• น้ำท่วมเร็วมากเพราะมวลน้ำมากมาจากเมียนมาร์!:

    ฟังผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำท่วมหลายรอบนะครับ ฟังแล้วก็เบื่อ ไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯ อุบลฯ ฯลฯ และล่าสุดก็คือเชียงราย เวลาให้สัมภาษณ์ พวกเขาจะบอกเหมือนกันว่า ‘น้ำมามาก น้ำมาเร็ว ใช้เวลาไม่นาน แล้วตั้งตัวไม่ทัน น้ำจึงท่วมมาก’ อีกนัยก็คือ ‘เห็นใจพวกผมหน่อย น้ำมามาก น้ำมาเร็ว พวกผมทำงานไม่ทัน’

    ผมเคยเขียนวิจารณ์หลายครั้งแล้วว่าน้ำจะมามากหรือน้อยไม่สำคัญ จะมาจากเมียนมาร์ ทิเบต ขั้วโลกเหนือหรือจากภูเขาหิมาลัยที่ประเทศเนปาลก็ไม่สำคัญ ที่สำคัญซึ่งในหลวงร.๙ ทรงรับสั่งหลายครั้งก็คือให้เตรียมทางน้ำ (flood way) ให้มวลน้ำใหลผ่านโดยสะดวก น้ำจะได้ไม่ท่วมขังนาน

    ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหลายในขณะนี้ได้เตรียมทำทางน้ำไว้แล้วหรือยัง? จังหวัดต่างๆ ได้อนุมัติให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางน้ำหรือไม่? อนุมัติให้เจ้าสัวสร้างห้างสรรพสินค้าขวางทางน้ำหรือไม่? ฯลฯ ถ้าสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ แล้วน้ำท่วมก็เหมาะสมแล้ว ประชาชนควรจะพากันเฉ่งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนจึงจะถูก

    ฝนตกและทำให้มีน้ำมาก เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของธรรมชาติ แต่ว่าทุกจังหวัดที่สุ่มเสี่ยงมากมักจะได้รับงบประมาณเพื่อเตรียมหาทางน้ำ ให้มวลน้ำที่มามากๆ ผ่านไปลงทะเลหรือแม่น้ำโขงโดยเร็วกันทั้งนั้น

    ต้องถามว่าผู้ว่าเมืองเชียงรายหลายยุคสมัยที่ผ่านมาไม่พากันเตรียมการหาทางน้ำให้มวลน้ำมากๆ ใหลผ่านโดยสะดวกเลยหรือ? น้ำจะได้ไม่ท่วมขังนาน งบประมาณเอาไปทำอะไรกันหมด?

    ตอนนี้ จังหวัดไหนที่น้ำสุ่มเสี่ยงจะท่วมและไม่อยากถูกน้ำท่วม ชาวบ้านทั้งหลายต้องหาไม้หน้าสามมาถือให้พร้อม แล้วพากันบุกไปถามผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตนอยู่อาศัยเลยครับว่าเตรียมหาทางน้ำให้น้ำใหลผ่านได้สะดวกหรือยัง? ถ้ายังไม่ทำอะไรเลยก็แนะนำให้พากันลาออกไปเสียเถิด


    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    น้ำท่วมเร็วมากเพราะมวลน้ำมากมาจากเมียนมาร์!: ฟังผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำท่วมหลายรอบนะครับ ฟังแล้วก็เบื่อ ไม่ว่าจะเป็นที่กรุงเทพฯ อุบลฯ ฯลฯ และล่าสุดก็คือเชียงราย เวลาให้สัมภาษณ์ พวกเขาจะบอกเหมือนกันว่า ‘น้ำมามาก น้ำมาเร็ว ใช้เวลาไม่นาน แล้วตั้งตัวไม่ทัน น้ำจึงท่วมมาก’ อีกนัยก็คือ ‘เห็นใจพวกผมหน่อย น้ำมามาก น้ำมาเร็ว พวกผมทำงานไม่ทัน’ ผมเคยเขียนวิจารณ์หลายครั้งแล้วว่าน้ำจะมามากหรือน้อยไม่สำคัญ จะมาจากเมียนมาร์ ทิเบต ขั้วโลกเหนือหรือจากภูเขาหิมาลัยที่ประเทศเนปาลก็ไม่สำคัญ ที่สำคัญซึ่งในหลวงร.๙ ทรงรับสั่งหลายครั้งก็คือให้เตรียมทางน้ำ (flood way) ให้มวลน้ำใหลผ่านโดยสะดวก น้ำจะได้ไม่ท่วมขังนาน ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหลายในขณะนี้ได้เตรียมทำทางน้ำไว้แล้วหรือยัง? จังหวัดต่างๆ ได้อนุมัติให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางน้ำหรือไม่? อนุมัติให้เจ้าสัวสร้างห้างสรรพสินค้าขวางทางน้ำหรือไม่? ฯลฯ ถ้าสร้างสิ่งกีดขวางทางน้ำ แล้วน้ำท่วมก็เหมาะสมแล้ว ประชาชนควรจะพากันเฉ่งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนจึงจะถูก ฝนตกและทำให้มีน้ำมาก เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของธรรมชาติ แต่ว่าทุกจังหวัดที่สุ่มเสี่ยงมากมักจะได้รับงบประมาณเพื่อเตรียมหาทางน้ำ ให้มวลน้ำที่มามากๆ ผ่านไปลงทะเลหรือแม่น้ำโขงโดยเร็วกันทั้งนั้น ต้องถามว่าผู้ว่าเมืองเชียงรายหลายยุคสมัยที่ผ่านมาไม่พากันเตรียมการหาทางน้ำให้มวลน้ำมากๆ ใหลผ่านโดยสะดวกเลยหรือ? น้ำจะได้ไม่ท่วมขังนาน งบประมาณเอาไปทำอะไรกันหมด? ตอนนี้ จังหวัดไหนที่น้ำสุ่มเสี่ยงจะท่วมและไม่อยากถูกน้ำท่วม ชาวบ้านทั้งหลายต้องหาไม้หน้าสามมาถือให้พร้อม แล้วพากันบุกไปถามผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตนอยู่อาศัยเลยครับว่าเตรียมหาทางน้ำให้น้ำใหลผ่านได้สะดวกหรือยัง? ถ้ายังไม่ทำอะไรเลยก็แนะนำให้พากันลาออกไปเสียเถิด ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 154 มุมมอง 0 รีวิว
  • อินโฟกราฟฟิก แม่น้ำโขงและเขื่อน - แผนภาพแสดงเส้นทางของแม่น้ำในประเทศไทยที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงและตำแหน่งเขื่อนบนแม่น้ำโขงที่ดำเนินการในปัจจุบัน

    ที่มา : เพจ GeoThai.net https://www.facebook.com/share/p/MmqaenmTk6iz4ng5/?mibextid=WC7FNe

    #Thaitimes
    อินโฟกราฟฟิก แม่น้ำโขงและเขื่อน - แผนภาพแสดงเส้นทางของแม่น้ำในประเทศไทยที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขงและตำแหน่งเขื่อนบนแม่น้ำโขงที่ดำเนินการในปัจจุบัน ที่มา : เพจ GeoThai.net https://www.facebook.com/share/p/MmqaenmTk6iz4ng5/?mibextid=WC7FNe #Thaitimes
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 528 มุมมอง 0 รีวิว
  • ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง

    อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย

    ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย

    สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร

    ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร

    (ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org)

    #Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
    ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร (ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org) #Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
    Like
    Sad
    7
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 327 มุมมอง 0 รีวิว
  • งานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ณ บริเวณถนนข้าวเม่า ริมแม่น้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 9 - 15 กันยายน พ.ศ. 2567
    งานสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ณ บริเวณถนนข้าวเม่า ริมแม่น้ำโขง จังหวัดบึงกาฬ ระหว่างวันที่ 9 - 15 กันยายน พ.ศ. 2567
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 102 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ทักษิณ” ยกโมเดลยุคไทยรักไทย แก้น้ำท่วม..จัดงบพัฒนาระบบน้ำ-ขนผลผลิตที่ได้ชำระหนี้ แทนจัดงบทำโครงการย่อย เจรจาจีนคุมปล่อยน้ำลงแม่น้ำโขง แต่เฉพาะหน้า “นายกฯอิ๊งค์” บอกพร่องน้ำภาคกลางรอรับน้ำเหนือ ไม่ให้ซ้ำรอยยุค “นายกฯปู”แล้ว
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000079237
    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “ทักษิณ” ยกโมเดลยุคไทยรักไทย แก้น้ำท่วม..จัดงบพัฒนาระบบน้ำ-ขนผลผลิตที่ได้ชำระหนี้ แทนจัดงบทำโครงการย่อย เจรจาจีนคุมปล่อยน้ำลงแม่น้ำโขง แต่เฉพาะหน้า “นายกฯอิ๊งค์” บอกพร่องน้ำภาคกลางรอรับน้ำเหนือ ไม่ให้ซ้ำรอยยุค “นายกฯปู”แล้ว อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000079237 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Haha
    Like
    5
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2344 มุมมอง 0 รีวิว
  • เวียดนามคาดส่งออก ‘ทุเรียน' ปี 2567 สูงแตะ 3,500 ล้านดอลล์
    .
    คณะผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามจะสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.23 แสนล้านบาท) ในปี 2024 เนื่องด้วยสภาพเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย
    .
    ดัง ฟุก เหงียน เลขานุการสมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนาม ระบุว่าเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เช่น เตี่ยนยางและวินห์ลอง ได้เพิ่มการผลิตทุเรียนนอกฤดู ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปีนี้ โดยปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในภูมิภาคนี้ราวร้อยละ 50-60 กำลังมุ่งเน้นการผลิตนอกฤดู
    .
    รายงานเสริมว่าเวียดนามมีแนวโน้มส่งออกทุเรียนปริมาณมากจากภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส หรือที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้
    .
    สำนักการผลิตพืชผลของกระทรวงฯ ระบุว่าปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนราว 1.5 แสนเฮกตาร์ (ราว 9.37 แสนไร่) ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส มากกว่า 75,000 เฮกตาร์ (ราว 4.69 แสนไร่)
    .
    กระทรวงฯ เผยว่ารายได้จากการส่งออกทุเรียนของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นล้านบาท)
    เวียดนามคาดส่งออก ‘ทุเรียน' ปี 2567 สูงแตะ 3,500 ล้านดอลล์ . คณะผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามจะสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.23 แสนล้านบาท) ในปี 2024 เนื่องด้วยสภาพเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย . ดัง ฟุก เหงียน เลขานุการสมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนาม ระบุว่าเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เช่น เตี่ยนยางและวินห์ลอง ได้เพิ่มการผลิตทุเรียนนอกฤดู ทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปีนี้ โดยปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนในภูมิภาคนี้ราวร้อยละ 50-60 กำลังมุ่งเน้นการผลิตนอกฤดู . รายงานเสริมว่าเวียดนามมีแนวโน้มส่งออกทุเรียนปริมาณมากจากภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส หรือที่ราบสูงตอนกลางของประเทศ ในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ . สำนักการผลิตพืชผลของกระทรวงฯ ระบุว่าปัจจุบันเวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนราว 1.5 แสนเฮกตาร์ (ราว 9.37 แสนไร่) ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเซ็นทรัล ไฮแลนด์ส มากกว่า 75,000 เฮกตาร์ (ราว 4.69 แสนไร่) . กระทรวงฯ เผยว่ารายได้จากการส่งออกทุเรียนของเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6 หมื่นล้านบาท)
    Like
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 346 มุมมอง 0 รีวิว
  • สำนักเลขาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย มีหนังสือด่วนที่สุด ถึง MRCS เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมร่วมกับประเทศสมาชิก MRC และผู้บริหารจัดการเขื่อนในแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด

    9 สิงหาคม 2567 - รายงานNBT Connext ระบุว่า สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ซึ่งได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอย่างฉับพลันอย่างใกล้ชิด สทนช.ได้มีหนังสือด่วนที่สุดไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) ให้ประสานงานกับประเทศสมาชิก MRC ช่วยเหลือในการบริหารจัดการน้ำของเขื่อน เพื่อหลีกเลี่ยงอุทกภัยจากการล้นตลิ่งของแม่น้ำโขง และติดตามสถานการณ์ ตลอดจนการแจ้งเตือน เพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนริมโขงให้มากที่สุด

    ตามที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและ สปป.ลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกหนักใน สปป.ลาว ซึ่งแม้ว่าระดับน้ำโขงจะยัง ไม่สูงถึงระดับวิกฤตแต่ก็เริ่มส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมน้ำโขงของประเทศไทย

    ที่มา NBT Connext https://x.com/nnthotnews/status/1821875501511885003?s=46&t=nn3z3yuHSlOFcPbFyzmrQA

    #Thaitimes
    สำนักเลขาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย มีหนังสือด่วนที่สุด ถึง MRCS เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำท่วมร่วมกับประเทศสมาชิก MRC และผู้บริหารจัดการเขื่อนในแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิด 9 สิงหาคม 2567 - รายงานNBT Connext ระบุว่า สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ซึ่งได้ติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นอย่างฉับพลันอย่างใกล้ชิด สทนช.ได้มีหนังสือด่วนที่สุดไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) ให้ประสานงานกับประเทศสมาชิก MRC ช่วยเหลือในการบริหารจัดการน้ำของเขื่อน เพื่อหลีกเลี่ยงอุทกภัยจากการล้นตลิ่งของแม่น้ำโขง และติดตามสถานการณ์ ตลอดจนการแจ้งเตือน เพื่อบรรเทาสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนริมโขงให้มากที่สุด ตามที่ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและ สปป.ลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ส่งผลให้มีฝนตกหนักใน สปป.ลาว ซึ่งแม้ว่าระดับน้ำโขงจะยัง ไม่สูงถึงระดับวิกฤตแต่ก็เริ่มส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมน้ำโขงของประเทศไทย ที่มา NBT Connext https://x.com/nnthotnews/status/1821875501511885003?s=46&t=nn3z3yuHSlOFcPbFyzmrQA #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 303 มุมมอง 0 รีวิว