดที่เป็นขั้วตรงข้ามขนาดนั้น อ่านแล้วได้ข้อสรุปกับตัวเองคือ ผมชอบนะ แต่ไม่ได้ถึงขนาดชอบมาก ชอบในการสร้างสรรค์งานเขียนที่สร้างจุดแปลกให้แตกต่าง อาจจะไม่ได้เป็นครั้งแรก คนแรก ที่ใช้กลวิธีนำเสนอภาพกับเนื้อหาให้สอดคล้องกันไปกับเรื่องที่ต้องการเล่า ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้คนเขียนได้ออกกำลังทางความคิด ไปจนถึงความขัดแย้งทางความเห็นได้มากกว่างานเขียนอื่นที่ปรากฏสู่สายตานักอ่านในช่วงเดียวกันในเมืองไทย ไม่ว่าอ่านแล้ว จะมีทั้งคนชอบหรือคนไม่ชอบ ไปจนถึงรักหรือเกลียดในผลงาน หรืออาจพาไปถึงเกลียดคนเขียนด้วยหรือไม่นั้น ผมถือว่าเขาทำสำเร็จแล้วในแง่ของนักเขียนผู้สร้างปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการ อย่างน้อยที่สุดการที่ได้มีการโต้แย้งทางความเห็นที่ไม่ไหลไปในทางเดียวกันทั้งหมด คือมีทั้งคนที่ชี้ข้อดี และข้อเสีย ก็น่าเป็นผลดีที่ทำให้เกิดความตื่นตัวต่อแวดวงคนอ่าน จะได้ไม่ซบเซาเหงาหงอยเกินไป ส่วนความเห็น ไม่ว่าจะฝั่งไหน ก็ไม่ได้ลดทอนคุณค่าหรือสาระที่มีอยู่ในหนังสือเล่มใดให้มากขึ้น หรือลดลง เนื่องจากความเห็นยังไม่เที่ยงแท้และไม่ใช่ความจริง ด้วยขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมมากมายในแต่ละบุคคล ไม่ได้หมายความว่าความเห็นของคนที่ชอบจะต้องถูก หรือความเห็นของคนที่ไม่ชอบจะต้องผิด แม้แต่ความเห็นของเราเองยังเชื่อใจไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ไม่แน่ว่ากาลเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่งในวันข้างหน้า ที่เราเติบโตขึ้นต่างไปจากความรู้สึกในปัจจุบัน มุมมองความเห็นเราอาจกลายเป็นตรงข้ามกับตัวเองในตอนนี้ก็ยังได้ นั่นต่างหากคือความจริง #ภาพวาดปริศนากับการตามหาฆาตกร สนพ.Prism ฉบับพิมพ์ครั้ง4 ม.ค.2567 อุเก็ตสึ เขียน ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล 335 บาท 274 หน้า เนื้อหาอย่างคร่าว เริ่มต้นบทนำด้วยหญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้ศึกษามาทางด้านจิตวิเคราะห์ นำภาพวาดของเด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เคยเป็นคนในความดูแลของตนช่วงเวลาหนึ่งมาฉายให้นักศึกษาที่เข้าฟังบรรยายชม และบอกว่าเด็กหญิงฆ่าแม่ตัวเองตาย เธออธิบายความหมายเบื้องหลังภาพนั้น ก่อนจะลงท้ายว่าเด็กหญิงเคยถูกแม่ทารุณกรรม แต่มีแนวโน้มพอจะเยียวยาได้ ปัจจุบันมีข่าวว่าเธอเป็นแม่คนแล้ว บทที่1ภาพวาดผู้หญิงยืนกลางสายลม เข้าสู่เรื่องราวของความแปลกด้วยการที่ นักศีกษาชมรมเรื่องลี้ลับชายคนหนึ่ง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดสนใจในการเข้าไปอ่านในบล็อก ที่ผู้เขียนไม่เปิดเผยตัวตน แต่พิมพ์เล่าเรื่องราวในชีวิตตนเองคล้ายไดอารีให้คนที่เข้ามาอ่านทราบความเป็นไปของเขา ซึ่งมีอะไรที่ชวนฉงน อีกทั้งเจ้าของบล็อกลงรูปภาพหลายภาพ ที่ชวนให้รู้สึกว่าเรื่องราวที่เขาเล่ามีอะไรที่ไม่ปกติซ่อนเร้นอยู่ ยิ่งสุดท้ายมีการระบุว่าเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นกับคนในครอบครัว และจะไม่อัปบล็อกอีกต่อไป เนื้อหาเหล่านั้นจึงค้างคาในใจของรุ่นน้อง แล้วพลอยส่งต่อความรู้สึกมายังรุ่นพี่ให้อยากรู้ตาม จนนอนไม่หลับ ใคร่จะไขปริศนาให้จงได้ จบตอน บทที่2 ภาพวาดหมอกปกคลุมห้อง กล่าวถึงหญิงคนหนึ่งที่ถูกเรียกหาว่า หม่าม้า จากลูกชายวัย 6 ขวบ ทั้งคู่อาศัยอยู่ด้วยกันตามลำพังในแมนชั่นแห่งหนึ่ง แม่ทำงานเป็นพนักงานในซูเปอร์มาร์เก็ต ลูกชายนั้นเรียนที่โรงเรียนใกล้ที่พัก ระยะนี้คนเป็นแม่รู้สึกได้ว่าถูกใครสักคนลอบดูและแอบติดตามขณะเธอและลูกออกนอกแมนชั่น โดยเฉพาะช่วงเวลากลับจากรับลูกที่โรงเรียน จนมีความเครียดและกังวล ในขณะคุณครูที่ดูแลเด็กนักเรียนห้องที่ลูกชายของเธอเรียนอยู่นั้น ก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาพวาดของเขามาหารือ เป็นภาพที่มีหัวข้อเกี่ยวกับแม่ แต่มีอะไรบางอย่างในภาพนั้นที่รบกวนใจของครูอย่างแปลกประหลาด จนภายหลังเมื่อค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์คำพูดของเพื่อนครูคนอื่น รวมถึงคำบอกเล่าของเด็กหญิงที่เป็นเพื่อนสนิทกันของเด็กชาย ดูเหมือนจะมีความลับที่น่าตกใจซ่อนอยู่ เกี่ยวกับแม่ลูกคู่นี้ บทที่3 ภาพวาดในวาระสุดท้ายของครูสอนศิลปะ ครูหนุ่มใหญ่ซึ่งสอนในชมรมศิลปะของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นคนค่อนข้างตรง และอุปนิสัยแข็งกร้าว เขามีน้ำใจชอบช่วยลูกศิษย์ และกับเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันในอดีต ชื่นชอบการวาดรูปกับปีนเขา เรื่องเกิดขึ้นในวันหนึ่งที่เขาขึ้นไปวาดรูปบนยอดเขาแล้วถูกพบเป็นศพในวันต่อมา สภาพศพน่าอเนจอนาถ คดีนี้มีผู้ได้รับการสอบถามจากนักข่าว 4 รายคือพนักงานที่คอยดูแลตรวจตราสภาพของภูเขา ,เมียผู้ตาย ซึ่งมีลูกชายวัยประถม ,เพื่อนสมัยเป็นนักศึกษาที่ปัจจุบันทำงานพิเศษเป็นครูอยู่โรงเรียนเดียวกับผู้ตาย และนักเรียนชมรมศิลปะที่ผู้ตายสอน แต่ตำรวจไม่สามารถจับคนร้าย ต่อมาหนุ่มนักศึกษาที่เคยเป็นลูกศิษย์ของผู้ตาย ที่หลังจบม.ปลายได้เข้าทำงานกับบริษัทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขารักครูผู้ตายที่เคยช่วยเหลือตนสมัยเรียน จึงอยากสืบหาความจริง จากเบาะแสภาพวาดที่ทิ้งไว้ก่อนเสียชีวิต ทว่าเรื่องราวช่างซับซ้อนซ่อนกล และแฝงไว้ซึ่งความจริงอันน่าตื่นตระหนก บทที่4 ภาพวาดต้นไม้ปกป้องนกกระจอกชวา บทสุดท้ายที่จะขมวดทุกเหตุการณ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเข้าสู่เรื่องยาวของชีวิต ๆ หนึ่ง ที่ย้อนกลับสู่บทนำในภาพแรกที่นักจิตวิเคราะห์ได้นำเสนอ โดยเล่าถึงชีวิตที่น่าสงสารและเห็นใจของเด็กหญิงที่บอกเล่าที่มาซึ่งทำให้เธอกลายเป็นฆาตกรฆ่าแม่ และเรื่องราวหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่จะไปเชื่อมต่อกับเนื้อหาในบทที่ 1 2 3 ตามลำดับ เพื่อจะได้ทราบความจริงที่ถูกซ้อนทับด้วยคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตหลายคดีด้วยกัน ทั้งหมดล้วนมีต้อตอมาจากคนคนเดียว เป็นใคร และทำไม ไปตามต่อได้ในเล่มครับ 🖋หลังอ่านจบ ชอบในความอ่านง่าย ยิ่งมีภาพประกอบสลับเป็นช่วง ทำให้ได้พักสายตา จะขอไม่กล่าวถึงในแง่ต่าง ๆ ที่ทั้งคนชอบและไม่ชอบต่างวิจารณ์กันไปเยอะแล้ว แต่อยากพูดถึงในแง่ว่า ผู้เขียนฉลาดนักในการตัดสินใจเล่าอย่างตรงไปตรงมา ไม่อธิบายบรรยายฉากหรือเรื่องที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์อย่างละเอียดมาก บางฉากถึงกับใช้วิธีที่ง่าย สั้น และตรง ๆ ทื่อ ๆ เลยด้วยซ้ำ ซึ่งมันกลับได้ผล ทรงพลัง เมื่อเราได้จินตนาการไปตามตัวอักษรเหล่านั้น เช่น ปั้กกก แล้วก็ ปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกก... แค่ตอนที่อ่านถึงตรงบรรทัดนี้ ความรู้สึกเวลาหลับตานึกถึงกิริยาที่ก่อให้เกิดเสียง กับอาการที่เกิดขึ้นอันเป็นผลลัพธ์ ก็ทำเอาใจคอไม่เป็นปกติแล้ว เสียงชนิดเดียวที่ดังต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีกชั่วระยะเวลาที่แม้นไม่นานนัก แต่น่าจะยาวนานที่สุดในชีวิตสำหรับความรู้สึกของผู้อยู่ในเหตุการณ์ เพียงแค่ฉากนี้ฉากเดียว สามารถสื่อถึงความวิปริตผิดปกติของจิตใจคนคนนั้นได้อย่างชัดเจน เพราะแสดงให้เห็นถึงสภาพคนที่มีความเก็บกด อดกลั้น ย้ำคิดย้ำทำ กังวลและเครียด ไม่สามารถจะควบคุมหรือยับยั้งความคิดหรืออารมณ์ที่ผุดพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว พอปล่อยให้มันแสดงออกตามสบาย จึงล้นทะลักราวทำนบทลาย ซึ่งสังเกตได้ว่าไม่ได้ปรากฏขึ้นแค่เฉพาะฉากนี้เท่านั้น นี่คือความน่ากลัว และน่าขนลุกอย่างแท้จริง อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสังคมไทยในปัจจุบัน เด็กหญิงชายจำนวนมากมาย ที่เติบโตขึ้นมาอย่างผู้ถูกกระทำจากคนใกล้ชิดในครอบครัว แม้บางส่วนถูกช่วยเหลือออกมาได้ และเข้าสู่ขั้นตอนช่วยเหลือเยียวยา ทว่า..เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของเด็ก ๆ ได้รับการสะสางชำระล้างไปจนหมดสิ้น แล้วจะไม่กลายร่างเป็นดังเช่นคนร้ายที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ เด็กทั้งหลาย เขาได้เติบโตขึ้นมาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม โดยที่เหมือนมีระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่ในตัว รอวันที่จะถูกสิ่งใดมากระตุ้นโดนจุดอ่อนนั้นให้เกิดเป็นเรื่องราวบทใหม่หรือไม่ เป็นไปได้ว่าสักวันเหยื่อเหมือนในหนังสือเล่มนี้ อาจเป็นใครบางคนที่เรารักหรือรักเรา แม้กระทั่งตัวเราเองก็เป็นได้ ใครจะรู้?! #บทความ #บทวิจารณ์ #หนังสือน่าอ่าน #ฆาตกรรม #จิตวิทยา #หนังสือแปล #นิยายแปล #ความรุนแรงในครอบครีว #พ่อแม่รังแกฉัน #ปริศนา #ภาพวาด #thaitimes #อุเก็ตสึ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1418 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตอนสิบห้า……พี่ปูเค้าเหมือนมีสิบมือ…รับได้หมดทุกงาน……ติ่งว่ามะ………!!!!!!!

    หลังจากที่ปูตินได้กล่าวแสดงความเสียใจกับโศกนาฏกรรมที่ ได้เกิดขึ้นที่ Beslan ในวันที่ 4 กันยายน (2004)

    ค่ำคืนของวันที่ 5 Viktor Yushchenko ตัวเต็งในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดียูเครนได้เดินทางไปแบบอำพรางตัว
    ไปนัดเจรจากับ นายพล Igor Smeshko ผู้อำนวยการ SBU
    (เทียบเท่ากับ FSB ของรัสเซีย)
    เจ้าภาพที่เป็นทั้งเชฟเตรียมอาหาร คือ รองผู้อำนวยการ SBU
    Volodymyr Satsyuk ที่มีเมนูคือ สลัดกุ้ง พร้อม เบียร์ วอดก้า คอนยัค
    ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย วิตเตอร์กลับถึงบ้านเวลาตีสองของวันต่อมา
    พอสายๆ……เขารู้สึกตัวว่าไม่สบาย ปวดหัวปานระเบิด ไล่ลงมาถึงไขสันหลัง หน้าตาหล่อๆของเขาเริ่มเปลี่ยนสี และมีตุ่มขึ้นเหมือนฝีดาษไปทั่วไปหน้า เจ็บปวดไปทั้งตัว
    วิคเตอร์รู้ได้ทันทีว่าเขาโดนยาพิษ จึงรีบบินไปออสเตรีย ในวันที่ 10 เพื่อเข้ารับการรักษา
    ซึ่งยืนยันแน่นอนว่า เขาได้รับสาร Dioxin เข้าไปเป็นจำนวนมาก จากอาหารอย่างแน่นอน

    การเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม ที่ประชาชนล้วนแต่อยากจะเปลี่ยนประธานาธิบดีเต็มที่ เพราะนาย Leonid Kuchma ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งมานานนับสิบปี เพราะตั้งแต่ 1994 ที่ได้รับเลือกมาเพื่อที่จะจัดระเบียบให้กับยูเครนที่ถือว่าเป็นประเทศใหม่เอี่ยม
    แต่ที่ไหนได้……ยูเครนได้กลายมาเป็นแหล่งคอร์รัปชั่นที่ใหญ่ที่สุด ตามมาด้วย อาชญากรรม และ การค้าของเถื่อน
    ยูเครนเป็นพื้นที่ที่ใหญ่เป็นที่สองของโซเวียต เป็นแหล่งเพาะปลูก แหล่งอุตสาหกรรม ที่บอบช้ำมาตั้งแต่สมัยสตาลิน
    เพราะเพียงแค่แสดงความจำนงค์ว่าอยากจะเป็นเอกเทศเพียงเบาๆ
    สตาลินได้สั่งสอนด้วยวิธียึดอาหารออกไปจากพื้นที่ทั้งหมด จนเกิดเป็นการล้างเผ่าพันธุ์ด้วยวิธีให้อดตาย (Holodomor)
    พอสงครามโลกครั้งที่สอง ยูเครนก็คือสนามรบหน้าด่านในการต้านนาซี ที่สูญเสียทหารไปกว่าสามล้านนาย (หนึ่งในหกของประชากร)
    นี่คือ……ความเจ็บฝังใจของชาวยูเครน

    แต่……นั่นก็คือส่วนหนึ่ง เพราะในพื้นที่ตามภูมิศาสตร์พร้อมประวัติศาสตร์แล้ว ยูเครนก็คือสลาพเผ่าพันธุ์เดียวกันกับรัสเซีย ที่ประชาชนยังถือเป็นพี่เป็นน้องกัน ฝั่งที่ใกล้กับรัสเซียก็ยังสวามิภักดิ์กับรัสเซีย
    ส่วนยูเครเนี่ยนสมัยประชาธิปไตยเบิกบาน ก็มองไกลไปถึงตะวันตก และ ยิ่งเห็นเพื่อนบ้านอย่าง Lithuania, Latvia, Estonia เดินตบแถวเข้าเป็นสมาชิกนาโต้
    และได้เป็นสมาชิกอียูที่แสนโก้หรูอีกเล่า………
    นั่นน่าจะเป็นอนาคตที่สดใสกว่า……ดีไม่ดี……สักวันหนึ่งอาจจะล้มช้างอย่างรัสเซียได้ด้วย

    ประธานาธิบดี Kuchma รู้ดีว่าการเมืองของยูเครนมีทั้งสองฝั่ง
    เขาจึงพยายามเหยียบไว้ทั้งสองแคม เอาใจรัสเซีย และ เป็นมิตรกับนาโต้ ถึงขนาดส่งทหารไปช่วยรบในอิรัค เพื่อล้มล้างซัดดัม ฮุดเซน
    แต่คุชมา……ทำได้แค่หันไปทางทิศทางลม เขาไม่มีความมุ่งมั่นและความสามารถในการที่ควบคุมคน
    ดังนั้น รัฐบาลของคุชมา จึงกลายเป็นสนามเล่นของเหล่ามาเฟียการเมืองที่เข้ามากอบโกยแบบแบ่งกันกิน แบ่งกันใช้

    ดังนั้น จากฐานทางการเมืองที่อ่อนยวบยาบ ประชาธิปไตยที่ยูเครนอยากได้ จึงแทบเป็นไปไม่ได้ ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งเข้ามา
    ฝ่ายตรงข้ามได้ตีกระหน่ำในเรื่องคดีฆาตกรรมนักข่าวคนสำคัญ Georgy Gongadez ที่ถูกอุ้มฆ่าเพราะตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล เป็นการฆาตกรรมที่มีหลักฐานทิ้งไว้ให้สาวถึงตัวได้มากมาย
    ถึงแม้ว่าคุชมาจะปฎิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ความนิยมของเขาได้ลดลงฮวบฮาบ
    ทุกคนได้เกรงว่า……เขาอาจเปลี่ยนรัฐธรรมนูญหาช่องว่างเพื่อที่จะนั่งในตำแหน่งต่อไป
    การเมืองยูเครนในช่วงนั้น จึงต้องเล่นงานประธานาธิบดีคุชมาแบบถาโถมในทุกเม็ด……จนเขาขยับตัวทำอะไรอื่นไม่ได้
    นอกจากที่จะต้องยอมรับสภาพ……

    ปูตินเฝ้าดูการเป็นไปของยูเครนอย่างใกล้ชิด และไม่ใช่ยูเครนอย่างเดียว เขาได้เกาะติดกับการเมืองที่ Georgia ด้วย
    Georgia เป็นประเทศที่แตกออกไปจากการล่มสลายของโซเวียต (1991) อยู่ทางชายคอเคซัส ที่มีประชากรเพียงห้าล้านคน Eduard Shevardnadze
    เป็นประธานาธิบดี ที่เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของโซเวียตมาก่อน เขาเป็นหนึ่งในคนสนิทของกอร์บาเชฟ ที่กว่าจะมาเป็นประธานาธิบดีได้ ในปี 1995 ก็ผ่านการลอบสังหารมาถึงสามครั้ง
    ประธานาธิบดี เอดวารด์ กำลังจะหมดวาระในปี 2003
    เดือนพฤศจิกายน มีการก่อหวอดต่อต้าน (ด้วยเกรงว่าจะมีการสืบทอดอำนาจจากรัสเซีย) กลุ่มผู้ต่อต้านออกมาเนืองแน่นบนท้องถนน
    และบุกเข้าไปในสถานที่ราชการ นำโดย Mikhail Saakashvili
    (ที่มี George Soros สนับสนุนทุนอยู่เบื้องหลัง)
    เอดวารด์ ได้โทรหาปูตินเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งปูตินได้ส่ง
    ให้ Igor Ivanov บินไปที่เมืองหลวง Tbilisi เพื่อไปดูไม่ให้เกิดเป็นสงครามกลางเมือง
    แต่……ปูตินไม่ต้องการโศกนาฏกรรมติดๆกันหลายรายการจนเกินไป เขาจึงสั่งให้แค่สังเกตุการณ์อย่างใกล้ชิด
    ในที่สุด……เอดวารด์ จึงยอมลาออกเพื่อรักษาความสงบ

    ในเดือนมกราคม 2004 จอร์เจียจึงมีประธานาธิบดีคนใหม่ คือ Mikhail Saakashvili ที่คิดว่าตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตยที่ใหญ่คับฟ้า สิ่งแรกที่เขาทำคือ บินไปมอสโคว์เพื่อที่จะเจรจาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเมืองกับปูติน
    ซึ่ง……เขาไม่รู้เลยว่า ทางรัสเซียได้จัดอันดับ จอร์เจีย เทียบเท่ากับยูเครน
    อันดับนั้นคือ……พวกสวามิภักดิ์ตะวันตก

    แต่ปูตินไม่ได้เห็นว่า จอร์เจียเป็นสิ่งที่กังวล(ในตอนนั้น) เพราะเขาพุ่งเป้าไปที่ยูเครนมากกว่า เพราะยูเครนเป็นพื้นที่ที่ก่อเกิดของเลือดเนื้อรัสเซียในปัจจุบัน เมื่อครั้งสมัย Vladimir the Great ที่รับศาสนาคริสเตียนเข้ามาในปี 988
    ซาร์วลาดิเมียร์ ได้ตั้งชื่อดินแดนส่วนนี้ว่า Ukraine ที่แปลว่า
    ขอบเขตแดน
    ขอบเขตแดนนี้ได้เปลี่ยนไปมาตามสถานการณ์โลก โปแลนด์เคยล้ำเข้ามาในสมัย Austro-Hungarian , สตาลินได้นำกลับคืนในการทำสนธิสัญญากับฮิตเลอร์ (1939) และยูเครนก็คือส่วนหนึ่งของโซเวียต (Ukraine Soviet Socialist) เป็นเช่นนั้นจน ประธานาธิบดี ครุสเชพ ได้มอบดินแดนเพิ่มให้ คือ ไครเมีย
    ในปี 1954
    ไม่มีใครเคยคาดคิดว่า……สักวันหนึ่ง ยูเครน พร้อมด้วยไครเมียจะหลุดลอยไปจากความเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย

    ในเดือน กรกฎาคม 2004 สามเดือนก่อนที่ยูเครนจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี
    ปูตินได้บินไปที่Yalta (ไครเมีย) เพื่อพบปะกับ Kuchma (ประธานาธิบดี) และ Viktor Yanukovych (นายกรัฐมนตรี)
    ที่พระราชวัง Livadia (ที่เคยเป็นที่พบปะ ระหว่าง เชอร์ชิลล์,
    สตาลิน และ รูสเวลส์)
    ปูตินได้เตือนและกดดันให้คุชมาเลิกทำตัวสอพลอกับพวกตะวันตก โดยเฉพาะกับ NATO ที่ค่อยๆก้าวล่วงเข้ามาทุกที จากที่เป็นชาติสมาชิก 19 ตอนนี้มาเป็น 26 นอกจากจะเก็บกลุ่มยุโรปตะวันออกแล้ว ยังคืบมากวาดเอาฝั่งบอลติกไปด้วย
    ที่ปูตินคิดว่า……น่าจะหยุดได้เพียงแค่นั้น……แต่นี่กำลังมุ่งหน้ามาที่จอร์เจียและยูเครน….ที่เขาจะจะไม่ทนอีกต่อไป!!
    และถ้าจะหมายถึงสงคราม………เขาก็ยินดี………!!!
    ปูตินยังย้ำเสมอว่า ในสัญญาของลูกผู้ชาย ที่กลุ่มนาโต้ได้บอกกับกอร์บาเชพในปี 1989 ว่า นาโต้จะไม่ก้าวคืบเข้าไปในอาณาจักรที่เป็นของโซเวียตแม้แต่คืบเดียว

    มันเป็นคำสั่งที่เป็นการตบหัวทิ่ม แต่ก็มีการลูบหลัง นั่นคือ
    รัสเซีย-ยูเครนจะตั้งบริษัทพลังงานขึ้นมา ชื่อว่า RosUkrEnergo ที่ไม่ชี้แจงชัดว่าใครคือเข้าของ แต่ Gazprom
    จะเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่ง เป็นเจ้าของโดยผ่านนอมินี
    คือ Raiffeisen International Bank (อยู่ที่ Switzerland)
    ในการดำเนินงานส่งก๊าสผ่านท่อไปขายที่ยุโรปผ่านยูเครน……

    เมื่อคุชมากำลังจะหมดสิ้นวาระ ตัวเต็ง Viktor Andriyovych Yushchenko (จะเรียกว่า VAY เขาเป็นฝ่ายโปรตะวันตก) ก็มาโดนยาพิษที่เร่งทำการรักษากันแบบพลิกตำรา
    เขาได้ประกาศให้ทั่วโลกได้รับรู้ว่า เขาได้รับการประทุษร้ายจากฝ่ายตรงข้ามที่เป็นฝ่ายอำนาจเก่า นั่นคือ พุ่งตรงไปที่คุชมา
    การหาเสียงของเขา มีสัญญลักษณ์เป็น “สีส้ม” และมีฝ่ายทุนที่หนุนหลังคือ Yulia Tymoshenko อภิมหาเศรษฐีสาว เธอมีบทบาทเด่นในทางการเมืองของยูเครน ในการต่อสู้เพื่อตะวันตก โปรนาโต้ ทำหน้าที่หาเสียงอย่างแข็งขันให้กับ VAY ในขณะที่รักษาตัว
    ถ้าจะเทียบเธอ……ก็ใกล้เคียงกับเป็น อองซาน ซูจี แห่งยูเครน

    การเลือกตั้งใกล้เข้ามา ความนิยมในตัว VAY ได้เพิ่มขึ้น
    มันเป็นสัญญาณที่บอกกับปูตินว่า อิทธิพลของตะวันตกกำลังจะล้อมกรอบ บีบรัสเซียให้แคบเข้าไปทุกวัน
    ตั้งแต่โซเวียตล่มสลายไป กลุ่มทุนตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลในฝั่งตะวันออกหนาตาขึ้น โดยเฉพาะองค์กร NGO ที่ได้มีสาขาในทุกแห่งหน

    ทางรัสเซียได้หนุนหลัง Viktor Yanukovych ( Viktor Fedorovych Yanukovych นายกรัฐมนตรี จะใช้ชื่อย่อว่า VFY)
    ในการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย
    การหาเสียงเป็นไปอย่างดุเดือด เหมือนกับว่าประชาชนจะเลือก
    บุช หรือ ปูติน
    ปูตินได้ทำทีไปเยี่ยมเยียนถึงเคียฟ เพราะมีเด็กคนหนึ่ง ได้เขียนจดหมายว่า มีความฝันว่าอยากจะถ่ายรูปกับ Vladimir Vladimirovich……ชาตินี้จะมีโอกาสไหมหนอ?
    ผลคือ เด็กน้อย Andrei ได้ถูกเชิญไปที่ทำเนียบ ไปพบกับปูติน
    ที่ได้ยื่นของขวัญเป็นแลปท๊อปให้ด้วยสีหน้าชื่นมื่น

    การหาเสียงเป็นไปอย่างดุเดือดและสูสี ปูตินบินไปเคียฟบ่อยกว่าปรกติ
    ผลออกมาคือ VFY (โปรรัสเซีย) ได้ 49% และ VAY (โปรตะวันตก) ได้ 46%
    แต่.……ความไม่สงบได้ก่อตัวขึ้น ฝ่ายสีส้มได้ทำการต่อต้านในทุกรูปแบบ มีการนัดชุมนุมที่เข้าขั้นปฏิวัติ ถนนได้เปลี่ยนเป็นทะเลสีส้มแสบตาไปทั้งเมือง
    กลุ่มต่อต้านไม่ยอมรับคะแนนเลือกตั้ง
    ปูตินบินกลับจากจากอเมริกาใต้ เข้าสู่กรุงบลัสเซลส์โดยด่วน เพื่อพบปะกับกลุ่มอียู……ที่ตัวแทนทุกคนได้ลงมติว่าการเลือกตั้งในยูเครนไม่โปร่งใส ……แต่ไม่สนใจที่จะให้มีการตรวจสอบ
    ความสัมพันธ์ทางการค้าพลังงานที่ปูตินพยายามที่จะประสานกับอียูนั้น เหลือริบหรี่…;
    เขาประกาศว่า……เราไม่เคยไปยุ่งกับเรื่องภายในของพวกอียู
    แต่ตอนนี้มันชัดเจนแล้วว่า……พวกคุณได้เข้ามาเสี้ยม แทรกแซงกับการเมืองในประเทศที่อยู่นอกระบบ เพื่อสร้างความร้าวฉานให้พวกเรา……!!

    สภายูเครนเริ่มเห็นแล้วว่าน่าจะรักษาความสงบไว้ไม่ได้
    จึงได้ลงมติให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
    VFY ได้หลบความวุ่นวายที่อาจนำไปสู่ความเป็นอันตรายต่อตัวเองไปอยู่ที่ Luhansk

    วันที่ 2 ธันวาคม ปูตินได้เรียกคุชมาเข้าไปพบที่มอสโคว์
    ก่อนที่ปูตินจะเดินทางอินเดียในไม่กี่ชั่วโมง เพื่อปรึกษาในเรื่องของการที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ ที่เขาเชื่อว่า ทางฝ่าย VAY น่าจะมาแรง และจะปล่อยไปตามนั้น เพราะไม่เช่นนั้นก็จะต้องมีม็อบชนม็อบ เลือกตั้งกันครั้งที่สาม ที่สี่ ไม่จบไม่สิ้น เสียเวลาเปล่าๆ……ปล่อยไปก่อน……เรายังมีเวลา!!

    ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น VAY ชนะด้วยคะแนน 52% ส่วน VFY 44%
    ที่มีการเฉลิมฉลองกันใหญ่โต
    ชาวสีส้มทุกคนต่างยินดีปรีดาที่จะได้เข้าไปสู่อ้อมอกของตะวันตก เป็นอารยะประเทศ มีที่นั่งในสภายูโรเปี้ยน และ เป็นหนึ่งสมาชิกนาโต้
    และที่สำคัญที่สุด…..คือ ได้เอาชนะปูติน………!!!

    ใครจะไปรู้เล่าว่า……นั่นคือเกมที่ปูตินจะลากมาสับทีละคนเมื่อถึงเวลา………!!

    Wiwanda W. Vichit
    ตอนสิบห้า……พี่ปูเค้าเหมือนมีสิบมือ…รับได้หมดทุกงาน……ติ่งว่ามะ………!!!!!!! หลังจากที่ปูตินได้กล่าวแสดงความเสียใจกับโศกนาฏกรรมที่ ได้เกิดขึ้นที่ Beslan ในวันที่ 4 กันยายน (2004) ค่ำคืนของวันที่ 5 Viktor Yushchenko ตัวเต็งในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดียูเครนได้เดินทางไปแบบอำพรางตัว ไปนัดเจรจากับ นายพล Igor Smeshko ผู้อำนวยการ SBU (เทียบเท่ากับ FSB ของรัสเซีย) เจ้าภาพที่เป็นทั้งเชฟเตรียมอาหาร คือ รองผู้อำนวยการ SBU Volodymyr Satsyuk ที่มีเมนูคือ สลัดกุ้ง พร้อม เบียร์ วอดก้า คอนยัค ทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อย วิตเตอร์กลับถึงบ้านเวลาตีสองของวันต่อมา พอสายๆ……เขารู้สึกตัวว่าไม่สบาย ปวดหัวปานระเบิด ไล่ลงมาถึงไขสันหลัง หน้าตาหล่อๆของเขาเริ่มเปลี่ยนสี และมีตุ่มขึ้นเหมือนฝีดาษไปทั่วไปหน้า เจ็บปวดไปทั้งตัว วิคเตอร์รู้ได้ทันทีว่าเขาโดนยาพิษ จึงรีบบินไปออสเตรีย ในวันที่ 10 เพื่อเข้ารับการรักษา ซึ่งยืนยันแน่นอนว่า เขาได้รับสาร Dioxin เข้าไปเป็นจำนวนมาก จากอาหารอย่างแน่นอน การเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคม ที่ประชาชนล้วนแต่อยากจะเปลี่ยนประธานาธิบดีเต็มที่ เพราะนาย Leonid Kuchma ได้นั่งอยู่ในตำแหน่งมานานนับสิบปี เพราะตั้งแต่ 1994 ที่ได้รับเลือกมาเพื่อที่จะจัดระเบียบให้กับยูเครนที่ถือว่าเป็นประเทศใหม่เอี่ยม แต่ที่ไหนได้……ยูเครนได้กลายมาเป็นแหล่งคอร์รัปชั่นที่ใหญ่ที่สุด ตามมาด้วย อาชญากรรม และ การค้าของเถื่อน ยูเครนเป็นพื้นที่ที่ใหญ่เป็นที่สองของโซเวียต เป็นแหล่งเพาะปลูก แหล่งอุตสาหกรรม ที่บอบช้ำมาตั้งแต่สมัยสตาลิน เพราะเพียงแค่แสดงความจำนงค์ว่าอยากจะเป็นเอกเทศเพียงเบาๆ สตาลินได้สั่งสอนด้วยวิธียึดอาหารออกไปจากพื้นที่ทั้งหมด จนเกิดเป็นการล้างเผ่าพันธุ์ด้วยวิธีให้อดตาย (Holodomor) พอสงครามโลกครั้งที่สอง ยูเครนก็คือสนามรบหน้าด่านในการต้านนาซี ที่สูญเสียทหารไปกว่าสามล้านนาย (หนึ่งในหกของประชากร) นี่คือ……ความเจ็บฝังใจของชาวยูเครน แต่……นั่นก็คือส่วนหนึ่ง เพราะในพื้นที่ตามภูมิศาสตร์พร้อมประวัติศาสตร์แล้ว ยูเครนก็คือสลาพเผ่าพันธุ์เดียวกันกับรัสเซีย ที่ประชาชนยังถือเป็นพี่เป็นน้องกัน ฝั่งที่ใกล้กับรัสเซียก็ยังสวามิภักดิ์กับรัสเซีย ส่วนยูเครเนี่ยนสมัยประชาธิปไตยเบิกบาน ก็มองไกลไปถึงตะวันตก และ ยิ่งเห็นเพื่อนบ้านอย่าง Lithuania, Latvia, Estonia เดินตบแถวเข้าเป็นสมาชิกนาโต้ และได้เป็นสมาชิกอียูที่แสนโก้หรูอีกเล่า……… นั่นน่าจะเป็นอนาคตที่สดใสกว่า……ดีไม่ดี……สักวันหนึ่งอาจจะล้มช้างอย่างรัสเซียได้ด้วย ประธานาธิบดี Kuchma รู้ดีว่าการเมืองของยูเครนมีทั้งสองฝั่ง เขาจึงพยายามเหยียบไว้ทั้งสองแคม เอาใจรัสเซีย และ เป็นมิตรกับนาโต้ ถึงขนาดส่งทหารไปช่วยรบในอิรัค เพื่อล้มล้างซัดดัม ฮุดเซน แต่คุชมา……ทำได้แค่หันไปทางทิศทางลม เขาไม่มีความมุ่งมั่นและความสามารถในการที่ควบคุมคน ดังนั้น รัฐบาลของคุชมา จึงกลายเป็นสนามเล่นของเหล่ามาเฟียการเมืองที่เข้ามากอบโกยแบบแบ่งกันกิน แบ่งกันใช้ ดังนั้น จากฐานทางการเมืองที่อ่อนยวบยาบ ประชาธิปไตยที่ยูเครนอยากได้ จึงแทบเป็นไปไม่ได้ ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งเข้ามา ฝ่ายตรงข้ามได้ตีกระหน่ำในเรื่องคดีฆาตกรรมนักข่าวคนสำคัญ Georgy Gongadez ที่ถูกอุ้มฆ่าเพราะตั้งตัวเป็นปรปักษ์กับรัฐบาล เป็นการฆาตกรรมที่มีหลักฐานทิ้งไว้ให้สาวถึงตัวได้มากมาย ถึงแม้ว่าคุชมาจะปฎิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ความนิยมของเขาได้ลดลงฮวบฮาบ ทุกคนได้เกรงว่า……เขาอาจเปลี่ยนรัฐธรรมนูญหาช่องว่างเพื่อที่จะนั่งในตำแหน่งต่อไป การเมืองยูเครนในช่วงนั้น จึงต้องเล่นงานประธานาธิบดีคุชมาแบบถาโถมในทุกเม็ด……จนเขาขยับตัวทำอะไรอื่นไม่ได้ นอกจากที่จะต้องยอมรับสภาพ…… ปูตินเฝ้าดูการเป็นไปของยูเครนอย่างใกล้ชิด และไม่ใช่ยูเครนอย่างเดียว เขาได้เกาะติดกับการเมืองที่ Georgia ด้วย Georgia เป็นประเทศที่แตกออกไปจากการล่มสลายของโซเวียต (1991) อยู่ทางชายคอเคซัส ที่มีประชากรเพียงห้าล้านคน Eduard Shevardnadze เป็นประธานาธิบดี ที่เคยเป็นอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของโซเวียตมาก่อน เขาเป็นหนึ่งในคนสนิทของกอร์บาเชฟ ที่กว่าจะมาเป็นประธานาธิบดีได้ ในปี 1995 ก็ผ่านการลอบสังหารมาถึงสามครั้ง ประธานาธิบดี เอดวารด์ กำลังจะหมดวาระในปี 2003 เดือนพฤศจิกายน มีการก่อหวอดต่อต้าน (ด้วยเกรงว่าจะมีการสืบทอดอำนาจจากรัสเซีย) กลุ่มผู้ต่อต้านออกมาเนืองแน่นบนท้องถนน และบุกเข้าไปในสถานที่ราชการ นำโดย Mikhail Saakashvili (ที่มี George Soros สนับสนุนทุนอยู่เบื้องหลัง) เอดวารด์ ได้โทรหาปูตินเพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งปูตินได้ส่ง ให้ Igor Ivanov บินไปที่เมืองหลวง Tbilisi เพื่อไปดูไม่ให้เกิดเป็นสงครามกลางเมือง แต่……ปูตินไม่ต้องการโศกนาฏกรรมติดๆกันหลายรายการจนเกินไป เขาจึงสั่งให้แค่สังเกตุการณ์อย่างใกล้ชิด ในที่สุด……เอดวารด์ จึงยอมลาออกเพื่อรักษาความสงบ ในเดือนมกราคม 2004 จอร์เจียจึงมีประธานาธิบดีคนใหม่ คือ Mikhail Saakashvili ที่คิดว่าตัวเองเป็นฝ่ายประชาธิปไตยที่ใหญ่คับฟ้า สิ่งแรกที่เขาทำคือ บินไปมอสโคว์เพื่อที่จะเจรจาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องการเมืองกับปูติน ซึ่ง……เขาไม่รู้เลยว่า ทางรัสเซียได้จัดอันดับ จอร์เจีย เทียบเท่ากับยูเครน อันดับนั้นคือ……พวกสวามิภักดิ์ตะวันตก แต่ปูตินไม่ได้เห็นว่า จอร์เจียเป็นสิ่งที่กังวล(ในตอนนั้น) เพราะเขาพุ่งเป้าไปที่ยูเครนมากกว่า เพราะยูเครนเป็นพื้นที่ที่ก่อเกิดของเลือดเนื้อรัสเซียในปัจจุบัน เมื่อครั้งสมัย Vladimir the Great ที่รับศาสนาคริสเตียนเข้ามาในปี 988 ซาร์วลาดิเมียร์ ได้ตั้งชื่อดินแดนส่วนนี้ว่า Ukraine ที่แปลว่า ขอบเขตแดน ขอบเขตแดนนี้ได้เปลี่ยนไปมาตามสถานการณ์โลก โปแลนด์เคยล้ำเข้ามาในสมัย Austro-Hungarian , สตาลินได้นำกลับคืนในการทำสนธิสัญญากับฮิตเลอร์ (1939) และยูเครนก็คือส่วนหนึ่งของโซเวียต (Ukraine Soviet Socialist) เป็นเช่นนั้นจน ประธานาธิบดี ครุสเชพ ได้มอบดินแดนเพิ่มให้ คือ ไครเมีย ในปี 1954 ไม่มีใครเคยคาดคิดว่า……สักวันหนึ่ง ยูเครน พร้อมด้วยไครเมียจะหลุดลอยไปจากความเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในเดือน กรกฎาคม 2004 สามเดือนก่อนที่ยูเครนจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปูตินได้บินไปที่Yalta (ไครเมีย) เพื่อพบปะกับ Kuchma (ประธานาธิบดี) และ Viktor Yanukovych (นายกรัฐมนตรี) ที่พระราชวัง Livadia (ที่เคยเป็นที่พบปะ ระหว่าง เชอร์ชิลล์, สตาลิน และ รูสเวลส์) ปูตินได้เตือนและกดดันให้คุชมาเลิกทำตัวสอพลอกับพวกตะวันตก โดยเฉพาะกับ NATO ที่ค่อยๆก้าวล่วงเข้ามาทุกที จากที่เป็นชาติสมาชิก 19 ตอนนี้มาเป็น 26 นอกจากจะเก็บกลุ่มยุโรปตะวันออกแล้ว ยังคืบมากวาดเอาฝั่งบอลติกไปด้วย ที่ปูตินคิดว่า……น่าจะหยุดได้เพียงแค่นั้น……แต่นี่กำลังมุ่งหน้ามาที่จอร์เจียและยูเครน….ที่เขาจะจะไม่ทนอีกต่อไป!! และถ้าจะหมายถึงสงคราม………เขาก็ยินดี………!!! ปูตินยังย้ำเสมอว่า ในสัญญาของลูกผู้ชาย ที่กลุ่มนาโต้ได้บอกกับกอร์บาเชพในปี 1989 ว่า นาโต้จะไม่ก้าวคืบเข้าไปในอาณาจักรที่เป็นของโซเวียตแม้แต่คืบเดียว มันเป็นคำสั่งที่เป็นการตบหัวทิ่ม แต่ก็มีการลูบหลัง นั่นคือ รัสเซีย-ยูเครนจะตั้งบริษัทพลังงานขึ้นมา ชื่อว่า RosUkrEnergo ที่ไม่ชี้แจงชัดว่าใครคือเข้าของ แต่ Gazprom จะเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่ง เป็นเจ้าของโดยผ่านนอมินี คือ Raiffeisen International Bank (อยู่ที่ Switzerland) ในการดำเนินงานส่งก๊าสผ่านท่อไปขายที่ยุโรปผ่านยูเครน…… เมื่อคุชมากำลังจะหมดสิ้นวาระ ตัวเต็ง Viktor Andriyovych Yushchenko (จะเรียกว่า VAY เขาเป็นฝ่ายโปรตะวันตก) ก็มาโดนยาพิษที่เร่งทำการรักษากันแบบพลิกตำรา เขาได้ประกาศให้ทั่วโลกได้รับรู้ว่า เขาได้รับการประทุษร้ายจากฝ่ายตรงข้ามที่เป็นฝ่ายอำนาจเก่า นั่นคือ พุ่งตรงไปที่คุชมา การหาเสียงของเขา มีสัญญลักษณ์เป็น “สีส้ม” และมีฝ่ายทุนที่หนุนหลังคือ Yulia Tymoshenko อภิมหาเศรษฐีสาว เธอมีบทบาทเด่นในทางการเมืองของยูเครน ในการต่อสู้เพื่อตะวันตก โปรนาโต้ ทำหน้าที่หาเสียงอย่างแข็งขันให้กับ VAY ในขณะที่รักษาตัว ถ้าจะเทียบเธอ……ก็ใกล้เคียงกับเป็น อองซาน ซูจี แห่งยูเครน การเลือกตั้งใกล้เข้ามา ความนิยมในตัว VAY ได้เพิ่มขึ้น มันเป็นสัญญาณที่บอกกับปูตินว่า อิทธิพลของตะวันตกกำลังจะล้อมกรอบ บีบรัสเซียให้แคบเข้าไปทุกวัน ตั้งแต่โซเวียตล่มสลายไป กลุ่มทุนตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลในฝั่งตะวันออกหนาตาขึ้น โดยเฉพาะองค์กร NGO ที่ได้มีสาขาในทุกแห่งหน ทางรัสเซียได้หนุนหลัง Viktor Yanukovych ( Viktor Fedorovych Yanukovych นายกรัฐมนตรี จะใช้ชื่อย่อว่า VFY) ในการลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีด้วย การหาเสียงเป็นไปอย่างดุเดือด เหมือนกับว่าประชาชนจะเลือก บุช หรือ ปูติน ปูตินได้ทำทีไปเยี่ยมเยียนถึงเคียฟ เพราะมีเด็กคนหนึ่ง ได้เขียนจดหมายว่า มีความฝันว่าอยากจะถ่ายรูปกับ Vladimir Vladimirovich……ชาตินี้จะมีโอกาสไหมหนอ? ผลคือ เด็กน้อย Andrei ได้ถูกเชิญไปที่ทำเนียบ ไปพบกับปูติน ที่ได้ยื่นของขวัญเป็นแลปท๊อปให้ด้วยสีหน้าชื่นมื่น การหาเสียงเป็นไปอย่างดุเดือดและสูสี ปูตินบินไปเคียฟบ่อยกว่าปรกติ ผลออกมาคือ VFY (โปรรัสเซีย) ได้ 49% และ VAY (โปรตะวันตก) ได้ 46% แต่.……ความไม่สงบได้ก่อตัวขึ้น ฝ่ายสีส้มได้ทำการต่อต้านในทุกรูปแบบ มีการนัดชุมนุมที่เข้าขั้นปฏิวัติ ถนนได้เปลี่ยนเป็นทะเลสีส้มแสบตาไปทั้งเมือง กลุ่มต่อต้านไม่ยอมรับคะแนนเลือกตั้ง ปูตินบินกลับจากจากอเมริกาใต้ เข้าสู่กรุงบลัสเซลส์โดยด่วน เพื่อพบปะกับกลุ่มอียู……ที่ตัวแทนทุกคนได้ลงมติว่าการเลือกตั้งในยูเครนไม่โปร่งใส ……แต่ไม่สนใจที่จะให้มีการตรวจสอบ ความสัมพันธ์ทางการค้าพลังงานที่ปูตินพยายามที่จะประสานกับอียูนั้น เหลือริบหรี่…; เขาประกาศว่า……เราไม่เคยไปยุ่งกับเรื่องภายในของพวกอียู แต่ตอนนี้มันชัดเจนแล้วว่า……พวกคุณได้เข้ามาเสี้ยม แทรกแซงกับการเมืองในประเทศที่อยู่นอกระบบ เพื่อสร้างความร้าวฉานให้พวกเรา……!! สภายูเครนเริ่มเห็นแล้วว่าน่าจะรักษาความสงบไว้ไม่ได้ จึงได้ลงมติให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ VFY ได้หลบความวุ่นวายที่อาจนำไปสู่ความเป็นอันตรายต่อตัวเองไปอยู่ที่ Luhansk วันที่ 2 ธันวาคม ปูตินได้เรียกคุชมาเข้าไปพบที่มอสโคว์ ก่อนที่ปูตินจะเดินทางอินเดียในไม่กี่ชั่วโมง เพื่อปรึกษาในเรื่องของการที่จะมีการเลือกตั้งใหม่ ที่เขาเชื่อว่า ทางฝ่าย VAY น่าจะมาแรง และจะปล่อยไปตามนั้น เพราะไม่เช่นนั้นก็จะต้องมีม็อบชนม็อบ เลือกตั้งกันครั้งที่สาม ที่สี่ ไม่จบไม่สิ้น เสียเวลาเปล่าๆ……ปล่อยไปก่อน……เรายังมีเวลา!! ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น VAY ชนะด้วยคะแนน 52% ส่วน VFY 44% ที่มีการเฉลิมฉลองกันใหญ่โต ชาวสีส้มทุกคนต่างยินดีปรีดาที่จะได้เข้าไปสู่อ้อมอกของตะวันตก เป็นอารยะประเทศ มีที่นั่งในสภายูโรเปี้ยน และ เป็นหนึ่งสมาชิกนาโต้ และที่สำคัญที่สุด…..คือ ได้เอาชนะปูติน………!!! ใครจะไปรู้เล่าว่า……นั่นคือเกมที่ปูตินจะลากมาสับทีละคนเมื่อถึงเวลา………!! Wiwanda W. Vichit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 989 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔹️แพ็กคู่ซีรีส์ชุด พิกัดต่อไปใครเป็นศพ❗

    คำเตือน เนื้อหายาวมากถึงมากที่สุด

    1 #พิกัดต่อไปใครเป็นศพ #masqueradehotel

    อ่านจนจบในวันเดียว หนาถึง 547 หน้า ดีที่ขนาดไม่เทอะทะแม้หนาแต่ไม่หนัก ตอนตัดสินใจเลือกยืมจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเคยชมที่สร้างเป็นหนังมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน พออ่านไปได้ไม่กี่หน้าเริ่มรู้สึกฉากช่างคุ้นเคย เนื้อเรื่องเหมือนเคยรู้มาก่อน ทบทวนความทรงจำตนเองจึงค่อยจำได้ว่าคือเรื่องเดียวกับหนังที่ดูจบแล้วชอบมากนั่นเอง แต่ห้วงเวลาที่ชมนั้นไม่เคยทราบว่าสร้างจากนิยายเล่มนี้ ดูเพราะชอบนักแสดงหลักทั้งสองคนเลยคือ ทาคูยะ และมาซามิ และก็ไม่ผิดหวังทั้งคู่แสดงในบทบาทที่ได้รับได้ดีมาก พระนางมีการขัดแย้งในความเห็นอย่างที่เรียกว่าคู่กัด แต่ก็ห่วงใยช่วยเหลือกันมีความน่ารักปนน่าหมั่นไส้ โรงแรมที่ใช้เป็นฉากก็หรูหราโอ่โถงงดงามน่าใช้บริการอย่างมากครับ

    📚วกกลับมาเข้าเรื่องในหนังสือ

    สำนักพิมพ์น้ำพุ ปี พ.ศ.2023 /ราคา 425 บาท
    ฮิงาชิโนะ เคโงะ เขียน
    อภิญญา เตชะบุญไพศาล แปล

    เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงชีวิตของพนักงานโรงแรมคอร์เทเชียโตเกียวสุดหรูที่มีนามว่า ยามางิชิ นาโอมิ ซึ่งเป็นตัวเอกที่ดำเนินเรื่องหลักของนิยายเล่มนี้ ที่ฉากแรกปรากฏก็เปิดตัวอย่างสง่างามสมกับความเป็นพนักงานต้อนรับมืออาชีพยิ่ง เพราะมีลูกค้าชายประเภทที่จงใจก่อปัญหาเพื่อหวังจะได้เข้าพักในห้องราคาสูงกว่าที่ตนได้เลือกจองไว้ จนพนักงานยกกระเป๋าที่เข็นของไปให้ ต้องโทร.ลงมาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี ซึ่งเธอสามารถบริหารจัดการให้ผ่านพ้นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าลงได้อย่างสวยงาม

    จากนั้นเรื่องจึงนำพาผู้อ่านเข้าสู่ประเด็นของที่มาอันกลายเป็นชื่อเรื่องคือ ทางผู้จัดการใหญ่ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในโรงแรมทั้งหมด ได้รับการติดต่อขอความร่วมมือจากกรมตำรวจนครบาลโตเกียว ในการสืบสวนคดีที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ ที่มีแนวโน้มเป็นคดีฆาตกรรมต่อเนื่องโดยคนร้ายรายเดียวกัน

    🏨

    รายละเอียดของคดีคือ มีการพบศพผู้ตาย 3 ราย ในระยะเวลาห่างกันประมาณ 6-7 วันนับจากศพแรก ทราบชื่อผู้ตายทั้งสาม เป็นชาย2หญิง1 สาเหตุเสียชีวิตจากการถูกทำร้ายด้วยการตีจากด้านหลังบ้าง รัดคอบ้าง ทุกรายพบตัวเลขปริศนา2ชุดในจุดเกิดเหตุ ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับการตายของเหยื่อหรือไม่อย่างไร แต่ตำรวจมั่นใจว่าคนร้ายหมายตาที่จะก่อเหตุในครั้งต่อไป โดยเล็งเป้าหมายคือโรงแรมที่นาโอมิทำงานอยู่ ปัญหาใหญ่คือไม่ทราบว่าใครที่คนร้ายหมายจะฆ่า ทำไมถึงเลือกที่นี่ และคนร้ายคือใคร ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยพวกนี้ ฝ่ายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ได้คุยตกลงกันกับผู้จัดการใหญ่ของโรงแรมแล้ว ดังนั้นจึงเรียกตัว หัวหน้าจากหลายฝ่ายให้มาร่วมประชุม ไม่ว่าฝ่ายห้องพัก ฝ่ายเข็นสัมภาระลูกค้าไปส่งห้อง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และในการนี้นาโอมิยังถูกระบุให้เข้าร่วมประชุมแม้จะเป็นแค่เพียง พนักงานระดับปฏิบัติการณ์ฝ่ายต้อนรับเท่านั้น

    🏨

    เหตุผลเพราะหัวหน้างานไว้วางใจ เชื่อมั่นในคุณสมบัติและประสบการณ์ของเธอจะสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับตำรวจ ที่จะปลอมเข้ามาเป็นพนักงานเพื่อเฝ้าสังเกตบุคคลที่มาใช้บริการโรงแรม ซึ่งแผนกต้อนรับเองนาโอมิถูกเลือกให้จับคู่กับรองสารวัตรนิตตะ ส่วนแผนกอื่นก็มีตำรวจปลอมตัวเข้าไปด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นก็มีตำรวจส่วนหนึ่งที่ถูกสั่งการให้ปะปนเข้ามาเป็นคนใช้บริการหรือจับตาความเคลื่อนไหวบริเวณโถงรับแขก ห้องอาหาร และอื่นๆ

    🏨

    นั่นคือจุดเริ่มแห่งความหรรษา เพราะนิตตะไม่ชอบอะไรที่เป็นพิธีการ แต่จำใจต้องเชื่อฟังนาโอมิที่อายุน้อยกว่า ตั้งแต่เรื่องชุดพนักงาน ท่าทีการพูดจา บุคลิกภายนอกที่ต้องถูกปรับให้กลายจากความเป็นตำรวจมาเป็นพนักงานต้อนรับให้สมจริงมากที่สุด ทั้งคู่จึงมีการกระทบกระทั่งทางความคิดที่ไม่ตรงกัน จนมีการโต้เถียงบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นความบันเทิงประการหนึ่ง ด้วยคู่นี้มีความน่ารัก น่าลุ้น ที่จะกลายมาเป็นคู่ใจในอนาคตได้

    🏨

    ระหว่างนั้น นาโอมิมีข้อสงสัยมากมายหลายประการ เธอมักถามนิตตะที่ทราบรายละเอียดของคดีมากกว่าที่พนักงานโรงแรมทราบ แต่นิตตะไม่บอกเล่าโดยให้เหตุผลว่าเป็นความลับของทางราชการไม่อาจให้คนนอกทราบได้

    งานบริการของนาโอมิยังคงต้องดำเนินต่อไป เกิดปัญหาจากความต้องการของลูกค้าที่แวะเวียนเข้ามาพักเป็นระยะ ซึ่งเธอและนิตตะต้องพยายามแก้ไขสถานการณ์ให้ผ่านพ้น ทำให้ทั้งสองเริ่มมีความเข้าใจและยอมรับในตัวตนและงานของอีกฝ่ายได้ดีขึ้นกว่าเมื่อแรกพบหน้า ลูกค้าบางคนดูไม่น่าไว้ใจและมีท่าทางแปลกจนนิตตะจับตามองเป็นพิเศษ ด้วยสัญชาตญาณของนักสืบ

    🏨

    ขณะที่มีตำรวจวัยเลยกลางคนไปแล้ว ซึ่งเป็นตำรวจในท้องที่เกิดเหตุคนหนึ่งที่รู้จักกับนิตตะ และได้รับการมอบหมายให้เป็นคู่หูสืบคดีก่อนที่นิตตะจะต้องปลอมตัวมาเป็นพนักงานต้อนรับนั้น มีน้ำใจที่อยากจะช่วยเหลือ จึงมักอาสาช่วยสืบเรื่องราวต่าง ๆ จากด้านนอก ตามที่นิตตะมีความสงสัยด้วยอีกทางหนึ่ง

    ในที่สุดนิตตะก็ทนรบเร้าจากนาโอมิไม่ไหว อีกทั้งเริ่มมีความไว้ใจเธอมากขึ้น จนยอมเล่าให้ทราบถึงปริศนาของชุดตัวเลขที่ปรากฏทุกครั้งในสถานที่พบศพอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตำรวจตัดสินใจปะปนเข้ามาในโรงแรม ทำให้เธอเริ่มเกิดความตื่นตัวและทึ่งในความสามารถของเขา รวมถึงมีความกังวลถึงเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้จนส่งผลต่อสุขภาพและงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ

    🏨

    อย่างไรก็ตาม สุดท้ายตัวคนร้ายคือคนที่คิดไม่ถึง ซึ่งไม่น่าเชื่อจริง ๆ ว่าจะวางแผนการณ์ได้อย่างแยบยลขนาดนั้น แต่แรงจูงใจในการก่อคดียังรู้สึกว่ามีน้ำหนักน้อยไปสักหน่อย คงเพราะความที่คนร้ายเป็นคนประเภทมีจิตรุนแรงในพื้นนิสัย ทำให้ต้องลุ้นเอาใจช่วยนิตตะและนาโอมิในตอนที่เนื้อเรื่องเปิดเผยให้คนอ่านทราบแล้วว่าเป็นใคร ทั้งสองจะปลอดภัยหรือไม่ จะจับตัวคนร้ายได้ไหม ใครจะถูกฆ่าเป็นรายถัดไปหรือเปล่า ต้องตามอ่านต่อในพิกัดต่อไปใครเป็นศพครับ

    🖋วิจารณ์หลังจบเรื่อง

    เป็นการเล่าในมุมมองบุคคลที่สามคือมุมมองพระเจ้า ฉากหลักตลอดทั้งเรื่องเกิดขึ้นภายในโรงแรม ตัวละครที่มีการเอ่ยชื่อและมีบทบาทสำคัญไม่เยอะจนเกินไป จึงทำให้คนอ่านจดจำและรู้สึกใกล้ชิดกับตัวเอก ไปจนตัวรองที่ถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ได้ไม่ยาก ความจริงในส่วนของคดีที่เกิดในเล่มนี้นั้น พูดตามจริงแล้วไม่ได้มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไร รูปแบบการฆ่าก็ธรรมดาเกินกว่าจะดูน่ากลัวหรือลึกลับ เพียงแต่มีจุดเด่นตรงชุดตัวเลขปริศนาว่าหมายถึงอะไร และชวนน่าสงสัยเล็กน้อยว่าคนร้ายจะฆ่าคนไปทำไม เพราะดูเหมือนตำรวจมีข้อมูลน้อยมาก จนการสืบสวนแทบไม่เดินหน้าไปไหนเลย

    🏨

    เป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่คงจะต้องการให้โทนของเรื่องออกมาในลักษณะนี้ คือไม่เน้นที่การสืบสวนคลี่คลายปมเป็นพิเศษ จึงไม่จำเป็นต้องผูกเรื่องราวของคดีที่เกิดขึ้นให้มีความอลังการ จนดึงดูดความสนใจกระหายใคร่รู้ และกระตุ้มต่อมนักสืบของคนอ่านจนพุ่งสูงด้วยความเข้มข้นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเหยื่อ แต่กลับเลือกที่จะให้ดูเป็นคดีทั่วไป ไม่มีความโชกเลือดหรือบ้าคลั่งของฆาตกรเป็นที่ปรากฏออกมาในบรรยากาศ ซึ่งในแง่นี้ถือว่านักอ่านหลายคนอาจถูกภาพปกของหนังสือหลอกเอาได้ เพราะโทนสีดำแดง กับเลือดเปรอะกระจายบนแผนที่ อีกทั้งชื่อเรื่องชวนค้นหาว่าคงจะดำเนินไปในแนวทางน่าตื่นเต้นกับการตามสืบอะไรทำนองนั้น ซึ่งใครที่คาดหวังมากก็อาจผิดหวังเมื่อพบว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่ตนคาดว่าจะได้พบเจอ

    🏨

    แต่นี่ไม่มีปัญหากับผม ส่วนตัวชอบมาก แทบไม่ได้สนใจในคดีด้วยซ้ำว่าใครจะเป็นคนร้าย ใครเป็นเป้าหมายที่กำลังจะถูกฆ่า และทำไมต้องฆ่า คืออ่านไปได้เรื่อย ๆ อย่างเพลิดเพลิน ชอบในความที่เนื้อหาเจาะลึกถึงวงการคนโรงแรม ทำให้เราได้รู้ข้อมูลหลายอย่าง สิ่งที่พนักงานต้องแบกรับและพบเจอที่เป็นเรื่องเบื้องลึกเบื้องหลัง ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยได้คำนึงถึงและไม่เคยมองในมุมของคนทำงานเหล่านั้น จึงเป็นความบันเทิงที่สามารถได้รู้เรื่องราวอินไซด์โดยผ่านการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของนาโอมิ กับประเด็นต่าง ๆ ที่เข้ามามากมาย คล้ายกำลังได้ติดตามดูซีรีส์ชีวิตการทำงานในอาชีพด้านการบริหารโรงแรมดี ๆ สักเรื่องหนึ่ง ซึ่งอดีตเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เคยได้รับชมมาบ้างทั้งของญี่ปุ่นและเกาหลี

    🏨

    จุดเด่นในการดำเนินเรื่องคือเราจะได้เห็นพัฒนาการความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นของสองตัวละครหลัก ในระหว่างร่วมกันแก้ไขปัญหา แม้มีความขัดแย้งจากความเห็นมุมมองที่ต่างสถานะบ้างก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ดีเสียอีกทำให้ต่างฝ่ายได้เรียนรู้เพิ่ม เป็นประสบการณ์ใหม่และเปิดมุมมองอีกด้านที่ตนไม่เคยใส่ใจ จนเกิดเป็นความเห็นอกเห็นใจ และเชื่อใจกันโดยไม่รู้ตัว แม้นภายนอกเหมือนไม่ชอบหน้ากันก็ตาม ที่สำคัญคือแม้เรื่องแนวทางการสืบหาตัวคนร้ายเหมือนไม่คืบหน้าไปไหน แต่เมื่อนาโอมิแก้ปัญหาลูกค้าไปทีละเรื่องต่อเนื่องไป ทำให้นิตตะเองสะดุดคิดได้ถึงบางสิ่งบางอย่างที่จะเกี่ยวโยงไปถึงคดีได้อย่างไม่ตั้งใจ บางครั้งคำพูดของนาโอมิเองช่วงสนทนากับนิตตะ ไปจุดประกายให้เขาพลันนึกอะไรได้ขึ้นมาอย่างกะทันหันก็มี รวมถึงคู่หูนายตำรวจท้องที่ผู้มีอายุมากกว่าเขา ก็ยังมีส่วนช่วยอย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน ทำให้เห็นถึงพลังของความช่วยเหลือกันและกันของความเป็นเพื่อน แม้เพิ่งทำความรู้จักกันชั่วระยะเวลาไม่นาน นี่จึงไม่ใช่นิยายสืบสวนที่เน้นความเก่งฉกาจของนักสืบที่รับผิดชอบคดีแบบฉายเดี่ยว แต่ต้องอาศัยความเชื่อใจระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความเห็นที่มีของตนคนเดียวอาจจะไม่เพียงพอ

    หากพิจารณาให้ดี จะได้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลแวดล้อมที่ดูราวกับไม่มีส่วนสำคัญ แต่แท้จริงถ้าไม่ได้ความคิดเห็นหรือความช่วยเหลือของเขา พระเอกของเราก็ยังคงไม่อาจฉุกใจได้คิด จนนำไปสู่การรู้ตัวคนร้ายในช่วงท้ายของเรื่อง

    บทสรุปก่อนจบ มีแนวโน้มให้คนอ่านได้ลุ้นว่านิตตะกับนาโอมิ จะมีความเป็นไปได้ในการเป็นคู่รักหรือไม่ แต่ที่มั่นใจคือน่าจะมีเล่มต่อให้ได้ติดตามกันอย่างแน่นอน.

    .........................................

    2. #พิกัดต่อไปใครเป็นศพตอนลางร้ายใต้หน้ากาก #masqueradeeve

    เล่มที่สองของซีรีส์ ที่ยังคงความสนุกได้ไม่แพ้เล่มแรก แต่ความหนาน้อยลงเหลือ 352 หน้า

    สำนักพิมพ์น้ำพุ ปี พ.ศ.2023 /ราคา 345 บาท
    ฮิงาชิโนะ เคโงะ เขียน
    อภิญญา เตชะบุญไพศาล แปล

    เนื้อหาย่อของเล่มนี้

    ถึงจะออกมาเป็นเล่มที่สองของชุด แต่เหตุการณ์เป็นเรื่องก่อนหน้าคดีในเล่มแรก คือย้อนไปเล่าสมัยที่นาโอมิเพิ่งจะเข้าทำงานใน คอร์เทเชียโตเกียวได้แค่สี่ปี และย้ายแผนกมาอยู่ฝ่ายต้อนรับไม่นาน ยังเห็นถึงความผิดพลาดบกพร่องที่ไม่คล่องตัว ยังไม่มีความเชื่อมั่นในประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญดังภาพที่ปรากฏในเล่มก่อนหน้า ทว่าก็ยังคงบุคลิกที่มุ่งมั่นในการให้บริการ และมีหัวใจในการคิดถึงและเอาใจใส่ต่อลูกค้าทุกคนอย่างซื่อสัตย์

    🏨

    เริ่มต้นมา นาโอมิก็ได้แสดงความสามารถที่ทำให้เห็นถึงความมีไหวพริบปฏิภาณ และช่างสังเกต อันเป็นคุณสมบัติที่ควรต้องมีในคนที่ทำอาชีพเช่นเธอ โดยมีชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งนาโอมิจดจำได้ว่าเป็นอดีตแฟนที่เคยคบหากันชั่วเวลาหนึ่งสมัยที่เธอเรียนมหาวิทยาลัย แต่มีเหตุให้ต้องเลิกราแยกย้ายกันไปคนละเส้นทาง เขามากับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นนักกีฬาเบสบอลอาชีพที่มีชื่อเสียงมาก โดยทำหน้าที่เป็นผจก.ส่วนตัวนักกีฬาชาย แล้วได้เกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้นในขณะที่ทั้งสองมาพักอยู่ในโรงแรม จนเป็นเหตุให้แฟนเก่าคนนี้โทร.ตามตัวนาโอมิจากหน้าฟรอนต์ให้มาช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งเธอไม่เต็มใจนักแต่ต้องตัดความรู้สึกส่วนตัวออก แล้วสวมหัวใจพนักงานฝ่ายต้อนรับที่ต้องช่วยเหลือบริการแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด ซึ่งสุดท้ายเธอก็สามารถจัดการกับปัญหาให้จบลงด้วยดี

    🏨

    ทางด้านนิตตะนั้น เพิ่งเริ่มต้นอาชีพด้วยการเข้าเป็นน้องใหม่ในสังกัดกรมตำรวจหลังกลับมาจากต่างประเทศไม่นาน โดยมีรุ่นพี่โมโตมิยะ(ปรากฏตัวในเล่มแรกด้วย โดยเป็นหนึ่งที่ปลอมตัวเข้าไปในโรงแรม) ที่เป็นคู่หูและพี่เลี้ยง ซึ่งคดีแรกที่เขาต้องคลี่คลายคือ คดีฆาตกรรมวันไวต์เดย์ โดยตำรวจได้รับแจ้งจากหญิงสาวคนหนึ่งว่าสามีของตนออกไปวิ่งออกกำลังตอนกลางดึกแต่ยังไม่กลับถึงบ้านตามเวลา สุดท้ายมีการพบว่าสามีของเธอกลายเป็นศพอยู่ในสวน ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกแทงที่ท้องและหลัง มีอะไรหลายอย่างที่พบในที่เกิดเหตุ รวมถึงข้อมูลที่ตำรวจได้สืบทราบมา ที่รบกวนใจของนิตตะ เขาได้แสดงความสามารถออกมาเป็นที่ปรากฏจนรุ่นพี่ออกจะไม่พอใจและหมั่นไส้อยู่บ้าง ด้วยสิ่งที่นิตตะคาดคะเนและวิเคราะห์ทำให้ตำรวจสามารถพบตัวของผู้ก่อเหตุได้ในเวลาไม่นาน แต่คดีนี้มีอะไรที่ซับซ้อนยิ่งกว่าสิ่งที่ตำรวจรู้

    🏨

    ตัดมาที่การปฏิบัติงานของนาโอมิ ในเหตุการณ์ที่มีกลุ่มชายหลายคน มาจองห้องพักและมีพฤติการณ์ที่ทำให้เธอรู้สึกว่าแปลกพิกล ต่อมาทราบว่าที่แท้คนกลุ่มนี้หวังที่จะมาเฝ้ารอเพื่อจะได้พบเจอกับนักเขียนนิยายที่โด่งดังนามว่า ทาจิบานะ ซากุระซึ่งเขียนแนวประโลมโลก และจะเข้ามาพักที่โรงแรมเพื่อเขียนงานใหม่ เนื่องจากเหล่าสาวกที่ชื่นชอบงานเขียนของซากุระ ไปเห็นรูปที่ถูกระบุว่าเป็นนักเขียนหญิงคนดังในโซเชียลมีเดีย พอเห็นว่าเป็นสาวสวยจึงหาวิธีที่จะได้พบเจอตัวจริงให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของนาโอมิ ที่จะต้องรักษาความเป็นส่วนตัวรวมถึงความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ ความยุ่งยากจึงเกิดขึ้น

    🏨

    ตอนสุดท้าย นาโอมิได้รับการขอจากผู้จัดการให้ช่วยไปสอนงานให้กับพนักงานแผนกต้อนรับที่สาขาโอซาก้า ซึ่งเพิ่งเปิดโรงแรมได้ไม่นาน เธอจึงต้องไปทำงานอยู่ที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่งแต่ไม่เกินครึ่งปี ในขณะที่นิตตะมีคดีใหม่ที่ต้องรับผิดชอบกับรุ่นพี่โมโตมิยะ คือการตายของอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องทางสิทยาศาสตร์ โดยพบศพในห้องทำงาน คดีนี้มีผู้ต้องสงสัยที่ตำรวจค่อนข้างมั่นใจว่าน่าจะเป็นบุคคลคนหนึ่ง แต่ทว่าเขากลับมีหลักฐานยืนยันที่อยู่ชัดเจนในช่วงเวลาที่คาดว่าเหยื่อถูกฆ่าตาย ซึ่งเจ้าตัวเข้าใจว่าตนเองรอดพ้นแน่แต่แท้จริงเบื้องหลังยังมีอะไรที่ไม่เป็นดังที่คิด ที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่า

    ในกรณีทีมสืบสวนเอง ผู้ใหญ่ได้สั่งการลงมาให้นิตตะจับคู่กันกับตำรวจหญิงวัยละอ่อน ที่เป็นตำรวจท้องที่มีนามว่า ริสะ ที่ถูกย้ายมาจากแผนกความปลอดภัยชุมชน ให้มาร่วมในทีมเป็นครั้งแรก นิตตะไม่พอใจนักแต่จำใจต้องทำตาม แม้จะดูเหมือนเป็นตำรวจหญิงที่อ่อนต่อโลก พูดเป็นต่อยหอย และขาดไหวพริบม แต่ริสะก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นใส่ใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการที่เธอได้รับคำสั่งจากนิตตะให้ไปสืบเช็กข้อมูลจากโรงแรมคอร์เทเชียโอซาก้า เพื่อยืนยันคำพูดจากปากของชายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี ทำให้ริสะได้พบกับนาโอมิ อันก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาถึงผลลัพธ์ในภายหลัง

    🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ

    เล่มนี้เล่าเรื่องโดยแยกเนื้อหาระหว่างการแก้ปัญหาในโรงแรมของนาโอมิ กับการไขคดีของนิตตะออกจากกันชัดเจนเป็นตอนที่จบในตัว เริ่มจากตอนของนาโอมิก่อน จากนั้นสลับไปเล่าฝั่งนิตตะ แต่ในตอนสุดท้ายจะผนวกสองฝั่งให้เชื่อมถึงกันในคดีที่มีผู้เกี่ยวข้องได้ไปเข้าพักที่โรงแรมคอร์เทเชียโอซาก้าซึ่งนาโอมิกำลังอยู่ในช่วงที่สอนงานให้พนักงานที่นั่น

    ทั้งคู่ไม่ได้พบกันเลย เพราะการพบกันครั้งแรกเกิดขึ้นในเล่มแรก แต่ผู้เขียนมีความสามารถในการผูกโยงเรื่องราวให้คนอ่านรู้สึกเหมือนว่าได้เห็นคนทั้งสองอย่างใกล้ชิด และได้เห็นบุคลิกกับอุปนิสัยส่วนตัวของนาโอมิกับนิตตะมากขึ้น

    นิตตะในเล่มนี้ มีโอกาสได้แสดงฝีมือในการคิดวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์กับข้อมูลที่ใช้หาตัวคนร้าย ได้เด่นชัดกว่าเล่มแรก สมกับที่เป็นระดับหัวกะทิที่เพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ แต่เราก็จะได้เห็นถึงข้อเสียใหญ่ของเขาที่ไม่น่ารักเช่นกัน คือเป็นคนมั่นใจในความฉลาดของตนมากจนเหมือนดูถูกคนที่ด้อยกว่า โดยเฉพาะความคิดที่เห็นว่าผู้หญิงเป็นตัวถ่วง สู้ผู้ชายไม่ได้ ดังที่นิตตะแสดงออกทางสีหน้าท่าทางและคำพูดต่อเด็กใหม่อย่างริสะ ที่เหมือนเป็นได้แค่ลูกไล่ไร้ประโยชน์ ซึ่งต่างจากนาโอมิ ที่แม้จะมองออกว่าริสะเป็นตำรวจที่ความสามารถไม่ถึงขั้น แต่ก็ไม่ได้แสดงท่าทีรำคาญ กลับมองเห็นถึงมุมที่เป็นความอดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดของตำรวจหญิงในการพยายามค้นหาความจริงให้ได้ ความมุ่งมั่นของริสะจึงเอาชนะใจของนาโอมิ จนยอมช่วยเหลือด้วยการเปิดเผยเรื่องราวบางส่วนให้ริสะทราบ

    ในส่วนของการคลี่คลายคดี ไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อนจนเกินไป แต่เล่มนี้จะเน้นไปที่คดีที่น่าจะเป็นที่มาของชื่อตอน (ลางร้ายใต้หน้ากาก) ถึงสองคดีด้วยกันครับ ถ้าได้อ่านแล้วจะเข้าใจ และน่าจะเห็นตรงกันว่าภายใต้หน้ากากที่ภายนอกดูไม่ได้รู้เลยว่าจะกลายเป็นคนร้ายได้ สุดท้ายก็แอบซ่อนความบิดเบี้ยวของใจที่โดนกิเลสเข้าครอบงำได้อย่างน่ากลัว

    ตัวละครในเรื่อง สำหรับเล่มนี้ รู้สึกว่าริสะที่แม้จะมีบทบาทเพียงแค่ช่วงคดีสุดท้ายนั้น เป็นตัวละครที่เขียนมาได้น่าสนใจมาก โผล่มาทีไรก็ทำให้คนอ่านอย่างผมอดขำไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ไปต่อในเล่มอื่น ๆ ของชุดนี้หรือไม่ ส่วนนาโอมินั้นยังคงเป็นตัวละครที่มีเสน่ห์เช่นเดิม เทียบกับนิตตะแล้วส่วนตัวมีความรู้สึกชอบนาโอมิมากกว่า

    นอกจากนี้ยังชอบตอนจบของเรื่อง ที่มีการโยงถึงเหตุการณ์ที่เป็นต้นตอนำไปสู่ความอาฆาตแค้นของฆาตกรในคดีที่เกิดขึ้นในเล่มแรก สรุปว่าอ่านจบเล่มสองแล้วก็จะไปต่อเหตุการณ์ของเล่มแรกพอดี

    ใครเริ่มอ่านจากเล่มนี้ก่อน สามารถอ่านเล่มแรกต่อเนื่องได้เลย

    📌คำเตือน : สำหรับคนที่ชอบการสืบคดีแบบเข้มข้น มีวิธีการฆ่าที่ค่อนข้างแปลกพิสดารหรือโหดสยอง และมีกลวิธีในการอำพรางซ่อนเร้นที่ไม่ธรรมดา ซีรีส์ชุดนี้อาจไม่ตอบโจทย์ แล้วเลยพาลจะไม่ชอบหรือหมดสนุกได้ง่าย แต่ถ้าชอบแนวได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพของตัวเอกควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการไขคดีที่ไม่โลดโผน ชุดนี้น่าจะเป็นที่ชื่นชอบของคุณได้ไม่ยากครับ

    ป.ล. มีปกใหม่ออกมาที่คิดว่าทำได้ดีตรงกับแนวเรื่องและชื่อตอนมากกว่าปกฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกด้วย เพราะปกของเล่มสองนี้ดูเหมือนน่าจะโหดมาก แต่เนื้อในไม่ใช่อย่างที่คิด

    ใครอ่านตั้งแต่ต้นมาจนถึงบรรทัดสุดท้ายนี้ได้ขอได้รับความขอบคุณจากผมด้วยครับ

    #thaitimes
    #หนังสือ
    #หนังสือน่าอ่าน
    #นิยายแปล
    #นิยายญี่ปุ่น
    #นิยายสืบสวน
    #สืบสวน
    #คดีฆาตกรรม
    #งานโรงแรม
    #พนักงานต้อนรับ
    #ตำรวจ
    #นักสืบ
    #ลูกค้า
    #งานบริการ
    #อาชีพ
    #ฮิงาชิโนะเคโงะ
    🔹️แพ็กคู่ซีรีส์ชุด พิกัดต่อไปใครเป็นศพ❗ คำเตือน เนื้อหายาวมากถึงมากที่สุด 1 #พิกัดต่อไปใครเป็นศพ #masqueradehotel อ่านจนจบในวันเดียว หนาถึง 547 หน้า ดีที่ขนาดไม่เทอะทะแม้หนาแต่ไม่หนัก ตอนตัดสินใจเลือกยืมจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเคยชมที่สร้างเป็นหนังมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน พออ่านไปได้ไม่กี่หน้าเริ่มรู้สึกฉากช่างคุ้นเคย เนื้อเรื่องเหมือนเคยรู้มาก่อน ทบทวนความทรงจำตนเองจึงค่อยจำได้ว่าคือเรื่องเดียวกับหนังที่ดูจบแล้วชอบมากนั่นเอง แต่ห้วงเวลาที่ชมนั้นไม่เคยทราบว่าสร้างจากนิยายเล่มนี้ ดูเพราะชอบนักแสดงหลักทั้งสองคนเลยคือ ทาคูยะ และมาซามิ และก็ไม่ผิดหวังทั้งคู่แสดงในบทบาทที่ได้รับได้ดีมาก พระนางมีการขัดแย้งในความเห็นอย่างที่เรียกว่าคู่กัด แต่ก็ห่วงใยช่วยเหลือกันมีความน่ารักปนน่าหมั่นไส้ โรงแรมที่ใช้เป็นฉากก็หรูหราโอ่โถงงดงามน่าใช้บริการอย่างมากครับ 📚วกกลับมาเข้าเรื่องในหนังสือ สำนักพิมพ์น้ำพุ ปี พ.ศ.2023 /ราคา 425 บาท ฮิงาชิโนะ เคโงะ เขียน อภิญญา เตชะบุญไพศาล แปล เนื้อหาในเล่มกล่าวถึงชีวิตของพนักงานโรงแรมคอร์เทเชียโตเกียวสุดหรูที่มีนามว่า ยามางิชิ นาโอมิ ซึ่งเป็นตัวเอกที่ดำเนินเรื่องหลักของนิยายเล่มนี้ ที่ฉากแรกปรากฏก็เปิดตัวอย่างสง่างามสมกับความเป็นพนักงานต้อนรับมืออาชีพยิ่ง เพราะมีลูกค้าชายประเภทที่จงใจก่อปัญหาเพื่อหวังจะได้เข้าพักในห้องราคาสูงกว่าที่ตนได้เลือกจองไว้ จนพนักงานยกกระเป๋าที่เข็นของไปให้ ต้องโทร.ลงมาปรึกษาว่าจะทำอย่างไรดี ซึ่งเธอสามารถบริหารจัดการให้ผ่านพ้นสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าลงได้อย่างสวยงาม จากนั้นเรื่องจึงนำพาผู้อ่านเข้าสู่ประเด็นของที่มาอันกลายเป็นชื่อเรื่องคือ ทางผู้จัดการใหญ่ที่รับผิดชอบดูแลพนักงานในโรงแรมทั้งหมด ได้รับการติดต่อขอความร่วมมือจากกรมตำรวจนครบาลโตเกียว ในการสืบสวนคดีที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานนี้ ที่มีแนวโน้มเป็นคดีฆาตกรรมต่อเนื่องโดยคนร้ายรายเดียวกัน 🏨 รายละเอียดของคดีคือ มีการพบศพผู้ตาย 3 ราย ในระยะเวลาห่างกันประมาณ 6-7 วันนับจากศพแรก ทราบชื่อผู้ตายทั้งสาม เป็นชาย2หญิง1 สาเหตุเสียชีวิตจากการถูกทำร้ายด้วยการตีจากด้านหลังบ้าง รัดคอบ้าง ทุกรายพบตัวเลขปริศนา2ชุดในจุดเกิดเหตุ ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเกี่ยวข้องกับการตายของเหยื่อหรือไม่อย่างไร แต่ตำรวจมั่นใจว่าคนร้ายหมายตาที่จะก่อเหตุในครั้งต่อไป โดยเล็งเป้าหมายคือโรงแรมที่นาโอมิทำงานอยู่ ปัญหาใหญ่คือไม่ทราบว่าใครที่คนร้ายหมายจะฆ่า ทำไมถึงเลือกที่นี่ และคนร้ายคือใคร ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อยพวกนี้ ฝ่ายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ได้คุยตกลงกันกับผู้จัดการใหญ่ของโรงแรมแล้ว ดังนั้นจึงเรียกตัว หัวหน้าจากหลายฝ่ายให้มาร่วมประชุม ไม่ว่าฝ่ายห้องพัก ฝ่ายเข็นสัมภาระลูกค้าไปส่งห้อง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และในการนี้นาโอมิยังถูกระบุให้เข้าร่วมประชุมแม้จะเป็นแค่เพียง พนักงานระดับปฏิบัติการณ์ฝ่ายต้อนรับเท่านั้น 🏨 เหตุผลเพราะหัวหน้างานไว้วางใจ เชื่อมั่นในคุณสมบัติและประสบการณ์ของเธอจะสามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับตำรวจ ที่จะปลอมเข้ามาเป็นพนักงานเพื่อเฝ้าสังเกตบุคคลที่มาใช้บริการโรงแรม ซึ่งแผนกต้อนรับเองนาโอมิถูกเลือกให้จับคู่กับรองสารวัตรนิตตะ ส่วนแผนกอื่นก็มีตำรวจปลอมตัวเข้าไปด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นก็มีตำรวจส่วนหนึ่งที่ถูกสั่งการให้ปะปนเข้ามาเป็นคนใช้บริการหรือจับตาความเคลื่อนไหวบริเวณโถงรับแขก ห้องอาหาร และอื่นๆ 🏨 นั่นคือจุดเริ่มแห่งความหรรษา เพราะนิตตะไม่ชอบอะไรที่เป็นพิธีการ แต่จำใจต้องเชื่อฟังนาโอมิที่อายุน้อยกว่า ตั้งแต่เรื่องชุดพนักงาน ท่าทีการพูดจา บุคลิกภายนอกที่ต้องถูกปรับให้กลายจากความเป็นตำรวจมาเป็นพนักงานต้อนรับให้สมจริงมากที่สุด ทั้งคู่จึงมีการกระทบกระทั่งทางความคิดที่ไม่ตรงกัน จนมีการโต้เถียงบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นความบันเทิงประการหนึ่ง ด้วยคู่นี้มีความน่ารัก น่าลุ้น ที่จะกลายมาเป็นคู่ใจในอนาคตได้ 🏨 ระหว่างนั้น นาโอมิมีข้อสงสัยมากมายหลายประการ เธอมักถามนิตตะที่ทราบรายละเอียดของคดีมากกว่าที่พนักงานโรงแรมทราบ แต่นิตตะไม่บอกเล่าโดยให้เหตุผลว่าเป็นความลับของทางราชการไม่อาจให้คนนอกทราบได้ งานบริการของนาโอมิยังคงต้องดำเนินต่อไป เกิดปัญหาจากความต้องการของลูกค้าที่แวะเวียนเข้ามาพักเป็นระยะ ซึ่งเธอและนิตตะต้องพยายามแก้ไขสถานการณ์ให้ผ่านพ้น ทำให้ทั้งสองเริ่มมีความเข้าใจและยอมรับในตัวตนและงานของอีกฝ่ายได้ดีขึ้นกว่าเมื่อแรกพบหน้า ลูกค้าบางคนดูไม่น่าไว้ใจและมีท่าทางแปลกจนนิตตะจับตามองเป็นพิเศษ ด้วยสัญชาตญาณของนักสืบ 🏨 ขณะที่มีตำรวจวัยเลยกลางคนไปแล้ว ซึ่งเป็นตำรวจในท้องที่เกิดเหตุคนหนึ่งที่รู้จักกับนิตตะ และได้รับการมอบหมายให้เป็นคู่หูสืบคดีก่อนที่นิตตะจะต้องปลอมตัวมาเป็นพนักงานต้อนรับนั้น มีน้ำใจที่อยากจะช่วยเหลือ จึงมักอาสาช่วยสืบเรื่องราวต่าง ๆ จากด้านนอก ตามที่นิตตะมีความสงสัยด้วยอีกทางหนึ่ง ในที่สุดนิตตะก็ทนรบเร้าจากนาโอมิไม่ไหว อีกทั้งเริ่มมีความไว้ใจเธอมากขึ้น จนยอมเล่าให้ทราบถึงปริศนาของชุดตัวเลขที่ปรากฏทุกครั้งในสถานที่พบศพอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตำรวจตัดสินใจปะปนเข้ามาในโรงแรม ทำให้เธอเริ่มเกิดความตื่นตัวและทึ่งในความสามารถของเขา รวมถึงมีความกังวลถึงเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไรก็ได้จนส่งผลต่อสุขภาพและงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ 🏨 อย่างไรก็ตาม สุดท้ายตัวคนร้ายคือคนที่คิดไม่ถึง ซึ่งไม่น่าเชื่อจริง ๆ ว่าจะวางแผนการณ์ได้อย่างแยบยลขนาดนั้น แต่แรงจูงใจในการก่อคดียังรู้สึกว่ามีน้ำหนักน้อยไปสักหน่อย คงเพราะความที่คนร้ายเป็นคนประเภทมีจิตรุนแรงในพื้นนิสัย ทำให้ต้องลุ้นเอาใจช่วยนิตตะและนาโอมิในตอนที่เนื้อเรื่องเปิดเผยให้คนอ่านทราบแล้วว่าเป็นใคร ทั้งสองจะปลอดภัยหรือไม่ จะจับตัวคนร้ายได้ไหม ใครจะถูกฆ่าเป็นรายถัดไปหรือเปล่า ต้องตามอ่านต่อในพิกัดต่อไปใครเป็นศพครับ 🖋วิจารณ์หลังจบเรื่อง เป็นการเล่าในมุมมองบุคคลที่สามคือมุมมองพระเจ้า ฉากหลักตลอดทั้งเรื่องเกิดขึ้นภายในโรงแรม ตัวละครที่มีการเอ่ยชื่อและมีบทบาทสำคัญไม่เยอะจนเกินไป จึงทำให้คนอ่านจดจำและรู้สึกใกล้ชิดกับตัวเอก ไปจนตัวรองที่ถูกกล่าวถึงบ่อย ๆ ได้ไม่ยาก ความจริงในส่วนของคดีที่เกิดในเล่มนี้นั้น พูดตามจริงแล้วไม่ได้มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไร รูปแบบการฆ่าก็ธรรมดาเกินกว่าจะดูน่ากลัวหรือลึกลับ เพียงแต่มีจุดเด่นตรงชุดตัวเลขปริศนาว่าหมายถึงอะไร และชวนน่าสงสัยเล็กน้อยว่าคนร้ายจะฆ่าคนไปทำไม เพราะดูเหมือนตำรวจมีข้อมูลน้อยมาก จนการสืบสวนแทบไม่เดินหน้าไปไหนเลย 🏨 เป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่คงจะต้องการให้โทนของเรื่องออกมาในลักษณะนี้ คือไม่เน้นที่การสืบสวนคลี่คลายปมเป็นพิเศษ จึงไม่จำเป็นต้องผูกเรื่องราวของคดีที่เกิดขึ้นให้มีความอลังการ จนดึงดูดความสนใจกระหายใคร่รู้ และกระตุ้มต่อมนักสืบของคนอ่านจนพุ่งสูงด้วยความเข้มข้นของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเหยื่อ แต่กลับเลือกที่จะให้ดูเป็นคดีทั่วไป ไม่มีความโชกเลือดหรือบ้าคลั่งของฆาตกรเป็นที่ปรากฏออกมาในบรรยากาศ ซึ่งในแง่นี้ถือว่านักอ่านหลายคนอาจถูกภาพปกของหนังสือหลอกเอาได้ เพราะโทนสีดำแดง กับเลือดเปรอะกระจายบนแผนที่ อีกทั้งชื่อเรื่องชวนค้นหาว่าคงจะดำเนินไปในแนวทางน่าตื่นเต้นกับการตามสืบอะไรทำนองนั้น ซึ่งใครที่คาดหวังมากก็อาจผิดหวังเมื่อพบว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นไปในทิศทางที่ตนคาดว่าจะได้พบเจอ 🏨 แต่นี่ไม่มีปัญหากับผม ส่วนตัวชอบมาก แทบไม่ได้สนใจในคดีด้วยซ้ำว่าใครจะเป็นคนร้าย ใครเป็นเป้าหมายที่กำลังจะถูกฆ่า และทำไมต้องฆ่า คืออ่านไปได้เรื่อย ๆ อย่างเพลิดเพลิน ชอบในความที่เนื้อหาเจาะลึกถึงวงการคนโรงแรม ทำให้เราได้รู้ข้อมูลหลายอย่าง สิ่งที่พนักงานต้องแบกรับและพบเจอที่เป็นเรื่องเบื้องลึกเบื้องหลัง ซึ่งคนทั่วไปไม่ค่อยได้คำนึงถึงและไม่เคยมองในมุมของคนทำงานเหล่านั้น จึงเป็นความบันเทิงที่สามารถได้รู้เรื่องราวอินไซด์โดยผ่านการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของนาโอมิ กับประเด็นต่าง ๆ ที่เข้ามามากมาย คล้ายกำลังได้ติดตามดูซีรีส์ชีวิตการทำงานในอาชีพด้านการบริหารโรงแรมดี ๆ สักเรื่องหนึ่ง ซึ่งอดีตเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เคยได้รับชมมาบ้างทั้งของญี่ปุ่นและเกาหลี 🏨 จุดเด่นในการดำเนินเรื่องคือเราจะได้เห็นพัฒนาการความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นของสองตัวละครหลัก ในระหว่างร่วมกันแก้ไขปัญหา แม้มีความขัดแย้งจากความเห็นมุมมองที่ต่างสถานะบ้างก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ ดีเสียอีกทำให้ต่างฝ่ายได้เรียนรู้เพิ่ม เป็นประสบการณ์ใหม่และเปิดมุมมองอีกด้านที่ตนไม่เคยใส่ใจ จนเกิดเป็นความเห็นอกเห็นใจ และเชื่อใจกันโดยไม่รู้ตัว แม้นภายนอกเหมือนไม่ชอบหน้ากันก็ตาม ที่สำคัญคือแม้เรื่องแนวทางการสืบหาตัวคนร้ายเหมือนไม่คืบหน้าไปไหน แต่เมื่อนาโอมิแก้ปัญหาลูกค้าไปทีละเรื่องต่อเนื่องไป ทำให้นิตตะเองสะดุดคิดได้ถึงบางสิ่งบางอย่างที่จะเกี่ยวโยงไปถึงคดีได้อย่างไม่ตั้งใจ บางครั้งคำพูดของนาโอมิเองช่วงสนทนากับนิตตะ ไปจุดประกายให้เขาพลันนึกอะไรได้ขึ้นมาอย่างกะทันหันก็มี รวมถึงคู่หูนายตำรวจท้องที่ผู้มีอายุมากกว่าเขา ก็ยังมีส่วนช่วยอย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน ทำให้เห็นถึงพลังของความช่วยเหลือกันและกันของความเป็นเพื่อน แม้เพิ่งทำความรู้จักกันชั่วระยะเวลาไม่นาน นี่จึงไม่ใช่นิยายสืบสวนที่เน้นความเก่งฉกาจของนักสืบที่รับผิดชอบคดีแบบฉายเดี่ยว แต่ต้องอาศัยความเชื่อใจระหว่างกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความเห็นที่มีของตนคนเดียวอาจจะไม่เพียงพอ หากพิจารณาให้ดี จะได้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลแวดล้อมที่ดูราวกับไม่มีส่วนสำคัญ แต่แท้จริงถ้าไม่ได้ความคิดเห็นหรือความช่วยเหลือของเขา พระเอกของเราก็ยังคงไม่อาจฉุกใจได้คิด จนนำไปสู่การรู้ตัวคนร้ายในช่วงท้ายของเรื่อง บทสรุปก่อนจบ มีแนวโน้มให้คนอ่านได้ลุ้นว่านิตตะกับนาโอมิ จะมีความเป็นไปได้ในการเป็นคู่รักหรือไม่ แต่ที่มั่นใจคือน่าจะมีเล่มต่อให้ได้ติดตามกันอย่างแน่นอน. ......................................... 2. #พิกัดต่อไปใครเป็นศพตอนลางร้ายใต้หน้ากาก #masqueradeeve เล่มที่สองของซีรีส์ ที่ยังคงความสนุกได้ไม่แพ้เล่มแรก แต่ความหนาน้อยลงเหลือ 352 หน้า สำนักพิมพ์น้ำพุ ปี พ.ศ.2023 /ราคา 345 บาท ฮิงาชิโนะ เคโงะ เขียน อภิญญา เตชะบุญไพศาล แปล เนื้อหาย่อของเล่มนี้ ถึงจะออกมาเป็นเล่มที่สองของชุด แต่เหตุการณ์เป็นเรื่องก่อนหน้าคดีในเล่มแรก คือย้อนไปเล่าสมัยที่นาโอมิเพิ่งจะเข้าทำงานใน คอร์เทเชียโตเกียวได้แค่สี่ปี และย้ายแผนกมาอยู่ฝ่ายต้อนรับไม่นาน ยังเห็นถึงความผิดพลาดบกพร่องที่ไม่คล่องตัว ยังไม่มีความเชื่อมั่นในประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญดังภาพที่ปรากฏในเล่มก่อนหน้า ทว่าก็ยังคงบุคลิกที่มุ่งมั่นในการให้บริการ และมีหัวใจในการคิดถึงและเอาใจใส่ต่อลูกค้าทุกคนอย่างซื่อสัตย์ 🏨 เริ่มต้นมา นาโอมิก็ได้แสดงความสามารถที่ทำให้เห็นถึงความมีไหวพริบปฏิภาณ และช่างสังเกต อันเป็นคุณสมบัติที่ควรต้องมีในคนที่ทำอาชีพเช่นเธอ โดยมีชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งนาโอมิจดจำได้ว่าเป็นอดีตแฟนที่เคยคบหากันชั่วเวลาหนึ่งสมัยที่เธอเรียนมหาวิทยาลัย แต่มีเหตุให้ต้องเลิกราแยกย้ายกันไปคนละเส้นทาง เขามากับชายอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นนักกีฬาเบสบอลอาชีพที่มีชื่อเสียงมาก โดยทำหน้าที่เป็นผจก.ส่วนตัวนักกีฬาชาย แล้วได้เกิดเหตุการณ์ชุลมุนขึ้นในขณะที่ทั้งสองมาพักอยู่ในโรงแรม จนเป็นเหตุให้แฟนเก่าคนนี้โทร.ตามตัวนาโอมิจากหน้าฟรอนต์ให้มาช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งเธอไม่เต็มใจนักแต่ต้องตัดความรู้สึกส่วนตัวออก แล้วสวมหัวใจพนักงานฝ่ายต้อนรับที่ต้องช่วยเหลือบริการแก่ลูกค้าอย่างดีที่สุด ซึ่งสุดท้ายเธอก็สามารถจัดการกับปัญหาให้จบลงด้วยดี 🏨 ทางด้านนิตตะนั้น เพิ่งเริ่มต้นอาชีพด้วยการเข้าเป็นน้องใหม่ในสังกัดกรมตำรวจหลังกลับมาจากต่างประเทศไม่นาน โดยมีรุ่นพี่โมโตมิยะ(ปรากฏตัวในเล่มแรกด้วย โดยเป็นหนึ่งที่ปลอมตัวเข้าไปในโรงแรม) ที่เป็นคู่หูและพี่เลี้ยง ซึ่งคดีแรกที่เขาต้องคลี่คลายคือ คดีฆาตกรรมวันไวต์เดย์ โดยตำรวจได้รับแจ้งจากหญิงสาวคนหนึ่งว่าสามีของตนออกไปวิ่งออกกำลังตอนกลางดึกแต่ยังไม่กลับถึงบ้านตามเวลา สุดท้ายมีการพบว่าสามีของเธอกลายเป็นศพอยู่ในสวน ซึ่งเสียชีวิตจากการถูกแทงที่ท้องและหลัง มีอะไรหลายอย่างที่พบในที่เกิดเหตุ รวมถึงข้อมูลที่ตำรวจได้สืบทราบมา ที่รบกวนใจของนิตตะ เขาได้แสดงความสามารถออกมาเป็นที่ปรากฏจนรุ่นพี่ออกจะไม่พอใจและหมั่นไส้อยู่บ้าง ด้วยสิ่งที่นิตตะคาดคะเนและวิเคราะห์ทำให้ตำรวจสามารถพบตัวของผู้ก่อเหตุได้ในเวลาไม่นาน แต่คดีนี้มีอะไรที่ซับซ้อนยิ่งกว่าสิ่งที่ตำรวจรู้ 🏨 ตัดมาที่การปฏิบัติงานของนาโอมิ ในเหตุการณ์ที่มีกลุ่มชายหลายคน มาจองห้องพักและมีพฤติการณ์ที่ทำให้เธอรู้สึกว่าแปลกพิกล ต่อมาทราบว่าที่แท้คนกลุ่มนี้หวังที่จะมาเฝ้ารอเพื่อจะได้พบเจอกับนักเขียนนิยายที่โด่งดังนามว่า ทาจิบานะ ซากุระซึ่งเขียนแนวประโลมโลก และจะเข้ามาพักที่โรงแรมเพื่อเขียนงานใหม่ เนื่องจากเหล่าสาวกที่ชื่นชอบงานเขียนของซากุระ ไปเห็นรูปที่ถูกระบุว่าเป็นนักเขียนหญิงคนดังในโซเชียลมีเดีย พอเห็นว่าเป็นสาวสวยจึงหาวิธีที่จะได้พบเจอตัวจริงให้ได้ จึงเป็นหน้าที่ของนาโอมิ ที่จะต้องรักษาความเป็นส่วนตัวรวมถึงความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าที่มาใช้บริการ ความยุ่งยากจึงเกิดขึ้น 🏨 ตอนสุดท้าย นาโอมิได้รับการขอจากผู้จัดการให้ช่วยไปสอนงานให้กับพนักงานแผนกต้อนรับที่สาขาโอซาก้า ซึ่งเพิ่งเปิดโรงแรมได้ไม่นาน เธอจึงต้องไปทำงานอยู่ที่นั่นชั่วระยะเวลาหนึ่งแต่ไม่เกินครึ่งปี ในขณะที่นิตตะมีคดีใหม่ที่ต้องรับผิดชอบกับรุ่นพี่โมโตมิยะ คือการตายของอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่กำลังทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องทางสิทยาศาสตร์ โดยพบศพในห้องทำงาน คดีนี้มีผู้ต้องสงสัยที่ตำรวจค่อนข้างมั่นใจว่าน่าจะเป็นบุคคลคนหนึ่ง แต่ทว่าเขากลับมีหลักฐานยืนยันที่อยู่ชัดเจนในช่วงเวลาที่คาดว่าเหยื่อถูกฆ่าตาย ซึ่งเจ้าตัวเข้าใจว่าตนเองรอดพ้นแน่แต่แท้จริงเบื้องหลังยังมีอะไรที่ไม่เป็นดังที่คิด ที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากกว่า ในกรณีทีมสืบสวนเอง ผู้ใหญ่ได้สั่งการลงมาให้นิตตะจับคู่กันกับตำรวจหญิงวัยละอ่อน ที่เป็นตำรวจท้องที่มีนามว่า ริสะ ที่ถูกย้ายมาจากแผนกความปลอดภัยชุมชน ให้มาร่วมในทีมเป็นครั้งแรก นิตตะไม่พอใจนักแต่จำใจต้องทำตาม แม้จะดูเหมือนเป็นตำรวจหญิงที่อ่อนต่อโลก พูดเป็นต่อยหอย และขาดไหวพริบม แต่ริสะก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นใส่ใจในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการที่เธอได้รับคำสั่งจากนิตตะให้ไปสืบเช็กข้อมูลจากโรงแรมคอร์เทเชียโอซาก้า เพื่อยืนยันคำพูดจากปากของชายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี ทำให้ริสะได้พบกับนาโอมิ อันก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมาถึงผลลัพธ์ในภายหลัง 🖋วิเคราะห์หลังอ่านจบ เล่มนี้เล่าเรื่องโดยแยกเนื้อหาระหว่างการแก้ปัญหาในโรงแรมของนาโอมิ กับการไขคดีของนิตตะออกจากกันชัดเจนเป็นตอนที่จบในตัว เริ่มจากตอนของนาโอมิก่อน จากนั้นสลับไปเล่าฝั่งนิตตะ แต่ในตอนสุดท้ายจะผนวกสองฝั่งให้เชื่อมถึงกันในคดีที่มีผู้เกี่ยวข้องได้ไปเข้าพักที่โรงแรมคอร์เทเชียโอซาก้าซึ่งนาโอมิกำลังอยู่ในช่วงที่สอนงานให้พนักงานที่นั่น ทั้งคู่ไม่ได้พบกันเลย เพราะการพบกันครั้งแรกเกิดขึ้นในเล่มแรก แต่ผู้เขียนมีความสามารถในการผูกโยงเรื่องราวให้คนอ่านรู้สึกเหมือนว่าได้เห็นคนทั้งสองอย่างใกล้ชิด และได้เห็นบุคลิกกับอุปนิสัยส่วนตัวของนาโอมิกับนิตตะมากขึ้น นิตตะในเล่มนี้ มีโอกาสได้แสดงฝีมือในการคิดวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์กับข้อมูลที่ใช้หาตัวคนร้าย ได้เด่นชัดกว่าเล่มแรก สมกับที่เป็นระดับหัวกะทิที่เพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ แต่เราก็จะได้เห็นถึงข้อเสียใหญ่ของเขาที่ไม่น่ารักเช่นกัน คือเป็นคนมั่นใจในความฉลาดของตนมากจนเหมือนดูถูกคนที่ด้อยกว่า โดยเฉพาะความคิดที่เห็นว่าผู้หญิงเป็นตัวถ่วง สู้ผู้ชายไม่ได้ ดังที่นิตตะแสดงออกทางสีหน้าท่าทางและคำพูดต่อเด็กใหม่อย่างริสะ ที่เหมือนเป็นได้แค่ลูกไล่ไร้ประโยชน์ ซึ่งต่างจากนาโอมิ ที่แม้จะมองออกว่าริสะเป็นตำรวจที่ความสามารถไม่ถึงขั้น แต่ก็ไม่ได้แสดงท่าทีรำคาญ กลับมองเห็นถึงมุมที่เป็นความอดทน ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดของตำรวจหญิงในการพยายามค้นหาความจริงให้ได้ ความมุ่งมั่นของริสะจึงเอาชนะใจของนาโอมิ จนยอมช่วยเหลือด้วยการเปิดเผยเรื่องราวบางส่วนให้ริสะทราบ ในส่วนของการคลี่คลายคดี ไม่มีอะไรลึกลับซับซ้อนจนเกินไป แต่เล่มนี้จะเน้นไปที่คดีที่น่าจะเป็นที่มาของชื่อตอน (ลางร้ายใต้หน้ากาก) ถึงสองคดีด้วยกันครับ ถ้าได้อ่านแล้วจะเข้าใจ และน่าจะเห็นตรงกันว่าภายใต้หน้ากากที่ภายนอกดูไม่ได้รู้เลยว่าจะกลายเป็นคนร้ายได้ สุดท้ายก็แอบซ่อนความบิดเบี้ยวของใจที่โดนกิเลสเข้าครอบงำได้อย่างน่ากลัว ตัวละครในเรื่อง สำหรับเล่มนี้ รู้สึกว่าริสะที่แม้จะมีบทบาทเพียงแค่ช่วงคดีสุดท้ายนั้น เป็นตัวละครที่เขียนมาได้น่าสนใจมาก โผล่มาทีไรก็ทำให้คนอ่านอย่างผมอดขำไม่ได้ ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้ไปต่อในเล่มอื่น ๆ ของชุดนี้หรือไม่ ส่วนนาโอมินั้นยังคงเป็นตัวละครที่มีเสน่ห์เช่นเดิม เทียบกับนิตตะแล้วส่วนตัวมีความรู้สึกชอบนาโอมิมากกว่า นอกจากนี้ยังชอบตอนจบของเรื่อง ที่มีการโยงถึงเหตุการณ์ที่เป็นต้นตอนำไปสู่ความอาฆาตแค้นของฆาตกรในคดีที่เกิดขึ้นในเล่มแรก สรุปว่าอ่านจบเล่มสองแล้วก็จะไปต่อเหตุการณ์ของเล่มแรกพอดี ใครเริ่มอ่านจากเล่มนี้ก่อน สามารถอ่านเล่มแรกต่อเนื่องได้เลย 📌คำเตือน : สำหรับคนที่ชอบการสืบคดีแบบเข้มข้น มีวิธีการฆ่าที่ค่อนข้างแปลกพิสดารหรือโหดสยอง และมีกลวิธีในการอำพรางซ่อนเร้นที่ไม่ธรรมดา ซีรีส์ชุดนี้อาจไม่ตอบโจทย์ แล้วเลยพาลจะไม่ชอบหรือหมดสนุกได้ง่าย แต่ถ้าชอบแนวได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพของตัวเอกควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และการไขคดีที่ไม่โลดโผน ชุดนี้น่าจะเป็นที่ชื่นชอบของคุณได้ไม่ยากครับ ป.ล. มีปกใหม่ออกมาที่คิดว่าทำได้ดีตรงกับแนวเรื่องและชื่อตอนมากกว่าปกฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกด้วย เพราะปกของเล่มสองนี้ดูเหมือนน่าจะโหดมาก แต่เนื้อในไม่ใช่อย่างที่คิด ใครอ่านตั้งแต่ต้นมาจนถึงบรรทัดสุดท้ายนี้ได้ขอได้รับความขอบคุณจากผมด้วยครับ #thaitimes #หนังสือ #หนังสือน่าอ่าน #นิยายแปล #นิยายญี่ปุ่น #นิยายสืบสวน #สืบสวน #คดีฆาตกรรม #งานโรงแรม #พนักงานต้อนรับ #ตำรวจ #นักสืบ #ลูกค้า #งานบริการ #อาชีพ #ฮิงาชิโนะเคโงะ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1262 มุมมอง 0 รีวิว
  • #เพราะอย่างนี้คุณถึงถูกฆ่า
    เขียนโดย มิซูกิ ฮิโรมิ

    สนพ.ไดฟุกุ มีนาคม พ.ศ.2566 279 หน้า 319 บาท
    แปลโดย บัณฑิต ประดิษฐานุวงศ์
    ภาพประกอบโดย ศศิ

    เห็นในห้องสมุดหลายครั้ง แต่ก็เลือกเล่มอื่นที่อยากอ่านมากกว่า คลาดกันมาหลายเดือน สุดท้ายยืมมาอ่านด้วยเหตุผลคือภาพหน้าปกและใจความไม่กี่ประโยคบนปกหลัง

    หนังสือเล่มนี้ทำให้นึกถึงสมัยเด็กที่ชอบวาดรูปการ์ตูนในหนังสือเรียนต่าง ๆ เมื่อสังเกตเห็นรูปโคมไฟเพดาน และขาตั้งไม้ที่ใช้สำหรับวาดรูป ที่เป็นรูปประกอบเล็ก ๆ อยู่มุมบนของแต่ละหน้านั้น หากพลิกไว ๆ จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากการวาดแต่ละหน้าให้ต่างกันเล็กน้อย ตอนเด็กตัวเองก็ชอบเขียนแบบนี้เล่นเช่นกัน รู้สึกชอบในความคิดสร้างสรรค์ในจุดนี้ แน่นอนว่าหน้าปกนั้นทำหน้าที่ได้ดี มีเรื่องราวที่เป็นส่วนสำคัญของเนื้อหาทั้งหมดใส่มาในภาพเดียว การใช้พื้นหลังสีขาว ทำให้ลายเส้นและสีสันตรงกลางโดดเด่น ส่วนสีที่เลือกใช้ระหว่างความอบอุ่นแจ่มใส(เหลือง) กับความสงบ เยือกเย็น (น้ำเงิน ฟ้า) ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย น่าไว้วางใจ ไม่รู้ว่าตอนลงสีผู้วาดต้องการสื่ออย่างนั้นหรือไม่ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาเข้ากับโทนเรื่องและบุคลิกของตัวละคร รวมถึงฉากสำคัญได้ดี

    เล่มนี้เป็นหนึ่งในเล่มที่ส่วนตัวคงอ่านครั้งเดียว ไม่ใช่เพราะไม่ดี แต่เรื่องราวหดหู่เกินไป อ่านแล้วเห็นใจและสงสารในชะตากรรมของตัวละครตัวหนึ่งจนถึงขนาดต้องวางเพื่อพัก คือใจหนึ่งไม่อยากรู้เรื่องราวต่อจากนั้น เพราะเห็นภาพราง ๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่ก็อยากรู้ว่าที่แท้แล้วคนร้ายคือใครกันแน่ จึงต้องยอมหยิบขึ้นมาอ่านต่อ กว่าจะจบก็หยิบวางอยู่หลายหน

    เนื้อหาโดยสังเขป นายตำรวจหนุ่มคนหนึ่งตัดสินใจย้ายออกจากหอพักตำรวจโสด เพื่อมาดูแลน้องสาวอายุ 17 ปีที่จากกันมานานถึงสิบปีและอยู่ตัวคนเดียว เนื่องจากแม่ของทั้งสองเพิ่งจะผูกคอตายไปไม่นาน พ่อกับแม่ของสองคนนี้แยกทางกัน คนพี่เลือกอยู่กับพ่อ แล้วให้น้องอยู่กับแม่ แต่แม่ป่วยต้องใช้เงินรักษาจำนวนมากจึงขัดสน เคยส่งจดหมายขอความช่วยเหลือจากสามีหลายครั้ง แต่เขาไม่สนใจ กลับแต่งงานมีภรรยาใหม่และมีลูก ต่อมาพี่ชายทราบข่าวแม่ จึงเข้ามามีบทบาทต่อเพราะน้องสาวไม่เหลือใคร ในขณะเดียวกันก็เกิดคดีที่มีคนพบศพหญิงวัยรุ่น ซึ่งคาดว่าถูกฆ่าตายทิ้งไว้แถวทางเดินสีเขียวริมแม่น้ำ พี่ชายจึงต้องเข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมสืบสวนหาสาเหตุ โดยมีน้องสาวที่เรียนมัธยมปลาย ซึ่งค่อนข้างเฉลียวฉลาดคอยช่วยหาข้อมูลป้อนให้

    ตัวละครในเรื่องเยอะ โดยเฉพาะตำรวจในทีมสืบสวน ชื่อจำยาก ทำให้เป็นปัญหากับผมอย่างมาก จำได้แค่ชื่อคู่หูของพี่ชาย และเพื่อนร่วมงานที่เป็นเหมือนคู่แข่งได้เท่านั้น ส่วนหนึ่งที่ค่อนข้างแตกต่างและโดดเด่นไปจากแนวสืบสวนเล่มอื่นคือ เล่มนี้เน้นให้เห็นภาพการทำงานของตำรวจญี่ปุ่น เวลาเกิดคดีฆาตกรรมที่มีความสมจริงมาก เพราะบทสนทนาของตำรวจที่ร่วมการสืบสวนนั้น ทำให้คนอ่านเหมือนร่วมรับฟังการประชุมอยู่ในสถานีตำรวจ และขั้นตอนวิธีในการสืบสวนของวงการนี้แบบละเอียด นี่เองที่เป็นส่วนที่ทำให้ช่วงต้นถึงเกือบครึ่งค่อนเล่มนั้น เรื่องดำเนินไปแบบเฉิบ ๆ เนิบ ๆ ออกเนือยจนอาจทำให้บางคนที่ไม่ค่อยอดทนพอ จะยอมแพ้เลิกอ่านไปก่อนได้

    การเล่าเรื่องนั้นใช้วิธี แบ่งเป็นส่วน ๆ โดยการแยกเป็นบทย่อย กล่าวถึงตัวละครหลักตัวใด ก็จะเป็นมุมมองความคิดของตัวละครนั้นต่อคนรอบข้าง ซึ่งหลัก ๆ ก็มีอยู่ 5-6 คน ผู้เขียนมีความฉลาดในการสร้างปมให้กับตัวละครบางตัวที่ทำให้เกิดความน่าสงสัย จนต้องอ่านไปเรื่อย ๆ ด้วยอยากรู้ว่าคนที่น่าสงสัยนี้ จะใช่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมหรือไม่

    แท้จริงเรื่องราวของการไขคดีนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้ายิ่ง เพราะไปเน้นเหตุการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของตัวละครหลักในเรื่อง ซึ่งดูเหมือนไม่น่าจะมีอะไร แต่เรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความบังเอิญ ทว่าอยู่ในแผนการที่ถูกเตรียมจัดวางไว้อย่างดีของคนร้ายตัวจริง

    ที่ต้องบอกแบบนี้เพราะ คนร้ายคนแรกนั้นไม่ได้ร้ายเพราะมีจิตใจอยากทำ ส่วนคนร้ายแฝงซึ่งคือตัวจริงที่ถูกเปิดเผยในตอนท้ายสุดนี้สิ.. ที่น่ากลัว เพราะร้ายด้วยจิตเจตนาอันแน่วแน่ต่อการกระทำอันร้ายกาจของตนโดยไม่ได้รู้สึกผิด

    เรื่องนี้ค่อนข้างมีความรุนแรงอยู่มาก ทั้งในเรื่องทางเพศที่มีความเบี่ยงเบนไปในทางผิด การใช้กำลังทำร้ายในครอบครัว การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เพื่อหวังความก้าวหน้าโดยไม่คำนึงถึงความควรไม่ควร ความปลิ้นปล้อน ยอกย้อนของจิตใจคน ที่ซ่อนตัวตนอันร้ายกาจไว้ภายใน

    ตัวละครที่ควรจะเป็นตัวหลักในการไขคดีนั้น ถูกสร้างมาเพื่อหลอกคนอ่านโดยแท้ และใครกันคือคนที่สมควรแล้วกับความตายที่ได้รับ ดังที่ชื่อเรื่องได้เกริ่นนำไว้ สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านเล่มนี้ ขอให้หยุดได้ตั้งแต่บรรทัดนี้ เพราะย่อหน้าถัดไปคุณยังไม่ควรทราบ เพื่อจะไม่เสียอรรถรสก่อน ส่วนคนที่อ่านจบแล้วสามารถอ่านต่อเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความเห็นได้ตามอัธยาศัยครับ

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    .

    นึกสงสัยพฤติกรรมและคำพูดหลายอย่างของน้องสาวตั้งแต่ช่วงต้น ๆ เล่มแล้วเชียว ยังคิดอยู่เลยว่าการผูกคอตายของแม่ จะใช่ความต้องการของเจ้าตัวจริงหรือ อาจถูกลูกสาวฆ่าหรือเปล่า แต่ก็คิดไม่ถึงว่านางจะร้ายลึกขนาดมีส่วนต่อการทำให้เกิดคดีและมีคนเสียชีวิตในภายหลัง ช่างเป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้นจนน่าขนลุก โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงคำเรียกพี่ชายว่า พี่จ๋า..ทั้งที่ห่างเหินไม่ได้เจอกันเลยเป็นสิบปี ดูจะพยายามทำความสนิทสนม และปฏิบัติเอาใจจนเกินไปจากความปกติพอดีของคนทั่วไปที่ควรจะเป็น

    แต่ช่วงต้นก็ถูกผู้เขียนสับขาหลอกให้ไขว้เขวและสงสัยในตัวของหญิงสาวที่อาศัยอยู่กับพ่อและปู่ เพราะการไม่บอกสิ่งที่รู้เกี่ยวกับคดีแรกกับตำรวจ สุดท้ายเธอคือคนที่น่าสงสารที่สุด มีจิตใจอ่อนโยน ใสซื่อ และเป็นผู้ถูกกระทำตั้งแต่ต้นจนจบ ความคิดที่ว่าขอเพียงมีที่ซุกหัวนอน มีอาหารกินอิ่มท้อง มีคนคอยปกป้อง แม้คนนั้นจะทำไม่ดีกับเธอจนถึงขั้นล่วงเกินต่อร่างกายก็ยอม แสดงให้เห็นว่าเป็นคนหัวอ่อน ตกเป็นเหยื่อง่าย ต่างจากน้องสาวนายตำรวจราวขาวกับดำ คนนั้นก็ภายนอกสดใส ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง เข้ากับใครง่าย เหมือนจะหวังดีให้ความช่วยเหลือคนอื่นด้วยน้ำใสใจจริง แต่ตัวตนแท้กลับกลอกกลิ้งจนกลมเกลี้ยง ทำร้ายทุกคนได้ไม่ว่าใครแม้แต่คนในครอบครัว เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ

    อดคิดต่อหลังจบเล่มไม่ได้ ที่ตอนท้ายเนื้อหาระบุว่าพ่อรับเธอไปอยู่ด้วยหลังพี่ชายตาย นางคงจะวางแผนจัดการกับพ่อของตัวเอง และภรรยาของพ่อรวมถึงลูกที่เกิดจากภรรยาใหม่ด้วย เพื่อที่สุดท้ายทุกอย่างของพ่อจะได้ตกเป็นของเธอทั้งหมด

    ต้องเป็นอย่างนั้นแน่นอน ดูจากพฤติกรรมในเรื่องแล้ว แนวโน้มความเป็นไปได้สูงมาก

    สรุปว่าเป็นอีกเล่มที่เขียนได้ดีและน่าสนใจครับ แต่ไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าชื่นชอบ ด้วยความแรงของเนื้อหาที่มืดมนนั่นเอง

    #นิยายแปล
    #นิยายญี่ปุ่น
    #สืบสวน
    #ฆาตกรรม
    #สำนักพิมพ์ไดฟุกุ
    #หนังสือแนะนำ
    #18+
    #ความรุนแรง
    #เนื้อหาทางเพศ
    #thaitimes
    #เพราะอย่างนี้คุณถึงถูกฆ่า เขียนโดย มิซูกิ ฮิโรมิ สนพ.ไดฟุกุ มีนาคม พ.ศ.2566 279 หน้า 319 บาท แปลโดย บัณฑิต ประดิษฐานุวงศ์ ภาพประกอบโดย ศศิ เห็นในห้องสมุดหลายครั้ง แต่ก็เลือกเล่มอื่นที่อยากอ่านมากกว่า คลาดกันมาหลายเดือน สุดท้ายยืมมาอ่านด้วยเหตุผลคือภาพหน้าปกและใจความไม่กี่ประโยคบนปกหลัง หนังสือเล่มนี้ทำให้นึกถึงสมัยเด็กที่ชอบวาดรูปการ์ตูนในหนังสือเรียนต่าง ๆ เมื่อสังเกตเห็นรูปโคมไฟเพดาน และขาตั้งไม้ที่ใช้สำหรับวาดรูป ที่เป็นรูปประกอบเล็ก ๆ อยู่มุมบนของแต่ละหน้านั้น หากพลิกไว ๆ จะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวที่เกิดจากการวาดแต่ละหน้าให้ต่างกันเล็กน้อย ตอนเด็กตัวเองก็ชอบเขียนแบบนี้เล่นเช่นกัน รู้สึกชอบในความคิดสร้างสรรค์ในจุดนี้ แน่นอนว่าหน้าปกนั้นทำหน้าที่ได้ดี มีเรื่องราวที่เป็นส่วนสำคัญของเนื้อหาทั้งหมดใส่มาในภาพเดียว การใช้พื้นหลังสีขาว ทำให้ลายเส้นและสีสันตรงกลางโดดเด่น ส่วนสีที่เลือกใช้ระหว่างความอบอุ่นแจ่มใส(เหลือง) กับความสงบ เยือกเย็น (น้ำเงิน ฟ้า) ที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย น่าไว้วางใจ ไม่รู้ว่าตอนลงสีผู้วาดต้องการสื่ออย่างนั้นหรือไม่ แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาเข้ากับโทนเรื่องและบุคลิกของตัวละคร รวมถึงฉากสำคัญได้ดี เล่มนี้เป็นหนึ่งในเล่มที่ส่วนตัวคงอ่านครั้งเดียว ไม่ใช่เพราะไม่ดี แต่เรื่องราวหดหู่เกินไป อ่านแล้วเห็นใจและสงสารในชะตากรรมของตัวละครตัวหนึ่งจนถึงขนาดต้องวางเพื่อพัก คือใจหนึ่งไม่อยากรู้เรื่องราวต่อจากนั้น เพราะเห็นภาพราง ๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แต่ก็อยากรู้ว่าที่แท้แล้วคนร้ายคือใครกันแน่ จึงต้องยอมหยิบขึ้นมาอ่านต่อ กว่าจะจบก็หยิบวางอยู่หลายหน เนื้อหาโดยสังเขป นายตำรวจหนุ่มคนหนึ่งตัดสินใจย้ายออกจากหอพักตำรวจโสด เพื่อมาดูแลน้องสาวอายุ 17 ปีที่จากกันมานานถึงสิบปีและอยู่ตัวคนเดียว เนื่องจากแม่ของทั้งสองเพิ่งจะผูกคอตายไปไม่นาน พ่อกับแม่ของสองคนนี้แยกทางกัน คนพี่เลือกอยู่กับพ่อ แล้วให้น้องอยู่กับแม่ แต่แม่ป่วยต้องใช้เงินรักษาจำนวนมากจึงขัดสน เคยส่งจดหมายขอความช่วยเหลือจากสามีหลายครั้ง แต่เขาไม่สนใจ กลับแต่งงานมีภรรยาใหม่และมีลูก ต่อมาพี่ชายทราบข่าวแม่ จึงเข้ามามีบทบาทต่อเพราะน้องสาวไม่เหลือใคร ในขณะเดียวกันก็เกิดคดีที่มีคนพบศพหญิงวัยรุ่น ซึ่งคาดว่าถูกฆ่าตายทิ้งไว้แถวทางเดินสีเขียวริมแม่น้ำ พี่ชายจึงต้องเข้าร่วมเป็นหนึ่งในทีมสืบสวนหาสาเหตุ โดยมีน้องสาวที่เรียนมัธยมปลาย ซึ่งค่อนข้างเฉลียวฉลาดคอยช่วยหาข้อมูลป้อนให้ ตัวละครในเรื่องเยอะ โดยเฉพาะตำรวจในทีมสืบสวน ชื่อจำยาก ทำให้เป็นปัญหากับผมอย่างมาก จำได้แค่ชื่อคู่หูของพี่ชาย และเพื่อนร่วมงานที่เป็นเหมือนคู่แข่งได้เท่านั้น ส่วนหนึ่งที่ค่อนข้างแตกต่างและโดดเด่นไปจากแนวสืบสวนเล่มอื่นคือ เล่มนี้เน้นให้เห็นภาพการทำงานของตำรวจญี่ปุ่น เวลาเกิดคดีฆาตกรรมที่มีความสมจริงมาก เพราะบทสนทนาของตำรวจที่ร่วมการสืบสวนนั้น ทำให้คนอ่านเหมือนร่วมรับฟังการประชุมอยู่ในสถานีตำรวจ และขั้นตอนวิธีในการสืบสวนของวงการนี้แบบละเอียด นี่เองที่เป็นส่วนที่ทำให้ช่วงต้นถึงเกือบครึ่งค่อนเล่มนั้น เรื่องดำเนินไปแบบเฉิบ ๆ เนิบ ๆ ออกเนือยจนอาจทำให้บางคนที่ไม่ค่อยอดทนพอ จะยอมแพ้เลิกอ่านไปก่อนได้ การเล่าเรื่องนั้นใช้วิธี แบ่งเป็นส่วน ๆ โดยการแยกเป็นบทย่อย กล่าวถึงตัวละครหลักตัวใด ก็จะเป็นมุมมองความคิดของตัวละครนั้นต่อคนรอบข้าง ซึ่งหลัก ๆ ก็มีอยู่ 5-6 คน ผู้เขียนมีความฉลาดในการสร้างปมให้กับตัวละครบางตัวที่ทำให้เกิดความน่าสงสัย จนต้องอ่านไปเรื่อย ๆ ด้วยอยากรู้ว่าคนที่น่าสงสัยนี้ จะใช่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมหรือไม่ แท้จริงเรื่องราวของการไขคดีนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้ายิ่ง เพราะไปเน้นเหตุการณ์แวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของตัวละครหลักในเรื่อง ซึ่งดูเหมือนไม่น่าจะมีอะไร แต่เรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่ไม่ใช่เกิดขึ้นจากความบังเอิญ ทว่าอยู่ในแผนการที่ถูกเตรียมจัดวางไว้อย่างดีของคนร้ายตัวจริง ที่ต้องบอกแบบนี้เพราะ คนร้ายคนแรกนั้นไม่ได้ร้ายเพราะมีจิตใจอยากทำ ส่วนคนร้ายแฝงซึ่งคือตัวจริงที่ถูกเปิดเผยในตอนท้ายสุดนี้สิ.. ที่น่ากลัว เพราะร้ายด้วยจิตเจตนาอันแน่วแน่ต่อการกระทำอันร้ายกาจของตนโดยไม่ได้รู้สึกผิด เรื่องนี้ค่อนข้างมีความรุนแรงอยู่มาก ทั้งในเรื่องทางเพศที่มีความเบี่ยงเบนไปในทางผิด การใช้กำลังทำร้ายในครอบครัว การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น เพื่อหวังความก้าวหน้าโดยไม่คำนึงถึงความควรไม่ควร ความปลิ้นปล้อน ยอกย้อนของจิตใจคน ที่ซ่อนตัวตนอันร้ายกาจไว้ภายใน ตัวละครที่ควรจะเป็นตัวหลักในการไขคดีนั้น ถูกสร้างมาเพื่อหลอกคนอ่านโดยแท้ และใครกันคือคนที่สมควรแล้วกับความตายที่ได้รับ ดังที่ชื่อเรื่องได้เกริ่นนำไว้ สำหรับคนที่ยังไม่ได้อ่านเล่มนี้ ขอให้หยุดได้ตั้งแต่บรรทัดนี้ เพราะย่อหน้าถัดไปคุณยังไม่ควรทราบ เพื่อจะไม่เสียอรรถรสก่อน ส่วนคนที่อ่านจบแล้วสามารถอ่านต่อเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความเห็นได้ตามอัธยาศัยครับ . . . . . . . . . . . . . . นึกสงสัยพฤติกรรมและคำพูดหลายอย่างของน้องสาวตั้งแต่ช่วงต้น ๆ เล่มแล้วเชียว ยังคิดอยู่เลยว่าการผูกคอตายของแม่ จะใช่ความต้องการของเจ้าตัวจริงหรือ อาจถูกลูกสาวฆ่าหรือเปล่า แต่ก็คิดไม่ถึงว่านางจะร้ายลึกขนาดมีส่วนต่อการทำให้เกิดคดีและมีคนเสียชีวิตในภายหลัง ช่างเป็นคนเจ้าคิดเจ้าแค้นจนน่าขนลุก โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงคำเรียกพี่ชายว่า พี่จ๋า..ทั้งที่ห่างเหินไม่ได้เจอกันเลยเป็นสิบปี ดูจะพยายามทำความสนิทสนม และปฏิบัติเอาใจจนเกินไปจากความปกติพอดีของคนทั่วไปที่ควรจะเป็น แต่ช่วงต้นก็ถูกผู้เขียนสับขาหลอกให้ไขว้เขวและสงสัยในตัวของหญิงสาวที่อาศัยอยู่กับพ่อและปู่ เพราะการไม่บอกสิ่งที่รู้เกี่ยวกับคดีแรกกับตำรวจ สุดท้ายเธอคือคนที่น่าสงสารที่สุด มีจิตใจอ่อนโยน ใสซื่อ และเป็นผู้ถูกกระทำตั้งแต่ต้นจนจบ ความคิดที่ว่าขอเพียงมีที่ซุกหัวนอน มีอาหารกินอิ่มท้อง มีคนคอยปกป้อง แม้คนนั้นจะทำไม่ดีกับเธอจนถึงขั้นล่วงเกินต่อร่างกายก็ยอม แสดงให้เห็นว่าเป็นคนหัวอ่อน ตกเป็นเหยื่อง่าย ต่างจากน้องสาวนายตำรวจราวขาวกับดำ คนนั้นก็ภายนอกสดใส ยิ้มแย้ม เป็นกันเอง เข้ากับใครง่าย เหมือนจะหวังดีให้ความช่วยเหลือคนอื่นด้วยน้ำใสใจจริง แต่ตัวตนแท้กลับกลอกกลิ้งจนกลมเกลี้ยง ทำร้ายทุกคนได้ไม่ว่าใครแม้แต่คนในครอบครัว เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ อดคิดต่อหลังจบเล่มไม่ได้ ที่ตอนท้ายเนื้อหาระบุว่าพ่อรับเธอไปอยู่ด้วยหลังพี่ชายตาย นางคงจะวางแผนจัดการกับพ่อของตัวเอง และภรรยาของพ่อรวมถึงลูกที่เกิดจากภรรยาใหม่ด้วย เพื่อที่สุดท้ายทุกอย่างของพ่อจะได้ตกเป็นของเธอทั้งหมด ต้องเป็นอย่างนั้นแน่นอน ดูจากพฤติกรรมในเรื่องแล้ว แนวโน้มความเป็นไปได้สูงมาก สรุปว่าเป็นอีกเล่มที่เขียนได้ดีและน่าสนใจครับ แต่ไม่อาจพูดได้เต็มปากว่าชื่นชอบ ด้วยความแรงของเนื้อหาที่มืดมนนั่นเอง #นิยายแปล #นิยายญี่ปุ่น #สืบสวน #ฆาตกรรม #สำนักพิมพ์ไดฟุกุ #หนังสือแนะนำ #18+ #ความรุนแรง #เนื้อหาทางเพศ #thaitimes
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 996 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปล่อยตัว เจสสิก้า วองโซ ทันฑ์บนคดีกาแฟไซยาไนด์

    ข่าวใหญ่ในอินโดนีเซียเวลานี้ คือ ผู้ต้องขังคดีฆาตกรรม เจสสิก้า วองโซ (Jessica Wongso) นักออกแบบกราฟิก ได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 หลังกรมราชทัณฑ์อินโดนีเซียประเมินว่าเป็นผู้คุมขังที่มีความประพฤติดี จึงได้รับการผ่อนผันการลงโทษ โดยได้รับโทษรวม 58 เดือน 30 วัน หรือประมาณ 4 ปี 11 เดือน

    เจสสิก้าได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำปอนดกบัมบู เมืองจาการ์ตาตะวันออก โดยมี อ็อตโต้ ฮาซิบวน (Otto Hasibuan) ทนายความเป็นผู้มารับ โดยได้ทักทายกับกองทัพสื่อมวลชน และกล่าวว่า ตนหิว อยากกินซูชิและเครื่องดื่มเย็นๆ

    โฆษกกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมของอินโดนีเซีย เดดดี้ เอ็ดวาร์ เอกา ซาปูตรา (Deddy Eduar Eka Saputra) ระบุว่า ระหว่างที่ถูกคุมขัง เจสสิก้าได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ดีตามระบบคะแนนของผู้ต้องขัง จึงได้รับโทษทัณฑ์บน ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2575 แต่ระหว่างนั้นจะต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เป็นประจำ

    เจสสิก้าถูกดำเนินคดีในข้อหาฆาตกรรม หลังจากเพื่อนสนิท วายัน มิร์นา ซาลิอิน (Wayan Mirna Salihin) ดื่มกาแฟเวียดนามเย็น ระหว่างพบกับเพื่อนๆ ที่ร้านโอลิเวอร์คาเฟ่ ภายในศูนย์การค้าแกรนด์อินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2559 ก่อนที่มิร์นาจะมีอาการชักและหมดสติ เสียชีวิตระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล

    คดีนี้ตำรวจระบุว่า พบสารไซยาไนด์ในกาแฟที่มิร์นาดื่ม และเจสสิก้าตกเป็นผู้ต้องสงสัย กระทั่งถูกตำรวจควบคุมตัวเจสสิก้าเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ต่อมาวันที่ 21 มิถุนายน 2560 ศาลพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 20 ปี และส่งตัวไปยังเรือนจำ แม้ฝ่ายของเจสสิก้าจะยื่นคำอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นสูงได้ปฏิเสธคำอุทธรณ์ดังกล่าว

    เรื่องดังกล่าวเป็นคดีฆาตกรรมที่โด่งดังในปี 2559 สื่อมวลชนรายงานข่าวคดีนี้อย่างต่อเนื่อง กระทั่งการพิพากษาคดีได้รับการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ และมีผู้ชมนับล้านคน หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานว่า ตามคำฟ้อง ผู้พิพากษาสรุปว่าเจสสิกาฆ่ามิร์นาเพื่อแก้แค้น ที่ก่อนหน้านี้มิร์นาบอกให้เจสสิกาเลิกกับ แพทริก โอคอนเนอร์ อดีตแฟนหนุ่มชาวออสเตรเลียของเธอ

    เรื่องราวระหว่างเจสสิก้าและมิร์นาถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Ice Cold: Murder, Coffee and Jessica Wongso ผลิตโดย Beach House Pictures ออกอากาศผ่านเน็ตฟลิกซ์ ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีเนื้อหาที่ยั่วยุและทำให้เกิดความวุ่นวาย เพราะวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมของอินโดนีเซีย

    ขณะที่ทนายความอีกคนหนึ่งของเจสสิก้าอย่าง ฮิดายัต บอสตัม (Hidayat Bostam) กล่าวกับสำนักข่าวจาการ์ตาโกลบ (Jakarta Globe) ว่า ทีมทนายความยังคงดำเนินการพิจารณาทบทวนการตัดสินลงโทษเจสสิกาต่อไป โดยอ้างว่ามีหลักฐานใหม่ที่อาจพลิกคำตัดสินว่ามีความผิดได้ และจะยื่นคำร้องในสัปดาห์หน้า

    #Newskit #JessicaWongso #IceColdMurder
    ปล่อยตัว เจสสิก้า วองโซ ทันฑ์บนคดีกาแฟไซยาไนด์ ข่าวใหญ่ในอินโดนีเซียเวลานี้ คือ ผู้ต้องขังคดีฆาตกรรม เจสสิก้า วองโซ (Jessica Wongso) นักออกแบบกราฟิก ได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 หลังกรมราชทัณฑ์อินโดนีเซียประเมินว่าเป็นผู้คุมขังที่มีความประพฤติดี จึงได้รับการผ่อนผันการลงโทษ โดยได้รับโทษรวม 58 เดือน 30 วัน หรือประมาณ 4 ปี 11 เดือน เจสสิก้าได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำปอนดกบัมบู เมืองจาการ์ตาตะวันออก โดยมี อ็อตโต้ ฮาซิบวน (Otto Hasibuan) ทนายความเป็นผู้มารับ โดยได้ทักทายกับกองทัพสื่อมวลชน และกล่าวว่า ตนหิว อยากกินซูชิและเครื่องดื่มเย็นๆ โฆษกกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมของอินโดนีเซีย เดดดี้ เอ็ดวาร์ เอกา ซาปูตรา (Deddy Eduar Eka Saputra) ระบุว่า ระหว่างที่ถูกคุมขัง เจสสิก้าได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่ดีตามระบบคะแนนของผู้ต้องขัง จึงได้รับโทษทัณฑ์บน ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2575 แต่ระหว่างนั้นจะต้องรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เป็นประจำ เจสสิก้าถูกดำเนินคดีในข้อหาฆาตกรรม หลังจากเพื่อนสนิท วายัน มิร์นา ซาลิอิน (Wayan Mirna Salihin) ดื่มกาแฟเวียดนามเย็น ระหว่างพบกับเพื่อนๆ ที่ร้านโอลิเวอร์คาเฟ่ ภายในศูนย์การค้าแกรนด์อินโดนีเซีย กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2559 ก่อนที่มิร์นาจะมีอาการชักและหมดสติ เสียชีวิตระหว่างนำตัวส่งโรงพยาบาล คดีนี้ตำรวจระบุว่า พบสารไซยาไนด์ในกาแฟที่มิร์นาดื่ม และเจสสิก้าตกเป็นผู้ต้องสงสัย กระทั่งถูกตำรวจควบคุมตัวเจสสิก้าเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ต่อมาวันที่ 21 มิถุนายน 2560 ศาลพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 20 ปี และส่งตัวไปยังเรือนจำ แม้ฝ่ายของเจสสิก้าจะยื่นคำอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นสูงได้ปฏิเสธคำอุทธรณ์ดังกล่าว เรื่องดังกล่าวเป็นคดีฆาตกรรมที่โด่งดังในปี 2559 สื่อมวลชนรายงานข่าวคดีนี้อย่างต่อเนื่อง กระทั่งการพิพากษาคดีได้รับการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ และมีผู้ชมนับล้านคน หนังสือพิมพ์จาการ์ตาโพสต์ รายงานว่า ตามคำฟ้อง ผู้พิพากษาสรุปว่าเจสสิกาฆ่ามิร์นาเพื่อแก้แค้น ที่ก่อนหน้านี้มิร์นาบอกให้เจสสิกาเลิกกับ แพทริก โอคอนเนอร์ อดีตแฟนหนุ่มชาวออสเตรเลียของเธอ เรื่องราวระหว่างเจสสิก้าและมิร์นาถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Ice Cold: Murder, Coffee and Jessica Wongso ผลิตโดย Beach House Pictures ออกอากาศผ่านเน็ตฟลิกซ์ ซึ่งออกอากาศเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีเนื้อหาที่ยั่วยุและทำให้เกิดความวุ่นวาย เพราะวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการยุติธรรมของอินโดนีเซีย ขณะที่ทนายความอีกคนหนึ่งของเจสสิก้าอย่าง ฮิดายัต บอสตัม (Hidayat Bostam) กล่าวกับสำนักข่าวจาการ์ตาโกลบ (Jakarta Globe) ว่า ทีมทนายความยังคงดำเนินการพิจารณาทบทวนการตัดสินลงโทษเจสสิกาต่อไป โดยอ้างว่ามีหลักฐานใหม่ที่อาจพลิกคำตัดสินว่ามีความผิดได้ และจะยื่นคำร้องในสัปดาห์หน้า #Newskit #JessicaWongso #IceColdMurder
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1004 มุมมอง 0 รีวิว
  • คดีดังที่มาเลเซีย ฆ่าสาวทิ้งสวนปาล์ม

    ที่ประเทศมาเลเซีย มีคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญอยู่คดีหนึ่งที่เป็นข่าวดังตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือการเสียชีวิตของ นางสาวนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี อับดุลลาห์ อายุ 25 ปี ซึ่งพบศพภายในสวนปาล์มน้ำมัน ที่บ้านกัมปุง ศรี เกเลดัง เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ เมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเย็นวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา

    ก่อนหน้านี้ตำรวจรับแจ้งจากพนักงานของบริษัทให้เช่ารถในเมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก ว่า นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี หายตัวไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 หลังจากที่เธอส่งรถเช่าให้กับลูกค้า กระทั่งผ่านมา 5 วัน จึงได้พบศพของเธอดังกล่าว

    นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี เป็นลูกสาวคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 7 คน บ้านเกิดของเธออยู่ที่เมืองมิริ รัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศึกษาศาสตร์สุลต่านไอดริส (UPSI) เมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก สาขาการศึกษา (มัลติมีเดีย) เมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ต้องการกลับบ้านเกิด ต้องการอยู่ทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว

    วันต่อมา ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ทราบชื่อภายหลังคือ สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี อายุ 26 ปี อาชีพรับราชการตำรวจ ยศสิบเอก ประจำสถานีตำรวจสลิมริเวอร์ ในรัฐเปรัก ซึ่งเป็นแฟนหนุ่มของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี และถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 7 วันเพื่อสอบสวนตามกฎหมายมาเลเซีย ก่อนที่จะขยายต่อไปอีก 7 วัน ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2567

    การค้นหาหลักฐานเพื่อคลี่คลายคดีดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากพบสมาร์ทโฟนลงท่อระบายน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน ต่อมาพบกระเป๋าถือของนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 20 นาที การตรวจค้นและสอบสวนคนงานไร่มันสำปะหลัง ที่ผู้ต้องสงสัยทำไร่มันนอกเวลางาน รวมทั้งตรวจสอบรถยนต์โตโยต้า วีออส สีแดง และตรวจวิเคราะห์ซิมการ์ดของผู้ต้องสงสัย

    นอกจากนี้ หน่วยสืบสวนนิติเวช ยังค้นหาสิ่งของบนแม่น้ำสลิม ซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่ผู้ต้องสงสัยทิ้งสิ่งของจากสะพานเหล็กลงไปในแม่น้ำ ท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก พบกุญแจรถยนต์ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร และพบกระเป๋าสตางค์ห่างออกไปอีกเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ละหมาด กระเป๋าถือ และสายชาร์จโทรศัพท์อีกด้วย

    ดาตุ๊ก ฮุสเซน โอมาร์ ข่าน หัวหน้าตำรวจรัฐสลังงอร์ เชื่อว่าแรงจูงใจในการฆาตกรรมเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเรื่องความสัมพันธ์ โดยหลักฐานเพียงพอที่จะตั้งข้อกล่าวหาผู้ต้องสงสัย อาศัยหลักฐานที่พบในหลายสถานที่ทั้งภายในรัฐสลังงอร์ และรัฐเปรัก

    26 กรกฎาคม 2567 ตำรวจควบคุมตัว สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี ไปที่ศาลแขวงกัวลากูบูบารู ที่เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ โดยตั้งข้อหาฆาตกรรม ซึ่งหากตัดสินว่ามีความผิด โทษสูงสุดประหารชีวิต ซึ่งศาลนัดอีกครั้งในวันที่ 30 สิงหาคม 2567

    สำหรับร่างของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ถูกฝังไว้เมื่อเวลา 17.02 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ที่สุสานกัมปง นยีอูร์ มานิส เมืองเปกัน รัฐปะหัง ซึ่งเป็นบ้านของภรรยาพี่ชาย หลังเสร็จสิ้นการชันสูตรที่โรงพยาบาลสุไหงบูเลาะห์ รัฐสลังงอร์ ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 2-3 วัน

    #Newskit #อาชญากรรม #มาเลเซีย
    คดีดังที่มาเลเซีย ฆ่าสาวทิ้งสวนปาล์ม ที่ประเทศมาเลเซีย มีคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญอยู่คดีหนึ่งที่เป็นข่าวดังตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา คือการเสียชีวิตของ นางสาวนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี อับดุลลาห์ อายุ 25 ปี ซึ่งพบศพภายในสวนปาล์มน้ำมัน ที่บ้านกัมปุง ศรี เกเลดัง เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ เมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเย็นวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ตำรวจรับแจ้งจากพนักงานของบริษัทให้เช่ารถในเมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก ว่า นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี หายตัวไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 หลังจากที่เธอส่งรถเช่าให้กับลูกค้า กระทั่งผ่านมา 5 วัน จึงได้พบศพของเธอดังกล่าว นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี เป็นลูกสาวคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมด 7 คน บ้านเกิดของเธออยู่ที่เมืองมิริ รัฐซาราวัก บนเกาะบอร์เนียว สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยศึกษาศาสตร์สุลต่านไอดริส (UPSI) เมืองตันจุงมาลิม รัฐเปรัก สาขาการศึกษา (มัลติมีเดีย) เมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่ต้องการกลับบ้านเกิด ต้องการอยู่ทำงานเพื่อช่วยเหลือครอบครัว วันต่อมา ตำรวจควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ทราบชื่อภายหลังคือ สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี อายุ 26 ปี อาชีพรับราชการตำรวจ ยศสิบเอก ประจำสถานีตำรวจสลิมริเวอร์ ในรัฐเปรัก ซึ่งเป็นแฟนหนุ่มของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี และถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 7 วันเพื่อสอบสวนตามกฎหมายมาเลเซีย ก่อนที่จะขยายต่อไปอีก 7 วัน ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2567 การค้นหาหลักฐานเพื่อคลี่คลายคดีดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากพบสมาร์ทโฟนลงท่อระบายน้ำในสวนปาล์มน้ำมัน ต่อมาพบกระเป๋าถือของนูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ห่างจากจุดเกิดเหตุประมาณ 20 นาที การตรวจค้นและสอบสวนคนงานไร่มันสำปะหลัง ที่ผู้ต้องสงสัยทำไร่มันนอกเวลางาน รวมทั้งตรวจสอบรถยนต์โตโยต้า วีออส สีแดง และตรวจวิเคราะห์ซิมการ์ดของผู้ต้องสงสัย นอกจากนี้ หน่วยสืบสวนนิติเวช ยังค้นหาสิ่งของบนแม่น้ำสลิม ซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่ผู้ต้องสงสัยทิ้งสิ่งของจากสะพานเหล็กลงไปในแม่น้ำ ท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก พบกุญแจรถยนต์ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร และพบกระเป๋าสตางค์ห่างออกไปอีกเล็กน้อย นอกจากนี้ยังพบข้าวของเครื่องใช้ อุปกรณ์ละหมาด กระเป๋าถือ และสายชาร์จโทรศัพท์อีกด้วย ดาตุ๊ก ฮุสเซน โอมาร์ ข่าน หัวหน้าตำรวจรัฐสลังงอร์ เชื่อว่าแรงจูงใจในการฆาตกรรมเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทเรื่องความสัมพันธ์ โดยหลักฐานเพียงพอที่จะตั้งข้อกล่าวหาผู้ต้องสงสัย อาศัยหลักฐานที่พบในหลายสถานที่ทั้งภายในรัฐสลังงอร์ และรัฐเปรัก 26 กรกฎาคม 2567 ตำรวจควบคุมตัว สิบตำรวจเอก มูฮัมหมัด อาลิฟ มอนจานี ไปที่ศาลแขวงกัวลากูบูบารู ที่เมืองฮูลู สลังงอร์ รัฐสลังงอร์ โดยตั้งข้อหาฆาตกรรม ซึ่งหากตัดสินว่ามีความผิด โทษสูงสุดประหารชีวิต ซึ่งศาลนัดอีกครั้งในวันที่ 30 สิงหาคม 2567 สำหรับร่างของ นูร์ ฟาราห์ การ์ตินี ถูกฝังไว้เมื่อเวลา 17.02 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม 2567 ที่สุสานกัมปง นยีอูร์ มานิส เมืองเปกัน รัฐปะหัง ซึ่งเป็นบ้านของภรรยาพี่ชาย หลังเสร็จสิ้นการชันสูตรที่โรงพยาบาลสุไหงบูเลาะห์ รัฐสลังงอร์ ซึ่งใช้เวลานานประมาณ 2-3 วัน #Newskit #อาชญากรรม #มาเลเซีย
    Sad
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 702 มุมมอง 0 รีวิว