• "ร้อยนึง" ครั้งหนึ่งในเขมร

    กรณีเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ปอยเปต จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา เรียกเก็บเงินครั้งละ 100-200 บาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวไทยเกิดขึ้นมานานแล้ว แม้จะมีการเคลื่อนไหวถึงขั้นนัดรวมตัวประท้วงที่หน้าสถานกงสุลกัมพูชา จ.สระแก้ว เพื่อเรียกร้องให้ทางการกัมพูชาแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทั่งกงสุลใหญ่กัมพูชาประจำจังหวัดสระแก้ว รับทราบปัญหาและรีบดำเนินการแก้ไข แต่ปัญหาก็ไม่หมดไป ใน TikTok มีคลิปที่คนไทยไปเที่ยวปอยเปตถูกเรียกเก็บเงิน แม้จะมีข้อความ "ไม่มีการชำระเงินที่นี่" ก็ตาม

    ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีโอกาสไปเยือนปอยเปต ตั้งใจจะไปเที่ยวชมบรรยากาศที่นั่น พบเจอมากับตัว!

    จากด่านพรมแดนบ้านคลองลึก จ.สระแก้ว หนังสือเดินทางประเทศไทย ชั้นล่าง ประทับตราขาออกตามปกติ เมื่อข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา ประตู ARRIVAL ด้านขวามือขึ้นไปชั้น 2 ที่นี่ห้ามถ่ายรูปและห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ นักท่องเที่ยวจะต้องเขียนใบขาเข้าแบบกระดาษ หากเขียนไม่เป็นก็ให้เจ้าหน้าที่เขียนให้ เสียเงิน 20 บาท หลังจากนั้นจึงเข้าคิวรอเจ้าหน้าที่ ตม.ประทับตราขาเข้าลงบนหนังสือเดินทาง สังเกตว่ามีช่องให้บริการ 6 ช่อง แต่เปิดเพียง 2 ช่อง คิวยาวเหยียด เมื่อมีกรุ๊ปทัวร์ตามมาจึงเปิดเพิ่มอีก 1 ช่อง ระหว่างนั้นนักท่องเที่ยวคนหน้ายังบ่นเรื่องเสียเงิน 100 บาท

    เมื่อถึงคิว เจ้าหน้าที่ ตม. สแกนหนังสือเดินทางตามขั้นตอน คำถามแรกคือ "อยู่ที่ไหน" ตอบไปว่าอยู่ปอยเปต คำถามต่อมาคือ "มาทำอะไร" ตอบไปว่ามาเที่ยว มาเดินเล่น ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยคำว่า "ร้อยนึง" ถึงตอนนั้นรู้สึกอึ้ง แต่สมองสั่งให้ควักกระเป๋าสตางค์หยิบธนบัตรใบละ 100 บาท วางไว้ที่เคาน์เตอร์ เจ้าหน้าที่ ตม.วางหนังสือเดินทางที่ประทับตราแล้วคืน แล้วหยิบแบงก์ร้อยออกไป เราเดินลงไปด้านล่างพร้อมคำถามในหัวว่าต้องจ่ายด้วยหรือ ทั้งที่หน้าเคาน์เตอร์มีข้อความ "ไม่มีการชำระเงินที่นี่" ก็ตาม ส่วนเที่ยวกลับ เจ้าหน้าที่ ตม.ไม่เรียกเก็บ อาจเป็นเพราะสีหน้าที่วิตกกังวลและอยากกลับบ้าน

    ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวชาวไทยที่ผ่านด่านปอยเปต เพื่อไปเที่ยวฝั่งกัมพูชา จะต้องเสียค่าใช้จ่ายกับกระบวนการ ตม. สูงถึง 100-420 บาท ทั้งที่หากเป็นประเทศอื่น เช่น สปป.ลาว จ่ายค่าเหยียบแผ่นดินขาละ 20 บาท ส่วนมาเลเซียและเมียนมาไม่มีการเรียกเก็บ แต่เงินที่เจ้าหน้าที่ ตม.กัมพูชาเรียกเก็บไม่ชัดเจนว่าเป็นค่าอะไร นอกจากคิดไปเองว่าเป็นค่าอำนวยความสะดวก ทั้งหมดเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ที่ถูกเรียกเก็บเงินครั้งหนึ่งในชีวิต ส่วนจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เป็นเรื่องของทางการกัมพูชา

    #Newskit
    "ร้อยนึง" ครั้งหนึ่งในเขมร กรณีเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ปอยเปต จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา เรียกเก็บเงินครั้งละ 100-200 บาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวไทยเกิดขึ้นมานานแล้ว แม้จะมีการเคลื่อนไหวถึงขั้นนัดรวมตัวประท้วงที่หน้าสถานกงสุลกัมพูชา จ.สระแก้ว เพื่อเรียกร้องให้ทางการกัมพูชาแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทั่งกงสุลใหญ่กัมพูชาประจำจังหวัดสระแก้ว รับทราบปัญหาและรีบดำเนินการแก้ไข แต่ปัญหาก็ไม่หมดไป ใน TikTok มีคลิปที่คนไทยไปเที่ยวปอยเปตถูกเรียกเก็บเงิน แม้จะมีข้อความ "ไม่มีการชำระเงินที่นี่" ก็ตาม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีโอกาสไปเยือนปอยเปต ตั้งใจจะไปเที่ยวชมบรรยากาศที่นั่น พบเจอมากับตัว! จากด่านพรมแดนบ้านคลองลึก จ.สระแก้ว หนังสือเดินทางประเทศไทย ชั้นล่าง ประทับตราขาออกตามปกติ เมื่อข้ามไปฝั่งประเทศกัมพูชา ประตู ARRIVAL ด้านขวามือขึ้นไปชั้น 2 ที่นี่ห้ามถ่ายรูปและห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ นักท่องเที่ยวจะต้องเขียนใบขาเข้าแบบกระดาษ หากเขียนไม่เป็นก็ให้เจ้าหน้าที่เขียนให้ เสียเงิน 20 บาท หลังจากนั้นจึงเข้าคิวรอเจ้าหน้าที่ ตม.ประทับตราขาเข้าลงบนหนังสือเดินทาง สังเกตว่ามีช่องให้บริการ 6 ช่อง แต่เปิดเพียง 2 ช่อง คิวยาวเหยียด เมื่อมีกรุ๊ปทัวร์ตามมาจึงเปิดเพิ่มอีก 1 ช่อง ระหว่างนั้นนักท่องเที่ยวคนหน้ายังบ่นเรื่องเสียเงิน 100 บาท เมื่อถึงคิว เจ้าหน้าที่ ตม. สแกนหนังสือเดินทางตามขั้นตอน คำถามแรกคือ "อยู่ที่ไหน" ตอบไปว่าอยู่ปอยเปต คำถามต่อมาคือ "มาทำอะไร" ตอบไปว่ามาเที่ยว มาเดินเล่น ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยคำว่า "ร้อยนึง" ถึงตอนนั้นรู้สึกอึ้ง แต่สมองสั่งให้ควักกระเป๋าสตางค์หยิบธนบัตรใบละ 100 บาท วางไว้ที่เคาน์เตอร์ เจ้าหน้าที่ ตม.วางหนังสือเดินทางที่ประทับตราแล้วคืน แล้วหยิบแบงก์ร้อยออกไป เราเดินลงไปด้านล่างพร้อมคำถามในหัวว่าต้องจ่ายด้วยหรือ ทั้งที่หน้าเคาน์เตอร์มีข้อความ "ไม่มีการชำระเงินที่นี่" ก็ตาม ส่วนเที่ยวกลับ เจ้าหน้าที่ ตม.ไม่เรียกเก็บ อาจเป็นเพราะสีหน้าที่วิตกกังวลและอยากกลับบ้าน ที่ผ่านมานักท่องเที่ยวชาวไทยที่ผ่านด่านปอยเปต เพื่อไปเที่ยวฝั่งกัมพูชา จะต้องเสียค่าใช้จ่ายกับกระบวนการ ตม. สูงถึง 100-420 บาท ทั้งที่หากเป็นประเทศอื่น เช่น สปป.ลาว จ่ายค่าเหยียบแผ่นดินขาละ 20 บาท ส่วนมาเลเซียและเมียนมาไม่มีการเรียกเก็บ แต่เงินที่เจ้าหน้าที่ ตม.กัมพูชาเรียกเก็บไม่ชัดเจนว่าเป็นค่าอะไร นอกจากคิดไปเองว่าเป็นค่าอำนวยความสะดวก ทั้งหมดเป็นการบอกเล่าประสบการณ์ที่ถูกเรียกเก็บเงินครั้งหนึ่งในชีวิต ส่วนจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เป็นเรื่องของทางการกัมพูชา #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 137 มุมมอง 0 รีวิว
  • มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลุยเดินสายซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ - เยียวยาผู้ประสบภัยอัคคีภัย ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และ มอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวต่อเนื่อง
    .
    วันนี้ (วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ.2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นายรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย นำทีม แผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ซอยโรงธูป อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รวมจำนวน 49 คน โดยมอบเงินสดคนละ 3,500 บาท พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค รวมจำนวน 17 ชุด รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยทั้งสิ้น 214,000 บาท โดยมี นายนรสิงห์ อรุณบรรเจิดกุล ปลัดเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองบ้านโป่ง พร้อมด้วย คณะมูลนิธิรวมใจการกุศลราชบุรี และ คณะอาสาสมัครเฉพาะกิจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมในพิธี ณ เทศบาลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หลังจากนั้น นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยัง สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว จำนวน 7 รายๆ ละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 140,000 บาท
    .
    รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยทั้งสองเหตุเป็นเงินทั้งสิ้น 354,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอแสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง และขอส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทุกท่านมา ณ ที่นี้
    .
    เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ดำเนินการเชิงรุกอย่างบูรณาการร่วมกันทั้งด้านงานบรรเทาสาธารณภัย และงานสังคมสงเคราะห์ ดังเช่น เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ได้จัดส่งทีมสาธารณภัย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการมอบสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลที่ทำการอพยพและเปิดรับบริจาคสิ่งของ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บ ทั้งชาวไทยและเมียนมา รวมมูลค่าการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและมอบเงินค่าฌาปนกิจศพแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวจนถึงปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท โดยปัจจุบันมูลนิธิฯ ยังคงติดตามและเข้ามอบเงินช่วยเหลือแก่ญาติผู้ประสบเหตุดังกล่าวต่อไป
    .
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภค สมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ ขอบุญบารมีหลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญตลอดไป ท่านสามารถติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung
    .
    กว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ลุยเดินสายซับน้ำตา บรรเทาทุกข์ - เยียวยาผู้ประสบภัยอัคคีภัย ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี และ มอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวต่อเนื่อง . วันนี้ (วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ.2568) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง นำโดย นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการ พร้อมด้วย นายรัชพร ประสงค์ทรัพย์ หัวหน้าแผนกสาธารณภัย นำทีม แผนกสาธารณภัย ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยในพื้นที่ซอยโรงธูป อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี รวมจำนวน 49 คน โดยมอบเงินสดคนละ 3,500 บาท พร้อมมอบเครื่องอุปโภคบริโภค รวมจำนวน 17 ชุด รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยทั้งสิ้น 214,000 บาท โดยมี นายนรสิงห์ อรุณบรรเจิดกุล ปลัดเทศบาลเมืองบ้านโป่ง ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองบ้านโป่ง พร้อมด้วย คณะมูลนิธิรวมใจการกุศลราชบุรี และ คณะอาสาสมัครเฉพาะกิจ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ร่วมในพิธี ณ เทศบาลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี หลังจากนั้น นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยัง สถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือค่าฌาปนกิจแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหว จำนวน 7 รายๆ ละ 20,000 บาท รวมเป็นเงิน 140,000 บาท . รวมงบประมาณการช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยทั้งสองเหตุเป็นเงินทั้งสิ้น 354,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน) มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอแสดงความเสียใจและอาลัยอย่างสุดซึ้ง และขอส่งกำลังใจไปยังครอบครัวผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวทุกท่านมา ณ ที่นี้ . เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ดำเนินการเชิงรุกอย่างบูรณาการร่วมกันทั้งด้านงานบรรเทาสาธารณภัย และงานสังคมสงเคราะห์ ดังเช่น เหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ได้จัดส่งทีมสาธารณภัย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการมอบสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นให้แก่โรงพยาบาลที่ทำการอพยพและเปิดรับบริจาคสิ่งของ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเยียวยาครอบครัวผู้สูญเสียและผู้บาดเจ็บ ทั้งชาวไทยและเมียนมา รวมมูลค่าการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและมอบเงินค่าฌาปนกิจศพแก่ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวจนถึงปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท โดยปัจจุบันมูลนิธิฯ ยังคงติดตามและเข้ามอบเงินช่วยเหลือแก่ญาติผู้ประสบเหตุดังกล่าวต่อไป . มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขอขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาที่ร่วมบริจาคทรัพย์ เครื่องอุปโภคบริโภค สมทบทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยต่าง ๆ ขอบุญบารมีหลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) ส่งผลให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญตลอดไป ท่านสามารถติดตามข่าวสาร และกิจกรรมงานสาธารณกุศลมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ที่ เว็บไซต์ www.pohtecktung.org และ เฟซบุ๊ก แฟนเพจ www.facebook.com/atpohtecktung . กว่า 115 ปี ที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ได้ขยายขอบข่ายโครงการต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่เพียงแต่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากโดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาคุณภาพชีวิตอีกในหลายทาง เพื่อเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ช่วยเหลือประชาชนครบวงจรในทุกๆ ด้าน ต่อไป ดังปณิธาน “มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ช่วยชีวิต รักษาชีวิต สร้างชีวิต”
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 184 มุมมอง 0 รีวิว
  • 'นพดล' อวยฉ่ำ 'ทักษิณ' คุย 'อันวาร์' เป็นยุคที่การต่างประเทศไทยกลับมาโดดเด่น สร้างสันติภาพในเมียนมาเป็นรูปธรรม เฉียบคมและมีเป้าหมาย
    https://www.thai-tai.tv/news/18236/
    'นพดล' อวยฉ่ำ 'ทักษิณ' คุย 'อันวาร์' เป็นยุคที่การต่างประเทศไทยกลับมาโดดเด่น สร้างสันติภาพในเมียนมาเป็นรูปธรรม เฉียบคมและมีเป้าหมาย https://www.thai-tai.tv/news/18236/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 79 มุมมอง 0 รีวิว
  • “อันวาร์” โพสต์ภาพคุย “ทักษิณ” พร้อมคณะที่ปรึกษา แลกเปลี่ยน การสร้างสันติภาพในเมียนมา
    https://www.thai-tai.tv/news/18217/
    “อันวาร์” โพสต์ภาพคุย “ทักษิณ” พร้อมคณะที่ปรึกษา แลกเปลี่ยน การสร้างสันติภาพในเมียนมา https://www.thai-tai.tv/news/18217/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 81 มุมมอง 0 รีวิว

  • Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4)
    *****************
    เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ
    เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน
    กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ
    ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย
    มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น
    พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น
    *****************
    USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ
    สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู
    ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้
    1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563
    2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566
    3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563
    4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571
    5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold

    *****************
    รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน
    การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ
    ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง
    การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น
    *****************
    EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม
    ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA
    *****************
    ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน
    พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน
    สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย
    เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้
    *****************
    อ้างอิง :
    • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia
    • World Gold Council https://www.gold.org/
    • EarthRights International
    Airstrikes สงคราม ทองคำ และคนลุ่มน้ำโขง (ตอนที่ 4) ***************** เสียงเครื่องบินกระหึ่มสัญชาติรัสเซีย และจีน ทั้งรุ่น MiG-29 -Yak-130 - K-8, F-7 และเฮลิคอปเตอร์โจมตี Mi-35 Mi-17 เทคออฟขึ้นน่านฟ้าเมียนมา สร้างความหวาดวิตกกับพลเรือนในพื้นที่เสี่ยง ความถี่มิได้เป็นปกป้องอธิปไตยเหนือน่านฟ้า บางครั้งก็ถลำรุกน่านฟ้าของไทย และถูกต้อนกลับ เสียงอากาศยานของเมียนมาทำให้ประชาชน พลเรือนระส่ำระสาย บาดเจ็บล้มตายกัน ในพื้นที่พลเรือนและกลุ่มต่อต้าน ปี 2023-24 กระทรวงกลาโหมใช้งบประมาณเพื่อภารกิจ Aistrike กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ อาวุธ ส่วนใหญ่มาจากรัสเซียและจีน กองทัพเผด็จการเมียนมาได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศประมาณ 30 ครั้งในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยงนี และรัฐกะฉิ่นในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา โดยทิ้งระเบิดเกือบ 100 ลูก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20 ราย ตามข้อมูลที่ Shan Herald Agency for News (SHAN) ได้รับ ระหว่างปลายปีที่ผ่าน ถึงวันที่ 30 มกราคม 2025 การโจมตีทางอากาศเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือนเป็นหลัก สร้างความเสียหายและการสูญเสียอย่างหนัก โดยเฉพาะเขตเมืองนองคิโอ รัฐฉาน ซึ่งระเบิดตกใส่ร้านน้ำชา ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 8 ราย มีการประเมินว่านับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อเกือบสี่ปีที่แล้ว โดยบันทึกการโจมตีทางอากาศทั้งหมด 1,767 ครั้ง ซึ่งน่าตกใจว่าร้อยละ 47 ของการโจมตีเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่พื้นที่พลเรือน ทำให้วิกฤตด้านมนุษยธรรมในพื้นที่ขัดแย้งรุนแรงขึ้น พื้นที่ ที่เป็นเป้าหมายคือพื้นที่ที่มีผลประโยชน์เหมืองแร่ และแร่ธาตุสูง โดยเฉพาะใน รัฐฉาน (Shan State), รัฐกะเหรี่ยงนี-คะยา (Karenni/Kayah State), รัฐกะฉิ่น (Kachin State), รัฐระแหง (Rakhine State) และพื้นที่อื่นๆ เช่น ภูมิภาคสกาย (Sagaing Region) เป็นต้น ***************** USGS (United States Geological Survey) ได้ ประมาณการไว้ว่า ยังคงเหลือทองคำอยู่ใต้ดินที่ยังไม่ได้ผลิตออกมาอีกประมาณ 50,000 ตัน คาดกันว่าปริมาณทองคำที่ขุดขึ้นมา และมีการใช้ประโยชน์กันแล้วกว่า 190,000 ตัน และโดยเฉลี่ยในปัจจุบันมีการผลิตออกจากเหมืองประมาณปีละ 2,500 ถึง 3,000 ตัน มีการทำเหมืองทองคำทั่วโลกอยู่ใน 82 ประเทศ สแกนใต้ดินแอฟริกาใต้ มีทรัพยากรแร่ทองคำมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ที่สุดของโลก จนถึงปัจจุบันราว 31,000 ตัน รองลงมา คือ รัสเซีย ประมาณ 7,000 ตัน และ จีนเป็นอันดับ 3 ที่ผลิตประมาณ 6,328 ตัน ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย แคนาดา และ เปรู ทว่าในปี 2564 จีนขึ้นแป้นครองแชมป์ประเทศที่ผลิตทองคำจากเหมืองทองคำในประเทศมากที่สุด คิดเป็น 11% ของการผลิต ทั่วโลก ซึ่งจากฐานข้อมูล Global Data’s mines and projects ที่ได้ติดตามการพัฒนาและปฏิบัติการของเหมืองแร่ และโครงการทั่วโลก โดยเก็บข้อมูลจากบริษัทยักษ์ใหญ่กว่า 4,000 บริษัท ได้สรุป 5 อันดับ เหมืองทองคำในจีนที่ผลิตทองคำได้มากที่สุดในปี 2563 ดังนี้ 1.Shaxi Copper Mine เป็นเหมืองใต้ดินในมณฑลอานฮุย (Anhui) ของกลุ่มบริษัท Togling Nonferrous Metal Group ซึ่งผลิตทองคำได้ประมาณ 730,000 ounces of gold ในปี 2563 2.Jiaojia Gold Mine ของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง (Shandong) ผลิตทองคำได้ประมาณ 230,000 ounces of gold ในปี 2563 และกำลังจะปิดตัวลงในปี 2566 3.Dayingezhuang Gold Mine เป็นเหมืองทองคำในมณฑลซานตงเช่นกัน อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท Zhaojin Mining Industry และผลิตทองคำประมาณ 228,000 ounces of gold ในปี 2563 4.Sanshandao Gold Mine เป็นเหมืองใต้ดินของกลุ่มบริษัท Shandong Gold Group ในมณฑลซานตง ผลิตทองคำได้ ประมาณ 218,000 ounces of gold ในปี 2563 และจะผลิตตามแผนงานไปจนถึงปี 2571 5.Zaozigou Gold Mine เป็นเหมืองทองคำของบริษัท Zhaojin Mining Industy ในมณฑลกานซู (Gansu) ผลิตทองคำได้ ประมาณ 207,000 ounces of gold ***************** รายงานจาก มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ และ สหภาพนักศึกษาไทใหญ่ เกี่ยวกับเหมืองแร่ทองคำขยายวงกว้างทำให้เกิดดินโคลนถล่มท่วมชุมชนทางตะวันออกท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ระบุว่าบริษัทเหมืองแร่ได้เข้ามาในพื้นที่เมื่อปี 2550 ที่บริเวณต้นน้ำแม่น้ำคำ ตอนใต้ของบ้านนาโฮหลงในตำบลเมืองเลน ในปัจจุบันเหมืองทองคำแบบเปิดได้ขยายตัวไปกว่า 10 กิโลเมตรตลอดทั่วเทือกเขาดอยค้า ตามริมฝั่งน้ำด้านตะวันตกของแม่น้ำโขง การปล่อยน้ำจาจากการทำเหมืองแร่ทองแร่ทองคำที่ขาดการควบคุม รวมทั้งน้ำที่ไหลมาจากากอำบน้ำที่เจือด้วยสารไชยาไนด์ทำให้ลำน้ำน้ำอุดตัน และมักทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่ริมฝั่งน้ำในช่วงฤดูฝน การขยายตัวของเหมืองทองคำในเมืองเลน ยังทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้นทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม และในปัจจุบัน มีบริษัท 12 แห่งที่เชื่อมโยงกับนายทหารพม่าระดับสูงได้รับประทานบัตรอายุ 11 ปี เพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำ ในบรรดาประทานบัตร มีการให้ประทานบัตร 13 ฉบับแก่ (8 บริษัท) เมื่อกลางปี 2563 และอีก 7 ฉบับให้แก่ (5 บริษัท) ในปี 2564 ภายหลังการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ประทานบัตรแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ 50 ไร่บริษัทส่วนใหญ่ที่ได้รับประทานบัตรจด ทะเบียนในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ยกเว้นเพียงเมย์ฟลาวเวอร์ไมนิ่ง เอนเตอร์ไพรส์(Maylower Mining Enterprises) ที่จัดตั้งขึ้นโดยนายจ่อวิน ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกองทัพพม่า และตั้งอยู่ที่เมืองย่างกุ้ง การขุดทองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในรัฐกะฉิ่น ประเทศเมียนมา ซึ่งเกิดขึ้นโดยขาดการควบคุมและก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น ***************** EarthRights.org รายงานว่า นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 การขุดทองในรัฐกะฉิ่นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ควบคุมโดยกองทัพกะฉิ่น (Kachin Independence Army: KIA) และกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เช่น กองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (MNDAA) การขุดทองนี้ส่วนใหญ่เป็นการขุดแบบไม่มีการควบคุม (unregulated) และใช้สารเคมี เช่น ปรอทและไซยาไนด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษในแม่น้ำและแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำอิรวดี (Irrawaddy River) และแม่น้ำชินดวิน (Chindwin River) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีในการสกัดทองทำให้ดินและน้ำปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อการเกษตรและสุขภาพของประชาชน นอกจากนั้นคือการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขุดทองทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มความเสี่ยงต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ดินถล่ม ผลกระทบต่อชุมชน ชาวบ้านในพื้นที่ เช่น ในเมืองตานาย (Tanai) และเมืองชิปวี (Chipwi) เผชิญกับการสูญเสียที่ดินทำกินและแหล่งน้ำสะอาดการขุดทองดึงดูดแรงงานจากพื้นที่อื่น ทำให้เกิดความตึงเครียดในชุมชนและเพิ่มความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเด็กและเยาวชนในพื้นที่ถูกดึงเข้าสู่อุตสาหกรรมการขุดทอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยและการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพื้นที่นี้ เหมืองทองในเมืองตานายถูกโจมตีทางอากาศโดยกองทัพเมียนมาในเดือนมกราคม 2025 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย การโจมตีนี้ถูกมองว่าเป็นความพยายามของกองทัพในการขัดขวางแหล่งรายได้ของ KIA ***************** ดร.สืบสกุล กิจนุกร นักวิชาการในพื้นที่เชียงราย พื้นที่ประสบภัยพิบัติทางแม่น้ำ จากประเทศเพื่อนบ้านที่ทำเหมืองทองคำ และแร่ธาตุเผยแพรข้อเสนอในเฟสบุ๊กส่วนตัวว่า ปัญหาสารโลหะหนักปนเปื้อนในน้ำกกและสายซึ่งเป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนแล้ว เป็นสถานการณ์ความซับซ้อนของปัญหามลพิษข้ามแดนที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาจากรัฐส่วนกลางที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้คล้ายกับปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน พร้อมกับอ้างอิงงานศึกษาว่าบทบาทของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาสารโลหะหนักในแม่น้ำระหว่างประเทศดังเช่นแม่น้ำโขง Ding (2019) ที่วิพากษ์แนวคิด traditional state-centric governance เกี่ยวกับปัญหาสารโลหะหนักที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขงตอนล่าง อันประกอบด้วย ไทย ลาว เวียนดนาม และกัมพูชา การแก้ไขภายใต้อาเซียนและ MRC (Mekong River Commission มีข้อจำกัดในแง่ที่ 1) รายงานมิได้ครอบคลุมรายละเอียดของปัญหามลพิษ 2) รายงานมิได้สนับสนุนการสื่อสารกันระหว่างองคกรที่แตกต่างกัน เช่น สถาบันการวิจัย 3) ขาดกลไกเชิงกฎหมายระดับภูมิภาคและการบังคับใช้กฎหมายในควบคุมมลพิษในน้ำข้ามพรมแดน 4) รายงานไม่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน สรุปคือกลกลไกระหว่างประเทศแบบที่ สทนช.เสนอให้ MRC ทำ น่าจะไม่สามารถแก้ไขปัญหามลพิษข้ามแดนในบริบทอาเซียนได้ เมื่อพิจารณาความซับซ้อนของปัญหาในต้นน้ำกกและสาย จำเป็นต้องแกะปมตั้งแต่ บริษัทจีน กองกำลังติดอาวุธ ชาติพันธ์ และประเทศจีน ชุมชนในตลอดลำน้ำกกและสาย สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ ปละภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วย เสียงคำรามของเครื่องบินพร้อมลูกระเบิดภารกิจ Airstrikes ก่อสงครามแย่งชิงขุมทรัพย์ทองคำสีเลือด และคนลุ่มน้ำโขงกำลังเผชิญภัยวิกฤติจากสารพิษ ที่เจือปนในแม่น้ำ รวมถึงการสลายความเป็นมนุษย์ในดินแดนขุมเมืองแห่งลุ่มแม่น้ำแห่งชีวิตสายนี้ ***************** อ้างอิง : • สำนักข่าว Shan Herald Agency for News, Burma News International, Human Rights Watch, The Irrawaddy Radio Free Asia Al Jazeera, Amnesty International, Justice For Myanmar, และ Wikipedia • World Gold Council https://www.gold.org/ • EarthRights International
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 669 มุมมอง 0 รีวิว

  • ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน
    ______________________________
    23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
    China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90
    ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน)
    ______________________________
    ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ
    สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม
    หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ)
    บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง
    นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก
    ______________________________
    การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV
    • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน
    • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ
    • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม
    • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry)
    สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน
    ______________________________
    ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย
    ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล
    หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้:
    • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง
    • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย
    • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF
    • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่
    • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง
    • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง
    • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง
    ______________________________
    สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
    การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง
    การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED
    สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง
    ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน
    ______________________________
    ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน
    สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ
    KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่
    รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
    ______________________________
    สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต
    อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ
    https://shorturl.asia/6GnqX
    ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942
    ______________________________

    10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน)
    1. แร่ดีบุก (Tin)
    o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563
    o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region)
    2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน
    o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region)
    3. ทองแดง (Copper)
    o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร
    o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State)
    4. ตะกั่ว (Lead)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State)
    5. สังกะสี (Zinc)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ
    o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region)
    6. นิกเกิล (Nickel)
    o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่
    o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส
    o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน
    7. พลวง (Antimony)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน
    o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    8. ทังสเตน (Tungsten)
    o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง
    o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร
    o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น
    9. ทองคำ (Gold)
    o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก
    o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ
    o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย
    10. อิตเทรียม (Yttrium)
    o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ
    o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก
    o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์
    หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร
    ______________________________
    ตามรอยย้อนกลับ Supply Chain แร่หายากจากพม่ามหาศาลสู่จีน ______________________________ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2564 บริษัท China Rare Earth Group Co., Ltd. ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นทางการ จากการควบรวมของ 3 กิจการด้านอุตสาหกรรมแร่หายากในจีน China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. เป้าคือพัฒนาอุตสาหกรรมแร่หายาก วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี China Rare Earth Group อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของรัฐ-คณะกรรมการกำกับดูแลและบริหารสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของของสภาแห่งรัฐ ถือหุ้นร้อยละ 31.21 China Aluminium Corporation, China Minmetals Corporation และ Ganzhou Rare Earth Group Co., Ltd. แต่ละบริษัทถือหุ้นร้อยละ 20.33; China Iron and Steel Research Technology Group Co., Ltd. และ Youyan Technology Group Co., Ltd. ถือหุ้นร้อยละ 3.90 ปัจจุบันจีนมีปริมาณการผลิตแร่ธาตุ หายากสูงเป็นอันดับ 1 ของโลกอยู่ที่ 132,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 ของปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 210,000 ตัน โดยประเทศอื่น ๆ ที่มีปริมาณการผลิตแร่ธาตุหายากในลำดับถัดมา ได้แก่ สหรัฐฯ (26,000 ตัน) เมียนมา (22,000 ตัน) ออสเตรเลีย (21,000 ตัน) อินเดีย (3,000 ตัน) รัสเซีย (2,700 ตัน) มาดากัสการ์ (2,000 ตัน) ไทย (1,800 ตัน) บราซิล (1,000 ตัน) เวียดนาม (900 ตัน) และบุรุนดี (600 ตัน) ______________________________ ระฆังกำแพงภาษีลั่นขึ้นห้วงเมษายน 2568 โดยสหรัฐอเมริกา การตอบโต้กลับของจีนเปิดหน้าชก สวนกลับทุกเม็ด รวมถึงได้ขยายการใช้ "แร่หายาก" (rare earths) เป็นเครื่องมือตอบโต้ทางการค้า โดยประกาศจำกัดการส่งออกแร่หายาก 7 ชนิด ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญในอุดสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเป็นการตอบโต้ต่อมาดรการภาษีนำเข้าของสหรัฐ สำหรับแร่หายาก 7 ชนิดได้แก่ ชามาเรียม (Samarium) แกโดลิเนียม (Gadolinium) เทอร์เมียม (Terbium) ดิสโพรเซียม (Dysprosium) ลูทีเซียม (Lutetium) สแกนเดียม (Scandium) และอิดเทรียม (Yttrium) สำหรับแร่หายากยอดนิยมอย่าง นี่โอไดเมียม (Neodymium) และ พราเชโอไดเมียม (Praseodymium) ซึ่งใช้ผลิตแม่เหล็กประสิทธิภาพสูง ยังไม่อยู่ในรายชื่อควบคุม หลังการรัฐประหารปี 2021 การส่งออกแร่ธาตุหายากจากพม่าไปจีนเพิ่มขึ้น 5 เท่า สูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นการการพึ่งพาจีน 90% ของการแปรรูปแร่หายากโลกอยู่ในจีน แบ่งเป็น แร่กลุ่มหายาก (Rare Earth Elements) มูลค่า: 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2025) ส่วนแบ่งการนำเข้า: กว่า 50% ของการนำเข้าแร่หายากทั้งหมดของจีน ชนิดแร่หลัก: เทอร์เบียม (Terbium) และดีสโพรเซียม (Dysprosium) ในกลุ่ม Heavy Rare Earth Elements (HREE) พื้นที่ทำเหมืองหลักที่คะฉิ่น ที่เหมือง Chipwi และ Momauk: มีบ่อแร่มากกว่า 2,700 บ่อ เมือง Panwa: แหล่งผลิตหลักภายใต้การควบคุมของ Kachin Independence Army (KIA) การขยายตัว: จำนวนไซต์ทำเหมืองเพิ่มขึ้น 40% นับตั้งแต่ปี 2021 โดยพื้นที่ KIA: เก็บภาษี 35,000 หยวน/ตัน (ประมาณ 4,800 ดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทจีนผู้รับซื้อหลัก คือ China Rare Earths Group (REGCC) ควบคุมการประมูลแร่กว่า 80% China Northern Rare Earth Group ผู้ประมูลแร่รายใหญ่ของโลก และ JL Mag Rare-Earth: ผู้ผลิตแม่เหล็กถาวรรายใหญ่ ใช้แร่จากพม่าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และยังมีบริษัท Rising Nonferrous บริษัทที่ได้รับอนุมัติให้นำเข้าแร่หายากจากเมียนมาโดยตรง นอกจากนั้นก็จะมี China Nonferrous Metal Mining Group (CNMC) รับซื้อ: ทองแดง, นิกเกิล พื้นที่รับซื้อคือเหมือง Monywa ในเขตสะกาย บริษัท China Minmetals Corporation: รับซื้อ: แร่หายาก, ดีบุก, ทังสเตน Aluminum Corporation of China (CHINALCO): รับซื้อ: แร่ที่เกี่ยวข้องกับอะลูมิเนียมและโลหะผสม Yunnan Tin Company: รับซื้อ: ดีบุก เพราะเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของจีน Pangang Group: รับซื้อ: ทังสเตน, พลวง เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโลหะหนัก ______________________________ การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนมีป้อนอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้จีน และแน่นอนต้องใช้ฐานของกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นตลาดหลักและบายพาสไปยังกลุ่มประเทศที่มีกำแพงภาษีสูงไม่ว่าจะเป็น • อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles)แร่ธาตุหายาก เช่น ดิสโพรเซียม (Dysprosium) และเทอร์เบียม (Terbium) ที่นำเข้าจากพม่าใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับมอเตอร์ในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจีนมีความต้องการสูงมากในช่วงหลังเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV • อุตสาหกรรมพลังงานลม (Wind Power)แม่เหล็กถาวรที่ผลิตจากแร่ธาตุหายากเหล่านี้ยังถูกใช้ในกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของจีน • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)แร่ธาตุหายากจากพม่าถูกนำไปใช้ในชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่ต้องการแม่เหล็กและวัสดุพิเศษ • อุตสาหกรรมแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets) บริษัทจีนใหญ่ เช่น China Southern Rare Earth ใช้แร่ธาตุจากพม่าในการผลิตแม่เหล็กถาวรที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรม • อาวุธยุทโธปกรณ์ (Defence Industry) และอุตสาหกรรมอวกาศ และอากาศยาน (Aerospace Industry) สถานการณ์ความต้องการแร่ธาตุหายากงวดขึ้นเพราะนับวันแร่ธาตุเหล่านั้นย่อมลดลง ตามชื่อเพราะยิ่งหายากขึ้น โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 จีนเพิ่มการนำเข้าแร่หายากจากพม่าเกิน 9 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคิดเป็นกว่า 70% ของแร่ธาตุหายากที่จีนใช้ทั้งหมด ซึ่งทำให้พม่าเป็นแหล่งผลิตแร่หายากที่ใหญ่ที่สุดของจีนในปัจจุบัน ______________________________ ความต้องการสูงและความไม่แน่นอนของซัพพลายเชน โดยเฉพาะในช่วงที่มีความขัดข้องจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนพึ่งพาแหล่งแร่จากต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะพม่าเป็นสัดส่วนถึง 70% ของวัตถุดิบที่ใช้ เนื่องจากเหมืองในจีนผลิตไม่เพียงพอและมีข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบาย ปัญหาจึงอยู่ที่แร่ธาตุหายากจากพม่าส่วนใหญ่ถูกขุดอย่างผิดกฎหมายและผ่านช่องทางที่ไม่โปร่งใส ทำให้บริษัทจีนที่แปรรูปแร่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้ชัดเจน ส่งผลต่อความยั่งยืนและความน่าเชื่อถือของตลาด รวมถึงสร้างปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อพม่าอย่างมหาศาล หากเจาะพื้นที่การทำเหมืองในรัฐต่าง ๆ การทำเหมืองในเมียนมามักอยู่ในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธ ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการจัดการทรัพยากร ดังนี้: • รัฐคะฉิ่น (Kachin State): แร่หลัก: แร่หายาก (REEs), พลวง, ทองคำ, อิตเทรียม พื้นที่ป่าทางตอนเหนือ อุดมไปด้วยแร่หายาก แต่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างกองทัพเมียนมาและกองทัพปลดปล่อยคะฉิ่น (KIA) ส่วนใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อม น้ำกลายเป็นโคลน และสัตว์ป่าลดลง • รัฐฉาน (Shan State): แร่หลัก: ดีบุก, ตะกั่ว, สังกะสี, ทังสเตน,ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ เช่น เหมือง Man Maw การควบคุมโดยกลุ่มติดอาวุธที่เชื่อมโยงกับกองทัพเมียนมา ทำให้เงินจากเหมือง สนับสนุนกองทัพ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาลเช่นกันและลุกลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย • เขตสะกาย (Sagaing Region): แร่หลัก: ทองแดง, นิกเกิล, ทองคำพื้นที่ที่มีการสู้รบหนักระหว่างกองทัพเมียนมาและกองกำลัง PDF • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region): แร่หลัก: แร่หายาก, พลวง, อิตเทรียม, ทองคำพื้นที่ที่มีเหมืองขนาดเล็กกระจายอยู่ • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region): แร่หลัก: ดีบุก เป็นเหมืองดีบุกขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่ง • รัฐมอญ (Mon State): แร่หลัก: ทองแดง เป็นเหมืองขนาดเล็กถึงปานกลาง • รัฐกะยา (Kayah State): แร่หลัก: ตะกั่ว พื้นที่ที่มีความขัดแย้งสูง ______________________________ สอบทานต้นทาง-ย้อนกลับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแร่ธาตุจากเมียนมาไปจีนมีลักษณะดังนี้ เริ่มต้นสำรวจแหล่ง แน่นอนฐานข้อมูลมีอยู่แล้วในมือรัฐบาลทหารพม่า และในกำมือเทคโนโลยีจีน ก่อนจะให้บริษัทเอกชนในแต่ละความถนัดของจีน และของพม่าเอง ขุดและแปรรูปเบื้องต้น เหมืองส่วนใหญ่ในพม่าดำเนินการโดยบริษัทท้องถิ่นหรือบริษัทจีนร่วมทุน การแปรรูปขั้นต้น (เช่น การถลุงแร่ดีบุก) มักทำในเมียนมาก่อนส่งออก ส่วนใหญ่ในพื้นที่ขัดแย้งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการละเมิดสิทธิมนุษยชน การขนส่ง เส้นทางหลัก: จากเหมืองในรัฐคะฉิ่นและฉานไปยังชายแดนจีน (มณฑลยูนนาน) ผ่านทางรถไฟหรือถนน เช่น เส้นทางรถไฟเจ้าผิ่ว-มูเซ บางส่วนส่งออกผ่านท่าเรือในเขตตะนาวศรีและย่างกุ้ง การแปรรูปขั้นสูงในจีน ปลายทางคือโรงงานแปรรูปอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, เจียงซู, และแถบเศรษฐกิจแยงซีเกียง โดยแร่หายากถูกกลั่นเป็นโลหะบริสุทธิ์หรือสารประกอบ เช่น นีโอดิเมียมสำหรับแม่เหล็ก หรืออิตเทรียมสำหรับ LED สายพานอุตสาหกรรมที่ใช้งานแบ่งตามแร่ธาตุอุตสาหกรรมเทคโนโลยี: แร่หายาก (REEs) และดีบุกใช้ในสมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, เซมิคอนดักเตอร์ ยานยนต์ไฟฟ้า: แร่หายาก (นีโอดิเมียม, ดิสโพรเซียม) และนิกเกิลใช้ในมอเตอร์และแบตเตอรี่ พลังงานสะอาด: ทังสเตนและพลวงใช้ในกังหันลมและแผงโซลาร์ อุตสาหกรรมทหาร: แร่หายากและพลวงใช้ในขีปนาวุธ, เรดาร์, และเลเซอร์ การก่อสร้างและเครื่องจักร: ทองแดงและสังกะสีใช้ในสายไฟและโครงสร้าง ความท้าทายในระบบ Supply Chain ส่วนใหญ่คือความขัดแย้งในเมียนมาอาจขัดขวางการขนส่ง จากผลประโยชน์มหาศาลเพื่อนำมาเป็นอาวุธและจุนเจือเสบียงในการรบ ขณะที่นานาชาติได้เรียกร้องให้ตรวจสอบแร่จากพื้นที่ขัดแย้ง แต่จีนเป็นประเทศเดียวที่บังคับให้แยกแร่จากเมียนมาและจีน ______________________________ ล่าสุด กองกำลังเอกราชคะฉิ่น (Kachin Independent Organization, Kachin Independent Army- KIA) ซึ่งได้เป็นเจ้าของใหม่ของเหมืองแร่หายาก หรือแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน (ราว 160,000 บาท) พื้นที่แหล่งแร่หายากที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเขตปางวาและชิพเว (Pang Wa, Chi Pwi) ในรัฐคะฉิ่น ซึ่งกลุ่ม KIA เข้ายึดครองในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2567 ได้รับอนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังจีนหลังจากควบคุมพื้นที่มาได้ 6 เดือน สำนักข่าวรอยเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 KIO/KIA ได้อนุญาตให้ส่งออกแร่หายากไปยังประเทศจีน โดยเก็บภาษีในอัตรา 30,500 หยวนต่อหนึ่งตัน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดอื่น ๆ ในหนังสืออนุญาตของ KIO ยังไม่ได้รับการเปิดเผย เจ้าหน้าที่ KIA เขตปางวาให้ข้อมูลว่าKIO/KIA และรัฐบาลจีน ยังคงเจรจาเกี่ยวกับการใช้จุดผ่านแดนเดียวในการส่งออกแร่หายาก และจนถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ยังไม่มีการส่งออกอย่างเป็นทางการ KIA สามารถควบคุมจุดผ่านแดนทางการค้าระหว่างจีน-พม่าในรัฐคะฉิ่นทั้งหมด ได้แก่ กานปายตี Kan Pai Ti, ล่วยเจ Loi Je และปางวา ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบว่าจะใช้จุดผ่านแดนใดในการส่งออก หลังจากที่ KIA ควบคุมพื้นที่ปางวาและชิพเว รัฐบาลจีนได้มีคำสั่งปิดจุดผ่านแดนทั้งหมด ทำให้บริษัทเหมืองแร่ส่วนใหญ่หยุดดำเนินการ มีเพียงบางบริษัทที่ยังคงขุดแร่ต่อไป เนื่องจากยังมีวัตถุดิบหลงเหลืออยู่ รายงานของ Global Witness ระบุว่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาเริ่มขึ้นในปี 2016 โดยนักธุรกิจชาวจีน ซึ่งส่งออกแร่ไปยังจีนเป็นหลัก ตามข้อมูลปัจจุบัน พม่าติดอันดับ 3 ของประเทศผู้ผลิตแร่แรร์เอิร์ท และคิดเป็น 50% ของการส่งออกแร่หายากทั่วโลก หลังจากการรัฐประหารของกองทัพพม่า การทำเหมืองแร่แรร์เอิร์ทในพื้นที่ปางวาและชิพเวเพิ่มขึ้น 40% และจำนวนเหมืองแร่เพิ่มขึ้นกว่า 300 แห่ง ในปี 2566 เพียงปีเดียว มีการส่งออกแร่หายากไปยังจีนมากถึง 41,700 ตัน สร้างรายได้ถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ______________________________ สรุปขมวดปม การส่งออกแร่ธาตุจากพม่าไปจีนช่วยเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชนแร่หายากในจีน ลดภาวะขาดแคลนและสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงด้านความโปร่งใสและความยั่งยืนในตลาดแร่ธาตุของจีน แร่ธาตุหายากจากพม่ามีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูงและพลังงานสะอาด ซึ่งจีนพึ่งพาการนำเข้าแร่จากพม่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 70% ของแร่หายากที่ใช้ในประเทศ เหมืองแร่หายากเหล่านี้ทั้งหมด รวมถึงแร่ทองคำ และอื่น ๆ ที่ปักหมุดขุดหลุมร่อนตระแกรง ทุกรัฐในเมียนมาก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ป่าเขา แม่น้ำ ลำธาร โดยคนงานบางรายถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างโหดร้าย หญิงคนงานถูกล่วงละเมิดทางเพศ และหลายคนได้รับอันตรายทางสุขภาพอย่างร้ายแรงจากสารเคมีที่ใช้ในเหมือง และส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่กว้างขวางขึ้นรวมถึงประเทศไทย และลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน คำถามคือจีนมีส่วนสำคัญในการสร้างมลภาวะในพื้นที่ ควรจะร่วมรับผิดชอบหรือไม่ ไม่ใช่การสูบทรัพยากรในพื้นที่แต่ไม่ได้เหลียวแลผลกระทบที่จะตามมา อันจะกลายเป็นการสร้างปัญหาใหญ่ให้กับจีนในอนาคต อ้างอิง : https://www.facebook.com/GlobalWitness/ และสำนักข่าวชายขอบ https://shorturl.asia/6GnqX ประชาไท https://prachatai.com/journal/2025/01/111942 ______________________________ 10 อันดับแร่ธาตุที่ส่งออกจากเมียนมาไปจีน (เรียงตามมูลค่าประเมิน) 1. แร่ดีบุก (Tin) o มูลค่า: สูงสุด เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และจีนนำเข้า 95% ของหัวแร่ดีบุกจากเมียนมาในปี 2563 o การใช้งาน: ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (บัดกรีแผงวงจร), การผลิตโลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน (Shan State), เขตตะนาวศรี (Tanintharyi Region) 2. แร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) o มูลค่า: สูง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน o การใช้งาน: ผลิตแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnets), แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, อุปกรณ์เลเซอร์, เซมิคอนดักเตอร์ o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น (Kachin State), เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Region) 3. ทองแดง (Copper) o มูลค่า: สูง เนื่องจากราคาทองแดงในตลาดโลกพุ่งสูงหลังรัฐประหาร o การใช้งาน: สายไฟ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, การก่อสร้าง o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย (Sagaing Region), รัฐมอญ (Mon State) 4. ตะกั่ว (Lead) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด, อุตสาหกรรมยานยนต์ o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐกะยา (Kayah State) 5. สังกะสี (Zinc) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมเคลือบโลหะ o การใช้งาน: การชุบกัลวาไนซ์, โลหะผสม o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, เขตย่างกุ้ง (Yangon Region) 6. นิกเกิล (Nickel) o มูลค่า: ปานกลาง เนื่องจากความต้องการในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ o การใช้งาน: แบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออน, สแตนเลส o พื้นที่เหมือง: เขตสะกาย, รัฐฉาน 7. พลวง (Antimony) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมทหารและพลังงาน o การใช้งาน: สารหน่วงไฟ, โลหะผสม, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ 8. ทังสเตน (Tungsten) o มูลค่า: ปานกลาง ใช้ในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งสูง o การใช้งาน: โลหะผสม, เครื่องมือตัด, อุปกรณ์ทหาร o พื้นที่เหมือง: รัฐฉาน, รัฐคะฉิ่น 9. ทองคำ (Gold) o มูลค่า: ปานกลางถึงสูง ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก o การใช้งาน: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องประดับ o พื้นที่เหมือง: เขตมัณฑะเลย์, รัฐคะฉิ่น, เขตสะกาย 10. อิตเทรียม (Yttrium) o มูลค่า: ต่ำถึงปานกลาง แต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมเฉพาะ o การใช้งาน: สารเรืองแสงใน LED, อุปกรณ์ MRI, เซรามิก o พื้นที่เหมือง: รัฐคะฉิ่น, เขตมัณฑะเลย์ หมายเหตุ: มูลค่าที่ระบุเป็นการประเมินจากความสำคัญในห่วงโซ่อุปทานและปริมาณการส่งออก เนื่องจากไม่มีข้อมูลตัวเลขที่แน่นอนหลังรัฐประหาร ______________________________
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 758 มุมมอง 0 รีวิว
  • Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 743 มุมมอง 0 รีวิว
  • Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1
    .
    ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ
    .
    Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร
    .
    หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย”
    .
    เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า
    .
    ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน
    .
    Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน
    .
    ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง
    .
    เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน
    .
    ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ
    .
    ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์
    .
    ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ
    .
    หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ
    .
    จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)
    .
    ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด
    .
    ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์
    .
    ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป
    .
    หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม

    อ้างอิง :
    • มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/
    • วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140
    • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/
    • ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/
    • Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers
    By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
    Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1 . ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ . Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร . หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย” . เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า . ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน . Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน . ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง . เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน . ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ . ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์ . ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ . หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ . จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) . ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด . ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์ . ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป . หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม อ้างอิง : • มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/ • วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140 • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/ • ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/ • Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 639 มุมมอง 0 รีวิว
  • เมียวดี – ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์พื้นที่จีนเทาชายแดนเมียวดี 275 ลุกฮือ..ทั้งแบกทั้งลากกระเป๋าเสื้อหาประท้วงริมเมย หลังถูกควบคุมตัวในพื้นที่ของ DKBA นานกว่า 2 เดือน บอกอยากกลับบ้าน จนทหารกะเหรี่ยงต้องถืออาวุธขู่ ก่อนเจรจาให้สลายตัว

    วันนี้(13 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก็งคอลเซ็นเตอร์เมียวดี จำนว 275 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเอธิโอเปีย และชาติอื่น ๆ จากทวีปแอฟริกา ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในพื้นที่จีนเทา ไท่ซาง 1 เขตอิทธิพลของกลุ่มกะเหรี่ยง DKBA จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา ด้านตรงข้ามบ้านช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก ได้รวมตัวประท้วงพยายามออกจากพื้นที่ควบคุม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยฝั่งประเทศเมียนมา ขอข้ามแดนเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อเดินทางกลับประเทศตัว หลังรอการประสานจากสถานทูตนานกว่า 2 เดือน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000035278

    #MGROnline #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #ชายแดนเมียวดี
    เมียวดี – ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์พื้นที่จีนเทาชายแดนเมียวดี 275 ลุกฮือ..ทั้งแบกทั้งลากกระเป๋าเสื้อหาประท้วงริมเมย หลังถูกควบคุมตัวในพื้นที่ของ DKBA นานกว่า 2 เดือน บอกอยากกลับบ้าน จนทหารกะเหรี่ยงต้องถืออาวุธขู่ ก่อนเจรจาให้สลายตัว • วันนี้(13 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับแก็งคอลเซ็นเตอร์เมียวดี จำนว 275 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเอธิโอเปีย และชาติอื่น ๆ จากทวีปแอฟริกา ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในพื้นที่จีนเทา ไท่ซาง 1 เขตอิทธิพลของกลุ่มกะเหรี่ยง DKBA จ.เมียวดี รัฐกะเหรี่ยง สหภาพเมียนมา ด้านตรงข้ามบ้านช่องแคบ อ.พบพระ จ.ตาก ได้รวมตัวประท้วงพยายามออกจากพื้นที่ควบคุม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยฝั่งประเทศเมียนมา ขอข้ามแดนเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อเดินทางกลับประเทศตัว หลังรอการประสานจากสถานทูตนานกว่า 2 เดือน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000035278 • #MGROnline #แก๊งคอลเซ็นเตอร์ #ชายแดนเมียวดี
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 299 มุมมอง 0 รีวิว
  • 📌แผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 บริเวณประเทศเมียนมา🔸13 เม.ย. 68 เวลา 09.24 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเมะทีลา ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 271 กิโลเมตร 🔸สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ในแนวระนาบเหลื่อมขวา (right-lateral strike-slip fault) 🔸เบื้องต้นประชาชนที่อาศัยอยู่บนอาคารสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เเละเชียงราย สามารถรับรู้ถึงเเรงสั่นสะเทือน ยังไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
    📌แผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 บริเวณประเทศเมียนมา🔸13 เม.ย. 68 เวลา 09.24 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 5.9 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเมะทีลา ประเทศเมียนมา ห่างจากอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 271 กิโลเมตร 🔸สาเหตุเกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ในแนวระนาบเหลื่อมขวา (right-lateral strike-slip fault) 🔸เบื้องต้นประชาชนที่อาศัยอยู่บนอาคารสูงในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เเละเชียงราย สามารถรับรู้ถึงเเรงสั่นสะเทือน ยังไม่มีรายงานความเสียหาย (ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 269 มุมมอง 0 รีวิว
  • บูรพาไม่แพ้ Ep.116 : “ยุทธศาสตร์มหาสาคร” ของอินเดีย พี่ใหญ่แห่ง BIMSTEC
    .
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมที่สำคัญ คือ BIMSTEC หรือ เวที “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล” ซึ่งมีสมาชิก 7 ประเทศ ส่วนใหญ่จากภูมิภาคเอเชียใต้ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย การประชุมครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่อง คือ แผ่นดินไหวใหญ่ในเมียนมา และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งขึ้นภาษีกับสินค้าจากเกือบทุกประเทศทั่วโลก เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ เสียเปรียบดุลการค้า
    .
    พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในตอนนี้ จะสรุปสาระสำคัญจากการประชุม BIMSTEC โดยเฉพาะบทบาทของประเทศ อินเดีย ที่ได้เสนอยุทธศาสตร์ที่ชื่อว่า “มหาสาคร” ซึ่งจะปักหมุด เอเชียใต้ ให้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญ ท่ามกลางสภาวการณ์โลกที่ปั่นป่วนในขณะนี้
    .
    คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=w4mGuqvfH-E
    .
    #บูรพาไม่แพ้ #BIMSTEC
    บูรพาไม่แพ้ Ep.116 : “ยุทธศาสตร์มหาสาคร” ของอินเดีย พี่ใหญ่แห่ง BIMSTEC . เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมที่สำคัญ คือ BIMSTEC หรือ เวที “ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอล” ซึ่งมีสมาชิก 7 ประเทศ ส่วนใหญ่จากภูมิภาคเอเชียใต้ คือ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมา เนปาล ศรีลังกา และไทย การประชุมครั้งนี้มีขึ้นท่ามกลางเหตุการณ์สำคัญ 2 เรื่อง คือ แผ่นดินไหวใหญ่ในเมียนมา และ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งขึ้นภาษีกับสินค้าจากเกือบทุกประเทศทั่วโลก เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯ เสียเปรียบดุลการค้า . พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในตอนนี้ จะสรุปสาระสำคัญจากการประชุม BIMSTEC โดยเฉพาะบทบาทของประเทศ อินเดีย ที่ได้เสนอยุทธศาสตร์ที่ชื่อว่า “มหาสาคร” ซึ่งจะปักหมุด เอเชียใต้ ให้เป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญ ท่ามกลางสภาวการณ์โลกที่ปั่นป่วนในขณะนี้ . คลิกฟัง >> https://www.youtube.com/watch?v=w4mGuqvfH-E . #บูรพาไม่แพ้ #BIMSTEC
    Like
    Love
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 265 มุมมอง 0 รีวิว
  • การแพร่กระจายข้อมูลเท็จหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลและการสนับสนุนองค์กรช่วยเหลือในพื้นที่ การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวิกฤต

    ✅ การแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ:
    - หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2025 มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เช่น วิดีโอที่สร้างจาก AI หรือภาพจากเหตุการณ์ในประเทศอื่น
    - ข้อมูลเท็จเหล่านี้ถูกใช้เพื่อสร้างรายได้จากโฆษณา โดยผู้สร้างเนื้อหาได้รับเงินจากการแชร์และการดู

    ✅ ผลกระทบต่อการช่วยเหลือ:
    - การแพร่กระจายข้อมูลเท็จทำให้เกิดความตื่นตระหนกและขัดขวางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
    - องค์กรช่วยเหลือและประชาชนในพื้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง

    ✅ การตอบสนองของแพลตฟอร์ม:
    - Meta และ TikTok ได้ดำเนินการลบโพสต์ที่มีข้อมูลเท็จและแนะนำแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
    - TikTok มีการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกว่า 50 ภาษาเพื่อจัดการกับข้อมูลเท็จ

    ✅ ความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูล:
    - การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากข้อมูลที่ผิดพลาดอาจส่งผลต่อชีวิตและความปลอดภัย

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/11/making-money-out-of-a-disaster-fake-news-in-myanmar-quake
    การแพร่กระจายข้อมูลเท็จหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลและการสนับสนุนองค์กรช่วยเหลือในพื้นที่ การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวิกฤต ✅ การแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ: - หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2025 มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เช่น วิดีโอที่สร้างจาก AI หรือภาพจากเหตุการณ์ในประเทศอื่น - ข้อมูลเท็จเหล่านี้ถูกใช้เพื่อสร้างรายได้จากโฆษณา โดยผู้สร้างเนื้อหาได้รับเงินจากการแชร์และการดู ✅ ผลกระทบต่อการช่วยเหลือ: - การแพร่กระจายข้อมูลเท็จทำให้เกิดความตื่นตระหนกและขัดขวางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย - องค์กรช่วยเหลือและประชาชนในพื้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ✅ การตอบสนองของแพลตฟอร์ม: - Meta และ TikTok ได้ดำเนินการลบโพสต์ที่มีข้อมูลเท็จและแนะนำแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ - TikTok มีการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกว่า 50 ภาษาเพื่อจัดการกับข้อมูลเท็จ ✅ ความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูล: - การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากข้อมูลที่ผิดพลาดอาจส่งผลต่อชีวิตและความปลอดภัย https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/11/making-money-out-of-a-disaster-fake-news-in-myanmar-quake
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Making money out of a disaster: fake news in Myanmar quake
    Creators and social platforms cash in as misinformation floods newsfeeds after Myanmar quake.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 176 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชียงราย – เผยหลังเหมืองทองทุนจีน โผล่ทั้งพื้นที่เมืองยอน เขตอุทธิพลว้าแดง-ตอนเหนือท่าขี้เหล็ก..พบสารหนูปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ทั้งน้ำกก ที่ไหลเข้าไทยทางแม่อาย เชียงใหม่-เชียงแสน เชียงราย / น้ำสาย เส้นกั้นพรมแดนไทย-เมียนมา ด้านแม่สาย

    หลังจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) แจ้งว่าแม่น้ำกกตั้งแต่ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ปนปื้อนสารหนูเกินมาตรฐานโดยที่ อ.แม่อาย สูงถึง 0.026 มิลลิกรัมต่อลิตร และ อ.เมืองเชียงราย 0.012-13 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะที่ค่ามาตรฐานคือไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร

    ล่าสุดที่ว่าการ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีแม่น้ำสายไหลมาจากประเทศเมียนมา ได้เผยแพร่ข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำสาย ว่าการประปาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สาขาเชียงราย ได้เก็บตัวอย่างน้ำสายตั้งแต่ 17 ก.พ.ค ส่งหน่วยงานภายนอกคือบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด วิเคราะห์ทดสอบ ผลออกมาเมื่อวันที่ 9 เม.ย.พบแม่น้ำสายมีสารหนูปนเปื้อนเกินกว่ามาตรฐาน แต่ในการผลิตน้ำประปามีการใช้กระบวนการผลิตกำจัดโลหะหนักทำให้คุณภาพน้ำยังคงได้มาตรฐานสามารถอุปโภคบริโภคได้ตามปกติ

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000034555

    #MGROnline #เชียงราย #สารหนูปนเปื้อน
    เชียงราย – เผยหลังเหมืองทองทุนจีน โผล่ทั้งพื้นที่เมืองยอน เขตอุทธิพลว้าแดง-ตอนเหนือท่าขี้เหล็ก..พบสารหนูปนเปื้อนเกินมาตรฐาน ทั้งน้ำกก ที่ไหลเข้าไทยทางแม่อาย เชียงใหม่-เชียงแสน เชียงราย / น้ำสาย เส้นกั้นพรมแดนไทย-เมียนมา ด้านแม่สาย • หลังจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) แจ้งว่าแม่น้ำกกตั้งแต่ชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และ อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ปนปื้อนสารหนูเกินมาตรฐานโดยที่ อ.แม่อาย สูงถึง 0.026 มิลลิกรัมต่อลิตร และ อ.เมืองเชียงราย 0.012-13 มิลลิกรัมต่อลิตร ขณะที่ค่ามาตรฐานคือไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร • ล่าสุดที่ว่าการ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งมีแม่น้ำสายไหลมาจากประเทศเมียนมา ได้เผยแพร่ข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำสาย ว่าการประปาส่วนภูมิภาค (กฟภ.) สาขาเชียงราย ได้เก็บตัวอย่างน้ำสายตั้งแต่ 17 ก.พ.ค ส่งหน่วยงานภายนอกคือบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด วิเคราะห์ทดสอบ ผลออกมาเมื่อวันที่ 9 เม.ย.พบแม่น้ำสายมีสารหนูปนเปื้อนเกินกว่ามาตรฐาน แต่ในการผลิตน้ำประปามีการใช้กระบวนการผลิตกำจัดโลหะหนักทำให้คุณภาพน้ำยังคงได้มาตรฐานสามารถอุปโภคบริโภคได้ตามปกติ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000034555 • #MGROnline #เชียงราย #สารหนูปนเปื้อน
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 311 มุมมอง 0 รีวิว
  • ท่าขี้เหล็ก – พ่อค้าแม่ขายชาวท่าขี้เหล็ก พากันตั้งซุ้ม-เพิงแพร้านค้า รับคนเที่ยวฉลอง “ตะจาน หรือติงจาน” สงกรานต์เมียนมาเต็มสองฝั่งน้ำสายตลอดเดือนเมษาฯนี้

    Tachileik News Agency รายงานว่าขณะนี้ริมแม่น้ำสาย ชายแดนไทย-เมียนมา เขต จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา มีการตั้งซ้ำ-เพิงแพร้านค้าหนาแน่น เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวและเตรียมเฉลิมฉลองเทศกาล "ตะจาน หรือติงจาน" หรือสงกรานต์ในประเทศเมียนมา ที่จะมีไปตลอดเดือน เม.ย.นี้ ทั้งในแม่น้ำสาย น้ำลอยต่อคำ น้ำฮอก ฯลฯ

    โดยเฉพาะบริเวณบ้านดอยต่อคำ ซึ่งแม่น้ำสายอยู่ในเขตท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมาทั้ง 2 ฝั่ง มีการทำเพิงไม้ไผ่และจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้เล่นน้ำคลายร้อนกันอย่างคึกคักเต็มพื้นที่

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000034129

    #MGROnline #ท่าขี้เหล็ก #ตะจาน #ติงจาน #สงกรานต์เมียนมา
    ท่าขี้เหล็ก – พ่อค้าแม่ขายชาวท่าขี้เหล็ก พากันตั้งซุ้ม-เพิงแพร้านค้า รับคนเที่ยวฉลอง “ตะจาน หรือติงจาน” สงกรานต์เมียนมาเต็มสองฝั่งน้ำสายตลอดเดือนเมษาฯนี้ • Tachileik News Agency รายงานว่าขณะนี้ริมแม่น้ำสาย ชายแดนไทย-เมียนมา เขต จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา มีการตั้งซ้ำ-เพิงแพร้านค้าหนาแน่น เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวและเตรียมเฉลิมฉลองเทศกาล "ตะจาน หรือติงจาน" หรือสงกรานต์ในประเทศเมียนมา ที่จะมีไปตลอดเดือน เม.ย.นี้ ทั้งในแม่น้ำสาย น้ำลอยต่อคำ น้ำฮอก ฯลฯ • โดยเฉพาะบริเวณบ้านดอยต่อคำ ซึ่งแม่น้ำสายอยู่ในเขตท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมาทั้ง 2 ฝั่ง มีการทำเพิงไม้ไผ่และจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้เล่นน้ำคลายร้อนกันอย่างคึกคักเต็มพื้นที่ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/local/detail/9680000034129 • #MGROnline #ท่าขี้เหล็ก #ตะจาน #ติงจาน #สงกรานต์เมียนมา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 278 มุมมอง 0 รีวิว
  • 4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน

    ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥

    🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢

    แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ

    🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ

    จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣

    🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต

    ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี

    ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊

    เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น.

    🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน

    📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน
    9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่
    10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย
    11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที

    💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม

    📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง

    💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน

    คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด

    🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง

    📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค

    📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น

    ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠

    🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥

    🌐 คำถามที่คาใจ
    ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN?
    การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่?
    การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า?

    เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า

    🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา

    🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค

    พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม

    ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน

    พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง”

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568

    📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥 🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢 แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ 🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣 🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊ เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น. 🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน 📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน 9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่ 10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย 11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที 💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม 📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง 💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด 🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง 📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค 📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠 🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥 🌐 คำถามที่คาใจ ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN? การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่? การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า? เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า 🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา 🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง” ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568 📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 483 มุมมอง 0 รีวิว
  • หน้าจอมือถือของข้าพเจ้าสว่างวาบกลางดึก ข่าวใหญ่จาก CNN กระแทกตาเหมือนไฟฉายส่องกลางป่ามืด – “American academic faces years in jail after being charged with insulting Thai monarchy.” ชื่อ Paul Chambers กระโดดขึ้นมาเป็นตัวหนา — นักวิชาการอเมริกัน ผู้เคยวิพากษ์กองทัพไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตอนนี้ถูกจับกุมข้อหา 112เพราะหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์สังเกตดูดีๆนะครับเขาใช้คำว่า insuiting ที่แปลว่าการลบหลู่ดูหมิ่น ไม่ใช่คำว่าวิพากษ์วิจารณ์นะครับพาดหัวแค่บรรทัดเดียวก็เชื่อว่าทำให้หลายๆคนรู้สึกหงุดหงิดใจไม่น้อย แต่สำหรับข้าพเจ้า กลิ่นบางอย่างลอยมาตามลม — กลิ่นเงินทุนที่คุ้นจมูกข้าพเจ้าเลื่อนนิ้วลงไปจนเจอชื่อผู้เขียน Helen Regan นักข่าวประจำฮ่องกงของ CNN ชื่อนี้ไม่แปลกใหม่ แต่ประวัติที่เคยผ่านตากลับทำให้หัวคิ้วขยับ เธอเคยเป็นวิดีโอโปรดิวเซอร์ให้ TIME ก็จริง ทว่าอีกบรรทัดหนึ่งต่างหากที่น่าสนใจ — อดีตโปรดิวเซอร์ของ Democratic Voice of Burma (DVB) สื่อฐานเชียงใหม่ ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวเมียนมาร์อย่างถึงพริกถึงขิงเธออาจไม่ทันได้นึกว่าใครจะย้อนรอยข้อมูลรอยเท้าทางอินเตอร์เน็ต แต่โลกออนไลน์ไม่เคยลบอดีต ข้าพเจ้าจึงตามรอยงบการเงินของ DVB แล้วชื่อเดิมก็โผล่ขึ้นมาจากเงามืดเหมือนเดิม: The National Endowment for Democracy – NEDนั่นเองเธอลองจินตนาการดู — เมื่อคนที่เติบโตในสื่อซึ่งขับเคลื่อนด้วยเงินทุน NED มานั่งเขียนข่าวให้ CNN เกี่ยวกับ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ในไทย เรื่องราวจะถูกเล่าในโทนไหน?ข่าวชิ้นนั้นดึงเอาโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ มาพูดด้วยถ้อยคำ “กังวลอย่างยิ่ง” ประหนึ่งเสียงระฆังเตือนภัยทั่วโลก ยิ่งตอกย้ำว่าคดีนี้คือบทพิสูจน์สิทธิมนุษยชน ไม่ใช่กฎหมายภายในของรัฐอธิปไตยอย่างไทย — สูตรสำเร็จเดิมที่ใช้กดดันประเทศเป้าหมายให้ลดเพดานกฎหมายของตนเองแล้ว NED ล่ะ? มันซ่อนตัวอยู่ตรงไหนของฉากนี้ — ตรงปลายปากกาของนักข่าวหญิงผู้เคยรับค่าแรงจากสื่อที่กินงบ NED นั่นแหละ เงียบ เนียน แต่ทรงพลัง เพราะเสียงจาก CNN จะสะท้อนกลับไปทั่วโลกได้ดังยิ่งกว่าลำโพงม็อบหน้ากระทรวงข้าพเจ้าไม่ได้มาบอก เธอ ว่าใครดีใครเลว — เพียงชวนเปิดไฟฉายในมือเราเอง แล้วส่องดูเส้นด้ายที่ผูกโยงระหว่าง พาดหัวแรง – โปรไฟล์ผู้เขียน – สายเงินทุนเรื่องเล่าครั้งนี้จึงไม่ใช่แค่ “นักวิชาการเสี่ยงคุก” แต่คือบทล่าสุดของสงครามข่าวสาร ที่ทุนเก่าเจ้าเดิมกำลังตีบทใหม่ให้คนอ่านเชื่อว่ากฎหมายไทยคือปัญหาใหญ่ของโลกเสรีหาก เธอ ยังตั้งคำถามต่อไป — หาก เธอ ไม่หยุดที่พาดหัว แต่ไล่กลิ่นเงินให้สุดปลายทาง เธอจะเห็นว่า NED ไม่เคยหายไปไหน มันแค่สวมหน้ากากใหม่ทุกครั้งที่ออกโรงคืนนี้ข้าพเจ้าปิดหน้าจอ ปล่อยให้ความมืดคืนสู่ห้อง แต่เรื่องราวยังคงเดินต่อในเงา สงครามข่าวไม่หลับใหล และทุนที่ชื่อ NED ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก ปราชญ์สามสี
    หน้าจอมือถือของข้าพเจ้าสว่างวาบกลางดึก ข่าวใหญ่จาก CNN กระแทกตาเหมือนไฟฉายส่องกลางป่ามืด – “American academic faces years in jail after being charged with insulting Thai monarchy.” ชื่อ Paul Chambers กระโดดขึ้นมาเป็นตัวหนา — นักวิชาการอเมริกัน ผู้เคยวิพากษ์กองทัพไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตอนนี้ถูกจับกุมข้อหา 112เพราะหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์สังเกตดูดีๆนะครับเขาใช้คำว่า insuiting ที่แปลว่าการลบหลู่ดูหมิ่น ไม่ใช่คำว่าวิพากษ์วิจารณ์นะครับพาดหัวแค่บรรทัดเดียวก็เชื่อว่าทำให้หลายๆคนรู้สึกหงุดหงิดใจไม่น้อย แต่สำหรับข้าพเจ้า กลิ่นบางอย่างลอยมาตามลม — กลิ่นเงินทุนที่คุ้นจมูกข้าพเจ้าเลื่อนนิ้วลงไปจนเจอชื่อผู้เขียน Helen Regan นักข่าวประจำฮ่องกงของ CNN ชื่อนี้ไม่แปลกใหม่ แต่ประวัติที่เคยผ่านตากลับทำให้หัวคิ้วขยับ เธอเคยเป็นวิดีโอโปรดิวเซอร์ให้ TIME ก็จริง ทว่าอีกบรรทัดหนึ่งต่างหากที่น่าสนใจ — อดีตโปรดิวเซอร์ของ Democratic Voice of Burma (DVB) สื่อฐานเชียงใหม่ ผู้ถ่ายทอดเรื่องราวเมียนมาร์อย่างถึงพริกถึงขิงเธออาจไม่ทันได้นึกว่าใครจะย้อนรอยข้อมูลรอยเท้าทางอินเตอร์เน็ต แต่โลกออนไลน์ไม่เคยลบอดีต ข้าพเจ้าจึงตามรอยงบการเงินของ DVB แล้วชื่อเดิมก็โผล่ขึ้นมาจากเงามืดเหมือนเดิม: The National Endowment for Democracy – NEDนั่นเองเธอลองจินตนาการดู — เมื่อคนที่เติบโตในสื่อซึ่งขับเคลื่อนด้วยเงินทุน NED มานั่งเขียนข่าวให้ CNN เกี่ยวกับ “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ในไทย เรื่องราวจะถูกเล่าในโทนไหน?ข่าวชิ้นนั้นดึงเอาโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ มาพูดด้วยถ้อยคำ “กังวลอย่างยิ่ง” ประหนึ่งเสียงระฆังเตือนภัยทั่วโลก ยิ่งตอกย้ำว่าคดีนี้คือบทพิสูจน์สิทธิมนุษยชน ไม่ใช่กฎหมายภายในของรัฐอธิปไตยอย่างไทย — สูตรสำเร็จเดิมที่ใช้กดดันประเทศเป้าหมายให้ลดเพดานกฎหมายของตนเองแล้ว NED ล่ะ? มันซ่อนตัวอยู่ตรงไหนของฉากนี้ — ตรงปลายปากกาของนักข่าวหญิงผู้เคยรับค่าแรงจากสื่อที่กินงบ NED นั่นแหละ เงียบ เนียน แต่ทรงพลัง เพราะเสียงจาก CNN จะสะท้อนกลับไปทั่วโลกได้ดังยิ่งกว่าลำโพงม็อบหน้ากระทรวงข้าพเจ้าไม่ได้มาบอก เธอ ว่าใครดีใครเลว — เพียงชวนเปิดไฟฉายในมือเราเอง แล้วส่องดูเส้นด้ายที่ผูกโยงระหว่าง พาดหัวแรง – โปรไฟล์ผู้เขียน – สายเงินทุนเรื่องเล่าครั้งนี้จึงไม่ใช่แค่ “นักวิชาการเสี่ยงคุก” แต่คือบทล่าสุดของสงครามข่าวสาร ที่ทุนเก่าเจ้าเดิมกำลังตีบทใหม่ให้คนอ่านเชื่อว่ากฎหมายไทยคือปัญหาใหญ่ของโลกเสรีหาก เธอ ยังตั้งคำถามต่อไป — หาก เธอ ไม่หยุดที่พาดหัว แต่ไล่กลิ่นเงินให้สุดปลายทาง เธอจะเห็นว่า NED ไม่เคยหายไปไหน มันแค่สวมหน้ากากใหม่ทุกครั้งที่ออกโรงคืนนี้ข้าพเจ้าปิดหน้าจอ ปล่อยให้ความมืดคืนสู่ห้อง แต่เรื่องราวยังคงเดินต่อในเงา สงครามข่าวไม่หลับใหล และทุนที่ชื่อ NED ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก ปราชญ์สามสี
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 451 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
    .
    ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade
    .
    “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม”
    .
    ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค
    .
    อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/
    .
    “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ”
    .
    “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995”
    .
    “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย”
    .
    “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น”
    .
    “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่”
    .
    “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย”
    .
    ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    มาตรการภาษีตอบโต้ที่ทรัมป์ประกาศ เป็นเพียงหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงระเบียบโลก ไทยและอาเซียนกำลังเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ต่อจากมิติการค้าการลงทุนซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน (แต่ผู้นำไทยก็ยังล่าช้า ไม่เท่าทัน) ในระยะกลาง มิติความมั่นคงจะกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น และไทยต้องชิงเล่นบทบาทนำ เพื่อชดเชยกับความล่าช้าล้าหลังที่เราเสียตำแหน่งผู้นำอาเซียนไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา . ASEAN ZOPFAN และ Bangkok Treaty of 1995 ที่ประกาศให้อาเซียนเป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ต้องได้รับการ upgrade . “ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปรากฎการณ์ ‘กฎแห่งป่า’ (Law of the Jungle) อำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา (Might is Right) รัฐที่มีพลังอำนาจเหนือกว่าสามารถเข้ายึดครอง ครอบครอง และกำหนดชะตากรรมของรัฐที่มีพลังอำนาจอ่อนด้อยกว่า และเมื่อกลไกสถาบันระหว่างประเทศไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น ประชาคมอาเซียนที่รัฐสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กและขนาดกลางมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพึ่งพากฎกติกาแบบเสรีนิยม” . ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค . อ่านได้ที่: https://www.the101.world/amidst-the-two-oceans-3/ . “แน่นอนว่า เมื่อกฎแห่งป่าและพลังอำนาจกลายเป็นความถูกต้องในการกำหนดกติกา ฉากทัศน์ที่น่าห่วงกังวลมากที่สุดคือ แต่ละประเทศมุ่งหน้าพัฒนา ผลิต และสะสมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่มีศักยภาพทางการทหาร เพราะนี่คือแนวทางที่พิสูจน์มาแล้วในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจในการต่อรองสูงสุด โดยเฉพาะเมื่อต้องต่อรองกับมหาอำนาจ” . “อาเซียนเองมีการลงนามและบังคับใช้ปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Declaration on the Zone of Peace, Freedom, and Neutrality: ZOPFAN) มาตั้งแต่ปี 1971 เมื่อไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ (สมาชิกอาเซียน ณ ขณะนั้น) เห็นการแทรกแซงกิจการภายในของ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา โดยมหาอำนาจภายนอก ไม่ว่าจะเป็นสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และหลายประเทศในยุโรป จนลุกลามใหญ่โตกลายเป็นสงครามที่ล้างผลาญชีวิตคนจำนวนมาก และเมื่อการสะสมอาวุธนิวเคลียร์กลายเป็นปรากฏการณ์ที่นำความสุ่มเสี่ยงไปทั่วโลก อาเซียนโดยการผลักดันของประเทศไทยก็สามารถลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone: SEANWFZ) ได้สำเร็จในปี 1995” . “ข้อตกลงที่เอ่ยถึงนี้ถือเป็นความสำเร็จในอดีตที่อาเซียนต้องทบทวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยกำลังเดินหน้าเพื่อครอบครองเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เมียนมาและเวียดนามกำลังเดินหน้าเพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ 2 แห่งแรกในภูมิภาค แน่นอนว่าด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสันติ เพื่อความมั่นคงทางพลังงาน และคาดว่าทั้ง 2 ประเทศจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย” . “แน่นอนว่าเมื่อพิจารณามิติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติร่วมกับการสร้างและใช้งานโครงข่ายพลังงานอาเซียน (ASEAN Power Grid) อาเซียนจะมีความมั่นคงทางพลังงานสูงขึ้น แต่การมีเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เตาปฏิกรณ์ และการเสริมสร้างสารตั้งต้นของปฏิกิริยานิวเคลียร์ ล้วนแล้วแต่ทำให้ศักย์สงคราม (War Capability) ของประเทศนั้นๆ สูงขึ้น” . “ลองนึกถึงข้อจำกัดทางทรัพยากรมนุษย์ที่อาจต้องทำให้โรงงานเหล่านี้ดำเนินการโดยวิศวกรและทีมเทคนิคต่างชาติ ลงทุนโดยต่างชาติ และควบคุมตรวจสอบโดยต่างชาติ ร่วมกับเงินทุนที่มีจำกัด เช่น อาจสร้างเตาปฏิกรณ์ในประเทศ และระบบกำจัดกากของเสียจากเตาปฏิกรณ์ต้องส่งออกไปทำลายในต่างประเทศ เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความไม่สบายใจได้ว่า ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบต้นน้ำสำหรับการประกอบอาวุธนิวเคลียร์ได้หรือไม่” . “ในวันที่ระเบียบโลกกำลังมีความซัดส่ายอย่างยิ่ง สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเคยทำสำเร็จมาแล้วและต้องเร่งผลักดัน คือการคำนึงถึงว่าจะเป็นการดีหรือไม่ หากต้องมีการปรับปรุงแก้ไขสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ให้ประเทศคู่เจรจาที่ต้องการเป็นมิตรและแสวงหาประโยชร์ร่วมกันอย่างยั่งยืนกับอาเซียนต้องยอมรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของอาเซียนด้วย” . ภาพประกอบ: พิรุฬพร นามมูลน้อย
    WWW.THE101.WORLD
    Amidst the Two Oceans ตอนที่ 3: ประชาคมอาเซียนในระเบียบโลกใหม่
    ปิติ ศรีแสงนาม ชวนหาที่ทางของประชาคมอาเซียนในมิติความเป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงในภูมิภาค ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 502 มุมมอง 0 รีวิว
  • กระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินของรัสเซียรายงานการขนส่งความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมมากกว่า 68 ตันเพิ่มเติมไปยังเมียนมาโดยใช้เครื่องบิน 2 ลำ
    กระทรวงสถานการณ์ฉุกเฉินของรัสเซียรายงานการขนส่งความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมมากกว่า 68 ตันเพิ่มเติมไปยังเมียนมาโดยใช้เครื่องบิน 2 ลำ
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 255 มุมมอง 32 0 รีวิว
  • “ในหลวง-พระราชินี” พระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์ ชาวเมียนมา “ผบ.ทหารสูงสุด” ย้ำหัวใจคือ “มนุษยธรรม” ลุยส่งทหารผลัด2 ฟื้นฟู
    https://www.thai-tai.tv/news/18054/
    “ในหลวง-พระราชินี” พระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์ ชาวเมียนมา “ผบ.ทหารสูงสุด” ย้ำหัวใจคือ “มนุษยธรรม” ลุยส่งทหารผลัด2 ฟื้นฟู https://www.thai-tai.tv/news/18054/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 222 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เราไม่ใช่รัฐบาลของโลก”

    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกมาปกป้องการตอบสนองในด้านความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงที่เมียนมา

    สหรัฐเพิ่งประกาศอนุมัติความช่วยเหลือแผ่นดินไหวในเมียนมาเพิ่มอีก 7 ล้านดอลลาร์เมื่อวานนี้ พร้อมระบุว่า “ไม่ยุติธรรมกับสหรัฐ” ที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั่วโลก

    รูบิโอ กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า สหรัฐจะไม่แบกรับภาระในการจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมส่วนใหญ่ให้กับโลกอีกต่อไป และเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยอื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือหลังจากเหตุแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่บางส่วนของเมียนมา

    “จีนเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก อินเดียเองก็เช่นกัน”

    “และยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลก ทุกคนควรจะร่วมกันช่วยเหลือ มันไม่แฟร์ที่จะคาดหวังให้สหรัฐฯ ต้องแบกรับภาระ 60-70% ในการมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั่วโลก”

    รูบิโอ ให้สัมภาษณ์กับสื่อที่กรุงบรัสเซลส์เมื่อวานนี้
    “เราไม่ใช่รัฐบาลของโลก” มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ออกมาปกป้องการตอบสนองในด้านความช่วยเหลือของสหรัฐต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงที่เมียนมา สหรัฐเพิ่งประกาศอนุมัติความช่วยเหลือแผ่นดินไหวในเมียนมาเพิ่มอีก 7 ล้านดอลลาร์เมื่อวานนี้ พร้อมระบุว่า “ไม่ยุติธรรมกับสหรัฐ” ที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้นำในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั่วโลก รูบิโอ กล่าวเมื่อวันศุกร์ว่า สหรัฐจะไม่แบกรับภาระในการจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมส่วนใหญ่ให้กับโลกอีกต่อไป และเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยอื่นๆ เข้ามาช่วยเหลือหลังจากเหตุแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่บางส่วนของเมียนมา “จีนเป็นประเทศที่ร่ำรวยมาก อินเดียเองก็เช่นกัน” “และยังมีอีกหลายประเทศทั่วโลก ทุกคนควรจะร่วมกันช่วยเหลือ มันไม่แฟร์ที่จะคาดหวังให้สหรัฐฯ ต้องแบกรับภาระ 60-70% ในการมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั่วโลก” รูบิโอ ให้สัมภาษณ์กับสื่อที่กรุงบรัสเซลส์เมื่อวานนี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 261 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้ว่าฯ กทม.เผยภารกิจค้นหาผู้สูญหายในตึก สตง.ถล่ม ยังดำเนินต่อเนื่อง แม้ทางทีมกู้ภัยนานาชาติจะถอนตัว เชื่อกู้ภัยไทยยังทำงานได้

    วันนี้ (4 เม.ย.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ชี้แจงผลภารกิจค้นหาผู้สูญหายตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม ซึ่งวันนี้ไม่มีแถลงอย่างเป็นทางการว่า ภารกิจในวันนี้ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องแต่ทางทีมนานาชาติจะถอนตัว เนื่องจากมีการกำหนดภารกิจมาแบบมีระยะเวลา แต่อาจมีบางส่วนที่ยังอยู่ตามภารกิจที่จำเป็น เหตุผลที่ทีมนานาชาติหลักส่วนใหญ่จะต้องถอนภารกิจเนื่องจากต้องเดินทางไปช่วยภารกิจทั่วโลก เพราะเป็นการทำงานแบบเซอร์วิสในหลายประเทศ ซึ่งภารกิจหลักๆ เป็นภารกิจช่วยชีวิต ครั้งนี้ภารกิจอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่มทีมนานาชาติไม่ได้มองว่ายากแต่มองว่ามีความซับซ้อนมาก แต่ทุกคนถูกฝึกมาให้ปฏิบัติภารกิจแบบเต็มที่ และการมาครั้งนี้เราได้เรียนรู้การปฏิบัติภารกิจร่วมกัน โดยก่อนการถอนภารกิจได้มีการมอบหมายและรีบนำข้อมูลต่างๆ ให้กับทีมกู้ภัยของไทย

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000032388

    #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake #ตึกถล่ม #สตง.
    ผู้ว่าฯ กทม.เผยภารกิจค้นหาผู้สูญหายในตึก สตง.ถล่ม ยังดำเนินต่อเนื่อง แม้ทางทีมกู้ภัยนานาชาติจะถอนตัว เชื่อกู้ภัยไทยยังทำงานได้ • วันนี้ (4 เม.ย.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ชี้แจงผลภารกิจค้นหาผู้สูญหายตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม ซึ่งวันนี้ไม่มีแถลงอย่างเป็นทางการว่า ภารกิจในวันนี้ยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องแต่ทางทีมนานาชาติจะถอนตัว เนื่องจากมีการกำหนดภารกิจมาแบบมีระยะเวลา แต่อาจมีบางส่วนที่ยังอยู่ตามภารกิจที่จำเป็น เหตุผลที่ทีมนานาชาติหลักส่วนใหญ่จะต้องถอนภารกิจเนื่องจากต้องเดินทางไปช่วยภารกิจทั่วโลก เพราะเป็นการทำงานแบบเซอร์วิสในหลายประเทศ ซึ่งภารกิจหลักๆ เป็นภารกิจช่วยชีวิต ครั้งนี้ภารกิจอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินถล่มทีมนานาชาติไม่ได้มองว่ายากแต่มองว่ามีความซับซ้อนมาก แต่ทุกคนถูกฝึกมาให้ปฏิบัติภารกิจแบบเต็มที่ และการมาครั้งนี้เราได้เรียนรู้การปฏิบัติภารกิจร่วมกัน โดยก่อนการถอนภารกิจได้มีการมอบหมายและรีบนำข้อมูลต่างๆ ให้กับทีมกู้ภัยของไทย • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/crime/detail/9680000032388 • #MGROnline #แผ่นดินไหว #ไทยแผ่นดินไหว #แผ่นดินไหวไทย #กรุงเทพแผ่นดินไหว #กรุงเทพมหานคร #ประเทศไทย #เมียนมา #bkkearthquake #BangkokEarthquake #ThailandEarthquake #ตึกถล่ม #สตง.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 406 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ช่อ พรรณิการ์" โพสต์วิจารณ์ปมรัฐบาลไทยต้อนรับผู้นำเผด็จการเมียนมา
    https://www.thai-tai.tv/news/18037/
    "ช่อ พรรณิการ์" โพสต์วิจารณ์ปมรัฐบาลไทยต้อนรับผู้นำเผด็จการเมียนมา https://www.thai-tai.tv/news/18037/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 87 มุมมอง 0 รีวิว
  • "การเมืองมันก็แค่เรื่องผลประโยชน์"

    นาง "บ." แบกคนหนึ่ง จะเป็นจะตาย เมื่อ "มิน อ่อง หล่าย" ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา เดินทางมาเยือนไทย

    ก่อนหน้านี้นาง "บ." แบกรายนี้ จะเป็นจะตายร้อนรุ่มเรื่องรัฐบาลไทยส่งกลับชาวอุยกูร์ไปครั้งหนึ่งแล้ว

    อยากรู้จริงๆว่ากรณี มิน อ่อง หล่าย แตกต่างจาก อิสเราเอลกับซีเรีย หรือเปล่า นาง "บ." แบกรายนี้เคยจะเป็นจะตายมั่งมั้ย

    หรือเธอคนนี้ "แกล้งไม่รู้" ว่า การเมืองระหว่างประเทศมันอยู่บน "ผลประโยชน์" ทั้งนั้น ก็แค่เล่นไปตามบทของตัวเอง "กลัวไม่มีแสงในโซเชียล"



    อิสราเอล
    👉ทำข้อตกลงหยุดยิงกับ ฮิซบอลเลาะห์ ฮามาส แต่ยังละเมิดและสังหารพลเรือนอยู่เรื่อยๆ - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอลโดนหข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซาจากศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉มีผู้สังเวยชีวิตไปแล้วมากกว่าห้าหมื่นรายเฉพาะในกาซา ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉พยายามขับไล่พลเรือนออกจากดินแดนของพวกเขา - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉ตัดขาดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทุกช่องทาง - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉ทีมสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติต่างๆเสียชีวิตรวมกันเกือบร้อยรายตั้งแต่เริ่มสงครามเมื่อตุลาคม 2023 - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉ล่าสุด เนทันยาฮู เดินทางเยือาฮังการี โดยไม่สนหมายจับจาก ICC ด้วยซ้ำ!! - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย

    ซีเรีย
    👉ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายที่มีค่านำจับสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และแต่งตั้งตนเองปกครอง👉ประเทศ - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉หลังจากชนั้นถูกถอดรายชื่อออกจากสถานะ "ผู้ก่อการร้าย" - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉ตกลงว่ากลุ่มก่อการร้าย หรือตัวผู้ก่อการร้าย เกิดจากนโยบายการเมือง หรือการกระทำของกลุ่มหรือของบุคคล - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    👉ผู้นำยุโรปและอเมริกาต่างเดินทางเข้าพบร่วมยินดีกับอดีตผู้นำกลุ่มก่อการร้ายไม่ขาดสาย - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    "การเมืองมันก็แค่เรื่องผลประโยชน์" นาง "บ." แบกคนหนึ่ง จะเป็นจะตาย เมื่อ "มิน อ่อง หล่าย" ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา เดินทางมาเยือนไทย ก่อนหน้านี้นาง "บ." แบกรายนี้ จะเป็นจะตายร้อนรุ่มเรื่องรัฐบาลไทยส่งกลับชาวอุยกูร์ไปครั้งหนึ่งแล้ว อยากรู้จริงๆว่ากรณี มิน อ่อง หล่าย แตกต่างจาก อิสเราเอลกับซีเรีย หรือเปล่า นาง "บ." แบกรายนี้เคยจะเป็นจะตายมั่งมั้ย หรือเธอคนนี้ "แกล้งไม่รู้" ว่า การเมืองระหว่างประเทศมันอยู่บน "ผลประโยชน์" ทั้งนั้น ก็แค่เล่นไปตามบทของตัวเอง "กลัวไม่มีแสงในโซเชียล" อิสราเอล 👉ทำข้อตกลงหยุดยิงกับ ฮิซบอลเลาะห์ ฮามาส แต่ยังละเมิดและสังหารพลเรือนอยู่เรื่อยๆ - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอลโดนหข้อกล่าวหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในฉนวนกาซาจากศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉มีผู้สังเวยชีวิตไปแล้วมากกว่าห้าหมื่นรายเฉพาะในกาซา ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉พยายามขับไล่พลเรือนออกจากดินแดนของพวกเขา - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉ตัดขาดความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทุกช่องทาง - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉ทีมสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือจากองค์กรนานาชาติต่างๆเสียชีวิตรวมกันเกือบร้อยรายตั้งแต่เริ่มสงครามเมื่อตุลาคม 2023 - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉ล่าสุด เนทันยาฮู เดินทางเยือาฮังการี โดยไม่สนหมายจับจาก ICC ด้วยซ้ำ!! - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย ซีเรีย 👉ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายที่มีค่านำจับสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และแต่งตั้งตนเองปกครอง👉ประเทศ - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉หลังจากชนั้นถูกถอดรายชื่อออกจากสถานะ "ผู้ก่อการร้าย" - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉ตกลงว่ากลุ่มก่อการร้าย หรือตัวผู้ก่อการร้าย เกิดจากนโยบายการเมือง หรือการกระทำของกลุ่มหรือของบุคคล - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย 👉ผู้นำยุโรปและอเมริกาต่างเดินทางเข้าพบร่วมยินดีกับอดีตผู้นำกลุ่มก่อการร้ายไม่ขาดสาย - นาง "บ." แบกคนนี้เคยวิจารณ์มั่งมั้ย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 504 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 36% (ล่าสุดปรับอีกครั้งเป็น 37%) หนึ่งในทางออกคือ ไทยต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน เพื่อผ่านวิกฤตครั้งนี้ให้ได้.ประเด็นเร่งด่วนในระยะสั้นที่ไทยต้องเร่งผลักดันผ่านคณะทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับสูง และที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อให้ทันก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้คือ.รับมือกับมาตรการทางทางการค้าของสหรัฐอเมริการ่วมกัน เพราะสมาชิกอาเซียนโดนกันถ้วนหน้า กัมพูชา 49% สปป ลาว 48% เวียดนาม 46% เมียนมา 44% ไทย 36-37% อินโดนีเซีย 32% มาเลเซียและบรูไน 24% ฟิลิปปินส์ 17% หรือแม้แต่สิงคโปร์ก็โดนภาษี 10% เราต้องคำนวณร่วมกันว่า อัตราที่ทรัมป์กล่าวอ้าง นั่นคือ x2 ของอัตราภาษีเหล่านี้ คืออัตราจริงหรือไม่ ที่มาเป็นอย่างไร ถ้าไม่จริงต้องเร่งปฏิเสธ (ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจว่าไม่น่าจะใช่อัตราที่ถูกต้อง รวมทั้งมีผู้คำนวณแล้วว่าตัวเลขชุดนี้ แท้จริงแล้วคือ สัดส่วนมูลค่าการขาดดุลการค้าต่อมูลค่าการนำเข้าที่สหรัฐนำเข้าสินค้าจากแต่ละประเทศ).จากนั้น ต้องคิดต่อว่าหากให้แต่ละประเทศสมาชิกเจรจากับสหรัฐ (ซึ่งจะมีเวลาเตรียมตัวสั้นมาก) เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้า อำนาจการต่อรองของแต่ละสมาชิกเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาคือ เรื่องจิ๊บจ๊อยขี้ประติ๋ว แต่หากประชาคมอาเซียนรวมตัวกัน นี้คือตลาดของประชาชนเรือน 700 ล้านประชากร ที่มีรายได้สูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก และเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญ ดังนั้น อาเซียนต้องร่วมมือกัน อาเซียนต้องเดินหน้าต่อรองด้วยกัน .อาเซียนต้องไม่ดำเนินมาตรการที่ขัดแข้งขัดขาซึ่งกันและกัน มาตรการจำพวกตั้งภาษีตอบโต้กัน หรือเลียนแบบมาตรการทางการค้าเพื่อตอบโต้ซึ่งกันและกัน (Tariff Retaliation and/or Trade Emulation) รวมทั้งนโยบายประเภทเอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่คนอื่น ขอทานจากประเทศเพื่อบ้าน (Beggar-thy-neighbor) อาทิ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินทุน แข่งกันให้สิทธิพิเศษทางการค้าการลงทุนจนวายวอดทั้งภูมิภาค ฯลฯ เหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น .จากนั้นทั้งอาเซียนต้องร่วมกัน.1. แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่า อาเซียนคืออาเซียน อาเซียนมีจุดแข็งของตนเอง อาเซียนพร้อมสนับสนุนการค้า การลงทุนเสรี อาเซียนสนับสนุนกฎกติการแบบพหุภาคีนิยม และอาเซียนไม่ได้เป็นเขตอิทธิพลของมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จีน สหรัฐ หรือ มหาอำนาจใดๆ.2. เร่งสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมาตรการทางการค้าที่สหรัฐประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน ว่าแต่ละประเทศได้รับผลกระทบอย่างไร และหากเราร่วมมือกัน เราต้องการตจะกำหนดทิศทางการเจรจาอย่างไร แน่นอนว่า ทุกประเทศ ทุกคน คงไม่ได้สิ่งที่ต้องการทั้งหมด แต่ต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ บางเรื่อง บางประเทศ คงต้องยอมถอย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อบางภาคการผลิต บางประเทศ และจากนั้นค่อยไปหารือกันว่าอาเซียนจะช่วยการเยียวยาผลกระทบซึ่งกันและกันได้อย่างไร เร่งปรึกษาหารือกับวิสาหกิจสหรัฐที่ทำการค้า ทำการลงทุนอยู่แล้วในอาเซียน ว่าพวกเขามีข้อเสนอแนะใดบ้าง.3. เร่งสำรวจว่าแต่ละประเทศมีช่องทาง มีสายสัมพันธ์ มีแนวทางการติดต่อประสานงานกับประธานาธิบดีทรัมป์ และทีมงานที่ภักดีของเขา รวมทั้งผู้สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของเขาในช่องทางใดบ้าง มีอะไรที่จะเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้คนเหล่านี้ต้องการเป็นสะพานเพื่อเปิดการเจรจาระหว่างอาเซียนกับสหรัฐ.4. วางยุทธศาสตร์การเจรจาร่วมกัน โดยการจัดทำ “ยุทธศาสตร์ราชสีห์กับหนู” นำเสนอนโยบายที่ทำให้ทรัมป์ต้องให้ความสนใจอาเซียน (ทรัมป์เคยมาเยือนการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ในปี 2017 แต่ไม่เคยเข้าประชุมกับผู้นำอาเซียน) อาเซียนต้องเป็นหนูที่แสดงความเกรงใจนบนอบในระยะปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงให้เห็นโอกาสที่สหรัฐจะได้จากการร่วมมือกับในอนาคต มีอะไรที่เราจะเสนอกับอาเซียนได้บ้าง อาทิ ความต้องการในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของอาเซียนร่วมกันในอีก 5 ปีต่อจากนี้ ความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการที่เป็น Billing ขนาดใหญ่ อาทิ การจัดหาเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศอาเซียนที่มีตลาดการบินขนาดใหญ่และเป็น Hub ทางการบินที่สำคัญ, การจัดซื้อ Software และ Hardware สำหรับระบบบริหาร ASEAN Smart City Network รวมทั้งความต้องการในการจัดซื้อบริการเหล่านี้สำหรับการบริหารกิจการทั้งของรัฐบาลและของภาคเอกชนในอาเซียน, ความต้องการซื้ออุปกรณ์และองค์ความรู้ในการติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการสร้างโรงไฟฟ้าและศักยภาพของการผลิตพลังงานสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมดิจิตอลที่ผู้ประกอบการสหรัฐต้องการ, ทรัพยากรธรรมชาติของอาเซียนที่สหรัฐดิ้นรนแสวงหาอยู่ ณ ขณะนี้, ไปจนถึงการเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนคาสิโนแห่ง Las Vegas ได้มีโอกาสในการทำธุรกิจในอาเซียนในประเทศที่กำลังเดินหน้านโยบายการเปิดบ่อน (ส่วนตัวผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนคาสิโนที่มอมเมาประชาชน แต่หากรัฐบาลจะดันทุรังเปิดให้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะต้องอย่าลืมว่าผู้สนับสนุนทรัมป์ก็เป็นกลุ่มทุนคาสิโนยักษ์ใหญ่) ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอำนาจต่อรองที่หนูตัวนี้จะรอดจากเงื้อมมือราชสีห์ด้วยกันทั้งสิ้น.5. และเนื่องจาก ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม ได้รับสิทธิ์ในการเป็น Partner Country ของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BRICS ในขณะที่อินโดนีเซียได้รับสิทธิ์เป็น Full Member ของ BRICS เรียบร้อยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หนูน้อยอาเซียนต้องดำเนินการด้วยนั่นก็คือ เร่งเจรจากับผู้นำบราซิลที่จะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดกลุ่ม BRICS ในปีนี้ ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะรับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศเข้าเป็นสมาชิก เพราะหนูตัวนี้บางครั้งก็ต้องพึ่งพาราชสีห์อีกตัวมากดดันราชสีห์อันทพาลตัวเก่า การแสวงหาโอกาส การแสวงหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นทางเลือกเพื่อมาทดแทนตลาดการค้าที่กำลังจะเสียไป เป็นทางเลือกที่เรามีสิทธิ์ในฐานะรัฐอธิปไตย.ขอเรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายของไทยต้องมีวิสัยทัศน์ มีความกล้าหาญในการเล่นบทบาทนำของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน เราต้องมีข้อเสนอกับประชาคมอาเซียนเพื่อรับมือมาตรการกีดกันทางการค้าจะสหรัฐร่วมกัน.รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนามคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ปล. รบกวนช่วยกัน Share นะครับ เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบ้าง ไม่งั้นไทยจะหายไปจากจอเรดาร์
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 692 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เหล็กที่นำมาใช้ก่อสร้าง 2 ขนาด ไม่ได้มาตรฐาน”

    การตรวจประสิทธิภาพของเหล็กจากซากอาคาร คือหนึ่งในกระบวนการค้นหาสาเหตุการถล่มของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งเป็นอาคารเพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานครที่ถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึงประมาณ 1,100 กิโลเมตร

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000031614

    #MGROnline #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม #สตง.
    “เหล็กที่นำมาใช้ก่อสร้าง 2 ขนาด ไม่ได้มาตรฐาน” • การตรวจประสิทธิภาพของเหล็กจากซากอาคาร คือหนึ่งในกระบวนการค้นหาสาเหตุการถล่มของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งเป็นอาคารเพียงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานครที่ถล่มลงมาจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ซึ่งอยู่ห่างออกไปถึงประมาณ 1,100 กิโลเมตร • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/onlinesection/detail/9680000031614 • #MGROnline #แผ่นดินไหว #ตึกถล่ม #สตง.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 232 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts