• ขอ 100,000 รายชื่อ ของคนไทยที่ ”คลั่งชาติ-รักษ์ชาติ“ ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐบาลยกเลิก MOU-44 เพื่อพิทักษ์ปกป้องอธิปไตย-เขตแดนทางทะเล (เกาะกูด) และ ทรัพยากรทางทะเล อันเป็นสมบัติของชาติ

    สามารถคลิกลงชื่อตามลิงค์ด้านล่างนี้
    https://nationalist.onrender.com
    ขอ 100,000 รายชื่อ ของคนไทยที่ ”คลั่งชาติ-รักษ์ชาติ“ ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐบาลยกเลิก MOU-44 เพื่อพิทักษ์ปกป้องอธิปไตย-เขตแดนทางทะเล (เกาะกูด) และ ทรัพยากรทางทะเล อันเป็นสมบัติของชาติ สามารถคลิกลงชื่อตามลิงค์ด้านล่างนี้ https://nationalist.onrender.com
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 26 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพลียใจกะนายก #นายกคนที่31 #saveเกาะกูด a2
    เพลียใจกะนายก #นายกคนที่31 #saveเกาะกูด a2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 72 มุมมอง 54 0 รีวิว
  • โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย
    “กฤษฎีกากัมพูชา 1972”
    รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย !
    ________
    .
    ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด…
    .
    กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ
    .
    และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ !
    .
    “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972”
    .
    วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972
    .
    จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี
    .
    สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น
    .
    วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย
    .
    (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958
    .
    (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ…
    .
    (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง…
    .
    (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000
    .
    กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง
    .
    โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P”
    .
    โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้
    .
    จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง
    .
    จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย
    .
    มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง
    .
    เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้
    .
    แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร
    .
    การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต
    .
    ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล
    .
    ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น…
    .
    คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง !
    .
    ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !!
    .
    แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ?
    .
    แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !!
    .
    ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้
    .
    ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี
    .
    ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง
    .
    แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ
    .
    เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ?
    .
    เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก !
    .
    ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!!
    .
    ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส
    .
    แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้
    .
    “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“
    .
    แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย
    .
    โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง
    .
    หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73
    .
    การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง
    .
    ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ
    .
    การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่
    .
    มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย
    .
    พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    .
    คำนูณ สิทธิสมาน
    4 พฤศจิกายน 2567

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย “กฤษฎีกากัมพูชา 1972” รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย ! ________ . ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด… . กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ . และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ ! . “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972” . วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 . จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี . สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น . วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย . (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 . (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ… . (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง… . (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000 . กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง . โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P” . โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้ . จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง . จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย . มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง . เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้ . แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร . การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต . ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล . ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น… . คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง ! . ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !! . แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ? . แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !! . ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้ . ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี . ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง . แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ . เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ? . เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก ! . ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!! . ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส . แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้ . “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“ . แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย . โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง . หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73 . การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง . ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ . การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่ . มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย . พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้ . ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้ . . คำนูณ สิทธิสมาน 4 พฤศจิกายน 2567 ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 567 มุมมอง 0 รีวิว
  • เจรจากัมพูชา ต้องยึดกม.ทะเลสากลเท่านั้น (08/11/67) #news1 #อ.ปานเทพ #mou44 #เกาะกูด #กม.ทะเลสากล
    เจรจากัมพูชา ต้องยึดกม.ทะเลสากลเท่านั้น (08/11/67) #news1 #อ.ปานเทพ #mou44 #เกาะกูด #กม.ทะเลสากล
    Like
    Love
    35
    1 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 1012 มุมมอง 625 0 รีวิว
  • ไม่เพียงแต่ "เกาะกูด" จะเป็นของประเทศไทยนะครับ...
    .
    12 ไมล์ทะเล รอบเกาะกูด ก็เป็นของประเทศไทยด้วยครับ
    .
    คุณนักการเมืองทั้งหลาย จะปล่อยให้ กัมพูชา เขาขีดเส้นอ้อม เกาะกูด ของเราไปแบบนี้ไม่ได้นะครับ...!!!
    .
    ต้องประท้วงเขา ให้เป็นกิจลักษณะด้วย...!!!
    .
    โดยยึดตาม พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 "กำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทย ด้านอ่าวไทย" นั่นแหล่ะครับ ดีที่สุดแล้ว...
    .
    ก่อนจะไปเจรจาอะไร ให้หยิบยก พระบรมราชโองการ ฉบับนี้ ขึ้นมาประกาศ อ่านให้ กัมพูชา เขาฟังก่อนเลย...!!!
    .
    แล้วให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมด้วย...!!!
    ...
    ...
    อย่าเอาแต่ "ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง" ว่า "เกาะกูด" เป็นของประเทศไทย นะครับ...!!!
    .
    12 ไมล์ทะเล รอบเกาะกูด ก็เป็นของประเทศไทยด้วยครับ...!!!
    .
    จำไว้...!!!
    ไม่เพียงแต่ "เกาะกูด" จะเป็นของประเทศไทยนะครับ... . 12 ไมล์ทะเล รอบเกาะกูด ก็เป็นของประเทศไทยด้วยครับ . คุณนักการเมืองทั้งหลาย จะปล่อยให้ กัมพูชา เขาขีดเส้นอ้อม เกาะกูด ของเราไปแบบนี้ไม่ได้นะครับ...!!! . ต้องประท้วงเขา ให้เป็นกิจลักษณะด้วย...!!! . โดยยึดตาม พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 "กำหนดเขตไหล่ทวีป ของประเทศไทย ด้านอ่าวไทย" นั่นแหล่ะครับ ดีที่สุดแล้ว... . ก่อนจะไปเจรจาอะไร ให้หยิบยก พระบรมราชโองการ ฉบับนี้ ขึ้นมาประกาศ อ่านให้ กัมพูชา เขาฟังก่อนเลย...!!! . แล้วให้บันทึกไว้ในรายงานการประชุมด้วย...!!! ... ... อย่าเอาแต่ "ท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง" ว่า "เกาะกูด" เป็นของประเทศไทย นะครับ...!!! . 12 ไมล์ทะเล รอบเกาะกูด ก็เป็นของประเทศไทยด้วยครับ...!!! . จำไว้...!!!
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 29 มุมมอง 0 รีวิว
  • กะจะไปเที่ยวผ่านช่องทางธรรมชาติหล่ะสิ...
    .
    เขมร เขากำลังวุ่นๆเรื่อง "เกาะกูด" อยู่...
    .
    อย่าไปรบกวนเขาเลย...
    .
    ประเทศบ้านเกิด มีมุ้งสายบัวให้อยู่ฟรี ข้าวก็ฟรี ไม่คิดเงิน...
    .
    อ้อ...!!!
    .
    แถมฉี่ 71 แก้ว ด้วย ผมว่าคงมีหลายคนพร้อมบริจากแหล่ะ...
    .
    🤣🤣🤣🤣🤣🤣
    กะจะไปเที่ยวผ่านช่องทางธรรมชาติหล่ะสิ... . เขมร เขากำลังวุ่นๆเรื่อง "เกาะกูด" อยู่... . อย่าไปรบกวนเขาเลย... . ประเทศบ้านเกิด มีมุ้งสายบัวให้อยู่ฟรี ข้าวก็ฟรี ไม่คิดเงิน... . อ้อ...!!! . แถมฉี่ 71 แก้ว ด้วย ผมว่าคงมีหลายคนพร้อมบริจากแหล่ะ... . 🤣🤣🤣🤣🤣🤣
    ช่างกล้า ! "ทนายตั้ม" เสนอ 20 ล้าน ฟาดหัว "บิ๊กตำรวจ" ให้ช่วยเป่าคดี
    (07/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ษิทราเบี้ยบังเกิด #เจ๊อ้อย #มาดามอ้อย #ฉ้อโกง #จับทนายตั้ม #ฟอกเงิน #ร่วมกันฟอกเงิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 48 มุมมอง 1312 0 รีวิว
  • ♣️ ไปให้เห็นกับตา ว่าจะแบ่งเกาะส่วนไหนให้เขมร คนเกาะกูดพร้อมต้อนรับด้วยคำสาปแช่ง
    #7ดอกจิก
    ♣️ ไปให้เห็นกับตา ว่าจะแบ่งเกาะส่วนไหนให้เขมร คนเกาะกูดพร้อมต้อนรับด้วยคำสาปแช่ง #7ดอกจิก
    Like
    Angry
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 153 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## มหาเทพ ซัด "บัวแก้ว" ตัดตอนพระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องเกาะกูด และ พื้นที่ทางทะเล...!!! ##
    ..
    ..
    วันอังคาร ที่ 05/11/2567 อาจารย์ ปานเทพ ละเอียดยิบ ชี้...!!!
    .
    กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ แถลงการณ์
    โดยมีการนำเสนอ ด้วยการ ทำกรอบสีแดง และไฮไลท์เน้นข้อความสีเหลือง
    .
    ซึ่ง อาจารย์ ปานเทพ ไม่สบายใจ ว่านี่ทำให้คนทั่วไป เข้าใจได้ว่าเป็นการ ตัดตอน พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9...!!!
    .
    และ เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างหรือไม่...???
    .
    ซึ่ง พระบรมราชโองการนี้ ประกาศจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 และ ประกาศ ไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2516
    .
    โดย ฉบับเต็ม มีใจความตอนหนึ่งว่า...
    .
    "สำหรับสิทธิอธิปไตยที่เป็นทะเลอาณาเขต ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958"
    .
    และ ตีกรอบ ลงไฮไลท์ ตัดตอนลงเหลือเพียง...
    .
    "...สิทธิอธิปไตย...จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน..."
    .
    MOU44 เท่ากับประเทศไทยเปลี่ยนจุดยืนจากการปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของ กัมพูชา โดยพระบรมราชโองการ ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9
    .
    กลายมาเป็น รับรู้ และ ไม่ปฏิเสธ เส้นเขตแดนที่ กัมพูชา วาดขึ้นตามอำเภอใจ โดยไม่ได้สนกฎหมายระหว่างประเทศอะไรเลย..!!!
    .
    ซ้ำ เปลี่ยนหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีป จากการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญา กรุงเจนีวา กลายเป็นใช้มูลฐานอื่น
    .
    นี่เป็นการ จงใจ เปิดโอกาส ให้มีการเจรจากัน นอกเหนือจากมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ได้ ใช่หรือไม่...???
    .
    ทั้งหมดนี้ ทำไปเพื่ออะไร...???
    .
    ที่แท้ มีเจตนา อะไรกันแน่...???
    .
    ในเมื่อประเทศไทย มีโอกาสที่จะสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ จาก MOU44 อันเนื่องมาจาก หลักกฎหมายปิดปาก เช่นเดียวกับ กรณี เขาพระวิหาร...
    .
    เมื่อมีคนเสนอให้ยกเลิกไปซะ แต่รัฐบาลกลับ ปฏิเสธว่าทำไมได้...!!!
    .
    หึหึ...
    .
    คนเราผิดแล้ว รู้แก้ไข นั้น ถือเป็นผู้ตื่นรู้ครับ...
    .
    แต่ถ้าหากว่า มีคนเตือนแล้ว รู้ผิดแล้ว คงยังดึงดันที่จะเดินหน้าทำต่อให้ได้...!!!
    .
    แสดงว่าคนผู้นั้นมีเจตนาแอบแฝง ในการที่จะกระทำผิดต่อไป ใช่หรือไม่...???
    .
    นี่ผลประโยชน์ของชาตินะครับ
    ประเด็นนี้ เผ็ดร้อน ระดับ พริก 1 ล้านเม็ด...!!!
    .
    https://youtu.be/yy-kEcRaovY?si=uQ8KFo1yAI9dSdng
    .
    https://mgronline.com/daily/detail/9670000102716
    .
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000106616
    ## มหาเทพ ซัด "บัวแก้ว" ตัดตอนพระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่องเกาะกูด และ พื้นที่ทางทะเล...!!! ## .. .. วันอังคาร ที่ 05/11/2567 อาจารย์ ปานเทพ ละเอียดยิบ ชี้...!!! . กรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ แถลงการณ์ โดยมีการนำเสนอ ด้วยการ ทำกรอบสีแดง และไฮไลท์เน้นข้อความสีเหลือง . ซึ่ง อาจารย์ ปานเทพ ไม่สบายใจ ว่านี่ทำให้คนทั่วไป เข้าใจได้ว่าเป็นการ ตัดตอน พระบรมราชโองการ ในหลวงรัชกาลที่ 9...!!! . และ เป็นการส่งสัญญาณบางอย่างหรือไม่...??? . ซึ่ง พระบรมราชโองการนี้ ประกาศจริง ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2516 และ ประกาศ ไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2516 . โดย ฉบับเต็ม มีใจความตอนหนึ่งว่า... . "สำหรับสิทธิอธิปไตยที่เป็นทะเลอาณาเขต ซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียง อันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ.1958" . และ ตีกรอบ ลงไฮไลท์ ตัดตอนลงเหลือเพียง... . "...สิทธิอธิปไตย...จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน..." . MOU44 เท่ากับประเทศไทยเปลี่ยนจุดยืนจากการปฏิเสธเส้นไหล่ทวีปของ กัมพูชา โดยพระบรมราชโองการ ของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 . กลายมาเป็น รับรู้ และ ไม่ปฏิเสธ เส้นเขตแดนที่ กัมพูชา วาดขึ้นตามอำเภอใจ โดยไม่ได้สนกฎหมายระหว่างประเทศอะไรเลย..!!! . ซ้ำ เปลี่ยนหลักการแบ่งเขตไหล่ทวีป จากการใช้บทบัญญัติของอนุสัญญา กรุงเจนีวา กลายเป็นใช้มูลฐานอื่น . นี่เป็นการ จงใจ เปิดโอกาส ให้มีการเจรจากัน นอกเหนือจากมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และ เขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ได้ ใช่หรือไม่...??? . ทั้งหมดนี้ ทำไปเพื่ออะไร...??? . ที่แท้ มีเจตนา อะไรกันแน่...??? . ในเมื่อประเทศไทย มีโอกาสที่จะสูญเสียผลประโยชน์ที่พึงมีพึงได้ จาก MOU44 อันเนื่องมาจาก หลักกฎหมายปิดปาก เช่นเดียวกับ กรณี เขาพระวิหาร... . เมื่อมีคนเสนอให้ยกเลิกไปซะ แต่รัฐบาลกลับ ปฏิเสธว่าทำไมได้...!!! . หึหึ... . คนเราผิดแล้ว รู้แก้ไข นั้น ถือเป็นผู้ตื่นรู้ครับ... . แต่ถ้าหากว่า มีคนเตือนแล้ว รู้ผิดแล้ว คงยังดึงดันที่จะเดินหน้าทำต่อให้ได้...!!! . แสดงว่าคนผู้นั้นมีเจตนาแอบแฝง ในการที่จะกระทำผิดต่อไป ใช่หรือไม่...??? . นี่ผลประโยชน์ของชาตินะครับ ประเด็นนี้ เผ็ดร้อน ระดับ พริก 1 ล้านเม็ด...!!! . https://youtu.be/yy-kEcRaovY?si=uQ8KFo1yAI9dSdng . https://mgronline.com/daily/detail/9670000102716 . https://mgronline.com/politics/detail/9670000106616
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 294 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7/11/67

    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109

    เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน

    1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส

    2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น

    3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย

    4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    7/11/67 https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109 เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน 1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส 2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น 3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย 4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 274 มุมมอง 0 รีวิว
  • เท้งเต้งพรรคพม่า ไม่ห่วงเกาะกูด แต่ห่วงสัมปทานเก่านายทุนพรรค อาจถูกยกเลิกๆๆ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    เท้งเต้งพรรคพม่า ไม่ห่วงเกาะกูด แต่ห่วงสัมปทานเก่านายทุนพรรค อาจถูกยกเลิกๆๆ #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Like
    Haha
    Yay
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 410 มุมมอง 242 0 รีวิว
  • คนไทยรู้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย "อิ้ง" ไม่ต้องบอก ดันพูดแทนเขมรว่า "เขมรก็รู้" แล้วไอ้เส้นที่ลากผ่านเกาะกูดละ เขมรก็รู้ใช่ไม่ แต่อิ้งไม่รู้สา

    ไปเจรจาทำไม เมื่อเกาะเป็นของไทย เขตสิทธิ์และอธิปไตยในทะเลก็เป็นของไทยแน่นอน

    ปมเจรจา..บอกเขมรซิ ให้ลากเส้นให้ถูกตามหลักสากลเหมือนของไทย ก่อนแล้วค่อยว่ากัน

    บอกเลิกสัมปทานกับเชฟรอนก่อน มิใช่ทำแบบลับลวงพราง เอาประโยชน์เข้าตัวและไม่ต้องกังวลกับอเมริกัน..อันตพาลโลก
    คนไทยรู้ว่าเกาะกูดเป็นของไทย "อิ้ง" ไม่ต้องบอก ดันพูดแทนเขมรว่า "เขมรก็รู้" แล้วไอ้เส้นที่ลากผ่านเกาะกูดละ เขมรก็รู้ใช่ไม่ แต่อิ้งไม่รู้สา ไปเจรจาทำไม เมื่อเกาะเป็นของไทย เขตสิทธิ์และอธิปไตยในทะเลก็เป็นของไทยแน่นอน ปมเจรจา..บอกเขมรซิ ให้ลากเส้นให้ถูกตามหลักสากลเหมือนของไทย ก่อนแล้วค่อยว่ากัน บอกเลิกสัมปทานกับเชฟรอนก่อน มิใช่ทำแบบลับลวงพราง เอาประโยชน์เข้าตัวและไม่ต้องกังวลกับอเมริกัน..อันตพาลโลก
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 17 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรื่องเกาะกูด: ต้องเจรจาให้เขมรขีดเส้นทางทะเลตามหลักสากล มิใช่ทำตามใจชอบ

    ยกเลิกสัมปทานขุดเจาะพลังงานในอ่าวไทย เพื่อทำตามกฎกติกาใหม่ ที่ไทยไม่เสียเปรียบ

    มิใช่ขุดมาแบ่งกับเขมร ตามที่เมกาวางแผนเอาเรือรบมาปิดอ่าวไทย เพื่อรักษาบ่อสัมปทานของเชฟรอน...
    เรื่องเกาะกูด: ต้องเจรจาให้เขมรขีดเส้นทางทะเลตามหลักสากล มิใช่ทำตามใจชอบ ยกเลิกสัมปทานขุดเจาะพลังงานในอ่าวไทย เพื่อทำตามกฎกติกาใหม่ ที่ไทยไม่เสียเปรียบ มิใช่ขุดมาแบ่งกับเขมร ตามที่เมกาวางแผนเอาเรือรบมาปิดอ่าวไทย เพื่อรักษาบ่อสัมปทานของเชฟรอน...
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • มะม่วงริมรั้วอยู่ในเขตรั้วบ้านตัวเองแม้แต่ใบก็ไม่เลยแนวริ้ว แต่เมื่อมะม่วงออกลูกเราต้องเอาลูกมะม่วงไปให้เพื่อนบ้านด้วยนะ ไม่งั้นเดี๋ยวเขาจะเคืองด่าเราว่าเราขโมยวัฒนธรรม เอ๊ย...ไม่ใช่ ขโมยลูกมะม่วงของเขา

    #เกาะกูดเป็นของไทย #เกรงใจเพื่อนบ้านหน่อย
    มะม่วงริมรั้วอยู่ในเขตรั้วบ้านตัวเองแม้แต่ใบก็ไม่เลยแนวริ้ว แต่เมื่อมะม่วงออกลูกเราต้องเอาลูกมะม่วงไปให้เพื่อนบ้านด้วยนะ ไม่งั้นเดี๋ยวเขาจะเคืองด่าเราว่าเราขโมยวัฒนธรรม เอ๊ย...ไม่ใช่ ขโมยลูกมะม่วงของเขา #เกาะกูดเป็นของไทย #เกรงใจเพื่อนบ้านหน่อย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนไทยเรานี่ก็จริงๆเหมือนกัน
    ตอน อ.ปานเทพ พูดเรื่องคดีที่เกี่ยวกับ 71ล้าน ยอดคนดูไลฟ์สูงสุดบนยูทู้บ ขึ้นไป 9.6 พันคน

    พอเปลี่ยนมาเรื่องเกาะกูด ยอดคนดูไลฟ์ลดลงมาเหลือ 7พันคน
    ล่าสุดนี่ ลงไปอีก เหลือ 6.6พันคน

    เจริญกันจริงๆประเทศไทย
    คนไทยเรานี่ก็จริงๆเหมือนกัน ตอน อ.ปานเทพ พูดเรื่องคดีที่เกี่ยวกับ 71ล้าน ยอดคนดูไลฟ์สูงสุดบนยูทู้บ ขึ้นไป 9.6 พันคน พอเปลี่ยนมาเรื่องเกาะกูด ยอดคนดูไลฟ์ลดลงมาเหลือ 7พันคน ล่าสุดนี่ ลงไปอีก เหลือ 6.6พันคน เจริญกันจริงๆประเทศไทย
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 98 มุมมอง 66 0 รีวิว
  • ♣️ หลังจากเรียกพรรคร่วมรัฐบาลมายืนเรียงหน้าแถลงเรื่องเกาะกูด นายกฯอิ๊ง ก็ตั้งคณะกรรมการเจรจาทันที ยึดแนวทางตาม mou44 ที่คนแห่คัดค้าน อาจให้ภูมิธรรม คนคลั่งข้าวเน่าเป็นประธาน
    #7ดอกจิก
    ♣️ หลังจากเรียกพรรคร่วมรัฐบาลมายืนเรียงหน้าแถลงเรื่องเกาะกูด นายกฯอิ๊ง ก็ตั้งคณะกรรมการเจรจาทันที ยึดแนวทางตาม mou44 ที่คนแห่คัดค้าน อาจให้ภูมิธรรม คนคลั่งข้าวเน่าเป็นประธาน #7ดอกจิก
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 151 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ภูมิธรรม" ท่องคำเดิมเกาะกูดเป็นของไทย จะรักษาไว้เท่าชีวิต เชื่อ MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด เป็นการรักษาสิทธิในเขตแดน ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ยกเลิก ย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เกี่ยว "ทักษิณ" ใกล้ชิดกัมพูชา

    อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106432

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    "ภูมิธรรม" ท่องคำเดิมเกาะกูดเป็นของไทย จะรักษาไว้เท่าชีวิต เชื่อ MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด เป็นการรักษาสิทธิในเขตแดน ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ได้ยกเลิก ย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เกี่ยว "ทักษิณ" ใกล้ชิดกัมพูชา อ่านต่อ >> https://news1live.com/detail/9670000106432 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Angry
    Like
    Wow
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1981 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ ปากบอกไม่ต้องสร้างความเชื่อมั่น เพราะเกาะกูดเป็นของไทย แล้วจะไปถลุงงบลงพื้นที่ทำไม ถ้ามิใช่ไปแสวงหาช่องทางผลประโยชน์
    #7ดอกจิก
    #เกาะกูด
    ♣️ ปากบอกไม่ต้องสร้างความเชื่อมั่น เพราะเกาะกูดเป็นของไทย แล้วจะไปถลุงงบลงพื้นที่ทำไม ถ้ามิใช่ไปแสวงหาช่องทางผลประโยชน์ #7ดอกจิก #เกาะกูด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 141 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกัมพูชาไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ UNCLOS 1982 ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับและยึดถือกว่า 160 ประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักในการเจรจาความเมืองใด ๆ เกี่ยวกับทะเล

    ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณได้เขียนเรื่อง “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้ ”เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567ไว้ว่า

    “กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแถบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ

    เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส

    เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ?

    ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย

    ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม!

    ที่มา https://www.facebook.com/share/15FAF2zRds/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ทำไมกัมพูชาไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ UNCLOS 1982 ที่ประเทศทั่วโลกยอมรับและยึดถือกว่า 160 ประเทศ เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่เป็นหลักในการเจรจาความเมืองใด ๆ เกี่ยวกับทะเล ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณได้เขียนเรื่อง “ความลับกัมพูชาที่คนไทยทุกคนควรต้องรู้ ”เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567ไว้ว่า “กัมพูชาเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคแถบนี้ ที่ไม่ยอมเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หรือ United Nations Convention on the Law Of the Sea (UNCLOS) อ่านออกเสียงตัวอักษรย่อ UNCLOS ว่า "อันโคลซ" ซึ่งปัจจุบันนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาสหประชาชาติสำคัญ เป็นที่ยอมรับในการแบ่งเขตแดนทางทะเลของแต่ละประเทศอันเป็นหลักสากล โปร่งใส และมีความเป็นธรรม สามารถช่วยแก้ไข ตลอดจนระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการแบ่งเขตแดนทางทะเลระหว่างประเทศได้อย่างสันติ เหตุผลประการสำคัญที่กัมพูชาไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เป็นเพราะทางกัมพูชาทราบดีว่าจะเสียเปรียบในการเจรจาแบ่งเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย ดร.วันนาริธ ชเฮียง นักวิชาการชื่อดังชาวกัมพูชาเป็นผู้ยอมรับเอง ยืนยันว่ารัฐบาลกัมพูชากลัวการเข้าร่วมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล UNCLOS จะทำให้กัมพูชาเสียเปรียบในการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังที่กัมพูชาพยายามอ้างสิทธิ์ตามเส้นเขตแดนที่ลากขึ้นในสมัยที่ยังเป็นรัฐอารักขาของประเทศฝรั่งเศส เมื่อทราบความจริงดังนี้ ประเทศไทยของเราจึงไม่ควรเจรจากับกัมพูชาเป็นอย่างยิ่งตราบใดที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS เพราะไทยจะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสียเองหากยังคงยึดข้อพิพาทเดิมตามแนวทาง MOU 2544 ที่ล้าสมัยไปแล้ว ขนาดรัฐบาลกัมพูชายังไม่ยอมเสียเปรียบไทย ถ้ารัฐบาลไทยยอมเสียเปรียบกัมพูชา ยอมยกผลประโยชน์ของประเทศชาติและปวงชนชาวไทยมูลค่านับล้านล้านบาทให้กับกัมพูชา กล้าเสนอหน้าไปเจรจาโดยที่กัมพูชายังไม่ยอมเข้าร่วม UNCLOS จะเรียกว่า "โง่" หรือ "ขายชาติ" ดีครับ? ดังนั้น UNCLOS จึงเป็นหลักสำคัญในการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชา ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนจะจบลงทันที เพราะเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาภายใต้ UNCLOS เป็นสากลอยู่แล้ว สิ่งที่เหลือให้ไทยและกัมพูชายังต้องเจรจาตกลงกัน คือ หลุมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติที่วางตัวอยู่ในแนวเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศ นอกจากไทยเราจะไม่เสียเกาะกูดเป็นแน่แล้ว ยังจะสามารถครองพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นข้อพิพาท รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติในท้องทะเล ทั้งน้ำมันดิบและก๊าชธรรมชาติส่วนใหญ่จะตกเป็นของไทย ขนาดนักวิชาการกัมพูชายังยืนยันชัดเจนว่ารัฐบาลกัมพูชาไม่เข้าร่วม UNCLOS เพราะกลัวเสียเปรียบ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนจึงควรตระหนักรู้เกี่ยวกับ UNCLOS เพื่อให้รัฐบาลไทยยื่นข้อเสนอให้กัมพูชาเข้าร่วม UNCLOS เสียก่อนเท่านั้น แล้วจึงค่อยเปิดการเจรจาที่เป็นธรรม! ที่มา https://www.facebook.com/share/15FAF2zRds/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Yay
    Angry
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา

    4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน

    ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป
    อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ

    หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว

    ที่มา NBT CONNEXT

    #Thaitimes
    นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ และนางสุพรรณวษา โชติก็ญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แถลงข่าวเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อน (OCA) ระหว่างไทย – กัมพูชา 4 พฤศจิกายน 2567- รายงานข่าว NBT CONNEXT เปิดเผยว่า อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กต. กล่าวว่า ไทยได้ประกาศเขตไหล่ทวีปในปี 2516 เนื่องจากเห็นว่าการประเทศของกัมพูชาในปี 2515 เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะเส้นผ่านเข้าไปในเกาะกูด จึงประกาศเขตไหล่ทวีปของไทย เป็นพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2516 ระบุว่าสิทธิอธิปไตยซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตของประเทศใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้น จะเป็นไปตามที่ได้ตกลงกัน ดังนั้นในการประกาศของกัมพูชาและไทย มีพื้นที่ทับซ้อนกัน 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ หรือกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับกรณีพื้นที่ทับซ้อนของไทยกับมาเลเซีย โดยเป็นเส้นที่ครอบคลุมทะเลอาณาเขต EEZ และไหล่ทวีป อย่างไรก็ตาม ไทย-กัมพูชา เริ่มเจรจาเรื่องพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2513 แต่เกิดปัญหาว่ากัมพูชาต้องการคุยเพียงการพัฒนาร่วมในเรื่องของทรัพยากร ขณะที่ไทยเห็นว่าเขตทางทะเลมีความสำคัญ รวมถึงความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยืนยันว่าต้องคุยประเด็นเหล่านี้ด้วย ซึ่งไทยได้ประกาศเส้นด้านใต้ลงมาระหว่างเกาะกูดกับเกาะกง แสดงออกว่าไทยไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่กัมพูชาประกาศ หลักสากลเมื่อเกิดพื้นที่ทับซ้อน จึงต้องเจรจากันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ สำหรับ MOU 2544 แบ่งเป็นพื้นที่เหนือเส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาแบ่งเขตทางทะเล และพื้นที่อยู่ใต้เส้นละติจูด 11 องศาเหนือ เป็นการเจรจาพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สิ่งที่ดำเนินการประชาชนทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับในข้อตกลง และผลการเจรจาต้องผ่านความเห็นชอบโดยรัฐสภา และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง “ ยืนยันว่า MOU 44 ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเกาะกูด เพราะสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ส.1907 ระบุชัดเจน เกาะกูด เป็นของไทย เป็นการยืนยันกรรมสิทธิ์เหนือตัวเกาะ และยังใช้อำนาจอธิปไตยเกาะกูด 100% ประเด็นยกเลิก MOU 44 เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ในปี 2552 ซึ่งเสนอให้ยกเลิก เพราะขณะนั้นไม่มีความคืบหน้า และ ครม.รับในหลักการ แต่ขอให้พิจารณาให้รอบคอบและได้หารือกับที่ปรึกษาทีมต่างชาติ และประชุมคณะกรรมการพิเศษที่เป็นภาคี และหน่วยงานด้านความมั่นคง สมช. กระทรวงพลังงาน รวมทั้งกฤษฎีกา โดยปี 2557 ได้ข้อสรุปว่า MOU 44 ยังมีประโยชนที่จะนำไปสู่การเจรจา จึงเสนอ ครม.ให้ทบทวนมติ ครม.ปี 2552 ว่าเรื่องนี้ต้องใช้ MOU 44 ต่อทุกครั้งที่มีรัฐบาลใหม่ยังขอให้กรอบ MOU 44 เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา เป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด และรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกรัฐบาลก็ยอมรับและหลักการยังเหมือนเดิม” อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ กล่าว ที่มา NBT CONNEXT #Thaitimes
    Like
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 341 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย

    4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้

    อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

    อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต”

    เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า
    [“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป
    รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต

    “ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต…

    ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป]

    ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล

    แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม

    รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์”

    รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย

    “ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย

    ** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง
    การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน

    อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย

    ** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง
    การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป”

    สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง

    เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง!

    และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย

    กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

    จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน”

    ที่มา News1
    https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw

    #Thaitimes
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย 4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต” เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า [“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต “ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต… ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป] ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย “ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย ** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย ** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป” สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง! และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน” ที่มา News1 https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw #Thaitimes
    NEWS1LIVE.COM
    “ธีระชัย” เปิดข้อมูล กัมพูชาลากเส้นในทะเลผิดหลักสากล 2 เด้ง MOU44 ส่อผิดไปด้วย
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 521 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106288

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000106288 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    25
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 2102 มุมมอง 1 รีวิว
  • จ.ตราด นทท.แห่เที่ยวเกาะกูด ไม่สนกระแสพื้นที่ทับซ้อน

    https://youtu.be/DZdu8Rfddx4
    จ.ตราด นทท.แห่เที่ยวเกาะกูด ไม่สนกระแสพื้นที่ทับซ้อน https://youtu.be/DZdu8Rfddx4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 24 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยืนยันเกาะกูดเป็นของไทย (04/11/67) #news1 #ภูมิธรรม #เกาะกูดเป็นของไทย #MOU44
    ยืนยันเกาะกูดเป็นของไทย (04/11/67) #news1 #ภูมิธรรม #เกาะกูดเป็นของไทย #MOU44
    Like
    Haha
    8
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1163 มุมมอง 402 0 รีวิว
  • ลักเกาะกูด แลกประโยชน์ ทักษิณตบตาด้วยราคาพลังงานชวนเชื่อ
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    ลักเกาะกูด แลกประโยชน์ ทักษิณตบตาด้วยราคาพลังงานชวนเชื่อ #คิงส์โพธิ์แดง #คิงส์โพธิ์แดงสำรอง
    Angry
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 142 0 รีวิว
Pages Boosts