Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1
.
ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ
.
Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร
.
หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย”
.
เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า
.
ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน
.
Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน
.
ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง
.
เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน
.
ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ
.
ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์
.
ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ
.
หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ
.
จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)
.
ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด
.
ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์
.
ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป
.
หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม
อ้างอิง :
• มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/
• วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140
• สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/
• ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/
• Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers
By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
.
ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ
.
Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร
.
หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย”
.
เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า
.
ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน
.
Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน
.
ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง
.
เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน
.
ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ
.
ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์
.
ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ
.
หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ
.
จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)
.
ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด
.
ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์
.
ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป
.
หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม
อ้างอิง :
• มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/
• วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140
• สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/
• ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/
• Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers
By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1
.
ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ
.
Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร
.
หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย”
.
เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า
.
ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน
.
Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน
.
ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง
.
เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน
.
ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ
.
ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์
.
ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ
.
หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ
.
จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)
.
ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด
.
ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์
.
ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป
.
หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม
อ้างอิง :
• มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/
• วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140
• สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/
• ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/
• Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers
By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
24 มุมมอง
0 รีวิว