สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าว Evidence shows Jeju Air pilots shut off less-damaged engine before crash, source says อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่รู้ข้อมูลการสอบสวน ซึ่งระบุว่า การสอบสวนที่นำโดยเกาหลีใต้เกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินตกของสายการบินเจจูแอร์เมื่อเดือน ธ.ค. 2567 มีหลักฐานชัดเจนว่า นักบินได้ดับเครื่องยนต์ที่ได้รับความเสียหายน้อยกว่าหลังจากถูกนกชน
“หลักฐานต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และสวิตช์เครื่องยนต์ที่พบในซากเครื่องบิน แสดงให้เห็นว่า นักบินได้ดับเครื่องยนต์ด้านซ้ายแทนที่จะเป็นด้านขวาขณะกำลังดำเนินการฉุกเฉินหลังจากถูกนกชนก่อนกำหนดลงจอด ทีมสอบสวนมีหลักฐานชัดเจนและข้อมูลสำรอง ดังนั้นผลการตรวจสอบจะไม่เปลี่ยนแปลง” แหล่งข่าวกล่าว ซึ่งขอให้ข้อมูลโดยไม่เปิดเผยชื่อ เนื่องจากคณะทำงานสอบสวนยังไม่ได้เผยแพร่รายงานอย่างเป็นทางการซึ่งรวมถึงหลักฐานนี้
เหตุการณ์เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ตกที่สนามบินมูอัน เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2567 คร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือเกือบทั้งหมด โดยเหลือผู้รอดชีวิตเพียง 2 ราย ถือเป็นภัยพิบัติทางอากาศที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ ซึ่งแหล่งข่าวจากรัฐบาลกล่าวว่า จากการตรวจสอบเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่กู้คืนมา พบว่าไม่มีข้อบกพร่องใดๆ เกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุนกชนและตก
ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวอีกรายหนึ่งที่เข้าร่วมการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2568 เจ้าหน้าที่สอบสวนได้แจ้งต่อสมาชิกในครอบครัวของผู้เสียชีวิตว่า เครื่องยนต์ด้านขวาได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการถูกนกชนมากกว่าเครื่องยนต์ด้านซ้าย แต่กลับมีหลักฐานแวดล้อมที่บ่งชี้ว่านักบินได้ปิดเครื่องยนต์ด้านซ้ายซึ่งได้รับความเสียหายน้อยกว่า ซึ่งช่วงวันที่ 19 – 20 ก.ค. 2568 สื่อเกาหลีใต้หลายสำนัก รวมถึง MBN และยอนฮัป รายงานข้อมูลดังกล่าว
คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุทางการบินและทางรถไฟของเกาหลีใต้ (ARAIB) ซึ่งเป็นผู้นำการสอบสวน ไม่ได้ตอบสนองต่อคำขอแสดงความคิดเห็นในทันที ขณะที่โบอิ้งได้ส่งคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินตกไปยัง ARAIB ส่วน CFM International ผู้ผลิตเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง GE และ Safran ของฝรั่งเศส ก็ยังไม่ได้ตอบกลับคำขอแสดงความคิดเห็นในทันที ด้านสายการบินเจจูแอร์ระบุว่ากำลังให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันกับการสอบสวนของ ARAIB และกำลังรอการประกาศผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการ
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า อุบัติเหตุทางอากาศส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัย และภายใต้กฎระเบียบระหว่างประเทศ คาดว่าจะมีรายงานสรุปภายใน 1 ปีนับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนรายงานเบื้องต้นที่เผยแพร่ในเดือน ม.ค. 2568 ระบุว่าพบซากเป็ดในเครื่องยนต์ทั้งสองข้างของเครื่องบินสายการบินเจจูแอร์หลังจากเที่ยวบินที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ตกที่สนามบินมวน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของซากเป็ดหรือความเสียหายที่พบในเครื่องยนต์แต่ละเครื่อง
อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2568 หน่วยงานสอบสวนของเกาหลีใต้ได้ยกเลิกแผนการเผยแพร่รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับเครื่องยนต์เท่าที่ทราบมาจนถึงปัจจุบันต่อสื่อมวลชน ขณะที่ทนายความของกลุ่มญาติเหยื่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ให้ข้อมูลว่า ญาติของเหยื่อได้รับแจ้งเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวก่อนที่จะเผยแพร่ตามแผน แต่คัดค้านการเผยแพร่ โดยระบุว่ารายงานดูเหมือนจะโยนความผิดให้กับนักบินโดยไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เที่ยวบินของสายการบินเจจูแอร์ได้พุ่งออกนอกรันเวย์ของสนามบินมูอันขณะลงจอดฉุกเฉินและชนเข้ากับคันดินที่ติดตั้งอุปกรณ์นำทาง ทำให้เกิดเพลิงไหม้และระเบิดบางส่วน ซึ่งตัวแทนของครอบครัวเหยื่อและสหภาพนักบินของสายการบินเจจูแอร์กล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การสอบสวนจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่คันดินดังกล่าวด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบินระบุว่าน่าจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจำนวนมาก
สหภาพนักบินสายการบินเจจูแอร์ กล่าวว่า ARAIB กำลังทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด โดยระบุว่าเครื่องยนต์ด้านซ้ายไม่มีปัญหา เนื่องจากพบร่องรอยซากนกในเครื่องยนต์ทั้ง 2 เครื่อง อีกทั้ง พยายามทำให้นักบินกลายเป็นแพะรับบาปด้วยการไม่ให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ระบุว่าเครื่องบินสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัยหากติดเครื่องยนต์ด้านซ้ายเพียงอย่างเดียว
“อุบัติเหตุทางอากาศเป็นเหตุการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยหลายประการ และจนถึงขณะนี้ผู้สอบสวนยังไม่ได้นำเสนอหลักฐานที่สนับสนุนนัยที่ว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดพลาดของนักบิน และจนถึงขณะนี้ผู้สอบสวนยังคงนิ่งเฉยต่อความรับผิดชอบขององค์กร” สหภาพนักบินสายการบินเจจูแอร์ กล่าว
รายงานข่าวทิ้งท้ายว่า หน่วยงานที่เป็นตัวแทนของครอบครัวผู้สูญเสียกล่าวในแถลงการณ์ว่ามีข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของอุบัติเหตุในข่าวประชาสัมพันธ์ที่วางแผนไว้ ซึ่งอาจตีความได้ว่าได้ข้อสรุปขั้นสุดท้ายแล้ว และข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ต้องได้รับการชี้แจงให้ชัดเจน
ที่มา :
https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/evidence-shows-jeju-air-pilots-shut-off-less-damaged-engine-before-crash-source-2025-07-21/ สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าว Evidence shows Jeju Air pilots shut off less-damaged engine before crash, source says อ้างข้อมูลจากแหล่งข่าวที่รู้ข้อมูลการสอบสวน ซึ่งระบุว่า การสอบสวนที่นำโดยเกาหลีใต้เกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินตกของสายการบินเจจูแอร์เมื่อเดือน ธ.ค. 2567 มีหลักฐานชัดเจนว่า นักบินได้ดับเครื่องยนต์ที่ได้รับความเสียหายน้อยกว่าหลังจากถูกนกชน
“หลักฐานต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และสวิตช์เครื่องยนต์ที่พบในซากเครื่องบิน แสดงให้เห็นว่า นักบินได้ดับเครื่องยนต์ด้านซ้ายแทนที่จะเป็นด้านขวาขณะกำลังดำเนินการฉุกเฉินหลังจากถูกนกชนก่อนกำหนดลงจอด ทีมสอบสวนมีหลักฐานชัดเจนและข้อมูลสำรอง ดังนั้นผลการตรวจสอบจะไม่เปลี่ยนแปลง” แหล่งข่าวกล่าว ซึ่งขอให้ข้อมูลโดยไม่เปิดเผยชื่อ เนื่องจากคณะทำงานสอบสวนยังไม่ได้เผยแพร่รายงานอย่างเป็นทางการซึ่งรวมถึงหลักฐานนี้
เหตุการณ์เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ตกที่สนามบินมูอัน เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2567 คร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือเกือบทั้งหมด โดยเหลือผู้รอดชีวิตเพียง 2 ราย ถือเป็นภัยพิบัติทางอากาศที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเกาหลีใต้ ซึ่งแหล่งข่าวจากรัฐบาลกล่าวว่า จากการตรวจสอบเครื่องยนต์ของเครื่องบินที่กู้คืนมา พบว่าไม่มีข้อบกพร่องใดๆ เกิดขึ้นก่อนเกิดเหตุนกชนและตก
ตามข้อมูลจากแหล่งข่าวอีกรายหนึ่งที่เข้าร่วมการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2568 เจ้าหน้าที่สอบสวนได้แจ้งต่อสมาชิกในครอบครัวของผู้เสียชีวิตว่า เครื่องยนต์ด้านขวาได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการถูกนกชนมากกว่าเครื่องยนต์ด้านซ้าย แต่กลับมีหลักฐานแวดล้อมที่บ่งชี้ว่านักบินได้ปิดเครื่องยนต์ด้านซ้ายซึ่งได้รับความเสียหายน้อยกว่า ซึ่งช่วงวันที่ 19 – 20 ก.ค. 2568 สื่อเกาหลีใต้หลายสำนัก รวมถึง MBN และยอนฮัป รายงานข้อมูลดังกล่าว
คณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุทางการบินและทางรถไฟของเกาหลีใต้ (ARAIB) ซึ่งเป็นผู้นำการสอบสวน ไม่ได้ตอบสนองต่อคำขอแสดงความคิดเห็นในทันที ขณะที่โบอิ้งได้ส่งคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์เครื่องบินตกไปยัง ARAIB ส่วน CFM International ผู้ผลิตเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง GE และ Safran ของฝรั่งเศส ก็ยังไม่ได้ตอบกลับคำขอแสดงความคิดเห็นในทันที ด้านสายการบินเจจูแอร์ระบุว่ากำลังให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันกับการสอบสวนของ ARAIB และกำลังรอการประกาศผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการ
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า อุบัติเหตุทางอากาศส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัย และภายใต้กฎระเบียบระหว่างประเทศ คาดว่าจะมีรายงานสรุปภายใน 1 ปีนับจากวันที่เกิดอุบัติเหตุ ส่วนรายงานเบื้องต้นที่เผยแพร่ในเดือน ม.ค. 2568 ระบุว่าพบซากเป็ดในเครื่องยนต์ทั้งสองข้างของเครื่องบินสายการบินเจจูแอร์หลังจากเที่ยวบินที่เดินทางมาจากกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ตกที่สนามบินมวน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของซากเป็ดหรือความเสียหายที่พบในเครื่องยนต์แต่ละเครื่อง
อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2568 หน่วยงานสอบสวนของเกาหลีใต้ได้ยกเลิกแผนการเผยแพร่รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับเครื่องยนต์เท่าที่ทราบมาจนถึงปัจจุบันต่อสื่อมวลชน ขณะที่ทนายความของกลุ่มญาติเหยื่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้ ให้ข้อมูลว่า ญาติของเหยื่อได้รับแจ้งเกี่ยวกับรายงานดังกล่าวก่อนที่จะเผยแพร่ตามแผน แต่คัดค้านการเผยแพร่ โดยระบุว่ารายงานดูเหมือนจะโยนความผิดให้กับนักบินโดยไม่ได้พิจารณาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เที่ยวบินของสายการบินเจจูแอร์ได้พุ่งออกนอกรันเวย์ของสนามบินมูอันขณะลงจอดฉุกเฉินและชนเข้ากับคันดินที่ติดตั้งอุปกรณ์นำทาง ทำให้เกิดเพลิงไหม้และระเบิดบางส่วน ซึ่งตัวแทนของครอบครัวเหยื่อและสหภาพนักบินของสายการบินเจจูแอร์กล่าวเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การสอบสวนจำเป็นต้องมุ่งเน้นไปที่คันดินดังกล่าวด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบินระบุว่าน่าจะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจำนวนมาก
สหภาพนักบินสายการบินเจจูแอร์ กล่าวว่า ARAIB กำลังทำให้สาธารณชนเข้าใจผิด โดยระบุว่าเครื่องยนต์ด้านซ้ายไม่มีปัญหา เนื่องจากพบร่องรอยซากนกในเครื่องยนต์ทั้ง 2 เครื่อง อีกทั้ง พยายามทำให้นักบินกลายเป็นแพะรับบาปด้วยการไม่ให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ระบุว่าเครื่องบินสามารถลงจอดได้อย่างปลอดภัยหากติดเครื่องยนต์ด้านซ้ายเพียงอย่างเดียว
“อุบัติเหตุทางอากาศเป็นเหตุการณ์ที่ซับซ้อนซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยหลายประการ และจนถึงขณะนี้ผู้สอบสวนยังไม่ได้นำเสนอหลักฐานที่สนับสนุนนัยที่ว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นผลมาจากความผิดพลาดของนักบิน และจนถึงขณะนี้ผู้สอบสวนยังคงนิ่งเฉยต่อความรับผิดชอบขององค์กร” สหภาพนักบินสายการบินเจจูแอร์ กล่าว
รายงานข่าวทิ้งท้ายว่า หน่วยงานที่เป็นตัวแทนของครอบครัวผู้สูญเสียกล่าวในแถลงการณ์ว่ามีข้อความบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของอุบัติเหตุในข่าวประชาสัมพันธ์ที่วางแผนไว้ ซึ่งอาจตีความได้ว่าได้ข้อสรุปขั้นสุดท้ายแล้ว และข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ต้องได้รับการชี้แจงให้ชัดเจน
ที่มา :
https://www.reuters.com/business/aerospace-defense/evidence-shows-jeju-air-pilots-shut-off-less-damaged-engine-before-crash-source-2025-07-21/