• กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School)

    เจียสูคืออะไร?

    เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้

    ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ

    แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล?

    ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง

    เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง
    - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง)
    - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์)
    - อี้จิง (โหราศาสตร์)
    - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร)
    - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี)

    เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน

    สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438
    https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312
    https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1
    http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf
    #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School) เจียสูคืออะไร? เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้ ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล? ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง) - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์) - อี้จิง (โหราศาสตร์) - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร) - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี) เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438 https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312 https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1 http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    1 Comments 0 Shares 217 Views 0 Reviews
  • วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก เป็นวันหยุดราชการในหลาย ๆ ประเทศ อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี ๒๕๔๒ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ๓ เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งทั้ง ๓ เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
    วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก เป็นวันหยุดราชการในหลาย ๆ ประเทศ อีกทั้งยังเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี ๒๕๔๒ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ๓ เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งทั้ง ๓ เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นตรงกัน ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ
    0 Comments 0 Shares 163 Views 0 Reviews
  • บทความนี้กล่าวถึงการโจมตี DDoS ครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2025 ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 เมษายน โดยมีเป้าหมายที่องค์กรการพนันออนไลน์ที่ไม่เปิดเผยชื่อ การโจมตีเริ่มต้นด้วยความเร็ว 67Gbps และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 965Gbps ภายในเวลาเพียง 20 นาที ก่อนจะลดลงและสิ้นสุดในเวลา 90 นาที การโจมตีนี้ใช้เทคนิคหลายรูปแบบ เช่น UDP flood, SYN flood, IP flood และ TCP flood

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันเดียวกับที่ Alexander Ovechkin นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งทำลายสถิติของ Wayne Gretzky ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการโจมตี DDoS มักเกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญที่มีผู้ชมจำนวนมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการพนันออนไลน์

    ✅ ลักษณะของการโจมตี
    - ใช้เทคนิคหลายรูปแบบ เช่น UDP flood, SYN flood, IP flood และ TCP flood
    - ความเร็วสูงสุดถึง 965Gbps

    ✅ เป้าหมายของการโจมตี
    - องค์กรการพนันออนไลน์ที่ไม่เปิดเผยชื่อ
    - เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญ เช่น การทำลายสถิติของ Alexander Ovechkin

    ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
    - อุตสาหกรรมการพนันออนไลน์เป็นเป้าหมายหลักในช่วงเหตุการณ์สำคัญ

    ✅ การจัดการและการป้องกัน
    - บริษัท Qrator Labs สามารถลดผลกระทบของการโจมตีได้สำเร็จ

    https://www.techradar.com/pro/largest-ddos-attack-of-2025-hit-an-online-betting-organization-with-1tbps-brute-force-heres-what-we-know
    บทความนี้กล่าวถึงการโจมตี DDoS ครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2025 ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 เมษายน โดยมีเป้าหมายที่องค์กรการพนันออนไลน์ที่ไม่เปิดเผยชื่อ การโจมตีเริ่มต้นด้วยความเร็ว 67Gbps และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็น 965Gbps ภายในเวลาเพียง 20 นาที ก่อนจะลดลงและสิ้นสุดในเวลา 90 นาที การโจมตีนี้ใช้เทคนิคหลายรูปแบบ เช่น UDP flood, SYN flood, IP flood และ TCP flood เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันเดียวกับที่ Alexander Ovechkin นักกีฬาฮอกกี้น้ำแข็งทำลายสถิติของ Wayne Gretzky ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการโจมตี DDoS มักเกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญที่มีผู้ชมจำนวนมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการพนันออนไลน์ ✅ ลักษณะของการโจมตี - ใช้เทคนิคหลายรูปแบบ เช่น UDP flood, SYN flood, IP flood และ TCP flood - ความเร็วสูงสุดถึง 965Gbps ✅ เป้าหมายของการโจมตี - องค์กรการพนันออนไลน์ที่ไม่เปิดเผยชื่อ - เกิดขึ้นในช่วงเหตุการณ์สำคัญ เช่น การทำลายสถิติของ Alexander Ovechkin ✅ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม - อุตสาหกรรมการพนันออนไลน์เป็นเป้าหมายหลักในช่วงเหตุการณ์สำคัญ ✅ การจัดการและการป้องกัน - บริษัท Qrator Labs สามารถลดผลกระทบของการโจมตีได้สำเร็จ https://www.techradar.com/pro/largest-ddos-attack-of-2025-hit-an-online-betting-organization-with-1tbps-brute-force-heres-what-we-know
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 197 Views 0 Reviews
  • ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์

    ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้แดนอาทิตย์อุทัยติดตามเรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็นในสังคมญี่ปุ่นอยู่ตลอดเวลาคงเคยได้ยินเรื่องวันสิ้นโลกซึ่ง คุณเรียว ทะสึคิ (たつき諒) ซึ่งเป็นนามปากกาของนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นสายมังงะ (漫画) ซึ่งปัจจุบันท่านอายุย่าง 71 ปีเกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1954 ที่จังหวัดคะนะงะวะ (神奈川県) มีพรสวรรค์ในการวาดภาพตั้งแต่เด็ก

    ในช่วงแรกของการใช้ชีวิต คุณ เรียว ก็ดำเนินชีวิตตามปกติอย่างเด็กญี่ปุ่นทั่วไปจนกระทั่งประสบอุบัติเหตุตอนอายุ 17 ปี แม้จะโชคดีที่เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลร้ายถึงขั้นเสียชีวิตแต่กระนั้น ความโชคร้ายที่เกิดขึ้นกลับสร้างปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดเกิดขึ้นกับตัวเธอนั้นคือ เธอมักจะมองเห็นอนาคตจากความฝัน เริ่มจากสิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำวันจนลามไปถึงเหตุการณ์สำคัญระดับโลกรวมทั้งภัยพิบัติประเภทต่างๆ ข้อดีของคุณ เรียว คือเธอเป็นนักจดบันทึกที่ลงในรายละเอียดประกอบกับมีทักษะพิเศษในการวาดภาพ เลยเกิดเป็นการทำนายเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่านหนังสือมังงะที่ใช้ชื่อว่า “อนาคตที่ฉันมองเห็น (私が見た未来)” ซึ่งเป็นการนำเอาไดอารี่ที่มีการจดบันทึกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวในรูปแบบของการ์ตูน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/daily/detail/9680000037620

    #MGROnline #เรียวทะสึคิ #たつき諒 #นักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น #สายมังงะ
    ศาสตราจารย์ ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ • ใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้แดนอาทิตย์อุทัยติดตามเรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็นในสังคมญี่ปุ่นอยู่ตลอดเวลาคงเคยได้ยินเรื่องวันสิ้นโลกซึ่ง คุณเรียว ทะสึคิ (たつき諒) ซึ่งเป็นนามปากกาของนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นสายมังงะ (漫画) ซึ่งปัจจุบันท่านอายุย่าง 71 ปีเกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1954 ที่จังหวัดคะนะงะวะ (神奈川県) มีพรสวรรค์ในการวาดภาพตั้งแต่เด็ก • ในช่วงแรกของการใช้ชีวิต คุณ เรียว ก็ดำเนินชีวิตตามปกติอย่างเด็กญี่ปุ่นทั่วไปจนกระทั่งประสบอุบัติเหตุตอนอายุ 17 ปี แม้จะโชคดีที่เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลร้ายถึงขั้นเสียชีวิตแต่กระนั้น ความโชคร้ายที่เกิดขึ้นกลับสร้างปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดเกิดขึ้นกับตัวเธอนั้นคือ เธอมักจะมองเห็นอนาคตจากความฝัน เริ่มจากสิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำวันจนลามไปถึงเหตุการณ์สำคัญระดับโลกรวมทั้งภัยพิบัติประเภทต่างๆ ข้อดีของคุณ เรียว คือเธอเป็นนักจดบันทึกที่ลงในรายละเอียดประกอบกับมีทักษะพิเศษในการวาดภาพ เลยเกิดเป็นการทำนายเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผ่านหนังสือมังงะที่ใช้ชื่อว่า “อนาคตที่ฉันมองเห็น (私が見た未来)” ซึ่งเป็นการนำเอาไดอารี่ที่มีการจดบันทึกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวในรูปแบบของการ์ตูน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/daily/detail/9680000037620 • #MGROnline #เรียวทะสึคิ #たつき諒 #นักวาดการ์ตูนญี่ปุ่น #สายมังงะ
    0 Comments 0 Shares 340 Views 0 Reviews
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.116 : “ยุทธศาสตร์มหาสาคร” ของอินเดีย พี่ใหญ่แห่ง BIMSTEC
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมที่สำคัญ คือ BIMSTEC หรือ เวที “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล” ซึ่งมีสมาชิก 7 ประเทศ ส่วนใหญ่จากภูมิภาคเอเชียใต้ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย การประชุมครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่อง คือ แผ่นดินไหวใหญ่ในเมียนมา และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งขึ้นภาษีกับสินค้าจากเกือบทุกประเทศทั่วโลก เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ เสียเปรียบดุลการค้า
    .
    พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในตอนนี้ จะสรุปสาระสำคัญจากการประชุม BIMSTEC โดยเฉพาะบทบาทของประเทศ อินเดีย ที่ได้เสนอยุทธศาสตร์ที่ชื่อว่า “มหาสาคร” ซึ่งจะปักหมุด เอเชียใต้ ให้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญ ท่ามกลางสภาวการณ์โลกที่ปั่นป่วนในขณะนี้
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=w4mGuqvfH-E
    .
    #บูรพาไม่แพ้ #BIMSTEC
    บูรพาไม่แพ้ Ep.116 : “ยุทธศาสตร์มหาสาคร” ของอินเดีย พี่ใหญ่แห่ง BIMSTEC . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมที่สำคัญ คือ BIMSTEC หรือ เวที “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล” ซึ่งมีสมาชิก 7 ประเทศ ส่วนใหญ่จากภูมิภาคเอเชียใต้ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย การประชุมครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่อง คือ แผ่นดินไหวใหญ่ในเมียนมา และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งขึ้นภาษีกับสินค้าจากเกือบทุกประเทศทั่วโลก เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ เสียเปรียบดุลการค้า . พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในตอนนี้ จะสรุปสาระสำคัญจากการประชุม BIMSTEC โดยเฉพาะบทบาทของประเทศ อินเดีย ที่ได้เสนอยุทธศาสตร์ที่ชื่อว่า “มหาสาคร” ซึ่งจะปักหมุด เอเชียใต้ ให้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญ ท่ามกลางสภาวการณ์โลกที่ปั่นป่วนในขณะนี้ . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=w4mGuqvfH-E . #บูรพาไม่แพ้ #BIMSTEC
    Like
    Love
    3
    0 Comments 1 Shares 387 Views 0 Reviews
  • แฮกเกอร์ขโมยเงินคริปโตกว่า 1.67 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 2025 เพิ่มขึ้นถึง 303% จากไตรมาสก่อน เหตุการณ์สำคัญคือ การแฮก ByBit ที่ทำให้สูญเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ โดยกลุ่ม Lazarus Group ของเกาหลีเหนือ เงินที่ถูกขโมยคืนได้เพียง 0.4% โดยมี Wallet Compromise เป็นวิธีแฮกที่พบบ่อยที่สุด นักวิเคราะห์เตือนว่า บริษัทคริปโตต้องลงทุนในมาตรการความปลอดภัยมากขึ้นเพื่อป้องกันการสูญเสียมหาศาลในอนาคต

    ✅ เหตุการณ์สำคัญ—การแฮก ByBit เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด
    - ByBit ถูกโจมตีในเดือนกุมภาพันธ์ สูญเงินไป 1.5 พันล้านดอลลาร์ใน Ethereum
    - การแฮกเกิดขึ้นจาก Lazarus Group ซึ่งเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ

    ✅ ธุรกรรมที่ถูกขโมยคืนได้เพียง 0.4% เท่านั้น
    - เงินที่ถูกแฮกคืนได้เพียง 6.39 ล้านดอลลาร์
    - Blockchain มีข้อจำกัดด้านการย้อนธุรกรรม ทำให้การฟื้นเงินเป็นเรื่องยาก

    ✅ Wallet Compromise เป็นวิธีที่ถูกใช้โจมตีมากที่สุด
    - การสูญเสียคริปโตส่วนใหญ่มาจาก การแฮกกระเป๋าเงินดิจิทัล รองลงมาคือ การใช้ช่องโหว่ของโค้ด และการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง

    ✅ CertiK เตือนให้บริษัทคริปโตลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัย
    - การใช้มาตรการป้องกันล่วงหน้าและ AI Security อาจช่วยลดความเสียหายจากแฮกเกอร์ในอนาคต

    https://www.techradar.com/pro/security/over-usd1-5-billion-of-crypto-was-lost-to-scams-or-theft-this-year
    แฮกเกอร์ขโมยเงินคริปโตกว่า 1.67 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรกของปี 2025 เพิ่มขึ้นถึง 303% จากไตรมาสก่อน เหตุการณ์สำคัญคือ การแฮก ByBit ที่ทำให้สูญเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์ โดยกลุ่ม Lazarus Group ของเกาหลีเหนือ เงินที่ถูกขโมยคืนได้เพียง 0.4% โดยมี Wallet Compromise เป็นวิธีแฮกที่พบบ่อยที่สุด นักวิเคราะห์เตือนว่า บริษัทคริปโตต้องลงทุนในมาตรการความปลอดภัยมากขึ้นเพื่อป้องกันการสูญเสียมหาศาลในอนาคต ✅ เหตุการณ์สำคัญ—การแฮก ByBit เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด - ByBit ถูกโจมตีในเดือนกุมภาพันธ์ สูญเงินไป 1.5 พันล้านดอลลาร์ใน Ethereum - การแฮกเกิดขึ้นจาก Lazarus Group ซึ่งเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ ✅ ธุรกรรมที่ถูกขโมยคืนได้เพียง 0.4% เท่านั้น - เงินที่ถูกแฮกคืนได้เพียง 6.39 ล้านดอลลาร์ - Blockchain มีข้อจำกัดด้านการย้อนธุรกรรม ทำให้การฟื้นเงินเป็นเรื่องยาก ✅ Wallet Compromise เป็นวิธีที่ถูกใช้โจมตีมากที่สุด - การสูญเสียคริปโตส่วนใหญ่มาจาก การแฮกกระเป๋าเงินดิจิทัล รองลงมาคือ การใช้ช่องโหว่ของโค้ด และการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง ✅ CertiK เตือนให้บริษัทคริปโตลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัย - การใช้มาตรการป้องกันล่วงหน้าและ AI Security อาจช่วยลดความเสียหายจากแฮกเกอร์ในอนาคต https://www.techradar.com/pro/security/over-usd1-5-billion-of-crypto-was-lost-to-scams-or-theft-this-year
    0 Comments 0 Shares 390 Views 0 Reviews
  • รัฐบาลสหราชอาณาจักรเผยนโยบายเกี่ยวกับ Cyber Security and Resilience Bill ที่จะทำให้มาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มงบประมาณด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนด คาดว่า ผู้ให้บริการ Managed Service และศูนย์ข้อมูลกว่า 1,100 ราย รวมถึงผู้ให้บริการในซัพพลายเชนดิจิทัลจะต้องปรับตัว

    เพิ่มความเข้มงวดในการรายงานเหตุการณ์
    - บริษัทที่ได้รับผลกระทบจะต้องแจ้ง National Cyber Security Centre (NCSC) ภายใน 24 ชั่วโมง หากเกิดเหตุการณ์สำคัญ
    - รวมถึงการโจมตีผ่าน ซัพพลายเชน ที่อาจส่งผลต่อลูกค้าโดยตรง

    ความสำคัญของความสามารถในการกู้คืนระบบ
    - นอกเหนือจากการป้องกัน ร่างกฎหมายนี้ยังเน้นที่ ความสามารถในการกู้คืน ไม่ใช่แค่หลีกเลี่ยงปัญหา
    - ผู้ให้บริการต้องชี้แจงว่าพวกเขาจะ ฟื้นตัวจากเหตุการณ์โจมตีได้อย่างไร

    บทบาทใหม่ของ ICO (Information Commissioner’s Office)
    - ICO จะได้รับอำนาจมากขึ้นในการกำกับดูแลผู้ให้บริการ Managed Service และศูนย์ข้อมูล
    - นักวิเคราะห์มองว่า ICO อาจต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นเพื่อรองรับบทบาทใหม่นี้

    เหตุผลที่ต้องมีร่างกฎหมายนี้
    - ปี 2024 NCSC ต้องรับมือกับเหตุการณ์โจมตีไซเบอร์กว่า 430 ครั้ง โดย 89 ครั้ง เป็นระดับ "มีผลกระทบระดับชาติ"
    - รวมถึงการโจมตี Synnovis ซึ่งส่งผลต่อบริการด้านพยาธิวิทยาของ NHS และสร้างค่าใช้จ่ายกว่า £32.7 ล้าน ($42 ล้าน)

    ผลกระทบต่อต้นทุนของธุรกิจ
    - ธุรกิจที่ใช้บริการ Managed Service และศูนย์ข้อมูลอาจต้องเผชิญกับ ต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่

    https://www.csoonline.com/article/3951957/the-uks-cyber-security-and-resilience-bill-will-boost-standards-and-increase-costs.html
    รัฐบาลสหราชอาณาจักรเผยนโยบายเกี่ยวกับ Cyber Security and Resilience Bill ที่จะทำให้มาตรฐานความปลอดภัยไซเบอร์เข้มงวดขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทที่เกี่ยวข้องต้องเพิ่มงบประมาณด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนด คาดว่า ผู้ให้บริการ Managed Service และศูนย์ข้อมูลกว่า 1,100 ราย รวมถึงผู้ให้บริการในซัพพลายเชนดิจิทัลจะต้องปรับตัว เพิ่มความเข้มงวดในการรายงานเหตุการณ์ - บริษัทที่ได้รับผลกระทบจะต้องแจ้ง National Cyber Security Centre (NCSC) ภายใน 24 ชั่วโมง หากเกิดเหตุการณ์สำคัญ - รวมถึงการโจมตีผ่าน ซัพพลายเชน ที่อาจส่งผลต่อลูกค้าโดยตรง ความสำคัญของความสามารถในการกู้คืนระบบ - นอกเหนือจากการป้องกัน ร่างกฎหมายนี้ยังเน้นที่ ความสามารถในการกู้คืน ไม่ใช่แค่หลีกเลี่ยงปัญหา - ผู้ให้บริการต้องชี้แจงว่าพวกเขาจะ ฟื้นตัวจากเหตุการณ์โจมตีได้อย่างไร บทบาทใหม่ของ ICO (Information Commissioner’s Office) - ICO จะได้รับอำนาจมากขึ้นในการกำกับดูแลผู้ให้บริการ Managed Service และศูนย์ข้อมูล - นักวิเคราะห์มองว่า ICO อาจต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นเพื่อรองรับบทบาทใหม่นี้ เหตุผลที่ต้องมีร่างกฎหมายนี้ - ปี 2024 NCSC ต้องรับมือกับเหตุการณ์โจมตีไซเบอร์กว่า 430 ครั้ง โดย 89 ครั้ง เป็นระดับ "มีผลกระทบระดับชาติ" - รวมถึงการโจมตี Synnovis ซึ่งส่งผลต่อบริการด้านพยาธิวิทยาของ NHS และสร้างค่าใช้จ่ายกว่า £32.7 ล้าน ($42 ล้าน) ผลกระทบต่อต้นทุนของธุรกิจ - ธุรกิจที่ใช้บริการ Managed Service และศูนย์ข้อมูลอาจต้องเผชิญกับ ต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้ให้บริการต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ https://www.csoonline.com/article/3951957/the-uks-cyber-security-and-resilience-bill-will-boost-standards-and-increase-costs.html
    WWW.CSOONLINE.COM
    The UK’s Cyber Security and Resilience Bill will boost standards – and increase costs
    Government will bring more managed service and data center providers under regulation to tighten cybersecurity.
    0 Comments 0 Shares 200 Views 0 Reviews
  • 58 ปี "คดีตุ๊กตา" ขืนใจสาวรับใช้ บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ “หญิงข่มขืนหญิง” ได้หรือไม่? 📚⚖️

    ✨ย้อนรอย “คดีตุ๊กตา” ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กับคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เปิดประเด็นการข่มขืนโดย “ผู้หญิงต่อผู้หญิง” ครั้งแรกของไทย ศึกษาเหตุการณ์รายละเอียดคดี บทสรุปทางกฎหมาย ที่ยังสะเทือนวงการกฎหมายถึงปัจจุบัน ✨

    เมื่อ “หญิงข่มขืนหญิง” ไม่ใช่แค่จินตนาการอีกต่อไป หากเอ่ยถึงคดีข่มขืน หลายคนอาจนึกถึงภาพของชายกระทำต่อหญิง แต่ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กลับมีคำพิพากษาหนึ่ง ที่เปิดโลกความเข้าใจในมุมมองใหม่ ⚖️

    โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2510 กับ “คดีตุ๊กตา” ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาอันลือลั่นว่า “หญิงก็เป็นตัวการร่วม ในการข่มขืนหญิงได้” คำวินิจฉัยครั้งนั้น ไม่เพียงเขย่าระบบยุติธรรมไทย แต่ยังเปิดมุมมองใหม่ ให้สังคมไทยในเวลานั้น

    “คดีตุ๊กตา” เป็นชื่อที่สื่อมวลชนในยุคนั้นตั้งขึ้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 คือ "พิมล กาฬสีห์" นักเขียนการ์ตูนชื่อดังในนามปากกา “ตุ๊กตา” ถูกอัยการยื่นฟ้อง ในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราร่วมกับภรรยา "นภาพันธ์ กาฬสีห์" ต่อ "เพ็ชร ทัวิพัฒน์" หญิงสาวคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ที่บ้านพักในตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร

    แม้จะผ่านมาแล้วกว่า 58 ปี แต่คำพิพากษาในคดีนี้ยั งคงได้รับการกล่าวขานในวงการกฎหมาย และสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกรณีแรกที่ “ศาลฎีกา” ของไทยยืนยันว่า หญิงสามารถร่วมเป็นตัวการข่มขืนหญิงได้

    📌 ทำไมคดีนี้จึงสำคัญ? ประเด็นที่สั่นคลอนสังคม คดีนี้แสดงให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพล ที่บุคคลมีชื่อเสียงอาจมีต่อผู้ด้อยโอกาส เปิดประเด็นว่า “ข่มขืน” ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเพศชายเท่านั้น

    ศาลยืนยันว่า ผู้หญิงสามารถมีส่วนร่วม ในการกระทำผิดฐานข่มขืนได้ แม้จะไม่ได้ลงมือข่มขืนเองก็ตาม

    📌 จุดเปลี่ยนด้านกฎหมาย คำพิพากษานี้ทำให้เกิดการตีความ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ว่า “ผู้ใด” หมายรวมถึงบุคคลทุกเพศ ไม่ใช่จำกัดแค่เพศชาย

    ลำดับเหตุการณ์สำคัญในคดีตุ๊กตา
    🗓️ คืนวันอาทิตย์ที่่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 "เพ็ชร์ ทิวาพัฒน์" หญิงสาวผู้เสียหายวัย 23 ปี ซึ่งทำงานเป็นสาวรับใช้ ในคืนนั้น เพ็ชรถูกนภาพันธ์เรียกขึ้นไปนวดให้พิมล บนชั้นสองของบ้าน

    นภาพันธ์ช่วยจับมือของเพ็ชร ไปจับอวัยวะเพศของพิมล และร่วมกดร่างเพ็ชรไว้ให้สามีข่มขืน เหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ เกิดขึ้นซ้ำถึง 5 ครั้ง ในคืนนั้น

    🗓️ เช้ามืดวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เพ็ชรหนีออกจากบ้าน และไปแจ้งความที่โรงพัก เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมสองสามีภรรยา และส่งเพ็ชรตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ผลตรวจพิสูจน์พบร่องรอยการข่มขืนอย่างชัดเจน อัยการจึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง

    ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำให้การของผู้เสียหายมีน้ำหนักเพียงพอ ประกอบกับพยานหลักฐาน และผลตรวจทางการแพทย์ จำเลยที่ 1 ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี 1 เดือน จำเลยที่ 2 ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี

    ➡️ แต่... จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์

    ศาลอุทธรณ์:ยกฟ้องเพราะเชื่อว่า “ยินยอม” กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ด้วยเหตุผลว่า เชื่อว่าผู้เสียหาย สมัครใจร่วมประเวณีเอง เห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้หญิง ไม่ควรถูกลงโทษในฐานะตัวการร่วมข่มขืน

    ➡️ อัยการในฐานะโจทก์ ฎีกาต่อ...

    ศาลฎีกา:พลิกคำพิพากษา ตอกย้ำ “หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนได้” ในการพิจารณาครั้งสำคัญ ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
    ✅ พิพากษาว่า ผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ
    ✅ การมีส่วนร่วมของจำเลยที่ 2 ในการจับผู้เสียหาย และบังคับให้สามีข่มขืน ถือเป็นการ “ร่วมกันข่มขืน”
    ✅ ศาลฎีกายืนยันว่า ตามกฎหมายไทย หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนหญิงได้

    ➡️ จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษจำคุก 3 ปี 1 เดือน
    ➡️ จำเลยที่ 2 ถูกลงโทษจำคุก 2 ปี

    การตีความทางกฎหมายที่สำคัญ มาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใด” ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น...
    🔹 คำว่า “ผู้ใด” ไม่ได้ระบุเพศ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง หากมีพฤติการณ์ร่วมกันในการข่มขืน ก็ถือว่ามีความผิดฐาน “ตัวการ” ได้
    🔹 แม้ไม่ได้เป็นผู้ลงมือข่มขืนเอง แต่หากช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือบังคับเหยื่อ ก็ถือว่า “ร่วมกันกระทำผิด”

    ทำไมศาลฎีกาจึงพิพากษาเช่นนั้น?
    ✅ พฤติกรรมของจำเลยที่ 2 แสดงชัดว่า ร่วมกดขาและจับผู้เสียหาย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ข่มขืน
    ✅ ข่มขู่ผู้เสียหายไม่ให้ร้อง หรือบอกว่าจะ “เพิ่มเงินเดือน” หากไม่ต่อต้าน
    ✅ บังคับผู้เสียหายให้อมอวัยวะเพศ และสั่งให้กลืนน้ำอสุจิของสามี

    ✨ ผลกระทบต่อสังคม และวงการกฎหมาย เปลี่ยนแปลงความเข้าใจ ก่อนหน้านั้น สังคมมองว่า “ข่มขืน” เป็นอาชญากรรมที่มีแต่เพศชาย เป็นผู้กระทำ

    ✨ คดีตุ๊กตาสร้างการตระหนักใหม่ว่า อาชญากรรมทางเพศ เกิดจากผู้กระทำได้ทุกเพศ อิทธิพลต่อการตีความกฎหมาย ศาลไทยขยายขอบเขตความผิดของมาตรา 276 ให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศ สร้างบรรทัดฐานใหม่ ในคดีอาญาเกี่ยวกับเพศที่ซับซ้อนมากขึ้น

    “คดีตุ๊กตา” กับมรดกทางกฎหมายที่ยั่งยืน ผ่านมา 58 ปี คดีตุ๊กตายังเป็นกรณีศึกษา ในวงการกฎหมายและสังคม ที่สอนให้เข้าใจถึง ความซับซ้อนของความรุนแรงทางเพศ และบทบาทของกฎหมาย ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คดีนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องราวในอดีต แต่เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ในสังคมไทยอีกต่อไป

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221140 มี.ค. 2568

    🏷️ #คดีตุ๊กตา #ข่มขืนในไทย #หญิงข่มขืนหญิงได้ #พิมลกาฬสีห์ #ศาลฎีกาไทย #กฎหมายอาญา #สิทธิมนุษยชน #ข่มขืนกระทำชำเรา #ข่าวดังในอดีต #คดีอาชญากรรมไทย
    58 ปี "คดีตุ๊กตา" ขืนใจสาวรับใช้ บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ “หญิงข่มขืนหญิง” ได้หรือไม่? 📚⚖️ ✨ย้อนรอย “คดีตุ๊กตา” ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กับคำพิพากษาศาลฎีกา ที่เปิดประเด็นการข่มขืนโดย “ผู้หญิงต่อผู้หญิง” ครั้งแรกของไทย ศึกษาเหตุการณ์รายละเอียดคดี บทสรุปทางกฎหมาย ที่ยังสะเทือนวงการกฎหมายถึงปัจจุบัน ✨ เมื่อ “หญิงข่มขืนหญิง” ไม่ใช่แค่จินตนาการอีกต่อไป หากเอ่ยถึงคดีข่มขืน หลายคนอาจนึกถึงภาพของชายกระทำต่อหญิง แต่ในประวัติศาสตร์กฎหมายไทย กลับมีคำพิพากษาหนึ่ง ที่เปิดโลกความเข้าใจในมุมมองใหม่ ⚖️ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2510 กับ “คดีตุ๊กตา” ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาอันลือลั่นว่า “หญิงก็เป็นตัวการร่วม ในการข่มขืนหญิงได้” คำวินิจฉัยครั้งนั้น ไม่เพียงเขย่าระบบยุติธรรมไทย แต่ยังเปิดมุมมองใหม่ ให้สังคมไทยในเวลานั้น “คดีตุ๊กตา” เป็นชื่อที่สื่อมวลชนในยุคนั้นตั้งขึ้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 คือ "พิมล กาฬสีห์" นักเขียนการ์ตูนชื่อดังในนามปากกา “ตุ๊กตา” ถูกอัยการยื่นฟ้อง ในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราร่วมกับภรรยา "นภาพันธ์ กาฬสีห์" ต่อ "เพ็ชร ทัวิพัฒน์" หญิงสาวคนรับใช้ในบ้าน ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ที่บ้านพักในตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือ กรุงเทพมหานคร แม้จะผ่านมาแล้วกว่า 58 ปี แต่คำพิพากษาในคดีนี้ยั งคงได้รับการกล่าวขานในวงการกฎหมาย และสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกรณีแรกที่ “ศาลฎีกา” ของไทยยืนยันว่า หญิงสามารถร่วมเป็นตัวการข่มขืนหญิงได้ 📌 ทำไมคดีนี้จึงสำคัญ? ประเด็นที่สั่นคลอนสังคม คดีนี้แสดงให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพล ที่บุคคลมีชื่อเสียงอาจมีต่อผู้ด้อยโอกาส เปิดประเด็นว่า “ข่มขืน” ไม่จำเป็นต้องเกิดจากเพศชายเท่านั้น ศาลยืนยันว่า ผู้หญิงสามารถมีส่วนร่วม ในการกระทำผิดฐานข่มขืนได้ แม้จะไม่ได้ลงมือข่มขืนเองก็ตาม 📌 จุดเปลี่ยนด้านกฎหมาย คำพิพากษานี้ทำให้เกิดการตีความ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ว่า “ผู้ใด” หมายรวมถึงบุคคลทุกเพศ ไม่ใช่จำกัดแค่เพศชาย ลำดับเหตุการณ์สำคัญในคดีตุ๊กตา 🗓️ คืนวันอาทิตย์ที่่28 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 "เพ็ชร์ ทิวาพัฒน์" หญิงสาวผู้เสียหายวัย 23 ปี ซึ่งทำงานเป็นสาวรับใช้ ในคืนนั้น เพ็ชรถูกนภาพันธ์เรียกขึ้นไปนวดให้พิมล บนชั้นสองของบ้าน นภาพันธ์ช่วยจับมือของเพ็ชร ไปจับอวัยวะเพศของพิมล และร่วมกดร่างเพ็ชรไว้ให้สามีข่มขืน เหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ เกิดขึ้นซ้ำถึง 5 ครั้ง ในคืนนั้น 🗓️ เช้ามืดวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 เพ็ชรหนีออกจากบ้าน และไปแจ้งความที่โรงพัก เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมสองสามีภรรยา และส่งเพ็ชรตรวจร่างกายที่โรงพยาบาล ผลตรวจพิสูจน์พบร่องรอยการข่มขืนอย่างชัดเจน อัยการจึงเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง ศาลชั้นต้นเห็นว่า คำให้การของผู้เสียหายมีน้ำหนักเพียงพอ ประกอบกับพยานหลักฐาน และผลตรวจทางการแพทย์ จำเลยที่ 1 ถูกตัดสินจำคุก 5 ปี 1 เดือน จำเลยที่ 2 ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ➡️ แต่... จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์:ยกฟ้องเพราะเชื่อว่า “ยินยอม” กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ด้วยเหตุผลว่า เชื่อว่าผู้เสียหาย สมัครใจร่วมประเวณีเอง เห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้หญิง ไม่ควรถูกลงโทษในฐานะตัวการร่วมข่มขืน ➡️ อัยการในฐานะโจทก์ ฎีกาต่อ... ศาลฎีกา:พลิกคำพิพากษา ตอกย้ำ “หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนได้” ในการพิจารณาครั้งสำคัญ ของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ✅ พิพากษาว่า ผู้เสียหายไม่ได้สมัครใจ ✅ การมีส่วนร่วมของจำเลยที่ 2 ในการจับผู้เสียหาย และบังคับให้สามีข่มขืน ถือเป็นการ “ร่วมกันข่มขืน” ✅ ศาลฎีกายืนยันว่า ตามกฎหมายไทย หญิงก็เป็นตัวการข่มขืนหญิงได้ ➡️ จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษจำคุก 3 ปี 1 เดือน ➡️ จำเลยที่ 2 ถูกลงโทษจำคุก 2 ปี การตีความทางกฎหมายที่สำคัญ มาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายอาญา “ผู้ใด” ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น... 🔹 คำว่า “ผู้ใด” ไม่ได้ระบุเพศ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง หากมีพฤติการณ์ร่วมกันในการข่มขืน ก็ถือว่ามีความผิดฐาน “ตัวการ” ได้ 🔹 แม้ไม่ได้เป็นผู้ลงมือข่มขืนเอง แต่หากช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หรือบังคับเหยื่อ ก็ถือว่า “ร่วมกันกระทำผิด” ทำไมศาลฎีกาจึงพิพากษาเช่นนั้น? ✅ พฤติกรรมของจำเลยที่ 2 แสดงชัดว่า ร่วมกดขาและจับผู้เสียหาย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ข่มขืน ✅ ข่มขู่ผู้เสียหายไม่ให้ร้อง หรือบอกว่าจะ “เพิ่มเงินเดือน” หากไม่ต่อต้าน ✅ บังคับผู้เสียหายให้อมอวัยวะเพศ และสั่งให้กลืนน้ำอสุจิของสามี ✨ ผลกระทบต่อสังคม และวงการกฎหมาย เปลี่ยนแปลงความเข้าใจ ก่อนหน้านั้น สังคมมองว่า “ข่มขืน” เป็นอาชญากรรมที่มีแต่เพศชาย เป็นผู้กระทำ ✨ คดีตุ๊กตาสร้างการตระหนักใหม่ว่า อาชญากรรมทางเพศ เกิดจากผู้กระทำได้ทุกเพศ อิทธิพลต่อการตีความกฎหมาย ศาลไทยขยายขอบเขตความผิดของมาตรา 276 ให้ครอบคลุมบุคคลทุกเพศ สร้างบรรทัดฐานใหม่ ในคดีอาญาเกี่ยวกับเพศที่ซับซ้อนมากขึ้น “คดีตุ๊กตา” กับมรดกทางกฎหมายที่ยั่งยืน ผ่านมา 58 ปี คดีตุ๊กตายังเป็นกรณีศึกษา ในวงการกฎหมายและสังคม ที่สอนให้เข้าใจถึง ความซับซ้อนของความรุนแรงทางเพศ และบทบาทของกฎหมาย ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คดีนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องราวในอดีต แต่เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอย ในสังคมไทยอีกต่อไป ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 221140 มี.ค. 2568 🏷️ #คดีตุ๊กตา #ข่มขืนในไทย #หญิงข่มขืนหญิงได้ #พิมลกาฬสีห์ #ศาลฎีกาไทย #กฎหมายอาญา #สิทธิมนุษยชน #ข่มขืนกระทำชำเรา #ข่าวดังในอดีต #คดีอาชญากรรมไทย
    0 Comments 0 Shares 1054 Views 0 Reviews
  • 🔌 47 ปีแห่ง "Black Out" ไฟฟ้าดับทั่วไทยนาน 9 ชั่วโมง 20 นาที เหตุการณ์ที่คนไทยไม่มีวันลืม ⚡

    🔥 ความทรงจำในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2521 ประเทศไทยทั้งประเทศจมสู่ความมืด เผชิญกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "Blackout" เป็นระยะเวลานานถึง 9 ชั่วโมง 20 นาที นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังคงเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่ถูกบันทึกไว้ใน ประวัติศาสตร์พลังงานของประเทศไทย 🇹🇭

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ซึ่งในขณะนั้น เป็นศูนย์กลางกำลังผลิตไฟฟ้าหลัก ของประเทศ ได้เกิดขัดข้องครั้งใหญ่ ส่งผลให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 4 เครื่อง กำลังผลิตรวมกว่า 1,030 เมกะวัตต์ หยุดทำงานทันที ❌⚙️ และด้วยระบบที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงไฟฟ้าอื่นๆ ต้องหยุดตามกันไป ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าทั่วประเทศไทย ในทันที 🌍

    🕰️ ไทม์ไลน์เหตุการณ์ Blackout 2521 ตั้งแต่เช้าจรดเย็น
    07.40 น. เริ่มเกิดเหตุขัดข้องที่โรงไฟฟ้าพระนครใต้
    ภาคเหนือและภาคกลาง เกิดไฟฟ้าดับทันที นานกว่า 1 ชั่วโมง
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทบประมาณ 15 นาที
    เขตนครหลวง ดับยาวกว่า 2 ชั่วโมง

    17.00 น. ไฟฟ้ากลับมาทำงานได้ตามปกติทั่วประเทศ ✅

    ⏳ รวมเวลาไฟดับทั่วประเทศครั้งนี้ 9 ชั่วโมง 20 นาที ซึ่งในเวลานั้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ได้เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    💡 "Blackout" คือเหตุการณ์ที่ไฟฟ้าดับในวงกว้าง หรือทั้งประเทศ โดยไม่สามารถควบคุม หรือจำกัดขอบเขตได้ทันเวลา และส่งผลให้ระบบไฟฟ้าล่มทั้งเครือข่าย 😱 หากไม่มีระบบป้องกันที่ดี หรือระบบควบคุมการจ่ายไฟที่แม่นยำพอ จะเกิดไฟฟ้าดับทั้งประเทศ อย่างที่ไทยเคยประสบในปี 2521

    📊 เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกถึงการแข่งขันชักเย่อ ที่ทั้งสองฝ่ายดึงเชือกอย่างสมดุล แต่ถ้าอยู่ดีๆ ฝ่ายหนึ่งล้มลง แรงดึงอีกฝ่ายจะทำให้ทุกคนล้มตามไปหมด นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น กับระบบไฟฟ้าของไทยในวันนั้น ⚖️➡️❌

    ⚙️ เบื้องหลังระบบไฟฟ้าของไทยในยุคนั้น จุดอ่อนที่นำไปสู่ "Blackout" ในปี 2521 โรงไฟฟ้าพระนครใต้ เป็นโรงไฟฟ้าหลัก ที่รับภาระการผลิตไฟฟ้าถึง 77% ของกำลังการผลิตรวมทั้งหมดของประเทศ เมื่อเกิดขัดข้องขึ้นกับโรงไฟฟ้าหลักนี้ ระบบอื่นจึงไม่สามารถรับภาระได้ทัน ➡️ ทำให้เกิด การหยุดทำงานของระบบไฟฟ้าทั้งหมด ในเวลาอันสั้น

    📌 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเกิด Blackout
    - ระบบพึ่งพาโรงไฟฟ้าหลักมากเกินไป 🌡️
    - ระบบควบคุม และป้องกันการล้มของเครือข่าย ยังไม่ทันสมัย ❌
    - การขาดโรงไฟฟ้าสำรอง ที่พร้อมรองรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน 🏭

    🌍 ตัวอย่าง Blackout ในต่างประเทศที่โลกจดจำ
    แม้ประเทศไทยจะเคยเจอเหตุการณ์ใหญ่ในปี 2521 แต่ประเทศอื่นๆ ก็เคยเผชิญเหตุการณ์เลวร้ายเช่นกัน ตัวอย่างเช่น

    🇲🇾 มาเลเซีย 2539
    วันที่ 3 สิงหาคม 2539 เกิดไฟฟ้าดับทั่วประเทศ นานถึง 16 ชั่วโมง สาเหตุเกิดจากโรงไฟฟ้า PAKAR ขัดข้อง เสียหายไม่น้อยกว่า 1,250 ล้านบาท กระทบระบบขนส่ง ประชาชนติดในลิฟต์ โรงพยาบาลขาดไฟช่วยชีวิต และเศรษฐกิจหยุดชะงักทั้งหมด

    ✅ การพัฒนาและความมั่นคง ของระบบไฟฟ้าไทยในปัจจุบัน หลังจากบทเรียนครั้งสำคัญในปี 2521 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้พัฒนาปรับปรุงระบบการผลิต และการจ่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง

    🔧 มาตรการป้องกัน Blackout ในปัจจุบัน
    - กำลังการผลิตรวมสูงถึง 15,500 เมกะวัตต์ 🔋
    - มีโรงไฟฟ้าสำรอง และระบบกังหันแก๊ส ที่สามารถเดินเครื่องภายใน 10-15 นาที 🏭
    - โรงไฟฟ้าพลังน้ำมีบทบาทสำคัญ ในการรองรับกำลังการผลิตช่วงวิกฤต 🌊
    - ระบบสำรองพลังงานสูงถึง 15% ของความต้องการทั้งหมด
    - เทคโนโลยีระบบควบคุม และอุปกรณ์ป้องกันทันสมัย ลดโอกาสเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง 💻⚙️

    💡 บทเรียนจาก Blackout 2521 พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่แค่แสงสว่าง แต่คือ "ชีวิต" ในโลกยุคดิจิทัลปี 2025 ที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกันด้วย เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และระบบอัตโนมัติ หากเกิดไฟฟ้าดับแม้เพียงไม่กี่วินาที ผลกระทบจะรุนแรงเกินคาด ❗

    🏥 โรงพยาบาล เครื่องมือช่วยชีวิตหยุดทำงาน
    🏦 ระบบธนาคารออนไลน์หยุดชะงัก
    🚦 การจราจรหยุดนิ่ง อุบัติเหตุเพิ่มขึ้น
    🛒 ธุรกิจ E-commerce และร้านค้าออนไลน์สูญเสียรายได้
    🏭 โรงงานอุตสาหกรรมหยุดผลิต

    📚 47 ปี Blackout 2521 จากวิกฤติสู่บทเรียนพลังงานแห่งชาติ เหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศไทย ในปี 2521 เป็นบทเรียนครั้งใหญ่ ที่ทำให้ระบบไฟฟ้าของไทยแข็งแกร่ง และมั่นคงยิ่งขึ้นในปัจจุบัน 👍 ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี การบริหารจัดการพลังงานที่ทันสมัย และการมีระบบสำรองที่มั่นใจได้ ทำให้วันนี้ คนไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงวิกฤติที่สุด

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181248 มี.ค. 2568

    🏷️ #Blackout2521 #ไฟฟ้าดับทั่วไทย #พลังงานไฟฟ้า #กฟผ #ระบบไฟฟ้าไทย #โรงไฟฟ้าพระนครใต้ #เหตุการณ์ไฟดับ #พลังงานมั่นคง #ไฟดับนานสุดในไทย #พลังงานอนาคต
    🔌 47 ปีแห่ง "Black Out" ไฟฟ้าดับทั่วไทยนาน 9 ชั่วโมง 20 นาที เหตุการณ์ที่คนไทยไม่มีวันลืม ⚡ 🔥 ความทรงจำในวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2521 ประเทศไทยทั้งประเทศจมสู่ความมืด เผชิญกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "Blackout" เป็นระยะเวลานานถึง 9 ชั่วโมง 20 นาที นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และยังคงเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่ถูกบันทึกไว้ใน ประวัติศาสตร์พลังงานของประเทศไทย 🇹🇭 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ซึ่งในขณะนั้น เป็นศูนย์กลางกำลังผลิตไฟฟ้าหลัก ของประเทศ ได้เกิดขัดข้องครั้งใหญ่ ส่งผลให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 4 เครื่อง กำลังผลิตรวมกว่า 1,030 เมกะวัตต์ หยุดทำงานทันที ❌⚙️ และด้วยระบบที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงไฟฟ้าอื่นๆ ต้องหยุดตามกันไป ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าทั่วประเทศไทย ในทันที 🌍 🕰️ ไทม์ไลน์เหตุการณ์ Blackout 2521 ตั้งแต่เช้าจรดเย็น 07.40 น. เริ่มเกิดเหตุขัดข้องที่โรงไฟฟ้าพระนครใต้ ภาคเหนือและภาคกลาง เกิดไฟฟ้าดับทันที นานกว่า 1 ชั่วโมง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระทบประมาณ 15 นาที เขตนครหลวง ดับยาวกว่า 2 ชั่วโมง 17.00 น. ไฟฟ้ากลับมาทำงานได้ตามปกติทั่วประเทศ ✅ ⏳ รวมเวลาไฟดับทั่วประเทศครั้งนี้ 9 ชั่วโมง 20 นาที ซึ่งในเวลานั้น ความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ได้เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 💡 "Blackout" คือเหตุการณ์ที่ไฟฟ้าดับในวงกว้าง หรือทั้งประเทศ โดยไม่สามารถควบคุม หรือจำกัดขอบเขตได้ทันเวลา และส่งผลให้ระบบไฟฟ้าล่มทั้งเครือข่าย 😱 หากไม่มีระบบป้องกันที่ดี หรือระบบควบคุมการจ่ายไฟที่แม่นยำพอ จะเกิดไฟฟ้าดับทั้งประเทศ อย่างที่ไทยเคยประสบในปี 2521 📊 เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ ลองนึกถึงการแข่งขันชักเย่อ ที่ทั้งสองฝ่ายดึงเชือกอย่างสมดุล แต่ถ้าอยู่ดีๆ ฝ่ายหนึ่งล้มลง แรงดึงอีกฝ่ายจะทำให้ทุกคนล้มตามไปหมด นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น กับระบบไฟฟ้าของไทยในวันนั้น ⚖️➡️❌ ⚙️ เบื้องหลังระบบไฟฟ้าของไทยในยุคนั้น จุดอ่อนที่นำไปสู่ "Blackout" ในปี 2521 โรงไฟฟ้าพระนครใต้ เป็นโรงไฟฟ้าหลัก ที่รับภาระการผลิตไฟฟ้าถึง 77% ของกำลังการผลิตรวมทั้งหมดของประเทศ เมื่อเกิดขัดข้องขึ้นกับโรงไฟฟ้าหลักนี้ ระบบอื่นจึงไม่สามารถรับภาระได้ทัน ➡️ ทำให้เกิด การหยุดทำงานของระบบไฟฟ้าทั้งหมด ในเวลาอันสั้น 📌 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเกิด Blackout - ระบบพึ่งพาโรงไฟฟ้าหลักมากเกินไป 🌡️ - ระบบควบคุม และป้องกันการล้มของเครือข่าย ยังไม่ทันสมัย ❌ - การขาดโรงไฟฟ้าสำรอง ที่พร้อมรองรับเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน 🏭 🌍 ตัวอย่าง Blackout ในต่างประเทศที่โลกจดจำ แม้ประเทศไทยจะเคยเจอเหตุการณ์ใหญ่ในปี 2521 แต่ประเทศอื่นๆ ก็เคยเผชิญเหตุการณ์เลวร้ายเช่นกัน ตัวอย่างเช่น 🇲🇾 มาเลเซีย 2539 วันที่ 3 สิงหาคม 2539 เกิดไฟฟ้าดับทั่วประเทศ นานถึง 16 ชั่วโมง สาเหตุเกิดจากโรงไฟฟ้า PAKAR ขัดข้อง เสียหายไม่น้อยกว่า 1,250 ล้านบาท กระทบระบบขนส่ง ประชาชนติดในลิฟต์ โรงพยาบาลขาดไฟช่วยชีวิต และเศรษฐกิจหยุดชะงักทั้งหมด ✅ การพัฒนาและความมั่นคง ของระบบไฟฟ้าไทยในปัจจุบัน หลังจากบทเรียนครั้งสำคัญในปี 2521 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้พัฒนาปรับปรุงระบบการผลิต และการจ่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง 🔧 มาตรการป้องกัน Blackout ในปัจจุบัน - กำลังการผลิตรวมสูงถึง 15,500 เมกะวัตต์ 🔋 - มีโรงไฟฟ้าสำรอง และระบบกังหันแก๊ส ที่สามารถเดินเครื่องภายใน 10-15 นาที 🏭 - โรงไฟฟ้าพลังน้ำมีบทบาทสำคัญ ในการรองรับกำลังการผลิตช่วงวิกฤต 🌊 - ระบบสำรองพลังงานสูงถึง 15% ของความต้องการทั้งหมด - เทคโนโลยีระบบควบคุม และอุปกรณ์ป้องกันทันสมัย ลดโอกาสเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้อง 💻⚙️ 💡 บทเรียนจาก Blackout 2521 พลังงานไฟฟ้าไม่ใช่แค่แสงสว่าง แต่คือ "ชีวิต" ในโลกยุคดิจิทัลปี 2025 ที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกันด้วย เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต และระบบอัตโนมัติ หากเกิดไฟฟ้าดับแม้เพียงไม่กี่วินาที ผลกระทบจะรุนแรงเกินคาด ❗ 🏥 โรงพยาบาล เครื่องมือช่วยชีวิตหยุดทำงาน 🏦 ระบบธนาคารออนไลน์หยุดชะงัก 🚦 การจราจรหยุดนิ่ง อุบัติเหตุเพิ่มขึ้น 🛒 ธุรกิจ E-commerce และร้านค้าออนไลน์สูญเสียรายได้ 🏭 โรงงานอุตสาหกรรมหยุดผลิต 📚 47 ปี Blackout 2521 จากวิกฤติสู่บทเรียนพลังงานแห่งชาติ เหตุการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศไทย ในปี 2521 เป็นบทเรียนครั้งใหญ่ ที่ทำให้ระบบไฟฟ้าของไทยแข็งแกร่ง และมั่นคงยิ่งขึ้นในปัจจุบัน 👍 ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี การบริหารจัดการพลังงานที่ทันสมัย และการมีระบบสำรองที่มั่นใจได้ ทำให้วันนี้ คนไทยมีไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงวิกฤติที่สุด ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 181248 มี.ค. 2568 🏷️ #Blackout2521 #ไฟฟ้าดับทั่วไทย #พลังงานไฟฟ้า #กฟผ #ระบบไฟฟ้าไทย #โรงไฟฟ้าพระนครใต้ #เหตุการณ์ไฟดับ #พลังงานมั่นคง #ไฟดับนานสุดในไทย #พลังงานอนาคต
    0 Comments 0 Shares 848 Views 0 Reviews
  • 34 ปี ตรวจสอบทรัพย์สิน "10 รัฐมนตรี" จากยึดทรัพย์สู่พฤษภาทมิฬ! ศาลฎีกาสั่งเพิกถอน... คำสั่งยึดทรัพย์

    📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยเมื่อ 34 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ออกคำสั่งจัดตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ภายใต้การนำของ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีเป้าหมาย เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมือง ในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ว่ามีการร่ำรวยผิดปกติหรือไม่

    🚨 ผลจากการตรวจสอบ รสช. ได้มีคำสั่ง ยึดทรัพย์รัฐมนตรี 10 ราย ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่เชื่อมโยงไปสู่ความไม่พอใจ ของประชาชน จนกระทั่งนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการฟ้องร้องในศาลฎีกา ในเวลาต่อมา

    🔍 การตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง ในปี 2534
    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) โดย คตส. ตรวจสอบนักการเมือง 25 ราย และมีคำสั่ง ยึดทรัพย์ 10 ราย

    🏛️ รายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์
    1️⃣ นายเสนาะ เทียนทอง 62.7 ล้านบาท
    2️⃣ นายมนตรี พงษ์พานิช
    3️⃣ นายบรรหาร ศิลปอาชา
    4️⃣ นายณรงค์ วงศ์วรรณ
    5️⃣ พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์
    6️⃣ นายสุธี อากาศฤกษ์
    7️⃣ พล.อ. เหรียญ ดิษฐบรรจง
    8️⃣ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ
    9️⃣ นายอำนวย วงศ์วิเชียร
    🔟 นายไพศาล กุมาลย์วิสัย

    💬 แม้ว่านักการเมืองบางราย จะพยายามต่อสู้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ แต่กระบวนการยึดทรัพย์ ก็สร้าง ผลกระทบต่อชื่อเสียง และภาพลักษณ์เป็นอย่างมาก

    🏛️ คำให้การจากป๋าเหนาะ "เสนาะ เทียนทอง" หนึ่งในผู้ถูกยึดทรัพย์
    📌 ป๋าเหนาะเป็นหนึ่งในนักการเมือง ที่ถูกยึดทรัพย์ 62.7 ล้านบาท เจ้าตัวเล่าว่าไม่ได้พยายาม "วิ่งเต้น" เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา และเลือกที่จะต่อสู้ตามกระบวนการ

    🗣️ “ตอนนั้นผมมีเงินแค่ 30 ล้าน และเป็นเงินเก่าของผมเอง ไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติ”

    🗣️ “แม้จะถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี แต่ผมไม่ได้เซ็นหนังสืออะไรเลย เพราะผมมองว่ารัฐบาลนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง”

    ⚖️ จากการยึดทรัพย์ สู่ พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
    🔥 เหตุการณ์บานปลาย จากความไม่พอใจของประชาชน ต่อรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำ รสช.

    📌 เหตุการณ์สำคัญ:
    เมษายน 2535 รัฐบาลประกาศให้ พลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี
    17 พฤษภาคม 2535 ประชาชนเดินขบวนต่อต้าน เกิดการสลายการชุมนุมรุนแรง
    พฤษภาทมิฬ 2535 มีผู้เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก

    🎤 พลเอก สุจินดา ออกมาประกาศ "ยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ" และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

    ⚖️ ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ศ. 2536
    📌 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา เพื่อให้พิจารณาว่าคำสั่งของ รสช. และ คตส. เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

    ⚖️ วันที่ 26 มีนาคม 2536 ศาลฎีกาตัดสินว่า
    ✅ คำสั่งยึดทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    ✅ ให้ เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ และคืนทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับผู้ถูกกล่าวหา

    📌 ผลกระทบของคำตัดสิน สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจของ รสช. ที่อาจเกินขอบเขต ทำให้รัฐประหาร และการใช้อำนาจยึดทรัพย์ กลายเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมาย และสิทธิประชาชน

    🔎 บทเรียนจากอดีต สู่อนาคตการเมืองไทย
    📢 3 ประเด็นที่ต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้
    1️⃣ "อำนาจ" ต้องมาพร้อม "ความชอบธรรม" การใช้กฎหมายตรวจสอบนักการเมือง เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องโปร่งใสและยุติธรรม

    2️⃣ ประชาชนคือพลังขับเคลื่อนประชาธิปไตย การลุกขึ้นต่อต้าน ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สะท้อนพลังของประชาชน ในการปกป้องสิทธิของตนเอง

    3️⃣ การเมืองไทยต้องก้าวข้ามวังวนอำนาจ หากการเมืองไทยยังคงมีการรัฐประหาร และใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตอีกครั้ง

    📌 34 ปี แห่งบทเรียนทางการเมืองไทย
    📍 การตรวจสอบทรัพย์สินในปี 2534 เป็นจุดเริ่มต้นของ "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ครั้งสำคัญ
    📍 แม้สุดท้ายศาลฎีกา จะสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ แต่บทเรียนจากอดีต ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน
    📍 ประชาชนต้องตื่นตัว และตรวจสอบอำนาจรัฐเสมอ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251309 ก.พ. 2568

    🔗 #ประวัติศาสตร์การเมืองไทย #พฤษภาทมิฬ #รัฐประหาร2534 #ตรวจสอบทรัพย์สิน #เสนาะเทียนทอง #ยึดทรัพย์รัฐมนตรี #ศาลฎีกา #ประชาธิปไตยไทย #รสช #สุจินดาคราประยูร
    34 ปี ตรวจสอบทรัพย์สิน "10 รัฐมนตรี" จากยึดทรัพย์สู่พฤษภาทมิฬ! ศาลฎีกาสั่งเพิกถอน... คำสั่งยึดทรัพย์ 📌 ย้อนรอยประวัติศาสตร์การเมืองไทยเมื่อ 34 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ออกคำสั่งจัดตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ภายใต้การนำของ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีเป้าหมาย เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมือง ในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ว่ามีการร่ำรวยผิดปกติหรือไม่ 🚨 ผลจากการตรวจสอบ รสช. ได้มีคำสั่ง ยึดทรัพย์รัฐมนตรี 10 ราย ซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่เชื่อมโยงไปสู่ความไม่พอใจ ของประชาชน จนกระทั่งนำไปสู่ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการฟ้องร้องในศาลฎีกา ในเวลาต่อมา 🔍 การตรวจสอบทรัพย์สินนักการเมือง ในปี 2534 📅 เหตุการณ์สำคัญ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. ก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534 รสช. แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) โดย คตส. ตรวจสอบนักการเมือง 25 ราย และมีคำสั่ง ยึดทรัพย์ 10 ราย 🏛️ รายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์ 1️⃣ นายเสนาะ เทียนทอง 62.7 ล้านบาท 2️⃣ นายมนตรี พงษ์พานิช 3️⃣ นายบรรหาร ศิลปอาชา 4️⃣ นายณรงค์ วงศ์วรรณ 5️⃣ พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์ 6️⃣ นายสุธี อากาศฤกษ์ 7️⃣ พล.อ. เหรียญ ดิษฐบรรจง 8️⃣ นายชัยเชต สุนทรพิพิธ 9️⃣ นายอำนวย วงศ์วิเชียร 🔟 นายไพศาล กุมาลย์วิสัย 💬 แม้ว่านักการเมืองบางราย จะพยายามต่อสู้เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ แต่กระบวนการยึดทรัพย์ ก็สร้าง ผลกระทบต่อชื่อเสียง และภาพลักษณ์เป็นอย่างมาก 🏛️ คำให้การจากป๋าเหนาะ "เสนาะ เทียนทอง" หนึ่งในผู้ถูกยึดทรัพย์ 📌 ป๋าเหนาะเป็นหนึ่งในนักการเมือง ที่ถูกยึดทรัพย์ 62.7 ล้านบาท เจ้าตัวเล่าว่าไม่ได้พยายาม "วิ่งเต้น" เพื่อให้พ้นข้อกล่าวหา และเลือกที่จะต่อสู้ตามกระบวนการ 🗣️ “ตอนนั้นผมมีเงินแค่ 30 ล้าน และเป็นเงินเก่าของผมเอง ไม่ได้ร่ำรวยผิดปกติ” 🗣️ “แม้จะถูกแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี แต่ผมไม่ได้เซ็นหนังสืออะไรเลย เพราะผมมองว่ารัฐบาลนี้ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง” ⚖️ จากการยึดทรัพย์ สู่ พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 🔥 เหตุการณ์บานปลาย จากความไม่พอใจของประชาชน ต่อรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำ รสช. 📌 เหตุการณ์สำคัญ: เมษายน 2535 รัฐบาลประกาศให้ พลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี 17 พฤษภาคม 2535 ประชาชนเดินขบวนต่อต้าน เกิดการสลายการชุมนุมรุนแรง พฤษภาทมิฬ 2535 มีผู้เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก 🎤 พลเอก สุจินดา ออกมาประกาศ "ยอมเสียสัตย์เพื่อชาติ" และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ⚖️ ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ศ. 2536 📌 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ นักการเมืองที่ถูกยึดทรัพย์ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกา เพื่อให้พิจารณาว่าคำสั่งของ รสช. และ คตส. เป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ⚖️ วันที่ 26 มีนาคม 2536 ศาลฎีกาตัดสินว่า ✅ คำสั่งยึดทรัพย์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ✅ ให้ เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ และคืนทรัพย์สินทั้งหมด ให้กับผู้ถูกกล่าวหา 📌 ผลกระทบของคำตัดสิน สะท้อนให้เห็นถึงการใช้อำนาจของ รสช. ที่อาจเกินขอบเขต ทำให้รัฐประหาร และการใช้อำนาจยึดทรัพย์ กลายเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมาย และสิทธิประชาชน 🔎 บทเรียนจากอดีต สู่อนาคตการเมืองไทย 📢 3 ประเด็นที่ต้องเรียนรู้จากเหตุการณ์นี้ 1️⃣ "อำนาจ" ต้องมาพร้อม "ความชอบธรรม" การใช้กฎหมายตรวจสอบนักการเมือง เป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องโปร่งใสและยุติธรรม 2️⃣ ประชาชนคือพลังขับเคลื่อนประชาธิปไตย การลุกขึ้นต่อต้าน ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ สะท้อนพลังของประชาชน ในการปกป้องสิทธิของตนเอง 3️⃣ การเมืองไทยต้องก้าวข้ามวังวนอำนาจ หากการเมืองไทยยังคงมีการรัฐประหาร และใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในอนาคตอีกครั้ง 📌 34 ปี แห่งบทเรียนทางการเมืองไทย 📍 การตรวจสอบทรัพย์สินในปี 2534 เป็นจุดเริ่มต้นของ "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ครั้งสำคัญ 📍 แม้สุดท้ายศาลฎีกา จะสั่งเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ แต่บทเรียนจากอดีต ยังคงส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน 📍 ประชาชนต้องตื่นตัว และตรวจสอบอำนาจรัฐเสมอ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 251309 ก.พ. 2568 🔗 #ประวัติศาสตร์การเมืองไทย #พฤษภาทมิฬ #รัฐประหาร2534 #ตรวจสอบทรัพย์สิน #เสนาะเทียนทอง #ยึดทรัพย์รัฐมนตรี #ศาลฎีกา #ประชาธิปไตยไทย #รสช #สุจินดาคราประยูร
    0 Comments 0 Shares 1099 Views 0 Reviews
  • พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์

    ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图)

    อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน

    ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง

    เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง

    สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ
    – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี
    – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์
    – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้
    – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน
    ฯลฯ

    บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย

    ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน

    ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://inmywordz.com/archives/66897
    https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.sogou.com/v74971288.htm
    https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444
    https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    พรุ่งนี้เริ่มหยุดยาว เลยมาอัพบทความเร็วหน่อย วันนี้คุยกันต่อเรื่องสิบสองภาพวาด ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดาพระภรรยาแห่งสิบสองตำหนัก แน่นอนว่าความยากในการหาข้อมูลยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องเพราะสิบสองภาพวาดนี้สูญหายไปเกือบหมดแล้ว และอย่างที่ Storyฯ ได้กล่าวไปในบทความก่อนหน้านี้ ตำหนักที่ประทับของแต่ละท่านในละครก็ใช่ว่าจะตรงกันกับในประวัติศาสตร์ ภาพที่จะเล่าถึงกันในวันนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่หาข้อมูลยาก คือภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ (徐妃直谏图) ซึ่งในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ภาพนี้ถูกพระราชทานให้เสียนเฟยที่ตำหนักเฉิงเฉียนกง แต่อย่างที่เพื่อนเพจอาจพอทราบมาบ้าง เสียนเฟย (ซึ่งต่อมาคือฮองเฮาสกุลอูลาน่าลา) ถูกลบเลือนออกไปจากบันทึกต่างๆ มีบางข้อมูลบอกว่าพระนางประทับที่ตำหนักอี้คุนกง และภาพที่ได้รับพระราชทานมาที่ตำหนักอี้คุนกงคือภาพ ‘จาวหรงผิงซือ’ (昭容评诗图) อย่างไรก็ดี เท่าที่ Storyฯ พอจะหาข้อมูลได้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เคยแขวนอยู่ที่เฉิงเฉียนกง วันนี้เราคุยกันเรื่องภาพนี้ ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ Storyฯ หาไม่พบว่าจริงแล้วหน้าตาเป็นอย่างไร เพราะภาพที่ใช้ประกอบในละครนั้น จริงๆ แล้วเป็นหนึ่งในคอลเลคชั่นภาพวาดชีวิตสตรีในตระกูลขุนนางของเจียวปิ่งเจินในสมัยต้นราชวงศ์ชิง (รูปประกอบ1) ส่วนภาพที่เกี่ยวกับสวีเฟยที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนั้น มีชื่อว่า ‘สวีเฟยถวายฎีกา’ (徐惠上疏 รูปประกอบ2) เป็นผลงานของหวางเจิ้งเผิงสมัยราชวงศ์หยวนจากคอลเลคชั่นเกี่ยวกับพระภรรยาที่มีชื่อเสียงด้านคุณงามความดีในประวัติศาสตร์จีน ‘สวีเฟย’ คือใคร? นางคือหนึ่งในพระสนมของฮ่องเต้หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง (ขออภัยไม่ใช่ราชาศัพท์) นามเดิมว่า ‘สวีฮุ่ย’ (ค.ศ. 627-650) เป็นบุตรีของอดีตขุนนางระดับสูงของราชวงศ์ใต้ พื้นเพเดิมจากหูโจว มลฑลเจ้อเจียง นางเชี่ยวชาญด้านงานอักษรและบทกวี ว่ากันว่านางสามารถเริ่มเขียนบทความยาวๆ และท่องจำหนังสือปรัชญาของขงจื๊อที่ผู้ใหญ่ใช้เรียนได้ตั้งแต่เมื่ออายุเพียงสี่ขวบ ตอนนางอายุแปดขวบได้แต่งบทกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชั้นเลิศ โด่งดังไปถึงหูขององค์ถังไท่จงในวังหลวง จนทำให้ถูกรับเข้าวังเป็นสนมเมื่อมีอายุเพียงสิบเอ็ดปี (ตอนนั้นฮ่องเต้อายุสี่สิบปี) ด้วยตำแหน่งไฉเหริน ความสามารถด้านต่างๆ ของนางเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังไท่จงมาก จึงได้รับการปรับตำแหน่งขึ้นเรื่อยมาจนเป็นถึงชงหรง เหตุการณ์ที่กล่าวถึงในภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยขององค์ถังไท่จง จากที่เคยเป็นฮ่องเต้ที่ใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนและผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พอถึงช่วงปลายรัชสมัยนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ดูจะใส่ใจทุกข์สุขของประชาชนน้อยลง ประหยัดน้อยลง หาความสำราญส่วนตนมากขึ้น หมดเงินไม่น้อยกับการสร้างพระราชวังใหม่ๆ ไม่หยุดหย่อนเพื่อเป็นที่ระลึกถึงรัชสมัยอันเกรียงไกรของตัวเอง และก่อสงครามใหญ่สองครั้ง ประชาชนเริ่มลำบากยากจน สร้างความกังวลให้กับเหล่าขุนนาง สวีเฟยเองแม้อยู่ในวังหลังแต่ใส่ใจเรื่องราวบ้านเมืองและทุกข์สุขของประชาชน ทั้งกังวลทั้งอดรนทนไม่ไหว จึงร่างบทความวิจารณ์ทางการเมืองขึ้นยื่นถวายเป็นฎีกา เนื้อความสรุปโดยคร่าวคือ – ขอให้ถังไท่จงอย่าได้ทำตามตัวอย่างกษัตริย์ในอดีตที่ใช้เวลาและทรัพย์สินไปกับการป่าวประกาศคุณงามความดีของตน เพราะเมื่อมีผลงานไม่ต้องโอ้อวด ประชาชนก็สำนึกได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องสร้างพระราชวังหรือวิหารอลังการ ความดีที่ทำก็จะคงอยู่ได้ยาวนานเป็นหมื่นปี – สงครามที่ไม่หยุดสิ้น เป็นการสิ้นเปลืองเสบียงอาหารและสร้างความลำบากให้ประชาชน ต้องอดมื้อกินมื้อ ขอองค์ถังไท่จงอย่าได้มัวแต่โหยหาอำนาจจากการขยายอาณาเขตเพิ่มจนสูญเสียไพร่พลคนม้าของตนเองไปโดยไม่รู้ตัว และหลงลืมความเมตตากรุณาอันเป็นคุณสมบัติสำคัญ พร้อมกับยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ทำให้บ้านเมืองต้องล่มจมเพราะความกระหายอำนาจของกษัตริย์ – การก่อสร้างไม่หยุดหย่อนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรโดยใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นไม้หรือแรงงาน ต้องเกณฑ์คนมาขนหินขนไม้ สร้างความทุกข์ยากให้ประชาชน แรงของคนควรสงวนไว้เพื่อสิ่งที่จำเป็น ให้เขาได้พักบ้าง เมื่อถึงคราวต้องใช้จึงเป็นคนที่บ้านเมืองพึ่งพาได้ – ของฟุ่มเฟือยเงินทองมุกหยก ล้วนทำให้เมามายได้ดั่งสุรา แม้ล้วนเป็นสิ่งที่ได้รับมาเป็นเครื่องบรรณาการ แต่การนำมาใช้อย่างมากมายกลับกลายเป็นการสร้างความแตกต่างและระยะห่างระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน ดังนั้น แทนที่จะหลงระเริงกับของเหล่านี้ มิสู้ทุ่มแรงใจให้กับการเสริมสร้างความรู้และการศึกษาให้กับคน ฯลฯ บทความของสวีเฟยนี้ยาวมากจน Storyฯ สรุปให้ไม่ได้หมด ฎีกาฉบับนี้มีชื่อเรียกว่า ‘เจี้ยนไท่จงซี่ปิงป้าอี้ซู’ (谏太宗息兵罢役疏 แปลได้ประมาณว่า ฏีกาตำหนิให้ไท่จงหยุดทหารหยุดทัพ) ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นบทวิจารณ์ทางการเมืองโดยสตรีที่หายาก และแม้ว่าเป็นการตำหนิอย่างตรงไปตรงมา แต่สามารถสื่อออกมาได้อย่างมีเหตุผลและแสดงความเคารพนบนอบ บ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาของนาง และยังเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สมัยถัง เหตุเพราะองค์ถังไท่จงได้รับฟังอย่างจริงจังและเห็นด้วย ไม่เพียงไม่โกรธแต่ยังยกย่องชื่นชมและให้รางวัลนางอีกด้วย ว่ากันว่า ในช่วงบั้นปลายชีวิตขององค์ถังไท่จงนั้น นางคือคนที่เขาโปรดปรานที่สุด ต่อมาเมื่อองค์ถังไท่จงเสียชีวิต นางก็ตรอมใจจนตายตามไปด้วย ขณะนั้นอายุนางเพียงยี่สิบสี่ปี ภายหลังได้รับการอวยยศย้อนหลังจากฮ่องเต้หลี่จื้อ (ถังเกาจง) ให้เป็นเสียนเฟย ผลงานที่สืบทอดมาเป็นวรรณกรรมให้ชนรุ่นหลังศึกษามีมากมายหลายชิ้น นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสตรีที่ถูกยกย่องด้านความฉลาดและความเชี่ยวชาญด้านงานอักษรของประวัติศาสตร์จีน ภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ถูกตีความว่าเป็นภาพที่สะท้อนถึงความจงรักภักดีและความตรงไปตรงมา ส่วนป้ายที่ฮ่องเต้เฉียนหลงทรงพระราชทานไปพร้อมกับภาพ ‘สวีเฟยวิพากษ์’ นี้ เขียนว่า ‘เต๋อเฉิงโหรวซุ่น’ (德成柔顺) แปลได้ประมาณว่า เปี่ยมด้วยศีลธรรมและความนอบน้อม (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://inmywordz.com/archives/66897 https://www.duitang.com/blog/?id=1246591620 https://baike.sogou.com/v74971288.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.sogou.com/v74971288.htm https://baike.baidu.com/item/徐惠/11444 https://baike.baidu.com/item/谏太宗息兵罢役疏 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เสียนเฟย #สวีเฟยวิพากษ์ #สวีเฟย #สวีเฟยถวายฎีกา #กงซวิ่นถู #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    INMYWORDZ.COM
    《延禧攻略》最受寵的是令妃,生得最多的是純妃!乾隆為何卻選擇最心狠毒辣嫻妃為繼后?-我們用電影寫日記 - 冒牌生:寫作 • 旅行 • 生活
    而且還是在富察皇后離開後就馬上決定了😱 #延禧攻略 #繼皇后為什麼是她 #皇上考慮的真多 *正文開始 來源:美映椒房 整理:冒牌生 乾隆十三年三月,乾隆皇帝元配富察皇后忍著喪子悲痛,強顏歡笑帶病伺候皇帝和太后東巡,最終病逝於東巡途中。
    0 Comments 0 Shares 1218 Views 0 Reviews
  • 70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม?

    ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย

    ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

    แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่?

    ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8
    9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม
    ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

    🔎 ลักษณะพระบรมศพ
    มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย

    💡 คำถามที่เกิดขึ้น
    เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์?
    หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ?

    มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต
    หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด

    1. นายเฉลียว ปทุมรส
    อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต

    2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม
    อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์

    3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง
    เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต

    💭 ข้อโต้แย้ง
    มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์

    ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร
    หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ
    - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน
    - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม
    - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม

    17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล
    ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
    ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร
    ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร
    ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร

    หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น

    👀 ความน่าสงสัย
    - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน
    - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี

    ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง?
    แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด

    🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ"
    ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน
    มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน

    🔴 ข้อโต้แย้ง
    ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง

    🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์"
    มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง
    ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร

    🔴 ข้อโต้แย้ง
    ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ

    🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป"
    สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง
    หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย

    คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ
    แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง

    ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥
    - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์?
    - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่?

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568

    #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม? ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่? ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง 🔎 ลักษณะพระบรมศพ มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย 💡 คำถามที่เกิดขึ้น เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์? หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ? มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด 1. นายเฉลียว ปทุมรส อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต 2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์ 3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต 💭 ข้อโต้แย้ง มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น 👀 ความน่าสงสัย - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง? แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด 🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ" ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน 🔴 ข้อโต้แย้ง ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง 🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์" มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร 🔴 ข้อโต้แย้ง ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ 🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป" สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥 - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์? - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่? ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568 #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    0 Comments 0 Shares 1258 Views 0 Reviews
  • 77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา

    📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม

    หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้

    🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้

    📌 ภารกิจของหะยีสุหลง
    ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก
    ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา
    ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย

    แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย

    📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้

    📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง
    1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง
    2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80%
    3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
    5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา
    6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น
    7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม

    💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ"

    ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี
    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ

    หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม

    🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497
    หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา

    ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป...
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า

    เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ

    🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้

    📌 ผลกระทบที่สำคัญ
    ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย
    ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น
    ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา

    แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม

    📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎

    ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้
    ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์
    ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
    ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ

    📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568

    #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา 📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้ 🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ 📌 ภารกิจของหะยีสุหลง ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย 📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้ 📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง 1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง 2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80% 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา 6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม 💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ" ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ 📅 เหตุการณ์สำคัญ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม 🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป... หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้ 📌 ผลกระทบที่สำคัญ ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม 📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎 ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้ ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ 📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568 #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    0 Comments 0 Shares 1110 Views 0 Reviews
  • BIG STORY | สารคดีเชิงข่าว ตีแผ่เรื่องใหญ่ ไขปริศนา ค้นหาความจริง

    เจาะลึกทุกมุมมอง สะท้อนทุกแง่มุมของเหตุการณ์สำคัญ ที่คุณต้องรู้
    ✔ เบื้องหลังคดีดัง
    ✔ ปมปริศนาที่รอการคลี่คลาย
    ✔ เรื่องจริงที่ซ่อนอยู่ใต้พาดหัวข่าว

    📌 BIG STORY – ไม่ใช่แค่ข่าว แต่คือความจริงที่ต้องเปิดเผย
    📲 ติดตามได้ที่ Thaitimes App

    #BigStory #สารคดีเชิงข่าว #ตีแผ่เรื่องใหญ่ #ไขปริศนา #ค้นหาความจริง #ThaiTimes
    BIG STORY | สารคดีเชิงข่าว ตีแผ่เรื่องใหญ่ ไขปริศนา ค้นหาความจริง เจาะลึกทุกมุมมอง สะท้อนทุกแง่มุมของเหตุการณ์สำคัญ ที่คุณต้องรู้ ✔ เบื้องหลังคดีดัง ✔ ปมปริศนาที่รอการคลี่คลาย ✔ เรื่องจริงที่ซ่อนอยู่ใต้พาดหัวข่าว 📌 BIG STORY – ไม่ใช่แค่ข่าว แต่คือความจริงที่ต้องเปิดเผย 📲 ติดตามได้ที่ Thaitimes App #BigStory #สารคดีเชิงข่าว #ตีแผ่เรื่องใหญ่ #ไขปริศนา #ค้นหาความจริง #ThaiTimes
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 882 Views 0 Reviews
  • พุทธศาสนากับไพ่ทาโรต์ดูจะเป็นอะไรที่ไม่น่าไปด้วยกันได้ ถ้าเป็นคริสต์ศาสนาก็ยังพอมีจุดที่นำไปเชื่อมโยงกับไพ่ได้อยู่ แต่ไพ่ชุดที่จะกล่าวถึงในคราวนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า ไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์เกินไปสำหรับไพ่ทาโรต์

    'Siddhartha Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ในสังกัด Lo Scarabeo ตีพิมพ์เมื่อปี 2022 ผลิตและวางจำหน่ายแบบไพ่แมสตามร้านหนังสือชั้นนำ พอเป็นไพ่แมสของ สนพ. นี้จะมีสเปกเหมือน ๆ กันหมด คือพิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตหนาประมาณ 280 gsm (ซึ่งถือว่าค่อนข้างบางแล้วเมื่อเทียบกับไพ่ของผู้ผลิตไทยหลายรายเดี๋ยวนี้) เคลือบมันทั้งหน้าและหลัง บรรจุในกล่องกระดาษแบบฝาเปิดด้านบน (Tuck box) และมีคู่มือกระดาษเล่มเล็กแบบเย็บมุงหลังคาแถมมาให้ด้วย คราวนี้ขอเอาสเปกขึ้นก่อน เพราะไพ่ชุดนี้มีอะไรมัน ๆ ให้พิมพ์ถึงอีกมาก

    ดูจากชื่อไพ่กับหน้ากล่องแล้วก็น่าจะเข้าใจไม่ยากว่าเป็นไพ่ธีมพุทธ "Siddhartha" คือ สิทธารถะ ซึ่งเป็นการออกเสียงแบบสันสกฤตของชื่อ "สิทธัตถะ" หรือพระนามเดิมของพระพุทธเจ้าที่ไทยเรารู้จัก แต่ไพ่ชุดนี้เป็นธีมพุทธแบบนิกายมหายาน (โดยเน้นไปที่ฝั่งทิเบต) ซึ่งมีความเชื่อและหลักธรรมคำสอนแตกต่างไปจากนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบของไทยเรา ต้องบอกไว้แบบนี้ก่อน เพราะเดี๋ยวจะมีใครเห็นรูปพระปาง "ยับยุม" บนหน้าไพ่ Lovers แล้วจะอกแตกหรือไม่ก็เส้นเลือดในสมองแตกเอา โปรดจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ในการนับถือและตีความโดยชาวไทยพุทธเท่านั้น เข้าใจนะครับ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ คุณก็จะยอมรับและสนุกกับไพ่ชุดนี้ได้

    สำรับไพ่ชุดนี้มี 78 ใบตามโครงสร้างของทาโรต์มาตรฐาน ภาพหน้าไพ่วาดในสไตล์กึ่งอาร์ตนูโวกึ่งการ์ตูนสมจริงแบบคอมิกฝรั่ง บนหน้าไพ่แต่ละใบเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามคติมหายาน ตลอดจนบุคคลสำคัญ (เช่น ดาไลลามะ ในไพ่ 10 เหรียญ) และสถานที่สำคัญทางศาสนา (เช่น สถูป ในไพ่ 10 ไม้เท้า) ส่วนไพ่ Ace แต่ละตระกูลจะเป็นท่ามุทรา 4 ท่า ซึ่งเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตรงนี้เดี๋ยวจะขยายความต่อไป

    ผมรู้ครับว่าคนไทยบางส่วนเข็ดขยาดกับการอ่านหนังสือ มิพักต้องพูดถึงหนังสือในภาษาต่างประเทศ แต่ถ้าอยากเข้าถึงและใช้งานไพ่ชุดนี้ได้อย่างเต็มที่ หากว่าคุณเป็นคนไทยพุทธที่ไม่ได้คุ้นเคยอะไรกับระบบความเชื่อแบบพุทธมหายานแล้ว คู่มือเล่มเล็ก ๆ ที่แถมมาในกล่องไพ่ชุดนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด และถ้าคุณสนใจหรือกำลังอยากศึกษา Mythology ของพุทธมหายาน คู่มือไพ่ชุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นอันประเสริฐ เพราะคนที่ออกแบบไพ่ชุดนี้ขึ้นมาน่าจะศึกษาคติมหายานมาลึกซึ้งไม่น้อย และยังนำมาดัดแปลงเป็นโครงสร้างไพ่ทาโรต์ได้น่าสนใจมาก ๆ

    ตามที่คู่มือบอกมา ไพ่ชุดนี้ออกแบบโดยมีโครงสร้างหลักคือ "พระธยานิพุทธะ" หรือพระพุทธเจ้า 5 องค์ ซึ่งเป็นแก่นความเชื่อของพุทธมหายาน และผู้สร้างไพ่ก็นำแต่ละพระองค์ไปเชื่อมโยงกับ Suits หรือไพ่ทั้ง 5 กลุ่มในสารบบทาโรต์ ได้แก่

    - ไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) : พระไวโรจนพุทธเจ้า (Vairochana) ธาตุอากาศ สีขาว มีสัญลักษณ์คือ ธรรมจักร

    - ไพ่ถ้วย (Cups) : พระอมิตาภพุทธเจ้า (Amithaba) ธาตุไฟ สีแดง มีสัญลักษณ์คือ ดอกบัว (ปทมะ) คนไทยพุทธน่าจะคุ้นเคยกับภาพหน้าไพ่กลุ่มนี้มากที่สุด เพราะแสดงถึงฉากเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติของพระศากยมุณีพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ไพ่ Ace เป็นรูปธยานมุทรา

    - ไพ่เหรียญ (Pentacles) : พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า (Ratnasambhava) ธาตุดิน สีเหลือง มีสัญลักษณ์คือ รัตนมณี หรือหินมีค่า ไพ่ Ace เป็นรูปวรทมุทรา

    - ไพ่ไม้เท้า (Wands) : พระอักโษภยพุทธเจ้า (Aksobhaya) ธาตุน้ำ สีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์คือ วัชระ ไพ่ Ace เป็นรูปภูมิผัสมุทรา

    - ไพ่ดาบ (Swords) : พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า (Amoghasiddhi) ธาตุลม สีเขียว มีสัญลักษณ์คือ วัชระแฝด (กรรมะ) ไพ่ Ace เป็นรูปอภยมุทรา

    ในไพ่ชุดรองทั้ง 4 กลุ่ม พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มจะอยู่ในไพ่ King ส่วนในไพ่ชุดหลัก พระไวโรจนพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มอยู่ในไพ่ The Fool พร้อมกับทรงทำมือเป็นท่าธรรมจักรมุทรา และพระศากยมุณีหรือพระพุทธเจ้าของไทยเราจะอยู่ในไพ่ The World

    ถ้าคุณได้อ่านบรรทัดเกี่ยวกับไพ่แต่ละกลุ่มข้างบน จะเห็นว่าไพ่ถ้วยกับไม้เท้าไม่ได้เป็นธาตุน้ำกับไฟตามที่ยึดถือกันในขนบทาโรต์มาตรฐาน แต่เป็นการยึดตามคติพุทธมหายานแทน ไม่ใช่แค่นั้น ความหมายไพ่แต่ละใบ ตามที่อธิบายไว้ในคู่มือ ก็มีการตีความแตกต่างไปจากทาโรต์มาตรฐานด้วย ดังนั้นการใช้งานไพ่ชุดนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายเอามาก ๆ สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับความเชื่อแบบมหายาน ทางที่ดีคือยึดเอาจากในคู่มือเป็นหลักเถอะครับ ถ้ามีอะไรนอกเหนือจากนั้นค่อยนำความหมายไพ่แบบมาตรฐานโปะ ๆ เข้าไป

    ส่วนตัวผมมองว่า การจะใช้ไพ่ชุดนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ (ถ้ามีใครอยากใช้จริง ๆ อะนะ) ก็ต้องทำไม่ต่างจากเวลาชาวไทยพุทธเราเจอรูปพระปาง "ยับ-ยุม" หรือความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่แตกต่างไปจากที่เราเรียนกันมาในวิชาพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วางอคติลง และ เปิดใจยอมรับ" พึงระลึกไว้ครับว่า พุทธศาสนามีอายุมากว่า 2,500 ปี ผ่านวิวัฒนาการจนแตกสาแหรกแขนงความเชื่อไปเยอะ และจะไม่หยุดเปลี่ยนแปลงตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่า พุทธศาสนาไม่ใช่กรรมสิทธิ์ในการตีความและนับถือโดยชาวพุทธไทยแต่เพียงกลุ่มเดียว

    ปัจจุบัน ไพ่ Siddhartha Tarot ยังคงมีขายในร้าน Asia Books และคิโนะคูนิยะของบ้านเราครับ
    พุทธศาสนากับไพ่ทาโรต์ดูจะเป็นอะไรที่ไม่น่าไปด้วยกันได้ ถ้าเป็นคริสต์ศาสนาก็ยังพอมีจุดที่นำไปเชื่อมโยงกับไพ่ได้อยู่ แต่ไพ่ชุดที่จะกล่าวถึงในคราวนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า ไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์เกินไปสำหรับไพ่ทาโรต์ 'Siddhartha Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ในสังกัด Lo Scarabeo ตีพิมพ์เมื่อปี 2022 ผลิตและวางจำหน่ายแบบไพ่แมสตามร้านหนังสือชั้นนำ พอเป็นไพ่แมสของ สนพ. นี้จะมีสเปกเหมือน ๆ กันหมด คือพิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตหนาประมาณ 280 gsm (ซึ่งถือว่าค่อนข้างบางแล้วเมื่อเทียบกับไพ่ของผู้ผลิตไทยหลายรายเดี๋ยวนี้) เคลือบมันทั้งหน้าและหลัง บรรจุในกล่องกระดาษแบบฝาเปิดด้านบน (Tuck box) และมีคู่มือกระดาษเล่มเล็กแบบเย็บมุงหลังคาแถมมาให้ด้วย คราวนี้ขอเอาสเปกขึ้นก่อน เพราะไพ่ชุดนี้มีอะไรมัน ๆ ให้พิมพ์ถึงอีกมาก ดูจากชื่อไพ่กับหน้ากล่องแล้วก็น่าจะเข้าใจไม่ยากว่าเป็นไพ่ธีมพุทธ "Siddhartha" คือ สิทธารถะ ซึ่งเป็นการออกเสียงแบบสันสกฤตของชื่อ "สิทธัตถะ" หรือพระนามเดิมของพระพุทธเจ้าที่ไทยเรารู้จัก แต่ไพ่ชุดนี้เป็นธีมพุทธแบบนิกายมหายาน (โดยเน้นไปที่ฝั่งทิเบต) ซึ่งมีความเชื่อและหลักธรรมคำสอนแตกต่างไปจากนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบของไทยเรา ต้องบอกไว้แบบนี้ก่อน เพราะเดี๋ยวจะมีใครเห็นรูปพระปาง "ยับยุม" บนหน้าไพ่ Lovers แล้วจะอกแตกหรือไม่ก็เส้นเลือดในสมองแตกเอา โปรดจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ในการนับถือและตีความโดยชาวไทยพุทธเท่านั้น เข้าใจนะครับ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ คุณก็จะยอมรับและสนุกกับไพ่ชุดนี้ได้ สำรับไพ่ชุดนี้มี 78 ใบตามโครงสร้างของทาโรต์มาตรฐาน ภาพหน้าไพ่วาดในสไตล์กึ่งอาร์ตนูโวกึ่งการ์ตูนสมจริงแบบคอมิกฝรั่ง บนหน้าไพ่แต่ละใบเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามคติมหายาน ตลอดจนบุคคลสำคัญ (เช่น ดาไลลามะ ในไพ่ 10 เหรียญ) และสถานที่สำคัญทางศาสนา (เช่น สถูป ในไพ่ 10 ไม้เท้า) ส่วนไพ่ Ace แต่ละตระกูลจะเป็นท่ามุทรา 4 ท่า ซึ่งเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตรงนี้เดี๋ยวจะขยายความต่อไป ผมรู้ครับว่าคนไทยบางส่วนเข็ดขยาดกับการอ่านหนังสือ มิพักต้องพูดถึงหนังสือในภาษาต่างประเทศ แต่ถ้าอยากเข้าถึงและใช้งานไพ่ชุดนี้ได้อย่างเต็มที่ หากว่าคุณเป็นคนไทยพุทธที่ไม่ได้คุ้นเคยอะไรกับระบบความเชื่อแบบพุทธมหายานแล้ว คู่มือเล่มเล็ก ๆ ที่แถมมาในกล่องไพ่ชุดนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด และถ้าคุณสนใจหรือกำลังอยากศึกษา Mythology ของพุทธมหายาน คู่มือไพ่ชุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นอันประเสริฐ เพราะคนที่ออกแบบไพ่ชุดนี้ขึ้นมาน่าจะศึกษาคติมหายานมาลึกซึ้งไม่น้อย และยังนำมาดัดแปลงเป็นโครงสร้างไพ่ทาโรต์ได้น่าสนใจมาก ๆ ตามที่คู่มือบอกมา ไพ่ชุดนี้ออกแบบโดยมีโครงสร้างหลักคือ "พระธยานิพุทธะ" หรือพระพุทธเจ้า 5 องค์ ซึ่งเป็นแก่นความเชื่อของพุทธมหายาน และผู้สร้างไพ่ก็นำแต่ละพระองค์ไปเชื่อมโยงกับ Suits หรือไพ่ทั้ง 5 กลุ่มในสารบบทาโรต์ ได้แก่ - ไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) : พระไวโรจนพุทธเจ้า (Vairochana) ธาตุอากาศ สีขาว มีสัญลักษณ์คือ ธรรมจักร - ไพ่ถ้วย (Cups) : พระอมิตาภพุทธเจ้า (Amithaba) ธาตุไฟ สีแดง มีสัญลักษณ์คือ ดอกบัว (ปทมะ) คนไทยพุทธน่าจะคุ้นเคยกับภาพหน้าไพ่กลุ่มนี้มากที่สุด เพราะแสดงถึงฉากเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติของพระศากยมุณีพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ไพ่ Ace เป็นรูปธยานมุทรา - ไพ่เหรียญ (Pentacles) : พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า (Ratnasambhava) ธาตุดิน สีเหลือง มีสัญลักษณ์คือ รัตนมณี หรือหินมีค่า ไพ่ Ace เป็นรูปวรทมุทรา - ไพ่ไม้เท้า (Wands) : พระอักโษภยพุทธเจ้า (Aksobhaya) ธาตุน้ำ สีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์คือ วัชระ ไพ่ Ace เป็นรูปภูมิผัสมุทรา - ไพ่ดาบ (Swords) : พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า (Amoghasiddhi) ธาตุลม สีเขียว มีสัญลักษณ์คือ วัชระแฝด (กรรมะ) ไพ่ Ace เป็นรูปอภยมุทรา ในไพ่ชุดรองทั้ง 4 กลุ่ม พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มจะอยู่ในไพ่ King ส่วนในไพ่ชุดหลัก พระไวโรจนพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มอยู่ในไพ่ The Fool พร้อมกับทรงทำมือเป็นท่าธรรมจักรมุทรา และพระศากยมุณีหรือพระพุทธเจ้าของไทยเราจะอยู่ในไพ่ The World ถ้าคุณได้อ่านบรรทัดเกี่ยวกับไพ่แต่ละกลุ่มข้างบน จะเห็นว่าไพ่ถ้วยกับไม้เท้าไม่ได้เป็นธาตุน้ำกับไฟตามที่ยึดถือกันในขนบทาโรต์มาตรฐาน แต่เป็นการยึดตามคติพุทธมหายานแทน ไม่ใช่แค่นั้น ความหมายไพ่แต่ละใบ ตามที่อธิบายไว้ในคู่มือ ก็มีการตีความแตกต่างไปจากทาโรต์มาตรฐานด้วย ดังนั้นการใช้งานไพ่ชุดนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายเอามาก ๆ สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับความเชื่อแบบมหายาน ทางที่ดีคือยึดเอาจากในคู่มือเป็นหลักเถอะครับ ถ้ามีอะไรนอกเหนือจากนั้นค่อยนำความหมายไพ่แบบมาตรฐานโปะ ๆ เข้าไป ส่วนตัวผมมองว่า การจะใช้ไพ่ชุดนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ (ถ้ามีใครอยากใช้จริง ๆ อะนะ) ก็ต้องทำไม่ต่างจากเวลาชาวไทยพุทธเราเจอรูปพระปาง "ยับ-ยุม" หรือความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่แตกต่างไปจากที่เราเรียนกันมาในวิชาพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วางอคติลง และ เปิดใจยอมรับ" พึงระลึกไว้ครับว่า พุทธศาสนามีอายุมากว่า 2,500 ปี ผ่านวิวัฒนาการจนแตกสาแหรกแขนงความเชื่อไปเยอะ และจะไม่หยุดเปลี่ยนแปลงตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่า พุทธศาสนาไม่ใช่กรรมสิทธิ์ในการตีความและนับถือโดยชาวพุทธไทยแต่เพียงกลุ่มเดียว ปัจจุบัน ไพ่ Siddhartha Tarot ยังคงมีขายในร้าน Asia Books และคิโนะคูนิยะของบ้านเราครับ
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 1005 Views 0 Reviews

  • เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ
    ....
    ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ
    .
    อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้
    .
    น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น
    .
    พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก
    .
    ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ
    .
    บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา
    .
    พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ
    .
    แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่....
    .
    ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา
    .
    พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน
    .
    ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน
    .
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า
    .
    ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น
    .
    เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น...
    .
    ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน
    .
    และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์
    ...
    ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    เขาขึ้นหรือเขานางบวชและวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ .... ในท้องทุ่งแห่งลุ่มแม่น้ำน้อยมีตำนานเล่าเรื่องวีรชนแห่งบ้านระจันหรือบางระจัน ที่ต้านทัพพม่า ซึ่งเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ไม่ไกลนักได้ถึง ๗ ครั้ง ชาวบ้านบางระจันได้รวมตัวกันต่อสู้รบและเสียชีวิตทั้งหมู่บ้านในครั้งที่ ๘ แม้นักประวัติศาสตร์หลายท่านจะเห็นแย้งและกล่าวว่าทัพพม่าเข้ามาทางบ้านตากนั้นยังคงไม่ถึงกรุงศรีอยุธยา เอกสารที่บันทึกไว้อย่างละเอียดน่าจะเป็นพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะขยายความและบรรยายอย่างละเอียด โดยมีนำมากล่าวถึงในหนังสือไทยรบพม่าของ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ส่วนพระราชพงศาวดารฉบับอื่นคงบรรยายไว้เพียงไม่มาก ปรากฎชื่อสถานที่ว่า ‘บ้านระจัน’ พระอาจารย์วัดเขานางบวชซึ่งก็หมายถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ นายจันเขียว พระยารัตนาธิเบศ . อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดารและบันทึกคำให้การต่างๆ ล้วนมีการบันทึกเหตุการณ์ที่ชาวบ้านเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญและมีส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง ส่วนจะมีรายละเอียดอย่างใดนั้น เรื่องเล่าติดที่คือตำนานต่างๆ ถูกสร้างและแต่งเสริมด้วยผู้คนที่เป็นชาวบ้านแห่งท้องทุ่งในลุ่มแม่น้ำน้อยนี้ . น่าสนใจว่า ผู้นำทางจิตวิญญาณที่สำคัญ คือ ‘พระอาจารย์ธรรมโชติ’ แห่งวัดเขานางบวช สุพรรณบุรี นั้นกลายเป็น Culture hero แห่งเขตพื้นที่กลางอันเป็นพื้นที่นครรัฐเจนลีฟูแต่เดิม เมื่อย้อนกลับไปราวห้าร้อยกว่าปีก่อนหน้านั้น . พื้นที่สู้รบนั้นอยู่ตามลำแม่น้ำน้อย ตั้งแต่แขวงเมืองวิเศษไชยชาญจนลงเข้าสู่ผักไห่และตั้งค่ายสำคัญอยู่ที่สีกุก . ส่วนด้านทางเหนือก็เข้าควบคุมพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านไปรวมกันแถบรอบวัดโพธิ์เก้าต้น ต่อชาวบ้านไปอาราธนาพระอาจารย์ธรรมโชติจากวัดเขานางบวช ให้ไปช่วยคุ้มครองทำผ้าประเจียด ตะกรุด พิสมร (ตะกรุดรูปแบบหนึ่ง ใช้ร้อยสายไว้ป้องกันอันตราย) แจกจ่ายนักรบชาวบ้าน เล่าสืบต่อมาว่าพระอาจารย์ธรรมโชติ บวชครั้งแรกที่ ‘วัดยาง’ ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กับวัดโพธิ์เก้าต้นหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ‘วัดแดง’ เพราะมีดงไม้แดงขึ้นเยอะ ทั้งสองวัดนี้เป็นวัดเก่า เพราะมีวิหารแบบแอ่นท้องสำเภา พระพุทธรูปหินทราย และพระพุทธรูปปูนปั้นประดิษฐานไว้ ก่อนย้ายไปฝึกวิปัสสนากรรมฐานในถ้ำบนยอดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนามาอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบ . บริเวณ ‘วัดโพธิ์เก้าต้น’ นี้เป็นย่านชุมชนเก่ามาตั้งแต่สมัยทวารวดีช่วงปลาย แต่อยู่อาศัยกันบางเบาเพราะเป็นเขตที่ต้องใช้ดารเดินทางติดต่อทางน้ำเป็นหลัก [Riverine] เพราะอยู่ไม่ไกลจาก ‘เมืองคูเมือง’ ในตำบลแสวงหา จังหวัดอ่างทอง ที่อยู่ห่างไปราว ๓ กิโลเมตร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มเมืองรูปสี่เหลี่ยมของลุ่มน้ำระหว่างลำสีบัวทองและแม่น้ำน้อย มีการอยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยทวารวดีและยุคลพบุรีหรือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๘ และคงอยู่สืบเนื่องกันต่อเรื่อยมาจนถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา . พอพม่าเข้าตีค่ายบางระจันที่วัดโพธิ์เก้าต้นได้ ใน ‘ไทยรบพม่า’ พระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ว่าชาวบ้านที่เหลือตายหนีไปได้บ้าง พม่าจับเอาไปเป็นเชลยบ้าง แต่พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นเลยหายสาบสูญไป จะถึงมรณภาพในเวลาเสียค่ายพม่าหรือหนีรอดไปได้ไม่มีหลักฐานปรากฎ . แต่ในบทความของอาจารย์มนัส โอภากุล เรื่อง พระอาจารย์ธรรมโชติ หายไปไหน? (มนัส โอภากุล. พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน? ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๒๗) ใช้ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากทายกวัดนางบวช อายุ ๗๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๒๗ เล่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชติกลับมาจำพรรษาที่วัดเขานางบวชตามเดิม โดยคำบอกเล่าของปู่ย่าตายายเล่าว่า เมื่อค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาที่เขานางบวช ทหารก็ไล่ติดตามมาจนมาค้นที่วัดเขานางบวชหาตัวเท่าไหร่ก็ไม่พบ เพราะท่านลงไปหลบในอุโมงค์ภายในวิหารที่ยังปรากฎอยู่จนปัจจุบันที่เคยเป็นที่นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เล่ากันว่าภายในมีพื้นที่ให้คนนั่งรวมกันได้ ๕ - ๖ คน ทุกวันนี้ก็ยังปรากฎอยู่.... . ซึ่งเป็นความเชื่อในคุณวิเศษของพระอาจารย์ธรรมโชติ ที่ชาวบ้านทางแถบเดิมบางตลอดไปจนถึงเขาพระ หัวเขาและบ้านกำมะเชียร ในย่านลุ่มน้ำสุพรรณเชื่อถือกันสืบต่อมา . พระวิหารวิปัสสนาที่เขาขึ้นหรือวัดเขานางบวชนั้น เป็นอาคารยาวมุงกระเบื้องกาบกล้วยแบบเก่า ประดิษฐานรอยพระบาท ด้านหลังเป็นโพรงหรืออุโมงค์ลงไปในโพรงแคบๆ ของพระเจดีย์ที่อาจจะเป็นกรุมาแต่ดั้งเดิม (ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชวินิจฉัยเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นโพรงถ้ำวิปัสสนามาแต่ก่อน . ‘เขาขึ้น’ หรือ ‘เขานางบวช’ นั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานบนเขาและชุมชนยุคแรกๆ มราเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้ เนื่องจากใกล้ชิดกับชุมชนที่เดิมบางฯ ริมแม่น้ำสุพรรณซึ่งเป็นจุดที่เชื่อมต่อเส้นทางเดินทางสมัยโบราณได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะขึ้นเหนือไปทางลุ่มน้ำสะแกกรังผ่านไปทางลำน้ำปิง ทางลำน้ำมะเขามเฒ่าสู่กลุ่มเมืองทางอู่ตะเภาและพื้นที่ดอนที่ติดต่อกับที่ราบสูงโคราช ทางตะวันตกสู่ลุ่มน้ำสุพรรณ อู่ทองและแม่กลอง และทางใต้ติดต่อกับท้องทุ่งและลำน้ำใหญ่น้อยที่ลงสูากลุ่มละโว้ได้เช่นกัน และมีการอยู่อาศัยต่อเนื่อง จนกลายเป็นแลนด์มาร์กและวัดสำคัญของท้องถิ่น มำตำนานของผู้เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ๆ สร้างให้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น และกลายมาเป็นการสร้างประเพณีสำคัญของท้องถิ่นสืบมาจนถึงปัจจุบัน . เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสขึ้นบนเขานางบวช เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ในพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า . ...ที่บนนั้นมีพระอุโบสถหลังหนึ่ง ห้าห้อง ไม่มีหน้าต่าง ก่อเว้นช่องอย่างวัดพุทไธสวรรย์ แต่ไม่มีหลังคามุงแฝกคลุมไว้ พระที่ตั้งอยู่บนฐานชุกชีเป็นพระพุทธรูปศิลาปั้นปูน ประกอบปิดทอง ผนังโบสถ์ด้านหนึ่งก่อเป็นแท่นเหมือนอาสนสงฆ์ ตั้งพระพุทธรูป เป็นพระยืนขนาดใหญ่ เห็นจะเป็นพระเก่าผีมือดี ๆ อย่างโบราณ สวมเทริด หน้าต่าง ๆ แต่ ชำรุดทั้งสิ้น ได้เชิญให้ลงมาปฏิสังขรณ์ ๔ องค์ ถ้าเสร็จแล้วจะส่งกลับไปไว้ที่เขานั้นบ้าง เสมาใช้ศิลาแผ่นใหญ่ ๆ อย่างเสมาวัดหลวงกรุงเก่า มีกำแพงแก้วรอบไป จนกระทั่งเจดีย์และวิหารด้วย แต่วิหารนั้นเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่า ทำเป็นสองคราว เพราะกระชั้นพระเจดีย์นัก ไม่ได้ไว้ช่อง อีกมีช่องหน้าต่างเล็กสูงเพียงศอกเดียว กว้างกับเศษ ๒ ช่องเท่านั้น ท้ายวิหารจดฐานพระเจดีย์ มีทางเข้าไปในองค์พระเจดีย์ที่กำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ประจำมุมเห็นจะมีถึงด้านละ ๔ องค์ พระเจดีย์นั้นก็เป็นพานแว่นฟ้า ๓ ชั้น . เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดขึ้นไหว้กันกลางเดือน ๔ ทุกปี มาแต่หัวเมืองอื่นก็มากใช้เดินทางบกทั้งนั้น... . ลักษณะของเจดีย์ที่สร้างแบบผสมกับหินก้อนใหญ่ๆ ซึ่งมักนิยมสร้างกันเช่นนี้ตามเขาที่มีฐานวิหารและพระเจดีย์บนเขา เช่น ที่บ้านหัวเขาในอำเภอเดิมบางฯ นี้ และแนวเขาพระที่ต่อเนื่องมาจากอู่ทองจนถึงเลาขวัญอีกหลายแห่ง ก็มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นยุคสมัยแบบลพบุรีหรือในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ อันเป็นช่วงร่วมสมัยกับกลุ่มนครรัฐเจนลีฟูที่ปรากฎขึ้นในบริเวณนี้ และเป็นรัฐที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักตามระบุไว้ในจดหมายเหตุจีน . และยังพบฐานแท่นหินทรายขนาดย่อมๆ สำหรับประติมากรรมที่อาจเป็นพระพุทธรูปหรือเทวรูปก็ได้ และพระพุทธรูปยืนสวมเทริดทำจากหินที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวถึงที่อาจนำไปปฏิสังขรณ์แล้วและอาจไม่ได้ส่งกลับมาก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพุทธรูปแบบหินทรายปางมารวิชัยแบบเก่าซึ่งพบในแถบพื้นที่ดอนของสามชุก หนองหญ้าไซ และดอนเจดีย์ ... ภาพ วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติบนเขาขึ้นหรือเขานางบวช ต่อด้วยเจดีย์ทำจากก้อนหินผสมกับอิฐ ซึ่งมีโพรงด้านใน และพระอุโบสถมีพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัยที่พบในเขตนี้หลายองค์ ทั้งใบเสมาทำจากหินชนวนแบบวัดหลวงแต่ทำลวดลายที่พบได้ทั่วไปในเขตชัยนาท เมืองสิงห์เก่าและเมืองพรหมเก่า
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 936 Views 0 Reviews
  • จีนท้าทาย OpenAI! Qwen AI เปิดตัวฟรี เน้นมัลติโมดัล-วิเคราะห์รูปภาพแม่นยำระดับเซียน

    เมื่อเร็ว ๆ นี้ วงการ AI ของจีนได้สร้างความตื่นตัวด้วยการเปิดตัว DeepSeek R1 โมเดลปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำคะแนนเหนือ openAI ที่ทำคะแนนเหนือ ChatGPT-o1 (โมเดลที่เก่งที่สุดของ OpenAI ณ ปัจจุบัน) และ Claude 3.5 ในหลาย ๆ มิติเช่น งานด้านคณิตศาสตร์และเหตุผลเชิงตรรกะ รวมถึงการประมวลผลข้อความและโค้ดที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะเป็นโมเดลที่กระชับกว่า ไม่ได้ใช้ทรัพยากรมากเหมือน chatGPT และ จุดเด่นที่ทำให้ DeepSeek R1 แตกต่างจากโมเดลอื่น ๆ คือการเป็น โอเพนซอร์ส ที่สามารถดาวน์โหลดโค้ดต้นฉบับมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัวได้ทันที (ต่างกับ openAI ที่ไม่เปิดเผย code แม้ว่าจะมีคำว่า open อยู่บนชื่อก็ตาม) แต่ถึงกระนั้น DeepSeek R1 ยังมีจุดอ่อนสำคัญคือ ปัจจุบันไม่สามารถวิเคราะห์รูปภาพได้ และนี่คือช่องว่างที่ Qwen โมเดล AI จาก Alibaba Cloud ฉีกกฎด้วยการเปิดตัว Qwen2.5-VL โมเดลที่สามารถประมวลผลภาษากับภาพร่วมกัน ใช้งานฟรี ซึ่งอาจเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับ AI ยุคนี้!

    Qwen2.5-VL: ความสามารถที่ DeepSeek R1 ทำไม่ได้
    1. วิเคราะห์ภาพระดับเทพ
    Qwen2.5-VL ไม่ใช่แค่ตรวจจับวัตถุทั่วไป เช่น ดอกไม้หรือสัตว์ แต่ยังเข้าใจ แผนภูมิ กราฟิก ไอคอน และแม้แต่ โครงสร้างเอกสาร ในรูปภาพได้อย่างแม่นยำ พร้อมระบุตำแหน่งวัตถุ เพื่อใช้ต่อในระบบอัตโนมัติ เช่น
    o ตรวจจับนักบิดในภาพพร้อมสถานะสวมหมวกนิรภัย
    o นับจำนวนนกในภาพแม้เห็นแค่ส่วนหัว
    o แยกข้อมูลจากใบแจ้งหนี้หรือตารางในภาพ ส่งออกเป็นโครงสร้างข้อมูลเพื่อใช้ในงานธุรกิจ
    2. ประมวลผลวิดีโอยาว 1 ชั่วโมง + จับเหตุการณ์เฉพาะช่วงเวลา
    ด้วยเทคโนโลยี Dynamic Frame Rate และ Absolute Time Encoding โมเดลนี้สามารถสรุปเนื้อหาวิดีโอยาวระดับชั่วโมง และระบุเหตุการณ์สำคัญได้แม่นยำถึงระดับวินาที เช่น การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฟีเจอร์สร้างภาพในวิดีโอ
    3. ดึงข้อความจากภาพ รองรับมือหลายภาษา
    เพิ่มความแม่นยำในการอ่านข้อความจากภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ แม้ข้อความจะเอียงหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมซับซ้อน เช่น ตรวจสอบที่อยู่บนใบจัดส่งกับป้ายหน้าบ้านเพื่อยืนยันความถูกต้อง
    4. Visual Agent
    Qwen2.5-VL ทำหน้าที่เป็น "ตัวแทนอัจฉริยะ" ที่เชื่อมต่อกับเครื่องมือต่าง ๆ โดยตรง เช่น ควบคุมคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนผ่านการประมวลผลภาพ และสร้างผลลัพธ์แบบมีโครงสร้างเพื่อส่งต่อให้ระบบอื่น

    ในขณะที่ DeepSeek R1 โดดเด่นด้านคณิตศาสตร์และเหตุผล Qwen2.5-VL ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดด้วยความสามารถมัลติโมดัลที่สมบูรณ์แบบ พร้อมการสนับสนุนจากระบบ Cloud ของ Alibaba

    ผู้ก่อตั้งและข่าวสาร :
    https://x.com/huybery
    https://x.com/Alibaba_Qwen

    ใช้งาน AI ในข่าวฟรี สมัครฟรี ไม่มีโฆษณาที่: https://chat.qwenlm.ai/
    อ้างอิง: https://x.com/huybery

    คำอธิบายภาพ
    ภาพแรกแสดงการเปรียบเทียบระหว่างการแข่งขันของ โมเดล Qwen2.5-VL 72B เช่น การแก้ปัญหาในระดับมหาวิทยาลัย การอ่านเอกสารและแผนภูมิ การตอบคำถามทางภาพทั่วไป การคำนวณคณิตศาสตร์ การเข้าใจวิดีโอ และการควบคุมอุปกรณ์ผ่านภาพ ซึ่ง โมเดล Qwen2.5-VL 72B เก่งที่สุดในงานจำพวกการอ่านเอกสารและแผนภูมิ นอกจากนี้ยังทำได้ดีในงานตอบคำถามทางภาพทั่วไป

    คลิปมาจาก โมเดล Qwen2.5-plus แปลงข้อความ “Generate Thai people using the ThaiTime.co app everywhere!” เป็นวีดีโอ

    ภาพที่ 2 แสดงการถาม Qwen2.5-plus ว่า “รู้จัก Thaitimes.co ไหม” เพื่อทดสอบว่ามันสามารถหาข้อมูลใน internet ได้ลึกและเข้าใจภาษาไทย


    จีนท้าทาย OpenAI! Qwen AI เปิดตัวฟรี เน้นมัลติโมดัล-วิเคราะห์รูปภาพแม่นยำระดับเซียน เมื่อเร็ว ๆ นี้ วงการ AI ของจีนได้สร้างความตื่นตัวด้วยการเปิดตัว DeepSeek R1 โมเดลปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำคะแนนเหนือ openAI ที่ทำคะแนนเหนือ ChatGPT-o1 (โมเดลที่เก่งที่สุดของ OpenAI ณ ปัจจุบัน) และ Claude 3.5 ในหลาย ๆ มิติเช่น งานด้านคณิตศาสตร์และเหตุผลเชิงตรรกะ รวมถึงการประมวลผลข้อความและโค้ดที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะเป็นโมเดลที่กระชับกว่า ไม่ได้ใช้ทรัพยากรมากเหมือน chatGPT และ จุดเด่นที่ทำให้ DeepSeek R1 แตกต่างจากโมเดลอื่น ๆ คือการเป็น โอเพนซอร์ส ที่สามารถดาวน์โหลดโค้ดต้นฉบับมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัวได้ทันที (ต่างกับ openAI ที่ไม่เปิดเผย code แม้ว่าจะมีคำว่า open อยู่บนชื่อก็ตาม) แต่ถึงกระนั้น DeepSeek R1 ยังมีจุดอ่อนสำคัญคือ ปัจจุบันไม่สามารถวิเคราะห์รูปภาพได้ และนี่คือช่องว่างที่ Qwen โมเดล AI จาก Alibaba Cloud ฉีกกฎด้วยการเปิดตัว Qwen2.5-VL โมเดลที่สามารถประมวลผลภาษากับภาพร่วมกัน ใช้งานฟรี ซึ่งอาจเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับ AI ยุคนี้! Qwen2.5-VL: ความสามารถที่ DeepSeek R1 ทำไม่ได้ 1. วิเคราะห์ภาพระดับเทพ Qwen2.5-VL ไม่ใช่แค่ตรวจจับวัตถุทั่วไป เช่น ดอกไม้หรือสัตว์ แต่ยังเข้าใจ แผนภูมิ กราฟิก ไอคอน และแม้แต่ โครงสร้างเอกสาร ในรูปภาพได้อย่างแม่นยำ พร้อมระบุตำแหน่งวัตถุ เพื่อใช้ต่อในระบบอัตโนมัติ เช่น o ตรวจจับนักบิดในภาพพร้อมสถานะสวมหมวกนิรภัย o นับจำนวนนกในภาพแม้เห็นแค่ส่วนหัว o แยกข้อมูลจากใบแจ้งหนี้หรือตารางในภาพ ส่งออกเป็นโครงสร้างข้อมูลเพื่อใช้ในงานธุรกิจ 2. ประมวลผลวิดีโอยาว 1 ชั่วโมง + จับเหตุการณ์เฉพาะช่วงเวลา ด้วยเทคโนโลยี Dynamic Frame Rate และ Absolute Time Encoding โมเดลนี้สามารถสรุปเนื้อหาวิดีโอยาวระดับชั่วโมง และระบุเหตุการณ์สำคัญได้แม่นยำถึงระดับวินาที เช่น การโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฟีเจอร์สร้างภาพในวิดีโอ 3. ดึงข้อความจากภาพ รองรับมือหลายภาษา เพิ่มความแม่นยำในการอ่านข้อความจากภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาษาจีน ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่น ๆ แม้ข้อความจะเอียงหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมซับซ้อน เช่น ตรวจสอบที่อยู่บนใบจัดส่งกับป้ายหน้าบ้านเพื่อยืนยันความถูกต้อง 4. Visual Agent Qwen2.5-VL ทำหน้าที่เป็น "ตัวแทนอัจฉริยะ" ที่เชื่อมต่อกับเครื่องมือต่าง ๆ โดยตรง เช่น ควบคุมคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนผ่านการประมวลผลภาพ และสร้างผลลัพธ์แบบมีโครงสร้างเพื่อส่งต่อให้ระบบอื่น ในขณะที่ DeepSeek R1 โดดเด่นด้านคณิตศาสตร์และเหตุผล Qwen2.5-VL ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดด้วยความสามารถมัลติโมดัลที่สมบูรณ์แบบ พร้อมการสนับสนุนจากระบบ Cloud ของ Alibaba ผู้ก่อตั้งและข่าวสาร : https://x.com/huybery https://x.com/Alibaba_Qwen ใช้งาน AI ในข่าวฟรี สมัครฟรี ไม่มีโฆษณาที่: https://chat.qwenlm.ai/ อ้างอิง: https://x.com/huybery คำอธิบายภาพ ภาพแรกแสดงการเปรียบเทียบระหว่างการแข่งขันของ โมเดล Qwen2.5-VL 72B เช่น การแก้ปัญหาในระดับมหาวิทยาลัย การอ่านเอกสารและแผนภูมิ การตอบคำถามทางภาพทั่วไป การคำนวณคณิตศาสตร์ การเข้าใจวิดีโอ และการควบคุมอุปกรณ์ผ่านภาพ ซึ่ง โมเดล Qwen2.5-VL 72B เก่งที่สุดในงานจำพวกการอ่านเอกสารและแผนภูมิ นอกจากนี้ยังทำได้ดีในงานตอบคำถามทางภาพทั่วไป คลิปมาจาก โมเดล Qwen2.5-plus แปลงข้อความ “Generate Thai people using the ThaiTime.co app everywhere!” เป็นวีดีโอ ภาพที่ 2 แสดงการถาม Qwen2.5-plus ว่า “รู้จัก Thaitimes.co ไหม” เพื่อทดสอบว่ามันสามารถหาข้อมูลใน internet ได้ลึกและเข้าใจภาษาไทย
    0 Comments 0 Shares 807 Views 0 Reviews
  • 52 ปี ข้อตกลงสันติภาพปารีส ปิดฉากสงครามเวียดนาม บทบาทของไทยในสงครามเย็น

    สงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุด ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ แสดงถึงความขัดแย้ง ระหว่างสองขั้วอำนาจของโลก ในยุคสงครามเย็น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยโดยตรง การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 นับเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 18 ปี 🌏

    จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง
    สงครามเวียดนาม เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ และเสรีนิยม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดนามเหนือ ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และจีน ในขณะที่เวียดนามใต้ มีสหรัฐอเมริกา เป็นพันธมิตรสำคัญ

    นโยบายของสหรัฐ สกัดกั้นคอมมิวนิสต์
    สหรัฐตัดสินใจ เข้ามามีบทบาทในเวียดนาม ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2493 ด้วยเป้าหมายในการ "หยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์" (Containment Policy) โดยมองว่า หากเวียดนามเหนือ ตกอยู่ใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจถูกครอบงำด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีโดมิโน"

    ประเทศไทย พันธมิตรสำคัญของสหรัฐ
    ในยุคสงครามเย็น ประเทศไทย ได้กลายเป็นพันธมิตรสำคัญ ของสหรัฐอเมริกา ในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ เนื่องจากไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ใกล้กับเวียดนามและลาว

    รัฐบาลไทยในยุคนั้น โดยเฉพาะภายใต้การนำของ "จอมพลถนอม กิตติขจร" และ "จอมพลประภาส จารุเสถียร" ให้การสนับสนุนสหรัฐเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้ใช้ ฐานทัพในประเทศไทย หรือการส่งทหารไทยเข้าร่วมในสงคราม

    ฐานทัพในไทย ศูนย์กลางปฏิบัติการ
    สหรัฐได้ตั้งฐานทัพในประเทศไทยถึง 7 แห่ง ได้แก่
    - ดอนเมือง
    - นครราชสีมา
    - ตาคลี
    - อุบลราชธานี
    - อุดรธานี
    - นครพนม
    - อู่ตะเภา

    ฐานทัพเหล่านี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับการทิ้งระเบิด ในเวียดนามเหนือ และการดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ โดยมีการประมาณว่า 80% ของการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ ในเวียดนามเหนือ มาจากฐานทัพในประเทศไทย

    ข้อตกลงสันติภาพปารีส จุดสิ้นสุดของสงคราม
    ข้อตกลงสันติภาพปารีส ที่ลงนามในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นข้อตกลงสำคัญ ที่มีเป้าหมายเพื่อยุติสงคราม และฟื้นฟูสันติภาพในเวียดนาม ข้อตกลงนี้ลงนามระหว่าง

    - รัฐบาลสหรัฐ
    - รัฐบาลเวียดนามเหนือ
    - รัฐบาลเวียดนามใต้
    - รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาล แห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้

    เนื้อหาสำคัญ ได้แก่
    - การยุติการแทรกแซงทางทหาร ของสหรัฐในเวียดนาม
    - การถอนทหารอเมริกันทั้งหมด ออกจากเวียดนาม
    - การแลกเปลี่ยนนักโทษสงคราม
    - การยอมรับสถานะของรัฐบาล เวียดนามเหนือและใต้

    ผลกระทบจากข้อตกลง
    การลงนามในข้อตกลงนี้ ส่งผลให้สหรัฐ ถอนกำลังออกจากเวียดนาม อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างเวียดนามเหนือและใต้ ยังคงดำเนินต่อไป และสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2518 เมื่อเวียดนามเหนือ เข้ายึดครองไซง่อน

    ผลกระทบนามต่อประเทศไทย
    1. ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจ
    - ความช่วยเหลือจากสหรัฐ การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม นำมาซึ่งการลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น ถนน สนามบิน และเทคโนโลยีทางการทหาร
    - ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การที่ไทยเป็นฐานทัพ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โรงแรม บาร์ และธุรกิจบริการ

    2. การสูญเสียเอกราช
    มีข้อถกเถียงว่า การที่ไทยอนุญาตให้สหรัฐ ใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ และมีทหารจำนวนมาก ประจำอยู่ในประเทศ เป็นการละเมิด อธิปไตยของชาติ และทำให้เกิดความไม่พอใจ ในกลุ่มนักวิชาการ และนักศึกษา

    3. ผลกระทบทางสังคม
    การมีทหารอเมริกันในไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การนำวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสังคมไทย ซึ่งทั้งส่งผลดี และผลเสียในระยะยาว

    สงครามเวียดนาม และบทบาทของไทยในยุคนั้นเ ป็นตัวอย่างที่สำคัญ ของการดำเนินนโยบาย ในยุคสงครามเย็น แม้จะมีผลกระทบทางลบในด้านสังคม และการสูญเสียเอกราชบางส่วน แต่การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม ก็ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคาม ของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค

    การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เป็นการเตือนให้เราตระหนัก ถึงความสำคัญของสันติภาพ และการเจรจา เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568

    #สงครามเวียดนาม #ข้อตกลงปารีส #การเมืองโลก #สงครามเย็น #บทบาทไทยในสงคราม #ประวัติศาสตร์เอเชีย #ฐานทัพสหรัฐในไทย #การเจรจาสันติภาพ #การเมืองระหว่างประเทศ #ประวัติศาสตร์สงคราม

    🎯
    52 ปี ข้อตกลงสันติภาพปารีส ปิดฉากสงครามเวียดนาม บทบาทของไทยในสงครามเย็น สงครามเวียดนาม เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุด ในศตวรรษที่ 20 ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ แสดงถึงความขัดแย้ง ระหว่างสองขั้วอำนาจของโลก ในยุคสงครามเย็น แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่ส่งผลกระทบ ต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยโดยตรง การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 นับเป็นจุดสิ้นสุดของสงครามเวียดนาม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 18 ปี 🌏 จุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง สงครามเวียดนาม เริ่มต้นจากความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ และเสรีนิยม ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดนามเหนือ ได้รับการสนับสนุนจาก สหภาพโซเวียต และจีน ในขณะที่เวียดนามใต้ มีสหรัฐอเมริกา เป็นพันธมิตรสำคัญ นโยบายของสหรัฐ สกัดกั้นคอมมิวนิสต์ สหรัฐตัดสินใจ เข้ามามีบทบาทในเวียดนาม ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2493 ด้วยเป้าหมายในการ "หยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์" (Containment Policy) โดยมองว่า หากเวียดนามเหนือ ตกอยู่ใต้อิทธิพลคอมมิวนิสต์ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็อาจถูกครอบงำด้วยเช่นกัน หรือที่เรียกว่า "ทฤษฎีโดมิโน" ประเทศไทย พันธมิตรสำคัญของสหรัฐ ในยุคสงครามเย็น ประเทศไทย ได้กลายเป็นพันธมิตรสำคัญ ของสหรัฐอเมริกา ในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ เนื่องจากไทย ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ใกล้กับเวียดนามและลาว รัฐบาลไทยในยุคนั้น โดยเฉพาะภายใต้การนำของ "จอมพลถนอม กิตติขจร" และ "จอมพลประภาส จารุเสถียร" ให้การสนับสนุนสหรัฐเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้ใช้ ฐานทัพในประเทศไทย หรือการส่งทหารไทยเข้าร่วมในสงคราม ฐานทัพในไทย ศูนย์กลางปฏิบัติการ สหรัฐได้ตั้งฐานทัพในประเทศไทยถึง 7 แห่ง ได้แก่ - ดอนเมือง - นครราชสีมา - ตาคลี - อุบลราชธานี - อุดรธานี - นครพนม - อู่ตะเภา ฐานทัพเหล่านี้ เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สำหรับการทิ้งระเบิด ในเวียดนามเหนือ และการดำเนินปฏิบัติการทางอากาศ โดยมีการประมาณว่า 80% ของการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ ในเวียดนามเหนือ มาจากฐานทัพในประเทศไทย ข้อตกลงสันติภาพปารีส จุดสิ้นสุดของสงคราม ข้อตกลงสันติภาพปารีส ที่ลงนามในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2516 เป็นข้อตกลงสำคัญ ที่มีเป้าหมายเพื่อยุติสงคราม และฟื้นฟูสันติภาพในเวียดนาม ข้อตกลงนี้ลงนามระหว่าง - รัฐบาลสหรัฐ - รัฐบาลเวียดนามเหนือ - รัฐบาลเวียดนามใต้ - รัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาล แห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เนื้อหาสำคัญ ได้แก่ - การยุติการแทรกแซงทางทหาร ของสหรัฐในเวียดนาม - การถอนทหารอเมริกันทั้งหมด ออกจากเวียดนาม - การแลกเปลี่ยนนักโทษสงคราม - การยอมรับสถานะของรัฐบาล เวียดนามเหนือและใต้ ผลกระทบจากข้อตกลง การลงนามในข้อตกลงนี้ ส่งผลให้สหรัฐ ถอนกำลังออกจากเวียดนาม อย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งระหว่างเวียดนามเหนือและใต้ ยังคงดำเนินต่อไป และสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2518 เมื่อเวียดนามเหนือ เข้ายึดครองไซง่อน ผลกระทบนามต่อประเทศไทย 1. ความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเศรษฐกิจ - ความช่วยเหลือจากสหรัฐ การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม นำมาซึ่งการลงทุน ด้านโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น ถนน สนามบิน และเทคโนโลยีทางการทหาร - ผลกระทบทางเศรษฐกิจ การที่ไทยเป็นฐานทัพ นำไปสู่การเติบโตของธุรกิจในท้องถิ่น เช่น โรงแรม บาร์ และธุรกิจบริการ 2. การสูญเสียเอกราช มีข้อถกเถียงว่า การที่ไทยอนุญาตให้สหรัฐ ใช้พื้นที่เป็นฐานทัพ และมีทหารจำนวนมาก ประจำอยู่ในประเทศ เป็นการละเมิด อธิปไตยของชาติ และทำให้เกิดความไม่พอใจ ในกลุ่มนักวิชาการ และนักศึกษา 3. ผลกระทบทางสังคม การมีทหารอเมริกันในไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เช่น การนำวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสังคมไทย ซึ่งทั้งส่งผลดี และผลเสียในระยะยาว สงครามเวียดนาม และบทบาทของไทยในยุคนั้นเ ป็นตัวอย่างที่สำคัญ ของการดำเนินนโยบาย ในยุคสงครามเย็น แม้จะมีผลกระทบทางลบในด้านสังคม และการสูญเสียเอกราชบางส่วน แต่การสนับสนุนสหรัฐ ในสงครามเวียดนาม ก็ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคาม ของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค การลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส เป็นการเตือนให้เราตระหนัก ถึงความสำคัญของสันติภาพ และการเจรจา เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 270827 ม.ค. 2568 #สงครามเวียดนาม #ข้อตกลงปารีส #การเมืองโลก #สงครามเย็น #บทบาทไทยในสงคราม #ประวัติศาสตร์เอเชีย #ฐานทัพสหรัฐในไทย #การเจรจาสันติภาพ #การเมืองระหว่างประเทศ #ประวัติศาสตร์สงคราม 🎯
    0 Comments 0 Shares 1563 Views 0 Reviews
  • 83 ปี ไทยเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่สอง ประกาศรบ "อังกฤษ-อเมริกา"

    เมื่อย้อนเวลากลับไป 83 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 นับเป็นเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อรัฐบาลไทยในขณะนั้น นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ในบริบทของสงครามโลก ครั้งที่สอง เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบ ในช่วงเวลานั้น แต่ยังมีผลต่ออนาคตทางการเมือง และการทูตของประเทศไทย อย่างมหาศาล

    การรุกรานของญี่ปุ่น จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง
    วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นได้เริ่มบุกประเทศไทย โดยยกพลขึ้นบก ในหลายพื้นที่ริมฝั่งอ่าวไทย เช่น ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสงขลา การรุกรานครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรบในแปซิฟิก ของญี่ปุ่น ซึ่งมีเป้าหมายโจมตีพม่า (ขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ) ผ่านเส้นทางประเทศไทย

    รัฐบาลไทยในขณะนั้น ซึ่งนำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลือกที่จะยอมให้ญี่ปุ่น ใช้เส้นทางผ่านประเทศไทย หลังจากกองกำลังทหารไทย ต่อต้านได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง การตัดสินใจครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อ หลีกเลี่ยงการสูญเสียครั้งใหญ่ และปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ในสถานการณ์ที่กำลังเสียเปรียบ

    การร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น
    หลังจากยินยอมให้ญี่ปุ่น ใช้ดินแดนเพื่อเคลื่อนทัพ ไทยได้ลงนามใน สัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น โดยหวังที่จะได้รับผลประโยชน์ เช่น การได้คืนพื้นที่บางส่วนของไทย ที่เคยเสียให้กับอังกฤษ ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส ตรังกานู กลันตัน และพื้นที่ในแคว้นไทยใหญ่ เช่น เชียงตุงและเมืองพาน

    อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกับญี่ปุ่น นำไปสู่ความขัดแย้งภายในรัฐบาล เนื่องจากบุคคลสำคัญบางคน เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งทำให้เกิด ขบวนการเสรีไทย ในเวลาต่อมา

    25 มกราคม 2485: ประกาศสงคราม
    รัฐบาลของจอมพล ป. ตัดสินใจประกาศสงครามกับ อังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า ทั้งสองประเทศ ได้ทำการรุกรานไทย เช่น การโจมตีทางอากาศ และการระดมยิงราษฎร

    ในคำประกาศสงคราม ของรัฐบาลไทย มีข้อความอ้างถึง ความเสียหายที่ไทยได้รับ จากการโจมตีทางอากาศของอังกฤษว่า

    “ไทยถูกโจมตีทางอากาศ 30 ครั้ง และโจมตีทางบกถึง 36 ครั้ง ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม ถึง 20 มกราคม”

    แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐอเมริกาไม่ได้ตอบโต้ ด้วยการประกาศสงครามกับไทย แต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ ถือว่าไทย เป็นดินแดนที่ถูกญี่ปุ่นครอบครอง

    ขบวนการเสรีไทย ความหวังของชาติ
    หลังจากรัฐบาลไทย ประกาศสงคราม มีคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล และก่อตั้ง "ขบวนการเสรีไทย" เพื่อร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในการต่อต้านญี่ปุ่น

    ผู้นำสำคัญ ของขบวนการเสรีไทย ในต่างประเทศ ได้แก่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน ในเวลานั้น ได้ปฏิเสธที่จะยื่นคำประกาศสงคราม ของรัฐบาลไทยต่อสหรัฐฯ และประกาศตัดขาด จากรัฐบาลกรุงเทพฯ พร้อมร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร อย่างเปิดเผย

    ผลกระทบหลังสงคราม
    หลังสงครามโลก ครั้งที่สอง สิ้นสุดในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยได้รับผลกระทบ น้อยกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากความพยายาม ของขบวนการเสรีไทย ที่ช่วยให้ประเทศไทย สามารถเจรจาต่อรอง สถานะของตนเอง กับฝ่ายสัมพันธมิตร

    - วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 ไทยเจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ
    - วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ไทยเลิกสถานะสงครามกับฝรั่งเศส

    บทเรียนจากประวัติศาสตร์
    การเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่สอง ของไทย สะท้อนถึงความท้าทาย ทางการเมืองระหว่างประเทศ ในยุคที่ประเทศเล็กๆ ต้องรับมือกับอิทธิพล ของชาติมหาอำนาจ ไทยในยุคนั้น ต้องเลือกหนทางที่ดีที่สุดในสถานการณ์ ที่ไม่มีทางเลือกที่ดี อย่างแท้จริง

    คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่สอง ของไทย
    1. ทำไมไทยถึงยอมให้ญี่ปุ่น ใช้ดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง?
    ไทยไม่สามารถต่อต้าน กำลังพลของญี่ปุ่นได้ เนื่องจากมีกำลังพลน้อยกว่าอย่างมาก การยอมรับข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น จึงเป็นทางเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายร้ายแรง

    2. ขบวนการเสรีไทย มีบทบาทสำคัญอย่างไร?
    ขบวนการเสรีไทย ช่วยประสานงานกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในการต่อต้านญี่ปุ่น และยังมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยให้ไทย รอดพ้นจากการถูกลงโทษ หลังสงคราม

    3. สหรัฐอเมริกาถือว่าไทยเป็นศัตรู ในสงครามโลก ครั้งที่สองหรือไม่?
    สหรัฐฯ ไม่ได้ประกาศสงครามกับไทย และมองว่าไทย เป็นประเทศที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของญี่ปุ่น

    4. การประกาศสงครามของไทย มีผลกระทบอย่างไรบ้าง?
    การประกาศสงคราม ทำให้ไทยถูกโจมตีทางอากาศ จากฝ่ายสัมพันธมิตร และสร้างความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งภายในและต่างประเทศ

    การประกาศสงคราม ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึง การดิ้นรนของไทย ในยุคที่มหาอำนาจ กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด แม้ว่าประเทศไทย จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่การดำเนินงานของขบวนการเสรีไทย และการเจรจาหลังสงคราม ได้ช่วยฟื้นฟูสถานภาพของไทย ในเวทีโลก

    🎖️ “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยในอนาคต” 🎖️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 250803 ม.ค. 2568

    #สงครามโลกครั้งที่สอง #ไทยในสงครามโลก #เสรีไทย #จอมพลปพิบูลสงคราม #การประกาศสงคราม #ประวัติศาสตร์ไทย #WWII #ThaiHistory #FreeThai #ThailandWWII









    83 ปี ไทยเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่สอง ประกาศรบ "อังกฤษ-อเมริกา" เมื่อย้อนเวลากลับไป 83 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 นับเป็นเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อรัฐบาลไทยในขณะนั้น นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศสงครามกับ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ในบริบทของสงครามโลก ครั้งที่สอง เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบ ในช่วงเวลานั้น แต่ยังมีผลต่ออนาคตทางการเมือง และการทูตของประเทศไทย อย่างมหาศาล การรุกรานของญี่ปุ่น จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ญี่ปุ่นได้เริ่มบุกประเทศไทย โดยยกพลขึ้นบก ในหลายพื้นที่ริมฝั่งอ่าวไทย เช่น ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสงขลา การรุกรานครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรบในแปซิฟิก ของญี่ปุ่น ซึ่งมีเป้าหมายโจมตีพม่า (ขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ) ผ่านเส้นทางประเทศไทย รัฐบาลไทยในขณะนั้น ซึ่งนำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เลือกที่จะยอมให้ญี่ปุ่น ใช้เส้นทางผ่านประเทศไทย หลังจากกองกำลังทหารไทย ต่อต้านได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง การตัดสินใจครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อ หลีกเลี่ยงการสูญเสียครั้งใหญ่ และปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ในสถานการณ์ที่กำลังเสียเปรียบ การร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่น หลังจากยินยอมให้ญี่ปุ่น ใช้ดินแดนเพื่อเคลื่อนทัพ ไทยได้ลงนามใน สัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น โดยหวังที่จะได้รับผลประโยชน์ เช่น การได้คืนพื้นที่บางส่วนของไทย ที่เคยเสียให้กับอังกฤษ ได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส ตรังกานู กลันตัน และพื้นที่ในแคว้นไทยใหญ่ เช่น เชียงตุงและเมืองพาน อย่างไรก็ตาม การร่วมมือกับญี่ปุ่น นำไปสู่ความขัดแย้งภายในรัฐบาล เนื่องจากบุคคลสำคัญบางคน เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งทำให้เกิด ขบวนการเสรีไทย ในเวลาต่อมา 25 มกราคม 2485: ประกาศสงคราม รัฐบาลของจอมพล ป. ตัดสินใจประกาศสงครามกับ อังกฤษและสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า ทั้งสองประเทศ ได้ทำการรุกรานไทย เช่น การโจมตีทางอากาศ และการระดมยิงราษฎร ในคำประกาศสงคราม ของรัฐบาลไทย มีข้อความอ้างถึง ความเสียหายที่ไทยได้รับ จากการโจมตีทางอากาศของอังกฤษว่า “ไทยถูกโจมตีทางอากาศ 30 ครั้ง และโจมตีทางบกถึง 36 ครั้ง ระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม ถึง 20 มกราคม” แต่ในทางปฏิบัติ สหรัฐอเมริกาไม่ได้ตอบโต้ ด้วยการประกาศสงครามกับไทย แต่อย่างใด เนื่องจากรัฐบาลสหรัฐฯ ถือว่าไทย เป็นดินแดนที่ถูกญี่ปุ่นครอบครอง ขบวนการเสรีไทย ความหวังของชาติ หลังจากรัฐบาลไทย ประกาศสงคราม มีคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล และก่อตั้ง "ขบวนการเสรีไทย" เพื่อร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในการต่อต้านญี่ปุ่น ผู้นำสำคัญ ของขบวนการเสรีไทย ในต่างประเทศ ได้แก่ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ซึ่งดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงวอชิงตัน ในเวลานั้น ได้ปฏิเสธที่จะยื่นคำประกาศสงคราม ของรัฐบาลไทยต่อสหรัฐฯ และประกาศตัดขาด จากรัฐบาลกรุงเทพฯ พร้อมร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร อย่างเปิดเผย ผลกระทบหลังสงคราม หลังสงครามโลก ครั้งที่สอง สิ้นสุดในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไทยได้รับผลกระทบ น้อยกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากความพยายาม ของขบวนการเสรีไทย ที่ช่วยให้ประเทศไทย สามารถเจรจาต่อรอง สถานะของตนเอง กับฝ่ายสัมพันธมิตร - วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 ไทยเจรจาเลิกสถานะสงครามกับอังกฤษ - วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ไทยเลิกสถานะสงครามกับฝรั่งเศส บทเรียนจากประวัติศาสตร์ การเข้าร่วมสงครามโลก ครั้งที่สอง ของไทย สะท้อนถึงความท้าทาย ทางการเมืองระหว่างประเทศ ในยุคที่ประเทศเล็กๆ ต้องรับมือกับอิทธิพล ของชาติมหาอำนาจ ไทยในยุคนั้น ต้องเลือกหนทางที่ดีที่สุดในสถานการณ์ ที่ไม่มีทางเลือกที่ดี อย่างแท้จริง คำถามที่พบบ่อย เกี่ยวกับเหตุการณ์สงครามโลก ครั้งที่สอง ของไทย 1. ทำไมไทยถึงยอมให้ญี่ปุ่น ใช้ดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง? ไทยไม่สามารถต่อต้าน กำลังพลของญี่ปุ่นได้ เนื่องจากมีกำลังพลน้อยกว่าอย่างมาก การยอมรับข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น จึงเป็นทางเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายร้ายแรง 2. ขบวนการเสรีไทย มีบทบาทสำคัญอย่างไร? ขบวนการเสรีไทย ช่วยประสานงานกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในการต่อต้านญี่ปุ่น และยังมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยให้ไทย รอดพ้นจากการถูกลงโทษ หลังสงคราม 3. สหรัฐอเมริกาถือว่าไทยเป็นศัตรู ในสงครามโลก ครั้งที่สองหรือไม่? สหรัฐฯ ไม่ได้ประกาศสงครามกับไทย และมองว่าไทย เป็นประเทศที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของญี่ปุ่น 4. การประกาศสงครามของไทย มีผลกระทบอย่างไรบ้าง? การประกาศสงคราม ทำให้ไทยถูกโจมตีทางอากาศ จากฝ่ายสัมพันธมิตร และสร้างความขัดแย้งทางการเมือง ทั้งภายในและต่างประเทศ การประกาศสงคราม ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนถึง การดิ้นรนของไทย ในยุคที่มหาอำนาจ กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด แม้ว่าประเทศไทย จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่การดำเนินงานของขบวนการเสรีไทย และการเจรจาหลังสงคราม ได้ช่วยฟื้นฟูสถานภาพของไทย ในเวทีโลก 🎖️ “เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อไม่ให้ซ้ำรอยในอนาคต” 🎖️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 250803 ม.ค. 2568 #สงครามโลกครั้งที่สอง #ไทยในสงครามโลก #เสรีไทย #จอมพลปพิบูลสงคราม #การประกาศสงคราม #ประวัติศาสตร์ไทย #WWII #ThaiHistory #FreeThai #ThailandWWII
    0 Comments 0 Shares 1140 Views 0 Reviews
  • 83 ปี แห่งการประชุมวันเซ จุดเริ่มไอน์ซัทซ์กรุพเพิน นาซีเยอรมนี ปฏิบัติการล้างบางชาวยิว


    ย้อนไปเมื่อ 83 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2485 การประชุมวันเซ (Wannsee Conference) ณ คฤหาสน์โกเบน วันเซ ชานกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่เปลี่ยนโฉมหน้า ประวัติศาสตร์โลก ไปตลอดกาล ที่นี่ ผู้นำนาซีเยอรมัน รวมถึงสมาชิกระดับสูง ของหน่วยเอสเอส (SS) และเจ้าหน้าที่ข้าราชการระดับสูง ได้ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนิน "การแก้ปัญหาชาวยิว ครั้งสุดท้าย" หรือ “Final Solution” ซึ่งเป็นโครงการ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ทั่วทวีปยุโรป

    การประชุมวันเซ จุดเริ่มต้นการล้างบาง
    การประชุมครั้งนี้ถูกจัดขึ้นโดย ไรน์ฮาร์ด ไฮดริช (Reinhard Heydrich) ผู้อำนวยการ สำนักความมั่นคงหลักไรช์ (Reich Security Main Office) โดยมีเป้าหมายเพื่อวางแผน และสร้างความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงต่าง ๆ ของเยอรมนี ในปฏิบัติการกำจัดชาวยิว ทั่วทั้งทวีปยุโรป ไฮดริชต้องการความแน่ใจว่า หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ จะปฏิบัติตามแผนการ ที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจน

    นอกจากการสร้างความร่วมมือ ไฮดริชยังได้ใช้การประชุมครั้งนี้ เพื่อชี้แจงแผนการ ส่งชาวยิวในยุโรปตะวันตก ไปยังค่ายมรณะในโปแลนด์ เช่น ค่ายเอาชวิทซ์ (Auschwitz) และเทรบลินกา (Treblinka) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “การแก้ปัญหาชาวยิว ครั้งสุดท้าย”

    ผู้เข้าร่วมการประชุม มีทั้งหมด 15 คน ซึ่งเป็นตัวแทนระดับสูง จากหลายหน่วยงาน รวมถึงผู้นำจากหน่วยเอสเอส ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ และข้าราชการระดับสูง หนึ่งในนั้นคือ อัดอล์ฟ ไอช์มันน์ (Adolf Eichmann) ผู้มีบทบาทสำคัญ ในการประสานงาน และดำเนินการขนส่งชาวยิว ไปยังค่ายมรณะ

    ในบันทึกการประชุม ที่หลงเหลือมาจากสงคราม แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมไม่ได้แสดงความขัดแย้ง ต่อแผนการนี้ แต่กลับสนับสนุน และมีการพูดคุย ถึงวิธีการอย่างละเอียด

    ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน กองกำลังสังหาร ที่ปฏิบัติการในแนวรบตะวันออก
    ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน (Einsatzgruppen) หรือ "หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ" เป็นกลุ่มกองกำลัง ของหน่วยเอสเอส ที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติภารกิจสังหารหมู่ ในพื้นที่ที่กองทัพเยอรมันยึดครอง โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก หลังการรุกรานโปแลนด์ และสหภาพโซเวียต หน่วยเหล่านี้ มีหน้าที่กำจัดกลุ่มคน ที่ถูกระบุว่า เป็นภัยต่อระบอบนาซี เช่น ชาวยิว ชาวโรมานี (ยิปซี) ปัญญาชน และสมาชิกฝ่ายตรงข้าม ทางการเมือง

    ปฏิบัติการไอน์ซัทซ์กรุพเพิน
    การสังหารหมู่ส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นผ่านการยิงเป้า ในพื้นที่ชนบทหรือป่าลึก ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักคือ การสังหารหมู่ที่บาบี ยาร์ (Babi Yar) ในยูเครน เมื่อเดือนกันยายน 2484 ซึ่งมีชาวยิวมากกว่า 33,000 คน ถูกสังหารภายในเวลาเพียง 2 วัน

    ในช่วงแรก เหยื่อถูกบังคับ ให้ขุดหลุมศพของตนเอง ก่อนจะถูกยิงเป้า ต่อมานาซีเริ่มใช้วิธีการที่ "มีประสิทธิภาพมากขึ้น" เช่น การส่งเหยื่อไปยังค่ายมรณะ และสังหารในห้องรมแก๊ส

    ตามการประเมิน ของนักประวัติศาสตร์ หน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน มีส่วนรับผิดชอบ ต่อการสังหารผู้คนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ มีชาวยิวประมาณ 1.3 ล้านคน

    มาตรการสุดท้าย การล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นระบบ
    บังคับใช้กฎหมาย แบ่งแยกชาวยิว
    ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีเริ่มจากการบังคับใช้ กฎหมายเนือร์นแบร์ก (Nuremberg Laws) ในปี 1935 ซึ่งแยกชาวยิว ออกจากสังคมเยอรมัน อย่างเป็นทางการ

    ตั้งเกตโต
    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวยิวถูกบังคับ ให้ย้ายไปอาศัยในเขตเกตโต (Ghetto) เช่น เกตโตวอร์ซอ (Warsaw Ghetto) ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด และไร้มนุษยธรรม

    การเนรเทศและสังหารหมู่
    ชาวยิวถูกขนส่งใน "รถไฟมรณะ" ไปยังค่ายมรณะ เช่น เอาชวิทซ์ เพื่อถูกสังหาร ในห้องรมแก๊ส

    มาตรการสุดท้ายของนาซี นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน คิดเป็นสองในสาม ของประชากรยิวในยุโรป ในขณะนั้น

    เอกสารที่หลงเหลือ
    หลังสงครามสิ้นสุดลง สำเนาพิธีสารการประชุมวันเซ ถูกค้นพบโดยฝ่ายสัมพันธมิตร และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญ ในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก (Nuremberg Trials) เพื่อดำเนินคดี กับผู้นำนาซี

    สำนึกผิดและสร้างอนุสรณ์
    ปัจจุบัน อาคารที่เคยใช้จัดการประชุมวันเซ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ และอนุสรณ์สถาน เพื่อรำลึกถึงเหยื่อ ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

    คำถามที่พบบ่อย (FAQs)
    1. การประชุมวันเซ มีผลกระทบอย่างไรต่อชาวยิว?
    การประชุมวันเซ เป็นการกำหนดแผนปฏิบัติการ สังหารหมู่ชาวยิว อย่างเป็นระบบ ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียชีวิต ของชาวยิวกว่า 6 ล้านคน

    2. หน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน ทำหน้าที่อะไร?
    ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน เป็นหน่วยกองกำลังของเอสเอส ที่มีหน้าที่ปฏิบัติการสังหารหมู่ ในยุโรปตะวันออก โดยใช้วิธีการยิงเป้า และการสังหารหมู่ในระดับใหญ่

    3. มีชาวยิวกี่คนที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์ฮอโลคอสต์?
    ในเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ ชาวยิวประมาณ 6 ล้านคน ถูกสังหาร รวมถึงผู้เสียชีวิตจากกลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกกว่า 11 ล้านคน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 200908 ม.ค. 2568

    #Holocaust #WannseeConference #Einsatzgruppen #FinalSolution #NaziGermany #JewishHistory #WorldWarII #Genocide #NeverAgain #HistoryMatters
    83 ปี แห่งการประชุมวันเซ จุดเริ่มไอน์ซัทซ์กรุพเพิน นาซีเยอรมนี ปฏิบัติการล้างบางชาวยิว ย้อนไปเมื่อ 83 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2485 การประชุมวันเซ (Wannsee Conference) ณ คฤหาสน์โกเบน วันเซ ชานกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ ที่เปลี่ยนโฉมหน้า ประวัติศาสตร์โลก ไปตลอดกาล ที่นี่ ผู้นำนาซีเยอรมัน รวมถึงสมาชิกระดับสูง ของหน่วยเอสเอส (SS) และเจ้าหน้าที่ข้าราชการระดับสูง ได้ร่วมกันวางแผนเพื่อดำเนิน "การแก้ปัญหาชาวยิว ครั้งสุดท้าย" หรือ “Final Solution” ซึ่งเป็นโครงการ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ทั่วทวีปยุโรป การประชุมวันเซ จุดเริ่มต้นการล้างบาง การประชุมครั้งนี้ถูกจัดขึ้นโดย ไรน์ฮาร์ด ไฮดริช (Reinhard Heydrich) ผู้อำนวยการ สำนักความมั่นคงหลักไรช์ (Reich Security Main Office) โดยมีเป้าหมายเพื่อวางแผน และสร้างความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงต่าง ๆ ของเยอรมนี ในปฏิบัติการกำจัดชาวยิว ทั่วทั้งทวีปยุโรป ไฮดริชต้องการความแน่ใจว่า หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เช่น กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ จะปฏิบัติตามแผนการ ที่ถูกกำหนดอย่างชัดเจน นอกจากการสร้างความร่วมมือ ไฮดริชยังได้ใช้การประชุมครั้งนี้ เพื่อชี้แจงแผนการ ส่งชาวยิวในยุโรปตะวันตก ไปยังค่ายมรณะในโปแลนด์ เช่น ค่ายเอาชวิทซ์ (Auschwitz) และเทรบลินกา (Treblinka) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “การแก้ปัญหาชาวยิว ครั้งสุดท้าย” ผู้เข้าร่วมการประชุม มีทั้งหมด 15 คน ซึ่งเป็นตัวแทนระดับสูง จากหลายหน่วยงาน รวมถึงผู้นำจากหน่วยเอสเอส ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ และข้าราชการระดับสูง หนึ่งในนั้นคือ อัดอล์ฟ ไอช์มันน์ (Adolf Eichmann) ผู้มีบทบาทสำคัญ ในการประสานงาน และดำเนินการขนส่งชาวยิว ไปยังค่ายมรณะ ในบันทึกการประชุม ที่หลงเหลือมาจากสงคราม แสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าร่วมไม่ได้แสดงความขัดแย้ง ต่อแผนการนี้ แต่กลับสนับสนุน และมีการพูดคุย ถึงวิธีการอย่างละเอียด ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน กองกำลังสังหาร ที่ปฏิบัติการในแนวรบตะวันออก ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน (Einsatzgruppen) หรือ "หน่วยปฏิบัติการเฉพาะกิจ" เป็นกลุ่มกองกำลัง ของหน่วยเอสเอส ที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติภารกิจสังหารหมู่ ในพื้นที่ที่กองทัพเยอรมันยึดครอง โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก หลังการรุกรานโปแลนด์ และสหภาพโซเวียต หน่วยเหล่านี้ มีหน้าที่กำจัดกลุ่มคน ที่ถูกระบุว่า เป็นภัยต่อระบอบนาซี เช่น ชาวยิว ชาวโรมานี (ยิปซี) ปัญญาชน และสมาชิกฝ่ายตรงข้าม ทางการเมือง ปฏิบัติการไอน์ซัทซ์กรุพเพิน การสังหารหมู่ส่วนใหญ่ มักเกิดขึ้นผ่านการยิงเป้า ในพื้นที่ชนบทหรือป่าลึก ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักคือ การสังหารหมู่ที่บาบี ยาร์ (Babi Yar) ในยูเครน เมื่อเดือนกันยายน 2484 ซึ่งมีชาวยิวมากกว่า 33,000 คน ถูกสังหารภายในเวลาเพียง 2 วัน ในช่วงแรก เหยื่อถูกบังคับ ให้ขุดหลุมศพของตนเอง ก่อนจะถูกยิงเป้า ต่อมานาซีเริ่มใช้วิธีการที่ "มีประสิทธิภาพมากขึ้น" เช่น การส่งเหยื่อไปยังค่ายมรณะ และสังหารในห้องรมแก๊ส ตามการประเมิน ของนักประวัติศาสตร์ หน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน มีส่วนรับผิดชอบ ต่อการสังหารผู้คนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ มีชาวยิวประมาณ 1.3 ล้านคน มาตรการสุดท้าย การล้างเผ่าพันธุ์อย่างเป็นระบบ บังคับใช้กฎหมาย แบ่งแยกชาวยิว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีเริ่มจากการบังคับใช้ กฎหมายเนือร์นแบร์ก (Nuremberg Laws) ในปี 1935 ซึ่งแยกชาวยิว ออกจากสังคมเยอรมัน อย่างเป็นทางการ ตั้งเกตโต ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวยิวถูกบังคับ ให้ย้ายไปอาศัยในเขตเกตโต (Ghetto) เช่น เกตโตวอร์ซอ (Warsaw Ghetto) ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด และไร้มนุษยธรรม การเนรเทศและสังหารหมู่ ชาวยิวถูกขนส่งใน "รถไฟมรณะ" ไปยังค่ายมรณะ เช่น เอาชวิทซ์ เพื่อถูกสังหาร ในห้องรมแก๊ส มาตรการสุดท้ายของนาซี นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวกว่า 6 ล้านคน คิดเป็นสองในสาม ของประชากรยิวในยุโรป ในขณะนั้น เอกสารที่หลงเหลือ หลังสงครามสิ้นสุดลง สำเนาพิธีสารการประชุมวันเซ ถูกค้นพบโดยฝ่ายสัมพันธมิตร และถูกนำมาใช้เป็นหลักฐานสำคัญ ในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก (Nuremberg Trials) เพื่อดำเนินคดี กับผู้นำนาซี สำนึกผิดและสร้างอนุสรณ์ ปัจจุบัน อาคารที่เคยใช้จัดการประชุมวันเซ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ และอนุสรณ์สถาน เพื่อรำลึกถึงเหยื่อ ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คำถามที่พบบ่อย (FAQs) 1. การประชุมวันเซ มีผลกระทบอย่างไรต่อชาวยิว? การประชุมวันเซ เป็นการกำหนดแผนปฏิบัติการ สังหารหมู่ชาวยิว อย่างเป็นระบบ ทั่วทวีปยุโรป ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียชีวิต ของชาวยิวกว่า 6 ล้านคน 2. หน่วยไอน์ซัทซ์กรุพเพิน ทำหน้าที่อะไร? ไอน์ซัทซ์กรุพเพิน เป็นหน่วยกองกำลังของเอสเอส ที่มีหน้าที่ปฏิบัติการสังหารหมู่ ในยุโรปตะวันออก โดยใช้วิธีการยิงเป้า และการสังหารหมู่ในระดับใหญ่ 3. มีชาวยิวกี่คนที่เสียชีวิต ในเหตุการณ์ฮอโลคอสต์? ในเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ ชาวยิวประมาณ 6 ล้านคน ถูกสังหาร รวมถึงผู้เสียชีวิตจากกลุ่มชาติพันธุ์ และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกกว่า 11 ล้านคน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 200908 ม.ค. 2568 #Holocaust #WannseeConference #Einsatzgruppen #FinalSolution #NaziGermany #JewishHistory #WorldWarII #Genocide #NeverAgain #HistoryMatters
    0 Comments 0 Shares 1421 Views 0 Reviews
  • ระฆังจิ่งหยางจง

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับเกร็ดเล็กน้อยจากเรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    ในซีรีส์นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่มีการตีระฆังเรียกให้เหล่าขุนนางมาชุมนุมกัน ครั้งแรกที่แคว้นอู๋ตอนที่ประกาศเรื่องฮ่องเต้ถูกแคว้นอันจับตัวไป เหล่าขุนนางเรียกระฆังนี้ว่า ‘จิ่งหยางจง’ และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือที่หรูอี้ให้ตีระฆังเพื่อประกาศโทษของฮ่องเต้แคว้นอันต่อหน้าเหล่าขุนนาง ระฆังนี้มีชื่อว่า ‘อันหยางจง’

    ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติและดินแดนสมมุติ แต่ ‘จิ่งหยางจง’ (景阳钟) มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏข้อมูลที่กล่าวถึง ‘อันหยางจง’ จึงสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแคว้นอันในเรื่องนี้

    ข้อมูลเกี่ยวกับระฆังจิ่งหยางจงมีไม่มาก เพียงกล่าวไว้ว่ามีที่มาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ในรัชสมัยฮ่องเต้ฉีอู่ตี้ (ค.ศ. 440–493) ในตำราประวัติศาสตร์ฉีใต้ ‘หนานฉีซู’ บรรพที่ยี่สิบบันทึกไว้ว่า “เนื่องด้วยในพระราชฐานชั้นในไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากประตูตวนเหมิน จึงทรงให้จัดวางระฆังไว้บนหอจิ่งหยาง ข้าราชสำนักเมื่อได้ยินเสียงระฆังแต่เช้าก็ให้ตื่นขึ้นแต่งตัว... ระฆังดังเมื่อห้ากู่และสามกู่”

    อนึ่ง ประตูตวนเหมินเป็นชื่อประตูพระราชวังประตูบานหลักหน้าพระราชวัง (คือด้านทิศใต้) เป็นชื่อที่ถูกใช้มาหลายยุคสมัยหลายพระราชวังรวมถึงในสมัยราชวงศ์ฉีใต้ และในหลายยุคสมัยมีการจัดวางหอกลองหรือหอระฆังไว้ตีบอกเวลาหน้าประตูพระราชวัง ส่วนหอจิ่งหยางนั้น เป็นหอสูงในเขตพระราชวัง ณ เมืองเจี้ยนคัง (คือนานกิงปัจจุบัน)

    ในยุคสมัยต่อมามีการตั้งวางหอระฆังในพระราชวังเพื่อบอกเวลาเช่นกัน และมีการเรียกขานระฆังนี้กันต่อมาว่า ‘จิ่งหยางจง’ ลักษณะหน้าตาของจิ่งหยางจงนี้เป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าเป็นระฆังยักษ์ และการบอกเวลาโดยการตีระฆังจิ่งหยางจงนี้ถูกใช้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายรัชสมัย จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงมีการเอ่ยถึงชื่อ ‘จิ่งหยางจง’ นี้ในหลายบทกวีที่กล่าวถึงเวลารุ่งสางหรือเวลาที่ขุนนางต้องตื่นขึ้นมาเข้าเฝ้าที่ท้องพระโรงเมื่อได้ยินเสียงระฆังนี้ ซึ่งก็สอดคล้องตามวัตถุประสงค์เดิมที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้

    ส่วนเวลาที่ตีระฆังนั้น เดิมระบุว่าคือห้ากู่และสามกู่ ซึ่งในสมัยโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้าช่วงเวลาเรียกว่า ‘กู่’ หรือ ‘เกิง’ เวลาห้ากู่ก็คือช่วงเวลาประมาณตีสามถึงตีห้า (ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่ขุนนางต้องตื่นมาเตรียมประชุมท้องพระโรงดังที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว) และเวลาสามกู่คือช่วงเวลาประมาณห้าทุ่มถึงตีหนึ่ง ซึ่งเป็นการเตือนว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว

    ดังที่กล่าวไปข้างต้น ระฆังจิ่งหยางจงมีไว้บอกเวลายามเช้าและกลางคืน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อได้ยินเสียงของระฆังนี้ ให้เหล่าขุนนางมารวมตัวกัน Storyฯ ก็หาไม่พบข้อมูลว่านอกเหนือจากเวลาห้ากู่และสามกู่แล้ว ได้เคยปรากฏเหตุการณ์พิเศษที่ต้องมีตีระฆังจิ่งหยางจงนี้เพื่อเรียกชุมนุมเหล่าขุนนางหรือไม่

    นอกเหนือจากหอระฆังในพระราชวังแล้ว ยังมีหอระฆังในเมืองสำหรับบอกเวลาชาวบ้าน และมีหอระฆังตามวัดที่นอกจากจะใช้บอกเวลาแล้ว ยังใช้บอกเวลามีคนตายในละแวกนั้น ทั้งนี้แล้วแต่หลักปฏิบัติของแต่ละวัด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/642825978
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=262732&remap=gb
    https://www.arsomsiam.com/หน่วยเวลาและนาฬิกาจีน/
    https://baike.baidu.com/item/景阳钟
    https://www.zdic.net/hans/景阳钟

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #จิ่งหยางจง #หอระฆังพระราชวัง #ประชุมท้องพระโรง #ราชวงศ์ฉีใต้
    ระฆังจิ่งหยางจง สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับเกร็ดเล็กน้อยจากเรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> ในซีรีส์นี้มีเหตุการณ์สำคัญที่มีการตีระฆังเรียกให้เหล่าขุนนางมาชุมนุมกัน ครั้งแรกที่แคว้นอู๋ตอนที่ประกาศเรื่องฮ่องเต้ถูกแคว้นอันจับตัวไป เหล่าขุนนางเรียกระฆังนี้ว่า ‘จิ่งหยางจง’ และอีกเหตุการณ์หนึ่งคือที่หรูอี้ให้ตีระฆังเพื่อประกาศโทษของฮ่องเต้แคว้นอันต่อหน้าเหล่าขุนนาง ระฆังนี้มีชื่อว่า ‘อันหยางจง’ ละครเรื่องนี้เป็นเรื่องราวในรัชสมัยสมมุติและดินแดนสมมุติ แต่ ‘จิ่งหยางจง’ (景阳钟) มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ปรากฏข้อมูลที่กล่าวถึง ‘อันหยางจง’ จึงสันนิษฐานว่าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแคว้นอันในเรื่องนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับระฆังจิ่งหยางจงมีไม่มาก เพียงกล่าวไว้ว่ามีที่มาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ในรัชสมัยฮ่องเต้ฉีอู่ตี้ (ค.ศ. 440–493) ในตำราประวัติศาสตร์ฉีใต้ ‘หนานฉีซู’ บรรพที่ยี่สิบบันทึกไว้ว่า “เนื่องด้วยในพระราชฐานชั้นในไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากประตูตวนเหมิน จึงทรงให้จัดวางระฆังไว้บนหอจิ่งหยาง ข้าราชสำนักเมื่อได้ยินเสียงระฆังแต่เช้าก็ให้ตื่นขึ้นแต่งตัว... ระฆังดังเมื่อห้ากู่และสามกู่” อนึ่ง ประตูตวนเหมินเป็นชื่อประตูพระราชวังประตูบานหลักหน้าพระราชวัง (คือด้านทิศใต้) เป็นชื่อที่ถูกใช้มาหลายยุคสมัยหลายพระราชวังรวมถึงในสมัยราชวงศ์ฉีใต้ และในหลายยุคสมัยมีการจัดวางหอกลองหรือหอระฆังไว้ตีบอกเวลาหน้าประตูพระราชวัง ส่วนหอจิ่งหยางนั้น เป็นหอสูงในเขตพระราชวัง ณ เมืองเจี้ยนคัง (คือนานกิงปัจจุบัน) ในยุคสมัยต่อมามีการตั้งวางหอระฆังในพระราชวังเพื่อบอกเวลาเช่นกัน และมีการเรียกขานระฆังนี้กันต่อมาว่า ‘จิ่งหยางจง’ ลักษณะหน้าตาของจิ่งหยางจงนี้เป็นอย่างไรไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าเป็นระฆังยักษ์ และการบอกเวลาโดยการตีระฆังจิ่งหยางจงนี้ถูกใช้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติต่อเนื่องกันมาหลายรัชสมัย จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงยังคงมีการเอ่ยถึงชื่อ ‘จิ่งหยางจง’ นี้ในหลายบทกวีที่กล่าวถึงเวลารุ่งสางหรือเวลาที่ขุนนางต้องตื่นขึ้นมาเข้าเฝ้าที่ท้องพระโรงเมื่อได้ยินเสียงระฆังนี้ ซึ่งก็สอดคล้องตามวัตถุประสงค์เดิมที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉีใต้ ส่วนเวลาที่ตีระฆังนั้น เดิมระบุว่าคือห้ากู่และสามกู่ ซึ่งในสมัยโบราณแบ่งช่วงเวลากลางคืนออกเป็นห้าช่วงเวลาเรียกว่า ‘กู่’ หรือ ‘เกิง’ เวลาห้ากู่ก็คือช่วงเวลาประมาณตีสามถึงตีห้า (ซึ่งก็คือช่วงเวลาที่ขุนนางต้องตื่นมาเตรียมประชุมท้องพระโรงดังที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว) และเวลาสามกู่คือช่วงเวลาประมาณห้าทุ่มถึงตีหนึ่ง ซึ่งเป็นการเตือนว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว ดังที่กล่าวไปข้างต้น ระฆังจิ่งหยางจงมีไว้บอกเวลายามเช้าและกลางคืน แต่ในซีรีส์ <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีการกล่าวไว้ว่าเมื่อได้ยินเสียงของระฆังนี้ ให้เหล่าขุนนางมารวมตัวกัน Storyฯ ก็หาไม่พบข้อมูลว่านอกเหนือจากเวลาห้ากู่และสามกู่แล้ว ได้เคยปรากฏเหตุการณ์พิเศษที่ต้องมีตีระฆังจิ่งหยางจงนี้เพื่อเรียกชุมนุมเหล่าขุนนางหรือไม่ นอกเหนือจากหอระฆังในพระราชวังแล้ว ยังมีหอระฆังในเมืองสำหรับบอกเวลาชาวบ้าน และมีหอระฆังตามวัดที่นอกจากจะใช้บอกเวลาแล้ว ยังใช้บอกเวลามีคนตายในละแวกนั้น ทั้งนี้แล้วแต่หลักปฏิบัติของแต่ละวัด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/642825978 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=262732&remap=gb https://www.arsomsiam.com/หน่วยเวลาและนาฬิกาจีน/ https://baike.baidu.com/item/景阳钟 https://www.zdic.net/hans/景阳钟 #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #จิ่งหยางจง #หอระฆังพระราชวัง #ประชุมท้องพระโรง #ราชวงศ์ฉีใต้
    0 Comments 0 Shares 739 Views 0 Reviews
  • 10 ปี สิ้นวีรบุรุษสะพานมัฆวาน “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มือปราบกบฏยังเติร์ก

    ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์การเมือง และการทหารของชาติไป นั่นคือ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก หรือที่สื่อมวลชนขนานนามว่า “บิ๊กซัน” วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญ ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย และปราบกบฏยังเติร์ก อย่างกล้าหาญ

    พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยตรีพิณ กำลังเอก และนางสาคร กำลังเอก ชีวิตในวัยเด็ก เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และพยายามในการศึกษา

    การศึกษาของพลเอกอาทิตย์ เริ่มต้นที่โรงเรียนพรหมวิทยามูล ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร

    ด้วยความฝันที่จะเป็นทหาร จึงได้เข้าศึกษาใน โรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่างปี พ.ศ. 2487–2491 โดยรุ่นเดียวกันนี้ยังมีเพื่อนร่วมรุ่นสำคัญ อาทิ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ และพลเอกบรรจบ บุนนาค

    วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ช่วงเวลาแห่งการสร้างตำนาน
    หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์โดดเด่นคือ การประท้วงใหญ่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนรวมตัวกัน เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง ที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส

    ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์มียศเพียงร้อยเอก และเป็นหนึ่งในทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ตามคำสั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งได้สั่งห้ามทหาร ทำร้ายประชาชน โดยเด็ดขาด

    การเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์ ให้ขบวนประท้วง เดินผ่านไปยังทำเนียบรัฐบาล ได้โดยสงบ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ และการใช้เหตุผลเหนือกำลังอาวุธ

    กบฏยังเติร์ก บทบาทผู้นำในช่วงวิกฤต
    อีกเหตุการณ์ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์ ได้รับการยกย่องคือ การเข้าร่วมปราบ กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน พ.ศ. 2524

    กลุ่มกบฏซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนายทหารรุ่น “จปร. 7” มีเป้าหมายที่จะยึดอำนาจ จากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยการเคลื่อนกำลังทหารถึง 42 กองพัน ถือว่าเป็นความพยายามรัฐประหาร ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย

    ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์ ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 และเป็นกำลังสำคัญ ในการปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มกบฏ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และความไว้วางใจจากพลเอกเปรม

    ผลลัพธ์ของกบฏ
    การก่อกบฏสิ้นสุดลง โดยไม่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง ฝ่ายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกเปรมสามารถจัดการสถานการณ์ ได้อย่างรวดเร็ว และกลุ่มกบฏ ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ

    บทบาทของพลเอกอาทิตย์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 และในเวลาต่อมาได้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก

    ความสัมพันธ์กับพลเอกเปรม จากมิตรสู่ความขัดแย้ง
    ในช่วงที่พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกอาทิตย์ ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง กลับตึงเครียดในช่วงปี พ.ศ. 2527 เมื่อพลเอกอาทิตย์ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล

    ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การที่พลเอกอาทิตย์ ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2529 ท่ามกลางกระแสการเมือง ที่ร้อนแรง

    หลังเกษียณ ชีวิตในวงการการเมือง
    หลังจากเกษียณราชการ พลเอกอาทิตย์ได้เข้าสู่การเมือง โดยการก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

    อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายชีวิตทางการเมือง กลับเต็มไปด้วยความตึงเครียด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535)

    การจากไปของ “บิ๊กซัน”
    พลเอกอาทิตย์ป่วยเรื้อรัง จากอาการติดเชื้อในปอด และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 06.20 น. ของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ด้วยวัย 89 ปี

    พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ไทย ในหลายด้าน ทั้งในฐานะนักปกป้องประชาธิปไตย วีรบุรุษสะพานมัฆวาน และผู้นำในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง

    แม้จะมีช่วงเวลา ที่ขัดแย้งกับผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ความมุ่งมั่นในหน้าที่ และความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังคงทำให้ชื่อของบิ๊กซัน เป็นที่จดจำ

    🎖️ ความทรงจำที่ไม่มีวันลบเลือน! 🎖️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190919 ม.ค. 2568

    #บิ๊กซัน #อาทิตย์กำลังเอก #วีรบุรุษสะพานมัฆวาน #กบฏยังเติร์ก #ประวัติศาสตร์ไทย #ผู้นำแห่งชาติ #ไทยในอดีต #การเมืองไทย #กองทัพไทย #10ปีแห่งการจากไป
    10 ปี สิ้นวีรบุรุษสะพานมัฆวาน “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก มือปราบกบฏยังเติร์ก ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 10 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้สูญเสียบุคคลสำคัญ ผู้ทรงอิทธิพลในประวัติศาสตร์การเมือง และการทหารของชาติไป นั่นคือ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก หรือที่สื่อมวลชนขนานนามว่า “บิ๊กซัน” วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญ ในการปกป้องระบอบประชาธิปไตย และปราบกบฏยังเติร์ก อย่างกล้าหาญ พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เกิดเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 ณ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ ร้อยตรีพิณ กำลังเอก และนางสาคร กำลังเอก ชีวิตในวัยเด็ก เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น และพยายามในการศึกษา การศึกษาของพลเอกอาทิตย์ เริ่มต้นที่โรงเรียนพรหมวิทยามูล ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร (ปัจจุบันคือโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร) และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร ด้วยความฝันที่จะเป็นทหาร จึงได้เข้าศึกษาใน โรงเรียนเตรียมทหารบก รุ่นที่ 5 (ตทบ. 5) ระหว่างปี พ.ศ. 2487–2491 โดยรุ่นเดียวกันนี้ยังมีเพื่อนร่วมรุ่นสำคัญ อาทิ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ และพลเอกบรรจบ บุนนาค วีรบุรุษสะพานมัฆวาน ช่วงเวลาแห่งการสร้างตำนาน หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์โดดเด่นคือ การประท้วงใหญ่ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนรวมตัวกัน เดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง ที่ถูกมองว่าไม่โปร่งใส ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์มียศเพียงร้อยเอก และเป็นหนึ่งในทหาร ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อย ตามคำสั่งของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งได้สั่งห้ามทหาร ทำร้ายประชาชน โดยเด็ดขาด การเปิดสะพานมัฆวานรังสรรค์ ให้ขบวนประท้วง เดินผ่านไปยังทำเนียบรัฐบาล ได้โดยสงบ กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ และการใช้เหตุผลเหนือกำลังอาวุธ กบฏยังเติร์ก บทบาทผู้นำในช่วงวิกฤต อีกเหตุการณ์ ที่ทำให้ชื่อของพลเอกอาทิตย์ ได้รับการยกย่องคือ การเข้าร่วมปราบ กบฏยังเติร์ก หรือ กบฏเมษาฮาวาย ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1–3 เมษายน พ.ศ. 2524 กลุ่มกบฏซึ่งส่วนใหญ่ เป็นนายทหารรุ่น “จปร. 7” มีเป้าหมายที่จะยึดอำนาจ จากรัฐบาลนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยการเคลื่อนกำลังทหารถึง 42 กองพัน ถือว่าเป็นความพยายามรัฐประหาร ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทย ในขณะนั้น พลเอกอาทิตย์ ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาคที่ 2 และเป็นกำลังสำคัญ ในการปฏิบัติการตอบโต้กลุ่มกบฏ โดยได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และความไว้วางใจจากพลเอกเปรม ผลลัพธ์ของกบฏ การก่อกบฏสิ้นสุดลง โดยไม่มีการต่อสู้อย่างรุนแรง ฝ่ายรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกเปรมสามารถจัดการสถานการณ์ ได้อย่างรวดเร็ว และกลุ่มกบฏ ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ บทบาทของพลเอกอาทิตย์ในครั้งนี้ ส่งผลให้ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง เป็นแม่ทัพภาคที่ 1 และในเวลาต่อมาได้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก ความสัมพันธ์กับพลเอกเปรม จากมิตรสู่ความขัดแย้ง ในช่วงที่พลเอกเปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พลเอกอาทิตย์ ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสอง กลับตึงเครียดในช่วงปี พ.ศ. 2527 เมื่อพลเอกอาทิตย์ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ความขัดแย้งดังกล่าว นำไปสู่การที่พลเอกอาทิตย์ ถูกปลดจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2529 ท่ามกลางกระแสการเมือง ที่ร้อนแรง หลังเกษียณ ชีวิตในวงการการเมือง หลังจากเกษียณราชการ พลเอกอาทิตย์ได้เข้าสู่การเมือง โดยการก่อตั้ง พรรคปวงชนชาวไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็น รองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายชีวิตทางการเมือง กลับเต็มไปด้วยความตึงเครียด โดยเฉพาะในช่วงเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ (พ.ศ. 2535) การจากไปของ “บิ๊กซัน” พลเอกอาทิตย์ป่วยเรื้อรัง จากอาการติดเชื้อในปอด และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเป็นเวลานาน จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรม เมื่อเวลา 06.20 น. ของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2558 ด้วยวัย 89 ปี พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์ไทย ในหลายด้าน ทั้งในฐานะนักปกป้องประชาธิปไตย วีรบุรุษสะพานมัฆวาน และผู้นำในช่วงวิกฤตการณ์การเมือง แม้จะมีช่วงเวลา ที่ขัดแย้งกับผู้มีอำนาจทางการเมือง แต่ความมุ่งมั่นในหน้าที่ และความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยังคงทำให้ชื่อของบิ๊กซัน เป็นที่จดจำ 🎖️ ความทรงจำที่ไม่มีวันลบเลือน! 🎖️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190919 ม.ค. 2568 #บิ๊กซัน #อาทิตย์กำลังเอก #วีรบุรุษสะพานมัฆวาน #กบฏยังเติร์ก #ประวัติศาสตร์ไทย #ผู้นำแห่งชาติ #ไทยในอดีต #การเมืองไทย #กองทัพไทย #10ปีแห่งการจากไป
    0 Comments 0 Shares 1129 Views 0 Reviews
  • 20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง

    ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ

    แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที

    แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก

    สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน
    หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ

    1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ
    รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด
    เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ
    การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง

    2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ
    ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน

    3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร

    รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน

    ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง

    เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน

    เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง
    หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น

    2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย
    ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต

    ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น

    แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท

    ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น

    เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน

    1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน
    การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน

    2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน
    พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

    3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ
    การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ

    การรับมือในอนาคต
    ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ
    เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน
    สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ

    เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น

    การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568

    #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ 1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง 2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน 3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย 1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น 2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน 1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน 2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น 3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ การรับมือในอนาคต ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568 #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    0 Comments 0 Shares 1178 Views 0 Reviews
  • 718 ปี แห่งประวัติศาสตร์ ลอบปลงพระชนม์ "พระเจ้าฟ้ารั่ว" จากเด็กเลี้ยงช้าง สู่ปฐมกษัตริย์แห่งรัฐมอญ

    วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 1850 หรือเมื่อ 718 ปี ที่ผ่านมา โลกได้จารึกเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ ที่ยังคงถูกกล่าวถึง จนถึงปัจจุบัน นั่นคือ การลอบปลงพระชนม์ "พระเจ้าฟ้ารั่ว" หรือที่รู้จักในพระนาม "พระเจ้าวาเรรุ" กษัตริย์ผู้รวบรวมแผ่นดินมอญ ให้เป็นหนึ่งเดียว เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงเป็นจุดสิ้นสุด แห่งยุคของพระองค์ แต่ยังสะท้อนถึง การเปลี่ยนผ่านของอำนาจ ในยุคที่แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเต็มไปด้วย การช่วงชิงราชบัลลังก์

    พระเจ้าฟ้ารั่ว หรือที่ชาวมอญเรียกพระองค์ว่า “พระเจ้าวาเรรุ” ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งเมืองเมาะตะมะ (ปัจจุบันคือเมืองในประเทศเมียนมา) และทรงเป็นผู้นำ ที่รวบรวมชนชาติมอญ ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ในยุคที่อาณาจักรพุกาม กำลังล่มสลาย พระองค์ทรงครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ. 1830 - 1850 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และอำนาจในภูมิภาค

    พระเจ้าฟ้ารั่ว ประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 1796 ภายใต้ชื่อ มะกะโท (แมะกะตู) พระองค์เป็นบุตรของบิดาชาวไทยใหญ่ และมารดาชาวมอญ ณ เมืองสะโตง (บริเวณตอนล่างของพม่า ในปัจจุบัน) การเดินทางของพระองค์ เริ่มต้นเมื่ออายุ 19 พรรษา เมื่อมะกะโท เดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัย เพื่อค้าขาย ก่อนจะเริ่มชีวิตใหม่ ในราชสำนักสุโขทัย

    จากเด็กเลี้ยงช้าง สู่ตำแหน่งขุนวังแห่งสุโขทัย
    เมื่อมะกะโทเดินทางมายังสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนบานเมือง (พ.ศ. 1815) พระองค์เริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการเข้ารับราชการ ในตำแหน่งควาญช้าง ด้วยความขยันและเฉลียวฉลาด มะกะโทสามารถสร้างความประทับใจ แก่พระเจ้าแผ่นดิน และในที่สุด ได้รับตำแหน่งขุนวัง ในรัชสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

    ช่วงเวลานี้เอง ที่พระองค์ได้พบรักกับ "เจ้านางสร้อยดาว" (หรือพระนามในพงศาวดารไทยว่า นางสุวรรณเทวี) ธิดาของพ่อขุนรามคำแหง ทั้งสองแอบมีใจ ผูกสมัครรักใคร่ต่อกัน จนกระทั่งตัดสินใจ
    ลอบหนีออกจากสุโขทัย พร้อมทั้งข้าราชบริพารจำนวนมาก

    การตัดสินใจครั้งนี้ ไม่เพียงเปลี่ยนแปลงชีวิตของมะกะโท แต่ยังส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์ ของทั้งอาณาจักรมอญ และสุโขทัย

    ประกาศอิสรภาพจากพุกาม
    หลังจากที่มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว กลับมายังเมืองเมาะตะมะ พระองค์ได้เผชิญหน้ากับ "อลิมามาง" เจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งจากอาณาจักรพุกาม ในปี พ.ศ. 1828 มะกะโทสามารถโค่นล้มอำนาจ ของอลิมามางได้สำเร็จ และในปี พ.ศ. 1830 พระองค์ได้ประกาศอิสรภาพ จากพุกาม พร้อมทั้งสถาปนาตนเองเป็น กษัตริย์แห่งเมืองเมาะตะมะ

    ยุทธศาสตร์บริหารแผ่นดิน
    หลังจากขึ้นครองราชย์ พระเจ้าฟ้ารั่วใช้เวลากว่า 10 ปีในการรวบรวมแผ่นดินมอญ ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยทรงจัดการศัตรูทางการเมือง จนหมดสิ้น รวมถึงสร้างพันธมิตรทางการทูต กับราชวงศ์หยวนแห่งจีน เพื่อป้องกันการรุกราน จากมหาอำนาจภายนอก

    พระองค์ยังทรงชำระ "ประมวลกฎหมายวาเรรุ" ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรก ของอาณาจักรมอญ โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม และปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม

    ลอบปลงพระชนม์
    แม้พระเจ้าฟ้ารั่ว จะประสบความสำเร็จ ในการสร้างอาณาจักรมอญ แต่พระองค์ไม่สามารถหลีกเลี่ยง วัฏจักรแห่งการชิงอำนาจได้ ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 1850 พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ โดยพระราชโอรส 2 พระองค์ ของพระเจ้าตะยาพยาแห่งหงสาวดี ซึ่งต้องการแก้แค้นให้กับพระบิดา ที่ถูกพระเจ้าฟ้ารั่วสำเร็จโทษ

    การสิ้นพระชนม์ ของพระเจ้าฟ้ารั่ว นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ของอาณาจักรมอญ ซึ่งภายหลัง ต้องเผชิญกับ ความแตกแยกทางการเมือง จนกระทั่งล่มสลาย

    ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าฟ้ารั่วและสุโขทัย
    หนึ่งในเหตุการณ์ ที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างอาณาจักรมอญ และสุโขทัยคือ การส่งพระราชสาสน์ ของพระเจ้าฟ้ารั่ว ไปยังพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่อขอขมาในสิ่งที่พระองค์ล่วงละเมิด และยอมเป็นประเทศราช พระราชสาสน์ฉบับนี้ ไม่เพียงเป็นการแสดงความเคารพ แต่ยังยืนยันถึงบทบาทของสุโขทัย ในฐานะมหาอำนาจ ที่มีอิทธิพลต่อภูมิภาค

    มรดกพระเจ้าฟ้ารั่ว
    พระเจ้าฟ้ารั่วไม่เพียงเป็น กษัตริย์ผู้สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ให้กับแผ่นดินมอญ แต่ยังเป็นตัวแทนของยุคสมัย ที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์โลก

    แม้ว่าพระองค์จะจากไป นานกว่า 718 ปี แต่เรื่องราวของพระเจ้าฟ้ารั่ว ยังคงสะท้อนถึงบทเรียน เกี่ยวกับความเป็นผู้นำ ความอดทนต่ออุปสรรค และความสำคัญของการรวมพลัง เพื่อสร้างความมั่นคง ให้แก่แผ่นดิน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 142006 ม.ค. 2568

    #ประวัติศาสตร์มอญ #พระเจ้าฟ้ารั่ว #วาเรรุ #พ่อขุนรามคำแหง #ประวัติศาสตร์ไทย #อาณาจักรพุกาม #การปฏิวัติมอญ #ความสัมพันธ์ไทยมอญ #กษัตริย์มอญ #ย้อนอดีต
    718 ปี แห่งประวัติศาสตร์ ลอบปลงพระชนม์ "พระเจ้าฟ้ารั่ว" จากเด็กเลี้ยงช้าง สู่ปฐมกษัตริย์แห่งรัฐมอญ วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 1850 หรือเมื่อ 718 ปี ที่ผ่านมา โลกได้จารึกเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ ที่ยังคงถูกกล่าวถึง จนถึงปัจจุบัน นั่นคือ การลอบปลงพระชนม์ "พระเจ้าฟ้ารั่ว" หรือที่รู้จักในพระนาม "พระเจ้าวาเรรุ" กษัตริย์ผู้รวบรวมแผ่นดินมอญ ให้เป็นหนึ่งเดียว เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงเป็นจุดสิ้นสุด แห่งยุคของพระองค์ แต่ยังสะท้อนถึง การเปลี่ยนผ่านของอำนาจ ในยุคที่แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังเต็มไปด้วย การช่วงชิงราชบัลลังก์ พระเจ้าฟ้ารั่ว หรือที่ชาวมอญเรียกพระองค์ว่า “พระเจ้าวาเรรุ” ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งเมืองเมาะตะมะ (ปัจจุบันคือเมืองในประเทศเมียนมา) และทรงเป็นผู้นำ ที่รวบรวมชนชาติมอญ ให้กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ในยุคที่อาณาจักรพุกาม กำลังล่มสลาย พระองค์ทรงครองราชย์ ระหว่างปี พ.ศ. 1830 - 1850 ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และอำนาจในภูมิภาค พระเจ้าฟ้ารั่ว ประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 1796 ภายใต้ชื่อ มะกะโท (แมะกะตู) พระองค์เป็นบุตรของบิดาชาวไทยใหญ่ และมารดาชาวมอญ ณ เมืองสะโตง (บริเวณตอนล่างของพม่า ในปัจจุบัน) การเดินทางของพระองค์ เริ่มต้นเมื่ออายุ 19 พรรษา เมื่อมะกะโท เดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัย เพื่อค้าขาย ก่อนจะเริ่มชีวิตใหม่ ในราชสำนักสุโขทัย จากเด็กเลี้ยงช้าง สู่ตำแหน่งขุนวังแห่งสุโขทัย เมื่อมะกะโทเดินทางมายังสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนบานเมือง (พ.ศ. 1815) พระองค์เริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการเข้ารับราชการ ในตำแหน่งควาญช้าง ด้วยความขยันและเฉลียวฉลาด มะกะโทสามารถสร้างความประทับใจ แก่พระเจ้าแผ่นดิน และในที่สุด ได้รับตำแหน่งขุนวัง ในรัชสมัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ช่วงเวลานี้เอง ที่พระองค์ได้พบรักกับ "เจ้านางสร้อยดาว" (หรือพระนามในพงศาวดารไทยว่า นางสุวรรณเทวี) ธิดาของพ่อขุนรามคำแหง ทั้งสองแอบมีใจ ผูกสมัครรักใคร่ต่อกัน จนกระทั่งตัดสินใจ ลอบหนีออกจากสุโขทัย พร้อมทั้งข้าราชบริพารจำนวนมาก การตัดสินใจครั้งนี้ ไม่เพียงเปลี่ยนแปลงชีวิตของมะกะโท แต่ยังส่งผลกระทบต่อประวัติศาสตร์ ของทั้งอาณาจักรมอญ และสุโขทัย ประกาศอิสรภาพจากพุกาม หลังจากที่มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว กลับมายังเมืองเมาะตะมะ พระองค์ได้เผชิญหน้ากับ "อลิมามาง" เจ้าเมืองที่ได้รับการแต่งตั้งจากอาณาจักรพุกาม ในปี พ.ศ. 1828 มะกะโทสามารถโค่นล้มอำนาจ ของอลิมามางได้สำเร็จ และในปี พ.ศ. 1830 พระองค์ได้ประกาศอิสรภาพ จากพุกาม พร้อมทั้งสถาปนาตนเองเป็น กษัตริย์แห่งเมืองเมาะตะมะ ยุทธศาสตร์บริหารแผ่นดิน หลังจากขึ้นครองราชย์ พระเจ้าฟ้ารั่วใช้เวลากว่า 10 ปีในการรวบรวมแผ่นดินมอญ ให้เป็นหนึ่งเดียว โดยทรงจัดการศัตรูทางการเมือง จนหมดสิ้น รวมถึงสร้างพันธมิตรทางการทูต กับราชวงศ์หยวนแห่งจีน เพื่อป้องกันการรุกราน จากมหาอำนาจภายนอก พระองค์ยังทรงชำระ "ประมวลกฎหมายวาเรรุ" ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับแรก ของอาณาจักรมอญ โดยมีเป้าหมาย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม และปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม ลอบปลงพระชนม์ แม้พระเจ้าฟ้ารั่ว จะประสบความสำเร็จ ในการสร้างอาณาจักรมอญ แต่พระองค์ไม่สามารถหลีกเลี่ยง วัฏจักรแห่งการชิงอำนาจได้ ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 1850 พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ โดยพระราชโอรส 2 พระองค์ ของพระเจ้าตะยาพยาแห่งหงสาวดี ซึ่งต้องการแก้แค้นให้กับพระบิดา ที่ถูกพระเจ้าฟ้ารั่วสำเร็จโทษ การสิ้นพระชนม์ ของพระเจ้าฟ้ารั่ว นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ของอาณาจักรมอญ ซึ่งภายหลัง ต้องเผชิญกับ ความแตกแยกทางการเมือง จนกระทั่งล่มสลาย ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าฟ้ารั่วและสุโขทัย หนึ่งในเหตุการณ์ ที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น ระหว่างอาณาจักรมอญ และสุโขทัยคือ การส่งพระราชสาสน์ ของพระเจ้าฟ้ารั่ว ไปยังพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เพื่อขอขมาในสิ่งที่พระองค์ล่วงละเมิด และยอมเป็นประเทศราช พระราชสาสน์ฉบับนี้ ไม่เพียงเป็นการแสดงความเคารพ แต่ยังยืนยันถึงบทบาทของสุโขทัย ในฐานะมหาอำนาจ ที่มีอิทธิพลต่อภูมิภาค มรดกพระเจ้าฟ้ารั่ว พระเจ้าฟ้ารั่วไม่เพียงเป็น กษัตริย์ผู้สร้างความเป็นหนึ่งเดียว ให้กับแผ่นดินมอญ แต่ยังเป็นตัวแทนของยุคสมัย ที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบทบาทสำคัญ ต่อประวัติศาสตร์โลก แม้ว่าพระองค์จะจากไป นานกว่า 718 ปี แต่เรื่องราวของพระเจ้าฟ้ารั่ว ยังคงสะท้อนถึงบทเรียน เกี่ยวกับความเป็นผู้นำ ความอดทนต่ออุปสรรค และความสำคัญของการรวมพลัง เพื่อสร้างความมั่นคง ให้แก่แผ่นดิน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 142006 ม.ค. 2568 #ประวัติศาสตร์มอญ #พระเจ้าฟ้ารั่ว #วาเรรุ #พ่อขุนรามคำแหง #ประวัติศาสตร์ไทย #อาณาจักรพุกาม #การปฏิวัติมอญ #ความสัมพันธ์ไทยมอญ #กษัตริย์มอญ #ย้อนอดีต
    0 Comments 0 Shares 1241 Views 0 Reviews
  • สื่ออังกฤษป้ายสีนักธุรกิจจีนว่าเป็นสายลับ บิดคำพิพากษาของศาล กรณีของเจ้าชายแอนดรูว์และ “สายลับจีน” โดยบทวิเคราะห์ของArnaud Bertrand เขียนในXระบุว่า การดำเนินการของสื่อของอังกฤษ ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่น่าหวาดระแวงเกี่ยวกับ “ภัยสีเหลือง” ที่สุดที่เคยพบเห็นเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว จะพบว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่น่าเชื่ออย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติแล้ว หมายความว่าชาวจีนทุกคน - ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจีนด้วยซ้ำ อาจเป็นใครก็ได้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีน - จะถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร หากพวกเขามีความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักรก่อนอื่น มาดูกันว่าสื่อมีแนวคิดเกี่ยวกับกรณีนี้อย่างไร พาดหัวข่าวระบุว่า “สายลับจีนเชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์ ส.ส. เตือนว่าเขาไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย” (The Independent: independent.co.uk/news/uk/politi… ) “เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับสายลับกับเจ้าชายแอนดรูว์อาจทำให้มีการเปิดโปงภัยคุกคามจากจีนมากขึ้น”(The Guardian: theguardian.com/world/2024/dec… ) "'สายลับ' ชาวจีนที่เชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์เป็นเพียง 'ส่วนเล็กๆ ของภูเขาน้ำแข็ง' เท่านั้น" (Politico: politico.eu/article/china-… )สื่อหลักทุกสำนักข่าวของอังกฤษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่อง "สายลับจีน" ต่างพากันวาดภาพอันชั่วร้ายของการแทรกซึมเข้าสู่ระดับสูงสุดของสังคมอังกฤษ โดยถือเป็น "หลักฐาน" ของ "ภัยคุกคามอันเลวร้ายจากจีน"ทั้งหมดนี้ไม่เป็นความความจริและเหลือเชื่อ เมื่อคุณพิจารณาความเป็นจริงของคดี (อ่านคำพิพากษาของศาลได้ที่นี่: judiciary.uk/judgments/h6-v… ) ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง ไม่มีหลักฐานใดๆ ของการจารกรรม ไม่มีหลักฐานของการกระทำผิดใดๆ เลย จริงๆ แล้วไม่มีข้อกล่าวหาใดๆ เลยเกี่ยวกับการกระทำผิดที่เกิดขึ้น ไม่มีเลย ไม่มีเลย ไม่มีเลยแต่ในความเป็นจริงแล้วคดีของรัฐบาลประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้:- นายหยางมีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกงานแนวร่วมและพรรคคอมมิวนิสต์) ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่า "อาจใช้ได้กับนักธุรกิจชาวจีนทุกคน"- เขาถูกกล่าวหาว่าไม่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้และป้ายสีว่าเขาโกหกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยซ้ำ - ทั้ๆที่เขายอมรับว่าความเชื่อมโยงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" สำหรับนักธุรกิจจีน (ซึ่งเป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจในจีน)แม้ว่าศาลจะยอมรับในคำพิพากษาว่า "ไม่มีหลักฐานมากมาย" ที่สนับสนุนความเชื่อมโยงเหล่านี้ในตอนแรก- เขาสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญของอังกฤษ (โดยเฉพาะเจ้าชายแอนดรูว์) ผ่านทางโครงการธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น Pitch@Palace ซึ่งรัฐบาลอังกฤษโต้แย้งว่า "สามารถนำมาใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคตได้ แม้ว่าศาลจะเขียนว่า "อาจเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจปกติ" ก็ตามนั่นแหละ นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ถ้าคุณไม่เชื่อฉัน: judiciary.uk/judgments/h6-v… นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆไม่มีหลักฐานหรือข้อกล่าวหา (!), เกี่ยวกับการจารกรรมในคดีที่สื่อทั้งหมดนำเสนอว่าเป็น "สายลับจีน" ความผิดของนายหยางคือการเป็นนักธุรกิจชาวจีนที่มีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเขาประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์กับชนชั้นนำอังกฤษผ่านการร่วมทุนทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเพียงแค่ความจริงที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถ "ใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคต  แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้เขาถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาตั้งใจจะทำเช่นนั้นหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสมก็ตามและนี่คือจุดที่ทุกอย่างกลายเป็นโลกดิสโทเปียอย่างแท้จริง นายหยางถูกห้ามเข้าสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ได้อ้างกฎหมายหรือหลักฐานการกระทำผิดใดๆ แต่อยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์โบราณที่เรียกว่า "พระราชอำนาจพิเศษ" รัฐบาลไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยซ้ำว่าเขาทำอะไรผิด พวกเขาเพียงแค่ต้องโต้แย้งว่าเป็นเรื่อง "สมเหตุสมผล" ที่จะคิดว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเขาสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างอิทธิพลในสักวันหนึ่งลองคิดดูว่าสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรในทางปฏิบัติ นักธุรกิจชาวจีนที่:- พัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักร (ซึ่งมักจำเป็นต่อการทำธุรกิจ)- มีความสัมพันธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับสถาบันของจีน (ซึ่งมักจะเป็นเช่นนี้เกือบเสมอ)- ถือเป็นการไม่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้อาจถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ต้องก่ออาชญากรรมหรือกระทำผิดใดๆ รัฐบาลเพียงแค่ต้องโบกไม้กายสิทธิ์แห่ง "ความมั่นคงแห่งชาติ" และเสนอแนะความเสี่ยงในอนาคตตามทฤษฎีสิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือสื่อตะวันตกล้มเหลวในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง แทนที่จะตั้งคำถามว่าทำไมคนๆ หนึ่งจึงถูกตราหน้าว่าเป็น "สายลับ" และถูกห้ามเข้าประเทศเพียงเพราะไม่มีหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการจารกรรม พวกเขากลับขยายความหวาดระแวงด้วยพาดหัวข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกและอ้างคำพูดของสมาชิกรัฐสภาที่เตือนว่านี่เป็นเพียง "ส่วนเล็กๆ ของเรื่องใหญ่" และเขา "ไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย"โดยพื้นฐานแล้ว เรากำลังเฝ้าดูการสร้างกรอบกฎหมายสำหรับการเลือกปฏิบัติต่อพลเมืองจีน (และอาจรวมถึงผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีนด้วย) โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขาทำ แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่รัฐบาลคิดว่าพวกเขาอาจทำในอนาคตโดยอาศัยพื้นฐานง่ายๆ ว่าพวกเขาเป็นชาวจีน ในขณะที่สื่อมวลชนก็เชียร์การกัดกร่อนหลักการทางกฎหมายและศีลธรรมพื้นฐานนี้ด้วยวาทกรรม "สายลับ" ที่ยั่วยุและไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานของคาฟคาทั้งสิ้นลองนึกภาพดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากจีนเริ่มสั่งห้ามนักธุรกิจชาวอังกฤษเข้าประเทศอย่างถาวร เนื่องจากพวกเขามีความสัมพันธ์กับสถาบันของอังกฤษ และพัฒนาความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่จีนที่ "สามารถใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลได้ ซึ่งหมายถึงนักธุรกิจชาวอังกฤษเกือบทั้งหมดในจีนที่มีอาวุโสในระดับหนึ่ง ดังนั้น เราจะต้องเผชิญหน้ากับการเนรเทศชุมชนธุรกิจชาวอังกฤษออกจากจีนเกือบทั้งหมด...แม้แต่จากมุมมองของผลประโยชน์ของชาติอังกฤษแล้ว ก็ไม่สมเหตุสมผลเลย พวกเขาควรต้องการให้นักธุรกิจชาวจีนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีมาทำธุรกิจที่นั่น เพราะความสัมพันธ์เหล่านี้มีความสำคัญต่อธุรกิจ หากพวกเขากังวลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้อาจถูกนำมาใช้เพื่อมีอิทธิพลที่ไม่เหมาะสม การตอบสนองของพวกเขาควรเสริมสร้างมาตรการต่อต้านการทุจริตในประเทศ ไม่ใช่ห้ามนักธุรกิจชาวจีนสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ แนวทางนี้ไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของอังกฤษ แต่กลับสร้างความเสียหายให้กับพวกเขาโดยสร้างผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศคดีของหยาง เติงโป ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่น่าเศร้าอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ชาติตะวันตกต้องคลี่คลายสิ่งที่ชาติตะวันตกอ้างว่าเป็น "ค่านิยมพื้นฐาน" ของตน เมื่อเราเริ่มลงโทษผู้คนไม่ใช่เพราะสิ่งที่พวกเขาทำ แต่เพราะสิ่งที่พวกเขาอาจทำในทางทฤษฎีเพราะสัญชาติของพวกเขา เรากำลังก้าวข้ามเส้นที่ควรทำให้ผู้ที่เชื่อในหลักนิติธรรมและความยุติธรรมขั้นพื้นฐานวิตกกังวล สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่ทำให้เรามีความยุติธรรมน้อยลงเท่านั้น หากสิ่งนี้ไม่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับทิศทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไป ฉันก็ไม่รู้ว่าอะไรจะทำให้เกิดขึ้นได้
    สื่ออังกฤษป้ายสีนักธุรกิจจีนว่าเป็นสายลับ บิดคำพิพากษาของศาล กรณีของเจ้าชายแอนดรูว์และ “สายลับจีน” โดยบทวิเคราะห์ของArnaud Bertrand เขียนในXระบุว่า การดำเนินการของสื่อของอังกฤษ ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่น่าหวาดระแวงเกี่ยวกับ “ภัยสีเหลือง” ที่สุดที่เคยพบเห็นเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงแล้ว จะพบว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่ไม่น่าเชื่ออย่างยิ่ง ในทางปฏิบัติแล้ว หมายความว่าชาวจีนทุกคน - ไม่จำเป็นต้องเป็นคนจีนด้วยซ้ำ อาจเป็นใครก็ได้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีน - จะถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร หากพวกเขามีความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักรก่อนอื่น มาดูกันว่าสื่อมีแนวคิดเกี่ยวกับกรณีนี้อย่างไร พาดหัวข่าวระบุว่า “สายลับจีนเชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์ ส.ส. เตือนว่าเขาไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย” (The Independent: independent.co.uk/news/uk/politi… ) “เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับสายลับกับเจ้าชายแอนดรูว์อาจทำให้มีการเปิดโปงภัยคุกคามจากจีนมากขึ้น”(The Guardian: theguardian.com/world/2024/dec… ) "'สายลับ' ชาวจีนที่เชื่อมโยงกับเจ้าชายแอนดรูว์เป็นเพียง 'ส่วนเล็กๆ ของภูเขาน้ำแข็ง' เท่านั้น" (Politico: politico.eu/article/china-… )สื่อหลักทุกสำนักข่าวของอังกฤษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่อง "สายลับจีน" ต่างพากันวาดภาพอันชั่วร้ายของการแทรกซึมเข้าสู่ระดับสูงสุดของสังคมอังกฤษ โดยถือเป็น "หลักฐาน" ของ "ภัยคุกคามอันเลวร้ายจากจีน"ทั้งหมดนี้ไม่เป็นความความจริและเหลือเชื่อ เมื่อคุณพิจารณาความเป็นจริงของคดี (อ่านคำพิพากษาของศาลได้ที่นี่: judiciary.uk/judgments/h6-v… ) ข้อกล่าวหาเหล่านี้ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง ไม่มีหลักฐานใดๆ ของการจารกรรม ไม่มีหลักฐานของการกระทำผิดใดๆ เลย จริงๆ แล้วไม่มีข้อกล่าวหาใดๆ เลยเกี่ยวกับการกระทำผิดที่เกิดขึ้น ไม่มีเลย ไม่มีเลย ไม่มีเลยแต่ในความเป็นจริงแล้วคดีของรัฐบาลประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้:- นายหยางมีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนกงานแนวร่วมและพรรคคอมมิวนิสต์) ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่า "อาจใช้ได้กับนักธุรกิจชาวจีนทุกคน"- เขาถูกกล่าวหาว่าไม่ได้พูดออกมาอย่างชัดเจนเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้และป้ายสีว่าเขาโกหกเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยซ้ำ - ทั้ๆที่เขายอมรับว่าความเชื่อมโยงดังกล่าวเป็นสิ่งที่ "หลีกเลี่ยงไม่ได้" สำหรับนักธุรกิจจีน (ซึ่งเป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจในจีน)แม้ว่าศาลจะยอมรับในคำพิพากษาว่า "ไม่มีหลักฐานมากมาย" ที่สนับสนุนความเชื่อมโยงเหล่านี้ในตอนแรก- เขาสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญของอังกฤษ (โดยเฉพาะเจ้าชายแอนดรูว์) ผ่านทางโครงการธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น Pitch@Palace ซึ่งรัฐบาลอังกฤษโต้แย้งว่า "สามารถนำมาใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคตได้ แม้ว่าศาลจะเขียนว่า "อาจเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติทางธุรกิจปกติ" ก็ตามนั่นแหละ นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆสามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ถ้าคุณไม่เชื่อฉัน: judiciary.uk/judgments/h6-v… นั่นคือกรณีทั้งหมดจริงๆไม่มีหลักฐานหรือข้อกล่าวหา (!), เกี่ยวกับการจารกรรมในคดีที่สื่อทั้งหมดนำเสนอว่าเป็น "สายลับจีน" ความผิดของนายหยางคือการเป็นนักธุรกิจชาวจีนที่มีความเชื่อมโยงกับสถาบันของจีน ซึ่งศาลเองก็ยอมรับว่าหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเขาประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์กับชนชั้นนำอังกฤษผ่านการร่วมทุนทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเพียงแค่ความจริงที่ว่าความสัมพันธ์เหล่านี้สามารถ "ใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลในบางจุดในอนาคต  แค่นี้ก็เพียงพอที่จะทำให้เขาถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานว่าเขาตั้งใจจะทำเช่นนั้นหรือทำอะไรที่ไม่เหมาะสมก็ตามและนี่คือจุดที่ทุกอย่างกลายเป็นโลกดิสโทเปียอย่างแท้จริง นายหยางถูกห้ามเข้าสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ได้อ้างกฎหมายหรือหลักฐานการกระทำผิดใดๆ แต่อยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์โบราณที่เรียกว่า "พระราชอำนาจพิเศษ" รัฐบาลไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยซ้ำว่าเขาทำอะไรผิด พวกเขาเพียงแค่ต้องโต้แย้งว่าเป็นเรื่อง "สมเหตุสมผล" ที่จะคิดว่าความสัมพันธ์ทางธุรกิจของเขาสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างอิทธิพลในสักวันหนึ่งลองคิดดูว่าสิ่งนี้มีความหมายอย่างไรในทางปฏิบัติ นักธุรกิจชาวจีนที่:- พัฒนาความสัมพันธ์กับบุคคลสำคัญในสหราชอาณาจักร (ซึ่งมักจำเป็นต่อการทำธุรกิจ)- มีความสัมพันธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กับสถาบันของจีน (ซึ่งมักจะเป็นเช่นนี้เกือบเสมอ)- ถือเป็นการไม่แสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความเชื่อมโยงเหล่านี้อาจถูกแบนจากสหราชอาณาจักรอย่างถาวรโดยไม่ต้องก่ออาชญากรรมหรือกระทำผิดใดๆ รัฐบาลเพียงแค่ต้องโบกไม้กายสิทธิ์แห่ง "ความมั่นคงแห่งชาติ" และเสนอแนะความเสี่ยงในอนาคตตามทฤษฎีสิ่งที่น่ากังวลยิ่งกว่าคือสื่อตะวันตกล้มเหลวในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง แทนที่จะตั้งคำถามว่าทำไมคนๆ หนึ่งจึงถูกตราหน้าว่าเป็น "สายลับ" และถูกห้ามเข้าประเทศเพียงเพราะไม่มีหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการจารกรรม พวกเขากลับขยายความหวาดระแวงด้วยพาดหัวข่าวที่สร้างความตื่นตระหนกและอ้างคำพูดของสมาชิกรัฐสภาที่เตือนว่านี่เป็นเพียง "ส่วนเล็กๆ ของเรื่องใหญ่" และเขา "ไม่ใช่หมาป่าเดียวดาย"โดยพื้นฐานแล้ว เรากำลังเฝ้าดูการสร้างกรอบกฎหมายสำหรับการเลือกปฏิบัติต่อพลเมืองจีน (และอาจรวมถึงผู้ที่มีความเชื่อมโยงกับจีนด้วย) โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่พวกเขาทำ แต่ขึ้นอยู่กับสิ่งที่รัฐบาลคิดว่าพวกเขาอาจทำในอนาคตโดยอาศัยพื้นฐานง่ายๆ ว่าพวกเขาเป็นชาวจีน ในขณะที่สื่อมวลชนก็เชียร์การกัดกร่อนหลักการทางกฎหมายและศีลธรรมพื้นฐานนี้ด้วยวาทกรรม "สายลับ" ที่ยั่วยุและไม่มีหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานของคาฟคาทั้งสิ้นลองนึกภาพดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากจีนเริ่มสั่งห้ามนักธุรกิจชาวอังกฤษเข้าประเทศอย่างถาวร เนื่องจากพวกเขามีความสัมพันธ์กับสถาบันของอังกฤษ และพัฒนาความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่จีนที่ "สามารถใช้ประโยชน์" เพื่อสร้างอิทธิพลได้ ซึ่งหมายถึงนักธุรกิจชาวอังกฤษเกือบทั้งหมดในจีนที่มีอาวุโสในระดับหนึ่ง ดังนั้น เราจะต้องเผชิญหน้ากับการเนรเทศชุมชนธุรกิจชาวอังกฤษออกจากจีนเกือบทั้งหมด...แม้แต่จากมุมมองของผลประโยชน์ของชาติอังกฤษแล้ว ก็ไม่สมเหตุสมผลเลย พวกเขาควรต้องการให้นักธุรกิจชาวจีนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีมาทำธุรกิจที่นั่น เพราะความสัมพันธ์เหล่านี้มีความสำคัญต่อธุรกิจ หากพวกเขากังวลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้อาจถูกนำมาใช้เพื่อมีอิทธิพลที่ไม่เหมาะสม การตอบสนองของพวกเขาควรเสริมสร้างมาตรการต่อต้านการทุจริตในประเทศ ไม่ใช่ห้ามนักธุรกิจชาวจีนสร้างความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ แนวทางนี้ไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของอังกฤษ แต่กลับสร้างความเสียหายให้กับพวกเขาโดยสร้างผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศคดีของหยาง เติงโป ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่น่าเศร้าอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ชาติตะวันตกต้องคลี่คลายสิ่งที่ชาติตะวันตกอ้างว่าเป็น "ค่านิยมพื้นฐาน" ของตน เมื่อเราเริ่มลงโทษผู้คนไม่ใช่เพราะสิ่งที่พวกเขาทำ แต่เพราะสิ่งที่พวกเขาอาจทำในทางทฤษฎีเพราะสัญชาติของพวกเขา เรากำลังก้าวข้ามเส้นที่ควรทำให้ผู้ที่เชื่อในหลักนิติธรรมและความยุติธรรมขั้นพื้นฐานวิตกกังวล สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้เราปลอดภัยและเจริญรุ่งเรืองขึ้น แต่ทำให้เรามีความยุติธรรมน้อยลงเท่านั้น หากสิ่งนี้ไม่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับทิศทางที่เรากำลังมุ่งหน้าไป ฉันก็ไม่รู้ว่าอะไรจะทำให้เกิดขึ้นได้
    0 Comments 0 Shares 1039 Views 0 Reviews
More Results