• BIG STORY สารคดีเชิงข่าว ตีแผ่เรื่องใหญ่ ไขปริศนา ค้นหาความจริง

    #thaitimes #BIGSTORY
    BIG STORY สารคดีเชิงข่าว ตีแผ่เรื่องใหญ่ ไขปริศนา ค้นหาความจริง #thaitimes #BIGSTORY
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 118 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    #สนุกจังตังอยู่ครบ ความสนุกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ กับแค่โครงเรื่องแนวคลาสสิกที่ให้คนกลุ่มหนึ่ง ติดอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่งที่ไม่อาจติดต่อกับคนอื่นได้ แล้วมีการตายเกิดขึ้นทีละราย ทว่าเล่มนี้มีการรื้อโครงสร้างแนวเก่าออก แล้วก่อขึ้นใหม่โดยรูปแบบภายนอกยังคงคล้ายเดิม ทว่าภายในนั้นมีความดัดแปลงให้แตกต่างไป นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพอใจยิ่ง ผมกำลังพูดถึง #ฆาตกรรมปิดตายบนภูเขาหิมะ ผลงานของ ฮิงาชิโนะ เคโงะ ฝีมือแปลโดย สุรีรัตน์ งามสง่าพงษ์ จัดพิมพ์โดย สนพ.ไดฟุกุ เมื่อกรกฎาคม 2566 ความหนา 240 หน้า ราคา 270 บาท ต้นฉบับพิมพ์ตั้งแต่ปี 2539 นับถึงปัจจุบันก็เฉียด 30 ปีเข้าแล้ว อ่านจบก่อนและค่อนข้างชอบ จึงลองไปอ่านความเห็นคนอื่นดูบ้าง รู้สึกเสียงแตกเป็นสองฝั่ง มีไม่น้อยค่อนไปในทางไม่ค่อยชอบเท่าไรนัก ซึ่งก็แล้วแต่ความเห็นของคนอ่าน ในส่วนของผมเองมีเหตุผลที่ชอบซึ่งจะได้เขียนถึงต่อไป เบื้องต้นขอเล่าเนื้อหาโดยสรุปดังนี้ ชายหนุ่มหญิงสาว 7 คน (แบ่งเป็นชาย4หญิง3) ที่ผ่านการออดิชันเพื่อจะรับบทแสดงนำในละครเวทีของคณะละครแห่งหนึ่ง ได้รับจดหมายจากผกก.ละครที่ส่งถึงทุกคนว่าให้มารวมตัวกันที่บ้านพักหลังหนึ่งบนภูเขาเป็นเวลา 4 วัน เพื่อฝึกซ้อมพิเศษตามวันเวลานัดที่ระบุ ถ้าใครไม่มาหรือมาช้าจะถูกตัดสิทธิ์ และห้ามบอกใครทั้งนั้น ที่บ้านพัก ทั้ง7คนได้พบกับเจ้าของบ้านที่รออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ให้ทราบว่ามีห้องอะไรในเกสต์เฮาส์บ้าง มีวัตถุดิบทำอาหารไว้ให้พอสำหรับ 4 วัน แต่ผู้มาพักต้องทำอาหารเอง ไม่มีใครมาคอยดูแลให้ทั้งสิ้น ทั้ง7ต้องอยู่ตามลำพัง เป็นเงื่อนไขที่ทางคนกลางของ ผกก.ที่ติดต่อมาแจ้งไว้ ก่อนออกจากบ้านพักเขาทิ้งท้ายว่าหากมีเหตุฉุกเฉินให้โทรศัพท์ถึงเขาได้ เขาอยู่อีกที่หนึ่งซึ่งห่างไปไม่ไกลนัก ขณะทั้ง7กำลังไม่สบอารมณ์ในสิ่งที่เจ้าของบ้านพักแจ้ง และจับกลุ่มสนทนา ปรากฏว่ามีจดหมายจากผกก.มาส่ง แจ้งรายละเอียดว่าตลอด 4 วันนี้ ให้ทุกคนถือเสมือนหนึ่งอยู่ในเหตุการณ์ที่มีหิมะตกหนัก ไม่สามารถออกไปไหนและสายสัญญาณโทรศัพท์ถูกหิมะหล่นทับไม่อาจติดต่อใคร และจะมีการฆาตกรรมเกิดขึ้น โดยให้แต่ละคนจำลองสถานการณ์เอาเองว่าจะทำอย่างไร ถ้ามีฆาตกรฆ่าคนตายไปทีละคน ทั้งหมดถือเป็นการฝึกซ้อมและทดสอบที่จะนำมาใช้ในการวัดผล โดยห้ามติดต่อหาใครทั้งนั้น ห้ามออกไปไหนจนกว่าจะครบกำหนด ใครฝ่าฝืนถือว่าสละสิทธิ์โดยปริยาย ด้วยเหตุนี้ยิ่งทำให้ทั้ง7คนทุ่มเถียงถึงคำสั่งแปลกพิสดารของผกก. แต่ในที่สุดก็จำต้องยอมรับและปฏิบัติตาม หลังเลือกห้องกันแล้วว่าใครจะพักห้องไหน มีทั้งห้องเตียงเดี่ยวและเตียงคู่ มีห้องสันทนาการ ห้องนั่งเล่นรวม ห้องอาหาร ห้องครัว ห้องสุขาและอาบน้ำ และห้องอื่น ๆ ทุกคนใช้ชีวิตไปตามอัธยาศัย แล้วก็เกิดเหตุน่ากลัวขึ้นในคืนวันแรก สมาชิกในกลุ่มคนหนึ่งหายตัวไปในเช้าวันถัดมา และมีกระดาษที่เขียนคำอธิบายไว้ว่าบุคคลคนนั้นถูกฆ่าตายแล้วด้วยวิธีการใด และต้องหายตัวไปเหมือนถูกตัดออกจากการแข่งขัน สมาชิกที่เหลือจึงเริ่มตื่นตัวขึ้น แม้ไม่รู้ว่าเพื่อนคนดังกล่าวไปแอบอยู่ที่ใดระหว่างที่ยังไม่ครบ4วัน คนที่เหลือต้องพยายามหาทางคาดเดาตัวคนร้ายให้ได้ ในระหว่างคนทั้ง6ที่เหลือ ก็มีความสัมพันธ์ส่วนตัวพัวพันกันอยู่ มีชายอย่างน้อยสามคนที่ชอบหญิงคนหนึ่งในกลุ่ม จึงมีการพูดจาเชิงข่มหรือดูถูกเหยียดหยาม ส่วนหญิงอีกคนดูจะมีใจให้กับชายอีกคนที่ชอบผู้หญิงอีกคน มันช่างยุ่งเหยิงดีแท้ และแล้วก็มีการตายเกิดขึ้นอีกในคืนวันถัดมาโดยไม่มีใครทราบจนล่วงเข้าวันใหม่ ยังคงมีกระดาษเขียนรายละเอียดที่ระบุว่าผู้ตายถูกฆ่าแบบไหน และคนในกลุ่มก็หายตัวไปอีกหนึ่ง เหลือเพียง 5 คน ทำให้เกิดการทุ่มเถียงกันมากขึ้น มีคนหนึ่งเริ่มเสนอแนวคิดที่น่ากลัวว่า คนที่หายตัวไปนั้นอาจไม่ใช่การซ้อมแสดงละคร แต่ได้ถูกฆ่าตายไปแล้วจริง ๆ ความจริงเบื้องหลังเรื่องราวทั้งหมดคืออะไรกันแน่ หาคำตอบได้ใน ฆาตกรรมปิดตายบนภูเขาหิมะครับ .............. ความจริงเล่มนี้ตัวละครไม่เยอะ มีกล่าวถึงคนอื่นที่เกี่ยวข้องบ้างเล็กน้อยคือผกก. ,เจ้าของบ้านพัก,และตัวละครอีกหนึ่งคนซึ่งจะถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ หลังคนในกลุ่มได้เข้าพักในบ้านไปแล้วระยะหนึ่ง ดังนั้นสำหรับผม ถือว่าเรื่องนี้มีความง่ายกว่าเรื่องอื่น ๆ ที่เคยอ่านมาในการจดจำตัวละคร เรียกว่าพยายามท่องจำเอาตั้งแต่เริ่มเลย พร้อมกับดูผังบ้านชั้น1 และชั้น2ประกอบไปด้วย เพื่อจำว่าใครพักอยู่ห้องไหนบ้าง แม้รายละเอียดของผังบ้านที่ให้มาจะไม่ได้มีรายละเอียดมากนัก แค่วาดแบ่งเป็นขนาดให้เห็นอย่างหยาบ ๆ ว่าห้องไหนคือห้องอะไร มีเฟอร์นิเจอร์ใดตั้งอยู่บ้างเท่าที่จำเป็น ตำแหน่งของประตูหน้าต่างก็บอกเฉพาะบางตำแหน่งเท่านั้น ไม่ได้แสดงครบทุกห้อง และมองเห็นบางจุดที่รู้สึกติดใจตั้งแต่ทีแรกว่าตำแหน่งนั้นคืออะไร ทำไมไม่ระบุรายละเอียดให้ทราบ พออ่านจนใกล้จบจึงถึงบางอ้อ ที่แท้จุดที่เราสงสัยเป็นส่วนสำคัญของปริศนาแห่งคดีในเล่มนี้ด้วยสิ ขอกล่าวถึงเหตุผลที่ชอบนะครับ หลักเลยคือเห็นถึงความตั้งใจของผู้เขียน ที่อยากจะทำให้เกิดการเล่าเรื่องแนวใหม่ที่แตกต่างไปจากการเล่ารูปแบบเดิมที่เคยใช้กันมาในนิยายรุ่นเก่าของนักเขียนดังหลายคนทางฝากตะวันตก แม้จะสร้างสถานการณ์ให้มีคนมาอยู่รวมกันในที่ซึ่งเหมือนหนีไปไหนไม่ได้ แล้วตายไปทีละคนเช่นโครงเรื่องแนวคลาสสิก แต่ก็ใส่รายละเอียดที่ทำให้ต่างตรงที่คราวนี้ ทุกอย่างถูกกำหนดบังคับจากกฎกติกาที่ระบุในจม. ทำให้เหยื่อมีความสับสนระหว่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าคือความจริงหรือคือการแสดงละครตามสิ่งที่ผกก.ต้องการกันแน่ ที่สร้างสรรค์อย่างมากคือใช้วิธีการเล่าสองรูปแบบสลับกันไปตลอดทั้งเรื่อง คือเล่าในมุมมองพระเจ้าที่เราเข้าใจเอาเองแต่แรกว่าคือมุมมองสายตาของนักเขียน ทว่าเฉลยตอนท้ายที่เข้าสู่ช่วงไขคดีว่าที่แท้เป็นมุมมองพระเจ้าก็จริง แต่ไม่ใช่สายตาผู้เขียน หากแต่เป็นใคร หากได้อ่านเองแล้วก็จะรู้ จุดนี้ผมถือว่ายอดเยี่ยมมาก ส่วนอีกมุมมองหนึ่งจะเป็นการเล่าผ่านสายตาและความคิดของตัวละครตัวหนึ่งที่อยู่ในกลุ่ม7คน คล้ายทำนองบันทึกการคุยกับตัวเองว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น มีใครทำอะไร ใครคุยว่าอย่างไรบ้าง โดยในส่วนนี้จะมีสอดแทรกความเห็นส่วนตัวของคนดังกล่าวทำให้คนอ่านทราบมุมมองของเขาอย่างใกล้ชิด และเป็นตัวละครสำคัญที่เหมือนเป็นตัวขับเคลื่อนให้เรื่องเดินหน้าต่อไป และตัวละครตัวนี้เองที่ภายหลัง ก็คล้ายจะสถาปนาตนเองเป็นผู้ทำหน้าที่แทนนักสืบในการคลี่คลายปริศนาทั้งหมดด้วย เรื่องจะถูกแบ่งเล่าเป็น 4 วัน ในแต่ละวันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างจนกระทั่งจบวัน จึงเริ่มต้นบทใหม่ในวันถัดไป ดังที่ผมบอกไปก่อนหน้านี้คือ ตั้งใจท่องจำชื่อตัวละครทั้ง7และจำผังบ้านไว้ในหัวคร่าว ๆ ดังนั้นตอนอ่านที่ผู้เขียนบรรยายเล่าถึงช่วงที่ระบุถึงตัวละครกำลังทำอะไรอยู่ที่ไหนในห้องใด และการเล่าถึงสภาพภายในของบ้านพักว่ามีอะไรตั้งอยู่จุดไหนอย่างไร ผมจึงมองเห็นภาพเป็นสามมิติได้ไม่ยากนัก นับว่าผู้เขียนออกแบบและคิดผังบ้านหลังนี้มาได้ไม่เลว จึงสอดรับเข้ากันกับเหตุผลที่ประกอบในการกระทำของตัวละครต่าง ๆ อย่างกลมกลืน ด้วยความที่ส่วนตัวผมเคยผ่านการ try out จนได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของคนที่ได้รับการฝึกฝนเพื่อแสดงละครเวที รวมถึงเคยอยู่ในฐานะของผู้ที่ฝึกฝนการแสดงให้กับรุ่นน้องในคณะสมัยเรียนมาก่อน ดังนั้นจึงค่อนข้างเข้าใจในความรู้สึกของเหล่าตัวละครที่แสดงบทบาทลีลาในเรื่อง ว่าทำไมถึงคิดหรือพูดและทำอะไรลงไปดังที่ปรากฏนั้น ซึ่งไม่แปลกแต่ประการใด จึงถือว่าเล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งของผู้เขียน ที่มีมุมมองการเล่าเรื่องที่สร้างสรรค์ได้น่าสนใจไม่แพ้เรื่องตุ๊กตาปิเอโรในคฤหาสน์กางเขนเช่นกัน ด้านสำนวนการแปลอ่านได้เพลินไม่มีสะดุดติดขัด บางคำพูดของบทสนทนาก็ทำให้รู้สึกฮาเหมือนกัน เป็นเรื่องที่น่าจะเครียด แต่กลับอ่านแล้วผ่อนคลายสบาย ๆ และอยากรู้ว่าที่แท้แล้วเรื่องราวเป็นอย่างไรกันแน่ ชอบบทสรุปของเรื่องในตอนท้ายที่ต่างไปจากนิยายแนวนี้ที่อ่านผ่านมาทั้งหมด นับว่าเป็นตอนจบที่ผมมีความสุขมากจริง ๆ ครับ โดยเฉพาะกลอุบายที่ใช้ ช่างน่าประทับใจยิ่ง #รีวิวหนังสือ #นิยายแปล #นิยายญี่ปุ่น #บทความ #เรื่องแปล #ฃาตกรรม #สืบสวน #thaitimes #ละครเวที #ไขปริศนา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 553 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    30/1167 ## น้ำตกเลือด (Blood Falls) ในแอนตาร์กติกา : ปริศนาแห่งขั้วโลกใต้ที่ชวนพิศวง ท่ามกลางความเวิ้งว้างว่างเปล่าของทวีปแอนตาร์กติกา ณ ธารน้ำแข็งเทย์เลอร์ (Taylor Glacier) ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาแห้งแล้งแมคเมอร์โด (McMurdo Dry Valleys) มีปรากฏการณ์ธรรมชาติอันน่าพิศวงที่ดึงดูดความสนใจจากนักวิทยาศาสตร์และผู้คนทั่วโลก นั่นคือ **น้ำตกเลือด (Blood Falls)** สายน้ำสีแดงฉานราวกับเลือดที่ไหลทะลักออกมาจากรอยแยกของธารน้ำแข็ง ตัดกับพื้นน้ำแข็งสีขาวโพลน สร้างความตื่นตะลึงและความสงสัยใคร่รู้แก่นักสำรวจขั้วโลกใต้มาเนิ่นนาน ราวกับเป็นฉากในภาพยนตร์สยองขวัญ **การค้นพบและความลึกลับ** ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1911 กริฟฟิธ เทย์เลอร์ (Griffith Taylor) นักธรณีวิทยาชาวออสเตรเลีย เป็นผู้ค้นพบน้ำตกเลือดเป็นคนแรก ในขณะนั้น ด้วยข้อจำกัดทางวิทยาศาสตร์ เขาสันนิษฐานว่าสีแดงของน้ำตกเกิดจากสาหร่ายสีแดง ซึ่งเป็นสมมติฐานที่ฟังดูสมเหตุสมผลในยุคนั้น แต่ต่อมา นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความจริงที่น่าทึ่งยิ่งกว่า ซ่อนอยู่ภายใต้ธารน้ำแข็งแห่งนี้ **ต้นกำเนิดของสีแดง** ปัจจุบัน เราทราบแล้วว่าสีแดงเข้มของน้ำตกเลือด เกิดจาก **เหล็กออกไซด์ (iron oxide)** หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ สนิมเหล็ก ซึ่งมีปริมาณมากในน้ำที่ไหลออกมาจากน้ำตก แต่น้ำเหล่านี้ไม่ได้มาจากหิมะหรือน้ำแข็งที่ละลาย หากแต่มีต้นกำเนิดจากทะเลสาบน้ำเค็มใต้ธารน้ำแข็ง ซึ่งถูกกักขังไว้ภายใต้น้ำแข็งมานานกว่า 2 ล้านปี ลองนึกภาพทะเลสาบโบราณ ที่ถูกปิดตายจากโลกภายนอก อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ ที่ปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่ปราศจากออกซิเจนและแสงแดด จุลินทรีย์เหล่านี้ ดำรงชีวิตโดยการหายใจโดยใช้ซัลเฟต และมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลง ธาตุเหล็กในน้ำให้กลายเป็นเหล็กออกไซด์ เมื่อน้ำใต้ธารน้ำแข็ง ไหลออกมาสัมผัสกับอากาศ เหล็กออกไซด์ก็จะทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เกิดเป็นสีแดงสนิม เหมือนกับที่เราเห็นเหล็กขึ้นสนิมเมื่อโดนน้ำและอากาศ **ความสำคัญต่อการศึกษา** น้ำตกเลือด ไม่ได้เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงามแปลกตา แต่ยังเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญ ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ เข้าใจถึง ระบบนิเวศน์โบราณ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และ กระบวนการทางธรณีวิทยา การศึกษา จุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมสุดขั้ว เช่น ทะเลสาบใต้ธารน้ำแข็ง อาจเป็นกุญแจสำคัญ ที่ช่วยให้เรา ค้นพบ สิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร ที่อาจมีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน น้ำตกเลือด จึงเป็นเสมือนห้องทดลองทางธรรมชาติ ที่เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ ศึกษา และ ไขปริศนา เกี่ยวกับ สิ่งมีชีวิต และ วิวัฒนาการ บนโลก และ ในจักรวาล **ข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ** * น้ำตกเลือด มีความเค็ม มากกว่า น้ำทะเล ถึง 4 เท่า ลองจินตนาการถึงรสชาติของมันดูสิครับ * อุณหภูมิของน้ำ ใน น้ำตกเลือด อยู่ที่ -5 องศาเซลเซียส แต่ไม่แข็งตัว เนื่องจาก ความเค็ม ที่ทำหน้าที่เหมือนสารป้องกันการแข็งตัว * จุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ใน น้ำตกเลือด สามารถ หายใจ โดยใช้ ซัลเฟต แทน ออกซิเจน ซึ่งเป็น กลไกการปรับตัว ที่น่าทึ่ง สำหรับการดำรงชีวิต ในสภาพแวดล้อม ที่ ไม่มีออกซิเจน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 448 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    ฝากนิยายด้วยนะคะ อัพตอนที่ 19 ค่ะ อัพทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ readAwrite นะคะ The Boundary เขตแดนพิศวง แนว ชญ ลึกลับ แฟนตาซี สืบสวนแบบเหนือธรรมชาติ Writer : Cirrus Halo มูลนิธิเหรียญปราชญ์ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อท้องถิ่น และรับคำร้องจากคนที่เดือดร้อนเพราะเรื่องเหนือธรรมชาติต่างๆ เอวากับนาชาญเป็นเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิเหรียญปราชญ์จึงมีหน้าที่ต้องลงไปตรวจสอบและแก้ไขปริศนาเบื้องหลังความลึกลับของตำนานสยองขวัญและความเชื่อที่แปลกประหลาด ซึ่งเกี่ยวข้องกับภพภูมิทั้งสี่ได้แก่ ยักษ์ กุมภัณฑ์ พญานาค และคนธรรพ์ การเดินทางจะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง โปรดติดตามได้ใน The Boundary เขตแดนพิศวงค่ะ https://www.readawrite.com/a/Zbrlo9-The-Boundary-40%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7?r=search_article
    WWW.READAWRITE.COM
    The Boundary (เขตแดนพิศวง): ลึกลับ
    มูลนิธิเหรียญปราชญ์ซึ่งทำหน้าที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อท้องถิ่นและตำนานอาถรรพ์ บางครั้งก็มีคำร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 420 มุมมอง 0 รีวิว
  • อ่านเพิ่มเติม
    วิเคราะห์หนังสือในมือ เล่มล่าสุดที่เพิ่งอ่านจบครับ เป็นหนังสือที่เพิ่งเห็นในห้องสมุดไม่นานนี้ ก่อนหน้าได้เคยอ่านบ้านวิกลคนประหลาดเล่มแรกไปเมื่อหลายเดือนก่อน รู้สึกว่าผลงานนักเขียนคนนี้จะค่อนข้างมีกระแสแรงทั้งสองด้าน คนที่ชอบก็จะชอบมาก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็ไม่ชอบมากถึงขั้นเกลียดก็มี ที่จะอยู่ตรงกลางไม่ค่อยเห็น ผมสนใจอ่านผลงานของเขาด้วยเหตุผล 2 ประการ 1. อยากอ่านจริง ๆ เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจอีกทั้งการนำเสนอที่มีอะไรให้เล่นสนุกได้นอกเหนือไปจากตัวอักษรล้วน ปกติชอบหนังสือประเภทมีภาพประกอบให้ได้ใช้ความคิดวิเคราะห์อยู่แล้ว 2 อยากทราบว่าทำไมผลงานของเขาถึงก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงการนักอ่านได้อย่างรุนแรงชนิดที่เป็นขั้วตรงข้ามขนาดนั้น อ่านแล้วได้ข้อสรุปกับตัวเองคือ ผมชอบนะ แต่ไม่ได้ถึงขนาดชอบมาก ชอบในการสร้างสรรค์งานเขียนที่สร้างจุดแปลกให้แตกต่าง อาจจะไม่ได้เป็นครั้งแรก คนแรก ที่ใช้กลวิธีนำเสนอภาพกับเนื้อหาให้สอดคล้องกันไปกับเรื่องที่ต้องการเล่า ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นให้คนเขียนได้ออกกำลังทางความคิด ไปจนถึงความขัดแย้งทางความเห็นได้มากกว่างานเขียนอื่นที่ปรากฏสู่สายตานักอ่านในช่วงเดียวกันในเมืองไทย ไม่ว่าอ่านแล้ว จะมีทั้งคนชอบหรือคนไม่ชอบ ไปจนถึงรักหรือเกลียดในผลงาน หรืออาจพาไปถึงเกลียดคนเขียนด้วยหรือไม่นั้น ผมถือว่าเขาทำสำเร็จแล้วในแง่ของนักเขียนผู้สร้างปรากฏการณ์ที่เขย่าวงการ อย่างน้อยที่สุดการที่ได้มีการโต้แย้งทางความเห็นที่ไม่ไหลไปในทางเดียวกันทั้งหมด คือมีทั้งคนที่ชี้ข้อดี และข้อเสีย ก็น่าเป็นผลดีที่ทำให้เกิดความตื่นตัวต่อแวดวงคนอ่าน จะได้ไม่ซบเซาเหงาหงอยเกินไป ส่วนความเห็น ไม่ว่าจะฝั่งไหน ก็ไม่ได้ลดทอนคุณค่าหรือสาระที่มีอยู่ในหนังสือเล่มใดให้มากขึ้น หรือลดลง เนื่องจากความเห็นยังไม่เที่ยงแท้และไม่ใช่ความจริง ด้วยขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมมากมายในแต่ละบุคคล ไม่ได้หมายความว่าความเห็นของคนที่ชอบจะต้องถูก หรือความเห็นของคนที่ไม่ชอบจะต้องผิด แม้แต่ความเห็นของเราเองยังเชื่อใจไม่ได้เลยด้วยซ้ำ ว่าจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล ไม่แน่ว่ากาลเวลาล่วงเลยไปถึงระยะหนึ่งในวันข้างหน้า ที่เราเติบโตขึ้นต่างไปจากความรู้สึกในปัจจุบัน มุมมองความเห็นเราอาจกลายเป็นตรงข้ามกับตัวเองในตอนนี้ก็ยังได้ นั่นต่างหากคือความจริง #ภาพวาดปริศนากับการตามหาฆาตกร สนพ.Prism ฉบับพิมพ์ครั้ง4 ม.ค.2567 อุเก็ตสึ เขียน ฉัตรขวัญ อดิศัย แปล 335 บาท 274 หน้า เนื้อหาอย่างคร่าว เริ่มต้นบทนำด้วยหญิงคนหนึ่งที่เป็นผู้ศึกษามาทางด้านจิตวิเคราะห์ นำภาพวาดของเด็กหญิงวัย 11 ปี ที่เคยเป็นคนในความดูแลของตนช่วงเวลาหนึ่งมาฉายให้นักศึกษาที่เข้าฟังบรรยายชม และบอกว่าเด็กหญิงฆ่าแม่ตัวเองตาย เธออธิบายความหมายเบื้องหลังภาพนั้น ก่อนจะลงท้ายว่าเด็กหญิงเคยถูกแม่ทารุณกรรม แต่มีแนวโน้มพอจะเยียวยาได้ ปัจจุบันมีข่าวว่าเธอเป็นแม่คนแล้ว บทที่1ภาพวาดผู้หญิงยืนกลางสายลม เข้าสู่เรื่องราวของความแปลกด้วยการที่ นักศีกษาชมรมเรื่องลี้ลับชายคนหนึ่ง ได้รับการกระตุ้นให้เกิดสนใจในการเข้าไปอ่านในบล็อก ที่ผู้เขียนไม่เปิดเผยตัวตน แต่พิมพ์เล่าเรื่องราวในชีวิตตนเองคล้ายไดอารีให้คนที่เข้ามาอ่านทราบความเป็นไปของเขา ซึ่งมีอะไรที่ชวนฉงน อีกทั้งเจ้าของบล็อกลงรูปภาพหลายภาพ ที่ชวนให้รู้สึกว่าเรื่องราวที่เขาเล่ามีอะไรที่ไม่ปกติซ่อนเร้นอยู่ ยิ่งสุดท้ายมีการระบุว่าเกิดเหตุร้ายแรงขึ้นกับคนในครอบครัว และจะไม่อัปบล็อกอีกต่อไป เนื้อหาเหล่านั้นจึงค้างคาในใจของรุ่นน้อง แล้วพลอยส่งต่อความรู้สึกมายังรุ่นพี่ให้อยากรู้ตาม จนนอนไม่หลับ ใคร่จะไขปริศนาให้จงได้ จบตอน บทที่2 ภาพวาดหมอกปกคลุมห้อง กล่าวถึงหญิงคนหนึ่งที่ถูกเรียกหาว่า หม่าม้า จากลูกชายวัย 6 ขวบ ทั้งคู่อาศัยอยู่ด้วยกันตามลำพังในแมนชั่นแห่งหนึ่ง แม่ทำงานเป็นพนักงานในซูเปอร์มาร์เก็ต ลูกชายนั้นเรียนที่โรงเรียนใกล้ที่พัก ระยะนี้คนเป็นแม่รู้สึกได้ว่าถูกใครสักคนลอบดูและแอบติดตามขณะเธอและลูกออกนอกแมนชั่น โดยเฉพาะช่วงเวลากลับจากรับลูกที่โรงเรียน จนมีความเครียดและกังวล ในขณะคุณครูที่ดูแลเด็กนักเรียนห้องที่ลูกชายของเธอเรียนอยู่นั้น ก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับภาพวาดของเขามาหารือ เป็นภาพที่มีหัวข้อเกี่ยวกับแม่ แต่มีอะไรบางอย่างในภาพนั้นที่รบกวนใจของครูอย่างแปลกประหลาด จนภายหลังเมื่อค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์คำพูดของเพื่อนครูคนอื่น รวมถึงคำบอกเล่าของเด็กหญิงที่เป็นเพื่อนสนิทกันของเด็กชาย ดูเหมือนจะมีความลับที่น่าตกใจซ่อนอยู่ เกี่ยวกับแม่ลูกคู่นี้ บทที่3 ภาพวาดในวาระสุดท้ายของครูสอนศิลปะ ครูหนุ่มใหญ่ซึ่งสอนในชมรมศิลปะของโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นคนค่อนข้างตรง และอุปนิสัยแข็งกร้าว เขามีน้ำใจชอบช่วยลูกศิษย์ และกับเพื่อนที่เคยเรียนด้วยกันในอดีต ชื่นชอบการวาดรูปกับปีนเขา เรื่องเกิดขึ้นในวันหนึ่งที่เขาขึ้นไปวาดรูปบนยอดเขาแล้วถูกพบเป็นศพในวันต่อมา สภาพศพน่าอเนจอนาถ คดีนี้มีผู้ได้รับการสอบถามจากนักข่าว 4 รายคือพนักงานที่คอยดูแลตรวจตราสภาพของภูเขา ,เมียผู้ตาย ซึ่งมีลูกชายวัยประถม ,เพื่อนสมัยเป็นนักศึกษาที่ปัจจุบันทำงานพิเศษเป็นครูอยู่โรงเรียนเดียวกับผู้ตาย และนักเรียนชมรมศิลปะที่ผู้ตายสอน แต่ตำรวจไม่สามารถจับคนร้าย ต่อมาหนุ่มนักศึกษาที่เคยเป็นลูกศิษย์ของผู้ตาย ที่หลังจบม.ปลายได้เข้าทำงานกับบริษัทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขารักครูผู้ตายที่เคยช่วยเหลือตนสมัยเรียน จึงอยากสืบหาความจริง จากเบาะแสภาพวาดที่ทิ้งไว้ก่อนเสียชีวิต ทว่าเรื่องราวช่างซับซ้อนซ่อนกล และแฝงไว้ซึ่งความจริงอันน่าตื่นตระหนก บทที่4 ภาพวาดต้นไม้ปกป้องนกกระจอกชวา บทสุดท้ายที่จะขมวดทุกเหตุการณ์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเข้าสู่เรื่องยาวของชีวิต ๆ หนึ่ง ที่ย้อนกลับสู่บทนำในภาพแรกที่นักจิตวิเคราะห์ได้นำเสนอ โดยเล่าถึงชีวิตที่น่าสงสารและเห็นใจของเด็กหญิงที่บอกเล่าที่มาซึ่งทำให้เธอกลายเป็นฆาตกรฆ่าแม่ และเรื่องราวหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง ที่จะไปเชื่อมต่อกับเนื้อหาในบทที่ 1 2 3 ตามลำดับ เพื่อจะได้ทราบความจริงที่ถูกซ้อนทับด้วยคดีฆาตกรรมที่เกิดขึ้นในอดีตหลายคดีด้วยกัน ทั้งหมดล้วนมีต้อตอมาจากคนคนเดียว เป็นใคร และทำไม ไปตามต่อได้ในเล่มครับ 🖋หลังอ่านจบ ชอบในความอ่านง่าย ยิ่งมีภาพประกอบสลับเป็นช่วง ทำให้ได้พักสายตา จะขอไม่กล่าวถึงในแง่ต่าง ๆ ที่ทั้งคนชอบและไม่ชอบต่างวิจารณ์กันไปเยอะแล้ว แต่อยากพูดถึงในแง่ว่า ผู้เขียนฉลาดนักในการตัดสินใจเล่าอย่างตรงไปตรงมา ไม่อธิบายบรรยายฉากหรือเรื่องที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์อย่างละเอียดมาก บางฉากถึงกับใช้วิธีที่ง่าย สั้น และตรง ๆ ทื่อ ๆ เลยด้วยซ้ำ ซึ่งมันกลับได้ผล ทรงพลัง เมื่อเราได้จินตนาการไปตามตัวอักษรเหล่านั้น เช่น ปั้กกก แล้วก็ ปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกกปั้กกก... แค่ตอนที่อ่านถึงตรงบรรทัดนี้ ความรู้สึกเวลาหลับตานึกถึงกิริยาที่ก่อให้เกิดเสียง กับอาการที่เกิดขึ้นอันเป็นผลลัพธ์ ก็ทำเอาใจคอไม่เป็นปกติแล้ว เสียงชนิดเดียวที่ดังต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีกชั่วระยะเวลาที่แม้นไม่นานนัก แต่น่าจะยาวนานที่สุดในชีวิตสำหรับความรู้สึกของผู้อยู่ในเหตุการณ์ เพียงแค่ฉากนี้ฉากเดียว สามารถสื่อถึงความวิปริตผิดปกติของจิตใจคนคนนั้นได้อย่างชัดเจน เพราะแสดงให้เห็นถึงสภาพคนที่มีความเก็บกด อดกลั้น ย้ำคิดย้ำทำ กังวลและเครียด ไม่สามารถจะควบคุมหรือยับยั้งความคิดหรืออารมณ์ที่ผุดพุ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว พอปล่อยให้มันแสดงออกตามสบาย จึงล้นทะลักราวทำนบทลาย ซึ่งสังเกตได้ว่าไม่ได้ปรากฏขึ้นแค่เฉพาะฉากนี้เท่านั้น นี่คือความน่ากลัว และน่าขนลุกอย่างแท้จริง อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสังคมไทยในปัจจุบัน เด็กหญิงชายจำนวนมากมาย ที่เติบโตขึ้นมาอย่างผู้ถูกกระทำจากคนใกล้ชิดในครอบครัว แม้บางส่วนถูกช่วยเหลือออกมาได้ และเข้าสู่ขั้นตอนช่วยเหลือเยียวยา ทว่า..เราจะมั่นใจได้อย่างไร ว่าสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในจิตใจของเด็ก ๆ ได้รับการสะสางชำระล้างไปจนหมดสิ้น แล้วจะไม่กลายร่างเป็นดังเช่นคนร้ายที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ เด็กทั้งหลาย เขาได้เติบโตขึ้นมาและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนทั่วไปในสังคม โดยที่เหมือนมีระเบิดเวลาซุกซ่อนอยู่ในตัว รอวันที่จะถูกสิ่งใดมากระตุ้นโดนจุดอ่อนนั้นให้เกิดเป็นเรื่องราวบทใหม่หรือไม่ เป็นไปได้ว่าสักวันเหยื่อเหมือนในหนังสือเล่มนี้ อาจเป็นใครบางคนที่เรารักหรือรักเรา แม้กระทั่งตัวเราเองก็เป็นได้ ใครจะรู้?! #บทความ #บทวิจารณ์ #หนังสือน่าอ่าน #ฆาตกรรม #จิตวิทยา #หนังสือแปล #นิยายแปล #ความรุนแรงในครอบครีว #พ่อแม่รังแกฉัน #ปริศนา #ภาพวาด #thaitimes #อุเก็ตสึ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1864 มุมมอง 0 รีวิว