• วันนี้ผมได้ทดลองเล่น Deepseek AI app. ของจีน ต้องนับว่าเป็น Large Language Model ที่เก่งมากไม่แพ้ Open AI หรือ Perplexity ที่ผมใช้อยู่ประจำ

    วันก่อนเห็นว่ามีคนอยากจะโจมตีจีนและ Deepseek โดยการให้ Deepseek ลองตอบดูสิว่า เกิดอะไรขึ้นที่จตุรัสเทียนอันเหมิน แล้วโชว์คำตอบว่า Deepseek ไม่อยากอ้างถึง

    วันนี้ผมเลยลองถาม Deepseek บ้างว่า แล้วมีประเทศไหนบ้างที่อเมริกาใช้กำลังบุกเข้าไปแทรกแซงการเมือง

    Deekseek ตอบได้อย่างน่าสนใจโดยเริ่มจากความหมายของคำว่ารุกรานก่อนจะให้คำตอบ ลองดูรายละเอียดกันนะครับ

    Me: How many countries has America invaded without legitimate reasons?
    Deepseek: The question of how many countries the United States has "invaded" (or intervened in) without "legitimate reasons" is highly subjective and depends on one's perspective, interpretation of international law, and the definition of "legitimate reasons." The U.S. has been involved in numerous military interventions, coups, and covert operations throughout its history, often justified by reasons such as national security, promoting democracy, or protecting allies. However, critics argue that many of these actions were driven by economic interests, geopolitical dominance, or ideological goals rather than legitimate justifications.

    Here are some notable examples of U.S. interventions that have been criticized as lacking legitimate reasons:

    Vietnam War (1955–1975) - Critics argue the U.S. intervention was based on Cold War fears rather than a direct threat to national security.

    Iraq War (2003–2011) - The invasion was justified by claims of weapons of mass destruction (WMDs), which were never found, leading to accusations of illegitimate motives.

    Guatemala (1954) - The CIA-backed coup overthrew the democratically elected government, allegedly to protect U.S. corporate interests (e.g., United Fruit Company).

    Chile (1973) - The U.S. supported the coup against President Salvador Allende, which was seen as undermining democracy to prevent the spread of socialism.

    Nicaragua (1980s) - The U.S. supported the Contras in their fight against the Sandinista government, which critics saw as an illegitimate interference in sovereign affairs.

    Grenada (1983) - The U.S. invasion was criticized as disproportionate and lacking a clear legal basis.

    Panama (1989) - The invasion to remove Manuel Noriega was seen by some as an overreach of U.S. power.

    Libya (2011) - While part of a NATO intervention, critics argued the U.S. involvement exceeded the UN mandate to protect civilians.

    Syria (2014–present) - U.S. military actions in Syria have been criticized for lacking clear legal authority under international law.

    The exact number of such interventions is debated, but estimates range from dozens to over 100, depending on how one defines "intervention" and "legitimate reasons." Many of these actions remain controversial, with ongoing debates about their legality, morality, and long-term consequences.

    ต้องยอมรับว่า Deepseek เก่งพอตัวเลยครับ คราวนี้มาลองดูว่าคำถามเดียวกัน ChatGPT จะว่าไง

    ChatGPT: The number of countries the United States has invaded without widely recognized legitimate reasons is debated, depending on what is considered "legitimate." Legitimacy often depends on perspective—some see interventions as necessary for security or humanitarian reasons, while others view them as violations of sovereignty.

    However, if we look at cases where U.S. military interventions were controversial, lacked UN approval, or were widely criticized as unjustified, some examples include:

    Mexico (1846–1848) – The U.S. invaded Mexico, leading to the Mexican-American War, which resulted in the U.S. annexing nearly half of Mexico’s territory.

    Hawaii (1893) – The U.S. backed the overthrow of the Hawaiian monarchy, leading to its annexation.

    The Philippines (1899–1902) – After the Spanish-American War, the U.S. took control of the Philippines, leading to a brutal war against Filipino independence fighters.

    Guatemala (1954) – The CIA orchestrated a coup to overthrow a democratically elected government, fearing communist influence.

    Cuba (Bay of Pigs, 1961) – The U.S. attempted to overthrow Fidel Castro’s government through a failed invasion.

    Dominican Republic (1965) – The U.S. invaded to prevent what it saw as a communist takeover.

    Vietnam (1955–1975) – The U.S. involvement in Vietnam is widely debated, as it escalated without a formal declaration of war and was based on controversial justifications.

    Cambodia & Laos (1960s–1970s) – Secret bombings and invasions occurred as part of the Vietnam War without clear justification.

    Grenada (1983) – The U.S. invaded after a coup, but the necessity of military action was questioned.

    Panama (1989) – The U.S. invaded to remove Manuel Noriega, a former ally, under the pretext of protecting U.S. citizens and fighting drugs.

    Iraq (2003) – The invasion was based on false claims of weapons of mass destruction, widely seen as unjustified.

    Libya (2011) – The U.S. and NATO intervened, leading to the fall of Gaddafi, but this resulted in chaos and instability.

    These are just a few of the most debated examples. Some argue other interventions, like in Afghanistan (2001), had stronger justifications, while others still question their legitimacy. What counts as "legitimate" is ultimately a matter of perspective and historical debate.

    สงคราม AI คงจะเพิ่งเริ่มแต่น่าสนใจครับ
    วันนี้ผมได้ทดลองเล่น Deepseek AI app. ของจีน ต้องนับว่าเป็น Large Language Model ที่เก่งมากไม่แพ้ Open AI หรือ Perplexity ที่ผมใช้อยู่ประจำ วันก่อนเห็นว่ามีคนอยากจะโจมตีจีนและ Deepseek โดยการให้ Deepseek ลองตอบดูสิว่า เกิดอะไรขึ้นที่จตุรัสเทียนอันเหมิน แล้วโชว์คำตอบว่า Deepseek ไม่อยากอ้างถึง วันนี้ผมเลยลองถาม Deepseek บ้างว่า แล้วมีประเทศไหนบ้างที่อเมริกาใช้กำลังบุกเข้าไปแทรกแซงการเมือง Deekseek ตอบได้อย่างน่าสนใจโดยเริ่มจากความหมายของคำว่ารุกรานก่อนจะให้คำตอบ ลองดูรายละเอียดกันนะครับ Me: How many countries has America invaded without legitimate reasons? Deepseek: The question of how many countries the United States has "invaded" (or intervened in) without "legitimate reasons" is highly subjective and depends on one's perspective, interpretation of international law, and the definition of "legitimate reasons." The U.S. has been involved in numerous military interventions, coups, and covert operations throughout its history, often justified by reasons such as national security, promoting democracy, or protecting allies. However, critics argue that many of these actions were driven by economic interests, geopolitical dominance, or ideological goals rather than legitimate justifications. Here are some notable examples of U.S. interventions that have been criticized as lacking legitimate reasons: Vietnam War (1955–1975) - Critics argue the U.S. intervention was based on Cold War fears rather than a direct threat to national security. Iraq War (2003–2011) - The invasion was justified by claims of weapons of mass destruction (WMDs), which were never found, leading to accusations of illegitimate motives. Guatemala (1954) - The CIA-backed coup overthrew the democratically elected government, allegedly to protect U.S. corporate interests (e.g., United Fruit Company). Chile (1973) - The U.S. supported the coup against President Salvador Allende, which was seen as undermining democracy to prevent the spread of socialism. Nicaragua (1980s) - The U.S. supported the Contras in their fight against the Sandinista government, which critics saw as an illegitimate interference in sovereign affairs. Grenada (1983) - The U.S. invasion was criticized as disproportionate and lacking a clear legal basis. Panama (1989) - The invasion to remove Manuel Noriega was seen by some as an overreach of U.S. power. Libya (2011) - While part of a NATO intervention, critics argued the U.S. involvement exceeded the UN mandate to protect civilians. Syria (2014–present) - U.S. military actions in Syria have been criticized for lacking clear legal authority under international law. The exact number of such interventions is debated, but estimates range from dozens to over 100, depending on how one defines "intervention" and "legitimate reasons." Many of these actions remain controversial, with ongoing debates about their legality, morality, and long-term consequences. ต้องยอมรับว่า Deepseek เก่งพอตัวเลยครับ คราวนี้มาลองดูว่าคำถามเดียวกัน ChatGPT จะว่าไง ChatGPT: The number of countries the United States has invaded without widely recognized legitimate reasons is debated, depending on what is considered "legitimate." Legitimacy often depends on perspective—some see interventions as necessary for security or humanitarian reasons, while others view them as violations of sovereignty. However, if we look at cases where U.S. military interventions were controversial, lacked UN approval, or were widely criticized as unjustified, some examples include: Mexico (1846–1848) – The U.S. invaded Mexico, leading to the Mexican-American War, which resulted in the U.S. annexing nearly half of Mexico’s territory. Hawaii (1893) – The U.S. backed the overthrow of the Hawaiian monarchy, leading to its annexation. The Philippines (1899–1902) – After the Spanish-American War, the U.S. took control of the Philippines, leading to a brutal war against Filipino independence fighters. Guatemala (1954) – The CIA orchestrated a coup to overthrow a democratically elected government, fearing communist influence. Cuba (Bay of Pigs, 1961) – The U.S. attempted to overthrow Fidel Castro’s government through a failed invasion. Dominican Republic (1965) – The U.S. invaded to prevent what it saw as a communist takeover. Vietnam (1955–1975) – The U.S. involvement in Vietnam is widely debated, as it escalated without a formal declaration of war and was based on controversial justifications. Cambodia & Laos (1960s–1970s) – Secret bombings and invasions occurred as part of the Vietnam War without clear justification. Grenada (1983) – The U.S. invaded after a coup, but the necessity of military action was questioned. Panama (1989) – The U.S. invaded to remove Manuel Noriega, a former ally, under the pretext of protecting U.S. citizens and fighting drugs. Iraq (2003) – The invasion was based on false claims of weapons of mass destruction, widely seen as unjustified. Libya (2011) – The U.S. and NATO intervened, leading to the fall of Gaddafi, but this resulted in chaos and instability. These are just a few of the most debated examples. Some argue other interventions, like in Afghanistan (2001), had stronger justifications, while others still question their legitimacy. What counts as "legitimate" is ultimately a matter of perspective and historical debate. สงคราม AI คงจะเพิ่งเริ่มแต่น่าสนใจครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 513 มุมมอง 0 รีวิว
  • รื้อฟื้น ตม.6 ออนไลน์ ต่างชาติเข้าไทยต้องกรอก

    ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2568 เป็นต้นไป ชาวต่างชาติทุกคนที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย จะต้องกรอกแบบฟอร์มที่เรียกว่า TM6 หรือ ตม.6 ผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนเข้าประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าว หลังการขยายเวลายกเว้นการยื่นแบบ ตม. 6 ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นการชั่วคราวทั้งด่านทางบกและทางน้ำ รวม 16 ด่าน จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย. 2568 ที่จะถึงนี้

    แบบฟอร์ม ตม.6 (TM6) คือแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและติดตามคนต่างด้าว และรักษาความมั่นคงของประเทศ ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องกรอกบัตรขาออกและบัตรขาเข้า มาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2560 ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อแก้ปัญหาคอขวด ลดความล่าช้าในการเข้าออกเมือง เพราะข้อมูลคนไทยตรวจสอบได้จากทะเบียนราษฎรอยู่แล้ว

    กระทั่งกระทรวงมหาดไทยได้ยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 สำหรับชาวต่างชาติมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2565 โดยเริ่มจากทางอากาศก่อน ต่อมาวันที่ 1 พ.ย. 2566 ได้ยกเว้นที่ด่านพรมแดนสะเดา จ.สงขลา ซึ่งตรงกับช่วงฤดูการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย กระทั่งวันที่ 15 เม.ย. 2567 ขยายเพิ่มอีก 12 จุดทั้งทางบกและทางน้ำ เฉพาะที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) และปัจจุบันขยายเวลาถึงวันที่ 30 เม.ย. 2568 ได้แก่ ด่านทางบก 8 ด่าน และด่านทางน้ำ 8 ด่าน

    น.ส.นัทรียา ทวีวงศ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า แบบฟอร์ม ตม.6 ออนไลน์ จะช่วยติดตามนักท่องเที่ยวขณะอยู่ในประเทศไทย เพิ่มความมั่นใจต่อความปลอดภัย ซึ่งในวันที่ 31 ม.ค. จะประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สายการบิน โรงแรม และบริษัทนำเที่ยว เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและช่วยประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าวให้ชาวต่างชาติทราบอีกด้วย

    อนึ่ง บางประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีมาตรการให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กรอกแบบฟอร์มขาเข้าดิจิทัลก่อนเข้าประเทศ เช่น SG Arrival Card (SGAC) ของสิงคโปร์, eTravel ของฟิลิปปินส์, E-Arrival Card ของบรูไน, Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) ของมาเลเซีย และ Cambodia e-Arrival ของกัมพูชา (เฉพาะสนามบินพนมเปญและเสียมราฐ) ส่วนอินโดนีเซียกรอกแบบฟอร์มสำแดงต่อศุลกากร Indonesian Customs Declaration (e-CD) และใบอนุญาตสุขภาพ SATUSEHAT (SSHP) ขณะที่เวียดนาม ลาว และเมียนมา ยังคงใช้แบบฟอร์มบัตรขาเข้าเมืองกระดาษ

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    รื้อฟื้น ตม.6 ออนไลน์ ต่างชาติเข้าไทยต้องกรอก ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2568 เป็นต้นไป ชาวต่างชาติทุกคนที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย จะต้องกรอกแบบฟอร์มที่เรียกว่า TM6 หรือ ตม.6 ผ่านช่องทางออนไลน์ก่อนเข้าประเทศไทย ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเตรียมประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าว หลังการขยายเวลายกเว้นการยื่นแบบ ตม. 6 ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองเป็นการชั่วคราวทั้งด่านทางบกและทางน้ำ รวม 16 ด่าน จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย. 2568 ที่จะถึงนี้ แบบฟอร์ม ตม.6 (TM6) คือแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบและติดตามคนต่างด้าว และรักษาความมั่นคงของประเทศ ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการยกเว้นไม่ต้องกรอกบัตรขาออกและบัตรขาเข้า มาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2560 ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อแก้ปัญหาคอขวด ลดความล่าช้าในการเข้าออกเมือง เพราะข้อมูลคนไทยตรวจสอบได้จากทะเบียนราษฎรอยู่แล้ว กระทั่งกระทรวงมหาดไทยได้ยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 สำหรับชาวต่างชาติมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. 2565 โดยเริ่มจากทางอากาศก่อน ต่อมาวันที่ 1 พ.ย. 2566 ได้ยกเว้นที่ด่านพรมแดนสะเดา จ.สงขลา ซึ่งตรงกับช่วงฤดูการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย กระทั่งวันที่ 15 เม.ย. 2567 ขยายเพิ่มอีก 12 จุดทั้งทางบกและทางน้ำ เฉพาะที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา (เรือยอร์ช) และปัจจุบันขยายเวลาถึงวันที่ 30 เม.ย. 2568 ได้แก่ ด่านทางบก 8 ด่าน และด่านทางน้ำ 8 ด่าน น.ส.นัทรียา ทวีวงศ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยกับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ว่า แบบฟอร์ม ตม.6 ออนไลน์ จะช่วยติดตามนักท่องเที่ยวขณะอยู่ในประเทศไทย เพิ่มความมั่นใจต่อความปลอดภัย ซึ่งในวันที่ 31 ม.ค. จะประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สายการบิน โรงแรม และบริษัทนำเที่ยว เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและช่วยประชาสัมพันธ์ขั้นตอนดังกล่าวให้ชาวต่างชาติทราบอีกด้วย อนึ่ง บางประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีมาตรการให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่กรอกแบบฟอร์มขาเข้าดิจิทัลก่อนเข้าประเทศ เช่น SG Arrival Card (SGAC) ของสิงคโปร์, eTravel ของฟิลิปปินส์, E-Arrival Card ของบรูไน, Malaysia Digital Arrival Card (MDAC) ของมาเลเซีย และ Cambodia e-Arrival ของกัมพูชา (เฉพาะสนามบินพนมเปญและเสียมราฐ) ส่วนอินโดนีเซียกรอกแบบฟอร์มสำแดงต่อศุลกากร Indonesian Customs Declaration (e-CD) และใบอนุญาตสุขภาพ SATUSEHAT (SSHP) ขณะที่เวียดนาม ลาว และเมียนมา ยังคงใช้แบบฟอร์มบัตรขาเข้าเมืองกระดาษ #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 554 มุมมอง 0 รีวิว
  • 11 มกราคม 2568-รายงานพิเศษของเว็บไซต์ The Structure เกี่ยวกับประเด็นเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย โดยรศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ได้สะท้อนภาพจากเหตุการณ์ลอบสังหาร “ลิม กิมยา”กลางกรุงเทพมหานครว่า เกิดอะไรขึ้น กับประเทศไทย? ‘รศ.ดร.ปณิธาน’ สะท้อนภาพที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ลอบสังหาร ‘ลิม กินยา’ กลางกรุงเทพมหานคร
    On 2025-01-10
    สืบเนื่องจากกรณีการลอบสังหาร ลิม กิมยา อดีต สส. พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกลอบยิงที่บริเวณเกาะกลางถนน วงเวียนสิบสามห้าง ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ในช่วงค่ำของวันที่ 7 ม.ค. 2568

    ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย สามารถระบุตัวคนร้ายจนพบว่าเป็นจ่าเอ็ม-เอกลักษณ์ แพน้อย อดีตทหารนาวิกโยธินของไทย ซึ่งถูกให้ออกจากราชการไปตั้งแต่ปี 2566 แล้ว และสามารถตามจับตัวจ่าเอ็มได้ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในช่วงค่ำวันที่ 8 ม.ค. 2568

    และในเวลานี้ จ่าเอ็มยังอยู่ในระหว่างการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนของทางการกัมพูชา เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาจะมีการดำเนินคดีกับจ่าเอ็มในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก่อน

    รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ได้กล่าวว่ากรณีนี้นั้น สะท้อนให้เห็นว่าได้เกิดช่องว่าง หรืออุปสรรค์ในการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคงของไทย ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ตำรวจสันติบาล, ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ, สำนักข่าวกรอง หรือแม้แต่สภาความมั่นคงเอง

    ที่อาจจะต้องทำงานให้สอดประสานกันเพื่อการกำหนดแนวทางการคุ้มกันบุคคลสำคัญ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีการกำหนดหลักปฎิบัติ หรือระเบียบปฎิบัติประจำ (รปจ.) อยู่แล้ว

    แต่สำหรับกรณีนี้ ถึงแม้ว่าตัวผู้ถูกลอบสังหารจะไม่ได้ทำการร้องขอการคุ้มกันจากฝ่ายไทย จึงทำให้การจัดชุดรักษาความปลอดภัยนั้นอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ แต่ในเมื่อพิจารณาดูแล้วว่า ลิม กินยานั้นเป็นเป้าหมายสำคัญที่อาจจะถูกคุกคาม จนมีความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจส่งชุดรักษาความปลอดภัยไปดูแลลิม กินยา ตั้งแต่เข้าเมือง หรืออาจจะปฎิเสธการให้เข้าเมืองตั้งแต่แรกเลยก็ทำได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าอาจจะคุ้มครองเขาไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น

    ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทางการไทยนั้นมีประสบการณ์ในการให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญจากประเทศเพื่อนบ้านมามากพอสมควร ไม่ว่าจะจากลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย และเมียนมา ไทยก็เคยให้การดูแลคุ้มกันมาแล้ว

    ทางการไทยจะต้องมีการดำเนินการเพื่อการป้องกันเหตุการณ์ที่จะสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย ว่าเป็นพื้นที่สังหารบุคคลสำคัญ, ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว หรือมีการซ่องสุมกองกำลังติดอาวุธต่าง ๆ โดยมีการใช้คนไทยเข้ามาเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติการหลายอย่าง ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญที่จะต้องดูแลกันให้ดี

    สำหรับแนวทางในการนำตัวจ่าเอ็ม ผู้ก่อเหตุกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่

    1 การดำเนินการตามช่องทางปกติ โดยจะต้องมีการดำเนินคดีในฝั่งกัมพูชาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยจะมีการพิจารณาลงโทษ-ลดโทษ-อภัยโทษ แล้วส่งคืนมายังไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน

    ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่อาจจะมีการกล่าวโทษในคดีอื่นเพิ่มเช่น พกพาอาวุธ และความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามแดน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานานและสร้างความคลุมเครือ

    2 การดำเนินการในช่องทางพิเศษ ด้วยวิธีต่างตอบแทน โดยการแลกตัว หรือร้องขอให้ทางกัมพูชาส่งตัวผู้ก่อเหตุให้มาถูกดำเนินคดีในไทยได้อย่างรวดเร็ว แต่กรณีนี้จะต้องระมัดระวังว่าจะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และต้องพิจารณาความตั้งใจจริงของฝ่ายกัมพูชาด้วย เพราะว่าเรื่องนี้นั้นจะเป็นการสะท้อนถึงระดับความสัมพันธ์ หรือเรื่องราวมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด

    แต่ทั้งนี้นั้น ควรจะต้องมีการดำเนินการผ่านกลไกของอาเซียน และตำรวจสากล ที่มีข้อตกลงที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นทางการ แทนการใช้ระบบต่างตอบแทน เพื่อป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือห่างเหินระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศในบางสมัย ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ผ่านทางอาเซียน

    สำหรับคำถามที่ว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการคุ้มครองผู้เห็นต่างทางการเมืองจากประเทศอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยหรือไม่ รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่า ในบางช่วงประเทศไทยก็มีขีดความสามารถในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี

    ไทยเคยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศได้หลายครั้ง อย่างกรณี “ฮัม บาลี” ผู้ก่อเหตุวางระเบิดในอินโดนีเซีย หรือกรณีของ วิกเตอร์ บุช ผู้ค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย และมีการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางได้ และได้รับความชื่นชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก

    อีกทั้งยังเคยสามารถสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มบุคคลต้องสงสัยเข้าประเทศ อย่างเช่นกลุ่มจากประเทศเกาหลีเหนือ และกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อกว่า 30 กลุ่ม ซึ่งบางครั้งเราก็ทำได้ดี แต่บางครั้งเราก็มีปัญหา ซึ่งในภาพรวมแล้วเราควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก และกรณีนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก

    สำหรับกรณีที่พรรคฝ่ายค้านของกัมพูชากล่าวหาฮุน เซน อดีตนายกฯ กัมพูชาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่าเรื่องนี้นั้นถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ที่จะต้องมีการพิสูจน์ทราบกันให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการกระทบในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

    แต่ทั้งนี้การที่ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านกล่าวหาพุ่งเป้าใส่กัน โดยมีการดึงประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อีกทั้งตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาได้ทำเรื่องร้องขอให้มีการส่งตัวนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา เช่น สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชากลับ ซึ่งก็มีทั้งกรณีที่ทางการไทยส่งตัวกลับ และไม่ส่งตัวกลับ

    ดังนั้นเรื่องนี้นั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และหน่วยงานราชการไทย และฝ่ายความมั่นคงนั้นมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี

    แต่ทั้งนี้ไทยต้องดำเนินการป้องกันให้มากกว่านี้ เพื่อการป้องกันไม่ให้ไทยถูกดึงเข้าไปอยู่ในวงความขัดแย้ง ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชาเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับลาว, เมียนมา และมาเลเซียด้วย

    นอกจากนี้ ทางการไทยเองก็มีการดำเนินการขอตัวแกนนำสั่งการต่าง ๆ ที่อยู่ในมาเลเซีย มาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางกรณีมีการเสียชีวิตในระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับประเทศไทยไปมากกว่านี้

    สำหรับการสืบสาวหาต้นตอ/ขบวนการ/ผู้จ้างวาน ให้มีการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากนัก เพราะทราบมาว่าฝ่ายนั้นมีการดำเนินการสื่อสารผ่านระบบสมัยใหม่ ซึ่งทางเราสามารถดักจับ และบันทึกอยู่ในฐานข้อมูลของเรา

    ดังนั้นการดำเนินการสืบค้นเพื่อเอาหลักฐานเหล่านั้นมาพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นก็คงไม่ยากเท่าไรนัก แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย

    อย่างไรก็ดี การที่ลิม กินยานั้น เป็นผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วยนั้น ทำให้ฝรั่งเศส, สหภาพยุโรป และนานาชาติต่างก็จับตาดูกรณีนี้เป็นพิเศษ และก็คงจะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภรรยาของลิม กินยา ซึ่งถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วย และอาจจะเข้ามาร่วมประสานงานกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เรื่องราวมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

    (ทางการฝรั่งเศสได้ประกาศว่าจะมีการติดตามการสืบสวนของฝ่ายไทยอย่างใกล้ชิด เมื่อวานนี้)

    ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงต่างประเทศจะต้องมีการตั้งชุดทำงานขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบมากไปกว่านี้ และในขณะนี้เกิดความแปรปรวนขึ้นพอสมควร เนื่องจากเกิดความเชื่อหลายอย่างขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง
    11 มกราคม 2568-รายงานพิเศษของเว็บไซต์ The Structure เกี่ยวกับประเด็นเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย โดยรศ. ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ได้สะท้อนภาพจากเหตุการณ์ลอบสังหาร “ลิม กิมยา”กลางกรุงเทพมหานครว่า เกิดอะไรขึ้น กับประเทศไทย? ‘รศ.ดร.ปณิธาน’ สะท้อนภาพที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ลอบสังหาร ‘ลิม กินยา’ กลางกรุงเทพมหานคร On 2025-01-10 สืบเนื่องจากกรณีการลอบสังหาร ลิม กิมยา อดีต สส. พรรคสงเคราะห์ชาติกัมพูชา (Cambodia National Rescue Party) และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ถูกลอบยิงที่บริเวณเกาะกลางถนน วงเวียนสิบสามห้าง ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ในช่วงค่ำของวันที่ 7 ม.ค. 2568 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจของไทย สามารถระบุตัวคนร้ายจนพบว่าเป็นจ่าเอ็ม-เอกลักษณ์ แพน้อย อดีตทหารนาวิกโยธินของไทย ซึ่งถูกให้ออกจากราชการไปตั้งแต่ปี 2566 แล้ว และสามารถตามจับตัวจ่าเอ็มได้ที่จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา ในช่วงค่ำวันที่ 8 ม.ค. 2568 และในเวลานี้ จ่าเอ็มยังอยู่ในระหว่างการควบคุมตัวเพื่อสอบสวนของทางการกัมพูชา เนื่องจากฝ่ายกัมพูชาจะมีการดำเนินคดีกับจ่าเอ็มในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายก่อน รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ได้กล่าวว่ากรณีนี้นั้น สะท้อนให้เห็นว่าได้เกิดช่องว่าง หรืออุปสรรค์ในการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคงของไทย ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ตำรวจสันติบาล, ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ, สำนักข่าวกรอง หรือแม้แต่สภาความมั่นคงเอง ที่อาจจะต้องทำงานให้สอดประสานกันเพื่อการกำหนดแนวทางการคุ้มกันบุคคลสำคัญ ซึ่งจริง ๆ แล้วมีการกำหนดหลักปฎิบัติ หรือระเบียบปฎิบัติประจำ (รปจ.) อยู่แล้ว แต่สำหรับกรณีนี้ ถึงแม้ว่าตัวผู้ถูกลอบสังหารจะไม่ได้ทำการร้องขอการคุ้มกันจากฝ่ายไทย จึงทำให้การจัดชุดรักษาความปลอดภัยนั้นอาจจะทำได้ไม่เต็มที่ แต่ในเมื่อพิจารณาดูแล้วว่า ลิม กินยานั้นเป็นเป้าหมายสำคัญที่อาจจะถูกคุกคาม จนมีความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจส่งชุดรักษาความปลอดภัยไปดูแลลิม กินยา ตั้งแต่เข้าเมือง หรืออาจจะปฎิเสธการให้เข้าเมืองตั้งแต่แรกเลยก็ทำได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าอาจจะคุ้มครองเขาไม่ได้ ซึ่งกรณีนี้จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทางการไทยนั้นมีประสบการณ์ในการให้ความคุ้มครองบุคคลสำคัญจากประเทศเพื่อนบ้านมามากพอสมควร ไม่ว่าจะจากลาว, กัมพูชา, มาเลเซีย และเมียนมา ไทยก็เคยให้การดูแลคุ้มกันมาแล้ว ทางการไทยจะต้องมีการดำเนินการเพื่อการป้องกันเหตุการณ์ที่จะสร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของไทย ว่าเป็นพื้นที่สังหารบุคคลสำคัญ, ไม่มีความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว หรือมีการซ่องสุมกองกำลังติดอาวุธต่าง ๆ โดยมีการใช้คนไทยเข้ามาเป็นเครือข่ายในการปฏิบัติการหลายอย่าง ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญที่จะต้องดูแลกันให้ดี สำหรับแนวทางในการนำตัวจ่าเอ็ม ผู้ก่อเหตุกลับมาดำเนินคดีในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 2 แนวทาง ได้แก่ 1 การดำเนินการตามช่องทางปกติ โดยจะต้องมีการดำเนินคดีในฝั่งกัมพูชาก่อนสักระยะหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร โดยจะมีการพิจารณาลงโทษ-ลดโทษ-อภัยโทษ แล้วส่งคืนมายังไทยตามสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน ทั้งนี้ได้มีการตั้งข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้ว แต่อาจจะมีการกล่าวโทษในคดีอื่นเพิ่มเช่น พกพาอาวุธ และความมีส่วนเกี่ยวข้องกับเครือข่ายอาชญากรรมข้ามแดน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เวลานานและสร้างความคลุมเครือ 2 การดำเนินการในช่องทางพิเศษ ด้วยวิธีต่างตอบแทน โดยการแลกตัว หรือร้องขอให้ทางกัมพูชาส่งตัวผู้ก่อเหตุให้มาถูกดำเนินคดีในไทยได้อย่างรวดเร็ว แต่กรณีนี้จะต้องระมัดระวังว่าจะกระทบต่อสิทธิมนุษยชน และต้องพิจารณาความตั้งใจจริงของฝ่ายกัมพูชาด้วย เพราะว่าเรื่องนี้นั้นจะเป็นการสะท้อนถึงระดับความสัมพันธ์ หรือเรื่องราวมีความซับซ้อนมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้นั้น ควรจะต้องมีการดำเนินการผ่านกลไกของอาเซียน และตำรวจสากล ที่มีข้อตกลงที่ค่อนข้างชัดเจน และเป็นทางการ แทนการใช้ระบบต่างตอบแทน เพื่อป้องกันข้อครหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดหรือห่างเหินระหว่างผู้นำทั้ง 2 ประเทศในบางสมัย ซึ่งจะต้องมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงในเรื่องเหล่านี้ผ่านทางอาเซียน สำหรับคำถามที่ว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการคุ้มครองผู้เห็นต่างทางการเมืองจากประเทศอื่นที่เข้ามาลี้ภัยในประเทศไทยหรือไม่ รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่า ในบางช่วงประเทศไทยก็มีขีดความสามารถในการดำเนินการในเรื่องนี้ได้ดี ไทยเคยสามารถจับกุมตัวผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศได้หลายครั้ง อย่างกรณี “ฮัม บาลี” ผู้ก่อเหตุวางระเบิดในอินโดนีเซีย หรือกรณีของ วิกเตอร์ บุช ผู้ค้าอาวุธสงครามชาวรัสเซีย และมีการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทางได้ และได้รับความชื่นชมจากนานาชาติเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเคยสามารถสกัดกั้นไม่ให้กลุ่มบุคคลต้องสงสัยเข้าประเทศ อย่างเช่นกลุ่มจากประเทศเกาหลีเหนือ และกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อกว่า 30 กลุ่ม ซึ่งบางครั้งเราก็ทำได้ดี แต่บางครั้งเราก็มีปัญหา ซึ่งในภาพรวมแล้วเราควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก และกรณีนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก สำหรับกรณีที่พรรคฝ่ายค้านของกัมพูชากล่าวหาฮุน เซน อดีตนายกฯ กัมพูชาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น รศ.ดร. ปณิธานกล่าวว่าเรื่องนี้นั้นถือเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ที่จะต้องมีการพิสูจน์ทราบกันให้ชัดเจน ก่อนที่จะมีการกระทบในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ทั้งนี้การที่ฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านกล่าวหาพุ่งเป้าใส่กัน โดยมีการดึงประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย อีกทั้งตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ทางการกัมพูชาได้ทำเรื่องร้องขอให้มีการส่งตัวนักเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลกัมพูชา เช่น สม รังสี อดีตผู้นำพรรคฝ่ายค้านกัมพูชากลับ ซึ่งก็มีทั้งกรณีที่ทางการไทยส่งตัวกลับ และไม่ส่งตัวกลับ ดังนั้นเรื่องนี้นั้น ไม่ถือว่าเป็นเรื่องใหม่ และหน่วยงานราชการไทย และฝ่ายความมั่นคงนั้นมีความคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ทั้งนี้ไทยต้องดำเนินการป้องกันให้มากกว่านี้ เพื่อการป้องกันไม่ให้ไทยถูกดึงเข้าไปอยู่ในวงความขัดแย้ง ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้มีเฉพาะกับกัมพูชาเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับลาว, เมียนมา และมาเลเซียด้วย นอกจากนี้ ทางการไทยเองก็มีการดำเนินการขอตัวแกนนำสั่งการต่าง ๆ ที่อยู่ในมาเลเซีย มาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางกรณีมีการเสียชีวิตในระหว่างทาง ซึ่งเรื่องนี้มีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายกับประเทศไทยไปมากกว่านี้ สำหรับการสืบสาวหาต้นตอ/ขบวนการ/ผู้จ้างวาน ให้มีการลอบสังหารในครั้งนี้นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากนัก เพราะทราบมาว่าฝ่ายนั้นมีการดำเนินการสื่อสารผ่านระบบสมัยใหม่ ซึ่งทางเราสามารถดักจับ และบันทึกอยู่ในฐานข้อมูลของเรา ดังนั้นการดำเนินการสืบค้นเพื่อเอาหลักฐานเหล่านั้นมาพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์นั้นก็คงไม่ยากเท่าไรนัก แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากทางกัมพูชาด้วย อย่างไรก็ดี การที่ลิม กินยานั้น เป็นผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วยนั้น ทำให้ฝรั่งเศส, สหภาพยุโรป และนานาชาติต่างก็จับตาดูกรณีนี้เป็นพิเศษ และก็คงจะมีการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภรรยาของลิม กินยา ซึ่งถือสัญชาติฝรั่งเศสด้วย และอาจจะเข้ามาร่วมประสานงานกับประเทศไทย ซึ่งจะทำให้เรื่องราวมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น (ทางการฝรั่งเศสได้ประกาศว่าจะมีการติดตามการสืบสวนของฝ่ายไทยอย่างใกล้ชิด เมื่อวานนี้) ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงต่างประเทศจะต้องมีการตั้งชุดทำงานขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบมากไปกว่านี้ และในขณะนี้เกิดความแปรปรวนขึ้นพอสมควร เนื่องจากเกิดความเชื่อหลายอย่างขึ้นในโลกออนไลน์ ซึ่งก็อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริง
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 798 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7 มกราคม 2568-รายงานข่าวเนชั่นทีวีระบุว่า มีรายงานว่า นายลิม กิมยา เดินทางมาจาก เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยรถบัส มาพร้อมกับภรรยาชาวฝรั่งเศส และลุงชาวกัมพูชา ได้มาลงตรงบริเวณที่เกิดเหตุ และมีคนร้ายขับรถ จยย. ไม่ทราบทะเบียน มาจอด และยิง ก่อนหลบหนีไปเบื้องต้นฝ่ายสืบสวน สน.ชนะสงคราม พาภรรยาไปสอบปากคำที่ สน.ชนะสงคราม เพื่อหาสาเหตุปมสังหาร อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา อย่างอุกอาจกลางกรุงสำหรับนายลิม กิมยา ผู้เสียชีวิต เป็นนักการเมืองกัมพูชา ขั้วตรงข้ามกับ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ประธานพฤฒสภาของกัมพูชา เป็นอดีต สส.ฝ่ายค้าน จากพรรค Cambodia National Rescue ที่มีผลงานโดดเด่น โดยเมื่อปี 2018 เขาได้อภิปรายเรื่องงบประมาณรัฐบาลอย่างหนัก โดยปัจจุบัน นายลิม กิมยา ถือสัญชาติ ฝรั่งเศส-กัมพูชารายงานข่าวว่า พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก.สน.ชนะสงคราม ชุดสืบสวนนครบาลและ ชุดสืบสวนนครบาล 1 เร่งล่าตัวมือปืนผู้ก่อเหตุ ซึ่งหลบหนีไป มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปที่มา https://www.nationtv.tv/news/crime/378954029?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3Mc9xWHt0sCgNYdnBU24IoEr-Y-8_XuMg04Tc43GgZy7zWog0qmGrM3ME_aem_VsFP1guRTCe58IWSYccN8Q#m5ml6y27yfwju4yta39
    7 มกราคม 2568-รายงานข่าวเนชั่นทีวีระบุว่า มีรายงานว่า นายลิม กิมยา เดินทางมาจาก เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยรถบัส มาพร้อมกับภรรยาชาวฝรั่งเศส และลุงชาวกัมพูชา ได้มาลงตรงบริเวณที่เกิดเหตุ และมีคนร้ายขับรถ จยย. ไม่ทราบทะเบียน มาจอด และยิง ก่อนหลบหนีไปเบื้องต้นฝ่ายสืบสวน สน.ชนะสงคราม พาภรรยาไปสอบปากคำที่ สน.ชนะสงคราม เพื่อหาสาเหตุปมสังหาร อดีต สส.ฝ่ายค้านกัมพูชา อย่างอุกอาจกลางกรุงสำหรับนายลิม กิมยา ผู้เสียชีวิต เป็นนักการเมืองกัมพูชา ขั้วตรงข้ามกับ สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ประธานพฤฒสภาของกัมพูชา เป็นอดีต สส.ฝ่ายค้าน จากพรรค Cambodia National Rescue ที่มีผลงานโดดเด่น โดยเมื่อปี 2018 เขาได้อภิปรายเรื่องงบประมาณรัฐบาลอย่างหนัก โดยปัจจุบัน นายลิม กิมยา ถือสัญชาติ ฝรั่งเศส-กัมพูชารายงานข่าวว่า พล.ต.ท.สยาม บุญสม ผบช.น. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 พ.ต.อ.สนอง แสงมณี ผกก.สน.ชนะสงคราม ชุดสืบสวนนครบาลและ ชุดสืบสวนนครบาล 1 เร่งล่าตัวมือปืนผู้ก่อเหตุ ซึ่งหลบหนีไป มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปที่มา https://www.nationtv.tv/news/crime/378954029?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3Mc9xWHt0sCgNYdnBU24IoEr-Y-8_XuMg04Tc43GgZy7zWog0qmGrM3ME_aem_VsFP1guRTCe58IWSYccN8Q#m5ml6y27yfwju4yta39
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 431 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย
    .
    ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย
    .
    วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน
    .
    หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้
    .
    ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย
    .
    เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า
    .
    "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว"
    .
    ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า
    .
    "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา"
    .
    ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า
    #TheiConGroup
    #iConEvolutionCashCloud
    #IE #ImpactArena
    #MuangThongThani
    #BossPaul #PaulTheiCon
    #Lao #Cambodia
    #Singapore #Myanmar
    #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์
    #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์
    #โดมปกรณ์ลัม
    ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย . ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย . วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน . หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ . ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย . เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า . "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว" . ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า . "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา" . ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า #TheiConGroup #iConEvolutionCashCloud #IE #ImpactArena #MuangThongThani #BossPaul #PaulTheiCon #Lao #Cambodia #Singapore #Myanmar #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์ #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์ #โดมปกรณ์ลัม
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1492 มุมมอง 1 รีวิว
  • สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment

    ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย.

    พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว

    หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด

    ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข

    หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ

    แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง

    ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน

    #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย. พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    Like
    Haha
    Sad
    Angry
    8
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1201 มุมมอง 0 รีวิว