• "ปกรณ์วุฒิ" ย้ำ ปชน. ไม่ค้านค่ารถไฟฟ้า 20 บาท แต่จี้รัฐแจงฐานคิด-หวั่นอุดหนุนนายทุน
    https://www.thai-tai.tv/news/20281/
    .
    #รถไฟฟ้า20บาท #ปกรณ์วุฒิ #พรรคประชาชน #นโยบายรัฐบาล #ค่าขนส่งสาธารณะ #ขนส่งมวลชน #การเมืองไทย
    "ปกรณ์วุฒิ" ย้ำ ปชน. ไม่ค้านค่ารถไฟฟ้า 20 บาท แต่จี้รัฐแจงฐานคิด-หวั่นอุดหนุนนายทุน https://www.thai-tai.tv/news/20281/ . #รถไฟฟ้า20บาท #ปกรณ์วุฒิ #พรรคประชาชน #นโยบายรัฐบาล #ค่าขนส่งสาธารณะ #ขนส่งมวลชน #การเมืองไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 24 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ เห็นชอบง่ายๆ เพื่อหวังผลคะแนนนิยม แต่แฝงไปด้วยการทุจริตเงินชดเชยเอกชนผู้ให้บริการขนส่งมวลชน เกี้ยเซี๊ยะกันอุปโลกบวกเพิ่มตัวเลขเงินชดเชยรายได้ที่รัฐต้องเอาเงินภาษีประชาชนไปสนับสนุน
    #7ดอกจิก
    #สุริยะ
    #รถไฟฟ้า
    ♣ เห็นชอบง่ายๆ เพื่อหวังผลคะแนนนิยม แต่แฝงไปด้วยการทุจริตเงินชดเชยเอกชนผู้ให้บริการขนส่งมวลชน เกี้ยเซี๊ยะกันอุปโลกบวกเพิ่มตัวเลขเงินชดเชยรายได้ที่รัฐต้องเอาเงินภาษีประชาชนไปสนับสนุน #7ดอกจิก #สุริยะ #รถไฟฟ้า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 96 มุมมอง 0 รีวิว
  • หน่อย ร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด นำโดยนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดย อบจ.นครราชสีมา นำเสนอการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษาในสังกัด อบจ. และชุมชน เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้ยกประเด็นโครงการก่อสร้างสกายวอล์ค แห่งใหม่, การจัดสร้างองค์พระชัยเมือง, ความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชน (นับคาร์ป NCDS อาหาร) , การพัฒนาแหล่งน้ำ รวมถึง ระบบการกระจายน้ำ ในการอุปโภค บริโภค และภาคการเกษตร, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดฯ สายสีส้ม (รพ.เทพรัตน์ ต.โคกกรวด ถึง สถานีย่อยจอหอ) โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

    ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล
    นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
    3 กรกฎาคม 2568

    #หน่อยยลดา
    #นายกหน่อย
    #อบจโคราช
    #สร้างคนสร้างเศรษฐกิจสร้างเมืองโคราช
    หน่อย ร่วมประชุมหารือขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัด นำโดยนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดย อบจ.นครราชสีมา นำเสนอการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ในสถานศึกษาในสังกัด อบจ. และชุมชน เพื่อให้เป็นไปตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ในที่ประชุมยังได้ยกประเด็นโครงการก่อสร้างสกายวอล์ค แห่งใหม่, การจัดสร้างองค์พระชัยเมือง, ความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพประชาชน (นับคาร์ป NCDS อาหาร) , การพัฒนาแหล่งน้ำ รวมถึง ระบบการกระจายน้ำ ในการอุปโภค บริโภค และภาคการเกษตร, โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดฯ สายสีส้ม (รพ.เทพรัตน์ ต.โคกกรวด ถึง สถานีย่อยจอหอ) โดยมีเป้าหมายให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดร.ยลดา หวังศุภกิจโกศล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา 3 กรกฎาคม 2568 #หน่อยยลดา #นายกหน่อย #อบจโคราช #สร้างคนสร้างเศรษฐกิจสร้างเมืองโคราช
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
  • เผยโฉมรถไฟ RTS Link ยะโฮร์บาห์รู-สิงคโปร์

    โครงการเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนด่วนพิเศษ RTS Link (Rapid Transit System) ระหว่างย่านบูกิตชาการ์ (Bukit Chagar) เมืองยะโฮร์บาห์รู รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย กับย่านวู้ดแลนด์นอร์ท (Woodlands North) ประเทศสิงคโปร์ มีความคืบหน้าแล้ว 56% ซึ่งตามแผนกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 1 ม.ค.2570 ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวรถไฟขบวนแรก จากทั้งหมด 8 ขบวน ซึ่งผลิตโดย บริษัท ซีอาร์อาร์ซี จูโจว โลโคโมทีฟ (CRRC Zhuzhou Locomotive) ที่ศูนย์ทดสอบรถไฟสิงคโปร์ (SRTC) หลังขนส่งจากจีนมาถึงสิงคโปร์เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ส่วนขบวนที่ 2-5 กำลังประกอบที่โรงงานในเมืองบาตูกาจาห์ รัฐเประ มาเลเซีย ขบวนที่ 6-8 จะดำเนินการในภายหลัง

    โดยขบวนรถไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบไร้คนขับ มีทั้งหมด 8 ขบวน ขบวนละ 4 คัน ความยาวต่อขบวน 76 เมตร ลำตัวรถมีสีขาว แดง น้ำเงิน ซึ่งมาจากสีของธงชาติสิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย และธงรัฐยะโฮร์ เดินรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที ภายในห้องโดยสารมีเก้าอี้ปกติ 126 ที่นั่ง และเก้าอี้แบบพับได้ 16 ที่นั่ง เพื่อรองรับรถเข็นวีลแชร์ รถเข็นเด็ก หรือกระเป๋าเดินทาง และรองรับกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น แต่ละขบวนรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดกว่า 600 คนต่อขบวน พร้อมระบบ Hearing Loop สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ระบบสื่อสารไปยังศูนย์ปฎิบัติการและควบคุมการเดินรถ (OCC)

    โครงการ RTS Link เป็นการร่วมทุนกันระหว่าง กลุ่มพราซารานา (Prasarana) ของมาเลเซีย และกลุ่มเอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ของสิงคโปร์ ก่อสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ แบ่งเบาการจราจรระหว่างยะโฮร์บาห์รู กับด่านวู้ดแลนด์ ให้บริการสูงสุด 10,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. โดยมีความถี่ให้บริการเร็วที่สุดในชั่วโมงเร่งด่วน 3.6 นาที รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 180,000 คนต่อวัน พร้อมกันนี้ ยังมีศูนย์ศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และกักกันโรค (CIQ) ที่สถานีวู้ดแลนด์นอร์ท ส่วนค่าโดยสารอยู่ในระหว่างศึกษาขั้นสุดท้าย ก่อนกำหนดราคาอย่างเป็นทางการต่อไป

    อีกด้านหนึ่ง บริการรถไฟ Shuttle Tebrau ระหว่างสถานี JB Sentral ถึงสถานี Woodlands ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กำลังจะปิดตำนาน เพราะมีแผนจะยุติให้บริการภายใน 6 เดือน หลังรถไฟ RTS Link เปิดให้บริการ รถไฟดังกล่าวขนส่งผู้โดยสารระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2558 เป็นต้นมา ค่าโดยสาร 5 ริงกิตต่อเที่ยวสำหรับชาวมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที มีขบวนรถไป-กลับตามเวลาที่กำหนดวันละ 31 ขบวน

    #Newskit
    เผยโฉมรถไฟ RTS Link ยะโฮร์บาห์รู-สิงคโปร์ โครงการเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนด่วนพิเศษ RTS Link (Rapid Transit System) ระหว่างย่านบูกิตชาการ์ (Bukit Chagar) เมืองยะโฮร์บาห์รู รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย กับย่านวู้ดแลนด์นอร์ท (Woodlands North) ประเทศสิงคโปร์ มีความคืบหน้าแล้ว 56% ซึ่งตามแผนกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 1 ม.ค.2570 ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้เปิดตัวรถไฟขบวนแรก จากทั้งหมด 8 ขบวน ซึ่งผลิตโดย บริษัท ซีอาร์อาร์ซี จูโจว โลโคโมทีฟ (CRRC Zhuzhou Locomotive) ที่ศูนย์ทดสอบรถไฟสิงคโปร์ (SRTC) หลังขนส่งจากจีนมาถึงสิงคโปร์เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ส่วนขบวนที่ 2-5 กำลังประกอบที่โรงงานในเมืองบาตูกาจาห์ รัฐเประ มาเลเซีย ขบวนที่ 6-8 จะดำเนินการในภายหลัง โดยขบวนรถไฟฟ้าดังกล่าวเป็นแบบไร้คนขับ มีทั้งหมด 8 ขบวน ขบวนละ 4 คัน ความยาวต่อขบวน 76 เมตร ลำตัวรถมีสีขาว แดง น้ำเงิน ซึ่งมาจากสีของธงชาติสิงคโปร์ ธงชาติมาเลเซีย และธงรัฐยะโฮร์ เดินรถด้วยความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที ภายในห้องโดยสารมีเก้าอี้ปกติ 126 ที่นั่ง และเก้าอี้แบบพับได้ 16 ที่นั่ง เพื่อรองรับรถเข็นวีลแชร์ รถเข็นเด็ก หรือกระเป๋าเดินทาง และรองรับกรณีมีผู้โดยสารหนาแน่น แต่ละขบวนรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดกว่า 600 คนต่อขบวน พร้อมระบบ Hearing Loop สำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ระบบสื่อสารไปยังศูนย์ปฎิบัติการและควบคุมการเดินรถ (OCC) โครงการ RTS Link เป็นการร่วมทุนกันระหว่าง กลุ่มพราซารานา (Prasarana) ของมาเลเซีย และกลุ่มเอสเอ็มอาร์ที (SMRT) ของสิงคโปร์ ก่อสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมต่อระหว่างมาเลเซียและสิงคโปร์ แบ่งเบาการจราจรระหว่างยะโฮร์บาห์รู กับด่านวู้ดแลนด์ ให้บริการสูงสุด 10,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง เปิดบริการตั้งแต่เวลา 06.00-24.00 น. โดยมีความถี่ให้บริการเร็วที่สุดในชั่วโมงเร่งด่วน 3.6 นาที รองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 180,000 คนต่อวัน พร้อมกันนี้ ยังมีศูนย์ศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง และกักกันโรค (CIQ) ที่สถานีวู้ดแลนด์นอร์ท ส่วนค่าโดยสารอยู่ในระหว่างศึกษาขั้นสุดท้าย ก่อนกำหนดราคาอย่างเป็นทางการต่อไป อีกด้านหนึ่ง บริการรถไฟ Shuttle Tebrau ระหว่างสถานี JB Sentral ถึงสถานี Woodlands ของการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) กำลังจะปิดตำนาน เพราะมีแผนจะยุติให้บริการภายใน 6 เดือน หลังรถไฟ RTS Link เปิดให้บริการ รถไฟดังกล่าวขนส่งผู้โดยสารระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ตั้งแต่เดือน ก.ค. 2558 เป็นต้นมา ค่าโดยสาร 5 ริงกิตต่อเที่ยวสำหรับชาวมาเลเซีย ใช้เวลาเดินทาง 5 นาที มีขบวนรถไป-กลับตามเวลาที่กำหนดวันละ 31 ขบวน #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 244 มุมมอง 0 รีวิว
  • กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง

    สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป

    จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย

    ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา

    การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

    #Newskit
    กัวลาลัมเปอร์ใกล้ฉัน บาติกแอร์บินตรงดอนเมือง-ซูบัง สนามบินเก่าเมืองหลวงของมาเลเซียอย่าง ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุลอาซิซชาห์ ซูบัง (SZB) ในเมืองซูบัง รัฐสลังงอร์ ทางทิศตะวันตกของกรุงกัวลาลัมเปอร์ กำลังจะมีเที่ยวบินไปยังกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เมื่อสายการบินบาติกแอร์ (Batik Air) เตรียมเปิดเส้นทางใหม่ จากท่าอากาศยานซูบัง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพฯ (DMK) วันละ 1 เที่ยวบิน ได้แก่ เที่ยวบินที่ OD532 ออกจากซูบัง 09.25 น. ถึงดอนเมือง 10.40 น. เที่ยวกลับ เที่ยวบินที่ OD533 ออกจากดอนเมือง 11.40 น. ถึงซูบัง 14.45 น. ค่าโดยสารราคาเริ่มต้นที่ 259 ริงกิต เริ่มให้บริการในวันที่ 28 ก.ค. 2568 เป็นต้นไป จันทราน รามา มูร์ธี (Chandran Rama Muthy) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบาติกแอร์ กล่าวกับสื่อในมาเลเซียว่า การเปิดเที่ยวบินดังกล่าวจะมอบความสะดวกสบายให้กับนักเดินทาง และเข้าถึงเครือข่ายเส้นทางบินที่กำลังเติบโต โดยจะเปลี่ยนท่าอากาศยานซูบังให้กลายเป็นศูนย์กลางการบินที่ทันสมัย ซึ่งเส้นทางบินกรุงเทพฯ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น นอกจากนี้ ยังเปิดเส้นทางไปยังเมืองกูชิ่ง (KCH) ในรัฐซาราวักบนเกาะบอร์เนียว ที่จะช่วยสร้างการเชื่อมต่อภายในประเทศมาเลเซียจากกูชิ่งให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บาติกแอร์ยังให้บริการจากท่าอากาศยานสุบัง ไปยังปีนัง โกตาบาห์รู และโกตากินาบาลูอีกด้วย ท่าอากาศยานซูบังจะเป็นทางเลือกที่ชาญฉลาดและประหยัดเวลา เมื่อเทียบกับท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (KUL) เชื่อว่าจะจะมีบทบาทสำคัญในอนาคตต่ออุตสาหกรรมการบินในมาเลเซีย และใกล้ชิดกับผู้โดยสารในพื้นที่แคลงวัลเลย์ (Klang Valley) มากขึ้น โดยเฉพาะเมืองต่างๆ อาทิ เปตาลิง จายา, ชาห์ อลาม และกัวลาลัมเปอร์ ผู้ที่อยู่อาศัยในย่านแคลงวัลเลย์ สามารถเดินทางเข้า-ออกสนามบินอย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย เมื่อเทียบกับสนามบินใหญ่ที่อยู่ห่างไกล คาดว่าเส้นทางซูบัง-ดอนเมือง จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเลเซียมายังกรุงเทพฯ ที่มีวัฒนธรรม อาหาร ช้อปปิ้ง และการผจญภัยอันมีชีวิตชีวา การเดินทางจากสถานี KL Sentral กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไปยังท่าอากาศยานซูบัง ด้วยระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ รถไฟฟ้า LRT สาย Kelana Jaya จากสถานี KL Sentral ไปลงที่สถานี Pasar Seni ต่อรถไฟฟ้า MRT สาย Kajang ลงที่สถานี Kwasa Sentral จากนั้นต่อรถเมล์สาย T804 ไปลงที่ป้าย Subang Airport รถออกทุก 40-60 นาที ส่วนรถประจำทาง RapidKL สาย 772 จากป้ายหยุดรถประจำทาง KL1760 Suasana Sentral Loft ไปลงที่ป้าย SA909 Subang Skypark Terminal ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 412 มุมมอง 0 รีวิว
  • TNG eWallet เติมเงินด้วยบัตรไทยได้แล้ว

    สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปเที่ยวประเทศมาเลเซียบ่อยครั้ง นอกจากจะต้องมีหัวแปลงปลั๊กไฟมาเลเซีย กับเบอร์มือถือมาเลเซียไว้เล่นเน็ตแทนการซื้อแพ็คเกจโรมมิ่งราคาแพงแล้ว บัตร Touch 'n Go สำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จ่ายค่าทางด่วน ที่จอดรถ และร้านค้าก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ยิ่งถ้าใช้ควบคู่กับแอปพลิเคชัน TNG eWallet ก็สามารถทำธุรกรรมกับบัตร Touch 'n Go รุ่น NFC ได้ทันที รวมทั้งใช้จ่ายที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ และประเทศไทยได้อีกด้วย

    การเติมเงินถ้าเป็นในประเทศมาเลเซีย มีช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ขั้นต่ำ 10 ริงกิตโดยไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ คนที่อยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย อาจเลือกใช้วิธีแลกเงินที่ร้านแลกเงิน แล้วซื้อรหัสเติมเงิน (Reload PIN) ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือหากอยู่ที่ต่างประเทศมักจะซื้อรหัสผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น เว็บไซต์ SEAGM ขั้นต่ำ 10 ริงกิต บวกค่าบริการ 0.10 ริงกิต สำหรับชาวไทยสามารถซื้อรหัสผ่านเว็บไซต์ เลือกสกุลเงิน MYR แล้วเลือกชำระผ่าน DuitNow QR สแกนจ่ายผ่านแอปฯ Krungthai NEXT หรือ CIMB THAI ได้

    อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ผู้ใช้งาน Touch N'Go e-Wallet ที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเติมเงินด้วยบัตร VISA, Mastercard และ AMEX ที่ออกจากต่างประเทศได้แล้วบางธนาคารในประเทศไทย ขั้นต่ำ 20 ริงกิต เช่น บัตร YouTrip ของธนาคารกสิกรไทย บัตร Krungthai Travel Debit Card ธนาคารกรุงไทย โดยคิดค่าธรรมเนียม 2.6% ของยอดที่เติม โดยจะเป็นยอดเงินแบบ Transferable สามารถโอนเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ได้ ต่างจากการเติมเงินผ่าน Reload PIN สามารถเลือกแบบ Non-Transferable สำหรับสแกนจ่ายร้านค้าเท่านั้น ที่ไม่มีค่าธรรมเนียม แต่หากโอนเงินระหว่างบุคคลจะถูกหัก 1% ต่อรายการ

    วิธีการเติมเงิน ให้เข้าไปที่ "Add money" เลือก "Credit Card" ใส่จำนวนเงินที่ต้องการลงไป (ขั้นต่ำ 20 ริงกิต) แล้วกด Continue จากนั้นกรอกเลขที่บัตรเครดิต (Card Number) เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร (MM/YY) รหัสความปลอดภัย (CVV/CVV2) แล้วกด Next ระบบจะยืนยันการทำรายการ (Confirm amount) โดยจะแสดงจำนวนเงิน (Amount) และค่าธรรมเนียม (Convenience fee 2.6%) กด Continue ระบบจะเข้าสู่หน้าระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร กรอกรหัส OTP ลงไปเหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์ เมื่อทำรายการสำเร็จจะมีข้อความแจ้งเตือนและหน้าธุรกรรมสำเร็จ (Successfully added)

    #Newskit
    TNG eWallet เติมเงินด้วยบัตรไทยได้แล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางไปเที่ยวประเทศมาเลเซียบ่อยครั้ง นอกจากจะต้องมีหัวแปลงปลั๊กไฟมาเลเซีย กับเบอร์มือถือมาเลเซียไว้เล่นเน็ตแทนการซื้อแพ็คเกจโรมมิ่งราคาแพงแล้ว บัตร Touch 'n Go สำหรับใช้บริการขนส่งมวลชน เช่น รถเมล์ รถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ จ่ายค่าทางด่วน ที่จอดรถ และร้านค้าก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ยิ่งถ้าใช้ควบคู่กับแอปพลิเคชัน TNG eWallet ก็สามารถทำธุรกรรมกับบัตร Touch 'n Go รุ่น NFC ได้ทันที รวมทั้งใช้จ่ายที่ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ และประเทศไทยได้อีกด้วย การเติมเงินถ้าเป็นในประเทศมาเลเซีย มีช่องทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ขั้นต่ำ 10 ริงกิตโดยไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเป็นต่างประเทศ คนที่อยู่ชายแดนไทย-มาเลเซีย อาจเลือกใช้วิธีแลกเงินที่ร้านแลกเงิน แล้วซื้อรหัสเติมเงิน (Reload PIN) ที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นฝั่งประเทศมาเลเซีย หรือหากอยู่ที่ต่างประเทศมักจะซื้อรหัสผ่านตัวแทนจำหน่าย เช่น เว็บไซต์ SEAGM ขั้นต่ำ 10 ริงกิต บวกค่าบริการ 0.10 ริงกิต สำหรับชาวไทยสามารถซื้อรหัสผ่านเว็บไซต์ เลือกสกุลเงิน MYR แล้วเลือกชำระผ่าน DuitNow QR สแกนจ่ายผ่านแอปฯ Krungthai NEXT หรือ CIMB THAI ได้ อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ผู้ใช้งาน Touch N'Go e-Wallet ที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเติมเงินด้วยบัตร VISA, Mastercard และ AMEX ที่ออกจากต่างประเทศได้แล้วบางธนาคารในประเทศไทย ขั้นต่ำ 20 ริงกิต เช่น บัตร YouTrip ของธนาคารกสิกรไทย บัตร Krungthai Travel Debit Card ธนาคารกรุงไทย โดยคิดค่าธรรมเนียม 2.6% ของยอดที่เติม โดยจะเป็นยอดเงินแบบ Transferable สามารถโอนเงินระหว่างบุคคล (Peer-to-Peer) ได้ ต่างจากการเติมเงินผ่าน Reload PIN สามารถเลือกแบบ Non-Transferable สำหรับสแกนจ่ายร้านค้าเท่านั้น ที่ไม่มีค่าธรรมเนียม แต่หากโอนเงินระหว่างบุคคลจะถูกหัก 1% ต่อรายการ วิธีการเติมเงิน ให้เข้าไปที่ "Add money" เลือก "Credit Card" ใส่จำนวนเงินที่ต้องการลงไป (ขั้นต่ำ 20 ริงกิต) แล้วกด Continue จากนั้นกรอกเลขที่บัตรเครดิต (Card Number) เดือน/ปีที่หมดอายุบัตร (MM/YY) รหัสความปลอดภัย (CVV/CVV2) แล้วกด Next ระบบจะยืนยันการทำรายการ (Confirm amount) โดยจะแสดงจำนวนเงิน (Amount) และค่าธรรมเนียม (Convenience fee 2.6%) กด Continue ระบบจะเข้าสู่หน้าระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคาร กรอกรหัส OTP ลงไปเหมือนการช้อปปิ้งออนไลน์ เมื่อทำรายการสำเร็จจะมีข้อความแจ้งเตือนและหน้าธุรกรรมสำเร็จ (Successfully added) #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 630 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดประตูสู่เมืองทองธานี

    วันอังคารที่ 20 พ.ค. รถไฟฟ้ามหานครสาย สีชมพู จะเปิดทดสอบระบบส่วนต่อขยายเมืองทองธานี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 22.00 น. วันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 23.30 น. ความถี่ทุก 10 นาที ก่อนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์วันที่ 17 มิ.ย. ถือเป็นการเติมเต็มอาณาจักรเมืองทองธานี บนพื้นที่รวมกว่า 4,000 ไร่ ประกอบด้วยโครงการอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์แสดงสินค้าและศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โรงแรม และพื้นที่ค้าปลีก ให้มีระบบคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น

    จากเดิมการเดินทางมายังอิมแพ็คด้วยระบบขนส่งมวลชน มีทั้งรถประจำทาง รถตู้สาธารณะ และรถสองแถว แต่ต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะถนนแจ้งวัฒนะ แม้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะให้บริการที่สถานีศรีรัช (PK09) ทางออก 1 แต่ต้องต่อรถสองแถว 12 บาท รถตู้ 15 บาท หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 30-40 บาท

    แต่รถไฟฟ้ามหานครสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี เมื่อออกจากสถานีเมืองทองธานี (PK10) สามารถเปลี่ยนขบวนรถไปยังสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี โดยเสียค่าโดยสารเพิ่ม 3-5 บาท แต่จ่ายสูงสุดในโครงข่ายสายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี) ไม่เกิน 45 บาท เมื่อถึงสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ใช้ทางออก 3 เพื่อไปยังอิมแพ็คได้ทันที

    หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง เดินทางข้ามสายที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ด้วยบัตร EMV (บัตรเครดิต VISA และ Mastercard ทุกธนาคาร บัตรเดบิตธนาคารกรุงไทย และยูโอบี) ยังมีส่วนลดค่าแรกเข้า 15 บาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว เปลี่ยนขบวนรถที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ไม่มีส่วนลดและไม่สามารถใช้บัตร EMV ได้ ต้องใช้บัตรแรบบิท หรือบัตรโดยสารเที่ยวเดียว

    การให้บริการจะใช้รถจำนวน 3 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ มีที่นั่งทั้งหมด 60 ที่นั่งต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 738 คน ระยะแรกคาดว่าจะมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการประมาณ 13,800 คน-เที่ยวต่อวัน จากปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงแคราย-มีนบุรีเฉลี่ยประมาณ 70,000 คน-เที่ยวต่อวัน และเมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์จะขยายเวลาให้บริการเป็น 06.00 ถึง 24.00 น. ความถี่ 10 นาทีต่อขบวน แต่ช่วงที่มีอีเวนต์ คอนเสิร์ต จะเพิ่มความถี่เป็น 5 นาทีต่อขบวน

    นอกจากนี้ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ยังมีทางออก 1 ไปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทางออก 2 ไปโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร และทางออก 4 ไปซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39

    #Newskit
    รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดประตูสู่เมืองทองธานี วันอังคารที่ 20 พ.ค. รถไฟฟ้ามหานครสาย สีชมพู จะเปิดทดสอบระบบส่วนต่อขยายเมืองทองธานี 2 สถานี ได้แก่ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี (MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 22.00 น. วันเสาร์และวันอาทิตย์ เปิดบริการเวลา 06.00 ถึง 23.30 น. ความถี่ทุก 10 นาที ก่อนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์วันที่ 17 มิ.ย. ถือเป็นการเติมเต็มอาณาจักรเมืองทองธานี บนพื้นที่รวมกว่า 4,000 ไร่ ประกอบด้วยโครงการอสังหาริมทรัพย์ ศูนย์แสดงสินค้าและศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี โรงแรม และพื้นที่ค้าปลีก ให้มีระบบคมนาคมขนส่งที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น จากเดิมการเดินทางมายังอิมแพ็คด้วยระบบขนส่งมวลชน มีทั้งรถประจำทาง รถตู้สาธารณะ และรถสองแถว แต่ต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะถนนแจ้งวัฒนะ แม้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะให้บริการที่สถานีศรีรัช (PK09) ทางออก 1 แต่ต้องต่อรถสองแถว 12 บาท รถตู้ 15 บาท หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง 30-40 บาท แต่รถไฟฟ้ามหานครสายสีชมพู ส่วนต่อขยายเมืองทองธานี เมื่อออกจากสถานีเมืองทองธานี (PK10) สามารถเปลี่ยนขบวนรถไปยังสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี โดยเสียค่าโดยสารเพิ่ม 3-5 บาท แต่จ่ายสูงสุดในโครงข่ายสายสีชมพู (ศูนย์ราชการนนทบุรี-มีนบุรี) ไม่เกิน 45 บาท เมื่อถึงสถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ใช้ทางออก 3 เพื่อไปยังอิมแพ็คได้ทันที หากเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง เดินทางข้ามสายที่สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี ด้วยบัตร EMV (บัตรเครดิต VISA และ Mastercard ทุกธนาคาร บัตรเดบิตธนาคารกรุงไทย และยูโอบี) ยังมีส่วนลดค่าแรกเข้า 15 บาท ส่วนรถไฟฟ้าสายสีเขียว เปลี่ยนขบวนรถที่สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ไม่มีส่วนลดและไม่สามารถใช้บัตร EMV ได้ ต้องใช้บัตรแรบบิท หรือบัตรโดยสารเที่ยวเดียว การให้บริการจะใช้รถจำนวน 3 ขบวน จากทั้งหมด 42 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ มีที่นั่งทั้งหมด 60 ที่นั่งต่อขบวน รองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 738 คน ระยะแรกคาดว่าจะมีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการประมาณ 13,800 คน-เที่ยวต่อวัน จากปัจจุบันมีผู้โดยสารช่วงแคราย-มีนบุรีเฉลี่ยประมาณ 70,000 คน-เที่ยวต่อวัน และเมื่อเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์จะขยายเวลาให้บริการเป็น 06.00 ถึง 24.00 น. ความถี่ 10 นาทีต่อขบวน แต่ช่วงที่มีอีเวนต์ คอนเสิร์ต จะเพิ่มความถี่เป็น 5 นาทีต่อขบวน นอกจากนี้ สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี ยังมีทางออก 1 ไปมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ทางออก 2 ไปโรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร และทางออก 4 ไปซอยแจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 39 #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 449 มุมมอง 0 รีวิว
  • “สนข.”เผยคจร.รับทราบแผนแก้รถติดพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม”ศูนย์วัฒนธรรมฯ – ตลิ่งชัน” รฟม.-กทม. -บชน.เตรียมทดลองปรับการเดินรถ”ถนนราชปรารถ,พระรามที่ 1 เริ่ม 5 – 20 พ.ค.68

    นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันอังคารที่ 22 เมษายน 2568 คณะกรรมการฯ ได้มีมติรับทราบผลการศึกษาการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม – ตลิ่งชัน ตามที่ สนข. เสนอ และมอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) ดำเนินการตามผลการศึกษาเพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวเส้นทางการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มอย่างเร่งด่วน

    จากการศึกษาพบว่า พื้นที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการก่อสร้างคือ ถนนเพชรบุรี ช่วงแยกยมราช แยกราชเทวี และแยกประตูน้ำ เนื่องจากถนนเพชรบุรีเป็นถนนสายหลักในการเดินทางตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตกของกรุงเทพฯ มีปริมาณการจราจรผ่านเส้นทางเป็นจำนวนมาก

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/business/detail/9680000041704

    #MGROnline #รถไฟฟ้าสายสีส้ม
    “สนข.”เผยคจร.รับทราบแผนแก้รถติดพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม”ศูนย์วัฒนธรรมฯ – ตลิ่งชัน” รฟม.-กทม. -บชน.เตรียมทดลองปรับการเดินรถ”ถนนราชปรารถ,พระรามที่ 1 เริ่ม 5 – 20 พ.ค.68 • นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันอังคารที่ 22 เมษายน 2568 คณะกรรมการฯ ได้มีมติรับทราบผลการศึกษาการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม – ตลิ่งชัน ตามที่ สนข. เสนอ และมอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บชน.) ดำเนินการตามผลการศึกษาเพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาปัญหาการจราจรตามแนวเส้นทางการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มอย่างเร่งด่วน • จากการศึกษาพบว่า พื้นที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการก่อสร้างคือ ถนนเพชรบุรี ช่วงแยกยมราช แยกราชเทวี และแยกประตูน้ำ เนื่องจากถนนเพชรบุรีเป็นถนนสายหลักในการเดินทางตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตกของกรุงเทพฯ มีปริมาณการจราจรผ่านเส้นทางเป็นจำนวนมาก • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://mgronline.com/business/detail/9680000041704 • #MGROnline #รถไฟฟ้าสายสีส้ม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 395 มุมมอง 0 รีวิว
  • **การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่ (Demolition and Rebuilding)**
    หมายถึงกระบวนการทำลายโครงสร้างหรือระบบเดิมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้นแทนที่ อาจเกิดขึ้นได้ในหลายบริบท ทั้งทางกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง

    ---

    ### **บริบทการนำไปใช้**
    1. **การพัฒนาเมือง**
    - **ตัวอย่าง**: การรื้ออาคารเก่าเพื่อสร้างตึกระฟ้า ถนนหนทางใหม่ หรือระบบขนส่งมวลชน
    - **ประโยชน์**: ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่
    - **ข้อโต้แย้ง**: อาจทำลายมรดกทางวัฒนธรรม หรือกระทบชุมชนเดิม

    2. **การปฏิรูปเศรษฐกิจ/องค์กร**
    - **ตัวอย่าง**: การยกเลิกนโยบายเก่า ปรับโครงสร้างบริษัท หรือเปลี่ยนระบบการทำงาน
    - **ประโยชน์**: สร้างนวัตกรรม เพิ่มความคล่องตัว
    - **ความเสี่ยง**: การต่อต้านจากผู้เสียประโยชน์ หรือความไม่แน่นอนชั่วคราว

    3. **การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง**
    - **ตัวอย่าง**: การปฏิวัติที่ล้มล้างระบอบเดิมเพื่อสร้างระบบการปกครองใหม่
    - **ประโยชน์**: ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม
    - **ความท้าทาย**: อาจเกิดความวุ่นวายหรือสูญเสียเสถียรภาพ

    4. **สิ่งแวดล้อม**
    - **ตัวอย่าง**: ทดแทนอุตสาหกรรมเก่าด้วยเทคโนโลยีสะอาด
    - **ประโยชน์**: ลดมลภาวะ สร้างความยั่งยืน
    - **ข้อจำกัด**: ต้นทุนสูงและต้องใช้เวลาปรับตัว

    ---

    ### **ประเด็นสำคัญ**
    - **ความสมดุล**: ระหว่างความก้าวหน้า vs. การอนุรักษ์
    - **ผลกระทบทางสังคม**: การโยกย้ายชุมชน การสูญเสียอัตลักษณ์ท้องถิ่น
    - **การมีส่วนร่วม**: ควรรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องเพื่อลดความขัดแย้ง

    ---

    ### **ตัวอย่างในประวัติศาสตร์**
    - **ปารีสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3**: ปรับผังเมืองให้เป็นถนนกว้างแบบปัจจุบัน
    - **จีนสมัยเติ้งเสี่ยวผิง**: เปลี่ยนจากระบบวางแผนสู่เศรษฐกิจตลาด
    - **การปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว**: แทนที่พลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานหมุนเวียน

    ---

    ### **สรุป**
    การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนา แต่ต้องคำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ความก้าวหน้าสร้างบาดแผลให้สังคมในระยะยาว
    **การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่ (Demolition and Rebuilding)** หมายถึงกระบวนการทำลายโครงสร้างหรือระบบเดิมเพื่อสร้างสิ่งใหม่ขึ้นแทนที่ อาจเกิดขึ้นได้ในหลายบริบท ทั้งทางกายภาพ สังคม เศรษฐกิจ หรือการเมือง --- ### **บริบทการนำไปใช้** 1. **การพัฒนาเมือง** - **ตัวอย่าง**: การรื้ออาคารเก่าเพื่อสร้างตึกระฟ้า ถนนหนทางใหม่ หรือระบบขนส่งมวลชน - **ประโยชน์**: ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ - **ข้อโต้แย้ง**: อาจทำลายมรดกทางวัฒนธรรม หรือกระทบชุมชนเดิม 2. **การปฏิรูปเศรษฐกิจ/องค์กร** - **ตัวอย่าง**: การยกเลิกนโยบายเก่า ปรับโครงสร้างบริษัท หรือเปลี่ยนระบบการทำงาน - **ประโยชน์**: สร้างนวัตกรรม เพิ่มความคล่องตัว - **ความเสี่ยง**: การต่อต้านจากผู้เสียประโยชน์ หรือความไม่แน่นอนชั่วคราว 3. **การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง** - **ตัวอย่าง**: การปฏิวัติที่ล้มล้างระบอบเดิมเพื่อสร้างระบบการปกครองใหม่ - **ประโยชน์**: ขจัดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม - **ความท้าทาย**: อาจเกิดความวุ่นวายหรือสูญเสียเสถียรภาพ 4. **สิ่งแวดล้อม** - **ตัวอย่าง**: ทดแทนอุตสาหกรรมเก่าด้วยเทคโนโลยีสะอาด - **ประโยชน์**: ลดมลภาวะ สร้างความยั่งยืน - **ข้อจำกัด**: ต้นทุนสูงและต้องใช้เวลาปรับตัว --- ### **ประเด็นสำคัญ** - **ความสมดุล**: ระหว่างความก้าวหน้า vs. การอนุรักษ์ - **ผลกระทบทางสังคม**: การโยกย้ายชุมชน การสูญเสียอัตลักษณ์ท้องถิ่น - **การมีส่วนร่วม**: ควรรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวข้องเพื่อลดความขัดแย้ง --- ### **ตัวอย่างในประวัติศาสตร์** - **ปารีสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3**: ปรับผังเมืองให้เป็นถนนกว้างแบบปัจจุบัน - **จีนสมัยเติ้งเสี่ยวผิง**: เปลี่ยนจากระบบวางแผนสู่เศรษฐกิจตลาด - **การปฏิวัติอุตสาหกรรมสีเขียว**: แทนที่พลังงานฟอสซิลด้วยพลังงานหมุนเวียน --- ### **สรุป** การลื้อล้างแล้วสร้างใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนา แต่ต้องคำนึงถึงบริบททางวัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้ความก้าวหน้าสร้างบาดแผลให้สังคมในระยะยาว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 430 มุมมอง 0 รีวิว
  • https://www.youtube.com/watch?v=6rZ6fTm6U4I
    (คลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่ออ่านบทสนทนาภาษาอังกฤษและไทย และคำศัพท์น่ารู้)
    แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันสงกรานต์
    มีคำถาม 5 ข้อหลังฟังเสร็จ เพื่อทดสอบการฟังภาษาอังกฤษของคุณ

    #บทสนทนาภาษาอังกฤษ #ฝึกฟังภาษาอังกฤษ #สงกรานต์

    The conversations from the clip :

    Tom: Hey Mia, wow, this water fight is so much fun! I can't believe how crazy it is around here!
    Mia: Hey Tom! I know, right? It’s really lively! But I’m starting to get a bit tired. How about we head to Silom next? It’s one of the best places for Songkran!
    Tom: Sounds awesome! I’ve heard Silom is packed during Songkran. But before we go, I’m getting hungry. Where should we grab something to eat?
    Mia: Good idea, Tom! There are so many street food stalls near here. How about we get some mango sticky rice and grilled pork skewers?
    Tom: Yum, that sounds perfect! I’m also craving some coconut ice cream. Let’s go for it!
    Mia: Great choice! After eating, we can take the BTS to Silom. We’ll get there quickly and easily.
    Tom: Yeah, taking the BTS from here sounds perfect. We can get off at Sala Daeng Station, and then we’ll be right in the heart of the action!
    Mia: Exactly! Once we’re done there, how about we head to Thonglor? I’ve heard it’s a bit more laid-back but still fun during Songkran.
    Tom: I love that idea, Mia! Thonglor has some cool places, and it’s less crowded than Silom. It’ll be a nice change.
    Mia: Right! Plus, it’s easy to get there from Silom. We can take the BTS from Sala Daeng to Thong Lo Station.
    Tom: Oh, that’s so convenient! It’ll only take a few stops. I’m excited for Thonglor! It’ll be a perfect way to end the day.
    Mia: Me too, Tom! So, we’ll eat first, head to Silom by BTS for more water fun, and then go to Thonglor to relax and enjoy the vibe.
    Tom: Sounds like a plan, Mia! It’s going to be a fun-filled day of water fights, food, and good times.
    Mia: For sure! I can’t wait. Let’s grab some food now and get ready for the next stop!
    Tom: Absolutely! Let’s go eat, then!

    Tom: สวัสดี Mia ว้าว, การเล่นน้ำสนุกมากเลย! ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่ามันจะบ้าคลั่งขนาดนี้ที่นี่!
    Mia: สวัสดี Tom! ฉันรู้ใช่ไหม? มันคึกคักจริงๆ เลย! แต่ฉันเริ่มรู้สึกเหนื่อยแล้วนะ ไปที่สีลมต่อดีไหม? มันเป็นหนึ่งในที่ดีที่สุดสำหรับสงกรานต์!
    Tom: ฟังดูดีมาก! ฉันได้ยินมาว่าที่สีลมคนเยอะมากช่วงสงกรานต์เลยนะ แต่ก่อนที่เราจะไป ฉันหิวแล้ว แถวนี้มีที่ไหนที่เราจะไปหากินกันไหม?
    Mia: ความคิดดีเลย Tom! ที่นี่มีร้านอาหารข้างทางเยอะมากเลยนะ เราจะกินข้าวเหนียวมะม่วงกับหมูปิ้งไหม?
    Tom: อืม, ฟังดูอร่อยมาก! ฉันก็อยากกินไอศกรีมมะพร้าวด้วย ลองไปกินกันเถอะ!
    Mia: ตัวเลือกดีมาก! หลังจากกินเสร็จ เราจะนั่งรถไฟฟ้าไปที่สีลมกันนะ เราจะไปถึงเร็วมากเลย
    Tom: ใช่แล้ว นั่ง BTS จากที่นี่ก็ดีเลย เราจะลงที่สถานีศาลาแดง แล้วก็จะอยู่ตรงกลางของความสนุกเลย!
    Mia: ใช่เลย! หลังจากที่เราจบที่สีลมแล้ว ไปทองหล่อกันดีไหม? ฉันได้ยินมาว่ามันจะเงียบกว่าหน่อยแต่ก็สนุกในช่วงสงกรานต์
    Tom: ฉันชอบความคิดนี้ Mia! ทองหล่อมีที่เจ๋งๆ เยอะเลย และมันไม่พลุกพล่านเหมือนสีลม มันน่าจะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศที่ดี
    Mia: ใช่เลย! อีกอย่างมันก็ไปที่ทองหล่อได้ง่ายจากสีลม เราสามารถนั่ง BTS จากสถานีศาลาแดงไปสถานีทองหล่อ
    Tom: โอ้, นั่นสะดวกมาก! มันจะใช้เวลาแค่ไม่กี่สถานีเอง ฉันตื่นเต้นกับทองหล่อมาก! มันจะเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบในการจบวัน
    Mia: ฉันก็เช่นกัน Tom! ดังนั้นเราจะไปกินก่อน จากนั้นไปที่สีลมด้วย BTS เพื่อเล่นน้ำต่อ และสุดท้ายไปทองหล่อเพื่อผ่อนคลายและสนุกกับบรรยากาศ
    Tom: ฟังดูเป็นแผนที่ดีเลย Mia! มันจะเป็นวันเต็มไปด้วยการเล่นน้ำ อาหาร และช่วงเวลาที่ดี
    Mia: แน่นอน! ฉันรอไม่ไหวแล้ว เรามากินกันเถอะ แล้วค่อยไปสถานที่ถัดไป!
    Tom: แน่นอน! ไปกินกันเถอะ!

    Vocabulary (คำศัพท์น่ารู้)

    Water fight (วอ-เทอร์ ไฟต์) n. - การสู้ด้วยน้ำ
    Lively (ไล-ฟลี) adj. - มีชีวิตชีวา, คึกคัก
    Tired (ไท-เอิด) adj. - เหนื่อย
    Street food (สตรีท ฟู้ด) n. - อาหารข้างทาง
    Sticky rice (สติกกี้ ไรซ) n. - ข้าวเหนียว
    Skewers (สกิว-เวอร์) n. - ไม้เสียบ
    Coconut (โค-โค-นัท) n. - มะพร้าว
    Ice cream (ไอซ์ ครีม) n. - ไอศกรีม
    BTS (บีทีเอส) n. - ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า)
    Convenient (คอน-วี-เนียนท) adj. - สะดวก
    Laid-back (เลด-แบค) adj. - สบายๆ, ผ่อนคลาย
    Crowded (เครา-ดิด) adj. - แออัด
    Relax (รี-แลกซ์) v. - ผ่อนคลาย
    Vibe (ไวบ์) n. - บรรยากาศ, ความรู้สึก
    Fun-filled (ฟัน-ฟิลด์) adj. - เต็มไปด้วยความสนุก
    https://www.youtube.com/watch?v=6rZ6fTm6U4I (คลิกอ่านเพิ่มเติม เพื่ออ่านบทสนทนาภาษาอังกฤษและไทย และคำศัพท์น่ารู้) แบบทดสอบการฟังภาษาอังกฤษ จากบทสนทนาวันสงกรานต์ มีคำถาม 5 ข้อหลังฟังเสร็จ เพื่อทดสอบการฟังภาษาอังกฤษของคุณ #บทสนทนาภาษาอังกฤษ #ฝึกฟังภาษาอังกฤษ #สงกรานต์ The conversations from the clip : Tom: Hey Mia, wow, this water fight is so much fun! I can't believe how crazy it is around here! Mia: Hey Tom! I know, right? It’s really lively! But I’m starting to get a bit tired. How about we head to Silom next? It’s one of the best places for Songkran! Tom: Sounds awesome! I’ve heard Silom is packed during Songkran. But before we go, I’m getting hungry. Where should we grab something to eat? Mia: Good idea, Tom! There are so many street food stalls near here. How about we get some mango sticky rice and grilled pork skewers? Tom: Yum, that sounds perfect! I’m also craving some coconut ice cream. Let’s go for it! Mia: Great choice! After eating, we can take the BTS to Silom. We’ll get there quickly and easily. Tom: Yeah, taking the BTS from here sounds perfect. We can get off at Sala Daeng Station, and then we’ll be right in the heart of the action! Mia: Exactly! Once we’re done there, how about we head to Thonglor? I’ve heard it’s a bit more laid-back but still fun during Songkran. Tom: I love that idea, Mia! Thonglor has some cool places, and it’s less crowded than Silom. It’ll be a nice change. Mia: Right! Plus, it’s easy to get there from Silom. We can take the BTS from Sala Daeng to Thong Lo Station. Tom: Oh, that’s so convenient! It’ll only take a few stops. I’m excited for Thonglor! It’ll be a perfect way to end the day. Mia: Me too, Tom! So, we’ll eat first, head to Silom by BTS for more water fun, and then go to Thonglor to relax and enjoy the vibe. Tom: Sounds like a plan, Mia! It’s going to be a fun-filled day of water fights, food, and good times. Mia: For sure! I can’t wait. Let’s grab some food now and get ready for the next stop! Tom: Absolutely! Let’s go eat, then! Tom: สวัสดี Mia ว้าว, การเล่นน้ำสนุกมากเลย! ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่ามันจะบ้าคลั่งขนาดนี้ที่นี่! Mia: สวัสดี Tom! ฉันรู้ใช่ไหม? มันคึกคักจริงๆ เลย! แต่ฉันเริ่มรู้สึกเหนื่อยแล้วนะ ไปที่สีลมต่อดีไหม? มันเป็นหนึ่งในที่ดีที่สุดสำหรับสงกรานต์! Tom: ฟังดูดีมาก! ฉันได้ยินมาว่าที่สีลมคนเยอะมากช่วงสงกรานต์เลยนะ แต่ก่อนที่เราจะไป ฉันหิวแล้ว แถวนี้มีที่ไหนที่เราจะไปหากินกันไหม? Mia: ความคิดดีเลย Tom! ที่นี่มีร้านอาหารข้างทางเยอะมากเลยนะ เราจะกินข้าวเหนียวมะม่วงกับหมูปิ้งไหม? Tom: อืม, ฟังดูอร่อยมาก! ฉันก็อยากกินไอศกรีมมะพร้าวด้วย ลองไปกินกันเถอะ! Mia: ตัวเลือกดีมาก! หลังจากกินเสร็จ เราจะนั่งรถไฟฟ้าไปที่สีลมกันนะ เราจะไปถึงเร็วมากเลย Tom: ใช่แล้ว นั่ง BTS จากที่นี่ก็ดีเลย เราจะลงที่สถานีศาลาแดง แล้วก็จะอยู่ตรงกลางของความสนุกเลย! Mia: ใช่เลย! หลังจากที่เราจบที่สีลมแล้ว ไปทองหล่อกันดีไหม? ฉันได้ยินมาว่ามันจะเงียบกว่าหน่อยแต่ก็สนุกในช่วงสงกรานต์ Tom: ฉันชอบความคิดนี้ Mia! ทองหล่อมีที่เจ๋งๆ เยอะเลย และมันไม่พลุกพล่านเหมือนสีลม มันน่าจะเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศที่ดี Mia: ใช่เลย! อีกอย่างมันก็ไปที่ทองหล่อได้ง่ายจากสีลม เราสามารถนั่ง BTS จากสถานีศาลาแดงไปสถานีทองหล่อ Tom: โอ้, นั่นสะดวกมาก! มันจะใช้เวลาแค่ไม่กี่สถานีเอง ฉันตื่นเต้นกับทองหล่อมาก! มันจะเป็นวิธีที่สมบูรณ์แบบในการจบวัน Mia: ฉันก็เช่นกัน Tom! ดังนั้นเราจะไปกินก่อน จากนั้นไปที่สีลมด้วย BTS เพื่อเล่นน้ำต่อ และสุดท้ายไปทองหล่อเพื่อผ่อนคลายและสนุกกับบรรยากาศ Tom: ฟังดูเป็นแผนที่ดีเลย Mia! มันจะเป็นวันเต็มไปด้วยการเล่นน้ำ อาหาร และช่วงเวลาที่ดี Mia: แน่นอน! ฉันรอไม่ไหวแล้ว เรามากินกันเถอะ แล้วค่อยไปสถานที่ถัดไป! Tom: แน่นอน! ไปกินกันเถอะ! Vocabulary (คำศัพท์น่ารู้) Water fight (วอ-เทอร์ ไฟต์) n. - การสู้ด้วยน้ำ Lively (ไล-ฟลี) adj. - มีชีวิตชีวา, คึกคัก Tired (ไท-เอิด) adj. - เหนื่อย Street food (สตรีท ฟู้ด) n. - อาหารข้างทาง Sticky rice (สติกกี้ ไรซ) n. - ข้าวเหนียว Skewers (สกิว-เวอร์) n. - ไม้เสียบ Coconut (โค-โค-นัท) n. - มะพร้าว Ice cream (ไอซ์ ครีม) n. - ไอศกรีม BTS (บีทีเอส) n. - ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) Convenient (คอน-วี-เนียนท) adj. - สะดวก Laid-back (เลด-แบค) adj. - สบายๆ, ผ่อนคลาย Crowded (เครา-ดิด) adj. - แออัด Relax (รี-แลกซ์) v. - ผ่อนคลาย Vibe (ไวบ์) n. - บรรยากาศ, ความรู้สึก Fun-filled (ฟัน-ฟิลด์) adj. - เต็มไปด้วยความสนุก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 929 มุมมอง 0 รีวิว
  • “สุริยะ” เผย “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” เปิดให้บริการได้แล้ววันนี้ (31 มี.ค. 68) เวลา 6 โมงเช้าเป็นต้นไป รวม 29 สถานี ตั้งแต่ “ศูนย์ราชการนนท์-ตลาดมีนบุรี” ส่วนอีก 1 สถานี “ตลาดมีนบุรี-มีนบุรี” เร่งแก้ไขแผ่นปิดรอยต่อคานทางวิ่ง ประสาน ขสมก. จัดชัตเติ้ลบัสวิ่งวนรับ-ส่ง อำนวยความสะดวกผู้โดยสาร

    นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า จากการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (MRT สายสีชมพู) ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.) ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา แรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา พบว่า โครงสร้างทางวิ่งไม่มีปัญหา แต่จะต้องซ่อมแซมบริเวณแผ่นปิดรอยต่อคานทางวิ่งช่วงสถานีมีนบุรี-สถานีตลาดมีนบุรีเพิ่มเติม

    โดยรฟม. กรมการขนส่งทางราง (ขร.), และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (กลุ่มบีทีเอส) ในฐานะผู้สัมปทานเดินรถ ประเมินแล้วว่า สามารถเปิดให้บริการได้ โดยจะเริ่มเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูในวันพรุ่งนี้ (31 มีนาคม 2568) เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งในเบื้องต้น จะเปิดให้บริการ จำนวน 29 สถานี คือ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-สถานีตลาดมีนบุรี เดินรถต่อเนื่องด้วยความถี่ 10 นาทีต่อขบวน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://m.mgronline.com/business/detail/9680000030449

    #MGROnline #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake #รถไฟฟ้าสายสีชมพู #เปิดให้บริการ #แผ่นดินไหว
    “สุริยะ” เผย “รถไฟฟ้าสายสีชมพู” เปิดให้บริการได้แล้ววันนี้ (31 มี.ค. 68) เวลา 6 โมงเช้าเป็นต้นไป รวม 29 สถานี ตั้งแต่ “ศูนย์ราชการนนท์-ตลาดมีนบุรี” ส่วนอีก 1 สถานี “ตลาดมีนบุรี-มีนบุรี” เร่งแก้ไขแผ่นปิดรอยต่อคานทางวิ่ง ประสาน ขสมก. จัดชัตเติ้ลบัสวิ่งวนรับ-ส่ง อำนวยความสะดวกผู้โดยสาร • นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า จากการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (MRT สายสีชมพู) ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร (กม.) ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา แรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา พบว่า โครงสร้างทางวิ่งไม่มีปัญหา แต่จะต้องซ่อมแซมบริเวณแผ่นปิดรอยต่อคานทางวิ่งช่วงสถานีมีนบุรี-สถานีตลาดมีนบุรีเพิ่มเติม • โดยรฟม. กรมการขนส่งทางราง (ขร.), และบริษัท นอร์ทเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (กลุ่มบีทีเอส) ในฐานะผู้สัมปทานเดินรถ ประเมินแล้วว่า สามารถเปิดให้บริการได้ โดยจะเริ่มเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูในวันพรุ่งนี้ (31 มีนาคม 2568) เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งในเบื้องต้น จะเปิดให้บริการ จำนวน 29 สถานี คือ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี-สถานีตลาดมีนบุรี เดินรถต่อเนื่องด้วยความถี่ 10 นาทีต่อขบวน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://m.mgronline.com/business/detail/9680000030449 • #MGROnline #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake #รถไฟฟ้าสายสีชมพู #เปิดให้บริการ #แผ่นดินไหว
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 992 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ นั่งรถไฟใต้ดินดูความเรียบร้อยขนส่งสาธารณะ หลังเหตุแผ่นดินไหว ขอมั่นใจระบบขนส่งปลอดภัย สงสัยเหมือนชาวเน็ตถล่มแค่ตึกเดียว สั่งกรมโยธาฯ ตั้ง กก.สอบ ขีดเส้นใน 1 สัปดาห์

    เวลา 11.45 น. วันที่ 29 มี.ค.สถานีสนามไชย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางมาขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย เพื่อดูความเรียบร้อยด้านการคมนาคมและขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้าใต้ดิน ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อมาถึงรับฟังรายงานจาก นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการแทนผู้ว่าฯ ซึ่งรายงานว่าเมื่อเกิดเหตุได้อพยพผู้โดยสารขึ้นไปข้างบนเพื่อความปลอดภัยโดยไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ นายกฯยังสอบถามในวันเกิดเหตุมีส่วนใดของรถไฟฟ้าใต้ดินขัดข้องบ้าง ซึ่งได้รับรายงานว่า โครงสร้างไม่มีปัญหา มีแค่เศษฝาท่อที่อาจหลุดออกมา ซึ่งได้มีการแก้ไขแล้ว แต่ในส่วนของรถไฟสายสีชมพูและสีเหลืองยังปิดให้บริการชั่วคราวอีก 1 วันเพื่อตรวจสอบระบบความปลอดภัย เนื่องจากระบบค่อนข้างละเอียดและบอบบาง ซึ่งก่อนเปิดให้บริการจะทดลองวิ่งก่อน

    จากนั้นนายกฯ ขึ้นรถไฟใต้ดินร่วมขบวนกับประชาชน มาลงที่สถานีสีลม โดยได้ทักทายประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ให้ความสนใจ เมื่อมาถึงชาวต่างชาติได้เข้ามาพูดคุย โดย น.ส.แพทองธาร ได้สอบถามถึงความรู้สึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000029992

    #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    นายกฯ นั่งรถไฟใต้ดินดูความเรียบร้อยขนส่งสาธารณะ หลังเหตุแผ่นดินไหว ขอมั่นใจระบบขนส่งปลอดภัย สงสัยเหมือนชาวเน็ตถล่มแค่ตึกเดียว สั่งกรมโยธาฯ ตั้ง กก.สอบ ขีดเส้นใน 1 สัปดาห์ • เวลา 11.45 น. วันที่ 29 มี.ค.สถานีสนามไชย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะเดินทางมาขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีสนามไชย เพื่อดูความเรียบร้อยด้านการคมนาคมและขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้าใต้ดิน ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว เมื่อมาถึงรับฟังรายงานจาก นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รักษาการแทนผู้ว่าฯ ซึ่งรายงานว่าเมื่อเกิดเหตุได้อพยพผู้โดยสารขึ้นไปข้างบนเพื่อความปลอดภัยโดยไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ นายกฯยังสอบถามในวันเกิดเหตุมีส่วนใดของรถไฟฟ้าใต้ดินขัดข้องบ้าง ซึ่งได้รับรายงานว่า โครงสร้างไม่มีปัญหา มีแค่เศษฝาท่อที่อาจหลุดออกมา ซึ่งได้มีการแก้ไขแล้ว แต่ในส่วนของรถไฟสายสีชมพูและสีเหลืองยังปิดให้บริการชั่วคราวอีก 1 วันเพื่อตรวจสอบระบบความปลอดภัย เนื่องจากระบบค่อนข้างละเอียดและบอบบาง ซึ่งก่อนเปิดให้บริการจะทดลองวิ่งก่อน • จากนั้นนายกฯ ขึ้นรถไฟใต้ดินร่วมขบวนกับประชาชน มาลงที่สถานีสีลม โดยได้ทักทายประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ให้ความสนใจ เมื่อมาถึงชาวต่างชาติได้เข้ามาพูดคุย โดย น.ส.แพทองธาร ได้สอบถามถึงความรู้สึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9680000029992 • #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1074 มุมมอง 0 รีวิว
  • Turtle X ธนาซิตี้ คีรีสยายปีกสะดวกซื้อ

    เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา สำหรับเทอร์เทิล เอ็กซ์ (Turtle X) ร้านสะดวกซื้อแบบสแตนด์อะโลนแห่งแรก นอกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส บนพื้นที่ 300 ตารางเมตร ภายในโครงการธนาซิตี้ บางนา-ตราด กม.14 จ.สมุทรปราการ ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท ซุปเปอร์ เทอร์เทิล จำกัด (มหำชน) หรือ TURTLE ผู้ให้บริการค้าปลีกในระบบขนส่งมวลชนของกลุ่มบริษัทบีทีเอส (BTS Group) ที่มีนายคีรี กาญจนพาสน์ เป็นเจ้าของ

    นับตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อเทอร์เทิล (Turtle) เปิดสาขาแรกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เซนต์หลุยส์ เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ก่อนขยายไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน 22 แห่ง กระทั่งเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก เทอร์เทิล อี (Turtle e) บนสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีลาดพร้าว สถานีบางกะปิ และสถานีสวนหลวง ร.9 เมื่อเดือน ส.ค. 2567 และเปิดร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ นอกสถานีที่อาคารยูนิคอร์น พญาไท

    ถึงกระนั้น ร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ ธนาซิตี้ ถือเป็นสาขาแรกที่เปิดแบบสแตนด์อะโลน เจาะกลุ่มลูกค้าผู้อยู่อาศัยในโครงการธนาซิตี้ เช่น คอนโดมิเนียมนูเวล 6 อาคาร กว่า 900 ยูนิต สนามกอล์ฟธนาซิตี้ คันทรี่ คลับ โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ และสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ ที่มีพนักงานกว่า 200 ชีวิต จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ของใช้ส่วนตัว และของใช้ภายในบ้าน เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และเร็วๆ นี้จะมีร้านเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญชื่อดัง อ๊อตเทริ (Otteri) เปิดให้บริการที่ด้านข้างของร้านอีกด้วย

    ร้านเทอร์เทิล ได้ร่วมกับ แรบบิท รีวอร์ดส (Rabbit Rewards) ออกโปรแกรมสมาชิกเทอร์เทิล คลับ (Turtle Club) โดยมีสิทธิประโยชน์ ได้แก่ สินค้าราคาพิเศษเฉพาะสมาชิก (Member Price) ทุกการใช้จ่าย 20 บาท รับ 1 พอยท์ สามารถสะสมพอยท์ร่วมกับการใช้บัตรแรบบิท (Rabbit Card) โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือใช้จ่ายผ่านบัตรแรบบิทที่ร้านค้า เพื่อนำมาแลกส่วนลด แลกดีล และส่วนลดพิเศษที่ร้านเทอร์เทิล แลกเที่ยวเดินทางฟรี หรือแลกดีลบนแอปพลิเคชัน Rabbit Rewards เป็นต้น

    สิ่งที่ร้านเทอร์เทิลสร้างความแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปคือ สินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มชงสด เบเกอรี่ และอาหารพร้อมทาน เจาะกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม ราคาจะสูงกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไปเล็กน้อย รวมทั้งยังมีสินค้าประเภทไลฟ์สไตล์วางจำหน่ายอีกด้วย น่าสนใจว่าร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ สแตนด์อะโลนแบบนี้จะขยายไปยังทำเลใดต่อไป โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์

    #Newskit
    Turtle X ธนาซิตี้ คีรีสยายปีกสะดวกซื้อ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา สำหรับเทอร์เทิล เอ็กซ์ (Turtle X) ร้านสะดวกซื้อแบบสแตนด์อะโลนแห่งแรก นอกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส บนพื้นที่ 300 ตารางเมตร ภายในโครงการธนาซิตี้ บางนา-ตราด กม.14 จ.สมุทรปราการ ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท ซุปเปอร์ เทอร์เทิล จำกัด (มหำชน) หรือ TURTLE ผู้ให้บริการค้าปลีกในระบบขนส่งมวลชนของกลุ่มบริษัทบีทีเอส (BTS Group) ที่มีนายคีรี กาญจนพาสน์ เป็นเจ้าของ นับตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อเทอร์เทิล (Turtle) เปิดสาขาแรกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เซนต์หลุยส์ เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ก่อนขยายไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน 22 แห่ง กระทั่งเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก เทอร์เทิล อี (Turtle e) บนสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีลาดพร้าว สถานีบางกะปิ และสถานีสวนหลวง ร.9 เมื่อเดือน ส.ค. 2567 และเปิดร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ นอกสถานีที่อาคารยูนิคอร์น พญาไท ถึงกระนั้น ร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ ธนาซิตี้ ถือเป็นสาขาแรกที่เปิดแบบสแตนด์อะโลน เจาะกลุ่มลูกค้าผู้อยู่อาศัยในโครงการธนาซิตี้ เช่น คอนโดมิเนียมนูเวล 6 อาคาร กว่า 900 ยูนิต สนามกอล์ฟธนาซิตี้ คันทรี่ คลับ โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ และสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ ที่มีพนักงานกว่า 200 ชีวิต จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ของใช้ส่วนตัว และของใช้ภายในบ้าน เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และเร็วๆ นี้จะมีร้านเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญชื่อดัง อ๊อตเทริ (Otteri) เปิดให้บริการที่ด้านข้างของร้านอีกด้วย ร้านเทอร์เทิล ได้ร่วมกับ แรบบิท รีวอร์ดส (Rabbit Rewards) ออกโปรแกรมสมาชิกเทอร์เทิล คลับ (Turtle Club) โดยมีสิทธิประโยชน์ ได้แก่ สินค้าราคาพิเศษเฉพาะสมาชิก (Member Price) ทุกการใช้จ่าย 20 บาท รับ 1 พอยท์ สามารถสะสมพอยท์ร่วมกับการใช้บัตรแรบบิท (Rabbit Card) โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือใช้จ่ายผ่านบัตรแรบบิทที่ร้านค้า เพื่อนำมาแลกส่วนลด แลกดีล และส่วนลดพิเศษที่ร้านเทอร์เทิล แลกเที่ยวเดินทางฟรี หรือแลกดีลบนแอปพลิเคชัน Rabbit Rewards เป็นต้น สิ่งที่ร้านเทอร์เทิลสร้างความแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปคือ สินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มชงสด เบเกอรี่ และอาหารพร้อมทาน เจาะกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม ราคาจะสูงกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไปเล็กน้อย รวมทั้งยังมีสินค้าประเภทไลฟ์สไตล์วางจำหน่ายอีกด้วย น่าสนใจว่าร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ สแตนด์อะโลนแบบนี้จะขยายไปยังทำเลใดต่อไป โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1014 มุมมอง 0 รีวิว
  • 21 ปี "11-M" วินาศกรรมระเบิดรถไฟมาดริด กวาดชีวิต 200 ศพ บาดเจ็บกว่า 1,800 ราย ไขปริศนาเบื้องหลัง โศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญ ที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์สเปน ไปตลอดกาล

    เสียงระเบิดที่เปลี่ยนสเปนไปตลอดกาล วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2547 ในช่วงช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เช้าตรู่เหมือนทุกวัน รถไฟโดยสารสาย Cercanías ของกรุงมาดริด ประเทศสเปน กำลังวิ่งเข้าเทียบชานชาลา ที่สถานีอาโตชา (Atocha) อย่างปกติ ก่อนที่เสียงระเบิดลูกแรกจะดังขึ้น และตามด้วยระเบิดอีก 12 ลูก ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้ขบวนรถไฟ 4 ขบวน ที่บรรทุกผู้โดยสารไปทำงานในช่วงเร่งด่วน กลายเป็นซากเศษเหล็กในพริบตา

    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น หรือที่ชาวสเปนเรียกกันว่า "11-M" (Once de Marzo) ถือเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมก่อการร้าย ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป มีผู้เสียชีวิตถึง 200 ศพ และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 1,800 ราย มันไม่เพียงแต่ทำลายชีวิตผู้คน แต่ยังสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล และเปลี่ยนผลการเลือกตั้งในสเปน โดยสิ้นเชิง

    เหตุการณ์ที่โลกไม่อาจลืม เหตุระเบิดรถไฟที่กรุงมาดริด หรือ 11-M เป็นปฏิบัติการก่อการร้าย ที่ประสานงานกันอย่างซับซ้อน โดยมือระเบิดใช้อุปกรณ์ระเบิดแสวงเครื่อง (IED) วางไว้ในกระเป๋าเป้ และนำขึ้นรถไฟ ที่มุ่งหน้าเข้าสู่สถานีหลักของกรุงมาดริด

    กลุ่มผู้ต้องสงสัย คือกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ที่ต่อต้านการมีส่วนร่วมของสเปนใ นสงครามอิรัก เหตุการณ์นี้นับเป็นการโจมตีพลเรือน ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป นับตั้งแต่เหตุการณ์ ระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบิน 103 เมื่อปี 2531 และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมือง และความมั่นคงของประเทศสเปน ในเวลานั้น

    ไทม์ไลน์วินาศกรรม 11-M นาทีชีวิตในกรุงมาดริด
    07.01 - 07.14 น. รถไฟทั้งสี่ขบวนออกจาก Alcalá de Henares มุ่งหน้าสู่สถานี Atocha

    07.37 - 07.40 น. ระเบิดลูกแรกระเบิดขึ้นที่ ขบวน 21431 บริเวณ ฃสถานี Atocha ตามด้วยอีกสองลูกในเวลาไม่ถึง 4 วินาที
    ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ที่สถานี El Pozo
    ขบวน 21713 ระเบิดที่สถานีSanta Eugenia
    ขบวน 17305 เกิดระเบิด 4 จุด บริเวณ Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha

    08.00 น. เป็นต้นไป หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินและทีม TEDAX หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด เข้าพื้นที่

    08.30 น. ตั้งโรงพยาบาลสนามที่สนามกีฬา Daoiz y Velarde

    09.00 น. ตำรวจยืนยันมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ศพ สุดท้าย ผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 200 ราย และรายสุดท้ายเสียชีวิตในปี 2557 หลังจากโคม่า 10 ปี

    จุดระเบิด 13 จุด ของแต่ละสถานี
    สถานี Atocha ขบวน 21431 เกิดระเบิด 3 ลูก อีก 1 ลูก ถูกทีม TEDAX จุดระเบิดควบคุมในเวลาต่อมา

    สถานี El Pozo ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ในตู้ที่ 4 และ 5 พบระเบิดอีก 1 ลูกในตู้รถที่ 3 ถูกควบคุมระเบิดโดย TEDAX

    สถานี Santa Eugenia ขบวน 21713 ระเบิดลูกเดียวที่ตู้ที่ 4

    Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha ขบวน 17305 ระเบิด 4 ลูกที่ตู้ 1, 4, 5 และ 6

    ผู้ต้องสงสัย เบื้องหลังการโจมตี หลักฐานที่ค้นพบในรถตู้ Renault Kangoo ซึ่งจอดอยู่หน้าสถานี Alcalá de Henares ได้แก่ ตัวจุดชนวน เทปเสียงอัดบทกวีจากคัมภีร์อัลกุรอาน และโทรศัพท์มือถือที่ใช้จุดระเบิด

    ตำรวจสเปนจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 5 คน ในวันเดียวกัน เป็นชาวโมร็อกโก 3 คน และปากีสถาน 2 คน โดยเฉพาะ "จามาล ซูกัม" (Jamal Zougam) ชาวโมร็อกโก ที่ถูกดำเนินคดีในที่สุด

    การโจมตีครั้งนี้เชื่อว่า เป็นการตอบโต้สเปนที่เข้าร่วมสงครามอิรัก กับสหรัฐอเมริกาในปี 2546

    ข้อถกเถียงและการเมืองที่ลุกเป็นไฟ เหตุการณ์ 11-M เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเพียง 3 วัน พรรค Partido Popular (PP) ภายใต้การนำของ "โฆเซ มาเรีย อัซนาร์" พยายามโยงความผิดให้กลุ่ม ETA โดนพรรคฝ่ายค้าน PSOE กล่าวหาว่ารัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันการเสียคะแนนเสียง

    ผลการเลือกตั้งพลิกล็อก พรรค PSOE ภายใต้การนำของ "โฆเซ หลุยส์ โรดริเกซ" ซาปาเตโร ได้รับชัยชนะ และขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสเปน

    ผลการสอบสวนและคำพิพากษา หลังจากการสืบสวน 21 เดือน มีผู้ถูกตัดสินว่ามีส่วนร่วมในการโจมตีทั้งหมด 21 คน ไม่มีหลักฐานชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะห์ วัตถุระเบิดที่ใช้คือ Goma-2 ECO ผลิตในสเปน

    ผลกระทบที่สะท้อนถึงโลกใบนี้ เหตุการณ์ 11-M ถูกเปรียบเทียบกับการโจมตี 11 กันยายน 2001 (9/11) ที่สหรัฐฯ ทั้งในแง่ของขนาดของการวางแผน ผลกระทบต่อการเมืองภายในประเทศ การลุกฮือของประชาชนเรียกร้อง “ความจริง” จากรัฐบาล และยังกระตุ้นให้เกิด มาตรการความปลอดภัย ในระบบขนส่งมวลชนทั่วโลก

    บทเรียนจากโศกนาฏกรรม 11-M ความโปร่งใสของรัฐบาล เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียความไว้วางใจ การเฝ้าระวังระบบขนส่งสาธารณะ ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเมืองและการก่อการร้าย เป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ ในยุคโลกาภิวัตน์

    เหตุการณ์ก่อการร้าย ที่สะท้อนภาพโศกนาฏกรรมปี 2547
    เหตุการณ์เบสลัน (Beslan Siege) วันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ. 2547 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชชเนีย จับตัวประกันที่โรงเรียน มีผู้เสียชีวิตกว่า 330 ศพ ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กนักเรียน เป็นอีกตัวอย่างของความโหดร้าย จากการก่อการร้ายที่โลกไม่มีวันลืม

    ความทรงจำยังคงอยู่ 21 ปีหลังเหตุการณ์ 11-M สเปนและโลกยังคงรำลึกถึงเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ที่เสียชีวิตในวันนั้น และบทเรียนที่ได้รับ ยังคงชัดเจนอยู่ทุกวินาที การเปลี่ยนแปลงในนโยบายความมั่นคง การเลือกตั้ง และบทบาททางการเมืองที่พลิกผัน เป็นสิ่งที่ทำให้ 11 มีนาคม ไม่ใช่เพียงวันแห่งความเศร้า แต่ยังเป็นวันที่ทำให้มนุษยชาติหยุดคิด และตั้งคำถามกับความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 110922 มี.ค. 2568

    #11M #MadridBombings #ก่อการร้าย #ประวัติศาสตร์สเปน #PSOE #PP #สงครามอิรัก #ก่อการร้ายยุโรป #มาดริด #TerrorismHistory
    21 ปี "11-M" วินาศกรรมระเบิดรถไฟมาดริด กวาดชีวิต 200 ศพ บาดเจ็บกว่า 1,800 ราย 🚆💣 ไขปริศนาเบื้องหลัง โศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญ ที่เปลี่ยนหน้าประวัติศาสตร์สเปน ไปตลอดกาล 📝 เสียงระเบิดที่เปลี่ยนสเปนไปตลอดกาล วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2547 ในช่วงช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เช้าตรู่เหมือนทุกวัน รถไฟโดยสารสาย Cercanías ของกรุงมาดริด ประเทศสเปน กำลังวิ่งเข้าเทียบชานชาลา ที่สถานีอาโตชา (Atocha) อย่างปกติ ก่อนที่เสียงระเบิดลูกแรกจะดังขึ้น และตามด้วยระเบิดอีก 12 ลูก ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ทำให้ขบวนรถไฟ 4 ขบวน ที่บรรทุกผู้โดยสารไปทำงานในช่วงเร่งด่วน กลายเป็นซากเศษเหล็กในพริบตา 💥 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น หรือที่ชาวสเปนเรียกกันว่า "11-M" (Once de Marzo) ถือเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมก่อการร้าย ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป มีผู้เสียชีวิตถึง 200 ศพ และผู้บาดเจ็บอีกกว่า 1,800 ราย มันไม่เพียงแต่ทำลายชีวิตผู้คน แต่ยังสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล และเปลี่ยนผลการเลือกตั้งในสเปน โดยสิ้นเชิง 🗳️ 📚 เหตุการณ์ที่โลกไม่อาจลืม เหตุระเบิดรถไฟที่กรุงมาดริด หรือ 11-M เป็นปฏิบัติการก่อการร้าย ที่ประสานงานกันอย่างซับซ้อน โดยมือระเบิดใช้อุปกรณ์ระเบิดแสวงเครื่อง (IED) วางไว้ในกระเป๋าเป้ และนำขึ้นรถไฟ ที่มุ่งหน้าเข้าสู่สถานีหลักของกรุงมาดริด ✨ กลุ่มผู้ต้องสงสัย คือกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง ที่ต่อต้านการมีส่วนร่วมของสเปนใ นสงครามอิรัก เหตุการณ์นี้นับเป็นการโจมตีพลเรือน ครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรป นับตั้งแต่เหตุการณ์ ระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบิน 103 เมื่อปี 2531 และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมือง และความมั่นคงของประเทศสเปน ในเวลานั้น 📍 🔎 ไทม์ไลน์วินาศกรรม 11-M นาทีชีวิตในกรุงมาดริด 07.01 - 07.14 น. รถไฟทั้งสี่ขบวนออกจาก Alcalá de Henares มุ่งหน้าสู่สถานี Atocha 07.37 - 07.40 น. ระเบิดลูกแรกระเบิดขึ้นที่ ขบวน 21431 บริเวณ ฃสถานี Atocha ตามด้วยอีกสองลูกในเวลาไม่ถึง 4 วินาที 🚆💥 ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ที่สถานี El Pozo ขบวน 21713 ระเบิดที่สถานีSanta Eugenia ขบวน 17305 เกิดระเบิด 4 จุด บริเวณ Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha 08.00 น. เป็นต้นไป หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินและทีม TEDAX หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด เข้าพื้นที่ 08.30 น. ตั้งโรงพยาบาลสนามที่สนามกีฬา Daoiz y Velarde 09.00 น. ตำรวจยืนยันมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ศพ สุดท้าย ผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 200 ราย และรายสุดท้ายเสียชีวิตในปี 2557 หลังจากโคม่า 10 ปี 🚨 จุดระเบิด 13 จุด ของแต่ละสถานี 📍 สถานี Atocha ขบวน 21431 เกิดระเบิด 3 ลูก อีก 1 ลูก ถูกทีม TEDAX จุดระเบิดควบคุมในเวลาต่อมา 📍 สถานี El Pozo ขบวน 21435 ระเบิด 2 ลูก ในตู้ที่ 4 และ 5 พบระเบิดอีก 1 ลูกในตู้รถที่ 3 ถูกควบคุมระเบิดโดย TEDAX 📍 สถานี Santa Eugenia ขบวน 21713 ระเบิดลูกเดียวที่ตู้ที่ 4 📍 Calle Téllez ใกล้สถานี Atocha ขบวน 17305 ระเบิด 4 ลูกที่ตู้ 1, 4, 5 และ 6 🕵️‍♂️ ผู้ต้องสงสัย เบื้องหลังการโจมตี หลักฐานที่ค้นพบในรถตู้ Renault Kangoo ซึ่งจอดอยู่หน้าสถานี Alcalá de Henares ได้แก่ ตัวจุดชนวน เทปเสียงอัดบทกวีจากคัมภีร์อัลกุรอาน และโทรศัพท์มือถือที่ใช้จุดระเบิด ตำรวจสเปนจับกุมผู้ต้องสงสัยได้ 5 คน ในวันเดียวกัน เป็นชาวโมร็อกโก 3 คน และปากีสถาน 2 คน โดยเฉพาะ "จามาล ซูกัม" (Jamal Zougam) ชาวโมร็อกโก ที่ถูกดำเนินคดีในที่สุด การโจมตีครั้งนี้เชื่อว่า เป็นการตอบโต้สเปนที่เข้าร่วมสงครามอิรัก กับสหรัฐอเมริกาในปี 2546 ❗ ข้อถกเถียงและการเมืองที่ลุกเป็นไฟ เหตุการณ์ 11-M เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเพียง 3 วัน พรรค Partido Popular (PP) ภายใต้การนำของ "โฆเซ มาเรีย อัซนาร์" พยายามโยงความผิดให้กลุ่ม ETA โดนพรรคฝ่ายค้าน PSOE กล่าวหาว่ารัฐบาลบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันการเสียคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้งพลิกล็อก พรรค PSOE ภายใต้การนำของ "โฆเซ หลุยส์ โรดริเกซ" ซาปาเตโร ได้รับชัยชนะ และขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสเปน ⚖️ ผลการสอบสวนและคำพิพากษา หลังจากการสืบสวน 21 เดือน มีผู้ถูกตัดสินว่ามีส่วนร่วมในการโจมตีทั้งหมด 21 คน ไม่มีหลักฐานชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะห์ วัตถุระเบิดที่ใช้คือ Goma-2 ECO ผลิตในสเปน 🌍 ผลกระทบที่สะท้อนถึงโลกใบนี้ เหตุการณ์ 11-M ถูกเปรียบเทียบกับการโจมตี 11 กันยายน 2001 (9/11) ที่สหรัฐฯ ทั้งในแง่ของขนาดของการวางแผน ผลกระทบต่อการเมืองภายในประเทศ การลุกฮือของประชาชนเรียกร้อง “ความจริง” จากรัฐบาล และยังกระตุ้นให้เกิด มาตรการความปลอดภัย ในระบบขนส่งมวลชนทั่วโลก 🚆🛑 🧠 บทเรียนจากโศกนาฏกรรม 11-M ความโปร่งใสของรัฐบาล เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียความไว้วางใจ การเฝ้าระวังระบบขนส่งสาธารณะ ต้องได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การเมืองและการก่อการร้าย เป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ ในยุคโลกาภิวัตน์ 📌 เหตุการณ์ก่อการร้าย ที่สะท้อนภาพโศกนาฏกรรมปี 2547 🎒 เหตุการณ์เบสลัน (Beslan Siege) วันที่ 1-3 กันยายน พ.ศ. 2547 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชชเนีย จับตัวประกันที่โรงเรียน มีผู้เสียชีวิตกว่า 330 ศพ ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กนักเรียน เป็นอีกตัวอย่างของความโหดร้าย จากการก่อการร้ายที่โลกไม่มีวันลืม 💔 ✅ ความทรงจำยังคงอยู่ 21 ปีหลังเหตุการณ์ 11-M สเปนและโลกยังคงรำลึกถึงเหยื่อผู้บริสุทธิ์ ที่เสียชีวิตในวันนั้น และบทเรียนที่ได้รับ ยังคงชัดเจนอยู่ทุกวินาที การเปลี่ยนแปลงในนโยบายความมั่นคง การเลือกตั้ง และบทบาททางการเมืองที่พลิกผัน เป็นสิ่งที่ทำให้ 11 มีนาคม ไม่ใช่เพียงวันแห่งความเศร้า แต่ยังเป็นวันที่ทำให้มนุษยชาติหยุดคิด และตั้งคำถามกับความรุนแรง ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ 🌍🙏 ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 110922 มี.ค. 2568 🔖 📌 #11M #MadridBombings #ก่อการร้าย #ประวัติศาสตร์สเปน #PSOE #PP #สงครามอิรัก #ก่อการร้ายยุโรป #มาดริด #TerrorismHistory 🚆💣
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1592 มุมมอง 0 รีวิว
  • เคาะวันเปิด LRT3 มาเลเซีย 30 กันยายน 2025

    ในที่สุดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาสายชาห์อลัม (Shah Alam Line) หรือ LRT3 รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย เชื่อมระหว่างสถานีบันดาร์ อูตามา (Bandar Utama) กับสถานีโยฮัน เซเตีย (Johan Setia) มีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 30 ก.ย. 2568 หลังส่งมอบโครงการให้กับบริษัท ปราซารานา (Prasarana) ในวันที่ 31 ก.ค. 2568 ตามที่กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยเมื่อวันพุธ (26 ก.พ.) ระบุว่าความคืบหน้าของโครงการอยู่ที่ 98.16%

    สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสายที่ 3 (LRT3) ถือเป็นระบบขนส่งมวลชนลำดับที่ 11 ในหุบเขาแคลง มีระยะทาง 37 กิโลเมตร รวมทั้งอุโมงค์ความยาว 2 กิโลเมตร พาดผ่านเขตเปตาลิง จายา (Petaling Jaya) ชาห์อลัม (Shah Alam) และแคลง (Klang) รองรับประชากรมากกว่า 2 ล้านคน มีสถานีรถไฟฟ้า 20 สถานี และอีก 5 สถานีที่ก่อสร้างเพิ่มเติม พร้อมที่จอดรถ 6 สถานี รองรับรถยนต์รวม 2,000 คัน

    ส่วนขบวนรถมี 3 ตู้ รวม 22 ขบวน ผลิตโดยบริษัท CRRC Corporation รองรับผู้โดยสารสูงสุด 18,630 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ให้บริการความถี่ทุก 6 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วน คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 67,000 เที่ยวคนต่อวัน

    จุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีบันดาร์ อูตามา ใกล้กับศูนย์การค้าวันอูตามา (1 Utama) ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ผ่านสถานที่สำคัญอย่างสนามกีฬาชาห์อลัม (Stadium Shah Alam) มัสยิดสุลต่านซาลาฮุดดินอับดุลอาซิซ (Masjid Sultan Salahuddin Abdul Aziz Shah) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยียูไอทีเอ็ม (UiTM) โครงการไอ-ซิตี้ (i-City) สวนสนุกไอ-ซิตี้ ธีมพาร์ค (i-City Theme Park) มัสยิดบันดาร์ดิราจาแคลงอูตารา (Masjid Bandar Diraja Klang Utara)

    มีสถานีเชื่อมต่อ ได้แก่ 1. สถานีบันดาร์ อูตามา เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที สายกาจัง (MRT Kajang Line) เส้นทางระหว่างสถานีควาซาดามานซารา (Kwasa Damansara) กับสถานีกาจัง (Kajang) ผ่านสถานีบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) และสถานีตุนราซัคเอ็กซ์เชนจ์ (Tun Razak Exchange)

    2. สถานีเกลนมารี 2 (Glenmarie 2) เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า LRT สายเกลานา จายา (Kelana Jaya Line) เส้นทางระหว่างสถานีปูตราไฮต์ (Putra Heights) กับสถานีกอมบัค (Gombak) ผ่านสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) และสถานีเคแอลซีซี (KLCC) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์

    อนึ่ง ที่สถานีเซคชันตูจู (Seksyen 7) บริเวณเขต 7 ของรัฐสลังงอร์ มีศูนย์การค้าเซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ (Central i-City) ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาจากประเทศไทย ลงทุนร่วมกับไอ-เบอร์ฮัด (I-Berhad) เปิดให้บริการเมื่อปี 2562

    #Newskit
    เคาะวันเปิด LRT3 มาเลเซีย 30 กันยายน 2025 ในที่สุดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาสายชาห์อลัม (Shah Alam Line) หรือ LRT3 รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย เชื่อมระหว่างสถานีบันดาร์ อูตามา (Bandar Utama) กับสถานีโยฮัน เซเตีย (Johan Setia) มีกำหนดเปิดให้บริการในวันที่ 30 ก.ย. 2568 หลังส่งมอบโครงการให้กับบริษัท ปราซารานา (Prasarana) ในวันที่ 31 ก.ค. 2568 ตามที่กระทรวงคมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยเมื่อวันพุธ (26 ก.พ.) ระบุว่าความคืบหน้าของโครงการอยู่ที่ 98.16% สำหรับโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสายที่ 3 (LRT3) ถือเป็นระบบขนส่งมวลชนลำดับที่ 11 ในหุบเขาแคลง มีระยะทาง 37 กิโลเมตร รวมทั้งอุโมงค์ความยาว 2 กิโลเมตร พาดผ่านเขตเปตาลิง จายา (Petaling Jaya) ชาห์อลัม (Shah Alam) และแคลง (Klang) รองรับประชากรมากกว่า 2 ล้านคน มีสถานีรถไฟฟ้า 20 สถานี และอีก 5 สถานีที่ก่อสร้างเพิ่มเติม พร้อมที่จอดรถ 6 สถานี รองรับรถยนต์รวม 2,000 คัน ส่วนขบวนรถมี 3 ตู้ รวม 22 ขบวน ผลิตโดยบริษัท CRRC Corporation รองรับผู้โดยสารสูงสุด 18,630 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ให้บริการความถี่ทุก 6 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วน คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 67,000 เที่ยวคนต่อวัน จุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีบันดาร์ อูตามา ใกล้กับศูนย์การค้าวันอูตามา (1 Utama) ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ผ่านสถานที่สำคัญอย่างสนามกีฬาชาห์อลัม (Stadium Shah Alam) มัสยิดสุลต่านซาลาฮุดดินอับดุลอาซิซ (Masjid Sultan Salahuddin Abdul Aziz Shah) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยียูไอทีเอ็ม (UiTM) โครงการไอ-ซิตี้ (i-City) สวนสนุกไอ-ซิตี้ ธีมพาร์ค (i-City Theme Park) มัสยิดบันดาร์ดิราจาแคลงอูตารา (Masjid Bandar Diraja Klang Utara) มีสถานีเชื่อมต่อ ได้แก่ 1. สถานีบันดาร์ อูตามา เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที สายกาจัง (MRT Kajang Line) เส้นทางระหว่างสถานีควาซาดามานซารา (Kwasa Damansara) กับสถานีกาจัง (Kajang) ผ่านสถานีบูกิตบินตัง (Bukit Bintang) และสถานีตุนราซัคเอ็กซ์เชนจ์ (Tun Razak Exchange) 2. สถานีเกลนมารี 2 (Glenmarie 2) เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า LRT สายเกลานา จายา (Kelana Jaya Line) เส้นทางระหว่างสถานีปูตราไฮต์ (Putra Heights) กับสถานีกอมบัค (Gombak) ผ่านสถานีเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) และสถานีเคแอลซีซี (KLCC) ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารปิโตรนาส ทวิน ทาวเวอร์ อนึ่ง ที่สถานีเซคชันตูจู (Seksyen 7) บริเวณเขต 7 ของรัฐสลังงอร์ มีศูนย์การค้าเซ็นทรัล ไอ-ซิตี้ (Central i-City) ซึ่งกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนาจากประเทศไทย ลงทุนร่วมกับไอ-เบอร์ฮัด (I-Berhad) เปิดให้บริการเมื่อปี 2562 #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 852 มุมมอง 0 รีวิว
  • รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เผยหลังประชุม ครม. ของบกลางแค่ 185 ล้าน จากที่จะขอ 329 ล้าน แจงชดเชยเฉพาะบีทีเอส-ขสมก. ส่วน รฟม. มีรายได้เป็นของตัวเองแล้วก็ให้รับภาระไป
    .
    วันนี้ (28 ม.ค.) จากกรณีที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าจะขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเงินไปจ่ายชดเชยให้กับผู้ประกอบการรถไฟฟ้า และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จากมาตรการให้ประชาชนขึ้นรถไฟฟ้า และรถเมล์ฟรี ระหว่างวันที่ 25-31 ม.ค. จากเดิมที่ระบุไว้ 140 ล้านบาท แต่ต้องเพิ่มเป็น 329.82 ล้านบาท เพราะการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอกันงบประมาณไว้เพื่อใช้ในโครงการอื่นๆ เป็นจำนวน 144 ล้านบาท เช่นเดียวกันกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ขอเพิ่ม 51 ล้านบาท และเมื่อนำไปรวมกับเงินที่ต้องจ่ายชดเชยให้กับบริษัทบีทีเอส (BTS) จำนวน 133 ล้านบาท ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องยื่นของบกลางเพิ่มขึ้น ตามที่ให้สัมภาษณ์เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาแล้วนั้น
    .
    ล่าสุด นายสุริยะ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุม ครม. ว่า รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 133.84 ล้านบาท และจ่ายชดเชยให้กับ ขสมก. จำนวน 51.7 ล้านบาท รวมเป็นจะเสนอจำนวนงบกลางทั้งสิ้น 185.54 ล้านบาท ส่วนเงินชดเชยที่จะจ่ายให้กับ รฟม. เดิมทีครั้งแรกกระทรวงฯ คาดว่าจะใช้งบกลางมาจ่ายชดเชย จำนวน 144 ล้านบาท แต่ถูกมองว่า รฟม. มีรายได้เป็นของตัวเอง ก็ให้ใช้งบประมาณของ รฟม. เอง
    .
    สาเหตุที่ต้องตัดงบประมาณตรงนี้ออก เพราะรัฐบาลต้องการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ หากหน่วยงานไหนที่มีรายได้เป็นของตัวเอง และมีเพียงพอ ก็ให้ใช้รายได้ของตัวเองไปก่อน ฉะนั้นเรื่องนี้ก็ให้ รฟม. รับภาระไป ส่วนจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5 แสนคน กระทรวงคมนาคมจะไปต่อรองกับผู้ประกอบการว่าจะไม่ชดเชยให้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ตนได้พูดคุยกับผู้ประกอบการแล้ว และผู้ประกอบการก็รับในหลักการดังกล่าว
    .
    เมื่อถามว่า บีทีเอสต้องการวางบิลที่ 200 ล้านบาท จะไม่ให้แล้วใช่หรือไม่ โดยจะจ่ายให้แค่ 133 ล้านบาท นายสุริยะกล่าวว่า คิดว่าบีทีเอสคงจะคิดตามข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้ใช้บริการเท่าใดก็จะเก็บเงินเท่านั้น แต่รัฐบาลจะจ่ายชดเชยตามตัวเลขที่เปิดให้บริการฟรี 7 วัน ซึ่งในหลักการเชื่อว่าไม่มีปัญหา
    .
    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ในการประชุม ครม. วันนี้ ยังไม่มีการพิจารณางบกลางเพื่อชดเชยผู้ประกอบการรถไฟฟ้าและ ขสมก. แต่อย่างใด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..
    .........
    Sondhi X
    รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เผยหลังประชุม ครม. ของบกลางแค่ 185 ล้าน จากที่จะขอ 329 ล้าน แจงชดเชยเฉพาะบีทีเอส-ขสมก. ส่วน รฟม. มีรายได้เป็นของตัวเองแล้วก็ให้รับภาระไป . วันนี้ (28 ม.ค.) จากกรณีที่เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่าจะขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเงินไปจ่ายชดเชยให้กับผู้ประกอบการรถไฟฟ้า และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จากมาตรการให้ประชาชนขึ้นรถไฟฟ้า และรถเมล์ฟรี ระหว่างวันที่ 25-31 ม.ค. จากเดิมที่ระบุไว้ 140 ล้านบาท แต่ต้องเพิ่มเป็น 329.82 ล้านบาท เพราะการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอกันงบประมาณไว้เพื่อใช้ในโครงการอื่นๆ เป็นจำนวน 144 ล้านบาท เช่นเดียวกันกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่ขอเพิ่ม 51 ล้านบาท และเมื่อนำไปรวมกับเงินที่ต้องจ่ายชดเชยให้กับบริษัทบีทีเอส (BTS) จำนวน 133 ล้านบาท ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องยื่นของบกลางเพิ่มขึ้น ตามที่ให้สัมภาษณ์เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาแล้วนั้น . ล่าสุด นายสุริยะ ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุม ครม. ว่า รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยให้ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จำนวน 133.84 ล้านบาท และจ่ายชดเชยให้กับ ขสมก. จำนวน 51.7 ล้านบาท รวมเป็นจะเสนอจำนวนงบกลางทั้งสิ้น 185.54 ล้านบาท ส่วนเงินชดเชยที่จะจ่ายให้กับ รฟม. เดิมทีครั้งแรกกระทรวงฯ คาดว่าจะใช้งบกลางมาจ่ายชดเชย จำนวน 144 ล้านบาท แต่ถูกมองว่า รฟม. มีรายได้เป็นของตัวเอง ก็ให้ใช้งบประมาณของ รฟม. เอง . สาเหตุที่ต้องตัดงบประมาณตรงนี้ออก เพราะรัฐบาลต้องการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ หากหน่วยงานไหนที่มีรายได้เป็นของตัวเอง และมีเพียงพอ ก็ให้ใช้รายได้ของตัวเองไปก่อน ฉะนั้นเรื่องนี้ก็ให้ รฟม. รับภาระไป ส่วนจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5 แสนคน กระทรวงคมนาคมจะไปต่อรองกับผู้ประกอบการว่าจะไม่ชดเชยให้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ตนได้พูดคุยกับผู้ประกอบการแล้ว และผู้ประกอบการก็รับในหลักการดังกล่าว . เมื่อถามว่า บีทีเอสต้องการวางบิลที่ 200 ล้านบาท จะไม่ให้แล้วใช่หรือไม่ โดยจะจ่ายให้แค่ 133 ล้านบาท นายสุริยะกล่าวว่า คิดว่าบีทีเอสคงจะคิดตามข้อเท็จจริงที่ว่ามีผู้ใช้บริการเท่าใดก็จะเก็บเงินเท่านั้น แต่รัฐบาลจะจ่ายชดเชยตามตัวเลขที่เปิดให้บริการฟรี 7 วัน ซึ่งในหลักการเชื่อว่าไม่มีปัญหา . รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า ในการประชุม ครม. วันนี้ ยังไม่มีการพิจารณางบกลางเพื่อชดเชยผู้ประกอบการรถไฟฟ้าและ ขสมก. แต่อย่างใด . อ่านเพิ่มเติม.. ......... Sondhi X
    Like
    Angry
    Sad
    Love
    18
    5 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2487 มุมมอง 0 รีวิว
  • รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม เผยของบกลางชดเชยผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน งอกขึ้นจาก 140 ล้าน เป็น 329.82 ล้าน อ้าง รฟม. เปลี่ยนใจของบฯ ไว้ใช้โครงการอื่น ส่วน ขสมก. ขอเพิ่ม 51 ล้าน แต่ยังอ้างทำเพื่อประชาชน เพราะสุดท้ายก็เป็นเงินของรัฐอยู่ดี
    .
    วันนี้ (28 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการของบกลาง 140 ล้านบาท เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเงินไปจ่ายชดเชยให้กับผู้ประกอบการรถไฟฟ้า และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จากมาตรการให้ประชาชนขึ้นรถไฟฟ้า และรถเมล์ฟรี ระหว่างวันที่ 25-31 ม.ค. ว่า หลังจากเปิดให้บริการฟรี 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. มีประชาชนใช้บริการในมาตรการดังกล่าว ประมาณ 500,000 คน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเดิม 45 ถึง 60% โดยเฉพาะใน 2 วันที่ผ่านมา
    .
    ส่วนที่มีหลายฝ่ายท้วงติงว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มาจากผู้ใช้รถยนต์นั้น นายสุริยะ กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ประเมินตัวเลขจากกล้องวงจรปิดของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งใน กทม. มีการใช้รถใช้ถนนประมาณวันละ 10 ล้านคัน เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลครึ่งหนึ่ง ประมาณ 5 ล้านคัน 10 และพบว่า จากมาตรการดังกล่าว มีการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลดลง 10% หรือประมาณ 5 แสนคัน
    .
    สำหรับงบกลาง ที่กระทรวงคมนาคมจะขออนุมัติจากที่ประชุม ครม. จากเดิมที่ระบุไว้ 140 ล้านบาท แต่ต้องเพิ่มเป็น 329.82 ล้านบาท เนื่องจากเดิม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไม่ของบประมาณไว้ แต่ภายหลัง รฟม. แจ้งว่าจะขอกันงบประมาณไว้เพื่อใช้ในโครงการอื่นๆ เป็นจำนวน 144 ล้านบาท เช่นเดียวกันกับ ขสมก. ที่ขอเพิ่ม 51 ล้านบาท และเมื่อนำไปรวมกับเงินที่ต้องจ่ายชดเชยให้กับบริษัทบีทีเอส (BTS) จำนวน 133 ล้านบาท ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องยื่นของบกลางเพิ่มขึ้น
    .
    เมื่อถามว่าผู้บริหารรถไฟฟ้าบีทีเอส ระบุว่า ในส่วนของบริษัทฯ มีการประเมินเงินชดเชยจากมาตรการของรัฐบาลอยู่ที่ 200 ล้านบาทนั้น นายสุริยะ ระบุว่า นี่เป็นตัวเลขที่บีทีเอสคิดย้อนหลังไป 7 วัน แต่รัฐบาลจะชดเชย 7 วันที่ออกมาตรการ คือ 25 – 31 ม.ค. 2568 ถามว่าบริษัทบีทีเอสได้วางบิลที่กระทรวงคมนาคมแล้วหรือยัง นายสุริยะ ระบุว่า ยังไม่ได้วางบิล เพราะต้องรอให้ครบกำหนด 7 วัน
    .
    เมื่อถามว่ามีแนวโน้มจะขยายมาตรการดังกล่าวอีกหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ขอประเมินสถานการณ์ให้รอบด้าน ส่วนที่ว่ามีความกังวลหรือไม่ จากที่เคยขอ 140 ล้านบาท ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์แล้ว แต่ตัวเลขจริงพุ่งสูงถึง 329 ล้านบาท นายสุริยะ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้คือการทำเพื่อประชาชน เพราะตัวเลข 140 ล้านบาท ยังไม่รวมกับรถเมล์ ขสมก. แต่สุดท้ายไม่ว่าจะเป็น เงินของ ขสมก. หรืองบกลางของรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นงบประมาณของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ย้ำว่ารัฐบาลมีเพดานในการจ่ายเงินชดเชยไม่ให้เกิน 329 ล้านบาท
    .
    เมื่อถามว่า มาตรการครั้งหน้า หากมีการดำเนินการอีกจะมีการขอความร่วมมือภาคเอกชนให้บริการฟรีหรือไม่ นายสุริยะ ความจริงรัฐบาลสามารถขอความร่วมมือจากภาคเอกชนได้ แต่ภาคเอกชนก็มีการลงทุน ตัวเลขผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ถ้าคิดแบบจำนวนเต็มรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยเยอะกว่านี้อีก ซึ่งรัฐบาลขอแค่ 7 วัน เยอะกว่านี้จะไม่เพิ่มให้ ถามว่าที่ประชุม ครม. จะเห็นชอบงบกลางหรือไม่ หลังจากของบเพิ่มขึ้น นายสุริยะ ระบุว่า ต้องอธิบายว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นของ รฟม. จากเดิมที่จะให้ รฟม. รับผิดชอบ ซึ่งขอย้ำว่า สุดท้ายแล้วก็เป็นเงินของรัฐบาลอยู่ดี.
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008789
    .........
    Sondhi X
    รองนายกฯ และ รมว.คมนาคม เผยของบกลางชดเชยผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน งอกขึ้นจาก 140 ล้าน เป็น 329.82 ล้าน อ้าง รฟม. เปลี่ยนใจของบฯ ไว้ใช้โครงการอื่น ส่วน ขสมก. ขอเพิ่ม 51 ล้าน แต่ยังอ้างทำเพื่อประชาชน เพราะสุดท้ายก็เป็นเงินของรัฐอยู่ดี . วันนี้ (28 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการของบกลาง 140 ล้านบาท เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเงินไปจ่ายชดเชยให้กับผู้ประกอบการรถไฟฟ้า และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จากมาตรการให้ประชาชนขึ้นรถไฟฟ้า และรถเมล์ฟรี ระหว่างวันที่ 25-31 ม.ค. ว่า หลังจากเปิดให้บริการฟรี 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. มีประชาชนใช้บริการในมาตรการดังกล่าว ประมาณ 500,000 คน ซึ่งสูงกว่าตัวเลขเดิม 45 ถึง 60% โดยเฉพาะใน 2 วันที่ผ่านมา . ส่วนที่มีหลายฝ่ายท้วงติงว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มาจากผู้ใช้รถยนต์นั้น นายสุริยะ กล่าวว่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ประเมินตัวเลขจากกล้องวงจรปิดของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งใน กทม. มีการใช้รถใช้ถนนประมาณวันละ 10 ล้านคัน เป็นรถยนต์ส่วนบุคคลครึ่งหนึ่ง ประมาณ 5 ล้านคัน 10 และพบว่า จากมาตรการดังกล่าว มีการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลดลง 10% หรือประมาณ 5 แสนคัน . สำหรับงบกลาง ที่กระทรวงคมนาคมจะขออนุมัติจากที่ประชุม ครม. จากเดิมที่ระบุไว้ 140 ล้านบาท แต่ต้องเพิ่มเป็น 329.82 ล้านบาท เนื่องจากเดิม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไม่ของบประมาณไว้ แต่ภายหลัง รฟม. แจ้งว่าจะขอกันงบประมาณไว้เพื่อใช้ในโครงการอื่นๆ เป็นจำนวน 144 ล้านบาท เช่นเดียวกันกับ ขสมก. ที่ขอเพิ่ม 51 ล้านบาท และเมื่อนำไปรวมกับเงินที่ต้องจ่ายชดเชยให้กับบริษัทบีทีเอส (BTS) จำนวน 133 ล้านบาท ทำให้กระทรวงคมนาคมต้องยื่นของบกลางเพิ่มขึ้น . เมื่อถามว่าผู้บริหารรถไฟฟ้าบีทีเอส ระบุว่า ในส่วนของบริษัทฯ มีการประเมินเงินชดเชยจากมาตรการของรัฐบาลอยู่ที่ 200 ล้านบาทนั้น นายสุริยะ ระบุว่า นี่เป็นตัวเลขที่บีทีเอสคิดย้อนหลังไป 7 วัน แต่รัฐบาลจะชดเชย 7 วันที่ออกมาตรการ คือ 25 – 31 ม.ค. 2568 ถามว่าบริษัทบีทีเอสได้วางบิลที่กระทรวงคมนาคมแล้วหรือยัง นายสุริยะ ระบุว่า ยังไม่ได้วางบิล เพราะต้องรอให้ครบกำหนด 7 วัน . เมื่อถามว่ามีแนวโน้มจะขยายมาตรการดังกล่าวอีกหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ขอประเมินสถานการณ์ให้รอบด้าน ส่วนที่ว่ามีความกังวลหรือไม่ จากที่เคยขอ 140 ล้านบาท ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์แล้ว แต่ตัวเลขจริงพุ่งสูงถึง 329 ล้านบาท นายสุริยะ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้คือการทำเพื่อประชาชน เพราะตัวเลข 140 ล้านบาท ยังไม่รวมกับรถเมล์ ขสมก. แต่สุดท้ายไม่ว่าจะเป็น เงินของ ขสมก. หรืองบกลางของรัฐบาล ก็ถือว่าเป็นงบประมาณของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ย้ำว่ารัฐบาลมีเพดานในการจ่ายเงินชดเชยไม่ให้เกิน 329 ล้านบาท . เมื่อถามว่า มาตรการครั้งหน้า หากมีการดำเนินการอีกจะมีการขอความร่วมมือภาคเอกชนให้บริการฟรีหรือไม่ นายสุริยะ ความจริงรัฐบาลสามารถขอความร่วมมือจากภาคเอกชนได้ แต่ภาคเอกชนก็มีการลงทุน ตัวเลขผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ถ้าคิดแบบจำนวนเต็มรัฐบาลต้องจ่ายเงินชดเชยเยอะกว่านี้อีก ซึ่งรัฐบาลขอแค่ 7 วัน เยอะกว่านี้จะไม่เพิ่มให้ ถามว่าที่ประชุม ครม. จะเห็นชอบงบกลางหรือไม่ หลังจากของบเพิ่มขึ้น นายสุริยะ ระบุว่า ต้องอธิบายว่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นของ รฟม. จากเดิมที่จะให้ รฟม. รับผิดชอบ ซึ่งขอย้ำว่า สุดท้ายแล้วก็เป็นเงินของรัฐบาลอยู่ดี. . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008789 ......... Sondhi X
    Like
    Angry
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2055 มุมมอง 0 รีวิว
  • สส.เพื่อไทย ประธานวิปรัฐบาล เคลมค่าฝุ่นดีขึ้น เพราะนโยบายขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน มีประชาชนใช้รถสาธารณะมากขึ้น ส่วนที่ สว.วิจารณ์บริหารประเทศไร้เดียงสา บอกมาเลยว่าจะให้แก้อย่างไร ไม่ใช่สร้างแต่วาทกรรมด่ากัน
    .
    วันนี้ (27 ม.ค.) ที่รัฐสภา นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ของรัฐบาล ว่า วันนี้ค่าฝุ่นดีขึ้น เนื่องจากกระทรวงคมนาคมออกนโยบายขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน มีประชาชนใช้รถสาธารณะมากขึ้น มีการประสานงานให้ชะลอการก่อสร้างบางส่วนที่เกิดมลพิษในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่วนทางต่างจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีการขอความร่วมมือลดการเผา และงดการซื้ออ้อยเผาไหม้ ตนเชื่อว่าขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้น
    .
    เมื่อถามถึงกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) มองว่ามาตรการของรัฐบาลอาจจะไม่ดีพอในการแก้ไขปัญหา เหมือนคนไทยต้องเผชิญชะตากรรมกับการบริหารประเทศอย่างไร้เดียงสา นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ไร้เดียงสา สว. ที่มีความรู้บอกมาเลยว่าจะให้แก้อย่างไร เสนอะแนะรัฐบาลได้ เป็นนักการเมืองไม่ใช่มาสร้างแต่วาทกรรมด่ากัน ตอนนี้รัฐบาลก็แก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดในประเทศไทยเท่านั้น จะให้แก้ไขอะไรก็พูดจากันดีๆ ใช้วาจาด้อยค่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นนักการเมือง
    .
    “มีอะไรก็บอกได้ไม่กล้าบอกรัฐบาลมาบอกผม ผมจะไปรับฟัง วุฒิคนไหนล่ะไปว่ารัฐบาลไร้เดียงสา แบบนี้ไม่ใช่นักการเมืองที่ดี” นายวิสุทธิ์ กล่าว
    .
    ส่วนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งรัดอยู่ ตนตามมาตลอด วันนี้อย่ามอบแต่รัฐบาลแก้ไขเพียงอย่างเดียว ประชาชนทั้งประเทศต้องมีส่วนช่วยกัน ต้องมีการตักเตือนกัน ส่วนที่มีภาพประชาชนเซลฟี่ภาพเผาอ้อยลงโซเชียลนั้น นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ก็โดนจับไปแล้ว ใครเผาก็โดนจับ เพราะฉะนั้นประชาชนควรตรวจดูใครเผาหญ้าเผาป่าช่วงนี้ต้องแจ้งไปทางอำเภอ เจ้าหน้าที่พร้อมดำเนินการอยู่แล้ว และเมื่อถามถึงปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหาแนวทางในการเจรจาเพื่อลดการเผาอยู่
    .
    ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางราง ระบุว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ซึ่งเป็นวันแรกของมาตรการขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน พบว่ามีผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,634,446 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นถึง 45.29% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยวันเสาร์ในสามสัปดาห์ของเดือน ม.ค. 2568 ขณะที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ระบุว่า มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 175,974 คน หรือเพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับวันเสาร์ที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008543
    .........
    Sondhi X
    สส.เพื่อไทย ประธานวิปรัฐบาล เคลมค่าฝุ่นดีขึ้น เพราะนโยบายขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน มีประชาชนใช้รถสาธารณะมากขึ้น ส่วนที่ สว.วิจารณ์บริหารประเทศไร้เดียงสา บอกมาเลยว่าจะให้แก้อย่างไร ไม่ใช่สร้างแต่วาทกรรมด่ากัน . วันนี้ (27 ม.ค.) ที่รัฐสภา นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ของรัฐบาล ว่า วันนี้ค่าฝุ่นดีขึ้น เนื่องจากกระทรวงคมนาคมออกนโยบายขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน มีประชาชนใช้รถสาธารณะมากขึ้น มีการประสานงานให้ชะลอการก่อสร้างบางส่วนที่เกิดมลพิษในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่วนทางต่างจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดมีการขอความร่วมมือลดการเผา และงดการซื้ออ้อยเผาไหม้ ตนเชื่อว่าขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้น . เมื่อถามถึงกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา (สว.) มองว่ามาตรการของรัฐบาลอาจจะไม่ดีพอในการแก้ไขปัญหา เหมือนคนไทยต้องเผชิญชะตากรรมกับการบริหารประเทศอย่างไร้เดียงสา นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ไร้เดียงสา สว. ที่มีความรู้บอกมาเลยว่าจะให้แก้อย่างไร เสนอะแนะรัฐบาลได้ เป็นนักการเมืองไม่ใช่มาสร้างแต่วาทกรรมด่ากัน ตอนนี้รัฐบาลก็แก้ปัญหาอย่างเต็มที่ ปัญหาดังกล่าวไม่ได้เกิดในประเทศไทยเท่านั้น จะให้แก้ไขอะไรก็พูดจากันดีๆ ใช้วาจาด้อยค่าไม่เหมาะสมที่จะเป็นนักการเมือง . “มีอะไรก็บอกได้ไม่กล้าบอกรัฐบาลมาบอกผม ผมจะไปรับฟัง วุฒิคนไหนล่ะไปว่ารัฐบาลไร้เดียงสา แบบนี้ไม่ใช่นักการเมืองที่ดี” นายวิสุทธิ์ กล่าว . ส่วนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งรัดอยู่ ตนตามมาตลอด วันนี้อย่ามอบแต่รัฐบาลแก้ไขเพียงอย่างเดียว ประชาชนทั้งประเทศต้องมีส่วนช่วยกัน ต้องมีการตักเตือนกัน ส่วนที่มีภาพประชาชนเซลฟี่ภาพเผาอ้อยลงโซเชียลนั้น นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า ก็โดนจับไปแล้ว ใครเผาก็โดนจับ เพราะฉะนั้นประชาชนควรตรวจดูใครเผาหญ้าเผาป่าช่วงนี้ต้องแจ้งไปทางอำเภอ เจ้าหน้าที่พร้อมดำเนินการอยู่แล้ว และเมื่อถามถึงปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ประสานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อหาแนวทางในการเจรจาเพื่อลดการเผาอยู่ . ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางราง ระบุว่า เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ซึ่งเป็นวันแรกของมาตรการขึ้นรถไฟฟ้าและรถเมล์ฟรี 7 วัน พบว่ามีผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 1,634,446 คน-เที่ยว เพิ่มขึ้นถึง 45.29% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยวันเสาร์ในสามสัปดาห์ของเดือน ม.ค. 2568 ขณะที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ระบุว่า มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 175,974 คน หรือเพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับวันเสาร์ที่ 18 ม.ค. ที่ผ่านมา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008543 ......... Sondhi X
    Like
    Haha
    Angry
    Love
    18
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2357 มุมมอง 0 รีวิว
  • 20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง

    ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ

    แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที

    แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก

    สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน
    หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ

    1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ
    รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด
    เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ
    การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง

    2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ
    ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน

    3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร

    รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน

    ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง

    เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน

    เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย

    1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง
    หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น

    2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย
    ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต

    ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น

    แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท

    ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น

    เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน

    1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน
    การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน

    2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน
    พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น

    3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ
    การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ

    การรับมือในอนาคต
    ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ
    เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน
    สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ

    เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น

    การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568

    #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    20 ปี รถไฟฟ้าใต้ดินชนกัน ที่ศูนย์วัฒนธรรม โทษคนเพื่อปกป้องระบบ ความสูญเสียที่กลายเป็นบทเรียนราคาแพง ย้อนไปเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือน วงการคมนาคมไทย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินสองขบวน ชนกันที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จนทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน และกลายเป็นกรณีศึกษา เรื่องความปลอดภัย ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย เช้าวันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.15 น. ในชั่วโมงเร่งด่วน รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน ขบวนลาดพร้าว-หัวลำโพง หมายเลข 1015 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คน ได้จอดรับส่งผู้โดยสา รที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยมีนายวิภูติ จันทนภริน เป็นพนักงานขับรถ ระหว่างที่ขบวนกำลังจะเคลื่อนออกจากสถานี กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่ง หมายเลข 1028 ซึ่งเป็นขบวนเปล่าสำหรับซ่อมบำรุง มีนายนิติพนธ์ นิธิโยสิยานนท์ เป็นพนักงานขับรถ ได้ไหลลงมาจากทางลาดชัน และพุ่งชนกับขบวนที่กำลังให้บริการ แรงชนทำให้หน้าขบวนรถ 1028 ยุบเข้าไปกว่า 70 เซนติเมตร อัดก๊อบปี้พนักงานขับรถ ติดคาซา ประตูฉุกเฉินของขบวน 1015 ไม่สามารถใช้งานได้ ส่งผลให้การอพยพผู้โดยสา รต้องรอกุญแจสำรองกว่า 10 นาที แรงจากการชน ส่งผลให้ผนังอุโมงค์ใต้ดินิพังถล่มลงมาทับขบวน 1015 ซึ่งสร้างแรงสั่นสะเทือนทั่วสถานี โชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ แต่ผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ถูกนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9 จำนวน 124 คน โรงพยาบาลกรุงเทพ 21 คน โรงพยาบาลราชวิถี 15 คน โรงพยาบาลตำรวจ 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดีรามคำแหง 12 คน โรงพยาบาลวิภาวดี 11 คน โรงพยาบาลพระมงกุฏ 11 คน โรงพยาบาลเปาโลสยาม 11 คน โรงพยาบาลสมิติเวช 8 คน โรงพยาบาลเมโย 4 คน โรงพยาบาลปิยะเวท 3 คน โดยมีผู้บาดเจ็บสาหัสถึง 10 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บ จากกระดูกแตก และแรงกระแทก สาเหตุที่แท้จริง เมื่อระบบและคน ทำงานผิดพลาดร่วมกัน หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น มีการสืบสวนอย่างละเอียด ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน หลักฐานจากกล่องดำของรถไฟฟ้า เผยว่า การชนครั้งนี้ เกิดจากการผสมผสาน ความผิดพลาดของมนุษย์ และปัญหาของระบบควบคุมอัตโนมัติ 1. ความผิดพลาดในการควบคุมการเดินรถ รถไฟขบวน 1028 ซึ่งจอดอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุง ถูกสั่งปลดเบรกมือ ในขณะที่รถยังอยู่บนทางลาด เจ้าหน้าที่ควบคุมการเดินรถได้สั่งการให้ "ดัน" ขบวน 1028 เพื่อกลับเข้าสู่รางที่ 3 ซึ่งเป็นรางจ่ายไฟ การสั่งการดังกล่าวเกิดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยง ที่รถอาจไหลลงมาด้วยความเร็วสูง 2. ปัญหาจากระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของกรุงเทพฯ ในขณะนั้น พึ่งพาระบบอัตโนมัติเป็นหลัก แต่กลับพบว่า เกิดการขัดข้องในระบบ ที่ทำให้การควบคุมทั้งสองขบวนรถ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ขบวนรถไฟฟ้า หลุดจากการควบคุม และไหลไปชน 3. การจัดการเบรก และการตัดสินใจที่ผิดพลาด รถไฟฟ้าขบวน 1028 ถูกสั่งปลดเบรกมือ โดยไม่ควบคุมความเร็ว ส่งผลให้รถพุ่งชนขบวน 1015 ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร รถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคล หรือสายสีน้ำเงิน เปิดใช้เร็วกว่ากำหนดถึง 4 เดือน แต่วิ่งได้เพียง 2 วัน ก็เกิดอุบัติเหตุครั้งแรกขึ้น เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่สถานีคลองเตย เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินออกจากสถานีหัวลำโพง มุ่งหน้าสถานีบางซื่อ เมื่อระบบเบรกล็อกเองอัตโนมัติ ทำให้ล้อยางเสียดสีกับยาง จนเกิดกลุ่มควันพวยพุ่ง สร้างความแตกตื่นให้กับผู้โดยสาร ต้องอพยพกันชุลมุน ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ก็เกิดเหตุการณ์​การจ่ายกระแสไฟฟ้าขัดข้อง ที่สถานีหัวลำโพงถึง 3 จุด ทำให้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปยังจุดสับเปลี่ยนรางได้ ทำให้ผู้โดยสารกว่าพันคน ต้องตกค้างที่สถานีสามย่าน และสถานีหัวลำโพง เหตุครั้งล่าสุดเมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา 17 มกราคม 2548 รถไฟฟ้าใต้ดินขบวน 1028 พุ่งชนประสานงานขบวน 1015 ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 200 คน ส่วนพนักงานขับรถขบวน 1028 บาดเจ็บสาหัส เรียกได้ว่าเปิดใช้งานมายังไม่ถึง 1 ปี ก็มาเกิดอุบัติเหตุเสียก่อน เหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแต่ส่งผล ต่อภาพลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน แต่ยังทำให้เกิดการตั้งคำถาม ถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ของระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย 1. ความเชื่อมั่นของประชาชนที่ลดลง หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้โดยสารจำนวนมาก เริ่มมีความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัย ของการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการ ลดลงในช่วงเวลานั้น 2. การปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย ตรวจสอบระบบควบคุมการเดินรถ หลังเหตุการณ์นี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เข้ามาเร่งตรวจสอบ ระบบความปลอดภัย ของรถไฟฟ้าใต้ดิน พนักงานควบคุมการเดินรถ และคนขับ รับการอบรมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดข้อผิดพลาด ในอนาคต ผลการสอบสวนชี้ว่า เป็นความผิดพลาดของพนักงานควบคุมการเดินรถ ที่อนุญาตให้ปลดเบรกขบวนรถ 1028 ได้ แต่ก็เชื่อได้ว่า ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เป็นเพราะระบบ ไม่ใช่คน เพราะระบบจะควบคุมทั้งหมด สามารถสั่งให้รถวิ่ง หรือหยุดก็ได้คนขับมีหน้าที่เดียว หรือกดเปิดปิดเครื่องเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีความพยายามเบี่ยงประเด็น ให้คนเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะหากผลการสอบสอวนระบุว่า เกิดจากระบบ บริษัทที่เกี่ยวข้อง ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทางแพ่ง จำนวนหลายพันล้านบาท ทั้งนี้ผ่านมา เคยเกิดเหตุ ขบวนรถที่กลับเข้าศูนย์ซ่อม หยุดที่บริเวณดังกล่าว 2-3 ครั้ง และก็มีการลากจูงเพื่อแก้ปัญหา โชคดีที่ไม่มีการปลดเบรก แต่ครั้งนี้พนักงานปลดเบรกมือ จึงทำให้รถไหลเข้าไปในอุโมงค์ จนชนกันขึ้น เหตุการณ์ชนกันของรถไฟใต้ดิน ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของความผิดพลาด แต่เป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัย ในการขนส่งมวลชน 1. ความสำคัญของระบบสำรองฉุกเฉิน การที่ประตูฉุกเฉิน ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ในทันที เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข อย่างเร่งด่วน เหตุการณ์นี้ จึงนำไปสู่การปรับปรุง ระบบฉุกเฉินในรถไฟฟ้าทุกขบวน 2. การฝึกอบรม และการปฏิบัติตามมาตรฐาน พนักงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีความรู้ และการฝึกอบรมอย่างละเอียด ในทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น 3. การพัฒนาระบบควบคุมอัตโนมัติ การพึ่งพาระบบอัตโนมัติอย่างเดียว ไม่เพียงพอ ต้องมีการตรวจสอบระบบ และอัปเดตเทคโนโลยี อย่างสม่ำเสมอ การรับมือในอนาคต ตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่อง มีการตรวจสอบระบบรถไฟฟ้า และศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นประจำ เพิ่มอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น การติดตั้งระบบเบรกฉุกเฉิน ที่สามารถหยุดรถไฟได้ทันที ในกรณีฉุกเฉิน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน การสื่อสารและรายงานความคืบหน้า เกี่ยวกับมาตรการความปลอดภัย จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ใช้บริการ เหตุการณ์รถไฟใต้ดินชนกัน เมื่อ 20 ปี ที่ผ่านมา ที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์ของระบบขนส่งมวลชนไทย แม้จะไม่มีผู้เสียชีวิต แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เพียงพอที่จะทำให้เราตระหนักถึง ความสำคัญของมาตรการความปลอดภัย ที่เข้มงวดมากขึ้น การพัฒนา และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ จะเป็นสิ่งที่ช่วยลดโอกาส ในการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ในอนาคต ได้อย่างแน่นอน ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 170912 ม.ค. 2568 #รถไฟใต้ดิน #เหตุการณ์สำคัญ #ความปลอดภัยในระบบขนส่ง #บทเรียนราคาแพง #ระบบควบคุมอัตโนมัติ #20ปีแห่งบทเรียน #เหตุรถไฟชนกัน #การพัฒนาระบบขนส่ง #มาตรการความปลอดภัย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1317 มุมมอง 0 รีวิว
  • ล้างตำนานสาย 8 คว้าผู้โดยสาร-รายได้สูงสุด

    หลังให้บริการรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 2 ปี ในที่สุดรถเมล์เส้นทางปฎิรูปสาย 2-38 หรือสาย 8 แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ ของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด กลายเป็นเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารและรายได้สูงสุดจากทั้งหมด 124 เส้นทาง โดยมีผู้โดยสารสูงสุด 20,500 คนต่อวัน รายได้สูงสุด 358,328 บาทต่อวัน ล้างอาถรรพ์ตำนานรถเมล์นรก ที่ขึ้นชื่อว่าซิ่งปาดซ้ายปาดขวา มารยาทแย่ อุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม

    รถเมล์สาย 8 เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดพร้าว ถึงห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จอดที่เกาะราชวิถี (เที่ยวกลับจอดที่เกาะพหลโยธิน) ไปตามถนนราชวิถี เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระรามที่ 6 เลี้ยวขวาแยกศรีอยุธยา ข้ามทางรถไฟ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก ถึงแยกยมราชตรงไปตามถนนหลานหลวง เลี้ยวซ้ายไปตามถนนจักรพรรดิพงษ์ เลี้ยวขวาที่วัดบพิตรพิมุข แล้วชิดซ้ายลอดใต้สะพาน สิ้นสุดที่ท่าน้ำสะพานพุทธ

    ให้บริการกับคนกรุงเทพฯ กว่า 90 ปี โดยมีบริษัท นายเลิศ จำกัด เป็นผู้ประกอบการรายแรก ก่อนที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้สัมปทาน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยบัสขนส่ง บริษัทกลุ่ม 39 และบริษัททรัพย์ 888 เมื่อกรมการขนส่งทางบกเข้ามากำกับดูแลและปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด จึงชนะการประมูลไป แม้ผู้ประกอบการเดิมยังแอบให้บริการเป็นรถเถื่อน แต่กรมขนส่งฯ ก็สั่งหยุดเดินรถตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2567 จึงทำให้ไทยสมายล์บัสเดินรถแต่เพียงผู้เดียว

    ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ สาย 4-25L (สาย 147L) วงกลม การเคหะธนบุรี-บางแค ผู้โดยสาร 14,000 คน รายได้ 250,421 บาท อันดับ 3 สาย 4-46 (สาย 84) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ผู้โดยสาร 13,000 คน รายได้ 240,000 บาท อันดับ 4 สาย 4-23E (สาย 140) ทางด่วน แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้โดยสาร 12,000 คน รายได้ 237,191 บาท อันดับ 5 สาย 1-18E (สาย 504) ทางด่วน รังสิต-บางรัก ผู้โดยสาร 9,000 คน รายได้ 177,159 บาท

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยสมายล์บัส เปิดเผยว่า ในปี 2568 จะเพิ่มรถโดยสารอีก 350 คัน จากทั้งหมด 1,650 คัน และติดตั้งระบบติดตามการปล่อยรถคล้ายหอบังคับการบิน ส่วนนายวรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า ในปี 2568 เตรียมรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นำร่องแอปพลิเคชันถุงเงิน วางแผนรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต VISA และ Mastercard รวมทั้ง China T-Union ของจีน

    #Newskit
    ล้างตำนานสาย 8 คว้าผู้โดยสาร-รายได้สูงสุด หลังให้บริการรถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้ามานานกว่า 2 ปี ในที่สุดรถเมล์เส้นทางปฎิรูปสาย 2-38 หรือสาย 8 แฮปปี้แลนด์-ท่าเรือสะพานพุทธ ของบริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด กลายเป็นเส้นทางที่มีจำนวนผู้โดยสารและรายได้สูงสุดจากทั้งหมด 124 เส้นทาง โดยมีผู้โดยสารสูงสุด 20,500 คนต่อวัน รายได้สูงสุด 358,328 บาทต่อวัน ล้างอาถรรพ์ตำนานรถเมล์นรก ที่ขึ้นชื่อว่าซิ่งปาดซ้ายปาดขวา มารยาทแย่ อุบัติเหตุบ่อยครั้ง แม้ผู้โดยสารจะต้องเสียค่าโดยสารเพิ่มขึ้นก็ตาม รถเมล์สาย 8 เริ่มต้นจากแฮปปี้แลนด์ เลี้ยวขวาไปตามถนนลาดพร้าว ถึงห้าแยกลาดพร้าว เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จอดที่เกาะราชวิถี (เที่ยวกลับจอดที่เกาะพหลโยธิน) ไปตามถนนราชวิถี เลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระรามที่ 6 เลี้ยวขวาแยกศรีอยุธยา ข้ามทางรถไฟ เลี้ยวซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก ถึงแยกยมราชตรงไปตามถนนหลานหลวง เลี้ยวซ้ายไปตามถนนจักรพรรดิพงษ์ เลี้ยวขวาที่วัดบพิตรพิมุข แล้วชิดซ้ายลอดใต้สะพาน สิ้นสุดที่ท่าน้ำสะพานพุทธ ให้บริการกับคนกรุงเทพฯ กว่า 90 ปี โดยมีบริษัท นายเลิศ จำกัด เป็นผู้ประกอบการรายแรก ก่อนที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้สัมปทาน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทไทยบัสขนส่ง บริษัทกลุ่ม 39 และบริษัททรัพย์ 888 เมื่อกรมการขนส่งทางบกเข้ามากำกับดูแลและปฎิรูปเส้นทางรถเมล์ บริษัท ไทยสมายล์บัส จำกัด จึงชนะการประมูลไป แม้ผู้ประกอบการเดิมยังแอบให้บริการเป็นรถเถื่อน แต่กรมขนส่งฯ ก็สั่งหยุดเดินรถตั้งแต่วันที่ 8 พ.ย. 2567 จึงทำให้ไทยสมายล์บัสเดินรถแต่เพียงผู้เดียว ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ สาย 4-25L (สาย 147L) วงกลม การเคหะธนบุรี-บางแค ผู้โดยสาร 14,000 คน รายได้ 250,421 บาท อันดับ 3 สาย 4-46 (สาย 84) วัดไร่ขิง-สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ผู้โดยสาร 13,000 คน รายได้ 240,000 บาท อันดับ 4 สาย 4-23E (สาย 140) ทางด่วน แสมดำ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผู้โดยสาร 12,000 คน รายได้ 237,191 บาท อันดับ 5 สาย 1-18E (สาย 504) ทางด่วน รังสิต-บางรัก ผู้โดยสาร 9,000 คน รายได้ 177,159 บาท น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยสมายล์บัส เปิดเผยว่า ในปี 2568 จะเพิ่มรถโดยสารอีก 350 คัน จากทั้งหมด 1,650 คัน และติดตั้งระบบติดตามการปล่อยรถคล้ายหอบังคับการบิน ส่วนนายวรวิทย์ ชาญชญานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายปฏิบัติการและกลยุทธ์ กล่าวว่า ในปี 2568 เตรียมรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ นำร่องแอปพลิเคชันถุงเงิน วางแผนรับบัตรเครดิต บัตรเดบิต VISA และ Mastercard รวมทั้ง China T-Union ของจีน #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1155 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถม่วง ขสมช.=ระบบขนส่งมวลชน ม.เชียงใหม่(เริ่มให้บริการ 4 ม.ค. 64)

    รถไฟฟ้า สายสีม่วง สาย 1 หน้ามอ.-สนง.มช.-ไปรษณีย์-สถานีกลางCentral Station T1(หอหญิง3)-Food Center-ศึกษาศาสตร์-เอส 1 -วนกลับหน้ามอ.

    รถไฟฟ้า สายสีแดง สาย 4 สถานีกลาง T1 ไป T2

    รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สาย 5 สถานีกลาง T1-หอหญิง4-หอหญิง6-สาธิต-ศึกษาศาสตร์-เอส 1-บัณฑิตวิทยาลัย-วิศวะ-ถาปัด-Food Center-สถานีกลาง T1

    รถไฟฟ้า สายสีชมพู สาย6 สถานีกลาง T1-ฝายหิน-สื่อสารมวลชน-นิติศาสตร์-แฟลตฝายหิน-บ้านร่มสัก-Food Center-สถานีกลาง T1

    รถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล สาย9 สถานีกลาง T1-CMU Food Center-วิศวะ-ลงสถานี21(ศึกษาศาสตร์) วนกลับ -บริหารธุรกิจ-ขสมชT2ประตูชลประทาน-สถานี18หอ40ปี-หอชมพู-สถานีกลางT1

    รถม่วง ขสมช.=ระบบขนส่งมวลชน ม.เชียงใหม่(เริ่มให้บริการ 4 ม.ค. 64) รถไฟฟ้า สายสีม่วง สาย 1 หน้ามอ.-สนง.มช.-ไปรษณีย์-สถานีกลางCentral Station T1(หอหญิง3)-Food Center-ศึกษาศาสตร์-เอส 1 -วนกลับหน้ามอ. รถไฟฟ้า สายสีแดง สาย 4 สถานีกลาง T1 ไป T2 รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สาย 5 สถานีกลาง T1-หอหญิง4-หอหญิง6-สาธิต-ศึกษาศาสตร์-เอส 1-บัณฑิตวิทยาลัย-วิศวะ-ถาปัด-Food Center-สถานีกลาง T1 รถไฟฟ้า สายสีชมพู สาย6 สถานีกลาง T1-ฝายหิน-สื่อสารมวลชน-นิติศาสตร์-แฟลตฝายหิน-บ้านร่มสัก-Food Center-สถานีกลาง T1 รถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล สาย9 สถานีกลาง T1-CMU Food Center-วิศวะ-ลงสถานี21(ศึกษาศาสตร์) วนกลับ -บริหารธุรกิจ-ขสมชT2ประตูชลประทาน-สถานี18หอ40ปี-หอชมพู-สถานีกลางT1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 474 มุมมอง 0 รีวิว
  • คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป

    การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน

    นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน

    ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline

    โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี

    อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    คมนาคมทุบโต๊ะ รถเมล์ร้อนหมดไป การหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเดินรถโดยสารประจำทางสายที่ 2-38 (สาย 8 เดิม) ที่มีนายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รมช.คมนาคม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2567 มีประเด็นที่น่าสนใจก็คือ นโยบายลดจำนวนรถธรรมดา หรือรถร้อน เปลี่ยนเป็นรถปรับอากาศ หรือรถแอร์ทั้งหมด ภายในปี 2568 คาดหวังว่ารถร้อนจะหายไปจากถนน นายสุรพงษ์กล่าวว่า ต้นทุนของรถร้อนและรถแอร์ไม่ต่างกัน แต่การจัดเก็บค่าโดยสารค่อนข้างสูงเกินไป จึงมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกไปศึกษาโครงสร้างอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสมใหม่ โดยเบื้องต้นพบว่า ต้นทุนเฉลี่ยรถแอร์ของเอกชนอยู่ที่ประมาณ 18 บาทต่อคน นอกจากนี้ ยังต้องการให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถใช้บริการรถเมล์ของเอกชนได้ เช่นเดียวกับรถเมล์ ขสมก. จึงได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง และเอกชนผู้เดินรถ เชื่อมต่อเข้ากับระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยืนยันว่าไม่มีใครอยากนั่งรถร้อนแต่อยู่ที่ราคา ประชาชนอยากนั่งรถที่ดีและราคาถูกเท่านั้นเอง ซึ่งรัฐต้องดูแลกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มที่ โดยตัวแทนจากบริษัท ไทย สมายล์ บัส จำกัด ผู้ประกอบการเดินรถ 124 เส้นทาง รับปากว่าไม่เกินต้นปี 2568 จะปรับระบบสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในกรุงเทพฯ ที่มีอยู่ในระบบประมาณ 6-7 แสนคน ด้านนายกิตติกานต์ จอมดวง จารุวรพลกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ได้รับงบผูกพัน 7 ปี (2568-2575) ในโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศ EV จำนวน 1,520 คัน ด้วยวิธีการเช่า ประมูลแบบ e-bidding วงเงิน 15,355 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณา ตามแผนงานหากเสนอ ครม.ได้ภายในปีนี้ กระบวนการประมูลแล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเริ่มรับมอบได้ภายในเดือน ก.ค. ถึง ส.ค. 2568 ส่วนระยะที่ 2 จำนวน 1,520 คัน จะเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอกชน (PPP) อยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังบรรจุลงใน Project Pipeline โดยหลักการเบื้องต้น ขสมก.จะให้เอกชนผู้จัดหารถโดยสาร ขสมก.ดำเนินการเรื่องคนขับและบริหารจัดการเอง พร้อมร่วมลงทุนโดยนำพื้นที่อู่จอดรถเมล์บางเขน มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อลดภาระงบประมาณของรัฐ ซึ่งหาก ขสมก. มีรถ EV ใหม่เข้ามาทั้งหมด 3,040 คัน จะช่วยลดภาระค่าเหมาซ่อมจากปีละ 1,700 ล้านบาทเหลือ 1,000 ล้านบาท ลดค่าพลังงานจากปีละ 2,000 ล้านบาทเหลือ 700 ล้านบาท รวมแล้วลดค่าใช้จ่ายได้ 2,500 ล้านบาทต่อปี อนึ่ง รายงานประจำปี 2566 ระบุว่า ปัจจุบัน ขสมก.มีรถโดยสารรวม 2,885 คัน แยกเป็นรถธรรมดา 1,520 คัน และรถปรับอากาศ 1,365 คัน #Newskit #ขสมก #รถเมล์แอร์
    Like
    Love
    Angry
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1397 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม.ย้ำ 15 พฤศจิกายนนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เริ่มปิดเบี่ยงจราจร 1 ช่องทาง ส่วนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ประชาชนยังสัญจรได้ตามปกติ

    ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการนำเสนอข่าวโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จะเริ่มดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 นั้น

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบัน บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ในฐานะผู้รับจ้างของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ร่วมลงทุน) หรือ BEM มีกำหนดจะเริ่มปิดเบี่ยงจราจรในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง 5 สถานีแรก ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ยกเว้นสถานีศิริราช จะเป็นการจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อช่องจราจร สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/business/detail/9670000109231

    #MGROnline #โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
    รฟม.ย้ำ 15 พฤศจิกายนนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เริ่มปิดเบี่ยงจราจร 1 ช่องทาง ส่วนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ประชาชนยังสัญจรได้ตามปกติ • ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการนำเสนอข่าวโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จะเริ่มดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 นั้น • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบัน บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ในฐานะผู้รับจ้างของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ร่วมลงทุน) หรือ BEM มีกำหนดจะเริ่มปิดเบี่ยงจราจรในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง 5 สถานีแรก ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ยกเว้นสถานีศิริราช จะเป็นการจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อช่องจราจร สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9670000109231 • #MGROnline #โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 896 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ

    วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ

    นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน

    รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566

    อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง

    สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น.

    #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    ขสมก.เดินรถหมวด 3 เดอะแบกกรมขนส่งฯ วันที่ 1 พ.ย. 2567 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) รับหน้าที่เดินรถโดยสาร หมวด 3 สาย 356 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ เป็นการชั่วคราว แทนบริษัท สหายยนต์ จำกัด ผู้ประกอบการรายเดิมที่ยุติการเดินรถ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา อาจรู้สึกแปลกใจสำหรับกลุ่มบัสแฟน เพราะเป็นการเดินรถข้ามหมวด ไม่ตรงตามภารกิจขององค์กรฯ ที่เดินรถในเส้นทางหมวด 1 และหมวด 4 ในกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกขอความร่วมมือก็ต้องทำ นับตั้งแต่การปฎิรูปรถเมล์สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เป็น รมว.คมนาคม คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 ให้ขนส่งฯ มีอำนาจควบคุมรถเมล์ในกรุงเทพฯ แทน ขสมก. และลดสถานะ ขสมก.เหลือเพียงแค่ผู้ประกอบการรายหนึ่ง โดยที่ผ่านมา ขสมก. กลายเป็นเดอะแบก รับคำสั่งจากขนส่งฯ เวลาที่ผู้ประกอบการเอกชนเดินรถแล้วเจ๊ง เพราะขนส่งฯ ไม่เคยเหลียวแลผู้ประกอบการยามเดือดร้อน รถเมล์สายที่ ขสมก.ช่วยเดินรถชั่วคราว อาทิ สาย R26E (สาย 3-26E) สถาบันจักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2565 กระทั่งขนส่งฯ ได้จัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ คือ ไทยสมายล์บัส ให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2567 ทำให้ ขสมก.เดินรถวันที่ 29 ต.ค.เป็นวันสุดท้าย ต่อด้วยสาย Y70E (สาย 4-70E) ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2566 และสาย 3-21 หรือสาย 207 เดิม มหาวิทยาลัยรามคำแหง 1-รามคำแหง 2 เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566 อย่างไรก็ตาม ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีรถเมล์เส้นทางหมวด 3 ตัวอย่างเช่น สาย 356 ปากน้ำ-บางปะกง และสำโรง-บางพลี เดินรถโดย บริษัท สันติมิตรขนส่ง จำกัด, สาย 381 ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต-มศว องครักษ์ เดินรถโดย บริษัท ธัญบุรีขนส่ง จำกัด, สาย 388 ปากเกร็ด-ศาลายา เดินรถโดย บริษัท นิธิทัศน์ทัวร์ (2004) จำกัด ปัจจุบันหยุดการเดินรถแล้ว และสาย 402 สมุทรสาคร-กระทุ่มแบน-นครปฐม เดินรถโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจดีย์ทองขนส่ง สำหรับการเดินรถสาย 356 แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)-บางบัวทอง-บางใหญ่ ผ่านฟิวเจอร์พาร์ครังสิต สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสแยก คปอ. สะพานใหม่ ถนนแจ้งวัฒนะ ราชภัฎพระนคร ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ เมเจอร์ปากเกร็ด สถานีรถไฟฟ้า MRT คลองบางไผ่ สิ้นสุดที่ห้างเซ็นทรัลเวสต์เกต ช่วงที่ 2 วงกลม (ปากเกร็ด-ดอนเมือง) จากท่าน้ำปากเกร็ด ใช้ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนพหลโยธิน ถนนวิภาวดีรังสิต สนามบินดอนเมือง กลับเส้นทางเดิม ให้บริการตั้งแต่เวลา 05.30-22.00 น. #Newskit #ขสมก #รถเมล์ไทย
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1941 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน

    ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย

    ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT

    ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด

    ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น

    #Newskit #EMVContactless #MRTA
    รฟม. x กรุงไทย จะมีบัตร EMV ของตัวเอง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ครบรอบ 1 ปี พบว่าผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 17.70% อยู่ที่ 66,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน สถานีที่ผู้โดยสารใช้บริการเฉลี่ยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เตาปูน ตลาดบางใหญ่ ศูนย์ราชการนนทบุรี บางซ่อน คลองบางไผ่ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้กับรถไฟฟ้าสายอื่น เช่น รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มขึ้น 11.92% อยู่ที่ 420,000 คนต่อเที่ยวต่อวัน ล่าสุด รฟม. ได้ร่วมมือกับ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พัฒนาบัตรโดยสารชนิด EMV Contactless รองรับการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบครอบคลุมรถไฟฟ้าในความรับผิดชอบของ รฟม. ได้ทุกเส้นทาง สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ อีกทั้งยังใช้โดยสารระบบขนส่งอื่นที่รองรับบัตร EMV Contactless เช่น รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และรถโดยสารประจำทาง ขสมก. เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ใช้บริการร่วมด้วย ก่อนหน้านี้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง ได้จำหน่ายบัตรโดยสาร MRT EMV Card ครบทุกประเภท เพื่อทดแทนบัตรรุ่นเก่า มาตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2567 ซี่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ทีทูพี จำกัด ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ Deep Pocket มีค่าธรรมเนียมออกบัตร 250 บาท วงเงินในบัตร 100 บาท สามารถเติมเงิน ตรวจสอบมูลค่าคงเหลือ และข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ผ่านแอปพลิเคชัน Bangkok MRT ขณะที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกบัตรเดบิต Krungthai Tranxit สำหรับแตะจ่ายการเดินทางพ่วงประกันอุบัติเหตุ ความคุ้มครอง 30,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ 1,000 บาทต่อครั้ง และบัตรพรีเพด PaotangPay Play Card ผูกกับเงินอิเล็กทรอนิกส์เป๋าตังเปย์ บนแอปฯ เป๋าตัง เมื่อปี 2565 โดยมีภารกิจรับรางวัล สำหรับใช้จ่ายในหมวดการเดินทางสะสมตามที่กำหนด ต้องดูว่าบัตรโดยสาร MRT ของ รฟม. ที่ผูกกับแอปฯ เป๋าตัง ซึ่งเป็น Thailand Open Digital Platform ที่มีผู้ใช้งานกว่า 40 ล้านราย หน้าตาจะเป็นอย่างไร แม้ว่าการออกบัตรโดยสารรถไฟฟ้ามีลักษณะต่างคนต่างทำ โดยที่ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม คณะกรรมการกฤษฎีกากำลังพิจารณาก็ตาม ขณะที่ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะบางรายยังคงใช้ระบบของตัวเองเป็นหลัก เช่น Rabbit ของกลุ่มบีทีเอส, บัตรแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Hop Card ของกลุ่มไทยสมายล์บัส เป็นต้น #Newskit #EMVContactless #MRTA
    Like
    Wow
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1650 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts