วันนี้นั่งฟังเพลงนางไม้อยู่
แล้วมีความรำลึกถึงอย่างแรงกล้าต่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เมื่อครั้งอดีต.
.
ผมเคยเล่าให้หลายคนฟังเกี่ยวกับปูมหลังของผมว่า การเขียนเพลงของผมมีรากฐานยาวไกลมาจากครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่งชื่อครูจันทร์เพ็ญ สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน นครปฐม... และยังเล่าอีกว่ามีกวีเอกรัตนโกสินทร์ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจด้วย นั่นคือ "ท่านจันทร์" หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ภายหลังตัดคำ วัฒน์ ออก เหลือ จันทร์จิรายุ). แต่คนส่วนใหญ่ที่มาสัมภาษก็ได้แต่รับฟังและไม่ได้สนใจจะถามไถ่ว่าปูมหลังเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไร อย่าว่าแต่ครูจันทร์เพ็ญผู้ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่ "ท่านจันทร์" เองก็ไม่ได้เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังจะรู้จักและใส่ใจ ทั้งที่ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานเจิดจ้าอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ท่านเป็นเจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นพระโอรสในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กวีเอกอีกท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า น.ม.ส.
.
ตอนที่เรียนอยู่ ภปร. ผมอยู่บ้านสาม ตอนเข้าไปใหม่ๆ ครูประจำบ้านชื่อครูสมยศ บ้านพักของท่านอยู่ข้างๆ หอนอนบ้านสาม ครูจันทร์เพ็ญที่สอนภาษาไทยเป็นภรรยาของท่าน และเคยเป็นครูประจำชั้นของผมอยู่ปีหนึ่งในช่วงเรียนชั้นประถม ครูจันทร์เพ็ญสังเกตุเห็นความสนใจในการเขียนโคลงกลอนของผมและมักชวนคุย เป็นเหตุให้ผมเวียนไปคุยที่บ้านพักของท่านเมื่อมีโอกาสว่างจากกิจวัตร ท่านให้กำลังใจผมว่าผมมีโอกาสที่จะเจริญทางการเขียนได้ ท่านให้คำแนะนำอย่างไม่เบื่อหน่ายในเรื่องรูปแบบการเขียนของฉันทลักษณ์ต่างๆ และแนะนำงานหลายชิ้นให้อ่าน เช่นพวกงานเขียนคลาสสิคอย่างนิราศนั่นนี่ของสุนทรภู่เป็นต้น
.
ผมสิงสู่ดุจผีร้ายที่ห้องสมุดของโรงเรียนนับแต่นั้น ซ่อนงานที่ชอบไว้อ่านเองเพราะกลัวคนมาตัดหน้ายืมไป (เป็นความประพฤติที่แย่มากและไม่จำเป็นเลย เพื่อนนักเรียนในยุคผมแทบหาคนเป็นนักอ่านไม่ได้) ในจำนวนนั้นมีงานของกวีท่านหนึ่ง ครูบอกว่าครูชอบที่สุด ก็คืองานของท่านจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นร้อยกรองที่มีแรงดึงดูดใจผมอย่างอธิบายไม่ถูก มีหนังสือเก่าๆ เล่มบางๆ บางเล่มที่เคยอ่านในตอนนั้น แต่ความทรงจำของผมไม่ปะติดปะต่อนักในภายหลังเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วและพยายามจะหาหนังสือเหล่านั้นมาเก็บเป็นของตัวเอง. หนังสือที่อยากได้มากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Facets of Thai Poetry (2525) เพราะเป็นงานโคลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่เคยหามาครอบครองได้สำเร็จ ยังมีหนังสือเก่าอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามหาอยู่ อย่างเช่น โคลงตำรับประมวญมารค (2510), นิราศนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง (2511 - นายโต๊ะ เป็นอีกนามปากกาของท่าน), รวมทั้งหนังสือในช่วงหลังเช่น นักกลอนบ่อนเข้าแช่ (2520)... (โดยเฉพาะบทกวีของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งกระจัดกระจายตีพิมพ์ในนิตยสารสมัยก่อน ยิ่งรวบรวมแสนยาก จริงๆ แล้วอยากได้ฉบับจริงมาเก็บไว้ แต่หากใครมีและเมตตาทำสำเนาให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
.
สิ่งที่โดดเด่นและสร้างความหลงไหลให้แก่ผมก็คือท่านจันทร์เป็นกวีสองภาษา รสชาติทางเสียงและอักษรในบทกวีของท่านเป็นสิ่งที่น่าประทับใจเหลือล้ำสำหรับผม ถ้าคุณเป็นคนรักในโคลงกลอนเชื่อว่าคุณจะรู้สึกเหมือนผมเมื่อได้อ่าน และแม้เมื่อผมอายุมากขึ้นมาจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้ยินบทกวีที่กระทบโสตประสาทแล้วมีรสชาติเทียบได้เช่นนั้น ถ้าคุณเคยอ่านกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษคุณจะคุ้นเคยกับรสชาติของมันแบบหนึ่ง และขณะที่คุณอ่านกวีนิพนธ์ไทยในภาษาไทยคุณก็จะคุ้นเคยกับรสชาติคุ้นชินนั้นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณได้อ่านบทกวีภาษาอังกฤษที่วางอยู่บนฉันทลักษณ์ที่สวยงามแบบไทย โดยเฉพาะเมื่อมันโลดแล่นสลับไปมาระหว่างสองภาษา คุณจะรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งกว่าความรู้สึกสองแบบที่กล่าวไปหลายเท่า และตลอดชีวิตผมไม่เคยเห็นงานเขียนแบบนี้จากคนอื่น.. ตัวอย่างเช่น ท่านเขียนประวัติท่านบนโคลงสี่ว่า...
================================================
.
พฤหัสขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด
จันทร์กระโดดกระเด็นแดด เที่ยงเปรี้ยง
จอแปดจะแปดแฝด แปดเดี่ยว ก็ดี
เข้าวษาเสียงเพี้ยง สวดพร้อง คล้องหอน ฯ
.
Born : nineteen hundred and ten*
That was the year when Kings died**
The stars in heaven did laugh
On earth people cried when I was born
.
[* ค.ศ.1910 / ** พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าและกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดสวรรคตในปีนั้น]
=================================================
.
พี่เนาว์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์อีกท่าน กล่าวไว้ไม่ผิด...
"ท่านจันทร์ เป็นกวีของกวี"
แม้วันนี้ความรู้สึกอย่างนี้ของผมก็ยังไม่เปลี่ยน
แรงบันดาลใจนี้ส่งผลให้ผมตะเกียกตะกายอย่างยิ่งเสมอมาที่จะเขียนเพลงให้ภาษาสวยงามสักเสี้ยวธุลีนึงของท่าน
.
=================================================
อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ปฏิมากรเอกของไทยเคยปั้นรูปเหมือนศีรษะของท่านจันทร์
ท่านเขียนกวีว่า....
.
ช่างปั้นเขาช่างปั้น รูปเหมือน หัวเฮย
ยังมิทันจะเลือน หนุ่มฟ้อ
เดือนปีสักกี่เดือน หาจด จำแฮ
ดูประดุจรูปล้อ ธาตุน้ำลมไฟ ฯ
.
วันหนึ่งกายหยาบนี้ จักสลาย
เหลือแต่หัวตัวหาย ตกฟ้า
อักษรจะนอนหงาย ปกเปิด
หรือว่าคว่ำดำหล้า ธาตุสิ้นดินสูญ ฯ
.
- พ ณ.ประมวญมารค (2531) ==============================================
ท่านสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2534
แต่อักษรของท่านไม่คว่ำและมีน้ำหนักมั่นคงจารึกลงในแผ่นดินไม่มีวันสิ้นสูญ.
.
ด้วยจิตคารวะ
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
2566
แล้วมีความรำลึกถึงอย่างแรงกล้าต่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เมื่อครั้งอดีต.
.
ผมเคยเล่าให้หลายคนฟังเกี่ยวกับปูมหลังของผมว่า การเขียนเพลงของผมมีรากฐานยาวไกลมาจากครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่งชื่อครูจันทร์เพ็ญ สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน นครปฐม... และยังเล่าอีกว่ามีกวีเอกรัตนโกสินทร์ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจด้วย นั่นคือ "ท่านจันทร์" หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ภายหลังตัดคำ วัฒน์ ออก เหลือ จันทร์จิรายุ). แต่คนส่วนใหญ่ที่มาสัมภาษก็ได้แต่รับฟังและไม่ได้สนใจจะถามไถ่ว่าปูมหลังเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไร อย่าว่าแต่ครูจันทร์เพ็ญผู้ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่ "ท่านจันทร์" เองก็ไม่ได้เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังจะรู้จักและใส่ใจ ทั้งที่ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานเจิดจ้าอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ท่านเป็นเจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นพระโอรสในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กวีเอกอีกท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า น.ม.ส.
.
ตอนที่เรียนอยู่ ภปร. ผมอยู่บ้านสาม ตอนเข้าไปใหม่ๆ ครูประจำบ้านชื่อครูสมยศ บ้านพักของท่านอยู่ข้างๆ หอนอนบ้านสาม ครูจันทร์เพ็ญที่สอนภาษาไทยเป็นภรรยาของท่าน และเคยเป็นครูประจำชั้นของผมอยู่ปีหนึ่งในช่วงเรียนชั้นประถม ครูจันทร์เพ็ญสังเกตุเห็นความสนใจในการเขียนโคลงกลอนของผมและมักชวนคุย เป็นเหตุให้ผมเวียนไปคุยที่บ้านพักของท่านเมื่อมีโอกาสว่างจากกิจวัตร ท่านให้กำลังใจผมว่าผมมีโอกาสที่จะเจริญทางการเขียนได้ ท่านให้คำแนะนำอย่างไม่เบื่อหน่ายในเรื่องรูปแบบการเขียนของฉันทลักษณ์ต่างๆ และแนะนำงานหลายชิ้นให้อ่าน เช่นพวกงานเขียนคลาสสิคอย่างนิราศนั่นนี่ของสุนทรภู่เป็นต้น
.
ผมสิงสู่ดุจผีร้ายที่ห้องสมุดของโรงเรียนนับแต่นั้น ซ่อนงานที่ชอบไว้อ่านเองเพราะกลัวคนมาตัดหน้ายืมไป (เป็นความประพฤติที่แย่มากและไม่จำเป็นเลย เพื่อนนักเรียนในยุคผมแทบหาคนเป็นนักอ่านไม่ได้) ในจำนวนนั้นมีงานของกวีท่านหนึ่ง ครูบอกว่าครูชอบที่สุด ก็คืองานของท่านจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นร้อยกรองที่มีแรงดึงดูดใจผมอย่างอธิบายไม่ถูก มีหนังสือเก่าๆ เล่มบางๆ บางเล่มที่เคยอ่านในตอนนั้น แต่ความทรงจำของผมไม่ปะติดปะต่อนักในภายหลังเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วและพยายามจะหาหนังสือเหล่านั้นมาเก็บเป็นของตัวเอง. หนังสือที่อยากได้มากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Facets of Thai Poetry (2525) เพราะเป็นงานโคลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่เคยหามาครอบครองได้สำเร็จ ยังมีหนังสือเก่าอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามหาอยู่ อย่างเช่น โคลงตำรับประมวญมารค (2510), นิราศนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง (2511 - นายโต๊ะ เป็นอีกนามปากกาของท่าน), รวมทั้งหนังสือในช่วงหลังเช่น นักกลอนบ่อนเข้าแช่ (2520)... (โดยเฉพาะบทกวีของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งกระจัดกระจายตีพิมพ์ในนิตยสารสมัยก่อน ยิ่งรวบรวมแสนยาก จริงๆ แล้วอยากได้ฉบับจริงมาเก็บไว้ แต่หากใครมีและเมตตาทำสำเนาให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
.
สิ่งที่โดดเด่นและสร้างความหลงไหลให้แก่ผมก็คือท่านจันทร์เป็นกวีสองภาษา รสชาติทางเสียงและอักษรในบทกวีของท่านเป็นสิ่งที่น่าประทับใจเหลือล้ำสำหรับผม ถ้าคุณเป็นคนรักในโคลงกลอนเชื่อว่าคุณจะรู้สึกเหมือนผมเมื่อได้อ่าน และแม้เมื่อผมอายุมากขึ้นมาจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้ยินบทกวีที่กระทบโสตประสาทแล้วมีรสชาติเทียบได้เช่นนั้น ถ้าคุณเคยอ่านกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษคุณจะคุ้นเคยกับรสชาติของมันแบบหนึ่ง และขณะที่คุณอ่านกวีนิพนธ์ไทยในภาษาไทยคุณก็จะคุ้นเคยกับรสชาติคุ้นชินนั้นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณได้อ่านบทกวีภาษาอังกฤษที่วางอยู่บนฉันทลักษณ์ที่สวยงามแบบไทย โดยเฉพาะเมื่อมันโลดแล่นสลับไปมาระหว่างสองภาษา คุณจะรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งกว่าความรู้สึกสองแบบที่กล่าวไปหลายเท่า และตลอดชีวิตผมไม่เคยเห็นงานเขียนแบบนี้จากคนอื่น.. ตัวอย่างเช่น ท่านเขียนประวัติท่านบนโคลงสี่ว่า...
================================================
.
พฤหัสขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด
จันทร์กระโดดกระเด็นแดด เที่ยงเปรี้ยง
จอแปดจะแปดแฝด แปดเดี่ยว ก็ดี
เข้าวษาเสียงเพี้ยง สวดพร้อง คล้องหอน ฯ
.
Born : nineteen hundred and ten*
That was the year when Kings died**
The stars in heaven did laugh
On earth people cried when I was born
.
[* ค.ศ.1910 / ** พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าและกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดสวรรคตในปีนั้น]
=================================================
.
พี่เนาว์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์อีกท่าน กล่าวไว้ไม่ผิด...
"ท่านจันทร์ เป็นกวีของกวี"
แม้วันนี้ความรู้สึกอย่างนี้ของผมก็ยังไม่เปลี่ยน
แรงบันดาลใจนี้ส่งผลให้ผมตะเกียกตะกายอย่างยิ่งเสมอมาที่จะเขียนเพลงให้ภาษาสวยงามสักเสี้ยวธุลีนึงของท่าน
.
=================================================
อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ปฏิมากรเอกของไทยเคยปั้นรูปเหมือนศีรษะของท่านจันทร์
ท่านเขียนกวีว่า....
.
ช่างปั้นเขาช่างปั้น รูปเหมือน หัวเฮย
ยังมิทันจะเลือน หนุ่มฟ้อ
เดือนปีสักกี่เดือน หาจด จำแฮ
ดูประดุจรูปล้อ ธาตุน้ำลมไฟ ฯ
.
วันหนึ่งกายหยาบนี้ จักสลาย
เหลือแต่หัวตัวหาย ตกฟ้า
อักษรจะนอนหงาย ปกเปิด
หรือว่าคว่ำดำหล้า ธาตุสิ้นดินสูญ ฯ
.
- พ ณ.ประมวญมารค (2531) ==============================================
ท่านสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2534
แต่อักษรของท่านไม่คว่ำและมีน้ำหนักมั่นคงจารึกลงในแผ่นดินไม่มีวันสิ้นสูญ.
.
ด้วยจิตคารวะ
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
2566
วันนี้นั่งฟังเพลงนางไม้อยู่
แล้วมีความรำลึกถึงอย่างแรงกล้าต่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เมื่อครั้งอดีต.
.
ผมเคยเล่าให้หลายคนฟังเกี่ยวกับปูมหลังของผมว่า การเขียนเพลงของผมมีรากฐานยาวไกลมาจากครูสอนภาษาไทยท่านหนึ่งชื่อครูจันทร์เพ็ญ สมัยที่เรียนอยู่โรงเรียน ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน นครปฐม... และยังเล่าอีกว่ามีกวีเอกรัตนโกสินทร์ท่านหนึ่งเป็นแรงบันดาลใจด้วย นั่นคือ "ท่านจันทร์" หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี (ภายหลังตัดคำ วัฒน์ ออก เหลือ จันทร์จิรายุ). แต่คนส่วนใหญ่ที่มาสัมภาษก็ได้แต่รับฟังและไม่ได้สนใจจะถามไถ่ว่าปูมหลังเหล่านี้ดำเนินไปอย่างไร อย่าว่าแต่ครูจันทร์เพ็ญผู้ไร้ชื่อเสียงเรียงนาม แม้แต่ "ท่านจันทร์" เองก็ไม่ได้เป็นชื่อที่คนรุ่นหลังจะรู้จักและใส่ใจ ทั้งที่ท่านเป็นนักเขียนที่มีผลงานเจิดจ้าอยู่ในยุคสมัยหนึ่ง ท่านเป็นเจ้าของนามปากกา พ.ณ ประมวญมารค เป็นพระโอรสในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ กวีเอกอีกท่านที่เป็นที่รู้จักกันดีในนามปากกาว่า น.ม.ส.
.
ตอนที่เรียนอยู่ ภปร. ผมอยู่บ้านสาม ตอนเข้าไปใหม่ๆ ครูประจำบ้านชื่อครูสมยศ บ้านพักของท่านอยู่ข้างๆ หอนอนบ้านสาม ครูจันทร์เพ็ญที่สอนภาษาไทยเป็นภรรยาของท่าน และเคยเป็นครูประจำชั้นของผมอยู่ปีหนึ่งในช่วงเรียนชั้นประถม ครูจันทร์เพ็ญสังเกตุเห็นความสนใจในการเขียนโคลงกลอนของผมและมักชวนคุย เป็นเหตุให้ผมเวียนไปคุยที่บ้านพักของท่านเมื่อมีโอกาสว่างจากกิจวัตร ท่านให้กำลังใจผมว่าผมมีโอกาสที่จะเจริญทางการเขียนได้ ท่านให้คำแนะนำอย่างไม่เบื่อหน่ายในเรื่องรูปแบบการเขียนของฉันทลักษณ์ต่างๆ และแนะนำงานหลายชิ้นให้อ่าน เช่นพวกงานเขียนคลาสสิคอย่างนิราศนั่นนี่ของสุนทรภู่เป็นต้น
.
ผมสิงสู่ดุจผีร้ายที่ห้องสมุดของโรงเรียนนับแต่นั้น ซ่อนงานที่ชอบไว้อ่านเองเพราะกลัวคนมาตัดหน้ายืมไป (เป็นความประพฤติที่แย่มากและไม่จำเป็นเลย เพื่อนนักเรียนในยุคผมแทบหาคนเป็นนักอ่านไม่ได้) ในจำนวนนั้นมีงานของกวีท่านหนึ่ง ครูบอกว่าครูชอบที่สุด ก็คืองานของท่านจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี เป็นร้อยกรองที่มีแรงดึงดูดใจผมอย่างอธิบายไม่ถูก มีหนังสือเก่าๆ เล่มบางๆ บางเล่มที่เคยอ่านในตอนนั้น แต่ความทรงจำของผมไม่ปะติดปะต่อนักในภายหลังเมื่อโตเป็นหนุ่มแล้วและพยายามจะหาหนังสือเหล่านั้นมาเก็บเป็นของตัวเอง. หนังสือที่อยากได้มากที่สุดเล่มหนึ่งคือ Facets of Thai Poetry (2525) เพราะเป็นงานโคลงที่เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังไม่เคยหามาครอบครองได้สำเร็จ ยังมีหนังสือเก่าอีกจำนวนหนึ่งที่พยายามหาอยู่ อย่างเช่น โคลงตำรับประมวญมารค (2510), นิราศนายโต๊ะ ณ ท่าช้าง (2511 - นายโต๊ะ เป็นอีกนามปากกาของท่าน), รวมทั้งหนังสือในช่วงหลังเช่น นักกลอนบ่อนเข้าแช่ (2520)... (โดยเฉพาะบทกวีของท่านที่เป็นภาษาอังกฤษซึ่งกระจัดกระจายตีพิมพ์ในนิตยสารสมัยก่อน ยิ่งรวบรวมแสนยาก จริงๆ แล้วอยากได้ฉบับจริงมาเก็บไว้ แต่หากใครมีและเมตตาทำสำเนาให้จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง)
.
สิ่งที่โดดเด่นและสร้างความหลงไหลให้แก่ผมก็คือท่านจันทร์เป็นกวีสองภาษา รสชาติทางเสียงและอักษรในบทกวีของท่านเป็นสิ่งที่น่าประทับใจเหลือล้ำสำหรับผม ถ้าคุณเป็นคนรักในโคลงกลอนเชื่อว่าคุณจะรู้สึกเหมือนผมเมื่อได้อ่าน และแม้เมื่อผมอายุมากขึ้นมาจนทุกวันนี้ ก็ยังไม่เคยได้ยินบทกวีที่กระทบโสตประสาทแล้วมีรสชาติเทียบได้เช่นนั้น ถ้าคุณเคยอ่านกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษคุณจะคุ้นเคยกับรสชาติของมันแบบหนึ่ง และขณะที่คุณอ่านกวีนิพนธ์ไทยในภาษาไทยคุณก็จะคุ้นเคยกับรสชาติคุ้นชินนั้นอีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าคุณได้อ่านบทกวีภาษาอังกฤษที่วางอยู่บนฉันทลักษณ์ที่สวยงามแบบไทย โดยเฉพาะเมื่อมันโลดแล่นสลับไปมาระหว่างสองภาษา คุณจะรู้สึกอัศจรรย์ยิ่งกว่าความรู้สึกสองแบบที่กล่าวไปหลายเท่า และตลอดชีวิตผมไม่เคยเห็นงานเขียนแบบนี้จากคนอื่น.. ตัวอย่างเช่น ท่านเขียนประวัติท่านบนโคลงสี่ว่า...
================================================
.
พฤหัสขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนแปด
จันทร์กระโดดกระเด็นแดด เที่ยงเปรี้ยง
จอแปดจะแปดแฝด แปดเดี่ยว ก็ดี
เข้าวษาเสียงเพี้ยง สวดพร้อง คล้องหอน ฯ
.
Born : nineteen hundred and ten*
That was the year when Kings died**
The stars in heaven did laugh
On earth people cried when I was born
.
[* ค.ศ.1910 / ** พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้าและกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดสวรรคตในปีนั้น]
=================================================
.
พี่เนาว์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์อีกท่าน กล่าวไว้ไม่ผิด...
"ท่านจันทร์ เป็นกวีของกวี"
แม้วันนี้ความรู้สึกอย่างนี้ของผมก็ยังไม่เปลี่ยน
แรงบันดาลใจนี้ส่งผลให้ผมตะเกียกตะกายอย่างยิ่งเสมอมาที่จะเขียนเพลงให้ภาษาสวยงามสักเสี้ยวธุลีนึงของท่าน
.
=================================================
อาจารย์ เขียน ยิ้มศิริ ปฏิมากรเอกของไทยเคยปั้นรูปเหมือนศีรษะของท่านจันทร์
ท่านเขียนกวีว่า....
.
ช่างปั้นเขาช่างปั้น รูปเหมือน หัวเฮย
ยังมิทันจะเลือน หนุ่มฟ้อ
เดือนปีสักกี่เดือน หาจด จำแฮ
ดูประดุจรูปล้อ ธาตุน้ำลมไฟ ฯ
.
วันหนึ่งกายหยาบนี้ จักสลาย
เหลือแต่หัวตัวหาย ตกฟ้า
อักษรจะนอนหงาย ปกเปิด
หรือว่าคว่ำดำหล้า ธาตุสิ้นดินสูญ ฯ
.
- พ ณ.ประมวญมารค (2531) ==============================================
ท่านสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2534
แต่อักษรของท่านไม่คว่ำและมีน้ำหนักมั่นคงจารึกลงในแผ่นดินไม่มีวันสิ้นสูญ.
.
ด้วยจิตคารวะ
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
2566
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
21 มุมมอง
0 รีวิว