• กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School)

    เจียสูคืออะไร?

    เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้

    ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ

    แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล?

    ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง

    เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง
    - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง)
    - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์)
    - อี้จิง (โหราศาสตร์)
    - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร)
    - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี)

    เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน

    สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438
    https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312
    https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1
    http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf
    #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    กลับมาอีกครั้งกับเรื่องราวใน <ตำนานหมิงหลัน> เพื่อนเพจที่ได้ดูละครเรื่องนี้จะเห็นว่ามีหลายฉากที่ดำเนินเรื่องผ่านการนั่งเรียนหนังสือของสามสาวตระกูลเสิ้ง ซึ่งพวกนางเข้าเรียนพร้อมพี่ชายในโรงเรียนส่วนบุคคลของครอบครัวสกุลเสิ้ง หรือที่เรียกว่า ‘เจียสู’ (家塾/Family School) เจียสูคืออะไร? เจียสูมีมาตั้งแต่สมัยชุนชิว (กว่าเจ็ดร้อยปีก่อนคริสตกาล) จวบจนสมัยราชวงศ์ชิงก็ยังมีอยู่ เป็นการจัดห้องเรียนขึ้นที่บ้าน เชิญอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาสอน โดยปกติแล้วอาจารย์จะพำนักอยู่ในเรือนตระกูลนั้นเลย มีค่าจ้าง ที่พักและอาหารครบทุกมื้อ ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องเป็นเฉพาะตระกูลที่มีฐานะ (ปกติเป็นตระกูลขุนนาง) จึงจะมีกำลังทรัพย์พอที่จะทำอย่างนี้ได้ ในละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> นี้ มีฉีเหิงและกู้ถิงเยี่ยซึ่งเป็นบุรุษนอกสกุลมาร่วมเรียนด้วย ในนิยายบอกว่าฉีเหิงมาร่วมเรียนเพราะเป็นศิษย์ของอาจารย์คนนี้อยู่แล้ว ในขณะที่กู้ถิงเยี่ยเป็นญาติของตระกูลเสิ้งจึงมาร่วมเรียนได้ และที่ยอมมาเรียนที่เจียสูของตระกูลเสิ้งที่เป็นขุนนางยศต่ำกว่าครอบครัวของพวกเขาก็เพราะอาจารย์ท่านนี้ดังมาก ปกติไม่รับสอนตามเจียสู แต่ที่มาสอนให้ตระกูลเสิ้งก็เพื่อทดแทนบุญคุณ แต่ Storyฯ เกิดความ ‘เอ๊ะ’ ว่าทำไมพวกเขาทำได้ในเมื่อสตรีตระกูลสูงศักดิ์สมัยโบราณต้องเก็บตัวเงียบอยู่ในเรือนห้ามพบปะผู้ชายนอกสกุล? ในบทประพันธ์ <ความฝันในหอแดง> ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนคลาสสิคมีการอธิบายโดยตัวละครเอกไว้ว่า คนในเครือวงศ์ตระกูลที่ไม่มีกำลังทรัพย์จ้างอาจารย์ส่วนตัวก็มาเรียนที่เจียสูได้ หรือหากใครมีญาติที่เป็นนักเรียนอยู่แล้วก็มาเรียนด้วยกันที่เจียสูนี้ได้ ซึ่งการเรียนในเจียสูเป็นการเรียนรวมคละวัยคละเพศชายหญิง เนื่องจากลูกหลานฝ่ายชายมีเป้าหมายคือลงสนามสอบราชบัณฑิตด้วย ดังนั้นหลักสูตรที่สอนจะเข้มข้นมาก แล้วเขาเรียนอะไร? หลักสูตรทั่วไปคือ ‘ซื่อซู อู่จิง’ (四书五经 / Four Books and Five Classics / สี่หนังสือห้าคัมภีร์) ซึ่ง ‘สี่หนังสือ’ นี้คือหนังสือว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อ ส่วน ‘ห้าคัมภีร์’ นั้นหมายถึง - ซือจิง (บทกวีและบทร้อยกรอง) - ซูจิง (บทความและประวัติศาสตร์) - อี้จิง (โหราศาสตร์) - ชุนชิว (บันทึกเหตุการณ์สำคัญและพงศาวดาร) - หลี่จี้ (พิธีกรรมและประเพณี) เจียสูเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเรียนเอกชน นอกจากเจียสูนี้ เอกชนยังมีการลงขันเปิดเป็นโรงเรียนกันในหมู่บ้าน (เรียกว่า ชุนสู/村塾) หรืออาจมีเจ้าภาพที่ได้รับเงินบริจาคจัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น (เรียกว่า อี้สู/义塾) หรืออาจเป็นตัวอาจารย์เองเปิดสอนหนังสือโดยเรียกเก็บค่าเล่าเรียนจากนักเรียน สตรีจีนโบราณไม่มีโอกาสได้เรียนในสำนักศึกษาหลวง และส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับเรื่องจรรยาของสตรี โคลงกลอนและการดนตรี หากไม่ได้เรียนตามโรงเรียนเอกชนที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเรียนกันที่บ้านตามมีตามเกิดหรือไม่ได้เรียน นอกจากนี้ ยังมีที่ศึกษาเองในระหว่างที่ออกบวชเป็นชี หรืออีกสุดขั้วหนึ่งคือการเรียนในหอนางโลมสำหรับนางโลมที่ต้องมีวิชาความรู้ติดตัวเพื่อทำมาหากิน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://kknews.cc/zh-my/entertainment/4k6q6zg.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.fxjyb.com/xiandai/276.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/77983438 https://m.lunwendata.com/show.php?id=34312 https://kknews.cc/history/pvkjmzj.html https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e3ce1325253f66e731416fc1 http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EF206(49)/EF206(49)-5.pdf #หมิงหลัน #การเรียนเอกชนจีนโบราณ #การเรียนสตรีจีนโบราณ #สี่หนังสือห้าคัมภีร์ #เจียสู
    1 Comments 0 Shares 158 Views 0 Reviews
  • อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง

    ความมีอยู่ว่า
    “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า)

    เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา

    ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง)

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา

    กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน

    และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’

    เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://rijifang.com/index.php/post/9230.html
    https://www.52lishi.com/article/65423.html
    https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245
    http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html

    #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    อาทิตย์นี้มาโพสต์เร็วหน่อย เรามาคุยต่อกับ <ตำนานหมิงหลัน> เพราะละครเรื่องนี้มีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทางวัฒนธรรมให้เรียนรู้พอควร วันนี้ว่าด้วยฉากแต่งงานของพระนาง ความมีอยู่ว่า “ได้ยินมานานว่าผู้บังคับบัญชากู้เก่งด้านวรรณกรรม งั้นมาแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวกันหน่อยดีกว่า ทุกคนรู้สึกว่าดี ถึงจะอนุญาตให้เข้าประตูมารับเจ้าสาวได้” คุณชายเขยห้ากล่าว - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> (ตามที่มีแปลซับไทยจ้า) เพื่อนเพจเชื้อสายจีนน่าจะคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมที่ขบวนเจ้าบ่าวจะโดน ‘กั้นประตู’ ก่อนเข้าไปรับเจ้าสาวที่แต่งตัวเสร็จรออยู่แล้ว โดยปัจจุบันอาจต้องเล่นเกมต่างๆ เพื่อแลกกับการเปิดประตู และที่แน่ๆ ต้องมีแจกซองอั่งเปา ธรรมเนียมนี้ถูก ‘แปลงร่าง’ มาจากประเพณีเดิมตอนรับตัวเจ้าสาวในจีนโบราณ ในบันทึกประเพณีสมัยราชวงศ์เหนือใต้มีการระบุว่า หนึ่งในขั้นตอนการรับตัวเจ้าสาวคือมีการตะโกนเรียกเร่งให้นางแต่งหน้าแต่งตัวเสร็จออกมาไวๆ ขั้นตอนนี้เรียกว่า ‘ชุยจวง’ (催装) เนื่องจากสมัยจีนโบราณจริงๆ แล้วมักจัดพิธีกราบไหว้ฟ้าดินในตอนเย็นก่อนมืด ซึ่งโดยปกติเจ้าสาวจะใช้เวลาแต่งตัวแต่งหน้านานมาก จึงมีการเร่งให้เจ้าสาวออกมาก่อนฟ้าจะมืด และเกิดการ ‘แกล้ง’ ขบวนเจ้าบ่าวก่อนจะเปิดประตูให้รับเจ้าสาวได้ ถึงขนาดใช้ไม้พลองหวดเจ้าบ่าวก็มี (!) ซึ่งการกลั่นแกล้งเหล่านี้เจ้าบ่าวต้องยอมรับแต่โดยดีและมีชื่อเรียกวิธีปฏิบัตินี้ว่า ‘เซี่ยซวี่’ (下婿 แปลตรงตัวได้ประมาณว่าเขยยอมเป็นเบี้ยล่าง) ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ถังที่การอักษรและโคลงกลอนรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก จึงเกิดเป็นธรรมเนียมการแต่ง ‘กลอนเร่งเจ้าสาว’ หรือที่เรียกว่า ‘ชุยจวงซือ’ (催妆诗) สำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา โดยเจ้าบ่าวจะแต่งกลอนเองก็ได้หรือให้เพื่อนเจ้าบ่าวแต่งก็ได้ เมื่อแต่งกลอนเสร็จแล้วก็จะมีคนนำไปเล่าให้เจ้าสาวฟังถึงในห้องเพื่อว่านางจะได้รีบออกมา กลอนเร่งเจ้าสาวจะมีเนื้อหาแตกต่างจากบทกวีสมัยถังทั่วไป โดยเอกลักษณ์ของมันคือมีเนื้อหาออกแนวเกี้ยวพาราสีหรือชมความงามเจ้าสาว ได้อารมณ์ประมาณว่า เจ้าอย่าเอียงอายรีบออกมาเถิดเราจะได้รีบไปกัน! จะเห็นว่าบทกลอนเร่งเจ้าสาวในเรื่อง <ตำนานหมิงหลัน> ก็ได้อารมณ์นี้เช่นกัน และเนื่องจากในสมัยราชวงศ์ซ่งมีการนิยมบทกวีในลักษณะ ‘ฉือ’ (词) มากกว่า ‘ซือ’ (诗) (Storyฯ เคยเขียนถึงความแตกต่างของบทกวีสองประเภทนี้ไปแล้วในตอนชื่อนิยายหมิงหลัน) ดังนั้นในสมัยซ่งจึงมีการแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวในแบบสไตล์ ‘ฉือ’ ด้วย เรียกว่า ‘ชุยจวงฉือ’ เมื่ออยู่ในห้องหอแล้วจะมีขั้นตอนการปลดพัดเจ้าสาวเรียกว่า ‘เชวี่ยซ่าน’ (却扇) แต่ในละครทำอย่างง่ายๆ หากทำแบบเต็มพิธีการจริงๆ ในสมัยถังเขาจะให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนอีกรอบค่ะ เรียกว่า ‘เชวี่ยซ่านซือ’ หากเจ้าสาวพอใจจึงจะวางพัดลง แต่ Storyฯ หาข้อมูลไม่มีว่าเขาอนุญาตให้เพื่อนเจ้าบ่าวตามเข้ามาช่วยแต่งกลอนหรือไม่ (555) ดูไปแล้ว กว่าจะรับตัวเจ้าสาวได้นี่ไม่ง่ายเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/295145859_100301735 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://rijifang.com/index.php/post/9230.html https://www.52lishi.com/article/65423.html https://www.zhihu.com/question/446052944/answer/1747492245 http://travel.china.com.cn/txt/2020-11/10/content_76894055.html #หมิงหลัน #กู้ถิงเยี่ย #งานแต่งงานจีนโบราณ #กวีจีน #ประเพณีจีนโบราณ #เซี่ยซวี่ #กลอนเร่งเจ้าสาว #ชุยจวง #ชุยจวงซือ #ชุยจวงฉือ #เชวี่ยซ่าน
    WWW.SOHU.COM
    《知否?知否?应是绿肥红瘦》过百亿的播放量能说明什么?_顾廷烨
    作为近150万字的长篇小说,实在是有些长,我并没有看完,也理解作者的不易,本身作为兼职作者,平时工作也比较繁忙,可能只有夜晚的四五个小时可以利用,也会有家里的各种繁杂琐事时不时骚扰,从写法来看,看得出…
    1 Comments 0 Shares 280 Views 0 Reviews
  • Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time)

    เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ

    หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳)

    อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม

    เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง

    หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน

    นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง

    เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย

    ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก

    หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml
    https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html
    https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html
    http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml
    https://kknews.cc/history/ogan4p.html
    https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726

    #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    Storyฯ นึกถึงภาพยนตร์จีนโบราณที่เคยผ่านตาเมื่อนานมาแล้วเรื่องหนึ่งชื่อว่า <หลิ่วหรูซื่อ> (Threads of Time) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวประวัติของนางคณิกานามว่า ‘หลิ่วหรูซื่อ’ นางถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นกวีหญิงที่โดดเด่นในสมัยปลายราชวงศ์หมิง และเป็นสตรีที่รักชาติและต่อต้านการรุกรานจากชาวแมนจูในช่วงผลัดแผ่นดิน ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจคุ้นเคยกับเรื่องของนางกันบ้างหรือไม่? วันนี้เลยมาคุยให้ฟังอย่างย่อ หลิ่วหรูซื่อ (ค.ศ. 1618-1664) ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาจากแม่น้ำฉินหวย (ฉินหวยปาเยี่ยน / 秦淮八艳) อะไรคือ ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ? ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงนั้น สถานสอบราชบันฑิตที่ใหญ่ที่สุดคือเจียงหนานก้งเยวี่ยน (江南贡院) ตั้งอยู่ที่เมืองเจียงหนานริมฝั่งแม่น้ำฉินหวย ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการสอบมาที่นี่ถึงสองสามหมื่นคน จากเมืองเจียงหนานข้ามแม่น้ำฉินหวยมาก็เป็นเมืองหนานจิง (นานกิง) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองทางผ่านสำหรับเขาเหล่านี้ ที่นี่จึงกลายเป็นทำเลทองของกิจการหอนางโลม เพื่อนเพจอย่าได้คิดว่านางคณิกาเหล่านี้เน้นขายบริการทางเพศแต่อย่างเดียว ในยุคนั้นรายได้เป็นกอบเป็นกำมาจากการขายความบันเทิงทางศิลปะเคล้าสุรา เช่น เล่นดนตรี / เล่นหมากล้อม / โชว์เต้นรำ / แต่งกลอนวาดภาพ หรืออาจทำทั้งหมด มีนางคณิกาจำนวนไม่น้อยที่ขายศิลปะไม่ขายตัวและคนที่ชื่อดังจะต้องมีฝีมือดีเยี่ยม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าที่มีการศึกษา ‘ฉินหวยปาเยี่ยน’ ทั้งแปดคนนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของนางคณิกาในย่านเมืองหนานจิงนี้นี่เอง หลิ่วหรูซื่อมีนามเดิมว่า ‘หยางอ้าย’ ต่อมาเปลี่ยนชื่อตนเองใหม่เป็น ‘อิ่ง’ และมีนามรองว่า ‘หรูซื่อ’ ตามบทกวีจากสมัยซ่ง บ่อยครั้งที่นางแต่งตัวเป็นชายออกไปโต้กลอนกับคนอื่นโดยใช้นามว่า ‘เหอตงจวิน’ นางโด่งดังที่สุดด้านงานอักษรและงานพู่กันจีน (บทกวี คัดพู่กัน และภาพวาด) ผลงานของนางมีมากมายทั้งในนาม ‘หลิ่วหรูซื่อ’ และ ‘เหอตงจวิน’ มีการรวมเล่มผลงานของนางออกจำหน่ายในหลายยุคสมัยจวบจนปัจจุบัน นางเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน ถูกขายให้กับหอนางโลมเมื่ออายุแปดขวบ แต่แม่เล้ารับเป็นลูกบุญธรรมและได้ฝึกเรียนศิลปะแขนงต่างๆ ในชีวิตนางมีชายสามคนที่มีบทบาทมาก คนแรกคืออดีตเสนาบดีอดีตจอหงวน ที่รับนางเป็นอนุเมื่ออายุเพียง 14 ปี เขาโปรดปรานนางที่สุด ใช้เวลาทั้งวันกับการสอนศิลปะขั้นสูงเหล่านี้ให้กับนาง เมื่อเขาตายลงนางถูกขับออกจากเรือนจึงกลับไปอยู่หอนางโลมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้มีวิชาความรู้ติดตัวจนเป็นที่เลื่องลือ ทำให้นางใช้ชีวิตอยู่กับการคบหาสมาคมกับเหล่าบัณฑิตจนได้มาพบรักกับเฉินจื่อหลง เขาเป็นบัณฑิตที่ต่อมารับราชการไปได้ไกล ทั้งสองอยู่ด้วยกันนานหลายปี แต่สุดท้ายไปไม่รอดแยกย้ายกันไปและนางออกเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่นางมีผลงานด้านโคลงกลอนและภาพวาดมากมาย ต่อมาในวัย 23 ปี นางได้พบและแต่งงานกับอดีตขุนนางอายุกว่า 50 ปีนามว่าเฉียนเชียนอี้เป็นภรรยารอง (แต่ภรรยาคนแรกเสียไปแล้ว) และอยู่ด้วยกันนานกว่า 20 ปี มีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ช่วงเวลาที่อยู่กับเฉียนเชียนอี้นี้ เป็นช่วงเวลาที่นางได้รับการยกย่องเรื่องรักชาติ และนางเป็นผู้ผลักดันให้เฉียนเชียนอี้ทำงานต่อต้านแมนจูอย่างลับๆ เพื่อกอบกู้ราชวงศ์หมิง แม้ว่าฉากหน้าจะสวามิภักดิ์รับราชการกับทางการแมนจูไปแล้ว (เรื่องราวของเฉียนเชียนอี้ที่กลับไปกลับมากับการสนับสนุนฝ่ายใดเป็นเรื่องที่ยาว Storyฯ ขอไม่ลงในรายละเอียด) ต่อมาเฉียนเชียนอี้ลาออกไปใช้ชีวิตบั้นปลายในชนบทโดยนางติดตามไปด้วย เมื่อเขาตายลงมีการแย่งทรัพย์สมบัติ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อเรียกร้องให้ทางการเอาผิดคนโกงและคืนทรัพย์สินกลับมาให้ลูก หลิ่วหรูซื่อไม่เพียงฝากผลงานเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังมากมาย หากแต่ความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญและรักชาติของหลิ่วหรูซื่อถูกสะท้อนออกมาในบทประพันธ์ต่างๆ ของนางด้วยอารมณ์ประมาณว่า “ถ้าฉันเป็นชาย ฉันจะไปสู้เพื่อชาติ” แต่เมื่อเป็นหญิง นางจึงพยายามสนับสนุนกองกำลังกู้ชาติทางการเงินและผลักดันให้สามีของนางสนับสนุนด้วย และนี่คือสาเหตุว่าทำไมเรื่องราวของนางคณิกาธรรมดาคนนี้ยังไม่ถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html https://www.chinanews.com.cn/cul/news/2008/03-10/1186637.shtml https://new.qq.com/omn/20191102/20191102A03LG800.html https://kknews.cc/history/b2nbjyo.html http://www.360doc.com/content/20/0325/10/60244337_901533310.shtml https://kknews.cc/history/ogan4p.html https://baike.baidu.com/item/%E7%A7%A6%E6%B7%AE%E5%85%AB%E8%89%B3/384726 #หลิ่วหรูซือ #เหอตงจวิน #นางคณิกาจีนโบราณ #ฉินหวยปาเยี่ยน #เฉียนเชียนอี้ #เฉินจื่อหลง #กอบกู้หมิง
    2 Comments 0 Shares 207 Views 0 Reviews
  • วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>
    ความมีอยู่ว่า
    ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”...
    องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา>

    ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节)

    ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง

    ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น

    ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้

    ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/303274788_157925
    https://www.sohu.com/a/371364660_118889
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节
    https://baike.baidu.com/item/上巳节
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095
    http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm
    https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    วันนี้เปลี่ยนมาคุยเกี่ยวกับการละเล่นชนิดหนึ่งที่เห็นในละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ความมีอยู่ว่า ... องค์หญิงหย่งหนิง: “ดูนั่นสิ พี่รองกับพี่ห้าอยู่ที่นั่น พวกเขาต้องกำลังเล่นบทกวีล่องสายน้ำอยู่แน่เลย”... องค์หญิงลั่วซี: “บทกวีล่องลอยน้ำ คือการละเล่นอย่างหนึ่งของราชวงศ์หลี่ หลังเสร็จพิธีฝูซี่ในแต่ละปี ทุกคนจะนั่งอยู่สองฝั่งของคูน้ำ วางจอกสุราไว้ที่ต้นน้ำ จอกสุราจะล่องมาตามสายน้ำ หากหยุดตรงหน้าใคร คนนั้นก็ต้องหยิบขึ้นมาดื่ม รวมถึงต้องแต่งกลอนด้วย”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> ละครเรื่องนี้เกิดในราชวงศ์สมมุติ แต่ ‘บทกวีล่องสายน้ำ’ ที่กล่าวถึงนั้นมีอยู่จริง เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ (曲水流觞 แปลตรงตัวว่าชามสุราลอยไปตามสายน้ำที่คดเคี้ยว) เป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้นในวันที่สามเดือนสามของปฏิทินจันทรคติ หรือก็คือวันซ่างซึ (上巳节) ในวันซ่างซึ ตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิมจะทำการอาบน้ำในแม่น้ำเพื่อชำระล้างเคราะห์ร้ายและสิ่งอัปมงคลออกไปจากชีวิตหรือที่เรียกว่า ‘พิธีฝูซี่’ ตามที่กล่าวถึงในละครข้างต้น มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นโจวตะวันออก (1047-772 ก่อนคริสตกาล) จัดเป็นหนึ่งในพิธีชำระที่สำคัญที่สุดของจีนโบราณ ต่อมาพิธีนี้แปรเปลี่ยนเป็นต่างคนต่างอาบน้ำแต่งตัวสวยงามแล้วออกมาริมแม่น้ำเพื่อกราบไหว้ และมีการแสดงรื่นเริง ในสมัยราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 266-420) เกิดเป็นกิจกรรมสันทนาการที่เรียกว่า ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ขึ้น (ดูภาพประกอบ1) วิธีเล่นก็คือนั่งกันสองฝั่งฟากของลำธารแล้วปล่อยชามสุราให้ลอยไปตามสายน้ำ ชามสุราลอยไปหยุดอยู่หน้าใคร คนนั้นต้องแต่งกลอน หากแต่งไม่ออกก็ต้องถูกลงโทษด้วยการดื่มสุราสามชาม (วิธีเล่นแตกต่างจากที่บรรยายในละครตรงนี้) ต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นกิจกรรมในช่วงเทศกาลที่หนุ่มสาวออกมาเจอะเจอกันได้ เป็นกิจกรรมกลางแจ้ง อาจเป็นลำธารจริง หรือเป็นลำธารและภูเขาจำลองอยู่ในอุทยานในบ้านคนรวย ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยมและเมื่อถึงสมัยหมิงยิ่งจัดกันน้อย หากจัดขึ้นก็จะทำเป็นลำธารจำลองเล็กๆ ขึ้นในศาลาสำหรับคนกลุ่มเล็กร่วมดื่มกันเท่านั้น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ ไม่เพียงเป็นประเพณีโบราณ หากยังเป็นบ่อเกิดของงานศิลปะในตำนานจีนที่ชื่อดังชิ้นหนึ่ง เป็นงานอักษรพู่กันจีนที่มีชื่อว่า ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ (兰亭集序 ดูภาพประกอบ2) โดยหวังซีจือผู้เป็นนักปราชญ์ขุนนางในสมัยองค์จิ้นมู่แห่งราชวงศ์จิ้น งานอักษรของเขาโดดเด่นจนเขาถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสี่ ‘ที่สุด’ ของประวัติศาสตร์จีนในด้านนี้ ‘หลันถิงจี๋ซวี่’ เป็นบทนำของคอลเล็กชั่นบทกวีที่เกิดขึ้นในงานฉลองเทศกาลซ่างซึที่องค์จิ้นมู่ทรงจัดขึ้น มีเหล่าขุนนางสี่สิบเอ็ดคนมาร่วมเล่น ‘ชวีสุ่ยหลิวช่าง’ โดยบทนำนี้บรรยายถึงวิธีเล่นนี้เอาไว้ ต้นฉบับของผลงานชิ้นนี้หายสาบสูญไปตามกาลเวลา แต่ปรากฏฉบับคัดลอกมาตลอดหลายยุคสมัย ฉบับคัดลอกที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงปักกิ่ง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันเพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/303274788_157925 https://www.sohu.com/a/371364660_118889 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zh.m.wikipedia.org/zh-hans/上巳节 https://baike.baidu.com/item/上巳节 https://zhuanlan.zhihu.com/p/33299095 http://m.xinhuanet.com/sh/2018-04/18/c_137119707.htm https://en.wikipedia.org/wiki/Wang_Xizhi https://so.gushiwen.cn/shiwenv_af279f0cdd95.aspx
    看了《东宫》、《招摇》的海报,我想说你们对中国高级的古典美误解太深|意外_线条
    《招摇》的海报中,两人的头发和衣服就是在试图模仿这种线条带来的飘逸: 所以说这些所谓古典美的海报和写真误以为古风就是要“飘”,却不知这种飘逸的背后是巧用线条对于动感的表现。 让这些海报出现违和感…
    2 Comments 0 Shares 277 Views 0 Reviews
  • วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น)

    เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲)

    ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้
    “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร)

    หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ

    บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี

    หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก)

    หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076

    บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1
    https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433
    https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/王安石/127359
    https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120
    https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from=
    https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html

    #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ จากละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> มาคุยให้ฟัง (ก่อนที่ Storyฯ จะมูฟออนไปดูละครเรื่องอื่น) เพื่อนเพจที่ได้เคยดูละครเรื่องนี้จะคุ้นตากับหลายฉากที่หนึ่งในตัวละครเอก ซ่งอิ่นจาง บรรเลงผีผาจนผู้คนเคลิบเคลิ้ม และจะมีอยู่เพลงหนึ่งที่ทุกคนพูดถึงราวกับว่ามันเป็นเพลงที่ทุกคนรู้จักดีและบรรเลงยากยิ่งนัก ในละครเรียกว่า ‘เพลงหมิงเฟย’ หรือ ‘หมิงเฟยฉวี่’ (明妃曲) ในละครมีลูกค้าของโรงน้ำชาคนหนึ่งบรรยายไว้เกี่ยวกับสไตล์การบรรเลงเพลงนี้ไว้ดังนี้ “ในทีแรกหมิงเฟยถูกส่งตัวไปชายแดน นั่นก็เพื่อประเทศชาติ จะสื่อถึงจิตใจของผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างเดียวได้อย่างไร ชั้นที่หนึ่งเสียงสูงต่ำต่อเนื่องกัน ชั้นที่สองเป็นความทุกข์ที่ประสบในชีวิต ชั้นที่สามเป็นความคิดถึงบ้านเกิด ส่วนชั้นที่สี่กลับมีความเป็นดนตรีชั้นสูง ตื่นเต้นฮึกเหิมไพเราะโดดเด่น เล่าถึงปณิธานอันยิ่งใหญ่ของหมิงเฟยในการต่อสู่เพื่อราชวงศ์ฮั่นที่ชายแดน” (หมายเหตุ ถอดความจากซับไทยของละคร) หมิงเฟยฉวี่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ แต่... ชื่อเรียกว่า ‘เพลง’ ทว่าจริงแล้วหมิงเฟยฉวี่เป็นบทกวีค่ะ บทกวีหมิงเฟยฉวี่มีทั้งหมดสองบท (ดูรูปสอง) รวม 32 วรรค ‘หมิงเฟย’ ที่กล่าวถึงก็คือหวางเจาจวินนั่นเอง บทแรกบรรยายถึงช่วงเวลาที่หวางเจาจวินต้องจากลาราชสำนักฮั่นเพื่อแต่งงานไปเผ่าซงหนูทางเหนือ จากบทกวีนี้เองที่เราทราบถึงตำนานที่ว่าช่างวาดภาพหลวงรับสินบนจากนางในแต่ไม่เคยได้จากหวางเจาจวิน จึงวาดภาพของนางออกมาขี้เหร่ องค์หยวนตี้ (ราชวงศ์ฮั่น) ทรงเห็นโฉมหน้านางครั้งแรกก็วันที่นางมาทูลลาเพื่อออกเดินทาง ทรงรู้สึกเสียดายนางมากและสั่งประหารช่างวาดภาพนี้ด้วยความโกรธ บทกวียังบรรยายถึงความโศกเศร้าที่นางต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน ต้องทนอยู่กับความเหงาความคิดถึงบ้านเกิดด้วยการบรรเลงผีผา ทำทุกอย่างเพื่อความสงบของสองเมือง สุดท้ายต้องตายอยู่ต่างแดน เป็นบทกวีที่ยกย่องว่าเพราะนาง ฮั่น-ซงหนู จึงไม่ทำสงครามต่อกันยาวนานเป็นร้อยปี หมิงเฟยฉวี่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นบทกวีที่ยกย่องหวางเจาจวินที่ดีที่สุด เป็นบทประพันธ์ของ ‘หวางอานสือ’ (ค.ศ. 1021-1086 รูปวาดเหมือนขวาสุดของภาพแรก) หวางอานสือเป็นขุนนางในรัชสมัยขององค์ซ่งเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งเหนือ ผ่านมาหลายตำแหน่งและสูงสุดเป็นถึงอัครเสนาบดี ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในแปดกวีเอกของสมัยถัง-ซ่ง เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในการพยายามผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบอบการปกครองและเศรษฐกิจผ่านบทกฏหมายหลายฉบับ เช่น ด้านการเงินการคลัง การให้สวัสดิการรัฐ การยกเลิกการผูกขาดทางการค้า ระบบราชการแบบเครือญาติ การจัดการที่ดินและภาษี เป็นต้น แต่สุดท้ายต้านทานแรงต้านจะขุนนางอื่นที่คัดค้านแนวคิดใหม่เหล่านี้ไม่ไหว ต้องลาออกจากราชการไปในปีค.ศ. 1076 บทเพลงที่เกี่ยวกับหวางเจาจวินมีหลายเพลงที่โด่งดัง Storyฯ ลองหาดูว่ามีบทเพลงที่มีชื่อว่าหมิงเฟยฉวี่ด้วยหรือไม่ แต่หาไม่พบ ได้ยินมาว่าเวอร์ชั่นที่บรรเลงในละครเรื่องสามบุปผาฯ ดัดแปลงจากทำนองเพลงตอนท้ายเรื่อง แต่ Storyฯ ก็ไม่ได้ไปฟังเปรียบเทียบเพิ่มเติม เพื่อนเพจท่านใดลองเปรียบเทียบดูแล้วมาเล่าสู่กันฟังได้ก็ดีนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://ent.ifeng.com/c/8H7x6pkC0rk#p=1 https://adlovejyxg.exblog.jp/18806203/ https://zhuanlan.zhihu.com/p/234876433 https://www.baike.com/wiki/%E7%8E%8B%E5%AE%89%E7%9F%B3?view_id=2rfylzysqee000 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/王安石/127359 https://baike.baidu.com/item/明妃曲二首/2941120 https://m.thepaper.cn/rss_newsDetail_14968634?from= https://www.163.com/dy/article/E8B57R4D05372TL1.html #สามบุปผา #เพลงหมิงเฟย #หมิงเฟยฉวี่ #หวางเจาจวิน #หมิงเฟย #หวางอานสือ
    ENT.IFENG.COM
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    林允晒《梦华录》宋引章造型 低头抚琴温婉可人
    2 Comments 0 Shares 463 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีกันอีกสักหน่อย

    ในละครเรื่อง <ตำนานรักช่างภูษา> มีฉากหนึ่งเล่าถึงการเตรียมชุดเข้าวังถวายตัวของอู่ไฉเหริน โดยมีการปักบทกวีและลวดลายดอกท้อไว้บนชุด อู่ไฉเหรินกล่าวไว้ในฉากนี้ว่า “ดอกท้อผลิบานพันหมื่นดอก สีสันแดงสดดั่งเปลวเพลิง สตรีจะออกเรือน สุขศรีอยู่ฝ่ายบุรุษ... นำบทกลอนมาลงปักทำเป็นชุดมงคลแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร... กลอนเถาเยาบทนี้ตรงประเด็นนัก”
    - ถอดบทสนทนาจากละครนี้ตามซับไทย

    บทกวี ‘เถาเยา’ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล)

    ‘เถาเยา’ มีทั้งหมดสามท่อน แต่ละท่อนมีสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่นิยมในวงการศึกษาจวบจนปัจจุบันด้วยความไพเราะของคำที่ใช้ (ดูกวีบทเต็มได้ตามรูป)

    วรรคที่เป็นวรรคยอดนิยมจากกวีบทนี้ก็คือสองวรรคแรก ‘เถาจือเยาเยา จั๋วจั๋วฉีหัว’ ซึ่งเป็นสองประโยคแรกที่ยกมาจากในละครข้างต้น Storyฯ แปลและเรียบเรียงใหม่ว่า ‘ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา’ เป็นวลีที่ใช้บรรยายถึงความงามของสตรีที่ดูโดดเด่นจนมิอาจสายตาไปได้เลย

    แล้วบทกวี ‘เถาเยา’ นี้ ‘ตรงประเด็น’ กับเรื่องราวในละครตอนนี้อย่างไร?

    Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงใหม่ดังนี้ เพื่อนเพจอ่านจบคงเข้าใจ
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา สตรีนี้เข้าเรือนมา สุขคู่ชูชื่นเคียงใจ
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ กิ่งก้านเติบใหญ่มั่นคง สตรีนี้เข้าเรือนมา บุตรหลานสมบูรณ์
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ ใบดกหนาเข้มงดงาม สตรีนี้เข้าเรือนมา สัมพันธ์กระชับมั่นคง

    ถูกแล้วค่ะ ‘เถาเยา’ เป็นบทกวีที่ไม่เพียงชื่นชมความงามของสตรี แต่เป็นการชื่นชมความงามของเจ้าสาวที่มิเพียงงามโดดเด่น แต่ยังครบถ้วนด้วยจรรยาของสตรี เมื่อเข้าเรือนมาก็จะนำพาความสุขมาสู่สามี ในฉากละครนี้จึงเหมาะกับอู่ไฉเหรินที่กำลังจะออกเรือน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงคือเข้าวังไปเป็นสนม ไม่ใช่ออกเรือนธรรมดา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/321636860
    https://new.qq.com/rain/a/20210207A09M7U00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhounan/taoyao.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e2608d9927eb.aspx
    https://baike.baidu.com/item/诗经/168138
    https://baike.baidu.com/item/周南·桃夭/4982214

    #เถาเยา #บทกวีจีน #ดอกท้อ #โจวหนาน
    วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีกันอีกสักหน่อย ในละครเรื่อง <ตำนานรักช่างภูษา> มีฉากหนึ่งเล่าถึงการเตรียมชุดเข้าวังถวายตัวของอู่ไฉเหริน โดยมีการปักบทกวีและลวดลายดอกท้อไว้บนชุด อู่ไฉเหรินกล่าวไว้ในฉากนี้ว่า “ดอกท้อผลิบานพันหมื่นดอก สีสันแดงสดดั่งเปลวเพลิง สตรีจะออกเรือน สุขศรีอยู่ฝ่ายบุรุษ... นำบทกลอนมาลงปักทำเป็นชุดมงคลแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร... กลอนเถาเยาบทนี้ตรงประเด็นนัก” - ถอดบทสนทนาจากละครนี้ตามซับไทย บทกวี ‘เถาเยา’ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) ‘เถาเยา’ มีทั้งหมดสามท่อน แต่ละท่อนมีสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่นิยมในวงการศึกษาจวบจนปัจจุบันด้วยความไพเราะของคำที่ใช้ (ดูกวีบทเต็มได้ตามรูป) วรรคที่เป็นวรรคยอดนิยมจากกวีบทนี้ก็คือสองวรรคแรก ‘เถาจือเยาเยา จั๋วจั๋วฉีหัว’ ซึ่งเป็นสองประโยคแรกที่ยกมาจากในละครข้างต้น Storyฯ แปลและเรียบเรียงใหม่ว่า ‘ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา’ เป็นวลีที่ใช้บรรยายถึงความงามของสตรีที่ดูโดดเด่นจนมิอาจสายตาไปได้เลย แล้วบทกวี ‘เถาเยา’ นี้ ‘ตรงประเด็น’ กับเรื่องราวในละครตอนนี้อย่างไร? Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงใหม่ดังนี้ เพื่อนเพจอ่านจบคงเข้าใจ ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา สตรีนี้เข้าเรือนมา สุขคู่ชูชื่นเคียงใจ ดอกท้อชูช่อดารดาษ กิ่งก้านเติบใหญ่มั่นคง สตรีนี้เข้าเรือนมา บุตรหลานสมบูรณ์ ดอกท้อชูช่อดารดาษ ใบดกหนาเข้มงดงาม สตรีนี้เข้าเรือนมา สัมพันธ์กระชับมั่นคง ถูกแล้วค่ะ ‘เถาเยา’ เป็นบทกวีที่ไม่เพียงชื่นชมความงามของสตรี แต่เป็นการชื่นชมความงามของเจ้าสาวที่มิเพียงงามโดดเด่น แต่ยังครบถ้วนด้วยจรรยาของสตรี เมื่อเข้าเรือนมาก็จะนำพาความสุขมาสู่สามี ในฉากละครนี้จึงเหมาะกับอู่ไฉเหรินที่กำลังจะออกเรือน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงคือเข้าวังไปเป็นสนม ไม่ใช่ออกเรือนธรรมดา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/321636860 https://new.qq.com/rain/a/20210207A09M7U00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhounan/taoyao.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e2608d9927eb.aspx https://baike.baidu.com/item/诗经/168138 https://baike.baidu.com/item/周南·桃夭/4982214 #เถาเยา #บทกวีจีน #ดอกท้อ #โจวหนาน
    1 Comments 0 Shares 428 Views 0 Reviews
  • วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ>

    เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ)

    ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน

    อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ

    การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน

    วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.goldposter.com/zh/13304223/
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/582555969_121477205
    https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc
    https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697

    #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    วันนี้ Storyฯ มาแบบสั้นๆ เพื่อคุยเรื่อง ‘เอ๊ะ’ จากการดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> เพื่อนเพจแฟนหนังหรือละครจีนโบราณน่าจะคุ้นตากับจอกสุราทรงเล็กสูงหรือมีสามขา หรือชามใส่เหล้าเวลากินกันแบบลุยๆ แต่หากใครได้ดูละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> และสังเกตเห็นอาจได้ ‘เอ๊ะ’ เหมือน Storyฯ เพราะชามใส่เหล้าที่ใช้ในละครเป็นชามแบนรูปทรงรี ก้นแบน มีหูจับทรงครึ่งวงกลมสองข้าง (ดูรูปประกอบ) ชามสุราดังกล่าวเรียกว่า ‘อวี่ซาง’ (羽觞 แปลตรงตัวว่า ขนปีกนก+ชาม) ซึ่ง ‘ซาง’ นี้คืออักษรเดียวกับที่ใช้ในกิจกรรมปล่อยชามสุราล่องไปตามสายน้ำและแต่งบทกวีหรือ ‘ชวีสุ่ยหลิวซาง’ ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน อวี่ซางนี้ บางครั้งก็เรียกว่า ‘เอ่อร์เปย’ (แปลตรงตัวว่า หู+ถ้วย) เป็นภาชนะใส่สุราที่มีมาแต่ยุคสมัยชุนชิว (770-256 ก่อนคริสตกาล) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น เนื่องจากสมัยฮั่นเป็นยุคที่การหมักสุราเฟื่องฟู พัฒนาจากการหมักสุราเพื่อใช้ในพิธีกรรมมาเป็นการหมักสุราเพื่อดื่มจรรโลงใจ การดื่มสุราคารวะด้วยอวี่ซางนี้ต้องใช้สองมือจับสองหูเพื่อให้เกียรติอีกฝ่าย คนที่จะใช้มือเดียวมักเป็นคนที่มีศักดิ์สูงสุดในงาน หรือหากเป็นการดื่มแบบเพื่อนฝูงไม่เป็นทางการก็อาจใช้มือเดียวได้เหมือนกัน วัสดุที่นิยมใช้ทำอวี่ซางมีทองคำ ทองเหลือง หยก เงิน หรือกระเบื้อง เคลือบเงาด้วยแล็กเกอร์ที่ทำจากเปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ต่อมาการใช้อวี่ซางค่อยๆ หายไปในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้เพราะรูปทรงของถ้วยสุราที่นิยมนั้นเปลี่ยนไปเป็นชามทรงกลมไร้หูจับ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.goldposter.com/zh/13304223/ https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://zh.wikipedia.org/wiki/羽觞#/media/File:Eastern_Han_lacquerware_cup.JPG Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/582555969_121477205 https://new.qq.com/omn/20190730/20190730A073RA00.html?pc https://baike.baidu.com/item/%E8%A7%9E/2708697 #ชามสุราจีนโบราณ #อวี่ซาง #จอกเหล้าโบราณ #ดาราจักรรักลำนำใจ
    Like
    1
    1 Comments 0 Shares 362 Views 0 Reviews
  • วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก

    ความมีอยู่ว่า...
    หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป”
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย

    ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว)

    Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้

    ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น

    เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก

    บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html
    https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html
    https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx
    https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468
    http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html

    #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้



    วันนี้เรามาคุยกันถึงบทประพันธ์โบราณบทหนึ่งชื่อว่า ‘ฉางเหมินฟู่’ (长门赋) ซึ่งในละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> กล่าวถึงบ่อยครั้ง โดยหนึ่งในตัวละครเอกหยวนเซิ่นมักกล่าวอ้างอิงเพื่อเป็นคติสอนใจเกี่ยวกับความรักให้กับนางเอก ความมีอยู่ว่า... หยวนเซิ่นกล่าวอธิบาย “เรื่องเก็บหญิงงามในห้องทองคำกับบทกวีฉางเหมิน...วันนี้ห้องทองคำยังคงอยู่ ทว่าตำหนักฉางเหมินมิมีคนรักแล้ว เห็นได้ว่าสามีภรรยาในโลกหล้า เมื่อคราแรกพบต่างมีใจตรงกัน ยากจะพรากจากจึงมีบุพเพสันนิวาสนี้ แต่สุดท้ายเป็นเพียงรักที่จางหายรักสายเกินไป” - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> ตามซับไทย ‘ฉางเหมินฟู่’ เป็นบทประพันธ์ของซือหม่าเซียงหรู (779 – 117 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลปินเอกในยุคสมัยองค์ฮั่นอู่ตี้แห่งราชวงศ์ฮั่น ที่เรียกเขาว่า ‘ศิลปิน’ เพราะเชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรและการดนตรี เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยได้ยินชื่อของเขาจากเรื่องราวเกี่ยวกับเพลงพิณ “หงส์ตามหาคู่” และบทประพันธ์ ‘ซ่างหลินฟู่’ (Storyฯ เคยกล่าวถึงในหลายบทความแล้ว) Storyฯ ไม่อยากใช้คำว่า ‘บทกวี’ เพราะ ‘ฟู่’ เป็นวรรณกรรมซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนโคลงกลอน ลักษณะเหมือนการเขียนเรื่องสั้น หากแต่ภาษาสวยงามผสมผสานคำคล้องจองลงไปเป็นช่วงๆ และซือหม่าเซียงหรูนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญของบทประพันธ์ในรูปแบบ “ฟู่” นี้ ‘ฉางเหมิน’ ในชื่อของบทประพันธ์นี้เป็นชื่อพระตำหนักของฮองเฮาเฉินอาเจียวในองค์ฮั่นอู่ตี้ (156-87 ปีก่อนคริสตกาล) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฉางอัน โดยมีที่มาที่ไปสรุปเป็นเรื่องราวของฮองเฮาเฉินที่ไม่เป็นที่ทรงโปรดของฮั่นอู่ตี้ แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ทรงจำใจอภิเษกด้วย เมื่ออำนาจทางการเมืองของพระนางอ่อนลงและทรงใช้เล่ห์กลให้ร้ายพระชายาและสนมรายอื่น ฮองเฮาเฉินก็ถูกกักบริเวณไว้ภายในพระตำหนักฉางเหมิน จึงทรงหาทางจ้างซือหม่าเซียงหรูแต่งบทประพันธ์นี้ขึ้น เนื้อหาของบทประพันธ์เป็นเรื่องราวความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของฮองเฮาเฉินในพระตำหนักที่แสนจะเดียวดาย ทรงคอยชะเง้อหาแต่กลับเห็นพระสวามีมีความสุขกับสตรีอื่นทว่าไม่เคยย่างกรายมาเยี่ยมเยียนพระนาง ในยามที่ฝนตกฟ้าร้องก็ไร้ซึ่งผู้ใดเคียงข้าง ในพระตำหนักที่หรูหรากลับไร้ซึ่งเงาของคนรัก บทประพันธ์นี้ถูกองค์ฮองเฮาเฉินให้คนขับขานทั้งวัน แต่องค์ฮั่นอู่ตี้ก็ยังไม่เคยทรงเหลียวแลพระนางอีกเลย ด้วยเนื้อหาของบทประพันธ์ทำให้มันถูกเรียกขานว่าเป็นจดหมายรักฉบับแรกในประวัติศาสตร์จีน และในเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> นี้ มันถูกใช้เป็นตัวอย่างของความรักที่ไม่ได้รับรักตอบแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.cyol.com/gb/articles/2022-08/04/content_449M3uWlp.html https://k.sina.cn/article_7069952700_1a566eabc00100yzo0.html https://baike.sogou.com/PicBooklet.v?imageGroupId=4666607&relateImageGroupIds=4666607&lemmaId=225502&category=#4666607_0 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5452fb360959.aspx https://baike.baidu.com/item/长门赋/3075468 http://m.qulishi.com/news/201708/242962.html #ดาราจักรรักลำนำใจ #ฉางเหมินฟู่ #ซือหม่าเซียงหรู #เฉินอาเจียว #ฮ่านอู่ตี้ 
    1 Comments 0 Shares 521 Views 0 Reviews
  • ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ

    ความมีอยู่ว่า
    ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ...
    - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย)

    กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่)

    บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน

    ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ

    แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี

    เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน

    ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย

    บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html
    https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551
    https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html
    https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545
    https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00
    https://www.sohu.com/a/249005081_100234890

    #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    ช่วงนี้ Storyฯ กลับไปดูซีรีส์เก่าๆ ค่ะ มาลงเอยที่ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> และสะดุดกับเนื้อเรื่องตอนที่กล่าวถึงว่า พระรองพยายามจีบนางเอกด้วยการล่าสัตว์เอาสัตว์ป่ามาให้ ทำเอาพระเอกหึงจนร่ายยาวออกมาเป็นบทกวี แต่นางเอกฟังไม่เข้าใจ วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีนี้กันค่ะ ความมีอยู่ว่า ... “กวางสิ้นใจในป่าทึบ หญ้าคาขาวห่อหุ้มตัวมันไว้ หญิงสาวความรักผลิบาน ชายหนุ่มไล่ตามพูดหยอกเย้า ป่ามีต้นอ่อนถือกำเนิด พณาร้างมีกวางหนึ่งสิ้นใจ ห่อคาขาวนี้คิดมอบให้ผู้ใด มอบให้หญิงงามดุจยอดหยก อย่าได้รีบร้อนถอดนักซิ อย่าแตะต้องผ้าคาดเอวข้า อย่าทำสุนัขเห่าหอนมา ชาตินี้ข้าติดตามท่านแน่แล้ว” ... กล่าวคือบุรุษในกลอนนี้นำผ้าขาวห่อสัตว์ที่ล่ามาได้หลอกล่อหญิงสาวที่กำลังตกหลุมรักชายผู้นั้น ... - ถอดบทสนทนาจาก <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> (ตามซับไทย) กลอนบทนี้มีชื่อว่า ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ (野有死麕 แปลได้ตามซับไทยของละครว่า ‘กวางสิ้นใจในป่าทึบ’) (หมายเหตุ ‘จวิน’ เป็นกวางขนาดเล็กไม่มีเขา ไม่แน่ใจว่าใช่กระจงหรือไม่) บทกวีนี้มีทั้งหมดสามท่อน ท่อนละสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) จัดอยู่ในหมวด ‘กั๋วเฟิง’ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทเพลงพื้นบ้าน ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ เป็นบทกวีที่สะท้อนถึงการเกี้ยวพาราสีของชายหญิง โดยเฉพาะท่อนหลังดูจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่ดูจะถึงเนื้อถึงตัว เป็นเนื้อหาที่ดูจะสะท้อนถึงอิสระของสตรีในแบบที่เราไม่ค่อยเห็นในกลอนจีนโบราณ แต่จริงๆ แล้วมันสะท้อนถึงสถานะสตรีในยุคสมัยนั้นได้ดี เราอาจคุ้นเคยว่าคติสอนหญิงของจีนโบราณคือบุรุษเป็นใหญ่ แต่จริงๆ แล้วก่อนยุคสมัยชุนชิวสถานะทางสังคมของสตรีนั้นสูงไม่เบา ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี 1600-1050 ก่อนคริสตกาล) จนถึงราชวงศ์ฮั่น ปรากฏสตรีมีอำนาจทางการทหาร มีที่ได้รับการอวยยศเป็นโหวหลายสิบคน และสตรีสามารถถือครองทรัพย์สินได้ ในยุคสมัยนั้นสตรีมีอิสระด้านการครองเรือนและการออกมาปรากฏกายในสาธารณะ สามารถเลือกคู่ครองเองได้ ขอหย่าได้ หย่าร้างแล้วก็สามารถแต่งงานใหม่ได้โดยไม่ถูกมองอย่างหยามเหยียด และมีตัวอย่างฮองเฮาหลายคนในประวัติศาสตร์ที่เคยมีสามีอื่นมาก่อน ต่อมาจึงเกิดแนวคิดแยกบทบาทให้บุรุษเน้นเรื่องนอกบ้าน สตรีเน้นเรื่องในบ้าน จนกลายเป็นแนวคิดเรื่องบุรุษเป็นใหญ่ที่แพร่หลายในสมัยฮั่นตะวันออก (ประมาณปี 25 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 220) ในช่วงเวลานั้นมีนักประพันธ์และนักวิชาการหลายคนมีผลงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่โด่งดังมากและเป็นมรดกตกทอดไปอีกหลายพันปีคือวรรณกรรมเรื่อง ‘เตือนหญิง’ (女诫 หรือ ‘หนี่ว์เจี้ย’) ซึ่งเป็นผลงานของนักวิชาการสตรีนาม ‘ปันเจา’ ที่กลายเป็นหนึ่งในหนังสือที่สตรีต้องเล่าเรียนไปอีกหลายยุคหลายสมัย บทกวี ‘เหยียโหย่วสื่อจวิน’ ในบริบทของละครเป็นการเปรียบเปรยถึงการที่ผู้ชายพยายามจีบหญิง แต่พอเข้าใจถึงยุคสมัยที่เกี่ยวข้องก็ทำให้ Storyฯ อดคิดเปรียบเทียบไม่ได้ว่า วัฒนธรรมจีนโบราณแต่บรรพกาลก็คล้ายๆ วัฒนธรรมโบราณอื่นๆ ที่สตรีเคยเป็นใหญ่และมีบทบาททางสังคมไม่น้อยไปกว่าชาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://m.qulishi.com/article/202101/478420.html https://view.inews.qq.com/a/20200704A03V3J00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/召南·野有死麕/19680551 https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhaonan/yeyousijun.html https://baike.baidu.com/item/女诫/3423545 https://new.qq.com/rain/a/20200617A0R16W00 https://www.sohu.com/a/249005081_100234890 #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ซือจิง #คัมภีร์บทกวี #หนี่ว์เจี้ย #วรรณกรรมจีนเตือนหญิง #กวางสิ้นใจในป่าทึบ
    《我就是这般女子》在哪儿可以看?一周更新几集?-趣历史网
    关晓彤和侯明昊主演的《我就是这般女子》追剧日历出炉,自1月18日正式开播到2月15日大结局,见证班婳
    1 Comments 0 Shares 585 Views 0 Reviews
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 Comments 0 Shares 528 Views 0 Reviews
  • Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ

    วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้
    ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน”
    สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น”
    - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์

    บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ

    แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร?

    ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น

    Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา)

    หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ

    อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29
    https://www.sohu.com/a/155060661_701638
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html
    https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645
    https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579
    http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf

    #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    Storyฯ ย้อนไปอ่านนิยายเก่าๆ และกลับมาอ่านนิยายต้นฉบับที่ถูกนำมาสร้างเป็นละครเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> อดไม่ได้ที่จะพูดถึงสาระที่อัดแน่นในนิยายเรื่องนี้อย่างมากมาย โดยเฉพาะบทกวีโบราณ วันนี้เราจะคุยถึงฉากที่นางเอก (ภาคปัจจุบัน) ปรับเสียงของสายพิณของพิณโบราณ (กู่ฉิน) ให้เด็กข้างบ้าน พระเอกได้ยินฝีมือบรรเลงแล้วก็รู้สึกชื่นชมในฝีมือของนางเอก ในนิยายบรรยายไว้ดังนี้ ... โจวเซิงเฉินกล่าว “เมื่อครู่ที่เธอบรรเลงพิณ ทำให้ผมนึกถึงกลอนบทหนึ่ง... แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” สืออี๋หัวเราะแล้วเอ่ย “คุณชายใหญ่คะ วลีนั้นมีไว้ชมพิณคงโหวนะนั่น” - จาก <ทุกชาติภพกระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) วันนี้ไม่ได้ตั้งใจจะมาคุยเรื่องบทกวี นอกจากจะเกริ่นแค่สั้นๆ ว่า บทกวีนี้มีชื่อว่า ‘หลี่ผิงคงโหวอิ่ง’ (李凭箜篌引 แปลได้ประมาณว่า หลี่ผิงบรรเลงพิณนำพา) มีทั้งหมด 14 วรรค บรรยายถึงความงดงามของทิวทัศน์และเสียงพิณของนักดนตรีเลื่องชื่อในยุคเดียวกันคือหลี่ผิง โดยวลีที่โด่งดังก็คือ “แสงและไอเย็นหลอมละลายเข้ากันหน้าสิบสองประตู ยี่สิบสามเส้นไหมสะท้านถึงในพระราชฐาน” ที่กล่าวถึงข้างบน มีความหมายว่าเสียงพิณนั้นไพเราะจนสามารถละลายความหนาวของสารถฤดู และได้ยินไปถึงชั้นในของเมืองกระทั่งไปถึงจนแดนสวรรค์ บทกวีนี้เป็นหนึ่งในผลงานสร้างชื่อของหลี่เฮ่อ (李贺 ค.ศ. 790-816) จะเรียกว่าหลี่เฮ่อเป็นอัจฉริยะก็ว่าได้ เพราะเขาเริ่มแต่งโคลงกลอนตั้งแต่อายุเพียงเจ็ดขวบ เพื่อนเพจอาจเคยได้ยินชื่อ ‘หลี่ไป๋’ กวีเอกผู้โด่งดังจากยุคถัง แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า หลี่เฮ่อผู้นี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสี่ยอดนักกวีแห่งสมัยถังเช่นเดียวกับหลี่ไป๋? สี่ยอดกวีที่ว่านี้คือ: เซียนกวีหลี่ไป๋ ราชันกวีตู้ฝู่ พระเจ้ากวีหวางเหว่ย และภูติกวีหลี่เฮ่อ แต่วันนี้ที่ Storyฯ ตั้งใจมาคุยถึงเกร็ดที่แฝงอยู่ในวลีนี้ คือ 1) ทำไมประตูสิบสองบาน? และ 2) เส้นไหมยี่สิบสามเส้นคืออะไร? ประเด็นแรกคือเรื่อง ‘สิบสองประตู’ จริงๆ แล้วมันเป็นการกล่าวถึงเมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยถัง มีประตูเมืองสิบสองประตู (ดูภาพประกอบ2 ซ้าย ที่ Storyฯ วงสีแดงไว้ ไม่นับประตูพระราชวัง) คือทิศละสามประตู แต่ละประตูสร้างเป็นอาคารชั้นในและนอกรวมสามชั้น Storyฯ ค้นพบว่าแนวคิดการมีประตูเมืองสิบสองประตูนี้มีมาแต่โบราณ ปรากฏการบันทึกไว้ในบันทึกพิธีการสมัยราชวงศ์โจวหรือ ‘โจวหลี่’ ในบรรพที่ว่าด้วยการค้าและงานวิศวกรรมหรือที่เรียกว่า ‘เข่ากงจี้’ (考工记) โดยบันทึกดังกล่าวมีการบรรยายถึงลักษณะที่ถูกต้องของเมืองหลวงไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนและทิศทาง โดยเน้นเลขเก้าเป็นเลขมงคล เช่น แต่ละด้านของเมืองให้หันตรงทิศและมีความยาวเก้าหลี่ มีประตูเมืองสามประตูในแต่ละทิศ แต่ละประตูมีถนนสามสายตรงเข้าสู่บริเวณพระราชวังตรงใจกลางเมือง นับได้เป็นเหนือ-ใต้เก้าเส้น และตะวันออก-ตะวันตกอีกเก้าเส้น อาคารต่างๆ ให้เริ่มจากด้านในเป็นพระราชวังแล้วค่อยขยายออกมาเป็นวง (ดูภาพประกอบ2 ขวา) หลักการสิบสองประตูนี้ถูกใช้กับนครฉางอัน แต่รายละเอียดแปรเปลี่ยนไปตามแนวทางการวางผังเมืองที่พัฒนาไปให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรและลักษณะการใช้งาน และหลักการนี้ไม่ปรากฏในเมืองหลวงยุคต่อๆ มา แม้ว่าจะยังคงหลักการให้มีประตูเมืองครบสี่ทิศ อาทิตย์หน้าเรามาต่อกันด้วยเรื่องของ ‘เส้นไหมยี่สิบสามเส้น’ กันค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zh.wikipedia.org/wiki/一生一世_%282021年电视剧%29 https://www.sohu.com/a/155060661_701638 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushimi.org/shangxi/7477.html https://baike.baidu.com/item/李凭箜篌引/2880645 https://baike.baidu.com/item/周礼·考工记·匠人/18164579 http://www.kaogu.cn/uploads/soft/2017/20171027xulongguo.pdf #กระดูกงดงาม #หลี่เฮ่อ #นครโบราณฉางอัน #ประตูเมืองฉางอัน #กวีเอกยุคถัง
    2 Comments 0 Shares 576 Views 0 Reviews
  • ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู **

    สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย

    สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน

    ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง

    ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้?

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง)

    พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก

    ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา

    จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย

    แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้

    นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย

    วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg
    https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html
    https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799
    https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe
    https://baike.sogou.com/v6849891.htm
    https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html
    https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html

    #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    ** โฉมงามอวี๋ บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู ** สวัสดีค่ะ ก่อนอื่น Storyฯ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาและหวังเพื่อนเพจทั้งหลายแคล้วคลาดปลอดภัย สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงสีแดงจากเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> มีการกล่าวถึงบทกวีที่มีชื่อว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人) หรือ ‘โฉมงามอวี๋’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมากแล้วแต่บทความถูกลบไป (อาจด้วยมีลิ้งค์ที่ต้องห้าม) วันนี้เลยแก้ไขแล้วเอามาลงใหม่ให้อ่านกัน ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีเลื่องชื่อของจีน และถูกกล่าวถึงในละครเรื่อง <บุปผาวสันต์ จันทราสารทฤดู> โดยชื่อของนางเอกพระเอก ‘ชุนฮวา’ และ ‘ชิวเยวี่ย’ มาจากวลีหนึ่งในบทกวีนี้ ซึ่งก็คือ ‘ชุนฮวาชิวเยวี่ยเหอสือเหลี่ยว หว่างซื่อจือตัวส่าว?’ (春花秋月何时了,往事知多少?) แปลตรงตัวว่า ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดูสิ้นสุดไปเมื่อใด มีเรื่องราวมากน้อยเท่าไรให้รำลึกถึง?’ โดยในซีรีส์เรื่องนี้มีการกล่าวถึงวรรคแรกของวลีนี้อยู่บ่อยครั้ง ฟังดูเหงาๆ โรแมนติก เป็นวลีฮอตฮิตยามชมจันทร์ ละครเรื่องนี้ก็เป็นแนวรักตลก จะมีเพื่อนเพจกี่ท่านที่ทราบถึงความเจ็บปวดที่แฝงไว้อยู่ในบทกวีนี้? บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทประพันธ์ขององค์หลี่อวี้ (ค.ศ. 937-978) ฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์ถังปลายในช่วงยุคสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น (คือคนเดียวกับที่สั่งให้จิตรกรไปวาดภาพงานเลี้ยงราตรีของหานซีจ่ายที่ Storyฯ เคยเล่าถึง) พระองค์ทรงมีชื่อเสียงในฐานะกวีที่มีผลงานน่ายกย่องหลายชิ้น แต่ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่อ่อนแอที่สุดของจีน ภายหลังจากอาณาจักรถังปลายล่มสลาย องค์หลี่อวี้ถูกจับกุมเป็นเชลยศึกและกักบริเวณอยู่ที่เมืองตงจิง (เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง คือเมืองไคเฟิงปัจจุบัน) โดยองค์เจ้าควงอิ้งปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง หลี่อวี้ได้รับการอวยบรรดาศักดิ์ให้ใหม่เป็นระดับโหว นามว่า ‘เหวยมิ่งโหว’ (ก็คือถูกถอดยศกษัตริย์เนื่องจากชาติล่มสลายไปแล้ว) เขาถูกกักบริเวณอยู่ด้วยกันกับมเหสีองค์ที่สองผู้ซึ่งมาจากสกุลโจวเช่นเดียวกับพระมเหสีองค์แรก นามจริงไม่ปรากฏ เรียกกันในประวัติศาสตร์ว่า ‘เสี่ยวโจวโฮ่ว’ (มเหสีสกุลโจวเล็ก) ว่ากันว่าเขารักนางมาก ต่อมาเข้าสู่รัชสมัยขององค์เจ้ากวงอี้ (ฮ่องเต้องค์ที่สองของราชวงศ์ซ่ง) หลี่อวี้ได้ประพันธ์บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้ขึ้น ความหมายของบทกวีแปลได้ประมาณว่า: วันเวลาที่สวยงามสิ้นสุดไปแล้วอย่างรวดเร็ว เมื่อคืนนี้ลมบูรพาโชยมาอีกครา ภายใต้ดวงจันทร์ที่ทอแสงสุกสกาว จะทำอย่างไรให้ลืมความทุกข์ของการที่บ้านเมืองล่มสลาย? สถานที่ที่งดงามคงยังอยู่ แต่คนที่อยู่ในห้วงคะนึงหาคงล้วนแก่ชรากันไปตามเวลาแล้ว หากจะถามว่าใจข้าทุกข์เพียงใด... คงเปรียบได้ดั่งคลื่นนทีที่ไหล่รินสู่ทิศบูรพา จะเห็นได้ว่า ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ เป็นบทกวีที่บรรยายถึงความทุกข์ขมขื่นในยามที่มองจันทร์ แต่ถูกองค์เจ้ากวงอี้ตีความหมายว่าหลี่อวี้คิดไม่ซื่อกับราชสำนักซ่ง หวังจะพลิกฟื้นราชวงศ์เดิมขึ้นใหม่ จึงพระราชทานยาพิษให้หลี่อวี้ฆ่าตัวตาย แต่มีเรื่องเล่าขานกันว่านี่เป็นเพียงข้ออ้าง ว่ากันว่าองค์เจ้ากวงอี้ทรงรอจังหวะหาข้ออ้างสังหารหลี่อวี้อยู่แล้วเพราะทรงหลงไหลในชายาเสี่ยวโจวของหลี่อวี้ผู้ซึ่งงามพิลาส ถึงกับทรงล่อลวงนางเข้าวังแล้วขืนใจและหน่วงเหนี่ยวกักขังไว้ในวัง จากนั้นมีการบังคับขืนใจนางอีกหลายครั้งครา มีการเล่าขานว่าทรงถึงขนาดให้จิตรกรมาวาดภาพขณะกำลังย่ำยีนางเพื่อส่งให้หลี่อวี้ดูเป็นการขยี้ใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจของบทกวีนี้ขึ้น... ข้อเท็จจริงใช่อย่างนี้หรือไม่? ไม่มีใครยืนยันได้ มีการกล่าวไว้เพียงว่าบทกวีอวี๋เหม่ยเหรินนี้ทำให้หลี่อวี้ถูกพระราชทานยาพิษตาย แต่ก็มีเอกสารเรื่องเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในสมัยหมิงที่กล่าวถึงภาพวาดที่องค์เจ้ากวงอี้ได้ทรงให้คนวาดขึ้นนี้ นอกจากชื่อบทกวีแล้ว ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ ยังเป็นชื่อเรียกดอกป๊อปปี้ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายถึงความทุกข์และการตายจากพลัดพรากมาแต่จีนโบราณอีกด้วย วันนี้จบกันแบบสั้นๆ เศร้าๆ อย่างนี้แล (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://image.tmdb.org/t/p/original/enj2s0CNvp2oaf84j87H8Vsdbr0.jpg https://bowuguan.bucm.edu.cn/kpzl/zyyzs/57214.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.lllst.com/guoxuejingdian/scmj/271349.html https://baike.baidu.com/item/虞美人·春花秋月何时了/10926799 https://www.jianshu.com/p/8ff00c387fbe https://baike.sogou.com/v6849891.htm https://www.guwenxuexi.com/classical/24854.html https://k.sina.cn/article_1659337544_62e77b48001003bvc.html #บุปผาวสันต์ #จันทราสารทฤดู #ชุนฮวาชิวเยวี่ย #อวี๋เหม่ยเหริน #หลี่อวี
    0 Comments 0 Shares 668 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ
    จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”...
    - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’?

    ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯)

    ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน

    แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว

    ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง

    หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ

    เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก

    วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3
    https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000
    http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html
    https://www.sohu.com/a/410514175_189939

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    วันนี้มาคุยกันถึงวลีจีนที่พบเห็นได้บ่อย ความมีอยู่ว่า ... “ท่านพ่อ แต่เรื่องนี้หากลู่อี้รู้เข้า พวกเราจะมีปัญหาหรือไม่?” หยางเยวี่ยเอ่ยอย่างไม่สบายใจ จินเซี่ยพยักหน้าหงึกหงัก “นั่นสิ เจ้าตัวร้ายผู้นั้นมิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน ยามแกล้งคนนั้นอำมหิตนัก”... - จากเรื่อง <เบื้องล่างของเสื้อแพร> ผู้แต่ง หลานเส้อซือ (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่องยอดองค์รักษ์เสื้อแพรดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) อะไรคือ ‘มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’? ก่อนอื่นก็ต้องมาทำความเข้าใจกับ ‘ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ หรือ ‘เสิ่งโหยวเติง’ (省油灯) ในซีรีย์จีนเรามักเห็นเขาจุดเทียนเพื่อแสงสว่างกัน หรือในบางเรื่องก็จะเห็นเป็นตะเกียงน้ำมันแบบที่ใช้จานหรือชามตื้นเป็นภาชนะ ว่ากันว่า เทียนไขแรกเริ่มปรากฏในประวัติศาสตร์จีนในสมัยราชวงศ์ฉิน (ปี 221-206 ก่อนคริสต์ศักราช) เมื่อมีการนำน้ำมันจากไขสัตว์ไปเทใส่ในหลอดหญ้าที่มีเชือกทิ้งปลายออกมาเป็นไส้เทียน แต่ไม่ว่าจะเป็นเทียนหรือตะเกียงน้ำมันล้วนจัดเป็นของแพง เพราะต้องใช้ไขมันสกัดมาทำเทียนไขหรือเผาเป็นน้ำมัน จึงเป็นของมีราคาสูงและหายาก ไม่สามารถใช้พร่ำเพรื่อ เดิมมีใช้กันเฉพาะในวังและจวนขุนนางระดับสูง จัดเป็นของมีค่าหนึ่งรายการที่นิยมพระราชทานเป็นรางวัลให้กับขุนนาง ส่วนชาวบ้านธรรมดาก็ใช้คบเพลิงที่ทำขึ้นเองซึ่งไม่ต้องใช้น้ำมันมากเพราะใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง แต่จะมานั่งจุดคบกันทั้งคืนในห้องก็กระไรอยู่ เราจึงมักได้ยินถึงบทกวีหรือเห็นในละครที่บัณฑิตยากจนต้องนั่งอ่านหนังสือใต้แสงจันทร์ ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งจึงเริ่มใช้เทียนไขกันอย่างแพร่หลายเพราะมีการสกัดไขมันพืชขึ้นซึ่งขึ้นรูปและอยู่ตัวได้ดีกว่าไขสัตว์ แต่ก็ยังจัดเป็นของฟุ่มเฟือย และแน่นอนว่าเทียนนั้นมีหลายเกรด มีบันทึกว่าในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ค.ศ. 1067-1085) นั้น เทียนไขเกรดสูงหนึ่งเล่มมีราคาสูงเป็นสิบเท่าของเทียนเกรดต่ำและคิดเป็นรายได้ประมาณสามวันของชาวบ้านธรรมดาเลยทีเดียว ในเมื่อไขมันสำหรับทำเทียนไขหรือตะเกียงน้ำมันล้วนเป็นของหายาก จึงเกิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นที่ประหยัดทรัพย์กว่าซึ่งก็คือตะเกียงประหยัดน้ำมัน บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยถังแต่ใช้แพร่หลายในสมัยซ่ง บ้างก็ว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ในสมัยซ่ง หลักการของเทคโนโลยีตะเกียงประหยัดน้ำมันนั้นง่ายจนน่าทึ่งว่าคนโบราณช่างฉลาดคิด คือเป็นการใส่น้ำไว้ในตะเกียงเพื่อลดความร้อนและรักษาอุณหภูมิไม่ให้ไขมันนั้นถูกเผาผลาญเร็วเกินไป และต้องใช้เป็นตะเกียงกระเบื้อง จะทรงสูงหรือเตี้ยก็ได้ แต่ไม่ใช้โลหะ ว่ากันว่าสามารถประหยัดน้ำมันได้ถึงครึ่งหนึ่งทีเดียว หน้าตาเป็นอย่างไรดูได้จากรูปประกอบ เข้าใจแล้วว่าตะเกียงประหยัดน้ำมันเป็นอย่างไร ก็คงเข้าใจความหมายของวลี ‘คนที่มิใช่ตะเกียงประหยัดน้ำมัน’ ได้ไม่ยาก วลีนี้ใช้เปรียบเปรยถึงคนที่ฉลาดหรือเก่งมากจนคนอื่น ‘เอาไม่อยู่’ หรือจัดการได้ยาก กว่าจะจัดการได้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานมาก เป็นคนที่ไม่เคยเสียเปรียบใครเพราะฉลาดทันคน ฟังดูคล้ายเป็นการเปรียบเปรยเชิงลบ แต่จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันแฝงไว้ด้วยอาการยอมรับหรือเลื่อมใสอย่างเสียไม่ได้จากผู้ที่พูด (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mercury0314.pixnet.net/blog/post/469082246-錦衣之下》任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=936cd571088453d061412ab3 https://www.163.com/dy/article/F2QG74VJ05238DGE.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.baike.com/wikiid/4698842907576744062?view_id=3qk0zj0se7c000 http://www.qulishi.com/article/201906/344431.html https://www.sohu.com/a/410514175_189939 #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ตะเกียงน้ำมัน #ตะเกียงประหยัดน้ำมัน #เสิ่งโหยวเติง #วลีจีน
    MERCURY0314.PIXNET.NET
    《錦衣之下》分集劇情+心得分享(第1-55集大結局劇情)任嘉倫、譚松韻、韓棟、葉青、姚奕辰、路宏主演,劇情角色演員介紹,根據藍色獅的同名小說改編,將「懸疑推理」與「古裝言情」相結合,一下夫婦劇中高甜互動,十分引人期待!
    錦衣之下 任嘉倫譚松韻主演 2019年末古裝大劇接連播出, 真的是讓人追劇追到上頭了, 這不又有一波優質古裝劇要開播, 那就是任嘉倫、譚松韻主演的 《錦衣之下》。 其實這部早在2018年
    1 Comments 0 Shares 587 Views 0 Reviews
  • Anthropic ใช้เทคนิค Circuit Tracing เพื่อติดตามวิธีการประมวลผลของ Claude ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ เช่น การประมวลแนวคิดข้ามภาษา การคำนวณในรูปแบบสร้างสรรค์ และการแต่งบทกวีที่วางแผนล่วงหน้า งานนี้ช่วยให้เราเริ่มเข้าใจการทำงานของ LLMs มากขึ้น แต่ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมาก

    การเชื่อมโยงระหว่างภาษาต่าง ๆ:
    - การทดลองพบว่า Claude ใช้ "วงจรภาษากลาง" ในการตอบคำถาม เช่น คำถามว่า "อะไรคือตรงข้ามของคำว่าเล็ก" ในหลายภาษา Claude จะหาความหมายในแนวคิดเชิงนามธรรม (abstract concepts) ก่อนเลือกคำศัพท์ในภาษาเฉพาะ แสดงถึงความสามารถในการประมวลผลข้ามภาษา.

    การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ไม่ธรรมดา:
    - Claude ใช้วิธีคำนวณที่ดูแปลก เช่น การประมาณตัวเลขที่ใกล้เคียง ("40ish and 60ish") แล้วรวมข้อมูลอื่น ๆ เพื่อหาคำตอบ โดยไม่ใช้วิธีการแก้โจทย์แบบทั่วไปที่เรียนในโรงเรียน.

    การแต่งบทกวี:
    - Claude สามารถวางแผนล่วงหน้า เช่น การเลือกคำสุดท้ายสำหรับร้อยกรองก่อนสร้างประโยคที่เหลือ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการมองภาพรวมและความสามารถที่ไม่ใช่แค่การคาดเดาคำศัพท์ต่อ ๆ ไปตามลำดับ.

    ความหมายเชิงลึกของ Circuit Tracing:
    - การศึกษานี้เป็นแค่ "ยอดของภูเขาน้ำแข็ง" เพราะการแกะรอยกระบวนการของ AI ยังคงใช้เวลามาก และยังมีสิ่งที่ต้องค้นหาอีกมากมายในอนาคต

    https://www.techspot.com/news/107347-finally-beginning-understand-how-llms-work-no-they.html
    Anthropic ใช้เทคนิค Circuit Tracing เพื่อติดตามวิธีการประมวลผลของ Claude ซึ่งเผยให้เห็นถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ เช่น การประมวลแนวคิดข้ามภาษา การคำนวณในรูปแบบสร้างสรรค์ และการแต่งบทกวีที่วางแผนล่วงหน้า งานนี้ช่วยให้เราเริ่มเข้าใจการทำงานของ LLMs มากขึ้น แต่ยังมีเรื่องที่ต้องศึกษาอีกมาก การเชื่อมโยงระหว่างภาษาต่าง ๆ: - การทดลองพบว่า Claude ใช้ "วงจรภาษากลาง" ในการตอบคำถาม เช่น คำถามว่า "อะไรคือตรงข้ามของคำว่าเล็ก" ในหลายภาษา Claude จะหาความหมายในแนวคิดเชิงนามธรรม (abstract concepts) ก่อนเลือกคำศัพท์ในภาษาเฉพาะ แสดงถึงความสามารถในการประมวลผลข้ามภาษา. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ไม่ธรรมดา: - Claude ใช้วิธีคำนวณที่ดูแปลก เช่น การประมาณตัวเลขที่ใกล้เคียง ("40ish and 60ish") แล้วรวมข้อมูลอื่น ๆ เพื่อหาคำตอบ โดยไม่ใช้วิธีการแก้โจทย์แบบทั่วไปที่เรียนในโรงเรียน. การแต่งบทกวี: - Claude สามารถวางแผนล่วงหน้า เช่น การเลือกคำสุดท้ายสำหรับร้อยกรองก่อนสร้างประโยคที่เหลือ ซึ่งแสดงถึงศักยภาพในการมองภาพรวมและความสามารถที่ไม่ใช่แค่การคาดเดาคำศัพท์ต่อ ๆ ไปตามลำดับ. ความหมายเชิงลึกของ Circuit Tracing: - การศึกษานี้เป็นแค่ "ยอดของภูเขาน้ำแข็ง" เพราะการแกะรอยกระบวนการของ AI ยังคงใช้เวลามาก และยังมีสิ่งที่ต้องค้นหาอีกมากมายในอนาคต https://www.techspot.com/news/107347-finally-beginning-understand-how-llms-work-no-they.html
    WWW.TECHSPOT.COM
    We are finally beginning to understand how LLMs work: No, they don't simply predict word after word
    Circuit tracing is a relatively new technique that lets researchers track how an AI model builds its answers step by step – like following the wiring in...
    0 Comments 0 Shares 317 Views 0 Reviews
  • “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深)

    ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล)

    ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง!

    ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦)

    ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป

    จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้

    เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47
    https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深
    https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump

    #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深) ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล) ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง! ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦) ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47 https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深 https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    1 Comments 0 Shares 739 Views 0 Reviews
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 Comments 0 Shares 1139 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง

    ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

    ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท

    จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก?

    บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก)
    “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว
    แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย”
    ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม”

    และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง
    “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์
    เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย”
    - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง
    โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว

    ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้:
    หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค
    หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
    และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์
    เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้
    เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม

    เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml
    http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx
    https://www.sohu.com/a/239647354_661147

    #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก? บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก) “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย” ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม” และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์ เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย” - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้: หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์ เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้ เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx https://www.sohu.com/a/239647354_661147 #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????_Ӱ?????_????
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????
    1 Comments 0 Shares 912 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา

    ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป

    Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย

    งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน

    เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ

    เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร?

    เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา

    Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月
    https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html
    https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk
    http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/
    http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html
    https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html
    https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193
    #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติเพราะ Storyฯ จะไปเที่ยววีคเอนด์นี้ เลยรีบมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ จากละครจีนโบราณเรื่อง <ดุจฝันบันดาลใจ> ซึ่งมีเรื่องราวให้พูดคุยเกี่ยวกับวัฒนธรรมไม่น้อย มีตอนหนึ่งที่หนึ่งในตัวละครสมทบคือซูวุ่ยถูกกักบริเวณโดยแม่ของนาง และจะสามารถก้าวเท้าออกจากบ้านได้ก็ต่อเมื่อนางเรียนงานปัก ‘เปี้ยนซิ่ว’ ได้สำเร็จ สร้างความหนักใจให้แก่นางนัก เป็นการบอกเล่าให้พวกเราทราบได้ว่า งานปักชนิดนี้ยากนักหนา ‘เปี้ยนซิ่ว’ (汴绣)คืออะไร? มันคือสไตล์การปักที่มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ มีชื่อมาจากเมืองหลวงเปี้ยนจิง (หรือที่เราคุ้นหูว่าตงจิง) บ้างเรียกว่า ‘ซ่งซิ่ว’ (宋绣) บ้างจำแนกละเอียดกว่านั้นว่า เปี้ยนซิ่วเป็นงานชาววังในขณะที่ซ่งซิ่วเป็นงานของชาวบ้านทั่วไป Storyฯ ลองไปหาข้อมูลดูเลยพบเจอคลิปวีดีโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk เลยอยากให้เพื่อนๆ ได้ลองดูกัน อาจจะยาวสักนิด แต่จะเห็นภาพได้ดีถึงขั้นตอนการทำต่างๆ ตั้งแต่เลือกผ้าจนปลดออกจากสะดึง และที่สำคัญมีการซูมให้ดูถึงรายละเอียดของงานปักที่ทำเอา Storyฯ รู้สึกทึ่งไม่น้อย งานปักจีนโบราณพัฒนาขึ้นมากในสมัยถังแต่ในสมัยนั้นยังมีเทคนิคการปักไม่กี่แบบ และเมื่อมาถึงสมัยซ่งก็ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปอีกเป็นกว่ายี่สิบเทคนิค จากบันทึกโบราณพบว่างานปักเปี้ยนซิ่วโดยหลักเกิดขึ้นจากในวัง เรียกได้ว่าเป็นงานปักชาววัง รับผิดชอบงานฉลองพระองค์และของใช้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในวัง ความนิยมและเทคนิคการปักได้รับความสำคัญจนถึงกับมีการก่อตั้งวิทยาลัยเฉพาะทาง (เหวินซิ่วย่วน / 文绣院) ขึ้นเมื่อปี 1005 มีช่างปักกว่าสามร้อยคน เปี้ยนซิ่วถูกหลงลืมไปตามกาลเวลาจนแทบจะสูญหาย มีไม่กี่คนที่ยังสืบทอดมาภายหลังจากสิ้นราชวงศ์ งานเปี้ยนซิ่วรับการฟื้นฟูเมื่อมีผู้ที่สืบทอดเอาผลงานเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองครบสิบปีของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปีค.ศ. 1959 โดยผลงานที่สร้างชื่อเสียงชิ้นนี้ก็คืองานปัก <ชิงหมิงซ่างเหอถู> เป็นผลงานที่ได้รับการชื่นชมเป็นอย่างมากจากประธานเหมา และปัจจุบันถูกจัดเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม (ดูได้จากรูป 1 และรูป 2 บน และจากคลิปวีดีโอที่เป็นการสาธิตการปัก) ต่อมาเปี้ยนซิ่วถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในห้าของสไตล์การปักที่โด่งดังที่สุดของจีน จัดเป็นศิลปะแห่งชาติแขนงหนึ่ง มีการสืบทอดอย่างเป็นทางการ เอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วคืออะไร? เปี้ยนซิ่วขึ้นชื่อว่าเป็นงานละเอียด ใช้เส้นด้ายเพียงหนึ่งหรือสองเส้นเท่านั้น (หมายเหตุ หากสังเกตดีๆ ไหมปักที่เราใช้ทั่วไปปัจจุบันนี้เป็นเกลียวที่ประกอบขึ้นจากด้ายปักหลายเส้น) นำมาปักจนทึบโดยไม่เห็นรอยช่องไฟใดๆ ริมขอบลายปักเลย และอาศัยเทคนิคการปักต่างๆ ไม่ว่าจะความหนานูน ทิศทางของฝีเข็มที่แตกต่าง หรือการคัดสีไหม เพื่อสร้างมิติให้แก่ภาพปัก เพราะเอกลักษณ์ของเปี้ยนซิ่วนี้คือการนำงานศิลปะภาพวาดพู่กันจีนมาถ่ายทอดลงบนผืนผ้า ไม่ว่าจะเป็นลายภูผาวารี นก ดอกไม้ คนและสัตว์ รวมถึงบทกวีโคลงกลอนด้วย (ดูตัวอย่างได้ในรูป 2) เรียกได้ว่า งานปักสมัยซ่งนี้ ไม่เพียงปักสิ่งของใช้สอย แต่เป็นงานศิลปะที่มีไว้ชมอีกด้วย (เช่นภาพติดผนัง ภาพติดฉากกั้น ฯลฯ) นอกจากนี้ ยังมีการปักแบบสองด้าน ไม่แพ้งานปักสไตล์ชื่อดังอื่นๆ ของจีนที่เราอาจเคยผ่านตากันมา Storyฯ รู้สึกว่า เขียนอย่างไรก็บรรยายความงามของเปี้ยนซิ่วออกมาไม่ได้เพียงพอ ยังอยากให้เพื่อนเพจเข้าไปดูคลิปวีดิโอตามคลิปข้างบน ชอบไม่ชอบอะไรมาเม้นท์ให้ฟังกันบ้างนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://baike.baidu.com/item/雁归西窗月 https://www.tvzn.com/15774/role/226234.html https://www.youtube.com/watch?v=y0eKsCI4cVk http://m.news.xixik.com/content/55c6bf156997ce9f/ http://5b0988e595225.cdn.sohucs.com/images/20190514/7e22d3dd9d0244ddada007df51228ee0.jpeg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.yxhenan.com/info/kf/scyjl_13025_1289.html https://kknews.cc/collect/4xyn5m2.html https://baike.baidu.com/item/汴绣/1124193 #ดุจฝันบันดาลใจ #เปี้ยนซิ่ว #ซ่งซิ่ว #งานปักจีนโบราณ #ชิงหมิงซ่างเหอถู
    0 Comments 0 Shares 893 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ

    เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข

    แล้วที่จีนล่ะ?

    ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง

    ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู

    ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา

    อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป:
    “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง
    ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ”

    ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน

    จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน

    แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml
    https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000
    https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html

    #อิงฮวา #ซากุระจีน
    สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข แล้วที่จีนล่ะ? ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป: “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ” ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000 https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html #อิงฮวา #ซากุระจีน
    樱花 花开花谢皆诗意的早春花木_北京日报网
    我国野生樱花品种最多 樱属植物广泛分布于北半球的温带与亚热带地区。亚洲、欧洲、北美洲均有分布,但主要集中在东亚地区。中国的西南、华南、长江流域、华北、东北地区,俄罗斯、日本、朝鲜一线,以及缅甸、不丹...
    0 Comments 0 Shares 892 Views 0 Reviews
  • ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้

    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้)

    แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง

    สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด

    ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง

    ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245
    https://baike.baidu.com/item/王仁裕
    https://www.sohu.com/a/273086275_100069764
    https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1

    #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    ก่อนหน้านี้มีคุยเรื่องความหมายของดอกไม้ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เรื่องสุภาษิตจีนที่เกี่ยวกับดอกไม้ เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <เทียบท้าปฐพี> คงเคยผ่านตาฉากที่พระเอกต้องแกล้งเป็นดื่มเหล้าเมาแล้วนางเอกเตือนไม่ให้ดื่มเยอะ ตัวร้ายถึงกับออกปากว่า “นางข้าหลวงคนนี้ มาจากในวังหรือ? ทั้งซื่อสัตย์และงดงามนัก เป็นดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด” (หมายเหตุ คำแปลยกมาจากซับไทยของละครเรื่องนี้) แต่เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนคงไม่รู้ว่า ‘ดอกไม้งามที่เฉลียวฉลาด’ นี้ ในฉบับภาษาจีนใช้คำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ (解语花) แปลตรงตัวว่า เข้าใจ+ภาษา+ดอกไม้ (อุ้ย... ความหมายเพี้ยน!) เปรียบเปรยถึงหญิงงามที่ฉลาดมีความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เป็นวลีที่นิยมใช้ในสมัยซ่ง สุภาษิตนี้มีจุดกำเนิดจากบทประพันธ์เชิงประวัติศาสตร์ของนักอักษรศาสตร์ในช่วงปลายราชวงศ์ถังนามว่า หวางเหรินอี้ (ค.ศ. 880-956) เป็นเรื่องเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากสมัยองค์ถังเสวียนจง ฮ่องเต้องค์ที่เจ็ดแห่งราชวงศ์ถัง โดยฉากที่กล่าวถึงนี้บรรยายว่า วันหนึ่งในสารทฤดู เดือนแปด องค์ถังเสวียนจงทรงชื่นชมความงามของธรรมชาติอยู่ในอุทยานกับญาติๆ และนางใน ดอกบัวขาวบานสะพรั่งชูช่อเป็นที่ชื่นชมของผู้คน แต่แล้วทรงหันมาชี้นิ้วไปยังหยางกุ้ยเฟยที่ตามเสด็จมาด้วยแล้วเอ่ยว่า “ไยจะสู้เจี๋ยอวี่ฮวาของเรา” (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) เป็นเหตุการณ์ที่ถูกเล่ากันต่อๆ มาให้เป็นตัวอย่างว่าหยางกุ้ยเฟยเป็นที่โปรดปรานขององค์ถังเสวียนจงเพียงใด ความหมายดั้งเดิมของ ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ในตอนนั้นคือ บุปผาที่พูดได้ ย่อมงดงามกว่าบุปผาธรรมดา ใช้เปรียบเปรยสตรีที่งดงามยิ่งนัก และในเวลานั้นใช้หมายถึงหยางกุ้ยเฟยนั่นเอง ต่อมาคำว่า ‘เจี๋ยอวี่ฮวา’ ถูกนำมาใช้ในบทกวีและบทประพันธ์ของชนรุ่นหลัง ปัจจุบันเป็นสุภาษิตที่แปลว่าสตรีที่งามยิ่งนัก หรือสตรีที่ทั้งงามและมีเสน่ห์ (เพราะมีความเข้าอกเข้าใจคน) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/解语花/9250245 https://baike.baidu.com/item/王仁裕 https://www.sohu.com/a/273086275_100069764 https://cidian.qianp.com/ci/%E8%A7%A3%E8%AF%AD%E8%8A%B1 #เทียบท้าปฐพี #หยางกุ้ยเฟย #เจี๋ยอวี่ฮวา
    0 Comments 0 Shares 552 Views 0 Reviews
  • ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์

    วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก

    เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี

    แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย

    แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้

    - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/)
    - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ)
    - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ
    - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน

    หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://wang-tobeboss.com/archives/1449
    https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837
    https://www.lzs100.com/post/565.html
    https://www.sohu.com/a/584299187_161835
    https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354

    #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    ช่วงนี้มีกระแสเรื่องหนังสือเรียนเด็กชั้นประถมบ้านเรา ทำให้ Storyฯ เกิด ‘เอ๊ะ’ ว่าแล้วในสมัยจีนโบราณ เด็กๆ เรียนอะไร ผ่านตาในซีรีส์ก็จะเห็นเด็กท่องกันไปยาวๆ อย่างเช่นใน <สามชาติสามภพ ป่าท้อสิบลี้> ตอนที่พระเอกลงไปผ่านด่านเคราะห์ในโลกมนุษย์ วันนี้เลยมาคุยกันคร่าวๆ เรื่องการศึกษาของเด็กในสมัยจีนโบราณ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า ‘เหมิงเสวี๋ย’ (蒙学) หมายถึงการเรียนเพื่อปูพื้นฐานหรือก็คือการเรียนของเด็ก เริ่มกันจากที่ว่า เขาเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุเท่าไหร่? เรื่องอายุการเริ่มเรียนมีเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยพร้อมๆ กับการจัดระเบียบด้านการศึกษา เดิมเด็กๆ เริ่มเรียนกันได้ตั้งแต่สี่ขวบ เข้าเรียนได้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (ต่อมาในสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเปลี่ยนมาเป็นเปิดเทอมตอนฤดูหนาวเป็นหลัก) ต่อมาในสมัยถังเริ่มเรียนกันที่ 6-7 ขวบ ต่อมาสมัยหมิงและชิงมีจัดตั้งโรงเรียนให้ประชาชนได้เรียนกันอย่างแพร่หลายโดยมีช่วงอายุ 8-15 ปี แล้วเขาเรียนอะไร? ตั้งแต่สมัยโบราณมีการแบ่งแยกการสอนเด็กเล็กและเด็กโตโดยจัดเนื้อหาแตกต่างกัน มีตัวอย่างให้เห็นจากการเรียนของราชนิกุลสมัยราชวงศ์เซี่ย ซังและโจว แม้แต่ในบทสอนของขงจื๊อก็มีการแยกระหว่างเด็กเล็กเด็กโต สำหรับเด็กเล็กเน้นให้อ่านออกเขียนได้ โตขึ้นอีกหน่อยก็เริ่มเรียนพวกบทกวีและบทความและปูพื้นฐานสำหรับเรียน ‘สี่หนังสือ’ (ซื่อซู/四书) ว่าด้วยปรัชญาต่างๆ ของขงจื้อเมื่อโตขึ้นอีกหน่อย แต่อย่าลืมว่าการเรียนหนังสือแต่เดิมเป็นเอกสิทธิ์ของราชนิกูลและลูกหลานตระกูลผู้ดีหรือลูกหลานข้าราชการ ต่อมาจึงมีการเปิดโรงเรียนทั้งของรัฐบาลและเอกชน และมีการพัฒนาเอกสารการเรียนการสอนมากขึ้น นับแต่สมัยซ่งมา หนังสือสำหรับเด็กเล็กที่สำคัญและใช้เป็นหลัก เดิมมีอยู่สามเล่ม เรียกรวมว่า ‘สามร้อยพัน’ (ซานป่ายเชียน/三百千) ต่อมาเพิ่มมาอีก ‘พัน’ เป็น ‘สามร้อยพันพัน’ (ซานป่ายเชียนเชียน/三百千千) สรุปได้ดังนี้ - ‘สาม’ หมายถึง ‘คัมภีร์สามอักษร’ (ซานจื้อจิง /三字经) เป็นตำราที่มีขึ้นในสมัยซ่งใต้ มีทั้งหมด 1,722 อักษร (โอ้โห... สงสารเด็กเลย!) เนื้อหารวมความรู้พื้นฐานเช่น ประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้ทั่วไป (เช่นทิศ เวลา ฤดูกาล) และหลักคุณธรรม ลักษณะการเขียนแบ่งเป็นวรรคละสามอักษร ประโยคละสองวรรค วรรคแรกคือเนื้อหาที่ต้องการกล่าวถึง วรรคหลังคือคำอธิบายเหตุผลหรือสาระของมัน เช่น ตัวอย่างสองประโยคแรก อธิบายว่า อันคนเรานั้นแต่เดิมมีจิตใจดี นิสัยใจคอธรรมชาติให้มาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อฝึกฝนกันไปความแตกต่างก็จะยิ่งมากขึ้น เป็นต้น มีเว็บไทยอธิบายไว้ ลองไปอ่านดูนะคะ (https://pasajeen.com/three-character-classic/) - ‘ร้อย’ หมายถึง ‘หนึ่งร้อยแซ่’ (ป่ายเจียซิ่ง / 百家姓) แต่จริงๆ รวมไว้ทั้งหมด 504 แซ่ มีมาแต่สมัยซ่งเหนือ ไว้ให้หัดจำตัวอักษร แฝงไว้ซึ่งความสำคัญของวงศ์ตระกูล (สงสารเด็กอีกแล้ว อักษรจีนจำยากนะ) - ‘พัน’ หมายถึง ‘บทความพันอักษร’ (เชียนจื้อเหวิน / 千字文) เป็นหนังสือโบราณตั้งแต่ยุคราชวงศ์ใต้ (ค.ศ. 502-549) โดยครั้งนั้นฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ให้ขุนนางเลือกอักษรออกมาหนึ่งพันตัว แล้วเอามาเรียงร้อยจนได้เป็นบทความ แบ่งเป็นวรรคละสี่อักษร Storyฯ ได้ลองอ่านแล้วถึงกับถอดใจว่าอ่านเข้าใจยากมาก ต้องไปอ่านที่เขาแปลมาให้เข้าใจง่ายๆ อีกที สรุปใจความประมาณว่าธาตุทั้งหลายก่อเกิดเป็นสรรพสิ่ง สอดแทรกความรู้ทั่วไปเข้าไปเช่นว่า น้ำทะเลนั้นเค็ม น้ำจืดนั้นรสจาง เล่าต่อเป็นเรื่องการปกครองแว่นแคว้นให้ประชาชนอยู่อย่างสงบสุข สอดแทรกหลักคุณธรรมของกษัตริย์ เล่าเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ สอดแทรกแนวปฏิบัติเช่น ความกตัญญูต่อพ่อแม่ การวางตัวให้มีจริยธรรม การแต่งกายอย่างสะอาดสุภาพ ฯลฯ - อีก ‘พัน’ สุดท้ายคือ ‘บทกวีพันเรือน’ (เชียนเจียซือ /千家诗) จัดทำขึ้นในสมัยชิง เป็นหนังสือที่รวบรวมบทกวีและวลีเด็ดของยุคสมัยถังและซ่ง (แม้จะมีของสมัยหยวนและหมิงปนมาบ้างแต่น้อยมาก) รวมทั้งสิ้น 226 ชิ้นงาน เน้นการสอนอ่านให้คล่อง ออกเสียงให้ชัด และมีจังหวะจะโคน หนังสือเรียนเด็กยังมีอีกไม่น้อย ใครท่องได้ไวเรียนเก่งก็พัฒนาไวไปจนอ่านบันทึกพิธีการโจวหลี่และซื่อซูของขงจื๊อได้แม้จะเป็นแค่เด็กตัวกะเปี๊ยก แต่แค่ที่เขียนมาข้างต้น Storyฯ ก็รู้สึกเหนื่อยแทนแล้ว มิน่าล่ะ เราถึงเห็นฉากในละครบ่อยๆ เวลาเด็กท่องหนังสือก็ร่ายกันไปยาวๆ หัวก็โคลงหมุนไปตามจังหวะการท่องด้วย แล้วเพื่อนเพจล่ะคะ รู้สึกยังไงกันบ้าง? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://www.fakutownee.cn/wenti/yule/16786.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://wang-tobeboss.com/archives/1449 https://www.hrxfw.com/fjbk/fjdj/2682.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/323332934 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/三百千千/10984837 https://www.lzs100.com/post/565.html https://www.sohu.com/a/584299187_161835 https://baike.baidu.com/item/蒙学/5024354 #หนังสือเรียนจีนโบราณ #เหมิงเสวี๋ย #คัมภีร์สามอักษร #ซานจื้อจิง #ร้อยตระกูล #ร้อยแซ่ #ป่ายเจียซิ่ง #พันอักษร #เชียนจื้อเหวิน #กวีพันเรือน #เชียนเจียซือ
    PASAJEEN.COM
    คัมภีร์ภาษาจีน สามอักษร 三字经 | ภาษาจีน.คอม "เปิดโลกอักษรจีน เปิดโลกภาษาจีน"
    เสน่ห์ของ 三字经 อยู่ที่การท่องทีละ 3 คำ และแม้มีการแบ่งคำ แบ่ง 3 คำๆก็จริง ยังแยกเป็นคู่ๆ สังเกตุจากเครื่องหมายวรรคตอน โดย 3 ตัวแรก อาจบอกสาเหตุ 3 ตัวหลังบอกผล หรือ 3 ตัวแรก อาจบอกอะไรสักอย่าง 3 ตัวหลังขยายความ คู่ ที่ 1 人之初,性本善。คู่ที่ 1 3 ตัวแรกบอกว่า กำเนิดของมนุษย์ หรือธรรมชาติดั้งเดิมของคน 3 ตัวหลังบอกว่า พื้นฐานจิตใจมีเมตตากรุณา คู่ ที่ 2 性相近,习相远。 3 ตัวแรกบอกว่า จิตใจอารมณ์มนุษย์ทุกคนธรรมชาติให้มาใกล้เคียง 3 ตัวหลังบอกว่า การฝึกหัด (อาจดีหรือเลว อยู่ที่สิ่งแวดล้อม) ทำให้คนห่างไกลกัน คนเราพื้นฐานล้วนคล้ายคลึงกันคือเป็นคนดี แต่สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คนแตกต่างกัน อันนี้เป็นความเชื่อ ที่นำไปสู่ทัศนคติ การอบรม ลัทธิต่างๆอีกมากมาย บางระบบอย่างฝรั่ง
    0 Comments 0 Shares 1003 Views 0 Reviews
  • 21 ปี "11-M" วินาศกรรมระเบิดรถไฟมาดริด กวาดชีวิต 200 ศพ บาดเจ็บกว่า 1,800 ราย 🚆💣 ไขปริศนาเบื้องหลัง โศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญ ที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์สเปน ไปตลอดกาล

    📝 เสียงระเบิดที่เปลี่ยนสเปนไปตลอดกาล วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2547 ในช่วงช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เช้าตรู่เหมือนทุกวัน รถไฟโดยสารสาย Cercanías ของกรุงมาดริด ประเทศสเปน กำลังวิ่งเข้าเทียบชานชาลา ที่สถานีอาโตชา (Atocha) อย่างปกติ ก่อนที่เสียงระเบิดลูกแรกจะดังขึ้น และตามด้วยระเบิดอีก 12 ลูก ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้ขบวนรถไฟ 4 ขบวน ที่บรรทุกผู้โดยสารไปทำงานในช่วงเร่งด่วน กลายเป็นซากเศษเหล็กในพริบตา 💥

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น หรือที่ชาวสเปนเรียกกันว่า "11-M" (Once de Marzo) ถือเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมก่อการร้าย ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป มีผู้เสียชีวิตถึง 200 ศพ และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 1,800 ราย มันไม่เพียงแต่ทำลายชีวิตผู้คน แต่ยังสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล และเปลี่ยนผลการเลือกตั้งในสเปน โดยสิ้นเชิง 🗳️

    📚 เหตุการณ์ที่โลกไม่อาจลืม เหตุระเบิดรถไฟที่กรุงมาดริด หรือ 11-M เป็นปฏิบัติการก่อการร้าย ที่ประสานงานกันอย่างซับซ้อน โดยมือระเบิดใช้อุปกรณ์ระเบิดแสวงเครื่อง (IED) วางไว้ในกระเป๋าเป้ และนำขึ้นรถไฟ ที่มุ่งหน้าเข้าสู่สถานีหลักของกรุงมาดริด

    ✨ กลุ่มผู้ต้องสงสัย คือกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ที่ต่อต้านการมีส่วนร่วมของสเปนใ นสงครามอิรัก เหตุการณ์นี้นับเป็นการโจมตีพลเรือน ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป นับตั้งแต่เหตุการณ์ ระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบิน 103 เมื่อปี 2531 และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมือง และความมั่นคงของประเทศสเปน ในเวลานั้น 📍

    🔎 ไทม์ไลน์วินาศกรรม 11-M นาทีชีวิตในกรุงมาดริด
    07.01 - 07.14 น. รถไฟทั้งสี่ขบวนออกจาก Alcalá de Henares มุ่งหน้าสู่สถานี Atocha

    07.37 - 07.40 น. ระเบิดลูกแรกระเบิดขึ้นที่ ขบวน 21431 บริเวณ ฃสถานี Atocha ตามด้วยอีกสองลูกในเวลาไม่ถึง 4 วินาที 🚆💥
    ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ที่สถานี El Pozo
    ขบวน 21713 ระเบิดที่สถานีSanta Eugenia
    ขบวน 17305 เกิดระเบิด 4 จุด บริเวณ Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha

    08.00 น. เป็นต้นไป หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินและทีม TEDAX หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด เข้าพื้นที่

    08.30 น. ตั้งโรงพยาบาลสนามที่สนามกีฬา Daoiz y Velarde

    09.00 น. ตำรวจยืนยันมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ศพ สุดท้าย ผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 200 ราย และรายสุดท้ายเสียชีวิตในปี 2557 หลังจากโคม่า 10 ปี

    🚨 จุดระเบิด 13 จุด ของแต่ละสถานี
    📍 สถานี Atocha ขบวน 21431 เกิดระเบิด 3 ลูก อีก 1 ลูก ถูกทีม TEDAX จุดระเบิดควบคุมในเวลาต่อมา

    📍 สถานี El Pozo ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ในตู้ที่ 4 และ 5 พบระเบิดอีก 1 ลูกในตู้รถที่ 3 ถูกควบคุมระเบิดโดย TEDAX

    📍 สถานี Santa Eugenia ขบวน 21713 ระเบิดลูกเดียวที่ตู้ที่ 4

    📍 Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha ขบวน 17305 ระเบิด 4 ลูกที่ตู้ 1, 4, 5 และ 6

    🕵️‍♂️ ผู้ต้องสงสัย เบื้องหลังการโจมตี หลักฐานที่ค้นพบในรถตู้ Renault Kangoo ซึ่งจอดอยู่หน้าสถานี Alcalá de Henares ได้แก่ ตัวจุดชนวน เทปเสียงอัดบทกวีจากคัมภีร์อัลกุรอาน และโทรศัพท์มือถือที่ใช้จุดระเบิด

    ตำรวจสเปนจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 5 คน ในวันเดียวกัน เป็นชาวโมร็อกโก 3 คน และปากีสถาน 2 คน โดยเฉพาะ "จามาล ซูกัม" (Jamal Zougam) ชาวโมร็อกโก ที่ถูกดำเนินคดีในที่สุด

    การโจมตีครั้งนี้เชื่อว่า เป็นการตอบโต้สเปนที่เข้าร่วมสงครามอิรัก กับสหรัฐอเมริกาในปี 2546

    ❗ ข้อถกเถียงและการเมืองที่ลุกเป็นไฟ เหตุการณ์ 11-M เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเพียง 3 วัน พรรค Partido Popular (PP) ภายใต้การนำของ "โฆเซ มาเรีย อัซนาร์" พยายามโยงความผิดให้กลุ่ม ETA โดนพรรคฝ่ายค้าน PSOE กล่าวหาว่ารัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันการเสียคะแนนเสียง

    ผลการเลือกตั้งพลิกล็อก พรรค PSOE ภายใต้การนำของ "โฆเซ หลุยส์ โรดริเกซ" ซาปาเตโร ได้รับชัยชนะ และขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสเปน

    ⚖️ ผลการสอบสวนและคำพิพากษา หลังจากการสืบสวน 21 เดือน มีผู้ถูกตัดสินว่ามีส่วนร่วมในการโจมตีทั้งหมด 21 คน ไม่มีหลักฐานชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะห์ วัตถุระเบิดที่ใช้คือ Goma-2 ECO ผลิตในสเปน

    🌍 ผลกระทบที่สะท้อนถึงโลกใบนี้ เหตุการณ์ 11-M ถูกเปรียบเทียบกับการโจมตี 11 กันยายน 2001 (9/11) ที่สหรัฐฯ ทั้งในแง่ของขนาดของการวางแผน ผลกระทบต่อการเมืองภายในประเทศ การลุกฮือของประชาชนเรียกร้อง “ความจริง” จากรัฐบาล และยังกระตุ้นให้เกิด มาตรการความปลอดภัย ในระบบขนส่งมวลชนทั่วโลก 🚆🛑

    🧠 บทเรียนจากโศกนาฏกรรม 11-M ความโปร่งใสของรัฐบาล เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียความไว้วางใจ การเฝ้าระวังระบบขนส่งสาธารณะ ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเมืองและการก่อการร้าย เป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ ในยุคโลกาภิวัตน์

    📌 เหตุการณ์ก่อการร้าย ที่สะท้อนภาพโศกนาฏกรรมปี 2547
    🎒 เหตุการณ์เบสลัน (Beslan Siege) วันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ. 2547 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชชเนีย จับตัวประกันที่โรงเรียน มีผู้เสียชีวิตกว่า 330 ศพ ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กนักเรียน เป็นอีกตัวอย่างของความโหดร้าย จากการก่อการร้ายที่โลกไม่มีวันลืม 💔

    ✅ ความทรงจำยังคงอยู่ 21 ปีหลังเหตุการณ์ 11-M สเปนและโลกยังคงรำลึกถึงเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ที่เสียชีวิตในวันนั้น และบทเรียนที่ได้รับ ยังคงชัดเจนอยู่ทุกวินาที การเปลี่ยนแปลงในนโยบายความมั่นคง การเลือกตั้ง และบทบาททางการเมืองที่พลิกผัน เป็นสิ่งที่ทำให้ 11 มีนาคม ไม่ใช่เพียงวันแห่งความเศร้า แต่ยังเป็นวันที่ทำให้มนุษยชาติหยุดคิด และตั้งคำถามกับความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ 🌍🙏

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 110922 มี.ค. 2568

    🔖 📌 #11M #MadridBombings #ก่อการร้าย #ประวัติศาสตร์สเปน #PSOE #PP #สงครามอิรัก #ก่อการร้ายยุโรป #มาดริด #TerrorismHistory 🚆💣
    21 ปี "11-M" วินาศกรรมระเบิดรถไฟมาดริด กวาดชีวิต 200 ศพ บาดเจ็บกว่า 1,800 ราย 🚆💣 ไขปริศนาเบื้องหลัง โศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญ ที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์สเปน ไปตลอดกาล 📝 เสียงระเบิดที่เปลี่ยนสเปนไปตลอดกาล วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2547 ในช่วงช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เช้าตรู่เหมือนทุกวัน รถไฟโดยสารสาย Cercanías ของกรุงมาดริด ประเทศสเปน กำลังวิ่งเข้าเทียบชานชาลา ที่สถานีอาโตชา (Atocha) อย่างปกติ ก่อนที่เสียงระเบิดลูกแรกจะดังขึ้น และตามด้วยระเบิดอีก 12 ลูก ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้ขบวนรถไฟ 4 ขบวน ที่บรรทุกผู้โดยสารไปทำงานในช่วงเร่งด่วน กลายเป็นซากเศษเหล็กในพริบตา 💥 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น หรือที่ชาวสเปนเรียกกันว่า "11-M" (Once de Marzo) ถือเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมก่อการร้าย ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป มีผู้เสียชีวิตถึง 200 ศพ และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 1,800 ราย มันไม่เพียงแต่ทำลายชีวิตผู้คน แต่ยังสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล และเปลี่ยนผลการเลือกตั้งในสเปน โดยสิ้นเชิง 🗳️ 📚 เหตุการณ์ที่โลกไม่อาจลืม เหตุระเบิดรถไฟที่กรุงมาดริด หรือ 11-M เป็นปฏิบัติการก่อการร้าย ที่ประสานงานกันอย่างซับซ้อน โดยมือระเบิดใช้อุปกรณ์ระเบิดแสวงเครื่อง (IED) วางไว้ในกระเป๋าเป้ และนำขึ้นรถไฟ ที่มุ่งหน้าเข้าสู่สถานีหลักของกรุงมาดริด ✨ กลุ่มผู้ต้องสงสัย คือกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ที่ต่อต้านการมีส่วนร่วมของสเปนใ นสงครามอิรัก เหตุการณ์นี้นับเป็นการโจมตีพลเรือน ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป นับตั้งแต่เหตุการณ์ ระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบิน 103 เมื่อปี 2531 และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมือง และความมั่นคงของประเทศสเปน ในเวลานั้น 📍 🔎 ไทม์ไลน์วินาศกรรม 11-M นาทีชีวิตในกรุงมาดริด 07.01 - 07.14 น. รถไฟทั้งสี่ขบวนออกจาก Alcalá de Henares มุ่งหน้าสู่สถานี Atocha 07.37 - 07.40 น. ระเบิดลูกแรกระเบิดขึ้นที่ ขบวน 21431 บริเวณ ฃสถานี Atocha ตามด้วยอีกสองลูกในเวลาไม่ถึง 4 วินาที 🚆💥 ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ที่สถานี El Pozo ขบวน 21713 ระเบิดที่สถานีSanta Eugenia ขบวน 17305 เกิดระเบิด 4 จุด บริเวณ Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha 08.00 น. เป็นต้นไป หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินและทีม TEDAX หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด เข้าพื้นที่ 08.30 น. ตั้งโรงพยาบาลสนามที่สนามกีฬา Daoiz y Velarde 09.00 น. ตำรวจยืนยันมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ศพ สุดท้าย ผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 200 ราย และรายสุดท้ายเสียชีวิตในปี 2557 หลังจากโคม่า 10 ปี 🚨 จุดระเบิด 13 จุด ของแต่ละสถานี 📍 สถานี Atocha ขบวน 21431 เกิดระเบิด 3 ลูก อีก 1 ลูก ถูกทีม TEDAX จุดระเบิดควบคุมในเวลาต่อมา 📍 สถานี El Pozo ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ในตู้ที่ 4 และ 5 พบระเบิดอีก 1 ลูกในตู้รถที่ 3 ถูกควบคุมระเบิดโดย TEDAX 📍 สถานี Santa Eugenia ขบวน 21713 ระเบิดลูกเดียวที่ตู้ที่ 4 📍 Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha ขบวน 17305 ระเบิด 4 ลูกที่ตู้ 1, 4, 5 และ 6 🕵️‍♂️ ผู้ต้องสงสัย เบื้องหลังการโจมตี หลักฐานที่ค้นพบในรถตู้ Renault Kangoo ซึ่งจอดอยู่หน้าสถานี Alcalá de Henares ได้แก่ ตัวจุดชนวน เทปเสียงอัดบทกวีจากคัมภีร์อัลกุรอาน และโทรศัพท์มือถือที่ใช้จุดระเบิด ตำรวจสเปนจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 5 คน ในวันเดียวกัน เป็นชาวโมร็อกโก 3 คน และปากีสถาน 2 คน โดยเฉพาะ "จามาล ซูกัม" (Jamal Zougam) ชาวโมร็อกโก ที่ถูกดำเนินคดีในที่สุด การโจมตีครั้งนี้เชื่อว่า เป็นการตอบโต้สเปนที่เข้าร่วมสงครามอิรัก กับสหรัฐอเมริกาในปี 2546 ❗ ข้อถกเถียงและการเมืองที่ลุกเป็นไฟ เหตุการณ์ 11-M เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเพียง 3 วัน พรรค Partido Popular (PP) ภายใต้การนำของ "โฆเซ มาเรีย อัซนาร์" พยายามโยงความผิดให้กลุ่ม ETA โดนพรรคฝ่ายค้าน PSOE กล่าวหาว่ารัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันการเสียคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้งพลิกล็อก พรรค PSOE ภายใต้การนำของ "โฆเซ หลุยส์ โรดริเกซ" ซาปาเตโร ได้รับชัยชนะ และขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสเปน ⚖️ ผลการสอบสวนและคำพิพากษา หลังจากการสืบสวน 21 เดือน มีผู้ถูกตัดสินว่ามีส่วนร่วมในการโจมตีทั้งหมด 21 คน ไม่มีหลักฐานชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะห์ วัตถุระเบิดที่ใช้คือ Goma-2 ECO ผลิตในสเปน 🌍 ผลกระทบที่สะท้อนถึงโลกใบนี้ เหตุการณ์ 11-M ถูกเปรียบเทียบกับการโจมตี 11 กันยายน 2001 (9/11) ที่สหรัฐฯ ทั้งในแง่ของขนาดของการวางแผน ผลกระทบต่อการเมืองภายในประเทศ การลุกฮือของประชาชนเรียกร้อง “ความจริง” จากรัฐบาล และยังกระตุ้นให้เกิด มาตรการความปลอดภัย ในระบบขนส่งมวลชนทั่วโลก 🚆🛑 🧠 บทเรียนจากโศกนาฏกรรม 11-M ความโปร่งใสของรัฐบาล เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียความไว้วางใจ การเฝ้าระวังระบบขนส่งสาธารณะ ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเมืองและการก่อการร้าย เป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ ในยุคโลกาภิวัตน์ 📌 เหตุการณ์ก่อการร้าย ที่สะท้อนภาพโศกนาฏกรรมปี 2547 🎒 เหตุการณ์เบสลัน (Beslan Siege) วันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ. 2547 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชชเนีย จับตัวประกันที่โรงเรียน มีผู้เสียชีวิตกว่า 330 ศพ ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กนักเรียน เป็นอีกตัวอย่างของความโหดร้าย จากการก่อการร้ายที่โลกไม่มีวันลืม 💔 ✅ ความทรงจำยังคงอยู่ 21 ปีหลังเหตุการณ์ 11-M สเปนและโลกยังคงรำลึกถึงเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ที่เสียชีวิตในวันนั้น และบทเรียนที่ได้รับ ยังคงชัดเจนอยู่ทุกวินาที การเปลี่ยนแปลงในนโยบายความมั่นคง การเลือกตั้ง และบทบาททางการเมืองที่พลิกผัน เป็นสิ่งที่ทำให้ 11 มีนาคม ไม่ใช่เพียงวันแห่งความเศร้า แต่ยังเป็นวันที่ทำให้มนุษยชาติหยุดคิด และตั้งคำถามกับความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ 🌍🙏 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 110922 มี.ค. 2568 🔖 📌 #11M #MadridBombings #ก่อการร้าย #ประวัติศาสตร์สเปน #PSOE #PP #สงครามอิรัก #ก่อการร้ายยุโรป #มาดริด #TerrorismHistory 🚆💣
    0 Comments 0 Shares 1281 Views 0 Reviews
  • เมื่อสองวันก่อน อยู่ดีๆ ยูทูปก็โผล่คลิปสั้นจากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มาให้ดูจน Storyฯ น้ำตาร่วงเผาะ วันนี้เลยเอามาแบ่งปันเผื่อว่าเพื่อนเพจจะ ‘อิน’ ตามไปด้วย

    เป็นฉากที่หรูอี้เอ่ยกับเฉียนหลงฮ่องเต้ว่า “ทรงทราบถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ หรือไม่เพคะ? วลีนี้... ตอนหม่อมฉันเรียนเมื่อยังเด็กได้แต่รู้สึกเสียใจเสียดาย แต่วันนี้หม่อมฉันเข้าใจแล้ว... บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน...” (หมายเหตุ ถอดบทสนทนามาจากในละคร แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) เป็นประโยคที่สร้างความเจ็บปวดให้กับเฉียนหลงในภายหลังไม่น้อย

    ทั้ง ‘หลันอินซวี่กั่ว’ และ “บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน” ล้วนเป็นประโยคเด็ดที่มีมาแต่วรรณกรรมโบราณ และมีเรื่องราวให้เล่าถึง แต่อาจต้องแบ่งคุยเป็นสองตอน

    วันนี้คุยกันเรื่องวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ (兰因絮果) ซึ่งเป็นสุภาษิตจีน บางทีสลับตำแหน่งเป็น ‘ซวี่กั่วหลันอิน’ ก็ได้ ความหมายของมันเป็นดังที่ในละครมีอธิบายไว้ว่า หมายถึงชีวิตคู่ที่เริ่มต้นสวยงามแต่จบลงอย่างขมขื่น เป็นวลีที่แปลยาก เพราะ ‘หลัน’ อาจแปลว่าดอกกล้วยไม้ (หลันฮวา) หรือดอกแม็กโนเลีย (อวี้หลันหรือมู่หลัน) และ ‘ซวี่’ แปลว่าปุยฝ้ายหรือดอกของต้นหลิ่วเรียกว่า ‘หลิ่วซวี่’ ส่วน ‘อิน’ นั้นแปลว่าต้นตอหรือสาเหตุ และ ‘กั่ว’ คือผล ดังนั้น วลีนี้แปลตรงตัวไม่ได้เพราะมันเป็นวลีเชิงอุปมาอุปไมย เลยขอเล่าความเป็นมาของมันก่อน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

    ที่มาของการเรียกชีวิตคู่ที่หวานชื่นว่า ‘หลันอิน’ นั้น เป็นเรื่องราวในยุคสมัยชุนชิวของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งและอนุภรรยานามว่าเยี่ยนจี๋ นางผู้นี้มาจากเมืองเล็กๆ และเป็นอนุภรรยาที่ไม่เคยอยู่ในสายตาของเจิ้งเหวินกง แต่ต่อมานางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป ครั้นวันถัดไปนางได้พบกับเจิ้งเหวินกงโดยบังเอิญก็ได้เล่าเรื่องนี้ให้เจิ้งเหวินกงฟัง ก่อเกิดเป็นความสนใจในตัวนาง จนต่อมานางได้เป็นที่โปรดปรานมากมายของเจิ้งเหวินกง และภายหลังคลอดบุตรชายนามว่า ‘หลัน’ เรื่องนี้จึงเป็นการเล่าขานกันต่อในแง่ที่ว่าเป็นความรักที่งอกงามอันมีสาเหตุมาจากดอกหลันฮวาหรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘หลันอิน’ นั่นเอง และ ‘หลันอิน’ ถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์ไม่น้อยเพื่อเรียกการครองคู่ที่เกิดขึ้นจากความรักอันสุกงอม

    มีเรื่องเล่าต่อมาว่า เจิ้งเหวินกงมีอนุภรรยามากมาย ความโปรดปรานในตัวเยี่ยนจี๋ลดเลือนไปตามกาลเวลา อีกทั้งเขาเป็นคนอำมหิต เพื่อรักษาอำนาจของตัวเองถึงกับฆ่าลูกชายไปสองคน ส่วนเจิ้งหลันนั้นถูกขับออกจากแคว้น แต่ต่อมาได้กลับมาครองแคว้นเจิ้งในที่สุด เป็นที่รู้จักกันในนามเจิ้งมู่กง ภายใต้การปกครองของเจิ้งมู่กงและลูกชายของเขา แคว้นเจิ้งกลายเป็นหนึ่งในแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดของยุคสมัยนั้น

    ส่วนคำว่า ‘ซวี่’ นั้น ว่ากันว่าแรกเริ่มมาจากบทกวีของหลานสาวของเซี่ยไท่ฟู่ (ไท่ฟู่คือตำแหน่งราชครู) ในสมัยราชวงศ์จิ้น ผู้ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นสตรีที่เชี่ยวชาญด้านอักษร นางเปรียบเปรยหิมะขาวที่โปรยปรายด้วยวลีที่ว่า ‘ดุจดอกหลิ่วเริงระบำในสายลม’ (未若柳絮因风起) (ขอเรียกว่าดอก แต่จริงๆ เป็นเมล็ดของต้นหลิ่ว)

    ต่อมา ‘ซวี่กั่ว’ และ ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ปรากฏขึ้นในบทประพันธ์ยุคสมัยชิง เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ว่า ‘หลันอินซวี่กั่ว เซี่ยนเยี่ยสุยเซิน’ (兰因絮果, 现业谁深) Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงประโยคนี้ว่า ‘รักแรกผลิบานงดงามดุจหลันฮวา สุดท้ายมลายหายดุจดอกหลิ่วพลิ้วสลาย ผู้ใดเล่าจะกล่าวได้ว่า สลักลึกลงบนใจผู้ใดมากกว่ากัน’

    ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> จึงเป็นการสรุปเรื่องราวความรักของเฉียนหลงและหรูอี้ได้อย่างชัดเจนด้วยอักษรเพียงสี่ตัว

    เพื่อให้อินกับประโยคนี้ ขอเชิญเพื่อนเพจหลับตาและนึกภาพดอกไม้ผลิบานพร้อมกับรอยยิ้มสุขสดชื่นให้แก่กันของหรูอี้และเฉียนหลงในละคร แล้วตัดมาเป็นภาพปุยสีขาวๆ ที่ถูกสายลมพัดแตกไปพร้อมๆ กับภาพของหรูอี้ที่สิ้นลมอย่างสงบข้างๆ กระถางต้นเหมยที่แห้งกรอบ...

    “คัท!” อาทิตย์หน้ามาคุยกันต่อกับประโยคถัดไปที่ว่า ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://okapi.books.com.tw/article/11422
    https://ent.tom.com/201807/1011240093.html
    https://www.sohu.com/a/230867588_100149137
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html
    https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html
    https://baike.baidu.com/item/未若柳絮因风起/8776864

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #หลันอินซวี่กั่ว #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋
    เมื่อสองวันก่อน อยู่ดีๆ ยูทูปก็โผล่คลิปสั้นจากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มาให้ดูจน Storyฯ น้ำตาร่วงเผาะ วันนี้เลยเอามาแบ่งปันเผื่อว่าเพื่อนเพจจะ ‘อิน’ ตามไปด้วย เป็นฉากที่หรูอี้เอ่ยกับเฉียนหลงฮ่องเต้ว่า “ทรงทราบถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ หรือไม่เพคะ? วลีนี้... ตอนหม่อมฉันเรียนเมื่อยังเด็กได้แต่รู้สึกเสียใจเสียดาย แต่วันนี้หม่อมฉันเข้าใจแล้ว... บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน...” (หมายเหตุ ถอดบทสนทนามาจากในละคร แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) เป็นประโยคที่สร้างความเจ็บปวดให้กับเฉียนหลงในภายหลังไม่น้อย ทั้ง ‘หลันอินซวี่กั่ว’ และ “บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน” ล้วนเป็นประโยคเด็ดที่มีมาแต่วรรณกรรมโบราณ และมีเรื่องราวให้เล่าถึง แต่อาจต้องแบ่งคุยเป็นสองตอน วันนี้คุยกันเรื่องวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ (兰因絮果) ซึ่งเป็นสุภาษิตจีน บางทีสลับตำแหน่งเป็น ‘ซวี่กั่วหลันอิน’ ก็ได้ ความหมายของมันเป็นดังที่ในละครมีอธิบายไว้ว่า หมายถึงชีวิตคู่ที่เริ่มต้นสวยงามแต่จบลงอย่างขมขื่น เป็นวลีที่แปลยาก เพราะ ‘หลัน’ อาจแปลว่าดอกกล้วยไม้ (หลันฮวา) หรือดอกแม็กโนเลีย (อวี้หลันหรือมู่หลัน) และ ‘ซวี่’ แปลว่าปุยฝ้ายหรือดอกของต้นหลิ่วเรียกว่า ‘หลิ่วซวี่’ ส่วน ‘อิน’ นั้นแปลว่าต้นตอหรือสาเหตุ และ ‘กั่ว’ คือผล ดังนั้น วลีนี้แปลตรงตัวไม่ได้เพราะมันเป็นวลีเชิงอุปมาอุปไมย เลยขอเล่าความเป็นมาของมันก่อน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ที่มาของการเรียกชีวิตคู่ที่หวานชื่นว่า ‘หลันอิน’ นั้น เป็นเรื่องราวในยุคสมัยชุนชิวของเจิ้งเหวินกง เจ้าผู้ปกครองแคว้นเจิ้งและอนุภรรยานามว่าเยี่ยนจี๋ นางผู้นี้มาจากเมืองเล็กๆ และเป็นอนุภรรยาที่ไม่เคยอยู่ในสายตาของเจิ้งเหวินกง แต่ต่อมานางฝันว่ามีเทพธิดานำดอกหลันฮวามามอบให้และบอกว่าดอกไม้นี้จะทำให้นางได้รับความรักจากเจิ้งเหวินกงและจะได้บุตรที่โดดเด่นมาเป็นผู้สืบทอดแผ่นดินต่อไป ครั้นวันถัดไปนางได้พบกับเจิ้งเหวินกงโดยบังเอิญก็ได้เล่าเรื่องนี้ให้เจิ้งเหวินกงฟัง ก่อเกิดเป็นความสนใจในตัวนาง จนต่อมานางได้เป็นที่โปรดปรานมากมายของเจิ้งเหวินกง และภายหลังคลอดบุตรชายนามว่า ‘หลัน’ เรื่องนี้จึงเป็นการเล่าขานกันต่อในแง่ที่ว่าเป็นความรักที่งอกงามอันมีสาเหตุมาจากดอกหลันฮวาหรือเรียกสั้นๆ ว่า ‘หลันอิน’ นั่นเอง และ ‘หลันอิน’ ถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์ไม่น้อยเพื่อเรียกการครองคู่ที่เกิดขึ้นจากความรักอันสุกงอม มีเรื่องเล่าต่อมาว่า เจิ้งเหวินกงมีอนุภรรยามากมาย ความโปรดปรานในตัวเยี่ยนจี๋ลดเลือนไปตามกาลเวลา อีกทั้งเขาเป็นคนอำมหิต เพื่อรักษาอำนาจของตัวเองถึงกับฆ่าลูกชายไปสองคน ส่วนเจิ้งหลันนั้นถูกขับออกจากแคว้น แต่ต่อมาได้กลับมาครองแคว้นเจิ้งในที่สุด เป็นที่รู้จักกันในนามเจิ้งมู่กง ภายใต้การปกครองของเจิ้งมู่กงและลูกชายของเขา แคว้นเจิ้งกลายเป็นหนึ่งในแคว้นที่เข้มแข็งที่สุดของยุคสมัยนั้น ส่วนคำว่า ‘ซวี่’ นั้น ว่ากันว่าแรกเริ่มมาจากบทกวีของหลานสาวของเซี่ยไท่ฟู่ (ไท่ฟู่คือตำแหน่งราชครู) ในสมัยราชวงศ์จิ้น ผู้ซึ่งถูกยกย่องว่าเป็นสตรีที่เชี่ยวชาญด้านอักษร นางเปรียบเปรยหิมะขาวที่โปรยปรายด้วยวลีที่ว่า ‘ดุจดอกหลิ่วเริงระบำในสายลม’ (未若柳絮因风起) (ขอเรียกว่าดอก แต่จริงๆ เป็นเมล็ดของต้นหลิ่ว) ต่อมา ‘ซวี่กั่ว’ และ ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ปรากฏขึ้นในบทประพันธ์ยุคสมัยชิง เป็นส่วนหนึ่งของวลีที่ว่า ‘หลันอินซวี่กั่ว เซี่ยนเยี่ยสุยเซิน’ (兰因絮果, 现业谁深) Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงประโยคนี้ว่า ‘รักแรกผลิบานงดงามดุจหลันฮวา สุดท้ายมลายหายดุจดอกหลิ่วพลิ้วสลาย ผู้ใดเล่าจะกล่าวได้ว่า สลักลึกลงบนใจผู้ใดมากกว่ากัน’ ‘หลันอินซวี่กั่ว’ ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> จึงเป็นการสรุปเรื่องราวความรักของเฉียนหลงและหรูอี้ได้อย่างชัดเจนด้วยอักษรเพียงสี่ตัว เพื่อให้อินกับประโยคนี้ ขอเชิญเพื่อนเพจหลับตาและนึกภาพดอกไม้ผลิบานพร้อมกับรอยยิ้มสุขสดชื่นให้แก่กันของหรูอี้และเฉียนหลงในละคร แล้วตัดมาเป็นภาพปุยสีขาวๆ ที่ถูกสายลมพัดแตกไปพร้อมๆ กับภาพของหรูอี้ที่สิ้นลมอย่างสงบข้างๆ กระถางต้นเหมยที่แห้งกรอบ... “คัท!” อาทิตย์หน้ามาคุยกันต่อกับประโยคถัดไปที่ว่า ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://okapi.books.com.tw/article/11422 https://ent.tom.com/201807/1011240093.html https://www.sohu.com/a/230867588_100149137 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.xiumu.cn/ts/2018/0824/4278239.html https://www.163.com/dy/article/G0GD3GUH0537ML11.html https://baike.baidu.com/item/未若柳絮因风起/8776864 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #หลันอินซวี่กั่ว #เจิ้งเหวินกง #เยี่ยนจี๋
    OKAPI.BOOKS.COM.TW
    個人意見:演出深情演得最好也最落力的,往往都是渣男──《如懿傳》教會我的事
    《如懿傳》講的就是婚姻。該宮鬥的情節雖一樣不少,但心機只是這部小說的點綴,真正著力的...
    0 Comments 0 Shares 705 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时)

    จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย)

    ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง

    เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น

    ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ

    ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม?

    ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ

    ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว

    วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286
    https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616
    http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx
    http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    สัปดาห์ที่แล้ว Storyฯ คุยถึงวลี ‘หลันอินซวี่กั่ว’ จากเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid036pXf9b2bDT6Pj7hz6t8U4hTYrJTrubWu3xRGJ26wogVFFnWAsTm6iQm7PECsHvbFl) วันนี้มาคุยต่อกันเกี่ยวกับอีกหนึ่งวลีเด็ดจากเรื่องเดียวกัน คือ ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วง... ตามเวลาของมัน’ (ฮวาคายฮวาลั่วจื้อโหย่วสือ / 花开花落自有时) จริงๆ แล้วความหมายของมันค่อนข้างตรงตัวเพราะสะท้อนถึงวัฏจักรแห่งชีวิต และเชื่อว่าเพื่อนเพจหลายคนคงคิดว่ามันมาจากกลอนรัก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ผันแปรมาจากวรรคหนึ่งในบทกวีในสมัยซ่งใต้ เป็นบทกวีของนางคณิกาหลวงเหยียนหรุ่ยผู้เลื่องชื่อด้านบทกวี มีชื่อว่า ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ (不是爱风尘 / มิได้รักในชีวิตนางคณิกา) และประโยคดั้งเดิมคือ ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน’ (คือร่วงก่อนแล้วค่อยบาน ไม่ใช่บานแล้วจึงร่วงแบบที่เราคุ้นเคย) ประวัติของเหยียนหรุ่ยไม่แน่ชัด บ้างว่านางถูกพ่อเลี้ยงหลอกมาขาย บ้างว่าพ่อของนางเคยเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่ต้องโทษ แต่ที่ชัดเจนคือนางได้รับการศึกษามาอย่างดีก่อนจะกลายมาเป็นนางคณิกาหลวง (คือถูกเรียกใช้ร้องรำทำเพลงในงานเลี้ยงต่างๆ ของขุนนาง) ชีวิตของนางผ่านร้อนผ่านหนาวไม่น้อย นางได้รับการชื่นชมจากขุนนางและผู้มีหน้ามีตาในสังคมไม่น้อยด้วยบทกวีที่โดดเด่น หนึ่งในนั้นคือถังจงโหย่วผู้ว่าราชการเขตเจ๋อตง จนต่อมานางถูกจับเข้าคุกไปทรมานด้วยข้อหาที่ว่านางค้างคืนในจวนของถังจงโหย่ว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเอาผิดถังจงโหย่ว (ซึ่งเป็นการผิดกฎการใช้บริการนางคณิกาหลวง) แต่นางไม่ยอมรับผิดตามข้อกล่าวหา จนสุดท้ายเรื่องถึงในวังและได้มีการแต่งตั้งเยวี่ยหลิน (ลูกชายของเยวี่ยเฟยหรืองักฮุย) มาไต่สวนจนพบว่าจริงแล้วมันเป็นการแย่งชิงอำนาจของขุนนางโดยมีนางเป็นหมากตาหนึ่ง นางจึงได้รับการปลดปล่อย และต่อมาในบั้นปลายชีวิตนางกินดีอยู่ดีในฐานะอนุภรรยาอันเป็นที่รักของพ่อม่ายเชื้อพระวงศ์คนหนึ่ง เรื่องราวตอนที่นางถูกใส่ร้ายจนจำคุกและถูกทรมานเจียนตายนั้น เป็นคดีความที่โด่งดัง เกิดขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1182 และตอนที่นางถูกนำมาไต่สวนอีกครั้งโดยเยวี่ยหลินนั้น ด้วยความที่เยวี่ยหลินได้ยินกิตติศัพท์ความสามารถด้านโคลงกลอนของนางและสืบรู้เรื่องราวที่แท้จริงจนตั้งใจจะปล่อยนางอยู่แล้ว จึงตั้งเงื่อนไขให้นางเล่าความจริงผ่านบทกวีเพื่อแลกกับอิสรภาพ และ ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ คือบทกวีบทนั้น ‘ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน’ มีแปดวรรค เป็นบทกลอนที่ใช้การเปรียบเปรยและอุปมาอุไมยไม่น้อย สาระใจความสรุปได้ว่า: อย่าได้คิดดูถูกว่านางเป็นสตรีใฝ่ต่ำ นางไม่ได้ต้องการมาเป็นนางคณิกา แต่มีเหตุผิดพลาดทำให้ชีวิตผกผัน ชะตาชีวิตของนางตอนนี้ขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลินแล้ว นางอยากหลุดพ้นจากชีวิตนางคณิกานี้ แต่ยังจำต้องทนแม้ฝืนใจเต็มที และสิ่งที่โหยหาคืออิสรภาพ ฟังดูเหมือนไม่น่ามีอะไรเกี่ยวกับ ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ ใช่ไหม? ประโยค ‘บุปผาโรยร่วงฯ’ นี้ ในบทกวีเดิมเขียนไว้ว่า ‘บุปผาโรยร่วงและผลิบานตามเวลาของมัน ล้วนแล้วแต่สุริยเทพจะกำหนด’ (花落花开自有时, 总赖东君主) เป็นการอุปมาอุปไมยว่า ไม่ว่านางจะตกอับจำคุก (บุปผาโรยร่วง) หรือจะพ้นคุกยืนหยัดขึ้นได้ใหม่ (บุปผาผลิบาน) อาจดูคล้ายเป็นเรื่องที่ชะตาชีวิตกำหนดไว้แล้ว แต่จริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับเยวี่ยหลิน (สุริยเทพ) ดังนั้นประโยคนี้ในความหมายดั้งเดิมของมันคือการรำพันถึงชะตาชีวิตที่ตกอยู่ในมือคนอื่น ตนเองไม่อาจกำหนดได้ สะท้อนถึงความท้อแท้ในใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับในธรรมชาติของมันและอ้อนวอนขอความเห็นใจ ว่ากันว่าบทกวีนี้มิเพียงทำให้นางหลุดจากคุกแต่ยังได้รับการปลดชื่อออกจากทะเบียนทาสซึ่งเป็นสถานะของนางคณิกาหลวงอีกด้วย (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนถึงสถานะทาสของนางคณิกาหลวงแล้วในเรื่องของ ซ่งอิ่นจาง ในเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) เป็นการได้รับอิสรภาพสองแบบเลยทีเดียว วรรคที่ใช้ดอกไม้อุปมาอุปไมยถึงชะตาชีวิตนี้ เป็นที่นิยมแพร่หลายด้วยความไพเราะของมัน และต่อมาถูกผันเปลี่ยนมาเป็น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน’ (คือบานแล้วจึงโรย ตามวัฏจักรธรรมชาติ) และมีการแต่งวรรคต่ออีกหลากหลาย เช่น ‘บุปผาผลิบานแล้วโรยร่วงตามเวลาของมัน รักเกิดรักดับไม่มีผู้ใดบังคับได้’ เป็นต้น แต่ล้วนเป็นประโยคที่กล่าวถึงการดับการเกิดตามครรลองธรรมชาติเพื่อสะท้อนความไม่จีรัง และนิยมนำมาใช้กับความรักหรือความสัมพันธ์ระหว่างคน และนี่ก็เป็นบริบทและความหมายที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> นี่เอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.vogue.com.tw/culture/content-42286 https://kknews.cc/history/5x9gyb8.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/严蕊/892616 http://www.gaosan.com/gaokao/262749.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_753d1a95cd9e.aspx http://book.sina.com.cn/excerpt/rwws/2017-04-14/1446/doc-ifyeimqc3679324-p2.shtml #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #เหยียนหรุ่ย #บุปผาผลิบาน #ปู๋ซื่ออ้ายเฟิงเฉิน
    0 Comments 0 Shares 1003 Views 0 Reviews
  • สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้

    ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน

    ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 )
    บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย

    วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย

    นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี?

    นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย

    ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx
    https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172
    https://www.sohu.com/a/260464211_801417
    https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408

    #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ Storyฯ คุยถึงที่มาของวลีเด็ดจากซีรีส์ <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> มีเพื่อนเพจถามถึงเรื่องละครงิ้วที่หรูอี้พูดถึงบ่อยๆ ในเรื่อง ซึ่งก็คือ ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (墙头马上) ขอใช้คำแปลตรงตัวว่า ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ ซึ่งในซีรีส์เท้าความว่า การชมงิ้วเรื่องนี้เป็นครั้งแรกที่หรูอี้และเฉียนหลงได้พบกัน และต่อมามีฉากที่เฉียนหลงบอกว่าจะไม่อ่อนแอเหมือนคุณชายสกุลเผย และหรูอี้บอกว่าไม่อยากต้องเจอสภาพแบบคุณหนูหลี่ที่ถูกบังคับให้ต้องทิ้งลูกไป ทำเอาผู้ชมงงไปตามๆ กันว่าเขาคุยอะไรกัน วันนี้เรามาคุยกันเรื่อง ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ เป็นละครงิ้วสมัยราชวงศ์หยวนมีชื่อเต็มว่า ‘เผยส้าวจวิ้น เฉียงโถวหม่าซ่าง’ (裴少俊墙头马上) ต่อมาตัดชื่อสั้นลงเหลือเพียง ‘เฉียงโถวหม่าซ่าง’ เป็นผลงานของ ‘ไป๋ผ้อ’ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดผู้แต่งบทละครงิ้วในสมัยนั้นและผลงานของเขายังได้รับการสืบทอดและจัดแสดงในปัจจุบันอีกหลายเรื่อง และ ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดละครงิ้วแนวรักโรแมนติกสมัยหยวน ละครงิ้วนี้ดัดแปลงมาจากบทกวีสมัยถังของไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) (หมายเหตุ คือเขาคือนักการเมืองผู้เคยสร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกซากุระหรืออิงฮวาที่ Storyฯ เคยเขียนถึง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/686842736777355 ) บทกวีที่ว่านี้มีชื่อว่า ‘งมขวดเงินจากก้นบ่อ’ (井底引银瓶) เป็นหนึ่งในผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดของเขา ยาวถึง 34 วรรค สรุปเนื้อหาเป็นเรื่องราวความรักรันทด โดยมีอารัมภบทว่า ใช้ด้ายผูกขวดเงินดึงขึ้นเกือบจะพ้นบ่อ แต่ด้ายก็ขาดเสียก่อน เอาหยกมาเจียรด้วยหิน กำลังจะได้ปิ่นปักผมก็มาหักเสียก่อน เป็นการหวนรำลึกถึงความรักในอดีตที่ขาดสะบั้นลง อดีตที่ว่านี้ก็คือเรื่องคุณหนูนางหนึ่งที่ถูกเลี้ยงมาอย่างริ้นไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม วันๆ ถูกขังอยู่แต่ในสวนหลังบ้าน จึงชอบปีนขึ้นไปเกาะสันกำแพงมองดูโลกภายนอก อยู่มาวันหนึ่งยืนมองอยู่อย่างนี้ก็สบตาเข้ากับคุณชายท่านหนึ่งที่ขี่ม้าขาวผ่านมา เกิดเป็นรักแรกพบ ต่อมาก็หนีตามคุณชายผู้นั้นกลับไปยังบ้านของเขาที่อีกเมืองหนึ่ง แต่ด้วยเป็นการหนีตาม ไม่ได้มีตบแต่งตามพิธีการ นางจึงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวฝ่ายชาย ถูกมองว่าเป็นเพียงอนุ ไม่ใช่ภรรยาเอก สุดท้ายถูกบีบให้ทิ้งลูกและไล่ออกไป คุณชายนั้นก็ไม่ได้ปกป้อง นางจึงต้องออกมาผจญชีวิตตามลำพังเพราะละอายเกินกว่าจะแบกหน้ากลับบ้านเกิด บทกวีจบลงด้วยการรำพันของนางว่า ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี และเตือนเหล่าหญิงสาวไร้เดียงสาที่กำลังมีความรักให้จงสังวรไว้ว่า อย่าได้เอาชีวิตทั้งชีวิตของตนมาทุ่มเทให้กับชายใดได้โดยง่าย วรรคที่กล่าวถึงตอนสบตากันข้ามกำแพงและตกหลุมรักนั้น ก็คือวรรคที่หรูอี้มักเอ่ยติดปากยามที่นางและเฉียนหลงพูดถึงละครงิ้ว ‘สันกำแพง-หลังอาชา’ นี้ ซึ่ง Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงวรรคนี้ว่า ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ (墙头马上遥相顾,一见知君即断肠 หมายเหตุ ภาษาจีนใช้คำประมาณว่า ‘รักและคิดถึงจนทำให้ไส้ขาดจนตายได้!’) เป็นคำพูดที่หรูอี้พยายามสื่อให้เฉียนหลงเข้าใจว่านางรักเขามากมาย นับว่าเป็นบทกวีที่แฝงไว้ด้วยความเศร้าและความผิดหวัง แต่ทำไมหรูอี้และเฉียนหลงจึงคุยกันราวกับว่ามันเป็นเรื่องที่มีความหมายดี? นั่นเป็นเพราะว่าละครงิ้วและบทกวีมีความแตกต่าง ละครงิ้วที่นิยมในสมัยหยวนนั้น เป็นสไตล์แบบ ‘จ๋าจวี้’ (Mixed Play ที่ Storyฯ เคยพูดถึงตอนคุยเรื่อง <สามบุปผาลิขิตฝัน>) กล่าวคือมีหลากหลายอรรถรส ละครเรื่องนี้จึงถูกแต่งเติมให้มีทั้งความเศร้า ความตลกและจบแบบสุขนิยม มีการต่อเติมเรื่องราวว่า สตรีนางนี้คือคุณหนูหลี่เชียนจิน แต่นางโหยหาความรักและต่อต้านการถูกกักขัง นางหนีตามเผยส้าวจวิ้นมาถึงเรือนสกุลเผย แต่ต้องแอบอยู่ในเรือนสวนของสามีไม่ให้พ่อของสามีรู้ อยู่มาเจ็ดปีมีบุตรชายหนึ่งหญิงหนึ่ง ความลับก็ถูกเปิดเผย นางถูกกล่าวหาว่าเป็นนางโลมและถูกบีบให้ต้องทิ้งลูกกลับบ้านเกิดไปโดยที่เผยส้าวจวิ้นทำอะไรไม่ได้ ต่อมาเผยส้าวจวิ้นสอบได้เป็นราชบัณฑิตเป็นขุนนางติดยศ ทางบ้านไม่กล้าขัดเขาอีก เขาก็มาง้อนาง ง้ออยู่นานจนสุดท้ายนางใจอ่อนยอมคืนดีด้วย และได้ครองรักกันอย่างมีความสุขในที่สุด เป็นเรื่องราวความรักหลากหลายอรรถรสที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่จะฝ่าฟันอุปสรรคให้หลุดพ้นจากกรอบสังคม จึงเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมตลอดหลายยุคหลายสมัย ‘เหนือกำแพงประสานตาหลังอาชา หนึ่งพานพบคนึงหาเจียนวางวาย’ ... ไม่แน่ว่าหรูอี้อาจต้องการเพียงใช้ประโยคนี้แสดงถึงความรักอย่างยิ่งยวดที่มีต่อเฉียนหลง แต่บทสรุปเรื่องราวชีวิตของนางผ่านซีรีส์เรื่องนี้กลับกลายเป็นอย่างที่บทกวีว่าไว้... ความรักเพียงชั่วขณะของบุรุษ กลับเป็นความพลาดทั้งชีวิตของสตรี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/history/xeg9gx8.html https://www.sgss8.net/tpdq/21724747/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_5487665ffe0a.aspx https://baike.baidu.com/item/井底引银瓶/10214172 https://www.sohu.com/a/260464211_801417 https://baike.baidu.com/item/裴少俊墙头马上/754408 #หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์ #จ๋าจวี้ #งิ้วสมัยหยวน #เฉียงโถวหม่าซ่าง #สันกำแพงหลังอาชา
    0 Comments 0 Shares 1074 Views 0 Reviews
More Results