รีโพสต์เฟซบุ๊ก ปะการัง 31 ก.ค.2567
ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยสมัยศตวรรษที่ 15 “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” (The Last Supper) โดยศิลปินชื่อก้องโลกชาวอิตาลี เลโอนาร์โด ดาวินชี วาดจากเหตุการณ์ระหว่างทานอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับสิบสองอัครสาวก ก่อนที่จะถูกยูดาสทรยศ ทำให้พระองค์ถูกจับไปประหารชีวิตบนไม้กางเขน...
.
มีเรื่องเล่าเบื้องหลังภาพวาดนี้ (ไม่ยืนยันว่าจริงแท้แค่ไหน) จากหนังสือนวนิยาย “The Devil & Miss Prym” ของ Paulo Coelho (ฉบับภาษาไทย “เมืองทดสอบบาป” แปลโดย กอบชลี และกันเกรา) - - ผู้เขียนเปาโลเล่าว่า เมื่อตอนที่เลโอนาร์โด ดาวินชี วาดภาพนี้ เขาพบกับปัญหาที่ยากลำบากมาก นั่นคือ การวาดภาพ ‘ความดี’ของพระเยซู และ ‘ความชั่วร้าย’ของยูดาส เขาต้องหยุดวาด จนกว่าจะพบต้นแบบจำลองในอุดมคติ
.
วันหนึ่ง ขณะที่เลโอนาร์โดฟังคณะนักร้องประสานเสียง เขามองเห็นภาพลักษณ์อันสมบูรณ์แบบของพระเยซูในตัวเด็กคนหนึ่ง เขาเชิญเด็กไปที่สตูดิโอและวาดภาพร่างและศึกษาใบหน้าของเด็กคนนั้น และวาดภาพพระเยซูสำเร็จ
.
สามปีผ่านไป ภาพ 'อาหารค่ำมื้อสุดท้าย'เกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่เลโอนาร์โดยังไม่พบแบบจำลองที่สมบูรณ์แบบสำหรับยูดาส พระคาร์ดินัลที่รับผิดชอบโบสถ์เริ่มกดดันให้เขาวาดภาพฝาผนังให้เสร็จโดยเร็ว
.
หลังจากใช้เวลาเสาะหาอีกหลายวัน เลโอนาร์โดก็ได้พบกับชายหนุ่มหน้าตาแก่ก่อนวัยคนหนึ่ง สวมเสื้อผ้าขี้ริ้วมอมแมม นอนเมาอยู่ในรางน้ำ เขาบอกผู้ช่วยให้พาชายขอทานคนนั้นกลับไปที่โบสถ์ เพราะไม่มีเวลาแล้ว
.
ชายขอทานเมาไม่ได้สติถูกนำตัวไปโดยไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น เลโอนาร์โดรีบคัดลอกเค้าโครงความไม่ซื่อสัตย์ ความบาป และความเห็นแก่ตัวที่ฝังไว้อย่างชัดเจนบนใบหน้าของชายขอทานทันที
.
เมื่อวาดเสร็จ ชายขอทานเริ่มสร่างเมา เขาลืมตาขึ้นและเห็นภาพตรงหน้า เอ่ยด้วยน้ำเสียงเศร้าสลดว่า “ผมเคยเห็นรูปนั้นมาก่อน!”
.
"เมื่อไหร่?" เลโอนาร์โดถามด้วยความประหลาดใจ
.
“เมื่อสามปีที่แล้ว ก่อนที่จะสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ช่วงที่ผมร้องเพลงในคณะนักร้องประสานเสียงและชีวิตยังเต็มไปด้วยความฝัน ท่านขอให้ผมเป็นต้นแบบสำหรับพระพักตร์พระเยซู!”
.
สารจากเรื่องเล่านี้ บอกเราว่า ความดีกับความชั่วร้ายนั้น มีใบหน้าเดียวกัน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่า มันจะผ่านเข้ามาในเส้นทางชีวิตของเราแต่ละคนเมื่อไร... เท่านั้นเอง
.
ภาพ“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย”นี้ ถูกกล่าวถึงอีกครั้งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เพราะมีการแสดงล้อเลียนในพิธีเปิดโอลิมปิกปารีส 2024 ซึ่งมีหลายคนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย ถึงความเหมาะสมกับการแสดงออกในลักษณะนี้ เพราะขณะที่โลกกำลังมุ่งแสวงหาสันติภาพด้วยเกมกีฬาสานสามัคคี คนกลุ่มหนึ่งกลับตอกย้ำให้แตกแยกด้วยการล้อเลียนความเชื่อของผู้อื่น - -
.
อันที่จริง สำหรับผม ไม่ได้รู้สึกเป็นเรื่องใหญ่โต หรือน่าประหลาดใจแต่อย่างใด เพราะพระเยซูเองก็เคยถูกยั่วเย้ยเยาะหยันมายิ่งกว่านี้ แม้ขณะถูกตรึงเลือดโชกบนไม้กางเขน พระองค์ยังตรัสต่อพระบิดาว่า “...โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร”
.
พระเยซูเองยิ่งย่อมรู้ดีว่า มนุษย์นั้นมีความดีกับความชั่วร้ายบนใบหน้าเดียวกัน... ไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่านี้แล้ว- - การเยาะเย้ยเหยียดหยันตั้งแต่สองพันปีก่อน จึงยังคงดำเนินตลอดมาและต่อไปตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และต้องขอบคุณการล้อเลียนของพวกเขา เพราะทุกครั้งที่เกิดเหตุแบบนี้ขึ้น มักส่งผลให้เราต้องหวนกลับไปทบทวนอ่านคำสอนของพระองค์อีกครั้ง ตระหนักอย่างหนักแน่นว่ายิ่งโลกนี้เตลิดไปทางความชั่วร้ายอย่างสุดเหวี่ยงเท่าใด เรายิ่งต้องเชื่อมั่นในคำสอนของพระเจ้าอย่างสุดโต่งเท่านั้น!
. . . . .
การยอมรับในความเชื่อของคนอื่น
ไม่ได้ทำให้โลกของเราแคบลง
แต่ทำให้ใจของเรากว้างขึ้น
.
การเคารพในความศรัทธาของคนอื่น
ไม่ได้ทำให้เราต้อยต่ำ
หากยกใจเราให้สูงขึ้น
.
ปะการัง
ที่มา :
https://www.facebook.com/share/4XpWozK6DP9HuaEd/?mibextid=WC7FNe รีโพสต์เฟซบุ๊ก ปะการัง 31 ก.ค.2567
ภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยสมัยศตวรรษที่ 15 “อาหารค่ำมื้อสุดท้าย” (The Last Supper) โดยศิลปินชื่อก้องโลกชาวอิตาลี เลโอนาร์โด ดาวินชี วาดจากเหตุการณ์ระหว่างทานอาหารค่ำมื้อสุดท้ายของพระเยซูกับสิบสองอัครสาวก ก่อนที่จะถูกยูดาสทรยศ ทำให้พระองค์ถูกจับไปประหารชีวิตบนไม้กางเขน...
.
มีเรื่องเล่าเบื้องหลังภาพวาดนี้ (ไม่ยืนยันว่าจริงแท้แค่ไหน) จากหนังสือนวนิยาย “The Devil & Miss Prym” ของ Paulo Coelho (ฉบับภาษาไทย “เมืองทดสอบบาป” แปลโดย กอบชลี และกันเกรา) - - ผู้เขียนเปาโลเล่าว่า เมื่อตอนที่เลโอนาร์โด ดาวินชี วาดภาพนี้ เขาพบกับปัญหาที่ยากลำบากมาก นั่นคือ การวาดภาพ ‘ความดี’ของพระเยซู และ ‘ความชั่วร้าย’ของยูดาส เขาต้องหยุดวาด จนกว่าจะพบต้นแบบจำลองในอุดมคติ
.
วันหนึ่ง ขณะที่เลโอนาร์โดฟังคณะนักร้องประสานเสียง เขามองเห็นภาพลักษณ์อันสมบูรณ์แบบของพระเยซูในตัวเด็กคนหนึ่ง เขาเชิญเด็กไปที่สตูดิโอและวาดภาพร่างและศึกษาใบหน้าของเด็กคนนั้น และวาดภาพพระเยซูสำเร็จ
.
สามปีผ่านไป ภาพ 'อาหารค่ำมื้อสุดท้าย'เกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่เลโอนาร์โดยังไม่พบแบบจำลองที่สมบูรณ์แบบสำหรับยูดาส พระคาร์ดินัลที่รับผิดชอบโบสถ์เริ่มกดดันให้เขาวาดภาพฝาผนังให้เสร็จโดยเร็ว
.
หลังจากใช้เวลาเสาะหาอีกหลายวัน เลโอนาร์โดก็ได้พบกับชายหนุ่มหน้าตาแก่ก่อนวัยคนหนึ่ง สวมเสื้อผ้าขี้ริ้วมอมแมม นอนเมาอยู่ในรางน้ำ เขาบอกผู้ช่วยให้พาชายขอทานคนนั้นกลับไปที่โบสถ์ เพราะไม่มีเวลาแล้ว
.
ชายขอทานเมาไม่ได้สติถูกนำตัวไปโดยไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น เลโอนาร์โดรีบคัดลอกเค้าโครงความไม่ซื่อสัตย์ ความบาป และความเห็นแก่ตัวที่ฝังไว้อย่างชัดเจนบนใบหน้าของชายขอทานทันที
.
เมื่อวาดเสร็จ ชายขอทานเริ่มสร่างเมา เขาลืมตาขึ้นและเห็นภาพตรงหน้า เอ่ยด้วยน้ำเสียงเศร้าสลดว่า “ผมเคยเห็นรูปนั้นมาก่อน!”
.
"เมื่อไหร่?" เลโอนาร์โดถามด้วยความประหลาดใจ
.
“เมื่อสามปีที่แล้ว ก่อนที่จะสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ช่วงที่ผมร้องเพลงในคณะนักร้องประสานเสียงและชีวิตยังเต็มไปด้วยความฝัน ท่านขอให้ผมเป็นต้นแบบสำหรับพระพักตร์พระเยซู!”
.
สารจากเรื่องเล่านี้ บอกเราว่า ความดีกับความชั่วร้ายนั้น มีใบหน้าเดียวกัน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับว่า มันจะผ่านเข้ามาในเส้นทางชีวิตของเราแต่ละคนเมื่อไร... เท่านั้นเอง
.
ภาพ“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย”นี้ ถูกกล่าวถึงอีกครั้งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เพราะมีการแสดงล้อเลียนในพิธีเปิดโอลิมปิกปารีส 2024 ซึ่งมีหลายคนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย ถึงความเหมาะสมกับการแสดงออกในลักษณะนี้ เพราะขณะที่โลกกำลังมุ่งแสวงหาสันติภาพด้วยเกมกีฬาสานสามัคคี คนกลุ่มหนึ่งกลับตอกย้ำให้แตกแยกด้วยการล้อเลียนความเชื่อของผู้อื่น - -
.
อันที่จริง สำหรับผม ไม่ได้รู้สึกเป็นเรื่องใหญ่โต หรือน่าประหลาดใจแต่อย่างใด เพราะพระเยซูเองก็เคยถูกยั่วเย้ยเยาะหยันมายิ่งกว่านี้ แม้ขณะถูกตรึงเลือดโชกบนไม้กางเขน พระองค์ยังตรัสต่อพระบิดาว่า “...โปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร”
.
พระเยซูเองยิ่งย่อมรู้ดีว่า มนุษย์นั้นมีความดีกับความชั่วร้ายบนใบหน้าเดียวกัน... ไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่านี้แล้ว- - การเยาะเย้ยเหยียดหยันตั้งแต่สองพันปีก่อน จึงยังคงดำเนินตลอดมาและต่อไปตลอดประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และต้องขอบคุณการล้อเลียนของพวกเขา เพราะทุกครั้งที่เกิดเหตุแบบนี้ขึ้น มักส่งผลให้เราต้องหวนกลับไปทบทวนอ่านคำสอนของพระองค์อีกครั้ง ตระหนักอย่างหนักแน่นว่ายิ่งโลกนี้เตลิดไปทางความชั่วร้ายอย่างสุดเหวี่ยงเท่าใด เรายิ่งต้องเชื่อมั่นในคำสอนของพระเจ้าอย่างสุดโต่งเท่านั้น!
. . . . .
การยอมรับในความเชื่อของคนอื่น
ไม่ได้ทำให้โลกของเราแคบลง
แต่ทำให้ใจของเรากว้างขึ้น
.
การเคารพในความศรัทธาของคนอื่น
ไม่ได้ทำให้เราต้อยต่ำ
หากยกใจเราให้สูงขึ้น
.
ปะการัง
ที่มา : https://www.facebook.com/share/4XpWozK6DP9HuaEd/?mibextid=WC7FNe