• 🚌 ขสมก. แจ้งประชาชนวางแผนการเดินทาง และรถโดยสาร 12 เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากการ "ปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี" (ถนนเพชรบุรี ฝั่งขาออก) เพื่อดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าราชเทวี (OR08) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2571 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป

    📌 รถโดยสาร ขสมก. ที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 12 เส้นทาง ดังนี้
    สาย 23E (3-4E) : สมุทรปราการ - เทเวศร์ (ทางด่วน)
    สาย 23 (3-5) : ปู่เจ้าสมิงพราย - เทเวศร์
    สาย 50 (2-7) : ท่าเรือพระราม 7 - สถานีรถไฟฟ้าลุมพินี
    สาย 59 (เดิม) : รังสิต - สนามหลวง
    สาย 60 (1-38) : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย
    สาย 79 (4-42) : บรมราชชนนี - ราชประสงค์
    สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่
    สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่ (ทางด่วน)
    สาย 1-7E : รังสิต - สนามหลวง (ทางด่วน)
    สาย 1-80E : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (ทางด่วน)
    สาย 2-2 : ท่าเรือปากเกร็ด - ท่าเรือสี่พระยา
    สาย 4-35 : คลองสาน - เทเวศร์ (วงกลม)
    📍ทั้งนี้จากการปิดช่องจราจรดังกล่าวอาจมีปริมาณรถสะสมเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ประชาชนวางแผนการเดินทาง และ สามารถสอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน Call Center โทร. 1348 ได้ทุกวัน ในเวลา 05.00 – 22.00 น.

    อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : t.ly/XjIIL
    🚌 ขสมก. แจ้งประชาชนวางแผนการเดินทาง และรถโดยสาร 12 เส้นทางที่อาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากการ "ปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี" (ถนนเพชรบุรี ฝั่งขาออก) เพื่อดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าราชเทวี (OR08) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2571 เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป 📌 รถโดยสาร ขสมก. ที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 12 เส้นทาง ดังนี้ สาย 23E (3-4E) : สมุทรปราการ - เทเวศร์ (ทางด่วน) สาย 23 (3-5) : ปู่เจ้าสมิงพราย - เทเวศร์ สาย 50 (2-7) : ท่าเรือพระราม 7 - สถานีรถไฟฟ้าลุมพินี สาย 59 (เดิม) : รังสิต - สนามหลวง สาย 60 (1-38) : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย สาย 79 (4-42) : บรมราชชนนี - ราชประสงค์ สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่ สาย 511 : ปากน้ำ - สถานีขนส่งฯ (ตลิ่งชัน) สายใต้ใหม่ (ทางด่วน) สาย 1-7E : รังสิต - สนามหลวง (ทางด่วน) สาย 1-80E : สวนสยาม - สถานีรถไฟฟ้าสนามไชย (ทางด่วน) สาย 2-2 : ท่าเรือปากเกร็ด - ท่าเรือสี่พระยา สาย 4-35 : คลองสาน - เทเวศร์ (วงกลม) 📍ทั้งนี้จากการปิดช่องจราจรดังกล่าวอาจมีปริมาณรถสะสมเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ประชาชนวางแผนการเดินทาง และ สามารถสอบถามข้อมูลเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน Call Center โทร. 1348 ได้ทุกวัน ในเวลา 05.00 – 22.00 น. อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ : t.ly/XjIIL
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 121 มุมมอง 0 รีวิว
  • 17/1/68

    รฟม. ขอประชาสัมพันธ์การปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 17 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง จนถึง 30 เมษายน 2571 เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    🟠 เตรียมพร้อมรับมือปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี https://www.facebook.com/share/p/15rUtGxURi/

    🟠 แนะนำเส้นทางเลี่ยงปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี https://www.facebook.com/share/v/1BA1XvXuvi/

    🟠 แนะนำเส้นทางเดินเรือคลองแสนแสบเลี่ยงปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี https://www.facebook.com/share/p/18j6e9tq12/

    โดยสามารถติดตามข่าวสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ที่
    👉 Facebook Fan Page : โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
    17/1/68 รฟม. ขอประชาสัมพันธ์การปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 17 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป ตลอด 24 ชั่วโมง จนถึง 30 เมษายน 2571 เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 🟠 เตรียมพร้อมรับมือปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี https://www.facebook.com/share/p/15rUtGxURi/ 🟠 แนะนำเส้นทางเลี่ยงปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี https://www.facebook.com/share/v/1BA1XvXuvi/ 🟠 แนะนำเส้นทางเดินเรือคลองแสนแสบเลี่ยงปิดสะพานข้ามแยกราชเทวี https://www.facebook.com/share/p/18j6e9tq12/ โดยสามารถติดตามข่าวสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ได้ที่ 👉 Facebook Fan Page : โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 61 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฝั่งธนยังต้องทน ก่อสร้างตลอดปี

    นับตั้งแต่ฝั่งธนบุรีมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บนถนนพระรามที่ 2 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) บนถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปก มาตั้งแต่ปี 2565 ทำการจราจรติดขัดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นแล้ว ในปี 2568 มีการก่อสร้างเพิ่มเติมทั้งทางยกระดับและรถไฟฟ้า คราวนี้กระทบโซนปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑล สาย 4

    เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.2568 เวลา 22.00 น. จะปิดสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชั่น และถนนสุทธาวาส เพื่อดำเนินงานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ระหว่างแยกพรานนก สถานีรถไฟธนบุรี ข้ามสะพานไปยังฝั่งถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน เพื่อไปออกถนนบรมราชชนนี สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ถึงถนนกาญจนาภิเษก ได้รับผลกระทบ

    โดยผู้รับจ้างจะรื้อถอนสะพานข้ามแยกดังกล่าวเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ OR2 จากนั้นจะก่อสร้างสะพานทดแทน ในเดือน ธ.ค.2569 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือน มิ.ย.2571 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง

    อย่างต่อมา คือ การก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑลสาย 3-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2568 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4,490 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการคำนวณราคากลาง

    อีกโครงการหนึ่ง คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง (M9) ระยะทาง 38 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กทม. กับ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2567 คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี

    สำหรับส่วนต่อขยายถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ที่จะแบ่งเบาการจราจรถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนี ได้แก่ โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,532 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าแล้ว 72.14% คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน มิ.ย.2568 และโครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดบริเวณตรงข้ามปากซอยกระทุ่มล้ม 9 อ.สามพราน จ.นครปฐม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,299.90 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน สิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.2569

    #Newskit
    ฝั่งธนยังต้องทน ก่อสร้างตลอดปี นับตั้งแต่ฝั่งธนบุรีมีการก่อสร้างโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บนถนนพระรามที่ 2 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน–ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) บนถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนประชาธิปก มาตั้งแต่ปี 2565 ทำการจราจรติดขัดทั้งช่วงเช้าและช่วงเย็นแล้ว ในปี 2568 มีการก่อสร้างเพิ่มเติมทั้งทางยกระดับและรถไฟฟ้า คราวนี้กระทบโซนปิ่นเกล้า ถนนบรมราชชนนี ถึงถนนพุทธมณฑล สาย 4 เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.2568 เวลา 22.00 น. จะปิดสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชั่น และถนนสุทธาวาส เพื่อดำเนินงานก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ใช้เส้นทางนี้ระหว่างแยกพรานนก สถานีรถไฟธนบุรี ข้ามสะพานไปยังฝั่งถนนเลียบทางรถไฟตลิ่งชัน เพื่อไปออกถนนบรมราชชนนี สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน ถึงถนนกาญจนาภิเษก ได้รับผลกระทบ โดยผู้รับจ้างจะรื้อถอนสะพานข้ามแยกดังกล่าวเพื่อก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินบางขุนนนท์ OR2 จากนั้นจะก่อสร้างสะพานทดแทน ในเดือน ธ.ค.2569 และคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในเดือน มิ.ย.2571 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปีครึ่ง อย่างต่อมา คือ การก่อสร้างส่วนต่อขยายทางยกระดับบนทางหลวงหมายเลข 338 (ถนนบรมราชชนนี) ช่วงพุทธมณฑลสาย 3-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทางประมาณ 4.7 กิโลเมตร ปีงบประมาณ 2568 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 4,490 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 6 สัญญา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการคำนวณราคากลาง อีกโครงการหนึ่ง คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน–บางบัวทอง (M9) ระยะทาง 38 กิโลเมตร พาดผ่านพื้นที่เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตตลิ่งชัน และเขตทวีวัฒนา กทม. กับ อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ และ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หลังคณะรัฐมนตรีอนุมัติเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.2567 คาดว่าจะเปิดประมูลปลายปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี สำหรับส่วนต่อขยายถนนพรานนก-พุทธมณฑล สาย 4 ที่จะแบ่งเบาการจราจรถนนเพชรเกษม และถนนบรมราชชนนี ได้แก่ โครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 2-ถนนพุทธมณฑลสาย 3 ระยะทาง 3.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,532 ล้านบาท ปัจจุบันคืบหน้าแล้ว 72.14% คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน มิ.ย.2568 และโครงการต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑลสาย 3-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดบริเวณตรงข้ามปากซอยกระทุ่มล้ม 9 อ.สามพราน จ.นครปฐม ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 1,299.90 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 720 วัน สิ้นสุดสัญญาเดือน ก.ย.2569 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 364 มุมมอง 0 รีวิว
  • BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น

    เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง

    และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582

    มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน

    ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

    บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า

    อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน

    #Newskit
    BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582 มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 501 มุมมอง 0 รีวิว
  • รฟม.ย้ำ 15 พฤศจิกายนนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เริ่มปิดเบี่ยงจราจร 1 ช่องทาง ส่วนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ประชาชนยังสัญจรได้ตามปกติ

    ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการนำเสนอข่าวโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จะเริ่มดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 นั้น

    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบัน บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ในฐานะผู้รับจ้างของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ร่วมลงทุน) หรือ BEM มีกำหนดจะเริ่มปิดเบี่ยงจราจรในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง 5 สถานีแรก ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ยกเว้นสถานีศิริราช จะเป็นการจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อช่องจราจร สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/business/detail/9670000109231

    #MGROnline #โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
    รฟม.ย้ำ 15 พฤศจิกายนนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เริ่มปิดเบี่ยงจราจร 1 ช่องทาง ส่วนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ประชาชนยังสัญจรได้ตามปกติ • ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ได้มีการนำเสนอข่าวโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จะเริ่มดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรเพื่อรื้อถอนสะพานข้ามถนนจรัญสนิทวงศ์ สะพานข้ามแยกประตูน้ำ และสะพานข้ามแยกราชเทวี ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 นั้น • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบัน บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ในฐานะผู้รับจ้างของ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ร่วมลงทุน) หรือ BEM มีกำหนดจะเริ่มปิดเบี่ยงจราจรในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง 5 สถานีแรก ได้แก่ สถานีบางขุนนนท์ สถานีศิริราช สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สถานียมราช และสถานีประตูน้ำ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคเป็นลำดับแรก โดยจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรชิดทางเท้า 1 ช่องจราจร ยกเว้นสถานีศิริราช จะเป็นการจัดการจราจรในพื้นที่ก่อสร้างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อช่องจราจร สำหรับสถานีส่วนที่เหลือจะดำเนินการปิดเบี่ยงจราจรในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2567 • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/business/detail/9670000109231 • #MGROnline #โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 544 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชีวิตของชูวิทย์มีค่ายิ่งกว่านักการเมืองเลวๆ
    .
    คุณชูวิทย์เขาเล่าให้ผมฟังว่า ชีวิตเขาถูกหลอกใช้มาตลอด เรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น เขาถูกคนที่ชื่อ สุชาติ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของคีรี บอกว่าจะเอาเรื่องการคอร์รัปชันไหม เขามีข้อมูลให้พร้อม ก็เลยเอาข้อมูลมาให้ชูวิทย์ นั่นคือที่มาของการโจมตี ช.การช่าง และการคอร์รัปชัน รวมไปจนถึงการมีงานโอนเงินค่าคอมมิชันไปที่สิงคโปร์ เป็นฝีมือที่มาจากคนที่ให้ข่าวเขาทั้งสิ้น “แล้วมันก็ทิ้งผมไป หลังจากใช้ผมได้เรียบร้อยแล้ว”
    .
    เขาค่อนข้างเจ็บช้ำน้ำใจมากหลายๆเรื่อง โดนฟ้องอยู่หลายคดี สันธนะ ประยูรรัตน์ก็ฟ้องเขา และที่สำคัญคือเรื่องเขากระโดง เขาก็โดนฟ้องที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์
    .
    ผมไม่ได้อยู่ในสถานภาพที่จะพูดอะไรในเรื่องนี้ได้ แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่า คนที่อยู่ในสภาพอย่างชูวิทย์ คนที่เป็นเจ้าทุกข์ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่พวกคุณจะทำบุญทำกุศลกัน เพราะคุณชูวิทย์เขาอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตแล้ว
    .
    ความแค้นไม่ได้ทำให้ชีวิตคุณมีความสุขหรอก ณ วันนี้ ถ้าคุณจะทำไปเพื่อล้างแค้นที่ชูวิทย์เขาว่าอะไรคุณ ก็เชิญตามสบาย คนเรามันจะแค้นอะไรกันนักกันหนา หรือทั้งคุณเนวิน และคุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ ไม่ยอมรับว่าชีวิตคุณเองก็มีการทำผิดพลาดเยอะมากพอสมควร อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่คุณชูวิทย์พูดเรื่องเขากระโดงก็เป็นความจริง
    .
    ผมสงสารและเห็นใจเขา เขาก็ไม่ได้เรียกร้องอะไรนะ ไม่ได้เรียกร้องคุณศักดิ์สยามและคุณเนวิน คุณคงอยากให้คุณชูวิทย์คลานเข้าไปแล้วกราบเท้าคุณใช่ไหม ซึ่งถ้าเขาทำผิดกฎหมายเพราะเขาไปหมิ่นประมาทคุณ อันนั้นคือกฎหมาย แต่ที่อยู่เหนือกฎหมาย คือคุณธรรม ความเห็นอกเห็นใจ คุณจะเรียกว่าความเวทนาก็ได้ ที่คุณชูวิทย์เขาเจ็บไข้ได้ป่วยหนักขนาดนี้ ที่สามารถจะตายได้ทุกเมื่อ ตรงนี้ต่างหากที่มันอยู่เหนือกฎหมาย นั่นคือความเป็นมนุษย์
    .
    คุณชูวิทย์อาจจะพูดอะไร แล้วคุณเจ็บใจแค้นใจมาก ผมเข้าใจดี รวมไปถึงคุณสันธนะด้วย ขนาดคุณชูวิทย์นั่งข้างๆ คุณ แล้วมาขอโทษคุณบนเก้าอี้รถเข็น ใจคอคุณบอกยังไม่ให้ ผมไม่รู้ว่าจิตใจพวกคุณทั้งหลายทำด้วยอะไร
    .
    สำหรับผมแล้ว ชูวิทย์เป็นคนที่มีคุณูปการต่อสังคม การทำงานของชูวิทย์นั้น จะดีจะชั่วก็ยังดีกว่านักการเมืองเลวๆ บางคนที่เอาอำนาจทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ ยึดที่ดินของรัฐเข้าไปเป็นของครอบครัวตัวเอง ผมว่าชีวิตของชูวิทย์มีค่ายิ่งกว่านักการเมืองเลวๆ พวกนั้นอีก

    ที่มา คุยทุกเรื่องกับสนธิ

    #Thaitimes
    ชีวิตของชูวิทย์มีค่ายิ่งกว่านักการเมืองเลวๆ . คุณชูวิทย์เขาเล่าให้ผมฟังว่า ชีวิตเขาถูกหลอกใช้มาตลอด เรื่องรถไฟฟ้าสายสีส้มนั้น เขาถูกคนที่ชื่อ สุชาติ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของคีรี บอกว่าจะเอาเรื่องการคอร์รัปชันไหม เขามีข้อมูลให้พร้อม ก็เลยเอาข้อมูลมาให้ชูวิทย์ นั่นคือที่มาของการโจมตี ช.การช่าง และการคอร์รัปชัน รวมไปจนถึงการมีงานโอนเงินค่าคอมมิชันไปที่สิงคโปร์ เป็นฝีมือที่มาจากคนที่ให้ข่าวเขาทั้งสิ้น “แล้วมันก็ทิ้งผมไป หลังจากใช้ผมได้เรียบร้อยแล้ว” . เขาค่อนข้างเจ็บช้ำน้ำใจมากหลายๆเรื่อง โดนฟ้องอยู่หลายคดี สันธนะ ประยูรรัตน์ก็ฟ้องเขา และที่สำคัญคือเรื่องเขากระโดง เขาก็โดนฟ้องที่ศาลจังหวัดบุรีรัมย์ . ผมไม่ได้อยู่ในสถานภาพที่จะพูดอะไรในเรื่องนี้ได้ แต่โดยส่วนตัวผมคิดว่า คนที่อยู่ในสภาพอย่างชูวิทย์ คนที่เป็นเจ้าทุกข์ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่พวกคุณจะทำบุญทำกุศลกัน เพราะคุณชูวิทย์เขาอยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิตแล้ว . ความแค้นไม่ได้ทำให้ชีวิตคุณมีความสุขหรอก ณ วันนี้ ถ้าคุณจะทำไปเพื่อล้างแค้นที่ชูวิทย์เขาว่าอะไรคุณ ก็เชิญตามสบาย คนเรามันจะแค้นอะไรกันนักกันหนา หรือทั้งคุณเนวิน และคุณศักดิ์สยาม ชิดชอบ ไม่ยอมรับว่าชีวิตคุณเองก็มีการทำผิดพลาดเยอะมากพอสมควร อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่คุณชูวิทย์พูดเรื่องเขากระโดงก็เป็นความจริง . ผมสงสารและเห็นใจเขา เขาก็ไม่ได้เรียกร้องอะไรนะ ไม่ได้เรียกร้องคุณศักดิ์สยามและคุณเนวิน คุณคงอยากให้คุณชูวิทย์คลานเข้าไปแล้วกราบเท้าคุณใช่ไหม ซึ่งถ้าเขาทำผิดกฎหมายเพราะเขาไปหมิ่นประมาทคุณ อันนั้นคือกฎหมาย แต่ที่อยู่เหนือกฎหมาย คือคุณธรรม ความเห็นอกเห็นใจ คุณจะเรียกว่าความเวทนาก็ได้ ที่คุณชูวิทย์เขาเจ็บไข้ได้ป่วยหนักขนาดนี้ ที่สามารถจะตายได้ทุกเมื่อ ตรงนี้ต่างหากที่มันอยู่เหนือกฎหมาย นั่นคือความเป็นมนุษย์ . คุณชูวิทย์อาจจะพูดอะไร แล้วคุณเจ็บใจแค้นใจมาก ผมเข้าใจดี รวมไปถึงคุณสันธนะด้วย ขนาดคุณชูวิทย์นั่งข้างๆ คุณ แล้วมาขอโทษคุณบนเก้าอี้รถเข็น ใจคอคุณบอกยังไม่ให้ ผมไม่รู้ว่าจิตใจพวกคุณทั้งหลายทำด้วยอะไร . สำหรับผมแล้ว ชูวิทย์เป็นคนที่มีคุณูปการต่อสังคม การทำงานของชูวิทย์นั้น จะดีจะชั่วก็ยังดีกว่านักการเมืองเลวๆ บางคนที่เอาอำนาจทางการเมืองแสวงหาผลประโยชน์ ยึดที่ดินของรัฐเข้าไปเป็นของครอบครัวตัวเอง ผมว่าชีวิตของชูวิทย์มีค่ายิ่งกว่านักการเมืองเลวๆ พวกนั้นอีก ที่มา คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 848 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปฐมบทรถไฟฟ้าสายสีส้ม

    ฤกษ์งามยามดีดิถีเพ็ญ 18 กรกฎาคม 2567 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังเสนอค่าก่อสร้างช่วงบางขุนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 95,432.04 ล้านบาท และเสนอผลตอบแทนให้ รฟม. 10,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ รฟม.และ BEM มีแผนที่จะเปิดให้บริการช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 17 สถานี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร ที่งานโยธาแล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤษภาคม 2571 แต่จะเจรจากับ BEM ให้เปิดบริการก่อนกำหนดต้นปี 2571

    ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 11 สถานี ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร โครงสร้างใต้ดินตลอดสาย จะมีการก่อสร้างงานโยธา โดย รฟม. มีแผนที่จะเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2573 ซึ่งจะทำให้แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร

    โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เริ่มก่อสร้างงานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี มาตั้งแต่ปี 2560 แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากมีคดีในศาลปกครองหลายคดี กรณีประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ก่อนปรับหลักเกณฑ์ ยกเลิกประมูลครั้งแรก แล้วจัดประมูลใหม่อีกรอบ

    กระทั่งวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนยกฟ้อง คดีที่กลุ่มบริษัทบีทีเอสฟ้อง รฟม. โดยยืนยันว่าการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กระทั่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ดังกล่าว

    #Newskit #รถไฟฟ้าสายสีส้ม #MRTOrangeLine
    ปฐมบทรถไฟฟ้าสายสีส้ม ฤกษ์งามยามดีดิถีเพ็ญ 18 กรกฎาคม 2567 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ชนะการคัดเลือกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังเสนอค่าก่อสร้างช่วงบางขุนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 95,432.04 ล้านบาท และเสนอผลตอบแทนให้ รฟม. 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ รฟม.และ BEM มีแผนที่จะเปิดให้บริการช่วง ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี 17 สถานี ระยะทาง 22.5 กิโลเมตร ที่งานโยธาแล้วเสร็จ ภายในเดือนพฤษภาคม 2571 แต่จะเจรจากับ BEM ให้เปิดบริการก่อนกำหนดต้นปี 2571 ส่วนช่วงบางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 11 สถานี ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร โครงสร้างใต้ดินตลอดสาย จะมีการก่อสร้างงานโยธา โดย รฟม. มีแผนที่จะเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2573 ซึ่งจะทำให้แนวเส้นทางเชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครทิศตะวันออกกับทิศตะวันตก ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม เริ่มก่อสร้างงานโยธาช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี มาตั้งแต่ปี 2560 แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 แต่ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากมีคดีในศาลปกครองหลายคดี กรณีประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) ก่อนปรับหลักเกณฑ์ ยกเลิกประมูลครั้งแรก แล้วจัดประมูลใหม่อีกรอบ กระทั่งวันที่ 12 มิถุนายน 2567 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนยกฟ้อง คดีที่กลุ่มบริษัทบีทีเอสฟ้อง รฟม. โดยยืนยันว่าการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี ครั้งที่ 2 ชอบด้วยกฎหมายแล้ว กระทั่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน (PPP) ดังกล่าว #Newskit #รถไฟฟ้าสายสีส้ม #MRTOrangeLine
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 729 มุมมอง 0 รีวิว
  • Newsstory : สิ้นสุดมหากาพย์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังยืดเยื้อยาวนานกว่า 4 ปี
    #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่
    #สนธิลิ้มทองกุล #สิ้นสุดมหากาพย์ #รถไฟฟ้า #รถไฟฟ้าสายสีส้ม
    Newsstory : สิ้นสุดมหากาพย์ รถไฟฟ้าสายสีส้ม หลังยืดเยื้อยาวนานกว่า 4 ปี #Newsstory #สนธิทอร์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #นิวส์สตอรี่ #สนธิลิ้มทองกุล #สิ้นสุดมหากาพย์ #รถไฟฟ้า #รถไฟฟ้าสายสีส้ม
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 898 มุมมอง 31 0 รีวิว