• หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลโปรยใบปลิวไปทั่วกาซา เนื้อหาในใบปลิวเป็นการกดดันให้ผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาทั้งหมดรีบตัดสินใจเดินทางออกไปจากสถานที่แห่งนี้ตามนโยบายการกวาดล้างของทรัมป์

    “ถึงประชาชนชาวฉนวนกาซา

    หลังจากมีข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว และก่อนที่จะมีการนำแผนบังคับของทรัมป์มาใช้ ซึ่งจะบังคับให้ต้องอพยพออกไป ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม

    เราขอแจ้งเตือนอีกเป็นครั้งสุดท้าย สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากเราเพื่อเดินทางออกไปจากที่นี่ เราพร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือ และขอให้รีบพิจารณาทางเลือกนี้

    แผนที่โลกจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ดินแดนฉนวนกาซาทั้งหมดไม่มีอยู่จริง ไม่มีใครสงสารพวกคุณ และไม่มีใครสนใจถามถึงพวกคุณ พวกคุณถูกปล่อยให้เผชิญกับชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพียงลำพัง

    อิหร่านยังไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ ไม่ต้องพูดถึงการปกป้องพวกคุณ พวกคุณได้เห็นด้วยตาตัวเองแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งอเมริกาและยุโรปต่างไม่มีใครสนใจฉนวนกาซา ประเทศอาหรับของพวกคุณที่คุณหวังพึงพวกเค้า ปัจจุบันคือเป็นพันธมิตรของเรา ที่คอยจัดหาเงิน น้ำมัน และอาวุธให้แก่เรา และส่งเพียงผ้าห่อศพมาให้คุณเท่านั้น

    เวลาเหลือไม่มาก เกมกำลังจะจบลงแล้ว ก่อนที่มันจะสายเกินไป พวกเราจะยังคงอยู่ที่นี่ เราจะอยู่จนถึงวันพิพากษาพวกคุณ”
    หน่วยงานความมั่นคงของอิสราเอลโปรยใบปลิวไปทั่วกาซา เนื้อหาในใบปลิวเป็นการกดดันให้ผู้อยู่อาศัยในฉนวนกาซาทั้งหมดรีบตัดสินใจเดินทางออกไปจากสถานที่แห่งนี้ตามนโยบายการกวาดล้างของทรัมป์ “ถึงประชาชนชาวฉนวนกาซา หลังจากมีข้อตกลงหยุดยิงชั่วคราว และก่อนที่จะมีการนำแผนบังคับของทรัมป์มาใช้ ซึ่งจะบังคับให้ต้องอพยพออกไป ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม เราขอแจ้งเตือนอีกเป็นครั้งสุดท้าย สำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากเราเพื่อเดินทางออกไปจากที่นี่ เราพร้อมจะเข้าไปช่วยเหลือ และขอให้รีบพิจารณาทางเลือกนี้ แผนที่โลกจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ดินแดนฉนวนกาซาทั้งหมดไม่มีอยู่จริง ไม่มีใครสงสารพวกคุณ และไม่มีใครสนใจถามถึงพวกคุณ พวกคุณถูกปล่อยให้เผชิญกับชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เพียงลำพัง อิหร่านยังไม่สามารถปกป้องตัวเองได้ ไม่ต้องพูดถึงการปกป้องพวกคุณ พวกคุณได้เห็นด้วยตาตัวเองแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งอเมริกาและยุโรปต่างไม่มีใครสนใจฉนวนกาซา ประเทศอาหรับของพวกคุณที่คุณหวังพึงพวกเค้า ปัจจุบันคือเป็นพันธมิตรของเรา ที่คอยจัดหาเงิน น้ำมัน และอาวุธให้แก่เรา และส่งเพียงผ้าห่อศพมาให้คุณเท่านั้น เวลาเหลือไม่มาก เกมกำลังจะจบลงแล้ว ก่อนที่มันจะสายเกินไป พวกเราจะยังคงอยู่ที่นี่ เราจะอยู่จนถึงวันพิพากษาพวกคุณ”
    Haha
    1
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 175 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    10
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1127 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานว่า การที่เซเลนสกีเดินทางมาที่ตุรกีครั้งนี้ เพื่อหวังโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีแอร์โดอัน หาทางเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงหยุดยิง หลังจากไม่สามารถพึ่งพาผู้นำประเทศในสหภาพยุโรปคนอื่นได้ โดยหวังว่าจะได้เงื่อนไขดีๆแบบข้อตกลงที่เคยทำกับรัสเซียเมื่อเกือบสามปีที่แล้ว ซึ่งในครั้งนั้นเซเลนสกีเป็นฝ่ายฉีกข้อตกลงทิ้งไปด้วยตัวเอง
    มีรายงานว่า การที่เซเลนสกีเดินทางมาที่ตุรกีครั้งนี้ เพื่อหวังโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีแอร์โดอัน หาทางเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงหยุดยิง หลังจากไม่สามารถพึ่งพาผู้นำประเทศในสหภาพยุโรปคนอื่นได้ โดยหวังว่าจะได้เงื่อนไขดีๆแบบข้อตกลงที่เคยทำกับรัสเซียเมื่อเกือบสามปีที่แล้ว ซึ่งในครั้งนั้นเซเลนสกีเป็นฝ่ายฉีกข้อตกลงทิ้งไปด้วยตัวเอง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว
  • 37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428

    📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ

    สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู

    🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯
    ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่

    - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว
    - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง

    ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง

    🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ
    "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

    ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว

    ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌
    ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน
    กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ

    🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530
    กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด

    ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531
    กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี
    แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก

    🕊️ เจรจาหยุดยิง
    💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน

    🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย

    ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร

    📉 ผลกระทบจากสงคราม
    💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
    - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย
    - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย

    💰 งบประมาณทางทหาร
    ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท

    🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว
    การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน

    🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่

    แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568

    🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    37 ปี ไทย-ลาว ประกาศหยุดยิง ยุติสมรภูมิบ้านร่มเกล้า สงครามบ่อแตน จุดพิพาทเนิน 1428 📅 ย้อนไปเมื่อ 37 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2531 นับเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย-ลาว เมื่อทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลง ประกาศหยุดยิงอย่างเป็นทางการ ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า หลังจากการสู้รบที่ยืดเยื้อ มาอย่างยาวนานถึง 19 วัน สาเหตุหลักมาจาก ข้อพิพาทเรื่องเขตแดน ที่นำไปสู่การปะทะกันอย่างรุนแรง ระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะบริเวณ นิน 1428 ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ สงครามครั้งนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจำนวนมาก ทั้งทหารและพลเรือน การเจรจาหยุดยิง นำไปสู่การตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจน แม้เวลาจะผ่านไป 37 ปี แต่ปัญหาเรื่อง พรมแดนไทย-ลาว บริเวณนี้ ก็ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศต้องจับตาดู 🔥 จุดเริ่มต้นของสงครามบ้านร่มเกล้า ข้อพิพาทเขตแดนไทย-ลาว 🎯 ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนไทย-ลาว มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาปักปันเขตแดนไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2450 (ค.ศ. 1907) ซึ่งกำหนดให้ใช้ "แม่น้ำเหือง" เป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับลาว ในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม ปัญหาคือ แม่น้ำเหืองมีสองสาย ได้แก่ - แม่น้ำเหืองป่าหมัน มีต้นกำเนิดจากภูสอยดาว - แม่น้ำเหืองงา มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ฝ่ายลาวยืนยันว่า "แม่น้ำเหืองป่าหมัน" ควรเป็นเส้นแบ่งพรมแดน แต่ฝ่ายไทยแย้งว่า สนธิสัญญากำหนดให้ใช้แม่น้ำ ที่มีต้นกำเนิดจากภูเมี่ยง ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำเหืองงา" ทำให้พื้นที่บ้านร่มเกล้า กลายเป็นพื้นที่พิพาทที่ ไทย-ลาว ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ครอบครอง 🏕️ บ้านร่มเกล้า จากหมู่บ้านม้ง สู่สมรภูมิรบ "บ้านร่มเกล้า" ตั้งอยู่บนแนวชายแดนไทย-ลาว ในเขตหมู่ที่ 8 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของชาวม้ง ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาชาติไทย ตามนโยบาย 66/23 ของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อมารัฐบาลไทย ให้สัมปทานป่าไม้ ในพื้นที่บ้านร่มเกล้า ทำให้ฝ่ายลาวมองว่า ไทยรุกล้ำเข้าไปในดินแดนของตน และเป็นการลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมาย จึงเกิดเหตุปะทะกันหลายครั้ง ระหว่างทหารพรานไทย กับกองกำลังลาว ⚔️ การสู้รบในสมรภูมิร่มเกล้า ปะทะครั้งใหญ่ 31 พฤษภาคม 2530 📌 ทหารลาวเข้าโจมตีแคมป์คนงานไทย ที่ทำสัมปทานป่าไม้ คนงานไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บหลายคน กองร้อยทหารพรานที่ 3405 เข้าช่วยเหลือ ทำให้เกิดการปะทะ หลังจากนั้น สถานการณ์เริ่มตึงเครียด กองทัพภาคที่ 3 ของไทย จึงส่งกำลังเสริม เพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติ 🚀 ยุทธการสอยดาว 01 และ 02 ช่วงปลายปี 2530 กองทัพไทยเปิดปฏิบัติการทางทหาร เต็มรูปแบบ ใช้ทหารราบ ทหารม้า ปืนใหญ่ และการโจมตีทางอากาศ เป้าหมายหลักคือ "เนิน 1428" ที่ทหารลาวยึดครอง อย่างไรก็ตาม เนิน 1428 อยู่ในตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่ได้เปรียบ ทำให้ไทยไม่สามารถบุกยึด ได้อย่างเด็ดขาด ✈️ รบหนักสุด 1-19 กุมภาพันธ์ 2531 กองทัพไทยระดมกำลังบุกเนิน 1428 โดยกองทัพอากาศไทย ส่งเครื่องบิน เอฟ-5 อี และโอวี-10 โจมตี แต่สูญเสียเครื่องบิน 2 ลำ ที่ถูกยิงตกโดยปืนต่อต้านอากาศยา นและจรวดแซม การรบยืดเยื้อนานถึง 19 วัน ทั้งสองฝ่ายสูญเสียหนัก 🕊️ เจรจาหยุดยิง 💬 11 กุมภาพันธ์ 2531 นายไกรสอน พรหมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาว ส่งสาส์นถึง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีไทย ขอให้หยุดยิง และตั้งคณะกรรมการพิสูจน์เขตแดน 🤝 16-17 กุมภาพันธ์ 2531 ไทยและลาวเจรจากัน ที่กองบัญชาการ กองทัพอากาศไทย ✍️ 19 กุมภาพันธ์ 2531 ไทย-ลาว ลงนามข้อตกลงหยุดยิง และตกลงให้ถอยจากแนวปะทะ ฝ่ายละ 3 กิโลเมตร 📉 ผลกระทบจากสงคราม 💀 จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ - ฝ่ายไทยเสียชีวิต 147 นาย บาดเจ็บกว่า 700 นาย - ฝ่ายลาวคาดว่าเสียชีวิต 300-400 นาย บาดเจ็บ 200-300 นาย 💰 งบประมาณทางทหาร ไทยใช้งบประมาณในสงครามนี้กว่า 3,000 ล้านบาท 🌍 ความสัมพันธ์ไทย-ลาว การรบทำให้ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ตกต่ำที่สุดในยุคนั้น แม้จะหยุดยิง แต่ปัญหาพรมแดน ยังคงไม่ได้ข้อยุติ จนถึงปัจจุบัน 🏛️ สมรภูมิบ้านร่มเกล้า เป็นหนึ่งในสงคราม ที่สะท้อนให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาพรมแดน ที่มีรากเหง้ามาจาก สนธิสัญญาทางประวัติศาสตร์ และความแตกต่างในการตีความแผนที่ แม้สงครามจะจบลงแล้ว แต่ประเด็นเรื่องพรมแดนไทย-ลาว ยังคงเป็นประเด็นละเอียดอ่อน ที่ทั้งสองประเทศ ต้องหารือร่วมกันต่อไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ซ้ำรอยอีกในอนาคต ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 190937 ก.พ. 2568 🔗#ไทยลาว #สงครามบ้านร่มเกล้า #สงครามบ่อแตน #พรมแดนไทยลาว #เนิน1428 #หยุดยิง #ความสัมพันธ์ไทยลาว #ประวัติศาสตร์ไทย #สงครามเย็น #สมรภูมิร่มเกล้า 🎖️
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 152 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1284 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1263 มุมมอง 0 รีวิว
  • แหล่งข่าวทางการทูตต่างประเทศหลายแห่งที่ใกล้ชิดกับการเจรจาระบุว่ามีการกำหนดแผนสันติภาพ 3 ขั้นตอนกว้างๆไว้ดังนี้:

    1: การหยุดยิง
    2: กำหนดให้มีการเลือกตั้งในยูเครน และทรัมป์ต้องพร้อมยอมรับผลการเลือกตั้ง
    3: หลังจากนั้นจะเข้าสู่ข้อตกลงในขั้นสุดท้าย
    แหล่งข่าวทางการทูตต่างประเทศหลายแห่งที่ใกล้ชิดกับการเจรจาระบุว่ามีการกำหนดแผนสันติภาพ 3 ขั้นตอนกว้างๆไว้ดังนี้: 1: การหยุดยิง 2: กำหนดให้มีการเลือกตั้งในยูเครน และทรัมป์ต้องพร้อมยอมรับผลการเลือกตั้ง 3: หลังจากนั้นจะเข้าสู่ข้อตกลงในขั้นสุดท้าย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 143 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทหารอิสราเอลเพิ่งอัปโหลดวิดีโอลงในโซเชียลมีเดียเมื่อวานนี้ โดยไม่มีความเกรงกลัว แม้ว่ายังอยู่ระหว่างข้อตดลงหยุดยิง ภาพวิดีโอเผยให้เห็นทหารอิสราเอลกำลังยิงสุ่มโดยไร้เป้าหมายเข้าไปในพื้นที่ฉนวนกาซา ซึ่งเป็นพื้นที่พลเรือน

    ขณะที่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหลายรายในฉนวนกาซาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจากการกระทำในลักษณะที่คล้ายกันจากฝีมือของทหารอิสราเอล
    ทหารอิสราเอลเพิ่งอัปโหลดวิดีโอลงในโซเชียลมีเดียเมื่อวานนี้ โดยไม่มีความเกรงกลัว แม้ว่ายังอยู่ระหว่างข้อตดลงหยุดยิง ภาพวิดีโอเผยให้เห็นทหารอิสราเอลกำลังยิงสุ่มโดยไร้เป้าหมายเข้าไปในพื้นที่ฉนวนกาซา ซึ่งเป็นพื้นที่พลเรือน ขณะที่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหลายรายในฉนวนกาซาในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาจากการกระทำในลักษณะที่คล้ายกันจากฝีมือของทหารอิสราเอล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 157 มุมมอง 10 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป
    .
    ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.)
    .
    "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว
    .
    ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014
    .
    ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด"
    .
    คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย
    .
    ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ"
    .
    เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา"
    .
    ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน"
    .
    ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน
    .
    เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป . ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) . "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว . ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014 . ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด" . คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย . ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ" . เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา" . ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน" . ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน . เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1339 มุมมอง 1 รีวิว
  • ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในการการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน ภายในวันอีสเตอร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เม.ย.

    บลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวใกล้ชิด
    ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงในการการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซียและยูเครน ภายในวันอีสเตอร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เม.ย. บลูมเบิร์กรายงานโดยอ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวใกล้ชิด
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 122 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลาโหมอิสราเอลประกาศ ได้รับระเบิดทำลายล้างสูง MK-84 จำนวน 2,000 ลูก จากสหรัฐแล้ว

    ขณะที่ฮามาสประณามอิสราเอล จากการสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจของฮามาส 3 นาย ในเมืองราฟาห์ ทางกาซาตอนใต้ ถือเป็นการระเมิดหยุดยิงอย่างร้ายแรง
    กลาโหมอิสราเอลประกาศ ได้รับระเบิดทำลายล้างสูง MK-84 จำนวน 2,000 ลูก จากสหรัฐแล้ว ขณะที่ฮามาสประณามอิสราเอล จากการสังหารเจ้าหน้าที่ตำรวจของฮามาส 3 นาย ในเมืองราฟาห์ ทางกาซาตอนใต้ ถือเป็นการระเมิดหยุดยิงอย่างร้ายแรง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 132 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
    .
    ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
    .
    ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
    .
    ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
    .
    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
    .
    ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
    .
    รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
    .
    ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
    .
    ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    .
    การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
    .
    เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
    .
    ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
    .
    นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
    .
    กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
    ..............
    Sondhi X
    ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้ . ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ . ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย . ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง . ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ . ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ . รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น” . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน . ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป . ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง . การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน . เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม . ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน . นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต . กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1089 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลอีก 3 รายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) แลกกับการที่อิสราเอลปล่อยตัวผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ราวๆ 369 คน เสร็จสิ้นการแลกตัวรอบที่ 6 แม้มีความกังวลว่าข้อตกลงหยุดยิงกาซาที่เปราะบางอย่างมาก ใกล้พังครืนลง ท่ามกลางเส้นตายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตือน "นรกแตก" หากไม่ปล่อยตัวประกันทั้งหมด
    .
    ผู้สื่อข่าวพบเห็นกลุ่มมือปืนฮามาสที่สวมหน้ากาก พาตัวประกันขึ้นไปบนเวทีหนึ่ง ในเมืองข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา หลังจากนั้นตัวประกันทั้ง 3 คน ที่ประกอบด้วย ซากุย เดเคล-เชิน ชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล ชาซา ทรูปานอฟ ชาวรัสเซียเชื้อสายอิสราเอล และยาอีร์ ฮอร์น ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิสราเอล ได้ทำการแถลงผ่านไมโครโฟน ก่อนมีการส่งมอบตัวแก่สภากาชาดและจากนั้นก็ถูกนำกลับสู่ดินแดนอิสราเอล หลังถูกควบคุมตัวนานกว่า 16 เดือน
    .
    ตัวประกันชายทั้ง 3 คน ในมือกุมถุงของขวัญที่ได้รับจากพวกที่ควบคุมตัวและขนาบข้างด้วยพวกนักรบ ได้เรียกร้องให้เดินหน้าการแลกตัวประกันเพิ่มเติมให้เสร็จสมบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิง
    .
    ไม่นานหลังจากนั้น อีกด้านหนึ่งรถบัสขนผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ ก็ออกจากเรือนจำโอเฟอร์ของอิสราเอล และได้รับเสียงเชียร์ต้อนรับจากฝูงชน หลังเดินทางมาถึงเมืองรามัลเลาะห์ ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ ตามรายงานของเอเอฟพี ขณะเดียวกันรถบัสบางส่วนได้นำพานักโทษจากเรือนจำแห่งหนึ่งของอิสราเอล ในทะเลทรายเนเกฟ ไปยังฉนวนกาซา
    .
    การแลกเปลี่ยนในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ถือเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคม ขณะที่มันเกิดขึ้นหลังจากฮามาสขู่ระงับการปล่อยตัวประกัน จากคำกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลง กระตุ้นให้ทางอิสราเอลขู่ว่าจะกลับมาทำสงครามหากว่าฮามาสทำเช่นนั้น
    .
    ในบรรดาตัวประกัน 251 คน ที่ถูกพวกฮามาสจับตัวไประหว่างปฏิบัติการจู่โจมเล่นงานอิสราเอลสายฟ้าแลบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โหมกระพือสงคราม เหลืออีก 70 คนที่ยังอยู่ในกาซา ในนั้นรวมถึง 35 ราย ที่ทางกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว
    .
    ความเคลื่อนไหวปล่อยตัวล่าสุด นำมาเสียงน้ำตาแห่งความยินดีของเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวของตัวประกัน
    .
    หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนที่ได้รับการปล่อยตัวจากอิสราเอล ได้เดินทางถึงข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ระหว่างนั้นพวกเขาชู 2 นิ้วและโบกไม้โบกมือให้ฝูงชนที่ออกมารอต้อนรับด้วยความยินดี
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มทนายความองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Palestinian Prisoners' Club พบว่าในบรรดาผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้น มีอยู่ 36 คน ที่โดนลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในนั้น 24 คน จะถูกเนรเทศภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง
    .
    คาดหมายว่าการเจรจาในขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งมีเจตนาวางกรอบก้าวย่างต่างๆ สำหรับหยุดสงครามอย่างถาวร จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า
    .
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ชาติผู้สนับสนุนรายสำคัญของอิสราเอลและหนึ่งในชาติคนกลางการเจรจา ได้เดินทางถึงอิสราเอลในช่วงค่ำวันเสาร์ (15 ก.พ.) ก่อนมีกำหนดเข้าพบปะหารือกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง
    .
    เนทันยาฮู ขอบคุณประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (15 ก.พ.) สำหรับแรงสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับฮามาส ในสัปดาห์นี้
    .
    คำขอบคุณนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ เตือนว่าทุกขุมนรกจะแตกออกหากว่าตัวประกันอิสราเอลทุกคนไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากกาซา ภยในเที่ยงวันของวันเสาร์ (15 ก.พ.)
    .
    "จุดยืนหนักแน่นของประธานาธิบดีทรัมป์ นำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันของเรา 3 คนในวันนี้ แม้ก่อนหน้านี้ ฮามาส เคยปฏิเสธปล่อยตัวพวกเขา" ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเนทันยาฮูกล่าว ในขณะที่ ฮาเซม กัสเซม โฆษกของพวกฮามาส บอกว่าอเมริกา "ต้องบีบบังคับ" ให้อิสราเอลยึดถือข้อตกลงหยุดยิง "หากว่าพวกเขาแคร์อย่างแท้จริงเกี่ยวกับชีวิตของนักโทษ (ตัวประกัน)"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015319
    ..................
    Sondhi X
    ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลอีก 3 รายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) แลกกับการที่อิสราเอลปล่อยตัวผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ราวๆ 369 คน เสร็จสิ้นการแลกตัวรอบที่ 6 แม้มีความกังวลว่าข้อตกลงหยุดยิงกาซาที่เปราะบางอย่างมาก ใกล้พังครืนลง ท่ามกลางเส้นตายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่เตือน "นรกแตก" หากไม่ปล่อยตัวประกันทั้งหมด . ผู้สื่อข่าวพบเห็นกลุ่มมือปืนฮามาสที่สวมหน้ากาก พาตัวประกันขึ้นไปบนเวทีหนึ่ง ในเมืองข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา หลังจากนั้นตัวประกันทั้ง 3 คน ที่ประกอบด้วย ซากุย เดเคล-เชิน ชาวอเมริกันเชื้อสายอิสราเอล ชาซา ทรูปานอฟ ชาวรัสเซียเชื้อสายอิสราเอล และยาอีร์ ฮอร์น ชาวอาร์เจนตินาเชื้อสายอิสราเอล ได้ทำการแถลงผ่านไมโครโฟน ก่อนมีการส่งมอบตัวแก่สภากาชาดและจากนั้นก็ถูกนำกลับสู่ดินแดนอิสราเอล หลังถูกควบคุมตัวนานกว่า 16 เดือน . ตัวประกันชายทั้ง 3 คน ในมือกุมถุงของขวัญที่ได้รับจากพวกที่ควบคุมตัวและขนาบข้างด้วยพวกนักรบ ได้เรียกร้องให้เดินหน้าการแลกตัวประกันเพิ่มเติมให้เสร็จสมบูรณ์ ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิง . ไม่นานหลังจากนั้น อีกด้านหนึ่งรถบัสขนผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์ ก็ออกจากเรือนจำโอเฟอร์ของอิสราเอล และได้รับเสียงเชียร์ต้อนรับจากฝูงชน หลังเดินทางมาถึงเมืองรามัลเลาะห์ ในเขตยึดครองเวสต์แบงก์ ตามรายงานของเอเอฟพี ขณะเดียวกันรถบัสบางส่วนได้นำพานักโทษจากเรือนจำแห่งหนึ่งของอิสราเอล ในทะเลทรายเนเกฟ ไปยังฉนวนกาซา . การแลกเปลี่ยนในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ถือเป็นครั้งที่ 6 นับตั้งแต่ข้อตกลงหยุดยิงมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคม ขณะที่มันเกิดขึ้นหลังจากฮามาสขู่ระงับการปล่อยตัวประกัน จากคำกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลง กระตุ้นให้ทางอิสราเอลขู่ว่าจะกลับมาทำสงครามหากว่าฮามาสทำเช่นนั้น . ในบรรดาตัวประกัน 251 คน ที่ถูกพวกฮามาสจับตัวไประหว่างปฏิบัติการจู่โจมเล่นงานอิสราเอลสายฟ้าแลบ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 โหมกระพือสงคราม เหลืออีก 70 คนที่ยังอยู่ในกาซา ในนั้นรวมถึง 35 ราย ที่ทางกองทัพอิสราเอลเชื่อว่าเสียชีวิตแล้ว . ความเคลื่อนไหวปล่อยตัวล่าสุด นำมาเสียงน้ำตาแห่งความยินดีของเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวของตัวประกัน . หลังจากนั้นในวันเดียวกัน ชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคนที่ได้รับการปล่อยตัวจากอิสราเอล ได้เดินทางถึงข่าน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ระหว่างนั้นพวกเขาชู 2 นิ้วและโบกไม้โบกมือให้ฝูงชนที่ออกมารอต้อนรับด้วยความยินดี . อ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มทนายความองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Palestinian Prisoners' Club พบว่าในบรรดาผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้น มีอยู่ 36 คน ที่โดนลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในนั้น 24 คน จะถูกเนรเทศภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง . คาดหมายว่าการเจรจาในขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ซึ่งมีเจตนาวางกรอบก้าวย่างต่างๆ สำหรับหยุดสงครามอย่างถาวร จะเริ่มขึ้นในสัปดาห์หน้า . มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ชาติผู้สนับสนุนรายสำคัญของอิสราเอลและหนึ่งในชาติคนกลางการเจรจา ได้เดินทางถึงอิสราเอลในช่วงค่ำวันเสาร์ (15 ก.พ.) ก่อนมีกำหนดเข้าพบปะหารือกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เกี่ยวกับข้อตกลงหยุดยิง . เนทันยาฮู ขอบคุณประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (15 ก.พ.) สำหรับแรงสนับสนุนอย่างเต็มกำลัง ท่ามกลางการเผชิญหน้ากับฮามาส ในสัปดาห์นี้ . คำขอบคุณนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ เตือนว่าทุกขุมนรกจะแตกออกหากว่าตัวประกันอิสราเอลทุกคนไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจากกาซา ภยในเที่ยงวันของวันเสาร์ (15 ก.พ.) . "จุดยืนหนักแน่นของประธานาธิบดีทรัมป์ นำมาซึ่งการปล่อยตัวประกันของเรา 3 คนในวันนี้ แม้ก่อนหน้านี้ ฮามาส เคยปฏิเสธปล่อยตัวพวกเขา" ทำเนียบนายกรัฐมนตรีของเนทันยาฮูกล่าว ในขณะที่ ฮาเซม กัสเซม โฆษกของพวกฮามาส บอกว่าอเมริกา "ต้องบีบบังคับ" ให้อิสราเอลยึดถือข้อตกลงหยุดยิง "หากว่าพวกเขาแคร์อย่างแท้จริงเกี่ยวกับชีวิตของนักโทษ (ตัวประกัน)" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015319 .................. Sondhi X
    Like
    Love
    Wow
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1396 มุมมอง 0 รีวิว
  • รองประธานาธิบดีสหรัฐ เจดี แวนซ์ เตือนปูตินว่า หากไม่ยอมรับข้อตกลงหยุดยิง สหรัฐจะดำเนินการคว่ำบาตรต่อรัสเซียอย่างรุนแรง และอาจจะ "ดำเนินการทางทหาร" โดยการส่งกองกำลังสหรัฐไปยูเครนโดยตรง

    แวนซ์กล่าวว่า ทางเลือกในการส่งทหารสหรัฐไปยูเครน "ยังอยู่บนโต๊ะ" ซึ่งบ่งชี้ว่ามันอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

    แวนซ์ยังกล่าวอีกว่า "มีเครื่องมือทางเศรษฐกิจอีกมากที่สามารถใช้กดดันรัสเซีย"
    รองประธานาธิบดีสหรัฐ เจดี แวนซ์ เตือนปูตินว่า หากไม่ยอมรับข้อตกลงหยุดยิง สหรัฐจะดำเนินการคว่ำบาตรต่อรัสเซียอย่างรุนแรง และอาจจะ "ดำเนินการทางทหาร" โดยการส่งกองกำลังสหรัฐไปยูเครนโดยตรง แวนซ์กล่าวว่า ทางเลือกในการส่งทหารสหรัฐไปยูเครน "ยังอยู่บนโต๊ะ" ซึ่งบ่งชี้ว่ามันอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แวนซ์ยังกล่าวอีกว่า "มีเครื่องมือทางเศรษฐกิจอีกมากที่สามารถใช้กดดันรัสเซีย"
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกีกำลังเดินทางไปมิวนิก ประเทศเยอรมัน เขากำลังพยายามอย่างหนักร่วมกับยุโรปเพื่อต้องการมีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพในยูเครน หลังจากที่ทรัมป์โทรศัพท์หาปูติน เพื่อเริ่มขั้นตอนเจรจาหยุดยิงในยูเครน โดยไม่มีการแจ้งต่อเซเลนสกีก่อน

    ที่ผ่านมา รัสเซียบอกมาตลอดว่า จะเจรจากับสหรัฐเท่านั้น เพราะสหรัฐคือผู้สั่งการโดยตรงของยูเครน
    เซเลนสกีกำลังเดินทางไปมิวนิก ประเทศเยอรมัน เขากำลังพยายามอย่างหนักร่วมกับยุโรปเพื่อต้องการมีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพในยูเครน หลังจากที่ทรัมป์โทรศัพท์หาปูติน เพื่อเริ่มขั้นตอนเจรจาหยุดยิงในยูเครน โดยไม่มีการแจ้งต่อเซเลนสกีก่อน ที่ผ่านมา รัสเซียบอกมาตลอดว่า จะเจรจากับสหรัฐเท่านั้น เพราะสหรัฐคือผู้สั่งการโดยตรงของยูเครน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 421 มุมมอง 18 0 รีวิว
  • สรุปข่าวรัสเซีย-ยูเครน:

    - เซเลนสกีกล่าวกับ The Guardian ว่า ยินดีแลกเปลี่ยนดินแดนส่วนหนึ่งในภูมิภาคเคิร์สก์ (Kursk) ที่ยูเครนยึดครองอยู่ กับภูมิภาคที่รัสเซียยึดได้ แต่เซเลนสกียังไม่ได้ระบุว่าจะเป็นภูมิภาคใด คือ โดเนตสก์(Donetsk) ลูฮันสก์(Luhansk) ซาโปริซเซีย(Zaporozhye) และเคอร์ซอน (Kherson)

    - ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเซเลนสกีให้สัมภาษณ์ The Guardian กองทัพรัสเซียโจมตียูเครนอย่างหนักด้วยขีปนาวุธหลายสิบลูก รวมทั้งโดรนอีกหลายสิบลำ สร้างความเสียหายอย่างมาก บ่งชี้ว่ารัสเซียไม่สนใจข้อเสนอการแลกเปลี่ยนดินแดนของเซเลนสกีแต่อย่างใด

    - "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาตอบโต้เซเลนสกีทันทีว่า ให้เลิกพูดถึงการแลกเปลี่ยนดังกล่าว เพราะรัสเซียจะไม่มีทางคุยเรื่องนี้ และจะไม่พูดถึงประเด็นการแลกเปลี่ยนดินแดนอย่างเด็ดขาด ซึ่งมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้

    - ประธานาธิบดีทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความระบุว่าเขาได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินนานกว่า 90 นาที และทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรยุติการสูญเสียชีวิตผู้คนที่กำลังเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าการเจรจายุติสงครามอาจเกิดขึ้นในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังมีการตกลงกันว่าจะมีการเยือนกันระหว่างสองประเทศ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลา

    - หลังจากนั้น ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ต่อสายโทรศัพท์หาเซเลนสกี เพื่อบอกรายละเอียดที่จำเป็นให้เขาทราบ และเน้นไปที่การประชุมในมิวนิกที่ประเทศเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์นี้ ซึ่งรองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ และรัฐมนตรีต่างประเทศมาร์โก รูบิโอ จะเป็นผู้นำคณะผู้แทน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสงครามยูเครน-รัสเซีย

    - ก่อนหน้านี้ เซเลนสกีต้องการให้ทรัมป์ต่อสายคุยกับเขาก่อน แล้วจึงคุยกับประธานาธิบดีปูติน แต่ทรัมป์กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง

    - อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ

    - รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ พีต เฮกเซธ กล่าวในการประชุมกลาโหมที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม : "สหรัฐไม่เชื่อว่าการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนจะเป็นไปได้จากการเจรจาที่กำลังจะมีขึ้น"



    ข่าวอื่นๆ:
    - โฆษกฮามาสออกมาประกาศจะไม่ปล่อยตัวประกันในวันเสาร์นี้ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่าในกาซา "นรกจะแตก" หากฮามาสละเมิดข้อตกลง

    - เนทันยาฮู เตรียมประกาศยุติข้อตกลงหยุดยิง และสั่งกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมกาซา โดยเฉพาะทางเหนือ เพื่อเตรียมตัวบุก หากพ้นกำหนดเส้นตายเที่ยงวันเสาร์ ที่ฮามาสต้องส่งมอบตัวประกันตามกำหนด

    - วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติรับรอง “ทัลซี แกบบาร์ด” (Tulsi Gabbard) เป็นผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) เมื่อปี 2020 ฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวหา Tulsi Gabbard ว่าเป็นผู้ปกป้องเผด็จการและเป็นหุ่นเชิดของรัสเซีย หลังจากนั้น 4 ปีต่อมา วุฒิสภาสหรัฐได้แต่งตั้งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิดของปูตินให้รับผิดชอบหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ

    - The Wall Street Journal รายงานว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐมีข้อมูลว่าอิสราเอลกำลังวางแผนโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่านครั้งใหญ่ในปีนี้ (อิหร่านและรัสเซียเพิ่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน รวมทั้งความมั่นคงและการทหาร เปรียบได้กับมาตรา 5 ของนาโต้)

    - กองทัพอียิปต์สั่งการให้ในภูมิภาคไซนาย(ติดกับอิสราเอล)ยกระดับความพร้อมรบขั้นสูงสุด

    - จีนจัดการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศรอบเกาะไต้หวันครั้งใหญ่ หลังจากสหรัฐส่งเรือรบ 2 ลำ ผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
    สรุปข่าวรัสเซีย-ยูเครน: - เซเลนสกีกล่าวกับ The Guardian ว่า ยินดีแลกเปลี่ยนดินแดนส่วนหนึ่งในภูมิภาคเคิร์สก์ (Kursk) ที่ยูเครนยึดครองอยู่ กับภูมิภาคที่รัสเซียยึดได้ แต่เซเลนสกียังไม่ได้ระบุว่าจะเป็นภูมิภาคใด คือ โดเนตสก์(Donetsk) ลูฮันสก์(Luhansk) ซาโปริซเซีย(Zaporozhye) และเคอร์ซอน (Kherson) - ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเซเลนสกีให้สัมภาษณ์ The Guardian กองทัพรัสเซียโจมตียูเครนอย่างหนักด้วยขีปนาวุธหลายสิบลูก รวมทั้งโดรนอีกหลายสิบลำ สร้างความเสียหายอย่างมาก บ่งชี้ว่ารัสเซียไม่สนใจข้อเสนอการแลกเปลี่ยนดินแดนของเซเลนสกีแต่อย่างใด - "ดมิทรี เปสคอฟ" (Dmitry Peskov) โฆษกทำเนียบเครมลิน ออกมาตอบโต้เซเลนสกีทันทีว่า ให้เลิกพูดถึงการแลกเปลี่ยนดังกล่าว เพราะรัสเซียจะไม่มีทางคุยเรื่องนี้ และจะไม่พูดถึงประเด็นการแลกเปลี่ยนดินแดนอย่างเด็ดขาด ซึ่งมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ - ประธานาธิบดีทรัมป์ แห่งสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความระบุว่าเขาได้สนทนาทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีปูตินนานกว่า 90 นาที และทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรยุติการสูญเสียชีวิตผู้คนที่กำลังเกิดขึ้นในสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทรัมป์ยังกล่าวอีกว่าการเจรจายุติสงครามอาจเกิดขึ้นในประเทศซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังมีการตกลงกันว่าจะมีการเยือนกันระหว่างสองประเทศ แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลา - หลังจากนั้น ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ต่อสายโทรศัพท์หาเซเลนสกี เพื่อบอกรายละเอียดที่จำเป็นให้เขาทราบ และเน้นไปที่การประชุมในมิวนิกที่ประเทศเยอรมันที่จะจัดขึ้นในวันศุกร์นี้ ซึ่งรองประธานาธิบดี เจ.ดี. แวนซ์ และรัฐมนตรีต่างประเทศมาร์โก รูบิโอ จะเป็นผู้นำคณะผู้แทน เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดของสงครามยูเครน-รัสเซีย - ก่อนหน้านี้ เซเลนสกีต้องการให้ทรัมป์ต่อสายคุยกับเขาก่อน แล้วจึงคุยกับประธานาธิบดีปูติน แต่ทรัมป์กลับทำในสิ่งตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง - อังกฤษประกาศมอบเงินช่วยเหลือทางทหาร 150 ล้านปอนด์แก่ยูเครน ซึ่งประกอบด้วยโดรนหลายพันลำ รถถังรบหลายสิบคัน ยานเกราะ และระบบป้องกันภัยทางอากาศ - รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ พีต เฮกเซธ กล่าวในการประชุมกลาโหมที่สำนักงานใหญ่นาโต้ กรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของประเทศเบลเยียม : "สหรัฐไม่เชื่อว่าการเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนจะเป็นไปได้จากการเจรจาที่กำลังจะมีขึ้น" ข่าวอื่นๆ: - โฆษกฮามาสออกมาประกาศจะไม่ปล่อยตัวประกันในวันเสาร์นี้ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่าในกาซา "นรกจะแตก" หากฮามาสละเมิดข้อตกลง - เนทันยาฮู เตรียมประกาศยุติข้อตกลงหยุดยิง และสั่งกองกำลังอิสราเอลปิดล้อมกาซา โดยเฉพาะทางเหนือ เพื่อเตรียมตัวบุก หากพ้นกำหนดเส้นตายเที่ยงวันเสาร์ ที่ฮามาสต้องส่งมอบตัวประกันตามกำหนด - วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติรับรอง “ทัลซี แกบบาร์ด” (Tulsi Gabbard) เป็นผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (Director of National Intelligence) เมื่อปี 2020 ฮิลลารี คลินตัน ได้กล่าวหา Tulsi Gabbard ว่าเป็นผู้ปกป้องเผด็จการและเป็นหุ่นเชิดของรัสเซีย หลังจากนั้น 4 ปีต่อมา วุฒิสภาสหรัฐได้แต่งตั้งคนที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นหุ่นเชิดของปูตินให้รับผิดชอบหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ - The Wall Street Journal รายงานว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐมีข้อมูลว่าอิสราเอลกำลังวางแผนโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่านครั้งใหญ่ในปีนี้ (อิหร่านและรัสเซียเพิ่งลงนามข้อตกลงความร่วมมือที่ครอบคลุมรอบด้าน รวมทั้งความมั่นคงและการทหาร เปรียบได้กับมาตรา 5 ของนาโต้) - กองทัพอียิปต์สั่งการให้ในภูมิภาคไซนาย(ติดกับอิสราเอล)ยกระดับความพร้อมรบขั้นสูงสุด - จีนจัดการซ้อมรบทางทะเลและทางอากาศรอบเกาะไต้หวันครั้งใหญ่ หลังจากสหรัฐส่งเรือรบ 2 ลำ ผ่านช่องแคบไต้หวันเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 244 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิสราเอลขู่เปิดการถล่มโจมตีขึ้นใหม่ในกาซา หากไม่มีการปล่อยตัวประกันภายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะที่ฮามาสยันยังยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง และโทษรัฐยิวเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง ขณะในอีกด้านหนึ่ง ทรัมป์ยังคงยืนกรานอ้างลอยๆ ว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้ายึดครองฉนวนกาซา รวมทั้งย้ายชาวปาเลสไตน์ออกไปเป็นการถาวร แม้ล่าสุดถูกคัดค้านจากกษัตริย์จอร์แดนซึ่งเดินทางไปเยือนทำเนียบขาว ส่วนอียิปต์เตรียมเสนอแผนระดมพันธมิตรในตะวันออกกลางฟื้นฟูกาซาร่วมกับวอชิงตัน โดยที่ไม่มีการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์หนีไปไหน
    .
    ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงล่าสุดที่ดำเนินมาหลายอาทิตย์แล้ว ตัวประกันอิสราเอลจะได้รับการปล่อยตัวทุกสัปดาห์ แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ โดยนับจากวันที่ 19 ม.ค. มีการปล่อยตัวประกันแล้ว 16 คน จาก 33 คนตามข้อตกลงหยุดยิงเฟสแรกที่กินเวลา 42 วัน และอิสราเอลปล่อยนักโทษปาเลสไตน์หลายร้อยคนเป็นการแลกเปลี่ยน ทว่า ข้อตกลงนี้กำลังสั่นคลอนอย่างหนักในช่วงหลายวันที่ผ่านมา
    .
    เมื่อวันอังคาร (11) นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ยื่นคำขาดว่า ถ้าฮามาสไม่ปล่อยตัวประกันภายในเที่ยงวันเสาร์ จะถือว่าข้อตกลงหยุดยิงสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับไปโจมตีกาซาอย่างหนักหน่วงจนกว่าฮามาสแพ้ราบคาบ
    .
    เนทันยาฮูเสริมว่า สั่งการให้กองทัพระดมทหารเตรียมพร้อมทั้งภายในและรอบๆ กาซาแล้ว และหลังจากนั้นไม่นานกองทัพอิสราเอลแถลงว่า ได้ส่งกำลังไปเพิ่มทางใต้ของประเทศ ซึ่งรวมถึงการเรียกทหารกองหนุนเข้าประจำการ ขณะที่ครอบครัวตัวประกันพากันชุมนุมหน้าสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง
    .
    ก่อนหน้านี้ เมื่อวันจันทร์ (10) กองกำลัง เอซเซดีน อัล-กัสซัม ซึ่งเป็นส่วนกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มฮามาส ประกาศจะเลื่อนการปล่อยตัวประกันชุดต่อไปที่เดิมกำหนดไว้ในวันเสาร์นี้ โดยกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลงทั้งในส่วนความช่วยเหลือ และการเสียชีวิตของชาวกาซา 3 คนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่สำทับว่า พร้อมปล่อยตัวประกันตามกำหนด หากอิสราเอลปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงหยุดยิง
    .
    ทว่า อิสราเอลยืนยันว่า ไม่ได้ขัดขวางการให้ความช่วยเหลือ และที่ต้องยิงชาวกาซาทั้งสามคน เนื่องจากคนเหล่านั้นละเมิดคำเตือนไม่ให้เข้าใกล้กองทหารอิสราเอล
    .
    ด้าน อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ฮามาสปล่อยตัวประกันตามแผน และหลีกเลี่ยงการฟื้นการสู้รบในกาซา
    .
    ทว่า กบฏฮูตีที่เป็นพันธมิตรของฮามาส และโจมตีอิสราเอลหลายครั้งเพื่อแสดงการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์นั้น ประกาศว่า พร้อมเข้าแทรกแซงทางทหารทุกเมื่อหากกาซาถูกโจมตีอีก
    .
    ขณะเดียวกัน แม้เนทันยาฮูไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ฮามาสต้องปล่อยตัวประกันทั้งหมด 76 คนที่ยังถูกคุมขังอยู่ในกาซา หรือแค่ 3 คนภายใต้ข้อตกลงเดิม แต่เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังสายเหยี่ยว เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี “เปิดขุมนรก” ถ้าตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดไม่ได้รับอิสรภาพภายในวันเสาร์ รวมทั้งให้อิสราเอลเข้ายึดครองฉนวนกาซาเบ็ดเสร็จ และยุติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งหมด
    .
    ภายหลังการยื่นคำขาดของเนทันยาฮู ทางฮามาสได้ออกคำแถลงยืนยันว่า ยังคงยึดมั่นในข้อตกลงหยุดยิง และกล่าวหาอิสราเอลเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง
    .
    การขู่ยุติการหยุดยิงของเนทันยาฮู เป็นการตอกย้ำคำแถลงก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ให้ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดภายในเที่ยงวันเสาร์ ไม่เช่นนั้นจะประกาศให้ยุติข้อตกลงหยุดยิง และฮามาสจะต้องเผชิญ “นรก” ที่เลวร้ายกว่าที่เคยเป็นมา
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำคำขู่นี้อีก ระหว่างให้การต้อนรับกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดนเมื่อวันอังคาร รวมทั้งอ้างอีกครั้งหนึ่งว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้าครอบครองและฟื้นฟูฉนวนกาซา และอพยพชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากดินแดนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า จะมีดินแดนบางส่วนในจอร์แดน อียิปต์ และประเทศอื่นๆ ที่พร้อมให้ชาวปาเลสไตน์เหล่านั้นย้ายไปตั้งถิ่นฐาน
    .
    ทว่า กษัตริย์อับดุลเลาะห์ย้ำจุดยืนของจอร์แดนและชาติอาหรับทั้งหมดในการคัดค้านการบังคับย้ายถิ่นฐานชาวปาเลสไตน์ และเสริมว่า อียิปต์กำลังร่างแผนการที่ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางจะร่วมฟื้นฟูกาซากับอเมริกา ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอียิปต์แถลงในเวลาต่อมาว่า ไคโรจะเสนอวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมสำหรับการฟื้นฟูกาซาโดยที่รับประกันว่า ชาวปาเลสไตน์จะได้อยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014305
    ..............
    Sondhi X
    อิสราเอลขู่เปิดการถล่มโจมตีขึ้นใหม่ในกาซา หากไม่มีการปล่อยตัวประกันภายในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะที่ฮามาสยันยังยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง และโทษรัฐยิวเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง ขณะในอีกด้านหนึ่ง ทรัมป์ยังคงยืนกรานอ้างลอยๆ ว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้ายึดครองฉนวนกาซา รวมทั้งย้ายชาวปาเลสไตน์ออกไปเป็นการถาวร แม้ล่าสุดถูกคัดค้านจากกษัตริย์จอร์แดนซึ่งเดินทางไปเยือนทำเนียบขาว ส่วนอียิปต์เตรียมเสนอแผนระดมพันธมิตรในตะวันออกกลางฟื้นฟูกาซาร่วมกับวอชิงตัน โดยที่ไม่มีการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์หนีไปไหน . ภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงล่าสุดที่ดำเนินมาหลายอาทิตย์แล้ว ตัวประกันอิสราเอลจะได้รับการปล่อยตัวทุกสัปดาห์ แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ โดยนับจากวันที่ 19 ม.ค. มีการปล่อยตัวประกันแล้ว 16 คน จาก 33 คนตามข้อตกลงหยุดยิงเฟสแรกที่กินเวลา 42 วัน และอิสราเอลปล่อยนักโทษปาเลสไตน์หลายร้อยคนเป็นการแลกเปลี่ยน ทว่า ข้อตกลงนี้กำลังสั่นคลอนอย่างหนักในช่วงหลายวันที่ผ่านมา . เมื่อวันอังคาร (11) นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล ยื่นคำขาดว่า ถ้าฮามาสไม่ปล่อยตัวประกันภายในเที่ยงวันเสาร์ จะถือว่าข้อตกลงหยุดยิงสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับไปโจมตีกาซาอย่างหนักหน่วงจนกว่าฮามาสแพ้ราบคาบ . เนทันยาฮูเสริมว่า สั่งการให้กองทัพระดมทหารเตรียมพร้อมทั้งภายในและรอบๆ กาซาแล้ว และหลังจากนั้นไม่นานกองทัพอิสราเอลแถลงว่า ได้ส่งกำลังไปเพิ่มทางใต้ของประเทศ ซึ่งรวมถึงการเรียกทหารกองหนุนเข้าประจำการ ขณะที่ครอบครัวตัวประกันพากันชุมนุมหน้าสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยึดมั่นข้อตกลงหยุดยิง . ก่อนหน้านี้ เมื่อวันจันทร์ (10) กองกำลัง เอซเซดีน อัล-กัสซัม ซึ่งเป็นส่วนกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มฮามาส ประกาศจะเลื่อนการปล่อยตัวประกันชุดต่อไปที่เดิมกำหนดไว้ในวันเสาร์นี้ โดยกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลงทั้งในส่วนความช่วยเหลือ และการเสียชีวิตของชาวกาซา 3 คนในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่สำทับว่า พร้อมปล่อยตัวประกันตามกำหนด หากอิสราเอลปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงหยุดยิง . ทว่า อิสราเอลยืนยันว่า ไม่ได้ขัดขวางการให้ความช่วยเหลือ และที่ต้องยิงชาวกาซาทั้งสามคน เนื่องจากคนเหล่านั้นละเมิดคำเตือนไม่ให้เข้าใกล้กองทหารอิสราเอล . ด้าน อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ฮามาสปล่อยตัวประกันตามแผน และหลีกเลี่ยงการฟื้นการสู้รบในกาซา . ทว่า กบฏฮูตีที่เป็นพันธมิตรของฮามาส และโจมตีอิสราเอลหลายครั้งเพื่อแสดงการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์นั้น ประกาศว่า พร้อมเข้าแทรกแซงทางทหารทุกเมื่อหากกาซาถูกโจมตีอีก . ขณะเดียวกัน แม้เนทันยาฮูไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ฮามาสต้องปล่อยตัวประกันทั้งหมด 76 คนที่ยังถูกคุมขังอยู่ในกาซา หรือแค่ 3 คนภายใต้ข้อตกลงเดิม แต่เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังสายเหยี่ยว เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี “เปิดขุมนรก” ถ้าตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดไม่ได้รับอิสรภาพภายในวันเสาร์ รวมทั้งให้อิสราเอลเข้ายึดครองฉนวนกาซาเบ็ดเสร็จ และยุติการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งหมด . ภายหลังการยื่นคำขาดของเนทันยาฮู ทางฮามาสได้ออกคำแถลงยืนยันว่า ยังคงยึดมั่นในข้อตกลงหยุดยิง และกล่าวหาอิสราเอลเป็นฝ่ายบ่อนทำลายข้อตกลง . การขู่ยุติการหยุดยิงของเนทันยาฮู เป็นการตอกย้ำคำแถลงก่อนหน้านี้ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ให้ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอลทั้งหมดภายในเที่ยงวันเสาร์ ไม่เช่นนั้นจะประกาศให้ยุติข้อตกลงหยุดยิง และฮามาสจะต้องเผชิญ “นรก” ที่เลวร้ายกว่าที่เคยเป็นมา . ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำคำขู่นี้อีก ระหว่างให้การต้อนรับกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดนเมื่อวันอังคาร รวมทั้งอ้างอีกครั้งหนึ่งว่า อเมริกามีอำนาจและจะเข้าครอบครองและฟื้นฟูฉนวนกาซา และอพยพชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากดินแดนดังกล่าวเป็นการถาวร พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า จะมีดินแดนบางส่วนในจอร์แดน อียิปต์ และประเทศอื่นๆ ที่พร้อมให้ชาวปาเลสไตน์เหล่านั้นย้ายไปตั้งถิ่นฐาน . ทว่า กษัตริย์อับดุลเลาะห์ย้ำจุดยืนของจอร์แดนและชาติอาหรับทั้งหมดในการคัดค้านการบังคับย้ายถิ่นฐานชาวปาเลสไตน์ และเสริมว่า อียิปต์กำลังร่างแผนการที่ประเทศต่างๆ ในตะวันออกกลางจะร่วมฟื้นฟูกาซากับอเมริกา ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศอียิปต์แถลงในเวลาต่อมาว่า ไคโรจะเสนอวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมสำหรับการฟื้นฟูกาซาโดยที่รับประกันว่า ชาวปาเลสไตน์จะได้อยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000014305 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    Love
    Haha
    Yay
    Sad
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1998 มุมมอง 0 รีวิว
  • "จะไม่มีสันติภาพในตะวันออกกลางตราบใดที่กลุ่มฮามาสยังควบคุมดินแดนทางกายภาพและเป็นมหาอำนาจที่มีอำนาจสูงสุดในฉนวนกาซาหรือที่ใดก็ตามในตะวันออกกลาง "

    กระทรวงต่างประเทศสหรัฐโพสต์ข้อความบน "X" โจมตีกลุ่มฮามาส ซึ่งอาจบ่งบอกถึงบางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นบนดินแดนกาซา

    ข้อความถูกโพสต์ขึ้น หลังจากที่ฮามาสออกมาประกาศยุติการแลกเปลี่ยนตัวประกันในวันเสาร์นี้ โดยกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงก่อน

    ต่อมาโดนัล ทรัมป์ออกมาประกาศกร้าว หากฮามาสไม่ยอมส่งตัวประกันตามกำหนดในเที่ยงวันเสาร์ "ประตูนรกจะเปิดออก" โดยไม่สนใจข้อกล่าวหาของฮามาสแต่อย่างใด และไม่คิดจะสอบถามไปยังอิสราเอล

    ขณะเดียวกัน เนทันยาฮู ประกาศส่งกองกำลังเข้ากาซาตอนเหนืออีกอีกครั้ง และจะยุติข้อตกลงหยุดยิงทันทีในเที่ยงวันเสาร์ หากฮามาสไม่ส่งตัวประกัน


    "จะไม่มีสันติภาพในตะวันออกกลางตราบใดที่กลุ่มฮามาสยังควบคุมดินแดนทางกายภาพและเป็นมหาอำนาจที่มีอำนาจสูงสุดในฉนวนกาซาหรือที่ใดก็ตามในตะวันออกกลาง " กระทรวงต่างประเทศสหรัฐโพสต์ข้อความบน "X" โจมตีกลุ่มฮามาส ซึ่งอาจบ่งบอกถึงบางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นบนดินแดนกาซา ข้อความถูกโพสต์ขึ้น หลังจากที่ฮามาสออกมาประกาศยุติการแลกเปลี่ยนตัวประกันในวันเสาร์นี้ โดยกล่าวหาอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงก่อน ต่อมาโดนัล ทรัมป์ออกมาประกาศกร้าว หากฮามาสไม่ยอมส่งตัวประกันตามกำหนดในเที่ยงวันเสาร์ "ประตูนรกจะเปิดออก" โดยไม่สนใจข้อกล่าวหาของฮามาสแต่อย่างใด และไม่คิดจะสอบถามไปยังอิสราเอล ขณะเดียวกัน เนทันยาฮู ประกาศส่งกองกำลังเข้ากาซาตอนเหนืออีกอีกครั้ง และจะยุติข้อตกลงหยุดยิงทันทีในเที่ยงวันเสาร์ หากฮามาสไม่ส่งตัวประกัน
    Like
    Angry
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 189 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนทันยาฮู ประกาศจะกลับมาทำสงครามอีกครั้ง:

    “ผมเพิ่งจะเสร็จสิ้นการหารือเชิงลึกนาน 4 ชั่วโมงกับคณะรัฐมนตรีความมั่นคง พวกเราทุกคนต่างแสดงความไม่พอใจต่อสภาพที่น่าตกใจของนักโทษทั้งสามคนของเราที่ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

    เมื่อวานนี้ ผมสั่งให้กองทัพอิสราเอลระดมกำลังเข้าไปยังฉนวนกาซาและบริเวณชายแดน ปฏิบัติการนี้กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจะเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

    มติเอกฉันท์ที่ผมผ่านในคณะรัฐมนตรีมีดังนี้: หากฮามาสไม่ส่งนักโทษของเรากลับคืนภายในเที่ยงวันเสาร์ การหยุดยิงจะสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับมาสู้รบอย่างเข้มข้นอีกครั้ง จนกว่าฮามาสจะพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด”
    นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เนทันยาฮู ประกาศจะกลับมาทำสงครามอีกครั้ง: “ผมเพิ่งจะเสร็จสิ้นการหารือเชิงลึกนาน 4 ชั่วโมงกับคณะรัฐมนตรีความมั่นคง พวกเราทุกคนต่างแสดงความไม่พอใจต่อสภาพที่น่าตกใจของนักโทษทั้งสามคนของเราที่ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ ผมสั่งให้กองทัพอิสราเอลระดมกำลังเข้าไปยังฉนวนกาซาและบริเวณชายแดน ปฏิบัติการนี้กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจะเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด มติเอกฉันท์ที่ผมผ่านในคณะรัฐมนตรีมีดังนี้: หากฮามาสไม่ส่งนักโทษของเรากลับคืนภายในเที่ยงวันเสาร์ การหยุดยิงจะสิ้นสุดลง และกองทัพอิสราเอลจะกลับมาสู้รบอย่างเข้มข้นอีกครั้ง จนกว่าฮามาสจะพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด”
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 255 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • สื่อหลักของโลกพากันรายงานว่าฮามาสเป็นฝ่ายเริ่มผิดข้อตกลงหยุดยิงที่ทำกับอิสราเอล "สื่อกำลังสร้างความชอบธรรมให้กับอิสราเอลในการทำลายกาซาต่อไป!"

    นี่คือสิ่งที่ฮามาสระบุว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิง:
    ❌ มีรถบรรทุกความช่วยเหลือที่สำคัญ เช่น อาหาร น้ำ เวชภัณฑ์ เพียง 8,500 คัน จากข้อตกลงทั้งหมด 12,000 คัน ที่ได้เข้าสู่ฉนวนกาซา
    ❌ มีรถบรรทุกน้ำมันเพียง 15 คัน เท่านั้น จากข้อตกลงวันละ 50 คัน ที่ต้องเข้าสู่ฉนวนกาซาทุกวัน
    ❌ ไม่มีการสร้างยูนิตที่พักชั่วคราว หรือเท่ากับ 0 หลัง จากทั้งหมด 60,000 ยูนิต ที่อิสราเอลต้องส่งไปที่ฉนวนกาซา
    ❌ จำนวนเต็นท์ที่ตกลงกันไว้ 200,000 หลัง แต่มีเพียง 20,000 หลังเท่านั้น ที่ถูกส่งไปที่ฉนวนกาซา
    - มีรายงานชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารในข่าน ยูนิส ทางตอนใต้ของกาซา
    - อิสราเอลเปิดฉากโจมตีเวสต์แบงก์อย่างต่อเนื่องหลังข้อตกลงหยุดยิงในกาซามีผลบังคับใช้ แม้ว่ามันจะไม่ได้อยู่ในข้อตกลง แต่นี่คือการยั่วยุอย่างชัดเจนจากอิสราเอล

    ทั้งหมดนี่ไม่ใช่การผิดพลาดทางด้านการจัดการ แต่เป็นความตั้งใจที่เนทันยาฮูและทรัมป์ต้องการให้ข้อตกลงนี้ล้มเหลว เพราะพวกเขาไม่ต้องการสันติภาพ พวกเขาต้องการการกวาดล้างชาติพันธุ์ และยึดครองดินแดนกาซา

    "แต่สหรัฐและอิสราเอลกลับประณามฮามาสว่าเป็นฝ่ายละเมิดข้อตกลงหยุดยิงอย่าวร้ายแรง!"

    สื่อหลักของโลกพากันรายงานว่าฮามาสเป็นฝ่ายเริ่มผิดข้อตกลงหยุดยิงที่ทำกับอิสราเอล "สื่อกำลังสร้างความชอบธรรมให้กับอิสราเอลในการทำลายกาซาต่อไป!" นี่คือสิ่งที่ฮามาสระบุว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิง: ❌ มีรถบรรทุกความช่วยเหลือที่สำคัญ เช่น อาหาร น้ำ เวชภัณฑ์ เพียง 8,500 คัน จากข้อตกลงทั้งหมด 12,000 คัน ที่ได้เข้าสู่ฉนวนกาซา ❌ มีรถบรรทุกน้ำมันเพียง 15 คัน เท่านั้น จากข้อตกลงวันละ 50 คัน ที่ต้องเข้าสู่ฉนวนกาซาทุกวัน ❌ ไม่มีการสร้างยูนิตที่พักชั่วคราว หรือเท่ากับ 0 หลัง จากทั้งหมด 60,000 ยูนิต ที่อิสราเอลต้องส่งไปที่ฉนวนกาซา ❌ จำนวนเต็นท์ที่ตกลงกันไว้ 200,000 หลัง แต่มีเพียง 20,000 หลังเท่านั้น ที่ถูกส่งไปที่ฉนวนกาซา - มีรายงานชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารในข่าน ยูนิส ทางตอนใต้ของกาซา - อิสราเอลเปิดฉากโจมตีเวสต์แบงก์อย่างต่อเนื่องหลังข้อตกลงหยุดยิงในกาซามีผลบังคับใช้ แม้ว่ามันจะไม่ได้อยู่ในข้อตกลง แต่นี่คือการยั่วยุอย่างชัดเจนจากอิสราเอล ทั้งหมดนี่ไม่ใช่การผิดพลาดทางด้านการจัดการ แต่เป็นความตั้งใจที่เนทันยาฮูและทรัมป์ต้องการให้ข้อตกลงนี้ล้มเหลว เพราะพวกเขาไม่ต้องการสันติภาพ พวกเขาต้องการการกวาดล้างชาติพันธุ์ และยึดครองดินแดนกาซา "แต่สหรัฐและอิสราเอลกลับประณามฮามาสว่าเป็นฝ่ายละเมิดข้อตกลงหยุดยิงอย่าวร้ายแรง!"
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิสราเอล แคทซ์ (Israel Katz) รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล มีคำสั่งให้กองกำลังอิสราเอลเตรียมพร้อมในระดับขั้นสูงสุด โดยกล่าวหาฮามาสระเมิดข้อตกลงหยุดยิง จากการหยุดปล่อยตัวประกันในเสาร์ที่จะถึงนี้

    "การประกาศของฮามาส ในการยุติการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลถือเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ผมได้สั่งให้กองกำลังอิสราเอลเตรียมพร้อมในระดับการเตือนภัยสูงสุดสำหรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น"
    อิสราเอล แคทซ์ (Israel Katz) รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล มีคำสั่งให้กองกำลังอิสราเอลเตรียมพร้อมในระดับขั้นสูงสุด โดยกล่าวหาฮามาสระเมิดข้อตกลงหยุดยิง จากการหยุดปล่อยตัวประกันในเสาร์ที่จะถึงนี้ "การประกาศของฮามาส ในการยุติการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลถือเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง ผมได้สั่งให้กองกำลังอิสราเอลเตรียมพร้อมในระดับการเตือนภัยสูงสุดสำหรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 159 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุชาวปาเลสไตน์จะไม่ได้รับสิทธิ์กลับสู่ฉนวนกาซา ภายใต้ข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับแผนพัฒนาฉนวนแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ สวนทางกลับพวกเจ้าหน้าที่ของเขาเอง ที่เคยออกมากลบกระแสความกังวล ด้วยการบอกว่าชาวกาซาจะถูกโยกย้ายถิ่นฐานเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
    .
    ในบทตอนหนึ่งระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่วฟ็อกซ์นิวส์ ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์(10ก.พ.) ทรัมป์ระบุด้วยว่า เขาเชื่อว่าจะสามารถทำข้อตกลงกับจอร์แดนและอียิปต์ ในการอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ผู้พลัดถิ่น โดยสหรัฐฯจะมอบเงินแก่ทั้ง 2 ประเทศ หลายหมื่นหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี
    .
    เมื่อถามว่าชาวปาเลสไตน์จะได้รับสิทธิ์ในการกลับสู่กาซาหรือไม่ ทรัมป์บอกกับฟ็อกซ์นิวส์ว่า "ไม่ พวกเขาไม่ได้รับ เพราะพวกเขาจะมีบ้านที่ดีกว่านั้นมาก" เขากล่าว "ผมกำลังพูดถึงการสร้างสถานที่ถาวรแก่พวกเขา" และมันอาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าที่กาซาจะกลับมาเป็นถิ่นฐานที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อีกครั้ง
    .
    ในถ้อยแถลงสุดช็อคเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ตามหลังพบปะกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ในวอชิงตัน ประธานธิบดีทรัมป์เสนอโยกย้ายถิ่นฐานชาวปาเลสไตน์ 2.2 ล้านคนของกาซา และบอกว่าสหรัฐฯจะเข้าควบคุมฉนวนริมทะเลแห่งนี้ แล้วฟื้นฟูพัฒนามันให้เป็น "ริเวียราแห่งตะวันออกกลาง"
    .
    พวกชาวบ้านกาซาปฏิเสธอย่างกว้างขวางต่อคำชี้แนะใดๆให้ออกจากฉนวนแห่งนี้ เช่นเดียวกับองค์การปาเลสไตน์และกลุ่มนักรบฮามาสที่ควบคุมกาซา
    .
    ซามี อาบู ซูฮรี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส บอกว่าถ้อยแถลงของทรัมป์ ที่บอกว่าชาวปาเลสไตน์จะไม่อาจกลับสู่ฉนวนกาซานั้น เป็นสิ่งที่ไร้ความรับผิดชอบ "เราเน้นย้ำว่าแผนลักษณะดังกล่าวอาจโหมกระพือเปลวไฟในภูมิภาค" เขาบอกกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(10ก.พ.)
    .
    ในส่วนของ เนทันยาฮู ซึ่งชื่นชมข้อเสนอของทรัมป์ แสดงท่าทีต่างออกไปจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่าชาวปาเลสไตน์จะได้รับอนุญาตให้กลับสู่กาซา "พวกเขาสามารถเดินทางออกไป แล้วจากนั้นก็กลับเข้ามา พวกเขาสามารถโยกย้ายและกลับเข้ามา แต่คุณจำเป็นต้องฟื้นฟูสร้างกาซาขึ้นมาใหม่" เขากล่าว
    .
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้ซึ่งจะออกเดินทางในสัปดาห์นี้ สำหรับการเยือนตะวันออกกลางเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ระบุในวันพฤหัสบดี(6ก.พ.) ว่าชาวปาเลสไตน์จะจำเป็นต้องพักอาศัยอยู่ที่ไหนสักแห่งเป็นการชั่วคราว ระหว่างการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ แต่เขาไม่ตัดความเป็นไปได้โดยสิ้นเชิงต่อการโยกย้านถิ่นฐานอย่างถาวร
    .
    ความเห็นของทรัมป์ มีขึ้นในขณะที่ข้อตกลงหยุดยิงอันเปราะบางที่ทางอิสราเอลกับฮามาสเห็นพ้องกันเมื่อเดือนที่แล้ว กำลังเสี่ยงพังครืนลง หลังจากฮามาสแถลงในวันจันทร์(10ก.พ.) ว่าพวกเขาจะหยุดปล่อยตัวประกันอิสราเอล โดยกล่าวหาฝ่ายอิสราเอลละเมิดข้อตกลง
    .
    บรรดาประเทศเพื่อนบ้านอาหรับของอิสราเอล ในนั้นรวมถึงอียิปต์และจอร์แดน ระบุว่าแผนการใดๆในการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของตนเองจะบ่อนทำลายเสถียรภาพ ในขณะที่พวกวิพากษ์วิจารณ์หลายคนเรียกคำชี้แนะของทรัมป์ เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์
    .
    รูบิโอ ได้พบปะกับ บาดร์ อับเดลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ในกรุงวอชิงตัน ในวันจันทร์(10ก.พ.) ซึ่งทางกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ เผยว่าทาง อับเดลัตตี ได้บอกกับ รูบิโอ ไปว่า บรรดาชาติอาหรับสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ กรณีที่ปฏิเสธแผนของทรัมป์ ในขณะที่ไคโรยังแสดงความกังวลด้วยว่าชาวปาเลสไตน์อาจถูกบีบให้ข้ามชายแดนอียิปต์ที่ติดกับฉนวนกาซา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013546
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุชาวปาเลสไตน์จะไม่ได้รับสิทธิ์กลับสู่ฉนวนกาซา ภายใต้ข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับแผนพัฒนาฉนวนแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ สวนทางกลับพวกเจ้าหน้าที่ของเขาเอง ที่เคยออกมากลบกระแสความกังวล ด้วยการบอกว่าชาวกาซาจะถูกโยกย้ายถิ่นฐานเป็นการชั่วคราวเท่านั้น . ในบทตอนหนึ่งระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่วฟ็อกซ์นิวส์ ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์(10ก.พ.) ทรัมป์ระบุด้วยว่า เขาเชื่อว่าจะสามารถทำข้อตกลงกับจอร์แดนและอียิปต์ ในการอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ผู้พลัดถิ่น โดยสหรัฐฯจะมอบเงินแก่ทั้ง 2 ประเทศ หลายหมื่นหลายพันล้านดอลลาร์ต่อปี . เมื่อถามว่าชาวปาเลสไตน์จะได้รับสิทธิ์ในการกลับสู่กาซาหรือไม่ ทรัมป์บอกกับฟ็อกซ์นิวส์ว่า "ไม่ พวกเขาไม่ได้รับ เพราะพวกเขาจะมีบ้านที่ดีกว่านั้นมาก" เขากล่าว "ผมกำลังพูดถึงการสร้างสถานที่ถาวรแก่พวกเขา" และมันอาจต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าที่กาซาจะกลับมาเป็นถิ่นฐานที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อีกครั้ง . ในถ้อยแถลงสุดช็อคเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ตามหลังพบปะกับ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ในวอชิงตัน ประธานธิบดีทรัมป์เสนอโยกย้ายถิ่นฐานชาวปาเลสไตน์ 2.2 ล้านคนของกาซา และบอกว่าสหรัฐฯจะเข้าควบคุมฉนวนริมทะเลแห่งนี้ แล้วฟื้นฟูพัฒนามันให้เป็น "ริเวียราแห่งตะวันออกกลาง" . พวกชาวบ้านกาซาปฏิเสธอย่างกว้างขวางต่อคำชี้แนะใดๆให้ออกจากฉนวนแห่งนี้ เช่นเดียวกับองค์การปาเลสไตน์และกลุ่มนักรบฮามาสที่ควบคุมกาซา . ซามี อาบู ซูฮรี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส บอกว่าถ้อยแถลงของทรัมป์ ที่บอกว่าชาวปาเลสไตน์จะไม่อาจกลับสู่ฉนวนกาซานั้น เป็นสิ่งที่ไร้ความรับผิดชอบ "เราเน้นย้ำว่าแผนลักษณะดังกล่าวอาจโหมกระพือเปลวไฟในภูมิภาค" เขาบอกกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(10ก.พ.) . ในส่วนของ เนทันยาฮู ซึ่งชื่นชมข้อเสนอของทรัมป์ แสดงท่าทีต่างออกไปจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่าชาวปาเลสไตน์จะได้รับอนุญาตให้กลับสู่กาซา "พวกเขาสามารถเดินทางออกไป แล้วจากนั้นก็กลับเข้ามา พวกเขาสามารถโยกย้ายและกลับเข้ามา แต่คุณจำเป็นต้องฟื้นฟูสร้างกาซาขึ้นมาใหม่" เขากล่าว . มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ผู้ซึ่งจะออกเดินทางในสัปดาห์นี้ สำหรับการเยือนตะวันออกกลางเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง ระบุในวันพฤหัสบดี(6ก.พ.) ว่าชาวปาเลสไตน์จะจำเป็นต้องพักอาศัยอยู่ที่ไหนสักแห่งเป็นการชั่วคราว ระหว่างการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ แต่เขาไม่ตัดความเป็นไปได้โดยสิ้นเชิงต่อการโยกย้านถิ่นฐานอย่างถาวร . ความเห็นของทรัมป์ มีขึ้นในขณะที่ข้อตกลงหยุดยิงอันเปราะบางที่ทางอิสราเอลกับฮามาสเห็นพ้องกันเมื่อเดือนที่แล้ว กำลังเสี่ยงพังครืนลง หลังจากฮามาสแถลงในวันจันทร์(10ก.พ.) ว่าพวกเขาจะหยุดปล่อยตัวประกันอิสราเอล โดยกล่าวหาฝ่ายอิสราเอลละเมิดข้อตกลง . บรรดาประเทศเพื่อนบ้านอาหรับของอิสราเอล ในนั้นรวมถึงอียิปต์และจอร์แดน ระบุว่าแผนการใดๆในการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของตนเองจะบ่อนทำลายเสถียรภาพ ในขณะที่พวกวิพากษ์วิจารณ์หลายคนเรียกคำชี้แนะของทรัมป์ เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ . รูบิโอ ได้พบปะกับ บาดร์ อับเดลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ในกรุงวอชิงตัน ในวันจันทร์(10ก.พ.) ซึ่งทางกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ เผยว่าทาง อับเดลัตตี ได้บอกกับ รูบิโอ ไปว่า บรรดาชาติอาหรับสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ กรณีที่ปฏิเสธแผนของทรัมป์ ในขณะที่ไคโรยังแสดงความกังวลด้วยว่าชาวปาเลสไตน์อาจถูกบีบให้ข้ามชายแดนอียิปต์ที่ติดกับฉนวนกาซา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013546 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    Sad
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1599 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสแถลงว่าพวกเขาจะหยุดปล่อยตัวประกันอิสราเอลจนกว่าจะแจ้งให้ทราบเพิ่มเติม ในสิ่งที่พวกนักรบปาเลสไตน์กลุ่มนี้กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงในกาซา เพิ่มความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะโหมกระพือขึ้นมาใหม่
    .
    ถ้อยแถลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย มีขึ้นในขณะที่ข้อตกลงหยุดยิงนั้นเปราะบางอยู่ก่อนแล้ว แม้อีกด้านหนึ่งทางครอบครัวของตัวประกันอิสราเอลเรียกร้องให้ทางรัฐบาลยึดมั่นในข้อตกลงและชาวกาซากำลังหาทางเริ่มต้นฟื้นฟูวิถีชีวิตในฉนวนที่ถูกทำลายล้างแห่งนี้ หลังต้องอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามมานานกว่า 15 เดือน
    .
    ฮามาส มีกำหนดปล่อยตัวประกันอิสราเอลเพิ่มเติมในวันเสาร์หน้า(15ก.พ.) แลกกับนักโทษปาเลสไตน์และชาวปาเลสไตน์คนอื่นๆที่ถูกควบคุมตัวในอิสราเอล แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์หลังสุด
    .
    อาบู อูไบดา โฆษกปีกติดอาวุธของฮามาส กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงต่างๆนานา ในนั้นรวมถึงการเตะถ่วงชาวปาเลสไตน์จากการกลับสู่ทางเหนือของกาซา ยิงปืนใหญ่และสาดกระสุนเข้าใส่ชาวปาเลสไตน์ รวมถึงสกัดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไม่ให้เข้าสู่ฉนวนแห่งนี้
    .
    ข้อตกลงหยุดยิงส่วนใหญ่แล้วยังคงได้รับการยึดถือนับตั้งแต่เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา แม้มีเหตุการณ์บางอย่างที่ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอล และฮามาสเลื่อนการให้ชื่อตัวประกันที่พวกเขามีแผนปล่อยตัว ขณะเดียวกันทางหน่วยงานความช่วยเหลือต่างๆ เผยว่าความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ป้อนเข้าสู่ฉนวนกาซา ได้เพิ่มจำนวนขึ้นนับตั้งแต่มีข้อตกลงหยุดยิง
    .
    อย่างไรก็ตาม อูไบดา ของฮามาส ระบุว่ากำหนดการปล่อยตัวประกันครั้งถัดไปในวันเสาร์(8ก.พ.) จะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าอิสราเอลจะปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงและชดเชยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
    .
    กระนั้นทาง อิสราเอล คาทซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิสราเอล ระบุว่าถ้อยแถลงของฮามาสเองเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง และเผยว่าได้ออกคำสั่งให้กองทัพอยู่ในระดับความพร้อมขั้นสูงสุดในกาซา และสำหรับป้องกันตนเองภายใน
    .
    แหล่งข่าวด้านความมั่นคงของอียิปต์ 2 ราย บอกกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(10ก.พ.) ว่าบรรดาคนกลางการเจรจา ประกอบด้วยกาตาร์และอียิปต์ รวมไปถึงสหรัฐฯ มีความกังวลเกี่ยวกับการพังครืนของข้อตกลงหยุดยิง
    .
    กลุ่มที่เป็นตัวแทนครอบครัวตัวประกัน เรียกร้องให้บรรดาคนกลางหาทางค้ำยันข้อตกลงหยุดยิง ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นตัวแทนของทหารผ่านศึกอิสราเอล กล่วหารัฐบาลตั้งใจบ่อนทำลายข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส
    .
    จนถึงตอนนี้มีตัวประกัน 16 คน จากทั้งหมด 33 คน ที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาในเฟสแรก 42 วันของข้อตกลงหยุดยิง เช่นเดียวกับตัวประกันไทย 5 คน ที่เป็นอิสระในการปล่อยตัวที่ไม่มีในกำหนดการ
    .
    ในทางกลับกัน อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษและผู้ถูกคมขังชาวปาเลสไตน์ไปแล้วหลายร้อยคน ในนั้นรวมถึงผู้ต้องขังที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในฐานความผิดโจมตีนองเลือดต่างๆนานา และชาวปาเลสไตน์ที่ถูกจับและควบคุมตัวระหว่างสงคราม โดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆ
    .
    แต่ทาง ฮามาส กล่าวหาอิสราเอล เตะถ่วงการปล่อยให้ความช่วยเหลือเข้าสู่กาซา หนึ่งในหลายเงื่อนไขของเฟสแรกในข้อตกลงหยุดยิง ข้อกล่าวหาที่ทางอิสราเอลปฏิเสธ โดยบอกว่าไม่เป็นความจริง
    .
    ขณะเดียวกัน อิสราเอล ได้กล่าวหา ฮามาส กลับไปว่า ไม่เคารพต่อข้อตกลง ที่ต้องมีการปล่อยตัวประกัน และอยู่เบื้องหลังการแสดงออกที่ดูหมิ่นเหยียดหยามต่อหน้าฝูงชนจำนวนมาก ครั้งที่มีการส่งมอบตัวประกันเหล่านั้นแก่สภากาชาด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..
    ..............
    Sondhi X
    ฮามาสแถลงว่าพวกเขาจะหยุดปล่อยตัวประกันอิสราเอลจนกว่าจะแจ้งให้ทราบเพิ่มเติม ในสิ่งที่พวกนักรบปาเลสไตน์กลุ่มนี้กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงหยุดยิงในกาซา เพิ่มความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะโหมกระพือขึ้นมาใหม่ . ถ้อยแถลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย มีขึ้นในขณะที่ข้อตกลงหยุดยิงนั้นเปราะบางอยู่ก่อนแล้ว แม้อีกด้านหนึ่งทางครอบครัวของตัวประกันอิสราเอลเรียกร้องให้ทางรัฐบาลยึดมั่นในข้อตกลงและชาวกาซากำลังหาทางเริ่มต้นฟื้นฟูวิถีชีวิตในฉนวนที่ถูกทำลายล้างแห่งนี้ หลังต้องอยู่ท่ามกลางภาวะสงครามมานานกว่า 15 เดือน . ฮามาส มีกำหนดปล่อยตัวประกันอิสราเอลเพิ่มเติมในวันเสาร์หน้า(15ก.พ.) แลกกับนักโทษปาเลสไตน์และชาวปาเลสไตน์คนอื่นๆที่ถูกควบคุมตัวในอิสราเอล แบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์หลังสุด . อาบู อูไบดา โฆษกปีกติดอาวุธของฮามาส กล่าวหาว่าอิสราเอลละเมิดข้อตกลงต่างๆนานา ในนั้นรวมถึงการเตะถ่วงชาวปาเลสไตน์จากการกลับสู่ทางเหนือของกาซา ยิงปืนใหญ่และสาดกระสุนเข้าใส่ชาวปาเลสไตน์ รวมถึงสกัดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไม่ให้เข้าสู่ฉนวนแห่งนี้ . ข้อตกลงหยุดยิงส่วนใหญ่แล้วยังคงได้รับการยึดถือนับตั้งแต่เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา แม้มีเหตุการณ์บางอย่างที่ชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารโดยกองกำลังอิสราเอล และฮามาสเลื่อนการให้ชื่อตัวประกันที่พวกเขามีแผนปล่อยตัว ขณะเดียวกันทางหน่วยงานความช่วยเหลือต่างๆ เผยว่าความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่ป้อนเข้าสู่ฉนวนกาซา ได้เพิ่มจำนวนขึ้นนับตั้งแต่มีข้อตกลงหยุดยิง . อย่างไรก็ตาม อูไบดา ของฮามาส ระบุว่ากำหนดการปล่อยตัวประกันครั้งถัดไปในวันเสาร์(8ก.พ.) จะถูกเลื่อนออกไปจนกว่าอิสราเอลจะปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงและชดเชยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา . กระนั้นทาง อิสราเอล คาทซ์ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิสราเอล ระบุว่าถ้อยแถลงของฮามาสเองเป็นการละเมิดข้อตกลงหยุดยิง และเผยว่าได้ออกคำสั่งให้กองทัพอยู่ในระดับความพร้อมขั้นสูงสุดในกาซา และสำหรับป้องกันตนเองภายใน . แหล่งข่าวด้านความมั่นคงของอียิปต์ 2 ราย บอกกับรอยเตอร์ในวันจันทร์(10ก.พ.) ว่าบรรดาคนกลางการเจรจา ประกอบด้วยกาตาร์และอียิปต์ รวมไปถึงสหรัฐฯ มีความกังวลเกี่ยวกับการพังครืนของข้อตกลงหยุดยิง . กลุ่มที่เป็นตัวแทนครอบครัวตัวประกัน เรียกร้องให้บรรดาคนกลางหาทางค้ำยันข้อตกลงหยุดยิง ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นตัวแทนของทหารผ่านศึกอิสราเอล กล่วหารัฐบาลตั้งใจบ่อนทำลายข้อตกลงหยุดยิงกับฮามาส . จนถึงตอนนี้มีตัวประกัน 16 คน จากทั้งหมด 33 คน ที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาในเฟสแรก 42 วันของข้อตกลงหยุดยิง เช่นเดียวกับตัวประกันไทย 5 คน ที่เป็นอิสระในการปล่อยตัวที่ไม่มีในกำหนดการ . ในทางกลับกัน อิสราเอลปล่อยตัวนักโทษและผู้ถูกคมขังชาวปาเลสไตน์ไปแล้วหลายร้อยคน ในนั้นรวมถึงผู้ต้องขังที่ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ในฐานความผิดโจมตีนองเลือดต่างๆนานา และชาวปาเลสไตน์ที่ถูกจับและควบคุมตัวระหว่างสงคราม โดยปราศจากการตั้งข้อหาใดๆ . แต่ทาง ฮามาส กล่าวหาอิสราเอล เตะถ่วงการปล่อยให้ความช่วยเหลือเข้าสู่กาซา หนึ่งในหลายเงื่อนไขของเฟสแรกในข้อตกลงหยุดยิง ข้อกล่าวหาที่ทางอิสราเอลปฏิเสธ โดยบอกว่าไม่เป็นความจริง . ขณะเดียวกัน อิสราเอล ได้กล่าวหา ฮามาส กลับไปว่า ไม่เคารพต่อข้อตกลง ที่ต้องมีการปล่อยตัวประกัน และอยู่เบื้องหลังการแสดงออกที่ดูหมิ่นเหยียดหยามต่อหน้าฝูงชนจำนวนมาก ครั้งที่มีการส่งมอบตัวประกันเหล่านั้นแก่สภากาชาด . อ่านเพิ่มเติม.. .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    Sad
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1554 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียสวนกลับ ยังไม่ได้รับข้อเสนอดีๆ จาก เพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน หลังจากทรัมป์อวดอ้างว่า ได้คุยกับปูตินแล้ว และมีความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม
    .
    มิคาอิล กาลูซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอของทางการรัสเซียที่นำออกเผยแพร่ในวันจันทร์ (10 ก.พ.) ว่า คำพูดต้องได้รับการสนับสนุนด้วยขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์อันชอบธรรมของรัสเซีย รวมทั้งแสดงถึงความพร้อมในการกำจัดรากเหง้าของปัญหาที่นำไปสู่วิกฤตยูเครน และตระหนึกถึงความเป็นจริงใหม่ ก่อนสำทับว่า ถึงขณะนี้มอสโกยังไม่ได้รับข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนแต่อย่างใด
    .
    ช่วงหลายวันมานี้มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันออกมาจากฝั่งวอชิงตันและมอสโกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการหารือระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อยุติสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมายาวนานเกือบ 3 ปีเต็ม
    .
    สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์ว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ แต่ว่าเขาได้คุยกับปูตินแล้ว ถือเป็นการยืนยันอย่างเป็นทางการครั้งแรกอย่างน้อยก็จากฝ่ายวอชิงตันว่า ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันภายหลังจากหมางเมินมาตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 นอกจากนั้นทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า จะมีการหารือเพิ่มเติม พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครนมีความคืบหน้า แต่ไม่เปิดเผยว่า ใช้ช่องทางใดในการสื่อสารกับผู้นำรัสเซีย
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์เมื่อวันศุกร์ (7) ประมุขทำเนียบขาวยังบอกว่า ไม่ต้องการเปิดเผยว่า ได้คุยกับปูตินแล้วกี่รอบ และรอบล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อใด
    .
    ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ก.พ.) ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เปิดเผยกับสำนักข่าวทาสส์ ของทางการรัสเซียว่า ระหว่างปูตินกับทรัมป์ มีการสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆ ซึ่งตนเองอาจไม่รับรู้ทุกเรื่อง จึงไม่สามารถยืนยันหรือปฏิเสธได้ว่า ผู้นำทั้งสองมีการพูดคุยกันหรือยังนับตั้งแต่ที่ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง
    .
    เช่นเดียวกับ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธที่จะแจกแจงว่า ผู้นำอเมริกาและรัสเซียสื่อสารกันเมื่อใด แต่ส่งสัญญาณว่า ทรัมป์อาจใช้มาตรการแซงก์ชันหรือภาษีศุลกากรเพื่อบีบให้ปูตินยอมเจรจาหยุดยิง
    .
    ก่อนหน้านี้ทรัมป์ย้ำมาตลอดว่า ต้องการยุติสงครามในยูเครนและจะพบกับปูตินเพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ไม่ได้บอกว่า จะเป็นเมื่อใดและที่ไหน โดยในวันอาทิตย์ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์แค่ว่า จะพบกับประมุขรัสเซียในเวลาที่เหมาะสม
    .
    อย่างไรก็ดี รอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียมองว่า สถานที่จัดประชุมสุดยอดอาจเป็นที่ซาอุดีอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมื่อวันพฤหัสฯ ที่แล้ว (6) ลีโอนิด สลัตสกี สมาชิกคณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย เปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์ไอเอว่า การเตรียมการสำหรับการพบกันระหว่างปูตินกับทรัมป์มีความคืบหน้า โดยอาจจัดขึ้นในเดือนนี้หรือเดือนมีนาคม
    .
    นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ ทรัมป์ยังบอกว่า อาจพบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์นี้ ขณะที่เซเลนสกี้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า ตนต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธ ให้อเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการทำสงครามกับรัสเซีย
    .
    ก่อนหน้านี้ผู้นำเคียฟผู้นี้ยืนยันว่า จะไม่ยอมยกดินแดนที่ถูกยึดครองให้รัสเซีย รวมทั้งยังต้องการเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขที่ตรงข้ามกับจุดยืนของรัสเซีย
    .
    ทางด้านปูตินนั้นมองว่า สงครามในยูเครนเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดของรัสเซีย หลังจากถูกฝ่ายตะวันตกที่ใช้องค์การนาโตเป็นหัวหอก รุกไล่เข้ามาจนติดพรมแดนรัสเซีย
    .
    จากคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกาลูซิน ระบุว่า มอสโกยังคงเปิดกว้างสำหรับการเจราจา ทว่าแดนหมีขาวยังยืนยันเงื่อนไขเดิมคือ ยูเครนต้องไม่เข้าเป็นสมาชิกนาโต และต้องมีมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ของชาวรัสเซียในยูเครน
    .
    ขณะเดียวกัน แม้ทรัมป์ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนสันติภาพยูเครน แต่อาร์ทีรายงานว่า แผนการดังกล่าวอาจรวมถึงการระงับชั่วคราวการสู้รบขัดแย้งตลอดแนวรบปัจจุบัน การสร้างเขตปลอดทหารและการจัดส่งทหารยุโรปเข้าไปทำหน้าที่รักษาสันติภาพ และการระงับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน
    .
    ทว่า รัสเซียไม่เห็นด้วยกับเรื่องการหยุดพักการสู้รบขัดแย้ง และยืนกรานว่า ข้อตกลงสันติภาพที่ยั่งยืนต้องกำหนดให้ยูเครนรักษาความเป็นกลางถาวรและเป็นเขตปลอดทหาร ตลอดจนถึงขจัดระบอบนาซี และยอมรับความเป็นจริงด้านดินแดน ซึ่งหมายถึงแคว้นต่างๆ ที่ถูกรัสเซียประกาศผนวกเป็นดินแดนของตนไปแล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013539
    ..............
    Sondhi X
    รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซียสวนกลับ ยังไม่ได้รับข้อเสนอดีๆ จาก เพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน หลังจากทรัมป์อวดอ้างว่า ได้คุยกับปูตินแล้ว และมีความคืบหน้าในการเจรจาเพื่อยุติสงคราม . มิคาอิล กาลูซิน รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ไอเอของทางการรัสเซียที่นำออกเผยแพร่ในวันจันทร์ (10 ก.พ.) ว่า คำพูดต้องได้รับการสนับสนุนด้วยขั้นตอนการปฏิบัติซึ่งคำนึงถึงผลประโยชน์อันชอบธรรมของรัสเซีย รวมทั้งแสดงถึงความพร้อมในการกำจัดรากเหง้าของปัญหาที่นำไปสู่วิกฤตยูเครน และตระหนึกถึงความเป็นจริงใหม่ ก่อนสำทับว่า ถึงขณะนี้มอสโกยังไม่ได้รับข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเพื่อเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครนแต่อย่างใด . ช่วงหลายวันมานี้มีข้อมูลที่ขัดแย้งกันออกมาจากฝั่งวอชิงตันและมอสโกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีการหารือระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน เพื่อยุติสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อมายาวนานเกือบ 3 ปีเต็ม . สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์ว่า เขาไม่ควรพูดเรื่องนี้ แต่ว่าเขาได้คุยกับปูตินแล้ว ถือเป็นการยืนยันอย่างเป็นทางการครั้งแรกอย่างน้อยก็จากฝ่ายวอชิงตันว่า ผู้นำสองประเทศได้พูดคุยกันภายหลังจากหมางเมินมาตลอดตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 นอกจากนั้นทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า จะมีการหารือเพิ่มเติม พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่า การเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครนมีความคืบหน้า แต่ไม่เปิดเผยว่า ใช้ช่องทางใดในการสื่อสารกับผู้นำรัสเซีย . ระหว่างให้สัมภาษณ์นิวยอร์กโพสต์เมื่อวันศุกร์ (7) ประมุขทำเนียบขาวยังบอกว่า ไม่ต้องการเปิดเผยว่า ได้คุยกับปูตินแล้วกี่รอบ และรอบล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อใด . ต่อมาในวันอาทิตย์ (9 ก.พ.) ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน เปิดเผยกับสำนักข่าวทาสส์ ของทางการรัสเซียว่า ระหว่างปูตินกับทรัมป์ มีการสื่อสารด้วยช่องทางต่างๆ ซึ่งตนเองอาจไม่รับรู้ทุกเรื่อง จึงไม่สามารถยืนยันหรือปฏิเสธได้ว่า ผู้นำทั้งสองมีการพูดคุยกันหรือยังนับตั้งแต่ที่ทรัมป์เข้าดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง . เช่นเดียวกับ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ที่ปฏิเสธที่จะแจกแจงว่า ผู้นำอเมริกาและรัสเซียสื่อสารกันเมื่อใด แต่ส่งสัญญาณว่า ทรัมป์อาจใช้มาตรการแซงก์ชันหรือภาษีศุลกากรเพื่อบีบให้ปูตินยอมเจรจาหยุดยิง . ก่อนหน้านี้ทรัมป์ย้ำมาตลอดว่า ต้องการยุติสงครามในยูเครนและจะพบกับปูตินเพื่อหารือเรื่องนี้ แต่ไม่ได้บอกว่า จะเป็นเมื่อใดและที่ไหน โดยในวันอาทิตย์ผู้นำสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์แค่ว่า จะพบกับประมุขรัสเซียในเวลาที่เหมาะสม . อย่างไรก็ดี รอยเตอร์รายงานก่อนหน้านี้ว่า รัสเซียมองว่า สถานที่จัดประชุมสุดยอดอาจเป็นที่ซาอุดีอาระเบียหรือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมื่อวันพฤหัสฯ ที่แล้ว (6) ลีโอนิด สลัตสกี สมาชิกคณะกรรมาธิการกิจการระหว่างประเทศของรัฐสภารัสเซีย เปิดเผยกับสำนักข่าวอาร์ไอเอว่า การเตรียมการสำหรับการพบกันระหว่างปูตินกับทรัมป์มีความคืบหน้า โดยอาจจัดขึ้นในเดือนนี้หรือเดือนมีนาคม . นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ ทรัมป์ยังบอกว่า อาจพบกับประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี้ของยูเครนเพื่อหารือเรื่องดังกล่าวในสัปดาห์นี้ ขณะที่เซเลนสกี้ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า ตนต้องการให้ยูเครนจัดหาแร่แรร์เอิร์ธ ให้อเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการทำสงครามกับรัสเซีย . ก่อนหน้านี้ผู้นำเคียฟผู้นี้ยืนยันว่า จะไม่ยอมยกดินแดนที่ถูกยึดครองให้รัสเซีย รวมทั้งยังต้องการเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งล้วนเป็นเงื่อนไขที่ตรงข้ามกับจุดยืนของรัสเซีย . ทางด้านปูตินนั้นมองว่า สงครามในยูเครนเป็นสงครามเพื่อความอยู่รอดของรัสเซีย หลังจากถูกฝ่ายตะวันตกที่ใช้องค์การนาโตเป็นหัวหอก รุกไล่เข้ามาจนติดพรมแดนรัสเซีย . จากคำพูดของรัฐมนตรีช่วยกาลูซิน ระบุว่า มอสโกยังคงเปิดกว้างสำหรับการเจราจา ทว่าแดนหมีขาวยังยืนยันเงื่อนไขเดิมคือ ยูเครนต้องไม่เข้าเป็นสมาชิกนาโต และต้องมีมาตรการในการปกป้องสิทธิ์ของชาวรัสเซียในยูเครน . ขณะเดียวกัน แม้ทรัมป์ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนสันติภาพยูเครน แต่อาร์ทีรายงานว่า แผนการดังกล่าวอาจรวมถึงการระงับชั่วคราวการสู้รบขัดแย้งตลอดแนวรบปัจจุบัน การสร้างเขตปลอดทหารและการจัดส่งทหารยุโรปเข้าไปทำหน้าที่รักษาสันติภาพ และการระงับการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครน . ทว่า รัสเซียไม่เห็นด้วยกับเรื่องการหยุดพักการสู้รบขัดแย้ง และยืนกรานว่า ข้อตกลงสันติภาพที่ยั่งยืนต้องกำหนดให้ยูเครนรักษาความเป็นกลางถาวรและเป็นเขตปลอดทหาร ตลอดจนถึงขจัดระบอบนาซี และยอมรับความเป็นจริงด้านดินแดน ซึ่งหมายถึงแคว้นต่างๆ ที่ถูกรัสเซียประกาศผนวกเป็นดินแดนของตนไปแล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013539 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Yay
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1482 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ลูกค้ำลูกคูณ ลูกเทวดา!!"

    ทรัมป์ประกาศเข้าข้าวอิสราเอลชัดเจน หากฮามาสไม่ปล่อยตัวประกันตอนเที่ยงวันเสาร์ จะสั่งยุติข้อตกลงหยุดยิง และนั่นจะหมายถึง "ประตูนรกจะเปิด" บนดินแดนกาซา

    “หากตัวประกันทั้งหมดไม่ได้รับการส่งตัวกลับภายในเวลา 12.00 น. ของวันเสาร์ ควรยกเลิกการหยุดยิงไปซะ ปล่อยให้นรกแตกไป”

    “แล้วฮามาสจะได้รู้ พวกเขารู้ดีว่าผมหมายถึงอะไร... พวกนี้เป็นเหมือนคนป่วยจิต และพวกเขาจะรู้ว่าผมหมายถึงอะไรในวันเสาร์ เวลา 12.00 น.” ทรัมป์ประกาศชัดเจน

    ทรัมป์ขู่ฮามาส หลังจากที่โฆษกกลุ่มฮามาส แถลงการณ์ระงับปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลตามกำหนดวันเสาร์นี้ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

    โดยกลุ่มฮามาสระบุเหตุผลว่า แกนนำฝ่ายต่อต้านติดตามมาตลอด 3 สัปดาห์ พบศัตรูละเมิด และไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลง ทั้งการชะลออนุญาตให้ชาวกาซาพลัดถิ่นกลับภูมิลำเนาทางตอนเหนือ และความล้มเหลวในการเปิดให้จัดส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ทุกรูปแบบตามที่ตกลงไว้

    เห็นได้ชัดเจนว่าทรัมป์เลือกเข้าข้างอิสราเอลชัดเจน โดยไม่สนใจคำกล่าวหาของฮามาสว่ามีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
    "ลูกค้ำลูกคูณ ลูกเทวดา!!" ทรัมป์ประกาศเข้าข้าวอิสราเอลชัดเจน หากฮามาสไม่ปล่อยตัวประกันตอนเที่ยงวันเสาร์ จะสั่งยุติข้อตกลงหยุดยิง และนั่นจะหมายถึง "ประตูนรกจะเปิด" บนดินแดนกาซา “หากตัวประกันทั้งหมดไม่ได้รับการส่งตัวกลับภายในเวลา 12.00 น. ของวันเสาร์ ควรยกเลิกการหยุดยิงไปซะ ปล่อยให้นรกแตกไป” “แล้วฮามาสจะได้รู้ พวกเขารู้ดีว่าผมหมายถึงอะไร... พวกนี้เป็นเหมือนคนป่วยจิต และพวกเขาจะรู้ว่าผมหมายถึงอะไรในวันเสาร์ เวลา 12.00 น.” ทรัมป์ประกาศชัดเจน ทรัมป์ขู่ฮามาส หลังจากที่โฆษกกลุ่มฮามาส แถลงการณ์ระงับปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลตามกำหนดวันเสาร์นี้ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง โดยกลุ่มฮามาสระบุเหตุผลว่า แกนนำฝ่ายต่อต้านติดตามมาตลอด 3 สัปดาห์ พบศัตรูละเมิด และไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลง ทั้งการชะลออนุญาตให้ชาวกาซาพลัดถิ่นกลับภูมิลำเนาทางตอนเหนือ และความล้มเหลวในการเปิดให้จัดส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ทุกรูปแบบตามที่ตกลงไว้ เห็นได้ชัดเจนว่าทรัมป์เลือกเข้าข้างอิสราเอลชัดเจน โดยไม่สนใจคำกล่าวหาของฮามาสว่ามีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
    Angry
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 239 มุมมอง 30 0 รีวิว
Pages Boosts