• วันนี้เราคุยกันเรื่องวัฒนธรรมแต่งงานอีกแบบ ที่มาคือชื่อภาษาจีนของละครและนิยายจีนเรื่อง “จุ้ยซวี่” (赘婿 ชื่อละครภาษาไทยแปลตามชื่อภาษาอังกฤษว่า <สามีข้าคือฮีโร่>)

    ขอเริ่มเรื่องจากบทสนทนาจากในละครของเจ้าบ่าวหนิงอี้กับพ่อบ้านแห่งสกุลซู เพื่อให้เห็นภาพ
    ...หนิงอี้: “นี่คืออันใด?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “นี้คือเกี้ยวเจ้าสาว”
    หนิงอี้: “ของคุณหนู?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “ของท่าน”
    หนิงอี้: “เพราะเหตุใด?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “เพราะท่านเป็นจุ้ยซวี่”
    หนิงอี้: “เป็นจุ้ยซวี่ก็ต้องนั่งเกี้ยวรึ?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “เป็นจุ้ยซวี่ต้องนั่งเกี้ยว”...

    ในละครเรื่องนี้ หนิงอี้ผู้เป็นเจ้าบ่าวต้องนั่งเกี้ยวถูกส่งตัวไปยังบ้านของฝ่ายหญิง (ตามรูปประกอบ) อีกทั้งระหว่างทางยังโดนคนชี้นิ้ววิพากย์วิจารณ์มากมายราวกับว่าเป็นเรื่องน่าดูแคลน เหตุเพราะเขาเป็น “จุ้ยซวี่”

    “จุ้ยซวี่” คือการเรียกเขยที่แต่งเข้าไปในสกุลของฝ่ายเจ้าสาว พำนักอยู่ในเรือนของฝ่ายหญิง และหากมีลูก ลูกก็จะใช้แซ่หรือนามสกุลตามฝ่ายหญิง ซึ่งเพื่อนเพจที่พอคุ้นเคยกับธรรมเนียมจีนจะรู้ว่าเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับธรรมเนียมปกติที่ผู้หญิงจะแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย เมื่อมีลูกก็จะใช้นามสกุลของฝ่ายชาย

    ทำไมถึงมีจุ้ยซวี่? การแต่งชายเข้าบ้านฝ่ายหญิงนั้น เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายเจ้าสาวมาจากตระกูลคหบดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แต่ขาดบุตรชายที่จะสืบสกุล ดังนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจึงมักเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย

    แล้วธรรมเนียมแต่งจุ้ยซวี่เข้าเรือนเกิดขึ้นในยุคสมัยใด? ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงจุ้ยซวี่มาตั้งแต่ยุคสมัยชุนชิว แต่ในวัฒนธรรมจีนนั้นการสืบสกุลเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของชายชาตรี ดังนั้นการละทิ้งสกุลของตนเพื่อไปสืบเชื้อสายให้สกุลอื่นจึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ในสมัยนั้นจุ้ยซวี่จึงมีฐานะต่ำต้อยมาก มีการเปรียบเสมือนเป็นทาสในเรือน ในสมัยนั้นยังมีกฎห้ามจุ้ยซวี่แยกเรือนออกไปอยู่เอง ห้ามไม่ให้ถือครองที่ดิน และลูกหลานจะเข้ารับราชการได้นั้นต้องผ่านไปแล้วสามรุ่นด้วยกัน (โอ้โห!)

    ในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง จุ้ยซวี่ได้รับการปฏิบัติดีขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นแม้จะไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ว่ากันว่า เป็นเพราะว่าบิดาของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง (องค์ซ่งไท่จู่) ก็เป็นจุ้ยซวี่ สังคมรับเรื่องนี้ได้มากขึ้นถึงขนาดที่ว่ามีชายบางคนที่ฐานะครอบครัวไม่เลว ยังขวนขวายแต่งเข้าสกุลของฝ่ายหญิงที่เรืองอำนาจเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ตนเลยทีเดียว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ กดไลค์กดแชร์กันหน่อยนะคะ)

    เครดิตรูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/450812871_100288750 และจากละคร
    เครดิตข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/451219092_588218
    https://www.52shijing.com/kjxs/113551.html

    #สามีข้าคือฮีโร่ #ประเพณีจีนโบราณ #จุ้ยซวี่ #เกี้ยวเจ้าสาว #StoryfromStory
    วันนี้เราคุยกันเรื่องวัฒนธรรมแต่งงานอีกแบบ ที่มาคือชื่อภาษาจีนของละครและนิยายจีนเรื่อง “จุ้ยซวี่” (赘婿 ชื่อละครภาษาไทยแปลตามชื่อภาษาอังกฤษว่า <สามีข้าคือฮีโร่>) ขอเริ่มเรื่องจากบทสนทนาจากในละครของเจ้าบ่าวหนิงอี้กับพ่อบ้านแห่งสกุลซู เพื่อให้เห็นภาพ ...หนิงอี้: “นี่คืออันใด?” พ่อบ้านเกิ่ง: “นี้คือเกี้ยวเจ้าสาว” หนิงอี้: “ของคุณหนู?” พ่อบ้านเกิ่ง: “ของท่าน” หนิงอี้: “เพราะเหตุใด?” พ่อบ้านเกิ่ง: “เพราะท่านเป็นจุ้ยซวี่” หนิงอี้: “เป็นจุ้ยซวี่ก็ต้องนั่งเกี้ยวรึ?” พ่อบ้านเกิ่ง: “เป็นจุ้ยซวี่ต้องนั่งเกี้ยว”... ในละครเรื่องนี้ หนิงอี้ผู้เป็นเจ้าบ่าวต้องนั่งเกี้ยวถูกส่งตัวไปยังบ้านของฝ่ายหญิง (ตามรูปประกอบ) อีกทั้งระหว่างทางยังโดนคนชี้นิ้ววิพากย์วิจารณ์มากมายราวกับว่าเป็นเรื่องน่าดูแคลน เหตุเพราะเขาเป็น “จุ้ยซวี่” “จุ้ยซวี่” คือการเรียกเขยที่แต่งเข้าไปในสกุลของฝ่ายเจ้าสาว พำนักอยู่ในเรือนของฝ่ายหญิง และหากมีลูก ลูกก็จะใช้แซ่หรือนามสกุลตามฝ่ายหญิง ซึ่งเพื่อนเพจที่พอคุ้นเคยกับธรรมเนียมจีนจะรู้ว่าเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับธรรมเนียมปกติที่ผู้หญิงจะแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย เมื่อมีลูกก็จะใช้นามสกุลของฝ่ายชาย ทำไมถึงมีจุ้ยซวี่? การแต่งชายเข้าบ้านฝ่ายหญิงนั้น เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายเจ้าสาวมาจากตระกูลคหบดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แต่ขาดบุตรชายที่จะสืบสกุล ดังนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจึงมักเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย แล้วธรรมเนียมแต่งจุ้ยซวี่เข้าเรือนเกิดขึ้นในยุคสมัยใด? ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงจุ้ยซวี่มาตั้งแต่ยุคสมัยชุนชิว แต่ในวัฒนธรรมจีนนั้นการสืบสกุลเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของชายชาตรี ดังนั้นการละทิ้งสกุลของตนเพื่อไปสืบเชื้อสายให้สกุลอื่นจึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ในสมัยนั้นจุ้ยซวี่จึงมีฐานะต่ำต้อยมาก มีการเปรียบเสมือนเป็นทาสในเรือน ในสมัยนั้นยังมีกฎห้ามจุ้ยซวี่แยกเรือนออกไปอยู่เอง ห้ามไม่ให้ถือครองที่ดิน และลูกหลานจะเข้ารับราชการได้นั้นต้องผ่านไปแล้วสามรุ่นด้วยกัน (โอ้โห!) ในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง จุ้ยซวี่ได้รับการปฏิบัติดีขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นแม้จะไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ว่ากันว่า เป็นเพราะว่าบิดาของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง (องค์ซ่งไท่จู่) ก็เป็นจุ้ยซวี่ สังคมรับเรื่องนี้ได้มากขึ้นถึงขนาดที่ว่ามีชายบางคนที่ฐานะครอบครัวไม่เลว ยังขวนขวายแต่งเข้าสกุลของฝ่ายหญิงที่เรืองอำนาจเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ตนเลยทีเดียว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ กดไลค์กดแชร์กันหน่อยนะคะ) เครดิตรูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/450812871_100288750 และจากละคร เครดิตข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/451219092_588218 https://www.52shijing.com/kjxs/113551.html #สามีข้าคือฮีโร่ #ประเพณีจีนโบราณ #จุ้ยซวี่ #เกี้ยวเจ้าสาว #StoryfromStory
    WWW.SOHU.COM
    《赘婿》首播:剧情搞笑,宋轶获赞,郭麒麟槽点较为集中_宁毅
    而郭麒麟从脸上讲就有点不合适,大家可以看一下这个镜头他和张若昀的对比,年龄和气质的差异一下子就能看出来,而且郭麒麟看起来特别的黑。 大家其实对郭麒麟这个演员没有什么意见,甚至也承认郭麒麟在平常生活中…
    1 Comments 0 Shares 114 Views 0 Reviews
  • รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก>

    Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ

    รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’

    ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย

    แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง

    อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ

    วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย

    ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ...
    ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ...

    วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972
    https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx
    https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854
    https://www.sohu.com/a/484704098_100135144
    https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    รหัสลับบทกวีจีนจาก <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณนี่เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนิยาย/ซีรีส์จีนจริงๆ ไม่ทราบว่ามีใครที่ดูซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> แล้วรู้สึกสะดุดหูกับจังหวะจะโคนของรหัสลับที่องครักษ์ชุดแดงใช้ยืนยันตัวตนกันหรือไม่? สำหรับ Storyฯ แล้วมันเตะหูพอสมควร เพราะรหัสลับเหล่านี้ล้วนเป็นวลีจากบทกวีจีนโบราณ รหัสลับที่ยกตัวอย่างมาคุยกันวันนี้ คือตอนที่หรูอี้ให้คนปลอมตัวไปหาองครักษ์ชุดแดงเพื่อสืบหาคนที่ฆ่าหลินหลงตาย รหัสลับถามตอบนี้คือ ‘ซานสือลิ่วกงถู่ฮวาปี้’ (三十六宫土花碧) และ ‘เทียนรั่วโหย่วฉิงเทียนอี้เหล่า’ (天若有情天亦老) Storyฯ ขอแปลว่า ‘สามสิบหกพระตำหนัก ตะไคร่คลุมธรณี / หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ ฟังแล้วคงไม่ได้ใจความนัก เพราะจริงๆ แล้วมันไม่ใช่วรรคที่ต่อเนื่องกัน แต่ทั้งสองวรรคนี้ปรากฏอยู่ในบทกวีเดียวกันที่มีชื่อว่า ‘จินถงเซียนเหรินฉือฮั่นเกอ’ (金铜仙人辞汉歌 แปลได้ประมาณว่า ลำนำเซียนจินถงลาจากแดนฮั่น) เป็นผลงานของหลี่เฮ่อ (ค.ศ. 790-816) สี่สุดยอดกวีแห่งสมัยถัง และนี่เป็นหนึ่งในบทกวีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ของเขา มันเป็นบทกวียาวที่กล่าวถึงการล่มสลายของอาณาจักรฮั่นที่ครั้งหนึ่งเคยเรืองรอง แต่กลับเหลือเพียงพระตำหนักที่ว่างร้างจนตะไคร่ปกคลุม เทพเซียนร่ำไห้ลาจาก จนถึงขนาดว่าถ้าฟ้ามีจิตใจรักได้เหมือนคน ก็คงรู้สึกอนาจใจเศร้าจนแก่ชราไปเช่นคน บทกวีนี้เต็มไปด้วยอารมณ์เศร้าอาดูรและแค้นใจในเวลาเดียวกัน สะท้อนถึงสภาพจิตใจของหลี่เฮ่อในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ถังอ่อนแอ และเขาเองจำเป็นต้องลาออกจากราชการและเดินทางจากนครฉางอันไปด้วยอาการป่วย แต่ที่ Storyฯ รู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้ตั้งเป็นโจทย์ในการดวลบทกวีอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเพื่อนเพจที่คุ้นเคยกับซีรีส์และนิยายจีนโบราณคงเคยผ่านตาว่า การดวลบทกวีนี้ เป็นการต่อกลอนคู่ โดยคนหนึ่งตั้งโจทย์วรรคแรก อีกคนมาแต่งวรรคต่อให้จบ ซึ่งวรรค ‘หากฟ้ามีใจรักฯ’ นี้ ถูกนำมาใช้เป็นวรรคแรกของกลอนคู่โดยไม่มีใครสามารถต่อวรรคท้ายได้อย่างสมบูรณ์มากว่าสองร้อยปี! ซึ่งเป็นเรื่องน่าทึ่งมากสำหรับยุคสมัยที่มีนักอักษรและนักประพันธ์มากมายอย่างสมัยถัง อนึ่ง การต่อวรรคคู่ที่ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีจำนวนอักษรเท่ากันและมีเสียงสูงเสียงต่ำคล้องจองกันเท่านั้น แต่ต้องมีความลงตัวในหลายด้าน เป็นต้นว่า 1) มีบริบทใกล้เคียง เช่น กล่าวถึงวัตถุที่จับต้องได้เหมือนกัน หรือจับต้องไม่ได้เหมือนกัน เป็นวัตถุที่สื่อความหมายในเชิงเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน ไม่ใช่วรรคแรกกล่าวถึงดอกไม้ วรรคหลังพูดถึงโต๊ะ อะไรอย่างนี้; 2) คุณศัพท์ที่ขยายนามหรืออารมณ์ที่สื่อต้องเหมือนกันหรือตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงเพื่อแสดงความขัดแย้งบางอย่าง เช่น ฝนตกหนักกับแดดแรงจ้า หรือ ฝนตกหนักกับหยดน้ำเล็ก; ฯลฯ วรรค ‘หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน’ นี้มีคนต่อวรรคหลังมากมาย แต่ไม่มีความลงตัวอย่างสมบูรณ์จวบจนสมัยราชวงศ์ซ่ง ผู้ที่ต่อวรรคหลังนี้คือสือเหยียนเหนียน (ค.ศ. 994-1041) นักอักษรและกวีสมัยซ่งเหนือ ในค่ำคืนหนึ่งหลังจากดื่มสุราไปหลายกรึ๊บ ในยามกึ่งเมากึ่งมีสตินั้น เขาได้ยินคนรอบข้างต่อวรรค ‘หากฟ้ามีใจฯ’ นี้กันอยู่ จึงโพล่งวรรคต่อออกมาในทันใด ซึ่งก็คือ ‘หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง’ (月如无恨月长圆 / เยวี่ยหรูอู๋เฮิ่นเยวี่ยฉางเหยวียน) เป็นการต่อวรรคที่สมบูรณ์จนคนตะลึง เพราะไม่เพียงอักขระ คำบรรยายและบริบทลงตัว หากแต่ความหมายแฝงที่สื่อถึงสัจธรรมแห่งชีวิตยังสอดคล้องอีกด้วย ... หากฟ้ามีใจรัก ฟ้าย่อมชราลงเช่นกัน ... ... หากจันทร์ไร้ใจเกลียด จันทร์ย่อมเต็มดวงยืนยง ... วรรคต้นที่ไม่มีใครต่อวรรคได้มากว่าสองร้อยปี เกิดวรรคต่อที่สะเทือนวงการนักอักษรในสมัยนั้นจนถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว เพื่อนเพจอ่านและตีความแล้วได้ความรู้สึกอย่างไรคะ? เห็นความเป็น ‘กลอนคู่’ ของมันหรือไม่? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_25539972 https://k.sina.cn/article_6502395912_18392b008001004rs9.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://so.gushiwen.cn/shiwenv_33199885635a.aspx https://baike.baidu.com/金铜仙人辞汉歌/1659854 https://www.sohu.com/a/484704098_100135144 https://www.workercn.cn/c/2024-02-06/8143503.shtml #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #หลี่เฮ่อ #กวีถัง #หากฟ้ามีใจรัก #สือเหยียนเหนียน
    《一念关山》:刘诗诗更适合“独美”
    澎湃,澎湃新闻,澎湃新闻网,新闻与思想,澎湃是植根于中国上海的时政思想类互联网平台,以最活跃的原创新闻与最冷静的思想分析为两翼,是互联网技术创新与新闻价值传承的结合体,致力于问答式新闻与新闻追踪功能的实践。
    1 Comments 0 Shares 249 Views 0 Reviews
  • หลายสัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องหินสามชาติ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำวั่งชวน (แม่น้ำลืมเลือน) วันนี้เลยมาคุยกันอีกสักนิดถึงแม่น้ำวั่งชวนนี้ หากใครได้ดูละครเรื่อง <เถ้ามธุรส> จะเห็นฉากที่นางเอกลงไปลุยแม่น้ำวั่งชวน รูปแม่น้ำตามรูปขวา (จากในละคร) แลเห็นมีแสงเขียวเป็นดวงๆ อยู่ในน้ำ ซึ่งตามตำนานนั้นพวกนี้ก็คือดวงวิญญาน

    ความมีอยู่ว่า
    ...ข้ายกขาก้าวลงไปในแม่น้ำวั่งชวนอย่างไม่ลังเล มิใยที่เหล่าวิญญาณที่กำลังคร่ำครวญโหยหวนต่างกรูกันเข้ามา เพียงชั่วขณะจิตก็ฉุดรั้งครึ่งท่อนล่างของร่างข้าลงไป ข้าใช้มือแกะเส้นสายดวงวิญญาณในน้ำเหล่านี้ออกไป พลางพินิจดูดวงวิญญาณในน้ำนั้น ข้าเชื่อว่า ขอเพียงข้าเสาะหาอย่างไม่หยุดยั้ง ต่อให้แม่น้ำวั่งชวนจะมีกี่ล้านพันล้านดวงวิญญาณ ข้าก็จะยังหาพบเสี้ยวหนึ่งของเขา...
    - จากเรื่อง <มธุรสหวานล้ำ สลายเป็นเถ้าราวเกล็ดน้ำค้าง> ผู้แต่ง เตี้ยนเสี้ยน
    (หมายเหตุ ชื่อหนังสือตามฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่อง <เถ้ามธุรส> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    เพื่อนเพจแฟนคลับนิยายจีนแนวเทพเซียนคงคุ้นเคยดีกับเรื่องน้ำแกงยายเมิ่งที่ทำให้คนลืมอดีตชาติเพื่อไปเกิดใหม่ ว่ากันว่ายายเมิ่งแจกจ่ายน้ำแกงนี้ให้ดวงวิญญาณกินก่อนจะก้าวข้ามผ่านสะพานไน่เหอ (เคยมีคนแปลไว้ว่าสะพานอนิจจัง) เพื่อไปสู่ภพชาติใหม่ ผู้ใดไม่ยอมดื่มน้ำแกงยายเมิ่งก็ข้ามสะพานไน่เหอไปเกิดใหม่ไม่ได้ สะพานไน่เหอนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวั่งชวน (แต่ในละครไม่มี) ตามตำนานนั้นสะพานไน่เหอมีสามชั้น ชั้นบนสุดปลอดภัยเดินสะดวก เป็นชั้นเดินของวิญญาณที่มีจิตใจปราณี ชั้นที่สองเดินลำบากหน่อยแต่ไม่อันตราย เป็นชั้นเดินของวิญญาณที่ทำผิดเล็กน้อยมาบ้างทำดีมาบ้าง ส่วนชั้นล่างอันตรายสุดมีงูทองแดงและสุนัขเหล็กคอยจู่โจม เป็นชั้นเดินของวิญญาณที่เคยทำเรื่องชั่วร้าย

    วั่งชวน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นแม่น้ำลืมเลือน แล้วทำไมจึงมีดวงวิญญาณ? คำตอบก็คือ 1) คนที่ข้ามสะพานไม่ผ่านแล้วหล่นลงมา (ก็จากสะพานชั้นล่างที่อันตรายสุดตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่เล่าขานว่าดวงวิญญาณในแม่น้ำวั่งชวนส่วนใหญ่เป็นวิญญาณร้าย) และ 2) คนที่ไม่สามารถปล่อยวางอดีต ไม่ยอมกินน้ำแกงยายเมิ่ง ข้ามสะพานไน่เหอไม่ได้ ได้แต่กระโดดลงไปในแม่น้ำวั่งชวนเพื่อรอคอยคนรัก และต้องรอนานถึงหนึ่งพันปี

    สำหรับคนที่กระโดดลงน้ำเพื่อรอคอยคนรัก เชื่อว่ามันคงเป็นการรอคอยที่ทรมาน เพราะภายในหนึ่งพันปีนั้น เขาอาจได้เห็นคนรักดื่มน้ำแกงยายเมิ่งข้ามสะพานแล้วลืมอดีตชาติลืมตนเองไปโดยไม่ทันได้มองลงมาเห็นตน และอาจบางทีเขาต้องมองคนคนนั้นก้าวข้ามผ่านไปครั้งแล้วครั้งเล่า เศร้าไหม? แต่หากอดทนได้พันปีไม่ลืมรักก็จะมีโอกาสไปเกิดใหม่เพื่อตามหารักนั้นอีกครั้ง… ย้ำ: ถ้าอดทนได้หนึ่งพันปี

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://wallpapercave.com/ashes-of-love-wallpapers
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.360doc.com/content/17/0124/22/31610762_624607651.shtml
    https://www.bilibili.com/read/cv8965867/
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/27278819

    #มธุรสหวานล้ำ #เถ้ามธุรส #วั่งชวน #ตำนานจีน StoryfromStory
    หลายสัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องหินสามชาติ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำวั่งชวน (แม่น้ำลืมเลือน) วันนี้เลยมาคุยกันอีกสักนิดถึงแม่น้ำวั่งชวนนี้ หากใครได้ดูละครเรื่อง <เถ้ามธุรส> จะเห็นฉากที่นางเอกลงไปลุยแม่น้ำวั่งชวน รูปแม่น้ำตามรูปขวา (จากในละคร) แลเห็นมีแสงเขียวเป็นดวงๆ อยู่ในน้ำ ซึ่งตามตำนานนั้นพวกนี้ก็คือดวงวิญญาน ความมีอยู่ว่า ...ข้ายกขาก้าวลงไปในแม่น้ำวั่งชวนอย่างไม่ลังเล มิใยที่เหล่าวิญญาณที่กำลังคร่ำครวญโหยหวนต่างกรูกันเข้ามา เพียงชั่วขณะจิตก็ฉุดรั้งครึ่งท่อนล่างของร่างข้าลงไป ข้าใช้มือแกะเส้นสายดวงวิญญาณในน้ำเหล่านี้ออกไป พลางพินิจดูดวงวิญญาณในน้ำนั้น ข้าเชื่อว่า ขอเพียงข้าเสาะหาอย่างไม่หยุดยั้ง ต่อให้แม่น้ำวั่งชวนจะมีกี่ล้านพันล้านดวงวิญญาณ ข้าก็จะยังหาพบเสี้ยวหนึ่งของเขา... - จากเรื่อง <มธุรสหวานล้ำ สลายเป็นเถ้าราวเกล็ดน้ำค้าง> ผู้แต่ง เตี้ยนเสี้ยน (หมายเหตุ ชื่อหนังสือตามฉบับแปลอย่างเป็นทางการ ละครเรื่อง <เถ้ามธุรส> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) เพื่อนเพจแฟนคลับนิยายจีนแนวเทพเซียนคงคุ้นเคยดีกับเรื่องน้ำแกงยายเมิ่งที่ทำให้คนลืมอดีตชาติเพื่อไปเกิดใหม่ ว่ากันว่ายายเมิ่งแจกจ่ายน้ำแกงนี้ให้ดวงวิญญาณกินก่อนจะก้าวข้ามผ่านสะพานไน่เหอ (เคยมีคนแปลไว้ว่าสะพานอนิจจัง) เพื่อไปสู่ภพชาติใหม่ ผู้ใดไม่ยอมดื่มน้ำแกงยายเมิ่งก็ข้ามสะพานไน่เหอไปเกิดใหม่ไม่ได้ สะพานไน่เหอนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวั่งชวน (แต่ในละครไม่มี) ตามตำนานนั้นสะพานไน่เหอมีสามชั้น ชั้นบนสุดปลอดภัยเดินสะดวก เป็นชั้นเดินของวิญญาณที่มีจิตใจปราณี ชั้นที่สองเดินลำบากหน่อยแต่ไม่อันตราย เป็นชั้นเดินของวิญญาณที่ทำผิดเล็กน้อยมาบ้างทำดีมาบ้าง ส่วนชั้นล่างอันตรายสุดมีงูทองแดงและสุนัขเหล็กคอยจู่โจม เป็นชั้นเดินของวิญญาณที่เคยทำเรื่องชั่วร้าย วั่งชวน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นแม่น้ำลืมเลือน แล้วทำไมจึงมีดวงวิญญาณ? คำตอบก็คือ 1) คนที่ข้ามสะพานไม่ผ่านแล้วหล่นลงมา (ก็จากสะพานชั้นล่างที่อันตรายสุดตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่เล่าขานว่าดวงวิญญาณในแม่น้ำวั่งชวนส่วนใหญ่เป็นวิญญาณร้าย) และ 2) คนที่ไม่สามารถปล่อยวางอดีต ไม่ยอมกินน้ำแกงยายเมิ่ง ข้ามสะพานไน่เหอไม่ได้ ได้แต่กระโดดลงไปในแม่น้ำวั่งชวนเพื่อรอคอยคนรัก และต้องรอนานถึงหนึ่งพันปี สำหรับคนที่กระโดดลงน้ำเพื่อรอคอยคนรัก เชื่อว่ามันคงเป็นการรอคอยที่ทรมาน เพราะภายในหนึ่งพันปีนั้น เขาอาจได้เห็นคนรักดื่มน้ำแกงยายเมิ่งข้ามสะพานแล้วลืมอดีตชาติลืมตนเองไปโดยไม่ทันได้มองลงมาเห็นตน และอาจบางทีเขาต้องมองคนคนนั้นก้าวข้ามผ่านไปครั้งแล้วครั้งเล่า เศร้าไหม? แต่หากอดทนได้พันปีไม่ลืมรักก็จะมีโอกาสไปเกิดใหม่เพื่อตามหารักนั้นอีกครั้ง… ย้ำ: ถ้าอดทนได้หนึ่งพันปี (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://wallpapercave.com/ashes-of-love-wallpapers Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.360doc.com/content/17/0124/22/31610762_624607651.shtml https://www.bilibili.com/read/cv8965867/ https://zhuanlan.zhihu.com/p/27278819 #มธุรสหวานล้ำ #เถ้ามธุรส #วั่งชวน #ตำนานจีน StoryfromStory
    1 Comments 0 Shares 267 Views 0 Reviews
  • วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก

    “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า

    เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花)

    ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า?

    เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ

    แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html
    http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/
    https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/
    https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html
    https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html
    https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    วันนี้คุยกันเรื่องสำนวนจีน พร้อมกับลงรูปรวมฮิตนางร้าย/นางรองในหลายละครจีนที่มีฝีไม้ลายมือประทับใจ Storyฯ เพราะเราจะคุยกันเรื่องวลีที่บรรยายถึงความอกหักรักคุด เป็นวลียอดนิยมในนิยายจีนที่อาจไม่มีการแปลตรงตัวออกมาเป็นบทพูดในละครนัก “ลั่วฮวาโหย่วอี้ หลิวสุ่ยอู๋ฉิง / 落花有意 流水无情” เพื่อนเพจแฟนนิยายจีนอาจเคยอ่านคำแปลหลากหลาย แต่ Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงเองว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจ สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรี” วลีนี้มีความหมายว่าหลงรักเขาข้างเดียว ทอดสะพานให้ก็แล้ว ทำทุกสิ่งอย่างเพื่อเขาก็แล้ว แต่เขายังไม่เหลียวแลไม่เห็นคุณค่า เป็นประโยคที่นิยมใช้ในนิยายจีนมากมาย เพียงหลับตาก็เห็นภาพทิวทัศน์ แต่เพื่อนเพจรู้หรือไม่ว่า จริงๆ แล้วมันเป็นเพียงวรรคย่อของบทประพันธ์โดยกวีเอกสมัยราชวงศ์หมิงนามว่าเฝิงเมิ่งหลง (ค.ศ. 1574-1646) โดยมีวรรคเต็มแปลได้ว่า “บุปผาโปรยร่วงด้วยมีใจติดตามวารี สายนทีไหลผ่านไร้ไมตรีเมินรักบุษบา” (落花有意随流水,流水无情恋落花) ด้วยคำบรรยายกล่าวถึงดอกไม้พยายามเข้าหาสายน้ำ ฟังดูได้อารมณ์ฝ่ายหญิงอกหักจากการหลงรักชายฝ่ายเดียว แล้วถ้าเป็นฝ่ายชายหลงรักฝ่ายหญิงแต่ข้างเดียวล่ะ? จริงๆ แล้วใช้วลีนี้ก็ไม่ผิดและใช้กันค่อนข้างแพร่หลาย แต่แฟนนิยายจีนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกวลีที่มีใจความคล้ายคลึงแต่ฟังดู “แมน” มากกว่า? เป็นวลีจากบทกวีจากสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1271-1368) โดยกวีเอกเกาหมิง ใจความว่า “อั๋วเปิ่นเจียงซินเซี่ยงหมิงเยวี่ย ไน่เหอหมิงเยวี่ยเจ้าโกวฉวี / 我本将心向明月,奈何明月照沟渠" แปลได้ว่า “เดิมข้าฝากใจใฝ่จันทรา แต่จนใจจันทิราทอแสงส่องคูน้ำ” ความเดิมหมายถึงความรักความใส่ใจของพ่อแม่ที่มีต่อลูกแต่ลูกไม่ใยดี แต่กาลเวลาผ่านไปวลีนี้กลับถูกนำมาใช้ในบทประพันธ์หลากหลายจนกลายเป็นคำบรรยายถึงชายที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อหญิงที่ตนรัก แต่หญิงกลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจ แต่ไม่ว่าจะเป็นวลีใด Storyฯ รู้สึกว่า บทกวีจีนโบราณมีความโรแมนติกเพราะมักอาศัยคำบรรยายถึงทิวทัศน์ธรรมชาติอันงดงามมาเปรียบเปรย ทีแรกที่อ่านถึงสองวลีนี้ ก็นึกถึงบทกลอนของบ้านเราที่ว่า “รักเขาข้างเดียวเหมือนเกลียวเชือก ต้องนอนกลิ้งนอนเกลือกจนเหงือกแห้ง...” แต่ก็รู้สึกว่าเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้เพราะมันคนละอรรถรสกันเลย เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://kknews.cc/culture/5ab4ezk.html http://en.linkeddb.com/movie/59f3095d198c38001385e9ef/ https://dramapearls.com/2019/03/23/princess-agents-chinese-drama-review-episode-guide/ https://dramapanda.com/2016/12/character-posters-for-three-lives-three.html Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/539564315.html https://www.guwenxuexi.com/classical/21912.html https://www.163.com/dy/article/EEQV7LO70544511W.html
    1 Comments 0 Shares 308 Views 0 Reviews
  • วันนี้ Storyฯ ขอกล่าวถึงสำนวนจีนที่เตะตาเมื่ออ่านถึงบทความด้านล่างในนิยายจีน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “เขาไม่กลัวทำให้ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายขุ่นเคือง?” ปันฮว่านึกถึงประเด็นสำคัญ “เขารับราชการมีตำแหน่ง ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายจะให้เขาใส่รองเท้าเล็กหรือไม่?” ...
    - จากเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ผู้แต่ง เยวี่ยเซี่ยเตี๋ยอิ่ง
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    การ ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ (ชวนเสี่ยวเสีย หรือ 穿小鞋) เพื่อนเพจบางคนอาจเคยอ่านเจอ ความหมายของสำนวนนี้แปลว่า ใช้อำนาจที่มี กลั่นแกล้งหรือสร้างความลำบากให้คนอื่น หรือบีบบังคับคนอื่นให้ฝืนทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ

    แล้วสำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

    เบื้องหลังของสำนวนนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนโบราณ นับแต่สมัยองค์หลี่อวี้แห่งถังใต้ (สมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น ค.ศ. 907-960) พระองค์ทรงมีความนิยมชมชอบสตรีเท้าเล็ก เกิดเป็นต้นฉบับของธรรมเนียมการรัดเท้าสตรี หลายคนเข้าใจว่าสำนวนนี้มาจากการบีบบังคับให้สตรีรัดเท้า

    แต่จริงๆ แล้วเรื่องราวที่กล่าวขานมีที่มาจากประเพณีการแต่งงาน ซึ่งแม่สื่อจะส่งมอบแบบขนาดเท้าของฝ่ายหญิงให้กับฝ่ายชาย หากเล็กสวยงามเป็นที่พอใจก็จะหมั้นหมายกันและฝ่ายเจ้าบ่าวจะตัดเย็บรองเท้าตามแบบขนาดนั้นให้เจ้าสาวไว้ก่อนงานวันแต่งงาน เมื่อถึงวันแต่งงาน เจ้าสาวก็จะต้องสวมใส่รองเท้าที่ฝ่ายเจ้าบ่าวส่งมาให้ ทั้งนี้เพื่อว่าฝ่ายเจ้าบ่าวจะได้ไม่โดนหลอกลวงตบแต่งเจ้าสาวเท้าใหญ่เข้าบ้าน

    มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีสตรีนามว่าเฉี่ยวอวี้ ถูกแม่เลี้ยงใจร้ายกลั่นแกล้ง ส่งแบบขนาดรองเท้าที่เล็กเกินไปให้กับว่าที่เจ้าบ่าว พอถึงวันแต่งงาน นางพยายามบีบเท้าอย่างไรก็ใส่รองเท้าคู่นั้นไม่ลง จึงรู้สึกอับอายจนแขวนคอตาย แต่ก็มีที่เล่าว่าเฉี่ยวอวี้ไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่ทนบีบเท้าใส่รองเท้าที่เล็กไปจนเท้าบาดเจ็บ ต่อมาบิดานางทราบความจริงก็ทำโทษแม่เลี้ยงใจร้าย จบแบบสวยๆ

    แต่ไม่ว่าเรื่องราวที่แท้จริงจบลงอย่างไร เรื่องของเฉี่ยวอวี้นี้กลายเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ สำนวนนี้ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน มักใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใหญ่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้น้อย

    มีเพื่อนเพจท่านใดพอจะทราบไหมคะว่ามีสำนวนไทยที่มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือเปล่า Storyฯ นึกไม่ออกจริงๆ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจากภาพโฆษณาละครและหน้าปกหนังสือ:
    http://www.peoplezzs.com/yule/2021/0112/53833.html
    https://readmoo.com/book/210027627000101
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://zhidao.baidu.com/question/4655693
    https://kknews.cc/history/8mmrpll.html
    http://xh.5156edu.com/page/z4417m6469j20897.html

    #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #เท้าบัวทอง #ใส่รองเท้าเล็ก #สำนวนจีน #วลีจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ
    วันนี้ Storyฯ ขอกล่าวถึงสำนวนจีนที่เตะตาเมื่ออ่านถึงบทความด้านล่างในนิยายจีน ความมีอยู่ว่า ... “เขาไม่กลัวทำให้ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายขุ่นเคือง?” ปันฮว่านึกถึงประเด็นสำคัญ “เขารับราชการมีตำแหน่ง ท่านอัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายจะให้เขาใส่รองเท้าเล็กหรือไม่?” ... - จากเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ผู้แต่ง เยวี่ยเซี่ยเตี๋ยอิ่ง (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) การ ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ (ชวนเสี่ยวเสีย หรือ 穿小鞋) เพื่อนเพจบางคนอาจเคยอ่านเจอ ความหมายของสำนวนนี้แปลว่า ใช้อำนาจที่มี กลั่นแกล้งหรือสร้างความลำบากให้คนอื่น หรือบีบบังคับคนอื่นให้ฝืนทำในสิ่งที่ไม่ต้องการ แล้วสำนวนนี้มีที่มาอย่างไร? เบื้องหลังของสำนวนนี้มีเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมจีนโบราณ นับแต่สมัยองค์หลี่อวี้แห่งถังใต้ (สมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น ค.ศ. 907-960) พระองค์ทรงมีความนิยมชมชอบสตรีเท้าเล็ก เกิดเป็นต้นฉบับของธรรมเนียมการรัดเท้าสตรี หลายคนเข้าใจว่าสำนวนนี้มาจากการบีบบังคับให้สตรีรัดเท้า แต่จริงๆ แล้วเรื่องราวที่กล่าวขานมีที่มาจากประเพณีการแต่งงาน ซึ่งแม่สื่อจะส่งมอบแบบขนาดเท้าของฝ่ายหญิงให้กับฝ่ายชาย หากเล็กสวยงามเป็นที่พอใจก็จะหมั้นหมายกันและฝ่ายเจ้าบ่าวจะตัดเย็บรองเท้าตามแบบขนาดนั้นให้เจ้าสาวไว้ก่อนงานวันแต่งงาน เมื่อถึงวันแต่งงาน เจ้าสาวก็จะต้องสวมใส่รองเท้าที่ฝ่ายเจ้าบ่าวส่งมาให้ ทั้งนี้เพื่อว่าฝ่ายเจ้าบ่าวจะได้ไม่โดนหลอกลวงตบแต่งเจ้าสาวเท้าใหญ่เข้าบ้าน มีเรื่องเล่าต่อมาว่า ในสมัยราชวงศ์ซ่ง มีสตรีนามว่าเฉี่ยวอวี้ ถูกแม่เลี้ยงใจร้ายกลั่นแกล้ง ส่งแบบขนาดรองเท้าที่เล็กเกินไปให้กับว่าที่เจ้าบ่าว พอถึงวันแต่งงาน นางพยายามบีบเท้าอย่างไรก็ใส่รองเท้าคู่นั้นไม่ลง จึงรู้สึกอับอายจนแขวนคอตาย แต่ก็มีที่เล่าว่าเฉี่ยวอวี้ไม่ได้ฆ่าตัวตาย แต่ทนบีบเท้าใส่รองเท้าที่เล็กไปจนเท้าบาดเจ็บ ต่อมาบิดานางทราบความจริงก็ทำโทษแม่เลี้ยงใจร้าย จบแบบสวยๆ แต่ไม่ว่าเรื่องราวที่แท้จริงจบลงอย่างไร เรื่องของเฉี่ยวอวี้นี้กลายเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า ‘ให้ (ใคร) ใส่รองเท้าเล็ก’ สำนวนนี้ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน มักใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใหญ่ใช้อำนาจกลั่นแกล้งผู้น้อย มีเพื่อนเพจท่านใดพอจะทราบไหมคะว่ามีสำนวนไทยที่มีความหมายคล้ายคลึงกันหรือเปล่า Storyฯ นึกไม่ออกจริงๆ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจากภาพโฆษณาละครและหน้าปกหนังสือ: http://www.peoplezzs.com/yule/2021/0112/53833.html https://readmoo.com/book/210027627000101 Credit ข้อมูลจาก: https://zhidao.baidu.com/question/4655693 https://kknews.cc/history/8mmrpll.html http://xh.5156edu.com/page/z4417m6469j20897.html #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #เท้าบัวทอง #ใส่รองเท้าเล็ก #สำนวนจีน #วลีจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ
    《我就是这般女子》“关”方定档1月18日 关晓彤侯明昊甜辣互撩_人民在线
    由企鹅影视、谷元(上海)文化科技共同出品,陈伟祥、杨小波执导,关晓彤、侯明昊等主演,改编自月下蝶影同名小说的古装甜爽轻喜剧《我就是这般女子》正式定档1月18日,关晓彤下场 关方
    1 Comments 0 Shares 311 Views 0 Reviews
  • เก่าไปนิด แต่ Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสอ่านนิยายจีนเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> จบไป สะดุดตากับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยี่ยจื่อไผ’

    ความมีอยู่ว่า
    ...ปัญหาคือว่าหลี่เฉิงอิ๋นไม่เคยมายามวิกาล ... ดังนั้น เมื่อเขาก้าวเข้ามาในห้อง จึงมีเพียงข้าและอาตู้นั่งอยู่หน้าโต๊ะ กำลังเพลิดเพลินสนุกสนานกับการเล่นเยี่ยจื่อไผ ข้าจับได้ไพ่สวยทั้งมือ...
    จากเรื่อง <ตงกง ตำนานตำหนักบูรพา> ผู้แต่ง เฟยอั่วซือฉุน
    (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ‘เยี่ยจื่อไผ’ ที่กล่าวถึงข้างต้น ในละครจะเห็นว่ามันคือไพ่ที่ทำจากไม้ พอพูดถึงเรื่องไพ่ แม้แต่ฝรั่งยังบันทึกไว้ว่าไพ่ถือกำเนิดมาจากจีนโบราณ และเนื่องด้วยวิธีการเล่นไพ่แตกแขนงไปมากมาย การรวบรวมข้อมูลนั้นไม่ง่าย

    Storyฯ พอจะเรียบเรียงได้ว่า เยี่ยจื่อไผเดิมคือ ‘เยี่ยจื่อซี่’ (เกมใบไม้ หรือ 叶子戏 หรือที่มีฝรั่งไปเขียนถึงว่า Leaf Game) เป็นการละเล่นที่เริ่มขึ้นในยุคสมัยปลายราชวงศ์ถัง เป็นที่นิยมในวังและในกลุ่มนักวิชาการไว้เล่นยามสังสรรค์ ใน <บันทึกแห่งองค์หญิงถงชาง> ในสมัยราชวงศ์ถัง เคยบันทึกไว้ว่าองค์หญิงถงชาง (พระราชธิดาในฮ่องเต้อี้จง) ทรงโปรดปรานเกมนี้ถึงขนาดใช้ของล้ำค่าหายากอย่างไข่มุกราตรีมาให้แสงสว่างเพื่อจะได้เล่นจนดึกดื่น จากข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์ฟากตะวันตก ว่ากันว่าเยี่ยจื่อซี่เดิมเป็นเกมทอยลูกเต๋าขนาดใหญ่ ต่อมาจึงนำมาวาดลงเป็นไม้แผ่นเล็กเพื่อสะดวกในการพกพายามเดินทาง เรียกว่าเยี่ยจื่อไผ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นใช้กระดาษ มีการเขียนกำหนดกติกาการเล่นชัดเจนเป็นบันทึกเรียกว่า ‘เยี่ยจื่อเก๋อ’

    เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป กฎกติกาการเล่นก็พัฒนามากขึ้นไปหลากหลายจวบจนถึงยุคสมัยราชวงศ์ชิงจึง ‘นิ่ง’ หรือ ‘เข้าที่’

    แต่กว่าจะถึงวันนั้น ลวดลายของไพ่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย จากเดิมเป็นเพียงตัวเลขจากเล็กไปใหญ่แบบที่เห็นในรูปที่เป็นป้ายไม้จากละคร (ไพ่เบอร์ใหญ่ชนะไพ่เบอร์เล็ก) ก็มีการใช้ชุดตัวเลขหลักหมื่น (ตามรูปไพ่กระดาษที่มีลวดลายหน้าคน) ต่อมามีการเพิ่มเป็นชุดเรียงจำนวนเงินจากครึ่งอีแปะไปเป็นเก้าเฉียน (เข้าใจว่าหนึ่งเฉียนคือหนึ่งร้อยอีแปะ) เป็นต้น

    นอกจากตัวเลขที่เปลี่ยนไปยังมีการวาดลวดลายเพิ่มเติม เช่น ในยุคสมัยราชวงศ์หมิงมีการนิยมเอาตัวละครจากบทประพันธ์ชื่อดังมาวาดเป็นลายไพ่ อย่างตัวละครจากเรื่อง <ซ้องกั๋ง> เป็นต้น ว่ากันว่าลวดลายเหล่านี้เป็นต้นแบบของหน้าไพ่แจ็คเกอร์ของไพ่ป๊อก

    นอกจากนี้ยังมีการคงไว้ซึ่งรูปแบบของการใช้ไม้หรือวัสดุอื่น เป็นที่มาของไพ่โดมิโน (Domino Tiles) อันเป็นต้นแบบของ Mahjong หรือไพ่นกกระจอกนั่นเอง

    Storyฯ ไม่สันทัดการเล่นไพ่ ไม่เข้าใจกติกาของไพ่ประเภทต่างๆ อาจอธิบายไม่ได้ดีนัก ลองทำการบ้านเพิ่มดู เห็นในเว็บสามเกลอมีการคุยเรื่องไพ่ผ่องของไทยเปรียบเทียบกับไพ่จีนไว้ตามนี้ เพื่อนเพจที่สนใจลองอ่านดูนะคะ http://www.samgler.org/archives/card3.htm

    ยังมีละครจีนอีกหลายเรื่องที่พูดถึงเยี่ยจื่อไผ เพื่อนเพจพอจะจำกันได้บ้างไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ ติดตามได้ที่ @StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://dramapanda.com/2018/12/goodbye-my-princess-2018.html
    http://www.chinawenhua.com.cn/zyanjiu/2018/4894.html
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://theplayingcardfactory.com/history
    https://www.parlettgames.uk/histocs/leafgame.html
    http://www.qulishi.com/article/202010/448890.html
    https://zh.wikipedia.org/wiki/%E8%91%89%E5%AD%90%E6%88%B2

    #ตงกง #ไพ่จีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    เก่าไปนิด แต่ Storyฯ เพิ่งได้มีโอกาสอ่านนิยายจีนเรื่อง <ตงกง ตำนานรักตำหนักบูรพา> จบไป สะดุดตากับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยี่ยจื่อไผ’ ความมีอยู่ว่า ...ปัญหาคือว่าหลี่เฉิงอิ๋นไม่เคยมายามวิกาล ... ดังนั้น เมื่อเขาก้าวเข้ามาในห้อง จึงมีเพียงข้าและอาตู้นั่งอยู่หน้าโต๊ะ กำลังเพลิดเพลินสนุกสนานกับการเล่นเยี่ยจื่อไผ ข้าจับได้ไพ่สวยทั้งมือ... จากเรื่อง <ตงกง ตำนานตำหนักบูรพา> ผู้แต่ง เฟยอั่วซือฉุน (หมายเหตุ ชื่อเรื่องใช้ตามชื่อละครที่สร้างมาจากนิยายเรื่องนี้) ‘เยี่ยจื่อไผ’ ที่กล่าวถึงข้างต้น ในละครจะเห็นว่ามันคือไพ่ที่ทำจากไม้ พอพูดถึงเรื่องไพ่ แม้แต่ฝรั่งยังบันทึกไว้ว่าไพ่ถือกำเนิดมาจากจีนโบราณ และเนื่องด้วยวิธีการเล่นไพ่แตกแขนงไปมากมาย การรวบรวมข้อมูลนั้นไม่ง่าย Storyฯ พอจะเรียบเรียงได้ว่า เยี่ยจื่อไผเดิมคือ ‘เยี่ยจื่อซี่’ (เกมใบไม้ หรือ 叶子戏 หรือที่มีฝรั่งไปเขียนถึงว่า Leaf Game) เป็นการละเล่นที่เริ่มขึ้นในยุคสมัยปลายราชวงศ์ถัง เป็นที่นิยมในวังและในกลุ่มนักวิชาการไว้เล่นยามสังสรรค์ ใน <บันทึกแห่งองค์หญิงถงชาง> ในสมัยราชวงศ์ถัง เคยบันทึกไว้ว่าองค์หญิงถงชาง (พระราชธิดาในฮ่องเต้อี้จง) ทรงโปรดปรานเกมนี้ถึงขนาดใช้ของล้ำค่าหายากอย่างไข่มุกราตรีมาให้แสงสว่างเพื่อจะได้เล่นจนดึกดื่น จากข้อมูลจากนักประวัติศาสตร์ฟากตะวันตก ว่ากันว่าเยี่ยจื่อซี่เดิมเป็นเกมทอยลูกเต๋าขนาดใหญ่ ต่อมาจึงนำมาวาดลงเป็นไม้แผ่นเล็กเพื่อสะดวกในการพกพายามเดินทาง เรียกว่าเยี่ยจื่อไผ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นใช้กระดาษ มีการเขียนกำหนดกติกาการเล่นชัดเจนเป็นบันทึกเรียกว่า ‘เยี่ยจื่อเก๋อ’ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป กฎกติกาการเล่นก็พัฒนามากขึ้นไปหลากหลายจวบจนถึงยุคสมัยราชวงศ์ชิงจึง ‘นิ่ง’ หรือ ‘เข้าที่’ แต่กว่าจะถึงวันนั้น ลวดลายของไพ่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย จากเดิมเป็นเพียงตัวเลขจากเล็กไปใหญ่แบบที่เห็นในรูปที่เป็นป้ายไม้จากละคร (ไพ่เบอร์ใหญ่ชนะไพ่เบอร์เล็ก) ก็มีการใช้ชุดตัวเลขหลักหมื่น (ตามรูปไพ่กระดาษที่มีลวดลายหน้าคน) ต่อมามีการเพิ่มเป็นชุดเรียงจำนวนเงินจากครึ่งอีแปะไปเป็นเก้าเฉียน (เข้าใจว่าหนึ่งเฉียนคือหนึ่งร้อยอีแปะ) เป็นต้น นอกจากตัวเลขที่เปลี่ยนไปยังมีการวาดลวดลายเพิ่มเติม เช่น ในยุคสมัยราชวงศ์หมิงมีการนิยมเอาตัวละครจากบทประพันธ์ชื่อดังมาวาดเป็นลายไพ่ อย่างตัวละครจากเรื่อง <ซ้องกั๋ง> เป็นต้น ว่ากันว่าลวดลายเหล่านี้เป็นต้นแบบของหน้าไพ่แจ็คเกอร์ของไพ่ป๊อก นอกจากนี้ยังมีการคงไว้ซึ่งรูปแบบของการใช้ไม้หรือวัสดุอื่น เป็นที่มาของไพ่โดมิโน (Domino Tiles) อันเป็นต้นแบบของ Mahjong หรือไพ่นกกระจอกนั่นเอง Storyฯ ไม่สันทัดการเล่นไพ่ ไม่เข้าใจกติกาของไพ่ประเภทต่างๆ อาจอธิบายไม่ได้ดีนัก ลองทำการบ้านเพิ่มดู เห็นในเว็บสามเกลอมีการคุยเรื่องไพ่ผ่องของไทยเปรียบเทียบกับไพ่จีนไว้ตามนี้ เพื่อนเพจที่สนใจลองอ่านดูนะคะ http://www.samgler.org/archives/card3.htm ยังมีละครจีนอีกหลายเรื่องที่พูดถึงเยี่ยจื่อไผ เพื่อนเพจพอจะจำกันได้บ้างไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ ติดตามได้ที่ @StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://dramapanda.com/2018/12/goodbye-my-princess-2018.html http://www.chinawenhua.com.cn/zyanjiu/2018/4894.html Credit ข้อมูลจาก: https://theplayingcardfactory.com/history https://www.parlettgames.uk/histocs/leafgame.html http://www.qulishi.com/article/202010/448890.html https://zh.wikipedia.org/wiki/%E8%91%89%E5%AD%90%E6%88%B2 #ตงกง #ไพ่จีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    1 Comments 0 Shares 406 Views 0 Reviews
  • แฟนคลับละครจีนย้อนยุคกำลังภายในจะเห็นว่ามียาผงชนิดหนึ่งที่ตัวละครส่วนใหญ่มีพกติดตัวไว้โรยแผล เพื่อนเพจสงสัยกันบ้างหรือไม่ มันคือยาอะไร? ทำไมมีแผลอะไรก็เอาออกมาโรย? ไม่แน่ใจว่านิยายจีนฉบับแปลไทยมีชื่อเรียกยานี้หรือไม่ แต่ฉบับภาษาจีนจะเรียกยานี้ว่า จินชวงเย่า (金疮药)

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ท่านหัวหน้ากองเฉิง ท่านไม่เป็นไรใช่หรือไม่?” จินเซี่ยถาม
    “ไม่เป็นไร ได้ยินมาว่าท่านมือปราบหยวนได้รับบาดเจ็บ นี้คือยาจินชวงเย่าที่ในวังทำขึ้นเพื่อหน่วยองครักษ์โดยเฉพาะ ดีกว่าข้างนอก ทาแล้วแผลจะสมานได้สมบูรณ์” เฉิงฝูกล่าวพลางวางขวดยาไว้บนโต๊ะ....

    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร>

    จินชวงเย่าเป็นผงยาที่ใช้สำหรับบาดแผล มีสรรพคุณห้ามเลือด แก้อักเสบและสมานแผล สูตรยาอาจมีส่วนผสมแตกต่างกันไป แต่เรียกโดยรวมว่าจินชวงเย่า และจินชวงเย่าที่มีชื่อที่สุดในสมัยราชวงศ์ชิง เพราะว่ากันว่าระงับเลือดได้ชะงัดทันใจที่สุด มีชื่อเรียกว่า “เตาเจียนเย่า” (刀尖药)

    จินชวงเย่ามีตัวยาที่สำคัญมากคือ “หลงกู่” (龙骨 แปลว่ากระดูกมังกร) แต่มันไม่ใช่กระดูกของมังกรจริงๆ “หลงกู่” เป็นการเรียกรวมซากกระดูกโบราณที่ขุดพบ เช่นกระดองเต่า กระดูกวัว เป็นต้น (ดูภาพประกอบขวาล่าง) ว่ากันว่า ตอนที่ค้นพบซากกระดูกโบราณเหล่านี้ คนที่ค้นพบพยายามใช้มีดขูดลวดลายบนกระดูกออกด้วยความสงสัย แต่โดนมีดบาดมือ แต่ผงที่ขูดออกจากซากกระดูกกลับทำให้เลือดหยุดไหลได้ทันที จึงเอากระดูกเหล่านี้ไปขายให้ร้านยา จึงเป็นที่มาของการค้นพบว่าผงของหลงกู่บดละเอียดคือตัวยาสำคัญที่มีสรรพคุณห้ามเลือดและลดการอักเสบของจินชวงเย่านั่นเอง

    ประวัติของจินชวงเย่ามีมานานตั้งแต่เมื่อใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ที่แน่ๆ คือมีบันทึกถึงจินชวงเย่าไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960–1279) และใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1636-1912) สาเหตุที่ใช้กันมากในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น เป็นเพราะในสมัยชิงต้องมีการโกนหัวจึงมักมีบาดแผลจากมีดโกน จินชวงเย่าจึงกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน

    และในยุคสมัยราชวงศ์ชิงนั้นเองที่จินชวงเย่าสาบสูญไป เหตุเพราะมีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ผู้ดูแลงานอักษรนามว่า หวางอี้หรง สังเกตเห็นว่าเทียบยาของตนนั้นมียาหลงกู่ แต่เขาไม่รู้จักมัน จึงเรียกเอามาดู และสังเกตเห็นว่าลวดลายบนหลงกู่ที่แท้เป็นอักขระโบราณ แม้เขาอ่านไม่ออกแต่เชื่อว่ามันเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า จึงออกกว้านซื้อเพื่อเก็บรักษาและใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ ต่อมาในราชสำนักมีการทำอย่างนี้อย่างเป็นทางการ หลงกู่จึงมีราคาสูงมากและขาดตลาดไป ไม่สามารถนำมาใช้ทำจินชวงเย่าอีกต่อไป และด้วยตอนนั้นมีวิวัฒนาการด้านการแพทย์มากขึ้น จึงมีการคิดค้นตัวยาอื่นๆ มาทดแทน จึงเลิกใช้ผงยาจินชวงเย่าที่มีแก่นยามาจากหลงกู่จนมันสาบสูญไป (Storyฯ สงสัยว่าแล้วใช้กระดูกทั่วไปแทนไม่ได้หรืออย่างไร แต่หาคำตอบไม่ได้)

    ปัจจุบันมีการยืนยันแล้วว่าอักขระบนหลงกู่ ก็คืออักษรโบราณสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี1200–1050 ก่อนคริสตกาล) กระดูกเหล่านี้ถูกใช้บันทึกพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญในยุคสมัยนั้น รวมถึงผลของพิธีทำนายต่างๆ และเหตุการณ์ทางด้านดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ฝรั่งเรียกกระดูกเหล่านี้ว่า Oracle Bones

    ที่บ้าน Storyฯ มีผงยาห้ามเลือดของจีน แต่ไม่รู้ชื่อและส่วนผสม แต่หน้าตาให้ความรู้สึกเหมือนจินชวงเย่ามาก เวลาดูหนังจีนมักมโนว่ามันคือยาเดียวกัน แต่วันนี้รู้แล้วว่ามันคงทำมาจากส่วนผสมอื่น เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายๆ คนคงมียาที่ว่านี้ที่บ้านเหมือนกัน ใครมีข้อมูลว่ามันคืออะไรก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ ติดตามได้ที่ @StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    http://siaoyin.com/Info/8157030203451210773
    https://www.sohu.com/a/458843590_120172967
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.youtube.com/watch?v=U5NtRnOis9Y
    https://www.163.com/dy/article/G6S7ODGT05439D1U.html
    https://www.bilibili.com/read/cv10911896
    https://www.nms.ac.uk/explore-our-collections/stories/world-cultures/oracle-bones/

    #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ยาจีนโบราณ #ยาห้ามเลือดจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ #หลงกู่ #ราชวงศ์ชิง #จินเซี่ย #ใต้เท้าลู่ #จินชวงเย่า
    แฟนคลับละครจีนย้อนยุคกำลังภายในจะเห็นว่ามียาผงชนิดหนึ่งที่ตัวละครส่วนใหญ่มีพกติดตัวไว้โรยแผล เพื่อนเพจสงสัยกันบ้างหรือไม่ มันคือยาอะไร? ทำไมมีแผลอะไรก็เอาออกมาโรย? ไม่แน่ใจว่านิยายจีนฉบับแปลไทยมีชื่อเรียกยานี้หรือไม่ แต่ฉบับภาษาจีนจะเรียกยานี้ว่า จินชวงเย่า (金疮药) ความมีอยู่ว่า ... “ท่านหัวหน้ากองเฉิง ท่านไม่เป็นไรใช่หรือไม่?” จินเซี่ยถาม “ไม่เป็นไร ได้ยินมาว่าท่านมือปราบหยวนได้รับบาดเจ็บ นี้คือยาจินชวงเย่าที่ในวังทำขึ้นเพื่อหน่วยองครักษ์โดยเฉพาะ ดีกว่าข้างนอก ทาแล้วแผลจะสมานได้สมบูรณ์” เฉิงฝูกล่าวพลางวางขวดยาไว้บนโต๊ะ.... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ยอดองครักษ์เสื้อแพร> จินชวงเย่าเป็นผงยาที่ใช้สำหรับบาดแผล มีสรรพคุณห้ามเลือด แก้อักเสบและสมานแผล สูตรยาอาจมีส่วนผสมแตกต่างกันไป แต่เรียกโดยรวมว่าจินชวงเย่า และจินชวงเย่าที่มีชื่อที่สุดในสมัยราชวงศ์ชิง เพราะว่ากันว่าระงับเลือดได้ชะงัดทันใจที่สุด มีชื่อเรียกว่า “เตาเจียนเย่า” (刀尖药) จินชวงเย่ามีตัวยาที่สำคัญมากคือ “หลงกู่” (龙骨 แปลว่ากระดูกมังกร) แต่มันไม่ใช่กระดูกของมังกรจริงๆ “หลงกู่” เป็นการเรียกรวมซากกระดูกโบราณที่ขุดพบ เช่นกระดองเต่า กระดูกวัว เป็นต้น (ดูภาพประกอบขวาล่าง) ว่ากันว่า ตอนที่ค้นพบซากกระดูกโบราณเหล่านี้ คนที่ค้นพบพยายามใช้มีดขูดลวดลายบนกระดูกออกด้วยความสงสัย แต่โดนมีดบาดมือ แต่ผงที่ขูดออกจากซากกระดูกกลับทำให้เลือดหยุดไหลได้ทันที จึงเอากระดูกเหล่านี้ไปขายให้ร้านยา จึงเป็นที่มาของการค้นพบว่าผงของหลงกู่บดละเอียดคือตัวยาสำคัญที่มีสรรพคุณห้ามเลือดและลดการอักเสบของจินชวงเย่านั่นเอง ประวัติของจินชวงเย่ามีมานานตั้งแต่เมื่อใด Storyฯ ก็หาข้อมูลไม่พบ แต่ที่แน่ๆ คือมีบันทึกถึงจินชวงเย่าไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960–1279) และใช้กันอย่างแพร่หลายในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1636-1912) สาเหตุที่ใช้กันมากในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น เป็นเพราะในสมัยชิงต้องมีการโกนหัวจึงมักมีบาดแผลจากมีดโกน จินชวงเย่าจึงกลายเป็นยาสามัญประจำบ้าน และในยุคสมัยราชวงศ์ชิงนั้นเองที่จินชวงเย่าสาบสูญไป เหตุเพราะมีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ผู้ดูแลงานอักษรนามว่า หวางอี้หรง สังเกตเห็นว่าเทียบยาของตนนั้นมียาหลงกู่ แต่เขาไม่รู้จักมัน จึงเรียกเอามาดู และสังเกตเห็นว่าลวดลายบนหลงกู่ที่แท้เป็นอักขระโบราณ แม้เขาอ่านไม่ออกแต่เชื่อว่ามันเป็นโบราณวัตถุอันทรงคุณค่า จึงออกกว้านซื้อเพื่อเก็บรักษาและใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ ต่อมาในราชสำนักมีการทำอย่างนี้อย่างเป็นทางการ หลงกู่จึงมีราคาสูงมากและขาดตลาดไป ไม่สามารถนำมาใช้ทำจินชวงเย่าอีกต่อไป และด้วยตอนนั้นมีวิวัฒนาการด้านการแพทย์มากขึ้น จึงมีการคิดค้นตัวยาอื่นๆ มาทดแทน จึงเลิกใช้ผงยาจินชวงเย่าที่มีแก่นยามาจากหลงกู่จนมันสาบสูญไป (Storyฯ สงสัยว่าแล้วใช้กระดูกทั่วไปแทนไม่ได้หรืออย่างไร แต่หาคำตอบไม่ได้) ปัจจุบันมีการยืนยันแล้วว่าอักขระบนหลงกู่ ก็คืออักษรโบราณสมัยราชวงศ์ซาง (ประมาณปี1200–1050 ก่อนคริสตกาล) กระดูกเหล่านี้ถูกใช้บันทึกพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญในยุคสมัยนั้น รวมถึงผลของพิธีทำนายต่างๆ และเหตุการณ์ทางด้านดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ ฝรั่งเรียกกระดูกเหล่านี้ว่า Oracle Bones ที่บ้าน Storyฯ มีผงยาห้ามเลือดของจีน แต่ไม่รู้ชื่อและส่วนผสม แต่หน้าตาให้ความรู้สึกเหมือนจินชวงเย่ามาก เวลาดูหนังจีนมักมโนว่ามันคือยาเดียวกัน แต่วันนี้รู้แล้วว่ามันคงทำมาจากส่วนผสมอื่น เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายๆ คนคงมียาที่ว่านี้ที่บ้านเหมือนกัน ใครมีข้อมูลว่ามันคืออะไรก็มาเล่าสู่กันฟังได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ ติดตามได้ที่ @StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: http://siaoyin.com/Info/8157030203451210773 https://www.sohu.com/a/458843590_120172967 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.youtube.com/watch?v=U5NtRnOis9Y https://www.163.com/dy/article/G6S7ODGT05439D1U.html https://www.bilibili.com/read/cv10911896 https://www.nms.ac.uk/explore-our-collections/stories/world-cultures/oracle-bones/ #ยอดองครักษ์เสื้อแพร #ยาจีนโบราณ #ยาห้ามเลือดจีน #วัฒนธรรมจีนโบราณ #หลงกู่ #ราชวงศ์ชิง #จินเซี่ย #ใต้เท้าลู่ #จินชวงเย่า
    1 Comments 0 Shares 446 Views 0 Reviews
  • เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยาย/ดูละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> คงจำได้ว่า เป็นเรื่องราวแนวสืบสวนที่พูดถึงการใช้ข้อมูลจากบันทึกและทะเบียนต่างๆ มาใช้ในการแกะรอยคนร้าย มีหลายประเด็นที่ทำให้ Storyฯ สงสัยเลยต้องไปหาข้อมูลมาเพิ่ม

    เรื่องที่จะเล่าวันนี้มีความ ‘เอ๊ะ’ ตรงไหน เรามาดูจากคำพูดข้างล่างจากในละครเรื่องนี้
    ... สวีปินกล่าว “จากบันทึกทะเบียนบ้านของคนผู้นี้ เขาย้ายมาฉางอันเมื่อปีที่ยี่สิบหกในรัชศกก่อน จดทะเบียนในนามหลงปอ ต่อมาย้ายบ้านหลายครา เมื่อปีที่แล้วย้ายเข้าหวยหย่วนฟาง ที่ดูน่าสงสัยคือ เมื่อปลายปีรัชศกเทียนเป่าปีที่สอง มีการจัดทำสมุดทะเบียนใหม่ กำหนดให้ใส่รายละเอียดใบหน้าให้ชัดเจน แต่ทะเบียนของหลงปอยังคงเป็นทะเบียนเก่าสมัยรัชศกก่อน ไม่เคยระบุรายละเอียดหน้าตา”...

    เพื่อนเพจสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทะเบียนราษฎร์ในสมัยราชวงศ์ถัง (รัชศกเทียนเป่าคือช่วงปีค.ศ. 742-756) ถึงขนาดมีรายละเอียดใบหน้าชัดเจนเชียวหรือ?

    ไปค้นข้อมูลมาจึงพบว่า การนับจำนวนประชากรในจีนโบราณมีมาตั้งแต่กว่าสองพันปีก่อนคริสตกาล เดิมเป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้เพื่อช่วยเหลือคนในยามเกิดอุทกภัยน้ำท่วม ไม่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นเพียงการนับจำนวนประชากรหรือมีการบันทึกรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 1045-771 ก่อนคริสตกาล) มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์ทุกสามปี รายละเอียดที่บันทึกไว้รวมถึงวันเกิด วันตาย เพศ และที่อยู่ของประชาชน

    ในสมัยฉิน มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างเข้มงวด นอกจากรายละเอียดข้างต้นยังมีการระบุเจ้าบ้าน ชื่อสามี-ภรรยา โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อใช้ในการเก็บภาษีและเกณฑ์ทหาร

    ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 221) ประชาชนมีหน้าที่รายงานข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครอบครัวทุกปี โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบโดยทางการท้องถิ่นอีกครั้งก่อนจะรวบรวมส่งทางการส่วนกลาง รายละเอียดที่บันทึกรวมถึงชื่อแซ่ อายุ ภูมิลำเนาเดิม สถานะสมรส รายละเอียดหน้าตา รายได้ และจำนวนพื้นที่ของที่ดินที่ถือครอง หากจะย้ายบ้าน ต้องทำการรายงานกับที่ว่าการท้องถิ่นก่อนจึงจะย้ายออกได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนพเนจร ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย (คือโดนฆ่าตายก็ไม่มีการสืบสวนเอาผิดคนฆ่า) ว่ากันว่าทะเบียนราษฏร์สมัยราชวงศ์ฮั่นนี้ละเอียดถูกต้องเชื่อถือได้มากกว่าครั้งใดที่จีนเคยทำมาในอดีต

    การจัดทำทะเบียนราษฎร์มีต่อมาเรื่อยๆ และมีการลงรายละเอียดมากขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์ถัง (ซึ่งเรื่องราวของ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เกิดขึ้นในสมัยนี้) ในสมัยนั้น ทะเบียนราษฎร์คือการสรุปรวมข้อมูลของทะเบียนบ้านหรือที่เรียกว่า ‘โส่วสือ’ (手实) มีการจัดแยกหมวดหมู่ตามสถานะ กล่าวคือเป็นเจ้าบ้าน เป็นสมาชิกของตระกูล หรือเป็นผู้อยู่อาศัยในเรือนเช่นทาส บ่าว นักดนตรี ฯลฯ และมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของรูปพรรณสัณฐาน เช่นส่วนสูง สีผิว เป็นต้น โดยมีเพียงสมาชิกของตระกูลเท่านั้นที่จะมีสิทธิแยกออกมาจัดตั้งครัวเรือนใหม่ได้ (Storyฯ เพิ่งเข้าใจบริบทที่ว่าบางนิยายจีนโบราณกล่าวถึงการ ‘แยกบ้าน’ ของคนในตระกูลเดียวกันที่ฟังดูเป็นเรื่องราวใหญ่โต) สำหรับชาวไร่ชาวนา ข้อมูลจากโส่วสือยังถูกใช้ในการจัดสรรที่ดินทำกิน โดยอิงตามจำนวนสมาชิกในบ้าน

    ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง มีการลงรายละเอียดเพิ่มเติมอีกคืออาชีพของคนในบ้าน เช่น นายช่าง ทหาร หรือข้าราชการ ฯลฯ และมีรายละเอียดรายรับและสินทรัพย์ของแต่ละคนเพิ่มเติม เช่นจำนวนที่ดิน บ้าน ร้านค้า รถม้า เรือ ฯลฯ ทะเบียนราษฎร์นี้เรียกว่า ‘หวงเช่อ’ (黄册) แปลตรงตัวว่าสมุดเหลือง เพราะมักใช้ปกสีเหลือง (โนว์... ไม่ใช่สมุดโทรศัพท์ Yellow Pages จ้า) อีกทั้งการนำข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์มาใช้เพิ่มดีกรีความเข้มข้น ใครจะเดินทางต้องพกเอกสารใบอนุญาตที่มีข้อมูลประจำตัวและบ้าน (Storyฯ นึกถึงในละครที่จะผ่านประตูเมืองแต่ละครั้งต้องควักเอกสารออกมาฉบับหนึ่ง)

    Storyฯ รู้สึกทึ่งว่า แบบแผนการบริหารงานบ้านเมืองในโลกปัจจุบัน จริงๆ แล้วไม่ได้หนีจากของโบราณที่มีมาหลายพันปีแล้วเลย คนโบราณช่างคิดช่างทำ เก่งจริง เพื่อนๆ ว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://luvasianseries.blogspot.com/2020/10/longest-day-in-changan.html
    https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/113664748
    http://www.naradafoundation.org/content/6526
    https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html

    #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ประวัติศาสตร์จีน #ทะเบียนราษฎร์จีน #ราชวงศ์ถัง
    เพื่อนเพจที่ได้อ่านนิยาย/ดูละครเรื่อง <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> คงจำได้ว่า เป็นเรื่องราวแนวสืบสวนที่พูดถึงการใช้ข้อมูลจากบันทึกและทะเบียนต่างๆ มาใช้ในการแกะรอยคนร้าย มีหลายประเด็นที่ทำให้ Storyฯ สงสัยเลยต้องไปหาข้อมูลมาเพิ่ม เรื่องที่จะเล่าวันนี้มีความ ‘เอ๊ะ’ ตรงไหน เรามาดูจากคำพูดข้างล่างจากในละครเรื่องนี้ ... สวีปินกล่าว “จากบันทึกทะเบียนบ้านของคนผู้นี้ เขาย้ายมาฉางอันเมื่อปีที่ยี่สิบหกในรัชศกก่อน จดทะเบียนในนามหลงปอ ต่อมาย้ายบ้านหลายครา เมื่อปีที่แล้วย้ายเข้าหวยหย่วนฟาง ที่ดูน่าสงสัยคือ เมื่อปลายปีรัชศกเทียนเป่าปีที่สอง มีการจัดทำสมุดทะเบียนใหม่ กำหนดให้ใส่รายละเอียดใบหน้าให้ชัดเจน แต่ทะเบียนของหลงปอยังคงเป็นทะเบียนเก่าสมัยรัชศกก่อน ไม่เคยระบุรายละเอียดหน้าตา”... เพื่อนเพจสงสัยเหมือนกันไหมว่า ทะเบียนราษฎร์ในสมัยราชวงศ์ถัง (รัชศกเทียนเป่าคือช่วงปีค.ศ. 742-756) ถึงขนาดมีรายละเอียดใบหน้าชัดเจนเชียวหรือ? ไปค้นข้อมูลมาจึงพบว่า การนับจำนวนประชากรในจีนโบราณมีมาตั้งแต่กว่าสองพันปีก่อนคริสตกาล เดิมเป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้เพื่อช่วยเหลือคนในยามเกิดอุทกภัยน้ำท่วม ไม่ปรากฏข้อมูลเพิ่มเติมว่าเป็นเพียงการนับจำนวนประชากรหรือมีการบันทึกรายละเอียดมากกว่านั้น แต่ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก (ปี 1045-771 ก่อนคริสตกาล) มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์ทุกสามปี รายละเอียดที่บันทึกไว้รวมถึงวันเกิด วันตาย เพศ และที่อยู่ของประชาชน ในสมัยฉิน มีการจัดทำทะเบียนราษฎร์อย่างเข้มงวด นอกจากรายละเอียดข้างต้นยังมีการระบุเจ้าบ้าน ชื่อสามี-ภรรยา โดยวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อใช้ในการเก็บภาษีและเกณฑ์ทหาร ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น (ปี 202 ก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 221) ประชาชนมีหน้าที่รายงานข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงของสมาชิกในครอบครัวทุกปี โดยข้อมูลจะถูกตรวจสอบโดยทางการท้องถิ่นอีกครั้งก่อนจะรวบรวมส่งทางการส่วนกลาง รายละเอียดที่บันทึกรวมถึงชื่อแซ่ อายุ ภูมิลำเนาเดิม สถานะสมรส รายละเอียดหน้าตา รายได้ และจำนวนพื้นที่ของที่ดินที่ถือครอง หากจะย้ายบ้าน ต้องทำการรายงานกับที่ว่าการท้องถิ่นก่อนจึงจะย้ายออกได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนพเนจร ซึ่งไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย (คือโดนฆ่าตายก็ไม่มีการสืบสวนเอาผิดคนฆ่า) ว่ากันว่าทะเบียนราษฏร์สมัยราชวงศ์ฮั่นนี้ละเอียดถูกต้องเชื่อถือได้มากกว่าครั้งใดที่จีนเคยทำมาในอดีต การจัดทำทะเบียนราษฎร์มีต่อมาเรื่อยๆ และมีการลงรายละเอียดมากขึ้นในยุคสมัยราชวงศ์ถัง (ซึ่งเรื่องราวของ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> เกิดขึ้นในสมัยนี้) ในสมัยนั้น ทะเบียนราษฎร์คือการสรุปรวมข้อมูลของทะเบียนบ้านหรือที่เรียกว่า ‘โส่วสือ’ (手实) มีการจัดแยกหมวดหมู่ตามสถานะ กล่าวคือเป็นเจ้าบ้าน เป็นสมาชิกของตระกูล หรือเป็นผู้อยู่อาศัยในเรือนเช่นทาส บ่าว นักดนตรี ฯลฯ และมีการบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติมของรูปพรรณสัณฐาน เช่นส่วนสูง สีผิว เป็นต้น โดยมีเพียงสมาชิกของตระกูลเท่านั้นที่จะมีสิทธิแยกออกมาจัดตั้งครัวเรือนใหม่ได้ (Storyฯ เพิ่งเข้าใจบริบทที่ว่าบางนิยายจีนโบราณกล่าวถึงการ ‘แยกบ้าน’ ของคนในตระกูลเดียวกันที่ฟังดูเป็นเรื่องราวใหญ่โต) สำหรับชาวไร่ชาวนา ข้อมูลจากโส่วสือยังถูกใช้ในการจัดสรรที่ดินทำกิน โดยอิงตามจำนวนสมาชิกในบ้าน ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง มีการลงรายละเอียดเพิ่มเติมอีกคืออาชีพของคนในบ้าน เช่น นายช่าง ทหาร หรือข้าราชการ ฯลฯ และมีรายละเอียดรายรับและสินทรัพย์ของแต่ละคนเพิ่มเติม เช่นจำนวนที่ดิน บ้าน ร้านค้า รถม้า เรือ ฯลฯ ทะเบียนราษฎร์นี้เรียกว่า ‘หวงเช่อ’ (黄册) แปลตรงตัวว่าสมุดเหลือง เพราะมักใช้ปกสีเหลือง (โนว์... ไม่ใช่สมุดโทรศัพท์ Yellow Pages จ้า) อีกทั้งการนำข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์มาใช้เพิ่มดีกรีความเข้มข้น ใครจะเดินทางต้องพกเอกสารใบอนุญาตที่มีข้อมูลประจำตัวและบ้าน (Storyฯ นึกถึงในละครที่จะผ่านประตูเมืองแต่ละครั้งต้องควักเอกสารออกมาฉบับหนึ่ง) Storyฯ รู้สึกทึ่งว่า แบบแผนการบริหารงานบ้านเมืองในโลกปัจจุบัน จริงๆ แล้วไม่ได้หนีจากของโบราณที่มีมาหลายพันปีแล้วเลย คนโบราณช่างคิดช่างทำ เก่งจริง เพื่อนๆ ว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://luvasianseries.blogspot.com/2020/10/longest-day-in-changan.html https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/113664748 http://www.naradafoundation.org/content/6526 https://daydaynews.cc/zh-hans/history/160001.html #ฉางอันสิบสองชั่วยาม #ประวัติศาสตร์จีน #ทะเบียนราษฎร์จีน #ราชวงศ์ถัง
    1 Comments 0 Shares 388 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงปิ่นปักมงกฎครอบผมของนักพรตเต๋า Storyฯ เลยนึกขึ้นได้ว่าในภาษาจีนมีชื่อเรียกปิ่นสามแบบหลักด้วยกันคือ ‘จ๊าน’ (簪) ‘ไช้’ (钗) และ ‘ปู้เหยา’(步摇) ไม่แน่ใจว่าในนิยายจีนแปลไทยจะมีจำแนกประเภทตามนี้ด้วยหรือไม่ แต่ในละครแปลไทยเราจะได้ยินการเรียกทั้งสามชนิดว่า ปิ่น ปิ่น และปิ่น

    วันนี้เลยมาเล่าให้เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนฟังคร่าวๆ ถึงความแตกต่างระหว่างปิ่นสามแบบนี้ ซึ่งทั้งสามแบบมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ถัง

    ปิ่นที่เห็นส่วนใหญ่เป็นปิ่นก้านเดียว ซึ่งปิ่นลักษณะนี้เรียกว่า ‘จ๊าน’ เดิมเรียกว่า ‘จี’ (笄) อันเป็นที่มาของคำว่า ‘จีหลี่’ ซึ่งก็คือพิธีปักปิ่นของสตรีเมื่ออายุครบสิบห้า เป็นสัญลักษณ์ว่านางโตเป็นผู้ใหญ่พร้อมที่จะแต่งงานออกเรือนแล้ว ซึ่งปิ่นจ๊านเป็นปิ่นหลักที่ใช้ยึดมวยผมให้เข้าที่ (แบบที่เห็นนางเอกปิ่นหลุดที ผมก็สยายให้พระเอกตะลึงมองดั่งต้องมนต์) สำหรับผู้ชายจะมีแต่ปิ่นจ๊านอย่างเดียวเท่านั้น

    ‘ไช้’ เป็นปิ่นที่มีสองก้าน (ดูในรูปกลาง) พัฒนามาจากปิ่นจ๊าน แต่จะเห็นว่าก้านสั้นกว่าปิ่นจ๊านมาก เอาไว้ใช้ติดประดับเพิ่มเติม หรือบางทีก้านเล็กละเอียด เอาไว้ช่วยยึดทรงผมที่ซับซ้อนหรือยึดหมวก (คล้ายๆ กิ๊บผมแบบเสียบที่เราใช้กันในปัจจุบัน) เป็นปิ่นที่มีแต่สตรีใช้เท่านั้น

    ส่วน ‘ปู้เหยา’ นั้น แปลตรงตัวว่า ก้าวเดิน + แกว่งไสว ซึ่งก็คือปิ่นที่มีอะไรห้อยตุ้งติ้งหรือเป็นระย้านั่นเอง อาจเป็นแบบก้านเดียวหรือสองก้านก็ได้ มีการบรรยายแฟชั่นจีนโบราณตามค่านิยมไว้ว่า สุภาพสตรียามก้าวย่างชดช้อย มีระย้าปิ่นปู้เหยาแกว่งไกวดึงดูดสายตา ส่วนสุภาพบุรุษยามก้าวย่างเนิบนาบ มีชายพู่ยาวของหยกห้อยเอวแกว่งไกว

    แล้วนัยของการมอบปิ่นล่ะ มีความหมายแตกต่างกันหรือไม่?

    เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยอ่านเจอว่า ฝ่ายหญิงเอาปิ่นของตัวเองหักเป็นครึ่ง ครึ่งหนึ่งให้ฝ่ายชายเก็บไว้ดูต่างหน้ายามต้องร้างลาจากกันไปไกล อีกครึ่งหนึ่งฝ่ายหญิงเก็บไว้เอง ซึ่งการเอาปิ่นมาหักครึ่งมันจะต้องเป็นปิ่นไช้เท่านั้น การหักครึ่งคือหักเหลือข้างละหนึ่งก้านแยกกันเก็บ เป็นนัยว่าปิ่นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้กลับมาพบเจอกันอีกครั้ง (ไม่ใช่หักก้านเหลือครึ่งท่อน อย่างนั้นความหมายไม่ดี เป็นการแตกหัก)

    ซึ่งกรณีการมอบปิ่นไช้ในลักษณะข้างต้นนั้น เป็นการให้กันระหว่างคู่รักหรือสามีภรรยา และเป็นกรณีเดียวที่การมอบปิ่นไช้เป็นการสื่อถึงความรัก (แต่มันก็จะเศร้าๆ เพราะเป็นการให้ยามต้องพรากจากกัน)

    แต่หากยังไม่ได้เป็นคู่รักหรือสามีภรรยากัน การมอบปิ่นจ๊านระหว่างชายหญิงไม่ได้ให้กันทั่วไป แต่เป็นการบอกรัก เป็นนัยว่าฉันต้องการแต่งงานกับเธอนะ (เป็นที่มาว่าทำไมในละครหลายเรื่องที่นางเอกยังเด็กไม่ประสีประสา ได้รับปิ่นมาไม่คิดอะไร แต่คนรอบข้างรู้หมดว่าฝ่ายชายบอกรัก) ฝ่ายที่ได้รับปิ่นจ๊านแล้ว หากนำมาเสียบใช้ ก็แสดงว่าเธอ/เขาพึงพอใจอีกฝ่ายเช่นกัน นอกจากนี้ ตอนหมั้นหมายกัน ฝ่ายหญิงอาจให้ปิ่นจ๊านเป็นของแทนใจ เมื่อเข้าหอแล้วเจ้าบ่าวจึงจะนำมาคืนให้เจ้าสาว

    เพื่อนเพจท่านใดที่ยังจำได้ถึงฉากใดในละครหรือหนังสือที่มีการมอบปิ่น ปักปิ่น หักปิ่น ที่ดูจะสื่อความหมายลึกซึ้ง มาเม้นท์แชร์กันได้เลยค่ะ Storyฯ นึกขึ้นได้หลายเรื่องเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.tspweb.com/key/清朝花钿头饰.html
    https://www.chinadaily.com.cn/entertainment/2013-06/25/content_16655730_3.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.bala.iask.sina.com.cn/p/302GbyenIWN
    https://www.kpfans.com/article/dVWMM3wpW1.html
    https://www.chinafetching.com/tradition-of-china-hair-ornament

    #ปิ่นปักผมจีน #เครื่องประดับจีน #การแต่งกายจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    สัปดาห์ที่แล้วพูดถึงปิ่นปักมงกฎครอบผมของนักพรตเต๋า Storyฯ เลยนึกขึ้นได้ว่าในภาษาจีนมีชื่อเรียกปิ่นสามแบบหลักด้วยกันคือ ‘จ๊าน’ (簪) ‘ไช้’ (钗) และ ‘ปู้เหยา’(步摇) ไม่แน่ใจว่าในนิยายจีนแปลไทยจะมีจำแนกประเภทตามนี้ด้วยหรือไม่ แต่ในละครแปลไทยเราจะได้ยินการเรียกทั้งสามชนิดว่า ปิ่น ปิ่น และปิ่น วันนี้เลยมาเล่าให้เพื่อนเพจที่ไม่ทราบภาษาจีนฟังคร่าวๆ ถึงความแตกต่างระหว่างปิ่นสามแบบนี้ ซึ่งทั้งสามแบบมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ถัง ปิ่นที่เห็นส่วนใหญ่เป็นปิ่นก้านเดียว ซึ่งปิ่นลักษณะนี้เรียกว่า ‘จ๊าน’ เดิมเรียกว่า ‘จี’ (笄) อันเป็นที่มาของคำว่า ‘จีหลี่’ ซึ่งก็คือพิธีปักปิ่นของสตรีเมื่ออายุครบสิบห้า เป็นสัญลักษณ์ว่านางโตเป็นผู้ใหญ่พร้อมที่จะแต่งงานออกเรือนแล้ว ซึ่งปิ่นจ๊านเป็นปิ่นหลักที่ใช้ยึดมวยผมให้เข้าที่ (แบบที่เห็นนางเอกปิ่นหลุดที ผมก็สยายให้พระเอกตะลึงมองดั่งต้องมนต์) สำหรับผู้ชายจะมีแต่ปิ่นจ๊านอย่างเดียวเท่านั้น ‘ไช้’ เป็นปิ่นที่มีสองก้าน (ดูในรูปกลาง) พัฒนามาจากปิ่นจ๊าน แต่จะเห็นว่าก้านสั้นกว่าปิ่นจ๊านมาก เอาไว้ใช้ติดประดับเพิ่มเติม หรือบางทีก้านเล็กละเอียด เอาไว้ช่วยยึดทรงผมที่ซับซ้อนหรือยึดหมวก (คล้ายๆ กิ๊บผมแบบเสียบที่เราใช้กันในปัจจุบัน) เป็นปิ่นที่มีแต่สตรีใช้เท่านั้น ส่วน ‘ปู้เหยา’ นั้น แปลตรงตัวว่า ก้าวเดิน + แกว่งไสว ซึ่งก็คือปิ่นที่มีอะไรห้อยตุ้งติ้งหรือเป็นระย้านั่นเอง อาจเป็นแบบก้านเดียวหรือสองก้านก็ได้ มีการบรรยายแฟชั่นจีนโบราณตามค่านิยมไว้ว่า สุภาพสตรียามก้าวย่างชดช้อย มีระย้าปิ่นปู้เหยาแกว่งไกวดึงดูดสายตา ส่วนสุภาพบุรุษยามก้าวย่างเนิบนาบ มีชายพู่ยาวของหยกห้อยเอวแกว่งไกว แล้วนัยของการมอบปิ่นล่ะ มีความหมายแตกต่างกันหรือไม่? เพื่อนเพจบางท่านอาจเคยอ่านเจอว่า ฝ่ายหญิงเอาปิ่นของตัวเองหักเป็นครึ่ง ครึ่งหนึ่งให้ฝ่ายชายเก็บไว้ดูต่างหน้ายามต้องร้างลาจากกันไปไกล อีกครึ่งหนึ่งฝ่ายหญิงเก็บไว้เอง ซึ่งการเอาปิ่นมาหักครึ่งมันจะต้องเป็นปิ่นไช้เท่านั้น การหักครึ่งคือหักเหลือข้างละหนึ่งก้านแยกกันเก็บ เป็นนัยว่าปิ่นจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้กลับมาพบเจอกันอีกครั้ง (ไม่ใช่หักก้านเหลือครึ่งท่อน อย่างนั้นความหมายไม่ดี เป็นการแตกหัก) ซึ่งกรณีการมอบปิ่นไช้ในลักษณะข้างต้นนั้น เป็นการให้กันระหว่างคู่รักหรือสามีภรรยา และเป็นกรณีเดียวที่การมอบปิ่นไช้เป็นการสื่อถึงความรัก (แต่มันก็จะเศร้าๆ เพราะเป็นการให้ยามต้องพรากจากกัน) แต่หากยังไม่ได้เป็นคู่รักหรือสามีภรรยากัน การมอบปิ่นจ๊านระหว่างชายหญิงไม่ได้ให้กันทั่วไป แต่เป็นการบอกรัก เป็นนัยว่าฉันต้องการแต่งงานกับเธอนะ (เป็นที่มาว่าทำไมในละครหลายเรื่องที่นางเอกยังเด็กไม่ประสีประสา ได้รับปิ่นมาไม่คิดอะไร แต่คนรอบข้างรู้หมดว่าฝ่ายชายบอกรัก) ฝ่ายที่ได้รับปิ่นจ๊านแล้ว หากนำมาเสียบใช้ ก็แสดงว่าเธอ/เขาพึงพอใจอีกฝ่ายเช่นกัน นอกจากนี้ ตอนหมั้นหมายกัน ฝ่ายหญิงอาจให้ปิ่นจ๊านเป็นของแทนใจ เมื่อเข้าหอแล้วเจ้าบ่าวจึงจะนำมาคืนให้เจ้าสาว เพื่อนเพจท่านใดที่ยังจำได้ถึงฉากใดในละครหรือหนังสือที่มีการมอบปิ่น ปักปิ่น หักปิ่น ที่ดูจะสื่อความหมายลึกซึ้ง มาเม้นท์แชร์กันได้เลยค่ะ Storyฯ นึกขึ้นได้หลายเรื่องเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.tspweb.com/key/清朝花钿头饰.html https://www.chinadaily.com.cn/entertainment/2013-06/25/content_16655730_3.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.bala.iask.sina.com.cn/p/302GbyenIWN https://www.kpfans.com/article/dVWMM3wpW1.html https://www.chinafetching.com/tradition-of-china-hair-ornament #ปิ่นปักผมจีน #เครื่องประดับจีน #การแต่งกายจีนโบราณ #วัฒนธรรมจีนโบราณ StoryfromStory
    1 Comments 0 Shares 414 Views 0 Reviews
  • เพื่อนเพจที่ดูละครจีนโบราณต้องเคยเห็นตราอาญาสิทธิ์ของทหารที่เป็นตัวเสือผ่าครึ่ง และดูเหมือนว่าฮ่องเต้จะไม่สามารถควบคุมกองทัพได้เลยถ้าไม่มีมัน มันก็คือ ‘ตราพยัคฆ์’ หรือ ‘หู่ฝู’ นั่นเอง

    ความมีอยู่ว่า
    ...ครานั้นตราอาญาสิทธิ์หู่ฝูสามทัพอยู่ในมือของจอมทัพปัน ต่อมาจอมทัพปันได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ชายแดน เมื่อกลับมาถึงเมืองหลวงก็วางเกราะลง ทำตัวเป็นกั๋วกงอยู่อย่างเรียบง่ายไร้กังวล ต่อมาเมื่อองค์หวินชิ่งขึ้นครองราชย์ ชายแดนสงบไร้ศึก ตราอาญาสิทธิ์หู่ฝูสามทัพก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นอีกเลย...
    - จากเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ผู้แต่ง เยวี่ยเซี่ยเตี๋ยอิ่ง (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)
    (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    ตราหู่ฝูนี้ฟังดูยิ่งใหญ่ และแฟนละคร/นิยายจีนโบราณต้องเคยผ่านตาเรื่องราวที่ว่าทหารเชื่อฟังหู่ฝูมากกว่าราชโองการจากฮ่องเต้ Storyฯ มีข้อข้องใจเกี่ยวกับหู่ฝูจึงไปทำการบ้านและมาเล่าสู่กันฟังในสามประเด็น: 1) ตราหู่ฝูมีอำนาจเคลื่อนย้ายกองทัพได้ทั้งหมดหรือไม่? 2) ทำไมฮ่องเต้ทำหู่ฝูซีกเดียวขึ้นใหม่ไม่ได้? 3) ตราอาญาสิทธิ์ทางทหารมีหู่ฝูอย่างเดียวหรือ?

    ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจตราหู่ฝู ตราอาญาสิทธิ์ทางการทหารลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในยุคสมัยชุนชิว (ปี 771-476 ก่อนคริสตกาล) แรกเริ่มทำจากไม้ไผ่ ต่อมาจึงทำจากสำริด ทองคำ และหยก

    หู่ฝูจะแบ่งเป็นสองซีก ซีกขวาเก็บไว้ที่ฮ่องเต้ ซีกซ้ายมอบไว้ให้แม่ทัพใหญ่ผู้กุมกำลังกองทัพ ยามจะออกคำสั่งเคลื่อนพล ฮ่องเต้จะมอบตราอาญาสิทธิ์ส่วนของพระองค์ให้กับผู้แทนพระองค์ที่เดินทางนำคำสั่งไปส่งให้แก่แม่ทัพใหญ่ เมื่อนำทั้งสองซีกมาประกบกันได้ถูกต้องสมบูรณ์จึงจะถือว่าคำสั่งนั้นมีผล ในบางยุคสมัยนอกจากตราอาญาสิทธิ์แล้วยังต้องมีพระราชโองการประกอบด้วยจึงจะถือว่าสมบูรณ์

    ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะในสมัยโบราณการสื่อสารยากลำบาก อีกทั้งไม่มีวิธีพิสูจน์ว่าเอกสารหรือราชโองการนั้นจริงหรือเท็จ ตราอาญาสิทธิ์นี้เป็นหลักฐานสูงสุด จึงเป็นที่มาว่าหากฮ่องเต้ไม่มีตราหู่ฝูก็สั่งเคลื่อนกำลังพลไม่ได้

    ทำไมมันจึงเป็นหลักฐานสูงสุด? ก็เพราะว่ามันปลอมแปลงไม่ได้ (หรือยากมาก) เนื่องจากมันมีรูปร่างและใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และตัวหู่ฝูจะมีการสลัก/เขียนรายละเอียดไว้เต็มตัว (ดูภาพประกอบ) อย่างเช่นตราตู้หู่ฝูมีถึง 40 อักษรด้วยกัน มีทั้งกรณีที่ต้องเอาสองซีกมาประกบกันจึงจะอ่านได้ครบ (อย่างเช่นในสมัยราชวงศ์ฮั่น) หรืออีกกรณีคือข้อความสองซีกเหมือนกันแต่ตรงกลางจะมีลายตราที่ถูกผ่าครึ่ง ต้องนำสองซีกมาประกบกันจึงจะเห็นรูปครบ (อย่างเช่นในสมัยฉิน) เพราะฉนั้นผู้ที่มีเพียงซีกเดียวจึงไม่สามารถทำอีกซีกขึ้นใหม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าอีกซีกเขียนหรือวาดอะไรไว้บ้าง (ในบางสมัยแกนในยังมีรูให้ทำเหมือนตัวยื่นเข้าไปประกบด้วย...เพิ่มความยากอีกหนึ่งขั้น) ทั้งนี้ ข้อความที่สมบูรณ์จะระบุขอบเขตอำนาจชัดเจนว่าไว้ใช้สำหรับกองทัพใดและพื้นที่ใด

    ดังนั้น ไขข้อข้องใจไปสองเปลาะว่า ตราอาญาสิทธิ์ทำขึ้นใหม่เองเฉพาะซีกเดียวไม่ได้ และตราแต่ละตัวมีอำนาจควบคุมกองทัพจากพื้นที่เดียวตามที่กำหนดไว้เท่านั้น โยกย้ายกองกำลังอื่นไม่ได้

    ปัจจุบันมีการค้นพบของจริงจากยุคสมัยราชวงศ์ฉินได้ 3 ตัว คือซินกัวหู่ฝู หยางหลิงหู่ฝู และตู้หู่ฝู (รูปประกอบยกมาสองตัว) จะเห็นว่ารูปร่างลวดลายแตกต่างกัน และขนาดของจริงก็แตกต่างกันไปเล็กน้อย จากภาษาที่ใช้ นักโบราณคดีพบว่าทั้งสามตัวนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นพร้อมกันแม้จะมาจากยุคสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้เหมือนกัน

    ตราหู่ฝูคือตราพยัคฆ์ แต่จริงๆ แล้วตราอาญาสิทธิ์ทางทหารเรียกว่า ‘จวินฝู’ และอาจทำเป็นรูปแบบใดก็ได้ ในสมัยราชวงศ์ถัง ตราอาญาสิทธิ์มีทั้งรูปปลา กระต่าย และเต่า และเมื่อถึงยุคสมัยราชวงศ์หยวนก็มีการปรับเปลี่ยนเป็นใช้ป้ายอาญาสิทธิ์แทน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/403266963_427962
    https://www.xuehua.us/a/5eb7de1b86ec4d0bd8de2c68
    https://baike.baidu.com/item/%E8%99%8E%E7%AC%A6/5191
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E8%99%8E%E7%AC%A6/5191
    https://www.xuehua.us/a/5eb7de1b86ec4d0bd8de2c68
    https://m.52lishi.com/article/45237.html

    #ตราอาญาสิทธิ์ทหาร #หู่ฝู #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ประวัติศาสตร์จีน #ราชวงศ์ฉิน
    เพื่อนเพจที่ดูละครจีนโบราณต้องเคยเห็นตราอาญาสิทธิ์ของทหารที่เป็นตัวเสือผ่าครึ่ง และดูเหมือนว่าฮ่องเต้จะไม่สามารถควบคุมกองทัพได้เลยถ้าไม่มีมัน มันก็คือ ‘ตราพยัคฆ์’ หรือ ‘หู่ฝู’ นั่นเอง ความมีอยู่ว่า ...ครานั้นตราอาญาสิทธิ์หู่ฝูสามทัพอยู่ในมือของจอมทัพปัน ต่อมาจอมทัพปันได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ชายแดน เมื่อกลับมาถึงเมืองหลวงก็วางเกราะลง ทำตัวเป็นกั๋วกงอยู่อย่างเรียบง่ายไร้กังวล ต่อมาเมื่อองค์หวินชิ่งขึ้นครองราชย์ ชายแดนสงบไร้ศึก ตราอาญาสิทธิ์หู่ฝูสามทัพก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นอีกเลย... - จากเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ผู้แต่ง เยวี่ยเซี่ยเตี๋ยอิ่ง (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) (หมายเหตุ ละครเรื่อง <ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้> ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) ตราหู่ฝูนี้ฟังดูยิ่งใหญ่ และแฟนละคร/นิยายจีนโบราณต้องเคยผ่านตาเรื่องราวที่ว่าทหารเชื่อฟังหู่ฝูมากกว่าราชโองการจากฮ่องเต้ Storyฯ มีข้อข้องใจเกี่ยวกับหู่ฝูจึงไปทำการบ้านและมาเล่าสู่กันฟังในสามประเด็น: 1) ตราหู่ฝูมีอำนาจเคลื่อนย้ายกองทัพได้ทั้งหมดหรือไม่? 2) ทำไมฮ่องเต้ทำหู่ฝูซีกเดียวขึ้นใหม่ไม่ได้? 3) ตราอาญาสิทธิ์ทางทหารมีหู่ฝูอย่างเดียวหรือ? ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจตราหู่ฝู ตราอาญาสิทธิ์ทางการทหารลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในยุคสมัยชุนชิว (ปี 771-476 ก่อนคริสตกาล) แรกเริ่มทำจากไม้ไผ่ ต่อมาจึงทำจากสำริด ทองคำ และหยก หู่ฝูจะแบ่งเป็นสองซีก ซีกขวาเก็บไว้ที่ฮ่องเต้ ซีกซ้ายมอบไว้ให้แม่ทัพใหญ่ผู้กุมกำลังกองทัพ ยามจะออกคำสั่งเคลื่อนพล ฮ่องเต้จะมอบตราอาญาสิทธิ์ส่วนของพระองค์ให้กับผู้แทนพระองค์ที่เดินทางนำคำสั่งไปส่งให้แก่แม่ทัพใหญ่ เมื่อนำทั้งสองซีกมาประกบกันได้ถูกต้องสมบูรณ์จึงจะถือว่าคำสั่งนั้นมีผล ในบางยุคสมัยนอกจากตราอาญาสิทธิ์แล้วยังต้องมีพระราชโองการประกอบด้วยจึงจะถือว่าสมบูรณ์ ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะในสมัยโบราณการสื่อสารยากลำบาก อีกทั้งไม่มีวิธีพิสูจน์ว่าเอกสารหรือราชโองการนั้นจริงหรือเท็จ ตราอาญาสิทธิ์นี้เป็นหลักฐานสูงสุด จึงเป็นที่มาว่าหากฮ่องเต้ไม่มีตราหู่ฝูก็สั่งเคลื่อนกำลังพลไม่ได้ ทำไมมันจึงเป็นหลักฐานสูงสุด? ก็เพราะว่ามันปลอมแปลงไม่ได้ (หรือยากมาก) เนื่องจากมันมีรูปร่างและใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และตัวหู่ฝูจะมีการสลัก/เขียนรายละเอียดไว้เต็มตัว (ดูภาพประกอบ) อย่างเช่นตราตู้หู่ฝูมีถึง 40 อักษรด้วยกัน มีทั้งกรณีที่ต้องเอาสองซีกมาประกบกันจึงจะอ่านได้ครบ (อย่างเช่นในสมัยราชวงศ์ฮั่น) หรืออีกกรณีคือข้อความสองซีกเหมือนกันแต่ตรงกลางจะมีลายตราที่ถูกผ่าครึ่ง ต้องนำสองซีกมาประกบกันจึงจะเห็นรูปครบ (อย่างเช่นในสมัยฉิน) เพราะฉนั้นผู้ที่มีเพียงซีกเดียวจึงไม่สามารถทำอีกซีกขึ้นใหม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าอีกซีกเขียนหรือวาดอะไรไว้บ้าง (ในบางสมัยแกนในยังมีรูให้ทำเหมือนตัวยื่นเข้าไปประกบด้วย...เพิ่มความยากอีกหนึ่งขั้น) ทั้งนี้ ข้อความที่สมบูรณ์จะระบุขอบเขตอำนาจชัดเจนว่าไว้ใช้สำหรับกองทัพใดและพื้นที่ใด ดังนั้น ไขข้อข้องใจไปสองเปลาะว่า ตราอาญาสิทธิ์ทำขึ้นใหม่เองเฉพาะซีกเดียวไม่ได้ และตราแต่ละตัวมีอำนาจควบคุมกองทัพจากพื้นที่เดียวตามที่กำหนดไว้เท่านั้น โยกย้ายกองกำลังอื่นไม่ได้ ปัจจุบันมีการค้นพบของจริงจากยุคสมัยราชวงศ์ฉินได้ 3 ตัว คือซินกัวหู่ฝู หยางหลิงหู่ฝู และตู้หู่ฝู (รูปประกอบยกมาสองตัว) จะเห็นว่ารูปร่างลวดลายแตกต่างกัน และขนาดของจริงก็แตกต่างกันไปเล็กน้อย จากภาษาที่ใช้ นักโบราณคดีพบว่าทั้งสามตัวนี้ไม่ได้จัดทำขึ้นพร้อมกันแม้จะมาจากยุคสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้เหมือนกัน ตราหู่ฝูคือตราพยัคฆ์ แต่จริงๆ แล้วตราอาญาสิทธิ์ทางทหารเรียกว่า ‘จวินฝู’ และอาจทำเป็นรูปแบบใดก็ได้ ในสมัยราชวงศ์ถัง ตราอาญาสิทธิ์มีทั้งรูปปลา กระต่าย และเต่า และเมื่อถึงยุคสมัยราชวงศ์หยวนก็มีการปรับเปลี่ยนเป็นใช้ป้ายอาญาสิทธิ์แทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/403266963_427962 https://www.xuehua.us/a/5eb7de1b86ec4d0bd8de2c68 https://baike.baidu.com/item/%E8%99%8E%E7%AC%A6/5191 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E8%99%8E%E7%AC%A6/5191 https://www.xuehua.us/a/5eb7de1b86ec4d0bd8de2c68 https://m.52lishi.com/article/45237.html #ตราอาญาสิทธิ์ทหาร #หู่ฝู #ข้าก็เป็นสตรีเช่นนี้ #ประวัติศาสตร์จีน #ราชวงศ์ฉิน
    WWW.SOHU.COM
    关晓彤新剧未播先被群嘲,《我就是这般女子》为何“差评预定”?_演技
    《凤囚凰》是其主演的第一部爱情题材偶像剧,但在这部剧中,她在大众的好演技形象直接滑铁卢,后来的《极光之恋》、《甜蜜暴击》更是一步步加深了观众对其演技的负面印象,她所主演的三部言情剧均是嘲讽居多,接二…
    1 Comments 0 Shares 428 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง

    จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง)

    ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง

    ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้

    ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์

    มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป)

    ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว

    บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี

    วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี

    แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม?

    สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ

    หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ
    หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html
    http://www.exam58.com/gushi/4582.html
    https://www.sohu.com/a/402043209_99929216
    https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957

    #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับวลีรักคลาสสิกที่ได้ยินกันบ่อยในหลายละครและนิยายจีน ความมีอยู่ว่า ... “ความหมายของโคมไฟใบเดียวนี้คือ ขอเพียงคนใจเดียว อีกทั้งยามนี้หิมะตกปกคลุมดูเหมือนศีรษะขาว รวมกันหมายถึง ปรารถนาคนใจเดียว เคียงข้างจนผมขาวมิร้างลา” จื่อจ๊านกล่าวต่อตี้ซวี่... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <ไข่มุกเคียงบัลลังก์> (Storyฯ แปลเองจ้า) วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ (愿得一心人,白头不相离) นี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘ป๋ายโถวอิ๋น’ (白头吟 /ลำนำผมขาว) ซึ่งกล่าวขานว่าเป็นบทประพันธ์ของจั๋วเหวินจวิน แต่มีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่าดูจากสไตล์ภาษาแล้วไม่น่าจะใช่ อีกทั้งบทกวีนี้เมื่อแรกปรากฏในบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งนั้น ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง จั๋วเหวินจวินคือใคร เพื่อนเพจคุ้นชื่อนี้บ้างหรือไม่? เธอถูกยกย่องเป็น “ไฉหนี่ว์” (คือหญิงที่มากด้วยพรสวรรค์) ที่เลื่องชื่อด้านโคลงกลอนและพิณ เป็นผู้ที่เป็นแรงบันดาลใจของการวาดคิ้วแบบ ‘หย่วนซานเหมย’ ยอดนิยม (ที่ Storyฯ เคยเขียนถึงเกี่ยวกับการเขียนคิ้ว) และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นชื่อของเธอจากเรื่องราวของเพลงหงษ์วอนหาคู่ เพราะเธอคือภรรยาของซือหม่าเซียงหรู (กวีเอกสมัยราชวงศ์ฮั่น เจ้าของบทประพันธ์ซ่างหลินฟู่ที่ Storyฯ เคยเขียนถึง) ‘ลำนำผมขาว’ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวความรักระหว่างจั๋วเหวินจวินและซือหม่าเซียงหรูนั่นเอง ตำนานรักของเขามีอยู่ว่า ซือหม่าเซียงหรูสมัยที่ยังเป็นบัณฑิตไส้แห้ง ได้บรรเลงเพลงพิณหงส์วอนหาคู่ เป็นที่ต้องตาต้องใจของจั๋วเหวินจวินซึ่งเป็นลูกสาวของมหาเศรษฐี จนเธอหนีตามเขาไป ทั้งสองคนเปิดร้านเหล้าช่วยกันทำมาหากินอย่างยากลำบาก จนในที่สุดจั๋วหวางซุนผู้เป็นพ่อก็ใจอ่อน ยกที่และเงินจำนวนไม่น้อยรับขวัญลูกเขยคนนี้ ต่อมาซือหม่าเซียงหรูเข้ารับราชการจนเติบใหญ่ได้ดีอยู่ในเมืองหลวง ในขณะที่จั๋วเหวินจวินยังอยู่ที่บ้านเกิด อยู่มาวันหนึ่งเธอได้ยินข่าวว่าเขาอยากจะแต่งอนุภรรยา เธอเสียใจมากและยอมรับไม่ได้ เลยแต่งบทกวีนี้ส่งให้เขาเพื่อกล่าวตัดสัมพันธ์ มีคน ‘ถอดรหัส’บทกวีนี้ Storyฯ เลยเอามาแปลเป็นไทยให้เข้าใจง่ายๆ... รักของเรานั้นเคยบริสุทธิ์ดุจหิมะขาวบนยอดเขา ดุจดวงจันทร์กลางกลีบเมฆ ครั้นได้ยินว่าท่านมีรักใหม่ ข้าจึงจะจบเรื่องราวของเรา วันนี้เราร่วมดื่มสุราเป็นครั้งสุดท้าย วันพรุ่งก็ทางใครทางมัน แรกเริ่มที่ข้าติดตามท่านนั้น ชีวิตยากลำบาก ทว่าตั้งแต่แต่งงานมาก็ไม่เคยบ่น ขอเพียงมีคนใจเดียวอยู่ด้วยกันจนผมขาวไม่ร้างลา มีรักหวานชื่น อันชายนั้นควรหนักแน่นกับความสัมพันธ์ ความรักเมื่อสูญหายแล้ว เงินทองก็ชดเชยให้ไม่ได้ (บทกวีฉบับจีนดูได้จากในรูป) ว่ากันว่า ซือหม่าเซียงหรูเมื่ออ่านบทกวีนี้ก็รำลึกถึงความรักที่เคยมีและวันเวลาที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา และเปลี่ยนใจไม่แต่งงานใหม่ จวบจนบั้นปลายชีวิตก็มีจั๋วเหวินจวินเพียงคนเดียว บทกวีลำนำผมขาวนี้โด่งดังมาตลอด เพราะมุมมองที่ให้ความสำคัญของผัวเดียวเมียเดียวในยุคสมัยที่มีค่านิยมว่าชายมีเมียได้หลายคน และเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความคิดอันเด็ดเดี่ยวของสตรี วลี ‘ขอเพียงคนใจเดียว ผมขาวไม่ร้างลา’ นี้จึงกลายมาเป็นคำบอกรักยอดนิยมเพื่อสะท้อนถึงรักที่มั่นคงไม่ผันแปร แม้ที่มาจะเศร้าไปหน่อย แต่ก็จบลงด้วยดี แต่ปัจจุบันมีคนนำไปเขียนเพี้ยนไปก็มี จุดที่เพี้ยนหลักคือการสลับอักษรจาก ‘คนใจเดียว’( 一心人) ไปเป็น ‘ใจรักจากคนคนหนึ่ง’ (一人心) .... สลับอักษรแล้วความหมายแตกต่างมากเลย เพื่อนเพจว่าไหม? สุขสันต์วันวาเลนไทน์ย้อนหลังค่ะ หมายเหตุ 1: ‘ลำนำผมขาว’ เป็นชื่อที่แปลโดยคุณกนกพร นุ่มทอง จากหนังสือ < 100 ยอดหญิงแห่งประวัติศาสตร์จีน> แต่ Storyฯ แปลฉบับ ‘ถอดรหัส’ ให้ตามข้างต้นเพื่อความง่ายในการเข้าใจ หมายเหตุ 2: คำว่า ‘อิ๋น’ ในชื่อของบทกวีนี้ จริงๆ แล้วมีความหมายหลากหลาย รวมถึงเสียงร้องเพรียกของนก หรือการอ่านแบบมีจังหวะจะโคน หรือเสียงถอนหายใจ โดยส่วนตัว Storyฯ คิดว่าจริงๆ แล้วน่าจะหมายถึงเสียงถอนหายใจในบริบทนี้ แต่... ขอใช้ตามที่มีคนเคยแปลไว้ว่า ‘ลำนำผมขาว’ เผื่อเพื่อนเพจที่เคยผ่านตาบทกวีนี้จะได้ไม่สับสน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/即時娛樂/705041/斛珠夫人-陳小紜曬素顏樣盡現氣質-曾承認整容將近十次非常痛 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.chinatoday.com.cn/zw2018/bktg/202104/t20210407_800242850.html http://www.exam58.com/gushi/4582.html https://www.sohu.com/a/402043209_99929216 https://baike.baidu.com/item/白头吟/6866957 #ไข่มุกเคียงบัลลังก์ #ป๋ายโถวอิ๋น #ลำนำผมขาว #กวีจีนโบราณ #จั๋วเหวินจวิน #ซือหม่าเซียงหรู
    WWW.HK01.COM
    香港01|hk01.com 倡議型媒體
    香港01是一家互聯網企業,核心業務為倡議型媒體,主要傳播平台是手機應用程式和網站。企業研發各種互動數碼平台,開發由知識與科技帶動的多元化生活。
    1 Comments 0 Shares 766 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022

    เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า)

    คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว

    เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม

    พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง

    แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ

    ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm
    https://baike.sogou.com/v168462018.htm
    https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html

    #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงเงื่อนจีนหรือ ‘จงกั๋วเจี๋ย’ ซึ่งคำว่าเงื่อนหรือ ‘เจี๋ย’ นั้น ในความหมายจีนแปลได้อีกว่าความผูกพันหรือความเชื่อมโยงหรือความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน และถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของงานโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เพื่อนเพจแฟนละครหรือนิยายจีนต้องเคยได้ยินคำว่า ‘เจี๋ย’ นี้ถูกนำมาใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับความรักรวมถึงเงื่อนจีนที่ถูกใช้เป็นตัวแทนแห่งความรัก วันนี้เรามาคุยกันถึงวลีจีนเกี่ยวกับ ‘เจี๋ย’ และความหมายของมัน ความมีอยู่ว่า ... “ตราบแต่นี้ไป ข้าก็เป็นภรรยาผูกปมผมของท่านแล้ว สองเราจะไม่ทอดทิ้งกัน ติดตามกันไปตราบจนชีวิตจะหาไม่” เล่อเยียนยิ้มกล่าว... - ถอดบทสนทนาจากละคร <สตรีหาญฉางเกอ> (Storyฯ แปลเองจ้า) คำแปลข้างบนอาจฟังดูงง คำว่า ‘ผูกปมผม’ (เจี๋ยฟ่า / 结发) หมายถึงอะไร? ในเรื่อง <สตรีหาญฉางเกอ> มีฉากที่ฮ่าวตู (เจ้าบ่าว) คลายเชือกหลากสีที่มัดอยู่ที่มวยผมของเล่อเยียน (เจ้าสาว) แล้วต่างคนต่างตัดปอยผมมารวมกันเอาเชือกนั้นผูกไว้ (ดูภาพประกอบที่ดึงมาจากในละคร) นี่คือการ ‘ผูกปมผม’ ซึ่งเป็นหนึ่งในพิธีการเข้าหอของคู่บ่าวสาวหลังจากเกี่ยวก้อยกันดื่มสุรามงคลแล้ว เริ่มกันที่การปลดเชือก เชือกหลากสีที่เห็นนี้ มีชื่อเรียกว่า ‘อิง’ สตรีที่ได้รับการหมั้นหมายแล้วจะต้องผูกเชือกนี้ไว้ที่มวยผม ตราบจนวันแต่งงานเข้าหอแล้วมีเพียงเจ้าบ่าวที่สามารถปลดเชือกนี้ได้ การทำอย่างนี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1047 – 772 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏในบันทึกพิธีการการแต่งงาน (仪礼·土昏礼 ซึ่งเป็นบันทึกเดียวกับที่กล่าวถึง ‘หกพิธีการ’/六礼 ของงานแต่งงานที่เพื่อนเพจอาจเคยผ่านหู) บันทึกนี้เป็นหนึ่งในสามบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดของจีนเกี่ยวกับเรื่องประเพณีและพิธีการ แต่... บันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงการผูกปมผม พิธีการผูกปมผมเริ่มแต่เมื่อใดไม่ปรากฏบันทึกที่ชัดเจน แต่บทกวีในสมัยราชวงศ์ฮั่นที่ประพันธ์โดยซูอู่ (140 - 60 ปีก่อนคริสตกาล) มีวรรคนี้ปรากฏ “ผูกปมผมเป็นสามีภรรยา รักกันไม่เคลือบแคลงใจ” (结发为夫妻,恩爱两不疑) ดังนั้นการเอาปอยผมมามัดเข้ากันนี้มีแล้วในสมัยราชวงศ์ฮั่น และวลีนี้เป็นอีกหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กล่าวถึงความรักที่มั่นคง แต่มันมีความหมายมากกว่านั้นค่ะ ในธรรมเนียมจีนโบราณ จะมีเพียงภรรยาเอกคนเดียวที่มีการกราบไหว้ฟ้าดินแล้วส่งตัวเข้าห้องหอ ส่วนอนุทั้งหลายจะเพียงแต่รับตัวเข้ามาเข้าห้องเลย ดังนั้นคำว่า ‘ภรรยาผูกปมผม’ ในบางบริบทไม่ใช่หมายถึงรักเดียว แต่อาจหมายถึงภรรยาที่แต่งเข้ามาเป็นคนแรกก็ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/366760262 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.epochtimes.com/gb/20/10/19/n12485542.htm https://baike.sogou.com/v168462018.htm https://www.pinshiwen.com/gsdq/aqsc/20190711144812.html #สตรีหาญฉางเกอ #ฮ่าวตูเล่อเยียน #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #ผูกปมผม #เจี๋ยฟ่า #เจี๋ยฝ้า
    1 Comments 0 Shares 645 Views 0 Reviews
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    1 Comments 0 Shares 542 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง

    ความมีอยู่ว่า
    ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก”
    เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะ
    เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?”
    ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน”
    เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก”
    ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”...
    - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก

    เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ

    วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้
    นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน
    นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู
    นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี

    ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง

    หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ

    (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://mydramalist.com/photos/eVR3n
    https://www.sohu.com/a/474755225_419393
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.gushiji.cc/gushi/170.html
    https://baike.baidu.com/item/王风·采葛
    https://www.sohu.com/a/462824147_120340030
    https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html

    #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    สัปดาห์นี้มาโพสต์เร็วกว่าปกติ วันนี้เราคุยกันเบาๆ ว่าด้วยวลีจีนคลาสสิกอีกประโยคหนึ่ง ความมีอยู่ว่า ... ตี้จวิน: “แต่ข้าต้องออกไปนานนัก” เฟิ่งจิ่ว: “นานนัก คือนานเท่าใด? สองสามเดือน?” ตี้จวินส่ายศีรษะ เฟิ่งจิ่ว: “สองสามปี?” ตี้จวินส่ายศีรษะอีกแล้วเอ่ย: “อย่างไรก็ต้องมีหลายวัน” เฟิ่งจิ่ว: “ไม่กี่วัน? ท่านพูดราวกับว่านานนัก” ตี้จวิน: “หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู”... - ถอดบทสนทนาจากละครเรื่อง <สามชาติสามภพ ลิขิตเหนือเขนย> (แต่ Storyฯ แปลเองจ้า) ‘หนึ่งวันมิเห็นหน้า ดุจห่างกันสามสารทฤดู’ (一日不见,如隔三秋) นี้เป็นหนึ่งวลีคลาสสิกที่ใช้กันบ่อยในละครหรือนิยายจีนเวลาที่พระนางเขาต้องห่างกันไป ความหมายคือคิดถึงนัก แม้จากกันประเดี๋ยวเดียวก็เหมือนนานมาก เชื่อว่าเพื่อนเพจไม่น้อย (รวมถึงนักแปลมืออาชีพหลายคน) คงเข้าใจว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้แปลว่าสามปี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ค่ะ วลีนี้ยกมาจากบทกวีที่ชื่อว่า ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ (王风·采葛) เป็นหนึ่งในบทกวีที่ปรากฏอยู่ในบันทึกบทกวีจีนโบราณ ‘ซือจิง’ (诗经) เป็นบทกวีจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1046-256 ปีก่อนคริสตกาล) ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง แต่เป็นคำบรรยายถึงความโหยหาคิดถึง โดยมีฉากหลังเป็นฤดูเก็บเกี่ยวซึ่งโดยปกติคือ ‘ชิว’ หรือสารทฤดู มีทั้งหมดสามวรรคแปลใจความได้ดังนี้ นางผู้เก็บต้นเก๋อนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามเดือน นางผู้เก็บต้นเซียวนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามสารทฤดู นางผู้เก็บต้นอ๋ายนั้น ไม่เห็นหนึ่งวัน ดุจสามปี ในบริบทของบทกวี ‘หวางเฟิง-ฉ่ายเก๋อ’ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จะเห็นว่ามี ‘เดือน’ ‘สารทฤดู’ และ ‘ปี’ ดังนั้น เมื่อเรียงประโยคตามนี้ผู้อ่านคงตีความได้ไม่ยากแล้วว่า ‘สามสารทฤดู’ นี้จริงๆ แล้วหมายถึงช่วงเวลาสามฤดูกาล หรือประมาณ 9 เดือนนั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนเพจที่แต่งนิยายหรือแปลนิยายจีนนะคะ (หมายเหตุ ‘ต้นเก๋อ’ คือต้นมันชนิดหนึ่ง เรียกว่ามันเท้ายายม่อม ใช้ประโยชน์ได้หลายส่วนของต้น; ‘ต้นเซียว’ เป็นไม้พุ่มเตี้ยชนิดหนึ่ง ใบมีสรรพคุณเป็นยา ภาษาอังกฤษเรียกว่า Wormwood; ‘ต้นอ๋าย’ หรืออ๋ายเถียวเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่งนิยมนำมาใช้เป็นโกฐรมยา) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://mydramalist.com/photos/eVR3n https://www.sohu.com/a/474755225_419393 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.gushiji.cc/gushi/170.html https://baike.baidu.com/item/王风·采葛 https://www.sohu.com/a/462824147_120340030 https://kknews.cc/zh-hk/culture/yjyjpxk.html #สารทฤดู #วลีจีน #ลิขิตเหนือเขนย #บทกวีจีนโบราณ
    1 Comments 0 Shares 580 Views 0 Reviews
  • วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”...
    - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า)

    ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้

    การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ)

    เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่

    แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง?

    ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น

    จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ

    แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ?
    1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป
    2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น)
    3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง

    เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/452104168_114988
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.52lishi.com/article/65523.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409
    https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html

    #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    วันนี้กลับมาคุยกันต่อกับเรื่องราวที่ Storyฯ เห็นจากละครเรื่อง <ร้อยรักปักดวงใจ> ในตอนที่มีการรับลูกนอกสมรสกลับเข้าตระกูล ความมีอยู่ว่า ... “ถึงกาลมงคล พิธีรับเข้าตระกูลของตระกูลสวี อัญเชิญหนังสือตระกูล” เสียงประกาศเริ่มพิธีดังขึ้น สวีลิ่งเซวียนคุกเข่าลงต่อหน้าป้ายบูชาบรรพบุรุษแล้วกล่าว “สวีซื่อเจี้ย เดิมเป็นบุตรที่ร่อนเร่อาศัยอยู่ข้างนอกของตระกูลเรา ตอนนี้รับกลับเข้าตระกูลเป็นบุตรของสวีลิ่งอัน ขอบรรพบุรุษปกป้องลูกหลานสกุลสวี”... - ถอดบทสนทนาจากละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> (ตามซับไทยเลยจ้า) ในละครข้างต้น ก่อนจะมาถึงพิธีการนี้ เนื้อเรื่องกล่าวถึงความคิดของตัวละครต่างๆ ที่ถกกันว่าจะรับเด็กมาเป็นลูกใครดี? ความเดิมของบทสนทนาในภาษาจีนคือ “จะบันทึกชื่อเด็กคนนี้ใต้ชื่อใคร?” ซึ่งการคุยในลักษณะนี้เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของหนังสือตระกูล วันนี้เลยมาคุยให้ฟังเกี่ยวกับหนังสือตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียผู่’ (家谱) หรือ ‘จู๋ผู่’ (族谱) นี้ การบันทึกข้อมูลในเจียผู่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย และเนื่องจากสมัยนั้นมีการแตกสกุลมาจากเชื้อพระวงศ์เป็นจำนวนมาก ทางการจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลและปรับปรุงเจียผู่ของตระกูลเหล่านั้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือบันทึกสายสกุลเพื่อประโยชน์ในการคัดสรรและแต่งตั้งขุนนาง ต่อมาเมื่อผ่านพ้นราชวงศ์ถัง ข้อมูลเหล่านี้สูญหายไปในสงครามเสียเป็นส่วนใหญ่ และการเข้ารับราชการก็ดำเนินการผ่านการสอบราชบัณฑิต อีกทั้งอำนาจของเหล่าสื้อเจียตระกูลขุนนางก็เสื่อมลง ทางการจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเรื่องการทำเจียผู่อีก ดังนั้นนับแต่สมัยซ่งมา เจียผู่ส่วนใหญ่ถูกจัดทำขึ้นมาใหม่และอยู่ในการดูแลของคนในตระกูลเอง (หมายเหตุ Storyฯ เคยเขียนเกี่ยวกับสื้อเจียไปแล้ว หาอ่านย้อนหลังนะคะ) เพื่อนเพจอาจนึกภาพว่าเจียผู่เป็นพงศาวลีหรือผังลำดับญาติ แต่คนที่เคยลองวาดผังแบบนี้จะรู้ว่า หากจะวาดให้ดีต้องรู้ว่าควรเผื่อเนื้อที่ตรงไหนอย่างไร แต่เจียผู่เป็นบันทึกจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นการบันทึกจริงๆ คือเขียนข้อมูลเติมไปแต่ละรุ่น (ดูตัวอย่างตามรูปประกอบ หน้านี้บันทึกการสืบเชื้อสายของบุตรชายคนโต) หากมีการวาดผังลำดับญาติโดยปกติจะวาดเพียง 5 รุ่นแล้วก็ขึ้นผังใหม่ แล้วเจียผู่บันทึกอะไรบ้าง? ก่อนอื่นคือต้องมีการเขียน ‘ขอบเขต’ - ใครเป็นต้นตระกูล? เราเป็นสายใดของตระกูล? ตราสัญลักษณ์ของตระกูล (ถ้ามี) ภูมิลำเนาเดิม ประวัติของสกุล ที่ตั้งและแผนผังของวัดบรรพบุรุษ เป็นต้น จากนั้นก็เป็นบันทึกเกี่ยวกับคนในแต่ละรุ่น ซึ่งจะระบุว่าเป็นรุ่นที่เท่าไหร่ ลำดับในรุ่น ชื่อ วันเดือนปีเกิดและตาย สรุปชีวประวัติ ลักษณะเด่นหรือวีรกรรมโดยคร่าว (เช่น เคยไปรบชนะสร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูลในศึกไหน?) บรรดาศักดิ์หรือรางวัลเกียรติยศที่เคยได้รับ ชื่อคู่สมรสและบุตรชาย ฯลฯ ในบางเจียผู่จะมีการกล่าวถึงสินทรัพย์อันเป็นมรดกตกทอดของตระกูล เช่น ที่ตั้งและขนาดของที่ดินและอาคารบ้านเรือน และการบริหารสินทรัพย์ ฯลฯ แต่... ไม่ใช่บุตรและภรรยาทุกคนจะได้รับการบันทึกชื่อลงในเจียผู่ ใครบ้างที่ไม่มีชื่อ? 1. ลูกสาว – ในวัฒนธรรมจีนโบราณ ลูกสาวเมื่อแต่งงานออกไปก็ถือว่าเป็นคนของครอบครัวอื่น จึงไม่มีการบันทึกชื่อลูกสาวในเจียผู่ของตัวเอง ลูกสาวที่แต่งออกไปก็จะไปมีชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามี (แต่จากตัวอย่างที่ Storyฯ เห็น จะบันทึกเพียงสกุลเดิมไม่มีชื่อ เช่น นางสกุลหลี่) ธรรมเนียมนี้มีมาจนถึงสมัยจีนยุคใหม่ (หลังราชวงศ์ชิง) จึงมีการใส่ชื่อลูกสาวเข้าไป 2. อนุภรรยา – สตรีที่แต่งงานไปจะถูกบันทึกชื่ออยู่ในเจียผู่ของสามีเฉพาะคนที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น คนที่เป็นอนุจะไม่มีการบันทึกถึง ยกเว้นในกรณีที่ต่อมาบุตรชายของนางมีคุณงามความชอบอย่างโดดเด่น สร้างชื่อเสียงให้วงศ์ตระกูล จึงจะมีการแก้ไขเอาชื่อของเขาเข้าเจียผู่และจะมีการบันทึกชื่อผู้เป็นมารดาด้วย (ป.ล. หากเพื่อนเพจได้ดูละคร <ร้อยรักปักดวงใจ> ในฉากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าสตรีที่เข้าร่วมพิธีที่เกี่ยวกับหนังสือตระกูลนั้น มีเพียงสะใภ้ที่เป็นภรรยาเอกเท่านั้น) 3. ลูกอนุ - สายของอนุทั้งสายจะไม่ได้ลงบันทึกไว้ เว้นแต่กรณีที่กล่าวมาข้างต้นว่ามีการแก้ไขบันทึกย้อนหลัง เห็นแล้วก็พอจะเข้าใจถึงหัวอกของบรรดาอนุและลูกอนุ เราจึงเห็นเรื่องราวในนิยายและละครจีนโบราณไม่น้อยที่มีปูมหลังมาจากความน้อยเนื้อต่ำใจหรือความทะเยอทะยานของเหล่าอนุและลูกอนุทั้งหลาย Storyฯ เชื่อว่าเพื่อนเพจเข้าใจในบริบทนี้แล้วจะดูละคร/อ่านนิยายจีนโบราณได้มีอรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/452104168_114988 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.52lishi.com/article/65523.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/30411974 https://zhuanlan.zhihu.com/p/31488773 https://zhuanlan.zhihu.com/p/54546409 https://www.163.com/dy/article/H14J0MG10552QJB7.html #ร้อยรักปักดวงใจ #เจียผู่ #จู๋ผู่ #หนังสือตระกูล #บันทึกตระกูลจีนโบราณ #พงศาวลีจีนโบราณ
    WWW.SOHU.COM
    钟汉良谭松韵领衔主演《锦心似玉》定档2月26日_荻雁
    新京报讯 2月23日,钟汉良、谭松韵领衔主演的电视剧《锦心似玉》宣布定档。该剧将于2月26日起在腾讯视频全网独播,周五至周三连续六天,每日20点更新2集;3月1日起每周一、二、三20点更新2集,会员抢先看。 …
    1 Comments 0 Shares 759 Views 0 Reviews
  • **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ**

    สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร

    ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย

    เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน

    และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี

    บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ

    การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว

    ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า

    ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน)

    Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html
    http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml
    https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998
    https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html
    http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html

    #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    **การเนรเทศและการไถ่โทษในจีนโบราณ** สวัสดีค่ะ เชื่อว่าเพื่อนเพจแฟนซีรีส์และนิยายจีนโบราณจะคุ้นเคยกับการที่ตัวละครถูกเนรเทศไปอยู่ในพื้นที่กันดารเพื่อเป็นการลงโทษ ซึ่งส่วนใหญ่คือไปแล้วไม่กลับ หรือถ้ากลับก็คือเกิดเหตุการณ์ผันแปรทางอำนาจการเมือง แต่เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> จะเห็นว่าพล็อตสำคัญของเรื่องคือความพยายามของนางเอกที่จะเก็บเงินให้ได้พอเพียงต่อการไถ่ตัวคนในครอบครัวให้พ้นโทษเนรเทศกลับจากแดนเหนือ วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน การเนรเทศมีมาแต่โบราณแต่มีรายละเอียดหลากหลาย และโทษเนรเทศหรือที่เรียกว่า ‘หลิว’ หรือ ‘หลิวฟ่าง’ (流放) ถูกกำหนดความชัดเจนให้เป็นมาตรฐานและถูกบรรจุเป็นหนึ่งในห้าบทลงทัณฑ์ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการในสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ประมาณปีค.ศ. 386-534) ซึ่งในตอนนั้นใช้เป็นโทษทางการทหาร ต่อมามีการกำหนดห้าบทลงทัณฑ์ทั่วไปตามกฎหมายไว้คือ เฆี่ยนด้วยหวาย (笞/ชือ) โบยด้วยพลอง (杖/จ้าง) ทำงานหนัก (徙/ถู... นึกภาพเดินแบกหินสร้างเขื่อนสร้างกำแพง ฯลฯ) เนรเทศ (流/หลิว) และตาย (死/สื่อ) ทั้งนี้ มีการกำหนดความหนักเบาของการลงทัณฑ์ในรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย เป็นต้นว่า ในสมัยถังการเนรเทศมีกำหนดระยะทางสองพันหลี่ สองพันห้าร้อยหลี่และสามพันหลี่ เป็นต้น และมีรายละเอียดยิบย่อยมากขึ้นว่าด้วยข้อปฏิบัติระหว่างลงทัณฑ์ และว่ากันว่าเป็นยุคสมัยที่การลงทัณฑ์มีแนวปฏิบัติมากมายจนก่อให้เกิดความสับสน และต่อมาในสมัยซ่งมีการกำหนดบทลงทัณฑ์ทดแทนด้วยการโบย ยกเว้นโทษตายที่ทดแทนไม่ได้ เรียกว่า ‘เจ๋อจ้าง’ (折杖) เป็นต้นว่า โทษเนรเทศสามพันหลี่สามารถทดแทนได้ด้วยโทษทำงานหนักหนึ่งปีและโบยหลังยี่สิบพลอง (อนึ่ง การโบยส่วนต่างๆ ของร่างกายมีรายละเอียดอีก เพราะฉะนั้นอย่าคิดว่ายี่สิบพลองคือจิ๊บๆ แต่โบยหลังอาจตายหรือพิการได้เลย) นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มโทษเนรเทศขั้นสูงสุดเพื่อทดแทนโทษตาย เรียกว่า ‘เจียอี้หลิว’ (加役流) คือการเนรเทศไปดินแดนทุรกันดารไกลสามพันหลี่และให้ทำงานหนักด้วยเป็นเวลาสามปี บทลงทัณฑ์ห้าแบบนี้มีใช้ต่อเนื่องมาจนราชวงศ์รุ่นหลัง เพียงแต่ในแต่ละยุคสมัยมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนในรายละเอียดรวมถึงความหนักเบาและระยะเวลาของการลงทัณฑ์แต่ละแบบ การใช้เงินเป็นการไถ่โทษนั้นไม่ใช่เบี้ยปรับแต่เป็นการชำระเงินเพื่อทดแทนการรับโทษ ในเรื่อง <ฮวาจื่อ บุปผากลางภัย> ซึ่งเป็นราชวงศ์สมมุตินั้น นางเอกต้องใช้เงินสูงถึงห้าแสนเฉียนเพื่อไถ่ถอนอิสรภาพให้กับคนในครอบครัวเพียงคนเดียว ในความเป็นจริงอัตราค่าไถ่โทษไม่ได้สูงขนาดนั้นและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งด้วยบทกฎหมายและด้วยค่าเงินเฟ้อ อีกทั้งในยุคสมัยแรกๆ สามารถใช้สิ่งของมีค่าอื่นเป็นเงินไถ่ถอนได้ เช่น ข้าวสารหรือผ้าไหม ตัวอย่างเช่น ค่าไถ่ตัวนักโทษเนรเทศในสมัยฮั่นคือแปดตำลึงทองหรือเทียบเท่า ในสมัยถัง การใช้เงินไถ่โทษกระทำได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โทษหนักสิบประการ (เช่น กบฏ) และต้องเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยมาก Storyฯ ขอไม่กล่าวถึง แต่หนึ่งในเงื่อนไขที่ว่านี้ก็คือผู้ต้องโทษเป็นครอบครัวของขุนนางขั้นที่เก้าหรือสูงกว่าและมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมในกรณีผู้ต้องโทษคือตัวขุนนางเองที่สามารถใช้เงินเดือนลดโทษได้ แต่โดยทั่วไปสำหรับโทษเนรเทศในสมัยถังนี้อัตราเงินไถ่ถอนคือ แปดสิบจินทองแดงสำหรับโทษสองพันหลี่ เก้าสิบจินสำหรับโทษสองพันห้าร้อยหลี่ และหนึ่งร้อยจินสำหรับโทษสามพันหลี่ (อนึ่ง ในสมัยนั้นน้ำหนัก 1 จินคือประมาณ 660กรัม เทียบเท่าเงิน 160 เฉียน) Storyฯ ไม่สามารถหารายละเอียดค่าไถ่ในยุคสมัยอื่นๆ มาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยข้อจำกัดทางเวลาและความลำบากในการแปลงค่าเงินและน้ำหนักในแต่ละยุคสมัย แต่หวังว่าเพื่อนเพจพอจะได้อรรถรสจากบทความข้างต้นแล้วว่า การใช้เงินไถ่โทษมีจริงในสมัยโบราณ ทั้งนี้ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเก็บเงินหรือเก็บทองแดงเข้าท้องพระคลังหลวงเพื่อใช้ผลิตเหรียญอีแปะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://girlstyle.com/my/article/203344 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sdcourt.gov.cn/rzwlfy/405115/405122/18224559/index.html http://iolaw.cssn.cn/fxyjdt/201906/t20190618_4919774.shtml https://baike.baidu.com/item/加役流/6445998 https://www.mongoose-report.com/mongoose/title_detail?title_id=3699 http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/penal_liu.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/duliangheng.html http://www.chinaknowledge.de/History/Terms/shuzui.html #ฮวาจื่อบุปผากลางภัย #เนรเทศ #ค่าไถ่ #การลงทัณฑ์จีนโบราณ #สาระจีน
    GIRLSTYLE.COM
    张婧仪 & 胡一天《惜花芷》扑开高走.热度破万!开播前被全网嘲「必扑」,靠「过硬剧情」扳回一城狠狠打脸酸民~ | GirlStyle 马来西亚女生日常
    张婧仪、胡一天主演的古装剧《惜花芷》站内热度破万啦!这部剧在开播之前无人看好,预告释出后更是嘲声一片,被看衰「一定会扑」!但是,《惜花芷》却靠剧情逆转口碑,收获许多“自来水”(真心喜欢而自愿帮宣传的观众)的喜爱,让收视率一路上升,杀出重围成为黑马!
    1 Comments 0 Shares 741 Views 0 Reviews
  • เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้

    วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง

    แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร

    ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร?

    เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม

    การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต

    คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ

    การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา)

    สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’

    ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว

    ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d
    https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116
    https://www.sohu.com/a/222355523_99902358
    https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html

    #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    เพื่อนเพจที่ได้ดูละคร <สามบุปผาลิขิตฝัน> จะเห็นว่าส่วนหนึ่งของเนื้อเรื่องกล่าวถึงความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจเกี่ยวกับสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ของตัวละคร ซ่งอิ่นจาง และความพยายามที่จะหลุดพ้นจากสถานะนี้ วันนี้เรามาคุยกันเรื่องสถานะ ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’ ซึ่งในภาษาจีนอาจเรียกอย่างสุภาพว่า ‘เยวี่ยกง’ (乐工 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + แรงงาน) หรือเรียกอย่างไม่อ้อมค้อมว่า ‘เยวี่ยจี้’ หรือ ‘นางดนตรี’ (乐妓) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของสตรีที่อาศัยร้องรำทำเพลงยังชีพ ในสมัยโบราณจัดเป็นนางคณิกาประเภทหนึ่ง แล้วทำไมในละครจึงเรียกเป็น ‘นางรับใช้ในวงดนตรี’? Storyฯ ไม่อาจคาดเดาความคิดของผู้แปลซับไทยในละคร แต่ในภาษาจีนสถานะนี้ผูกติดกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เยวี่ยจี๋’ (乐籍 แปลตรงตัวว่า เพลง/ดนตรี + ทะเบียน) ซึ่ง Storyฯ ไม่เห็นมีแปลไว้ในซับไทยของละคร ‘เยวี่ยจี๋’ หรือทะเบียนนักดนตรีนี้คืออะไร? เพื่อนเพจที่เป็นแฟนนิยายและละครจีนโบราณอาจเคยเห็นฉากที่ขุนนางใหญ่ถูกลงทัณฑ์ทั้งบ้าน ทรัพย์สินถูกยึด คนในบ้านถูกจับไปเป็นทาส เยวี่ยจี๋นี้เป็นทะเบียนชื่อของลูกเมียของขุนนางที่ถูกลงทัณฑ์สถานหนัก พวกเขาเหล่านี้ถูกขึ้นชื่อเป็นทาสรับใช้ของหลวง มีหน้าที่ร้องรำทำเพลงปรนนิบัติขุนนางและแขกเหรื่อในงานรื่นเริง โดยได้รับเงินหลวง เขาเหล่านี้เมื่อโดนเรียกตัวต้องไปปฏิบัติหน้าที่โดยไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยมีหน้าที่แตกต่างกันไปและบางคนอาจถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอกาม การลงทัณฑ์โดยขึ้นทะเบียนเยวี่ยจี๋นี้มีมาแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ. 386-535) ในสมัยถัง-ซ่ง ‘เยวี่ยจี๋’ อยู่ภายใต้การบริหารงานของ ‘เจียวฟาง’/教坊 หรือที่ในละครแปลว่าสำนักการสังคีต คนที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋ถือว่ามีโทษติดตัวไม่มีอิสระ มีสถานะในสังคมต่ำต้อยเยี่ยงทาส จัดเป็น ‘ชนชั้นต่ำ’ หรือ ‘เจี้ยนหมิน’(贱民) ประเภทหนึ่ง (หมายเหตุ บ่าว ทาสและนักโทษจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นต่ำนี้) เมื่อมีลูก ลูกก็จะถูกบันทึกชื่อเข้าเยวี่ยจี๋ด้วย เรียกได้ว่าเป็นทาสที่มีโทษติดตัวไปทุกรุ่นเว้นแต่จะได้รับการเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนสถานะทำได้สองแบบ แบบแรกคือการได้รับการอนุมัติจากทางการให้เปลี่ยนสถานะเป็นคนธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’/良民 (ตัวอย่างเช่นนางเอกในละครนี้) ซึ่งทำได้ไม่ง่าย และแบบที่สองคือมีพ่อค้ารับเป็นภรรยาหรือมีขุนนางรับเป็นอนุภรรยา ซึ่งจะมีการถอดถอนชื่อออกจากเยวี่ยจี๋ เมื่อคนเป็นแม่ได้ปรับสถานะแล้วบุตรจึงจะเป็นไทได้ (แต่อย่างที่ Storyฯ เคยเล่าเกี่ยวกับเรื่องประเภทของอนุภรรยา คนที่เคยมีโทษติดตัวหรือเป็นลูกนักโทษจะมีสถานะเป็นอนุชั้นต่ำ สามารถยกให้กันฟรีๆ หรือขายออกไปเมื่อไหร่ก็ได้ แต่อย่างน้อยลูกก็จะได้รับการยกย่องในระดับหนึ่งตามสถานะของบิดา) สรุปสั้นๆ ได้ว่า นางดนตรีที่มีชื่ออยู่ในเยวี่ยจี๋จัดเป็นชนชั้นต่ำที่เรียกว่า ‘เจี้ยนหมิน’ ไม่มีอิสระและไม่มีสิทธิใดๆ ทางสังคม แต่หากโชคดีก็จะได้เปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นชนชั้นธรรมดาหรือที่เรียกว่า ‘เหลียงหมิน’ ต่อมาในรัชสมัยขององค์ยงเจิ้งแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1723) ทรงมีพระราชโองการให้ทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนเจี้ยนหมินทุกชนิด (รวมถึงเยวี่ยจี๋ด้วย) ได้รับการปรับสถานะเป็นเหลียงหมิน ถือว่าได้เป็นไทแก่ตัว ขออภัยที่มีศัพท์จีนหลายคำไปหน่อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้ความเข้าใจมากขึ้นถึงบริบทของชนชั้นทางสังคมที่เพื่อนเพจมักเห็นในละครและนิยายจีนโบราณหลายเรื่องค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://read01.com/zh-sg/DR3eMEa.html#.YxlwKnZBy5d https://min.news/zh-sg/culture/5b42ca6d45e1a79dcddf84da55d9dce2.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/%E4%B9%90%E7%B1%8D/10852116 https://www.sohu.com/a/222355523_99902358 https://www.163.com/dy/article/HACKL2VE0514R9P4.html #สามบุปผา #นางรับใช้ในวงดนตรี #เยวี่ยจี๋ #เจี้ยนหมิน #เหลียงหมิน
    1 Comments 0 Shares 678 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    1 Comments 0 Shares 572 Views 0 Reviews
  • “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深)

    ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล)

    ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง!

    ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦)

    ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป

    จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้

    เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก:
    https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47
    https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深
    https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump

    #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    “รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา” (ฉิงปู้จื๊อสัวฉี่ อี้หว่างเอ๋อร์เซิ้น / 情不知所起,一往而深) ต้อนรับสัปดาห์แห่งความรักกันด้วยอีกหนึ่งวลีสุดฮิตเกี่ยวกับความรัก ที่ Storyฯ เชื่อว่าแฟนนิยายจีนต้องเคยผ่านตายามตัวละครบอกรักกัน (แต่อาจแปลแตกต่างกันบ้างแล้วแต่ผู้แปล) ตัวอย่างจากในซีรีส์ก็มี อย่างเช่นในเรื่อง <เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน> ในฉากที่เหล่ามเหสีชายาและสนมนั่งชมละครงิ้วในวังหลัง นางเอกเมื่อยังเป็นว่านกุ้ยเหรินได้พูดว่า “ในบทประพันธ์ <ศาลาโบตั๋น> มีเขียนไว้ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’...” (หมายเหตุ Storyฯ แปลเองจ้า) ละครเรื่องนี้แฝงบทกวีเลื่องชื่อไว้ในคำสนทนาหลายบท วลีที่กล่าวถึงข้างต้นเป็นวลีจากบทประพันธ์ ‘ศาลาโบตั๋น’ (หมู่ตานถิง / 牡丹亭) (ค.ศ. 1598) ของทังเสียนจู่ นักอักษรและนักประพันธ์บทงิ้วที่เลื่องชื่อในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นบทประพันธ์ที่โด่งดังเพราะเป็นเรื่องราวความรักกินใจและเพราะความสละสลวยของภาษา มีทั้งสิ้น 55 ตอน ว่ากันว่า ถ้าแสดงชุดเต็ม ละครงิ้วนี้อาจกินเวลานานถึง 22 ชั่วโมง! ปัจจุบัน ‘ศาลาโบตั๋น’ ยังคงเป็นหนึ่งในงิ้วสุดนิยมและได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในสี่ของบทประพันธ์ละครงิ้วโบราณที่ดีที่สุดของจีน ได้รับการแปลไปหลายภาษาเช่น อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ‘ฝันคืนวิญญาณ’ (还魂梦) ‘ศาลาโบตั๋น’ เป็นเรื่องราวของตู้ลี่เหนียง สตรีลูกขุนนางที่งามเพียบพร้อม วันหนึ่งนางหลับอยู่ในอุทยานในเรือนแล้วฝันว่าได้พบรักกับบัณฑิตหนุ่มนามว่าหลิ่วเมิ่งเหมย เป็นรักที่ตราตรึงใจทำให้นางโหยหาแม้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้ว สุดท้ายนางเฝ้ารอแต่ชายในฝันจนตรอมใจตายไป ก่อนตายนางได้ให้คนวาดภาพนางไว้ และสามปีให้หลัง ปรากฏว่ามีบัณฑิตหนุ่มชื่อหลิ่วเมิ่งเหมยเข้าเมืองมาสอบราชบัณฑิต ได้เห็นรูปของนางก็หลงรักและฝันถึง ในฝันนั้นนางบอกเขาว่า หากเขาขุดศพของนางที่ถูกฝังอยู่ในอุทยานขึ้นมา นางจะฟื้นคืนชีพ หลิ่วเมิ่งเหมยทำตามคำบอกของนางก็พบว่าศพของนางยังไม่เน่าเปื่อยและนางก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมาจริงๆ เขาทั้งสองจึงครองรักกันต่อไป จึงเป็นที่มาของวรรคที่ว่า ‘รักมิรู้เริ่มต้นจากที่ใด ถลาลึกตรึงใจสุดคณนา คนเป็นอาจตาย คนตายอาจเป็น’ และเป็นวลีที่ถูกนำมาใช้บ่อยครั้งเพื่อสะท้อนความหมายของมันว่า รักนั้น บางทีก็หาเหตุผลและจุดเริ่มต้นไม่ได้ คนที่ถลำลงไปในรักสามารถตายเพื่อรักได้ และรักก็สามารถสร้างปาฏิหารย์ให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ เป็นประโยคที่ผ่านตา Storyฯ บ่อยมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามีในละครหรือนิยายเรื่องไหนอีกที่กล่าวถึงวลีนี้ เท่าที่พอจะจำได้ ก็มีเรื่อง ‘ความฝันในหอแดง’ หากเพื่อนเพจคุ้นหูคุ้นตาจากซีรีส์หรือนิยายเรื่องอื่นก็เม้นท์มาบอกกันได้นะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลเรียบเรียงจาก: https://new.qq.com/rain/a/20210820A0E6Z100 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=e1f2a8e8bf19704ecbbbff47 https://baike.baidu.com/item/情不知所起一往而深 https://www.ximalaya.com/ask/q142274?source=m_jump #เจินหวน #หมู่ตานถิง #ศาลาโบตั๋น #วลีรักจีน #ทังเสียนจู่
    腾讯网
    腾讯网从2003年创立至今,已经成为集新闻信息,区域垂直生活服务、社会化媒体资讯和产品为一体的互联网媒体平台。腾讯网下设新闻、科技、财经、娱乐、体育、汽车、时尚等多个频道,充分满足用户对不同类型资讯的需求。同时专注不同领域内容,打造精品栏目,并顺应技术发展趋势,推出网络直播等创新形式,改变了用户获取资讯的方式和习惯。
    1 Comments 0 Shares 846 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง

    ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว

    ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท

    จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก?

    บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก)
    “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว
    แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย”
    ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม”

    และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง
    “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์
    เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย”
    - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง
    โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว

    ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้:
    หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค
    หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
    และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์
    เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้
    เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม

    เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml
    http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html
    http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx
    https://www.sohu.com/a/239647354_661147

    #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    วันนี้มาคุยกันเรื่องดอกเหมย (ดอกบ๊วย) ที่เพื่อนเพจเห็นบ่อยในวัฒนธรรมจีน เคยมีคนเขียนถึงความหมายของดอกเหมยไปไม่น้อย แต่ Storyฯ หวังว่าบทความนี้จะให้อีกมุมมองที่แตกต่าง ดอกเหมยจีนมีทั้งหมดกว่า 30 สายพันธุ์หลัก (แบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยได้อีกรวมกว่า 300 ชนิด) ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสี่ยอดบุปผาของจีนโดยเป็นตัวแทนแห่งฤดูหนาว และเป็นดอกไม้ประจำชาติของไต้หวัน ความหมายที่มักถูกเอ่ยถึงคือความอดทนและความเพียรเพราะเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว บานทนได้ถึง 2-3 เดือน เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังและเป็นที่นิยมในช่วงตรุษจีนเพราะมันเป็นสัญญาณว่าใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ในซีรีย์หรือนิยายจีนเรามักจะเห็นดอกเหมยถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนแห่งความรักที่มั่นคง ดังเช่นในเรื่อง <ฝ่ามิติพิชิตบัลลังก์> (ปู้ปู้จิงซิน) ที่เหมยแดงเบ่งบานกลางหิมะ เปรียบเสมือนความรักที่มั่นคงแม้อีกฝ่ายจะไม่เหลียวแล จนStoryฯ อดรู้สึกไม่ได้ว่า หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการใช้ดอกเหมยมาเปรียบเปรยถึงความอดทนนั้น สามารถใช้ได้ในหลายบริบท จริงแล้วดอกเหมยใช้ในบริบทอื่นใดได้อีก? บทกวีโบราณหลายยุคหลายสมัยใช้ดอกเหมยเปรียบเปรยถึงการยึดมั่นในอุดมการณ์ ยกตัวอย่างมาจากบทกวีที่ชื่อว่า “เหมยฮวา” (ดอกเหมย) ผลงานของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ เขาผู้นี้ถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ในฐานะนักปฏิรูปและนักเศรษฐกิจชื่อดัง ดำรงตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ซ่งเสินจง (ฮ่องเต้องค์ที่หกแห่งราชวงศ์ซ่ง) แต่ภายหลังนโยบายใหม่ๆ ของเขาถูกต่อต้านอย่างแรงจากขุนนางอื่น จนสุดท้ายเขาต้องลาออกจากราชการกลับบ้านเกิดไป บทกวีนี้ถูกแต่งขึ้นในภายหลัง Storyฯ แปลและเรียบเรียงได้ดังนี้ (ขออภัยหากไม่สละสลวยนัก) “เหมยแตกกิ่งอยู่มุมรั้ว ผลิบานเดียวดายรับความหนาว แลเห็นมิใช่หิมะขาว ด้วยกรุ่นกลิ่นจางมิคลาย” ความนัยหมายถึงว่า อันอุดมการณ์สูงส่งนั้น ดำรงไว้ได้ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพอับจนเพียงใด (เช่นซอกมุมรั้วมุมกำแพง) และแม้ดูแต่ไกลขาวกลมกลืนไปกับหิมะ แต่กลิ่นหอมโชยบ่งบอกถึงตัวตน ดังนั้น ดอกเหมยในบริบทนี้หมายถึงผู้ที่ยึดมั่นในอุดมคติ ชวนให้ชื่นชมจากเนื้อแท้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ถ้านึกแบบง่ายๆ Storyฯ คงนึกถึงสำนวน “เพชรในตม” และมีอีกบริบทหนึ่งของดอกเหมยที่คนไม่ค่อยกล่าวถึง นั่นคือความแร้นแค้นเดียวดาย Storyฯ ยกมาเป็นตัวอย่างอีกบทกวีหนึ่งคือ “อี้เหมย” (รำลึกเหมย) ของหลี่ซันอิ่งในสมัยถัง “จองจำอยู่ปลายฟ้า ถวิลหาความงามแห่งวสันต์ เหมันต์เหมยชวนชิงชัง เป็นบุปผาแห่งปีกลาย” - คำแปลจาก <หรูซือ... กุ้ยฮวาผลิบานในใจข้า> โดยหวินไฉ่เฟยหยาง โดยสองวรรคแรกบรรยายถึงคนที่จำเป็นต้องจากบ้านไปไกล ได้แต่รอคอยสิ่งดีๆ และสองวรรคสุดท้ายกล่าวถึงดอกเหมยที่ชูช่อให้ชมในความกันดารแห่งเหมันต์ แต่แล้วเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ ดอกเหมยกลับถูกรังเกียจว่าเป็นดอกไม้ที่บานตั้งแต่ฤดูหนาวปีที่แล้ว เป็นความเก่าไร้ความสดชื่น ผู้คนหันไปตื่นตาตื่นใจกับดอกไม้อื่นที่เริ่มผลิบานแทน เป็นบทกวีที่บ่งบอกถึงความขมขื่นของคนที่ถูกลืมหรือถูกมองว่าหมดประโยชน์แล้ว ดังนั้น Storyฯ ขอสวมวิญญาณนักประพันธ์มาสรุปให้ดังนี้: หากเปรียบรัก ดอกเหมยคือรักที่คงทนฟันฝ่าอุปสรรค หากเปรียบคน ดอกเหมยคือคนที่ยึดมั่นในคุณค่าของตนแม้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และธรรมชาติของดอกเหมยนั้น ดูงดงามทั้งในห้วงเวลาแห่งความสุขและในยามทุกข์ เมื่อสุข ดอกเหมยคือความหวังและความแน่วแน่ที่จะผ่านความลำบากไปได้ เมื่อทุกข์ ดอกเหมยคือความเดียวดายและความขมขื่นของคนที่ถูกลืม เพื่อนเพจดูซีรีย์และอ่านนิยายแล้ว ‘อิน’ กับดอกเหมยอย่างไรบ้างไหม? มาเล่าสู่กันฟังนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: http://ent.sina.com.cn/v/m/2011-03-31/14353269488.shtml http://5sing.kugou.com/fc/13497084.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://www.sgss8.net/tpdq/2670634/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.cmeii.com/xinwenzhongxin/2190.html http://m.qulishi.com/article/202011/459819.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_aed4fe678529.aspx https://www.sohu.com/a/239647354_661147 #ดอกบ๊วย #ดอกเหมย #เหมยฮวา #อี้เหมย #รำลึกเหมย #บุปผาปีกลาย
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????_Ӱ?????_????
    ?????????ġ?ɱ?? ????¡??ʫʫ??????ӵ?????
    1 Comments 0 Shares 1151 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง

    เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ

    แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’?

    สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才)

    เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ

    Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html
    https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子
    https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/
    https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D
    http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html
    https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593

    #สำนวนจีน #เสาหลัก
    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากอาทิตย์ที่แล้วเราคุยกันเรื่องปรัชญาขงจื๊อว่าด้วย ‘วิญญูชน’ วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เกี่ยวกับสำนวนจีนที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่ามีเพื่อนเพจไม่น้อยที่เคยผ่านหูและผ่านตาในซีรีส์และนิยายจีนถึงสำนวน ‘เสาหลักของชาติ’ ซึ่งสำนวนนี้มีใช้ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลายจวบจนปัจจุบัน วันนี้เลยมาพร้อมรูปกระกอบของเหล่าตัวละครที่ได้รับการขนานนามในเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นเสาหลักของชาติ แต่เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่า จริงๆ แล้วในสำนวนจีนที่มีมาแต่โบราณนี้ เขาใช้คำว่า ‘คานหลัก’ ไม่ใช่ ‘เสาหลัก’? สำนวนนี้มักใช้ว่า ‘国之栋梁’(กั๋วจือโต้งเหลียง) ซึ่งเป็นสำนวนที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันสำนวนที่ถูกต้องคือ ‘国家栋梁’ (กั๋วเจียโต้งเหลียง) โดยคำว่า ‘โต้งเหลียง’นี้แปลว่าคานหลัก และมีสำนวนกล่าวชมคนที่มีคุณสมบัติที่จะมาเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญในกิจการบ้านเมืองนั้นว่า ‘โต้งเหลียงจือฉาย’(栋梁之才) เหตุใดในสำนวนนี้จึงใช้คำว่า ‘คาน’ ไม่ใช่ ‘เสา’ เหมือนชาติอื่น? เรื่องนี้ไม่ปรากฏคำอธิบายชัดเจน Storyฯ เองก็ไม่ใช่วิศวกรหรือสถาปนิก แต่พอจะจับใจความได้ดังนี้ค่ะ: คานคือส่วนของบ้านที่รับน้ำหนักจากข้างบนลงมาแล้วค่อยกระจายไปตามเสา และยังเป็นตัวช่วยยึดให้เสาตั้งตรงไม่เอนเอียงไปตามกาลเวลา ในการออกแบบจะคำนวณการกระจายน้ำหนักจากบนลงล่าง (แม้ในการก่อสร้างจริงจะเริ่มจากล่างก่อน) และคานหลักเป็นคานที่ใหญ่ที่สุดและเป็นตัวหลักในการรับน้ำหนัก ในสมัยโบราณมีการทำพิธีบวงสรวงเวลายกคานหลักขึ้นตั้งด้วย แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในสายตาของคนโบราณ Storyฯ ลองคิดตามก็รู้สึก ‘เออ...ใช่!’ ด้วยวัฒนธรรมที่จัดลำดับความสำคัญจากบนลงล่าง การเปรียบคนคนหนึ่งเป็นเสมือนคานหลักของบ้านเป็นการอุปมาอุปไมยอย่างชัดเจนว่าคนคนนี้ต้องรับภาระอันมากมายและมีหน้าที่สำคัญในการดำรงไว้ซึ่งความสมดุลของบ้าน และมีหน้าที่กระจายน้ำหนักไปสู่ส่วนประกอบอื่นของบ้าน ... ซึ่ง Storyฯ คิดว่านี่ก็คือบทบาทหน้าที่ของผู้นำ อดคิดไม่ได้ว่า สำนวนจีนเขาก็เปรียบเทียบได้ถูกต้องดี เพื่อนเพจว่าไหม? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.tupianzj.com/mingxing/juzhao/20211209/236147.html https://www.pixnet.net/tags/我就是這般女子 https://www.facebook.com/Nsplusengineering/posts/2897265593641850/ https://ettchk.wordpress.com/2017/12/22/3175/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://chengyu.qianp.com/cy/%E6%A0%8B%E6%A2%81%E4%B9%8B%E6%89%8D http://chengyu.kaishicha.com/in8q.html https://baike.baidu.com/item/%E6%A0%8B%E6%A2%81/6433593 #สำนวนจีน #เสาหลัก
    0 Comments 0 Shares 841 Views 0 Reviews
  • ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู

    มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม

    Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ

    มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล

    Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง)

    เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ

    เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง

    หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้

    ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง)

    เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน

    หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html
    https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html
    https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html
    https://baike.baidu.com/item/扬州市
    https://turnstone.ca/rom186be.htm

    #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    ตามรอยเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านเส้นทางสายไหม สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> คงจำได้ว่าฉากหลังของเรื่องคือการค้าอัญมณีในสมัยถัง ซึ่งเส้นทางการเดินทางมีทั้งการเดินเรือทะเลและข้ามทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ ชวนให้ Storyฯ งงไม่น้อยเลยลองไปหาข้อมูลดู มีบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยเหอหนานกล่าวไว้ว่าจริงๆ แล้วซีรีส์เรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> นี้คือการเดินทางผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งก็ตรงกับตอนจบของเรื่องที่กล่าวถึงการพัฒนาด้านการค้าผ่านเส้นทางสายไหม Storyฯ เลยลองเอาการเดินทางของพระเอกนางเอกจากในซีรีส์มาปักหมุดลง เราลองมาดูกันค่ะ มีบทความและแผนที่เกี่ยวกับเส้นทางสายไหมจำนวนไม่น้อยในหลากหลายภาษา ดังนั้น Storyฯ ขอไม่ลงรายละเอียด แต่จากการเปรียบเทียบดู Storyฯ พบว่ามีความแตกต่างกันบ้าง จึงขอใช้เวอร์ชั่นที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์หนิงเซี่ยกู้หยวนเป็นหลักเพราะถือว่าเป็นไปตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่จีนบันทึกเอง (ดูรูปประกอบ 2) เราจะเห็นว่าเส้นทางสายไหมมีเส้นทางบกและเส้นทางทะเล และเส้นทางบกไม่ได้จบลงที่เมืองฉางอัน (ซีอันปัจจุบัน) อย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่มีการเชื่อมต่อไปจรดทะเลเชื่อมต่อเข้ากับเส้นทางทะเล Storyฯ ลองใส่ข้อมูลอื่นเพิ่มเข้าไปในแผนที่เต็มนี้ (ดูรูปประกอบ 1) ก่อนอื่นคือใส่แผนที่ของราชวงศ์ถังซ้อนลงไปเพื่อให้เห็นภาพอาณาเขตโดยคร่าว ทั้งนี้ตลอดสามร้อยกว่าปีการปกครองของถังในเขตซีอวี้ (ซินเกียงปัจจุบัน) แตกต่างกันไป เลยลองใช้แผนที่ของช่วงประมาณปีค.ศ. 700 ก็จะเห็นเขตพื้นที่ซีอวี้ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือที่มีเมืองตุนหวงเป็นเสมือนประตูทางผ่าน จากนั้นใส่เขตพื้นที่มณฑลหยางโจวในสมัยนั้นซึ่งอยู่ทางใต้ของแผนที่ติดทะเล (คือเส้นประเล็กๆ) (หมายเหตุ เส้นขอบทั้งหมดอาจไม่เป๊ะด้วยข้อจำกัดการวาดของ Storyฯ เอง) เมื่อใส่เสร็จแล้วก็เห็นได้เลยว่าตวนอู่และเยี่ยจื่อจิงของเราในเรื่อง <ม่านมุกม่านหยก> เขาเดินทางตามเส้นทางสายใหม่จริงๆ เริ่มกันที่ด้านล่างของแผนที่ซึ่งเป็นแถบพื้นที่เหอผู่อันเป็นแหล่งเก็บมุกทะเล (ปัจจุบันเรียกเป๋ยไห่ คือพื้นที่สีแดง) ที่นี่เป็นฉากเริ่มต้นของเรื่อง (ย้อนอ่านเรื่องการเก็บมุกได้จากบทความสัปดาห์ที่แล้ว) จากนั้นเดินทางผ่านกวางเจาขึ้นเหนือและสู้รบปรบมือกับคนตระกูลชุยและศัตรูอื่นเป็นระยะตั้งแต่เมืองซ่าวโจวถึงเมืองอู่หลิง จากนั้นเดินทางเรื่อยขึ้นไปจนถึงเมืองเปี้ยนโจวซึ่งคือเมืองไคฟงปัจจุบัน แล้วเลี้ยวซ้ายผ่านนครฉางอัน ข้ามเขตทะเลทรายเข้าเขตซีอวี้ซึ่งการเข้าเขตซีอวี้ในสมัยนั้นจะผ่านเมืองตุนหวง ณ จุดนี้ เรื่องราวผ่านไปแล้วประมาณ 1/3 ของเรื่อง หลังจากนั้นเหล่าตัวละครกลับมาจากซีอวี้แล้วเดินทางมาถึงเมืองหยางโจวข้ามผ่านระยะทางอย่างไกลได้อย่างไรไม่ทราบได้ Storyฯ ดูจากแผนที่แล้วน่าจะย้อนกลับมาทางเมืองเปี้ยนเฉิงและจากจุดนั้นมีเส้นทาง (ที่ไม่ใช่เส้นทางสายไหมและไม่ได้วาดไว้ในรูปประกอบ) เชื่อมลงมายังเมืองหยางโจว ซึ่งมีทั้งเส้นทางบกและเส้นทางคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอที่สามารถใช้ได้ (หมายเหตุ เส้นทางต้าอวิ้นเหอมีการเปลี่ยนแปลงไปในยุคสมัยหมิงเป็นต้นมา) และเรื่องราวที่เหลือของเรื่องก็จะมีฉากหลังอยู่ที่การค้าอัญมณีที่เมืองหยางโจวนี้ ในเรื่องมีกล่าวถึงอัญมณีหนึ่งที่น่าสนใจชื่อว่า ‘เซ่อเซ่อ’ (瑟瑟 ไม่แน่ใจว่าแปลซับไทยไว้ว่าอย่างไร) ซึ่งเป็นพลอยประเภท Beryl Stone มีสีเขียวฟ้าและฟ้า บอกว่าเป็นพลอยที่มีค่าหายากมาก ในความเป็นจริง Beryl Stone แบ่งเป็นประเภทย่อยอีกตามสี แต่เรามักเรียกรวมพลอยสีฟ้าเขียวว่าพลอยอะความารีน (Aquamarine) และในละครมีการกล่าวว่าพลอยเซ่อเซ่อเกรดดีส่วนใหญ่มาจากเขตซีอวี้ แต่แถวหยางโจวก็พอให้หาซื้อได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริงตามประวัติศาสตร์ เพราะพลอยเซ่อเซ่อในจีนหาได้ในสามพื้นที่หลักคือซินเกียง (ซีอวี้) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ และที่ยูนนานและหูเป่ย (ไม่ไกลจากเมืองอู่หลิงในภาพ ซึ่งเป็นจุดที่น้องชุยสือจิ่วของเราถูกจับขังในเหมือง) เมืองหยางโจวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางบกและทางเรือของจีนโบราณ จึงไม่แปลกที่เรามักเห็นในซีรีส์และนิยายจีนโบราณกล่าวถึงหยางโจวว่าเป็นเขตค้าขายมีตระกูลพ่อค้าร่ำรวย ที่นี่ไม่เพียงเป็นจุดเชื่อมเส้นทางสายไหมทางบกและทะเลโดยผ่านแม่น้ำแยงซีเกียง และยังมีคลองต้าอวิ้นเหอเชื่อมขึ้นเหนือ ในสมัยถังที่นี่เป็นศูนย์กลางการค้าเสบียงอาหาร เกลือและเหล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจีน อีกทั้งค้าขายส่งออกผ้าไหมและงานกระเบื้องรวมถึงนำเข้าสินค้าหลากชนิดผ่านเส้นทางบกและเรือ นอกจากนี้ที่นี่ยังขึ้นชื่อเรื่องงานช่างงานฝีมือและมีการพบเจอซากเรือสมัยถังพร้อมเครื่องประดับมากมายที่แสดงให้เห็นว่าในสมัยถังมีการค้าขายเครื่องประดับด้วยเช่นกัน หวังว่าเพื่อนเพจจะเห็นภาพแล้วว่าการเดินเรื่องของ <ม่านมุกม่านหยก> ผ่านพื้นที่ไหนบ้าง และทำไมเหล่าคู่อริทางการค้าจึงพบหน้ากันบ่อย... เพราะทุกคนล้วนค้าขายและใช้เส้นทางสายไหมกันนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://m.bjnews.com.cn/detail/1730788116168379.html https://www.chinadiscovery.com/assets/images/silk-road/history/tang-silk-road-map-llsboc-qunar.jpg Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/JG5GE87L0512D3VJ.html https://www.163.com/dy/article/JGCT7TAP0530WJTO.html https://baike.baidu.com/item/扬州市 https://turnstone.ca/rom186be.htm #ม่านมุกม่านหยก #เส้นทางสายไหม #พลอยจีน #หยางโจว #สาระจีน
    M.BJNEWS.COM.CN
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    赵露思、刘宇宁新剧《珠帘玉幕》今日卫视开播
    0 Comments 0 Shares 1428 Views 0 Reviews
  • แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’

    วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家)
    เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้

    ความมีอยู่ว่า
    ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว....
    - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)

    ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย

    ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย

    ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน?

    ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป

    มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ

    ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ

    Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/484438060_121051662
    https://www.sohu.com/a/485012584_100151502
    https://www.sohu.com/a/489015136_120827444

    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html
    https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361
    https://www.baike.com/wiki/清河崔氏
    https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏

    #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    แฟนละคร/นิยายจีนคงคุ้นเคยดีกับโครงเรื่องที่มีการชิงอำนาจทางการเมืองด้วยการจัดให้มีการแต่งงานระหว่างตระกูลดังกับเชื้อพระวงศ์ จนเกิดเป็นแรงกดดันมหาศาลให้กับตัวละครเอก บางคนอาจเคยบ่นว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ วันนี้ Storyฯ ยกตัวอย่างมาคุยเกี่ยวกับตระกูลขุนนางเก่าแก่เรืองอำนาจ (เรียกรวมว่า สื้อเจีย / 世家) เป็นหนึ่งในตระกูลที่ดังที่สุดในประวัติศาสตร์ตอนต้นและกลางของจีนโบราณก็ว่าได้ ความมีอยู่ว่า ....ตระกูลชุยจากชิงเหอรุ่นนี้ สายหลักของตระกูลมีนางเป็นบุตรีโทนแต่เพียงผู้เดียว ... และตระกูลชุยกำลังรุ่งเรือง นางยังอยู่ในท้องของมารดาก็ได้รับการหมั้นหมายให้กับองค์ชายรัชทายาทแล้ว.... - จากเรื่อง <ทุกชาติภพ กระดูกงดงาม> ผู้แต่ง โม่เป่าเฟยเป่า (แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า) ชิงเหอคือพื้นที่ทางด้านเหนือของจีน (แถบเหอหนาน เหอเป่ยและซานตง) ในสมัยจีนตอนต้นมีสถานะเป็นแคว้นบ้างหรือรองลงมาเป็นจวิ้น (郡) บ้าง ซึ่งนับเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ มีหลายตระกูลดังในประวัติศาตร์จีนที่มาจากพื้นที่แถบนี้ หนึ่งในนั้นคือตระกูลชุย ตระกูลชุยมีรากฐานยาวนานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (ปี 1046-771 ก่อนคริสตกาล) แตกสกุลมาจากสกุลเจียงและรวมถึงชาวเผ่าพันธุ์อื่นที่หันมาใช้สกุลนี้ รับราชการในตำแหน่งสำคัญมาหลายยุคสมัย แตกมาเป็นสายที่เรียกว่า ‘ตระกูลชุยจากชิงเหอ’ ในยุคสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ (ปี 221 – 206 ก่อนคริสตกาล) เมื่อชุยเหลียง (ทายาทรุ่นที่ 7) ได้รับการอวยยศเป็นโหวและได้รับพระราชทานเขตการปกครองชิงเหอนี้ และต่อมาตระกูลชุยจากชิงเหอมีแตกสายย่อยไปอีกรวมเป็นหกสาย ตระกูลชุยจากชิงเหอที่กล่าวถึงในละครข้างต้น ‘ไม่ธรรมดา’ แค่ไหน? ตระกูลชุยจากชิงเหอรับราชการระดับสูงต่อเนื่อง ผ่านร้อนผ่านหนาวแต่อยู่ยงคงกระพันมากว่า 700 ปี ถูกยกย่องว่าเป็น ‘ที่สุด’ ในบรรดาสี่ตระกูลใหญ่ในยุคสมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ปีค.ศ. 386 – 535) และในสมัยราชวงศ์ถังก็เป็นหนึ่งในห้าตระกูลเจ็ดเชื้อสาย (五姓七族) อันเป็นตระกูลชั้นสูงที่ต่อมาถูกห้ามไม่ให้แต่งงานกันเอง เพื่อป้องกันไม่ให้สร้างฐานอำนาจมากเกินไป มีคนจากตระกูลชุยจากชิงเหอนี้เป็นอัครมหาเสนาบดี (จ่ายเซี่ยง / 宰相) หรือตำแหน่งที่สูงคล้ายกันมากมายหลายรุ่น เฉพาะในสมัยราชวงศ์ถังที่ยาวนานเกือบสามร้อยปีก็มีถึง 12 คน (ถ้ารวมตระกูลชุยสายอื่นมีอีก 10 คน) มีจอหงวน 11 คน ยังไม่รวมที่รับราชการในตำแหน่งอื่น ที่กุมอำนาจทางการทหาร ที่เป็นผู้นำทางความคิด (นักปราชญ์ กวีชื่อดัง) และที่เป็นลูกหลานฝ่ายหญิงที่แต่งเข้าวังในตำแหน่งต่างๆ อีกจำนวนไม่น้อย จวบจนสมัยซ่งใต้ ฐานอำนาจของตระกูลนี้จึงเสื่อมจางลงเหมือนกับตระกูลสื้อเจียอื่นๆ ทำไมต้องพูดถึงตระกูลชุยจากชิงเหอ? Storyฯ เล่าเป็นตัวอย่างของเหล่าตระกูลสื้อเจียค่ะ จากที่เคยคิดว่า ‘มันจะอะไรกันนักหนา?’ แต่พอมาเห็นรากฐานของตระกูลสื้อเจียเหล่านี้ เราจะได้อรรถรสเลยว่า ‘ฐานอำนาจ’ ที่เขาพูดถึงกันนั้น มันหยั่งรากลึกแค่ไหน? เหตุใดตัวละครเอกมักรู้สึกถูกกดดันมากมาย? และเพราะเหตุใดมันจึงฝังรากลึกในวัฒนธรรมจีนโบราณ? เพราะมันไม่ใช่เรื่องของหนึ่งหรือสองชั่วอายุคน แต่เรากำลังพูดถึงฐานอำนาจหลายร้อยปีที่แทรกซึมเข้าไปในสังคมโดยมีประมุขใหญ่ของตระกูลในแต่ละรุ่นเป็นแกนนำสำคัญ Storyฯ หวังว่าเพื่อนๆ จะดูละครได้อรรถรสยิ่งขึ้นนะคะ ใครเห็นบทบาทของคนในตระกูลชุยในละครเรื่องอื่นใดอีกหรือหากนึกถึงตระกูลอื่นที่คล้ายคลึงก็เม้นท์มาได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/484438060_121051662 https://www.sohu.com/a/485012584_100151502 https://www.sohu.com/a/489015136_120827444 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.163.com/dy/article/FNSTJKT60543BK4H.html https://new.qq.com/omn/20211021/20211021A09WBQ00.html https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_16209361 https://www.baike.com/wiki/清河崔氏 https://zh.wikipedia.org/wiki/清河崔氏 #กระดูกงดงาม #ตระกูลชุย #สกุลชุย #ชิงเหอ #สื้อเจีย
    0 Comments 0 Shares 1016 Views 0 Reviews
  • เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง
    .
    บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550)
    .
    แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง
    .
    ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561
    .
    กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง
    .
    เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด!
    .
    ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว
    .
    งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน”
    .
    งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย
    .
    อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร
     งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม
     งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม
    .
    กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก
    .
    เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519)
    .
    ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ
    .
    ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    เกือบ18 ปีแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง . บทความนั้นมีชื่อว่า ‘งักปุกคุ้ง’ แห่งเสียนหลอ (https://mgronline.com/daily/detail/9500000032355 เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550) . แต่วันนี้ไม่รู้ว่าตัวเองนึกครึ้มอกครึ้มใจอะไรเลยย้อนไปอ่าน แล้วอยากเอามารีไรท์ และนำมาแบ่งปันอีกครั้งนึง . ต้นปี 2568 นี้ มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายจีนกำลังภายในเรื่องอมตะ เรื่อง “กระบี่เย้ยยุทธจักร” (หรือ ยิ้มเย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา หรือในภาษาจีนคือ 笑傲江湖 ส่วน ชื่ออังกฤษ Invincible Swordsman) ถูกนำมารีเมคใหม่อีกครั้ง โดยตอนนี้ลงจอฉายที่จีนไปแล้ว ในไทยก็กำลังจะเข้าฉายทาง WeTV กับ iQIYI . กระบี่เย้ยยุทธจักร เป็นนวนิยายกำลังภายในของสุดยอดปรมาจารย์ทางวรรณกรรมจีน “กิมย้ง” หรือจีนกลางอ่านว่า “จินยง (金庸)” ซึ่งท่านเสียชีวิตไปเมื่อ 7 ปีที่แล้วเมื่อวัน 30 ตุลาคม 2561 . กระบี่เย้ยยุทธจักรถือเป็นนิยายกำลังภายในเรื่องเดียวของกิมย้งที่ไม่ได้อิงประวัติศาสตร์ของจีนในยุคใด แต่เป็นนวนิยายกำลังภายในแนวการเมืองที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง . เรื่องราวเขียนถึงคนที่เรียกตัวเองว่า ฝ่ายธรรมมะ ฝ่ายอธรรม และ วิญญูชนจอมปลอม ได้อย่างลึกซึ้ง และถ่องแท้ที่สุด! . ตัวละครหลักคือ เหล็งฮู้ชง ตัวเอกของเรื่อง ศิษย์คนโตและศิษย์ทรยศแห่งสำนักฮั้วซัว (หรือหัวซาน ที่เป็นยอดบรรพตในมณฑลส่านซี) สองคือ งักปุกคุ้ง ซือแป๋เจ้าสำนักฮั้วซัว . งักปุกคุ้ง (แซ่งัก นามปุกคุ้ง) เป็นเจ้าสำนักฮั้วซัว ผู้สืบทอดเพลงกระบี่และลมปราณเมฆม่วงแห่งสำนักฮั้วซัว หนึ่งในห้า ยอดสำนักกระบี่แห่งบู๊ลิ้ม ภาพภายนอกเป็นผู้กล้าที่ได้ชื่อว่าเป็นจอมยุทธ์ผู้ทรงคุณธรรม เป็นเจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสำนักมาตรฐานของยุทธจักร จนได้รับฉายาจากบรรดาจอมยุทธ์ว่า “กระบี่วิญญูชน” . งักปุกคุ้ง นอกจากจะเป็นเจ้าสำนักของยอดสำนักกระบี่แล้ว ในด้านของชาติพันธุ์ เจ้าตัวยังเชื่อมั่นด้วยว่า ต้นตระกูลงัก (หรือในภาษาจีนกลางคือแซ่เย่ว์ – 岳) ของตนมีวีรบุรุษกู้ชาติอยู่หลายคน โดยหนึ่งในผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตระกูลงักก็คือ ‘งักฮุย (เย่ว์เฟย)’ ยอดขุนพลแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ งักปุกคุ้งเชื่อมั่นใน ‘คุณธรรม’ ของตนจนถึงกับเดินทางรอนแรมพาเหล่าศิษย์ฮั้วซัวไปเคารพสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของงักฮุย . อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเจ้าสำนักกระบี่ฝ่ายธรรมะ ทั้งยังได้ฉายาว่าเป็น “กระบี่วิญญูชน” แต่ตลอดทั้งเรื่อง ชื่อเสียงและคำพูดของงักปุกคุ้ง กลับไม่ได้สอดคล้องกับการกระทำของเขาเลยแม้แต่น้อย ยกตัวอย่างเช่น  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะหลบเลี่ยงเมื่อภัยมาถึงตัว  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่มักจะวางเฉย เมื่อประสบเห็นความไม่เป็นธรรมของยุทธจักร  งักปุกคุ้งเป็นวิญญูชนที่พร้อมจะให้ร้ายป้ายสีและถีบหัวส่ง เหล็งฮู้ชง ศิษย์เอกมากกว่าที่จะยื่นมือเข้าปกป้องเมื่อเหล็งฮู้ชงถูกกล่าวหาว่าสมคบกับฝ่ายอธรรม  งักปุกคุ้ง เป็นวิญญูชนที่แม้ปากจะบอกว่าไม่สนใจต่อลาภยศ หรือยอดวิชาแห่งยุทธจักร แต่กลับส่ง “งักเล้งซัง” บุตรีของตนเองไปแต่งกับ “ลิ้มเพ้งจือ” รวมถึงยินยอมสละอวัยวะเพศของตัวเอง เพียงเพื่อจะได้ครอบครองเพลงคัมภีร์กระบี่ตระกูลลิ้ม . กล่าวโดยสรุปแล้วงักปุกคุ้ง เป็นบุคคลประเภทที่เรียกว่า “วิญญูชนจอมปลอม” ภายนอกดูเป็นคนดีที่มีชื่อเสียง เป็น “กระบี่วิญญูชน” เจ้าสำนักกระบี่อันเลื่องชื่อ แต่แท้จริงแล้วกลับประพฤติตนยิ่งกว่าคนในสายอธรรมเสียอีก . เมื่อพลิกอ่าน “กระบี่เย้ยยุทธจักร” และพิจารณาความระหว่างบรรทัดที่กิมย้งสอดแทรกลงในนวนิยายกำลังภายในเล่มนี้ ผู้อ่านก็จะรับรู้ได้ถึงความเป็นอัจฉริยะของกิมย้ง ที่แม้จะเขียนถึงเรื่องราวในยุทธภพในยุคสมัยราชวงศ์หมิง (ตามการคาดเดาของผู้เขียนเอง) แต่เนื้อหาของนวนิยายกลับสามารถนำมาเปรียบเทียบกับความเป็นไปทางการเมือง เสียดสีถึงพฤติกรรมของผู้คนในสังคมจีนในยุคสมัยที่ประเทศจีนวุ่นวายที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ คือ ในช่วงของการปฏิวัติวัฒนธรรม (พ.ศ.2509-2519) . ส่วนเมื่อมองถึงเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในยุคปัจจุบันแล้ว ใครจะเป็นงักปุกคุ้ง, ใครจะเป็นเหล็งฮู้ชง, ใครจะเป็นฝ่ายธรรมมะ, ใครจะเป็นฝ่ายอธรรม, ใครจะเป็นกระบี่วิญญูชน หรือ ใครจะเป็นวิญญูชนจอมปลอม ผมนั้นมิอาจจะตัดสินใจแทนใครได้จริง ๆ . ต่างคนต่างมุมมอง ต่างภูมิหลัง ต่างภูมิรู้ ต่างประสบการณ์ ต่างความคิด และเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน
    Like
    Love
    7
    1 Comments 0 Shares 1108 Views 0 Reviews
  • ตารางอันดับหนังทำเงินตลอดกาลในจีน แตกก !!!!!!
    "Nezha 2" ผงาดยึดอันดับหนึ่ง
    ล้มแชมป์ด้วยเวลาที่สั้นกว่า และอาจไปได้ไกลถึง 10,000 ล้านหยวน

    "Nezha 2" เข้าฉายมาตั้งแต่วันพุธที่ 29 มกราคม ในเทศกาลตรุษจีน ใช้เวลาเพียง 9 วัน สามารถทำเงินล้มแชมป์หนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลในจีน ที่เดิมเป็นของ The Battle at Lake Changjin หนังสงครามที่รวม 3 ผู้กำกับ ฉีเคอะ เฉินข่ายเกอ และ ดันเต้ แลม โดยตัวเลขที่ทำได้ ถึงวันนี้ (6 กุมภาพันธ์) ในครึ่งวันแรก อยู่ที่ 5800 ล้านหยวน (796 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

    มีบทวิเคราะห์ที่ว่ากันว่า นาจาภาคนี้ มีคนที่ดูแล้วชื่นชอบถึงขนาดต้องดูรอบสอง หรือบางคนมีถึงรอบที่สาม

    นาจา เป็นตัวละครพื้นฐานมาจากนวนิยายจีนสมัยศตวรรษที่ 17 ชื่อ (ห้องสิน-The Investiture of the Gods) ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานวรรณกรรมสําคัญชิ้นแรกที่มี "เทพ" และ "ปีศาจ" ในลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา

    Nezha 2 เป็นสัญลักษณ์ของการขบถ ภาพลักษณ์ของ "นาจา" ได้เปลี่ยนจากวีรบุรุษโศกนาฏกรรมแบบดั้งเดิม "กลับไปหาพ่อ" มาเป็นขบถสมัยใหม่ที่ "เปลี่ยนโชคชะตาที่ขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า" ซึ่งสอดคล้องกับความทะเยอทะยานทางจิตวิญญาณของเยาวชนในปัจจุบัน ความมุ่งมั่นในการต่อต้านระบบและการแสวงหาเป้าหมาย การดัดแปลงนี้ทำลายมายาคติความศักดิ์สิทธิ์ของตัวละคร ให้สามารถสะท้อนและเข้าใกล้กับผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น

    ภาพยนตร์เรื่องนี้ผสมผสานสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน โดยผสมผสานสไตล์พังก์ ภาษาพูดสมัยใหม่ มีม และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สำเนียง "ภาษาจีนกลางสไตล์เสฉวน" ของอาจารย์ไท่ยี่ ผู้เป็นครูของนาจา วิธีการนี้ผสมผสานสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมดั้งเดิมเข้ากับวัฒนธรรมป๊อปคัลเจอร์เพื่อให้ภาพยนตร์ดึงดูดผู้ชม ขณะเดียวกันก็ปลูกฝังอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์

    Nezha 2 เป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ในด้านสุนทรียศาสตร์ทางภาพ ภาพยนตร์เรื่องนี้ขับเคลื่อนสิ่งต่างๆด้วย เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อมด้วยทิศทางศิลปะที่สร้างสรรค์อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะทิวทัศน์ที่มีหมอกหนา ซึ่งช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการที่ต้องชมในโรงภาพยนตร์ ตัวละคร นาจา ถูกสร้างขึ้นด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดจากข้อเท็จจริงที่ว่าตัวละครบนหน้าจอยังคงอารมณ์ การแสดงออกในแบบตะวันออกเอาไว้ได้ แท้จริงแล้ว นาจา อาจกลายเป็นแบรนด์ทางวัฒนธรรมใหม่ของจีน

    ภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเฉพาะตัวเอกของเรื่อง แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจต่อ "ผู้ถูกละเลย" ประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติของ นาจา เป็นคําอุปมาอุปมัยของสังคมร่วมสมัย ที่ปฏิเสธ "คนนอกรีต" และปลูกฝังจิตวิญญาณของ "การขจัดอคติ" ให้กับผู้คน

    หนังยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจริยธรรมของครอบครัว ด้วยการเปลี่ยนบทบาทพ่อแม่ของนาจา จากคนที่เคร่งครัดตามขนบธรรมเนียมมาเป็น พ่อและแม่ ที่รักลูกและ "ฝ่าฝืนพระประสงค์ของพระเจ้าเพื่อปกป้องลูก" ผู้สร้างภาพยนตร์ได้สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวจีนขึ้นใหม่ สะท้อนถึงการแสวงหา "รากฐานของครอบครัว" ของคนรุ่นใหม่ และสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างรุ่น

    ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางเทคโนโลยีของนักสร้างภาพเคลื่อนไหวชาวจีน ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นใจในวัฒนธรรมของผู้สร้างภาพยนตร์ชาวจีน นอกจากนี้ ทีมงานสร้างภาพยนตร์ยังได้เพิ่มจำนวนตัวละครขึ้นสามเท่าจากภาคก่อน ซึ่งดูเหมือนว่าจะสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้ ผู้ชมได้รับประสบการณ์ทางภาพที่งดงามตระการตา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเดินทางในภาพยนตร์ที่ดื่มด่ำและน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น

    ในภาคนี้ นาจา ถูกเปลี่ยนบุคลิกจากคนดื้อรั้น เป็นผู้แบกรับภาระหนัก พร้อมสาบานที่จะ "ทำลายสวรรค์และโลก" และ "ปกป้องช่องเขาเฉินถังกวน" อย่างไรก็ตาม จิตวิญญาณของปัจเจกชน ไม่ได้สูญหายไปอย่างสมบูรณ์ เพราะมันสะท้อนถึงจิตวิญญาณแบบดั้งเดิมของความกล้าหาญ และดึงดูดผู้คนจํานวนมากไปชมดูภาพยนตร์

    ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเกมระหว่างความเชื่อเรื่องโชคชะตา และเจตจำนงเสรี คำกล่าวของนาจาที่ว่า "ฉันคือเจ้านายของชะตากรรมตนเอง" ผสมผสานแนวคิดของลัทธิเต๋าที่ว่า "การเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเองโดยขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า" ซึ่งสะท้อนถึงปรัชญาของลัทธิอัตถิภาวนิยม ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเติมความมีชีวิตชีวาในแบบสมัยใหม่ให้กับวัฒนธรรมดั้งเดิมอีกด้วย

    Nezha 2 ได้แสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมของแอนิเมชั่นจีนที่ทันสมัย ​​การเล่าเรื่องทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และความเชื่อมั่นของชาติอีกครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างความหวังว่าภาพยนตร์แอนิเมชั่นจีนจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    ตารางอันดับหนังทำเงินตลอดกาลในจีน แตกก !!!!!! "Nezha 2" ผงาดยึดอันดับหนึ่ง ล้มแชมป์ด้วยเวลาที่สั้นกว่า และอาจไปได้ไกลถึง 10,000 ล้านหยวน "Nezha 2" เข้าฉายมาตั้งแต่วันพุธที่ 29 มกราคม ในเทศกาลตรุษจีน ใช้เวลาเพียง 9 วัน สามารถทำเงินล้มแชมป์หนังทำเงินสูงสุดตลอดกาลในจีน ที่เดิมเป็นของ The Battle at Lake Changjin หนังสงครามที่รวม 3 ผู้กำกับ ฉีเคอะ เฉินข่ายเกอ และ ดันเต้ แลม โดยตัวเลขที่ทำได้ ถึงวันนี้ (6 กุมภาพันธ์) ในครึ่งวันแรก อยู่ที่ 5800 ล้านหยวน (796 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) มีบทวิเคราะห์ที่ว่ากันว่า นาจาภาคนี้ มีคนที่ดูแล้วชื่นชอบถึงขนาดต้องดูรอบสอง หรือบางคนมีถึงรอบที่สาม นาจา เป็นตัวละครพื้นฐานมาจากนวนิยายจีนสมัยศตวรรษที่ 17 ชื่อ (ห้องสิน-The Investiture of the Gods) ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานวรรณกรรมสําคัญชิ้นแรกที่มี "เทพ" และ "ปีศาจ" ในลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา Nezha 2 เป็นสัญลักษณ์ของการขบถ ภาพลักษณ์ของ "นาจา" ได้เปลี่ยนจากวีรบุรุษโศกนาฏกรรมแบบดั้งเดิม "กลับไปหาพ่อ" มาเป็นขบถสมัยใหม่ที่ "เปลี่ยนโชคชะตาที่ขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า" ซึ่งสอดคล้องกับความทะเยอทะยานทางจิตวิญญาณของเยาวชนในปัจจุบัน ความมุ่งมั่นในการต่อต้านระบบและการแสวงหาเป้าหมาย การดัดแปลงนี้ทำลายมายาคติความศักดิ์สิทธิ์ของตัวละคร ให้สามารถสะท้อนและเข้าใกล้กับผู้ชมได้มากยิ่งขึ้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ผสมผสานสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน โดยผสมผสานสไตล์พังก์ ภาษาพูดสมัยใหม่ มีม และองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สำเนียง "ภาษาจีนกลางสไตล์เสฉวน" ของอาจารย์ไท่ยี่ ผู้เป็นครูของนาจา วิธีการนี้ผสมผสานสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมดั้งเดิมเข้ากับวัฒนธรรมป๊อปคัลเจอร์เพื่อให้ภาพยนตร์ดึงดูดผู้ชม ขณะเดียวกันก็ปลูกฝังอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ Nezha 2 เป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ในด้านสุนทรียศาสตร์ทางภาพ ภาพยนตร์เรื่องนี้ขับเคลื่อนสิ่งต่างๆด้วย เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีอัจฉริยะ พร้อมด้วยทิศทางศิลปะที่สร้างสรรค์อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะทิวทัศน์ที่มีหมอกหนา ซึ่งช่วยเพิ่มประสบการณ์ในการที่ต้องชมในโรงภาพยนตร์ ตัวละคร นาจา ถูกสร้างขึ้นด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดจากข้อเท็จจริงที่ว่าตัวละครบนหน้าจอยังคงอารมณ์ การแสดงออกในแบบตะวันออกเอาไว้ได้ แท้จริงแล้ว นาจา อาจกลายเป็นแบรนด์ทางวัฒนธรรมใหม่ของจีน ภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยเฉพาะตัวเอกของเรื่อง แสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจต่อ "ผู้ถูกละเลย" ประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติของ นาจา เป็นคําอุปมาอุปมัยของสังคมร่วมสมัย ที่ปฏิเสธ "คนนอกรีต" และปลูกฝังจิตวิญญาณของ "การขจัดอคติ" ให้กับผู้คน หนังยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงจริยธรรมของครอบครัว ด้วยการเปลี่ยนบทบาทพ่อแม่ของนาจา จากคนที่เคร่งครัดตามขนบธรรมเนียมมาเป็น พ่อและแม่ ที่รักลูกและ "ฝ่าฝืนพระประสงค์ของพระเจ้าเพื่อปกป้องลูก" ผู้สร้างภาพยนตร์ได้สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวจีนขึ้นใหม่ สะท้อนถึงการแสวงหา "รากฐานของครอบครัว" ของคนรุ่นใหม่ และสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์ระหว่างรุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางเทคโนโลยีของนักสร้างภาพเคลื่อนไหวชาวจีน ซึ่งสะท้อนถึงความมั่นใจในวัฒนธรรมของผู้สร้างภาพยนตร์ชาวจีน นอกจากนี้ ทีมงานสร้างภาพยนตร์ยังได้เพิ่มจำนวนตัวละครขึ้นสามเท่าจากภาคก่อน ซึ่งดูเหมือนว่าจะสร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้ ผู้ชมได้รับประสบการณ์ทางภาพที่งดงามตระการตา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะสร้างการเดินทางในภาพยนตร์ที่ดื่มด่ำและน่าตื่นตาตื่นใจยิ่งขึ้น ในภาคนี้ นาจา ถูกเปลี่ยนบุคลิกจากคนดื้อรั้น เป็นผู้แบกรับภาระหนัก พร้อมสาบานที่จะ "ทำลายสวรรค์และโลก" และ "ปกป้องช่องเขาเฉินถังกวน" อย่างไรก็ตาม จิตวิญญาณของปัจเจกชน ไม่ได้สูญหายไปอย่างสมบูรณ์ เพราะมันสะท้อนถึงจิตวิญญาณแบบดั้งเดิมของความกล้าหาญ และดึงดูดผู้คนจํานวนมากไปชมดูภาพยนตร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเกมระหว่างความเชื่อเรื่องโชคชะตา และเจตจำนงเสรี คำกล่าวของนาจาที่ว่า "ฉันคือเจ้านายของชะตากรรมตนเอง" ผสมผสานแนวคิดของลัทธิเต๋าที่ว่า "การเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเองโดยขัดต่อพระประสงค์ของพระเจ้า" ซึ่งสะท้อนถึงปรัชญาของลัทธิอัตถิภาวนิยม ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเติมความมีชีวิตชีวาในแบบสมัยใหม่ให้กับวัฒนธรรมดั้งเดิมอีกด้วย Nezha 2 ได้แสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมของแอนิเมชั่นจีนที่ทันสมัย ​​การเล่าเรื่องทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และความเชื่อมั่นของชาติอีกครั้ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้สร้างความหวังว่าภาพยนตร์แอนิเมชั่นจีนจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในอนาคตทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    0 Comments 0 Shares 1205 Views 0 Reviews
More Results