• Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
    .
    ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
    ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
    รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
    โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
    ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
    อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
    นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
    แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
    แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
    ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
    อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
    โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
    แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
    Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
    หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
    1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
    2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
    3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
    4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
    5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
    6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
    7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
    ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
    ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
    พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
    ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
    ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
    แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด


    อ้างอิง :
    • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    https://www.bbc.com/thai/international-53264790
    • EarthRights International, Global Witness
    Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 115 มุมมอง 0 รีวิว
  • การแพร่กระจายข้อมูลเท็จหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลและการสนับสนุนองค์กรช่วยเหลือในพื้นที่ การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวิกฤต

    ✅ การแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ:
    - หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2025 มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เช่น วิดีโอที่สร้างจาก AI หรือภาพจากเหตุการณ์ในประเทศอื่น
    - ข้อมูลเท็จเหล่านี้ถูกใช้เพื่อสร้างรายได้จากโฆษณา โดยผู้สร้างเนื้อหาได้รับเงินจากการแชร์และการดู

    ✅ ผลกระทบต่อการช่วยเหลือ:
    - การแพร่กระจายข้อมูลเท็จทำให้เกิดความตื่นตระหนกและขัดขวางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย
    - องค์กรช่วยเหลือและประชาชนในพื้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง

    ✅ การตอบสนองของแพลตฟอร์ม:
    - Meta และ TikTok ได้ดำเนินการลบโพสต์ที่มีข้อมูลเท็จและแนะนำแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
    - TikTok มีการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกว่า 50 ภาษาเพื่อจัดการกับข้อมูลเท็จ

    ✅ ความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูล:
    - การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากข้อมูลที่ผิดพลาดอาจส่งผลต่อชีวิตและความปลอดภัย

    https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/11/making-money-out-of-a-disaster-fake-news-in-myanmar-quake
    การแพร่กระจายข้อมูลเท็จหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบข้อมูลและการสนับสนุนองค์กรช่วยเหลือในพื้นที่ การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญในช่วงวิกฤต ✅ การแพร่กระจายของข้อมูลเท็จ: - หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2025 มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จ เช่น วิดีโอที่สร้างจาก AI หรือภาพจากเหตุการณ์ในประเทศอื่น - ข้อมูลเท็จเหล่านี้ถูกใช้เพื่อสร้างรายได้จากโฆษณา โดยผู้สร้างเนื้อหาได้รับเงินจากการแชร์และการดู ✅ ผลกระทบต่อการช่วยเหลือ: - การแพร่กระจายข้อมูลเท็จทำให้เกิดความตื่นตระหนกและขัดขวางการช่วยเหลือผู้ประสบภัย - องค์กรช่วยเหลือและประชาชนในพื้นที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ✅ การตอบสนองของแพลตฟอร์ม: - Meta และ TikTok ได้ดำเนินการลบโพสต์ที่มีข้อมูลเท็จและแนะนำแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ - TikTok มีการฝึกอบรมผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกว่า 50 ภาษาเพื่อจัดการกับข้อมูลเท็จ ✅ ความสำคัญของการเข้าถึงข้อมูล: - การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องในช่วงวิกฤตเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากข้อมูลที่ผิดพลาดอาจส่งผลต่อชีวิตและความปลอดภัย https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2025/04/11/making-money-out-of-a-disaster-fake-news-in-myanmar-quake
    WWW.THESTAR.COM.MY
    Making money out of a disaster: fake news in Myanmar quake
    Creators and social platforms cash in as misinformation floods newsfeeds after Myanmar quake.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 97 มุมมอง 0 รีวิว
  • 4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน

    ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥

    🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢

    แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ

    🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ

    จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣

    🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต

    ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี

    ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊

    เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น.

    🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน

    📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน
    9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่
    10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย
    11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที

    💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม

    📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง

    💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน

    คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด

    🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง

    📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค

    📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น

    ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠

    🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥

    🌐 คำถามที่คาใจ
    ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN?
    การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่?
    การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า?

    เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า

    🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา

    🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค

    พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม

    ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน

    พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง”

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568

    📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    4 ปี ทุ่งสังหาร “พะโค” ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หงสาวดี 82 ศพ แสงไฟฉายจากมือถือ ฤาจะสู้เปลวไฟจากไรเฟิล บทบาทของโลกที่เงียบงัน ✍️ เหตุการณ์ที่พะโคเมื่อ 9 เมษายน 2564 คือหนึ่งในความรุนแรง หลังรัฐประหารเมียนมา ที่โลกไม่ควรลืม กับการสังหารหมู่พลเรือน 82 ราย ภายใต้เงียบสงัดของประชาคมโลก และการประท้วงด้วยแสงไฟจากมือถือ ที่ไม่อาจสู้เปลวไฟจากปืนไรเฟิลได้ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 🔥 🧭 เสียงเงียบที่กลบเสียงปืน เมื่อเช้าวันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564 ประชาชนในเมืองพะโค ประเทศเมียนมา ตื่นขึ้นมาท่ามกลางเสียงปืนดังสนั่น 🚨 ไม่นานจากเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ กองทัพพม่าเริ่มปฏิบัติการ กวาดล้างการต่อต้านอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่เมืองพะโคในวันนั้น กลายเป็นการสังหารหมู่ที่ร้ายแรงที่สุดในช่วงหลังรัฐประหาร ด้วยจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 82 ศพ ในวันเดียว 😢 แต่สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งกว่ากระสุน คือ “ความเงียบ” ของโลก 🌍 ที่ไม่มีเสียงเรียกร้องความยุติธรรมที่เพียงพอ 🏞️ "พะโค" (Bago) หรือหงสาวดี เป็นเมืองสำคัญทางภาคใต้ของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งเพียง 91 กิโลเมตร 🌏 เคยเป็นเมืองหลวง ของอาณาจักรมอญและตองอู ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่สำคัญ อยู่ใกล้เส้นทางยุทธศาสตร์ และง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกำลังพลของกองทัพ จุดยุทธศาสตร์นี้เอง ทำให้พะโคกลายเป็นพื้นที่สำคัญ ที่ประชาชนใช้ประท้วง และกองทัพใช้เพื่อ “แสดงพลัง” 💣 🔫 เหตุการณ์ 9 เมษายน 2564 วันที่ไฟจากไรเฟิลกลืนชีวิต ⏰ เวลาเริ่มต้น ตี 4 กองทัพเมียนมาส่งทหาร 250 นาย เข้าบุกบ้านเรือนในย่านชินสอบู, นันตอว์ยา, มอว์กัน และปนนาซู ใกล้พระราชวังกัมโพชธานี ⚔️ เวลา 05.00 น. ทหาร 5 หน่วย เริ่มกราดยิงผู้ชุมนุมโดยไม่เลือกหน้า ใช้อาวุธสงครามเต็มรูปแบบ ประชาชนสู้กลับด้วยระเบิดปิงปอง และขว้างสิ่งของ ✊ เจ้าหน้าที่ทหาร เข้าควบคุมสถานการณ์ได้ในช่วง 10.00 น. 🩸 ผลที่ตามมา มีพลเรือนเสียชีวิตอย่างน้อย 82 ราย บุคลากรแพทย์ถูกขัดขวาง ไม่ให้เข้าช่วยเหลือ บางศพถูกกองรวมไว้ในเจดีย์เสยะมุนี บางศพถูกเผาทิ้ง...เพื่อปิดบังหลักฐาน 📈 ลำดับเหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 9 เม.ย. 64 ช่วงเช้า ทหารบุกบ้านเรือน ยิงสดประชาชน 9 เม.ย. 64 ช่วงสาย นำศพมากองรวมในเจดีย์ ปิดล้อมพื้นที่ 10 เม.ย. 64 เอเอพีพีรายงานยอดเสียชีวิต 82 ราย 11 เม.ย. 64 UN เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงทันที 💣 อาวุธที่ใช้: ปืนไรเฟิล, ระเบิดแรงสูง, ยิงใส่ผู้ชุมนุมแบบสุ่ม 📷 วิดีโอจาก AFP แสดงให้เห็นผู้ชุมนุม ใช้กระสอบทรายเป็นเกราะกำบัง 💡 บทบาทของชาวพะโค และการต่อต้านด้วย “แสงไฟ” เมื่ออาวุธหนักเป็นของทหาร... แต่ประชาชนมีเพียงโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเลือกใช้ แสงไฟแฟลช 📱 เป็นเครื่องมือแห่งการต่อต้าน ✨ Flash Strike หรือ “การชุมนุมเงียบ” ในช่วงค่ำคืน คนเมียนมาเปิดไฟฉายมือถือ ร้องเพลงต้านรัฐประหาร เป็นสัญลักษณ์ของ “แสงแห่งเสรีภาพ” ที่สู้กับ “เปลวไฟจากกระสุน” แม้รู้ว่าจะโดนยิง...แต่ยังคงยืนหยัด 🧯 การตอบสนองของรัฐบาลทหาร ปฏิเสธข้อเท็จจริง 📺 ทางการเมียนมารายงานว่า มีผู้เสียชีวิตเพียง “1 ราย” ในเหตุการณ์พะโค 📵 อินเทอร์เน็ตถูกตัดขาด ข้อมูลถูกปิดกั้น ⛔ ความจริงที่พยายามลบล้าง ขัดขวางไม่ให้หน่วยแพทย์เข้าถึงพื้นที่ ขนศพขึ้นรถบรรทุกไปซ่อน เผาศพทิ้งเพื่อทำลายหลักฐาน นี่คือการบิดเบือนความจริง อย่างเป็นระบบ 🧠 🧊 ความเงียบของประชาคมโลก = การสมรู้ร่วมคิด? แม้มีหลักฐานจำนวนมากจากคลิปวิดีโอ 📹 และรายงานจาก NGOs แต่… ประชาคมโลกกลับเลือก “นิ่งเงียบ” 🫥 🌐 คำถามที่คาใจ ทำไมไม่มีการแทรกแซงจาก UN? การเรียกร้องความช่วยเหลือถูกละเลยหรือไม่? การคว่ำบาตรเศรษฐกิจเพียงพอหรือเปล่า? เสียงจากคนตาย...อาจเงียบ แต่ “ความเงียบของโลก” ดังกว่า 🌍 องค์กรสิทธิมนุษยชน และความพยายามในการเปิดโปงความจริง องค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น AAPP หรือสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง, Myanmar Now, AFP, BBC Burmese, Amnesty International 📣 ได้รายงานเหตุการณ์นี้ให้โลกได้รับรู้ แต่ยังขาด “กลไกที่มีผลบังคับ” ในการดำเนินคดี ต่อผู้นำกองทัพเมียนมา 🕯️ พะโคในความทรงจำของชาวเมียนมา “แสงจากมือถือ...อาจไม่ชนะไฟจากปืน แต่แสงนั้นจะไม่มีวันดับในใจเรา” ผู้ประท้วงนิรนามในพะโค พะโคกลายเป็น “สัญลักษณ์แห่งการเสียสละ” เป็นคำเตือนว่า เสรีภาพไม่ได้ได้มาโดยง่าย และไม่ควรถูกลืม ✅ พะโคต้องไม่ใช่แค่บทเรียนที่ถูกลืม 4 ปีผ่านไป...ความยุติธรรมยังไม่มา 🕰️ แต่ความหวังยังอยู่ในแสงแฟลชของประชาชน พะโคไม่ใช่แค่ “เหตุการณ์” แต่คือ “หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ต้องเขียนด้วยความจริง” ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 090953 เม.ย. 2568 📱 #พะโค #เมียนมา #FlashStrike #รัฐประหารเมียนมา #สังหารหมู่ #สิทธิมนุษยชน #ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ #UN #SaveMyanmar #BagoMassacre
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ส่งผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่โรงงานในไทยที่เป็นฐานการผลิตสำคัญไม่ได้รับความเสียหาย บริษัทเทคโนโลยีรายงานว่าดำเนินงานตามปกติ และมีแนวโน้มขยายการผลิตในพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชน

    การดำเนินการหลังเหตุการณ์:
    - บริษัทในไทยหลายแห่ง เช่น Zhen Ding Tech และ Delta Electronics ทำการอพยพพนักงานชั่วคราวเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและกลับมาดำเนินงานได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

    ความสำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรม:
    - ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญสำหรับบริษัทอย่าง Intel, Seagate และ Western Digital และเหตุการณ์นี้เป็นการทดสอบความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้

    แนวโน้มการขยายการผลิต:
    - หลายบริษัทกำลังเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศไทยเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาจีน ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม

    ความมั่นคงของโรงงาน:
    - โรงงานในพื้นที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว เช่น จังหวัดระยองและชลบุรี ไม่มีรายงานความเสียหาย และยังคงทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

    https://www.tomshardware.com/tech-industry/can-earthquake-in-myanmar-disrupt-pc-hardware-production-manufacturers-are-checking-out
    เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาร์ส่งผลกระทบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่โรงงานในไทยที่เป็นฐานการผลิตสำคัญไม่ได้รับความเสียหาย บริษัทเทคโนโลยีรายงานว่าดำเนินงานตามปกติ และมีแนวโน้มขยายการผลิตในพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงของซัพพลายเชน การดำเนินการหลังเหตุการณ์: - บริษัทในไทยหลายแห่ง เช่น Zhen Ding Tech และ Delta Electronics ทำการอพยพพนักงานชั่วคราวเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและกลับมาดำเนินงานได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ความสำคัญของประเทศไทยในอุตสาหกรรม: - ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญสำหรับบริษัทอย่าง Intel, Seagate และ Western Digital และเหตุการณ์นี้เป็นการทดสอบความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคนี้ แนวโน้มการขยายการผลิต: - หลายบริษัทกำลังเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศไทยเพื่อกระจายความเสี่ยงและลดการพึ่งพาจีน ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม ความมั่นคงของโรงงาน: - โรงงานในพื้นที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว เช่น จังหวัดระยองและชลบุรี ไม่มีรายงานความเสียหาย และยังคงทำงานได้อย่างต่อเนื่อง https://www.tomshardware.com/tech-industry/can-earthquake-in-myanmar-disrupt-pc-hardware-production-manufacturers-are-checking-out
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 308 มุมมอง 0 รีวิว
  • BRICS membership (สมาชิก BRICS)

    1. 🇧🇷 Brazil
    2. 🇷🇺 Russia
    3. 🇮🇳 India
    4. 🇨🇳 China
    5. 🇿🇦 South Africa
    6. 🇪🇬 Egypt
    7. 🇪🇹 Ethiopia
    8. 🇮🇷 Iran
    9. 🇦🇪 UAE

    Officially invited to join (ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการให้เข้าร่วม)

    10. 🇸🇦 Saudi Arabia

    Officially applied for membership (ได้สมัครเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ)

    11. 🇩🇿 Algeria
    12. 🇦🇿 Azerbaijan
    13. 🇧🇭 Bahrain
    14. 🇧🇩 Bangladesh
    15. 🇧🇾 Belarus
    16. 🇧🇴 Bolivia
    17. 🇨🇺 Cuba
    18. 🇰🇿 Kazakhstan
    19. 🇰🇼 Kuwait
    20. 🇲🇾 Malaysia
    21. 🇵🇰 Pakistan
    22. 🇵🇸 Palestine
    23. 🇸🇳 Senegal
    24. 🇹🇭 Thailand
    25. 🇹🇷 Turkey
    26. 🇻🇪 Venezuela
    27. 🇾🇪 Yemen
    28. 🇿🇼 Zimbabwe

    Expressed interest in joining BRICS (แสดงความสนใจในการเข้าร่วม BRICS)

    29. 🇦🇴 Angola
    30. 🇨🇲 Cameroon
    31. 🇨🇫 Central African Republic
    32. 🇨🇩 DR of the Congo
    33. 🇨🇬 Congo
    34. 🇬🇭 Ghana
    35. 🇳🇬 Nigeria
    36. 🇸🇸 South Sudan
    37. 🇸🇩 Sudan
    38. 🇹🇳 Tunisia
    39. 🇺🇬 Uganda
    40. 🇨🇴 Colombia
    41. 🇸🇻 El Salvador
    42. 🇳🇮 Nicaragua
    43. 🇵🇪 Peru
    44. 🇦🇫 Afghanistan
    45. 🇮🇩 Indonesia
    46. 🇮🇶 Iraq
    47. 🇱🇦 Laos
    48. 🇲🇲 Myanmar
    49. 🇱🇰 Sri Lanka
    50. 🇸🇾 Syria
    51. 🇻🇳 Vietnam
    .
    4:51 PM · Oct 22, 2024 · 1.6M Views
    https://x.com/stats_feed/status/1848663455890358603
    BRICS membership (สมาชิก BRICS) 1. 🇧🇷 Brazil 2. 🇷🇺 Russia 3. 🇮🇳 India 4. 🇨🇳 China 5. 🇿🇦 South Africa 6. 🇪🇬 Egypt 7. 🇪🇹 Ethiopia 8. 🇮🇷 Iran 9. 🇦🇪 UAE Officially invited to join (ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการให้เข้าร่วม) 10. 🇸🇦 Saudi Arabia Officially applied for membership (ได้สมัครเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ) 11. 🇩🇿 Algeria 12. 🇦🇿 Azerbaijan 13. 🇧🇭 Bahrain 14. 🇧🇩 Bangladesh 15. 🇧🇾 Belarus 16. 🇧🇴 Bolivia 17. 🇨🇺 Cuba 18. 🇰🇿 Kazakhstan 19. 🇰🇼 Kuwait 20. 🇲🇾 Malaysia 21. 🇵🇰 Pakistan 22. 🇵🇸 Palestine 23. 🇸🇳 Senegal 24. 🇹🇭 Thailand 25. 🇹🇷 Turkey 26. 🇻🇪 Venezuela 27. 🇾🇪 Yemen 28. 🇿🇼 Zimbabwe Expressed interest in joining BRICS (แสดงความสนใจในการเข้าร่วม BRICS) 29. 🇦🇴 Angola 30. 🇨🇲 Cameroon 31. 🇨🇫 Central African Republic 32. 🇨🇩 DR of the Congo 33. 🇨🇬 Congo 34. 🇬🇭 Ghana 35. 🇳🇬 Nigeria 36. 🇸🇸 South Sudan 37. 🇸🇩 Sudan 38. 🇹🇳 Tunisia 39. 🇺🇬 Uganda 40. 🇨🇴 Colombia 41. 🇸🇻 El Salvador 42. 🇳🇮 Nicaragua 43. 🇵🇪 Peru 44. 🇦🇫 Afghanistan 45. 🇮🇩 Indonesia 46. 🇮🇶 Iraq 47. 🇱🇦 Laos 48. 🇲🇲 Myanmar 49. 🇱🇰 Sri Lanka 50. 🇸🇾 Syria 51. 🇻🇳 Vietnam . 4:51 PM · Oct 22, 2024 · 1.6M Views https://x.com/stats_feed/status/1848663455890358603
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 738 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย
    .
    ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย
    .
    วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน
    .
    หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้
    .
    ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย
    .
    เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า
    .
    "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว"
    .
    ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า
    .
    "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา"
    .
    ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า
    #TheiConGroup
    #iConEvolutionCashCloud
    #IE #ImpactArena
    #MuangThongThani
    #BossPaul #PaulTheiCon
    #Lao #Cambodia
    #Singapore #Myanmar
    #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์
    #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์
    #โดมปกรณ์ลัม
    ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย . ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย . วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน . หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ . ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย . เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า . "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว" . ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า . "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา" . ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า #TheiConGroup #iConEvolutionCashCloud #IE #ImpactArena #MuangThongThani #BossPaul #PaulTheiCon #Lao #Cambodia #Singapore #Myanmar #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์ #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์ #โดมปกรณ์ลัม
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1963 มุมมอง 1 รีวิว