• ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย
    .
    ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย
    .
    วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน
    .
    หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้
    .
    ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย
    .
    เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า
    .
    "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว"
    .
    ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า
    .
    "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา"
    .
    ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า
    #TheiConGroup
    #iConEvolutionCashCloud
    #IE #ImpactArena
    #MuangThongThani
    #BossPaul #PaulTheiCon
    #Lao #Cambodia
    #Singapore #Myanmar
    #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์
    #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์
    #โดมปกรณ์ลัม
    ลามถึงเพื่อนบ้าน! "ลาว" เร่งรวบรวมข้อมูลเหยื่อ "ดิไอคอน" เตรียมเล่นงานทางกฎหมาย . ทางการลาวมอบหมายกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเป็นแม่งาน รวมรวมรายชื่อและข้อมูลของเหยื่อ"ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว" เตรียมดำเนินคดีทางกฏหมาย . วานนี้ (21 ต.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว ได้เผยแพร่หนังสือแจ้งการเลขที่ 405/กข.กค. ระบุว่า บริษัทห้างร้าน บุคคลทั่วไป ทุกราย ที่ได้รับความเสียหายจากการร่วมทำธุรกิจกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว(The Icon Group Laos) ให้มาแจ้งข้อมูลความเสียหายที่ได้รับกับกรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ผ่านช่องทางโทรศัพท์สายด่วน 1510 หรือที่เพจเฟสบุ๊คทางการของกรมฯ หรือแจ้งไปยังแผนกอุตสาหกรรมและการค้าในพื้นที่ตั้งธุรกิจของแต่ละคน . หนังสือแจ้งการดังกล่าว ออกมาเพื่อให้กรมแข่งขันทางธุรกิจและตรวจตราการค้า ได้เป็นเจ้าภาพ รวบรวมข้อมูลเพื่อดำเนินการทางกฏหมายกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว เช่นเดียวกับที่ทางการไทย กำลังดำเนินคดีกับบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป อยู่ในประเทศไทยขณะนี้ . ลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีจำนวนผู้เสียหายจากการเข้าร่วมเป็นเครือข่ายของดิไอคอน กรุ๊ป มากถึงกว่า 1,000 ราย . เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา บัญชีเฟสบุ๊ค Joseph Akaravong หรือที่รู้จักกันในนาม "ประธานโจ" อินฟลูเอนเซอร์ของลาวที่มีผู้ติดตามมากถึง 5.5 แสนคน ได้เผยแพร่ภาพชุดกิจกรรมของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป ลาว และเขียนบรรยายว่า . "The Icon Group ที่เป็นข่าวดังในไทย ที่ผ่านมา เคยระบาดเข้ามาถึงในลาว มีสมาชิกจำนวนมาก บางครั้งก็ใช้หอประชุมแห่งชาติในการจัดงาน หลายคนถูกสูบเงินมากมาย แต่ไม่กล้าบอกใครเพราะอาย เก็บไว้ในใจคนเดียว ขอเจ็บคนเดียว" . ไม่เพียงเฉพาะลาว แต่เครือข่ายของดิไอคอนยังได้ขยายออกไปยังอีกหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจ The iCon Group ได้เผยแพร่ภาพชุดที่ดิไอคอน กรุ๊ป ได้ที่เชิญชวนตัวแทนเครือข่ายจากประเทศต่างๆมาร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี ในประเทศไทย (https://www.facebook.com/share/p/oR1btDyVteTE1wJ7/) โดยเขียนบรรยายว่า . "ครั้งแรกที่ครอบครัว The iCon Group จากประเทศเพื่อบ้าน ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ สิงคโปร์ ได้ร่วมกันสร้างปรากฏการณ์ เพื่อก้าวสู่การเติบโตที่มากขึ้นในประชาคม AEC ยิ่งใหญ่และน่าประทับใจมากๆเลยค่าาา" . ช่วงท้ายของโพสต์นี้ เพจ The iCon Group ได้ใส่แฮชแท็กว่า #TheiConGroup #iConEvolutionCashCloud #IE #ImpactArena #MuangThongThani #BossPaul #PaulTheiCon #Lao #Cambodia #Singapore #Myanmar #กันต์กันตถาวร #บอยปกรณ์ #เวียร์ศุกลวัฒน์ #ป้องณวัฒน์ #โดมปกรณ์ลัม
    Like
    Sad
    5
    0 Comments 1 Shares 808 Views 1 Reviews
  • สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment

    ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย.

    พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว

    หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด

    ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข

    หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ

    แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง

    ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน

    #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    สื่อญี่ปุ่น Nikkei Asia พลาดเรื่อง QR Payment ในที่สุดนิกเกอิ เอเชีย (Nikkei Asia) สื่อจากประเทศญี่ปุ่น ยอมแก้ไขเนื้อหาข่าวหัวข้อ "Malaysia and Cambodia lead QR payment expansion in ASEAN" (มาเลเซียและกัมพูชาเป็นผู้นำการขยายตัวของระบบการชำระเงิน QR Payment ในอาเซียน) ซึ่งตีพิมพ์ไปเมื่อวันที่ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา เป็น "QR payments expand in Thailand, Malaysia and Cambodia" (การชำระเงินด้วย QR ขยายตัวในประเทศไทย มาเลเซีย และกัมพูชา) เมื่อค่ำวันที่ 24 ก.ย. พร้อมกับแก้ไขแผนภูมิหัวข้อ "QR code payments in Southeast Asia" (เปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) จากเดิมไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับ เป็นอันดับหนึ่งของแผนภูมิดังกล่าว หลังเฟซบุ๊กทางการของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า การโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์เพิ่มขึ้นจาก 14,800 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 19,900 ล้านครั้งในปี 2023 ส่วนปริมาณธุรกรรมการชำระงินผ่าน QR payment ในประเทศไทยผ่านระบบพร้อมเพย์ เพิ่มขึ้นจาก 2,500 ล้านครั้งในปี 2022 เป็น 5,700 ล้านครั้งในปี 2023 พร้อมกับแนบลิงก์สถิติดังกล่าว กระทั่งเว็บไซต์ Nikkei Asia ได้แก้ไขเนื้อหาและแผนภูมิในที่สุด ก่อนหน้านี้ Nikkei Asia ลงแผนภูมิเปรียบเทียบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฎว่าจัดอันดับประเทศไทยรั้งท้าย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กชาวไทยคอมเมนต์ว่าข้อมูลผิด จึงได้ลงแผนภูมิใหม่ โดยไม่มีประเทศไทยอยู่ในการจัดอันดับอีกเลย ผลก็คือคนไทยจำนวนมากไม่พอใจ และธนาคารแห่งประเทศไทยต้องให้ข้อมูลที่แท้จริง จึงยอมแก้ไข หากไม่นับเรื่องการเมืองในไทย มีหลายกรณีที่การนำเสนอข่าวของ Nikkei Asia เป็นที่เคลือบแคลงสงสัยของผู้อ่านชาวไทย อาทิ วิจารณ์ค่ายรถยนต์จากจีนว่าเป็นวงจรอุบาทว์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย วิจารณ์ว่าประเทศไทยฟื้นตัวจากโควิด-19 ช้าที่สุด ทำให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียวขณะนั้นตอบโต้ และวิจารณ์การเปิดตัวศูนย์การค้าไอคอนสยามในแง่ลบ แม้จะแก้ไขข้อมูลที่ถูกต้องในเวลานี้ แต่ผู้อ่านชาวไทยต่างมีภาพจำเรื่องดังกล่าว ย่อมกระทบไปถึงชื่อเสียงในระยะยาว ยิ่งเป็นระบบบอกรับสมาชิก (Subsciption) คือต้องจ่ายเงินก่อน ถึงจะอ่านเนื้อหาข่าวได้ ผู้บริโภคสื่อย่อมลังเลถึงความน่าเชื่อถือ ในฐานะสมาชิก ที่ยอมเสียเงินเพื่อหวังเสพเนื้อหาข่าวที่เชื่อว่ามีคุณภาพ จากสำนักข่าวที่มีชื่อเสียง ถือเป็นบทเรียนของคนทำสื่อ ที่ต้องรักษาคุณภาพ ภายใต้การแบกรับความคาดหวังของสมาชิกเป็นเดิมพัน #Newskit #NikkeiAsia #BankOfThailand
    Like
    Haha
    Sad
    Angry
    8
    1 Comments 0 Shares 924 Views 0 Reviews