Geo-Political Economy
อัปเดตล่าสุด
- Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ
.
ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน
ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง
รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน
โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain
ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023
นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน
แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน
แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด
ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต
อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan
โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2%
แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก
Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา
หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่
1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน
2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น
3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์
4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho
5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์
6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน
7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ
ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก
ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก
พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง
ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย
ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย
แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด
อ้างอิง :
• โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• https://www.bbc.com/thai/international-53264790
• EarthRights International, Global Witness
Blood Gold เจาะขุมทรัพย์ใต้ภิภพเมียนมาร์ความมั่งคั่งที่มืดมนอนธการ . ใต้ภิภพเมียนมาร์ นับเป็นรัฐที่มีทรัพยากรมูลค่าสูงฝังอยู่มหาศาล ที่สามารถแปลงเป็นสินทรัพย์ในการพัฒนาประเทศได้อันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทว่า รัฐสภาพแห่งนี้เหมือนถูกครอบงำ และตกอยู่ภายใต้ความลำบาก ความขัดแย้งไม่ลงรอย ในประวัติศาสตร์การเมืองที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศโดยตรง รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) “ยักษ์หลับแห่งเมียนมา” ที่ใหญ่และสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ตื่นขึ้น 28 มีนาคม 2568 ที่ ขนาด 8.2 แมกนิจูด ได้ส่งพลังพาดผ่านเมืองหลวงสำคัญของพม่า ตั้งแต่มัณฑะเลย์ เนปิดอว์ ย่างกุ้ง ดูเหมือนว่าเมืองแห่งอารยธรรมและศูนย์กลางอำนาจ ตั้งอยู่บนหลังมังกรที่หลับ ขยับทีก็ทำให้เมืองศูนย์กลางสำคัญได้ได้ผลกระทบสูงการฟื้นตัวครั้งแล้วครั้งเล่าเหมือนสถานการณ์เริ่มต้นใหม่หลายรอบ หมุนวน โครงสร้างทางธรณีวิทยาของเมียนมาร์ค่อนข้างซับซ้อน ภูมิสัณฐานและธรณีโครงสร้างได้เป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ คือพื้นที่ราบสูงตะวันออก (Sino Burman Ranges) พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง (Inner Burman Tertiary Zone) ดินแดนเทือกเขาตะวันตก (Indo Burman Ranges) และ ที่ราบฝั่งยะไข่ - คะฉิ่น Rakhine (Arakan) Coastal Plain ชั้นหินที่มีอายุอ่อนที่สุดจะอยู่ใน พื้นที่ลุ่มต่ำตอนกลาง ไล่ถัดไปทางด้านตะวันตกของประเทศ จะเป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงที่ราบแถบยะไข่ ด้านตะวันออกของประเทศ ส่วนของ Sino Burman เป็นชั้นหินที่มีอายุแก่ที่สุด มีรอยเลื่อนรัฐฉาน แนวรอยต่อเชื่อมรอยเลื่อนสะกาย อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในเมียนมาร์ มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหารปี 2021 ซึ่งมีการขยายตัวของการทำเหมืองแร่หายาก (Rare Earth Elements: REEs) อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน มีมูลค่าสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 นับว่าแร่หายากกลุ่มหนัก heavy rare earth elements: HREE คิดเป็นสัดส่วนหลักของมูลค่าการส่งออกของเมียนมาร์ โดยส่วนใหญ่ส่งไปจีนเพื่อผลิตแม่เหล็กถาวรสำหรับรถไฟฟ้าและกังหันลมการส่งออก อัตราเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2023 เมื่อเทียบกับปี 2021 จาก 19,500 ตัน เป็น 41,700 ตัน แน่นอนแร่หายากกลุ่ม China Rare Earths Group (REGCC) เป็นผู้ลงทุนหลัก ควบคุมทั้งเทคโนโลยี การประมวลผล และห่วงโซ่อุปทาน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองทัพเมียนมาร์ (SAC) และมิลิเชียพันธมิตรควบคุมพื้นที่พิเศษ Kachin 1 และกองกำลัง Kachin Independence Army (KIA) ควบคุมพื้นที่ Momauk และแนวชายแดน แร่หายากเป็นแหล่งเงินสำคัญสำหรับทั้งรัฐบาลทหารและกลุ่มกบฎ แต่ 70% ของประชากรในพื้นที่ยังพึ่งพาการเกษตรที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่ค่าแรงงานในเหมืองสูงถึง 600 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน (สูงกว่าเฉลี่ยประเทศ 2 เท่า) แต่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ โรคปอด ปัญหาหายใจลำบาก โรคผิวหนัง และไตวายจากสารเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและออกซาลิกแอซิด ไม่รวมถึงมลพิษน้ำ 96% ของครัวเรือนในเขต Chipwi ไม่มีน้ำดื่มสะอาดเนื่องจากสารเคมีปนเปื้อน ดวงตาสวรรค์ได้ส่องพื้นที่การขยายตัวของเหมืองกว่า 40% ใน Kachin Special Region 1 และ Momauk ระหว่างปี 2021-2023 ที่สลายระบบนิเวศในพื้นที่ยากจะทวงคืนสภาพเดิมกลับมาในอนาคต อีกแร่ธาตุหนึ่งคือเหล็กที่เมียนมาร์ เป็นเบอร์หนึ่งของโลก ที่แหล่ง Pong Pet ซึ่งอยู่ห่างจาก Taunggyi ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร ปรากฏเป็นแหล่งเฮมาไทต์ (Hematite) และยังพบแหล่งแร่เหล็ก 393 แหล่ง ปริมาณสารองทรัพยากรแร่ประมาณ 495 ล้านตัน และพบแหล่งแร่เหล็กที่มีศักยภาพ 14 แหล่ง ในรัฐ Kachin, Mandalay, Bago, Tanintharyi และรัฐShan ได้แก่ แหล่งแร่เหล็กสำคัญพบที่รัฐ Tanintharyi บริเวณตอนเหนือของรัฐ Shan โดยในรัฐคะฉิ่น คือศูนย์รวมแร่ธาตุความมั่งคั่งสมบูรณ์อุตสาหกรรมเหมืองแร่ นอกจากหยกแล้วยังมีแหล่งแร่เหล็กในรัฐ Kachin มีปริมาณสารองประมาณ 223 ล้านตันที่ 50.56%Fe องค์ประกอบหลักของแร่ คือ Goethite/Limonite 75%, Hematite 15% และ Magnetite 2% แน่นอนเมียนมาร์เป็นผู้ผลิตหยกรายใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในประเทศเดียวที่ผลิตหยกเจไดต์คุณภาพสูง อุตสาหกรรมหยกมีมูลค่าประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของประเทศ โดยเมืองผะกัน (Hpakan) เป็นที่ตั้งของเหมืองหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมืองที่มีข่าวของเหมืองถล่ม ดินโคลนโถมทับหมู่บ้านถี่มากและต้นปี 2568 ก็ได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฎกรรมที่ซ้ำซาก สูญเสียชีวิตของผู้คนไปอย่างมาก Global Witness ประเมินไว้ว่ารายได้จากหยกได้เข้าพกเข้าห่อของผู้นำของเมียนมาไปแล้วราว 120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา หากประมวลประเทศที่มีบริษัทลงทุนในเหมืองแร่ในภาพรวมในเมียนมาร์ ได้แก่ 1.) จีน: เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เมียนมาร์ โดยเฉพาะในเหมืองทองแดง (เช่น โครงการ Letpadaung, S&K, Tagaung Taung) และแร่หายาก มีทั้งบริษัทขนาดใหญ่ของรัฐ เช่น China Nonferrous Metal Mining (CNMC), Wanbao Mining Co., Ltd. รวมถึงนักลงทุนรายย่อยจากมณฑลยูนนานและเสฉวน 2.) ไทย: มีบริษัท Myanmar-Pongpipat Co., Ltd. ร่วมลงทุนในเหมืองดีบุกและโลหะอื่น 3.) เวียดนาม: บริษัท Simco Songda มีการลงทุนในเหมืองแร่ร่วมกับเมียนมาร์ 4.) ออสเตรเลีย: บริษัท PanAust ได้รับอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ในพื้นที่เหมือง Wuntho 5.) ญี่ปุ่น: มีบริษัทญี่ปุ่นบางแห่งยื่นขออนุญาตลงทุนในเหมืองแร่เมียนมาร์ 6.) สิงคโปร์: แม้จะเน้นลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์และพลังงาน แต่ก็มีการลงทุนในเหมืองแร่บางส่วน 7.) มาเลเซีย, เกาหลีใต้, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร: มีการลงทุนในเมียนมาร์ในหลายภาคส่วน รวมถึงเหมืองแร่ในบางโครงการ ในส่วนแร่ทองคำ Blood Gold บริบทไม่แตกต่างจากพื้นที่คะฉิ่น แต่รายงานจาก EarthRights International (2567) ระบุว่าในรัฐกะฉิ่นมีการขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีจุดขุดนับร้อยแห่ง ส่วนใหญ่เป็นการขุดขนาดเล็กและใช้เครื่องจักรหนัก ผู้สัมปทาน ก่อนการรัฐประหาร (2564): เหมืองทองคำขนาดใหญ่บางแห่ง เช่น ในเขตเบ็งเมาก์ (Bemauk), กานิ (Kani), และเคาก์ปาดอง (Kyaukpadaung) ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างกองทัพเมียนมาร์และบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัทจากจีนและไทย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเฉพาะเจาะจงในปัจจุบันหายาก พื้นที่การขุดทองคำในรัฐกะฉิ่นส่วนใหญ่ควบคุมโดย Kachin Independence Army (KIA) และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเก็บค่าธรรมเนียมจากบริษัทหรือนักขุดท้องถิ่น บริษัทจีน มีรายงานว่าได้รับสัมปทานในพื้นที่ เช่น บริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำกก โดยได้รับการอนุมัติจาก United Wa State Army (UWSA) บริษัทท้องถิ่นและกองทัพเมียนมาร์: Myanmar Economic Holdings Limited (MEHL) และ Myanmar Economic Corporation (MEC) ยังคงมีส่วนในเหมืองบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ไม่มีการออกใบอนุญาตขุดอย่างเป็นทางการในหลายพื้นที่ เช่น Hpakant แต่การขุดยังดำเนินต่อไปโดยผิดกฎหมาย ปัจจุบันหลังจาก การรัฐประหารในปี 2564 ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจและกฎหมาย ส่งผลให้การขุดทองคำเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีการควบคุม โดยเฉพาะในรัฐกะฉิ่นและสะกาย เพิ่มขึ้น 10 เท่าหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นแหล่งทองคำสำคัญ เรียกว่าเกิดการขุดแบบทำลายล้าง ใช้เครื่องจักรกลหนักและการขุดในแม่น้ำในพื้นที่ และลุกลามขยายยังพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำกก และแม่น้ำสายใกล้ชายแดนไทย แน่นอนความระส่ำระสายในพื้นที่คือการกอบโกยความมั่งคั่งในพื้นที่ที่ไม่ได้มองไกลถึงอนาคตว่าผลกระทบของผู้คน ประชาชนจะเป็นอย่างไร ระยะเวลาการฟื้นตัวความอ่อนเปียกของรัฐชาติที่ถูกสูบทรัพยากรที่มีความมั่งคั่งออกไปอย่างไร้ข้อจำกัด โดยมีอำนาจภายในควบคุม กองทัพเมียนมาร์ ควบคุมเหมืองขนาดใหญ่บางแห่งเพื่อหารายได้ กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น KIA เก็บส่วนแบ่งจากเหมืองในพื้นที่ของตน บริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน มีบทบาทในพื้นที่รัฐที่อุดมด้วยแร่ธาตุโดยเฉพาะฉาน และพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงที่สัญญาณได้ส่งผลแล้วกรณีที่แม่สาย ลุ่มแม่น้ำกก เชียงราย ที่ต้องเกาะติดอย่างใกล้ชิด อ้างอิง : • โครงการ การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบและการลงทุนด้านเหมืองแร่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • https://www.bbc.com/thai/international-53264790 • EarthRights International, Global Witness0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 86 มุมมอง 0 รีวิวกรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อกดถูกใจ แชร์ และแสดงความคิดเห็น! - Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1
.
ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ
.
Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร
.
หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย”
.
เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า
.
ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน
.
Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน
.
ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง
.
เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน
.
ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ
.
ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์
.
ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ
.
หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ
.
จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA)
.
ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด
.
ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์
.
ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป
.
หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม
อ้างอิง :
• มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/
• วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140
• สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/
• ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/
• Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers
By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=42108
Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนที่ 1 . ฉากทัศน์ปัจจุบันในลุ่มแม่น้ำโขง ไม่ต่างมากนักกับหนังเรื่อง Blood Diamond ที่สร้างจากเรื่องจริงที่ที่แอฟริกา ว่าด้วยการด้านมืดของทำเหมืองเพชร ฉายในปีค.ศ. 2006 ดารานำคือ ลีโอนาโด ดิคาปริโอ แสดงคู่กับ โซโลมอน แวนดี้ ชาวประมงผู้ถูกจับตัวไปเป็นแรงงานในเหมืองเพชรของกลุ่มกบฏ . Blood Diamond ในเรื่องถือเป็นขุมทรัพย์ของกลุ่มกบฏ กระบวนการคือการกดขี่แรงงาน สังหารชาวบ้าน ที่ต่อต้าน ล้างสมองใช้แรงงานเด็กถืออาวุธเคี่ยวเข่น ฟอกเงินจากขายเพชรไปซื้ออาวุธ เสริมสร้างกองทัพ การค้าอาวุธและของเถื่อน เรียกว่าเถื่อนครบวงจร . หลังจากน้ำท่วมแม่สายอย่างสาหัส ด้วยมวลขุ่นชี้โคลนมหาศาลโถมทับพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สาย ท่าขี้เหล็ก ทางมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ (Shan Human Rights Foundation ; SHRF) ได้เปิดผลการศึกษา ว่าด้วย “การขยายตัวของเหมืองแร่ในรัฐฉาน เมียนมา กับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในเมียนมาและไทย” . เสียงสะท้อนจากเรื่องนี้ดังมาจากฝั่งเมียนมาร์ถือเป็นครั้งแรกห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 นอกจากโคลนคือการได้รับของแถมคือ สารหนู นิเกิลและสังกะสีปนเปื้อนในระดับสูง โดยระดับปนเปื้อนของสังกะสีในแม่น้ำสายสูงงกว่าระดับปลอดภัยถึง 18 เท่า . ประเด็นชี้เป้าไปที่ 4 พื้นที่หลักภายใต้การคือ การขยายตัวของเหมืองทองคำด้านตะวันออกของเมืองสาด รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ริมฝั่งแม่น้ำกก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ส่งผลกระทบต่อแม่น้ำรวก รัฐฉาน การทำเหมืองแร่ตามริมฝั่งน้ำเลน รัฐฉาน . Deep State ที่ตัวแสดงหลักคือกองทัพสหรัฐว้า United Wa State Army ทำขอตกลงกับรัฐบาลเมียนมาคือ เขตปกครองพิเศษที่ 2 มีพื้นที่อิทธิพลในเขตเปกครองตนเองว้า ภาคเหนือติดชายแดนจีน และทางภาคใต้-ตะวันออกของรัฐฉาน ติดกับประเทศไทย และการพันลึกกับจีน . ปมปัญหามลพิษทางน้ำข้ามพรมแดนไทย-เมียนมาร์ ประเด็นร้อนล่าสุดที่ผลกระทบได้ขยายวงแผ่ไปตามกระแสน้ำที่มีมลพิษจากการทำเหมืองทองคำเป็นต้นเหตุหลักในพื้นที่รัฐฉาน ที่ไหลลงแม่น้ำลัดเลาะลงอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านจังหวัดเชียงราย ลงแม่น้ำโขง . เรื่องนี้มีความน่าสนใจเชิงทรัพยากรเหมืองแร่ที่มีทุนจีนเข้ามาโอบล้อมภาคเหนือของไทยสูบแร่ ที่คิดว่าไม่ใช่เฉพาะทองคำ แต่จะกินไปถึงถ่านหิน และแมงกานีส เป็นอุตสาหกรรมที่มีความลึกลับซับซ้อนเป็นทองคำสีเลือดที่สร้างผลกระทบชีวิตคนลุ่มแม่น้ำโขง สุขภาพตายผ่อนส่ง ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่ยังไม่รวมเรื่องฝุ่นควันข้ามแดนจากการบายพาสสินค้าไปตลาดจีน คาสิโน บ่อนที่ประชิดชายแดนไทย ทั้งพม่าและคิงส์โรมัน . ทั้งหมดล้วนพัวพันเป็นเนื้อเดียวที่ส่งสัญญาณอนาคตประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ลุ่มนํ้าสาละวิน กก สาย และอิง ไม่รวมแม่น้ำสาขา น้ำแม่ฝาง น้ำแม่ลาว และน้ำแม่สรวย กำลังเผชิญวิกฤติที่ลุกลามเป็นกินพื้นที่ภาคเหนือ . ต้องยอมรับว่าการ Reaction ของรัฐไทยช้า และไม่มีพลังที่จะชน Deep State ประเทศเพื่อนบ้าน ภาพปรากฎเป็นการตั้งรับเกือบ 100% และไม่ทันการณ์ . ความอ่อนแอเชิงพื้นที่ที่ได้ถูกกัดกร่อน ทำให้พลังการแสดงออกของพื้นที่เชียงรายอ่อนแรง ทั้งภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาชน มิได้ส่งเสียงส่งพลังให้เกิดการมีปฏิกิริยาเชิงรุกกับรัฐบาลไทยเพื่อปกป้องผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของภาคเหนือ . หากประมวลมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวของไทย นอกจากการเกาะติดของสื่อ ก็จะมีข้อเรียกร้องทางให้เปิดโต๊ะเจรจาจีน-เมียนมา-ว้า ประสานพี่ใหญ่จีนด้วยที่มีบริษัทจีนส่วนใหญ่เข้าไปสัมปทาน ทั้งรูปแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ร่วมกันหาทางออกทั้งการยุติการทำเหมืองทอง หรือการควบคุมการปล่อยสารพิษลงแม่น้ำ . จังหวัดเชียงรายต้องทำฉากทัศน์ (Scenarios) หลายระดับ 1.ในช่วง 5 ปี หน้าดินที่เสื่อมสลายไป จะทำอย่างไรในเรื่องตะกอน น้ำท่วม และสารพิษในแม่น้ำ 2.ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากเหมืองทองขยายตัวมากกว่านี้ ขยายเหมือนไร่ข้าวโพดในเมียนมา จะมีการบริหารจัดการอย่างไร 3.ประเด็นการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) . ก่อนหน้านี้กลางเดือนมีนาคมมีการรวมตัวของชุมชน 700 คน ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ รวมตัวกันเพื่อรณรงค์ปกป้องแม่น้ำกก ที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำบนต้นน้ำกกที่ห่างจากชายแดนไทยไป 30 กิโลเมตรทางทิศใต้ของเมืองสาด ที่ดำเนินขุดต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง โดยให้ข้อมูลว่าตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา การขุดทองในวงกว้างเกิดขึ้นริมแม่น้ำกกในเมืองยอน ตอนใต้ของอำเภอเมืองสาด . ในแถลงการณ์ระบุว่ามีบริษัทจีนหลัก 4 แห่ง ที่ดำเนินการขุดเหมือง มีซับคอนแทรกอีก 20 ราย มีพนักงานมากกว่า 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน บริษัทเหล่านี้ทำเหมืองบนเนินเขาและริมฝั่งแม่น้ำกก รวมถึงการใช้เรือขุดทองและสกัดบนแม่น้ำกกโดยตรง ทำให้ชาวบ้านไม่มั่นใจการบริโภคในครัวเรือน และทำให้ปลาแทบสูญพันธุ์ . ล่าสุดมีการขยับของ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกหนังสือไปยังหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong Committee Secretariat: MRCS) เสนอจัดตั้ง “กลไกความร่วมมือทวิภาคี” สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยมี MRCS ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน ซึ่งต้องติดตามต่อไป . หลังจากการเปิดฉากเรื่อง Blood Gold เหมืองทองคำสีเลือดแห่งลุ่มน้ำโขง ตอนต่อไปคือการเจาะลึกการขยายอุตสาหกรรมเหมืองทองคำในลุ่มแม่น้ำโขงในเงื้อมมือทุนจีน การเล่นแร่แปรธาตุสู่อาวุธ บ่อน และสงคราม ไปจนทางถึง Supply Chain การเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการเหมืองในลุ่มแม่น้ำโขง ผลประโยชน์ขนาดไหน ความสูญเสียของคนลุ่มแม่น้ำโขงในอนาคตภายใต้ความเสี่ยงของมลพิษข้ามแดนจะวิกฤติอย่างไร มีทางออกอย่างไรโปรดติดตาม อ้างอิง : • มูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ https://shanhumanrights.org/ • วิกฤตสารหนู ‘แม่น้ำกก’ จี้รัฐถก 3 ชาติ ป้องเศรษฐกิจเชียงรายพัง https://www.prachachat.net/local-economy/news-1792140 • สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 1 https://www.facebook.com/share/p/1D8ZwWYsN1/ • ไทยกับว้าแดง https://www.facebook.com/share/p/15KvYRaDH1/ • Toxic Waters, Dysfunctional States The Destruction of the Kok and Sai Rivers By Paskorn Jumlongrach https://transbordernews.in.th/home/?p=421080 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 125 มุมมอง 0 รีวิว -
- 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 12 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม