สุริยะมัดรวมรถทัวร์ ไปกรุงเทพอภิวัฒน์
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ สำหรับความพยายามของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการย้ายสถานีขนส่ง 3 แห่ง ได้แก่ หมอชิต 2, เอกมัย และสายใต้ใหม่ มารวมกันที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟ ร.ฟ.ท. รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีน้ำเงิน สอดรับกับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่นายสุริยะอ้างว่าจะครอบคลุมทุกสี ทุกสาย ภายในเดือน ก.ย. 2568
นายสุริยะอ้างว่าจะใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น รูปแบบที่สถานีฮากาตะ จังหวัดฟูกูโอกะ เป็นสถานีโดยสารแบบอาคารสูง ภายในอาคารจะมีศูนย์อาหารและแหล่งอำนวยความสะดวก แต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง แบ่งตามภูมิภาค และแบ่งจังหวัดอย่างชัดเจน โดยการก่อสร้างจะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่จะให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. นำที่ดินสถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย ที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านบาทให้เช่าหรือขาย เพื่อนำเงินมาลงทุนพัฒนาอาคารสถานีแห่งใหม่
แนวคิดของนายสุริยะเรียกเสียงวิจารณ์จากประชาชน เพราะปกติถนนพหลโยธิน และถนนกำแพงเพชร 2 รถติดเป็นประจำในช่วงเช้าและเย็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะหน้าสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบรรดาสารพัดรถสาธารณะจอดเต็มไปหมด อีกทั้งที่ผ่านมาการแยกสถานีขนส่งตั้งแต่หมอชิต 2 สำหรับรถสายเหนือ สายอีสาน สถานีขนส่งเอกมัย สำหรับรถสายตะวันออก และสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน สำหรับรถสายใต้ ประชาชนคุ้นเคยไม่สับสนอยู่แล้ว กังขาว่าทำไมนายสุริยะถึงผลักดันย้ายสถานีขนส่งแบบสุดลิ่มทิ่มประตู
ความจริงก็คือ ปัจจุบันสถานีขนส่งของ บขส. มีเพียงสถานีขนส่งเอกมัยแห่งเดียว ตั้งอยู่บนที่ดินตัวเอง เนื้อที่ 7 ไร่ เปิดให้บริการเมื่อ 1 ม.ค. 2503 หรือ 65 ปีก่อน นอกนั้น สถานีขนส่งหมอชิต 2 เช่าพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย 58 ไร่ แต่ บขส. มีกรณีพิพาทกับการรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2548 เพราะตกลงค่าเช่าไม่ได้ บขส.ต้องการจ่ายปีละ 21 ล้านบาท แต่การรถไฟฯ ปรับเพิ่มค่าเช่า 5% ทุกปี ขณะที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน เนื้อที่ 37 ไร่ สัญญาจ่ายส่วนแบ่งรายได้กับเอกชนใกล้จะหมดลง
ถึงกระนั้น บขส.ยังมีที่ดินแยกไฟฉาย เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา เคยประกาศให้เช่าเมื่อปี 2566 แต่ไม่มีเอกชนรายไหนสนใจ ส่วนที่ดินปิ่นเกล้า เนื้อที่ 15 ไร่ ปัจจุบันด้านหน้าเป็นจุดจอดรถตู้โดยสารและรถมินิบัสต่างจังหวัด ให้บริการเส้นทางภาคตะวันตกเป็นหลัก น่าสนใจว่า การพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ตามที่นายสุริยะกล่าวไว้จริงหรือไม่
#Newskit
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ สำหรับความพยายามของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการย้ายสถานีขนส่ง 3 แห่ง ได้แก่ หมอชิต 2, เอกมัย และสายใต้ใหม่ มารวมกันที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟ ร.ฟ.ท. รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีน้ำเงิน สอดรับกับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่นายสุริยะอ้างว่าจะครอบคลุมทุกสี ทุกสาย ภายในเดือน ก.ย. 2568
นายสุริยะอ้างว่าจะใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น รูปแบบที่สถานีฮากาตะ จังหวัดฟูกูโอกะ เป็นสถานีโดยสารแบบอาคารสูง ภายในอาคารจะมีศูนย์อาหารและแหล่งอำนวยความสะดวก แต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง แบ่งตามภูมิภาค และแบ่งจังหวัดอย่างชัดเจน โดยการก่อสร้างจะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่จะให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. นำที่ดินสถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย ที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านบาทให้เช่าหรือขาย เพื่อนำเงินมาลงทุนพัฒนาอาคารสถานีแห่งใหม่
แนวคิดของนายสุริยะเรียกเสียงวิจารณ์จากประชาชน เพราะปกติถนนพหลโยธิน และถนนกำแพงเพชร 2 รถติดเป็นประจำในช่วงเช้าและเย็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะหน้าสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบรรดาสารพัดรถสาธารณะจอดเต็มไปหมด อีกทั้งที่ผ่านมาการแยกสถานีขนส่งตั้งแต่หมอชิต 2 สำหรับรถสายเหนือ สายอีสาน สถานีขนส่งเอกมัย สำหรับรถสายตะวันออก และสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน สำหรับรถสายใต้ ประชาชนคุ้นเคยไม่สับสนอยู่แล้ว กังขาว่าทำไมนายสุริยะถึงผลักดันย้ายสถานีขนส่งแบบสุดลิ่มทิ่มประตู
ความจริงก็คือ ปัจจุบันสถานีขนส่งของ บขส. มีเพียงสถานีขนส่งเอกมัยแห่งเดียว ตั้งอยู่บนที่ดินตัวเอง เนื้อที่ 7 ไร่ เปิดให้บริการเมื่อ 1 ม.ค. 2503 หรือ 65 ปีก่อน นอกนั้น สถานีขนส่งหมอชิต 2 เช่าพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย 58 ไร่ แต่ บขส. มีกรณีพิพาทกับการรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2548 เพราะตกลงค่าเช่าไม่ได้ บขส.ต้องการจ่ายปีละ 21 ล้านบาท แต่การรถไฟฯ ปรับเพิ่มค่าเช่า 5% ทุกปี ขณะที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน เนื้อที่ 37 ไร่ สัญญาจ่ายส่วนแบ่งรายได้กับเอกชนใกล้จะหมดลง
ถึงกระนั้น บขส.ยังมีที่ดินแยกไฟฉาย เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา เคยประกาศให้เช่าเมื่อปี 2566 แต่ไม่มีเอกชนรายไหนสนใจ ส่วนที่ดินปิ่นเกล้า เนื้อที่ 15 ไร่ ปัจจุบันด้านหน้าเป็นจุดจอดรถตู้โดยสารและรถมินิบัสต่างจังหวัด ให้บริการเส้นทางภาคตะวันตกเป็นหลัก น่าสนใจว่า การพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ตามที่นายสุริยะกล่าวไว้จริงหรือไม่
#Newskit
สุริยะมัดรวมรถทัวร์ ไปกรุงเทพอภิวัฒน์
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ก็เป็นที่วิจารณ์ สำหรับความพยายามของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการย้ายสถานีขนส่ง 3 แห่ง ได้แก่ หมอชิต 2, เอกมัย และสายใต้ใหม่ มารวมกันที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟ ร.ฟ.ท. รถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีน้ำเงิน สอดรับกับนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ที่นายสุริยะอ้างว่าจะครอบคลุมทุกสี ทุกสาย ภายในเดือน ก.ย. 2568
นายสุริยะอ้างว่าจะใช้โมเดลจากประเทศญี่ปุ่น รูปแบบที่สถานีฮากาตะ จังหวัดฟูกูโอกะ เป็นสถานีโดยสารแบบอาคารสูง ภายในอาคารจะมีศูนย์อาหารและแหล่งอำนวยความสะดวก แต่ละชั้นจะแบ่งรถโดยสารแต่ละสายเส้นทาง แบ่งตามภูมิภาค และแบ่งจังหวัดอย่างชัดเจน โดยการก่อสร้างจะไม่ใช้งบประมาณแผ่นดิน แต่จะให้บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ บขส. นำที่ดินสถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย ที่มีมูลค่าสูงถึง 7,000 ล้านบาทให้เช่าหรือขาย เพื่อนำเงินมาลงทุนพัฒนาอาคารสถานีแห่งใหม่
แนวคิดของนายสุริยะเรียกเสียงวิจารณ์จากประชาชน เพราะปกติถนนพหลโยธิน และถนนกำแพงเพชร 2 รถติดเป็นประจำในช่วงเช้าและเย็นอยู่แล้ว โดยเฉพาะหน้าสถานีขนส่งหมอชิต 2 มีบรรดาสารพัดรถสาธารณะจอดเต็มไปหมด อีกทั้งที่ผ่านมาการแยกสถานีขนส่งตั้งแต่หมอชิต 2 สำหรับรถสายเหนือ สายอีสาน สถานีขนส่งเอกมัย สำหรับรถสายตะวันออก และสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน สำหรับรถสายใต้ ประชาชนคุ้นเคยไม่สับสนอยู่แล้ว กังขาว่าทำไมนายสุริยะถึงผลักดันย้ายสถานีขนส่งแบบสุดลิ่มทิ่มประตู
ความจริงก็คือ ปัจจุบันสถานีขนส่งของ บขส. มีเพียงสถานีขนส่งเอกมัยแห่งเดียว ตั้งอยู่บนที่ดินตัวเอง เนื้อที่ 7 ไร่ เปิดให้บริการเมื่อ 1 ม.ค. 2503 หรือ 65 ปีก่อน นอกนั้น สถานีขนส่งหมอชิต 2 เช่าพื้นที่การรถไฟแห่งประเทศไทย 58 ไร่ แต่ บขส. มีกรณีพิพาทกับการรถไฟฯ มาตั้งแต่ปี 2548 เพราะตกลงค่าเช่าไม่ได้ บขส.ต้องการจ่ายปีละ 21 ล้านบาท แต่การรถไฟฯ ปรับเพิ่มค่าเช่า 5% ทุกปี ขณะที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ตลิ่งชัน เนื้อที่ 37 ไร่ สัญญาจ่ายส่วนแบ่งรายได้กับเอกชนใกล้จะหมดลง
ถึงกระนั้น บขส.ยังมีที่ดินแยกไฟฉาย เนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา เคยประกาศให้เช่าเมื่อปี 2566 แต่ไม่มีเอกชนรายไหนสนใจ ส่วนที่ดินปิ่นเกล้า เนื้อที่ 15 ไร่ ปัจจุบันด้านหน้าเป็นจุดจอดรถตู้โดยสารและรถมินิบัสต่างจังหวัด ให้บริการเส้นทางภาคตะวันตกเป็นหลัก น่าสนใจว่า การพัฒนาสถานีขนส่งแห่งใหม่ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ จะแล้วเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ตามที่นายสุริยะกล่าวไว้จริงหรือไม่
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
11 มุมมอง
0 รีวิว