ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง วิโรจน์ นวลแข อดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ร้อง อัยการสูงสุด ฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีปล่อยกู้เครือกฤษฎามหานคร ระบุ คำพิพากษา-คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ขณะที่ วิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถอนตัว เหตุ เกี่ยวข้องกับคดีที่ขอให้วินิจฉัยนั้นมาก่อนสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 30 เมษายน 2568 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ เรื่องพิจารณาที่ ต. 35/2568 กรณีนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ผู้ถูกร้อง ฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีที่ธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้กับเครือกฤษฎามหานคร เป็นการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาก่อนที่จะมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่รายละเอียดผ่านเอกสารข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข่าวที่ 12/2568 ดังนี้นายวิโรจน์ นวลแข ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า สำนักงานอัยการสูงสุด ผู้ถูกร้อง ฟ้องผู้ร้องกับพวกรวม 27 คน เป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลพิพากษาว่าผู้ร้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และมาตรา 8 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 313 ประกอบมาตรา 307 และมาตรา 308 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบมาตรา 354แต่ภายหลังศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเห็นว่า เมื่อศาลยกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนักการเมืองเพียงคนเดียวในคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจถูกดำเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การที่ผู้ถูกร้องทำให้ผู้ร้องต้องตกอยู่ในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณาค้นหาความจริงที่แตกต่างจากการพิจารณาแบบทั่วไปและถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 มาตรา 29 มาตรา 188 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง ข้ดต่อกฎหมายและหลักนิติธรรม ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายนอกจากนี้ ผู้ร้องกล่าวอ้างด้วยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 และมาตรา 27 ทำให้ผู้ร้องถูกละเมิดจากการกระทำของผู้ถูกร้องผลการพิจารณานายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากการพิจารณาคดีนี้ เนื่องจากเคยเป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการในศาลอื่นซึ่งเคยพิจารณาวินิจฉัยในคดีหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ขอให้วินิจฉัยนั้นมาก่อน และที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นเรื่องที่ศาลอื่นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561มาตรา 47 (4) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 นั้น เป็นการยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สิทธิไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 และมาตรา 231 (1) กรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 48 ประกอบมาตรา 47 (2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูสังไม่รับคำร้องไว้พิจารมา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจอื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐรรมนูมาตรา
ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง วิโรจน์ นวลแข อดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ร้อง อัยการสูงสุด ฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คดีปล่อยกู้เครือกฤษฎามหานคร ระบุ คำพิพากษา-คำสั่งถึงที่สุดแล้ว ขณะที่ วิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถอนตัว เหตุ เกี่ยวข้องกับคดีที่ขอให้วินิจฉัยนั้นมาก่อนสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 30 เมษายน 2568 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ เรื่องพิจารณาที่ ต. 35/2568 กรณีนายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) ผู้ถูกร้อง ฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีที่ธนาคารกรุงไทยปล่อยกู้ให้กับเครือกฤษฎามหานคร เป็นการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาก่อนที่จะมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่รายละเอียดผ่านเอกสารข่าวสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข่าวที่ 12/2568 ดังนี้นายวิโรจน์ นวลแข ผู้ร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า สำนักงานอัยการสูงสุด ผู้ถูกร้อง ฟ้องผู้ร้องกับพวกรวม 27 คน เป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และศาลพิพากษาว่าผู้ร้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 และมาตรา 8 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 313 ประกอบมาตรา 307 และมาตรา 308 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353 ประกอบมาตรา 354แต่ภายหลังศาลพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเห็นว่า เมื่อศาลยกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนักการเมืองเพียงคนเดียวในคดีแล้ว ผู้ร้องจึงไม่อาจถูกดำเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การที่ผู้ถูกร้องทำให้ผู้ร้องต้องตกอยู่ในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณาค้นหาความจริงที่แตกต่างจากการพิจารณาแบบทั่วไปและถูกพิพากษาให้มีความผิด จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 5 วรรคหนึ่ง มาตรา 27 มาตรา 29 มาตรา 188 วรรคหนึ่ง และมาตรา 195 วรรคสอง ข้ดต่อกฎหมายและหลักนิติธรรม ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายนอกจากนี้ ผู้ร้องกล่าวอ้างด้วยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 และมาตรา 27 ทำให้ผู้ร้องถูกละเมิดจากการกระทำของผู้ถูกร้องผลการพิจารณานายวิรุฬห์ แสงเทียน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ขอถอนตัวจากการพิจารณาคดีนี้ เนื่องจากเคยเป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการในศาลอื่นซึ่งเคยพิจารณาวินิจฉัยในคดีหรือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคดีที่ขอให้วินิจฉัยนั้นมาก่อน และที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอนุญาตศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องเป็นเรื่องที่ศาลอื่นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561มาตรา 47 (4) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213ส่วนที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 10 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 นั้น เป็นการยื่นคำร้องขอให้ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติให้สิทธิไว้เป็นการเฉพาะแล้วตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 และมาตรา 231 (1) กรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 48 ประกอบมาตรา 47 (2) ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูสังไม่รับคำร้องไว้พิจารมา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจอื่นคำร้องดังกล่าวตามรัฐรรมนูมาตรา
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
188 มุมมอง
0 รีวิว