• สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้)

    วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู

    ความมีอยู่ว่า
    ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา...
    - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง
    (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้

    คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง

    วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393

    #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้) วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู ความมีอยู่ว่า ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา... - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้ คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/ https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243 https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393 #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    WWW.CDRAMALOVE.COM
    Love And Redemption Summary - C-Drama Love - Show Summary
    Chinese Drama Love And Redemption Summary (琉璃) The drama tells the story of Chu Xuan Ji, a girl born with an incomplete "sixth sense", and Yu
    1 Comments 0 Shares 120 Views 0 Reviews
  • #อดีตชาติหลวงพ่อฤาษี 13 ชาติ..

    #ที่เกิดตั้งแต่สมัยโยนกนคร #จนถึงรัตนโกสินทร์

    ลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และเพื่อช่วยเหลือคนไทย และช่วยให้พระพุทธศาสนามีอายุครบ 5000 ปี

    #วาระที่ 1 เกิดเป็นพระเจ้ามังราย รัชกาลที่ 2 แห่งโยนกนคร เป็นลูกชายพระเจ้าอชุตราช ในชาตินั้นท่านเป็นผู้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ดอยตุง โดยการนำมาของพระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์

    #วาระที่ 2 เกิดสมัยโยนก เป็นเณรน้อยอายุ 7 ปีทรงฌานสมาบัติ แต่ได้ถูกขอมดำกระทำย่ำยี เวลานั้นขอมดำมายึดเมืองโยนกนครได้แล้ว แล้วทำการกดขี่ข่มเหงรังแกคนไทย
    เณรจึงเข้าฌานสมาบัติ ตั้งจิตอธิษฐานว่า เกิดคราวหน้าขอให้ได้เกิดมาเป็นคนไทย และได้ช่วยคนไทยทุกแง่ทุกมุม
    มิไม่ใช่เฉพาะการรบ การเศรษฐกิจ การปกครอง แม้แต่การรบทุกอย่างให้ครบถ้วน ให้คนไทยพ้นจากความเป็นทาส "พอตั้งจิตอธิษฐานก็ไม่ถอนจากฌานสมาบัติ ก็นั่งทรงฌานอย่างนั้นจนตาย แล้วไปเกิดเป็นพรหม ชั้นที่ 11

    #การเกิดครั้งที่3 หลังจากตายจากเณรน้อย ไปเป็นพรหมชั้นที่11ได้เพียง1ปีเศษ ก็ลงมาเกิดเป็น "พระเจ้าพรหม มหาราช" เป็นโอรสของพระเจ้าพังคราช รัชกาลที่ 37 ในสมัยโยนกนคร มีพี่ชายชื่อทุกภิขะ( บริเวณพระธาตุจอมกิตติ ดอยตุง เป็นเขตเมืองโยนกนคร) เกิดพร้อมสหชาติที่เป็นพรหม เทวดา ลงมาเกิดพร้อมกัน 250 คน ทั้ง 250 คน เกิดเป็นผู้ชายทั้งหมด พรหมอีกองค์นึงเกิดเป็นช้างประกายแก้ว ช้างคู่บารมีพระเจ้าพรหม ลงมาเกิดเพื่อกู้ชาติให้พ้นความเป็นทาสจากขอมดำ และทำสำเร็จด้วย ทุกวันนี้วันอาสาฬหบูชาที่วัดท่าซุงก็มีการแห่ชัยชนะพระเจ้าพรหมทุกๆปี

    #การเกิดในวาระที่4 หลังจากที่ตายจากการเป็นพระเจ้าพรหมสมัยโยนก แล้วเข้าฌาณตาย กลับไปเป็นพรหม เวลาผ่านไปอีก 800 ปีลงมาเกิดเป็นพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตอนเด็กมีนามว่าอรุณกุมาร เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก มีวิชาอาคม มีวาจาสิทธิ์ สามารถเสกขอมให้เป็นหินได้ และขยายอาณาเขตของประเทศไทย (ตอนนั้นยังไม่เป็นเทศไทย )กว้างใหญ่ไพศาล ยึดมอญ พม่าขอมไว้ได้หมด อาณาจักรยาวเหยียด เวลานั้นคือก่อนเมืองสุโขทัย 700 ปีเศษ ก่อนหน้าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 700ประมาณปีเศษ

    #วาระที่5 เกิดเป็น"พ่อขุนศรีเมืองมาน"( เป็นพ่อของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งอณาจักรสุโขทัย) ตายจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ก็เข้าฌานตาย กลับไปเป็นพรหมเช่นเดิม กลับมาเกิดวาระที่5 เป็นพ่อขุนศรีเมืองมาน มีสหชาติเกิดมาด้วยคือ พ่อขุนน้าวนําถมลงมาช่วยกู้ชาติไทยจากขอมดำ ขยายอาณาเขตประเทศไทยไปถึงสิงคโปร์ มีภรรยาชื่อพรรณวดีศรีโสภาศ เป็นเมียเอก และมีเมียราษฏร์อีก 29 คน พอเมียเอกตาย ก็บวชไม่สึกอีกเลย เข้าฌานตายแล้วไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม

    #วาระที่6 "ขุนหลวงพระงั่ว" รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาคนไทยเกิดแบ่งเป็น 2 พวก จึงต้องลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็น1เดียว ลงมาเกิดในราชวงศ์อู่ทอง เป็น"ขุนหลวงพระงั่ว" มาปลุกจิตสำนึกคนไทยให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ จึงนิมนต์พระสงฆ์มาร่าง"ไตรภูมิพระร่วง
    ไตรภูมิพระร่วง พระร่วงไม่ได้ทำ
    ท่านเป็นเพียงแต่ศาสนูปถัมภ์
    ไตรภูมิพระร่วง เป็นการร่วมมือกันระหว่างสุโขทัยและกรุงศรี
    และยังได้ร่วมกันสร้างพระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศากยมุนีขึ้นมาเป็นมิ่งขวัญของเมืองไทย เป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่าประเทศไทยจะทรงตัวได้ด้วยเหตุ 3 อย่างด้วยกัน
    คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    พระพุทธชินราช หมายถึง พระมหากษัตริย์ พระพุทธชินสีห์ หมายถึง พระศาสนา พระศากยมุนี หมายถึง ชาติ
    การสร้างครั้งนี้ก็เป็นหน้าที่ของท้าวโกสีย์สักกะเทวราชให้พระวิษณุกรรมมาช่วย ขุนหลวงพระงั่วได้มารวมสุโขทัยกับอยุธยาเป็นประเทศเดียวกัน

    #เกิดวาระที่7 ต่อมาลงมาเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงศรีฯ ครั้งนี้เป็นลูกชาวบ้าน แต่เป็นลูกมหาเศรษฐี มีแม่ชื่อปิ่นทอง พ่อชื่อกองแก้ว ท่านเองเป็นลูกชายชื่ออำไพ ลงมาช่วยคน ให้เงินให้ทอง ให้ที่ทำกิน ช่วยการเกษตร ช่วยทุกสิ่งทุกอย่าง ให้การศึกษา จนคนไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนาพอ ประชาชนมีความสุข และท่านก็ตายไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม

    #วาระที่ 8 เกิดมาในตระกูลของแม่ทัพสมเด็จพระพันวสา คือสมเด็จพระอินทราธิราช มีนามว่า "ขุนไกร" (#ขุนแผน) เป็นอันว่าชาตินี้ขุนแผนต้องรวบรวมไทยอาศัยที่มีวิชาการมาก เป็นนักรบเก่ง
    ล่องหนหายตัวได้ สะเดาะกลอนได้
    ทำหุ่นพยนต์ได้ ทำอะไรได้แปลกๆ
    การยกทัพไปก็ไม่ต้องใช้กำลังคนมาก
    ก็สามารถจะสู้ข้าศึกได้

    #วาระที่ 9 เกิดมาเป็นลูกกษัตริย์ มีนามว่าพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อพระบรมไตรโลกนาสวรรนคตก็ไปเป็นพรหมตามเดิมไม่ช้าไม่นานก็ต้องเสด็จลงมาเกิดอีก

    #วาระที่10 เกิดสมัยพระนารายณ์ ท่านลงมาเกิดเป็น"ขุนเหล็ก"
    หรือพระยาโกษาเหล็ก เกิดควบคู่กับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นเพื่อนเล่นกัน ขุนเหล็กมีน้องชายชื่อว่าขุนปาน หรือพระยาโกษาปาน ทั้งสองพระองค์ เป็นที่ไว้วางใจของสมเด็จพระนารายณ์มาก
    #บั้นปลายชีวิตลากิจราชการไปจำศีลเจริญภาวนาวิปัสสนาญาณ ให้ทาน ตายจากเจ้าพระยาโกษาเหล็ก ก็เข้าฌานกลับไปเป็นพรหมตามเดิม
    (#ท่านไม่ได้ตายตามประวัติศาสตร์เขียนไว้หรอกนะ)

    #วาระที่11 ลงมาเกิดมาเป็นขุนดาบคู่ใจของพระเจ้าตากสินมหาราช คือพระยาศรีสิทธิสงคราม อยู่ในกองทัพหลวงประจำองค์พระเจ้าตากสินมหาราชสมัยกรุงธนบุรี ก่อนกรุงศรีจะแตก เป็นกำนันจัน ชื่อว่า #จันหนวดเขี้ยว เป็นที่รักของประชาชน ต่อมาค่ายบางระจันแตก
    #นายจันหนวดเขี้ยวไม่ได้ตายไปตามประวัติศาสตร์ที่เขียน
    นายจันหนวดเขี้ยวจึงมารวมกำลังกับพระเจ้าตากสินกู้ชาติ ต่อมาพระเจ้าตากสินจึงเปลี่ยนชื่อให้จากกำนันจัน มาเป็นพระยาศรีสิทธิสงคราม ประจำกองทัพหลวง (ด้วง- นายจันหนวดเขี้ยว- พระยาศรีสิทธิสงคราม -เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก-และ #สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

    #วาระที่12 มาเกิดเป็น รัชกาลที่ 5 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์

    #วาระที่13 ชาติสุดท้ายเกิดมาเป็น
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    หนังสือเรื่องจริงอิงนิทานพิเศษ
    พระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)​
    คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย
    จิตหนึ่งประภัสสร สุดยอดคือพระนิพพาน
    ⚜️ #อดีตชาติหลวงพ่อฤาษี 13 ชาติ..⚜️ 🔱#ที่เกิดตั้งแต่สมัยโยนกนคร #จนถึงรัตนโกสินทร์🔱 ลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็นปึกแผ่น และเพื่อช่วยเหลือคนไทย และช่วยให้พระพุทธศาสนามีอายุครบ 5000 ปี ✴️ #วาระที่ 1 เกิดเป็นพระเจ้ามังราย รัชกาลที่ 2 แห่งโยนกนคร เป็นลูกชายพระเจ้าอชุตราช ในชาตินั้นท่านเป็นผู้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ดอยตุง โดยการนำมาของพระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ✴️ #วาระที่ 2 เกิดสมัยโยนก เป็นเณรน้อยอายุ 7 ปีทรงฌานสมาบัติ แต่ได้ถูกขอมดำกระทำย่ำยี เวลานั้นขอมดำมายึดเมืองโยนกนครได้แล้ว แล้วทำการกดขี่ข่มเหงรังแกคนไทย เณรจึงเข้าฌานสมาบัติ ตั้งจิตอธิษฐานว่า เกิดคราวหน้าขอให้ได้เกิดมาเป็นคนไทย และได้ช่วยคนไทยทุกแง่ทุกมุม มิไม่ใช่เฉพาะการรบ การเศรษฐกิจ การปกครอง แม้แต่การรบทุกอย่างให้ครบถ้วน ให้คนไทยพ้นจากความเป็นทาส "พอตั้งจิตอธิษฐานก็ไม่ถอนจากฌานสมาบัติ ก็นั่งทรงฌานอย่างนั้นจนตาย แล้วไปเกิดเป็นพรหม ชั้นที่ 11 ✴️ #การเกิดครั้งที่3 หลังจากตายจากเณรน้อย ไปเป็นพรหมชั้นที่11ได้เพียง1ปีเศษ ก็ลงมาเกิดเป็น "พระเจ้าพรหม มหาราช" เป็นโอรสของพระเจ้าพังคราช รัชกาลที่ 37 ในสมัยโยนกนคร มีพี่ชายชื่อทุกภิขะ( บริเวณพระธาตุจอมกิตติ ดอยตุง เป็นเขตเมืองโยนกนคร) เกิดพร้อมสหชาติที่เป็นพรหม เทวดา ลงมาเกิดพร้อมกัน 250 คน ทั้ง 250 คน เกิดเป็นผู้ชายทั้งหมด พรหมอีกองค์นึงเกิดเป็นช้างประกายแก้ว ช้างคู่บารมีพระเจ้าพรหม ลงมาเกิดเพื่อกู้ชาติให้พ้นความเป็นทาสจากขอมดำ และทำสำเร็จด้วย ทุกวันนี้วันอาสาฬหบูชาที่วัดท่าซุงก็มีการแห่ชัยชนะพระเจ้าพรหมทุกๆปี ✴️ #การเกิดในวาระที่4 หลังจากที่ตายจากการเป็นพระเจ้าพรหมสมัยโยนก แล้วเข้าฌาณตาย กลับไปเป็นพรหม เวลาผ่านไปอีก 800 ปีลงมาเกิดเป็นพระร่วงโรจนฤทธิ์ ตอนเด็กมีนามว่าอรุณกุมาร เป็นผู้ที่มีฤทธิ์มาก มีวิชาอาคม มีวาจาสิทธิ์ สามารถเสกขอมให้เป็นหินได้ และขยายอาณาเขตของประเทศไทย (ตอนนั้นยังไม่เป็นเทศไทย )กว้างใหญ่ไพศาล ยึดมอญ พม่าขอมไว้ได้หมด อาณาจักรยาวเหยียด เวลานั้นคือก่อนเมืองสุโขทัย 700 ปีเศษ ก่อนหน้าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ 700ประมาณปีเศษ ✴️ #วาระที่5 เกิดเป็น"พ่อขุนศรีเมืองมาน"( เป็นพ่อของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งอณาจักรสุโขทัย) ตายจากพระร่วงโรจนฤทธิ์ก็เข้าฌานตาย กลับไปเป็นพรหมเช่นเดิม กลับมาเกิดวาระที่5 เป็นพ่อขุนศรีเมืองมาน มีสหชาติเกิดมาด้วยคือ พ่อขุนน้าวนําถมลงมาช่วยกู้ชาติไทยจากขอมดำ ขยายอาณาเขตประเทศไทยไปถึงสิงคโปร์ มีภรรยาชื่อพรรณวดีศรีโสภาศ เป็นเมียเอก และมีเมียราษฏร์อีก 29 คน พอเมียเอกตาย ก็บวชไม่สึกอีกเลย เข้าฌานตายแล้วไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม ✴️ #วาระที่6 "ขุนหลวงพระงั่ว" รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาคนไทยเกิดแบ่งเป็น 2 พวก จึงต้องลงมาเกิดเพื่อรวมไทยให้เป็น1เดียว ลงมาเกิดในราชวงศ์อู่ทอง เป็น"ขุนหลวงพระงั่ว" มาปลุกจิตสำนึกคนไทยให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ จึงนิมนต์พระสงฆ์มาร่าง"ไตรภูมิพระร่วง ไตรภูมิพระร่วง พระร่วงไม่ได้ทำ ท่านเป็นเพียงแต่ศาสนูปถัมภ์ ไตรภูมิพระร่วง เป็นการร่วมมือกันระหว่างสุโขทัยและกรุงศรี และยังได้ร่วมกันสร้างพระพุทธชินราชพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศากยมุนีขึ้นมาเป็นมิ่งขวัญของเมืองไทย เป็นการแสดงสัญลักษณ์ว่าประเทศไทยจะทรงตัวได้ด้วยเหตุ 3 อย่างด้วยกัน คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พระพุทธชินราช หมายถึง พระมหากษัตริย์ พระพุทธชินสีห์ หมายถึง พระศาสนา พระศากยมุนี หมายถึง ชาติ การสร้างครั้งนี้ก็เป็นหน้าที่ของท้าวโกสีย์สักกะเทวราชให้พระวิษณุกรรมมาช่วย ขุนหลวงพระงั่วได้มารวมสุโขทัยกับอยุธยาเป็นประเทศเดียวกัน ✴️ #เกิดวาระที่7 ต่อมาลงมาเกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงศรีฯ ครั้งนี้เป็นลูกชาวบ้าน แต่เป็นลูกมหาเศรษฐี มีแม่ชื่อปิ่นทอง พ่อชื่อกองแก้ว ท่านเองเป็นลูกชายชื่ออำไพ ลงมาช่วยคน ให้เงินให้ทอง ให้ที่ทำกิน ช่วยการเกษตร ช่วยทุกสิ่งทุกอย่าง ให้การศึกษา จนคนไทยเป็นปึกแผ่นแน่นหนาพอ ประชาชนมีความสุข และท่านก็ตายไปเกิดเป็นพรหมตามเดิม ✴️ #วาระที่ 8 เกิดมาในตระกูลของแม่ทัพสมเด็จพระพันวสา คือสมเด็จพระอินทราธิราช มีนามว่า "ขุนไกร" (#ขุนแผน) เป็นอันว่าชาตินี้ขุนแผนต้องรวบรวมไทยอาศัยที่มีวิชาการมาก เป็นนักรบเก่ง ล่องหนหายตัวได้ สะเดาะกลอนได้ ทำหุ่นพยนต์ได้ ทำอะไรได้แปลกๆ การยกทัพไปก็ไม่ต้องใช้กำลังคนมาก ก็สามารถจะสู้ข้าศึกได้ ✴️ #วาระที่ 9 เกิดมาเป็นลูกกษัตริย์ มีนามว่าพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อพระบรมไตรโลกนาสวรรนคตก็ไปเป็นพรหมตามเดิมไม่ช้าไม่นานก็ต้องเสด็จลงมาเกิดอีก ✴️ #วาระที่10 เกิดสมัยพระนารายณ์ ท่านลงมาเกิดเป็น"ขุนเหล็ก" หรือพระยาโกษาเหล็ก เกิดควบคู่กับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นเพื่อนเล่นกัน ขุนเหล็กมีน้องชายชื่อว่าขุนปาน หรือพระยาโกษาปาน ทั้งสองพระองค์ เป็นที่ไว้วางใจของสมเด็จพระนารายณ์มาก #บั้นปลายชีวิตลากิจราชการไปจำศีลเจริญภาวนาวิปัสสนาญาณ ให้ทาน ตายจากเจ้าพระยาโกษาเหล็ก ก็เข้าฌานกลับไปเป็นพรหมตามเดิม (#ท่านไม่ได้ตายตามประวัติศาสตร์เขียนไว้หรอกนะ) ✴️ #วาระที่11 ลงมาเกิดมาเป็นขุนดาบคู่ใจของพระเจ้าตากสินมหาราช คือพระยาศรีสิทธิสงคราม อยู่ในกองทัพหลวงประจำองค์พระเจ้าตากสินมหาราชสมัยกรุงธนบุรี ก่อนกรุงศรีจะแตก เป็นกำนันจัน ชื่อว่า #จันหนวดเขี้ยว เป็นที่รักของประชาชน ต่อมาค่ายบางระจันแตก ✴️ #นายจันหนวดเขี้ยวไม่ได้ตายไปตามประวัติศาสตร์ที่เขียน นายจันหนวดเขี้ยวจึงมารวมกำลังกับพระเจ้าตากสินกู้ชาติ ต่อมาพระเจ้าตากสินจึงเปลี่ยนชื่อให้จากกำนันจัน มาเป็นพระยาศรีสิทธิสงคราม ประจำกองทัพหลวง (ด้วง- นายจันหนวดเขี้ยว- พระยาศรีสิทธิสงคราม -เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก-และ #สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ✴️ #วาระที่12 มาเกิดเป็น รัชกาลที่ 5 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ ✴️ #วาระที่13 ชาติสุดท้ายเกิดมาเป็น หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง 🖋️📚หนังสือเรื่องจริงอิงนิทานพิเศษ ⚜️พระราชพรหมยานเถระ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)​⚜️ 🖋️📚คัดลอกแบ่งปันเป็นธรรมทานโดย 🧘จิตหนึ่งประภัสสร สุดยอดคือพระนิพพาน
    0 Comments 0 Shares 185 Views 0 Reviews
  • วลีรักจาก <จันทราอัสดง>

    สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก

    วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl)

    แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร?

    ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน

    “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้

    เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น

    หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง

    เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี

    วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804
    https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502
    http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html
    https://www.621seo.cn/a/83.html

    #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    วลีรักจาก <จันทราอัสดง> สวัสดีย้อนหลังวันวาเลนไทน์ วันนี้มาคุยเกี่ยวกับวลีบอกรักจากบทกวีจีนโบราณที่กล่าวถึงสองสัตว์ที่นับเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก วลีบอกรักนี้ เราเห็นในเรื่อง <จันทราอัสดง> ในฉากที่เยี่ยปิงส่างป่วยเพราะโดนปีศาจจับตัวไป พอฟื้นขึ้นมาเห็นองค์ชายเซียวหลิ่นเฝ้าอยู่ก็ร่ำไห้เอ่ยปากวลีสองวรรค หลังจากนั้นจึงได้หมั้นหมายกัน วลีที่ว่านี้คือ “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” (得成比目何辞死,愿作鸳鸯不羡仙) (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘ยวนยาง’ คือนกเป็ดน้ำแมนดารินที่เพื่อนเพจคงคุ้นเคยเพราะมีการกล่าวถึงในหลายนิยายซีรีส์และละครว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความรัก ทั้งนี้ เพราะมันมักจะอยู่เป็นคู่ จึงถูกนำมาเปรียบเป็นคู่สามีภรรยาแต่โบราณโดยแรกปรากฏในบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ตอนจีบจั๋วเหวินจวิน (ย้อนอ่านเรื่องราวความรักของทั้งคู่ได้ในบทความเก่า https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02KgmDKe2nCXSPkUDKWTYDNCXpfyP1PzzBqQCkdVtEw46Y7ZMkeZSwoVYxGFR9QHjhl) แล้ว ‘ปี่มู่’ ล่ะคืออะไร? ปี่มู่เป็นปลาในสายพันธ์ปลาลิ้นหมา (ดูรูปประกอบ 2) เอกลักษณ์ของมันคือ ตาทั้งคู่อยู่ใกล้กันบนตัวปลาด้านเดียวกัน ในสมัยจีนโบราณถูกใช้เปรียบเปรยถึงความรักอันล้ำลึกของคู่รักที่อยู่เคียงข้างกัน ไปไหนไปด้วยกัน “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” วลีนี้ความหมายก็คือยอมตายก็อยากอยู่ด้วยกัน ไม่ต้องมีความสุขพ้นทุกข์อย่างเซียนก็ได้ เชื่อว่าเพื่อนเพจคงนึกว่ามันเป็นวลีที่มาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วหลายวลีรักจีนโบราณอันกินใจที่ Storyฯ เคยเขียนถึงนั้น ถ้าไม่ใช่บทกวีที่เกี่ยวกับการจากพราก ก็มาจากเรื่องราวอื่น วลีนี้ก็เช่นกัน ที่มาของมันคือบทกวีที่ชื่อว่า ‘ฉางอันกู่อี้’ (长安古意 แปลได้ประมาณว่า หวนรำลึกฉางอัน) ของหลูจ้าวหลิน กวีชื่อดังในสมัยองค์ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง ในสมัยถังตอนต้นนั้น เขาถูกยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ยอดกวีแห่งยุค เป็นบทกวีในสไตล์โบราณที่ Storyฯ ขอเรียกว่ากลอนเจ็ด กล่าวคือในหนึ่งวรรคมีเจ็ดอักษร บทกวีนี้มีทั้งสิ้น 34 ประโยค รวม 68 วรรค เรียกได้ว่าเป็นบทกวีที่ยาวมากและเป็นถูกยกย่องให้เป็นต้นแบบของงานประพันธ์แห่งยุคสมัยนั้น หลูจ้าวหลินถูกเติ้งหวางหลี่หยวนอวี้รับเป็นคนสนิท เป็นขุนนางผู้ดูแลจวนอ๋อง ต่อมาติดตามเติ้งหวางออกจากเมืองฉางอัน และเมื่อเลิกทำงานกับเติ้งหวางแล้วก็ปักหลักอยู่ลั่วหยาง บทกวีนี้หลูจ้าวหลินแต่งขึ้นในช่วงเวลาที่ลั่วหยางนั่นเอง ต่อมาเขาถูกจับกุมขังด้วยบทกวีนี้ เพราะถูกเข้าใจว่าเขียนตำหนิหนึ่งในผู้มีอำนาจทางการเมืองในสมัยนั้น สุดท้ายแม้จะรอดชีวิตพ้นคุกมาได้ แต่ก็ป่วยจนสุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง เนื้อหาของ ‘ฉางอันกู่อี้’ กล่าวถึงความเรืองรองแห่งนครฉางอัน ความเจริญรุ่งเรืองถูกสะท้อนออกมาด้วยคำบรรยายความโอ่อ่าของอาคารบ้านเรือน ความตระการตาของนางรำที่เริงระบำดุจบุปผาและผีเสื้อที่ละลานตา บรรยากาศยามค่ำคืนอันคึกคักโดยมีหอนางโลมเป็นฉากหลัก สอดแทรกด้วยอารมณ์ที่ถูกเร้าขึ้นด้วยคำบรรยายแสงสีเสียง สื่อออกมาเป็นความรู้สึกต่างๆ ที่ยากจะอดกลั้นภายใต้บรรยากาศนี้ อย่างเช่นความรักความลุ่มหลง บทกวีเล่าถึงการมีชีวิตอยู่ในด้านมืดอย่างเช่นนางคณิกานางรำและคนที่มีอาชีพกลางคืน การแสดงอำนาจของชนชั้นสูง การแก่งแย่งชิงดีและการเกิดดับของอำนาจ สุดท้ายจบลงด้วยการบรรยายถึงบรรยากาศเงียบเหงาภายในเรือนเดี่ยว มีเพียงกลีบดอกไม้ที่ปลิวผ่านตามสายลมยามที่กุ้ยฮวา (หอมหมื่นลี้) บาน เป็นสไตล์การเขียนที่นิยมในสมัยนั้นคือจบลงด้วยวรรคที่ขัดแย้งกับเนื้อหาก่อนหน้าเพื่อให้ความรู้สึกที่แตกต่าง สร้างสมดุลให้แก่บทกวี วรรค “หากได้เป็นดั่งปี่มู่ไม่เกรงกลัวตาย ยอมเป็นยวนยางไม่อิจฉาเซียน” นี้ปรากฏในท่อนแรกๆ ที่กล่าวถึงความตระการตาของนางรำผู้เลอโฉม ชวนให้พร่ำเพ้อถึงความรักที่ไม่อาจเป็นไปได้ จะเห็นได้ว่า แม้วลีนี้จะกลายมาเป็นหนึ่งในวลีรักที่โด่งดังผ่านยุคสมัย แต่ต้นตอของมันจริงแล้วเป็นบทกวีที่บรรยายถึงชีวิตในนครฉางอัน สะท้อนถึงสุขและทุกข์ของความทรงจำในด้านต่างๆ ที่กวีมีต่อนครฉางอันอันเรืองรอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://new.qq.com/rain/a/20230511A04T9O00 https://so.gushiwen.cn/shiwenv_ac6684b5da86.aspx https://baike.baidu.com/item/长安古意/4804 https://www.baike.com/wikiid/422703280303982502 http://m.qulishi.com/article/202106/521082.html https://www.621seo.cn/a/83.html #จันทราอัสดง #ยวนยาง #ปี่มู่ #กวีถัง #ฉางอัน #หลูจ้าวหลิน
    2 Comments 0 Shares 220 Views 0 Reviews
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    《一念关山》:刘诗诗更适合“独美”
    澎湃,澎湃新闻,澎湃新闻网,新闻与思想,澎湃是植根于中国上海的时政思想类互联网平台,以最活跃的原创新闻与最冷静的思想分析为两翼,是互联网技术创新与新闻价值传承的结合体,致力于问答式新闻与新闻追踪功能的实践。
    1 Comments 0 Shares 234 Views 0 Reviews
  • 'อดิศร' ร่ายกลอนป้อง "แพทองธาร" โยงม็อบเรียกปฏิวัติ ศาลรธน.รับลูก สั่งอิ๊งค์หยุดปฏิบัติหน้าที่
    https://www.thai-tai.tv/news/19984/
    .
    #อดิศรเพียงเกษ #พรรคเพื่อไทย #แพทองธารชินวัตร #ศาลรัฐธรรมนูญ #ยุติธรรม #การเมืองไทย #รัฐประหาร #ประชาธิปไตย #สวสีน้ำเงิน #ให้กำลังใจนายก
    'อดิศร' ร่ายกลอนป้อง "แพทองธาร" โยงม็อบเรียกปฏิวัติ ศาลรธน.รับลูก สั่งอิ๊งค์หยุดปฏิบัติหน้าที่ https://www.thai-tai.tv/news/19984/ . #อดิศรเพียงเกษ #พรรคเพื่อไทย #แพทองธารชินวัตร #ศาลรัฐธรรมนูญ #ยุติธรรม #การเมืองไทย #รัฐประหาร #ประชาธิปไตย #สวสีน้ำเงิน #ให้กำลังใจนายก
    0 Comments 0 Shares 186 Views 0 Reviews
  • 'พี่คนดี' ร่ายกลอนสอนพวกอ้าง 'นิติสงคราม'
    https://www.thai-tai.tv/news/19938/
    .
    #นิติสงคราม #แพทองธาร #ศาลรัฐธรรมนูญ #พี่คนดีกวีสมัครเล่น #ตุลาการ #ดุลอำนาจ #ประชาธิปไตย #การเมืองไทย #วิกฤตศรัทธา #คนขายชาติ
    'พี่คนดี' ร่ายกลอนสอนพวกอ้าง 'นิติสงคราม' https://www.thai-tai.tv/news/19938/ . #นิติสงคราม #แพทองธาร #ศาลรัฐธรรมนูญ #พี่คนดีกวีสมัครเล่น #ตุลาการ #ดุลอำนาจ #ประชาธิปไตย #การเมืองไทย #วิกฤตศรัทธา #คนขายชาติ
    0 Comments 0 Shares 141 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้)

    วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู

    ความมีอยู่ว่า
    ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา...
    - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง
    (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้

    คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง

    วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393

    #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้) วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู ความมีอยู่ว่า ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา... - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้ คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/ https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243 https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393 #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    WWW.CDRAMALOVE.COM
    Love And Redemption Summary - C-Drama Love - Show Summary
    Chinese Drama Love And Redemption Summary (琉璃) The drama tells the story of Chu Xuan Ji, a girl born with an incomplete "sixth sense", and Yu
    1 Comments 0 Shares 298 Views 0 Reviews
  • ท่าทางของ "จอร์เจีย เมโลนี" ผู้นำอิตาลี ตอกย้ำกระแสข่าวว่าเธอเป็นหนึ่งในสมาชิก สามเกลอนิยมโค้ก ที่ประกอบไปด้วยผู้นำจาก อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
    ท่าทางของ "จอร์เจีย เมโลนี" ผู้นำอิตาลี ตอกย้ำกระแสข่าวว่าเธอเป็นหนึ่งในสมาชิก สามเกลอนิยมโค้ก ที่ประกอบไปด้วยผู้นำจาก อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
    0 Comments 0 Shares 180 Views 0 Reviews
  • กัมพูชาเป็นประเทศราชของไทยอยู่เกือบร้อยกว่าปีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนไทยจะเสียดินแดนกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นกัมพูชาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักองค์ด้วงซึ่งทรงเติบโตในกรุงเทพกว่า 27 ปี เมื่อทรงกลับไปครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาแล้วก็ทรงนำศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักไทยกลับไปยังกัมพูชาด้วย ยกตัวอย่างเช่น โขน ละคร และนาฏยศิลป์ของกัมพูชานั้นได้ครูโขนและครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนและถ่ายทอดท่ารำ และแม้กระทั่งบทร้องบทละครก็ได้รับอิทธิพลไปจากไทยทั้งสิ้นดังที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ และคุณชายคึกฤทธิ์ ได้เขียนกลอนบริภาษเขมรเอาไว้ว่า

    "สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่ ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล
    เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน
    กะลาครอบมานานโบราณว่า พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน
    คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป
    อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้
    ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด
    เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด
    สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี
    ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่
    คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน
    หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น?
    ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา?
    เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า
    ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง
    ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง
    เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา
    ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์ ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา
    ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา เพราะทรงพระกรุณาประทานไป
    มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้
    สมกับคำโบราณท่านว่าไว้ อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย…

    ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
    หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
    18 ตุลาคม 2502

    สำหรับคนเขมรแล้ว เมื่อคราวเขมรแตกจากเขมรแดง โดยพลพต มีชาวเขมรหนีตายเข้ามาที่เขาล้านจังหวัดตราด นับแสนคน มาในสภาพโครงกระดูกเดินได้ อดอยาก เจ็บป่วย ปางตาย อุจจาระ ปัสสาวะกลาดเกลื่อนเหม็นคลุ้งไปทั้งเขาล้าน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ให้การช่วยเหลือ ทรงประทับแรมท่ามกลางผู้อพยพชาวเขมรนับแสนคน ในฐานะองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ได้ทรงให้สภากาชาดไทยจัดตั้งค่ายช่วยเหลือผู้อพยพหนีตายนับแสนคน ทรงงานหนักอย่างไม่ทรงรังเกียจด้วยพระเมตตาสูงสุดต่อชาวกัมพูชาพลัดบ้านพลัดถิ่นที่หนีตายมาพึ่งพระบารมี ทรงมีพระราชเสาวนีย์พระราชทานว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี”

    ในเหตุการณ์นั้นมีนายทหารหนุ่มคนหนึ่งโดยเสด็จและถวายงานในการช่วยเหลือชาวกัมพูชาอย่างใกล้ชิดคือในหลวงรัชกาลที่ 10 (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงลาดตระเวนถวายอารักขา ดูแลความปลอดภัยของพระราชมารดาผู้ทรงมุ่งมั่นทรงงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มที่ และทรงได้ถวายงานในการช่วยเหลือพี่น้องชาวกัมพูชาที่บ้านแตกสาแหรกขาดจนต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเช่นกัน

    กัมพูชาเป็นประเทศราชของไทยอยู่เกือบร้อยกว่าปีในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อนไทยจะเสียดินแดนกัมพูชาให้กับฝรั่งเศส ดังนั้นกัมพูชาจึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักองค์ด้วงซึ่งทรงเติบโตในกรุงเทพกว่า 27 ปี เมื่อทรงกลับไปครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชาแล้วก็ทรงนำศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสำนักไทยกลับไปยังกัมพูชาด้วย ยกตัวอย่างเช่น โขน ละคร และนาฏยศิลป์ของกัมพูชานั้นได้ครูโขนและครูนาฏศิลป์ไทยไปสอนและถ่ายทอดท่ารำ และแม้กระทั่งบทร้องบทละครก็ได้รับอิทธิพลไปจากไทยทั้งสิ้นดังที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือโครงกระดูกในตู้ และคุณชายคึกฤทธิ์ ได้เขียนกลอนบริภาษเขมรเอาไว้ว่า "สัปดาห์นี้มีเรื่องความเมืองใหญ่ ไทยถูกฟ้องขับไล่ขึ้นโรงศาล เคยเป็นเรื่องโต้เถียงกันมานาน ที่ยอดเขาพระวิหารรู้ทั่วกัน กะลาครอบมานานโบราณว่า พอแลเห็นท้องฟ้าก็หุนหัน คิดว่าตนนั้นใหญ่ใครไม่ทัน ทำกำเริบเสิบสันทุกอย่างไป อันคนไทยนั้นสุภาพไม่หยาบหยาม เห็นใครหย่อนอ่อนความก็ยกให้ ถึงล่วงเกินพลาดพลั้งยังอภัย ด้วยเห็นใจว่ายังเยาว์เบาความคิด เขียนบทความด่าตะบึงถึงหัวหู ไทยก็ยังนิ่งอยู่ไม่ถือผิด สั่งถอนทูตเอิกเกริกเลิกเป็นมิตร แล้วกลับติดตามต่อขอคืนดี ไทยก็ยอมตามใจไม่ดึงดื้อ เพราะไทยถือเขมรผองเหมือนน้องพี่ คิดตกลงปลงกันได้ด้วยไมตรี ถึงคราวนี้ใจเขมรแลเห็นกัน หากไทยจำล้ำเลิกบ้างอ้างขอบเขต เมืองเขมรทั้งประเทศของใครนั่น? ใครเล่าตั้งวงศ์กษัตริย์ปัจจุบัน องค์ด้วงนั้นคือใครที่ไหนมา? เป็นเพียงเจ้าไม่มีศาลซมซานวิ่ง ได้แอบอิงอำนาจไทยจึงใหญ่กล้า ทัพไทยช่วยปราบศัตรูกู้พารา สถาปนาจัดระบอบให้ครอบครอง ได้เดชไทยไปคุ้มกะลาหัว จึงตั้งตัวขึ้นมาอย่างจองหอง เป็นข้าขัณฑสีมาฝ่าละออง ส่งดอกไม้เงินทองตลอดมา ไม่เหลียวดูโภไคไอศวรรย์ ทั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์เป็นหนักหนา ฝีมือไทยแน่นักประจักษ์ตา เพราะทรงพระกรุณาประทานไป มีพระคุณจุนเจือเหลือประมาณ ถึงลูกหลานกลับเนรคุณได้ สมกับคำโบราณท่านว่าไว้ อย่าไว้ใจเขมรเห็นจริงเอย… ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หนังสือพิมพ์สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ 18 ตุลาคม 2502 สำหรับคนเขมรแล้ว เมื่อคราวเขมรแตกจากเขมรแดง โดยพลพต มีชาวเขมรหนีตายเข้ามาที่เขาล้านจังหวัดตราด นับแสนคน มาในสภาพโครงกระดูกเดินได้ อดอยาก เจ็บป่วย ปางตาย อุจจาระ ปัสสาวะกลาดเกลื่อนเหม็นคลุ้งไปทั้งเขาล้าน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม ให้การช่วยเหลือ ทรงประทับแรมท่ามกลางผู้อพยพชาวเขมรนับแสนคน ในฐานะองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย ได้ทรงให้สภากาชาดไทยจัดตั้งค่ายช่วยเหลือผู้อพยพหนีตายนับแสนคน ทรงงานหนักอย่างไม่ทรงรังเกียจด้วยพระเมตตาสูงสุดต่อชาวกัมพูชาพลัดบ้านพลัดถิ่นที่หนีตายมาพึ่งพระบารมี ทรงมีพระราชเสาวนีย์พระราชทานว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี” ในเหตุการณ์นั้นมีนายทหารหนุ่มคนหนึ่งโดยเสด็จและถวายงานในการช่วยเหลือชาวกัมพูชาอย่างใกล้ชิดคือในหลวงรัชกาลที่ 10 (ขณะนั้นทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) ทรงลาดตระเวนถวายอารักขา ดูแลความปลอดภัยของพระราชมารดาผู้ทรงมุ่งมั่นทรงงานช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์อย่างเต็มที่ และทรงได้ถวายงานในการช่วยเหลือพี่น้องชาวกัมพูชาที่บ้านแตกสาแหรกขาดจนต้องหนีร้อนมาพึ่งเย็นพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเช่นกัน
    0 Comments 0 Shares 250 Views 0 Reviews
  • ‘นิพิฏฐ์’ เดือดถล่ม ‘อดิศร’ คอมฯชั้นต่ำ! เหิมเกริมแต่งกลอนด่าชวน
    https://www.thai-tai.tv/news/19779/
    ‘นิพิฏฐ์’ เดือดถล่ม ‘อดิศร’ คอมฯชั้นต่ำ! เหิมเกริมแต่งกลอนด่าชวน https://www.thai-tai.tv/news/19779/
    0 Comments 0 Shares 65 Views 0 Reviews
  • วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก

    “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า

    เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花)

    ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า?

    เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ

    แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html
    http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/
    https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/
    https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html
    https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html
    https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花) ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า? เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/ https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/ https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    1 Comments 0 Shares 301 Views 0 Reviews
  • **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก

    ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’

    วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ)

    เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า

    ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า

    วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย

    แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ?

    ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน

    แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความเก่า:
    ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944
    https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756
    https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html

    #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    **ชื่อเรื่อง <ปรปักษ์จำนน> กับวลีจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเรื่องชื่อนิยายและซีรีส์ <ปรปักษ์จำนน> ที่ Storyฯ รู้สึกว่าชื่อไทยแปลได้อรรถรสของชื่อจีนดีมาก ชื่อจีนของเรื่องนี้คือ ‘เจ๋อเยา’ (折腰) แปลตรงตัวว่าหักเอว ซึ่งมาจากการโค้งคำนับต่ำมากเพื่อแสดงถึงความเคารพอย่างยิ่งยวด แต่คำว่า ‘เจ๋อเยา’ ไม่ได้เป็นชื่อเรียกท่าโค้งคำนับ หากแต่มีความหมายว่ายอมจำนนหรือยอมสยบต่ออำนาจหรืออิทธิพลที่เหนือกว่า และมันมีที่มาจากวลีจีนโบราณ ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ วลีนี้ปรากฏอยู่ในบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์จิ้น (晋书) ส่วนที่บันทึกเรื่องราวบุคคลสำคัญในบรรพที่ชื่อว่า ‘เถาเฉียนจ้วน’ (陶潜传 / ตำนานเถาเฉียน) และเจ้าของวลีคือเถายวนหมิง หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เถาเฉียน เขาเป็นกวีและนักประพันธ์ชื่อดังในสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) มีผลงานเลื่องชื่อมากมาย เช่น วรรณกรรมเรื่อง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ เกี่ยวกับดินแดนดอกท้ออันเป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติหรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia ที่มนุษย์แสวงหา (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ย้อนอ่านได้ที่ลิ้งค์ใต้บทความ) เถายวนหมิงมีพื้นเพมาจากตระกูลขุนนางเก่าซึ่งมีฐานะค่อนข้างดี ปู่ทวดเป็นมหาเสนาบดีกลาโหม ปู่เป็นผู้ว่าราชการมณฑล เขาจึงได้รับการศึกษาอย่างดีมาแต่เด็ก ต่อมาฐานะครอบครัวตกต่ำลงจนถึงขั้นยากจนหลังจากบิดาเสียชีวิตไปเมื่อเขาอายุได้แปดขวบ แต่เขาก็ยังหมั่นเพียรขยันศึกษาจนต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากลัทธิเต๋า ในช่วงอายุ 29 – 40 ปี เถายวนหมิงเคยเข้ารับราชการเพื่อหาเลี้ยงชีพแต่ก็ต้องลาออกเพราะไม่ชอบการพินอบพิเทาเจ้านายและไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดีทางการเมือง แต่แล้วก็เข้ารับราชการใหม่ เป็นเช่นนี้หลายครั้งครา ทั้งนี้เพราะเขามีใจใฝ่ความสงบของธรรมชาติ รักมัธยัสถ์ ไม่ชอบการแก่งแย่งชิงดี ต่อมาจึงตัดสินใจลาออกจากราชการอย่างถาวรและหันไปทำไร่ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก แต่ก็สุขใจสามารถร่ำสุราแต่งกลอนตามใจอยากและได้สร้างผลงานวรรณกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานของเขาล้วนแฝงด้วยจิตวิญญาณของธรรมชาติ ความเรียบง่าย และพลังแห่งชีวิต และต่อมาเถายวนหมิงได้ถูกยกย่องเป็นต้นแบบของการละทิ้งลาภยศชื่อเสียงและการใช้ชีวิตอย่างสมถะตามหลักปรัชญาแห่งเต๋า วลี ‘ไม่ยอมสยบ (หักเอว) เพื่อข้าวสารห้าโต่ว’ นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อตอนเถายวนหมิงอายุสี่สิบปี เข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ว่าการเขตเผิงเจ๋อ (ตั้งอยู่ทางเหนือของมณฑลเจียงซี) อยู่มาวันหนึ่งมีผู้ตรวจการมาตรวจงาน เสมียนหลวงบอกเขาว่าควรแต่งตัวให้เรียบร้อยอย่างเป็นทางการไปต้อนรับผู้ตรวจการ เขาถอนหายใจด้วยความเบื่อหน่ายและกล่าววลีนี้ออกมา และเมื่อกล่าวเสร็จเขาก็ยื่นใบลาออกหลังจากรับราชการมาได้เพียงแปดสิบเอ็ดวัน และหลังจากนั้นก็ไม่เข้ารับราชการอีกเลย แล้วทำไมต้อง ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ ? ประเด็นนี้มีการตีความกันหลากหลาย แต่โดยส่วนใหญ่จะตีความว่า ข้าวสารห้าโต่วคือค่าจ้างของขุนนางระดับผู้ว่าการเขตในสมัยนั้น (หนึ่งโต่วในสมัยนั้นคือประมาณเจ็ดลิตร) ซึ่งฟังดูน้อยนิดเมื่อคำนวณเทียบกับบันทึกโบราณว่าด้วยเงินเดือนข้าราชการ บ้างก็ว่าเป็นเงินเดือนแต่ยังไม่รวมค่าตอบแทนอื่น เช่นผ้าไหม บ้างก็ว่าคิดได้เป็นค่าจ้างรายวันเท่านั้น บ้างก็ว่าเป็นปริมาณข้าวสารที่พอเพียงสำหรับหนึ่งคนในหนึ่งเดือน แต่ไม่ว่า ‘ข้าวสารห้าโต่ว’ จะมีความหมายที่แท้จริงอย่างไร เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกไว้และกล่าวถึงอย่างยกย่องว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการละทิ้งยศศักดิ์ และวลีนี้ได้กลายมาเป็นสำนวนจีนที่ถูกใช้ผ่านกาลเวลาหลายยุคสมัยเพื่อแปลว่า ไม่ยอมละทิ้งจิตวิญญาณของตนเพื่อยอมสยบให้กับอำนาจหรืออิทธิพล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความเก่า: ดินแดนดอกท้อ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/525898876205076 Credit รูปภาพจาก: https://www.yangtse.com/news/wy/202506/t20250603_215987.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_2197713 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/陶渊明/53944 https://baike.baidu.com/item/陶潜传/75756 https://k.sina.cn/article_5044281310_12ca99fde020004fcq.html #ปรปักษ์จำนน #เจ๋อเยา #เถาเฉียน #เถายวนหมิง #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 368 Views 0 Reviews
  • ความมีอยู่ว่า
    ...กว่าโจวเซิงเฉินจะกลับมาถึง สองผนังของหออักษรก็ถูกนางเขียนจนเต็ม... โจวเซิงเฉินเดินหาทั่วจวนหวาง จนกระทั่งเดินถึงชั้นบนของหออักษร จึงเห็นดรุณีที่ก่อนหน้านี้ยกน้ำชาอย่างเรียบร้อยเพื่อกราบตนเป็นอาจารย์ บัดนี้กลับเขียนบท “ซ่างหลินฟู่” ของซือหม่าเซียงหรูอยู่บนผนัง
    ชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ตกหล่นแม้เพียงอักษรเดียว
    เพียงแต่ชะงักหยุดตรงวรรคที่เกี่ยวกับความรักหญิงชาย: คิ้วยาวเรียวงาม เบาบางดุจฝ้าย...
    ...เขายิ้มเอ่ย “วรรคต่อคือ: นัยน์ตาสื่อรัก ใจประสานใจ”...
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า
    (หมายเหตุ บทความ Storyฯ แปลเอง ยกเว้นวรรคสุดท้ายยกมาจากซับไทยในละครจ้า)

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร/อ่านนิยาย <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> จะคุ้นตากับบทประพันธ์ชื่อว่า “ซ่างหลินฟู่” ที่ดูจะมีบทบาทช่วยเดินเรื่อง เคยมีคนเขียนเกี่ยวกับบทประพันธ์นี้ไปบ้างแล้ว แต่ Storyฯ ยังหวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ได้ในอีกแง่มุม

    “ซ่างหลินฟู่” (上林赋) เป็นบทประพันธ์โดยซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่”

    “ซ่างหลินฟู่” เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของซือหม่าเซียงหรูและเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษามาตลอดทุกยุคสมัย ตั้งแต่ฮั่น ผ่านถัง ซ่ง หมิง ฯลฯ จวบจนปัจจุบัน จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากที่สุดของจีน ยาวประมาณสี่พันอักษร (ภาพประกอบเป็นฉบับแปลเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว)

    ทีแรก Storyฯ เข้าใจจากเนื้อเรื่องละครว่า “ซ่างหลินฟู่” คงเป็นกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    “ซ่างหลินฟู่” เป็นเรื่องราวประพาสล่าสัตว์ของฮ่องเต้และบรรยายถึงความอลังการของอุทยานซ่างหลิน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครฉางอัน) เล่าผ่านเรื่องราวและตัวละครที่ไม่มีตัวตนจริงเช่น กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ เป็นบทความที่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงขอและซือหม่าเซียงหรูใช้เวลา 10 ปีกว่าจะนำบทประพันธ์นี้ถวาย

    เพราะอะไรจึงเป็นบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษา? Storyฯ สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ค่ะ
    1. รูปแบบ - “ฟู่” เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ ซ่างหลินฟู่เป็นต้นแบบของวรรณกรรมจีนโบราณที่โด่งดังอีกหลายบทในรูปแบบ “ฟู่” นี้
    2. ภาษา - ดีกรีความ ‘เข้มข้น’ สูงมาก ไพเราะสละสลวย วรรคสั้นแต่มีนัยแฝงลึกซึ้ง ใช้คำที่แปลก (คำหลายคำไม่มีในพจนานุกรมจีนปัจจุบันแล้ว) Storyฯ เห็นในเพจต่างๆ ต้องมีการตีความและอธิบายความหมายจากจีนเป็นจีนเกือบทุกวรรค (วรรคละ3-4 อักษร) เพื่อนๆ ลองนึกภาพเอาแล้วกันว่ายากแค่ไหน
    3. สาระ - สอดแทรกปรัชญาและคุณธรรมการปกครองบ้านเมืองผ่านบทสนทนาโต้ตอบกันของตัวละครในเรื่อง ชนรุ่นหลังถึงกับมีคนวิเคราะห์ว่าเป็นการเสียดสีการปกครองในเวลานั้นหรือไม่

    ประโยคที่กล่าวถึงความรักลึกซึ้งในข้อความที่ยกมาจากนิยายนั้น จริงๆ แล้วเป็นวรรคที่ยกมาจากตอนที่กล่าวเตือนใจให้ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองอย่ามัวเมาในเรื่องของหญิงชายจนลืมกิจการบ้านเมือง (ขออภัยหากข้อมูลนี้ทำให้ลดทอนความโรแมนติคของละคร/นิยายเรื่องนี้ไป)

    ทำให้ Storyฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า ละครเรื่องนี้ไม่เพียงเล่าถึงความรักลึกซึ้งระหว่างพระนาง แต่ยังสอดแทรกความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อประเทศชาติที่สะท้อนผ่านปรัชญาชีวิตของตัวละครเอกโจวเซิงเฉิน เพื่อนเพจที่เคยดู/อ่านเรื่องนี้ คิดเหมือนกันบ้างไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.163.com/dy/article/GIB87TR80524M8IF.html
    https://m.cngwzj.com/gushitp/LiangHan/68357/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.jianshu.com/p/4437a2086012
    https://www.liuxue86.com/a/3552681.html
    https://www.kekeshici.com/shiciwenzhang/shicirumen/2093.html

    #ทุกชาติภพกระดูกงดงาม #สืออี๋ #โจวเซินเฉิน #กวีจีน #ซ่างหลินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู
    ความมีอยู่ว่า ...กว่าโจวเซิงเฉินจะกลับมาถึง สองผนังของหออักษรก็ถูกนางเขียนจนเต็ม... โจวเซิงเฉินเดินหาทั่วจวนหวาง จนกระทั่งเดินถึงชั้นบนของหออักษร จึงเห็นดรุณีที่ก่อนหน้านี้ยกน้ำชาอย่างเรียบร้อยเพื่อกราบตนเป็นอาจารย์ บัดนี้กลับเขียนบท “ซ่างหลินฟู่” ของซือหม่าเซียงหรูอยู่บนผนัง ชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ตกหล่นแม้เพียงอักษรเดียว เพียงแต่ชะงักหยุดตรงวรรคที่เกี่ยวกับความรักหญิงชาย: คิ้วยาวเรียวงาม เบาบางดุจฝ้าย... ...เขายิ้มเอ่ย “วรรคต่อคือ: นัยน์ตาสื่อรัก ใจประสานใจ”... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (หมายเหตุ บทความ Storyฯ แปลเอง ยกเว้นวรรคสุดท้ายยกมาจากซับไทยในละครจ้า) เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร/อ่านนิยาย <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> จะคุ้นตากับบทประพันธ์ชื่อว่า “ซ่างหลินฟู่” ที่ดูจะมีบทบาทช่วยเดินเรื่อง เคยมีคนเขียนเกี่ยวกับบทประพันธ์นี้ไปบ้างแล้ว แต่ Storyฯ ยังหวังว่าบทความนี้จะให้ความรู้ได้ในอีกแง่มุม “ซ่างหลินฟู่” (上林赋) เป็นบทประพันธ์โดยซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” “ซ่างหลินฟู่” เป็นหนึ่งในสองวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของซือหม่าเซียงหรูและเป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษามาตลอดทุกยุคสมัย ตั้งแต่ฮั่น ผ่านถัง ซ่ง หมิง ฯลฯ จวบจนปัจจุบัน จัดเป็นหนึ่งในวรรณกรรมที่อ่านยากที่สุดของจีน ยาวประมาณสี่พันอักษร (ภาพประกอบเป็นฉบับแปลเป็นภาษาปัจจุบันแล้ว) ทีแรก Storyฯ เข้าใจจากเนื้อเรื่องละครว่า “ซ่างหลินฟู่” คงเป็นกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ “ซ่างหลินฟู่” เป็นเรื่องราวประพาสล่าสัตว์ของฮ่องเต้และบรรยายถึงความอลังการของอุทยานซ่างหลิน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของนครฉางอัน) เล่าผ่านเรื่องราวและตัวละครที่ไม่มีตัวตนจริงเช่น กษัตริย์แห่งแคว้นฉู่ เป็นบทความที่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงขอและซือหม่าเซียงหรูใช้เวลา 10 ปีกว่าจะนำบทประพันธ์นี้ถวาย เพราะอะไรจึงเป็นบทประพันธ์ที่มีคุณค่าทางการศึกษา? Storyฯ สรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ค่ะ 1. รูปแบบ - “ฟู่” เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ ซ่างหลินฟู่เป็นต้นแบบของวรรณกรรมจีนโบราณที่โด่งดังอีกหลายบทในรูปแบบ “ฟู่” นี้ 2. ภาษา - ดีกรีความ ‘เข้มข้น’ สูงมาก ไพเราะสละสลวย วรรคสั้นแต่มีนัยแฝงลึกซึ้ง ใช้คำที่แปลก (คำหลายคำไม่มีในพจนานุกรมจีนปัจจุบันแล้ว) Storyฯ เห็นในเพจต่างๆ ต้องมีการตีความและอธิบายความหมายจากจีนเป็นจีนเกือบทุกวรรค (วรรคละ3-4 อักษร) เพื่อนๆ ลองนึกภาพเอาแล้วกันว่ายากแค่ไหน 3. สาระ - สอดแทรกปรัชญาและคุณธรรมการปกครองบ้านเมืองผ่านบทสนทนาโต้ตอบกันของตัวละครในเรื่อง ชนรุ่นหลังถึงกับมีคนวิเคราะห์ว่าเป็นการเสียดสีการปกครองในเวลานั้นหรือไม่ ประโยคที่กล่าวถึงความรักลึกซึ้งในข้อความที่ยกมาจากนิยายนั้น จริงๆ แล้วเป็นวรรคที่ยกมาจากตอนที่กล่าวเตือนใจให้ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองอย่ามัวเมาในเรื่องของหญิงชายจนลืมกิจการบ้านเมือง (ขออภัยหากข้อมูลนี้ทำให้ลดทอนความโรแมนติคของละคร/นิยายเรื่องนี้ไป) ทำให้ Storyฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า ละครเรื่องนี้ไม่เพียงเล่าถึงความรักลึกซึ้งระหว่างพระนาง แต่ยังสอดแทรกความรักอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อประเทศชาติที่สะท้อนผ่านปรัชญาชีวิตของตัวละครเอกโจวเซิงเฉิน เพื่อนเพจที่เคยดู/อ่านเรื่องนี้ คิดเหมือนกันบ้างไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.163.com/dy/article/GIB87TR80524M8IF.html https://m.cngwzj.com/gushitp/LiangHan/68357/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.jianshu.com/p/4437a2086012 https://www.liuxue86.com/a/3552681.html https://www.kekeshici.com/shiciwenzhang/shicirumen/2093.html #ทุกชาติภพกระดูกงดงาม #สืออี๋ #โจวเซินเฉิน #กวีจีน #ซ่างหลินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู
    1 Comments 0 Shares 429 Views 0 Reviews
  • วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว

    ความมีอยู่ว่า
    ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน”
    นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน
    เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี...
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ

    ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心)

    บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส

    บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน)
    เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา
    เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา

    สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้

    มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html
    http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx
    https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml

    #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    วันนี้พักเรื่องมือปราบ เรามาคุยกันเรื่องบทกวีที่มีคติสอนใจ เป็นบทกวีอีกหนึ่งบทที่ปรากฎในนิยาย/ละคร <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ในตอนที่พระเอกวาดภาพดอกบัว ความมีอยู่ว่า ...โจวเซิงเฉินมองเธอเช่นกัน ยิ้มเล็กน้อย เปลี่ยนพู่กันแล้วเขียนลงตรงข้างๆ ภาพวาด: “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” นี่เป็นวลีของเมิ่งฮ่าวหรัน เธอจำวลีนี้ได้ ย่อมเข้าใจถึงความหมายของมัน: เจ้าเห็นดอกบัวนี้โผล่พ้นโคลนตมออกมาแต่ไม่เปรอะเปื้อน ควรเป็นคติเตือนใจ อย่าให้โลกแห่งกิเลสมาครอบงำ รักษาจิตใจของตนให้ดี... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) วลี “ยามมองปทุมสะอาดหมดจด พึงหยั่งรู้ถึงใจที่ไม่แปดเปื้อน” (看取莲花净,应知不染心) นี้ ในละครตีความหมายผ่านบทสนทนาของตัวละครว่า โจวเซิงเฉินใช้วลีนี้สื่อถึงความรักที่มั่นคงต่อสืออี๋ ไม่ยอมให้ประเพณีนิยมมากวนใจ ขออภัยหากทำลายความโรแมนติกลง แต่จริงๆ แล้ววลีนี้ไม่ได้หมายถึงการยึดมั่นในความคิดของตน หากแต่เป็นบทกวีที่มีพื้นฐานจากคำสอนของศาสนาพุทธจึงมีการเปรียบเปรยถึงดอกบัวอันบริสุทธิ์ และความหมายเป็นไปตามที่บรรยายในนิยายข้างต้น ซึ่งก็คือการดำรงให้ ‘ใจไร้รอยแปดเปื้อน’ (ปู้หร่านซิน / 不染心) บทกวีนี้มีชื่อเต็มว่า “เรื่องกุฏิของอี้กง” (ถีอี้กงฉานฝาง / 题义公禅房) มีทั้งหมดแปดวรรค เป็นหนึ่งในบทกวีเลื่องชื่อของเมิ่งฮ่าวหรัน (ค.ศ. 689 – 740) กวีเอกสมัยราชวงศ์ถัง สรุปใจความเป็นการบรรยายถึง นักบวชขั้นสูงนามว่าอี้กงผู้บำเพ็ญศีลในกุฏิที่สร้างอยู่ในป่าเงียบสงบและศึกษาจบบทที่เรียกว่า ‘คัมภีร์ดอกบัว’ ด้วยใจสงบนิ่งไม่ถูกสิ่งแวดล้อมทำให้ไขว้เขว สะท้อนถึงใจที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลส บทกวีนี้จัดอยู่ในประเภทที่เรียกว่า ‘กลอนทิวทัศน์ภูผาวารี’ หรือ ‘ซานสุ่ยซือ’ มีลักษณะเป็นโคลงห้า (五言律诗) ซึ่งเป็นสไตล์ที่เมิ่งฮ่าวหรันชอบใช้ โคลงห้าของจีนในแต่ละวรรคมีห้าอักษร นอกจากคำคล้องจองแล้ว อักษรที่ใช้ต้องมีจังหวะเสียงประมาณนี้ (อาจสลับเรียงวรรคก่อนหลังได้ แต่จังหวะในแต่ละวรรคไม่เปลี่ยน) เข้ม เข้ม - เบา เบา เข้ม / เข้ม เข้ม - เข้ม เบา เบา เบา เบา - เบา เข้ม เข้ม / เบา เบา - เข้ม เข้ม เบา สำหรับท่านที่ต้องการสำนวนที่สื่อถึงการยึดมั่นในเจตนารมณ์ Storyฯ อยากแนะนำอีกวลีหนึ่งแทน เป็นวลีสั้นๆ ว่า “ไม่ลืมใจเดิม” (ปู้ว่างชูซิน / 不忘初心) เป็นวลีที่ยกมาจากงานเขียนสมัยราชวงศ์ถังเช่นกัน มาจากวรรคเต็มที่เขียนไว้ว่า หากคนเราไม่ลืมความคิดและใจที่ตั้งต้น ย่อมสามารถเดินถึงจุดหมายปลายทางตามเจตนารมณ์เดิมได้ มันเป็นวลีที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อ Storyฯ เพราะเพจนี้เกิดจากความ ‘ไม่ลืมใจเดิม’ ที่อยากจะเป็นนักเขียน หลังจากเส้นทางชีวิตนำพาให้ Storyฯ ไปทำอะไรอย่างอื่นมากมาย ตอนนี้จึงอยากกลับมาตามฝันตั้งต้นของตัวเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://3g.163.com/dy/article/GHPHHJRU05527S2X.html http://huamenglianyuan.blog.epochtimes.com/article/show?articleid=75762 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xiaogushi.cn/shici/mingju/414146.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_44e80087e9b5.aspx https://baike.baidu.com/item/五言律诗/10294694 https://www.chinacourt.org/article/detail/2019/09/id/4425543.shtml #กระดูกงดงาม #โจวเซิงเฉิน #สืออี๋ #เมิ่งฮ่าวหรัน #บทกวีจีนโบราณ #วลีจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ #ราชวงศ์ถัง
    3G.163.COM
    任嘉伦白鹿新戏《周生如故》,朝堂线太过儿戏,剧情偏平淡_手机网易网
    任嘉伦,白鹿的新戏《周生如故》开播了。任嘉伦出演周生辰,坐拥数十万兵马的小南辰王,驻守西州的不败将军。白鹿出演漼时宜,世家大族漼家的嫡女,指腹为婚的未来太子妃。无论是周生辰还是漼时宜他们的事业线、感情线都和朝堂线有密切的联系,甚至是决定性作用。
    1 Comments 0 Shares 462 Views 0 Reviews
  • **ภาพวาด 24 กตัญญู**

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงฉากที่พระนางในเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> สวมหน้ากากร่วมทายปริศนากันในเทศกาลโคมไฟ วันนี้มาคุยกันต่ออีกนิดเกี่ยวกับฉากนี้ ในเนื้อเรื่องนางเอกชนะได้โคมไฟหนึ่งใบซึ่งนางมอบให้พระเอกและพระเอกให้คนส่งต่อไปให้พ่อของเขา โดยโคมไฟใบนี้เป็นลายภาพที่นางเอกเรียกว่า ‘ภาพวาด 24 กตัญญู’

    ‘24 กตัญญู’ (二十四孝/เอ้อร์สือซื่อเซี่ยว) เป็นเรื่องราวความกตัญญูยี่สิบสี่เรื่องที่ถูกเรียบเรียงขึ้นในสมัยหยวนโดยกัวจวีจิ้ง บัณฑิตชนบทธรรดาจากหมู่บ้านเล็กแห่งหนึ่งในมณฑลฝูเจี้ยน โดยเป็นการรวบรวมเรื่องเล่าความกตัญญูในประวัติศาสตร์จากหลายแหล่งมาเรียบเรียงเป็นประโยคกลอนสั้นประมาณสี่วรรค ทำให้ง่ายต่อการเล่าต่อและจดจำ จึงกลายเป็นหนึ่งในนิทานสอนเด็กที่ชาวบ้านนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาถูกหยิบยกมาเป็นเนื้อหาของภาพวาดหรืองานแกะสลักโดยหลากหลายศิลปินหลายยุคสมัย

    เนื้อหาส่วนใหญ่ของบทกวี 24 กตัญญูมีที่มาจาก ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ (孝子传/เซี่ยวจื่อจ้วน) ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นโดยหลิวเซี่ยง ราชนิกุลและนักประวัติศาสตร์อักษรศาสตร์สมัยฮั่นตะวันตก เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่สะท้อนแนวคำสอนและปรัชญาของขงจื๊อ และต่อมา ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ ถูกนำไปรวมอยู่ในอีกหลากหลายบทประพันธ์ในอีกหลายยุคสมัย หนึ่งในนั้นคือบันทึกเรื่องเล่าความกตัญญูยาวกว่าห้าม้วนที่ถูกค้นพบในห้องศิลาที่ตุนหวง

    24 กตัญญูกล่าวถึงอะไรบ้าง บทความยาวหน่อยนะคะ สรุปโดยสั้นได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบ):

    1. กตัญญูสะเทือนสวรรค์: เป็นเรื่องราวของจักรพรรดิซุ่นกว่าสี่พันปีที่แล้ว (เป็นหนึ่งในสามราชันห้าจักรพรรดิในตำนาน) เมื่อครั้งเขายังเป็นชาวบ้านธรรมดาก็ถูกพ่อ แม่เลี้ยงและน้องต่างมารดาให้ร้ายสารพัดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่เขาไม่คิดแค้นเคืองและยังคงดูแลพวกเขาอย่างดี จนสวรรค์เห็นใจจึงบันดาลให้มีช้างมาช่วยปรับผิวดินและมีนกมาช่วยหว่านเมล็ดพืชจนทำมาหาเลี้ยงชีพได้ ต่อมาจักรพรรดิ์เหยาได้ยินกิตติศัพท์ความกตัญญูของเขาก็รับเป็นราชบุตรเขยและสุดท้ายให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป

    2. แบกข้าวให้บุพการี: กล่าวถึงจงโหยว (นามรองจื่อลู่) หนึ่งในศิษย์เอกของขงจื๊อ ขุนนางชื่อดังแห่งแคว้นเว่ยในยุคสมัยชุนชิว เขามีพื้นเพยากจน ทุกวันจะกินแต่ผักผลไม้ป่าเพื่อประหยัดเงิน แต่ยอมเดินทางไกลกว่าร้อยหลี่เพื่อไปหาซื้อข้าวแบกกลับมาให้พ่อแม่กิน ต่อมาเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีมีอันจะกินก็มักจะพร่ำเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีชีวิตอยู่ดีกินดีกับเขา

    3. ฮ่องเต้ชิมยา: เป็นเรื่องราวของฮั่นเหวินตี้หลิวเหิง บุตรของป๋อไทเฮา ที่คอยดูแลป๋อไทเฮาในยามป่วยตลอดสามปีด้วยตนเองแม้จะเป็นถึงฮ่องเต้มีข้าราชบริพารมากมาย โดยจะชิมยาของแม่ก่อนป้อนให้แม่ทุกครั้งเพื่อทดสอบว่ายานั้นอุ่นกำลังดีไม่ร้อนเกินไป

    4. ขายตัวฝังศพพ่อ: เป็นเรื่องราวของบุรุษนามว่าตงหย่งในสมัยฮั่นที่กำพร้าแม่แต่เด็ก ต่อมาเมื่อพ่อเสียชีวิตก็ไม่มีเงินทำศพพ่อจึงยอมขายตัวเองไปเป็นทาส วันหนึ่งพบเข้ากับสตรีกำพร้าไร้ที่ไป นางขอให้เขาช่วยแต่งงานอยู่กินกันโดยนางยินดีเข้าไปช่วยทำงานที่เรือนเศรษฐีด้วย เศรษฐีตกลงว่าเมื่อนางทอผ้าได้ครบสามร้อยพับก็จะอนุญาตให้ทั้งคู่ไถ่ตัวได้ นางใช้เวลาเพียงเดือนเดียวก็ทำสำเร็จ ต่อมานางบอกความจริงว่านางเป็นเทพธิดาและสวรรค์ซาบซึ้งกับความกตัญญูของเขาจึงมอบหมายให้มาช่วยเขา จากนั้นก็อำลาจากไป

    5. สีสันบันเทิงเพื่อบุพการี: กล่าวถึงเหล่าช่ายจื่อ หนึ่งในบัณฑิตมากความรู้ที่เร้นกายอยู่ในป่าในสมัยชุนชิว เขารักพ่อแม่มากอยากให้พ่อแม่เบิกบานใจทุกวัน ถึงขนาดว่าตัวเองอยู่ในวัย 70 ปีแล้วแต่ก็ยังแต่งตัวสีสันฉูดฉาดเล่นเป็นเด็ก หกล้มลงก็แกล้งทำเป็นกลิ้งเล่นอยู่บนพื้นเพื่อให้พ่อแม่วัยเฒ่าหัวเราะแทนที่จะตกใจเสียใจ

    6. นิ้วแม่เชื่อมใจลูก: เป็นเรื่องราวของเจิงจื่อ นักปรัชญาแห่งราชสำนักโจวและลูกศิษย์ของขงจื๊อ ที่วันหนึ่งออกไปเก็บฟืน แต่มีแขกมาเยือน แม่ของเขาอยู่บ้านคนเดียวก็กระวนกระวายไม่รู้ว่าจะต้อนรับขับสู้อย่างไรดี จนถึงขนาดกัดนิ้วตนเองด้วยความเครียด เจิงจื่อที่อยู่ในป่ากลับรู้สึกได้ถึงความเจ็บนั้น จึงรีบรุดกลับบ้านมาดูแม่และรับรองแขกด้วยตนเอง บ่งบอกถึงสายใยเหนียวแน่นของแม่ลูก

    7. คัดผลไม้ให้แม่กิน: เป็นเรื่องราวของไช่ซุ่นในสมัยฮั่น เขาอาศัยเก็บผลหม่อนกินประทังชีวิตเพราะยากจนมากและข้าวของราคาแพงเพราะสงคราม อยู่มาวันหนึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่นำขบวนทหารผ่านมาเห็นเขาแยกผลหม่อน ถามได้ความว่าเขาแยกผลสุกสีเข้มให้แม่กิน ส่วนตัวเองกินที่สีแดงที่ยังเปรี้ยวเฝื่อน นายทหารเห็นแก่ความกตัญญูของเขาจึงแบ่งปันเสบียงทหารให้ชายหนุ่ม

    8. กราบไหว้รูปสลักบุพการี: กล่าวถึงบุรุษสมัยฮั่นตะวันออกนามว่าหลันติงที่กำพร้าพ่อแม่แต่เด็ก เขาแกะสลักรูปปั้นพ่อแม่ตั้งไว้ในบ้านกราบไหว้ทุกวันเพราะละอายใจที่ไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณ ไม่เพียงกราบไหว้สามมื้อก่อนจะกินข้าว แต่มีเรื่องอะไรก็จะไปนั่งคุยให้รูปปั้นฟัง หนักเข้าภรรยาก็รำคาญ เลยลองเอาเข็มไปจิ้มรูปปั้น เมื่อเขากลับมาบ้านพบว่ารูปปั้นน้ำตาไหล เมื่อสืบสาวราวเรื่องได้แล้วเขาก็เลิกกับภรรยา

    9. น้ำนมกวางเพื่อบุพการี: กล่าวถึงถานจื่อ ประมุขแคว้นถานซึ่งเป็นแคว้นเล็กในสมัยราชวงศ์โจว ในสมัยเด็กเขายากจนและต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้วและตาไม่ดี ต้องกินนมกวางช่วยบำรุงรักษา เขามักจะใช้หนังกวางคลุมตัวแล้วย่องเข้าไปปะปนอยู่ในฝูงกวางเพื่อเอานมกวางมาให้พ่อแม่กิน มีอยู่ครั้งหนึ่งเกือบโดนนายพรานยิง แต่เมื่อนายพรานได้ยินเรื่องราวความจำเป็นของเขาก็ยกนมกวางให้และยังส่งเขากลับบ้านด้วยตนเอง

    10. สวมเสื้อไส้ใยกก: เป็นเรื่องของหมินสุ่น (นามรองจื่อเชียน) หนึ่งในลูกศิษย์ของขงจื๊อ เขากำพร้าแม่ตั้งแต่เด็ก พ่อแต่งภรรยาใหม่มีลูกชายอีกสองคน เขาถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง ต้องสวมเสื้อใยกกในขณะที่น้องๆ ได้สวมเสื้อบุฝ้ายในยามหนาว วันหนึ่งเขาช่วยจูงรถให้พ่อแต่หนาวจนทำให้เชือกหลุดมือ พ่อบันดาลโทสะเฆี่ยนจนเสื้อขาดจึงพบว่าลูกชายคนนี้ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ช่วยกันหนาว พ่อโกรธแม่เลี้ยงมากถึงกับเอ่ยปากบอกเลิกทันทีที่กลับถึงบ้าน แต่หมินสุ่นอ้อนวอนขออภัยแทนแม่เลี้ยง โดยให้เหตุผลว่า ตอนนี้มีลูกเพียงคนเดียวที่ลำบาก แต่ถ้าแม่เลี้ยงไม่อยู่จะมีลูกถึงสามคนที่ลำบาก สุดท้ายแม่เลี้ยงได้รับการให้อภัย นางจึงกลับตัวกลับใจดูแลหมินสุ่นอย่างดีนับแต่นั้นมา

    11. ฝังลูกเพื่อแม่: กล่าวถึงบุรุษนามว่ากัวจวี้ในสมัยฮั่น เขามีฐานะยากจน เมื่อพ่อเสียก็แลแม่เป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อภรรยาคลอดบุตร เขาก็รู้สึกว่าเลี้ยงดูไม่ไหวและไม่อยากให้แม่ต้องมาอดมื้อกินมื้อไปกับเขา จึงตัดสินใจจะฝังลูกเพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ฟังคำทัดทานของภรรยา แต่เมื่อขุดดินลงไปกลับพบทองคำหนึ่งไห เรื่องราวจบลงด้วยดีโดยเขาไม่ต้องฆ่าลูกตัวเองและมีฐานะดีขึ้น

    12. ปลากระโดดจากบ่อน้ำ: กล่าวถึงบุรุษนามว่าเจียงซือในสมัยฮั่น เขามีภรรยาแซ่ผางที่กตัญญูกับแม่สามีมาก แม่สามีชอบกินปลาก็ออกไปจับปลามาให้กิน อยู่มาวันหนึ่งอากาศไม่ดีกว่านางแซ่ผางจะกลับถึงบ้านก็ดึกจึงถูกเจียงซือไล่ออกจากบ้านเพราะเข้าใจผิดว่านางตั้งใจละเลยแม่ของเขา เมื่อแม่ของเจียงซือรู้เรื่องให้เจียงซือไปรับนางกลับมา และตั้งแต่วันที่นางกลับเข้าบ้านมาก็ปรากฏปลาหลีฮื้อสองตัวกระโดดออกมาจากบ่อน้ำกลางบ้านทุกวัน ทำให้นางไม่ต้องไปจับปลาในแม่น้ำอีกต่อไป

    13. ซุกส้มให้แม่: เป็นเรื่องราวของลู่จี้ ขุนนางในสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย กล่าวถึงเมื่อตอนเขาอายุหกขวบ ได้มีโอกาสติดตามพ่อไปพบแม่ทัพท่านหนึ่งที่จวน ครั้นพอเขาคารวะอำลากลับ ส้มสองลูกที่เขาซุกไว้อยู่ในแขนเสื้อกลิ้งหล่นออกมา สอบถามได้ใจความว่าเขาเห็นแม่ชอบกินส้มจึงตั้งใจเก็บเอาไปให้แม่กิน ทำให้แม่ทัพรู้สึกประหลาดใจและชมชอบในความกตัญญูของเด็กคนนี้

    14. ยินเสียงฟ้าร้องปลอบแม่ที่หลุมศพ: กล่าวถึงบัณฑิตหนุ่มจากแคว้นเว่ยนามว่าหวางโผว แม่ของเขาเป็นคนกลัวเสียงฟ้าร้องมาก แม้ว่าจะตายไปแล้วแต่ทุกครั้งที่ฝนตกหนักฟ้าร้อง หวางโผวจะไปกราบหลุมศพนางพร้อมกับปลอบให้นางไม่ต้องกลัว

    15. กอดเสือช่วยพ่อ: กล่าวถึงสตรีนางหนึ่งในสมัยราชวงศ์จิ้นนามว่าหยางเซียง เมื่อครั้งนางมีอายุสิบสี่ปีได้ออกไปทำนากับพ่อ แต่พลันปรากฏเสือตัวหนึ่งกระโจนใส่พ่อจนล้มไป นางไม่มีอาวุธใดแต่ก็กระโดดกอดคอเสือแน่นเพื่อไม่ให้เสือกัดพ่อ สุดท้ายเสือยอมแพ้ปล่อยพ่อของนางแล้วหนีไป

    16. ให้นมย่าทวด: เป็นเรื่องราวความกตัญญูของย่าของเจี๋ยตู้สื่อชุยซานหนานในสมัยถัง เล่าถึงเมื่อครั้งที่ย่าทวดของชุยซานหนานทั้งแก่ทั้งไม่สบายจนเคี้ยวอาหารหยาบไม่ได้เลย ย่าของเขาคอยดูแลโดยใช้น้ำนมของตนป้อนจนย่าทวดอิ่ม ต่อมาทั้งครอบครัวอยู่กันอย่างสงบสุขและรุ่นลูกรุ่นหลานล้วนแสดงความกตัญญูต่อย่าของเขาเช่นกัน

    17. พัดหมอนอุ่นผ้าห่ม: เป็นเรื่องราวของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮั่นนามว่าหวงเซียง เขากำพร้าแม่แต่เด็กและคอยดูแลพ่อ แม้ด้วยวัยเพียงเก้าขวบก็รู้จักพัดหมอนของพ่อให้คลายร้อนในหน้าร้อนและนอนอุ่นผ้าห่มของพ่อในหน้าหนาวเพื่อว่าพ่อของเขาจะได้นอนหลับสบาย

    18. ร่ำไห้จนเกิดหน่อไม้: กล่าวถึงขุนนางสมัยสามก๊กนามว่าเมิ่งจง เขากำพร้าพ่อแต่เด็ก เมื่อครั้งยังหนุ่มต้องดูแลแม่ที่ชราและป่วยหนัก หมอบอกว่าต้องให้แม่กินหน่อไม้สด แต่จนใจเป็นฤดูหนาว เขาหาจนทั่วก็ไม่มีจึงเสียใจคุกเข่าร้องไห้กลางป่า ปรากฏว่าอยู่ดีๆ พื้นดินก็แยกออกแล้วมีหน่อไม้ผุดขึ้นมาให้เขาเก็บกลับบ้านให้แม่กินจนหายป่วย

    19. ล่อยุงแทนพ่อ: กล่าวถึงอู๋เหมิ่ง นักพรตในสมัยสามก๊ก ที่ในสมัยเด็กครอบครัวยากจนไม่มีแม้แต่มุ้งจะกางนอน เขามักจะถอดเสื้อนอนล่อให้ยุงมากัด เพื่อว่าพ่อแม่จะได้นอนหลับสบาย

    20. ล้างกระโถนให้แม่: เป็นเรื่องราวของกวีและนักเขียนอักษรชื่อดังสมัยซ่งเหนือนามว่าหวงถิงเจียน เขาดูแลแม่อย่างเสมอต้นเสมอปลายแม้ว่าจะมีฐานะดี และจะเอากระโถนของแม่ไปเทล้างด้วยตนเองทุกวันไม่เคยขาด

    21. แบกแม่หลบภัย: กล่าวถึงเจียงเก๋อ ขุนนางตงฉินชื่อดังผู้ถูกยกย่องเป็นขุนนางยอดกตัญญูในรัชสมัยของกษัตริย์อู่ตี้แห่งราชวงศ์เหลียงในยุคราชวงศ์เหนือใต้ เจียงเก๋อกำพร้าพ่อแต่เด็กและกตัญญูต่อแม่มาก ครั้งหนึ่งเคยแบกแม่เดินทางหนีสงคราม พบเข้ากับโจรภูเขา เขาอ้อนวอนว่าถ้าเขาตายไป แม่ผู้ชราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ สุดท้ายโจรภูเขาเลยย้อมไว้ชีวิตปล่อยตัวไปทั้งเขาและแม่

    22. ขอปลาบนน้ำแข็ง: เป็นเรื่องของหวางเสียง หนึ่งในขุนนางระดับสูงของราชวงศ์จิ้นตะวันตก เขากำพร้าแม่แต่เด็ก มีแม่เลี้ยงก็ถูกแม่เลี้ยงใส่ไฟจนพ่อไม่รัก อยู่มาวันหนึ่งแม่เลี้ยงไม่สบายมากเขาก็ดูแลนางอย่างใกล้ชิด ครั้นเห็นนางอยากกินปลาจึงออกไปจับปลา แต่จนใจอากาศหนาวจัดจนผิวน้ำเป็นน้ำแข็ง ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงถอดเสื้อลงนอนทาบน้ำแข็งโดยหวังว่ามันจะทำให้น้ำแข็งละลาย แล้วปาฏิหารย์ก็เกิดขึ้น น้ำแข็งละลายจริงและมีปลาโดดออกมาให้เขาจับกลับบ้าน เมื่อแม่เลี้ยงได้กินปลาก็หายป่วย

    23. ชิมอุจจาระดูอาการป่วยพ่อ: เป็นเรื่องของขุนนางสมัยฉีใต้นามว่าอวี่เฉียนโหลว อยู่มาวันหนึ่งเขารู้สึกใจคอว้าวุ่นคิดถึงพ่อที่อยู่บ้านนอก จึงตัดสินใจลาเกษียณกลับไปดูแลพ่อที่ชรามากแล้ว เมื่อถึงบ้านก็พบว่าพ่อของเขาไม่สบายมาก หมอบอกว่าอาการของพ่อเขาสาหัสมาก หากอุจจาระมีรสขมก็จะดีมีโอกาสหาย เขาจึงแอบชิมอุจจาระพ่อ พบว่ามันมีรสหวานก็ยิ่งรู้สึกไม่สบายใจ กราบไหว้ฟ้าขอให้พ่อให้และยอมแลกด้วยชีวิตตัวเองแทน แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันพ่อของเขาก็สิ้นใจ

    24. ออกจากราชการเพื่อตามหาแม่: กล่าวถึงขุนนางสมัยซ่งนามว่าจูโซ่วชาง เมื่อครั้งเขาอายุเพียงเจ็ดขวบ แม่ของเขาที่มีสถานะเป็นอนุภรรยาได้ถูกภรรยาเอกของพ่อบีบให้ต้องแต่งงานไปกับคนอื่นจนเขาต้องพลัดพรากจากแม่โดยไม่มีข่าวคราว แต่เขาไม่เคยหยุดที่จะสืบหาแม่ของเขา ต่อมาห้าสิบปีให้หลังเขาได้รับเบาะแสเกี่ยวกับแม่ จึงขอลาออกจากตำแหน่งขุนนางระดับสูงเพื่อออกตามหาแม่พร้อมประกาศกร้าวว่าถ้าไม่พบแม่จะไม่กลับเมืองหลวงอีก และเขาก็ทำสำเร็จพบแม่ที่มีอายุเจ็ดสิบกว่าปีแล้วและพานางกลับเมืองหลวงด้วยกัน

    อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เรื่องราว 24 กตัญญูถูกเรียบเรียงเป็นกลอนสั้น แต่ละเรื่องยาวเพียงสี่วรรค ง่ายต่อการจดจำ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกไม่อินกับบางเรื่อง และที่ประเทศจีนเองก็มีการถกกันในวงกว้างว่า การกระทำต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องราวเหล่านี้ยังเหมาะสมต่อบริบทสังคมปัจจุบันหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่าเพื่อนเพจอ่านแล้วคงพอเห็นภาพว่า เหตุใดเรื่องราวเหล่านี้จึงถูกยกเป็นตัวอย่างเพื่อสะท้อนความดีงามของความกตัญญูต่อพ่อแม่และเป็นตัวอย่างของการทำดีแล้วได้ดี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.qq.com/rain/a/20241216A05PWX00
    http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.chinakongzi.org/zt/3419/tp/201705/t20170510_135104.htm
    http://www.chinaknowledge.de/Literature/Historiography/xiaozizhuan.html
    http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1
    https://www.8bei8.com/book/24xiao_1.html

    #จิ่วฉงจื่อ #24กตัญญู #เรื่องเล่าจีนโบราณ #สาระจีน
    **ภาพวาด 24 กตัญญู** สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันถึงฉากที่พระนางในเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> สวมหน้ากากร่วมทายปริศนากันในเทศกาลโคมไฟ วันนี้มาคุยกันต่ออีกนิดเกี่ยวกับฉากนี้ ในเนื้อเรื่องนางเอกชนะได้โคมไฟหนึ่งใบซึ่งนางมอบให้พระเอกและพระเอกให้คนส่งต่อไปให้พ่อของเขา โดยโคมไฟใบนี้เป็นลายภาพที่นางเอกเรียกว่า ‘ภาพวาด 24 กตัญญู’ ‘24 กตัญญู’ (二十四孝/เอ้อร์สือซื่อเซี่ยว) เป็นเรื่องราวความกตัญญูยี่สิบสี่เรื่องที่ถูกเรียบเรียงขึ้นในสมัยหยวนโดยกัวจวีจิ้ง บัณฑิตชนบทธรรดาจากหมู่บ้านเล็กแห่งหนึ่งในมณฑลฝูเจี้ยน โดยเป็นการรวบรวมเรื่องเล่าความกตัญญูในประวัติศาสตร์จากหลายแหล่งมาเรียบเรียงเป็นประโยคกลอนสั้นประมาณสี่วรรค ทำให้ง่ายต่อการเล่าต่อและจดจำ จึงกลายเป็นหนึ่งในนิทานสอนเด็กที่ชาวบ้านนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาถูกหยิบยกมาเป็นเนื้อหาของภาพวาดหรืองานแกะสลักโดยหลากหลายศิลปินหลายยุคสมัย เนื้อหาส่วนใหญ่ของบทกวี 24 กตัญญูมีที่มาจาก ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ (孝子传/เซี่ยวจื่อจ้วน) ซึ่งถูกประพันธ์ขึ้นโดยหลิวเซี่ยง ราชนิกุลและนักประวัติศาสตร์อักษรศาสตร์สมัยฮั่นตะวันตก เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่สะท้อนแนวคำสอนและปรัชญาของขงจื๊อ และต่อมา ‘ตำนานบุตรกตัญญู’ ถูกนำไปรวมอยู่ในอีกหลากหลายบทประพันธ์ในอีกหลายยุคสมัย หนึ่งในนั้นคือบันทึกเรื่องเล่าความกตัญญูยาวกว่าห้าม้วนที่ถูกค้นพบในห้องศิลาที่ตุนหวง 24 กตัญญูกล่าวถึงอะไรบ้าง บทความยาวหน่อยนะคะ สรุปโดยสั้นได้ดังนี้ (ดูรูปประกอบ): 1. กตัญญูสะเทือนสวรรค์: เป็นเรื่องราวของจักรพรรดิซุ่นกว่าสี่พันปีที่แล้ว (เป็นหนึ่งในสามราชันห้าจักรพรรดิในตำนาน) เมื่อครั้งเขายังเป็นชาวบ้านธรรมดาก็ถูกพ่อ แม่เลี้ยงและน้องต่างมารดาให้ร้ายสารพัดจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่เขาไม่คิดแค้นเคืองและยังคงดูแลพวกเขาอย่างดี จนสวรรค์เห็นใจจึงบันดาลให้มีช้างมาช่วยปรับผิวดินและมีนกมาช่วยหว่านเมล็ดพืชจนทำมาหาเลี้ยงชีพได้ ต่อมาจักรพรรดิ์เหยาได้ยินกิตติศัพท์ความกตัญญูของเขาก็รับเป็นราชบุตรเขยและสุดท้ายให้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป 2. แบกข้าวให้บุพการี: กล่าวถึงจงโหยว (นามรองจื่อลู่) หนึ่งในศิษย์เอกของขงจื๊อ ขุนนางชื่อดังแห่งแคว้นเว่ยในยุคสมัยชุนชิว เขามีพื้นเพยากจน ทุกวันจะกินแต่ผักผลไม้ป่าเพื่อประหยัดเงิน แต่ยอมเดินทางไกลกว่าร้อยหลี่เพื่อไปหาซื้อข้าวแบกกลับมาให้พ่อแม่กิน ต่อมาเมื่อชีวิตความเป็นอยู่ดีมีอันจะกินก็มักจะพร่ำเสียดายที่พ่อแม่ไม่มีชีวิตอยู่ดีกินดีกับเขา 3. ฮ่องเต้ชิมยา: เป็นเรื่องราวของฮั่นเหวินตี้หลิวเหิง บุตรของป๋อไทเฮา ที่คอยดูแลป๋อไทเฮาในยามป่วยตลอดสามปีด้วยตนเองแม้จะเป็นถึงฮ่องเต้มีข้าราชบริพารมากมาย โดยจะชิมยาของแม่ก่อนป้อนให้แม่ทุกครั้งเพื่อทดสอบว่ายานั้นอุ่นกำลังดีไม่ร้อนเกินไป 4. ขายตัวฝังศพพ่อ: เป็นเรื่องราวของบุรุษนามว่าตงหย่งในสมัยฮั่นที่กำพร้าแม่แต่เด็ก ต่อมาเมื่อพ่อเสียชีวิตก็ไม่มีเงินทำศพพ่อจึงยอมขายตัวเองไปเป็นทาส วันหนึ่งพบเข้ากับสตรีกำพร้าไร้ที่ไป นางขอให้เขาช่วยแต่งงานอยู่กินกันโดยนางยินดีเข้าไปช่วยทำงานที่เรือนเศรษฐีด้วย เศรษฐีตกลงว่าเมื่อนางทอผ้าได้ครบสามร้อยพับก็จะอนุญาตให้ทั้งคู่ไถ่ตัวได้ นางใช้เวลาเพียงเดือนเดียวก็ทำสำเร็จ ต่อมานางบอกความจริงว่านางเป็นเทพธิดาและสวรรค์ซาบซึ้งกับความกตัญญูของเขาจึงมอบหมายให้มาช่วยเขา จากนั้นก็อำลาจากไป 5. สีสันบันเทิงเพื่อบุพการี: กล่าวถึงเหล่าช่ายจื่อ หนึ่งในบัณฑิตมากความรู้ที่เร้นกายอยู่ในป่าในสมัยชุนชิว เขารักพ่อแม่มากอยากให้พ่อแม่เบิกบานใจทุกวัน ถึงขนาดว่าตัวเองอยู่ในวัย 70 ปีแล้วแต่ก็ยังแต่งตัวสีสันฉูดฉาดเล่นเป็นเด็ก หกล้มลงก็แกล้งทำเป็นกลิ้งเล่นอยู่บนพื้นเพื่อให้พ่อแม่วัยเฒ่าหัวเราะแทนที่จะตกใจเสียใจ 6. นิ้วแม่เชื่อมใจลูก: เป็นเรื่องราวของเจิงจื่อ นักปรัชญาแห่งราชสำนักโจวและลูกศิษย์ของขงจื๊อ ที่วันหนึ่งออกไปเก็บฟืน แต่มีแขกมาเยือน แม่ของเขาอยู่บ้านคนเดียวก็กระวนกระวายไม่รู้ว่าจะต้อนรับขับสู้อย่างไรดี จนถึงขนาดกัดนิ้วตนเองด้วยความเครียด เจิงจื่อที่อยู่ในป่ากลับรู้สึกได้ถึงความเจ็บนั้น จึงรีบรุดกลับบ้านมาดูแม่และรับรองแขกด้วยตนเอง บ่งบอกถึงสายใยเหนียวแน่นของแม่ลูก 7. คัดผลไม้ให้แม่กิน: เป็นเรื่องราวของไช่ซุ่นในสมัยฮั่น เขาอาศัยเก็บผลหม่อนกินประทังชีวิตเพราะยากจนมากและข้าวของราคาแพงเพราะสงคราม อยู่มาวันหนึ่งมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่นำขบวนทหารผ่านมาเห็นเขาแยกผลหม่อน ถามได้ความว่าเขาแยกผลสุกสีเข้มให้แม่กิน ส่วนตัวเองกินที่สีแดงที่ยังเปรี้ยวเฝื่อน นายทหารเห็นแก่ความกตัญญูของเขาจึงแบ่งปันเสบียงทหารให้ชายหนุ่ม 8. กราบไหว้รูปสลักบุพการี: กล่าวถึงบุรุษสมัยฮั่นตะวันออกนามว่าหลันติงที่กำพร้าพ่อแม่แต่เด็ก เขาแกะสลักรูปปั้นพ่อแม่ตั้งไว้ในบ้านกราบไหว้ทุกวันเพราะละอายใจที่ไม่มีโอกาสได้ทดแทนบุญคุณ ไม่เพียงกราบไหว้สามมื้อก่อนจะกินข้าว แต่มีเรื่องอะไรก็จะไปนั่งคุยให้รูปปั้นฟัง หนักเข้าภรรยาก็รำคาญ เลยลองเอาเข็มไปจิ้มรูปปั้น เมื่อเขากลับมาบ้านพบว่ารูปปั้นน้ำตาไหล เมื่อสืบสาวราวเรื่องได้แล้วเขาก็เลิกกับภรรยา 9. น้ำนมกวางเพื่อบุพการี: กล่าวถึงถานจื่อ ประมุขแคว้นถานซึ่งเป็นแคว้นเล็กในสมัยราชวงศ์โจว ในสมัยเด็กเขายากจนและต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้วและตาไม่ดี ต้องกินนมกวางช่วยบำรุงรักษา เขามักจะใช้หนังกวางคลุมตัวแล้วย่องเข้าไปปะปนอยู่ในฝูงกวางเพื่อเอานมกวางมาให้พ่อแม่กิน มีอยู่ครั้งหนึ่งเกือบโดนนายพรานยิง แต่เมื่อนายพรานได้ยินเรื่องราวความจำเป็นของเขาก็ยกนมกวางให้และยังส่งเขากลับบ้านด้วยตนเอง 10. สวมเสื้อไส้ใยกก: เป็นเรื่องของหมินสุ่น (นามรองจื่อเชียน) หนึ่งในลูกศิษย์ของขงจื๊อ เขากำพร้าแม่ตั้งแต่เด็ก พ่อแต่งภรรยาใหม่มีลูกชายอีกสองคน เขาถูกแม่เลี้ยงกลั่นแกล้งบ่อยครั้ง ต้องสวมเสื้อใยกกในขณะที่น้องๆ ได้สวมเสื้อบุฝ้ายในยามหนาว วันหนึ่งเขาช่วยจูงรถให้พ่อแต่หนาวจนทำให้เชือกหลุดมือ พ่อบันดาลโทสะเฆี่ยนจนเสื้อขาดจึงพบว่าลูกชายคนนี้ใส่เสื้อผ้าที่ไม่ช่วยกันหนาว พ่อโกรธแม่เลี้ยงมากถึงกับเอ่ยปากบอกเลิกทันทีที่กลับถึงบ้าน แต่หมินสุ่นอ้อนวอนขออภัยแทนแม่เลี้ยง โดยให้เหตุผลว่า ตอนนี้มีลูกเพียงคนเดียวที่ลำบาก แต่ถ้าแม่เลี้ยงไม่อยู่จะมีลูกถึงสามคนที่ลำบาก สุดท้ายแม่เลี้ยงได้รับการให้อภัย นางจึงกลับตัวกลับใจดูแลหมินสุ่นอย่างดีนับแต่นั้นมา 11. ฝังลูกเพื่อแม่: กล่าวถึงบุรุษนามว่ากัวจวี้ในสมัยฮั่น เขามีฐานะยากจน เมื่อพ่อเสียก็แลแม่เป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อภรรยาคลอดบุตร เขาก็รู้สึกว่าเลี้ยงดูไม่ไหวและไม่อยากให้แม่ต้องมาอดมื้อกินมื้อไปกับเขา จึงตัดสินใจจะฝังลูกเพื่อจะได้ลดค่าใช้จ่ายโดยไม่ฟังคำทัดทานของภรรยา แต่เมื่อขุดดินลงไปกลับพบทองคำหนึ่งไห เรื่องราวจบลงด้วยดีโดยเขาไม่ต้องฆ่าลูกตัวเองและมีฐานะดีขึ้น 12. ปลากระโดดจากบ่อน้ำ: กล่าวถึงบุรุษนามว่าเจียงซือในสมัยฮั่น เขามีภรรยาแซ่ผางที่กตัญญูกับแม่สามีมาก แม่สามีชอบกินปลาก็ออกไปจับปลามาให้กิน อยู่มาวันหนึ่งอากาศไม่ดีกว่านางแซ่ผางจะกลับถึงบ้านก็ดึกจึงถูกเจียงซือไล่ออกจากบ้านเพราะเข้าใจผิดว่านางตั้งใจละเลยแม่ของเขา เมื่อแม่ของเจียงซือรู้เรื่องให้เจียงซือไปรับนางกลับมา และตั้งแต่วันที่นางกลับเข้าบ้านมาก็ปรากฏปลาหลีฮื้อสองตัวกระโดดออกมาจากบ่อน้ำกลางบ้านทุกวัน ทำให้นางไม่ต้องไปจับปลาในแม่น้ำอีกต่อไป 13. ซุกส้มให้แม่: เป็นเรื่องราวของลู่จี้ ขุนนางในสมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย กล่าวถึงเมื่อตอนเขาอายุหกขวบ ได้มีโอกาสติดตามพ่อไปพบแม่ทัพท่านหนึ่งที่จวน ครั้นพอเขาคารวะอำลากลับ ส้มสองลูกที่เขาซุกไว้อยู่ในแขนเสื้อกลิ้งหล่นออกมา สอบถามได้ใจความว่าเขาเห็นแม่ชอบกินส้มจึงตั้งใจเก็บเอาไปให้แม่กิน ทำให้แม่ทัพรู้สึกประหลาดใจและชมชอบในความกตัญญูของเด็กคนนี้ 14. ยินเสียงฟ้าร้องปลอบแม่ที่หลุมศพ: กล่าวถึงบัณฑิตหนุ่มจากแคว้นเว่ยนามว่าหวางโผว แม่ของเขาเป็นคนกลัวเสียงฟ้าร้องมาก แม้ว่าจะตายไปแล้วแต่ทุกครั้งที่ฝนตกหนักฟ้าร้อง หวางโผวจะไปกราบหลุมศพนางพร้อมกับปลอบให้นางไม่ต้องกลัว 15. กอดเสือช่วยพ่อ: กล่าวถึงสตรีนางหนึ่งในสมัยราชวงศ์จิ้นนามว่าหยางเซียง เมื่อครั้งนางมีอายุสิบสี่ปีได้ออกไปทำนากับพ่อ แต่พลันปรากฏเสือตัวหนึ่งกระโจนใส่พ่อจนล้มไป นางไม่มีอาวุธใดแต่ก็กระโดดกอดคอเสือแน่นเพื่อไม่ให้เสือกัดพ่อ สุดท้ายเสือยอมแพ้ปล่อยพ่อของนางแล้วหนีไป 16. ให้นมย่าทวด: เป็นเรื่องราวความกตัญญูของย่าของเจี๋ยตู้สื่อชุยซานหนานในสมัยถัง เล่าถึงเมื่อครั้งที่ย่าทวดของชุยซานหนานทั้งแก่ทั้งไม่สบายจนเคี้ยวอาหารหยาบไม่ได้เลย ย่าของเขาคอยดูแลโดยใช้น้ำนมของตนป้อนจนย่าทวดอิ่ม ต่อมาทั้งครอบครัวอยู่กันอย่างสงบสุขและรุ่นลูกรุ่นหลานล้วนแสดงความกตัญญูต่อย่าของเขาเช่นกัน 17. พัดหมอนอุ่นผ้าห่ม: เป็นเรื่องราวของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮั่นนามว่าหวงเซียง เขากำพร้าแม่แต่เด็กและคอยดูแลพ่อ แม้ด้วยวัยเพียงเก้าขวบก็รู้จักพัดหมอนของพ่อให้คลายร้อนในหน้าร้อนและนอนอุ่นผ้าห่มของพ่อในหน้าหนาวเพื่อว่าพ่อของเขาจะได้นอนหลับสบาย 18. ร่ำไห้จนเกิดหน่อไม้: กล่าวถึงขุนนางสมัยสามก๊กนามว่าเมิ่งจง เขากำพร้าพ่อแต่เด็ก เมื่อครั้งยังหนุ่มต้องดูแลแม่ที่ชราและป่วยหนัก หมอบอกว่าต้องให้แม่กินหน่อไม้สด แต่จนใจเป็นฤดูหนาว เขาหาจนทั่วก็ไม่มีจึงเสียใจคุกเข่าร้องไห้กลางป่า ปรากฏว่าอยู่ดีๆ พื้นดินก็แยกออกแล้วมีหน่อไม้ผุดขึ้นมาให้เขาเก็บกลับบ้านให้แม่กินจนหายป่วย 19. ล่อยุงแทนพ่อ: กล่าวถึงอู๋เหมิ่ง นักพรตในสมัยสามก๊ก ที่ในสมัยเด็กครอบครัวยากจนไม่มีแม้แต่มุ้งจะกางนอน เขามักจะถอดเสื้อนอนล่อให้ยุงมากัด เพื่อว่าพ่อแม่จะได้นอนหลับสบาย 20. ล้างกระโถนให้แม่: เป็นเรื่องราวของกวีและนักเขียนอักษรชื่อดังสมัยซ่งเหนือนามว่าหวงถิงเจียน เขาดูแลแม่อย่างเสมอต้นเสมอปลายแม้ว่าจะมีฐานะดี และจะเอากระโถนของแม่ไปเทล้างด้วยตนเองทุกวันไม่เคยขาด 21. แบกแม่หลบภัย: กล่าวถึงเจียงเก๋อ ขุนนางตงฉินชื่อดังผู้ถูกยกย่องเป็นขุนนางยอดกตัญญูในรัชสมัยของกษัตริย์อู่ตี้แห่งราชวงศ์เหลียงในยุคราชวงศ์เหนือใต้ เจียงเก๋อกำพร้าพ่อแต่เด็กและกตัญญูต่อแม่มาก ครั้งหนึ่งเคยแบกแม่เดินทางหนีสงคราม พบเข้ากับโจรภูเขา เขาอ้อนวอนว่าถ้าเขาตายไป แม่ผู้ชราก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ สุดท้ายโจรภูเขาเลยย้อมไว้ชีวิตปล่อยตัวไปทั้งเขาและแม่ 22. ขอปลาบนน้ำแข็ง: เป็นเรื่องของหวางเสียง หนึ่งในขุนนางระดับสูงของราชวงศ์จิ้นตะวันตก เขากำพร้าแม่แต่เด็ก มีแม่เลี้ยงก็ถูกแม่เลี้ยงใส่ไฟจนพ่อไม่รัก อยู่มาวันหนึ่งแม่เลี้ยงไม่สบายมากเขาก็ดูแลนางอย่างใกล้ชิด ครั้นเห็นนางอยากกินปลาจึงออกไปจับปลา แต่จนใจอากาศหนาวจัดจนผิวน้ำเป็นน้ำแข็ง ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงถอดเสื้อลงนอนทาบน้ำแข็งโดยหวังว่ามันจะทำให้น้ำแข็งละลาย แล้วปาฏิหารย์ก็เกิดขึ้น น้ำแข็งละลายจริงและมีปลาโดดออกมาให้เขาจับกลับบ้าน เมื่อแม่เลี้ยงได้กินปลาก็หายป่วย 23. ชิมอุจจาระดูอาการป่วยพ่อ: เป็นเรื่องของขุนนางสมัยฉีใต้นามว่าอวี่เฉียนโหลว อยู่มาวันหนึ่งเขารู้สึกใจคอว้าวุ่นคิดถึงพ่อที่อยู่บ้านนอก จึงตัดสินใจลาเกษียณกลับไปดูแลพ่อที่ชรามากแล้ว เมื่อถึงบ้านก็พบว่าพ่อของเขาไม่สบายมาก หมอบอกว่าอาการของพ่อเขาสาหัสมาก หากอุจจาระมีรสขมก็จะดีมีโอกาสหาย เขาจึงแอบชิมอุจจาระพ่อ พบว่ามันมีรสหวานก็ยิ่งรู้สึกไม่สบายใจ กราบไหว้ฟ้าขอให้พ่อให้และยอมแลกด้วยชีวิตตัวเองแทน แต่หลังจากนั้นไม่กี่วันพ่อของเขาก็สิ้นใจ 24. ออกจากราชการเพื่อตามหาแม่: กล่าวถึงขุนนางสมัยซ่งนามว่าจูโซ่วชาง เมื่อครั้งเขาอายุเพียงเจ็ดขวบ แม่ของเขาที่มีสถานะเป็นอนุภรรยาได้ถูกภรรยาเอกของพ่อบีบให้ต้องแต่งงานไปกับคนอื่นจนเขาต้องพลัดพรากจากแม่โดยไม่มีข่าวคราว แต่เขาไม่เคยหยุดที่จะสืบหาแม่ของเขา ต่อมาห้าสิบปีให้หลังเขาได้รับเบาะแสเกี่ยวกับแม่ จึงขอลาออกจากตำแหน่งขุนนางระดับสูงเพื่อออกตามหาแม่พร้อมประกาศกร้าวว่าถ้าไม่พบแม่จะไม่กลับเมืองหลวงอีก และเขาก็ทำสำเร็จพบแม่ที่มีอายุเจ็ดสิบกว่าปีแล้วและพานางกลับเมืองหลวงด้วยกัน อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น เรื่องราว 24 กตัญญูถูกเรียบเรียงเป็นกลอนสั้น แต่ละเรื่องยาวเพียงสี่วรรค ง่ายต่อการจดจำ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านคงรู้สึกไม่อินกับบางเรื่อง และที่ประเทศจีนเองก็มีการถกกันในวงกว้างว่า การกระทำต่างๆ ที่ถูกกล่าวถึงในเรื่องราวเหล่านี้ยังเหมาะสมต่อบริบทสังคมปัจจุบันหรือไม่ แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่าเพื่อนเพจอ่านแล้วคงพอเห็นภาพว่า เหตุใดเรื่องราวเหล่านี้จึงถูกยกเป็นตัวอย่างเพื่อสะท้อนความดีงามของความกตัญญูต่อพ่อแม่และเป็นตัวอย่างของการทำดีแล้วได้ดี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.qq.com/rain/a/20241216A05PWX00 http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.chinakongzi.org/zt/3419/tp/201705/t20170510_135104.htm http://www.chinaknowledge.de/Literature/Historiography/xiaozizhuan.html http://www.n12345.com/wenji/24xiao.html?id=1 https://www.8bei8.com/book/24xiao_1.html #จิ่วฉงจื่อ #24กตัญญู #เรื่องเล่าจีนโบราณ #สาระจีน
    NEWS.QQ.COM
    《九重紫》暴露了他好身材,长相人畜无害,却脱衣有肉穿衣显瘦_腾讯新闻
    由孟子义、李昀锐主演的电视剧《九重紫》,自开播以来,热度迅速攀升,播到15集,站内热度破了29000,有望展望30000了。 这个成绩在今年古装剧中是相当牛了,要知道,腾讯今年的古装剧热度....
    3 Comments 0 Shares 681 Views 0 Reviews
  • 'ปูชนีย์แพทย์' โพสต์กลอนให้กำลังใจแพทยสภาสู้เพื่อคุณธรรมและเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
    https://www.thai-tai.tv/news/19033/
    'ปูชนีย์แพทย์' โพสต์กลอนให้กำลังใจแพทยสภาสู้เพื่อคุณธรรมและเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ https://www.thai-tai.tv/news/19033/
    0 Comments 0 Shares 74 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

    จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง)

    ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง

    ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้

    ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์

    มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป)

    ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว

    บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี

    แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ

    หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ
    หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html
    http://www.exam58.com/gushi/4582.html
    https://www.sohu.com/a/402043209_99929216
    https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957

    #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน ความมีอยู่ว่า ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า) วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้ ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์ มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป) ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม? สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html http://www.exam58.com/gushi/4582.html https://www.sohu.com/a/402043209_99929216 https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957 #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    WWW.HK01.COM
    香港01|hk01.com 倡議型媒體
    香港01是一家互聯網企業,核心業務為倡議型媒體,主要傳播平台是手機應用程式和網站。企業研發各種互動數碼平台,開發由知識與科技帶動的多元化生活。
    1 Comments 0 Shares 756 Views 0 Reviews
  • **เพลงฉู่รอบด้าน**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย

    เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้

    ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน

    ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ?

    เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด

    ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น

    แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด

    และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง

    หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น.

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml
    https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html
    https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782
    https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064
    https://www.sohu.com/a/620378890_121448078

    #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    **เพลงฉู่รอบด้าน** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ซึ่งในช่วงต้นมีฉากที่พระนางใส่หน้ากากร่วมทายคำปริศนาในเทศกาลโคมไฟ หนึ่งในปริศนานั้นมีคำใบ้จาก ‘เพลงฉู่’ โดยในซีรีส์แปลไว้ว่า “ฟังเพลงฉู่ปวดใจหนักหนา คิดถึงบ้านแล้วน้ำตาร่วงหล่น ยุทธการที่ไกเซี่ย เพลงฉู่กังวานรอบทิศ กองทัพฉู่คะนึงหาบ้านเกิด” และนางเอกต่อคำว่า “คิดถึงบ้านเกิดย่อมต้องกลับบ้าน” ก่อนจะเฉลยคำตอบว่าคือสมุนไพรจีนตังกุย เชื่อว่าต้องมีเพื่อนเพจไม่น้อยที่งงกับคำเฉลยนี้ ที่มาของคำเฉลยนี้เป็นการเล่นคำ โดย ‘ตังกุย’ ประกอบด้วยสองอักษร ... อักษรแรก ‘ตัง’ แปลว่าแน่นอนหรือย่อมต้องทำ และอักษรที่สอง ‘กุย’ แปลว่ากลับหรือหวนคืน ซึ่งโดยปกติใช้กับการกลับบ้าน ที่มาของชื่อสมุนไพรตังกุยนี้ก็หลากหลาย แต่มันไม่ได้เกี่ยวกับเพลงฉู่แต่อย่างใด สรุปที่มาของชื่อตังกุยคือ ก) ในตำรายาโบราณบอกว่ามันช่วยทำให้เลือดไหลเวียนกลับคืนสู่จุดเดิม ข) ชาวบ้านพูดถึงกันทั่วไปว่ายานี้มีสรรพคุณบำรุงเลือดสำหรับสตรี เป็นยาสำคัญสำหรับภรรยา เปรียบได้กับสามีที่เดินทางไปไกลแล้วได้กลับมาบ้านให้ภรรยาได้ชุ่มชื่นหัวใจ โดยแนวคิดนี้ถูกสะท้อนออกมาในบทกวีสมัยถัง และ ค) มันเป็นสมุนไพรท้องถิ่นของพื้นที่ตังโจวในสมัยถัง และชื่อนี้มีมาแต่สมัยถังโดยก่อนหน้านี้มีชื่อเรียกว่า ‘ฉี’ แล้ว ‘เพลงฉู่’ ล่ะ? เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินถึง ‘เพลงฉู่’ จากสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ (四面楚歌 / ซื่อเมี่ยนฉู่เกอ แปลตรงตัวว่า เพลงฉู่สี่ด้าน) จากเหตุการณ์ตอนที่กองทัพฉู่ของเซี่ยงอวี่ถูกทหารฮั่นของหลิวปังล้อมไว้ในหุบเขาไกเซี่ย โดยฝ่ายฮั่นใช้อุบายให้ทหารฮั่นร้องเพลงฉู่ เมื่อได้ยินเพลงจากบ้านเกิดก็ทำให้ทหารฉู่เกิดความรู้สึกคิดถึงบ้านและครอบครัวที่ไม่ได้เจอหน้ากันมาเป็นเวลานาน ความฮึกเหิมถดถอย บ้างก็เข้าใจว่าฝั่งตรงข้ามมีเชลยศึกจำนวนมากจนมองไม่เห็นหนทางชนะและยอมแพ้ จนสุดท้ายเซี่ยงอวี่พาชายาและทหารที่เหลืออยู่น้อยนิดตีฝ่าวงล้อมออกไปแต่ก็ต้องจบชีวิตลงในที่สุด ฉาก ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ นี้ถูกจารึกไว้โดยนักประวัติศาสตร์สมัยฮั่นนามว่าซือหม่าเชียนในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับชีวประวัติเซี่ยงอวี่ (项羽本纪) เพียงแต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นอุบายของกุนซือท่านใดฝ่ายฮั่น แล้ว ‘เพลงฉู่’ ที่ว่านี้คือเพลงอะไร? เรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันเพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด บ้างว่าเป็นเพลงใดเพลงหนึ่ง บ้างว่ามันเป็นการเรียกรวมเพลงพื้นบ้านจากชาวฉู่ ซึ่งในสมัยนั้นเพลงพื้นบ้านเหล่านี้มีเนื้อร้องลักษณะคล้ายบทกลอนสั้นไม่กี่วรรค อาจเป็นวรรคสี่อักษรหรือเจ็ดอักษร ออกเสียงเหมือนร้องเพลง ทวนซ้ำไปมา ง่ายต่อการจำและร้องติดปาก โดยเพลงฉู่มีเอกลักษณ์คือจะใช้คำว่า ‘ซี’ (兮) เป็นคำลงท้ายก่อนเว้นวรรคหรือคำเชื่อม แต่เป็นคำที่ไม่มีความหมายเฉพาะ ก็คล้ายกับ ‘นะ’ ‘แล่ะ’ ฯลฯ ทั้งนี้ เพลงฉู่โดยตัวมันเองไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเพลงคิดถึงบ้าน เพียงแต่ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่มีกลิ่นอายของอารมณ์เศร้าและถูกนำมาให้ในเหตุการณ์วงล้อมหุบเขาไกเซี่ยข้างต้นเพื่อกระตุ้นให้ทหารคิดถึงบ้านเกิด และสุภาษิตจีน ‘เพลงฉู่รอบด้าน’ ได้กลายมาเป็นวลีที่สะท้อนว่ากำลังถูกรายล้อมด้วยศัตรูหรือปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ หมายถึงสถานการณ์อันคับขันมากจนยากจะเอาตัวรอดได้นั่นเอง หมายเหตุ มีการแก้ไขบทความเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ณ วันที่ 23/5/2025 เวลา 10.30น. (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://yayusw.com/Article.asp?id=3224 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cas.cn/kxcb/kpwz/201002/t20100209_2760500.shtml https://www.guwendianji.com/wenyanwen/17281.html https://baike.baidu.com/item/三国演义/5782 https://baike.baidu.com/item/项羽本纪 /2115064 https://www.sohu.com/a/620378890_121448078 #จิ่วฉงจื่อ #สามก๊ก #เพลงฉู่ #เซี่ยงอวี่ #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 587 Views 0 Reviews
  • ข้อมูลอันตรายของวัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122116163210647289/?
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122115608906647289/?
    ผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ในเด็ก
    https://childrenshealthdefense.org/wp-content/uploads/02-20-2020-Facts-about-HPV.pdf
    วัคซีนป้องกันไวรัส Gardasil HPV ดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มอายุที่ได้รับวัคซีน เช่นเดียวกับวัคซีน COVID ที่เพิ่มความเสี่ยงของ COVID ❗️❗️
    https://x.com/RobertKennedyJr/status/1618279143468306435?t=xz8ynSvBVa4atUraKqxh_Q&s=19
    https://t.co/WoqyxrRQya
    วัคซีนป้องกันไวรัส HPV มีอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนที่สูงที่สุด ไม่มีหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าวัคซีนป้องกันไวรัส HPV จะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก
    มีหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าวัคซีนทำให้เกิดหรือมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น ภาวะมีบุตรยาก
    https://x.com/Thaipithaksith/status/1816343960094400787?t=apFnO-o92obhiggFF7nqAw&s=19
    หากคุณกำลังคิดที่จะให้ลูกของคุณ ฉีดวัคซีน HPV (หูดหงอนไก่) คุณต้องดูวิดีโอนี้
    https://t.me/thailand_covid_vaccine_chat/77370
    คลิปการสัมภาษณ์ ดร. เชอรรี่ เทนเพนนี่ เรื่องวัคซีน HPV & วัคซีนในเด็ก
    https://fb.watch/xc2Iq0xYu4/?
    https://www.rookon.com/?p=1173
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122110664030647289/?
    คลิป 4 นาทีอธิบายเรื่องการสัมภาษณ์ในครั้งนี้
    https://vt.tiktok.com/ZSYCGuqoM/
    ข่าวเรื่องญี่ปุ่นประกาศไม่แนะนำว่าต้องฉีด HPV Vaccine หาอ่านได้ที่นี่ครับ(เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2556)
    http://sanevax.org/breaking-news-japan-and-hpv-vaccines/
    http://sanevax.org/hpv-vaccines-japan-requires-disclosure-of-side-effects/
    บทความทางวิชาการที่สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ไม่ต้องการฉีด HPV Vaccine ในสหรัฐครับ(เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2556)
    http://pediatrics.aappublications.org/content/early/2013/03/12/peds.2012-2384.abstract
    Merck ถูกฟ้องปิดบังผลข้างเคียงร้ายแรง
    https://www.facebook.com/photo.php?fbid=122200589258234582&set=a.122096260418234582&type=3
    เด็กในอินเดียถูกฉีดวัคซีน HPV 24,000 คน ตายทันที
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122110761038647289/?
    https://x.com/Thaipithaksith/status/1816343960094400787?t=apFnO-o92obhiggFF7nqAw&s=19
    ดร. พอล โธมัส เตือนว่า “จะมีผู้เสียชีวิตจากวัคซีน [HPV] มากกว่ามะเร็งปากมดลูกเสียอีก แค่ดูจำนวนงานวิจัย และจำนวนผู้เสียชีวิต ก็น่ากลัวมากแล้ว”
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122109699794647289/?
    คดีนี้เกี่ยวข้องกับการอ้างว่า Merck ให้ข้อมูลเกินจริงเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน
    https://www.facebook.com/share/p/1G2MxNMeWm/
    มาดูคำตอบเมื่ออาจารย์หมออรรถพลถาม AI
    https://www.facebook.com/share/p/1AVyV3JELE/
    คดีนี้เกี่ยวข้องกับการอ้างว่า Merck ให้ข้อมูลเกินจริงเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน
    https://www.facebook.com/share/p/1G2MxNMeWm/
    คุณรับได้ไหมกับผลลัพธ์หลังจากพาลูกไปรับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV
    ลูกสาว11ปีเสียชีวิตหลังฉีด
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122108855318647289/?
    https://www.thairath.co.th/news/local/central/1921241
    ปวดหัวเป็นสัปดาห์หลังฉีดสุดท้ายเสียชีวิต พ่อแต่งกลอนอาลัยลูกสาว
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122107354964647289/?
    ลูกสาวเสียชีวิตทันทีหลังโรงเรียนพาหมอมาฉีด
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122108861930647289/?
    นักเรียนไทย 11 ราย ได้รับผลกระทบทันที
    https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122108858174647289/?
    เคสต่างประเทศ ลูกสาวเสียชีวิต
    https://www.facebook.com/332186880241439/photos/a.332188263574634/554864934640298/?type=3
    เคสต่างประเทศ โคม่า
    https://www.facebook.com/652558728/posts/10156341599408729/?
    เคสต่างประเทศ ชักกระตุกรุนแรง
    https://www.facebook.com/share/v/1AB8rFrmXA/
    เคสต่างประเทศ หลังฉีดทำให้ลูกชายพิการต่อมาฆ่าตัวตาย
    https://www.facebook.com/share/p/1CH5aU5TvM/

    ศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนการตัดสินใจ
    แพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    ✅ข้อมูลอันตรายของวัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122116163210647289/? https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122115608906647289/? ✍️ผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ในเด็ก https://childrenshealthdefense.org/wp-content/uploads/02-20-2020-Facts-about-HPV.pdf ✍️ วัคซีนป้องกันไวรัส Gardasil HPV ดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มอายุที่ได้รับวัคซีน เช่นเดียวกับวัคซีน COVID ที่เพิ่มความเสี่ยงของ COVID ❗️❗️ https://x.com/RobertKennedyJr/status/1618279143468306435?t=xz8ynSvBVa4atUraKqxh_Q&s=19 https://t.co/WoqyxrRQya ✍️ วัคซีนป้องกันไวรัส HPV มีอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังการฉีดวัคซีนที่สูงที่สุด ไม่มีหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าวัคซีนป้องกันไวรัส HPV จะช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก ✍️มีหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าวัคซีนทำให้เกิดหรือมีส่วนทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น ภาวะมีบุตรยาก https://x.com/Thaipithaksith/status/1816343960094400787?t=apFnO-o92obhiggFF7nqAw&s=19 ✍️หากคุณกำลังคิดที่จะให้ลูกของคุณ ฉีดวัคซีน HPV (หูดหงอนไก่) คุณต้องดูวิดีโอนี้ https://t.me/thailand_covid_vaccine_chat/77370 ✍️คลิปการสัมภาษณ์ ดร. เชอรรี่ เทนเพนนี่ เรื่องวัคซีน HPV & วัคซีนในเด็ก https://fb.watch/xc2Iq0xYu4/? https://www.rookon.com/?p=1173 https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122110664030647289/? คลิป 4 นาทีอธิบายเรื่องการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ https://vt.tiktok.com/ZSYCGuqoM/ ✍️ข่าวเรื่องญี่ปุ่นประกาศไม่แนะนำว่าต้องฉีด HPV Vaccine หาอ่านได้ที่นี่ครับ(เข้าถึงเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2556) http://sanevax.org/breaking-news-japan-and-hpv-vaccines/ http://sanevax.org/hpv-vaccines-japan-requires-disclosure-of-side-effects/ ✍️บทความทางวิชาการที่สำรวจความคิดเห็นของผู้ที่ไม่ต้องการฉีด HPV Vaccine ในสหรัฐครับ(เข้าถึงเมื่อ 11 กันยายน 2556) http://pediatrics.aappublications.org/content/early/2013/03/12/peds.2012-2384.abstract ✍️Merck ถูกฟ้องปิดบังผลข้างเคียงร้ายแรง https://www.facebook.com/photo.php?fbid=122200589258234582&set=a.122096260418234582&type=3 ✍️เด็กในอินเดียถูกฉีดวัคซีน HPV 24,000 คน ตายทันที https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122110761038647289/? https://x.com/Thaipithaksith/status/1816343960094400787?t=apFnO-o92obhiggFF7nqAw&s=19 ✍️ดร. พอล โธมัส เตือนว่า “จะมีผู้เสียชีวิตจากวัคซีน [HPV] มากกว่ามะเร็งปากมดลูกเสียอีก แค่ดูจำนวนงานวิจัย และจำนวนผู้เสียชีวิต ก็น่ากลัวมากแล้ว” https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122109699794647289/? ✍️คดีนี้เกี่ยวข้องกับการอ้างว่า Merck ให้ข้อมูลเกินจริงเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน https://www.facebook.com/share/p/1G2MxNMeWm/ ✍️มาดูคำตอบเมื่ออาจารย์หมออรรถพลถาม AI https://www.facebook.com/share/p/1AVyV3JELE/ ✍️คดีนี้เกี่ยวข้องกับการอ้างว่า Merck ให้ข้อมูลเกินจริงเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน https://www.facebook.com/share/p/1G2MxNMeWm/ ✍️คุณรับได้ไหมกับผลลัพธ์หลังจากพาลูกไปรับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV 🍎ลูกสาว11ปีเสียชีวิตหลังฉีด https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122108855318647289/? https://www.thairath.co.th/news/local/central/1921241 🍎ปวดหัวเป็นสัปดาห์หลังฉีดสุดท้ายเสียชีวิต พ่อแต่งกลอนอาลัยลูกสาว https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122107354964647289/? 🍎ลูกสาวเสียชีวิตทันทีหลังโรงเรียนพาหมอมาฉีด https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122108861930647289/? 🍎นักเรียนไทย 11 ราย ได้รับผลกระทบทันที https://www.facebook.com/61569418676886/posts/122108858174647289/? 🍎เคสต่างประเทศ ลูกสาวเสียชีวิต https://www.facebook.com/332186880241439/photos/a.332188263574634/554864934640298/?type=3 🍎เคสต่างประเทศ โคม่า https://www.facebook.com/652558728/posts/10156341599408729/? 🍎เคสต่างประเทศ ชักกระตุกรุนแรง https://www.facebook.com/share/v/1AB8rFrmXA/ 🍎เคสต่างประเทศ หลังฉีดทำให้ลูกชายพิการต่อมาฆ่าตัวตาย https://www.facebook.com/share/p/1CH5aU5TvM/ ศึกษาข้อมูลให้รอบด้านก่อนการตัดสินใจ แพทย์และจิตอาสาคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    0 Comments 0 Shares 683 Views 0 Reviews
  • วันนี้นั่งฟังเพลงนางไม้อยู่
    แล้วมีความรำลึกถึงอย่างแรงกล้าต่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เมื่อครั้งอดีต.
    .
    ผมเคยเล่าให้หลายคนฟังเกี่ยวกับปูมหลังของผมว่า การเขียนเพลงของผมมีรากฐานยาวไกลมาจากครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่งชื่อครูจันทร์เพ็ญ สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน นครปฐม... และยังเล่าอีกว่ามีกวีเอกรัตนโกสินทร์ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจด้วย นั่นคือ "ท่านจันทร์" หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ภายหลังตัดคำ วัฒน์ ออก เหลือ จันทร์จิรายุ). แต่คนส่วนใหญ่ที่มาสัมภาษก็ได้แต่รับฟังและไม่ได้สนใจจะถามไถ่ว่าปูมหลังเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไร อย่าว่าแต่ครูจันทร์เพ็ญผู้ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่ "ท่านจันทร์" เองก็ไม่ได้เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังจะรู้จักและใส่ใจ ทั้งที่ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานเจิดจ้าอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ท่านเป็นเจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นพระโอรสในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กวีเอกอีกท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า น.ม.ส.
    .
    ตอนที่เรียนอยู่ ภปร. ผมอยู่บ้านสาม ตอนเข้าไปใหม่ๆ ครูประจำบ้านชื่อครูสมยศ บ้านพักของท่านอยู่ข้างๆ หอนอนบ้านสาม ครูจันทร์เพ็ญที่สอนภาษาไทยเป็นภรรยาของท่าน และเคยเป็นครูประจำชั้นของผมอยู่ปีหนึ่งในช่วงเรียนชั้นประถม ครูจันทร์เพ็ญสังเกตุเห็นความสนใจในการเขียนโคลงกลอนของผมและมักชวนคุย เป็นเหตุให้ผมเวียนไปคุยที่บ้านพักของท่านเมื่อมีโอกาสว่างจากกิจวัตร ท่านให้กำลังใจผมว่าผมมีโอกาสที่จะเจริญทางการเขียนได้ ท่านให้คำแนะนำอย่างไม่เบื่อหน่ายในเรื่องรูปแบบการเขียนของฉันทลักษณ์ต่างๆ และแนะนำงานหลายชิ้นให้อ่าน เช่นพวกงานเขียนคลาสสิคอย่างนิราศนั่นนี่ของสุนทรภู่เป็นต้น
    .
    ผมสิงสู่ดุจผีร้ายที่ห้องสมุดของโรงเรียนนับแต่นั้น ซ่อนงานที่ชอบไว้อ่านเองเพราะกลัวคนมาตัดหน้ายืมไป (เป็นความประพฤติที่แย่มากและไม่จำเป็นเลย เพื่อนนักเรียนในยุคผมแทบหาคนเป็นนักอ่านไม่ได้) ในจำนวนนั้นมีงานของกวีท่านหนึ่ง ครูบอกว่าครูชอบที่สุด ก็คืองานของท่านจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นร้อยกรองที่มีแรงดึงดูดใจผมอย่างอธิบายไม่ถูก มีหนังสือเก่าๆ เล่มบางๆ บางเล่มที่เคยอ่านในตอนนั้น แต่ความทรงจำของผมไม่ปะติดปะต่อนักในภายหลังเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วและพยายามจะหาหนังสือเหล่านั้นมาเก็บเป็นของตัวเอง. หนังสือที่อยากได้มากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Facets of Thai Poetry (2525) เพราะเป็นงานโคลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่เคยหามาครอบครองได้สำเร็จ ยังมีหนังสือเก่าอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามหาอยู่ อย่างเช่น โคลงตำรับประมวญมารค (2510), นิราศนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง (2511 - นายโต๊ะ เป็นอีกนามปากกาของท่าน), รวมทั้งหนังสือในช่วงหลังเช่น นักกลอนบ่อนเข้าแช่ (2520)... (โดยเฉพาะบทกวีของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งกระจัดกระจายตีพิมพ์ในนิตยสารสมัยก่อน ยิ่งรวบรวมแสนยาก จริงๆ แล้วอยากได้ฉบับจริงมาเก็บไว้ แต่หากใครมีและเมตตาทำสำเนาให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
    .
    สิ่งที่โดดเด่นและสร้างความหลงไหลให้แก่ผมก็คือท่านจันทร์เป็นกวีสองภาษา รสชาติทางเสียงและอักษรในบทกวีของท่านเป็นสิ่งที่น่าประทับใจเหลือล้ำสำหรับผม ถ้าคุณเป็นคนรักในโคลงกลอนเชื่อว่าคุณจะรู้สึกเหมือนผมเมื่อได้อ่าน และแม้เมื่อผมอายุมากขึ้นมาจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้ยินบทกวีที่กระทบโสตประสาทแล้วมีรสชาติเทียบได้เช่นนั้น ถ้าคุณเคยอ่านกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษคุณจะคุ้นเคยกับรสชาติของมันแบบหนึ่ง และขณะที่คุณอ่านกวีนิพนธ์ไทยในภาษาไทยคุณก็จะคุ้นเคยกับรสชาติคุ้นชินนั้นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณได้อ่านบทกวีภาษาอังกฤษที่วางอยู่บนฉันทลักษณ์ที่สวยงามแบบไทย โดยเฉพาะเมื่อมันโลดแล่นสลับไปมาระหว่างสองภาษา คุณจะรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งกว่าความรู้สึกสองแบบที่กล่าวไปหลายเท่า และตลอดชีวิตผมไม่เคยเห็นงานเขียนแบบนี้จากคนอื่น.. ตัวอย่างเช่น ท่านเขียนประวัติท่านบนโคลงสี่ว่า...
    ================================================
    .
    พฤหัสขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด
    จันทร์กระโดดกระเด็นแดด เที่ยงเปรี้ยง
    จอแปดจะแปดแฝด แปดเดี่ยว ก็ดี
    เข้าวษาเสียงเพี้ยง สวดพร้อง คล้องหอน ฯ
    .
    Born : nineteen hundred and ten*
    That was the year when Kings died**
    The stars in heaven did laugh
    On earth people cried when I was born
    .
    [* ค.ศ.1910 / ** พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าและกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดสวรรคตในปีนั้น]
    =================================================
    .
    พี่เนาว์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์อีกท่าน กล่าวไว้ไม่ผิด...
    "ท่านจันทร์ เป็นกวีของกวี"
    แม้วันนี้ความรู้สึกอย่างนี้ของผมก็ยังไม่เปลี่ยน
    แรงบันดาลใจนี้ส่งผลให้ผมตะเกียกตะกายอย่างยิ่งเสมอมาที่จะเขียนเพลงให้ภาษาสวยงามสักเสี้ยวธุลีนึงของท่าน
    .
    =================================================
    อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ปฏิมากรเอกของไทยเคยปั้นรูปเหมือนศีรษะของท่านจันทร์
    ท่านเขียนกวีว่า....
    .
    ช่างปั้นเขาช่างปั้น รูปเหมือน หัวเฮย
    ยังมิทันจะเลือน หนุ่มฟ้อ
    เดือนปีสักกี่เดือน หาจด จำแฮ
    ดูประดุจรูปล้อ ธาตุน้ำลมไฟ ฯ
    .
    วันหนึ่งกายหยาบนี้ จักสลาย
    เหลือแต่หัวตัวหาย ตกฟ้า
    อักษรจะนอนหงาย ปกเปิด
    หรือว่าคว่ำดำหล้า ธาตุสิ้นดินสูญ ฯ
    .
    - พ ณ.ประมวญมารค (2531) ==============================================
    ท่านสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2534
    แต่อักษรของท่านไม่คว่ำและมีน้ำหนักมั่นคงจารึกลงในแผ่นดินไม่มีวันสิ้นสูญ.
    .
    ด้วยจิตคารวะ
    พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    2566
    วันนี้นั่งฟังเพลงนางไม้อยู่ แล้วมีความรำลึกถึงอย่างแรงกล้าต่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เมื่อครั้งอดีต. . ผมเคยเล่าให้หลายคนฟังเกี่ยวกับปูมหลังของผมว่า การเขียนเพลงของผมมีรากฐานยาวไกลมาจากครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่งชื่อครูจันทร์เพ็ญ สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน นครปฐม... และยังเล่าอีกว่ามีกวีเอกรัตนโกสินทร์ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจด้วย นั่นคือ "ท่านจันทร์" หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ภายหลังตัดคำ วัฒน์ ออก เหลือ จันทร์จิรายุ). แต่คนส่วนใหญ่ที่มาสัมภาษก็ได้แต่รับฟังและไม่ได้สนใจจะถามไถ่ว่าปูมหลังเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไร อย่าว่าแต่ครูจันทร์เพ็ญผู้ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่ "ท่านจันทร์" เองก็ไม่ได้เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังจะรู้จักและใส่ใจ ทั้งที่ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานเจิดจ้าอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ท่านเป็นเจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นพระโอรสในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กวีเอกอีกท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า น.ม.ส. . ตอนที่เรียนอยู่ ภปร. ผมอยู่บ้านสาม ตอนเข้าไปใหม่ๆ ครูประจำบ้านชื่อครูสมยศ บ้านพักของท่านอยู่ข้างๆ หอนอนบ้านสาม ครูจันทร์เพ็ญที่สอนภาษาไทยเป็นภรรยาของท่าน และเคยเป็นครูประจำชั้นของผมอยู่ปีหนึ่งในช่วงเรียนชั้นประถม ครูจันทร์เพ็ญสังเกตุเห็นความสนใจในการเขียนโคลงกลอนของผมและมักชวนคุย เป็นเหตุให้ผมเวียนไปคุยที่บ้านพักของท่านเมื่อมีโอกาสว่างจากกิจวัตร ท่านให้กำลังใจผมว่าผมมีโอกาสที่จะเจริญทางการเขียนได้ ท่านให้คำแนะนำอย่างไม่เบื่อหน่ายในเรื่องรูปแบบการเขียนของฉันทลักษณ์ต่างๆ และแนะนำงานหลายชิ้นให้อ่าน เช่นพวกงานเขียนคลาสสิคอย่างนิราศนั่นนี่ของสุนทรภู่เป็นต้น . ผมสิงสู่ดุจผีร้ายที่ห้องสมุดของโรงเรียนนับแต่นั้น ซ่อนงานที่ชอบไว้อ่านเองเพราะกลัวคนมาตัดหน้ายืมไป (เป็นความประพฤติที่แย่มากและไม่จำเป็นเลย เพื่อนนักเรียนในยุคผมแทบหาคนเป็นนักอ่านไม่ได้) ในจำนวนนั้นมีงานของกวีท่านหนึ่ง ครูบอกว่าครูชอบที่สุด ก็คืองานของท่านจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นร้อยกรองที่มีแรงดึงดูดใจผมอย่างอธิบายไม่ถูก มีหนังสือเก่าๆ เล่มบางๆ บางเล่มที่เคยอ่านในตอนนั้น แต่ความทรงจำของผมไม่ปะติดปะต่อนักในภายหลังเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วและพยายามจะหาหนังสือเหล่านั้นมาเก็บเป็นของตัวเอง. หนังสือที่อยากได้มากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Facets of Thai Poetry (2525) เพราะเป็นงานโคลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่เคยหามาครอบครองได้สำเร็จ ยังมีหนังสือเก่าอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามหาอยู่ อย่างเช่น โคลงตำรับประมวญมารค (2510), นิราศนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง (2511 - นายโต๊ะ เป็นอีกนามปากกาของท่าน), รวมทั้งหนังสือในช่วงหลังเช่น นักกลอนบ่อนเข้าแช่ (2520)... (โดยเฉพาะบทกวีของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งกระจัดกระจายตีพิมพ์ในนิตยสารสมัยก่อน ยิ่งรวบรวมแสนยาก จริงๆ แล้วอยากได้ฉบับจริงมาเก็บไว้ แต่หากใครมีและเมตตาทำสำเนาให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง) . สิ่งที่โดดเด่นและสร้างความหลงไหลให้แก่ผมก็คือท่านจันทร์เป็นกวีสองภาษา รสชาติทางเสียงและอักษรในบทกวีของท่านเป็นสิ่งที่น่าประทับใจเหลือล้ำสำหรับผม ถ้าคุณเป็นคนรักในโคลงกลอนเชื่อว่าคุณจะรู้สึกเหมือนผมเมื่อได้อ่าน และแม้เมื่อผมอายุมากขึ้นมาจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้ยินบทกวีที่กระทบโสตประสาทแล้วมีรสชาติเทียบได้เช่นนั้น ถ้าคุณเคยอ่านกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษคุณจะคุ้นเคยกับรสชาติของมันแบบหนึ่ง และขณะที่คุณอ่านกวีนิพนธ์ไทยในภาษาไทยคุณก็จะคุ้นเคยกับรสชาติคุ้นชินนั้นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณได้อ่านบทกวีภาษาอังกฤษที่วางอยู่บนฉันทลักษณ์ที่สวยงามแบบไทย โดยเฉพาะเมื่อมันโลดแล่นสลับไปมาระหว่างสองภาษา คุณจะรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งกว่าความรู้สึกสองแบบที่กล่าวไปหลายเท่า และตลอดชีวิตผมไม่เคยเห็นงานเขียนแบบนี้จากคนอื่น.. ตัวอย่างเช่น ท่านเขียนประวัติท่านบนโคลงสี่ว่า... ================================================ . พฤหัสขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด จันทร์กระโดดกระเด็นแดด เที่ยงเปรี้ยง จอแปดจะแปดแฝด แปดเดี่ยว ก็ดี เข้าวษาเสียงเพี้ยง สวดพร้อง คล้องหอน ฯ . Born : nineteen hundred and ten* That was the year when Kings died** The stars in heaven did laugh On earth people cried when I was born . [* ค.ศ.1910 / ** พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าและกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดสวรรคตในปีนั้น] ================================================= . พี่เนาว์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์อีกท่าน กล่าวไว้ไม่ผิด... "ท่านจันทร์ เป็นกวีของกวี" แม้วันนี้ความรู้สึกอย่างนี้ของผมก็ยังไม่เปลี่ยน แรงบันดาลใจนี้ส่งผลให้ผมตะเกียกตะกายอย่างยิ่งเสมอมาที่จะเขียนเพลงให้ภาษาสวยงามสักเสี้ยวธุลีนึงของท่าน . ================================================= อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ปฏิมากรเอกของไทยเคยปั้นรูปเหมือนศีรษะของท่านจันทร์ ท่านเขียนกวีว่า.... . ช่างปั้นเขาช่างปั้น รูปเหมือน หัวเฮย ยังมิทันจะเลือน หนุ่มฟ้อ เดือนปีสักกี่เดือน หาจด จำแฮ ดูประดุจรูปล้อ ธาตุน้ำลมไฟ ฯ . วันหนึ่งกายหยาบนี้ จักสลาย เหลือแต่หัวตัวหาย ตกฟ้า อักษรจะนอนหงาย ปกเปิด หรือว่าคว่ำดำหล้า ธาตุสิ้นดินสูญ ฯ . - พ ณ.ประมวญมารค (2531) ============================================== ท่านสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2534 แต่อักษรของท่านไม่คว่ำและมีน้ำหนักมั่นคงจารึกลงในแผ่นดินไม่มีวันสิ้นสูญ. . ด้วยจิตคารวะ พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 2566
    0 Comments 0 Shares 631 Views 0 Reviews
  • ไหนๆ คราวที่แล้วคุยกันเรื่องบทกวีแล้ว วันนี้ต่ออีกสักเรื่อง สืบเนื่องจาก Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ เกี่ยวกับชื่อภาษาจีนของละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ซึ่งชื่อจีนนั้นยาวมาก อ่านว่า ‘จือโฝ่ว จือโฝ่ว อิ้งซื่อลวี่เฝยหงโซ่ว’ (知否 知否 应是绿肥红瘦) แปลได้ตรงตัวว่า ‘รู้หรือไม่ รู้หรือไม่ ควรเป็นสีเขียวอ้วนหนาสีแดงผอมบาง’

    เป็นชื่อเรื่องที่แปลกประหลาดใช่ไหม?

    Storyฯ ไปทำการบ้านมา พบว่าประโยค ‘จือโฝ่วฯ’ นี้เป็นวรรคสุดท้ายของบทกวีในสมัยซ่งเหนือที่มีชื่อว่า ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ (如梦令·昨夜雨疏风骤) มีทั้งหมด 33 อักษร ประพันธ์โดยนักกวีหญิงซึ่งเป็นหนึ่งในกวีเอกของจีนโบราณ เธอคือหลี่ชิงเจ้า (ค.ศ. 1084-1155)

    บทกวีนี้เป็นผลงานยุคแรกๆ ของเธอ เป็นกลอนสั้นในรูปแบบที่เรียกว่า ‘ซ่งฉือ’ (宋词) ซึ่งจริงๆ แล้วสไตล์นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่มานิยมอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ซ่ง เรียกได้ว่า บทกวีในสมัยถังส่วนใหญ่คือ ‘ซือ’ (诗) และของสมัยซ่งส่วนใหญ่คือ ‘ฉือ’ (词)

    ‘ซือ’ (诗) แตกต่างจาก ‘ฉือ’ (词) อย่างไร?

    ‘ซือ’ (诗) ซึ่งนิยมในสมัยถังหรือที่เรียกกันว่า ‘ถังซือ’ เป็นสไตล์ที่โดยปกติมีความยาวจำนวนอักษรเท่ากันทุกวรรค มีความคล้องจองแบบโคลงกลอนที่เราคุ้นเคย (เช่นโคลงห้าที่ Storyฯ เคยเขียนถึงไปแล้วในเรื่องที่เกี่ยวกับละคร <ทุกชาติภพฯ>) แต่ ‘ฉือ’เป็นบทกวีที่มีความยาวสั้นไม่เท่ากันทุกวรรค แม้ว่าจะมีการกำหนดรูปแบบจำนวนอักษรและจุดที่คล้องจอง เดิมประพันธ์ขึ้นเพื่ออ่านเล่นยามบรรเลงดนตรี ความคล้องจองของวลีและความยาวสั้นจึงเน้นให้เข้ากับท่วงทำนองดนตรีเป็นหลัก ดังนั้น แรกเริ่มเลย ‘ฉือ’ จึงถูกมองว่าฉาบฉวยกว่า ในขณะที่ ‘ซือ’ ถูกมองว่าเป็นศิลปะอักษรขั้นสูงของผู้ที่มีการศึกษาซึ่งเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา แต่ ‘ฉือ’ เน้นบรรยายอารมณ์

    ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ โดยสรุปเป็นการบรรยายโดยกวีหญิงของเราว่า เมื่อคืนที่ฝนพรำแต่ลมแรงผ่านพ้นไป นางตื่นขึ้นมาแต่ยังรู้สึกไม่สร่างเมานัก ลองถามสาวใช้ว่านอกห้องเป็นอย่างไรบ้าง สาวใช้บอกว่าดอกไห่ถัง (ดอกแอปเปิ้ลชนิดหนึ่ง) ยังคงเดิม แต่นางไม่เชื่อ กลับพึมพำกึ่งบ่นด้วยอารมณ์เสียดายว่า จริงแล้วคงจะเป็นภาพของดอกไม้ที่ร่วงเกือบหมด (คือ ‘สีแดงผอมบาง’ ในบทกวี) เหลือแต่ใบสีเขียว (คือ ‘สีเขียวอ้วนหนา’ ในบทกวี)

    บทกวีนี้โด่งดังมาก เพราะเลือกใช้คำที่สะท้อนความรู้สึกได้ดี มีการใช้คำที่แปลก (เช่น ใช้คำว่า ‘อ้วนหนา’ และ ‘ผอมบาง’ ที่ปกติใช้บรรยายรูปร่างของคนมาบรรยายต้นไม้ดอกไม้) และสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกเสียดายบุปผา (ซึ่งอาจหมายถึงช่วงเวลาที่เบ่งบานของสตรี) ที่ถูกซัดร่วงด้วยลมแรง

    เมื่อถูกนำมาใช้เป็นชื่อนิยายเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ เราจะรู้สึกได้ทันทีว่านี่เป็นเรื่องราวของบุปผาที่ต้องเผชิญกับลมแรง เป็นการสะท้อนถึงเรื่องราวของหมิงหลันและพี่สาวตระกูลเสิ้งที่ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิต เฉกเช่นดอกไห่ถังที่บ้างก็ร่วงโรย บ้างก็คงอยู่ได้ภายหลังมรสุมผ่านพ้นไป

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://k.sina.cn/article_5039775130_p12c64dd9a02700mi8d.html
    https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.yiyiwenku.com/p/25984.html
    http://www.360doc.com/content/16/0329/06/6956316_546147932.shtml
    http://www.guoxuemeng.com/mingju/440922.html
    https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html
    https://k.sina.cn/article_6401504340_17d8f345400100fpi0.html

    #หมิงหลัน #จือโฝ่ว #ซ่งฉือ #กวีซ่ง #หลี่ชิงเจ้า #ถังซือ #กวีถัง
    ไหนๆ คราวที่แล้วคุยกันเรื่องบทกวีแล้ว วันนี้ต่ออีกสักเรื่อง สืบเนื่องจาก Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ เกี่ยวกับชื่อภาษาจีนของละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ซึ่งชื่อจีนนั้นยาวมาก อ่านว่า ‘จือโฝ่ว จือโฝ่ว อิ้งซื่อลวี่เฝยหงโซ่ว’ (知否 知否 应是绿肥红瘦) แปลได้ตรงตัวว่า ‘รู้หรือไม่ รู้หรือไม่ ควรเป็นสีเขียวอ้วนหนาสีแดงผอมบาง’ เป็นชื่อเรื่องที่แปลกประหลาดใช่ไหม? Storyฯ ไปทำการบ้านมา พบว่าประโยค ‘จือโฝ่วฯ’ นี้เป็นวรรคสุดท้ายของบทกวีในสมัยซ่งเหนือที่มีชื่อว่า ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ (如梦令·昨夜雨疏风骤) มีทั้งหมด 33 อักษร ประพันธ์โดยนักกวีหญิงซึ่งเป็นหนึ่งในกวีเอกของจีนโบราณ เธอคือหลี่ชิงเจ้า (ค.ศ. 1084-1155) บทกวีนี้เป็นผลงานยุคแรกๆ ของเธอ เป็นกลอนสั้นในรูปแบบที่เรียกว่า ‘ซ่งฉือ’ (宋词) ซึ่งจริงๆ แล้วสไตล์นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฉิน แต่มานิยมอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ซ่ง เรียกได้ว่า บทกวีในสมัยถังส่วนใหญ่คือ ‘ซือ’ (诗) และของสมัยซ่งส่วนใหญ่คือ ‘ฉือ’ (词) ‘ซือ’ (诗) แตกต่างจาก ‘ฉือ’ (词) อย่างไร? ‘ซือ’ (诗) ซึ่งนิยมในสมัยถังหรือที่เรียกกันว่า ‘ถังซือ’ เป็นสไตล์ที่โดยปกติมีความยาวจำนวนอักษรเท่ากันทุกวรรค มีความคล้องจองแบบโคลงกลอนที่เราคุ้นเคย (เช่นโคลงห้าที่ Storyฯ เคยเขียนถึงไปแล้วในเรื่องที่เกี่ยวกับละคร <ทุกชาติภพฯ>) แต่ ‘ฉือ’เป็นบทกวีที่มีความยาวสั้นไม่เท่ากันทุกวรรค แม้ว่าจะมีการกำหนดรูปแบบจำนวนอักษรและจุดที่คล้องจอง เดิมประพันธ์ขึ้นเพื่ออ่านเล่นยามบรรเลงดนตรี ความคล้องจองของวลีและความยาวสั้นจึงเน้นให้เข้ากับท่วงทำนองดนตรีเป็นหลัก ดังนั้น แรกเริ่มเลย ‘ฉือ’ จึงถูกมองว่าฉาบฉวยกว่า ในขณะที่ ‘ซือ’ ถูกมองว่าเป็นศิลปะอักษรขั้นสูงของผู้ที่มีการศึกษาซึ่งเน้นเนื้อหาเชิงปรัชญา แต่ ‘ฉือ’ เน้นบรรยายอารมณ์ ‘หรูเมิ่งลิ่ง:จั่วเยี่ยอวี่ซูเฟิงโจ้ว’ โดยสรุปเป็นการบรรยายโดยกวีหญิงของเราว่า เมื่อคืนที่ฝนพรำแต่ลมแรงผ่านพ้นไป นางตื่นขึ้นมาแต่ยังรู้สึกไม่สร่างเมานัก ลองถามสาวใช้ว่านอกห้องเป็นอย่างไรบ้าง สาวใช้บอกว่าดอกไห่ถัง (ดอกแอปเปิ้ลชนิดหนึ่ง) ยังคงเดิม แต่นางไม่เชื่อ กลับพึมพำกึ่งบ่นด้วยอารมณ์เสียดายว่า จริงแล้วคงจะเป็นภาพของดอกไม้ที่ร่วงเกือบหมด (คือ ‘สีแดงผอมบาง’ ในบทกวี) เหลือแต่ใบสีเขียว (คือ ‘สีเขียวอ้วนหนา’ ในบทกวี) บทกวีนี้โด่งดังมาก เพราะเลือกใช้คำที่สะท้อนความรู้สึกได้ดี มีการใช้คำที่แปลก (เช่น ใช้คำว่า ‘อ้วนหนา’ และ ‘ผอมบาง’ ที่ปกติใช้บรรยายรูปร่างของคนมาบรรยายต้นไม้ดอกไม้) และสามารถสะท้อนถึงความรู้สึกเสียดายบุปผา (ซึ่งอาจหมายถึงช่วงเวลาที่เบ่งบานของสตรี) ที่ถูกซัดร่วงด้วยลมแรง เมื่อถูกนำมาใช้เป็นชื่อนิยายเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ เราจะรู้สึกได้ทันทีว่านี่เป็นเรื่องราวของบุปผาที่ต้องเผชิญกับลมแรง เป็นการสะท้อนถึงเรื่องราวของหมิงหลันและพี่สาวตระกูลเสิ้งที่ต้องเผชิญกับมรสุมชีวิต เฉกเช่นดอกไห่ถังที่บ้างก็ร่วงโรย บ้างก็คงอยู่ได้ภายหลังมรสุมผ่านพ้นไป (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://k.sina.cn/article_5039775130_p12c64dd9a02700mi8d.html https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.yiyiwenku.com/p/25984.html http://www.360doc.com/content/16/0329/06/6956316_546147932.shtml http://www.guoxuemeng.com/mingju/440922.html https://m.baobeibaobei.com/zaojiao/13829.html https://k.sina.cn/article_6401504340_17d8f345400100fpi0.html #หมิงหลัน #จือโฝ่ว #ซ่งฉือ #กวีซ่ง #หลี่ชิงเจ้า #ถังซือ #กวีถัง
    赵丽颖主演的《知否知否应是绿肥红瘦》竟然已经重播39次了
    赵丽颖主演的《知否知否应是绿肥红瘦》竟然已经重播39次了,小赵也太能打了吧!这个成绩是真的亮眼 ​
    1 Comments 0 Shares 610 Views 0 Reviews
  • กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School)

    เจียสูคืออะไร?

    เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้

    ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ

    แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล?

    ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง

    เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง
    - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง)
    - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์)
    - อี้จิง (โหราศาสตร์)
    - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร)
    - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี)

    เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน

    สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438
    https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312
    https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1
    http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf
    #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School) เจียสูคืออะไร? เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้ ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล? ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง) - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์) - อี้จิง (โหราศาสตร์) - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร) - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี) เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438 https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312 https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1 http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    1 Comments 0 Shares 719 Views 0 Reviews
  • อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง

    ความมีอยู่ว่า
    “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า)

    เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา

    ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง)

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา

    กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน

    และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’

    เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://rijifang.com/index.php/post/9230.html
    https://www.52lishi.com/article/65423.html
    https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245
    http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html

    #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง ความมีอยู่ว่า “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า) เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง) ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’ เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://rijifang.com/index.php/post/9230.html https://www.52lishi.com/article/65423.html https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245 http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    WWW.SOHU.COM
    《知否?知否?应是绿肥红瘦》过百亿的播放量能说明什么?_顾廷烨
    作为近150万字的长篇小说,实在是有些长,我并没有看完,也理解作者的不易,本身作为兼职作者,平时工作也比较繁忙,可能只有夜晚的四五个小时可以利用,也会有家里的各种繁杂琐事时不时骚扰,从写法来看,看得出…
    1 Comments 0 Shares 718 Views 0 Reviews
  • Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    2 Comments 0 Shares 653 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องชีวประวัติ วันนี้เลยมาคุยให้ฟังถึงเรื่องราวของคนในตำนานอีกคู่หนึ่ง

    เพื่อนเพจที่ได้ติดตามละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> คงจำได้ถึงหนึ่งในตัวละครที่มีบทบาทเด่นคือเฟิ่งชีอู๋ ประมุขตระกูลเฟิ่งแห่งยงโจวผู้ดำรงตำแหน่ง ‘ซ่างซู’ (ขุนนางระดับเสนาธิการ) ในฉากที่นางได้เข้าพบกับท่านชายสองเฟิงหลันซี (พระเอก) ได้แสดงการสวามิภักดิ์ผ่านการเปรียบเปรยถึงซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวิน

    ความมีอยู่ว่า...
    ท่านชายสอง: ซือหม่าเซียงหรูต้องกักตัวเพราะป่วย เช่นเดียวกับข้า ตัวอยู่ในที่มืดมิด
    เฟิ่งชีอู๋: แทนที่จะอยู่ในที่มืด มิสู้จุดโคมเดินทาง หากท่านคิดเป็นซือหม่าเซียงหรู ข้ายอมเป็นจั๋วเหวินจวิน (ภรรยาของซือหม่าเซียงหรู) จุดโคมให้ท่าน
    - ถอดบทสนทนาจะละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ตามซับไทย

    หากใครไม่ทราบเรื่องราวของซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวินคงจะไม่เข้าใจความนัยของบทสนทนาข้างต้นนี้ วันนี้เลยนำเรื่องราวของทั้งคู่มาเล่าให้ฟังอย่างย่อ

    ซือหม่าเซียงหรู (179-117 ปีก่อนคริสตกาล สมัยราชวงศ์ฮั่น) เป็นคนพื้นเพเสฉวน สันทัดด้านอักษรและดนตรีจนได้เป็นอาจารย์ ต่อมาเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่อหาหนทางเข้ารับราชการ แต่ด้วยพื้นเพครอบครัวยากจนจึงไม่ได้รับความสนใจนัก สุดท้ายถอดใจอำลาเมืองหลวงไปอาศัยอยู่ที่เมืองหลิงฉยงตามคำชวนของสหายนามว่า ‘หวางจี๋’ เป็นผู้ว่าการเขตหลิงฉยง

    ที่หลิงฉยง ซือหม่าเซียงหรูแสร้งทำเป็นป่วย วันๆ ไม่ยอมพบใคร โดยมีหวางจี๋คอยไปเยี่ยมเยียนทุกวัน จนเกิดเป็นภาพลักษณ์ว่าซือหม่าเซียงหรูเป็นแขกพิเศษของหวางจี๋ ได้รับความสนใจจากผู้คนไม่น้อย

    หนึ่งในนั้นคือคหบดีพ่อค้านามว่า ‘จั๋วหวางซุน’ เขามีลูกสาวคือจั๋วเหวินจวิน นางออกเรือนไปได้ไม่นานก็เป็นหม้ายจึงกลับมาอยู่กับบิดา ยามนั้นนางอายุเพียงสิบเจ็ด เลื่องชื่อด้วยโฉมงามและความสามารถด้านการดนตรีและโคลงกลอน

    อยู่มาวันหนึ่งจั๋วหวางซุนได้จัดงานเลี้ยงขึ้นโดยตั้งใจเชิญหวางจี๋และซือหม่าเซียงหรูมาเป็นแขก หวางจี๋ถึงขนาดไปเชิญซือหม่าเซียงหรูด้วยตนเอง เขาจึงยอมมาร่วมงาน และเพื่อเป็นการสนองการต้อนรับอันอบอุ่น เขาบรรเลงเพลงพิณ ‘หงส์วอนหาคู่’

    การเล่นพิณครั้งนี้ ไม่ว่าเป็นแผนหรือไม่ แต่ผลก็คือจั๋วเหวินจวินที่มาแอบดูเขาที่หลังฉากและได้ยินเพลงพิณขอรักของเขาเข้าก็ตกหลุมรัก คืนนั้นนางหนีตามเขากลับไปเมืองหลวง ที่นั่นจั๋วเหวินจวินค้นพบความจริงแล้วว่าเขายากจนมาก บ้านของเขามีเพียงสี่ผนังที่ว่างเปล่า แต่นางก็ไม่ทิ้งเขา ใช้ชีวิตแบบกัดก้อนเกลือกินอยู่กับเขาโดยอาศัยเงินและเครื่องประดับที่นางพกติดตัวมา ส่วนจั๋วหวางซุนเมื่อได้ข่าวก็ทั้งอับอายทั้งเสียใจถึงกับตัดขาดไม่ยอมให้เงินช่วยเหลือลูกสาวแม้แต่แดงเดียว

    ต่อมาเงินหมด จั๋วเหวินจวินคิดแล้วว่าอยู่เมืองหลวงต่อไปก็ไม่มีหนทาง จึงชวนซือหม่าเซียงหรูกลับมาที่เมืองหลิงฉยง พวกเขาขายรถม้าซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายเพื่อเปิดร้านเหล้าเล็กๆ แห่งหนึ่งช่วยกันทำมาหากิน ทั้งสองทำงานหนักแต่ก็ใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข สุดท้ายจั๋วหวางซุนใจอ่อนจึงมอบเงินและบ่าวให้จำนวนไม่น้อยเป็นเงินรับขวัญเขยคนนี้ พอที่ทั้งสองจะกลับไปเมืองหลวงซื้อที่ดินและใช้ชีวิตได้อย่างคนมีอันจะกิน

    ในช่วงเวลานั้นเอง บทประพันธ์ ‘จื่อซวีฟู่’ ของซือหม่าเซียงหรูเป็นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นอู่ตี้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางผู้ติดตามใกล้ชิด ต่อมาหน้าที่การงานยิ่งเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นคนเนื้อหอม จึงเกิดความคิดที่จะรับอนุ แต่ต่อมาจั๋วเหวินจวินแต่งกลอนทำให้เขารำลึกถึงความหลังและเปลี่ยนความคิด (Storyฯ เคยคุยถึงเรื่อง ‘ลำนำผมขาว’ นี้ไปแล้ว ไปหาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    ดังนั้น บทสนทนาละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ข้างต้น ไม่เพียงแต่แสดงเจตจำนงของเฟิ่งชีอู๋ที่จะยอมเป็นภรรยาของพระเอก หากแต่ยังสะท้อนถึงความนัยว่า นางยอมใช้ทุกสิ่งอย่างที่นางมีเพื่อช่วยสนับสนุนเขา ไม่ทิ้งไม่หนี จะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปตลอดโดยไม่แคร์ว่าผู้อื่นจะมองอย่างไร

    Storyฯ คิดว่านี่เป็นคำสวามิภักดิ์ที่จริงใจที่สุดเท่าที่สตรีนางหนึ่งจะมอบให้ชายใดได้แล้ว เพื่อนเพจคิดเหมือนกันไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://auete.com/Tv/wangju/qieshitianxia/
    https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/6ggbbpm.html
    https://kknews.cc/history/y39v3qk.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/卓文君/823759
    http://history.sina.com.cn/his/zl/2014-09-29/1551102344_2.shtml
    http://www.renwugushi.com/qinhan/a1043.html
    https://www.gugong.net/wenhua/34904.html

    #เทียบท้าปฐพี #เฟิ่งชีอู๋ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู #กวีเอกราชวงศ์ฮั่น
    สัปดาห์ที่แล้วคุยเรื่องชีวประวัติ วันนี้เลยมาคุยให้ฟังถึงเรื่องราวของคนในตำนานอีกคู่หนึ่ง เพื่อนเพจที่ได้ติดตามละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> คงจำได้ถึงหนึ่งในตัวละครที่มีบทบาทเด่นคือเฟิ่งชีอู๋ ประมุขตระกูลเฟิ่งแห่งยงโจวผู้ดำรงตำแหน่ง ‘ซ่างซู’ (ขุนนางระดับเสนาธิการ) ในฉากที่นางได้เข้าพบกับท่านชายสองเฟิงหลันซี (พระเอก) ได้แสดงการสวามิภักดิ์ผ่านการเปรียบเปรยถึงซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวิน ความมีอยู่ว่า... ท่านชายสอง: ซือหม่าเซียงหรูต้องกักตัวเพราะป่วย เช่นเดียวกับข้า ตัวอยู่ในที่มืดมิด เฟิ่งชีอู๋: แทนที่จะอยู่ในที่มืด มิสู้จุดโคมเดินทาง หากท่านคิดเป็นซือหม่าเซียงหรู ข้ายอมเป็นจั๋วเหวินจวิน (ภรรยาของซือหม่าเซียงหรู) จุดโคมให้ท่าน - ถอดบทสนทนาจะละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ตามซับไทย หากใครไม่ทราบเรื่องราวของซือหม่าเซียงหรูและจั๋วเหวินจวินคงจะไม่เข้าใจความนัยของบทสนทนาข้างต้นนี้ วันนี้เลยนำเรื่องราวของทั้งคู่มาเล่าให้ฟังอย่างย่อ ซือหม่าเซียงหรู (179-117 ปีก่อนคริสตกาล สมัยราชวงศ์ฮั่น) เป็นคนพื้นเพเสฉวน สันทัดด้านอักษรและดนตรีจนได้เป็นอาจารย์ ต่อมาเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่อหาหนทางเข้ารับราชการ แต่ด้วยพื้นเพครอบครัวยากจนจึงไม่ได้รับความสนใจนัก สุดท้ายถอดใจอำลาเมืองหลวงไปอาศัยอยู่ที่เมืองหลิงฉยงตามคำชวนของสหายนามว่า ‘หวางจี๋’ เป็นผู้ว่าการเขตหลิงฉยง ที่หลิงฉยง ซือหม่าเซียงหรูแสร้งทำเป็นป่วย วันๆ ไม่ยอมพบใคร โดยมีหวางจี๋คอยไปเยี่ยมเยียนทุกวัน จนเกิดเป็นภาพลักษณ์ว่าซือหม่าเซียงหรูเป็นแขกพิเศษของหวางจี๋ ได้รับความสนใจจากผู้คนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือคหบดีพ่อค้านามว่า ‘จั๋วหวางซุน’ เขามีลูกสาวคือจั๋วเหวินจวิน นางออกเรือนไปได้ไม่นานก็เป็นหม้ายจึงกลับมาอยู่กับบิดา ยามนั้นนางอายุเพียงสิบเจ็ด เลื่องชื่อด้วยโฉมงามและความสามารถด้านการดนตรีและโคลงกลอน อยู่มาวันหนึ่งจั๋วหวางซุนได้จัดงานเลี้ยงขึ้นโดยตั้งใจเชิญหวางจี๋และซือหม่าเซียงหรูมาเป็นแขก หวางจี๋ถึงขนาดไปเชิญซือหม่าเซียงหรูด้วยตนเอง เขาจึงยอมมาร่วมงาน และเพื่อเป็นการสนองการต้อนรับอันอบอุ่น เขาบรรเลงเพลงพิณ ‘หงส์วอนหาคู่’ การเล่นพิณครั้งนี้ ไม่ว่าเป็นแผนหรือไม่ แต่ผลก็คือจั๋วเหวินจวินที่มาแอบดูเขาที่หลังฉากและได้ยินเพลงพิณขอรักของเขาเข้าก็ตกหลุมรัก คืนนั้นนางหนีตามเขากลับไปเมืองหลวง ที่นั่นจั๋วเหวินจวินค้นพบความจริงแล้วว่าเขายากจนมาก บ้านของเขามีเพียงสี่ผนังที่ว่างเปล่า แต่นางก็ไม่ทิ้งเขา ใช้ชีวิตแบบกัดก้อนเกลือกินอยู่กับเขาโดยอาศัยเงินและเครื่องประดับที่นางพกติดตัวมา ส่วนจั๋วหวางซุนเมื่อได้ข่าวก็ทั้งอับอายทั้งเสียใจถึงกับตัดขาดไม่ยอมให้เงินช่วยเหลือลูกสาวแม้แต่แดงเดียว ต่อมาเงินหมด จั๋วเหวินจวินคิดแล้วว่าอยู่เมืองหลวงต่อไปก็ไม่มีหนทาง จึงชวนซือหม่าเซียงหรูกลับมาที่เมืองหลิงฉยง พวกเขาขายรถม้าซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายเพื่อเปิดร้านเหล้าเล็กๆ แห่งหนึ่งช่วยกันทำมาหากิน ทั้งสองทำงานหนักแต่ก็ใช้ชีวิตคู่อย่างมีความสุข สุดท้ายจั๋วหวางซุนใจอ่อนจึงมอบเงินและบ่าวให้จำนวนไม่น้อยเป็นเงินรับขวัญเขยคนนี้ พอที่ทั้งสองจะกลับไปเมืองหลวงซื้อที่ดินและใช้ชีวิตได้อย่างคนมีอันจะกิน ในช่วงเวลานั้นเอง บทประพันธ์ ‘จื่อซวีฟู่’ ของซือหม่าเซียงหรูเป็นที่ชื่นชอบขององค์ฮั่นอู่ตี้ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางผู้ติดตามใกล้ชิด ต่อมาหน้าที่การงานยิ่งเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นคนเนื้อหอม จึงเกิดความคิดที่จะรับอนุ แต่ต่อมาจั๋วเหวินจวินแต่งกลอนทำให้เขารำลึกถึงความหลังและเปลี่ยนความคิด (Storyฯ เคยคุยถึงเรื่อง ‘ลำนำผมขาว’ นี้ไปแล้ว ไปหาอ่านย้อนหลังนะคะ) ดังนั้น บทสนทนาละครเรื่อง <เทียบท้าปฐพี> ข้างต้น ไม่เพียงแต่แสดงเจตจำนงของเฟิ่งชีอู๋ที่จะยอมเป็นภรรยาของพระเอก หากแต่ยังสะท้อนถึงความนัยว่า นางยอมใช้ทุกสิ่งอย่างที่นางมีเพื่อช่วยสนับสนุนเขา ไม่ทิ้งไม่หนี จะอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปตลอดโดยไม่แคร์ว่าผู้อื่นจะมองอย่างไร Storyฯ คิดว่านี่เป็นคำสวามิภักดิ์ที่จริงใจที่สุดเท่าที่สตรีนางหนึ่งจะมอบให้ชายใดได้แล้ว เพื่อนเพจคิดเหมือนกันไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://auete.com/Tv/wangju/qieshitianxia/ https://kknews.cc/zh-cn/entertainment/6ggbbpm.html https://kknews.cc/history/y39v3qk.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/卓文君/823759 http://history.sina.com.cn/his/zl/2014-09-29/1551102344_2.shtml http://www.renwugushi.com/qinhan/a1043.html https://www.gugong.net/wenhua/34904.html #เทียบท้าปฐพี #เฟิ่งชีอู๋ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู #กวีเอกราชวงศ์ฮั่น
    1 Comments 0 Shares 745 Views 0 Reviews
More Results