• 9 ปี สิ้น “บรรหาร ศิลปอาชา” 🐉 มังกรสุพรรณ นายกฯ ผู้สร้างเมืองด้วยมือปลาไหลใส่สเก็ต รวยอันดับสอง รองจากทักษิณ ชายผู้พลิกเมือง “สุพรรณบุรี” จนกลายเป็น “บรรหารบุรี”

    📅 เช้าตรู่วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 แวดวงการเมืองไทย ต้องพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ เมื่อ “นายบรรหาร ศิลปอาชา” อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะภูมิแพ้ และหอบหืดกำเริบ ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ รวมอายุได้ 83 ปี 247 วัน

    แม้เวลาจะผ่านมา 9 ปี แต่ชื่อของบรรหารก็ยังคงดังก้อง ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งในฐานะนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพล นายกฯ ที่สู้จนได้เป็นผู้นำประเทศ และ “เจ้าพ่อเมืองสุพรรณ” ผู้ปั้นเมืองทั้งเมืองด้วยความตั้งใจ และสายสัมพันธ์ทางการเมืองอันแน่นหนา

    🧠 จะพาคุณย้อนรอยชีวิต และผลงานของชายผู้ได้ฉายาว่า “ปลาไหลใส่สเก็ต” อย่างบรรหาร พร้อมเจาะลึกทุกมิติที่ควรรู้ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และมรดกที่ทิ้งไว้ให้เมืองสุพรรณบุรี 🇹🇭

    👦 ชีวิตวัยเด็กของ "เต็กเซียง แซ่เบ๊" เด็กชายแห่งท่าพี่เลี้ยง บรรหารเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีชื่อเดิมว่า “เต็กเซียง แซ่เบ๊” (馬德祥)

    👨‍👩‍👧‍👦 เป็นบุตรคนที่ 4 จากทั้งหมด 6 คน ของครอบครัวชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ทำธุรกิจร้านขายสิ่งทอชื่อ “ย่งหยูฮง” พ่อแม่คือ "เซ่งกิม" และ "สายเอ็ง แซ่เบ๊" ซึ่งปลูกฝังความขยันขันแข็ง และแนวคิดแบบพ่อค้า ให้แก่บรรหารตั้งแต่วัยเยาว์

    แม้จะเรียนถึงแค่ระดับมัธยมต้น ที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่ต้องหยุดเรียนเพราะสงครามโลก ครั้งที่สอง จึงเลือกเดินทางสายนักธุรกิจ สร้างฐานะด้วยตนเองจากงานรับเหมาก่อสร้าง จนในที่สุดกลายเป็นนักธุรกิจใหญ่ ผู้ก่อตั้งบริษัทมากมาย เช่น

    🏗️ บริษัทสหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด
    ⚗️ บริษัทบี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
    🧪 บริษัทคอสติกไทย จำกัด จำหน่ายเคมีภัณฑ์

    จากเด็กชายในเมืองเล็ก ๆ สู่เจ้าของอาณาจักรธุรกิจ และผู้นำประเทศ บรรหารถือเป็นตัวอย่าง ของคนที่สร้างทุกอย่างจากศูนย์ 💪

    🏛️ ก้าวแรกสู่การเมือง จากเทศบาลเมือง สู่สภาผู้แทนราษฎร เส้นทางการเมืองของบรรหาร เริ่มต้นในฐานะ “สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี” จากการแต่งตั้งในปี พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518 และลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. สุพรรณบุรีในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเขาชนะทุกครั้งที่ลงสมัคร รวมทั้งสิ้น 11 สมัย! 🗳️

    🏆 จากพลังแห่งความนิยมในพื้นที่สุพรรณบุรี บรรหารก้าวขึ้นสู่เวทีใหญ่ เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 🚆

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 🏢

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 🌾

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 💰

    บรรหารได้รับสมญานามว่า “มังกรสุพรรณ” ด้วยพลังในการควบคุมพื้นที่อย่างแน่นหนา และ “ปลาไหลใส่สเก็ต” ด้วยสไตล์ทางการเมือง ที่ลื่นไหลยืดหยุ่น

    👑 สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 📌 ปี พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

    🎯 ผลงานสำคัญที่เกิดขึ้นในรัฐบาลบรรหาร ได้แก่ ริเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540, เป็นเจ้าภาพ ASEM และ ASEAN Summitm การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่เชียงใหม่, การจัดงานเกษตรอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 และการตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

    แม้การบริหารของบรรหาร ถูกฝ่ายค้านวิจารณ์อย่างหนัก จนต้องยุบสภาในปี พ.ศ. 2539 แต่ผลงานจำนวนมาก ก็ยังถูกพูดถึงจนถึงปัจจุบัน

    💸 รวยจริง ไม่ต้องโชว์ บรรหารกับทรัพย์สินมหาศาล 📈 จากรายงานของสำนักข่าวอิศรา “บรรหาร” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “นายกรัฐมนตรีที่ร่ำรวยที่สุด เป็นอันดับ 2” รองจาก “ทักษิณ ชินวัตร” โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจาก

    ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 🏗️

    ธุรกิจเคมีภัณฑ์ 📦

    อสังหาริมทรัพย์ทั้งในเมือง และต่างจังหวัด 🏢

    ของสะสม เช่น พระเครื่อง นาฬิกาหรู รถยนต์หรู ⌚🚗

    แต่สิ่งที่ทำให้บรรหาร ได้รับความเคารพคือ “การใช้เงินเป็น” ไม่ใช่ “โชว์หรู” ใช้ทรัพย์สินเพื่อพัฒนา ไม่ใช่เพื่อสร้างภาพลักษณ์

    🌸 มรดกที่ทิ้งไว้ "บรรหารบุรี" เมืองต้นแบบของจังหวัดนิยม เมืองสุพรรณบุรีในวันนี้ กลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบ “จังหวัดนิยม” (Provincial Identity) ซึ่งนักวิชาการญี่ปุ่น "Yoshinori Nishizaki" อธิบายไว้ชัดเจนว่า

    “บรรหารสามารถสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้เมือง ผ่านโครงการต่างๆ ที่จับต้องได้จริง จนกลายเป็นแรงศรัทธาทางการเมือง”

    🧱 ตัวอย่างผลงานในสุพรรณบุรี เช่น หอคอยเมืองสุพรรณ, ถนนคุณภาพระดับประเทศ, โรงเรียนบรรหารแจ่มใส, โรงพยาบาล, ศูนย์ราชการรวมศูนย์, พิพิธภัณฑ์, หอเกียรติยศ และศาลหลักเมือง

    สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้คนมองเห็นว่า “นักการเมืองที่ดี” คือคนที่ “พัฒนาชุมชน” ไม่ใช่แค่พูดสวยหรูบนเวที

    📌 บทเรียนจากชีวิตบรรหาร สัจจะ และกตัญญู หากถามถึงคุณธรรมสำคัญในชีวิตของบรรหาร มีอยู่ 2 คำ ที่บรรหารยึดมั่นเสมอ คือ

    “สัจจะ” คำพูดต้องรักษาให้ได้

    “กตัญญู” ต่อบ้านเกิด และผู้มีพระคุณ

    นี่คือสิ่งที่ทำให้ชื่อของบรรหาร ยังถูกพูดถึงแม้เวลาผ่านไปหลายปี และยังเป็นแบบอย่างให้กับนักการเมืองรุ่นใหม่ ได้ศึกษาเรียนรู้

    📜 มังกรสุพรรณ ผู้ล่องด้วยสัจจะ "บรรหาร ศิลปอาชา" ไม่ใช่แค่ “อดีตนายกรัฐมนตรี” แต่คือชายที่หล่อหลอมเมืองสุพรรณบุรี ให้กลายเป็นพื้นที่พิเศษ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 🐉

    จากชายที่เกิดในครอบครัวพ่อค้า สู่ผู้พัฒนาจังหวัดด้วยวิสัยทัศน์

    จากนักธุรกิจที่สร้างตัวเอง สู่ผู้นำที่เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย 🇹🇭

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231016 เม.ย. 2568

    🔖 #บรรหารศิลปอาชา #นายกรัฐมนตรีไทย #มังกรสุพรรณ #บรรหารบุรี #ปลาไหลใส่สเก็ต #สุพรรณบุรี #การเมืองไทย #พัฒนาท้องถิ่น #จังหวัดนิยม #บุคคลสำคัญ
    9 ปี สิ้น “บรรหาร ศิลปอาชา” 🐉 มังกรสุพรรณ นายกฯ ผู้สร้างเมืองด้วยมือปลาไหลใส่สเก็ต รวยอันดับสอง รองจากทักษิณ ชายผู้พลิกเมือง “สุพรรณบุรี” จนกลายเป็น “บรรหารบุรี” 📅 เช้าตรู่วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2559 แวดวงการเมืองไทย ต้องพบกับความสูญเสียครั้งสำคัญ เมื่อ “นายบรรหาร ศิลปอาชา” อดีตนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 ถึงแก่อนิจกรรมด้วยภาวะภูมิแพ้ และหอบหืดกำเริบ ที่โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ รวมอายุได้ 83 ปี 247 วัน แม้เวลาจะผ่านมา 9 ปี แต่ชื่อของบรรหารก็ยังคงดังก้อง ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทย ทั้งในฐานะนักการเมืองผู้ทรงอิทธิพล นายกฯ ที่สู้จนได้เป็นผู้นำประเทศ และ “เจ้าพ่อเมืองสุพรรณ” ผู้ปั้นเมืองทั้งเมืองด้วยความตั้งใจ และสายสัมพันธ์ทางการเมืองอันแน่นหนา 🧠 จะพาคุณย้อนรอยชีวิต และผลงานของชายผู้ได้ฉายาว่า “ปลาไหลใส่สเก็ต” อย่างบรรหาร พร้อมเจาะลึกทุกมิติที่ควรรู้ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และมรดกที่ทิ้งไว้ให้เมืองสุพรรณบุรี 🇹🇭 👦 ชีวิตวัยเด็กของ "เต็กเซียง แซ่เบ๊" เด็กชายแห่งท่าพี่เลี้ยง บรรหารเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีชื่อเดิมว่า “เต็กเซียง แซ่เบ๊” (馬德祥) 👨‍👩‍👧‍👦 เป็นบุตรคนที่ 4 จากทั้งหมด 6 คน ของครอบครัวชาวจีนแต้จิ๋ว ที่ทำธุรกิจร้านขายสิ่งทอชื่อ “ย่งหยูฮง” พ่อแม่คือ "เซ่งกิม" และ "สายเอ็ง แซ่เบ๊" ซึ่งปลูกฝังความขยันขันแข็ง และแนวคิดแบบพ่อค้า ให้แก่บรรหารตั้งแต่วัยเยาว์ แม้จะเรียนถึงแค่ระดับมัธยมต้น ที่โรงเรียนวัฒนศิลป์วิทยาลัยในกรุงเทพฯ แต่ต้องหยุดเรียนเพราะสงครามโลก ครั้งที่สอง จึงเลือกเดินทางสายนักธุรกิจ สร้างฐานะด้วยตนเองจากงานรับเหมาก่อสร้าง จนในที่สุดกลายเป็นนักธุรกิจใหญ่ ผู้ก่อตั้งบริษัทมากมาย เช่น 🏗️ บริษัทสหศรีชัยก่อสร้าง จำกัด ⚗️ บริษัทบี.เอส.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 🧪 บริษัทคอสติกไทย จำกัด จำหน่ายเคมีภัณฑ์ จากเด็กชายในเมืองเล็ก ๆ สู่เจ้าของอาณาจักรธุรกิจ และผู้นำประเทศ บรรหารถือเป็นตัวอย่าง ของคนที่สร้างทุกอย่างจากศูนย์ 💪 🏛️ ก้าวแรกสู่การเมือง จากเทศบาลเมือง สู่สภาผู้แทนราษฎร เส้นทางการเมืองของบรรหาร เริ่มต้นในฐานะ “สมาชิกสภาเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี” จากการแต่งตั้งในปี พ.ศ. 2516 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518 และลงเลือกตั้งเป็น ส.ส. สุพรรณบุรีในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเขาชนะทุกครั้งที่ลงสมัคร รวมทั้งสิ้น 11 สมัย! 🗳️ 🏆 จากพลังแห่งความนิยมในพื้นที่สุพรรณบุรี บรรหารก้าวขึ้นสู่เวทีใหญ่ เป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง อาทิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม 🚆 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 🏢 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 🌾 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 💰 บรรหารได้รับสมญานามว่า “มังกรสุพรรณ” ด้วยพลังในการควบคุมพื้นที่อย่างแน่นหนา และ “ปลาไหลใส่สเก็ต” ด้วยสไตล์ทางการเมือง ที่ลื่นไหลยืดหยุ่น 👑 สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 📌 ปี พ.ศ. 2538 บรรหาร ศิลปอาชา ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย พร้อมควบตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 🎯 ผลงานสำคัญที่เกิดขึ้นในรัฐบาลบรรหาร ได้แก่ ริเริ่มร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540, เป็นเจ้าภาพ ASEM และ ASEAN Summitm การแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่เชียงใหม่, การจัดงานเกษตรอุตสาหกรรมโลก WORLDTECH’95 และการตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แม้การบริหารของบรรหาร ถูกฝ่ายค้านวิจารณ์อย่างหนัก จนต้องยุบสภาในปี พ.ศ. 2539 แต่ผลงานจำนวนมาก ก็ยังถูกพูดถึงจนถึงปัจจุบัน 💸 รวยจริง ไม่ต้องโชว์ บรรหารกับทรัพย์สินมหาศาล 📈 จากรายงานของสำนักข่าวอิศรา “บรรหาร” ได้รับการจัดอันดับให้เป็น “นายกรัฐมนตรีที่ร่ำรวยที่สุด เป็นอันดับ 2” รองจาก “ทักษิณ ชินวัตร” โดยทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจาก ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง 🏗️ ธุรกิจเคมีภัณฑ์ 📦 อสังหาริมทรัพย์ทั้งในเมือง และต่างจังหวัด 🏢 ของสะสม เช่น พระเครื่อง นาฬิกาหรู รถยนต์หรู ⌚🚗 แต่สิ่งที่ทำให้บรรหาร ได้รับความเคารพคือ “การใช้เงินเป็น” ไม่ใช่ “โชว์หรู” ใช้ทรัพย์สินเพื่อพัฒนา ไม่ใช่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ 🌸 มรดกที่ทิ้งไว้ "บรรหารบุรี" เมืองต้นแบบของจังหวัดนิยม เมืองสุพรรณบุรีในวันนี้ กลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบ “จังหวัดนิยม” (Provincial Identity) ซึ่งนักวิชาการญี่ปุ่น "Yoshinori Nishizaki" อธิบายไว้ชัดเจนว่า “บรรหารสามารถสร้างอัตลักษณ์ใหม่ให้เมือง ผ่านโครงการต่างๆ ที่จับต้องได้จริง จนกลายเป็นแรงศรัทธาทางการเมือง” 🧱 ตัวอย่างผลงานในสุพรรณบุรี เช่น หอคอยเมืองสุพรรณ, ถนนคุณภาพระดับประเทศ, โรงเรียนบรรหารแจ่มใส, โรงพยาบาล, ศูนย์ราชการรวมศูนย์, พิพิธภัณฑ์, หอเกียรติยศ และศาลหลักเมือง สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้คนมองเห็นว่า “นักการเมืองที่ดี” คือคนที่ “พัฒนาชุมชน” ไม่ใช่แค่พูดสวยหรูบนเวที 📌 บทเรียนจากชีวิตบรรหาร สัจจะ และกตัญญู หากถามถึงคุณธรรมสำคัญในชีวิตของบรรหาร มีอยู่ 2 คำ ที่บรรหารยึดมั่นเสมอ คือ “สัจจะ” คำพูดต้องรักษาให้ได้ “กตัญญู” ต่อบ้านเกิด และผู้มีพระคุณ นี่คือสิ่งที่ทำให้ชื่อของบรรหาร ยังถูกพูดถึงแม้เวลาผ่านไปหลายปี และยังเป็นแบบอย่างให้กับนักการเมืองรุ่นใหม่ ได้ศึกษาเรียนรู้ 📜 มังกรสุพรรณ ผู้ล่องด้วยสัจจะ "บรรหาร ศิลปอาชา" ไม่ใช่แค่ “อดีตนายกรัฐมนตรี” แต่คือชายที่หล่อหลอมเมืองสุพรรณบุรี ให้กลายเป็นพื้นที่พิเศษ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย 🐉 จากชายที่เกิดในครอบครัวพ่อค้า สู่ผู้พัฒนาจังหวัดด้วยวิสัยทัศน์ จากนักธุรกิจที่สร้างตัวเอง สู่ผู้นำที่เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย 🇹🇭 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 231016 เม.ย. 2568 🔖 #บรรหารศิลปอาชา #นายกรัฐมนตรีไทย #มังกรสุพรรณ #บรรหารบุรี #ปลาไหลใส่สเก็ต #สุพรรณบุรี #การเมืองไทย #พัฒนาท้องถิ่น #จังหวัดนิยม #บุคคลสำคัญ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 63 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองทุนรัฐบาลอินโดนีเซีย “ดานันตารา” (Danantara) ประกาศชื่อ “ดรีมทีม” เพื่อนำทางยุทธศาสตร์กองทุนเทมาเส็ก 2 แดนอิเหนามูลค่ากว่า 900,000 ล้านดอลลาร์ ฮือฮาเปิดชื่ออดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวิตร เป็นหนึ่งในนั้นเพื่อจัดการความเสี่ยงระดับโลก ท่ามกลางความวิตกจากตลาดการเงินเชื่ออาจมีอิทธิพลทางการเมืองเข้าแทรกแซงกองทุนรัฐมูลค่ามหาศาลหลายพันล้าน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000028186
    กองทุนรัฐบาลอินโดนีเซีย “ดานันตารา” (Danantara) ประกาศชื่อ “ดรีมทีม” เพื่อนำทางยุทธศาสตร์กองทุนเทมาเส็ก 2 แดนอิเหนามูลค่ากว่า 900,000 ล้านดอลลาร์ ฮือฮาเปิดชื่ออดีตนายกรัฐมนตรีไทย ทักษิณ ชินวิตร เป็นหนึ่งในนั้นเพื่อจัดการความเสี่ยงระดับโลก ท่ามกลางความวิตกจากตลาดการเงินเชื่ออาจมีอิทธิพลทางการเมืองเข้าแทรกแซงกองทุนรัฐมูลค่ามหาศาลหลายพันล้าน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000028186
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1671 มุมมอง 0 รีวิว
  • รอยเตอร์เผยรายงานพิเศษ อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ซึ่งระบุว่า แคนาดาและสหรัฐฯ เคยเสนอให้ที่พักพิงที่ชาวอุยกูร์ 48 คนที่ถูกกักอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี ทว่ารัฐบาลไทยไม่ดำเนินการใดๆ เนื่องจากเกรงจะผิดใจกับ “จีน” จนสุดท้ายชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ได้ถูกบังคับเนรเทศกลับไปยังแดนมังกรเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ออกมาปกป้องการตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยทางการไทยยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนทุกประการ

    องค์กรสิทธิมนุษยชนกล่าวหาจีนว่ากระทำการละเมิดกดขี่อย่างกว้างขวางต่อชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิมที่มีอยู่ราวๆ 10 ล้านคนในภูมิภาคซินเจียง ขณะที่ปักกิ่งปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่ได้มีการละเมิดสิทธิคนเหล่านี้

    ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีไทย ได้แถลงเมื่อวันจันทร์ (3) ว่า ไม่มีประเทศใดแสดงความจำนงอย่างหนักแน่นที่จะรับชาวอุยกูร์ 48 คนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน

    “เรารอมานานกว่า 10 ปี และผมก็ได้พูดคุยกับประเทศใหญ่ๆ หลายชาติ แต่ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจน” เขาให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน

    อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คนหนึ่งยืนยันกับรอยเตอร์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เคยยื่นข้อเสนอรับชาวอุยกูร์ทั้ง 48 คนแล้ว

    “สหรัฐฯ พยายาทำงานร่วมกับไทยมาหลายปีเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ รวมถึงได้มีการย้ำข้อเสนออย่างต่อเนื่องว่าจะรับชาวอุยกูร์ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น แม้แต่ในสหรัฐฯ เองด้วย ณ จุดหนึ่ง” เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ประสงค์ออกนามกล่าว

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000021368

    #MGROnline #ชาวอุยกูร์
    รอยเตอร์เผยรายงานพิเศษ อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ซึ่งระบุว่า แคนาดาและสหรัฐฯ เคยเสนอให้ที่พักพิงที่ชาวอุยกูร์ 48 คนที่ถูกกักอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี ทว่ารัฐบาลไทยไม่ดำเนินการใดๆ เนื่องจากเกรงจะผิดใจกับ “จีน” จนสุดท้ายชาวอุยกูร์กลุ่มนี้ได้ถูกบังคับเนรเทศกลับไปยังแดนมังกรเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว • รัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ออกมาปกป้องการตัดสินใจส่งชาวอุยกูร์กลับจีน ซึ่งเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงคัดค้านจากผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยทางการไทยยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายและพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนทุกประการ • องค์กรสิทธิมนุษยชนกล่าวหาจีนว่ากระทำการละเมิดกดขี่อย่างกว้างขวางต่อชาวอุยกูร์ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิมที่มีอยู่ราวๆ 10 ล้านคนในภูมิภาคซินเจียง ขณะที่ปักกิ่งปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่ได้มีการละเมิดสิทธิคนเหล่านี้ • ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีไทย ได้แถลงเมื่อวันจันทร์ (3) ว่า ไม่มีประเทศใดแสดงความจำนงอย่างหนักแน่นที่จะรับชาวอุยกูร์ 48 คนเข้าไปตั้งถิ่นฐาน • “เรารอมานานกว่า 10 ปี และผมก็ได้พูดคุยกับประเทศใหญ่ๆ หลายชาติ แต่ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจน” เขาให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน • อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คนหนึ่งยืนยันกับรอยเตอร์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ เคยยื่นข้อเสนอรับชาวอุยกูร์ทั้ง 48 คนแล้ว • “สหรัฐฯ พยายาทำงานร่วมกับไทยมาหลายปีเพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์เช่นนี้ รวมถึงได้มีการย้ำข้อเสนออย่างต่อเนื่องว่าจะรับชาวอุยกูร์ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น แม้แต่ในสหรัฐฯ เองด้วย ณ จุดหนึ่ง” เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ประสงค์ออกนามกล่าว • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000021368 • #MGROnline #ชาวอุยกูร์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 535 มุมมอง 0 รีวิว
  • 37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428

    📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ

    สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู

    🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯
    ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่

    - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว
    - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง

    ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง

    🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ
    "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

    ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว

    ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌
    ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน
    กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

    🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530
    กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด

    ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531
    กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี
    แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก

    🕊️ เจรจาหยุดยิง
    💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน

    🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย

    ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร

    📉 ผลกระทบจากสงคราม
    💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
    - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย
    - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย

    💰 งบประมาณทางทหาร
    ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท

    🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว
    การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน

    🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่

    แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568

    🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428 📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู 🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯 ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่ - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง 🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌 ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ 🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530 กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531 กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก 🕊️ เจรจาหยุดยิง 💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน 🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร 📉 ผลกระทบจากสงคราม 💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย 💰 งบประมาณทางทหาร ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท 🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน 🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่ แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568 🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 944 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สี จิ้นผิง" เตือนอะไร เมื่อ "อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" นายกรัฐมนตรีไทย บอกว่าประเทศไทยเตรียมจะเปิดเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยว? ระหว่างที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกฯ เยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2568
    .
    https://www.tiktok.com/@thedongfangbubai/video/7471597676992269575
    .
    #บูรพาไม่แพ้ #สีจิ้นผิง #แพทองธาร #เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ #คาสิโน #สัมพันธ์ไทยจีน
    "สี จิ้นผิง" เตือนอะไร เมื่อ "อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร" นายกรัฐมนตรีไทย บอกว่าประเทศไทยเตรียมจะเปิดเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยว? ระหว่างที่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกฯ เยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2568 . https://www.tiktok.com/@thedongfangbubai/video/7471597676992269575 . #บูรพาไม่แพ้ #สีจิ้นผิง #แพทองธาร #เอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ #คาสิโน #สัมพันธ์ไทยจีน
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 708 มุมมอง 0 รีวิว
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.108 : จีนหวังผลอะไร จากการไปเยือนของ “อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร” ?
    .
    ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ได้เดินทางไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ การเยือนประเทศจีนครั้งนี้มีนัยยะสำคัญคือ ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีนนอกจากนี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่ไทยกับจีนมีหลายเรื่องที่จำเป็นต้องร่วมมือกัน พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในวันนี้ เราจะลองวิเคราะห์ว่า ทางการจีนคาดหวังอะไรจากการเดินทางเยือนของนายกรัฐมนตรีไทย รวมถึง ความระหว่างบรรทัด ที่แฝงไว้ในแถลงการณ์ร่วมไทย-จีน ที่สะท้อนถึงจุดยืนทางนโยบายหลายเรื่องของรัฐบาลจีน
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=opLZlhwJbpM
    .
    #บูรพาไม่แพ้
    บูรพาไม่แพ้ Ep.108 : จีนหวังผลอะไร จากการไปเยือนของ “อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร” ? . ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ได้เดินทางไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ การเยือนประเทศจีนครั้งนี้มีนัยยะสำคัญคือ ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-จีนนอกจากนี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่ไทยกับจีนมีหลายเรื่องที่จำเป็นต้องร่วมมือกัน พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในวันนี้ เราจะลองวิเคราะห์ว่า ทางการจีนคาดหวังอะไรจากการเดินทางเยือนของนายกรัฐมนตรีไทย รวมถึง ความระหว่างบรรทัด ที่แฝงไว้ในแถลงการณ์ร่วมไทย-จีน ที่สะท้อนถึงจุดยืนทางนโยบายหลายเรื่องของรัฐบาลจีน . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=opLZlhwJbpM . #บูรพาไม่แพ้
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 489 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โก รูบิโอ ออกมายินดีหลังปานามาจะไม่ต่ออายุโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง BRI ของจีนหลังข้อตกลงหมดอายุเพื่อถอยห่างจากปักกิ่ง และยินยอมให้เรือรบอเมริกันสามารถวิ่งผ่านตลอดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ผู้เชี่ยวชาญออกมาชี้ ทรัมป์อาจบีบปานามาให้ออกจาก BRI ได้ แต่อาจยังไม่ได้กับชาติในเอเชียที่หวังพึ่งทุนจีนพัฒนาประเทศหลังนายกฯ ไทยเพิ่งแสดงความยินดี ครม.อนุมัติไฮสปีดเทรนโคราช-หนองคาย 357 กม.เชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ คาด เสร็จปี 73 ชี้เร่งเฟส 1 ยังช้ากว่าแผน
    .
    รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (4 ก.พ.) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ มาร์โก รูบิโอ (Marco Rubio) วานนี้ (3) ได้แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจของผู้นำปานามาที่จะถอนตัวออกจากโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน BRI ด้วยการไม่ต่ออายุข้อตกลงหลังหมดอายุ
    .
    รูบิโอกล่าวชื่นชมว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ
    .
    รอยเตอร์รายงานว่า เป็นความเคลื่อนไหวใดๆของปานามาในการถอยห่างจากโครงการ BRI ของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิงนั้นเป็นชัยชนะของวอชิงตัน ซึ่งสหรัฐฯ นั้นยืนยันมาโดยตลอดว่า ปักกิ่งใช้ยุทธวิธีกับดักเงินกู้ทางการทูต (debt trap diplomacy) เพื่อสร้างอิทธิพลระดับโลกของตัวเอง
    .
    หลังการหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประธานาธิบดีปานามา โฮเซ ราอูล มูลิโน (Jose Raul Mulino) ออกมาแถลงยืนยันว่า สหรัฐฯ ตกลงปานามาในข้อตกลงแบบกว้างที่ปานามาจะไม่ต่อสัญญาข้อตกลงโครงสร้างพื้นฐานจีน BRI และสามารถยกเลิกได้ก่อนกำหนด
    .
    เขาเปิดเผยว่า ข้อตกลงนั้นมีกำหนดจะสิ้นสุดในอีกราว 2-3 ปีข้างหน้า
    .
    ทั้งนี้ ปานามากลายเป็นชาติแรกในดินแดนละตินอเมริกากระโดดเข้าร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของปักกิ่งเมื่อพฤศจิกายนปี 2017 หรือ 5 เดือนหลังจากตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและเป็นพันธมิตรกับจีนแทน
    .
    เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานว่ ศาสตราจารย์ เหยียนจง ฮวง (Yanzhong Huang) ผู้เชี่ยวชาญประจำ Council on Foreign Relations สถาบันธิงแทงก์ชื่อดังของสหรัฐฯ ออกมาฟันธงว่า สหรัฐฯ และจีนกำลังเล่นเกมทางการทูตอยู่ และการที่ปานามาประกาศตัวจะถอนตัวจากโครงการโครงสร้างพื้นฐาน BRI ของประธานาธิบดีสีได้ถือเป็นชัยชนะเริ่มแรกของรัฐบาลประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ชุดใหม่ในการทูตแบบใครกะพริบตาก่อนแพ้
    .
    “สหรัฐฯ ปัจจุบันดูเหมือนให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นไปที่หลังบ้านตัวเองคือละตินอเมริกาซึ่งประเทศเหล่านี้ยังคงต้องพึ่งการสนับสนุนและการค้ากับสหรัฐฯ”
    .
    พร้อมเสริมว่า “แต่ผมไม่มั่นใจว่าอเมริกาจะสามารถใช้อิทธิพลที่คล้ายกันในการบีบประเทศเอเชีย ตัวอย่างเช่น เพื่อให้มีการยอมอ่อนข้อในลักษณะที่คล้ายกัน จากการที่จีนได้กลายเป็นผู้เล่นทรงอิทธิพลในภูมิภาคนั้น”
    .
    ทั้งนี้ ปักกิ่งได้ออกมาปฏิเสธเสียงวิจารณ์จากโลกตะวันตกเกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน BRI ของจีน โดยชี้ว่ามีมากกว่า 100 ประเทศได้เข้าร่วมที่จะเป็นการกระตุ้นการพัฒนาระดับโลกที่มีทั้งท่าเรือใหม่ สะพาน ทางรถไฟและโปรเจกต์อื่นๆ
    .
    เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีวันอังคาร (4) ออกมาเปิดเผยคณะรัฐมนตรีไทยได้ไฟเขียวอนุมัติรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย 357 กม. โดย เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยและจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟเพื่อเชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ ให้สามารถเดินทางเข้าจีน คาดสามารถเสร็จสิ้นลงในปี 2573 MGRออนไลน์รายงาน
    .
    โดยเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยและจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ
    .
    เกิดขึ้นหลังวันที่ 4 กันยายน ปี 2017 ระหว่างการประชุมสุดยอดเซียะเหมิน BRICS ที่มีประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง และนายกรัฐมนตรีไทยในเวลานั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมกันเป็นสักขีพยาน อดีตกระทรวงการรถไฟจีน ปัจจุบันเป็นในเครือของบริษัท การรถไฟแห่งชาติจีน กรุ๊ป จำกัด (China National Railway Group Limited) และบริษัทในเครือบริษัทในเครือของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ลงนามในสัญญาจ้างออกแบบวิศวกรรมโยธาระยะแรก (เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) และสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษา อ้างอิงจากเว็บไซต์สถานทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง
    .
    นอกจากนี้ ในชัยชนะพบว่าปานามายอมอนุญาตให้เรือรบอเมริกันสามารถวิ่งผ่านคลองปานามาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สื่อด้านขนส่งทางทะเล maritime executive รายงานโดยอ้างอิงจากบลูมเบิร์กที่รายงานเป็นเจ้าแรกในวันอาทิตย์ (2)
    .
    รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ มาร์โก รูบิโอ ได้ไปเยือนคลองปานามาวันอาทิตย์ (2) และสังเกตการปฏิบัติการด่าน Miraflores locks ภายในคลองปานามา
    .
    และหลังการเยือนเจ้าหน้าที่ปานามาได้ออกมายืนยันว่า จะให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเรือรบสหรัฐฯ ในการล่องผ่านตลอดคลองปานามา
    .
    แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อเมริกันได้เปิดเผยกับบลูมเบิร์กตามการรายงานของสื่อ TradeWinds วันจันทร์ (3) ว่า ประธานาธิบดีปานามารับปากรูบิโอว่า เรือรบอเมริกันสามารถผ่านคลองปานามาได้โดยเสรีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011539
    ..............
    Sondhi X
    รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โก รูบิโอ ออกมายินดีหลังปานามาจะไม่ต่ออายุโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง BRI ของจีนหลังข้อตกลงหมดอายุเพื่อถอยห่างจากปักกิ่ง และยินยอมให้เรือรบอเมริกันสามารถวิ่งผ่านตลอดไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ผู้เชี่ยวชาญออกมาชี้ ทรัมป์อาจบีบปานามาให้ออกจาก BRI ได้ แต่อาจยังไม่ได้กับชาติในเอเชียที่หวังพึ่งทุนจีนพัฒนาประเทศหลังนายกฯ ไทยเพิ่งแสดงความยินดี ครม.อนุมัติไฮสปีดเทรนโคราช-หนองคาย 357 กม.เชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ คาด เสร็จปี 73 ชี้เร่งเฟส 1 ยังช้ากว่าแผน . รอยเตอร์รายงานวันอังคาร (4 ก.พ.) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ มาร์โก รูบิโอ (Marco Rubio) วานนี้ (3) ได้แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจของผู้นำปานามาที่จะถอนตัวออกจากโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน BRI ด้วยการไม่ต่ออายุข้อตกลงหลังหมดอายุ . รูบิโอกล่าวชื่นชมว่า เป็นความเคลื่อนไหวที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีกับสหรัฐฯ . รอยเตอร์รายงานว่า เป็นความเคลื่อนไหวใดๆของปานามาในการถอยห่างจากโครงการ BRI ของประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิงนั้นเป็นชัยชนะของวอชิงตัน ซึ่งสหรัฐฯ นั้นยืนยันมาโดยตลอดว่า ปักกิ่งใช้ยุทธวิธีกับดักเงินกู้ทางการทูต (debt trap diplomacy) เพื่อสร้างอิทธิพลระดับโลกของตัวเอง . หลังการหารือกับรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ประธานาธิบดีปานามา โฮเซ ราอูล มูลิโน (Jose Raul Mulino) ออกมาแถลงยืนยันว่า สหรัฐฯ ตกลงปานามาในข้อตกลงแบบกว้างที่ปานามาจะไม่ต่อสัญญาข้อตกลงโครงสร้างพื้นฐานจีน BRI และสามารถยกเลิกได้ก่อนกำหนด . เขาเปิดเผยว่า ข้อตกลงนั้นมีกำหนดจะสิ้นสุดในอีกราว 2-3 ปีข้างหน้า . ทั้งนี้ ปานามากลายเป็นชาติแรกในดินแดนละตินอเมริกากระโดดเข้าร่วมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของปักกิ่งเมื่อพฤศจิกายนปี 2017 หรือ 5 เดือนหลังจากตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันและเป็นพันธมิตรกับจีนแทน . เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานว่ ศาสตราจารย์ เหยียนจง ฮวง (Yanzhong Huang) ผู้เชี่ยวชาญประจำ Council on Foreign Relations สถาบันธิงแทงก์ชื่อดังของสหรัฐฯ ออกมาฟันธงว่า สหรัฐฯ และจีนกำลังเล่นเกมทางการทูตอยู่ และการที่ปานามาประกาศตัวจะถอนตัวจากโครงการโครงสร้างพื้นฐาน BRI ของประธานาธิบดีสีได้ถือเป็นชัยชนะเริ่มแรกของรัฐบาลประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ชุดใหม่ในการทูตแบบใครกะพริบตาก่อนแพ้ . “สหรัฐฯ ปัจจุบันดูเหมือนให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นไปที่หลังบ้านตัวเองคือละตินอเมริกาซึ่งประเทศเหล่านี้ยังคงต้องพึ่งการสนับสนุนและการค้ากับสหรัฐฯ” . พร้อมเสริมว่า “แต่ผมไม่มั่นใจว่าอเมริกาจะสามารถใช้อิทธิพลที่คล้ายกันในการบีบประเทศเอเชีย ตัวอย่างเช่น เพื่อให้มีการยอมอ่อนข้อในลักษณะที่คล้ายกัน จากการที่จีนได้กลายเป็นผู้เล่นทรงอิทธิพลในภูมิภาคนั้น” . ทั้งนี้ ปักกิ่งได้ออกมาปฏิเสธเสียงวิจารณ์จากโลกตะวันตกเกี่ยวกับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน BRI ของจีน โดยชี้ว่ามีมากกว่า 100 ประเทศได้เข้าร่วมที่จะเป็นการกระตุ้นการพัฒนาระดับโลกที่มีทั้งท่าเรือใหม่ สะพาน ทางรถไฟและโปรเจกต์อื่นๆ . เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีวันอังคาร (4) ออกมาเปิดเผยคณะรัฐมนตรีไทยได้ไฟเขียวอนุมัติรถไฟความเร็วสูงเฟส 2 โคราช-หนองคาย 357 กม. โดย เรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยและจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟเพื่อเชื่อมรถไฟลาวที่เวียงจันทน์ ให้สามารถเดินทางเข้าจีน คาดสามารถเสร็จสิ้นลงในปี 2573 MGRออนไลน์รายงาน . โดยเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างไทยและจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ . เกิดขึ้นหลังวันที่ 4 กันยายน ปี 2017 ระหว่างการประชุมสุดยอดเซียะเหมิน BRICS ที่มีประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง และนายกรัฐมนตรีไทยในเวลานั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร่วมกันเป็นสักขีพยาน อดีตกระทรวงการรถไฟจีน ปัจจุบันเป็นในเครือของบริษัท การรถไฟแห่งชาติจีน กรุ๊ป จำกัด (China National Railway Group Limited) และบริษัทในเครือบริษัทในเครือของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ลงนามในสัญญาจ้างออกแบบวิศวกรรมโยธาระยะแรก (เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) และสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษา อ้างอิงจากเว็บไซต์สถานทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง . นอกจากนี้ ในชัยชนะพบว่าปานามายอมอนุญาตให้เรือรบอเมริกันสามารถวิ่งผ่านคลองปานามาโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สื่อด้านขนส่งทางทะเล maritime executive รายงานโดยอ้างอิงจากบลูมเบิร์กที่รายงานเป็นเจ้าแรกในวันอาทิตย์ (2) . รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ มาร์โก รูบิโอ ได้ไปเยือนคลองปานามาวันอาทิตย์ (2) และสังเกตการปฏิบัติการด่าน Miraflores locks ภายในคลองปานามา . และหลังการเยือนเจ้าหน้าที่ปานามาได้ออกมายืนยันว่า จะให้ความสำคัญสูงสุดต่อการเรือรบสหรัฐฯ ในการล่องผ่านตลอดคลองปานามา . แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่อเมริกันได้เปิดเผยกับบลูมเบิร์กตามการรายงานของสื่อ TradeWinds วันจันทร์ (3) ว่า ประธานาธิบดีปานามารับปากรูบิโอว่า เรือรบอเมริกันสามารถผ่านคลองปานามาได้โดยเสรีไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011539 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Angry
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2685 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้นำมาเลย์ โพสต์ยินดีได้พบ "ทักษิณ" ถกบทบาทนั่งที่ปรึกษาปธ.อาเซียน กระตุ้นศก. บุกเบิกสันติภาพใต้ กระชับความสัมพันธ์สองประเทศ ให้ประสบร่วมกันทั้งภูมิภาค

    วันนี้ (27ธ.ค.) นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกับการพบปะ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีเนื้อหาดังนี้

    ยินดีที่ได้พบปะอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและเพื่อนรัก ดร.ทักษิณ ชินวัตร สําหรับการอภิปรายที่กว้างขวางและเกิดผล รวมถึงความสามารถของเขาในฐานะที่ปรึกษาไม่เป็นทางการในการเป็นประธานอาเซียนของมาเลเซีย

    การสนทนาของเราเป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับความสําคัญของภูมิภาค: เศรษฐกิจฟื้นฟู การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่ การส่งเสริมสันติภาพในภาคใต้ ประเทศไทย และแก้ไขปัญหาวิกฤตของเมียนมา

    เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนใครของทักษิณทั่วภูมิภาค ควบคู่กับความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวของเขา สัญญาว่าจะเปิดโอกาสอันล้ําค่าให้กับมาเลเซียและอาเซียนที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยความมั่นใจและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    เรายังได้หารือถึงวิธีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่งระหว่างมาเลเซียและ ประเทศไทย ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความร่วมมือในภูมิภาคที่ฉันแบ่งปันกับนายกรัฐมนตรี แพตองธาร ชินวัตร

    เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ ทักษิณและผมได้แบ่งปันความเชื่อที่ว่ามาเลเซียและ ประเทศไทย จะสามารถประสบความสําเร็จร่วมกันได้มากขึ้น ไม่เพียงแต่สําหรับชาติของเราเท่านั้น แต่สําหรับภูมิภาคโดยรวม เรามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง

    #MGROnline #MalaysiaMADANI
    ผู้นำมาเลย์ โพสต์ยินดีได้พบ "ทักษิณ" ถกบทบาทนั่งที่ปรึกษาปธ.อาเซียน กระตุ้นศก. บุกเบิกสันติภาพใต้ กระชับความสัมพันธ์สองประเทศ ให้ประสบร่วมกันทั้งภูมิภาค • วันนี้ (27ธ.ค.) นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกับการพบปะ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีเนื้อหาดังนี้ • ยินดีที่ได้พบปะอดีตนายกรัฐมนตรีไทยและเพื่อนรัก ดร.ทักษิณ ชินวัตร สําหรับการอภิปรายที่กว้างขวางและเกิดผล รวมถึงความสามารถของเขาในฐานะที่ปรึกษาไม่เป็นทางการในการเป็นประธานอาเซียนของมาเลเซีย • การสนทนาของเราเป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับความสําคัญของภูมิภาค: เศรษฐกิจฟื้นฟู การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเกิดใหม่ การส่งเสริมสันติภาพในภาคใต้ ประเทศไทย และแก้ไขปัญหาวิกฤตของเมียนมา • เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนใครของทักษิณทั่วภูมิภาค ควบคู่กับความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวของเขา สัญญาว่าจะเปิดโอกาสอันล้ําค่าให้กับมาเลเซียและอาเซียนที่จะจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ด้วยความมั่นใจและมีประสิทธิภาพมากขึ้น • เรายังได้หารือถึงวิธีการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แข็งแกร่งระหว่างมาเลเซียและ ประเทศไทย ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความร่วมมือในภูมิภาคที่ฉันแบ่งปันกับนายกรัฐมนตรี แพตองธาร ชินวัตร • เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ ทักษิณและผมได้แบ่งปันความเชื่อที่ว่ามาเลเซียและ ประเทศไทย จะสามารถประสบความสําเร็จร่วมกันได้มากขึ้น ไม่เพียงแต่สําหรับชาติของเราเท่านั้น แต่สําหรับภูมิภาคโดยรวม เรามุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนวิสัยทัศน์นั้นให้เป็นจริง • #MGROnline #MalaysiaMADANI
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 624 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1031 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดช่องยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลฉีก MOU2544 ก่อนตัดสินใจลงถนน
    .
    ปมประเด็นปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาผ่านกรณีMOU 2544 นั้น ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ และมีนักวิชาการ รวมไปถึงผู้ทรงคุณวุฒิออกมาให้ความเห็นเป็นอย่างมาก โดยนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า "MOU 2544 มีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่? กรณีที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2567 ขอให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU 2544 และ JC 2544 ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตยและบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องและเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยนั้น ผมเห็นด้วยกับเหตุผลตามหนังสือดังกล่าวทุกประการ เพราะหากรัฐบาลยังดำเนินการใดๆต่อไปตาม MOU 2544 เท่ากับเป็นการเปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย กลายเป็น “การรับรู้” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลโดยปริยาย"
    .
    "ดังนั้นการที่รัฐบาลไทย “รับรู้” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล แม้ว่ารัฐบาลไทยจะอ้างว่ายังคงปฏิเสธการลากเส้นของกัมพูชาดังกล่าว ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดของเราคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว และกลายเป็นการยอมรับความไม่ชัดเจนของพื้นที่อาณาเขตทางทะเลว่ามีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่ระหว่างสองประเทศ ตลอดทั้งการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีไทยในทำนองว่าหากตกลงกันไม่ได้ ก็แบ่งครึ่งกัน จึงอาจเข้าทำนองรอยเดิมกรณีปราสาทพระวิหารที่ฝ่ายไทยต้องพ่ายแพ้ด้วยเหตุผลของ “กฎหมายปิดปาก” นั่นเอง"
    .
    นายธีรภัทร์ ให้ความเห็นอีกว่า ข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะให้นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติให้ส่ง MOU 2544และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อนนั้น จึงเป็นข้อเรียกร้องที่มีเหตุมีผลที่รัฐบาลควรสนองตอบ และเป็นทางออกที่เป็นไปตามกติกาของบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะ ผมก็ขอเสนอต่อไปว่าคุณสนธิและคณะควรจะเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา 231 ของรัฐธรรมนูญฯเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองแล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาให้ได้ข้อยุติต่อไปได้ หากกระบวนการโดยสันติตามรัฐธรรมนูญฯไม่บังเกิดผลแล้ว จึงค่อยใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯกันต่อไป
    ..............
    Sondhi X
    เปิดช่องยื่นผู้ตรวจฯ ส่งศาลฉีก MOU2544 ก่อนตัดสินใจลงถนน . ปมประเด็นปัญหาในเรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาผ่านกรณีMOU 2544 นั้น ถือเป็นประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ และมีนักวิชาการ รวมไปถึงผู้ทรงคุณวุฒิออกมาให้ความเห็นเป็นอย่างมาก โดยนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า "MOU 2544 มีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่? กรณีที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุลและคณะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2567 ขอให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU 2544 และ JC 2544 ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตยและบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องและเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทยนั้น ผมเห็นด้วยกับเหตุผลตามหนังสือดังกล่าวทุกประการ เพราะหากรัฐบาลยังดำเนินการใดๆต่อไปตาม MOU 2544 เท่ากับเป็นการเปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย กลายเป็น “การรับรู้” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลโดยปริยาย" . "ดังนั้นการที่รัฐบาลไทย “รับรู้” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล แม้ว่ารัฐบาลไทยจะอ้างว่ายังคงปฏิเสธการลากเส้นของกัมพูชาดังกล่าว ประเทศไทยก็จะตกอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงที่จะถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดของเราคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว และกลายเป็นการยอมรับความไม่ชัดเจนของพื้นที่อาณาเขตทางทะเลว่ามีความเหลื่อมซ้อนกันอยู่ระหว่างสองประเทศ ตลอดทั้งการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีไทยในทำนองว่าหากตกลงกันไม่ได้ ก็แบ่งครึ่งกัน จึงอาจเข้าทำนองรอยเดิมกรณีปราสาทพระวิหารที่ฝ่ายไทยต้องพ่ายแพ้ด้วยเหตุผลของ “กฎหมายปิดปาก” นั่นเอง" . นายธีรภัทร์ ให้ความเห็นอีกว่า ข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะให้นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาและมีมติให้ส่ง MOU 2544และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อนนั้น จึงเป็นข้อเรียกร้องที่มีเหตุมีผลที่รัฐบาลควรสนองตอบ และเป็นทางออกที่เป็นไปตามกติกาของบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่สนองตอบข้อเรียกร้องของคุณสนธิและคณะ ผมก็ขอเสนอต่อไปว่าคุณสนธิและคณะควรจะเสนอเรื่องดังกล่าวนี้ผ่านผู้ตรวจการแผ่นดินตามมาตรา 231 ของรัฐธรรมนูญฯเพื่อให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองแล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณาให้ได้ข้อยุติต่อไปได้ หากกระบวนการโดยสันติตามรัฐธรรมนูญฯไม่บังเกิดผลแล้ว จึงค่อยใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฯกันต่อไป .............. Sondhi X
    Like
    7
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1374 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9/12/67

    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม

    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ

    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ

    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ

    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย

    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก

    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว

    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย

    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน

    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน

    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที

    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป

    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง

    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    9/12/67 เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1036 มุมมอง 0 รีวิว
  • “สนธิ” ย้ำเอ็มโอยู44 คือเอ็มโอยูขายชาติ “ทักษิณ” จับมือ “ฮุนเซน” แบ่งปันผลประโยชน์โดยใช้ “สุรเกียรติ์” ที่อยากเป็นเลขาฯ ยูเอ็นเป็นคนลงนาม ลั่นสู้กับรัฐบาลโจรต้องรอบคอบ เป็นขั้นเป็นตอน อีก 15 วันจะทวงถามความคืบหน้า พร้อมยื่นประธานสภาฯ ให้เอาผิด สส.-สว.หากไม่ยอมยกเลิก จี้ กต.ยึดมั่นพระบรมราชโองการ หากทำสุดซอยแล้วยังไม่รู้เรื่องจึงจะลงถนน และสู้ครั้งนี้ต้องชนะลูกเดียว

    วันนี้(9 ธ.ค.) ภายหลังจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลชนจำนวนหนึ่ง ได้ยื่นหนังสือการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล
    โดยผ่านนายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อยกเลิกบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC2544) นายสนธิ ได้ให้สัมภาษณเกี่ยวกับแนวทางการเคลื่อนไหวต่อเนื่องหลังจากยื่นหนังสือแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้

    “พี่น้องครับผมจะตอบคําถามว่า เราจะลงถนนเมื่อไหร่ พี่น้องครับ เวลาเราสู้กับรัฐบาลโจร เราต้องทํางานด้วยความรอบคอบ รอบคอบแปลว่าอะไร

    ทําไมเราต้องมาร้องเรียนเรื่องนี้ เพราะเราร้องเรียนแล้วเราก็วางเอาไว้ด้วยว่าถ้าคุณไม่ทําวันนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณ ถ้าคุณไม่ทําอันนี้จะเกิดอะไรขึ้น

    แล้วเราก็จะร้องเรียนต่อไปที่สภาผู้แทนราษฎร ท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ สส.ทุกคน รวมทั้ง สว.ด้วย ชี้แจงให้ฟังว่า ถ้าท่านไม่ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขายชาติ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000118257

    #MGROnline #MOU44 #JC2544 #เกาะกูด #กัมพูชา #ไหล่ทวีป #พื้นที่ทับซ้อน #สนธิลิ้มทองกุล
    “สนธิ” ย้ำเอ็มโอยู44 คือเอ็มโอยูขายชาติ “ทักษิณ” จับมือ “ฮุนเซน” แบ่งปันผลประโยชน์โดยใช้ “สุรเกียรติ์” ที่อยากเป็นเลขาฯ ยูเอ็นเป็นคนลงนาม ลั่นสู้กับรัฐบาลโจรต้องรอบคอบ เป็นขั้นเป็นตอน อีก 15 วันจะทวงถามความคืบหน้า พร้อมยื่นประธานสภาฯ ให้เอาผิด สส.-สว.หากไม่ยอมยกเลิก จี้ กต.ยึดมั่นพระบรมราชโองการ หากทำสุดซอยแล้วยังไม่รู้เรื่องจึงจะลงถนน และสู้ครั้งนี้ต้องชนะลูกเดียว • วันนี้(9 ธ.ค.) ภายหลังจากนายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลชนจำนวนหนึ่ง ได้ยื่นหนังสือการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล โดยผ่านนายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อยกเลิกบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC2544) นายสนธิ ได้ให้สัมภาษณเกี่ยวกับแนวทางการเคลื่อนไหวต่อเนื่องหลังจากยื่นหนังสือแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ • “พี่น้องครับผมจะตอบคําถามว่า เราจะลงถนนเมื่อไหร่ พี่น้องครับ เวลาเราสู้กับรัฐบาลโจร เราต้องทํางานด้วยความรอบคอบ รอบคอบแปลว่าอะไร • ทําไมเราต้องมาร้องเรียนเรื่องนี้ เพราะเราร้องเรียนแล้วเราก็วางเอาไว้ด้วยว่าถ้าคุณไม่ทําวันนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับคุณ ถ้าคุณไม่ทําอันนี้จะเกิดอะไรขึ้น • แล้วเราก็จะร้องเรียนต่อไปที่สภาผู้แทนราษฎร ท่านวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ สส.ทุกคน รวมทั้ง สว.ด้วย ชี้แจงให้ฟังว่า ถ้าท่านไม่ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 ท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขายชาติ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000118257 • #MGROnline #MOU44 #JC2544 #เกาะกูด #กัมพูชา #ไหล่ทวีป #พื้นที่ทับซ้อน #สนธิลิ้มทองกุล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 925 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 มีนาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 ธันวาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000118115

    #MGROnline #MOU2544 #JC2544 #สนธิลิ้มทองกุล #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์
    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) • เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 มีนาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ • วันนี้ (9 ธันวาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000118115 • #MGROnline #MOU2544 #JC2544 #สนธิลิ้มทองกุล #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 542 มุมมอง 0 รีวิว
  • 30/11/67

    สงคราม 16 วัน จีนบุกโจมตีเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2521
    ความจริง ที่ต้องบอกต่อ...ให้ลูกหลาน ทั้งประเทศ ได้รับรู้ไว้
    หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ อันทันสมัยไว้มากมาย ทั้งเครื่องบินรบ รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธประจำกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกในขณะนั้น
    ทำให้กองทัพเวียดนามแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก
    ทหารเวียดนาม จึงมีความกระหายสงครามเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยึดลาว กัมพูชา และ ไทยต่อทันที ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งลาวและกัมพูชา ก็ตกเป็นของเวียดนาม
    นายพลโว เหงียนเกี๊ยบ ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเจ็บแค้นมาก ที่ไทยยอมให้สหรัฐอเมริกา มาตั้งฐานทัพ และใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินใน จ.อุบลราชธานี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามนับหมื่นเที่ยวบิน
    กองทัพเวียดนามขนอาวุธทุกชนิดที่มี รถถังจำนวนมาก มาประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร นายพลเวียดนามประกาศว่า จะนำทหารเข้าไปกินข้าวที่กรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 3 วัน
    นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกประชุมด่วน และขอให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่า เรากำลังจะถูกเวียดนามบุก
    สหรัฐอเมริกา ตอบกลับมาว่า ขอให้เราช่วยตัวเอง เพราะสหรัฐเพิ่งถอนทัพจากเวียดนาม ไม่อาจช่วยอะไรได้อีกต่อไป รัฐบาลไทย จึงได้ขอใช้อาวุธ ที่ยังตกค้างอยู่ที่ไทย สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้ไทยใช้อาวุธของอเมริกัน ที่ตกค้างจากสงครามและฝากเก็บไว้ในดินแดนไทย
    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เรียกประชุมผู้นำเหล่าทัพทันที และถามในที่ประชุมว่า ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ตอนนี้ เราจะสู้เวียดนามได้กี่วัน .... ผู้บัญชาการทหารของกองทัพไทยตอบว่าประมาณ 4 วัน (มากกว่าที่นายพลเวียดนามบอกไว้ 1 วัน)
    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ หันไปบอกกับพลเอกชาติชายที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า.....เราต้องรีบไปจีนด่วนที่สุด....
    หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำไทยก็ได้เข้าพบ “โจวเอินไหล” นายกรัฐมนตรีของจีน ประโยคแรก ที่โจวเอินไหล ทักทายพลเอกชาติชายคือ “เป็นไงบ้างหลานรัก” (พ่อของพลเอกชาติชาย คือ พลเอกผิน เป็นเพื่อนร่วมรบกับโจวเอินไหลในครั้งสงครามเชียงตุง)
    การเชื่อมความสัมพันธ์เป็นไปอย่างชี่นมื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไปให้ความสำคัญกับไต้หวันมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ รับรองไต้หวันเป็นประเทศ แต่โจว เอิน ไหลไม่คิดมาก และ ยังเปิดโอกาสให้ได้พบกับ “เหมาเจ๋อตุง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และ “เติ้ง เสี่ยวผิง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นผู้นำจีนรุ่นต่อไป
    เวียดนามวุ่นวายกับลาวและกัมพูชาอยู่ 2 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2521 เวียดนามยกกำลังพล 400,000 นาย พร้อมอาวุธทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เตรียมบุกไทย
    ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางไปจีน เพื่อขอความช่วยเหลือตามที่ มรว.คึกฤทธิ์ได้กรุยทางไว้
    เสนาธิการทหารของจีนประชุมกันและแนะนำว่า ควรปล่อยให้เวียดนามบุกเข้ายึดกรุงเทพฯ ก่อน แล้วค่อยส่งกองทัพจีนตามไปปลดแอกให้ แต่
    เติ้งเสี่ยวผิง ลุกขึ้นตบโต๊ะในที่ประชุม แล้วกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า "ช่วยเหลือมิตร ต้องช่วยให้ทันการณ์"
    เดือนพฤศจิกายน 2521 เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย และรีบกลับไปทันที หลังจากนั้น 2 เดือน ในเดือนมกราคม 2522 กองทัพจีนพร้อมกำลังพล 500,000 นาย รถถัง 5,000 คัน เครื่องบิน 1,200 ลำ ได้เปิดสงครามสั่งสอนเวียดนาม
    กองทัพจีน เข้าตีทางภาคเหนือของเวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามรีบถอนทัพที่ประชิดชายแดนไทย กลับไปรับศึกจีน จีนรุกไปถึงฮานอย จนทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ 50,000 นาย แต่ทหารจีนก็เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่ากัน
    เวียตนามเสียหายหนัก
    ทัพเวียตนามต้องถอยร่นถึงชานเมืองฮานอยโดยใช้เวลาทั้งหมดเพียง 16 วัน จีนจึงหยุดตีเวีนตนาม และถอนทัพกลับ

    ย้อนไปนานกว่านั้น เมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาอยุธยาแตกเสียกรุงให้พม่า
    ราชสำนักชิง รีบส่งข้าหลวง ลงเรือสำเภามาดูสถานการณ์ในไทย และ ให้รายงานต่อราชสำนักทางปักกิ่ง อยู่ตลอดเวลา ในบันทึกภาษาจีนเขียนไว้ว่า จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงประสงค์จะรู้ข่าวคราว ของสยามถึงขนาดกระวนกระวาย เรียกประชุมกลางดึกหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า จักรพรรดิจีนทรงให้ความสำคัญกับสยามเพียงใด
    ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิงได้บันทึกถึง ครั้งที่จีนยกทัพตีภาคเหนือของพม่าไว้ว่า ขณะที่กองทัพจีนบุกพม่า จักรพรรดิเฉียนหลง ได้ทรงติดต่อกับ “เจิ้งเจา” (สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) หลายครั้ง ดังนั้น
    ข้อสงสัยที่ว่า จีนยกทัพตีพม่า ก็เพื่อดึงทัพของเนเมียวสีหบดีกลับไป ย่อมจะเป็นจริงเพราะถ้าทัพใหญ่ของพม่า ยังคงอยู่ที่อยุธยา กองทัพพระเจ้าตากฯ ซึ่งมีทหารเพียงหลักพันนายเท่านั้น ย่อมไม่มีทางจะเอาชนะทหารพม่าที่มีเป็นหมื่นเป็นแสนได้เลย และ ชาติไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบันก็ได้
    ........ ตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจีนให้ความสำคัญกับไทยมากๆ ในฐานะมิตรประเทศที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น
    (ประเทศไทยมีคนจีนย้ายถิ่นฐานมาอาศัยมากที่สุดในโลก)
    นี่คือคุณูปการที่ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายทำเพื่อความอยู่รอดของเมืองไทย ที่คนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะเรียนรู้
    ไม่ต้องรบ สยบด้วยการฑูตประเสริฐที่สุด

    ประเทศจีนช่วยเหลือประเทศไทย
    ด้วยความจริงใจ ไม่เคยคาดหวังค่าตอบแทนจากไทย ยกเว้นมิตรภาพ
    ประเทศไทยมีชาวจีนอพยพ
    มาอาศัยมากทีีสุดในโลก
    มากกว่า มาเลเซีย
    มากกว่า สิงคโปร์
    มากกว่า อินโดนีเซีย
    ดังนั้น ไทยจึงเปรียบเสมือนน้องของจีน

    ขอขอบพระคุณ
    ทันตแพทย์ สม สุจีรา ครับ
    ที่ท่านนำสาระดีๆมาให้อ่าน

    ถ่ายทอดโดย
    นายบัวสอน ประชามอญ

    โปรดแชร์ต่อถ้าเห็นว่ามีสาระดี
    30/11/67 สงคราม 16 วัน จีนบุกโจมตีเวียดนาม เมื่อ พ.ศ.2521 ความจริง ที่ต้องบอกต่อ...ให้ลูกหลาน ทั้งประเทศ ได้รับรู้ไว้ หลังจากที่สหรัฐอเมริกาพ่ายแพ้สงครามเวียดนาม ทหารเวียดนามได้ยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ อันทันสมัยไว้มากมาย ทั้งเครื่องบินรบ รถถัง ปืนใหญ่ และอาวุธประจำกาย ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดของโลกในขณะนั้น ทำให้กองทัพเวียดนามแข็งแกร่งขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก ทหารเวียดนาม จึงมีความกระหายสงครามเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยึดลาว กัมพูชา และ ไทยต่อทันที ในเวลาเพียงไม่นาน ทั้งลาวและกัมพูชา ก็ตกเป็นของเวียดนาม นายพลโว เหงียนเกี๊ยบ ผู้บัญชาการกองทัพเวียดนามเจ็บแค้นมาก ที่ไทยยอมให้สหรัฐอเมริกา มาตั้งฐานทัพ และใช้เครื่องบินรบ บินขึ้นจากสนามบินอู่ตะเภา และสนามบินใน จ.อุบลราชธานี ขนระเบิดไปถล่มเวียดนามนับหมื่นเที่ยวบิน กองทัพเวียดนามขนอาวุธทุกชนิดที่มี รถถังจำนวนมาก มาประชิดชายแดนไทยเป็นแนวยาวหลายร้อยกิโลเมตร นายพลเวียดนามประกาศว่า จะนำทหารเข้าไปกินข้าวที่กรุงเทพฯ ให้ได้ภายใน 3 วัน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น คือหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกประชุมด่วน และขอให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาว่า เรากำลังจะถูกเวียดนามบุก สหรัฐอเมริกา ตอบกลับมาว่า ขอให้เราช่วยตัวเอง เพราะสหรัฐเพิ่งถอนทัพจากเวียดนาม ไม่อาจช่วยอะไรได้อีกต่อไป รัฐบาลไทย จึงได้ขอใช้อาวุธ ที่ยังตกค้างอยู่ที่ไทย สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้ไทยใช้อาวุธของอเมริกัน ที่ตกค้างจากสงครามและฝากเก็บไว้ในดินแดนไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เรียกประชุมผู้นำเหล่าทัพทันที และถามในที่ประชุมว่า ด้วยศักยภาพที่มีอยู่ตอนนี้ เราจะสู้เวียดนามได้กี่วัน .... ผู้บัญชาการทหารของกองทัพไทยตอบว่าประมาณ 4 วัน (มากกว่าที่นายพลเวียดนามบอกไว้ 1 วัน) หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ หันไปบอกกับพลเอกชาติชายที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า.....เราต้องรีบไปจีนด่วนที่สุด.... หลังจากนั้นไม่นาน ผู้นำไทยก็ได้เข้าพบ “โจวเอินไหล” นายกรัฐมนตรีของจีน ประโยคแรก ที่โจวเอินไหล ทักทายพลเอกชาติชายคือ “เป็นไงบ้างหลานรัก” (พ่อของพลเอกชาติชาย คือ พลเอกผิน เป็นเพื่อนร่วมรบกับโจวเอินไหลในครั้งสงครามเชียงตุง) การเชื่อมความสัมพันธ์เป็นไปอย่างชี่นมื่น ทั้งที่ก่อนหน้านั้นเราไปให้ความสำคัญกับไต้หวันมากกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ รับรองไต้หวันเป็นประเทศ แต่โจว เอิน ไหลไม่คิดมาก และ ยังเปิดโอกาสให้ได้พบกับ “เหมาเจ๋อตุง” ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ และ “เติ้ง เสี่ยวผิง” รองนายกรัฐมนตรี ผู้ซึ่งได้รับการวางตัวให้เป็นผู้นำจีนรุ่นต่อไป เวียดนามวุ่นวายกับลาวและกัมพูชาอยู่ 2 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2521 เวียดนามยกกำลังพล 400,000 นาย พร้อมอาวุธทันสมัยที่สุดในยุคนั้น เตรียมบุกไทย ทางรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันเอกชวลิต ยงใจยุทธ เดินทางไปจีน เพื่อขอความช่วยเหลือตามที่ มรว.คึกฤทธิ์ได้กรุยทางไว้ เสนาธิการทหารของจีนประชุมกันและแนะนำว่า ควรปล่อยให้เวียดนามบุกเข้ายึดกรุงเทพฯ ก่อน แล้วค่อยส่งกองทัพจีนตามไปปลดแอกให้ แต่ เติ้งเสี่ยวผิง ลุกขึ้นตบโต๊ะในที่ประชุม แล้วกล่าวด้วยเสียงอันดังว่า "ช่วยเหลือมิตร ต้องช่วยให้ทันการณ์" เดือนพฤศจิกายน 2521 เติ้งเสี่ยวผิง เดินทางมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย และรีบกลับไปทันที หลังจากนั้น 2 เดือน ในเดือนมกราคม 2522 กองทัพจีนพร้อมกำลังพล 500,000 นาย รถถัง 5,000 คัน เครื่องบิน 1,200 ลำ ได้เปิดสงครามสั่งสอนเวียดนาม กองทัพจีน เข้าตีทางภาคเหนือของเวียดนามอย่างรุนแรง เวียดนามรีบถอนทัพที่ประชิดชายแดนไทย กลับไปรับศึกจีน จีนรุกไปถึงฮานอย จนทหารเวียดนามเสียชีวิตประมาณ 50,000 นาย แต่ทหารจีนก็เสียชีวิตไปไม่น้อยกว่ากัน เวียตนามเสียหายหนัก ทัพเวียตนามต้องถอยร่นถึงชานเมืองฮานอยโดยใช้เวลาทั้งหมดเพียง 16 วัน จีนจึงหยุดตีเวีนตนาม และถอนทัพกลับ ย้อนไปนานกว่านั้น เมื่อครั้งปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาอยุธยาแตกเสียกรุงให้พม่า ราชสำนักชิง รีบส่งข้าหลวง ลงเรือสำเภามาดูสถานการณ์ในไทย และ ให้รายงานต่อราชสำนักทางปักกิ่ง อยู่ตลอดเวลา ในบันทึกภาษาจีนเขียนไว้ว่า จักรพรรดิเฉียนหลง ทรงประสงค์จะรู้ข่าวคราว ของสยามถึงขนาดกระวนกระวาย เรียกประชุมกลางดึกหลายครั้ง จะเห็นได้ว่า จักรพรรดิจีนทรงให้ความสำคัญกับสยามเพียงใด ในจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิงได้บันทึกถึง ครั้งที่จีนยกทัพตีภาคเหนือของพม่าไว้ว่า ขณะที่กองทัพจีนบุกพม่า จักรพรรดิเฉียนหลง ได้ทรงติดต่อกับ “เจิ้งเจา” (สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ) หลายครั้ง ดังนั้น ข้อสงสัยที่ว่า จีนยกทัพตีพม่า ก็เพื่อดึงทัพของเนเมียวสีหบดีกลับไป ย่อมจะเป็นจริงเพราะถ้าทัพใหญ่ของพม่า ยังคงอยู่ที่อยุธยา กองทัพพระเจ้าตากฯ ซึ่งมีทหารเพียงหลักพันนายเท่านั้น ย่อมไม่มีทางจะเอาชนะทหารพม่าที่มีเป็นหมื่นเป็นแสนได้เลย และ ชาติไทยก็อาจจะหายไปจากแผนที่โลกในปัจจุบันก็ได้ ........ ตลอดระยะเวลาเป็นร้อยๆปี ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าจีนให้ความสำคัญกับไทยมากๆ ในฐานะมิตรประเทศที่มีความผูกพันอย่างแนบแน่น (ประเทศไทยมีคนจีนย้ายถิ่นฐานมาอาศัยมากที่สุดในโลก) นี่คือคุณูปการที่ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายทำเพื่อความอยู่รอดของเมืองไทย ที่คนรุ่นหลังไม่สนใจที่จะเรียนรู้ ไม่ต้องรบ สยบด้วยการฑูตประเสริฐที่สุด ประเทศจีนช่วยเหลือประเทศไทย ด้วยความจริงใจ ไม่เคยคาดหวังค่าตอบแทนจากไทย ยกเว้นมิตรภาพ ประเทศไทยมีชาวจีนอพยพ มาอาศัยมากทีีสุดในโลก มากกว่า มาเลเซีย มากกว่า สิงคโปร์ มากกว่า อินโดนีเซีย ดังนั้น ไทยจึงเปรียบเสมือนน้องของจีน ขอขอบพระคุณ ทันตแพทย์ สม สุจีรา ครับ ที่ท่านนำสาระดีๆมาให้อ่าน ถ่ายทอดโดย นายบัวสอน ประชามอญ โปรดแชร์ต่อถ้าเห็นว่ามีสาระดี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1230 มุมมอง 0 รีวิว
  • งานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลสฤษดิ์จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ น.ร. ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๒ ภ.ป.ร. ๑ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี 175 วัน เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนเดียวที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง " พญาโศก " เป็นการไว้อาลัย และมีการประกาศไว้ทุกข์ 21 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2507 หลังมีพิธีศพ 100 วัน #จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ #นายกรัฐมนตรี
    งานพระราชทานเพลิงศพ จอมพลสฤษดิ์จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ น.ร. ป.จ. ส.ร. ม.ป.ช. ม.ว.ม. อ.ป.ร. ๒ ภ.ป.ร. ๑ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 11 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ด้วยโรคไตพิการเรื้อรัง และอีกหลายโรค สิริอายุ 55 ปี 175 วัน เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนเดียวที่ถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง ซึ่งหลังการเสียชีวิตสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยได้เปิดเพลง " พญาโศก " เป็นการไว้อาลัย และมีการประกาศไว้ทุกข์ 21 วัน มีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหารในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2507 หลังมีพิธีศพ 100 วัน #จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ #นายกรัฐมนตรี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 36 0 รีวิว