• เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 424 มุมมอง 0 รีวิว
  • ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๒๔ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นพระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และทรงเป็นพระอัยยิกา (ย่า) ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑๐)

    ตลอดพระชนม์ชีพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนที่ยากไร้และชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพในปีพ.ศ. ๒๕๓๘ รวมพระชนมายุ ๙๕ พรรษา

    องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ประจำปีพ.ศ.๒๕๔๓ ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมในด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม"

    “ เกียรติยศไม่ได้มาด้วยชาติกำเนิด แต่เกิดจากการกระทำ.. .”
    ”Not noble by birth, Yet noble by deeds“
    พระราชดำรัสในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปรากฏอยู่ในหอแห่งแรงบันดาลใจ ดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

    ขอบคุณภาพเขียนโดย James Paiboon

    #Thaitimes
    ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๑๒๔ ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นพระบรมราชชนนีของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ ๘) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และทรงเป็นพระอัยยิกา (ย่า) ของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๑๐) ตลอดพระชนม์ชีพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระองค์ทรงงานอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนที่ยากไร้และชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพในปีพ.ศ. ๒๕๓๘ รวมพระชนมายุ ๙๕ พรรษา องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก (UNESCO) ได้ยกย่องให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ประจำปีพ.ศ.๒๕๔๓ ในฐานะที่ทรงมีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมในด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ การพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม" “ เกียรติยศไม่ได้มาด้วยชาติกำเนิด แต่เกิดจากการกระทำ.. .” ”Not noble by birth, Yet noble by deeds“ พระราชดำรัสในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปรากฏอยู่ในหอแห่งแรงบันดาลใจ ดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ขอบคุณภาพเขียนโดย James Paiboon #Thaitimes
    Love
    Like
    8
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 361 มุมมอง 0 รีวิว
  • อรุณสวัสดิ์ยามเช้าวันศุกร์แรกของเดือนตุลาคม

    ภาพวาดสีน้ำบ้านในย่านชุมชนชาวจีน ผลงานศิลปิน Huangyouwei

    #thaitimes
    #สีน้ำ
    #ภาพวาด
    #ภาพเขียนสีน้ำ
    #งานศิลป์
    #ศิลปะ
    #ยามเช้า
    #หมู่บ้าน
    #ชุมชนจีนโบราณ
    อรุณสวัสดิ์ยามเช้าวันศุกร์แรกของเดือนตุลาคม ภาพวาดสีน้ำบ้านในย่านชุมชนชาวจีน ผลงานศิลปิน Huangyouwei #thaitimes #สีน้ำ #ภาพวาด #ภาพเขียนสีน้ำ #งานศิลป์ #ศิลปะ #ยามเช้า #หมู่บ้าน #ชุมชนจีนโบราณ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 597 มุมมอง 0 รีวิว
  • พฤหัสบดีศรีไสว
    ชวนทำใจใสสะอาดหาดสวรรค์
    กินเจแล้วผ่องแผ้วแววชีวัน
    งดเนื้อกันนั้นดีฉะนี้เอง

    ภาพวาดงดงามผลงานศิลปิน Steve Hanks

    #บทกวี
    #กลอน
    #ศิลปะ
    #ภาพวาด
    #ภาพเขียน
    #งานศิลป์
    #thaitimes


    พฤหัสบดีศรีไสว ชวนทำใจใสสะอาดหาดสวรรค์ กินเจแล้วผ่องแผ้วแววชีวัน งดเนื้อกันนั้นดีฉะนี้เอง ภาพวาดงดงามผลงานศิลปิน Steve Hanks #บทกวี #กลอน #ศิลปะ #ภาพวาด #ภาพเขียน #งานศิลป์ #thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 416 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพเขียนสุดสวย ทรงคุณค่า
    https://www.eat24mall.com/shop/202409300908/?v=75dfaed2dded&license=2949
    ภาพเขียนสุดสวย ทรงคุณค่า https://www.eat24mall.com/shop/202409300908/?v=75dfaed2dded&license=2949
    WWW.EAT24MALL.COM
    ภาพเขียน - EAT24MALL
    ภาพเขียน ขนาด : 60×80×cm หนา 1″ น้ำหนัก : 1 กิโลก [...]
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 21 มุมมอง 0 รีวิว
  • อรุณสวัสดิ์ยามเช้าวันพฤหัสบดี

    ภาพวาดสีน้ำบ้านในย่านชุมชนชาวจีน ผลงานศิลปิน Huangyouwei

    #ภาพสีน้ำ
    #งานศิลป์
    #ภาพเขียน
    #ภาพวาด
    #ยามเช้า
    #ศิลปะ
    #บ้านคนจีนโบราณ
    #thaitimes
    อรุณสวัสดิ์ยามเช้าวันพฤหัสบดี ภาพวาดสีน้ำบ้านในย่านชุมชนชาวจีน ผลงานศิลปิน Huangyouwei #ภาพสีน้ำ #งานศิลป์ #ภาพเขียน #ภาพวาด #ยามเช้า #ศิลปะ #บ้านคนจีนโบราณ #thaitimes
    Like
    Wow
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 688 มุมมอง 0 รีวิว
  • เช้าเริ่มต้นงานวันแรกของสัปดาห์

    แมวตัวนั้นมันมองไปที่ไหนกันนะ?
    ภาพวาดงดงามในการใช้สี แสง และแสดงเงาสะท้อนอันน่าประทับใจ

    ผลงานศิลปินชื่อ Steve Hanks

    #thaitimes
    #ภาพเขียน
    #ภาพวาด
    #ศิลปะ
    #งานศิลป์
    #แมว
    #ยามเช้า
    #กาแฟ
    #วันจันทร์
    เช้าเริ่มต้นงานวันแรกของสัปดาห์ แมวตัวนั้นมันมองไปที่ไหนกันนะ? ภาพวาดงดงามในการใช้สี แสง และแสดงเงาสะท้อนอันน่าประทับใจ ผลงานศิลปินชื่อ Steve Hanks #thaitimes #ภาพเขียน #ภาพวาด #ศิลปะ #งานศิลป์ #แมว #ยามเช้า #กาแฟ #วันจันทร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 606 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพวาดและลงสีผลงานของศิลปินที่มีชื่อว่า Steve Hanks เหมาะกับเช้าวันที่เพิ่งมีฝนตกเมื่อคืนทีเดียว

    #อ้างว้าง
    #เหงา
    #ภาพเขียน
    #งานศิลป์
    #ศิลปะ
    #ภาพวาด
    #วันฝนตก
    #thaitimes

    ภาพวาดและลงสีผลงานของศิลปินที่มีชื่อว่า Steve Hanks เหมาะกับเช้าวันที่เพิ่งมีฝนตกเมื่อคืนทีเดียว #อ้างว้าง #เหงา #ภาพเขียน #งานศิลป์ #ศิลปะ #ภาพวาด #วันฝนตก #thaitimes
    Like
    Yay
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 840 มุมมอง 0 รีวิว
  • รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567

    “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน

    ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว)

    แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม

    แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้

    หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ

    อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว

    ผลเป็นไงคงพอจำกันได้

    บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ

    แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที

    อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้

    แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ

    ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร

    ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ

    แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ

    ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน

    สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้

    ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน

    ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ

    สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ

    ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป

    แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป

    นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย

    ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน

    แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก

    ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า

    วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้

    อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ

    งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้

    นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที

    ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว

    ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ

    อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน

    เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้

    ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว

    เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ

    การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว

    จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ

    ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง

    เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท

    รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท

    นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท

    อันนี้น่าสนใจ

    ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป

    แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต

    เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ

    แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้

    แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที

    แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

    ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน

    พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้

    แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น

    แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย

    เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย

    ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต

    แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย

    พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่

    เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก

    แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที

    การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ


    ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้

    การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน

    ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย

    สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ

    งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ

    บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง

    ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

    แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย


    วีระ ธีรภัทร
    วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567”

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E

    Thaitimes
    รีโพสต์ทัศนะของ วีระ ธีรภัทร จากเพจเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์โรนิน 25 สิงหาคม 2567 “ คอลัมน์ ปากท้องชาวบ้าน ไม่มีอะไรจะเละไปกว่านี้(แล้ว) แม้ว่าผมจะไม่ห่วงเรื่องอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้ก็ตาม แต่ก็อดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๔ ไม่ได้ หลังการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมในปีนั้น พรรคเพื่อไทยเอาชนะพรรคประชาธิปัตย์แบบถล่มทลายสามารถจัดตั้งรัฐบาลโดยมีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีได้สำเร็จ อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ตามมาพร้อมกับการเป็นรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นั่นเลยกลายเป็นบททดสอบความสามารถในการบริหารจัดการของรัฐบาลใหม่แบบชนิดไม่ทันได้ตั้งตัว ผลเป็นไงคงพอจำกันได้ บัดนี้เราได้รัฐบาลใหม่ มีคุณแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าในขณะนี้ยังยุ่งขิงอยู่กับการสรรหาบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลไม่เสร็จ (อันนี้เละเทะมาก) ยังไม่สามารถเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่น้ำเหนือก็หลากมาแล้ว แม้จะไม่น่ากลัวสำหรับคนกรุงเทพและปริมณฑลเหมือนกับเมื่อสิบสามปีก่อนหน้านี้ก็ตามที อะไรมันจะซ้ำซากกันได้ถึงขนาดนี้ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นข้อใหญ่ในความของเรื่องที่ผมจะคุยอะไรให้ฟังวันนี้ ครับ ในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมามีอะไรต่อมิอะไรเกิดขึ้นมากมาย หลายเรื่องไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ถึงขนาดนั้น แม้ผมจะพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุพอสมควร ผมเลยอยากจะเล่าอะไรต่อมิอะไรให้คุณฟังแบบเพลินๆ เท่าที่จะคิดได้เป็นสำคัญ แน่นอนล่ะครับว่ารายการ Vision For Thailand ในช่วงหัวค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ สิงหาคมที่คุณทักษิณ ชินวัตร ไปแสดงวิสัยทัศน์ท่ามกลางคนมีอำนาจในแวดวงการเมืองและธุรกิจภาคเอกชนจำนวนมากนั้น ย่อมอยู่ในความสนใจของผู้คน จนลืมกันไปหมดว่าวันดังกล่าวตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีของการเดินทางกลับประเทศไทยของคุณทักษิณ ความเป็นคุณทักษิณ ความเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของพรรคเพื่อไทย และด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน แม้จะพร่องไปบ้างในช่วงสิบห้าปีที่ลี้ภัยทางการเมืองในต่างแดน สิ่งที่คุณทักษิณคิดจึงมองข้ามไม่ได้ ทักษิณคิดเพื่อไทยทำอย่างที่รู้ๆ กัน ผมและคนอื่นๆ อีกไม่น้อยจึงเสียยอมเวลาฟังสิ่งที่คุณทักษิณคิดและอยากให้เกิดกับสังคมไทยในอนาคตตลอดหนึ่งชั่วโมงเศษที่แกคุยอยู่คนเดียวด้วยความตั้งอกตั้งใจ สำหรับผมสิ่งที่คุณทักษิณคิดออกมาดังๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่เป็นประเด็นปัญหาที่เราพอรู้พอทราบกันอยู่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่าสิ่งที่คุณทักษิณ รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะเอาไปทำหรืออย่างน้อยก็เอาไปคิดต่อว่าจะทำต่อไปเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากเป็นพิเศษ ตรงนี้จึงมีความหมายมากกว่าการแสดงความคิดเห็นของคนทั่วไป แม้ว่าข้อเสนอจำนวนมากเป็นเรื่องที่ผมพอทราบมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โครงการดิจิทัลวอลเลต การชี้นำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ยและเพิ่มการให้สินเชื่อเพื่อเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับภาคเศรษฐกิจ โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า ๒๐ บาทตลอดสาย โครงการเอ็นเทอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ กองทุนวายุภักษ์ ฯลฯ ล้วนเป็นประเด็นที่จะต้องมีการตัดสินใจและขับเคลื่อนกันต่อไปในรัฐบาลของคุณแพทองธาร ชินวัตร ต่อไป นี่จึงเป็นข้อเสนอคำแนะนำที่ไม่ธรรมดาเพราะสามารถจะกลายเป็นนโยบายของรัฐบาลได้อย่างแยบคาย ผมจะไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรในเรื่องที่ว่าในตอนนี้ อยากจะรอดูก่อนว่าข้อเสนอดังกล่าวจะกลายเป็นนโยบายและมาตรการของรัฐบาลคุณแพทองธารในเนื้อหารายละเอียดอย่างไรให้ชัดเจนเสียก่อน แถมอันที่จริงแล้วในช่วงนี้ต้องบอกว่า ผมอยู่ในช่วงที่ผ่อนคลายมากมีเวลาเหลือมากขึ้น แถมได้ทำสิ่งที่ไม่ได้ทำมานานมากแล้วอีกต่างหาก ลำดับแรกเลย งานในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งผมต้องไปประชุมรวมกันถึง ๔๐ ครั้งตลอดระยะเวลาสองเดือนเต็มๆ ที่ผ่านมา (นับหนึ่งวันจันทร์ที่ ๒๔ มิถุนายน) ถือว่าจบสิ้นแล้วในแง่ของกระบวนการพิจารณา แม้ยังไม่จบเสียทีเดียวเพราะต้องมีพิธีกรรมอีกเล็กน้อยในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคมจะเป็นการประชุมครั้งที่ ๔๑ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของกรรมาธิการเพื่อตรวจทานและลงมติรับร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ ว่าจะเอาแบบไหน? อย่างไร? โดยมีกรรมาธิการและสส.จำนวนไม่น้อย ได้สงวนความเห็นและขอแปรญัตติเพื่อจะไปอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร ก่อนที่จะมีการลงมติให้ความเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ ในช่วงวันที่ ๓-๕ กันยายนที่จะถึงนี้ อันนี้น่าสนใจติดตามฟังกันครับ งานที่ว่านี้ดำเนินไปโดยยังไม่มีรัฐบาลใหม่ มีแต่เพียงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้ นี่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องแปลก แม้ผมจะเข้าใจว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้นก็ตามที ลำดับถัดมา ผมไปร่วมรายการ BOT Press Trip 2024 ที่โรงแรม Andaz แถวหาดจอมเทียน จังหวัดชลบุรี แม้จะห่างเหินจากการไปร่วมงานในฐานะสื่อมวลชนกับธนาคารแห่งประเทศไทยแบบนี้มานานมากแล้ว แต่ที่ผมอยากไปก็เพราะว่างานนี้มีประเด็นที่ผมอยากสอบถามให้แน่ใจว่าอะไรเป็นอะไรจากปากของผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นโอกาสดีมากเพราะว่าไปกันครบถ้วนเกือบทั้งหมด เหมือนเราไปเดินห้างสรรพสินค้าเพื่อซื้อของที่ต้องการได้ทั้งหมดในสถานที่เพียงแห่งเดียว ผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย นำโดยคุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ปีหน้าครบวาระห้าปีเป็นต่อไม่ได้) พร้อมกับรองผู้ว่าการและผู้ช่วยผู้ว่าการ ๑๑ คนโดยไม่รวมระดับผู้บริหารระดับปฏิบัติการในฝ่ายต่างๆ ที่มากันเป็นกองทัพ อะไรที่ผมสงสัยไม่แน่ใจในเรื่องนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการอยู่ในเวลานี้ จึงถือโอกาสไปร่วมงานนี้ สอบถามพูดคุยกับคนที่ดูแลนโยบายและคนที่ลงมือปฏิบัติการจริงเพื่อให้เกิดความชัดเจนและได้ข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน เอาเป็นว่าเรื่องระหว่างรัฐบาล กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เคยปีนเกลียวกันในช่วงรัฐบาลคุณเศรษฐา ทวีสิน ที่ผ่านมาและที่อาจจะมีการปะทะปะทั่งกันในช่วงรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมพอเข้าใจต้นสายปลายเหตุแล้ว เรื่องหลายเรื่องที่รัฐบาลอยากทำแล้วทำไม่ได้ เรื่องหลายเรื่องที่ถกเถียงกันระหว่างรัฐบาลกับธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าควรทำแบบไหนไม่ควรทำแบบไหน ไม่ว่าจะเป็นโครงการดิจิตอลวอลเลต การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโบบาย ฯลฯ การได้พูดคุยกับคนที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทำให้ผมพอปะติดปะต่อภาพได้เกือบครบถ้วนตามที่ต้องการแล้ว จะเอาไปทำอะไรต่อที่ไหน? อย่างไร? และเมื่อไหร่? เดี๋ยวค่อยมาว่ากันครับ ผมยังมีเรื่องอยากจะเล่าให้ฟังเพิ่มเติมแบบลงรายละเอียดสักหน่อย เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเอาไว้ตรงนี้เพื่อให้คุณๆ ได้ติดตามความเป็นไปของสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังได้อย่างครบถ้วนอยู่เรื่องหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นควรรู้ควรทราบอย่างยิ่ง เรื่องของเรื่องก็คือในช่วงสุดท้ายของการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลโดยสำนักงบประมาณได้เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดสรรเงินงบประมาณให้กับรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งเป็นเงินรวมกัน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท รายการที่ว่านั้นเป็นการตั้งงบประมาณชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ให้หน่วยงานของรัฐออกเงินไปให้ก่อนตามมาตรา ๒๘ ของพรบ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยโอนย้ายไปเป็นรายการในงบกลางแทน โดยระบุว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจ (อันนี้เป็นชื่อของโครงการดิจิตอลวอลเลตที่รัฐบาลจะทำในเอกสารงบประมาณ) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้ว ๑๕๒,๗๐๐ ล้านบาท นั่นเลยทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดิจิตอลวอลเลตในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๘ เพิ่มเป็น ๑๘๗,๗๐๐ ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว แต่จะหาจากไหนสำหรับส่วนที่เหลืออีก ๙๗,๓๐๐ ล้านบาทเพื่อให้ครบ ๒๘๕,๐๐๐ ล้านบาท อันนี้น่าสนใจ ผมอยากให้ข้อมูลตรงนี้เพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนแปลงโอนย้ายรายจ่ายที่จะจัดสรรให้รัฐวิหาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินของรัฐ ๕ แห่งที่ว่าไปไว้ที่อื่นนั้น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรดูเหมือนจะเจอหนักกว่าใครเพื่อน เพราะเงินที่คาดว่าจะได้รับการชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยที่ธ.ก.ส.แบกรับภาระอยู่ประมาณ ๓๑,๒๐๐ ล้านบาท (จากยอดทั้งหมดประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท) จะถูกเลื่อนออกไป แบบนี้อธิบายแบบชาวบ้านก็คือรัฐบาลขอต๊ะหนี้ที่มีกับธ.ก.ส.ไว้ก่อน ส่วนจะชำระคืนเงินต้นและชดเชยดอกเบี้ยให้เมื่อไหร่? ค่อยไปว่ากันในอนาคต เรื่องนี้ผมคัดค้านอย่างเต็มที่ตอนที่ถกเถียงกันในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการฯ แต่เมื่อเสียงข้างมากของกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยเฉพาะกรรมาธิการที่มาในสัดส่วนของคณะรัฐมนตรีและพรรคร่วมฝ่ายรัฐบาลได้ลงมติให้เป็นไปตามนั้น ผมจึงกลายเป็นกรรมาธิการเสียงข้างน้อยในกรณีนี้ แม้ว่าเรื่องนี้ยังไม่จบจะต้องไปว่ากันต่อในที่ประชุมวาระที่ ๒ และ ๓ เพื่อให้สส.ลงมติให้ความเห็นชอบสุดท้ายก็ตามที แต่เรื่องนี้บอกเราได้อย่างหนึ่งว่าโครงการดิจิตอลวอลเลตยังเดินหน้าเต็มตัว แม้จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการจ่ายเงินสดให้กลุ่มเปราะบางไปก่อนในเฟสแรกหรือระลอกแรก (หลักๆ คือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้มีรายได้น้อย) ทั้งเพื่อให้ทันใช้เงินให้หมดภายในปีงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๖๗ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ ส่วนจะเป็นเท่าไหร่กันแน่ระหว่างวงเงิน ๑๔๕,๐๐๐ หรือ ๑๖๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นคงต้องรอรัฐบาลแถลงนโยบายรัฐสภาต่อไปถึงจะชัดเจน พายุหมุนทางเศรษฐกิจที่พูดๆ กันก่อนหน้านี้คงไม่ใช่แล้วสำหรับตอนนี้ แต่ก็อย่างที่บอกมาโดยตลอดแหละครับว่า ผมจะไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งนานเกินความจำเป็น แม้จะมีเรื่องอะไรต่อมิอะไรมากมายอย่างที่ว่าก็จริง แต่ผมก็แบ่งเวลาเพื่อทำงานที่ผมชอบอยู่เสมอ โชคดีว่าเมื่อวันศุกร์ก่อนที่จะเดินทางมาหาดจอมเทียน เพื่อร่วมงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย ทางสำนักพิมพ์โรนินได้ส่งต้นฉบับหนังสือสองเล่มมาให้ผมตรวจทานรอบสุดท้าย เที่ยวเขมรฉบับพกพา และ ส่องภาพเขียนที่รัสเซีย ผมก็เลยเพลิดเพลินกับการอ่านหนังสือเล่มตัวอย่างก่อนที่จะส่งไปให้สำนักพิมพ์ไปจัดการให้ทางโรงพิมพ์ดำเนินการพิมพ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่ออีกทอดในอนาคต แต่ที่น่ายินดีเป็นที่สุดก็คือเมื่อจบการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปีพ.ศ.๒๕๖๘ ในช่วงต้นเดือนกันยายน (วันที่ ๓-๕ กันยายน) ก็ได้เวลาที่ผมจะไปพักผ่อนปลีกวิเวกเป็นการชั่วคราวที่ญี่ปุ่น (ดูภาพเขียน-ออนเซน) พร้อมกับวางแผนเดินทางไปรัสเซีย (ดูภาพเขียนกับเที่ยวชมเมือง) ในช่วงต้นเดือนตุลาคม และเตรียมการจะไปเที่ยวเขมรนครวัด-นครธมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้ไปพร้อมกันด้วย พ้นจากนั้นจะไปทำอะไรที่ไหนค่อยว่ากันใหม่ เมื่อมองย้อนกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี ๒๕๖๗ มาจนถึงตอนนี้ ต้องบอกเลยว่าปีนี้เป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่งของผม ได้ทำอะไรเยอะแยะไปหมด สะสางงานเก่าเริ่มงานใหม่และก้าวเข้าไปในพรมแดนใหม่ที่ไม่เคยคิดว่าจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอีกต่างหาก แม้ว่าบ้านเมืองของเรายามนี้ จะไม่มีอะไรให้เละมากไปกว่านี้ได้แล้วก็ตามที การเจริญอุเบกขาธรรมจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ป.ล. เรื่องการฟอร์มคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร นี่ต้องบอกว่าไม่ง่ายเลยครับ งานนี้เราต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเมืองไทย อย่าเพิ่งรำคาญอย่าไปหงุดหงิด แม้จะดูแล้วเละตุ้มเป๊ะได้ถึงขนาดนี้ พรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์จะพาตัวเองให้รอดจากสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นความขัดแย้งรุนแรงในภายพรรคในเวลานี้ เพราะประเด็นการร่วมรัฐบาลของพรรคและการเป็นรัฐมนตรีของผู้บริหารของพรรคได้อย่างไร คงจะมีคำตอบภายในเร็ววันนี้ การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงวันที่ ๑๗-๑๘ กันยายนที่จะถึงนี้ ถ้าหากฟังจากที่นายเจอโรม พาวเวล (Jerome Powell) ประธานธนาคารกลางไปพูดที่เมืองตากอากาศแจคสันโฮล ในรัฐไวโอมิงว่าถึงเวลาต้องปรับนโยบายการเงินด้วยการลดดอกเบี้ยนโยบายได้แล้ว เพราะหมดห่วงเรื่องเงินเฟ้อแล้ว แต่มาห่วงเรื่องการว่างงานแทนจึงทำให้ต้องลดดอกเบี้ย นั่นก็หมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ยนนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่กำหนดไว้ร้อยละ ๕.๒๕-๕.๕๐ ในปัจจุบันจะเริ่มแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป จะลดมากน้อยลดเร็วช้าแค่ไหนไม่สำคัญเท่ากับทิศทางของดอกเบี้ยมีแนวโน้มเป็นขาลงอย่างชัดเจน ค่าเงิน หุ้น และอะไรที่ผูกโยงกับนโยบายการเงินของสหรัฐคงต้องปรับตัวตามไปด้วย สำหรับบ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ ๒.๕๐ นั้น เท่าที่ฟังจากเกณฑ์ในการตัดสินเรื่องนี้จากผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกรรมการเสียงข้างน้อยในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่เจอกันสุดสัปดาห์นี้ คิดว่าคงยังไม่ถึงเวลาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ งานนี้คงต้องมีเรื่องมีราวเรื่องลดไม่ลดดอกเบี้ยระหว่างรัฐบาลคุณแพทองธาร ชินวัตร กับธนาคารแห่งประเทศไทยไปอีกสักระยะหนึ่งครับ บันทึกเอาไว้กันลืมว่าเดือนสิงหาคม มีผู้นำสามประเทศในเอเชียต้องเผชิญชะตากรรมที่ทำให้พ้นจากตำแหน่งแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นบังกลาเทศ (เหมือน ๑๔ ตุลาคมปี ๒๕๑๖ ในบ้านเรา) ไทย (คงไม่ต้องบอกอะไรเพิ่มเติม) และญี่ปุ่น ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีฟูมิโอ คิชิดะ (Fumio Kishida) ได้ประกาศวางมือลงจากตำแหน่ง ส่วนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของเขาน่าสนใจครับ ถ้ามีเวลาจะหาโอกาสมาคุยให้ฟัง ขอจบลงตรงนี้ด้วยการแจ้งให้ทราบว่าพรบ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณพ.ศ๒๕๖๗ วงเงิน ๑๒๒,๐๐๐ ล้านบาทมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๒๓ สิงหาคม หลังจากได้นำประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ ๒๒ สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ใครที่รอแจกเงินสดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ไม่ใช่โครงการดิจิตอลเลตเตรียมรับได้เลย วีระ ธีรภัทร วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม 2567” ที่มา https://www.facebook.com/share/p/ZPvoLGVkV5QkhJNR/?mibextid=CTbP7E Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1132 มุมมอง 0 รีวิว