อัจฉริยะ หอบหลักฐานจำลองเหตุการณ์แตงโมตกน้ำ ร้องดีเอสไอ พิจารณารับเป็นคดีพิเศษ จี้สอบ จนท.รัฐ เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ด้านโฆษกดีเอสไอ ระบุ สำนวนคดีหลักยังอยู่ในชั้นศาล ไม่อาจก้าวล่วงได้ และต้องรับข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างระมัดระวัง ต้องดูข้อกฎหมาย ดูว่ามีอำนาจหรือไม่ ก่อนชงอธิบดีฯ รับหรือไม่รับเป็นคดีพิเศษ
.
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ยื่นเรื่องต่อ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ ขอให้ตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวนคดีของ น.ส.ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม นักแสดงชื่อดัง ขอให้สืบสวนสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องในคดี ซึ่งมีข้อพิรุธอันเป็นเหตุสงสัยที่เชื่อว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง มีการบิดเบือนพยานหลักฐานกระบวนการยุติธรรมในคดี และพิจารณารับเป็นคดีพิเศษ โดยมี พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และในฐานะโฆษกดีเอสไอ
.
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า จากการจำลองเหตุการณ์แตงโมตกเรือ วันที่ 15-16 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย โดยตนเองได้นำหลักฐานทั้งหมดมาใช้ในคดีใหม่ และมามอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเป็นคดีพิเศษ ทำการสืบสวนสอบสวนเอาผิดกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำสำนวนคดีการเสียชีวิตของแตงโม รวมทั้งคนบนเรือ เนื่องจากการสืบสวนส่อในทางไม่สุจริต มีการให้การเท็จ พยานเท็จ มีลักษณะให้ความช่วยเหลือฝ่ายจำเลย เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
.
วันนี้ขอให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ รับดำเนินการตั้งเลขสืบสวน อ้างอิงจากคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส และคดีของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ ที่เคยรับไว้เป็นคดีพิเศษก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีลักษณะคดีคล้ายกัน ทำให้สามารถเรียกพยานบุคคลมาสอบปากคำได้ ส่วนสาเหตุไม่ไปร้อง กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) เนื่องจากไม่เชื่อมั่นการทำงานหน่วยงานดังกล่าว เพราะเป็นองค์กรตำรวจ
.
นอกจากนี้ การยังไม่ไปร้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะมองว่าต้องการให้มีการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงก่อนโดยหากไปร้องทั้งที่ยังไม่มีการสอบสวน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร บาดแผลแตงโมเกิดก่อนการตกน้ำเสียชีวิต และขาดอากาศหายใจ ซึ่งหมอก็ตอบไม่ได้ว่าการเสียชีวิตเกิดจากอะไร แต่ตำรวจสรุปว่าเสียชีวิตจากการพลัดตกกราบเรือด้านซ้ายโดนใบพัดเรือ
.
ประกอบกับศาลอาญาสืบพยานทั้ง 2 ฝ่ายเชื่อได้ว่าแตงโม ไม่ได้พลัดตกเรือ บาดแผลก็ไม่ได้เกิดจากใบพัดเรือ ส่วนเส้นผม 3 เส้นบนเรือก็ไม่น่าเชื่อถือ ตนอยากเรียกร้องกระบวนการยุติธรรมเพราะบางคดีอาจมีการตั้งธงไว้ก่อน ทำให้ชาวบ้านไม่ศรัทธาหันไปร้องขอความช่วยเหลือจากเพจหรือคนที่ช่วยสังคม ซึ่งตนคาดหวังว่าคดีนี้ต้องมีคนรับโทษ
.
ด้าน พ.ต.ต.วรณัน กล่าวหลังรับหนังสือ ว่า สำหรับประเด็นดังกล่าว ขอแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ประเด็นแรก ตัวคดีหลักอยู่ในการพิจารณาของศาล ดังนั้น เป็นสิ่งที่ดีเอสไอก้าวล่วงไม่ได้ ส่วนประเด็นที่สอง คือ กรณีที่ผู้ร้องได้มายื่นขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งก็ต้องมาพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นการยื่นขอให้มีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคนใหม่ในข้อหาใหม่หรือไม่อย่างไร
.
ทั้งนี้ จะมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ดีเอสไอจะรับไปดำเนินการนั้น ย้ำว่าเราต้องดูพยานหลักฐาน ซึ่งการจะรับเรื่องใดไว้เป็นคดีพิเศษ อย่างที่ย้ำไปว่าคดีหลักยังอยู่ในกระบวนการศาล ฉะนั้น สิ่งที่ดีเอสไอจะทำต่อก็ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพราะต้องดูข้อกฎหมายเป็นหลัก แต่ส่วนประเด็นที่ผู้ร้องได้ให้ข้อเท็จจริงมา อันนี้ก็ต้องนำไปพิจารณาประกอบกันว่าจะนำไปสู่การดำเนินการใหม่ได้หรือไม่
.
ส่วนกรณีเมื่อวันที่ 16 ม.ค. เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การจำลองสถานการณ์การเสียชีวิตของคุณแตงโมของภาคประชาชน ทราบว่ารายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลไปแล้ว คาดว่าอาจนำไปดูประกอบกับข้อมูลของผู้ร้องในวันนี้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคดีใดที่อยู่ในระหว่างชั้นศาล ดีเอสไอต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพราะคดีดังกล่าวมีผู้กระทำความผิดที่อยู่ในกระบวนการชั้นศาล ซึ่งโดยหลักการเมื่อคดีไปอยู่ในชั้นศาล เจ้าพนักงานสอบสวนจะไม่มีอำนาจหน้าที่ เว้นแต่เป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่นำไปสู่การสอบสวนได้ ซึ่งก็ต้องไปดูรายละเอียดก่อน ขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงาน
.
เมื่อถามว่ามองอย่างไรที่สังคมค่อนข้างให้การจับตามองในประเด็นดังกล่าว พ.ต.ต.วรณัน ระบุว่า ตนมองว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ดีเพราะการที่ภาคประชาชนให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงานร่วมกับภาครัฐถือเป็นเรื่องที่ดี แต่กลไกทางกฎหมายก็ต้องมาดูรายละเอียดกันด้วย ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ที่ภาคประชาชนได้มา คาดว่าทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่ไปร่วมสังเกตการณ์น่าจะได้มีการรายงานต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษไปแล้ว
.
โดยกรอบเวลาการทำงานเพื่อดูความชัดเจนนั้น เบื้องต้นทราบว่าเป็นเรื่องของการตรวจสอบอยู่ ถ้าหากมีการตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลใดของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายก็ต้องการรายงานไปยังอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่ามีเหตุที่สามารถใช้อำนาจในการสืบสวนต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องทำตามขั้นตอน ส่วนกรอบระยะเวลาเร็วหรือช้า ต้องขอให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานก่อนอย่าพึ่งไปบอกว่าเร็วหรือช้า ต้องดูก่อนว่าในเรื่องดังกล่าวดีเอสไอมีอำนาจหรือไม่ ถ้าหากผ่านขั้นตอนแรกไปแล้วก็จะได้ไปสู่ขั้นตอนที่สองในการพิจารณารับหรือไม่รับเป็นคดีพิเศษต่อไป
.
อ่านเพิ่มเติม..
https://sondhitalk.com/detail/9680000005212
.........
Sondhi X
อัจฉริยะ หอบหลักฐานจำลองเหตุการณ์แตงโมตกน้ำ ร้องดีเอสไอ พิจารณารับเป็นคดีพิเศษ จี้สอบ จนท.รัฐ เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ด้านโฆษกดีเอสไอ ระบุ สำนวนคดีหลักยังอยู่ในชั้นศาล ไม่อาจก้าวล่วงได้ และต้องรับข้อมูลประกอบการพิจารณาอย่างระมัดระวัง ต้องดูข้อกฎหมาย ดูว่ามีอำนาจหรือไม่ ก่อนชงอธิบดีฯ รับหรือไม่รับเป็นคดีพิเศษ
.
วันนี้ (17 ม.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ยื่นเรื่องต่อ พ.ต.ต.ยุทธนา แพรดำ อธิบดีดีเอสไอ ขอให้ตั้งคณะทำงานสืบสวนสอบสวนคดีของ น.ส.ภัทรธิดา (นิดา) พัชรวีระพงษ์ หรือ แตงโม นักแสดงชื่อดัง ขอให้สืบสวนสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องในคดี ซึ่งมีข้อพิรุธอันเป็นเหตุสงสัยที่เชื่อว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง มีการบิดเบือนพยานหลักฐานกระบวนการยุติธรรมในคดี และพิจารณารับเป็นคดีพิเศษ โดยมี พ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผอ.กองคดีธุรกิจการเงินนอกระบบ และในฐานะโฆษกดีเอสไอ
.
นายอัจฉริยะ กล่าวว่า จากการจำลองเหตุการณ์แตงโมตกเรือ วันที่ 15-16 ม.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งมีคำถามเกิดขึ้นมากมาย โดยตนเองได้นำหลักฐานทั้งหมดมาใช้ในคดีใหม่ และมามอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเป็นคดีพิเศษ ทำการสืบสวนสอบสวนเอาผิดกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำสำนวนคดีการเสียชีวิตของแตงโม รวมทั้งคนบนเรือ เนื่องจากการสืบสวนส่อในทางไม่สุจริต มีการให้การเท็จ พยานเท็จ มีลักษณะให้ความช่วยเหลือฝ่ายจำเลย เข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
.
วันนี้ขอให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ รับดำเนินการตั้งเลขสืบสวน อ้างอิงจากคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส และคดีของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ ที่เคยรับไว้เป็นคดีพิเศษก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีลักษณะคดีคล้ายกัน ทำให้สามารถเรียกพยานบุคคลมาสอบปากคำได้ ส่วนสาเหตุไม่ไปร้อง กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) เนื่องจากไม่เชื่อมั่นการทำงานหน่วยงานดังกล่าว เพราะเป็นองค์กรตำรวจ
.
นอกจากนี้ การยังไม่ไปร้องสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะมองว่าต้องการให้มีการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงก่อนโดยหากไปร้องทั้งที่ยังไม่มีการสอบสวน ก็ไม่มีประโยชน์อะไร บาดแผลแตงโมเกิดก่อนการตกน้ำเสียชีวิต และขาดอากาศหายใจ ซึ่งหมอก็ตอบไม่ได้ว่าการเสียชีวิตเกิดจากอะไร แต่ตำรวจสรุปว่าเสียชีวิตจากการพลัดตกกราบเรือด้านซ้ายโดนใบพัดเรือ
.
ประกอบกับศาลอาญาสืบพยานทั้ง 2 ฝ่ายเชื่อได้ว่าแตงโม ไม่ได้พลัดตกเรือ บาดแผลก็ไม่ได้เกิดจากใบพัดเรือ ส่วนเส้นผม 3 เส้นบนเรือก็ไม่น่าเชื่อถือ ตนอยากเรียกร้องกระบวนการยุติธรรมเพราะบางคดีอาจมีการตั้งธงไว้ก่อน ทำให้ชาวบ้านไม่ศรัทธาหันไปร้องขอความช่วยเหลือจากเพจหรือคนที่ช่วยสังคม ซึ่งตนคาดหวังว่าคดีนี้ต้องมีคนรับโทษ
.
ด้าน พ.ต.ต.วรณัน กล่าวหลังรับหนังสือ ว่า สำหรับประเด็นดังกล่าว ขอแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ประเด็นแรก ตัวคดีหลักอยู่ในการพิจารณาของศาล ดังนั้น เป็นสิ่งที่ดีเอสไอก้าวล่วงไม่ได้ ส่วนประเด็นที่สอง คือ กรณีที่ผู้ร้องได้มายื่นขอให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งก็ต้องมาพิจารณาในรายละเอียดว่าเป็นการยื่นขอให้มีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาคนใหม่ในข้อหาใหม่หรือไม่อย่างไร
.
ทั้งนี้ จะมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ดีเอสไอจะรับไปดำเนินการนั้น ย้ำว่าเราต้องดูพยานหลักฐาน ซึ่งการจะรับเรื่องใดไว้เป็นคดีพิเศษ อย่างที่ย้ำไปว่าคดีหลักยังอยู่ในกระบวนการศาล ฉะนั้น สิ่งที่ดีเอสไอจะทำต่อก็ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพราะต้องดูข้อกฎหมายเป็นหลัก แต่ส่วนประเด็นที่ผู้ร้องได้ให้ข้อเท็จจริงมา อันนี้ก็ต้องนำไปพิจารณาประกอบกันว่าจะนำไปสู่การดำเนินการใหม่ได้หรือไม่
.
ส่วนกรณีเมื่อวันที่ 16 ม.ค. เจ้าหน้าที่ดีเอสไอได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การจำลองสถานการณ์การเสียชีวิตของคุณแตงโมของภาคประชาชน ทราบว่ารายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลไปแล้ว คาดว่าอาจนำไปดูประกอบกับข้อมูลของผู้ร้องในวันนี้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคดีใดที่อยู่ในระหว่างชั้นศาล ดีเอสไอต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพราะคดีดังกล่าวมีผู้กระทำความผิดที่อยู่ในกระบวนการชั้นศาล ซึ่งโดยหลักการเมื่อคดีไปอยู่ในชั้นศาล เจ้าพนักงานสอบสวนจะไม่มีอำนาจหน้าที่ เว้นแต่เป็นกรณีที่มีข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่นำไปสู่การสอบสวนได้ ซึ่งก็ต้องไปดูรายละเอียดก่อน ขอเวลาให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงาน
.
เมื่อถามว่ามองอย่างไรที่สังคมค่อนข้างให้การจับตามองในประเด็นดังกล่าว พ.ต.ต.วรณัน ระบุว่า ตนมองว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ดีเพราะการที่ภาคประชาชนให้ความสำคัญในเรื่องของการทำงานร่วมกับภาครัฐถือเป็นเรื่องที่ดี แต่กลไกทางกฎหมายก็ต้องมาดูรายละเอียดกันด้วย ซึ่งรายละเอียดต่าง ๆ ที่ภาคประชาชนได้มา คาดว่าทางเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่ไปร่วมสังเกตการณ์น่าจะได้มีการรายงานต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษไปแล้ว
.
โดยกรอบเวลาการทำงานเพื่อดูความชัดเจนนั้น เบื้องต้นทราบว่าเป็นเรื่องของการตรวจสอบอยู่ ถ้าหากมีการตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลใดของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายก็ต้องการรายงานไปยังอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ว่ามีเหตุที่สามารถใช้อำนาจในการสืบสวนต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องทำตามขั้นตอน ส่วนกรอบระยะเวลาเร็วหรือช้า ต้องขอให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานก่อนอย่าพึ่งไปบอกว่าเร็วหรือช้า ต้องดูก่อนว่าในเรื่องดังกล่าวดีเอสไอมีอำนาจหรือไม่ ถ้าหากผ่านขั้นตอนแรกไปแล้วก็จะได้ไปสู่ขั้นตอนที่สองในการพิจารณารับหรือไม่รับเป็นคดีพิเศษต่อไป
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000005212
.........
Sondhi X