ไพ่เราเผาเรื่อง Official
ไพ่เราเผาเรื่อง Official
รีวิวและถ่ายทอดเรื่องราวของสื่อบันเทิงประเภทต่าง ๆ ด้วย "ภาษา" ของไพ่ทาโรต์และไพ่พยากรณ์
  • 6 คนติดตามเรื่องนี้
  • 13 โพสต์
  • 47 รูปภาพ
  • 1 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • Lifestyle
อัปเดตล่าสุด
  • วรรณกรรมประเภทหนึ่งที่ตอนนี้มีเยอะมากโดยเฉพาะจากฝั่งตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไร คือเรื่องแนวฟีลกู๊ดประเภทสถานที่เยียวยาจิตใจ ไม่ใช่เพราะผมเป็นพวกจิตใจหยาบกระด้างหรือชอบเสพแต่ความดาร์กและความสยอง แต่เพราะผมมองว่าตัวเองพอดักทางได้ว่าเรื่องพวกนั้นมี "สาร" อย่างไร ต้องการสอนผู้อ่านอย่างไร ทั้งนี้ก็จะมีบางเรื่องที่เป็นข้อยกเว้น หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่ของแม่หมอมานูล

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' โดย อัตสึกิ โอโตะ เป็นนิยายแบบที่ผมคงไม่สนใจในแวบแรก ถ้าไม่ใช่เพราะโดนล่อตาล่อใจจากของแถมที่ทาง สนพ. บอกว่ามีเฉพาะในรอบพิมพ์ครั้งแรกเท่านั้น นั่นคือ ไพ่ทาโรต์ขนาดเล็ก ๆ 5 ใบที่เป็นภาพคุณมานูล แมวหมอดูตัวเอกประจำเรื่อง ข้อนี้เลยเป็นตัวแปรสำคัญให้ผมเปิดใจรับหนังสือเล่มนี้มาบรรจุเข้าชั้นที่บ้าน

    ไหน ๆ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็เห็นว่ามันควรค่าแก่การรีวิวในแบบของไพ่เราเผาเรื่อง แต่รอบนี้จะต่างจากครั้งอื่น ๆ ตรงที่ผมจะไม่ใช้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์สำรับใด ๆ ในคลัง แต่จะใช้ไพ่แถม 5 ใบที่มากับหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือประกอบการ "เผาเรื่อง" โดยสับไพ่แล้วสุ่มหยิบตามลำดับ

    ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' ด้วยไพ่แถมสุดน่ารักทั้ง 5 ใบ ได้ ณ บัดนี้ครับ

    ----------

    "เรื่องจบในตอนพร้อมข้อคิดดี ๆ"
    🃏The Sun + 🃏The World

    ในไพ่ทาโรต์ 78 ใบ The Sun เป็นไพ่ที่ความหมายดีรอบด้านในอันดับต้น ๆ แต่ไพ่ใบนี้ยังสื่อถึง "ความจริง" และ "ข้อคิดที่เป็นประโยชน์" ได้ด้วย ส่วน The World ในฐานะไพ่ใบสุดท้ายของไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) จึงมักสื่อความถึง "จุดสิ้นสุด" และ "ความสมบูรณ์" แต่มันไม่ใช่การตัดจบแบบบริบูรณ์หรือ Happily Ever After ทว่าเป็นการจบลงของบทหนึ่งเพื่อที่จะเข้าสู่บทถัดไป

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' มีลักษณะการเขียนแบบที่มักเจอใน Fiction ประเภทสถานที่ที่ช่วยให้ผู้คนได้ฮีลใจ นั่นคือเป็นนวนิยายแบบเนื้อเรื่องจบในตอน (Episodic novel) โดยแต่ละตอนมักจะมีข้อคิดจรรโลงใจหรือมุมมองที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางครั้งต่างตอนก็มีสารหรือข้อคิดสำหรับคนต่างกลุ่มต่างจำพวก

    หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 5 บท แต่ละบทสามารถอ่านแยกในฐานะเรื่องสั้นที่จบสมบูรณ์ในตัวเองได้ แต่ตอนหลัง ๆ ก็จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่อเนื่องจากตอนก่อน ๆ ตัวละครดำเนินเรื่องในแต่ละตอนมีช่วงอายุ บทบาท และปัญหาคาใจแตกต่างกัน มีทั้งเด็กมัธยมที่หาทาง fit in ในสังคมห้องเรียน อินฟลูเอนเซอร์สาว ซิงเกิลมัม ไปจนถึงวัยกลางคนที่กำลังสับสนกับทิศทางชีวิตและหน้าที่การงานของตัวเอง จากนั้นโชคชะตาหรือพล็อตเรื่องก็จะพาตัวละครไปเจอกับคุณมานูลและคาเฟมาร์เนิล

    คุณมานูล ศูนย์กลางของเรื่อง เดิมเคยเป็นมนุษย์ชื่อ คาวาตานิ ไอซาวะ แต่ด้วยสาเหตุบางอย่าง นางเลือก 'ลาออก' จากการเป็นมนุษย์ มาอยู่ในร่างของแมวมานูล (Manul) หรืออีกชื่อคือแมวพัลลาส (Pallas's cat) และรับดูดวงด้วยสารพัดวิธี ไม่ว่าจะใช้ไพ่ ลูกแก้ว หรือเครื่องเสี่ยงเซียมซีรูเลตต์ พร้อมทั้งเปิดคาเฟ่ร่วมกับคนที่น่าจะเป็นสามีและลูกสาว (ส่วนชื่อคาเฟ่ ทำไมถึงชื่อ "มาร์เนิล" แทนที่จะเป็น "มานูล" ตรงนี้ในหนังสือมีอธิบายไว้ แต่สั้น ๆ คือเป็นมุกที่เล่นกับตัวเขียนญี่ปุ่นแบบคาตาคานะ ซึ่งต้องขอชื่นชมผู้แปลที่พยายามเรียบเรียงเป็นไทยให้ใกล้เคียงโดยไม่เสียอรรถรสของต้นฉบับ)

    เนื้อเรื่องแต่ละตอนดำเนินไปอย่างค่อนข้างเป็นสูตรสำเร็จ เริ่มจากแนะนำตัวละครและชีวิตประจำวันที่เจ้าตัวไม่พึงพอใจเท่าไร จากนั้นตัวละครก็จะได้เจอคุณมานูลช่วยทำนายดวงชะตาพร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบคร่าว ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งตัวละครจะทำตามและอะไร ๆ ก็ดูจะดีขึ้นจริง ๆ แต่แล้วก็จะมีเหตุสักอย่างให้ชีวิตตัวละครกลับไปเป็นแบบตอนต้นเรื่องหรือเผลอ ๆ เหมือนจะดูแย่ลง และทำให้ตัวละครได้รับการชี้แนะจากคุณมานูลเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้เรื่องก็จะดูจบตอนแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ชวนให้นึกถึงโดราเอมอนแแบบอนิเมะในทีวีที่ฉายเป็นตอน ๆ หรือการ์ตูนต่อสู้อย่างเซเลอร์มูนช่วงแรก ๆ ที่จะมีตัวร้ายประจำสัปดาห์ (Monster of the week) มาให้ตัวเอกปราบ

    นิยายประเภทสถานที่ฮีลใจมักมีตัวละครประจำตอนที่แแตกต่างกันทั้งช่วงอายุและอาชีพ เพื่อจะได้เป็นตัวแทนของคนอ่านในกลุ่มต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ก็เช่นกัน ทั้ง 5 ตอนมีตัวละครตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งก็น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ผู้เขียนคคาดหวังว่าจะรวมอยู่ในหมู่คนอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วย และถึงแม้ปัญหาที่ตัวละครในเรื่องเผชิญอาจไม่ตรงกับเรื่องที่คนอ่านในช่วงวัยเดียวกันเจอในชีวิตจริงทั้งหมด แต่ข้อคิดและคำแนะนำจากคุณมานููลในแต่ละตอนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน

    ----------

    "เยียวยาจิตใจในสถานที่ที่มอบความสุข"
    🃏The Star + 🃏Ten of Cups

    The Star คือดวงดาว จึงเป็นไพ่ตัวแทนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเรามักเชื่อมโยงกับดาว ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง ความโด่งดัง หรือความหวัง แต่มันก็มีอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ "การเยียวยา" ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนไพ่ 10 ถ้วย โดยทั่วไปมักหมายถึงบ้านหรือครอบครัว แต่บางกรณีก็สื่อถึง "ความสุขอย่างเต็มเปี่ยม" โดยเป็นความสุขที่มาจากกลุ่มคนที่อยู่กันสนิทชิดเชื้อเหมือนเป็นครอบครัว (แบบใน "แฟ้มเมอะหลี่" ของพี่ดอม ทอร์เรตโต แห่งซีรีส์ Fast & Furious) หรือจากาสถานที่มีผู้พร้อมจะส่งมอบความสุขให้ผู้อื่น

    คาเฟ่มาร์เนิลของคุณมานูลลงล็อกพอดีกับคำจำกัดความของสถานที่แบบที่ว่า แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ข้างบน ๆ นิยายเรื่องนี้ผลิตซ้ำ Trope ของสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนในการแก้ปัญหาและเยียวยาจิตใจ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมกันในวงการวรรณกรรมฝั่งเอเชียตะวันออก แต่ละเรื่องอาจมีสถานที่ต่างกันไป บางเรื่องเป็นคาเฟ่ บางเรื่องเป็นร้านเบเกอรี่ บ้างเรื่องเป็นร้านหนังสือหรือห้องสมุด แต่ทุกเรื่องจบลงที่ตัวละครซึ่งไปเยือนสถานที่นั้น ๆ ได้เยียวยาบาดแผลหรือปมปัญหาในใจ หรือได้ปลดล็อกอะไรสักอย่างที่ติดค้างอยู่

    น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงซึ่งไม่ได้มีมนตร์วิเศษอยู่ (อย่างน้อยก็ในแบบที่มักเกิลอย่างเรา ๆ จับต้องและพิสูจน์ได้) คนเราก็มีสถานที่สำหรับเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำและแตกร้าว นอกจากกลับบ้านไปหาครอบครัวแล้ว ที่อื่นที่คนมักไปเพื่อฮีลใจตัวเอง เช่น คาเฟ่ ซุ้มหมอดู (หรือบางคนก็ทักไปหาหมอดูทางออนไลน์) และที่ใดก็ตามที่มีแมวอยู่ กล่าวอีกอย่างคือ คาเฟ่ การดูดวง และแมว คือ Top 3 แห่งเครื่องเยียวยาจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบัน (ซึ่งจะเรียกว่าเป็นยุคทุนนิยมหรือยุคโพสต์โมเดิร์นก็ตามแต่)

    และสามอย่างที่ว่านี้ นอกจากในนิยายซีรีส์ "ร้านกาแฟจันทร์เต็มดวง" แล้ว ก็มีคุณมานูลในนิยายเรื่องนี้ที่รวมทุกอย่างไว้ในตัว เหมือนผู้เขียนจงใจ หรือไม่ก็สร้างไว้ให้คนอ่านที่ชอบ Overanalyze ได้สังเกตและทึกทักเอา

    ----------

    "โชคชะตาไม่สำคัญเมื่อเธอนั้นกลายเป็นแมว"
    🃏Wheel of Fortune

    ไพ่วงล้อแห่งโชคชะตาเป็นใบหนึ่งที่ท้าทายสกิลการอ่านและตีความไพ่ของผู้อ่านไพ่มากที่สุด บางบริบท มันสื่อถึงการที่โชคชะตากำลังดำเนินไปในทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าช่วงนั้นดวงกกำลังดี ๆ อยู่ มันก็อาจเป็นคำเตือนในระวังถึงขาลงของชีวิตที่ส่อแววมาแต่ไกล โดยรวมแล้ว ไพ่ใบนี้สื่อถึง "โชคชะตา" ในภาพรวม ซึ่งโดยตัวมันเองไม่มีดีหรือร้าย แต่ที่เรามองว่าดีหรือร้ายก็เพราะเรามองจากมุมมองของตัวเรา ถ้าเรามองเรื่องที่เกิดกับคนอื่น หรือมองตัวเองอย่างเป็นภววิสัย เราก็คงมองว่าททุกอย่างเป็นเรื่องของธรรมชาติ เดี๋ยวมีดี เดี๋ยวมีร้าย ไม่แน่ไม่นอน เผลอ ๆ คาดเดาไม่ได้ (หากเราเชื่อตาม Chaos Theory) และด้วยเหตุนี้ ไพ่ใบนี้จึงหมายรวมถึงการพยากรณ์ การดูดวง หรือการตรวจสอบดวงชะตาเช่นกัน

    ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมไหม ตอนเห็นชื่อหนังสือฉบับแปลไทยครั้งแรก ก็คิดว่าคุณมานูลน่าจะเป็นตัวละครประเภทกวน ๆ ที่ทำนายดวงตรงมั่งมั่วมั่ง (แต่สุดท้ายก็ช่วยให้ตัวละครในแต่ละตอนได้มีความสุขอยู่ดี ตามแนวทางของนิยายฮีลใจแบบนี้) แต่พอได้อ่านจริงก็พบว่านางเป็นคาแรกเตอร์ประเภทกวน ๆ จริง กวนแบบน่ารัก ๆ ชนิดที่เชื่อว่าทุกคนน่าจะอยากมีเพื่อนสนิทแบบนี้สักคนสองคน ทว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะหายไปคือการทำนายแบบมั่ว ๆ เพราะเท่าที่อ่านเจอในเรื่อง คุณมานูลไม่เคยทำนายดวงชะตาให้ตัวละครไหนแบบมั่ว ๆ เลย อย่างมากคือทำนายแบบส่งเดช พอให้เห็นว่ามีการใช้อุปกรณ์ทำนาย (อันนี้พูดในฐานะคนที่ทุกวันนี้รายรอบด้วยคนในวงการนักพยากรณ์ และเคยเจอหมอดูที่ทำนายแบบมั่วซั่วมาจนมากเกินจะนับด้วยนิ้วมือรวมนิ้วเท้าได้) อันที่จริงชื่อต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นของนิยายเรื่องนี้แปลตรงตัวแค่ว่า "คุณมานูลผู้ลาออกจากการเป็นมนุษย์จะทำนายดวงชะตาให้คุณ" ด้วยซ้ำ

    อย่างไรก็ตาม คุณมานูลตลอดทั้งเรื่องจะเล่นอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทที่หมอดูทุกศาสตร์ทุกแขนงควรเป็นในตัว (ถ้ายังไม่เป็นก็ควรฝึกตัวเองให้เป็น หรือไป take course เสียโดยด่วน โปรดรู้ว่าสังคมทุกวันนี้กำลังต้องการมาก) นั่นคือการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตใจและสังคม เนื้อเรื่องไม่เคยฟันธงว่าคุณมานูลดูดวงเป็นจริง ๆ หรือไม่ แต่เรื่องแสดงให้เห็นว่านางดูคนเป็น เข้าใจว่าแต่ละคนกำลังขาดหรือล้นเกินในเรื่องอะไร ซึ่งก็น่าจะเป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยนางยังเป็นมนุษย์ และจากตรงนี้ นางจึงให้คำแนะนำแบบแมว ๆ ให้แต่ละตัวละครรับไปหาทางแก้ปัญหาของตัวเองอย่างตรงจุด

    เนื้อเรื่องไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้คุณไอซาวะลาออกจากการเป็นมนุษย์แล้วผันตัวมาเป็นแมวมานูล แต่เมื่อดูจากคำใบ้ในแต่ละตอน (โดยเฉพาะตอนสุดท้าย) ผมมองว่านางคงเบื่อชีวิตมนุษย์ที่วัน ๆ ได้แต่ไหลไปตามสิ่งรอบข้างอย่างกระแสสังคม ความควาดหวังและแรงกดดันจากคนรอบข้าง (ซึ่งไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นสิ่งที่เรารับมากระทำกับตัวเราเอง) ตลอดจนการยอมจำนนต่อ "โชคชะตา" เดี๋ยวดวงดี เดี๋ยวดวงซวย ช่วงนี้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกาลกิณี ฯลฯ

    ในเมื่อมีแต่มนุษย์ที่ปวดหัววุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ แต่แมวใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องนำพาต่อสิ่งเหล่านี้ นางก็เลยเลิกเป็นมนุษย์แล้วเป็นแมวซะดื้อ ๆ แต่ครั้นจะเป็นแมวพันธุ์ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ก็ไม่เอา เลยขอเป็นพันธุ์หายากอย่างแมวมานูล และพอเป็นแมวแล้ว นางเลยสามารถมองเรื่องราววุ่น ๆ ของมนุษย์ได้อย่างเป็นกลาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบชิล ๆ แต่ตรงประเด็นได้

    ถึงแม้นิยายเรื่องนี้จะขึ้นชื่อว่ามีหมอดูอยู่ แต่เนื้อเรื่องแทบไม่เกี่ยวกับการทำนายดวงชะตา (จริง ๆ) เลย กลับกัน มันแนะแนววิธีการใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ดวง เหมือนที่แมวไม่แคร์วิถีชีวิตของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้น มันก็ให้คำแนะนำที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นหมอดูและอยากเป็นหมอดูครับ

    ----------

    Final Verdict: 🃏The Sun + 🃏The World + 🃏The Star + 🃏Ten of Cups + 🃏Wheel of Fortune

    'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' จะช่วยให้คุณเข้าใจความจริงว่า ต่อให้โลกนี้จะหมุนไปและชีวิตนำพาอะไรมาให้คุณ แต่คุณก็สามารถเฉิดฉายในแบบของตัวเองและมีความสุขทุกวันได้ ขอแค่คุณปล่อยจอยกับชีวิต คิดเสียว่าลาออกจากการมนุษย์แล้วทำตัวเหมือนเป็นแมวเสีย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้แค่เวลาจำกัด แล้วทำไม เราต้องปล่อยให้เรื่องชั่วประเดี๋ยวประด๋าว (เมื่อเทียบกับเวลาของจักรวาล) มาขัดจังหวะการเก็บเกี่ยวความสุขในแต่ละวันของเราด้วย จริงไหม?

    🃏🃏🃏🃏🃏
    แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่งคาเฟมาร์เนิล (2025)
    • แปลจาก: 人間やめたマヌルさんが、あなたの人生占います (2023)
    • ผู้เขียน: ฮัตสึกิ โอโตะ
    • ผู้แปล: วิลาสินี จงสถิตวัฒนา
    • สำนักพิมพ์: Lumi (ในเครือนานมีบุ๊คส์)
    ไพ่ที่ใช้: ไพ่ทาโรต์แถมพิเศษเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรกของนิยายเรื่องนี้
    วรรณกรรมประเภทหนึ่งที่ตอนนี้มีเยอะมากโดยเฉพาะจากฝั่งตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี) แต่ผมไม่ค่อยสนใจเท่าไร คือเรื่องแนวฟีลกู๊ดประเภทสถานที่เยียวยาจิตใจ ไม่ใช่เพราะผมเป็นพวกจิตใจหยาบกระด้างหรือชอบเสพแต่ความดาร์กและความสยอง แต่เพราะผมมองว่าตัวเองพอดักทางได้ว่าเรื่องพวกนั้นมี "สาร" อย่างไร ต้องการสอนผู้อ่านอย่างไร ทั้งนี้ก็จะมีบางเรื่องที่เป็นข้อยกเว้น หนึ่งในนั้นคือคาเฟ่ของแม่หมอมานูล 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' โดย อัตสึกิ โอโตะ เป็นนิยายแบบที่ผมคงไม่สนใจในแวบแรก ถ้าไม่ใช่เพราะโดนล่อตาล่อใจจากของแถมที่ทาง สนพ. บอกว่ามีเฉพาะในรอบพิมพ์ครั้งแรกเท่านั้น นั่นคือ ไพ่ทาโรต์ขนาดเล็ก ๆ 5 ใบที่เป็นภาพคุณมานูล แมวหมอดูตัวเอกประจำเรื่อง ข้อนี้เลยเป็นตัวแปรสำคัญให้ผมเปิดใจรับหนังสือเล่มนี้มาบรรจุเข้าชั้นที่บ้าน ไหน ๆ ก็พูดถึงหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมก็เห็นว่ามันควรค่าแก่การรีวิวในแบบของไพ่เราเผาเรื่อง แต่รอบนี้จะต่างจากครั้งอื่น ๆ ตรงที่ผมจะไม่ใช้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์สำรับใด ๆ ในคลัง แต่จะใช้ไพ่แถม 5 ใบที่มากับหนังสือเล่มนี้เป็นเครื่องมือประกอบการ "เผาเรื่อง" โดยสับไพ่แล้วสุ่มหยิบตามลำดับ ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' ด้วยไพ่แถมสุดน่ารักทั้ง 5 ใบ ได้ ณ บัดนี้ครับ ---------- "เรื่องจบในตอนพร้อมข้อคิดดี ๆ" 🃏The Sun + 🃏The World ในไพ่ทาโรต์ 78 ใบ The Sun เป็นไพ่ที่ความหมายดีรอบด้านในอันดับต้น ๆ แต่ไพ่ใบนี้ยังสื่อถึง "ความจริง" และ "ข้อคิดที่เป็นประโยชน์" ได้ด้วย ส่วน The World ในฐานะไพ่ใบสุดท้ายของไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) จึงมักสื่อความถึง "จุดสิ้นสุด" และ "ความสมบูรณ์" แต่มันไม่ใช่การตัดจบแบบบริบูรณ์หรือ Happily Ever After ทว่าเป็นการจบลงของบทหนึ่งเพื่อที่จะเข้าสู่บทถัดไป 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' มีลักษณะการเขียนแบบที่มักเจอใน Fiction ประเภทสถานที่ที่ช่วยให้ผู้คนได้ฮีลใจ นั่นคือเป็นนวนิยายแบบเนื้อเรื่องจบในตอน (Episodic novel) โดยแต่ละตอนมักจะมีข้อคิดจรรโลงใจหรือมุมมองที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางครั้งต่างตอนก็มีสารหรือข้อคิดสำหรับคนต่างกลุ่มต่างจำพวก หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อเรื่อง 5 บท แต่ละบทสามารถอ่านแยกในฐานะเรื่องสั้นที่จบสมบูรณ์ในตัวเองได้ แต่ตอนหลัง ๆ ก็จะมีรายละเอียดบางอย่างที่ต่อเนื่องจากตอนก่อน ๆ ตัวละครดำเนินเรื่องในแต่ละตอนมีช่วงอายุ บทบาท และปัญหาคาใจแตกต่างกัน มีทั้งเด็กมัธยมที่หาทาง fit in ในสังคมห้องเรียน อินฟลูเอนเซอร์สาว ซิงเกิลมัม ไปจนถึงวัยกลางคนที่กำลังสับสนกับทิศทางชีวิตและหน้าที่การงานของตัวเอง จากนั้นโชคชะตาหรือพล็อตเรื่องก็จะพาตัวละครไปเจอกับคุณมานูลและคาเฟมาร์เนิล คุณมานูล ศูนย์กลางของเรื่อง เดิมเคยเป็นมนุษย์ชื่อ คาวาตานิ ไอซาวะ แต่ด้วยสาเหตุบางอย่าง นางเลือก 'ลาออก' จากการเป็นมนุษย์ มาอยู่ในร่างของแมวมานูล (Manul) หรืออีกชื่อคือแมวพัลลาส (Pallas's cat) และรับดูดวงด้วยสารพัดวิธี ไม่ว่าจะใช้ไพ่ ลูกแก้ว หรือเครื่องเสี่ยงเซียมซีรูเลตต์ พร้อมทั้งเปิดคาเฟ่ร่วมกับคนที่น่าจะเป็นสามีและลูกสาว (ส่วนชื่อคาเฟ่ ทำไมถึงชื่อ "มาร์เนิล" แทนที่จะเป็น "มานูล" ตรงนี้ในหนังสือมีอธิบายไว้ แต่สั้น ๆ คือเป็นมุกที่เล่นกับตัวเขียนญี่ปุ่นแบบคาตาคานะ ซึ่งต้องขอชื่นชมผู้แปลที่พยายามเรียบเรียงเป็นไทยให้ใกล้เคียงโดยไม่เสียอรรถรสของต้นฉบับ) เนื้อเรื่องแต่ละตอนดำเนินไปอย่างค่อนข้างเป็นสูตรสำเร็จ เริ่มจากแนะนำตัวละครและชีวิตประจำวันที่เจ้าตัวไม่พึงพอใจเท่าไร จากนั้นตัวละครก็จะได้เจอคุณมานูลช่วยทำนายดวงชะตาพร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบคร่าว ๆ เพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น ซึ่งตัวละครจะทำตามและอะไร ๆ ก็ดูจะดีขึ้นจริง ๆ แต่แล้วก็จะมีเหตุสักอย่างให้ชีวิตตัวละครกลับไปเป็นแบบตอนต้นเรื่องหรือเผลอ ๆ เหมือนจะดูแย่ลง และทำให้ตัวละครได้รับการชี้แนะจากคุณมานูลเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งคราวนี้เรื่องก็จะดูจบตอนแบบแฮปปี้เอนดิ้ง ชวนให้นึกถึงโดราเอมอนแแบบอนิเมะในทีวีที่ฉายเป็นตอน ๆ หรือการ์ตูนต่อสู้อย่างเซเลอร์มูนช่วงแรก ๆ ที่จะมีตัวร้ายประจำสัปดาห์ (Monster of the week) มาให้ตัวเอกปราบ นิยายประเภทสถานที่ฮีลใจมักมีตัวละครประจำตอนที่แแตกต่างกันทั้งช่วงอายุและอาชีพ เพื่อจะได้เป็นตัวแทนของคนอ่านในกลุ่มต่าง ๆ นิยายเล่มนี้ก็เช่นกัน ทั้ง 5 ตอนมีตัวละครตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ซึ่งก็น่าจะเป็นกลุ่มคนที่ผู้เขียนคคาดหวังว่าจะรวมอยู่ในหมู่คนอ่านหนังสือเล่มนี้ด้วย และถึงแม้ปัญหาที่ตัวละครในเรื่องเผชิญอาจไม่ตรงกับเรื่องที่คนอ่านในช่วงวัยเดียวกันเจอในชีวิตจริงทั้งหมด แต่ข้อคิดและคำแนะนำจากคุณมานููลในแต่ละตอนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เช่นกัน ---------- "เยียวยาจิตใจในสถานที่ที่มอบความสุข" 🃏The Star + 🃏Ten of Cups The Star คือดวงดาว จึงเป็นไพ่ตัวแทนหลายสิ่งหลายอย่างที่คนเรามักเชื่อมโยงกับดาว ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง ความโด่งดัง หรือความหวัง แต่มันก็มีอีกความหมายหนึ่ง นั่นคือ "การเยียวยา" ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนไพ่ 10 ถ้วย โดยทั่วไปมักหมายถึงบ้านหรือครอบครัว แต่บางกรณีก็สื่อถึง "ความสุขอย่างเต็มเปี่ยม" โดยเป็นความสุขที่มาจากกลุ่มคนที่อยู่กันสนิทชิดเชื้อเหมือนเป็นครอบครัว (แบบใน "แฟ้มเมอะหลี่" ของพี่ดอม ทอร์เรตโต แห่งซีรีส์ Fast & Furious) หรือจากาสถานที่มีผู้พร้อมจะส่งมอบความสุขให้ผู้อื่น คาเฟ่มาร์เนิลของคุณมานูลลงล็อกพอดีกับคำจำกัดความของสถานที่แบบที่ว่า แต่ก็อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ข้างบน ๆ นิยายเรื่องนี้ผลิตซ้ำ Trope ของสถานที่ที่ให้ความช่วยเหลือผู้คนในการแก้ปัญหาและเยียวยาจิตใจ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังนิยมกันในวงการวรรณกรรมฝั่งเอเชียตะวันออก แต่ละเรื่องอาจมีสถานที่ต่างกันไป บางเรื่องเป็นคาเฟ่ บางเรื่องเป็นร้านเบเกอรี่ บ้างเรื่องเป็นร้านหนังสือหรือห้องสมุด แต่ทุกเรื่องจบลงที่ตัวละครซึ่งไปเยือนสถานที่นั้น ๆ ได้เยียวยาบาดแผลหรือปมปัญหาในใจ หรือได้ปลดล็อกอะไรสักอย่างที่ติดค้างอยู่ น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า ในชีวิตจริงซึ่งไม่ได้มีมนตร์วิเศษอยู่ (อย่างน้อยก็ในแบบที่มักเกิลอย่างเรา ๆ จับต้องและพิสูจน์ได้) คนเราก็มีสถานที่สำหรับเยียวยาจิตใจที่บอบช้ำและแตกร้าว นอกจากกลับบ้านไปหาครอบครัวแล้ว ที่อื่นที่คนมักไปเพื่อฮีลใจตัวเอง เช่น คาเฟ่ ซุ้มหมอดู (หรือบางคนก็ทักไปหาหมอดูทางออนไลน์) และที่ใดก็ตามที่มีแมวอยู่ กล่าวอีกอย่างคือ คาเฟ่ การดูดวง และแมว คือ Top 3 แห่งเครื่องเยียวยาจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบัน (ซึ่งจะเรียกว่าเป็นยุคทุนนิยมหรือยุคโพสต์โมเดิร์นก็ตามแต่) และสามอย่างที่ว่านี้ นอกจากในนิยายซีรีส์ "ร้านกาแฟจันทร์เต็มดวง" แล้ว ก็มีคุณมานูลในนิยายเรื่องนี้ที่รวมทุกอย่างไว้ในตัว เหมือนผู้เขียนจงใจ หรือไม่ก็สร้างไว้ให้คนอ่านที่ชอบ Overanalyze ได้สังเกตและทึกทักเอา ---------- "โชคชะตาไม่สำคัญเมื่อเธอนั้นกลายเป็นแมว" 🃏Wheel of Fortune ไพ่วงล้อแห่งโชคชะตาเป็นใบหนึ่งที่ท้าทายสกิลการอ่านและตีความไพ่ของผู้อ่านไพ่มากที่สุด บางบริบท มันสื่อถึงการที่โชคชะตากำลังดำเนินไปในทางที่ดีขึ้น แต่ถ้าช่วงนั้นดวงกกำลังดี ๆ อยู่ มันก็อาจเป็นคำเตือนในระวังถึงขาลงของชีวิตที่ส่อแววมาแต่ไกล โดยรวมแล้ว ไพ่ใบนี้สื่อถึง "โชคชะตา" ในภาพรวม ซึ่งโดยตัวมันเองไม่มีดีหรือร้าย แต่ที่เรามองว่าดีหรือร้ายก็เพราะเรามองจากมุมมองของตัวเรา ถ้าเรามองเรื่องที่เกิดกับคนอื่น หรือมองตัวเองอย่างเป็นภววิสัย เราก็คงมองว่าททุกอย่างเป็นเรื่องของธรรมชาติ เดี๋ยวมีดี เดี๋ยวมีร้าย ไม่แน่ไม่นอน เผลอ ๆ คาดเดาไม่ได้ (หากเราเชื่อตาม Chaos Theory) และด้วยเหตุนี้ ไพ่ใบนี้จึงหมายรวมถึงการพยากรณ์ การดูดวง หรือการตรวจสอบดวงชะตาเช่นกัน ไม่รู้มีใครเป็นเหมือนผมไหม ตอนเห็นชื่อหนังสือฉบับแปลไทยครั้งแรก ก็คิดว่าคุณมานูลน่าจะเป็นตัวละครประเภทกวน ๆ ที่ทำนายดวงตรงมั่งมั่วมั่ง (แต่สุดท้ายก็ช่วยให้ตัวละครในแต่ละตอนได้มีความสุขอยู่ดี ตามแนวทางของนิยายฮีลใจแบบนี้) แต่พอได้อ่านจริงก็พบว่านางเป็นคาแรกเตอร์ประเภทกวน ๆ จริง กวนแบบน่ารัก ๆ ชนิดที่เชื่อว่าทุกคนน่าจะอยากมีเพื่อนสนิทแบบนี้สักคนสองคน ทว่าสิ่งที่ดูเหมือนจะหายไปคือการทำนายแบบมั่ว ๆ เพราะเท่าที่อ่านเจอในเรื่อง คุณมานูลไม่เคยทำนายดวงชะตาให้ตัวละครไหนแบบมั่ว ๆ เลย อย่างมากคือทำนายแบบส่งเดช พอให้เห็นว่ามีการใช้อุปกรณ์ทำนาย (อันนี้พูดในฐานะคนที่ทุกวันนี้รายรอบด้วยคนในวงการนักพยากรณ์ และเคยเจอหมอดูที่ทำนายแบบมั่วซั่วมาจนมากเกินจะนับด้วยนิ้วมือรวมนิ้วเท้าได้) อันที่จริงชื่อต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นของนิยายเรื่องนี้แปลตรงตัวแค่ว่า "คุณมานูลผู้ลาออกจากการเป็นมนุษย์จะทำนายดวงชะตาให้คุณ" ด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม คุณมานูลตลอดทั้งเรื่องจะเล่นอีกบทบาทหนึ่ง ซึ่งเป็นบทบาทที่หมอดูทุกศาสตร์ทุกแขนงควรเป็นในตัว (ถ้ายังไม่เป็นก็ควรฝึกตัวเองให้เป็น หรือไป take course เสียโดยด่วน โปรดรู้ว่าสังคมทุกวันนี้กำลังต้องการมาก) นั่นคือการเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านจิตใจและสังคม เนื้อเรื่องไม่เคยฟันธงว่าคุณมานูลดูดวงเป็นจริง ๆ หรือไม่ แต่เรื่องแสดงให้เห็นว่านางดูคนเป็น เข้าใจว่าแต่ละคนกำลังขาดหรือล้นเกินในเรื่องอะไร ซึ่งก็น่าจะเป็นทักษะที่ติดตัวมาตั้งแต่สมัยนางยังเป็นมนุษย์ และจากตรงนี้ นางจึงให้คำแนะนำแบบแมว ๆ ให้แต่ละตัวละครรับไปหาทางแก้ปัญหาของตัวเองอย่างตรงจุด เนื้อเรื่องไม่ได้บอกว่าเกิดอะไรขึ้นถึงทำให้คุณไอซาวะลาออกจากการเป็นมนุษย์แล้วผันตัวมาเป็นแมวมานูล แต่เมื่อดูจากคำใบ้ในแต่ละตอน (โดยเฉพาะตอนสุดท้าย) ผมมองว่านางคงเบื่อชีวิตมนุษย์ที่วัน ๆ ได้แต่ไหลไปตามสิ่งรอบข้างอย่างกระแสสังคม ความควาดหวังและแรงกดดันจากคนรอบข้าง (ซึ่งไป ๆ มา ๆ ก็กลายเป็นสิ่งที่เรารับมากระทำกับตัวเราเอง) ตลอดจนการยอมจำนนต่อ "โชคชะตา" เดี๋ยวดวงดี เดี๋ยวดวงซวย ช่วงนี้ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อหลีกเลี่ยงกาลกิณี ฯลฯ ในเมื่อมีแต่มนุษย์ที่ปวดหัววุ่นวายกับเรื่องเหล่านี้ แต่แมวใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องนำพาต่อสิ่งเหล่านี้ นางก็เลยเลิกเป็นมนุษย์แล้วเป็นแมวซะดื้อ ๆ แต่ครั้นจะเป็นแมวพันธุ์ธรรมดา ๆ พื้น ๆ ก็ไม่เอา เลยขอเป็นพันธุ์หายากอย่างแมวมานูล และพอเป็นแมวแล้ว นางเลยสามารถมองเรื่องราววุ่น ๆ ของมนุษย์ได้อย่างเป็นกลาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแบบชิล ๆ แต่ตรงประเด็นได้ ถึงแม้นิยายเรื่องนี้จะขึ้นชื่อว่ามีหมอดูอยู่ แต่เนื้อเรื่องแทบไม่เกี่ยวกับการทำนายดวงชะตา (จริง ๆ) เลย กลับกัน มันแนะแนววิธีการใช้ชีวิตแบบไม่แคร์ดวง เหมือนที่แมวไม่แคร์วิถีชีวิตของมนุษย์ แต่พร้อมกันนั้น มันก็ให้คำแนะนำที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นหมอดูและอยากเป็นหมอดูครับ ---------- Final Verdict: 🃏The Sun + 🃏The World + 🃏The Star + 🃏Ten of Cups + 🃏Wheel of Fortune 'แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่คาเฟมาร์เนิล' จะช่วยให้คุณเข้าใจความจริงว่า ต่อให้โลกนี้จะหมุนไปและชีวิตนำพาอะไรมาให้คุณ แต่คุณก็สามารถเฉิดฉายในแบบของตัวเองและมีความสุขทุกวันได้ ขอแค่คุณปล่อยจอยกับชีวิต คิดเสียว่าลาออกจากการมนุษย์แล้วทำตัวเหมือนเป็นแมวเสีย เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้แค่เวลาจำกัด แล้วทำไม เราต้องปล่อยให้เรื่องชั่วประเดี๋ยวประด๋าว (เมื่อเทียบกับเวลาของจักรวาล) มาขัดจังหวะการเก็บเกี่ยวความสุขในแต่ละวันของเราด้วย จริงไหม? 🃏🃏🃏🃏🃏 แมวหมอดูผู้ทำนายมั่ว ๆ แห่งคาเฟมาร์เนิล (2025) • แปลจาก: 人間やめたマヌルさんが、あなたの人生占います (2023) • ผู้เขียน: ฮัตสึกิ โอโตะ • ผู้แปล: วิลาสินี จงสถิตวัฒนา • สำนักพิมพ์: Lumi (ในเครือนานมีบุ๊คส์) ไพ่ที่ใช้: ไพ่ทาโรต์แถมพิเศษเฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรกของนิยายเรื่องนี้
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 249 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ

    'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม

    ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ

    อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ

    สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี

    ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ

    ----------

    "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน"
    🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance

    ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226

    นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) )

    ----------

    "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ"
    🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles)

    โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง

    ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ"

    ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ

    ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ"

    นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช)

    ----------

    "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น"
    ใต้กอง: 🃏Judgement

    ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล

    การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว

    เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน

    ----------

    Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง)

    'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ

    🃏🃏🃏🃏🃏
    เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025)
    • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช
    • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์)
    ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    สำหรับผม ญี่ปุ่นและไทยคล้ายคลึงกันมากในปริมณฑลเรื่องเหนือธรรมชาติ ไทยเรามีภูตผีหลากหลายดีไซน์มากพอ ๆ กับโยไคของญี่ปุ่น ต่างกันแค่ผีญี่ปุ่นยังมีการรวมตัวเดินขบวนพาเหรดเป็น "ขบวนแห่ร้อยอสูร" (百鬼夜行 - เฮียกกิยาเกียว) จนเมื่อได้อ่านนิยายเล่มนี้เองที่ได้เจอเรื่องราวของขบวนแห่แบบที่ว่าในรูปผสมผสานสองเชื้อชาติ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' โดย กันตชาต ชวนะวิรัช เป็นนวนิยายที่ได้รับคัดเลือกจาก บ.อมรินทร์ให้ตีพิมพ์ในโปรเจกต์ "ไทยเล่าไทยหลอน" เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในที่ที่เป็นไปได้มากว่าจะอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึงขบวนแห่ร้อยผีที่มีผู้ร่วมขบวนทั้งผีไทยและผีญี่ปุ่น มีผู้นำขบวนคือ เทพอาคันตุกะ หรือนูราริเฮียง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งโยไคของญี่ปุ่น เล่ากันว่าหากคนทั่วไปที่ไม่ได้มีสัมผัสพิเศษมองเห็นขบวนแห่ร้อยผีเข้า ก็จะโดนทั้งขบวนตามล่าเพื่อนำวิญญาณไปร่วมขบวนด้วย ในเนื้อเรื่อง อัญรินทร์เห็นขบวนแห่นี้และโดนหมายหัว อัคร น้องชายวัย ม.ปลาย ซึ่งมองเห็นวิญญาณได้ จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อพาพี่สาวหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผี แม้กระทั่งต้องเข้าไปซ่อนในบ้านเด็กกำพร้าผีสิงก็ตาม ถึงจะขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องผี มีคำว่า "ผี" อยู่ในชื่อเรื่อง แต่โทนเรื่องโดยรวมไม่ได้เน้นความน่ากลัวสยองขวัญเท่าไร (สำหรับผมอะนะ) ออกจะเป็นแฟนตาซีที่แฝงกลิ่นอายลึกลับแบบ Spirited Away ของสตูดิโอจิบลิมากกว่า คงเพราะมีผีญี่ปุ่นอยู่ในเรื่องด้วย (แต่ก็น่าเสียดายนิดหน่อยที่เอาจริง ๆ ถ้าเทียบแอร์ไทม์แล้ว ผีในขบวนแห่ร้อยผีกลับมีบทบาทน้อยกว่าผีที่ไม่ได้อยู่ในขบวนแห่เสียอีก) ทั้งนี้ ตอนจบทั้งสวยงามและปวดตับอย่างยิ่ง ต่อให้คุณพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ผมเชื่อว่าบทสุดท้ายก็น่าจะกระชากอารมณ์คุณไม่มากก็น้อย ยกเว้นก็แต่คุณจะอารมณ์ตายด้านไปแล้วหรือไม่ก็เป็นไซโคพาธ อี๋ย์ ไปให้พ้น ชิ่ว ๆ อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่พื้นที่ที่ผมจะรีวิวหนังสือ แต่ผมจะให้ไพ่ทาโรต์หรือไพ่พยากรณ์ในคลังของผมกำหนดประเด็นที่จะรีวิว วิจารณ์ หรือหยิบยกมาพูด แล้วผมจะนำมาแปลและถ่ายทอดต่ออีกที โดยสุ่มจับไพ่ 4 ใบ และใช้ไพ่ใต้กองอีก 1 ใบ สำหรับนิยายเล่มนี้ ซึ่งมีภูตผีญี่ปุ่นมาเกี่ยวข้อง ผมก็คิดว่าน่าจะเหมาะสมถ้าใช้ไพ่ที่มีธีมเป็นผีญี่ปุ่นมาทำการ "เผาเรื่อง" นั่นคือไพ่ชุด 'Yokai Tarot' โดย สนพ.Lo Scarabeo จากอิตาลี ขอเชิญรับชม #ไพ่เราเผาหนังสือ 'เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง' ด้วย 'Yokai Tarot' ได้ ณ บัดนี้ครับ ---------- "หลอกลวงคนอ่านอย่าง(เกือบ)แนบเนียน" 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance ไพ่ Magician ของ Yokai Tarot เลือกหน้าไพ่เป็นปีศาจทานุกิ ซึ่งเป็นโยไคที่ขึ้นชื่อเรื่องการแปลงร่างไปหลอกลวงหรือแกล้งมนุษย์ ตรงกับความหมายในแง่ "การหลอกลวง" ของไพ่นักมายากล ส่วนไพ่ Temperance มีหน้าไพ่เป็น "นิงเกียว" หรือก็คือนางเงือกแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่าเนื้อของเงือกญี่ปุ่นจะทำให้อายุยืนยาวหรือถึงขั้นเป็นอมตะ แต่เฉพาะในบริบทของไพ่แห่งความพอดี เงือกคือตัวตนที่แสดงถึงความสอดประสานกันอย่างลงตัว กลมเกลียว และ "แนบเนียน" ระหว่างสิ่งตรงข้าม ไม่ว่าจะคนและปลา หรือบกและน้ำ 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นนิยายที่ไม่ได้ใส่ผีมาหลอกตัวละครในเรื่องอย่างเดียว แต่ตัวมันยังพยายามหลอกคนอ่านอย่างเราให้เข้าใจผิดเกือบตลอดเวลา ซึ่งก็มาพร้อมกับ Plot twists หรือการหักมุมหลายตลบ แต่ก็ไม่ได้เป็นการหักแบบคอพับ 180 องศาชนิดไม่มีปี่มีขลุ่ย ระหว่างทาง เนื้อเรื่องจะแอบหยอดรายละเอียดที่ค่อย ๆ นำไปสู่การเฉลยปมหักมุมแต่ละเรื่อง ดังนั้นสำหรับผู้อ่านที่ช่างสังเกตและช่างคิด รวมถึงมีชั่วโมงบินเยอะ ก็อาจคาดเดาจุดหักมุมแต่ละจุดได้ไม่ยาก รวมถึง Plot twist ใหญ่ในหน้า 226 นอกจากนี้ ผมชอบเป็นพิเศษที่ไพ่ Temperance ขึ้นมาในหัวข้อนี้พอดี ความหมายหลักอย่างหนึ่งของไพ่ใบนี้คือ "ความกลมเกลียว" และ "การสอดประสานกันอย่างลงตัว" ซึ่งเป็นคำที่ใช้อธิบายได้ดีอย่างยิ่งกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์กับสังคมผีในนิยายเรื่องนี้ เนื้อเรื่องบรรยายว่าชุมชนในเรื่องเป็นที่ที่ผีและคนอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด จนบางครั้งพรมแดนระหว่าง 2 ภพก็พร่าเลือนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรืออาจจะทั้ง 2 ฝ่ายไม่รู้ตัว ซึ่งนี่ก็เป็นกลวิธีอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนใช้หลอกลวงคนอ่านด้วย (แน่นอนว่าตรงนี้ไม่ได้สปอยล์สาระสำคัญของเรื่องแต่อย่างใด ;) ) ---------- "บูรณาการตำนาน(ผี)จากสองชาติ" 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) โยไคบนหน้าไพ่ราชินีเหรียญของชุด Yokai Tarot คือ "ยามะฮิเมะ" (เจ้าหญิงแห่งขุนเขา) ซึ่งมีบทบาทคล้าย ๆ วิญญาณเจ้าป่าเจ้าเขาในไทยเรา เป็นผู้ปกปักรักษาสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่ภูเขาของตน ทั้งป่าดงพงไพร พืช สัตว์ รวมถึงมนุษย์ที่อาศัยในบริเวณนั้นและเคารพบูชานาง บทบาทตามตำนานความเชื่อของโยไคตนนี้ตรงกับความหมายของไพ่ราชินีเหรียญในแง่การเป็นผูปกปักรักษา บำรุงเลี้ยงดู ขณะเดียวกันก็เชื่อมโยงกับความหมายด้านธรรมชาติของไพ่ใบนี้ด้วย ส่วนในบริบทของนิยายเรื่องนี้ ผมตีความว่าไพ่ใบนี้สื่อถึงสิ่งที่เป็นเสมือนธรรมชาติเก่าแก่ในชุมชนท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งก็คือวัฒนธรรม ตำนาน คติชน และเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาแต่โบราณในท้องที่นั้น ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในท้องถิ่นหวนแหนและดูแลสืบต่อไปยังชนรุ่นหลัง ส่วนไพ่ 3 เหรียญเป็นภาพของ "อิปปงดาตาระ" โยไคตาเดียวขาเดียวที่ว่ากันว่าเคยเป็นช่างฝีมือมาก่อน แต่แกทุ่มเทให้กับงานที่ทำมากเกินไปจนสูญเสียดวงตากับขาไปอย่างละข้าง ไพ่ชุดนี้นำโยไคตนนี้มาเชื่อมโยงกับไพ่ 3 เหรียญในแง่ที่ตัวมันเป็นภูตที่มีที่มาจากช่างฝีมือ ซึ่งเป็นความหมายหนึ่งของไพ่ใบนี้ ส่วนอีกความหมายที่รู้จักกันมากกว่าคือ "การร่วมมือ" (รวมถึงงานประเภทคอลแลบฯ ระหว่างศิลปิน) และ "การบูรณาการ" ไพ่สองใบนี้รวมกัน จึงสื่อถึง การบูรณาการของตำนานความเชื่อเก่าแก่ ซึ่งในบริบทของ 'เฮียกกิยาเกียว' มันก็คือการบูรณาการความเชื่อเกี่ยวกับภูตผีของไทยและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นขบวนแห่ร้อยผีประจำนิยายเรื่องนี้ ซึ่งเป็นจุดเด่นของเรื่องที่ต้องชื่นชมความช่างคิดของผู้เขียนจริง ๆ ในขบวนแห่ร้อยผี นอกจากจะมีโยไคญี่ปุ่นอย่างนูราริเฮียงแล้ว ยังมีผีไทยที่คนภาคกลางอาจไม่คุ้นเคยเท่าไร เช่น ผีม้าบ้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นครึ่งคนครึ่งม้าคล้ายเซนทอร์ของกรีก (ในนิยายเล่มนี้เรียกผีม้าบ้องว่า "เซนทอร์แห่งล้านนา" ด้วยซ้ำ) หรือแมวจะกละ แมวดำที่ทำให้มนุษย์ที่ได้สัมผัสร่างต้องพบความตายอย่างน่าสยดสยอง นอกจากนั้นยังมีผีบางตนที่มีอยู่ในทั้งเรื่องผีของไทยและญี่ปุ่นอย่างผีกระสือ ซึ่งเวอร์ชันของญี่ปุ่นเรียกว่า "นูเกะคูบิ" นอกจากนั้น นิยายเรื่องนี้ยังบูรณาการเรื่องจริงที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไทยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องด้วย โดยเชื่อมโยงกับชีวิตของยามาดะ นางามาสะ หรือ ออกญาเสนาภิมุข (ซึ่งตรงนี้ทำให้ผมค่อนข้างเชื่อว่า ฉากท้องเรื่องของเรื่องนี้อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช) ---------- "บางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น" ใต้กอง: 🃏Judgement ไพ่ใต้กองของการเปิดไพ่ "เผาเรื่อง" ครั้งนี้คือไพ่ Judgement ซึ่งเป็นภาพของโยไคชื่อ "คิโยะฮิเมะ" นางเป็นปีศาจงูที่ไปตกหลุมรักพระรูปหนึ่งอย่างจัง แต่พระหนุ่มไม่เล่นด้วย ทิ้งนางอย่างไม่ไยดี นางจึงตามล่าพระหนุ่มไปทั่วญี่ปุ่น จนในที่สุด พระหนุ่มไปหลบซ่อนในระฆังวัด แต่นางก็หาเจอ และคลายขนดหางออกมารัดระฆัง ก่อนจะพ่นไฟออกมาย่างสดพระหนุ่ม โหดฉิบ แต่ใด ๆ คือ ไพ่ชุดนี้เลือกวีรกรรมการตามล่าเหยื่ออย่างไม่ลดไม่ละของนางมาเชื่อมโยงกับความหมายของไพ่ Judgement ในด้านการมาถึงของบางสิ่งที่เราไม่อาจหนีพ้น ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม อาจเป็นความจริงหรือสัจธรรมของจักรวาล การถูกตามล่าโดยบางสิ่งที่ไม่อาจหนีพ้น คือแก่นเรื่องของ 'เฮียกกิยาเกียว' ใครก็ตามที่มองเห็นขบวนแห่ร้อยผี (ยกเว้นผู้มีตาทิพย์หรือสัมผัสพิเศษ) จะต้องถูกตามล่าไปตลอดกาล จนกว่าภูตผีในขบวนจะจับตัวและพาไปร่วมขบวนได้ อาจมีบางช่วงเวลาหรือเงื่อนไขที่ช่วยให้ยืดเวลาหรือหลบหนีจากขบวนแห่ร้อยผีได้ แต่ก็ทำได้แค่ชั่วคราว เมื่ออ่านนิยายเล่มนี้ไปเรื่อย ๆ คนอ่านจะพบว่า ไม่ได้มีแค่อัครและอัญรินทร์ สองตัวละครเอกที่พยายามหนีจากขบวนแห่ร้อยผี มีคนอื่นที่เคยพบเจอและพยายามหนีจากพวกมันด้วย รวมทั้งมีตัวละครอื่นที่พยายามหลบหนีจากอะไรอย่างอื่น แต่ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่มีทางหลบหนีพ้น ดังนั้นจึงมีทางเลือกแค่หาทางหนีประวิงเวลาไปเรื่อย ๆ หรือยอมจำนน ---------- Final Verdict: 🃏I-The Magician + 🃏XIV-Temperance + 🃏Queen of Coins (Queen of Pentacles) + 🃏3 of Coins (3 of Pentacles) + 🃏Judgement (ใต้กอง) 'เฮียกกิยาเกียว' เป็นเรื่องที่นำตำนานความเชื่อและเรื่องเหล่าอันแตกต่างหลากหลายมาผสมผสานและบูรณาการเข้าด้วยกันอย่าชาญฉลาดและลงตัว พร้อมกับทำให้ปิดเล่มไปด้วยความจรรโลงใจและการตระหนักซึ่งในสัจธรรมบางประการ 🃏🃏🃏🃏🃏 เฮียกกิยาเกียว ขบวนแห่ร้อยผีแห่งเดือนเพ็ญพิศวง (2025) • ผู้เขียน: กันตชาต ชวนะวิรัช • สำนักพิมพ์: Prism (ในเครืออมรินทร์) ไพ่ที่ใช้: Yokai Tarot (2024) ผลิตและจัดจำหน่ายโดย Lo Scarabeo Tarot
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผมเพิ่งมาฉุกคิดเอาเมื่อไม่กี่วันมานี้เองว่า ไพ่ Tower นำเสนอโลกทัศน์แบบเฟมินิสม์ (Feminism) ชัดเอามาก ๆ หรือจะให้เจาะจงกว่านั้นคือ ไพ่ใบนี้แสดงถึงการต่อต้านปิตาธิปไตย (Patriarchy) แบบเห็นตำตากระแทกหน้าเลยทีเดียว

    ก่อนจะตอบคำถามว่าทำไม ผมขอถือวิสาสะติ๊ต่างว่าพวกคุณที่กำลังอ่านเนื้อหาในโพสต์นี้อยู่ไม่เคยรู้จักคำว่า Phallus หรือ Phallic symbol มาก่อน เพื่อที่ผมจะได้ติ๊ต่างว่าตัวเองเป็นผู้ทรงภูมิและเล่าเรื่องต่อจากนี้ได้อย่างมีแพชชันมากขึ้นนะครับ

    ในสัญลักษณ์วิทยา ซึ่งต่อมาก็ขยายไปถึงทฤษฏีการวิจารณ์งานศิลปะ วรรณกรรม และสื่อประเภทต่าง ๆ มีสัญลักษณ์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "Phallic symbol" หรือ "ลึงคสัญลักษณ์" คือเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับ "Phallus" หรือ "ลึงค์" หรือก็คือ_วยซึ่งเป็นเครื่องเพศแบบ Built it แต่กำเนิดของมนุษย์เพศชายทุกคนนั่นแหละครับ

    Phallic symbol คือสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปวัตถุสิ่งของใด ๆ ก็ตามที่มีลักษณะหรือสัณฐานคล้าย Phallus กล่าวคือ ยาว เป็นแท่ง เป็นดุ้น เป็นลำ มีตั้งแต่สิ่งของไม่มีชีวิต เช่น ดาบ กระบอง จรวด เข็ม ดินสอ ปืน ฯลฯ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะ เช่น งู มังกร แขน ขา นิ้ว เขี้ยว หนวดหมึก เป็นต้น แน่นอนว่า หอคอย ก็จัดเป็นสัญลักษณ์ประเภทนี้ด้วย

    ทีนี้ วัตถุสิ่งของใดก็ตามที่เข้าข่าย Phallic symbol มันไม่ได้แค่เป็นตัวแทนของ_วยหรือลึงค์ของผู้ชาย แต่ในทางสัญลักษณ์วิทยาและทฤษฎีการวิจารณ์ (โดยเฉพาะในสายจิตวิเคราะห์และสายเฟมินิสม์) สัญลักษณ์พวกนี้พ่วงมาด้วยคุณลักษณะอะไรก็ตามที่สังคมแบบปิตาธิปไตยหรือชายเป็นใหญ่ล้วนแต่จับยึดโยงกับเพศชาย ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแกร่ง ความเป็นผู้นำ ความเป็นฝ่ายกระทำหรือฝ่ายรุก อำนาจ ฯลฯ ตย. ที่เห็นชัดมาก ๆ คือในสมัยก่อน คนที่จับอาวุธอย่างดาบ กระบี่กระบอง หรือท่อนไม้ เพื่อใช้ต่อสู้ศัตรูหรือปกป้องครอบครัว ก็มักเป็นผู้ชาย ส่วนในสมัยปัจจุบันก็มีสัญลักษณ์ใหม่ ๆ อย่างรถยนต์ ผู้ชายที่ขับรถก็เป็นการแสดงถึงความมีอำนาจ(ทางการเงิน) ทำให้มีโอกาสตกผู้หญิงได้มากกว่าคนไม่มีรถขับ อะไรทำนองนี้

    เมื่อพูดถึง Phallus แล้วก็ต้องขอแนะนำอีกคำหนึ่ง นั่นคือ "Phallocentrism" คือแนวคิดว่าด้วยการเอา "ลึงค์" เป็นศูนย์กลาง ไม่ได้หมายถึงวัน ๆ คิดแต่เรื่องหื่น ๆ แต่หมายถึงการสร้างวัฒนธรรมและวางระบบของสังคมโดยเน้นที่เพศชายเป็นหลัก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปิตาธิปไตยนั่นเอง

    สังคมมนุษย์หลายแห่งทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นสังคมแบบเอาลึงค์เป็นใหญ่ ซึ่งมักสะท้อนให้เห็นผ่านตำนานความเชื่อของคนในสังคมนั้น ๆ ลองสังเกตเทพปกรณัมของหลายชนชาติที่ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นชายมีอำนาจสูงสุด มันมักจะมีสัญลักษณ์ที่เป็น Phallic symbol สักอย่างทำหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์กลางทางจักรวาลวิทยาของความเชื่อนั้น ๆ เช่น เขาโอลิมปัสและเขาพระสุเมรุที่เป็นแกนกลางของจักรวาลตามตำนานกรีกและฮินดูตามลำดับ ต้นอิกดราซิลของนอร์ส หรือในกรณีของศาสนาที่ยังคง active ในปัจจุบัน ก็มีต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับข้างใต้ขณะตรัสรู้ และไม้กางเขนที่ตรึงพระเยซู เป็นต้น (อย่าปฏิเสธผมนะว่า 2 ศาสนานี้ไม่ได้เอาชายเป็นใหญ่)

    กลับมาที่ไพ่ Tower ไพ่ทาโรต์ชุดหลักหมายเลข 16 ตัวหอคอยที่กำลังโดนฟ้าผ่าจนพังทลาย มันก็คือ Phallic symbol อย่างหนึ่ง เป็นเสมือนลึงค์ลำเบ้อเร่อที่ชูตระหง่านขึ้นฟ้า ลองนึกภาพว่าคุณเป็นชาวบ้านธรรมดา ๆ ในหมู่บ้านห่างไกล หอคอยหลังนี้น่าจะสูงตระหง่านจนมองเห็นได้จากหมู่บ้านของคุณ และผู้ที่สั่งการให้สร้างหอคอยสูงตระหง่านขนาดนี้ได้ก็ต้องมีอำนาจไม่ธรรมดา และแน่นอนว่าสำหรับยุคสมัยนั้น ผู้มีอำนาจนี้ก็น่าเป็นผู้ปกครองที่เป็นชาย เป็นราชา เป็นจักรพรรดิ หอคอยสูงตระหง่านหลังนี้จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนอำนาจของผู้ปกครอง(ชาย)ที่สูงเสียดฟ้า และดังนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจปิตาธิปไตยที่อยู่เหนือดินแดนแห่งนั้นด้วย

    และเมื่อหอคอยที่ว่าถูกทำลายจนถล่ม มองในเชิงสัญลักษณ์ มันก็คือการพังทลายของอำนาจชายเป็นใหญ่นั่นเอง และพอความเป็นปิตาธิปไตยพังทลายแล้ว นั่นก็หมายถึงการเปิดพื้นที่ให้เพศที่เป็นรองอย่างเพศหญิงได้ลุกขึ้นมาลืมตาอ้าปาก มีบทบาทมากขึ้น รวมไปถึงการเปิดพื้นที่ให้เพศวิถีและรูปแบบความสัมพันธ์ที่อยู่นอกเหนือไปจากบรรทัดฐานเพศตรงข้าม (Heteronormativity) ที่ปัจจุบันเราเรียกรวม ๆ ว่า LGBTQIA+ ทั้งหมดนี่แหละครับคือ เฟมินิสม์

    โอเคครับ บางคนอาจจะบอกว่า เรื่องราวตามหน้าไพ่ Tower มันอ้างอิงถึงตำนานของหอบาเบลไม่ใช่หรือ มนุษย์ผู้อหังการมุ่งหมายจะยึดอำนาจพระเจ้า พระเจ้าเลยตบเกรียนสั่งสอนด้วยการทำลายหอคอยและทำให้มนุษย์พูดภาษาต่างกัน อ่าฮะ ถ้างั้น ลองมาอ่านตำนานนี้จากแว่นของทฤษฎีจิตวิเคราะห์กันไหมครับ ;) การสร้างหอคอยบาเบลก็ไม่ต่างจากการที่มนุษย์จะพยายามฉุดคร่าข่มขืuแดนสวรรค์ มนุษย์พยายามสร้าง "ลึงค์" อันมหึมาให้แข็งชูชันขึ้นไปทะลุเยื่อเมฆเพื่อเปิดซิงสวรรค์ แต่สวรรค์ไม่ใช่แดน "บริสุทธิ์" มีพระเจ้าเป็นเจ้าของอยู่แล้ว และพระเจ้าก็ใช้ Phallic symbol ที่มาพร้อมอำนาจทำลายล้างทรงพลังกว่า อย่างสายฟ้า ทำลายลึงค์ของมนุษย์จนพังไม่เป็นท่า หอบาเบลที่ถล่มไปก็เหมือนลึงค์ขาด เปรียบเหมือนมนุษย์ถูกลงโทษด้วยการโดน "ตอน" ส่วนการพูดภาษาแตกต่างกัน ก็คือการสูญเสียอำนาจในรูปแบบหนึ่ง พอคนคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็รวมตัวกันก่อการใหญ่ไม่ได้อีก

    อย่างไรก็ดี ตำนานหอคอยบาเบลก็มีกำเนิดจากศาสนายิว ซึ่งคงไม่ต้องย้ำนะครับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวพ่อในการเผยแพร่วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ คุณดูสิว่าเขาเรียกพระเจ้าว่าอะไร พระบิดา ใช่ไหม และก่อนที่จะมีไพ่ RWS เกิดขึ้นมา ไพ่ทาโรต์ระบบหลักในยุโรปตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 14 - 19 คือระบบมาร์แซย์ (Tarot de Marseille) ระบบนี้เรียกไพ่หอคอยถล่มหมายเลข XVI ว่า "La Maison Dieu" ลา เมซง ดิเยอ แปลตรงตัวว่า บ้านของพระเจ้า พระเจ้าคือตัวแทนสูงสุดแห่งปิตาธิปไตย เมื่อหอคอยที่เป็นเหมือนบ้านของพระเจ้าถูกทำลายลง มันก็เปรียบได้กับการพังทลายของปิตาธิปไตย... ย้อนกลับไปสู่เมื่อ 2 ย่อหน้าที่แล้ว

    ทีนี้ บางคนอาจสงสัย (มีไหมนะ? มีจริงไหมไม่รู้ เอาเป็นว่าผมจะมโนละกันว่ามี) ว่าถ้าดูตามภาพหน้าไพ่ ก็เห็นว่าคนที่ร่วงลงมามีทั้งชายและหญิง แล้วแบบนี้จะเป็นการพังทลายของแนวคิดชายเป็นใหญ่แต่ฝ่ายเดียวได้ยังไง ผมจะตอบอย่างนี้ละกันครับว่า ปิตาธิปไตยหรือชายเป็นใหญ่เป็นแนวคิดที่ผูกติดกับทั้งสังคมและวัฒนธรรม และผู้คนที่ยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมทางสังคมและวัฒนธรรมสืบต่อกันมาก็มีทั้งชายและหญิง ทำต่อ ๆ กันมาจนทุกคน(หลง)เชื่อกันว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องปกติวิสัยที่จะให้ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า เป็นนักรบ ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นแม่ศรีเรือน ใครที่ชอบหรือหลงใหลกิจกรรมที่สังคมมองว่าเหมาะสำหรับอีกเพศ (เช่น ผู้ชายอยากเรียนแต่งหน้า ผู้หญิงอยากเรียนวิทยาศาสตร์) จะถูกมองว่าแปลก ทั้งหมดนี้คือชุดความคิดที่เป็นมายาคติครอบงำโลกทัศน์ของผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมนั้น ๆ เป็นเหมือนโลกทั้งใบของเขา ฉะนั้น คุณลองคิดดูว่า ถ้าจู่ ๆ มีคนบอกว่าคุณไม่ต้องทำตามกรอบขนบประเพณีพวกนั้นแล้ว โลกของพวกเขาก็คงเหมือนจะพังทลาย ไม่ต่างกับหอคอยในไพ่ Tower

    ดังนั้น ครั้งต่อไปที่เห็นไพ่ Tower ปรากฏขึ้นมา ถ้าพิจารณาจากบริบทคำถามแล้ว เห็นว่ามันไม่น่าจะเป็นคำเตือนถึงอุบัติเหตุหรืออะไรบางอย่างที่จะเกิดอย่างกะทันหัน ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูนะครับว่า หรือไพ่กำลังกระซิบบอกให้คุณทลายกรอบความคิดหรือมายาคติเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพและเพศวิถี แล้วลองมองเรื่องตรงหน้าโดยสวมแว่นของเฟมินิสต์ดูบ้าง
    ผมเพิ่งมาฉุกคิดเอาเมื่อไม่กี่วันมานี้เองว่า ไพ่ Tower นำเสนอโลกทัศน์แบบเฟมินิสม์ (Feminism) ชัดเอามาก ๆ หรือจะให้เจาะจงกว่านั้นคือ ไพ่ใบนี้แสดงถึงการต่อต้านปิตาธิปไตย (Patriarchy) แบบเห็นตำตากระแทกหน้าเลยทีเดียว ก่อนจะตอบคำถามว่าทำไม ผมขอถือวิสาสะติ๊ต่างว่าพวกคุณที่กำลังอ่านเนื้อหาในโพสต์นี้อยู่ไม่เคยรู้จักคำว่า Phallus หรือ Phallic symbol มาก่อน เพื่อที่ผมจะได้ติ๊ต่างว่าตัวเองเป็นผู้ทรงภูมิและเล่าเรื่องต่อจากนี้ได้อย่างมีแพชชันมากขึ้นนะครับ ในสัญลักษณ์วิทยา ซึ่งต่อมาก็ขยายไปถึงทฤษฏีการวิจารณ์งานศิลปะ วรรณกรรม และสื่อประเภทต่าง ๆ มีสัญลักษณ์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "Phallic symbol" หรือ "ลึงคสัญลักษณ์" คือเป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงกับ "Phallus" หรือ "ลึงค์" หรือก็คือ_วยซึ่งเป็นเครื่องเพศแบบ Built it แต่กำเนิดของมนุษย์เพศชายทุกคนนั่นแหละครับ Phallic symbol คือสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปวัตถุสิ่งของใด ๆ ก็ตามที่มีลักษณะหรือสัณฐานคล้าย Phallus กล่าวคือ ยาว เป็นแท่ง เป็นดุ้น เป็นลำ มีตั้งแต่สิ่งของไม่มีชีวิต เช่น ดาบ กระบอง จรวด เข็ม ดินสอ ปืน ฯลฯ ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะ เช่น งู มังกร แขน ขา นิ้ว เขี้ยว หนวดหมึก เป็นต้น แน่นอนว่า หอคอย ก็จัดเป็นสัญลักษณ์ประเภทนี้ด้วย ทีนี้ วัตถุสิ่งของใดก็ตามที่เข้าข่าย Phallic symbol มันไม่ได้แค่เป็นตัวแทนของ_วยหรือลึงค์ของผู้ชาย แต่ในทางสัญลักษณ์วิทยาและทฤษฎีการวิจารณ์ (โดยเฉพาะในสายจิตวิเคราะห์และสายเฟมินิสม์) สัญลักษณ์พวกนี้พ่วงมาด้วยคุณลักษณะอะไรก็ตามที่สังคมแบบปิตาธิปไตยหรือชายเป็นใหญ่ล้วนแต่จับยึดโยงกับเพศชาย ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแกร่ง ความเป็นผู้นำ ความเป็นฝ่ายกระทำหรือฝ่ายรุก อำนาจ ฯลฯ ตย. ที่เห็นชัดมาก ๆ คือในสมัยก่อน คนที่จับอาวุธอย่างดาบ กระบี่กระบอง หรือท่อนไม้ เพื่อใช้ต่อสู้ศัตรูหรือปกป้องครอบครัว ก็มักเป็นผู้ชาย ส่วนในสมัยปัจจุบันก็มีสัญลักษณ์ใหม่ ๆ อย่างรถยนต์ ผู้ชายที่ขับรถก็เป็นการแสดงถึงความมีอำนาจ(ทางการเงิน) ทำให้มีโอกาสตกผู้หญิงได้มากกว่าคนไม่มีรถขับ อะไรทำนองนี้ เมื่อพูดถึง Phallus แล้วก็ต้องขอแนะนำอีกคำหนึ่ง นั่นคือ "Phallocentrism" คือแนวคิดว่าด้วยการเอา "ลึงค์" เป็นศูนย์กลาง ไม่ได้หมายถึงวัน ๆ คิดแต่เรื่องหื่น ๆ แต่หมายถึงการสร้างวัฒนธรรมและวางระบบของสังคมโดยเน้นที่เพศชายเป็นหลัก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปิตาธิปไตยนั่นเอง สังคมมนุษย์หลายแห่งทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นสังคมแบบเอาลึงค์เป็นใหญ่ ซึ่งมักสะท้อนให้เห็นผ่านตำนานความเชื่อของคนในสังคมนั้น ๆ ลองสังเกตเทพปกรณัมของหลายชนชาติที่ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นชายมีอำนาจสูงสุด มันมักจะมีสัญลักษณ์ที่เป็น Phallic symbol สักอย่างทำหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์กลางทางจักรวาลวิทยาของความเชื่อนั้น ๆ เช่น เขาโอลิมปัสและเขาพระสุเมรุที่เป็นแกนกลางของจักรวาลตามตำนานกรีกและฮินดูตามลำดับ ต้นอิกดราซิลของนอร์ส หรือในกรณีของศาสนาที่ยังคง active ในปัจจุบัน ก็มีต้นศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าประทับข้างใต้ขณะตรัสรู้ และไม้กางเขนที่ตรึงพระเยซู เป็นต้น (อย่าปฏิเสธผมนะว่า 2 ศาสนานี้ไม่ได้เอาชายเป็นใหญ่) กลับมาที่ไพ่ Tower ไพ่ทาโรต์ชุดหลักหมายเลข 16 ตัวหอคอยที่กำลังโดนฟ้าผ่าจนพังทลาย มันก็คือ Phallic symbol อย่างหนึ่ง เป็นเสมือนลึงค์ลำเบ้อเร่อที่ชูตระหง่านขึ้นฟ้า ลองนึกภาพว่าคุณเป็นชาวบ้านธรรมดา ๆ ในหมู่บ้านห่างไกล หอคอยหลังนี้น่าจะสูงตระหง่านจนมองเห็นได้จากหมู่บ้านของคุณ และผู้ที่สั่งการให้สร้างหอคอยสูงตระหง่านขนาดนี้ได้ก็ต้องมีอำนาจไม่ธรรมดา และแน่นอนว่าสำหรับยุคสมัยนั้น ผู้มีอำนาจนี้ก็น่าเป็นผู้ปกครองที่เป็นชาย เป็นราชา เป็นจักรพรรดิ หอคอยสูงตระหง่านหลังนี้จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนอำนาจของผู้ปกครอง(ชาย)ที่สูงเสียดฟ้า และดังนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจปิตาธิปไตยที่อยู่เหนือดินแดนแห่งนั้นด้วย และเมื่อหอคอยที่ว่าถูกทำลายจนถล่ม มองในเชิงสัญลักษณ์ มันก็คือการพังทลายของอำนาจชายเป็นใหญ่นั่นเอง และพอความเป็นปิตาธิปไตยพังทลายแล้ว นั่นก็หมายถึงการเปิดพื้นที่ให้เพศที่เป็นรองอย่างเพศหญิงได้ลุกขึ้นมาลืมตาอ้าปาก มีบทบาทมากขึ้น รวมไปถึงการเปิดพื้นที่ให้เพศวิถีและรูปแบบความสัมพันธ์ที่อยู่นอกเหนือไปจากบรรทัดฐานเพศตรงข้าม (Heteronormativity) ที่ปัจจุบันเราเรียกรวม ๆ ว่า LGBTQIA+ ทั้งหมดนี่แหละครับคือ เฟมินิสม์ โอเคครับ บางคนอาจจะบอกว่า เรื่องราวตามหน้าไพ่ Tower มันอ้างอิงถึงตำนานของหอบาเบลไม่ใช่หรือ มนุษย์ผู้อหังการมุ่งหมายจะยึดอำนาจพระเจ้า พระเจ้าเลยตบเกรียนสั่งสอนด้วยการทำลายหอคอยและทำให้มนุษย์พูดภาษาต่างกัน อ่าฮะ ถ้างั้น ลองมาอ่านตำนานนี้จากแว่นของทฤษฎีจิตวิเคราะห์กันไหมครับ ;) การสร้างหอคอยบาเบลก็ไม่ต่างจากการที่มนุษย์จะพยายามฉุดคร่าข่มขืuแดนสวรรค์ มนุษย์พยายามสร้าง "ลึงค์" อันมหึมาให้แข็งชูชันขึ้นไปทะลุเยื่อเมฆเพื่อเปิดซิงสวรรค์ แต่สวรรค์ไม่ใช่แดน "บริสุทธิ์" มีพระเจ้าเป็นเจ้าของอยู่แล้ว และพระเจ้าก็ใช้ Phallic symbol ที่มาพร้อมอำนาจทำลายล้างทรงพลังกว่า อย่างสายฟ้า ทำลายลึงค์ของมนุษย์จนพังไม่เป็นท่า หอบาเบลที่ถล่มไปก็เหมือนลึงค์ขาด เปรียบเหมือนมนุษย์ถูกลงโทษด้วยการโดน "ตอน" ส่วนการพูดภาษาแตกต่างกัน ก็คือการสูญเสียอำนาจในรูปแบบหนึ่ง พอคนคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ก็รวมตัวกันก่อการใหญ่ไม่ได้อีก อย่างไรก็ดี ตำนานหอคอยบาเบลก็มีกำเนิดจากศาสนายิว ซึ่งคงไม่ต้องย้ำนะครับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวพ่อในการเผยแพร่วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ คุณดูสิว่าเขาเรียกพระเจ้าว่าอะไร พระบิดา ใช่ไหม และก่อนที่จะมีไพ่ RWS เกิดขึ้นมา ไพ่ทาโรต์ระบบหลักในยุโรปตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 14 - 19 คือระบบมาร์แซย์ (Tarot de Marseille) ระบบนี้เรียกไพ่หอคอยถล่มหมายเลข XVI ว่า "La Maison Dieu" ลา เมซง ดิเยอ แปลตรงตัวว่า บ้านของพระเจ้า พระเจ้าคือตัวแทนสูงสุดแห่งปิตาธิปไตย เมื่อหอคอยที่เป็นเหมือนบ้านของพระเจ้าถูกทำลายลง มันก็เปรียบได้กับการพังทลายของปิตาธิปไตย... ย้อนกลับไปสู่เมื่อ 2 ย่อหน้าที่แล้ว ทีนี้ บางคนอาจสงสัย (มีไหมนะ? มีจริงไหมไม่รู้ เอาเป็นว่าผมจะมโนละกันว่ามี) ว่าถ้าดูตามภาพหน้าไพ่ ก็เห็นว่าคนที่ร่วงลงมามีทั้งชายและหญิง แล้วแบบนี้จะเป็นการพังทลายของแนวคิดชายเป็นใหญ่แต่ฝ่ายเดียวได้ยังไง ผมจะตอบอย่างนี้ละกันครับว่า ปิตาธิปไตยหรือชายเป็นใหญ่เป็นแนวคิดที่ผูกติดกับทั้งสังคมและวัฒนธรรม และผู้คนที่ยึดถือปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมทางสังคมและวัฒนธรรมสืบต่อกันมาก็มีทั้งชายและหญิง ทำต่อ ๆ กันมาจนทุกคน(หลง)เชื่อกันว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องปกติวิสัยที่จะให้ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า เป็นนักรบ ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง เป็นแม่ศรีเรือน ใครที่ชอบหรือหลงใหลกิจกรรมที่สังคมมองว่าเหมาะสำหรับอีกเพศ (เช่น ผู้ชายอยากเรียนแต่งหน้า ผู้หญิงอยากเรียนวิทยาศาสตร์) จะถูกมองว่าแปลก ทั้งหมดนี้คือชุดความคิดที่เป็นมายาคติครอบงำโลกทัศน์ของผู้คนในสังคมและวัฒนธรรมนั้น ๆ เป็นเหมือนโลกทั้งใบของเขา ฉะนั้น คุณลองคิดดูว่า ถ้าจู่ ๆ มีคนบอกว่าคุณไม่ต้องทำตามกรอบขนบประเพณีพวกนั้นแล้ว โลกของพวกเขาก็คงเหมือนจะพังทลาย ไม่ต่างกับหอคอยในไพ่ Tower ดังนั้น ครั้งต่อไปที่เห็นไพ่ Tower ปรากฏขึ้นมา ถ้าพิจารณาจากบริบทคำถามแล้ว เห็นว่ามันไม่น่าจะเป็นคำเตือนถึงอุบัติเหตุหรืออะไรบางอย่างที่จะเกิดอย่างกะทันหัน ลองตั้งคำถามกับตัวเองดูนะครับว่า หรือไพ่กำลังกระซิบบอกให้คุณทลายกรอบความคิดหรือมายาคติเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพและเพศวิถี แล้วลองมองเรื่องตรงหน้าโดยสวมแว่นของเฟมินิสต์ดูบ้าง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 542 มุมมอง 0 รีวิว
  • พุทธศาสนากับไพ่ทาโรต์ดูจะเป็นอะไรที่ไม่น่าไปด้วยกันได้ ถ้าเป็นคริสต์ศาสนาก็ยังพอมีจุดที่นำไปเชื่อมโยงกับไพ่ได้อยู่ แต่ไพ่ชุดที่จะกล่าวถึงในคราวนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า ไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์เกินไปสำหรับไพ่ทาโรต์

    'Siddhartha Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ในสังกัด Lo Scarabeo ตีพิมพ์เมื่อปี 2022 ผลิตและวางจำหน่ายแบบไพ่แมสตามร้านหนังสือชั้นนำ พอเป็นไพ่แมสของ สนพ. นี้จะมีสเปกเหมือน ๆ กันหมด คือพิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตหนาประมาณ 280 gsm (ซึ่งถือว่าค่อนข้างบางแล้วเมื่อเทียบกับไพ่ของผู้ผลิตไทยหลายรายเดี๋ยวนี้) เคลือบมันทั้งหน้าและหลัง บรรจุในกล่องกระดาษแบบฝาเปิดด้านบน (Tuck box) และมีคู่มือกระดาษเล่มเล็กแบบเย็บมุงหลังคาแถมมาให้ด้วย คราวนี้ขอเอาสเปกขึ้นก่อน เพราะไพ่ชุดนี้มีอะไรมัน ๆ ให้พิมพ์ถึงอีกมาก

    ดูจากชื่อไพ่กับหน้ากล่องแล้วก็น่าจะเข้าใจไม่ยากว่าเป็นไพ่ธีมพุทธ "Siddhartha" คือ สิทธารถะ ซึ่งเป็นการออกเสียงแบบสันสกฤตของชื่อ "สิทธัตถะ" หรือพระนามเดิมของพระพุทธเจ้าที่ไทยเรารู้จัก แต่ไพ่ชุดนี้เป็นธีมพุทธแบบนิกายมหายาน (โดยเน้นไปที่ฝั่งทิเบต) ซึ่งมีความเชื่อและหลักธรรมคำสอนแตกต่างไปจากนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบของไทยเรา ต้องบอกไว้แบบนี้ก่อน เพราะเดี๋ยวจะมีใครเห็นรูปพระปาง "ยับยุม" บนหน้าไพ่ Lovers แล้วจะอกแตกหรือไม่ก็เส้นเลือดในสมองแตกเอา โปรดจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ในการนับถือและตีความโดยชาวไทยพุทธเท่านั้น เข้าใจนะครับ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ คุณก็จะยอมรับและสนุกกับไพ่ชุดนี้ได้

    สำรับไพ่ชุดนี้มี 78 ใบตามโครงสร้างของทาโรต์มาตรฐาน ภาพหน้าไพ่วาดในสไตล์กึ่งอาร์ตนูโวกึ่งการ์ตูนสมจริงแบบคอมิกฝรั่ง บนหน้าไพ่แต่ละใบเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามคติมหายาน ตลอดจนบุคคลสำคัญ (เช่น ดาไลลามะ ในไพ่ 10 เหรียญ) และสถานที่สำคัญทางศาสนา (เช่น สถูป ในไพ่ 10 ไม้เท้า) ส่วนไพ่ Ace แต่ละตระกูลจะเป็นท่ามุทรา 4 ท่า ซึ่งเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตรงนี้เดี๋ยวจะขยายความต่อไป

    ผมรู้ครับว่าคนไทยบางส่วนเข็ดขยาดกับการอ่านหนังสือ มิพักต้องพูดถึงหนังสือในภาษาต่างประเทศ แต่ถ้าอยากเข้าถึงและใช้งานไพ่ชุดนี้ได้อย่างเต็มที่ หากว่าคุณเป็นคนไทยพุทธที่ไม่ได้คุ้นเคยอะไรกับระบบความเชื่อแบบพุทธมหายานแล้ว คู่มือเล่มเล็ก ๆ ที่แถมมาในกล่องไพ่ชุดนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด และถ้าคุณสนใจหรือกำลังอยากศึกษา Mythology ของพุทธมหายาน คู่มือไพ่ชุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นอันประเสริฐ เพราะคนที่ออกแบบไพ่ชุดนี้ขึ้นมาน่าจะศึกษาคติมหายานมาลึกซึ้งไม่น้อย และยังนำมาดัดแปลงเป็นโครงสร้างไพ่ทาโรต์ได้น่าสนใจมาก ๆ

    ตามที่คู่มือบอกมา ไพ่ชุดนี้ออกแบบโดยมีโครงสร้างหลักคือ "พระธยานิพุทธะ" หรือพระพุทธเจ้า 5 องค์ ซึ่งเป็นแก่นความเชื่อของพุทธมหายาน และผู้สร้างไพ่ก็นำแต่ละพระองค์ไปเชื่อมโยงกับ Suits หรือไพ่ทั้ง 5 กลุ่มในสารบบทาโรต์ ได้แก่

    - ไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) : พระไวโรจนพุทธเจ้า (Vairochana) ธาตุอากาศ สีขาว มีสัญลักษณ์คือ ธรรมจักร

    - ไพ่ถ้วย (Cups) : พระอมิตาภพุทธเจ้า (Amithaba) ธาตุไฟ สีแดง มีสัญลักษณ์คือ ดอกบัว (ปทมะ) คนไทยพุทธน่าจะคุ้นเคยกับภาพหน้าไพ่กลุ่มนี้มากที่สุด เพราะแสดงถึงฉากเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติของพระศากยมุณีพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ไพ่ Ace เป็นรูปธยานมุทรา

    - ไพ่เหรียญ (Pentacles) : พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า (Ratnasambhava) ธาตุดิน สีเหลือง มีสัญลักษณ์คือ รัตนมณี หรือหินมีค่า ไพ่ Ace เป็นรูปวรทมุทรา

    - ไพ่ไม้เท้า (Wands) : พระอักโษภยพุทธเจ้า (Aksobhaya) ธาตุน้ำ สีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์คือ วัชระ ไพ่ Ace เป็นรูปภูมิผัสมุทรา

    - ไพ่ดาบ (Swords) : พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า (Amoghasiddhi) ธาตุลม สีเขียว มีสัญลักษณ์คือ วัชระแฝด (กรรมะ) ไพ่ Ace เป็นรูปอภยมุทรา

    ในไพ่ชุดรองทั้ง 4 กลุ่ม พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มจะอยู่ในไพ่ King ส่วนในไพ่ชุดหลัก พระไวโรจนพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มอยู่ในไพ่ The Fool พร้อมกับทรงทำมือเป็นท่าธรรมจักรมุทรา และพระศากยมุณีหรือพระพุทธเจ้าของไทยเราจะอยู่ในไพ่ The World

    ถ้าคุณได้อ่านบรรทัดเกี่ยวกับไพ่แต่ละกลุ่มข้างบน จะเห็นว่าไพ่ถ้วยกับไม้เท้าไม่ได้เป็นธาตุน้ำกับไฟตามที่ยึดถือกันในขนบทาโรต์มาตรฐาน แต่เป็นการยึดตามคติพุทธมหายานแทน ไม่ใช่แค่นั้น ความหมายไพ่แต่ละใบ ตามที่อธิบายไว้ในคู่มือ ก็มีการตีความแตกต่างไปจากทาโรต์มาตรฐานด้วย ดังนั้นการใช้งานไพ่ชุดนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายเอามาก ๆ สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับความเชื่อแบบมหายาน ทางที่ดีคือยึดเอาจากในคู่มือเป็นหลักเถอะครับ ถ้ามีอะไรนอกเหนือจากนั้นค่อยนำความหมายไพ่แบบมาตรฐานโปะ ๆ เข้าไป

    ส่วนตัวผมมองว่า การจะใช้ไพ่ชุดนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ (ถ้ามีใครอยากใช้จริง ๆ อะนะ) ก็ต้องทำไม่ต่างจากเวลาชาวไทยพุทธเราเจอรูปพระปาง "ยับ-ยุม" หรือความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่แตกต่างไปจากที่เราเรียนกันมาในวิชาพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วางอคติลง และ เปิดใจยอมรับ" พึงระลึกไว้ครับว่า พุทธศาสนามีอายุมากว่า 2,500 ปี ผ่านวิวัฒนาการจนแตกสาแหรกแขนงความเชื่อไปเยอะ และจะไม่หยุดเปลี่ยนแปลงตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่า พุทธศาสนาไม่ใช่กรรมสิทธิ์ในการตีความและนับถือโดยชาวพุทธไทยแต่เพียงกลุ่มเดียว

    ปัจจุบัน ไพ่ Siddhartha Tarot ยังคงมีขายในร้าน Asia Books และคิโนะคูนิยะของบ้านเราครับ
    พุทธศาสนากับไพ่ทาโรต์ดูจะเป็นอะไรที่ไม่น่าไปด้วยกันได้ ถ้าเป็นคริสต์ศาสนาก็ยังพอมีจุดที่นำไปเชื่อมโยงกับไพ่ได้อยู่ แต่ไพ่ชุดที่จะกล่าวถึงในคราวนี้เป็นอีกหนึ่งหลักฐานว่า ไม่มีอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์เกินไปสำหรับไพ่ทาโรต์ 'Siddhartha Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ในสังกัด Lo Scarabeo ตีพิมพ์เมื่อปี 2022 ผลิตและวางจำหน่ายแบบไพ่แมสตามร้านหนังสือชั้นนำ พอเป็นไพ่แมสของ สนพ. นี้จะมีสเปกเหมือน ๆ กันหมด คือพิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตหนาประมาณ 280 gsm (ซึ่งถือว่าค่อนข้างบางแล้วเมื่อเทียบกับไพ่ของผู้ผลิตไทยหลายรายเดี๋ยวนี้) เคลือบมันทั้งหน้าและหลัง บรรจุในกล่องกระดาษแบบฝาเปิดด้านบน (Tuck box) และมีคู่มือกระดาษเล่มเล็กแบบเย็บมุงหลังคาแถมมาให้ด้วย คราวนี้ขอเอาสเปกขึ้นก่อน เพราะไพ่ชุดนี้มีอะไรมัน ๆ ให้พิมพ์ถึงอีกมาก ดูจากชื่อไพ่กับหน้ากล่องแล้วก็น่าจะเข้าใจไม่ยากว่าเป็นไพ่ธีมพุทธ "Siddhartha" คือ สิทธารถะ ซึ่งเป็นการออกเสียงแบบสันสกฤตของชื่อ "สิทธัตถะ" หรือพระนามเดิมของพระพุทธเจ้าที่ไทยเรารู้จัก แต่ไพ่ชุดนี้เป็นธีมพุทธแบบนิกายมหายาน (โดยเน้นไปที่ฝั่งทิเบต) ซึ่งมีความเชื่อและหลักธรรมคำสอนแตกต่างไปจากนิกายหินยานหรือเถรวาทแบบของไทยเรา ต้องบอกไว้แบบนี้ก่อน เพราะเดี๋ยวจะมีใครเห็นรูปพระปาง "ยับยุม" บนหน้าไพ่ Lovers แล้วจะอกแตกหรือไม่ก็เส้นเลือดในสมองแตกเอา โปรดจำไว้ว่า พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ในการนับถือและตีความโดยชาวไทยพุทธเท่านั้น เข้าใจนะครับ ถ้าเข้าใจตรงนี้ได้ คุณก็จะยอมรับและสนุกกับไพ่ชุดนี้ได้ สำรับไพ่ชุดนี้มี 78 ใบตามโครงสร้างของทาโรต์มาตรฐาน ภาพหน้าไพ่วาดในสไตล์กึ่งอาร์ตนูโวกึ่งการ์ตูนสมจริงแบบคอมิกฝรั่ง บนหน้าไพ่แต่ละใบเป็นรูปพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ตามคติมหายาน ตลอดจนบุคคลสำคัญ (เช่น ดาไลลามะ ในไพ่ 10 เหรียญ) และสถานที่สำคัญทางศาสนา (เช่น สถูป ในไพ่ 10 ไม้เท้า) ส่วนไพ่ Ace แต่ละตระกูลจะเป็นท่ามุทรา 4 ท่า ซึ่งเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตรงนี้เดี๋ยวจะขยายความต่อไป ผมรู้ครับว่าคนไทยบางส่วนเข็ดขยาดกับการอ่านหนังสือ มิพักต้องพูดถึงหนังสือในภาษาต่างประเทศ แต่ถ้าอยากเข้าถึงและใช้งานไพ่ชุดนี้ได้อย่างเต็มที่ หากว่าคุณเป็นคนไทยพุทธที่ไม่ได้คุ้นเคยอะไรกับระบบความเชื่อแบบพุทธมหายานแล้ว คู่มือเล่มเล็ก ๆ ที่แถมมาในกล่องไพ่ชุดนี้จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่สุด และถ้าคุณสนใจหรือกำลังอยากศึกษา Mythology ของพุทธมหายาน คู่มือไพ่ชุดนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นอันประเสริฐ เพราะคนที่ออกแบบไพ่ชุดนี้ขึ้นมาน่าจะศึกษาคติมหายานมาลึกซึ้งไม่น้อย และยังนำมาดัดแปลงเป็นโครงสร้างไพ่ทาโรต์ได้น่าสนใจมาก ๆ ตามที่คู่มือบอกมา ไพ่ชุดนี้ออกแบบโดยมีโครงสร้างหลักคือ "พระธยานิพุทธะ" หรือพระพุทธเจ้า 5 องค์ ซึ่งเป็นแก่นความเชื่อของพุทธมหายาน และผู้สร้างไพ่ก็นำแต่ละพระองค์ไปเชื่อมโยงกับ Suits หรือไพ่ทั้ง 5 กลุ่มในสารบบทาโรต์ ได้แก่ - ไพ่ชุดหลัก (Major Arcana) : พระไวโรจนพุทธเจ้า (Vairochana) ธาตุอากาศ สีขาว มีสัญลักษณ์คือ ธรรมจักร - ไพ่ถ้วย (Cups) : พระอมิตาภพุทธเจ้า (Amithaba) ธาตุไฟ สีแดง มีสัญลักษณ์คือ ดอกบัว (ปทมะ) คนไทยพุทธน่าจะคุ้นเคยกับภาพหน้าไพ่กลุ่มนี้มากที่สุด เพราะแสดงถึงฉากเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติของพระศากยมุณีพุทธเจ้า (เจ้าชายสิทธัตถะ) ไพ่ Ace เป็นรูปธยานมุทรา - ไพ่เหรียญ (Pentacles) : พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า (Ratnasambhava) ธาตุดิน สีเหลือง มีสัญลักษณ์คือ รัตนมณี หรือหินมีค่า ไพ่ Ace เป็นรูปวรทมุทรา - ไพ่ไม้เท้า (Wands) : พระอักโษภยพุทธเจ้า (Aksobhaya) ธาตุน้ำ สีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์คือ วัชระ ไพ่ Ace เป็นรูปภูมิผัสมุทรา - ไพ่ดาบ (Swords) : พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า (Amoghasiddhi) ธาตุลม สีเขียว มีสัญลักษณ์คือ วัชระแฝด (กรรมะ) ไพ่ Ace เป็นรูปอภยมุทรา ในไพ่ชุดรองทั้ง 4 กลุ่ม พระพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มจะอยู่ในไพ่ King ส่วนในไพ่ชุดหลัก พระไวโรจนพุทธเจ้าที่เป็นองค์ประจำกลุ่มอยู่ในไพ่ The Fool พร้อมกับทรงทำมือเป็นท่าธรรมจักรมุทรา และพระศากยมุณีหรือพระพุทธเจ้าของไทยเราจะอยู่ในไพ่ The World ถ้าคุณได้อ่านบรรทัดเกี่ยวกับไพ่แต่ละกลุ่มข้างบน จะเห็นว่าไพ่ถ้วยกับไม้เท้าไม่ได้เป็นธาตุน้ำกับไฟตามที่ยึดถือกันในขนบทาโรต์มาตรฐาน แต่เป็นการยึดตามคติพุทธมหายานแทน ไม่ใช่แค่นั้น ความหมายไพ่แต่ละใบ ตามที่อธิบายไว้ในคู่มือ ก็มีการตีความแตกต่างไปจากทาโรต์มาตรฐานด้วย ดังนั้นการใช้งานไพ่ชุดนี้จึงเป็นเรื่องท้าทายเอามาก ๆ สำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับความเชื่อแบบมหายาน ทางที่ดีคือยึดเอาจากในคู่มือเป็นหลักเถอะครับ ถ้ามีอะไรนอกเหนือจากนั้นค่อยนำความหมายไพ่แบบมาตรฐานโปะ ๆ เข้าไป ส่วนตัวผมมองว่า การจะใช้ไพ่ชุดนี้ให้เต็มประสิทธิภาพ (ถ้ามีใครอยากใช้จริง ๆ อะนะ) ก็ต้องทำไม่ต่างจากเวลาชาวไทยพุทธเราเจอรูปพระปาง "ยับ-ยุม" หรือความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าที่แตกต่างไปจากที่เราเรียนกันมาในวิชาพระพุทธศาสนา นั่นคือ "วางอคติลง และ เปิดใจยอมรับ" พึงระลึกไว้ครับว่า พุทธศาสนามีอายุมากว่า 2,500 ปี ผ่านวิวัฒนาการจนแตกสาแหรกแขนงความเชื่อไปเยอะ และจะไม่หยุดเปลี่ยนแปลงตราบใดที่ยังมีมนุษย์อยู่ ดังนั้น ย้ำอีกครั้งว่า พุทธศาสนาไม่ใช่กรรมสิทธิ์ในการตีความและนับถือโดยชาวพุทธไทยแต่เพียงกลุ่มเดียว ปัจจุบัน ไพ่ Siddhartha Tarot ยังคงมีขายในร้าน Asia Books และคิโนะคูนิยะของบ้านเราครับ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 817 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงนี้ที่ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะทั้ง 3 สาขา มีขายไพ่ทาโรต์และไพ่ออราเคิลราคาพิเศษอยู่นะครับ ลดเหลือสำรับละ 300 - 400 บาท

    แคมเปญนี้เริ่มเมื่อ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ไม่ได้ระบุวันสิ้นสุด แต่เข้าใจได้ว่ามีจนกว่าของจะหมด

    ส่วนตัวผมจัดมาละกับ 'Siddhartha Tarot' ไพ่ทาโรต์ธีมพุทธมหายานจาก Lo Scarabeo ราคาปกติพันนิด ๆ เหลือ 400.- จะได้มารับกับวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงในสัปดาห์หน้า
    ช่วงนี้ที่ร้านหนังสือคิโนะคูนิยะทั้ง 3 สาขา มีขายไพ่ทาโรต์และไพ่ออราเคิลราคาพิเศษอยู่นะครับ ลดเหลือสำรับละ 300 - 400 บาท แคมเปญนี้เริ่มเมื่อ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา ไม่ได้ระบุวันสิ้นสุด แต่เข้าใจได้ว่ามีจนกว่าของจะหมด ส่วนตัวผมจัดมาละกับ 'Siddhartha Tarot' ไพ่ทาโรต์ธีมพุทธมหายานจาก Lo Scarabeo ราคาปกติพันนิด ๆ เหลือ 400.- จะได้มารับกับวันมาฆบูชาที่กำลังจะมาถึงในสัปดาห์หน้า
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 205 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผมถือคติว่าจะไม่เก็บไพ่ที่สร้างจาก Fandom ที่ตัวเองไม่คุ้นเคย เว้นแต่มันจะสวยตาแตกหรือมีอะไรสักอย่างที่ดึงดูดใจผม และ 'World of Warcraft Tarot' (2024) ก็สวยจนเข้าข่ายข้อยกเว้นในแบบแรก

    ไพ่ชุดนี้ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. Titan Books โดยได้ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Blizzard Entertainment หนึ่งในค่ายเกมยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกาซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมในซีรีส์ World of Warcraft รวมถึงเกมชื่อดังอีกหลายเกม เช่น Overwatch, StarCraft และ Diablo (อันหลังนี่ถูก Titan Books นำไปสร้างเป็นไพ่ทาโรต์ด้วย)

    World of Warcraft เป็นเกม MMORPG (RPG แบบที่ต้องต่อเน็ตเล่นกับชาวบ้าน) ในแฟรนไชส์เกม Warcraft ต่อมาแตกแขนงออกไปเป็นเกมแนววางแผนการรบชื่อ DotA (อ่านว่า โดต้า แต่คนไทยชอบเรียก ด็อตเอ) ซึ่งเคยเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นชาย gen Y และ gen X ตอนปลาย นอกจากนั้นตัว Warcraft ที่เป็นเกมหลัก ยังเคยถูกนำไปสร้างดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายในปี 2016 ซึ่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไร

    ก่อนจะเข้าเรื่องไพ่ ผมขอเกริ่นถึงจักรวาล Warcraft ที่เป็นฉากท้องเรื่องเดียวกับไพ่ชุดที่กำลังรีวิวนี้คร่าว ๆ นะครับ Warcraft จัดว่าเป็นสื่อแนวแฟนตาซีประเภทเล่นใหญ่ มีเวทมนตร์และเผ่าพันธุ์อมนุษย์จำพวกที่พบเจอบ่อย ๆ ได้นิยายและหนังแฟนตาซี เช่น เอลฟ์ คนแคระ ออร์ก ฯลฯ แต่ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่พอจะแยก Warcraft จากเรื่องแฟนตาซีอื่น ๆ อยู่บ้างก็คือ เผ่าพันธุ์ออร์กซึ่งรับบทตัวร้ายหลัก อพยพมาจากดาวเคราะห์บ้านเกิดชื่อ Draenor ซึ่งกำลังจะล่มสลาย ข้ามประตูเวทมายังดาว Azeroth ที่มีมนุษย์ เอลฟ์ คนแคระ และเผ่าพันธุ์อื่น ๆ อาศัยอยู่ และเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นตามมาจากนั้นก็กลายเป็นสงครามการรุกรานและแย่งชิงดินแดนโดยพวกออร์กอีกมากมายหลายครั้งในซีรีส์นี้ เอาละ รู้แค่นี้พอ กลับมาเรื่องไพ่

    ไพ่ World of Warcraft Tarot สร้างขึ้นโดยอ้างอิงเนื้อเรื่องในจักรวาล Warcraft แต่ถ้าถามว่าจำเป็นไหมที่จะต้องรู้เนื้อเรื่องของตัวละครหรือฉากบนหน้าไพ่ ตอบเลยว่าไม่จำเป็นครับ ไพ่ในสำรับ 78 ใบ เกือบทุกใบมีโครงสร้างหน้าไพ่ที่ใกล้เคียงกับชุดมาตรฐานอย่าง RWS โดยเฉพาะในไพ่ชุดรองทั้ง 4 ตระกูล

    ส่วนในไพ่ชุดหลัก 22 ใบ บางใบถ้าดูแค่หน้าไพ่อย่างเดียวก็จะงง ๆ หน่อย หาความเชื่อมโยงกับไพ่ในระบบมาตรฐานไม่ได้ เช่น ไพ่ The Fool และ Temperance มีรูปมังกรยืนจังก้าอยู่ ไพ่ Tower มีรูปดาบ ถ้าปิดชื่อปิดหมายเลขก็อาจทำให้หลงนึกว่าเป็นไพ่ 1 ดาบได้

    ยังดีที่ในคู่มือที่แถมมากับไพ่มีการอธิบาย Lore หรือเกร็ดเรื่องราวของสิ่งที่อยู่บนหน้าไพ่ชุดหลักทั้ง 22 ใบเอาไว้พอสังเขป อ่านแล้วจะพอเข้าใจว่าตัวละครหรือสิ่งของบนหน้าไพ่นั้นมีความเป็นมาหรือบทบาทที่เชื่อมโยงกับความหมายไพ่ใบนั้น ๆ อย่างไร น่าเสียดายที่ในส่วนของไพ่ชุดเล็กจะไม่มีการอธิบาย Lore แบบเดียวกันนี้อยู่ แค่บอกความหมายของไพ่ตามปกติ ขอเสริมเล็กน้อยว่าผู้เขียนคู่มือของไพ่ชุดนี้คือ Ian Flynn ซึ่งเป็นผู้แต่งเนื้อเรื่องในการ์ตูนคอมิกชื่อดังหลายเรื่องของอเมริกา

    ในแง่การผลิต ไพ่ชุดนี้ถือว่าเป็นไพ่ Fandom ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. เป็นทางการ (คือไม่ใช่ผู้ผลิตอิสระ) ที่สวยที่สุดเท่าที่ผมเจอมา ภาพหน้าไพ่มีโทนสีหลักแค่ 1-2 สี ล้อมอยู่ในกรอบสีทองสะท้อนแสงบนพื้นหลังสีขาวนวล บรรจุในกล่องฝาครอบแข็งจั่วปังสีขาวลายหินอ่อนพร้อมริบบิ้นสีทองสำหรับใช้งัดไพ่ออกจากกล่อง

    ตัวไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตเคลือบด้านที่น่าจะหนา 360 - 400 gsm หน้าไพ่ปั๊มทองสะท้อนแสงตรงกรอบไพ่ หลังไพ่เคลือบ UV เฉพาะจุดบนรูปวงพลังธาตุทั้ง 6 ในจักรวาล Warcraft ทุกอย่างกรีดร้องออกมาเป็นคำว่า เรียบหรู ขัดกับภาพลักษณ์ความเป็นเกมสำหรับวัยรุ่นเกรียนแตกแบบ DotA ในความทรงจำของผมอย่างไรชอบกล (ซึ่งถือเป็นเรื่องดี)

    สำหรับคนที่ไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับ World of Warcraft แต่หลงใหลในความแฟนตาซีเรียบหรูของไพ่ชุดนี้ ส่วนตัวผมอยากฝากคำแนะนำว่า คุณไม่ต้องไปแคร์กับหน้าไพ่ แต่ใช้ไพ่ชุดนี้โดยยึดความหมายไพ่ตามขนบหรือตามแนวทางที่คุณเรียนมาไปเลย ไม่จำเป็นต้องอ่านเกร็ดเนื้อเรื่องในคู่มือหรือตามศึกษาเนื้อเรื่องจากจักรวาล Warcraft แต่ถ้ามีเวลาว่างทำ คุณก็อาจจะได้แง่มุมอะไรเพิ่มเติมจากเกร็ดเนื้อเรื่องไว้ไปใช้ประกอบการตีความไพ่ด้วยก็ได้ครับ การใช้ไพ่ Fandom ทุกชุดก็มีหลักไม่ต่างกันนี้

    ปัจจุบัน World of Warcraft Tarot มีวางจำหน่ายแล้วที่ร้าน Asia Books ทุกสาขาครับ
    ผมถือคติว่าจะไม่เก็บไพ่ที่สร้างจาก Fandom ที่ตัวเองไม่คุ้นเคย เว้นแต่มันจะสวยตาแตกหรือมีอะไรสักอย่างที่ดึงดูดใจผม และ 'World of Warcraft Tarot' (2024) ก็สวยจนเข้าข่ายข้อยกเว้นในแบบแรก ไพ่ชุดนี้ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. Titan Books โดยได้ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Blizzard Entertainment หนึ่งในค่ายเกมยักษ์ใหญ่แห่งอเมริกาซึ่งเป็นผู้พัฒนาเกมในซีรีส์ World of Warcraft รวมถึงเกมชื่อดังอีกหลายเกม เช่น Overwatch, StarCraft และ Diablo (อันหลังนี่ถูก Titan Books นำไปสร้างเป็นไพ่ทาโรต์ด้วย) World of Warcraft เป็นเกม MMORPG (RPG แบบที่ต้องต่อเน็ตเล่นกับชาวบ้าน) ในแฟรนไชส์เกม Warcraft ต่อมาแตกแขนงออกไปเป็นเกมแนววางแผนการรบชื่อ DotA (อ่านว่า โดต้า แต่คนไทยชอบเรียก ด็อตเอ) ซึ่งเคยเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่นชาย gen Y และ gen X ตอนปลาย นอกจากนั้นตัว Warcraft ที่เป็นเกมหลัก ยังเคยถูกนำไปสร้างดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ฉายในปี 2016 ซึ่งไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าไร ก่อนจะเข้าเรื่องไพ่ ผมขอเกริ่นถึงจักรวาล Warcraft ที่เป็นฉากท้องเรื่องเดียวกับไพ่ชุดที่กำลังรีวิวนี้คร่าว ๆ นะครับ Warcraft จัดว่าเป็นสื่อแนวแฟนตาซีประเภทเล่นใหญ่ มีเวทมนตร์และเผ่าพันธุ์อมนุษย์จำพวกที่พบเจอบ่อย ๆ ได้นิยายและหนังแฟนตาซี เช่น เอลฟ์ คนแคระ ออร์ก ฯลฯ แต่ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่พอจะแยก Warcraft จากเรื่องแฟนตาซีอื่น ๆ อยู่บ้างก็คือ เผ่าพันธุ์ออร์กซึ่งรับบทตัวร้ายหลัก อพยพมาจากดาวเคราะห์บ้านเกิดชื่อ Draenor ซึ่งกำลังจะล่มสลาย ข้ามประตูเวทมายังดาว Azeroth ที่มีมนุษย์ เอลฟ์ คนแคระ และเผ่าพันธุ์อื่น ๆ อาศัยอยู่ และเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นตามมาจากนั้นก็กลายเป็นสงครามการรุกรานและแย่งชิงดินแดนโดยพวกออร์กอีกมากมายหลายครั้งในซีรีส์นี้ เอาละ รู้แค่นี้พอ กลับมาเรื่องไพ่ ไพ่ World of Warcraft Tarot สร้างขึ้นโดยอ้างอิงเนื้อเรื่องในจักรวาล Warcraft แต่ถ้าถามว่าจำเป็นไหมที่จะต้องรู้เนื้อเรื่องของตัวละครหรือฉากบนหน้าไพ่ ตอบเลยว่าไม่จำเป็นครับ ไพ่ในสำรับ 78 ใบ เกือบทุกใบมีโครงสร้างหน้าไพ่ที่ใกล้เคียงกับชุดมาตรฐานอย่าง RWS โดยเฉพาะในไพ่ชุดรองทั้ง 4 ตระกูล ส่วนในไพ่ชุดหลัก 22 ใบ บางใบถ้าดูแค่หน้าไพ่อย่างเดียวก็จะงง ๆ หน่อย หาความเชื่อมโยงกับไพ่ในระบบมาตรฐานไม่ได้ เช่น ไพ่ The Fool และ Temperance มีรูปมังกรยืนจังก้าอยู่ ไพ่ Tower มีรูปดาบ ถ้าปิดชื่อปิดหมายเลขก็อาจทำให้หลงนึกว่าเป็นไพ่ 1 ดาบได้ ยังดีที่ในคู่มือที่แถมมากับไพ่มีการอธิบาย Lore หรือเกร็ดเรื่องราวของสิ่งที่อยู่บนหน้าไพ่ชุดหลักทั้ง 22 ใบเอาไว้พอสังเขป อ่านแล้วจะพอเข้าใจว่าตัวละครหรือสิ่งของบนหน้าไพ่นั้นมีความเป็นมาหรือบทบาทที่เชื่อมโยงกับความหมายไพ่ใบนั้น ๆ อย่างไร น่าเสียดายที่ในส่วนของไพ่ชุดเล็กจะไม่มีการอธิบาย Lore แบบเดียวกันนี้อยู่ แค่บอกความหมายของไพ่ตามปกติ ขอเสริมเล็กน้อยว่าผู้เขียนคู่มือของไพ่ชุดนี้คือ Ian Flynn ซึ่งเป็นผู้แต่งเนื้อเรื่องในการ์ตูนคอมิกชื่อดังหลายเรื่องของอเมริกา ในแง่การผลิต ไพ่ชุดนี้ถือว่าเป็นไพ่ Fandom ที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดย สนพ. เป็นทางการ (คือไม่ใช่ผู้ผลิตอิสระ) ที่สวยที่สุดเท่าที่ผมเจอมา ภาพหน้าไพ่มีโทนสีหลักแค่ 1-2 สี ล้อมอยู่ในกรอบสีทองสะท้อนแสงบนพื้นหลังสีขาวนวล บรรจุในกล่องฝาครอบแข็งจั่วปังสีขาวลายหินอ่อนพร้อมริบบิ้นสีทองสำหรับใช้งัดไพ่ออกจากกล่อง ตัวไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตเคลือบด้านที่น่าจะหนา 360 - 400 gsm หน้าไพ่ปั๊มทองสะท้อนแสงตรงกรอบไพ่ หลังไพ่เคลือบ UV เฉพาะจุดบนรูปวงพลังธาตุทั้ง 6 ในจักรวาล Warcraft ทุกอย่างกรีดร้องออกมาเป็นคำว่า เรียบหรู ขัดกับภาพลักษณ์ความเป็นเกมสำหรับวัยรุ่นเกรียนแตกแบบ DotA ในความทรงจำของผมอย่างไรชอบกล (ซึ่งถือเป็นเรื่องดี) สำหรับคนที่ไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับ World of Warcraft แต่หลงใหลในความแฟนตาซีเรียบหรูของไพ่ชุดนี้ ส่วนตัวผมอยากฝากคำแนะนำว่า คุณไม่ต้องไปแคร์กับหน้าไพ่ แต่ใช้ไพ่ชุดนี้โดยยึดความหมายไพ่ตามขนบหรือตามแนวทางที่คุณเรียนมาไปเลย ไม่จำเป็นต้องอ่านเกร็ดเนื้อเรื่องในคู่มือหรือตามศึกษาเนื้อเรื่องจากจักรวาล Warcraft แต่ถ้ามีเวลาว่างทำ คุณก็อาจจะได้แง่มุมอะไรเพิ่มเติมจากเกร็ดเนื้อเรื่องไว้ไปใช้ประกอบการตีความไพ่ด้วยก็ได้ครับ การใช้ไพ่ Fandom ทุกชุดก็มีหลักไม่ต่างกันนี้ ปัจจุบัน World of Warcraft Tarot มีวางจำหน่ายแล้วที่ร้าน Asia Books ทุกสาขาครับ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 695 มุมมอง 0 รีวิว
  • เทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามาทุกที ยังไม่ทันเปลี่ยนจากปีมังกรเป็นปีงู ผู้ผลิตไพ่ชาวจีนก็เข็นไพ่ธีมงูออกมาแลกแต๊ะเอียกันล่วงหน้าแล้วครับ

    'The Spiritual Snake Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ชุดใหม่ล่าสุดในเครือ บ. Chengdu Innerlit Culture Communication หรือชื่อเดิมคือ Chengdu Arcana เจ้าเดียวกับที่ทำไพ่ Stars Lighting Up the Night Tarot ทั้งยังปล่อยไพ่ทาโรต์ธีมปีนักษัตรออกมาแล้ว 2 ปีติดกัน ได้แก่ The Sage Rabbit Tarot เมื่อปี 2023 และ Lóng Tarot ในปีที่แล้ว

    'The Spiritual Snake Tarot' ไม่ใช่แค่ไพ่ทาโรต์ที่ทำในธีมงู แต่เป็นงูในบริบทของตำนานความเชื่อและวัฒนธรรมจีน หน้าไพ่แต่ละใบมีฉากเป็นประเทศจีนในยุคโบราณแบบตามนิยายกำลังภายใน และทุกใบจะมีงูอยู่ในภาพเสมอ บางใบก็เป็นตัวละครในตำนานหรือคติชนของจีนที่เป็นคนครึ่งงูหรืองูจำแลงกายเป็นคน เช่น ในไพ่ Magician เป็นผู้หญิงที่มีร่างกายท่อนล่างเป็นงู ซึ่งผู้สร้างไพ่ก็น่าจะสื่อว่าเป็นพระแม่หนี่วา

    ไพ่ในสำรับมี 78 ใบตามขนบทาโรต์มาตรฐาน ไพ่ชุดหลักไม่ได้ระบุชัดว่าอ้างอิงถึงตำนานเทพหรือเรื่องเล่าอะไรบ้าง (แต่ใครที่พอจะคุ้นเคยกับตำนานจีนอยู่บ้างก็อาจจะคุ้น ๆ กับตัวละครบางตัว) ส่วนไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะถ่ายทอดเนื้อเรื่องจากนิทานคติชนของจีนที่เกี่ยวข้องกับงู 4 เรื่อง เรื่องที่ดังสุดและเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นมาไม่เวอร์ชันใดก็เวอร์ชันหนึ่งคือตำนานของนางพญางูขาวไป๋ซู่เจินในไพ่ตระกูลถ้วย สำหรับไพ่ตระกูลดาบจะเป็นเรื่องราวของหญิงสาวผู้กล้านามหลี่จี้ที่อาสาตัวไปปราบงูยักษ์ (โครงเรื่องคล้าย ๆ เทพซูซาโนะโอะปราบงูยามาตะโนะโอโรจิของญี่ปุ่น เพียงแต่เปลี่ยนให้หญิงที่ควรจะเป็นหนึ่งในเครื่องสังเวยกลายเป็นคนฆ่างูแทน) ไพ่ตระกูลไม้เท้าเล่าตำนานของพญางูดำที่เป็นเทพแห่งขุนเขา ส่วนไพ่ตระกูลเหรียญเป็นเรื่องของกษัตริย์แห่งรัฐสุยช่วยชีวิตงูศักดิ์สิทธิ์และได้รับรางวัลตอบแทนเป็นไข่มุกแสงจันทร์

    สเปกไพ่จัดว่าอยู่ในระดับปานกลาง ไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมันเคลือบลินิน หนา 350 gsm ไม่ไถขอบ ลายหลังไพ่มีความสมมาตร ดังนั้นใช้อ่านไพ่แบบกลับหัวได้ บรรจุในกล่องแข็งจั่วปังแบบฝาครอบ มีคู่มือเล่มเล็กเนื้อหาภาษาจีนและอังกฤษ อธิบายความหมายไพ่แต่ละใบทั้งแบบตั้งตรงและกลับหัวสั้น ๆ ในส่วนของไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะมีการเล่าเรื่องย่อของนิทานคติชนที่เป็น Reference (ตามที่ว่าไว้ในย่อหน้าข้างบน)

    หน้าไพ่โดยรวมสามารถอ่านแบบทาโรต์กึ่งออราเคิลได้ แต่สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับหนังหรือซีรีส์จีนโบราณกำลังภายใน ก็อาจจะสตั๊นไปเมื่อเห็นหน้าไพ่บางใบเช่นกัน (โดยเฉพาะไพ่ชุดรองที่อ้างอิงเนื้อเรื่องตำนานนิทานต่าง ๆ) ดังนั้นยึดเอาความหมายไพ่ตามระบบไว้ก็ไม่เสียหายครับ
    เทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามาทุกที ยังไม่ทันเปลี่ยนจากปีมังกรเป็นปีงู ผู้ผลิตไพ่ชาวจีนก็เข็นไพ่ธีมงูออกมาแลกแต๊ะเอียกันล่วงหน้าแล้วครับ 'The Spiritual Snake Tarot' เป็นไพ่ทาโรต์ชุดใหม่ล่าสุดในเครือ บ. Chengdu Innerlit Culture Communication หรือชื่อเดิมคือ Chengdu Arcana เจ้าเดียวกับที่ทำไพ่ Stars Lighting Up the Night Tarot ทั้งยังปล่อยไพ่ทาโรต์ธีมปีนักษัตรออกมาแล้ว 2 ปีติดกัน ได้แก่ The Sage Rabbit Tarot เมื่อปี 2023 และ Lóng Tarot ในปีที่แล้ว 'The Spiritual Snake Tarot' ไม่ใช่แค่ไพ่ทาโรต์ที่ทำในธีมงู แต่เป็นงูในบริบทของตำนานความเชื่อและวัฒนธรรมจีน หน้าไพ่แต่ละใบมีฉากเป็นประเทศจีนในยุคโบราณแบบตามนิยายกำลังภายใน และทุกใบจะมีงูอยู่ในภาพเสมอ บางใบก็เป็นตัวละครในตำนานหรือคติชนของจีนที่เป็นคนครึ่งงูหรืองูจำแลงกายเป็นคน เช่น ในไพ่ Magician เป็นผู้หญิงที่มีร่างกายท่อนล่างเป็นงู ซึ่งผู้สร้างไพ่ก็น่าจะสื่อว่าเป็นพระแม่หนี่วา ไพ่ในสำรับมี 78 ใบตามขนบทาโรต์มาตรฐาน ไพ่ชุดหลักไม่ได้ระบุชัดว่าอ้างอิงถึงตำนานเทพหรือเรื่องเล่าอะไรบ้าง (แต่ใครที่พอจะคุ้นเคยกับตำนานจีนอยู่บ้างก็อาจจะคุ้น ๆ กับตัวละครบางตัว) ส่วนไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะถ่ายทอดเนื้อเรื่องจากนิทานคติชนของจีนที่เกี่ยวข้องกับงู 4 เรื่อง เรื่องที่ดังสุดและเชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นมาไม่เวอร์ชันใดก็เวอร์ชันหนึ่งคือตำนานของนางพญางูขาวไป๋ซู่เจินในไพ่ตระกูลถ้วย สำหรับไพ่ตระกูลดาบจะเป็นเรื่องราวของหญิงสาวผู้กล้านามหลี่จี้ที่อาสาตัวไปปราบงูยักษ์ (โครงเรื่องคล้าย ๆ เทพซูซาโนะโอะปราบงูยามาตะโนะโอโรจิของญี่ปุ่น เพียงแต่เปลี่ยนให้หญิงที่ควรจะเป็นหนึ่งในเครื่องสังเวยกลายเป็นคนฆ่างูแทน) ไพ่ตระกูลไม้เท้าเล่าตำนานของพญางูดำที่เป็นเทพแห่งขุนเขา ส่วนไพ่ตระกูลเหรียญเป็นเรื่องของกษัตริย์แห่งรัฐสุยช่วยชีวิตงูศักดิ์สิทธิ์และได้รับรางวัลตอบแทนเป็นไข่มุกแสงจันทร์ สเปกไพ่จัดว่าอยู่ในระดับปานกลาง ไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมันเคลือบลินิน หนา 350 gsm ไม่ไถขอบ ลายหลังไพ่มีความสมมาตร ดังนั้นใช้อ่านไพ่แบบกลับหัวได้ บรรจุในกล่องแข็งจั่วปังแบบฝาครอบ มีคู่มือเล่มเล็กเนื้อหาภาษาจีนและอังกฤษ อธิบายความหมายไพ่แต่ละใบทั้งแบบตั้งตรงและกลับหัวสั้น ๆ ในส่วนของไพ่ชุดรองแต่ละตระกูลจะมีการเล่าเรื่องย่อของนิทานคติชนที่เป็น Reference (ตามที่ว่าไว้ในย่อหน้าข้างบน) หน้าไพ่โดยรวมสามารถอ่านแบบทาโรต์กึ่งออราเคิลได้ แต่สำหรับคนที่อาจจะไม่ได้รู้จักมักคุ้นกับหนังหรือซีรีส์จีนโบราณกำลังภายใน ก็อาจจะสตั๊นไปเมื่อเห็นหน้าไพ่บางใบเช่นกัน (โดยเฉพาะไพ่ชุดรองที่อ้างอิงเนื้อเรื่องตำนานนิทานต่าง ๆ) ดังนั้นยึดเอาความหมายไพ่ตามระบบไว้ก็ไม่เสียหายครับ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 811 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอร่วมแสดงความยินดีกับการประกาศใช้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ด้วยครับ 💜💙💚💛🧡❤️💖

    ผมขอยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานเลยว่า ตัวเองเป็นคนหนึ่งที่เกลียดพวก Woke สุดโต่งและนโยบาย DEI ของอเมริกาในสมัยของไบเดนมาก ๆ จากการรณรงค์ให้สิทธิ์ให้เสียงให้พื้นที่กับชนชายขอบและผู้มีความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติและเพศวิถี กลับกลายเป็นความเละเทะในรูปการกดหัว "ชายแทร่" และการยัดเยียดความแตกต่างหลากหลายแบบกระแทกหน้าในสื่อบันเทิงกระแสหลัก (Star Wars กูป่นปี้หมดละอิh่า) จน ฯพณฯ ทรัมป์กลับมาเป็น ปธน. USA อีกรอบแล้วประกาศยกเลิกนโยบาย DEI ทั้งหมดนี่แหละ ผมนี่น้ำตาไหลพราก ๆ แทนอเมริกันชนเลย

    แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็ยังเคารพในสิทธิแห่งการแสดงตัวตนของผู้มีความแตกต่างหลากหลายทุกรูปแบบ โดยเฉพาะทางเพศวิถี การจะนิยามตัวคุณเองว่าเป็นเพศอะไร หรือจะรักจะชอบกับเพศอะไร เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับและควรจะแสดงออกได้โดยไม่ต้องอับอายหรือเกรงกลัวต่อสิ่งใด แต่แน่ละว่าตราบใดที่มันไม่ผิดกฎหมาย (เช่น เพโดฯ) หรือไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แบบที่พวก Woke สุดโต่งทำ อะไรที่สุดโต่ง ตึงไป หย่อนไป ไม่เคยนำไปสู่ความดีงาม ทุกอย่างควรอยู่ในความพอดี แบบไพ่ Temperance แหละครับ

    อนึ่ง ไพ่ในภาพประกอบ ผมหยิบยืมมาจากชุด 'Sakura Oracle' ในสังกัด สนพ.คชานันท์ ทาโรต์ เป็นใบที่ผมมองว่าเหมาะสมสำหรับวาระอันน่ายินดีนี้อย่างยิ่ง
    ขอร่วมแสดงความยินดีกับการประกาศใช้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ด้วยครับ 💜💙💚💛🧡❤️💖 ผมขอยอมรับอย่างหน้าชื่นตาบานเลยว่า ตัวเองเป็นคนหนึ่งที่เกลียดพวก Woke สุดโต่งและนโยบาย DEI ของอเมริกาในสมัยของไบเดนมาก ๆ จากการรณรงค์ให้สิทธิ์ให้เสียงให้พื้นที่กับชนชายขอบและผู้มีความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติและเพศวิถี กลับกลายเป็นความเละเทะในรูปการกดหัว "ชายแทร่" และการยัดเยียดความแตกต่างหลากหลายแบบกระแทกหน้าในสื่อบันเทิงกระแสหลัก (Star Wars กูป่นปี้หมดละอิh่า) จน ฯพณฯ ทรัมป์กลับมาเป็น ปธน. USA อีกรอบแล้วประกาศยกเลิกนโยบาย DEI ทั้งหมดนี่แหละ ผมนี่น้ำตาไหลพราก ๆ แทนอเมริกันชนเลย แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็ยังเคารพในสิทธิแห่งการแสดงตัวตนของผู้มีความแตกต่างหลากหลายทุกรูปแบบ โดยเฉพาะทางเพศวิถี การจะนิยามตัวคุณเองว่าเป็นเพศอะไร หรือจะรักจะชอบกับเพศอะไร เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับและควรจะแสดงออกได้โดยไม่ต้องอับอายหรือเกรงกลัวต่อสิ่งใด แต่แน่ละว่าตราบใดที่มันไม่ผิดกฎหมาย (เช่น เพโดฯ) หรือไปสร้างความเดือดร้อนให้ใคร แบบที่พวก Woke สุดโต่งทำ อะไรที่สุดโต่ง ตึงไป หย่อนไป ไม่เคยนำไปสู่ความดีงาม ทุกอย่างควรอยู่ในความพอดี แบบไพ่ Temperance แหละครับ อนึ่ง ไพ่ในภาพประกอบ ผมหยิบยืมมาจากชุด 'Sakura Oracle' ในสังกัด สนพ.คชานันท์ ทาโรต์ เป็นใบที่ผมมองว่าเหมาะสมสำหรับวาระอันน่ายินดีนี้อย่างยิ่ง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 409 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในวันเดียวกับที่ผมได้เปลี่ยนคำเรียกแฟนเป็นภรรยาอย่างเป็นทางการ สำนักพิมพ์ นิมิต ก็ได้ส่งไพ่ชุดใหม่ล่าสุดในเครืออย่าง 'Lucky in Love Tarot' มาให้ ขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับของขวัญแต่งงานชิ้นนี้ 🥰

    ทีนี้ก็มีเรื่องหนักใจสำหรับผมตามมา นั่นคือ ในเมื่อมีคนรีวิวไพ่ชุดนี้กันไปน่าจะเฉียดร้อยคนแล้ว (นับรวมทุกแพลตฟอร์ม) ถ้าอย่างนั้นจะมีอะไรเหลือให้ผมเขียนถึงอีก

    แต่พอดูดี ๆ แล้ว มันก็มีอยู่ประเด็นหนึ่งซึ่งผมยังไม่เจอใครกล่าวถึงเลย อย่างมากก็แค่แตะเผิน ๆ แต่ไม่ได้เจาะในประเด็นเดียวกับที่ผมต้องการสื่อ คนชอบฉวยโอกาสเป็นอาจิณอย่างผมก็สบช่องเลยครับ

    'Lucky in Love Tarot' เป็นไพ่ชุดใหม่ที่ สนพ.นิมิตและสยามออราเคิลต่อยอดจากผลงานเดิมใน 2 ระดับ ระดับแรกคือต่อยอดในธีมความรักความสัมพันธ์จากไพ่ 'รักออราเคิล' อีกระดับคือต่อยอดในความเป็นทาโรต์กึ่งออราเคิลจากขบวนไพ่อย่างชุด 'The Magic of Paper' 'Magic Planet Tarot' และ 'Fantasy Planet Tarot' (และในอนาคตจะมี 'Manga Tarot' ตามมา)

    ตัวไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ต 350 gsm เคลือบด้านแบบลินิน (สังเกตได้จากลายคล้ายตารางช่องถี่ ๆ บนหน้าไพ่) ไถขอบสีแดงสะท้อนแสงพร้อมลวดลายรูปประกายดาววิบวับ ภาพหลังไพ่ไม่ได้มีความสมมาตรจนนำไปใช้อ่านไพ่แบบกลับหัวได้ แต่ก็มีความสมดุลในแง่การวางโครงสร้างของตัวละคร ชาย-หญิง และ ผู้ใหญ่-เด็ก บรรจุในกล่องแข็งแบบฝาสวม

    ในสำรับมีไพ่ 80 ใบ แน่นอนว่า 78 ใบคือไพ่ตามระบบทาโรต์มาตรฐาน โดยวาดหน้าไพ่ใหม่ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนเมืองร่วมสมัย อีก 2 ใบเป็นไพ่พิเศษที่ผู้ผลิตเพิ่มเข้ามาเพื่อเฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลายทางเพศวิถีและรูปแบบความสัมพันธ์ไร้กรอบ ซึ่งก็ตอบรับกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน

    อย่างที่บอกไปว่าไพ่ชุดนี้ต่อยอดจากทาโรต์กึ่งออราเคิลชุดก่อน ๆ ของผู้ผลิต หน้าไพ่มีภาพที่ผู้ใช้สามารถดูแล้วตีความได้ง่าย ขณะเดียวกันที่แถบล่างของไพ่ก็มีคีย์เวิร์ด 2 ภาษา ซึ่งเป็นความหมายหลักของไพ่ทาโรต์ต้นฉบับ และเผื่อว่าคุณอยากรู้ว่าไพ่ต้นฉบับของไพ่ใบนั้น ๆ คือใบไหน ทาง สนพ. ก็ใส่ตัวเลขและสัญลักษณ์วัตถุมาไว้ให้เทียบเคียงในไพ่ด้วย ดังนั้น คุณสามารถเลือกตามสะดวกว่าอยากใช้ไพ่ชุดนี้ในฐานะทาโรต์ตามขนบหรือออราเคิลสายตีความภาพ + คีย์เวิร์ด

    อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ทั้งชื่อไพ่ ภาพหน้ากล่อง ตลอดจนการนำเสนอในแทบทุกช่องทางของผู้ผลิตจะบอกว่า ไพ่ชุดนี้เป็นไพ่ธีมความรักความสัมพันธ์ แต่ก็ไม่ใช่หน้าไพ่ทุกใบที่สื่อเรื่องความรักความสัมพันธ์ บางใบนำเสนอภาพของชีวิตปัจเจกในสังคมเมืองแบบที่พบเห็นได้ไม่ยากจากไพ่ร่วมสมัยหลายชุด ไม่ได้เน้นหนักเรื่องความรักความสัมพันธ์เท่าที่ควร ดังนั้นใครที่คาดหวังว่าจะใช้ไพ่ชุดนี้อ่านเจาะลึกเรื่องความรักความสัมพันธ์โดยอาศัยแค่หน้าไพ่อย่างเดียว บอกเลยว่าไม่น่าจะเวิร์กครับ ยกเว้นแต่สกิลการเชื่อมโยงความหมาย (+แถ) ของคุณจะสูงมาก

    โชคดีสำหรับพวกคุณที่ผู้ผลิตได้มอบสุดยอดตัวช่วยเพื่ออุดช่องโหว่ตรงนี้โดยเฉพาะ นั่นคือคู่มือเล่มเล็ก 2 ภาษาที่แถมมาในกล่องไพ่ ถ้าคุณได้อ่านเนื้อหาส่วนความหมายไพ่แต่ละใบ คุณจะพบว่าเป็นความหมายที่เจาะจงในเรื่องความรักความสัมพันธ์โดยเฉพาะ ที่สำคัญ มันเป็นความหมายด้านความรักความสัมพันธ์ที่สกัดมาจากสารบบความหมายของไพ่ทาโรต์ตามขนบอีกด้วย ดังนั้นคุณสามารถจำเอาไว้ใช้กับไพ่ชุดอื่น ๆ ได้อย่างแน่นอน

    สรุปแล้ว นี่เป็นไพ่ชุดที่อ่านได้ทั้งแบบทาโรต์ตามขนบและแบบออราเคิลสายตีความ และคู่มือเล่มเล็ก ๆ ของมันยังเป็นตำราเล่มจิ๋วเอาไว้ให้อ้างอิงและศึกษาต่อยอดในด้านความรักความสัมพันธ์ได้อีกด้วย

    ขอให้ทุกคน "Lucky in Love" ไม่ว่าจะเป็น Love ที่มอบให้ผู้อื่น ตัวเอง หรือสิ่งที่คุณมีแพชชั่นครับ 💖
    ในวันเดียวกับที่ผมได้เปลี่ยนคำเรียกแฟนเป็นภรรยาอย่างเป็นทางการ สำนักพิมพ์ นิมิต ก็ได้ส่งไพ่ชุดใหม่ล่าสุดในเครืออย่าง 'Lucky in Love Tarot' มาให้ ขอบคุณมาก ๆ ครับสำหรับของขวัญแต่งงานชิ้นนี้ 🥰 ทีนี้ก็มีเรื่องหนักใจสำหรับผมตามมา นั่นคือ ในเมื่อมีคนรีวิวไพ่ชุดนี้กันไปน่าจะเฉียดร้อยคนแล้ว (นับรวมทุกแพลตฟอร์ม) ถ้าอย่างนั้นจะมีอะไรเหลือให้ผมเขียนถึงอีก แต่พอดูดี ๆ แล้ว มันก็มีอยู่ประเด็นหนึ่งซึ่งผมยังไม่เจอใครกล่าวถึงเลย อย่างมากก็แค่แตะเผิน ๆ แต่ไม่ได้เจาะในประเด็นเดียวกับที่ผมต้องการสื่อ คนชอบฉวยโอกาสเป็นอาจิณอย่างผมก็สบช่องเลยครับ 'Lucky in Love Tarot' เป็นไพ่ชุดใหม่ที่ สนพ.นิมิตและสยามออราเคิลต่อยอดจากผลงานเดิมใน 2 ระดับ ระดับแรกคือต่อยอดในธีมความรักความสัมพันธ์จากไพ่ 'รักออราเคิล' อีกระดับคือต่อยอดในความเป็นทาโรต์กึ่งออราเคิลจากขบวนไพ่อย่างชุด 'The Magic of Paper' 'Magic Planet Tarot' และ 'Fantasy Planet Tarot' (และในอนาคตจะมี 'Manga Tarot' ตามมา) ตัวไพ่พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ต 350 gsm เคลือบด้านแบบลินิน (สังเกตได้จากลายคล้ายตารางช่องถี่ ๆ บนหน้าไพ่) ไถขอบสีแดงสะท้อนแสงพร้อมลวดลายรูปประกายดาววิบวับ ภาพหลังไพ่ไม่ได้มีความสมมาตรจนนำไปใช้อ่านไพ่แบบกลับหัวได้ แต่ก็มีความสมดุลในแง่การวางโครงสร้างของตัวละคร ชาย-หญิง และ ผู้ใหญ่-เด็ก บรรจุในกล่องแข็งแบบฝาสวม ในสำรับมีไพ่ 80 ใบ แน่นอนว่า 78 ใบคือไพ่ตามระบบทาโรต์มาตรฐาน โดยวาดหน้าไพ่ใหม่ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนเมืองร่วมสมัย อีก 2 ใบเป็นไพ่พิเศษที่ผู้ผลิตเพิ่มเข้ามาเพื่อเฉลิมฉลองความแตกต่างหลากหลายทางเพศวิถีและรูปแบบความสัมพันธ์ไร้กรอบ ซึ่งก็ตอบรับกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน อย่างที่บอกไปว่าไพ่ชุดนี้ต่อยอดจากทาโรต์กึ่งออราเคิลชุดก่อน ๆ ของผู้ผลิต หน้าไพ่มีภาพที่ผู้ใช้สามารถดูแล้วตีความได้ง่าย ขณะเดียวกันที่แถบล่างของไพ่ก็มีคีย์เวิร์ด 2 ภาษา ซึ่งเป็นความหมายหลักของไพ่ทาโรต์ต้นฉบับ และเผื่อว่าคุณอยากรู้ว่าไพ่ต้นฉบับของไพ่ใบนั้น ๆ คือใบไหน ทาง สนพ. ก็ใส่ตัวเลขและสัญลักษณ์วัตถุมาไว้ให้เทียบเคียงในไพ่ด้วย ดังนั้น คุณสามารถเลือกตามสะดวกว่าอยากใช้ไพ่ชุดนี้ในฐานะทาโรต์ตามขนบหรือออราเคิลสายตีความภาพ + คีย์เวิร์ด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ทั้งชื่อไพ่ ภาพหน้ากล่อง ตลอดจนการนำเสนอในแทบทุกช่องทางของผู้ผลิตจะบอกว่า ไพ่ชุดนี้เป็นไพ่ธีมความรักความสัมพันธ์ แต่ก็ไม่ใช่หน้าไพ่ทุกใบที่สื่อเรื่องความรักความสัมพันธ์ บางใบนำเสนอภาพของชีวิตปัจเจกในสังคมเมืองแบบที่พบเห็นได้ไม่ยากจากไพ่ร่วมสมัยหลายชุด ไม่ได้เน้นหนักเรื่องความรักความสัมพันธ์เท่าที่ควร ดังนั้นใครที่คาดหวังว่าจะใช้ไพ่ชุดนี้อ่านเจาะลึกเรื่องความรักความสัมพันธ์โดยอาศัยแค่หน้าไพ่อย่างเดียว บอกเลยว่าไม่น่าจะเวิร์กครับ ยกเว้นแต่สกิลการเชื่อมโยงความหมาย (+แถ) ของคุณจะสูงมาก โชคดีสำหรับพวกคุณที่ผู้ผลิตได้มอบสุดยอดตัวช่วยเพื่ออุดช่องโหว่ตรงนี้โดยเฉพาะ นั่นคือคู่มือเล่มเล็ก 2 ภาษาที่แถมมาในกล่องไพ่ ถ้าคุณได้อ่านเนื้อหาส่วนความหมายไพ่แต่ละใบ คุณจะพบว่าเป็นความหมายที่เจาะจงในเรื่องความรักความสัมพันธ์โดยเฉพาะ ที่สำคัญ มันเป็นความหมายด้านความรักความสัมพันธ์ที่สกัดมาจากสารบบความหมายของไพ่ทาโรต์ตามขนบอีกด้วย ดังนั้นคุณสามารถจำเอาไว้ใช้กับไพ่ชุดอื่น ๆ ได้อย่างแน่นอน สรุปแล้ว นี่เป็นไพ่ชุดที่อ่านได้ทั้งแบบทาโรต์ตามขนบและแบบออราเคิลสายตีความ และคู่มือเล่มเล็ก ๆ ของมันยังเป็นตำราเล่มจิ๋วเอาไว้ให้อ้างอิงและศึกษาต่อยอดในด้านความรักความสัมพันธ์ได้อีกด้วย ขอให้ทุกคน "Lucky in Love" ไม่ว่าจะเป็น Love ที่มอบให้ผู้อื่น ตัวเอง หรือสิ่งที่คุณมีแพชชั่นครับ 💖
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 571 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนไทยหลายคนรู้จักและเคารพนับถือ พาเมลา คอลแมน สมิธ ในฐานะผู้สร้างไพ่ทาโรต์ชุด Rider-Waite-Smith (RWS) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของไพ่ทาโรต์ในยุคสมัยใหม่ หมอดูท่านนึงที่ไปสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการโหนกระแสวันนี้ก็พูดเรื่องนี้

    แต่จริง ๆ แล้ว คุณพาเมลาไม่ได้เป็นผู้สร้างไพ่ชุดนี้ "โดยตรง" ครับ เธอเป็นศิลปินผู้วาดหน้าไพ่ ส่วนคนที่คิดค้นคอนเสปต์ของไพ่เป็นอีกคน ถ้าคุณพาเมลาคือ "แม่" ของไพ่ทาโรต์สมัยใหม่ คนคนนี้ก็อยู่ในฐานะ "พ่อ"

    #TaleTuesday ประจำสัปดาห์นี้ จะพาไปรู้จักกับ อาเธอร์ เอ็ดเวิร์ด เวต ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดในการสร้างไพ่ RWS และควรได้รับสมญานามว่า (ตัว)พ่อของไพ่ทาโรต์แห่งยุคสมัยใหม่ โดยปรากฏตัวบนไพ่พิเศษ 1 ใน 4 ใบจาก Smithtiny Tarot (รุ่นแรก) โดย Deckstiny ครับ
    คนไทยหลายคนรู้จักและเคารพนับถือ พาเมลา คอลแมน สมิธ ในฐานะผู้สร้างไพ่ทาโรต์ชุด Rider-Waite-Smith (RWS) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของไพ่ทาโรต์ในยุคสมัยใหม่ หมอดูท่านนึงที่ไปสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการโหนกระแสวันนี้ก็พูดเรื่องนี้ แต่จริง ๆ แล้ว คุณพาเมลาไม่ได้เป็นผู้สร้างไพ่ชุดนี้ "โดยตรง" ครับ เธอเป็นศิลปินผู้วาดหน้าไพ่ ส่วนคนที่คิดค้นคอนเสปต์ของไพ่เป็นอีกคน ถ้าคุณพาเมลาคือ "แม่" ของไพ่ทาโรต์สมัยใหม่ คนคนนี้ก็อยู่ในฐานะ "พ่อ" #TaleTuesday ประจำสัปดาห์นี้ จะพาไปรู้จักกับ อาเธอร์ เอ็ดเวิร์ด เวต ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดในการสร้างไพ่ RWS และควรได้รับสมญานามว่า (ตัว)พ่อของไพ่ทาโรต์แห่งยุคสมัยใหม่ โดยปรากฏตัวบนไพ่พิเศษ 1 ใน 4 ใบจาก Smithtiny Tarot (รุ่นแรก) โดย Deckstiny ครับ
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 508 มุมมอง 131 0 รีวิว
  • ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยต่อทุกชีวิตที่สูญเสียไปในเหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาในวันนี้ รวมทั้งขอส่งกำลังใจให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บทุกท่านครับ
    ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัยต่อทุกชีวิตที่สูญเสียไปในเหตุการณ์เพลิงไหม้รถบัสทัศนศึกษาในวันนี้ รวมทั้งขอส่งกำลังใจให้แก่ครอบครัวของผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บทุกท่านครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 260 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 97 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม