• ศก.จีนปี 2024 โตที่ 5% ท่ามกลางปัญหาอสังหาฯ เงินฝืด ระดับการว่างงานพุ่งสูงในคนหนุ่มสาว
    รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นศก.กชุดใหญ่ในช่วงปลายปีเพื่อดูแลสภาพเศรษฐกิจ สร้างเสถียรภาพ แม้ภายในจะเจอปัญหา แต่ภาคการส่งออกยังคงแข็งแกร่งมีการเติบโตที่ดี
    ทั้งปี 2024 GDP โตแตะ 134,908.4 พันล้านหยวน โต5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
    รายไตรมาส >> Q1/24 โต 5.3%, Q2/24 โต 4.7%, Q3/24 โต 4.6%, Q4/24 โต 5.4%

    เกินดุลการค้า 7.06 ล้านล้านหยวน (~$990 bn.) แต่เมื่อทรัมป์กำลังจะก้าวขึ้นมาบริหารประเทศ จีนจะเจอกับความท้าทายจากนโยบายกำแพงภาษี

    อุตฯกลุ่มไฮเทคฯ ของจีนสามารถทำกำไรได้ถึง 6.6 พันล้านหยวนในระยะ 11 เดือนแรกของปี 2024 (ลดลง 4.7% เมื่อเทียบรายปี)

    ภาคบริการโต 5% เทียบรายปี บริการด้าน IT โต 10.9%

    ตลาดค้าปลีกฟื้นตัวต่อเนื่อง ยอดขายแตะ 48,789.5 พันล้านหยวน เพิ่ม 3.5% ยอดขายส่วนใหญ่กระจุกตัวในเมืองมากกว่าชนบท ยอดขายปลีกสินค้าออนไลน์โตแกร่งที่ 7.2% นับเป็น 26.8% ของยอดค้าปลีกรวม สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง

    จำนวนประชากร 1,408.28 ล้านคน ลดลง 1.39 ล้านคน จำนวนประชากรวัยทำงาน (อายุ 16-59 ปี) เป็นประชากรที่มีสัดส่วนสูงสุด แต่ประเด็นสังสคมสูงวัยยังคงเป็นประเด็นที่จีนให้ความสำคัญ นอกจากนี้ 67% ของประชากรอาศัยในเขตเมือง เพิ่มขึ้น 0.84% จากปีก่อนหน้า


    เงินเฟ้อและการจ้างงาน
    ดัชนีที่ใช้วัดเงินเฟ้อ --consumer price index (CPI)-- เพิ่ม 0.2% ในปี 2024 << บอกว่า จีนเอาอยู่ ^^
    core CPI, excluding food and energy prices, เพิ่ม 0.5% << ธนาคารกลางทั่วไปมักใช้ core cpi ในการกำหนดนโยบายการเงิน

    การจ้างงาน ภาพรวมทรงตัว อัตราว่างงานอยู่ที่ 5.1% ดีขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า จำนวนแรงงานที่อพยพจากชนบทเข้าเมืองเพิ่ม 0.7% หรือ 299.73 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนหน้า 2.2 ล้านคน
    .......................................
    เพิ่มเติม
    1. คนจีนมีค่านิยมสร้างความมั่งคั่งจาก อสังหาฯ (บ้าน ที่ดิน) ทองคำ ตลาดหุ้น ดังนั้นเมื่อตลาดไหนมีปัญหา เงินจะย้ายไปหาตลาดที่เหลือ เช่น ปีที่ผ่านมา อสังหาฯ มีปัญหา เงินลงทุนย้ายเข้าตลาดทองคำ ส่วนตลาดหุ้นเป็นการรอมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลกลาง
    2. ผู้พัฒนาอสังหาฯของจีน ในช่วงขาขึ้นของตลาดอสังหาฯ บริษัทเมื่อได้รับเงินจอง เงินดาวน์จากผู้ซื้อ จะยังไม่เข้าก่อสร้างโครงการ (ต่างจากประเทศไทย) แต่จะนำเงินจอง เงินดาวน์ไปไล่ซื้อที่ดินแปลงอื่นต่อ (ที่ดินจะมีราคาดีดตัวขึ้นต่อเนื่อง)
    3. จีนได้มีการย้ายฐานการผลิตไปยัง เวียดนาม เม็กซิโก (ซึ่งเม็กซิโก ก็ติดอันดับประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐอันดับต้น ๆ และทรัมป์ก็มีนโยบายที่จะจัดการประเด็นนี้เช่นกัน) ส่วนเวียดนามที่มีฐานการผลิตสินค้ากลุ่มอิเล็คฯ อาจจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
    4. จีนเป็นประเทศมีการนำเข้าน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 1 ของโลก และ มีการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย (ในราคา discount) นำมากลั่น ใช้ ขายต่อ
    5. สี จิ้นผิง ระบุ ยังมุ่งหมายที่จะควบรวมไต้หวันเข้ามาเป็นประเทศเดียวกัน
    6. PBoC (ธนาคารกลางจีน) อาจจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันมีหลายตัวให้เหลือตัวเดียวคือ ดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่ระบุเวลาที่ชัดเจน
    #เศรษฐกิจ


    ศก.จีนปี 2024 โตที่ 5% ท่ามกลางปัญหาอสังหาฯ เงินฝืด ระดับการว่างงานพุ่งสูงในคนหนุ่มสาว รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นศก.กชุดใหญ่ในช่วงปลายปีเพื่อดูแลสภาพเศรษฐกิจ สร้างเสถียรภาพ แม้ภายในจะเจอปัญหา แต่ภาคการส่งออกยังคงแข็งแกร่งมีการเติบโตที่ดี ทั้งปี 2024 GDP โตแตะ 134,908.4 พันล้านหยวน โต5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รายไตรมาส >> Q1/24 โต 5.3%, Q2/24 โต 4.7%, Q3/24 โต 4.6%, Q4/24 โต 5.4% เกินดุลการค้า 7.06 ล้านล้านหยวน (~$990 bn.) แต่เมื่อทรัมป์กำลังจะก้าวขึ้นมาบริหารประเทศ จีนจะเจอกับความท้าทายจากนโยบายกำแพงภาษี อุตฯกลุ่มไฮเทคฯ ของจีนสามารถทำกำไรได้ถึง 6.6 พันล้านหยวนในระยะ 11 เดือนแรกของปี 2024 (ลดลง 4.7% เมื่อเทียบรายปี) ภาคบริการโต 5% เทียบรายปี บริการด้าน IT โต 10.9% ตลาดค้าปลีกฟื้นตัวต่อเนื่อง ยอดขายแตะ 48,789.5 พันล้านหยวน เพิ่ม 3.5% ยอดขายส่วนใหญ่กระจุกตัวในเมืองมากกว่าชนบท ยอดขายปลีกสินค้าออนไลน์โตแกร่งที่ 7.2% นับเป็น 26.8% ของยอดค้าปลีกรวม สะท้อนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง จำนวนประชากร 1,408.28 ล้านคน ลดลง 1.39 ล้านคน จำนวนประชากรวัยทำงาน (อายุ 16-59 ปี) เป็นประชากรที่มีสัดส่วนสูงสุด แต่ประเด็นสังสคมสูงวัยยังคงเป็นประเด็นที่จีนให้ความสำคัญ นอกจากนี้ 67% ของประชากรอาศัยในเขตเมือง เพิ่มขึ้น 0.84% จากปีก่อนหน้า เงินเฟ้อและการจ้างงาน ดัชนีที่ใช้วัดเงินเฟ้อ --consumer price index (CPI)-- เพิ่ม 0.2% ในปี 2024 << บอกว่า จีนเอาอยู่ ^^ core CPI, excluding food and energy prices, เพิ่ม 0.5% << ธนาคารกลางทั่วไปมักใช้ core cpi ในการกำหนดนโยบายการเงิน การจ้างงาน ภาพรวมทรงตัว อัตราว่างงานอยู่ที่ 5.1% ดีขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนหน้า จำนวนแรงงานที่อพยพจากชนบทเข้าเมืองเพิ่ม 0.7% หรือ 299.73 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนหน้า 2.2 ล้านคน ....................................... เพิ่มเติม 1. คนจีนมีค่านิยมสร้างความมั่งคั่งจาก อสังหาฯ (บ้าน ที่ดิน) ทองคำ ตลาดหุ้น ดังนั้นเมื่อตลาดไหนมีปัญหา เงินจะย้ายไปหาตลาดที่เหลือ เช่น ปีที่ผ่านมา อสังหาฯ มีปัญหา เงินลงทุนย้ายเข้าตลาดทองคำ ส่วนตลาดหุ้นเป็นการรอมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลกลาง 2. ผู้พัฒนาอสังหาฯของจีน ในช่วงขาขึ้นของตลาดอสังหาฯ บริษัทเมื่อได้รับเงินจอง เงินดาวน์จากผู้ซื้อ จะยังไม่เข้าก่อสร้างโครงการ (ต่างจากประเทศไทย) แต่จะนำเงินจอง เงินดาวน์ไปไล่ซื้อที่ดินแปลงอื่นต่อ (ที่ดินจะมีราคาดีดตัวขึ้นต่อเนื่อง) 3. จีนได้มีการย้ายฐานการผลิตไปยัง เวียดนาม เม็กซิโก (ซึ่งเม็กซิโก ก็ติดอันดับประเทศเกินดุลการค้ากับสหรัฐอันดับต้น ๆ และทรัมป์ก็มีนโยบายที่จะจัดการประเด็นนี้เช่นกัน) ส่วนเวียดนามที่มีฐานการผลิตสินค้ากลุ่มอิเล็คฯ อาจจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า 4. จีนเป็นประเทศมีการนำเข้าน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 1 ของโลก และ มีการนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซีย (ในราคา discount) นำมากลั่น ใช้ ขายต่อ 5. สี จิ้นผิง ระบุ ยังมุ่งหมายที่จะควบรวมไต้หวันเข้ามาเป็นประเทศเดียวกัน 6. PBoC (ธนาคารกลางจีน) อาจจะปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันมีหลายตัวให้เหลือตัวเดียวคือ ดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยังไม่ระบุเวลาที่ชัดเจน #เศรษฐกิจ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 99 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตราดหนาวสุดในรอบหลายปีอุณหภูมิลดเหลือ 19 องศา ทำนักเรียน -ประชาชนต่างพากันสวมเสื้อกันหนาวทำกิจกรรมนอกบ้าน ส่วนค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน โรงเรียนต้องเตือน นร.สวมหน้ากากอนามัย

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000003847

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    ตราดหนาวสุดในรอบหลายปีอุณหภูมิลดเหลือ 19 องศา ทำนักเรียน -ประชาชนต่างพากันสวมเสื้อกันหนาวทำกิจกรรมนอกบ้าน ส่วนค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน โรงเรียนต้องเตือน นร.สวมหน้ากากอนามัย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000003847 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 996 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐประกาศมาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์!!

    มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวของสหรัฐมุ่งเป้าไปที่กลุ่มค้าขายน้ำมันของรัสเซียเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งผลต่อการขนส่งไปยังผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น อินเดียและจีน
    โดยมีบริษัทเป้าหมายที่ถูกคว่ำบาตร ได้แก่:
    ➖ "Surgutneftegaz" และ "Gazprom Neft"
    ➖ เรือบรรทุกน้ำมันมากกว่า 180 ลำของกองเรือ "เงา" ของรัสเซีย
    ➖ บริษัทประกันภัย "Alfastrakhovanie" และ "Ingosstrakh"
    ➖ ตัวแทนต่างชาติที่ค้าขายน้ำมันของรัสเซียและผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานเหล่านี้

    การดำเนินการคว่ำบาตรครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันโลกแล้ว โดยดันให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งสูงกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม

    ในคำประกาศจากกระทรวงการคลังสหรัฐ มีความคาดหวังที่สำคัญที่ต้องการให้บรรลุผล ได้แก่:

    ⭕️ คาดว่ามาตรการใหม่นี้จะทำให้รัสเซียสูญเสียเงิน "หลายพันล้านดอลลาร์" ทุกเดือน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนรูเบิล และอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยหลักของธนาคารกลางรัสเซียปรับขึ้นขนานใหญ่

    ⭕️ มาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของตลาดน้ำมันโลก เนื่องจากไม่มีภัยคุกคามจากการขาดแคลนอุปทาน และผลผลิตน้ำมันของสหรัฐในขณะนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก ตลาดภายในประเทศยังคงมีอุปทานที่ล้นตลาดอยู่

    ⭕️ การคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งนี้ จะสร้างเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ให้ตลาดภายในประเทศของสหรัฐ สามารถส่งออกน้ำมันที่ล้นตลาดอยู่ขณะนี้ออกนอกประเทศได้

    https://home.treasury.gov/news/press-releases/jy2777
    สหรัฐประกาศมาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์!! มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวของสหรัฐมุ่งเป้าไปที่กลุ่มค้าขายน้ำมันของรัสเซียเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งผลต่อการขนส่งไปยังผู้ซื้อรายใหญ่ เช่น อินเดียและจีน โดยมีบริษัทเป้าหมายที่ถูกคว่ำบาตร ได้แก่: ➖ "Surgutneftegaz" และ "Gazprom Neft" ➖ เรือบรรทุกน้ำมันมากกว่า 180 ลำของกองเรือ "เงา" ของรัสเซีย ➖ บริษัทประกันภัย "Alfastrakhovanie" และ "Ingosstrakh" ➖ ตัวแทนต่างชาติที่ค้าขายน้ำมันของรัสเซียและผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานเหล่านี้ การดำเนินการคว่ำบาตรครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันโลกแล้ว โดยดันให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์พุ่งสูงกว่า 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ในคำประกาศจากกระทรวงการคลังสหรัฐ มีความคาดหวังที่สำคัญที่ต้องการให้บรรลุผล ได้แก่: ⭕️ คาดว่ามาตรการใหม่นี้จะทำให้รัสเซียสูญเสียเงิน "หลายพันล้านดอลลาร์" ทุกเดือน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนรูเบิล และอาจส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยหลักของธนาคารกลางรัสเซียปรับขึ้นขนานใหญ่ ⭕️ มาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงของตลาดน้ำมันโลก เนื่องจากไม่มีภัยคุกคามจากการขาดแคลนอุปทาน และผลผลิตน้ำมันของสหรัฐในขณะนี้อยู่ในระดับที่สูงมาก ตลาดภายในประเทศยังคงมีอุปทานที่ล้นตลาดอยู่ ⭕️ การคว่ำบาตรภาคพลังงานของรัสเซียครั้งนี้ จะสร้างเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ให้ตลาดภายในประเทศของสหรัฐ สามารถส่งออกน้ำมันที่ล้นตลาดอยู่ขณะนี้ออกนอกประเทศได้ https://home.treasury.gov/news/press-releases/jy2777
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 337 มุมมอง 0 รีวิว
  • เลิกฝืนเถอะอุ๊งอิ๊ง เกาะกูดของไทยโดยหลักฐาน
    Mou 44 ถือเป็น Mou ขายชาติที่จะทําให้ไทยเสียสิทธิประโยชน์ทางทะเลโดยเฉพาะเกาะกูด ซึ่งเป็นของไทย ที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจาก Mou ที่นายทักษิณวางหมากไว้ จนถึงขั้นอาจต้องเปลี่ยนเจ้าของผู้ครอบครองจากไทยไปเป็นกัมพูชา ทั้งที่ ข้อเท็จจริงเกาะกูดเป็นของไทยมาโดยตลอด
    ในปี 1907 ไทยใช้สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส เป็นหลักฐานในการปักปันเขตแดนกับกัมพูชาระบุข้อความในข้อสองว่า รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม
    เมื่อพิจารณาหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2450 นอกจากนี้ไทยยังมีหลักฐานการสร้างกระโจมไฟบนเกาะกูดและได้ส่งเอกสารการติดตั้งกระโจมไฟซึ่งปรากฏอยู่ในแผนที่เดินเรือของประเทศต่างต่างทั่วโลกที่ทุกชาติยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
    เกาะกูดที่เสมือนเป็นหมุดหมายสําคัญในการอ้างอิงการเจรจาจัดทําพื้นที่พัฒนาร่วมจอยท์ ดีเวลลอปเม้นท์แอเรียหรือเจดีเอ เพื่อสํารวจและใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนหลายทวีปในอ่าวไทย
    การตีความโดยไม่ยึดโยงกับเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ นอกเหนือไปจากหลักฐานกฎหมายทางทะเลที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ทําให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเกาะกูดอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิซับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาทั้งที่ตามข้อเท็จจริงแล้วก่อกูดอยู่ภายใต้การปกครองและอธิปไตยของไทยโดยสมบูรณ์
    แม้รัฐบาลโดยนายกคุณหนูแห่งบ้านจันส่องหล้า จะออกมายืนยันว่าเอ็มโอยู สี่สิบสี่จะไม่ทําให้ไทยเสียเปรียบกัมพูชา โดยเฉพาะจะไม่มีการสูญเสียเกาะกูดอย่างแน่นอน แต่ก็ดูเหมือนว่าผู้คนจะไม่ค่อยเชื่อในถ้อยคําแถลงนั้นมากนัก
    เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่านายโทนี่ ทักษิณชินวัตรผู้ครอบงําบทบาทของลูกสาวมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นลึกซึ้งกับฮุนเซน อดีตผู้นํากัมพูชาและเป็นอดีตนักรบเขมรแดงที่เคยปฏิบัติการในน่านน้ําอ่าวไทยมาแล้วเมื่อ 50 ปีก่อนโดยไม่สนใจเรื่องเขตแดนทางทะเลผู้คนจึงหวั่นใจว่านายโทนี่จะวางหมากใดใดไว้ในกรณีเอ็มโอยูสี่สิบสี่หรือไม่ ติดตามข่าวซีพๆแบบนี้ได้ที่ #คิงส์โพธิ์ดำ

    เลิกฝืนเถอะอุ๊งอิ๊ง เกาะกูดของไทยโดยหลักฐาน Mou 44 ถือเป็น Mou ขายชาติที่จะทําให้ไทยเสียสิทธิประโยชน์ทางทะเลโดยเฉพาะเกาะกูด ซึ่งเป็นของไทย ที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องจาก Mou ที่นายทักษิณวางหมากไว้ จนถึงขั้นอาจต้องเปลี่ยนเจ้าของผู้ครอบครองจากไทยไปเป็นกัมพูชา ทั้งที่ ข้อเท็จจริงเกาะกูดเป็นของไทยมาโดยตลอด ในปี 1907 ไทยใช้สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส เป็นหลักฐานในการปักปันเขตแดนกับกัมพูชาระบุข้อความในข้อสองว่า รัฐบาลฝรั่งเศส ยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงห์ลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม เมื่อพิจารณาหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงว่าเกาะกูดเป็นอธิปไตยของไทยมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2450 นอกจากนี้ไทยยังมีหลักฐานการสร้างกระโจมไฟบนเกาะกูดและได้ส่งเอกสารการติดตั้งกระโจมไฟซึ่งปรากฏอยู่ในแผนที่เดินเรือของประเทศต่างต่างทั่วโลกที่ทุกชาติยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน เกาะกูดที่เสมือนเป็นหมุดหมายสําคัญในการอ้างอิงการเจรจาจัดทําพื้นที่พัฒนาร่วมจอยท์ ดีเวลลอปเม้นท์แอเรียหรือเจดีเอ เพื่อสํารวจและใช้ประโยชน์จากปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนหลายทวีปในอ่าวไทย การตีความโดยไม่ยึดโยงกับเอกสารหลักฐานที่มีอยู่ นอกเหนือไปจากหลักฐานกฎหมายทางทะเลที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ทําให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าเกาะกูดอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิซับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาทั้งที่ตามข้อเท็จจริงแล้วก่อกูดอยู่ภายใต้การปกครองและอธิปไตยของไทยโดยสมบูรณ์ แม้รัฐบาลโดยนายกคุณหนูแห่งบ้านจันส่องหล้า จะออกมายืนยันว่าเอ็มโอยู สี่สิบสี่จะไม่ทําให้ไทยเสียเปรียบกัมพูชา โดยเฉพาะจะไม่มีการสูญเสียเกาะกูดอย่างแน่นอน แต่ก็ดูเหมือนว่าผู้คนจะไม่ค่อยเชื่อในถ้อยคําแถลงนั้นมากนัก เนื่องจากเป็นที่รู้กันดีว่านายโทนี่ ทักษิณชินวัตรผู้ครอบงําบทบาทของลูกสาวมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นลึกซึ้งกับฮุนเซน อดีตผู้นํากัมพูชาและเป็นอดีตนักรบเขมรแดงที่เคยปฏิบัติการในน่านน้ําอ่าวไทยมาแล้วเมื่อ 50 ปีก่อนโดยไม่สนใจเรื่องเขตแดนทางทะเลผู้คนจึงหวั่นใจว่านายโทนี่จะวางหมากใดใดไว้ในกรณีเอ็มโอยูสี่สิบสี่หรือไม่ ติดตามข่าวซีพๆแบบนี้ได้ที่ #คิงส์โพธิ์ดำ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 351 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567

    ….คำสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 22/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

    ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567”

    ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

    ข้อ 3 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน ดังต่อไปนี้

    ถนนราชดําเนินใน
    ถนนหน้าพระธาตุ
    ถนนพระจันทร์
    ถนนหน้าพระลาน
    ถนนสนามไชย
    ถนนกัลยาณไมตรี
    ถนนท้ายวัง
    ถนนมหาราช
    ถนนราชินี
    ถนนเศรษฐการ
    ข้อ 4 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนถนนทุกสายในเขต กรุงเทพมหานคร ยกเว้น ถนนดังต่อไปนี้

    ถนนวิภาวดีรังสิต
    ถนนบางนา-ตราด
    ถนนศรีนครินทร์
    ถนนพหลโยธิน
    ถนนรามอินทรา
    ถนนราชพฤกษ์
    ถนนบรมราชชนนี
    ถนนกัลปพฤกษ์
    ถนนร่มเกล้า
    ถนนสุวินทวงศ์
    ถนนแจ้งวัฒนะ
    ถนนพระรามที่ 3
    ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ตัดใหม่)
    ข้อ 5 ข้อบังคับนี้มิให้ใช้บังคับกับรถที่กําหนดอัตราความเร็วในกฎกระทรวงไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    ข้อ 6 บรรดา ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ยกเลิกโดยใช้ข้อบังคับนี้แทน ยกเว้นข้อบังคับ ดังต่อไปนี้

    6.1 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกําหนดอัตราความเร็วของรถ พ.ศ.2561

    6.2 ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจํากัดความเร็ว และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน (901 แลนด์) พ.ศ.2564
    เมื่อวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567 ….คำสั่งสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ที่ 22/2566 ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2566 แต่งตั้งผู้บัญชาการตํารวจนครบาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน เป็นหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร จึงได้ออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการจํากัดความเร็วและห้ามใช้เสียง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567” ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน ดังต่อไปนี้ ถนนราชดําเนินใน ถนนหน้าพระธาตุ ถนนพระจันทร์ ถนนหน้าพระลาน ถนนสนามไชย ถนนกัลยาณไมตรี ถนนท้ายวัง ถนนมหาราช ถนนราชินี ถนนเศรษฐการ ข้อ 4 จํากัดอัตราความเร็วของรถ ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนถนนทุกสายในเขต กรุงเทพมหานคร ยกเว้น ถนนดังต่อไปนี้ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนบางนา-ตราด ถนนศรีนครินทร์ ถนนพหลโยธิน ถนนรามอินทรา ถนนราชพฤกษ์ ถนนบรมราชชนนี ถนนกัลปพฤกษ์ ถนนร่มเกล้า ถนนสุวินทวงศ์ ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพระรามที่ 3 ถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า (ตัดใหม่) ข้อ 5 ข้อบังคับนี้มิให้ใช้บังคับกับรถที่กําหนดอัตราความเร็วในกฎกระทรวงไม่เกิน 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ข้อ 6 บรรดา ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ยกเลิกโดยใช้ข้อบังคับนี้แทน ยกเว้นข้อบังคับ ดังต่อไปนี้ 6.1 ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกําหนดอัตราความเร็วของรถ พ.ศ.2561 6.2 ข้อบังคับหัวหน้าเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจํากัดความเร็ว และห้ามใช้เสียงบริเวณโดยรอบเขตพระราชฐาน (901 แลนด์) พ.ศ.2564
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 416 มุมมอง 0 รีวิว
  • พรรคพลังประชารัฐ จัดประชุมชาวตราดแจงปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชาด้านเกาะกูด หวั่นเสียดินแดนหากรัฐบาลยังนิ่งเฉย ด้านกลุ่มประมง ยื่นหนังสือเรียกร้องยกเลิก MOU 2544 หวั่นปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกระทบการทำมาหากิน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000122525

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    พรรคพลังประชารัฐ จัดประชุมชาวตราดแจงปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชาด้านเกาะกูด หวั่นเสียดินแดนหากรัฐบาลยังนิ่งเฉย ด้านกลุ่มประมง ยื่นหนังสือเรียกร้องยกเลิก MOU 2544 หวั่นปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกระทบการทำมาหากิน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000122525 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    24
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1020 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม

    วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร

    ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง"

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270

    #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    ศาล ปค.สั่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง จตุจักร ออกป้ายกำกับการเสียภาษีรถยนต์ประจำปี ให้ผู้ค้างค่าปรับรายหนึ่งที่ขับรถเร็วบนทางด่วนบูรพาวิถี พร้อมให้จ่ายสินไหมทดแทนอีก 3,151 บาท เหตุเจ้าพนักงานจราจร ไม่ทำหนังสือแจ้งผู้ขับขี่ ถือว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วน จนท.ขนส่งฯ จึงไม่มีอำนาจชะลอการออกป้ายวงกลม • วันนี้ (20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษา ลงวันที่ 18 ธ.ค.2567 พิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่รับชำระค่าภาษีรถยนต์สำนักงานขนส่งกรุงเทพฯพื้นที่ 5 (จตุจักร) ในฐานะนายทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีรถประจำปี พ.ศ. 2568 ให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ ภายในสามวันนับแต่วันที่คดีถึงที่สุด และให้กรมขนส่งทางบก ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอำนาจ แก้วประสงค์ เป็นเงินจำนวน 3,151.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา 7 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตามคำขอของผู้ฟ้องคดี ทั้งนี้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด ตามที่ นายอำนาจ แก้วประสงค์ ยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กรมการขนส่งทางบก อธิบดีกรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ฝ่ายทะเบียนสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ในการปฏิเสธไม่ออกป้ายภาษีรถยนต์ (ป้ายวงกลม) ให้ โดยอ้างว่า นายอำนาจยังค้างชำระค่าปรับจากการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร • ศาลปกครองให้เหตุผลว่า แม้จะเป็นความจริงว่า ระหว่างกรใขนส่งทางบก กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกรมการขนส่งทางบก ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ลงวันที่ 8 ก.พ.2566 และในการปฏิบัติงานด้านจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในแต่ละขั้นตอนต่างๆ เรียกว่า "ระบบบริหารจัดการใบสั่ง" • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000122270 • #MGROnline #ศาลปกครองกลาง #ระบบบริหารจัดการใบสั่ง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 357 มุมมอง 0 รีวิว
  • สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด

    เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ

    นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989

    #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    สว.ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น “อังคนา” เชื่อ สส.ยึดหลักประชามติเสียงข้างมากชั้นเดียว แม้จะรอ 6 เดือน ขณะที่ “นันทนา”ซัดอย่าดัดจริต อย่าสองมาตรฐาน ที่ผ่านมาทั้งการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่นก็ใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ด้าน “นอสตราดามุสแก้รธน.” ระบุ ร่างกม.ประชามติมีรูรั่ว สภาฯเสนอใช้แค่เสียงข้างมากชั้นเดียว ไม่ต้องยึดเกณฑ์ 2 ชั้น ฟันฉับ สสร.ไม่เกิด • เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี พล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการร่วมกัน พิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมีมติเห็นชอบร่างแก้ไขของวุฒิสภา ที่แก้ไขด้วยเกณฑ์ผ่านประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เกณฑ์ผ่าน 2 ชั้น คือต้องมีผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสัยงเป็นจำนวนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ใช้เสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ออกเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ • นายนรเศรษฐ์ ปรัชญากร สว.อภิปรายว่า การออกเสียงประชามติข้างมากชั้นเดียว เป็นที่นิยมในหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศที่ใช้กรออกเสียงประชามติ 2 ชั้นที่สร้างปัญหา มากกว่าข้อดี และรูปแบบรัฐเป็นสหพันธรัฐ เพื่อไม่ให้รัฐใหญ่ใช้พวกมาลากไป แต่ประเทศไทยเป็นรัฐเดียว จึงควรใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมอ้างตัวอย่างการใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น เหมือนการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญ 2560 ในปี 2559 ที่กฎหมายเดิมใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก2 ชั้น ก่อนมีการเปลี่ยนเป็นเสียงข้างมากชั้นเดียว เพราะเสียงข้างมาก 2 ชั้น ถูกรณรงค์ให้คว่ำง่ายมาก เมื่อ คสช.อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ผ่าน ก็มีการแก้ไขกฎหมาย กลับมาใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000120989 • #MGROnline #พรบประชามติ #ประชุมวุฒิสภา
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 282 มุมมอง 0 รีวิว
  • ท่าขี้เหล็ก - อาชญกรรมฝั่งท่าขี้เหล็กยังน่ากลัว..ล่าสุดคนร้ายก่อเหตุอุกอาจ ขับเก๋งจอดลากปืนลักพาตัวนักธุรกิจชาวจีนห่างสถานีตำรวจแค่ 70 เมตร หนีลอยนวล

    วันนี้ (13 ธ.ค.) Tachileik News Agency สื่อออนไลน์ท้องถิ่นเมีนมารายงานว่าเกิดเหตุชายชาวจีนคนหนึ่งคน ที่อยู่ใน จ.ท่าขี้เหล็ก ประเมียนมา ติดกับ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถูกกลุ่มคนเข้าไปลักพาตัวบริเวณร้านแลกเปลี่ยนเงินตราหน้าธนาคาร KBZ ซึ่งห่างจากสถานีตำรวจ จ.ท่าขี้เหล็ก เพียงประมาณ 70 เมตร

    คนร้ายก่อเหตุในช่วงเช้าเวลาประมาณ 06.00 น.ภายในตัวเมืองอย่างอุกอาจ ซึ่งภาพจากกล้องวงจรปิดใน จ.ท่าขี้เหล็ก บันทึกภาพคนร้ายเป็นชายจำนวน 3 คน ถือปืนยาวออกมาจากรถยนต์เก๋งสีขาวและเข้าไปข่มขู่พร้อมฉุดกระชากร่างของชายชาวจีน ซึ่งทราบชื่อต่อมาคือนายอู่เยียน อายุ 78 ปี เป็นนักธุรกิจรับแลกเงิน ที่กำลังจะเดินไปยังร้านแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าว ให้ขึ้นไปบนรถของตัวเอง

    ซึ่งมีรายงานว่าคนในรถที่รออยู่ยังเป็นหญิงอีก 1 คนด้วย ก่อนที่ทั้งหมดจะนำนายอู่เยียน ขึ้นรถขับหลบหนีไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบเป้าหมายและมีรถยนต์อีกคันหนึ่งจอดทิ้งไว้หน้าร้านคาดว่าเป็นของนายอู่เยียน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/local/detail/9670000119825

    #MGROnline #ท่าขี้เหล็ก
    ท่าขี้เหล็ก - อาชญกรรมฝั่งท่าขี้เหล็กยังน่ากลัว..ล่าสุดคนร้ายก่อเหตุอุกอาจ ขับเก๋งจอดลากปืนลักพาตัวนักธุรกิจชาวจีนห่างสถานีตำรวจแค่ 70 เมตร หนีลอยนวล • วันนี้ (13 ธ.ค.) Tachileik News Agency สื่อออนไลน์ท้องถิ่นเมีนมารายงานว่าเกิดเหตุชายชาวจีนคนหนึ่งคน ที่อยู่ใน จ.ท่าขี้เหล็ก ประเมียนมา ติดกับ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถูกกลุ่มคนเข้าไปลักพาตัวบริเวณร้านแลกเปลี่ยนเงินตราหน้าธนาคาร KBZ ซึ่งห่างจากสถานีตำรวจ จ.ท่าขี้เหล็ก เพียงประมาณ 70 เมตร • คนร้ายก่อเหตุในช่วงเช้าเวลาประมาณ 06.00 น.ภายในตัวเมืองอย่างอุกอาจ ซึ่งภาพจากกล้องวงจรปิดใน จ.ท่าขี้เหล็ก บันทึกภาพคนร้ายเป็นชายจำนวน 3 คน ถือปืนยาวออกมาจากรถยนต์เก๋งสีขาวและเข้าไปข่มขู่พร้อมฉุดกระชากร่างของชายชาวจีน ซึ่งทราบชื่อต่อมาคือนายอู่เยียน อายุ 78 ปี เป็นนักธุรกิจรับแลกเงิน ที่กำลังจะเดินไปยังร้านแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าว ให้ขึ้นไปบนรถของตัวเอง • ซึ่งมีรายงานว่าคนในรถที่รออยู่ยังเป็นหญิงอีก 1 คนด้วย ก่อนที่ทั้งหมดจะนำนายอู่เยียน ขึ้นรถขับหลบหนีไปอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบเป้าหมายและมีรถยนต์อีกคันหนึ่งจอดทิ้งไว้หน้าร้านคาดว่าเป็นของนายอู่เยียน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9670000119825 • #MGROnline #ท่าขี้เหล็ก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 305 มุมมอง 0 รีวิว
  • ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีทำเลไม่กี่แห่งที่มีการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรราคาแพงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และบางทำเล กลายเป็นทำเลเก่าที่มีการพัฒนาโครงการใหม่ลดลง เนื่องจากไม่มีที่ดินในการพัฒนา และราคาที่ดินสูงเกินกว่าจะซื้อมาพัฒนาบ้านในระดับราคาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับโครงการที่เคยพัฒนาและเปิดขายมาก่อนหน้านี้ อีกทั้งกำลังซื้อปัจจุบันของทำเลนั้นๆ อาจจะยังไม่สามารถตอบสนองได้เพียงพอ และมีทำเลศักยภาพอื่นเกิดขึ้นที่ได้รับความสนใจจากกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมไปถึงสามารถพัฒนาบ้านหรูที่มีราคาแพงเปิดขายได้ เช่น พื้นที่ตามแนวถนนบางนา-ตราด ช่วงไม่เกิน กิโลเมตร (กม.) 10 พื้นที่ทำเลราชพฤกษ์ ย่านเกษตร-นวมินทร์ วงแหวนกาญจนาภิเษก พุทธมณฑล สาย 1-4 และย่านเทพรักษ์ เทพรัตน์ เป็นต้น

    โดยช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ตามแนวถนนสายสำคัญที่เปิดให้บริการใหม่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ และเริ่มเข้าซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรมากขึ้น แต่ทำเลที่ได้รับการพูดถึง หรือมีการเปิดขายโครงการใหม่ต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้นคงต้องยกให้พื้นที่ตามแนว “ถนนกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ หรือถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า” เป็นทำเลทองของบ้านหรูอย่างแท้จริง

    ปัจจุบัน ราคาที่ดินในโซนนี้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 150% ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นศักยภาพทำเลย่านนี้ ส่งผลให้การพัฒนาโครงการจะต้องมุ่งไปสู่โครงการที่มีระดับลักชัวรีมากขึ้น

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000119076

    #MGROnline #กรุงเทพมหานคร #โครงการบ้านจัดสรรราคาแพง
    ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีทำเลไม่กี่แห่งที่มีการพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรราคาแพงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และบางทำเล กลายเป็นทำเลเก่าที่มีการพัฒนาโครงการใหม่ลดลง เนื่องจากไม่มีที่ดินในการพัฒนา และราคาที่ดินสูงเกินกว่าจะซื้อมาพัฒนาบ้านในระดับราคาเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับโครงการที่เคยพัฒนาและเปิดขายมาก่อนหน้านี้ อีกทั้งกำลังซื้อปัจจุบันของทำเลนั้นๆ อาจจะยังไม่สามารถตอบสนองได้เพียงพอ และมีทำเลศักยภาพอื่นเกิดขึ้นที่ได้รับความสนใจจากกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมไปถึงสามารถพัฒนาบ้านหรูที่มีราคาแพงเปิดขายได้ เช่น พื้นที่ตามแนวถนนบางนา-ตราด ช่วงไม่เกิน กิโลเมตร (กม.) 10 พื้นที่ทำเลราชพฤกษ์ ย่านเกษตร-นวมินทร์ วงแหวนกาญจนาภิเษก พุทธมณฑล สาย 1-4 และย่านเทพรักษ์ เทพรัตน์ เป็นต้น • โดยช่วงเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ตามแนวถนนสายสำคัญที่เปิดให้บริการใหม่ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ และเริ่มเข้าซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรมากขึ้น แต่ทำเลที่ได้รับการพูดถึง หรือมีการเปิดขายโครงการใหม่ต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้นคงต้องยกให้พื้นที่ตามแนว “ถนนกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ หรือถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้า” เป็นทำเลทองของบ้านหรูอย่างแท้จริง • ปัจจุบัน ราคาที่ดินในโซนนี้ปรับตัวสูงขึ้นถึง 150% ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นศักยภาพทำเลย่านนี้ ส่งผลให้การพัฒนาโครงการจะต้องมุ่งไปสู่โครงการที่มีระดับลักชัวรีมากขึ้น • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/stockmarket/detail/9670000119076 • #MGROnline #กรุงเทพมหานคร #โครงการบ้านจัดสรรราคาแพง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 277 มุมมอง 0 รีวิว
  • CIB RUN 2024 งานวิ่งรวมตำรวจขาแรง

    เป็นงานวิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติฯ CIB RUN 2024 เคียงข้างประชาชน ซีซัน 2 โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ที่สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2567 โดยได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ใช้สถานที่จัดการแข่งขัน

    กิจกรรมนี้ได้ บริษัท ไตรลีก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเคยจัดงานระดับนานาชาติทั้ง Amazing Thailand Marathon, พัทยามาราธอน, ไตรกีฬาโตโยต้าไอรอนแมน ฯลฯ ปีที่แล้วเปิดให้สมัครฟรีปรากฎว่าเจอซื้อ-ขายเบอร์แข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่ต้องการแบบนั้น จึงกำหนดให้มีค่าสมัครทุกระยะ แต่คิดแบบไม่หวังผลกำไร 23 กิโลเมตร (กม.) ค่าสมัคร 350 บาท 10 กม. 300 บาท และ 3 กม. 250 บาท เปิดระบบรับสมัครเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 พ.ย. 2567

    ผลก็คือมีนักวิ่งสนใจลงสมัครล้นหลามจนเว็บล่ม ก่อนเต็มจำนวนเพียงไม่กี่ชั่วโมง รวม 8,223 คน แบ่งเป็น 23 กม. 3,205 คน, 10 กม. 4,312 คน และ 3 กม. 706 คน

    มาถึงการจัดงาน เปิดสนามตั้งแต่เวลา 03.00 น. ก่อนปล่อยตัวนักวิ่ง 23 กม. เวลา 05.00 น. โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้แสลม นักร้องชื่อดังมาให้กำลังใจนักวิ่งอีกด้วย ส่วนนักวิ่ง 10 กม. ปล่อยตัวที่ กม.14 ของสนามลู่ปั่น (ทางเข้าสนามบินฯ ด้านถนนบางนา-ตราด) เวลา 05.03 น. โดยพบว่านอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีข้าราชการตำรวจ ที่ถือโอกาสเจอเพื่อนร่วมรุ่นที่ไม่ได้พบกันมานานไปในตัว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม แต่งกายเต็มยศให้กำลังใจก่อนเข้าเส้นชัยอีกด้วย

    สำหรับผู้ชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปชาย 23 กม. ได้แก่ ร.ต.อ.ปฏิการ เพชรศรีชา ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาที ส่วนประเภทบุคคลทั่วไปหญิง 23 กม. ได้แก่ น.ส.อรอนงค์ วงศร ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 35 นาที

    พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานรางวัลชนะเลิศแก่นักวิ่ง ขอขอบคุณประชาชนที่เข้าร่วมสมัครในปีนี้อย่างล้นหลาม หลายคนรอคอยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เชื่อว่าการออกกำลังทุกประเภทส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายจากความเครียด ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือสิ่งที่พบเจอในแต่ละวันได้ และขอขอบคุณที่ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สนับสนุนการออกกำลังกายให้กับพี่น้องคนไทยทุกคน

    #Newskit
    CIB RUN 2024 งานวิ่งรวมตำรวจขาแรง เป็นงานวิ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมาก สำหรับกิจกรรมวิ่งเฉลิมพระเกียรติฯ CIB RUN 2024 เคียงข้างประชาชน ซีซัน 2 โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ที่สนามลู่ปั่นจักรยานเจริญสุขมงคลจิต ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2567 โดยได้รับการอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจาก บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ให้ใช้สถานที่จัดการแข่งขัน กิจกรรมนี้ได้ บริษัท ไตรลีก (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเคยจัดงานระดับนานาชาติทั้ง Amazing Thailand Marathon, พัทยามาราธอน, ไตรกีฬาโตโยต้าไอรอนแมน ฯลฯ ปีที่แล้วเปิดให้สมัครฟรีปรากฎว่าเจอซื้อ-ขายเบอร์แข่งขัน ซึ่งคณะกรรมการฯ ไม่ต้องการแบบนั้น จึงกำหนดให้มีค่าสมัครทุกระยะ แต่คิดแบบไม่หวังผลกำไร 23 กิโลเมตร (กม.) ค่าสมัคร 350 บาท 10 กม. 300 บาท และ 3 กม. 250 บาท เปิดระบบรับสมัครเมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 7 พ.ย. 2567 ผลก็คือมีนักวิ่งสนใจลงสมัครล้นหลามจนเว็บล่ม ก่อนเต็มจำนวนเพียงไม่กี่ชั่วโมง รวม 8,223 คน แบ่งเป็น 23 กม. 3,205 คน, 10 กม. 4,312 คน และ 3 กม. 706 คน มาถึงการจัดงาน เปิดสนามตั้งแต่เวลา 03.00 น. ก่อนปล่อยตัวนักวิ่ง 23 กม. เวลา 05.00 น. โดยมี พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เป็นประธาน พร้อมด้วย นายอาทิวราห์ คงมาลัย หรือตูน บอดี้แสลม นักร้องชื่อดังมาให้กำลังใจนักวิ่งอีกด้วย ส่วนนักวิ่ง 10 กม. ปล่อยตัวที่ กม.14 ของสนามลู่ปั่น (ทางเข้าสนามบินฯ ด้านถนนบางนา-ตราด) เวลา 05.03 น. โดยพบว่านอกจากประชาชนทั่วไปแล้ว ยังมีข้าราชการตำรวจ ที่ถือโอกาสเจอเพื่อนร่วมรุ่นที่ไม่ได้พบกันมานานไปในตัว นอกจากนี้ ยังมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม แต่งกายเต็มยศให้กำลังใจก่อนเข้าเส้นชัยอีกด้วย สำหรับผู้ชนะเลิศประเภทบุคคลทั่วไปชาย 23 กม. ได้แก่ ร.ต.อ.ปฏิการ เพชรศรีชา ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 24 นาที ส่วนประเภทบุคคลทั่วไปหญิง 23 กม. ได้แก่ น.ส.อรอนงค์ วงศร ด้วยเวลา 1 ชั่วโมง 35 นาที พล.ต.ท.จิรภพ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันฯ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระราชทานรางวัลชนะเลิศแก่นักวิ่ง ขอขอบคุณประชาชนที่เข้าร่วมสมัครในปีนี้อย่างล้นหลาม หลายคนรอคอยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว เชื่อว่าการออกกำลังทุกประเภทส่งผลดีต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายจากความเครียด ความเหนื่อยล้าจากการทำงานหรือสิ่งที่พบเจอในแต่ละวันได้ และขอขอบคุณที่ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นส่วนหนึ่งที่ได้สนับสนุนการออกกำลังกายให้กับพี่น้องคนไทยทุกคน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 601 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9/12/67

    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม

    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ

    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ

    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ

    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย

    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก

    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว

    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย

    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน

    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน

    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที

    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป

    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง

    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    9/12/67 เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 622 มุมมอง 0 รีวิว
  • รักตราด
    รักตราด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 83 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลจัดชุดใหญ่ เยียวยาน้ำท่วมใต้ หวังสยบดราม่า
    .
    ภายหลังนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดนดราม่าทัวร์ลงถล่มเกี่ยวกับน้ำท่วมภาคใต้ ปรากฎว่ารัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณและมาตรการเยียวยาประชาชนในพื้นที่มาเป็นชุด เริ่มตั้งแต่การเพิ่มกรอบเงินทดรองของจังหวัด จาก 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท ในจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประกาศเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 6 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ต่อด้วยการเห็นชอบใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงิน โดยให้ปรับหลักเกณฑ์กรณีที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายน้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และมีทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย และที่อยู่อาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวันจะช่วยในอัตราเดียวคือ 9,000 บาททุกครัวเรือน จากเดิมในพื้นที่ 57จังหวัด จะเพิ่มอีก 16 จังหวัด วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเร่งด่วน
    .
    ขณะเดียวกัน สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ควบคุมดูแลสินค้า อุปโภค-บริโภค ต้องห้ามขาด ห้ามแพง เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนที่กำลังเดือดร้อน ถ้าพบว่ามีการกักตุนสินค้า หรือพบว่าราคาแพงผิดปกติ กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการตามกฎหมายทันที ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย โดยประชาชนและลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการลดเงินงวดและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 1 ปี พักชำระหนี้ นาน 3 เดือน นอกจากนี้ ประชาชนที่ต้องการกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซม หรือปลูกสร้างทดแทนหลังเดิม ธอส.ได้เปิดสินเชื่อวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเดือนที่ 1-3 เท่ากับ 0% ต่อปี พร้อมปลอดชำระเงินงวด 3 เดือน สำหรับประชาชนลูกค้าที่ประสงค์ขอรับบริการ “โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย” สามารถติดต่อได้ที่ 0-2645-9000 หรือสาขาของ ธอส. ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568
    .
    เช่นเดียวกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กระทรวงการคลัง ออกนมาตรการเร่งด่วนเยียวยา “ลูกค้า – ลูกหนี้” น้ำท่วมภาคใต้ พักค่าธรรมเนียม – พักหนี้ 6 เดือน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ภาคใต้ฟื้นฟูกิจการ เช่น พักชำระค่าธรรมเนียมและค่าจัดการค้ำประกัน 6 เดือน สำหรับ SMEs ลูกค้า บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้ปี 2567 มาตรการช่วยลูกหนี้บสย.ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ และไม่ผิดนัดชำระหนี้ ระยะเวลารับคำขอพักชำระ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2567 โดยพักชำระค่างวดที่ถึงกำหนดชำระเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน
    ..............
    Sondhi X
    รัฐบาลจัดชุดใหญ่ เยียวยาน้ำท่วมใต้ หวังสยบดราม่า . ภายหลังนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดนดราม่าทัวร์ลงถล่มเกี่ยวกับน้ำท่วมภาคใต้ ปรากฎว่ารัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณและมาตรการเยียวยาประชาชนในพื้นที่มาเป็นชุด เริ่มตั้งแต่การเพิ่มกรอบเงินทดรองของจังหวัด จาก 20 ล้านบาท เป็น 50 ล้านบาท ในจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประกาศเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 6 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ต่อด้วยการเห็นชอบใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในในช่วงฤดูฝน ปี 2567 เพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงิน โดยให้ปรับหลักเกณฑ์กรณีที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายน้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง ไม่เกิน 7 วัน และมีทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย และที่อยู่อาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันเกินกว่าเจ็ดวันจะช่วยในอัตราเดียวคือ 9,000 บาททุกครัวเรือน จากเดิมในพื้นที่ 57จังหวัด จะเพิ่มอีก 16 จังหวัด วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเร่งด่วน . ขณะเดียวกัน สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ควบคุมดูแลสินค้า อุปโภค-บริโภค ต้องห้ามขาด ห้ามแพง เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมประชาชนที่กำลังเดือดร้อน ถ้าพบว่ามีการกักตุนสินค้า หรือพบว่าราคาแพงผิดปกติ กระทรวงพาณิชย์จะดำเนินการตามกฎหมายทันที ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำโครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย โดยประชาชนและลูกค้าธนาคารที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการลดเงินงวดและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นระยะเวลา 1 ปี พักชำระหนี้ นาน 3 เดือน นอกจากนี้ ประชาชนที่ต้องการกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซม หรือปลูกสร้างทดแทนหลังเดิม ธอส.ได้เปิดสินเชื่อวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเดือนที่ 1-3 เท่ากับ 0% ต่อปี พร้อมปลอดชำระเงินงวด 3 เดือน สำหรับประชาชนลูกค้าที่ประสงค์ขอรับบริการ “โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย” สามารถติดต่อได้ที่ 0-2645-9000 หรือสาขาของ ธอส. ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 . เช่นเดียวกับ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กระทรวงการคลัง ออกนมาตรการเร่งด่วนเยียวยา “ลูกค้า – ลูกหนี้” น้ำท่วมภาคใต้ พักค่าธรรมเนียม – พักหนี้ 6 เดือน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ภาคใต้ฟื้นฟูกิจการ เช่น พักชำระค่าธรรมเนียมและค่าจัดการค้ำประกัน 6 เดือน สำหรับ SMEs ลูกค้า บสย. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยภาคใต้ปี 2567 มาตรการช่วยลูกหนี้บสย.ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระตามแผนปรับโครงสร้างหนี้ และไม่ผิดนัดชำระหนี้ ระยะเวลารับคำขอพักชำระ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน - 31 ธันวาคม 2567 โดยพักชำระค่างวดที่ถึงกำหนดชำระเป็นระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 926 มุมมอง 0 รีวิว
  • แพทองธาร "นายกฯ ไอแพด" เด็กที่สุดเวทีโลก .ผมจำเป็นต้องพูดถึงท่าน "นายกฯ ไอแพด" ที่สื่อมวลชนตั้งฉายาไว้ ท่านได้ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมหลายอย่างในช่วงหลังๆ ผมจำเป็นต้องเอามาตีแผ่เป็นครั้งแรก ซึ่งผมก็ปล่อยให้ท่านทำงานมาพักหนึ่งแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าท่านทำอะไรผิดบ้าง อาจจะเป็นเพราะท่านยังเด็กไปมั้ง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าท่านมีที่ปรึกษาที่ใช้ไม่ได้ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเป็นนิสัยของท่านนายกฯ เองที่ยังคงความเป็นเด็ก วันนี้หนูเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ไม่ใช่ลูกสาวคนเล็กของบ้านจันทร์ส่องหล้า ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว.นอกจากเป็นนายกฯ ไอแพดแล้ว ท่านเป็นนายกฯ ที่ชอบเซลฟีมาก ไม่ว่าท่านเจอผู้นำที่ไหน จะต้องเซลฟีกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกขบขันในหมู่วงการโลก เยอะแยะไปหมด .คุณแพทองธาร เธอจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ แต่เธอมีปัญหาเรื่องของการพูดไม่รู้เรื่อง คือจับความแทบไม่ได้ เพราะเธอนึกอะไรได้เธอก็พูดออกมา เหมือนไม่ได้เรียบเรียงความคิด แต่พูดภาษาอังกฤษแบบที่เขาเรียกว่า Beat around the bush หรือพูดวกไปวนมา ไม่ตรงประเด็น .นอกจากการให้สัมภาษณ์ที่เรียกว่าน่าอับอายอย่างยิ่งของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ บนเวที FORBES GLOBAL CEO CONFERRENCE ที่โรงแรม Ritz Carlton กรุงเทพฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว จะเห็นได้ชัดว่านายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ตอบไม่ตรงคำถาม ทั้งๆ ที่ FORBES ส่งแนวทางคำถามให้ล่วงหน้าแล้ว แต่นายกฯ อยากจะพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูด วนเวียนเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ เสถียรภาพทางการเมือง ลืมไปว่ากำลังสื่อสารกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ใช่หาเสียงกับชาวบ้านคนไทย.ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมาก คือ การพบปะหารือกับนายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เอาแต่พูดเรื่องน้ำท่วม จนนายบลิงเกน งงเป็นไก่ตาแตก ในเนื้อหาคำพูดของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ก็แทบไม่เข้าใจเลยว่าเธอต้องการจะพูดอะไร คณะที่ปรึกษาที่มีคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นประธาน คุณสอบตกในเรื่องพวกนี้ จนในบทถอดคำสนทนาของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ถึงกับต้องถอดความบันทึกใส่วงเล็บว่า "inaudible" ก็คือ "จับความไม่ได้" คือเขาให้หน้าเอาไว้ เขาไม่อยากจะแปลออกมา เดี๋ยวจะหมอไม่รับเย็บ .ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าท่านนายกฯ ไม่เข้าใจนโยบายรัฐบาลอย่างถ่องแท้ แต่จำได้เพียงแค่ที่ทีมงานบรีฟให้ฟัง ขาดความรอบรู้นอกจากนี้แล้ว ท่านนายกฯ พยายามจะอธิบายแบบผิดๆ ถูกๆ เรื่องทำไมต้องมี MOU 2544 โดยอ้างว่า เพื่อให้รู้ว่าข้อที่ไม่เห็นด้วย ให้เอามาคุยกัน ซึ่งถ้าต่างคนต่างไม่ถอย เพราะฉะนั้นจึงต้องแบ่งผลประโยชน์กัน เอามาแบ่งกัน เรื่องเขตแดน เรื่องพรมแดน เรื่องแผนที่ เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย คนอย่างนายกรัฐมนตรีจะมาพูดแบบมั่วซั่วไม่ได้ เพราะคำพูดของท่านทุกคำ สิ่งที่ท่านให้สัมภาษณ์สื่อ กัมพูชาจะบันทึกเอาไว้หมด และเอาไปอ้างอิงในการต่อสู้ได้ .ด้วยเหตุนี้ ผม อาจารย์ปานเทพ จึงจำเป็นต้องยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ผมไม่ได้มาชี้แจงนะ แต่กล่าวหาท่านและรัฐบาลชุดนี้ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเล โดยรอบเกาะกูด จังหวัดตราด .ตรงนี้ถ้าท่านนายกฯ ไม่ลงมาจัดการหรือระมัดระวังตัว เราก็คงต้องยกชาติ ยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมรขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมเบ็ดเสร็จ ทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้าเป็นอย่างนี้ ผมจะลงถนนเพื่อไล่ท่าน.อย่าลืมนะครับ วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม ผม อาจารย์ปานเทพ จะไปยื่นหนังสือกล่าวหานายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ คุณภูมิธรรม เวชยชัย และรัฐบาลชุดนี้ กำลังจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยบนพื้นที่ทางทะเล ซึ่งเป็นสิทธิของประเทศไทย ด้วยการไปร่วมมือ สมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายเขมร
    แพทองธาร "นายกฯ ไอแพด" เด็กที่สุดเวทีโลก .ผมจำเป็นต้องพูดถึงท่าน "นายกฯ ไอแพด" ที่สื่อมวลชนตั้งฉายาไว้ ท่านได้ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมหลายอย่างในช่วงหลังๆ ผมจำเป็นต้องเอามาตีแผ่เป็นครั้งแรก ซึ่งผมก็ปล่อยให้ท่านทำงานมาพักหนึ่งแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าท่านทำอะไรผิดบ้าง อาจจะเป็นเพราะท่านยังเด็กไปมั้ง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าท่านมีที่ปรึกษาที่ใช้ไม่ได้ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเป็นนิสัยของท่านนายกฯ เองที่ยังคงความเป็นเด็ก วันนี้หนูเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ไม่ใช่ลูกสาวคนเล็กของบ้านจันทร์ส่องหล้า ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว.นอกจากเป็นนายกฯ ไอแพดแล้ว ท่านเป็นนายกฯ ที่ชอบเซลฟีมาก ไม่ว่าท่านเจอผู้นำที่ไหน จะต้องเซลฟีกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกขบขันในหมู่วงการโลก เยอะแยะไปหมด .คุณแพทองธาร เธอจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ แต่เธอมีปัญหาเรื่องของการพูดไม่รู้เรื่อง คือจับความแทบไม่ได้ เพราะเธอนึกอะไรได้เธอก็พูดออกมา เหมือนไม่ได้เรียบเรียงความคิด แต่พูดภาษาอังกฤษแบบที่เขาเรียกว่า Beat around the bush หรือพูดวกไปวนมา ไม่ตรงประเด็น .นอกจากการให้สัมภาษณ์ที่เรียกว่าน่าอับอายอย่างยิ่งของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ บนเวที FORBES GLOBAL CEO CONFERRENCE ที่โรงแรม Ritz Carlton กรุงเทพฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว จะเห็นได้ชัดว่านายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ตอบไม่ตรงคำถาม ทั้งๆ ที่ FORBES ส่งแนวทางคำถามให้ล่วงหน้าแล้ว แต่นายกฯ อยากจะพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูด วนเวียนเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ เสถียรภาพทางการเมือง ลืมไปว่ากำลังสื่อสารกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ใช่หาเสียงกับชาวบ้านคนไทย.ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมาก คือ การพบปะหารือกับนายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เอาแต่พูดเรื่องน้ำท่วม จนนายบลิงเกน งงเป็นไก่ตาแตก ในเนื้อหาคำพูดของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ก็แทบไม่เข้าใจเลยว่าเธอต้องการจะพูดอะไร คณะที่ปรึกษาที่มีคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นประธาน คุณสอบตกในเรื่องพวกนี้ จนในบทถอดคำสนทนาของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ถึงกับต้องถอดความบันทึกใส่วงเล็บว่า "inaudible" ก็คือ "จับความไม่ได้" คือเขาให้หน้าเอาไว้ เขาไม่อยากจะแปลออกมา เดี๋ยวจะหมอไม่รับเย็บ .ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าท่านนายกฯ ไม่เข้าใจนโยบายรัฐบาลอย่างถ่องแท้ แต่จำได้เพียงแค่ที่ทีมงานบรีฟให้ฟัง ขาดความรอบรู้นอกจากนี้แล้ว ท่านนายกฯ พยายามจะอธิบายแบบผิดๆ ถูกๆ เรื่องทำไมต้องมี MOU 2544 โดยอ้างว่า เพื่อให้รู้ว่าข้อที่ไม่เห็นด้วย ให้เอามาคุยกัน ซึ่งถ้าต่างคนต่างไม่ถอย เพราะฉะนั้นจึงต้องแบ่งผลประโยชน์กัน เอามาแบ่งกัน เรื่องเขตแดน เรื่องพรมแดน เรื่องแผนที่ เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย คนอย่างนายกรัฐมนตรีจะมาพูดแบบมั่วซั่วไม่ได้ เพราะคำพูดของท่านทุกคำ สิ่งที่ท่านให้สัมภาษณ์สื่อ กัมพูชาจะบันทึกเอาไว้หมด และเอาไปอ้างอิงในการต่อสู้ได้ .ด้วยเหตุนี้ ผม อาจารย์ปานเทพ จึงจำเป็นต้องยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ผมไม่ได้มาชี้แจงนะ แต่กล่าวหาท่านและรัฐบาลชุดนี้ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเล โดยรอบเกาะกูด จังหวัดตราด .ตรงนี้ถ้าท่านนายกฯ ไม่ลงมาจัดการหรือระมัดระวังตัว เราก็คงต้องยกชาติ ยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมรขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมเบ็ดเสร็จ ทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้าเป็นอย่างนี้ ผมจะลงถนนเพื่อไล่ท่าน.อย่าลืมนะครับ วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม ผม อาจารย์ปานเทพ จะไปยื่นหนังสือกล่าวหานายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ คุณภูมิธรรม เวชยชัย และรัฐบาลชุดนี้ กำลังจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยบนพื้นที่ทางทะเล ซึ่งเป็นสิทธิของประเทศไทย ด้วยการไปร่วมมือ สมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายเขมร
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 629 มุมมอง 0 รีวิว
  • แพทองธาร "นายกฯ ไอแพด" เด็กที่สุดเวทีโลก
    .
    ผมจำเป็นต้องพูดถึงท่าน "นายกฯ ไอแพด" ที่สื่อมวลชนตั้งฉายาไว้ ท่านได้ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมหลายอย่างในช่วงหลังๆ ผมจำเป็นต้องเอามาตีแผ่เป็นครั้งแรก ซึ่งผมก็ปล่อยให้ท่านทำงานมาพักหนึ่งแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าท่านทำอะไรผิดบ้าง อาจจะเป็นเพราะท่านยังเด็กไปมั้ง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าท่านมีที่ปรึกษาที่ใช้ไม่ได้ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเป็นนิสัยของท่านนายกฯ เองที่ยังคงความเป็นเด็ก วันนี้หนูเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ไม่ใช่ลูกสาวคนเล็กของบ้านจันทร์ส่องหล้า ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว
    .
    นอกจากเป็นนายกฯ ไอแพดแล้ว ท่านเป็นนายกฯ ที่ชอบเซลฟีมาก ไม่ว่าท่านเจอผู้นำที่ไหน จะต้องเซลฟีกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกขบขันในหมู่วงการโลก เยอะแยะไปหมด
    .
    คุณแพทองธาร เธอจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ แต่เธอมีปัญหาเรื่องของการพูดไม่รู้เรื่อง คือจับความแทบไม่ได้ เพราะเธอนึกอะไรได้เธอก็พูดออกมา เหมือนไม่ได้เรียบเรียงความคิด แต่พูดภาษาอังกฤษแบบที่เขาเรียกว่า Beat around the bush หรือพูดวกไปวนมา ไม่ตรงประเด็น
    .
    นอกจากการให้สัมภาษณ์ที่เรียกว่าน่าอับอายอย่างยิ่งของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ บนเวที FORBES GLOBAL CEO CONFERRENCE ที่โรงแรม Ritz Carlton กรุงเทพฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว จะเห็นได้ชัดว่านายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ตอบไม่ตรงคำถาม ทั้งๆ ที่ FORBES ส่งแนวทางคำถามให้ล่วงหน้าแล้ว แต่นายกฯ อยากจะพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูด วนเวียนเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ เสถียรภาพทางการเมือง ลืมไปว่ากำลังสื่อสารกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ใช่หาเสียงกับชาวบ้านคนไทย
    .
    ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมาก คือ การพบปะหารือกับนายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เอาแต่พูดเรื่องน้ำท่วม จนนายบลิงเกน งงเป็นไก่ตาแตก ในเนื้อหาคำพูดของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ก็แทบไม่เข้าใจเลยว่าเธอต้องการจะพูดอะไร คณะที่ปรึกษาที่มีคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นประธาน คุณสอบตกในเรื่องพวกนี้ จนในบทถอดคำสนทนาของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ถึงกับต้องถอดความบันทึกใส่วงเล็บว่า "inaudible" ก็คือ "จับความไม่ได้" คือเขาให้หน้าเอาไว้ เขาไม่อยากจะแปลออกมา เดี๋ยวจะหมอไม่รับเย็บ
    .
    ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าท่านนายกฯ ไม่เข้าใจนโยบายรัฐบาลอย่างถ่องแท้ แต่จำได้เพียงแค่ที่ทีมงานบรีฟให้ฟัง ขาดความรอบรู้นอกจากนี้แล้ว ท่านนายกฯ พยายามจะอธิบายแบบผิดๆ ถูกๆ เรื่องทำไมต้องมี MOU 2544 โดยอ้างว่า เพื่อให้รู้ว่าข้อที่ไม่เห็นด้วย ให้เอามาคุยกัน ซึ่งถ้าต่างคนต่างไม่ถอย เพราะฉะนั้นจึงต้องแบ่งผลประโยชน์กัน เอามาแบ่งกัน เรื่องเขตแดน เรื่องพรมแดน เรื่องแผนที่ เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย คนอย่างนายกรัฐมนตรีจะมาพูดแบบมั่วซั่วไม่ได้ เพราะคำพูดของท่านทุกคำ สิ่งที่ท่านให้สัมภาษณ์สื่อ กัมพูชาจะบันทึกเอาไว้หมด และเอาไปอ้างอิงในการต่อสู้ได้
    .
    ด้วยเหตุนี้ ผม อาจารย์ปานเทพ จึงจำเป็นต้องยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ผมไม่ได้มาชี้แจงนะ แต่กล่าวหาท่านและรัฐบาลชุดนี้ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเล โดยรอบเกาะกูด จังหวัดตราด
    .
    ตรงนี้ถ้าท่านนายกฯ ไม่ลงมาจัดการหรือระมัดระวังตัว เราก็คงต้องยกชาติ ยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมรขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมเบ็ดเสร็จ ทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้าเป็นอย่างนี้ ผมจะลงถนนเพื่อไล่ท่าน
    .
    อย่าลืมนะครับ วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม ผม อาจารย์ปานเทพ จะไปยื่นหนังสือกล่าวหานายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ คุณภูมิธรรม เวชยชัย และรัฐบาลชุดนี้ กำลังจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยบนพื้นที่ทางทะเล ซึ่งเป็นสิทธิของประเทศไทย ด้วยการไปร่วมมือ สมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายเขมร
    แพทองธาร "นายกฯ ไอแพด" เด็กที่สุดเวทีโลก . ผมจำเป็นต้องพูดถึงท่าน "นายกฯ ไอแพด" ที่สื่อมวลชนตั้งฉายาไว้ ท่านได้ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมหลายอย่างในช่วงหลังๆ ผมจำเป็นต้องเอามาตีแผ่เป็นครั้งแรก ซึ่งผมก็ปล่อยให้ท่านทำงานมาพักหนึ่งแล้ว แต่ท่านก็ยังไม่รู้สึกตัวว่าท่านทำอะไรผิดบ้าง อาจจะเป็นเพราะท่านยังเด็กไปมั้ง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าท่านมีที่ปรึกษาที่ใช้ไม่ได้ หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเป็นนิสัยของท่านนายกฯ เองที่ยังคงความเป็นเด็ก วันนี้หนูเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ไม่ใช่ลูกสาวคนเล็กของบ้านจันทร์ส่องหล้า ไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว . นอกจากเป็นนายกฯ ไอแพดแล้ว ท่านเป็นนายกฯ ที่ชอบเซลฟีมาก ไม่ว่าท่านเจอผู้นำที่ไหน จะต้องเซลฟีกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกขบขันในหมู่วงการโลก เยอะแยะไปหมด . คุณแพทองธาร เธอจบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ ประเทศอังกฤษ แต่เธอมีปัญหาเรื่องของการพูดไม่รู้เรื่อง คือจับความแทบไม่ได้ เพราะเธอนึกอะไรได้เธอก็พูดออกมา เหมือนไม่ได้เรียบเรียงความคิด แต่พูดภาษาอังกฤษแบบที่เขาเรียกว่า Beat around the bush หรือพูดวกไปวนมา ไม่ตรงประเด็น . นอกจากการให้สัมภาษณ์ที่เรียกว่าน่าอับอายอย่างยิ่งของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ บนเวที FORBES GLOBAL CEO CONFERRENCE ที่โรงแรม Ritz Carlton กรุงเทพฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว จะเห็นได้ชัดว่านายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ตอบไม่ตรงคำถาม ทั้งๆ ที่ FORBES ส่งแนวทางคำถามให้ล่วงหน้าแล้ว แต่นายกฯ อยากจะพูดในสิ่งที่ตัวเองอยากจะพูด วนเวียนเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ เสถียรภาพทางการเมือง ลืมไปว่ากำลังสื่อสารกับนักลงทุนต่างชาติ ไม่ใช่หาเสียงกับชาวบ้านคนไทย . ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่ถูกพูดถึงกันมาก คือ การพบปะหารือกับนายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างการประชุมอาเซียนซัมมิท ที่ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 ซึ่งนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ เอาแต่พูดเรื่องน้ำท่วม จนนายบลิงเกน งงเป็นไก่ตาแตก ในเนื้อหาคำพูดของนายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ ก็แทบไม่เข้าใจเลยว่าเธอต้องการจะพูดอะไร คณะที่ปรึกษาที่มีคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นประธาน คุณสอบตกในเรื่องพวกนี้ จนในบทถอดคำสนทนาของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ถึงกับต้องถอดความบันทึกใส่วงเล็บว่า "inaudible" ก็คือ "จับความไม่ได้" คือเขาให้หน้าเอาไว้ เขาไม่อยากจะแปลออกมา เดี๋ยวจะหมอไม่รับเย็บ . ที่เป็นอย่างนี้เพราะว่าท่านนายกฯ ไม่เข้าใจนโยบายรัฐบาลอย่างถ่องแท้ แต่จำได้เพียงแค่ที่ทีมงานบรีฟให้ฟัง ขาดความรอบรู้นอกจากนี้แล้ว ท่านนายกฯ พยายามจะอธิบายแบบผิดๆ ถูกๆ เรื่องทำไมต้องมี MOU 2544 โดยอ้างว่า เพื่อให้รู้ว่าข้อที่ไม่เห็นด้วย ให้เอามาคุยกัน ซึ่งถ้าต่างคนต่างไม่ถอย เพราะฉะนั้นจึงต้องแบ่งผลประโยชน์กัน เอามาแบ่งกัน เรื่องเขตแดน เรื่องพรมแดน เรื่องแผนที่ เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย คนอย่างนายกรัฐมนตรีจะมาพูดแบบมั่วซั่วไม่ได้ เพราะคำพูดของท่านทุกคำ สิ่งที่ท่านให้สัมภาษณ์สื่อ กัมพูชาจะบันทึกเอาไว้หมด และเอาไปอ้างอิงในการต่อสู้ได้ . ด้วยเหตุนี้ ผม อาจารย์ปานเทพ จึงจำเป็นต้องยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ผมไม่ได้มาชี้แจงนะ แต่กล่าวหาท่านและรัฐบาลชุดนี้ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเล โดยรอบเกาะกูด จังหวัดตราด . ตรงนี้ถ้าท่านนายกฯ ไม่ลงมาจัดการหรือระมัดระวังตัว เราก็คงต้องยกชาติ ยกแผ่นดิน ยกพื้นที่ให้กับเขมรขโมยพื้นที่เกาะกูดไป รวมเบ็ดเสร็จ ทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวง ช่วยเหลือผู้คนในเครือข่ายตัวเอง ผมบอกว่าถ้าเป็นอย่างนี้ ผมจะลงถนนเพื่อไล่ท่าน . อย่าลืมนะครับ วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม ผม อาจารย์ปานเทพ จะไปยื่นหนังสือกล่าวหานายกฯ อุ๊งอิ๊งค์ คุณภูมิธรรม เวชยชัย และรัฐบาลชุดนี้ กำลังจะทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตยบนพื้นที่ทางทะเล ซึ่งเป็นสิทธิของประเทศไทย ด้วยการไปร่วมมือ สมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายเขมร
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 981 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชณ์ ได้คาดการณ์
    ภาวะเศรษฐกิจไทย ในปีหน้า 2568 ดังนี้

    1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (GDP ประเทศไทย)

    SCB EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 เหลือ 2.4%
    จากเดิมที่คาดไว้ 2.6% เนื่องจากผลกระทบของนโยบาย
    "Trump 2.0" ที่อาจเพิ่มความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
    และการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย
    ผ่านช่องทางการค้า การผลิต และการลงทุนเป็นหลัก

    สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2567 SCB EIC ปรับเพิ่มคาดการณ์
    การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็น 2.7% จากเดิม 2.5%
    โดยเหตุผลหลักมาจากมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท
    เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เริ่มตั้งแต่ปลายไตรมาส 3
    การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งเบิกงบประมาณ
    รวมถึงการส่งออกสินค้าที่กลับมาฟื้นตัว

    นอกจากนี้ ยังมีการเร่งตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
    ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

    1.2 อัตราเงินเฟ้อของไทย
    SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567
    จะอยู่ที่ 0.5% สำหรับปีหน้า (2568) จะอยู่ที่ 1%
    (ประเมิน ณ เดือน พ.ย. 2567)

    1.3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย
    SCB EIC คาดการณ์ว่า ในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้ กนง.
    จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เช่นเดิม ตามแนวทางที่ กนง.
    สื่อสารไว้เกี่ยวกับการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน
    (Policy space) เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิ
    จและการเงินของไทยในอนาคต

    อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่า กนง. อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ย
    นโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมเดือน ก.พ. 2568
    เพื่อช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม
    และเศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงด้านลบเพิ่มขึ้นจากนโยบาย
    Trump 2.0

    ที่มา : SCBEIC

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ภาวะเศรษฐกิจไทย2568
    #SCBEIC #thaitimes
    💥💥SCB EIC ศูนย์วิจัยไทยพาณิชณ์ ได้คาดการณ์ ภาวะเศรษฐกิจไทย ในปีหน้า 2568 ดังนี้ 1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย (GDP ประเทศไทย) SCB EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 เหลือ 2.4% จากเดิมที่คาดไว้ 2.6% เนื่องจากผลกระทบของนโยบาย "Trump 2.0" ที่อาจเพิ่มความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจไทย ผ่านช่องทางการค้า การผลิต และการลงทุนเป็นหลัก สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2567 SCB EIC ปรับเพิ่มคาดการณ์ การขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็น 2.7% จากเดิม 2.5% โดยเหตุผลหลักมาจากมาตรการแจกเงิน 10,000 บาท เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางที่เริ่มตั้งแต่ปลายไตรมาส 3 การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งเบิกงบประมาณ รวมถึงการส่งออกสินค้าที่กลับมาฟื้นตัว นอกจากนี้ ยังมีการเร่งตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วงสองเดือนสุดท้ายของปี ซึ่งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม 1.2 อัตราเงินเฟ้อของไทย SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 2567 จะอยู่ที่ 0.5% สำหรับปีหน้า (2568) จะอยู่ที่ 1% (ประเมิน ณ เดือน พ.ย. 2567) 1.3 อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย SCB EIC คาดการณ์ว่า ในการประชุมเดือน ธ.ค. นี้ กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เช่นเดิม ตามแนวทางที่ กนง. สื่อสารไว้เกี่ยวกับการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy space) เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิ จและการเงินของไทยในอนาคต อย่างไรก็ตาม SCB EIC มองว่า กนง. อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ย นโยบายลงอีก 0.25% ในการประชุมเดือน ก.พ. 2568 เพื่อช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม และเศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงด้านลบเพิ่มขึ้นจากนโยบาย Trump 2.0 ที่มา : SCBEIC #หุ้นติดดอย #การลงทุน #ภาวะเศรษฐกิจไทย2568 #SCBEIC #thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 449 มุมมอง 0 รีวิว
  • มุมมองสมาชิกผู้กู้สหกรณ์ มองเห็น บ้านที่ได้มาจากเงินกู้ ลูกที่ได้เรียนจบเพราะทุนจากเงินกู้ ทั้งบ้านและการศึกษาของลูกนั้น เป็นการออมของเขา และยังมองเห็นด้วยว่า การถือหุ้นสหกรณ์ เป็นการสะสมเงินออมที่แท้จริงของพวกเขา ส่วนเงินฝากสหกรณ์ เป็นภาระต้นทุนที่สหกรณ์ต้องจ่ายเสมอ แม้ว่าสหกรณ์ประสบปัญหาการเงิน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกู้ จึงไม่เหลือเงินมากพอที่จะนำมาฝาก ดังนั้น สมาชิกส่วนน้อยที่ไม่กู้ ฝากอย่างเดียว จึงควรพอใจกับอัตราดอกฝากที่พอเหมาะพอควร ซึ่งไม่ควรเกิน 1 เท่า ของอัตราดอกฝากธนาคาร เพราะส่งผลให้อัตราดอกกู้สูงเกินไป ความจริง สหกรณ์ระดมเงินฝาก เมื่อขาดสภาพคล่องเท่านั้น สถานการณ์ขาดสภาพคล่อง เป็นเพียงระยะสั้น ๆ ไม่เคยเกิน 3-6 เดือน บางครั้งเมื่อขาดสภาพคล่อง สหกรณ์หลายแห่ง หันไปกู้ธนาคาร แม้ว่าอัตราดอกกู้แพง แต่เมื่อสภาพคล่องกลับมา สหกรณ์ก็ส่งใช้คืนธนาคารทันที ทำให้การกู้ธนาคาร เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ในราคาที่ถูกกว่ามาก ถูกกว่าการรับฝากเงินจากสมาชิก ที่เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย เมื่อครบ 12 เดือน หรือ ตลอดไป จนกว่าสมาชิกจะถอนเงินฝากออกไป การระดมเงินฝาก เพื่อวัตถุประสงค์นำเงินไปลงทุนภายนอกสหกรณ์ จึงอาจถูกมองว่า ไม่ใช่อุดมการณ์แท้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และ อาจเป็นการใช้สหกรณ์เป็นเกาะกันชน ความเสี่ยงต่อการลงทุนนั้น โดยตรงด้วยตนเอง นอกจากนี้ ในจำนวนสมาชิกผู้ฝากอย่างเดียว ไม่กู้ เป็นสมาชิกผู้ฝากรายย่อย มากที่สุด (ไม่ใช่สมาชิกผู้ฝากรายใหญ่) สมาชิกผู้ฝากรายย่อย จึงมักถูกอ้างเป็นตัวประกัน ใช้เป็นเหตุผลที่สหกรณ์ไม่ยอมลดอัตราดอกฝาก ทั้ง ๆ ที่สูงกว่าธนาคารหลายเท่า เมื่อกล่าวถึง ธนาคารกับสหกรณ์ เราจะเห็นว่า ธนาคารมีบทบาทในสังคม บริการรับฝากงินของลูกค้า ผู้ฝากที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป ส่วนสหกรณ์เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีฐานะปานกลางลงมา ทั้งนี้ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนแล้ว ระหว่างธนาคารและสหกรณ์ ด้วยการกำหนดภาระภาษีรายได้ ซึ่งสหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้ ไม่เหมือนกับธนาคาร ดังนั้น ใครผู้ใด จึงไม่ควรอย่างยิ่ง ในการใช้ช่องว่างนี้ เอาเปรียบสังคม เอาเปรียบสมาชิกสหกรณ์ผู้กู้ ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากธนาคาร
    มุมมองสมาชิกผู้กู้สหกรณ์ มองเห็น บ้านที่ได้มาจากเงินกู้ ลูกที่ได้เรียนจบเพราะทุนจากเงินกู้ ทั้งบ้านและการศึกษาของลูกนั้น เป็นการออมของเขา และยังมองเห็นด้วยว่า การถือหุ้นสหกรณ์ เป็นการสะสมเงินออมที่แท้จริงของพวกเขา ส่วนเงินฝากสหกรณ์ เป็นภาระต้นทุนที่สหกรณ์ต้องจ่ายเสมอ แม้ว่าสหกรณ์ประสบปัญหาการเงิน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกู้ จึงไม่เหลือเงินมากพอที่จะนำมาฝาก ดังนั้น สมาชิกส่วนน้อยที่ไม่กู้ ฝากอย่างเดียว จึงควรพอใจกับอัตราดอกฝากที่พอเหมาะพอควร ซึ่งไม่ควรเกิน 1 เท่า ของอัตราดอกฝากธนาคาร เพราะส่งผลให้อัตราดอกกู้สูงเกินไป ความจริง สหกรณ์ระดมเงินฝาก เมื่อขาดสภาพคล่องเท่านั้น สถานการณ์ขาดสภาพคล่อง เป็นเพียงระยะสั้น ๆ ไม่เคยเกิน 3-6 เดือน บางครั้งเมื่อขาดสภาพคล่อง สหกรณ์หลายแห่ง หันไปกู้ธนาคาร แม้ว่าอัตราดอกกู้แพง แต่เมื่อสภาพคล่องกลับมา สหกรณ์ก็ส่งใช้คืนธนาคารทันที ทำให้การกู้ธนาคาร เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ในราคาที่ถูกกว่ามาก ถูกกว่าการรับฝากเงินจากสมาชิก ที่เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย เมื่อครบ 12 เดือน หรือ ตลอดไป จนกว่าสมาชิกจะถอนเงินฝากออกไป การระดมเงินฝาก เพื่อวัตถุประสงค์นำเงินไปลงทุนภายนอกสหกรณ์ จึงอาจถูกมองว่า ไม่ใช่อุดมการณ์แท้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และ อาจเป็นการใช้สหกรณ์เป็นเกาะกันชน ความเสี่ยงต่อการลงทุนนั้น โดยตรงด้วยตนเอง นอกจากนี้ ในจำนวนสมาชิกผู้ฝากอย่างเดียว ไม่กู้ เป็นสมาชิกผู้ฝากรายย่อย มากที่สุด (ไม่ใช่สมาชิกผู้ฝากรายใหญ่) สมาชิกผู้ฝากรายย่อย จึงมักถูกอ้างเป็นตัวประกัน ใช้เป็นเหตุผลที่สหกรณ์ไม่ยอมลดอัตราดอกฝาก ทั้ง ๆ ที่สูงกว่าธนาคารหลายเท่า เมื่อกล่าวถึง ธนาคารกับสหกรณ์ เราจะเห็นว่า ธนาคารมีบทบาทในสังคม บริการรับฝากงินของลูกค้า ผู้ฝากที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป ส่วนสหกรณ์เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีฐานะปานกลางลงมา ทั้งนี้ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนแล้ว ระหว่างธนาคารและสหกรณ์ ด้วยการกำหนดภาระภาษีรายได้ ซึ่งสหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้ ไม่เหมือนกับธนาคาร ดังนั้น ใครผู้ใด จึงไม่ควรอย่างยิ่ง ในการใช้ช่องว่างนี้ เอาเปรียบสังคม เอาเปรียบสมาชิกสหกรณ์ผู้กู้ ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากธนาคาร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 414 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • สนธินัด 2 ธ.ค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จี้ชี้แจงเอ็มโอยู 44
    .
    สนธิ ลิ้มทองกุล เตรียมยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ชี้เรื่องนี้เรื่องใหญ่ จ่อสูญเสียอธิปไตยเช่นเดียวกรณีปราสาทพระวิหาร ชี้มีพระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 9 ยึดหลักกฎหมายทะเลสากล
    .
    วันนี้ (25 พ.ย.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ Sondhitalk ระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค. 2567 เวลา 10.30 น. ตนและนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จะไปยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นายกฯ ชี้แจงกรณีเอ็มโอยู ไทย-กัมพูชา 2544 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเลโดยรอบเกาะกูด จ.ตราด หลังจากที่นายภูมิธรรม เวชยะชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อ้างว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้
    .
    โดยนายสนธิเห็นว่าการที่นายภูมิธรรมพูด แสดงว่าไม่เข้าใจว่าเอ็มโอยูเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ไม่ใช่สนธิสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่หากไม่พอใจข้อตกลงก็สามารถถอนตัวได้ พร้อมกันนี้ ถ้าหากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมั่นใจในข้อมูล ก็อยากจะเสนอให้นายภูมิธรรมมาออกรายการโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งฝั่งตนจะอธิบายและคัดค้านด้วยหลักฐานและข้อเท็จจริง นอกจากนี้ตนขอถามว่า การที่ผู้บัญชาการทหารเรือสั่งทหารเรือหยุดลาดตระเวนโดยรอบเกาะกูดเป็นคำสั่งของนายภูมิธรรมหรือไม่ ถ้าสั่งจริงก็เหมือนกับจะยกพื้นที่ให้กับกัมพูชาใช่หรือไม่
    .
    สำหรับที่มาที่ไปของเอ็มโอยู 2544 คนที่ลงนามเป็นคนแรกคือ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้รับรอง เคยมีความพยายามยกเลิกในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ไม่ทันนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการนำเรื่องเอ็มโอยู 2544 ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในขณะนั้น การที่ยอมรับเอ็มโอยู 2544 เท่ากับเป็นการยอมรับกัมพูชาลากเส้นทางทะเลรุกล้ำเขตแดนฝั่งไทย ทั้งที่สมัยรัชกาลที่ 9 เคยมีพระบรมราชโองการและหลักฐานชัดเจนว่าถ้าจะมีการเจรจาให้ยึดกฎหมายทะเลสากลเป็นหลัก แต่ไม่มีใครพูดถึง
    .
    “เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของการสูญเสียอธิปไตยไป เราสูญเสียเขาพระวิหารให้เขมรแล้ว ยุคนั้นเขมรไปฟ้องศาลโลก เราเตือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วว่าอย่าไป เพราะเราไม่ยอมรับศาลโลก แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แสดงว่ายอมรับความเป็นสากล ผลปรากฎว่าเราแพ้ วันนี้เราใช้กฎหมายทะเลสากล เขมรก็ไม่ยอมรับตรงนี้ แต่กลับกันสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์กลับยอมรับศาลโลกได้ มันเป็นความขัดแย้งที่เลวร้ายมาก คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจคนละแบบได้อย่างไร ถ้าเราจะเจรจากับเขมรด้วยหลักการเอ็มโอยู 2544 เราจะสูญเสียอธิปไตยอย่างแน่นอน ประชาชนรับได้หรือไม่ที่นายทักษิณพูดว่า ช่างมันเถอะ แบ่งผลประโยชน์กัน 50-50 คุณทักษิณพูดแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่พูดเรื่องอธิปไตยของชาติ“ นายสนธิ กล่าว
    .
    นายสนธิ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นายภูมิธรรม รวมทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ไม่พูดถึงพระบรมราชโองการของรัฐบาลที่ 9 ซึ่งประกาศออกมาในปี 2516 ว่ามีหลักการแบบนี้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะพระบรมราชโองการเมื่อประกาศออกมาแล้ว ถือว่าเป็นคำสั่งของจอมทัพ ของประมุขประเทศ คนอื่นจะไปทำเป็นอย่างอื่นย่อมทำไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กแล้ว เป็นเรื่องใหญ่
    ........
    Sondhi X
    สนธินัด 2 ธ.ค. ยื่นหนังสือถึงนายกฯ จี้ชี้แจงเอ็มโอยู 44 . สนธิ ลิ้มทองกุล เตรียมยื่นหนังสือที่ทำเนียบรัฐบาล ให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณีเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ชี้เรื่องนี้เรื่องใหญ่ จ่อสูญเสียอธิปไตยเช่นเดียวกรณีปราสาทพระวิหาร ชี้มีพระบรมราชโองการ รัชกาลที่ 9 ยึดหลักกฎหมายทะเลสากล . วันนี้ (25 พ.ย.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ กล่าวในรายการสนธิเล่าเรื่อง ทางยูทูบ Sondhitalk ระบุว่า ในวันจันทร์ที่ 2 ธ.ค. 2567 เวลา 10.30 น. ตนและนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต จะไปยื่นหนังสือถึง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้นายกฯ ชี้แจงกรณีเอ็มโอยู ไทย-กัมพูชา 2544 ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล 12 ไมล์ทะเลโดยรอบเกาะกูด จ.ตราด หลังจากที่นายภูมิธรรม เวชยะชัย รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม อ้างว่าเกาะกูดยังเป็นของไทย และเอ็มโอยูไทย-กัมพูชา ปี 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้ . โดยนายสนธิเห็นว่าการที่นายภูมิธรรมพูด แสดงว่าไม่เข้าใจว่าเอ็มโอยูเป็นข้อตกลงเบื้องต้น ไม่ใช่สนธิสัญญาใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสิทธิของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่หากไม่พอใจข้อตกลงก็สามารถถอนตัวได้ พร้อมกันนี้ ถ้าหากรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยมั่นใจในข้อมูล ก็อยากจะเสนอให้นายภูมิธรรมมาออกรายการโทรทัศน์สาธารณะ ซึ่งฝั่งตนจะอธิบายและคัดค้านด้วยหลักฐานและข้อเท็จจริง นอกจากนี้ตนขอถามว่า การที่ผู้บัญชาการทหารเรือสั่งทหารเรือหยุดลาดตระเวนโดยรอบเกาะกูดเป็นคำสั่งของนายภูมิธรรมหรือไม่ ถ้าสั่งจริงก็เหมือนกับจะยกพื้นที่ให้กับกัมพูชาใช่หรือไม่ . สำหรับที่มาที่ไปของเอ็มโอยู 2544 คนที่ลงนามเป็นคนแรกคือ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย รมว.ต่างประเทศในขณะนั้น โดยมีนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้รับรอง เคยมีความพยายามยกเลิกในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ไม่ทันนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภา กระทั่งสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการนำเรื่องเอ็มโอยู 2544 ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในขณะนั้น การที่ยอมรับเอ็มโอยู 2544 เท่ากับเป็นการยอมรับกัมพูชาลากเส้นทางทะเลรุกล้ำเขตแดนฝั่งไทย ทั้งที่สมัยรัชกาลที่ 9 เคยมีพระบรมราชโองการและหลักฐานชัดเจนว่าถ้าจะมีการเจรจาให้ยึดกฎหมายทะเลสากลเป็นหลัก แต่ไม่มีใครพูดถึง . “เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องของการสูญเสียอธิปไตยไป เราสูญเสียเขาพระวิหารให้เขมรแล้ว ยุคนั้นเขมรไปฟ้องศาลโลก เราเตือนรัฐบาลนายอภิสิทธิ์แล้วว่าอย่าไป เพราะเราไม่ยอมรับศาลโลก แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์แสดงว่ายอมรับความเป็นสากล ผลปรากฎว่าเราแพ้ วันนี้เราใช้กฎหมายทะเลสากล เขมรก็ไม่ยอมรับตรงนี้ แต่กลับกันสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์กลับยอมรับศาลโลกได้ มันเป็นความขัดแย้งที่เลวร้ายมาก คนๆ หนึ่งจะตัดสินใจคนละแบบได้อย่างไร ถ้าเราจะเจรจากับเขมรด้วยหลักการเอ็มโอยู 2544 เราจะสูญเสียอธิปไตยอย่างแน่นอน ประชาชนรับได้หรือไม่ที่นายทักษิณพูดว่า ช่างมันเถอะ แบ่งผลประโยชน์กัน 50-50 คุณทักษิณพูดแต่เรื่องผลประโยชน์ แต่ไม่พูดเรื่องอธิปไตยของชาติ“ นายสนธิ กล่าว . นายสนธิ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ นายภูมิธรรม รวมทั้งนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ไม่พูดถึงพระบรมราชโองการของรัฐบาลที่ 9 ซึ่งประกาศออกมาในปี 2516 ว่ามีหลักการแบบนี้ แต่ไม่มีใครกล้าพูด เพราะพระบรมราชโองการเมื่อประกาศออกมาแล้ว ถือว่าเป็นคำสั่งของจอมทัพ ของประมุขประเทศ คนอื่นจะไปทำเป็นอย่างอื่นย่อมทำไม่ได้อยู่แล้ว เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กแล้ว เป็นเรื่องใหญ่ ........ Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    12
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1348 มุมมอง 0 รีวิว
  • คาดว่าอัตราดอกเบี้ยหลักจะลดลงในปีหน้า หากไม่มีเหตุการณ์ช็อกใหม่เกิดขึ้น, เอลวิรา นาบูลลินา ผู้ว่าการธนาคารกลางรัสเซีย กล่าวในการประชุมเต็มคณะของสภาดูมาแห่งรัฐ, ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภารัสเซีย:
    .
    The key rate is expected to become lower in the next year if there are no new shocks, Governor of the Bank of Russia Elvira Nabiullina said at the plenary session of the State Duma, the lower house of the Russian parliament:
    https://tass.com/economy/1874853
    .
    11:52 PM · Nov 19, 2024 · 2,702 Views
    https://x.com/tassagency_en/status/1858916296165097570
    คาดว่าอัตราดอกเบี้ยหลักจะลดลงในปีหน้า หากไม่มีเหตุการณ์ช็อกใหม่เกิดขึ้น, เอลวิรา นาบูลลินา ผู้ว่าการธนาคารกลางรัสเซีย กล่าวในการประชุมเต็มคณะของสภาดูมาแห่งรัฐ, ซึ่งเป็นสภาล่างของรัฐสภารัสเซีย: . The key rate is expected to become lower in the next year if there are no new shocks, Governor of the Bank of Russia Elvira Nabiullina said at the plenary session of the State Duma, the lower house of the Russian parliament: https://tass.com/economy/1874853 . 11:52 PM · Nov 19, 2024 · 2,702 Views https://x.com/tassagency_en/status/1858916296165097570
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 195 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการแจ้งเตือน
    สาธารณภัย ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567

    🔵 น้ำทะเลหนุนสูง บริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
    จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการแจ้งเตือน สาธารณภัย ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 🔵 น้ำทะเลหนุนสูง บริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 985 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔸️นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ปริมาณอะลูมิเนียมในวัคซีนสำหรับเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าของปริมาณทั้งหมด
    ในขณะเดียวกัน การวินิจฉัยโรคออทิซึมก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 27,000%
    https://thepeoplesvoice.tv/aluminum-levels-in-childhood.../
    ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของอะลูมิเนียมในวัคซีนมักเกี่ยวข้องกับบทบาทของอะลูมิเนียมในฐานะสารเสริมภูมิคุ้มกัน—ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น—การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างส่วนประกอบของวัคซีนและอัตราการเกิดออทิซึมที่เพิ่มมากขึ้น
    อัตราการเกิดโรคออทิซึมในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 เมื่อครั้งนั้น อัตราการวินิจฉัยโรคออทิซึมโดยประมาณอยู่ที่ 1 ใน 10,000 เด็ก ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 150 และข้อมูลล่าสุดจากปี 2023 ระบุว่าอัตราดังกล่าวอยู่ที่ 1 ใน 36 เด็ก
    ดร. คริส เอ็กซ์ลีย์ จากมหาวิทยาลัยคีลในอังกฤษและเพื่อนร่วมงานได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ทำการศึกษาเนื้อเยื่อสมองของผู้ป่วยออทิสติกเป็นครั้งแรก เพื่อตรวจสอบระดับอะลูมิเนียม (หมายเหตุ: ในสหราชอาณาจักรผู้ป่วยสะกดคำว่า “อะลูมิเนียม” เป็น “อะลูมิเนียม”) ที่พบในเนื้อเยื่อสมอง
    สำหรับใครก็ตามที่พยายามจะโน้มน้าวโลกให้เชื่อว่า “วิทยาศาสตร์ได้รับการพิสูจน์แล้วและวัคซีนไม่ได้ทำให้เกิดโรคออทิซึม” ผลการศึกษานี้ขัดแย้งกับคำกล่าวนี้อย่างมาก
    ในโพสต์บล็อกที่เขียนโดยศาสตราจารย์เอ็กซ์ลีย์ในวันที่ผลการศึกษาของเขาได้รับการตีพิมพ์
    เขาได้อธิบายผลลัพธ์อันล้ำสมัยดังต่อไปนี้:
    “…ในขณะที่ปริมาณอะลูมิเนียมในสมองของผู้ป่วยออทิสติกทั้ง 5 รายนั้นสูงอย่างน่าตกใจ แต่ตำแหน่งในเนื้อเยื่อสมองต่างหากที่เป็นจุดสังเกตที่โดดเด่น…หลักฐานใหม่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะลูมิเนียมเข้าสู่สมองของผู้ป่วย ASD [กลุ่มอาการออทิสติก] ผ่านทางเซลล์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบซึ่งมีอะลูมิเนียมสะสมอยู่ในเลือดและ/หรือน้ำเหลือง ซึ่งก็เหมือนกับที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในโมโนไซต์ที่บริเวณที่ฉีดวัคซีนรวมถึงสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียม”
    คำพูดของดร. เอ็กซ์ลีย์รวมถึงการอ้างถึง “โมโนไซต์ที่บริเวณฉีด” และความจริงที่ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างโมโนไซต์เหล่านี้กับอะลูมิเนียมได้รับการพิสูจน์แล้วในวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้
    ฉันรู้ว่ามันฟังดูเป็นเทคนิคมาก แต่ลองฟังฉันก่อน
    “โมโนไซต์” คือเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ซึ่งโมโนไซต์ชนิดหนึ่งคือ “แมคโครฟาจ” แมคโครฟาจอาจเปรียบได้กับมนุษย์ขยะในระบบภูมิคุ้มกันที่คอยกัดกินสิ่งแปลกปลอม เศษเซลล์ ฯลฯ
    อย่างที่คุณจะสังเกตเห็นในอีกไม่ช้านี้ ดูเหมือนว่าแมคโครฟาจจะมีบทบาทสำคัญและร้ายแรงในการกระตุ้นให้เกิดออทิซึม โดยทำหน้าที่นำอะลูมิเนียมที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งฉีดจากวัคซีนโดยตรงเข้าไปในสมอง ซึ่งสามารถขัดขวางการพัฒนาของสมองและกระตุ้นให้เกิดออทิซึมได้
    การศึกษาวิจัยของดร. เอ็กซ์ลีย์เรื่อง “ อะลูมิเนียมในเนื้อเยื่อสมองและออทิซึม ” ถือได้ว่าเป็นชิ้นส่วนสุดท้ายของปริศนาที่เริ่มประกอบเข้าด้วยกันในปี 2004 และได้รับความสนใจมากขึ้นหลังปี 2010 ซึ่งช่วยส่งเสริมความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์อย่างมากว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นให้เกิดออทิซึมได้อย่างไร
    ไทม์ไลน์นี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก เนื่องจากศาลวัคซีนในสหรัฐฯ ได้ยกฟ้องสมมติฐานเกี่ยวกับวัคซีน-ออทิซึมในปี 2009 นานก่อนที่สิ่งที่ฉันจะอธิบายต่อไปนี้จะเกิดขึ้นเสียอีก
    วิทยาศาสตร์คือความต่อเนื่อง ความจริงที่ปรากฏผ่านการศึกษาหลาย ๆ อย่างซึ่งมักต้องนำมาประกอบเข้าด้วยกันก่อนจึงจะมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน และบางครั้งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อาจดำเนินไปอย่างช้า ๆ จนกระทั่งถึงจุดที่ความจริงที่ปรากฏปรากฏขึ้นในลักษณะที่ไม่สามารถปฏิเสธได้อีกต่อไป
    ในความเห็นของฉัน การศึกษาของดร. เอ็กซ์ลีย์ให้ข้อมูลเพียงส่วนเดียวที่ขาดหายไปจากคำอธิบายที่รัดกุมเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกชายของฉันและเด็กอีกหลายๆ คน และได้ให้ "ความน่าจะเป็นทางชีววิทยา" แก่ผู้ที่ไม่เชื่อทั้งหมดว่าวัคซีนที่ฉีดเข้าที่ไหล่ของทารกสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคออทิซึมได้อย่างไร
    สำหรับชาวอเมริกัน การแข่งขันเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคออทิซึมทั้งหมดนั้นน่าจะชนะได้ในต่างแดน ดังที่คุณจะเห็นในไม่ช้านี้ วิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่อธิบายสาเหตุของโรคออทิซึมมาจากต่างประเทศ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จาก Caltech จะเป็นคนผลักโดมิโนตัวแรกไปเมื่อปี 2549 ก็ตาม
    ทำไมถึงมีอะลูมิเนียมอยู่ในวัคซีน?
    อะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของวัคซีนส่วนใหญ่ที่ให้กับเด็ก อะลูมิเนียมทำหน้าที่เป็น “สารเสริมภูมิคุ้มกัน” ซึ่งหมายความว่าอะลูมิเนียมทำหน้าที่ “ปลุก” ระบบภูมิคุ้มกันให้ตื่นขึ้น กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจดจำ “แอนติเจน” ในวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่วัคซีนทำหน้าที่ป้องกันโรค
    ปริมาณอะลูมิเนียมในวัคซีนที่ให้กับเด็ก ๆพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเริ่มตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ด้วยสาเหตุสองประการ: 1) มีการเพิ่มวัคซีนเข้าไปในตารางวัคซีนสำหรับเด็กมากขึ้น และ 2) อัตราการฉีดวัคซีนสำหรับวัคซีนทุกชนิดที่ให้กับเด็กเพิ่มขึ้น (จาก 50–60% ของเด็ก ๆ ที่ได้รับวัคซีนในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เป็นมากกว่า 90% ในปัจจุบัน)
    ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เด็กจะได้รับอะลูมิเนียมจากวัคซีน 1,250 ไมโครกรัมภายในอายุ 18 เดือนหากได้รับวัคซีนครบถ้วน ปัจจุบัน ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 4,925 ไมโครกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่าจากปริมาณอะลูมิเนียมทั้งหมด
    คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในผลการศึกษาที่ยอดเยี่ยม ซึ่งตีพิมพ์โดย Neil Miller
    ที่น่าประหลาดใจก็คือ อะลูมิเนียมไม่เคยผ่านการทดสอบทางชีวภาพเพื่อพิจารณาถึงความปลอดภัยในการฉีดเข้าไปในทารก เนื่องจากอะลูมิเนียมได้รับการ "ยกเว้น" ไว้ในมาตรฐานความปลอดภัยสมัยใหม่ของเรา นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดา ดร. คริส ชอว์ และ ดร. ลูซิจา ทอมเยโนวิช ได้กล่าวถึงการละเว้นนี้ในการศึกษาวิจัยเชิงวิจารณ์ที่พวกเขาตีพิมพ์ในปี 2011 ในวารสารCurrent Medicinal Chemistryชื่อว่า “ สารเสริมฤทธิ์วัคซีนอะลูมิเนียม: ปลอดภัยหรือไม่ ” พวกเขาเขียนว่า:
    “อะลูมิเนียมเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากการทดลองและเป็นสารเสริมฤทธิ์วัคซีนที่ใช้กันทั่วไป แม้ว่าจะมีการใช้สารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมอย่างแพร่หลายมานานเกือบ 90 ปีแล้ว แต่ความเข้าใจของวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมยังคงต่ำอย่างน่าตกใจนอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับพิษวิทยาและเภสัชจลนศาสตร์ของสารประกอบเหล่านี้อย่างขาดแคลน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล แม้จะเป็นเช่นนั้น แนวคิดที่ว่าอะลูมิเนียมในวัคซีนนั้นปลอดภัยก็ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางอย่างไรก็ตาม การวิจัยเชิงทดลองแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมมีศักยภาพในการทำให้เกิดความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันที่ร้ายแรงในมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะลูมิเนียมในรูปแบบสารเสริมฤทธิ์มีความเสี่ยงต่อภูมิคุ้มกันตนเอง การอักเสบของสมองในระยะยาว และภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างกว้างขวางและรุนแรง”
    ICANตัดสินใจทดสอบความสามารถของ CDC และ NIH ในการผลิตงานวิจัยใดๆ เพื่อแสดงให้เห็นความปลอดภัยของสารเสริมฤทธิ์วัคซีนผ่านการฟ้องร้องภายใต้ FOIA ตอนนี้ฉันเดาว่าคุณคงรู้ว่าคดีจบลงอย่างไร... อ่านบทความฉบับสมบูรณ์
    “คำตอบของ CDC และ NIH ต่อคำร้องขอภายใต้พระราชบัญญัติเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล (FOIA) ของ ICAN เกี่ยวกับสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมเผยให้เห็นการยอมรับที่น่าตกตะลึง นั่นคือ พวกเขาไม่มีการศึกษาแม้แต่ชิ้นเดียวที่จะสนับสนุนความปลอดภัยในการแนะนำให้ฉีดสารพิษต่อเซลล์และระบบประสาทนี้ซ้ำๆ เป็นส่วนหนึ่งของตารางการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กของ CDC”
    🔸️นับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ปริมาณอะลูมิเนียมในวัคซีนสำหรับเด็กเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเพิ่มขึ้นเป็นสี่เท่าของปริมาณทั้งหมด ในขณะเดียวกัน การวินิจฉัยโรคออทิซึมก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 27,000% https://thepeoplesvoice.tv/aluminum-levels-in-childhood.../ ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของอะลูมิเนียมในวัคซีนมักเกี่ยวข้องกับบทบาทของอะลูมิเนียมในฐานะสารเสริมภูมิคุ้มกัน—ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อวัคซีนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น—การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเชื่อมโยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างส่วนประกอบของวัคซีนและอัตราการเกิดออทิซึมที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการเกิดโรคออทิซึมในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1980 เมื่อครั้งนั้น อัตราการวินิจฉัยโรคออทิซึมโดยประมาณอยู่ที่ 1 ใน 10,000 เด็ก ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 150 และข้อมูลล่าสุดจากปี 2023 ระบุว่าอัตราดังกล่าวอยู่ที่ 1 ใน 36 เด็ก ดร. คริส เอ็กซ์ลีย์ จากมหาวิทยาลัยคีลในอังกฤษและเพื่อนร่วมงานได้ตีพิมพ์งานวิจัยที่ทำการศึกษาเนื้อเยื่อสมองของผู้ป่วยออทิสติกเป็นครั้งแรก เพื่อตรวจสอบระดับอะลูมิเนียม (หมายเหตุ: ในสหราชอาณาจักรผู้ป่วยสะกดคำว่า “อะลูมิเนียม” เป็น “อะลูมิเนียม”) ที่พบในเนื้อเยื่อสมอง สำหรับใครก็ตามที่พยายามจะโน้มน้าวโลกให้เชื่อว่า “วิทยาศาสตร์ได้รับการพิสูจน์แล้วและวัคซีนไม่ได้ทำให้เกิดโรคออทิซึม” ผลการศึกษานี้ขัดแย้งกับคำกล่าวนี้อย่างมาก ในโพสต์บล็อกที่เขียนโดยศาสตราจารย์เอ็กซ์ลีย์ในวันที่ผลการศึกษาของเขาได้รับการตีพิมพ์ เขาได้อธิบายผลลัพธ์อันล้ำสมัยดังต่อไปนี้: “…ในขณะที่ปริมาณอะลูมิเนียมในสมองของผู้ป่วยออทิสติกทั้ง 5 รายนั้นสูงอย่างน่าตกใจ แต่ตำแหน่งในเนื้อเยื่อสมองต่างหากที่เป็นจุดสังเกตที่โดดเด่น…หลักฐานใหม่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอะลูมิเนียมเข้าสู่สมองของผู้ป่วย ASD [กลุ่มอาการออทิสติก] ผ่านทางเซลล์ที่ก่อให้เกิดการอักเสบซึ่งมีอะลูมิเนียมสะสมอยู่ในเลือดและ/หรือน้ำเหลือง ซึ่งก็เหมือนกับที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในโมโนไซต์ที่บริเวณที่ฉีดวัคซีนรวมถึงสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียม” คำพูดของดร. เอ็กซ์ลีย์รวมถึงการอ้างถึง “โมโนไซต์ที่บริเวณฉีด” และความจริงที่ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างโมโนไซต์เหล่านี้กับอะลูมิเนียมได้รับการพิสูจน์แล้วในวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้ ฉันรู้ว่ามันฟังดูเป็นเทคนิคมาก แต่ลองฟังฉันก่อน “โมโนไซต์” คือเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ซึ่งโมโนไซต์ชนิดหนึ่งคือ “แมคโครฟาจ” แมคโครฟาจอาจเปรียบได้กับมนุษย์ขยะในระบบภูมิคุ้มกันที่คอยกัดกินสิ่งแปลกปลอม เศษเซลล์ ฯลฯ อย่างที่คุณจะสังเกตเห็นในอีกไม่ช้านี้ ดูเหมือนว่าแมคโครฟาจจะมีบทบาทสำคัญและร้ายแรงในการกระตุ้นให้เกิดออทิซึม โดยทำหน้าที่นำอะลูมิเนียมที่มนุษย์สร้างขึ้นซึ่งฉีดจากวัคซีนโดยตรงเข้าไปในสมอง ซึ่งสามารถขัดขวางการพัฒนาของสมองและกระตุ้นให้เกิดออทิซึมได้ การศึกษาวิจัยของดร. เอ็กซ์ลีย์เรื่อง “ อะลูมิเนียมในเนื้อเยื่อสมองและออทิซึม ” ถือได้ว่าเป็นชิ้นส่วนสุดท้ายของปริศนาที่เริ่มประกอบเข้าด้วยกันในปี 2004 และได้รับความสนใจมากขึ้นหลังปี 2010 ซึ่งช่วยส่งเสริมความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์อย่างมากว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นให้เกิดออทิซึมได้อย่างไร ไทม์ไลน์นี้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก เนื่องจากศาลวัคซีนในสหรัฐฯ ได้ยกฟ้องสมมติฐานเกี่ยวกับวัคซีน-ออทิซึมในปี 2009 นานก่อนที่สิ่งที่ฉันจะอธิบายต่อไปนี้จะเกิดขึ้นเสียอีก วิทยาศาสตร์คือความต่อเนื่อง ความจริงที่ปรากฏผ่านการศึกษาหลาย ๆ อย่างซึ่งมักต้องนำมาประกอบเข้าด้วยกันก่อนจึงจะมองเห็นภาพรวมได้ชัดเจน และบางครั้งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อาจดำเนินไปอย่างช้า ๆ จนกระทั่งถึงจุดที่ความจริงที่ปรากฏปรากฏขึ้นในลักษณะที่ไม่สามารถปฏิเสธได้อีกต่อไป ในความเห็นของฉัน การศึกษาของดร. เอ็กซ์ลีย์ให้ข้อมูลเพียงส่วนเดียวที่ขาดหายไปจากคำอธิบายที่รัดกุมเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกชายของฉันและเด็กอีกหลายๆ คน และได้ให้ "ความน่าจะเป็นทางชีววิทยา" แก่ผู้ที่ไม่เชื่อทั้งหมดว่าวัคซีนที่ฉีดเข้าที่ไหล่ของทารกสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคออทิซึมได้อย่างไร สำหรับชาวอเมริกัน การแข่งขันเพื่อค้นหาสาเหตุของโรคออทิซึมทั้งหมดนั้นน่าจะชนะได้ในต่างแดน ดังที่คุณจะเห็นในไม่ช้านี้ วิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่อธิบายสาเหตุของโรคออทิซึมมาจากต่างประเทศ แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จาก Caltech จะเป็นคนผลักโดมิโนตัวแรกไปเมื่อปี 2549 ก็ตาม ทำไมถึงมีอะลูมิเนียมอยู่ในวัคซีน? อะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของวัคซีนส่วนใหญ่ที่ให้กับเด็ก อะลูมิเนียมทำหน้าที่เป็น “สารเสริมภูมิคุ้มกัน” ซึ่งหมายความว่าอะลูมิเนียมทำหน้าที่ “ปลุก” ระบบภูมิคุ้มกันให้ตื่นขึ้น กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจดจำ “แอนติเจน” ในวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่วัคซีนทำหน้าที่ป้องกันโรค ปริมาณอะลูมิเนียมในวัคซีนที่ให้กับเด็ก ๆพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเริ่มตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ด้วยสาเหตุสองประการ: 1) มีการเพิ่มวัคซีนเข้าไปในตารางวัคซีนสำหรับเด็กมากขึ้น และ 2) อัตราการฉีดวัคซีนสำหรับวัคซีนทุกชนิดที่ให้กับเด็กเพิ่มขึ้น (จาก 50–60% ของเด็ก ๆ ที่ได้รับวัคซีนในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เป็นมากกว่า 90% ในปัจจุบัน) ในช่วงกลางทศวรรษ 1980 เด็กจะได้รับอะลูมิเนียมจากวัคซีน 1,250 ไมโครกรัมภายในอายุ 18 เดือนหากได้รับวัคซีนครบถ้วน ปัจจุบัน ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 4,925 ไมโครกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบสี่เท่าจากปริมาณอะลูมิเนียมทั้งหมด คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ในผลการศึกษาที่ยอดเยี่ยม ซึ่งตีพิมพ์โดย Neil Miller ที่น่าประหลาดใจก็คือ อะลูมิเนียมไม่เคยผ่านการทดสอบทางชีวภาพเพื่อพิจารณาถึงความปลอดภัยในการฉีดเข้าไปในทารก เนื่องจากอะลูมิเนียมได้รับการ "ยกเว้น" ไว้ในมาตรฐานความปลอดภัยสมัยใหม่ของเรา นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดา ดร. คริส ชอว์ และ ดร. ลูซิจา ทอมเยโนวิช ได้กล่าวถึงการละเว้นนี้ในการศึกษาวิจัยเชิงวิจารณ์ที่พวกเขาตีพิมพ์ในปี 2011 ในวารสารCurrent Medicinal Chemistryชื่อว่า “ สารเสริมฤทธิ์วัคซีนอะลูมิเนียม: ปลอดภัยหรือไม่ ” พวกเขาเขียนว่า: “อะลูมิเนียมเป็นสารพิษต่อระบบประสาทที่ได้รับการพิสูจน์แล้วจากการทดลองและเป็นสารเสริมฤทธิ์วัคซีนที่ใช้กันทั่วไป แม้ว่าจะมีการใช้สารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมอย่างแพร่หลายมานานเกือบ 90 ปีแล้ว แต่ความเข้าใจของวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมยังคงต่ำอย่างน่าตกใจนอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับพิษวิทยาและเภสัชจลนศาสตร์ของสารประกอบเหล่านี้อย่างขาดแคลน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากังวล แม้จะเป็นเช่นนั้น แนวคิดที่ว่าอะลูมิเนียมในวัคซีนนั้นปลอดภัยก็ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางอย่างไรก็ตาม การวิจัยเชิงทดลองแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมมีศักยภาพในการทำให้เกิดความผิดปกติทางภูมิคุ้มกันที่ร้ายแรงในมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะลูมิเนียมในรูปแบบสารเสริมฤทธิ์มีความเสี่ยงต่อภูมิคุ้มกันตนเอง การอักเสบของสมองในระยะยาว และภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างกว้างขวางและรุนแรง” ICANตัดสินใจทดสอบความสามารถของ CDC และ NIH ในการผลิตงานวิจัยใดๆ เพื่อแสดงให้เห็นความปลอดภัยของสารเสริมฤทธิ์วัคซีนผ่านการฟ้องร้องภายใต้ FOIA ตอนนี้ฉันเดาว่าคุณคงรู้ว่าคดีจบลงอย่างไร... อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ “คำตอบของ CDC และ NIH ต่อคำร้องขอภายใต้พระราชบัญญัติเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล (FOIA) ของ ICAN เกี่ยวกับสารเสริมฤทธิ์อะลูมิเนียมเผยให้เห็นการยอมรับที่น่าตกตะลึง นั่นคือ พวกเขาไม่มีการศึกษาแม้แต่ชิ้นเดียวที่จะสนับสนุนความปลอดภัยในการแนะนำให้ฉีดสารพิษต่อเซลล์และระบบประสาทนี้ซ้ำๆ เป็นส่วนหนึ่งของตารางการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กของ CDC”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 692 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨วันนี้ในอดีต ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพคลองเจ๊ก คลองบางจาก และคลองบางอ้อ บริเวณที่ตัดกับทางด่วนพิเศษ ซึ่งคลองสายต่างๆ ดังกล่าวเป็นคลองที่ชักน้ำจากพื้นที่บริเวณที่มีสภาพน้ำท่วมขังอยู่สองฝั่งถนนสุขุมวิทระหว่างคลองพระโขนง กับทางหลวงสายบางนา-ตราด ผ่านท่อลอดทางด่วนพิเศษ แล้วระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยการระบายน้ำทางประตูระบายน้ำที่ทำนบคลองเจ๊ก ทำนบคลองบางจาก และทำนบคลองบางอ้อ ตลอดจนการสูบน้ำด้วย Cr. สำนักราชเลขาธิการ #วันนีัในอดีต #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #ข่าวในพระราชสํานัก #save112
    ✨วันนี้ในอดีต ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสภาพคลองเจ๊ก คลองบางจาก และคลองบางอ้อ บริเวณที่ตัดกับทางด่วนพิเศษ ซึ่งคลองสายต่างๆ ดังกล่าวเป็นคลองที่ชักน้ำจากพื้นที่บริเวณที่มีสภาพน้ำท่วมขังอยู่สองฝั่งถนนสุขุมวิทระหว่างคลองพระโขนง กับทางหลวงสายบางนา-ตราด ผ่านท่อลอดทางด่วนพิเศษ แล้วระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยการระบายน้ำทางประตูระบายน้ำที่ทำนบคลองเจ๊ก ทำนบคลองบางจาก และทำนบคลองบางอ้อ ตลอดจนการสูบน้ำด้วย Cr. สำนักราชเลขาธิการ #วันนีัในอดีต #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #ข่าวในพระราชสํานัก #save112
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 529 มุมมอง 0 รีวิว
  • โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย
    “กฤษฎีกากัมพูชา 1972”
    รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย !
    ________
    .
    ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด…
    .
    กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ
    .
    และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ !
    .
    “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972”
    .
    วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972
    .
    จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี
    .
    สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น
    .
    วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย
    .
    (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958
    .
    (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ…
    .
    (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง…
    .
    (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000
    .
    กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง
    .
    โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P”
    .
    โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้
    .
    จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง
    .
    จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย
    .
    มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง
    .
    เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้
    .
    แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร
    .
    การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต
    .
    ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล
    .
    ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น…
    .
    คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง !
    .
    ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !!
    .
    แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ?
    .
    แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !!
    .
    ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้
    .
    ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี
    .
    ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง
    .
    แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ
    .
    เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ?
    .
    เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก !
    .
    ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!!
    .
    ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส
    .
    แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้
    .
    “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“
    .
    แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย
    .
    โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง
    .
    หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73
    .
    การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง
    .
    ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ
    .
    การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่
    .
    มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย
    .
    พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    .
    คำนูณ สิทธิสมาน
    4 พฤศจิกายน 2567

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย “กฤษฎีกากัมพูชา 1972” รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย ! ________ . ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด… . กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ . และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ ! . “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972” . วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 . จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี . สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น . วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย . (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 . (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ… . (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง… . (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000 . กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง . โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P” . โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้ . จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง . จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย . มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง . เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้ . แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร . การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต . ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล . ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น… . คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง ! . ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !! . แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ? . แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !! . ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้ . ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี . ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง . แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ . เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ? . เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก ! . ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!! . ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส . แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้ . “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“ . แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย . โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง . หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73 . การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง . ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ . การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่ . มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย . พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้ . ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้ . . คำนูณ สิทธิสมาน 4 พฤศจิกายน 2567 ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1467 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts