• หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’

    วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ

    ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ

    ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง

    เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร?

    การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ:
    (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว
    (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง
    (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก
    (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต
    (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน

    ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย

    การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ
    (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน
    (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน
    (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น
    (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง
    (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย

    เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    https://www.sohu.com/a/716142814_116162
    https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html
    https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    https://mychistory.com/a001-2/11-04
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3
    https://kknews.cc/car/p88yjrp.html
    https://www.sohu.com/a/459650524_121052969

    #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษ ตอน 3 ‘เซ่อ’ และ ‘อวี้’ วันนี้มาคุยกันต่อถึงหกทักษะของสุภาพบุรุษในตระกูลสูงศักดิ์หรือ ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺 ) (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) ซึ่งถูกกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณ และเป็นพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ ในบันทึกโจวหลี่ระบุไว้ว่า หกทักษะนี้ในรายละเอียดแบ่งเป็น ห้าพิธีการ (หลี่/礼) หกดนตรี (เยวี่ย/乐) ห้าธนู (เซ่อ/射) ห้าขับขี่ (อวี้/御) หกอักษร (ซู/书) และเก้าคำนวณ (ซู่/数) เราคุยกันไปแล้วถึงสองทักษะ วันนี้มาคุยกันต่อค่ะ ทักษะที่สามก็คือทักษะยิงธนู เป็นพื้นฐานการฝึกฝนด้านสมาธิ การตัดสินใจและพละกำลัง เรามักเห็นในซีรีส์เวลาแสดงความสามารถด้านการธนูที่ทำให้ผู้ชมร้องว้าวว่า เป็นการยิงสามดอกในทีเดียวหรือยิงซ้อนดอกแรกทะลุเข้าเป้า จริงๆ แล้วทักษะการยิงธนูห้าแบบตามหลักการโบราณคืออะไร? การยิงธนูห้าแบบตามตำราสรุปได้คือ: (1) ไป๋สื่อ (白矢) คือการยิงที่เน้นความแม่นยำและพละกำลัง โจทย์ของมันก็คือยิงตรงๆ ให้เข้าเป้าอย่างแรงจนทะลุเป้าออกไปเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาที่ด้านหลัง เป็นที่มาของคำว่า ‘ไป๋สื่อ’ ซึ่งแปลตรงตัวว่าหัวธนูสีขาว (2) ชานเหลียน (参连) เป็นการยิงตรงๆ หนึ่งดอกให้เข้าเป้า แล้วค่อยตามติดรัวๆ อีกสามดอก โดยแต่ละดอกจะปักเข้าที่ปลายท้ายของธนูดอกก่อนหน้านั้น เรียงกันเป็นแถวตรงยาว ไม่เอนเอียง ซึ่งนั่นหมายความว่าดอกแรกต้องฝังลึกพอที่จะยึดน้ำหนักของธนูได้สี่ดอก และดอกหลังๆ ก็ต้องฝังลึกพอที่ยึดน้ำหนักได้เช่นกัน เรียกได้ว่าการยิงแบบนี้ต้องทั้งแม่น ตรงและแรง (3) เหยียนจู้ (剡注) เป็นการยิงขึ้นสูงให้วิถีของธนูโค้งขึ้นแล้วปักลงกลางเป้าโดยมีลักษณะหางชี้เอียงขึ้น มีการบรรยายไว้ว่าเป็นการยิงอย่างเร็ว (คือไม่เล็งนาน) และแรงจนได้ยินเสียงเสียดสีของปีกธนูดังหวิวๆ ดั่งเสียงร้องของนก (4) เซียงฉื่อ (襄尺) เป็นหลักปฏิบัติยามข้าราชสำนักยิงธนูพร้อมกับกษัตริย์ ให้ข้าราชสำนักถอยหลังหนึ่งฉื่อ (ประมาณ 10 นิ้ว) เพื่อแสดงถึงความเคารพ ไม่มีข้อมูลมากกว่านี้ แต่มันทำให้ Storyฯ อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าอย่างนี้เวลาเราฝึกก็ต้องฝึกให้แม่นทั้งสองระยะ แม้ว่าระยะทั้งสองจะแตกต่างกันเพียงประมาณไม่ถึงฟุต (5) จิ่งอี๋ (井儀) เป็นการยิงที่ยากที่สุด คือการยิงรัวๆ สี่ดอก ทุกดอกทะลุเป้าจนเห็นหัวลูกศรโผล่ออกมาด้านหลังของเป้า ธนูสี่ดอกปักเรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมพอดีดั่งสี่เหลี่ยมในตัวอักษร ‘จิ่ง’ (井) หรือหากยิงนก คือยิงได้เรียงกันเป็นสี่เหลี่ยมบนตัวนกเช่นกัน ต่อมาคือทักษะที่สี่ ‘อวี้’ ซึ่งหมายถึงทักษะการขับรถและหมายรวมถึงทักษะการทำศึกหรือล่าสัตว์ด้วยรถ จากรูปประกอบจะเห็นว่ารถม้าส่วนใหญ่ในสมัยนั้นเป็นรถแบบไม่มีประทุน การฝึกฝนทักษะนี้เป็นการฝึกความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและปลูกฝังความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นด้วย การขับรถม้าทั้งห้าแบบนี้คือ (1) หมิงเหอหลวน (鸣和鸾) เป็นการขับรถให้กับผู้ที่สูงศักดิ์นั่ง เช่นกษัตริย์ โดย ‘เหอ’ ในที่นี้หมายถึงกระดิ่งที่แขวนไว้บนราวจับมือของผู้โดยสารและ ‘หลวน’ คือกระดิ่งที่แขวนอยู่บนแอกเหนือตัวสัตว์ที่ลากรถ และการขับรถม้าแบบที่เรียกว่า ‘หมิงเหอหลวน’ นี้ คือขับรถอย่างเสถียรนิ่มนวลให้จังหวะเดินของสัตว์และจังหวะการโยกหรือกระเด้งของตัวรถเป็นจังหวะเดียวกัน เพื่อว่าเสียงกระดิ่งทั้งสองนี้จะดังขึ้นอย่างพร้อมเพรียงกัน (2) จู๋สุ่ยชวี (逐水曲) เป็นการขับรถให้โค้งตามขอบน้ำที่คดเคี้ยวได้โดยไม่ให้รถเสียศูนย์หรือร่วงลงน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกให้สามารถบังคับรถม้าในยามที่ต้องเลี้ยวไปเลี้ยวมาในสภาวะฉุกเฉิน (3) กั้วจวินเปี่ยว (过君表) เป็นการขับรถผ่านซุ้มประตูที่มีปักธงไว้ (ปกติบ่งบอกว่าเป็นทางเดินรถของขบวนเสด็จ) ซึ่งจะมีการวางหมุดหรือดุมหินให้ยื่นออกมาคุ้มกันธงที่เสาประตูทั้งสองข้าง และทักษะนี้คือการขับรถผ่านซุ้มประตูโดยไม่ชนดุมหินของเสาประตูนี้ ว่ากันว่าขนาดของรถและซุ้มประตูสมัยนั้นจะทำให้เหลือช่องไฟระหว่างดุมล้อและหินกันธงเพียงข้างละห้านิ้วเท่านั้น (4) อู่เจียวฉวี (舞交衢) คือการบังคับให้รถเลี้ยวเมื่อถึงทางแยกของถนนได้อย่างเร็วและมีจังหวะประหนึ่งหมุนตัวเต้นรำ ซึ่ง Storyฯ ก็นึกภาพไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ก็จินตนาการเอาเองว่าก็คงเหมือนเวลาที่เรากะจังหวะรถให้เลี้ยวโค้งได้อย่างเร็วโดยไม่เสียศูนย์กระมัง (5) จู๋ฉินจั่ว (逐禽左) เป็นเทคนิคในการขับรถล่าสัตว์ โดยต้อนสัตว์ให้ไปอยู่ทางซ้ายของรถแล้วค่อยยิงด้วยธนู นี่เป็นการฝึกปรือเพื่อใช้จริงในการศึกด้วย เป็นอย่างไรคะ ไม่ง่ายเลยทั้งการยิงธนูและการขับรถ เพื่อนเพจว่าไหม? เรามาคุยกันต่อเกี่ยวกับทักษะที่เหลือสัปดาห์หน้าค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU https://www.sohu.com/a/716142814_116162 https://sports.sina.cn/others/mashu/2017-07-07/detail-ifyhwehx5318583.d.html https://www.sgss8.net/tpdq/10845310/1.htm Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 https://mychistory.com/a001-2/11-04 https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 http://www.leafarchery.com/nd.jsp?fromColId=105&id=3 https://kknews.cc/car/p88yjrp.html https://www.sohu.com/a/459650524_121052969 #กำเนิดเทพเจ้า #เฟิงเสิน #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    GUOXUE.IFENG.COM
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    由器见道:儒家其实很“文艺”
    0 Comments 0 Shares 281 Views 0 Reviews
  • 🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠

    ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน

    แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง

    ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย

    🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸

    ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด

    😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎

    😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎

    😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎

    ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ?

    อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ

    😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎

    จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย

    เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม

    ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ

    อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ

    สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย

    หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน

    ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้

    ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต

    ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง

    "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸)

    อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ

    ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้

    เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้

    เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公)

    เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่

    แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ

    เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่

    อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง

    ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่

    หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น

    แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公)

    ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น?

    ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎

    สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

    หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ

    แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公)

    ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ

    🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳

    🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    🤠#มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 01🤠 ในเช้าวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981 เติ้งกง(邓公)ได้รับแขกพิเศษในห้องโถงใหญ่ของประชาชน แขกรับเชิญคนนี้ คือ จินยง(金庸)นักเขียนนวนิยายจีนกำลังภายในชื่อดัง ทั้งสองคนนี้ คนหนึ่งเป็นนักการเมือง อีกคนเป็นนักเขียน ดูเหมือนไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน ในความเป็นจริงพวกเขาชื่นชมซึ่งกันและกันเสมอ ในมุมมองของ จินยง(金庸) เติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่น่านับถือที่สุดเหมือนเช่นเดียวกับวีรบุรุษที่เขาได้เขียนบรรยายไว้ในนวนิยาย 🥸บ้านและเมืองในใต้หล้า🥸 ในเวลานั้น จินยง(金庸)เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของ "หมิงเป้า(明报)" เขาเคยตีพิมพ์บทความว่า เติ้งกง(邓公)ควรได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศโดยเร็วที่สุด 😎ในเวลานี้ เติ้งกง(邓公)ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำของจีนใหม่ และยังดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของประเทศอีกด้วย😎 😎จากมุมมองของผู้คนทั่วไป เติ้งกง(邓公)ได้รับเลือกเป็นประธานประเทศเพิ่มขึ้นอีกสักตำแหน่งหนึ่ง เหตุผลมันก็ควรเป็นอย่างที่ควรจะเป็น😎 😎แต่ครั้งนี้ เติ้งกง(邓公)ได้ชี้แจงกับจินยง(金庸)อย่างชัดเจนว่า เขาไม่ต้องการเป็นประธานาธิบดีของประเทศ😎 ในตอนแรก จินยง(金庸)รู้สึกแปลกใจมาก เห็นได้ชัดว่า เติ้งกง(邓公)ได้เป็นประธานของประเทศ ซึ่งทุกคนต่างก็คาดหวังดังนั้น ทำไมเขาถึงไม่เต็มใจ? อย่างไรก็ตาม หลังจากฟังเหตุผลที่เติ้งกง(邓公)พูดจบ จินยง(金庸)ก็มีแต่ความชื่นชมอยู่ในใจ 😎จินยง(金庸)เคยกล่าวไว้ว่า เติ้งกง(邓公)เป็นหนึ่งในบุคคลที่เขาชื่นชมมากที่สุด จากภายในตัวของ เติ้งกง(邓公) เขาได้เห็นตัวตนของวีรบุรุษในฐานะของการรับใช้ประเทศและประชาชนซึ่งเขาใฝ่แสวงหา😎 จินยง(金庸)มีชื่อเสียงจากงานในด้านงานเขียน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในเวลาที่ผ่านมาโดยตลอดเขาไม่ใช่เป็นนักเขียนวรรณกรรมธรรมดาๆ เลย นอกจากนี้เขายังมีอิทธิพลในสนามด้านการเมืองด้วย เมื่อเขายังเด็กเยาววัย อุดมคติของจินยง(金庸) คือ การเป็นนักการทูตที่ยอดเยี่ยม ด้วยเหตุนี้ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมในปี ค.ศ. 1942 เขาจึงเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของมหาวิทยาลัย ซูโจว(苏州大学)ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเขาเรียนวิชาเอกกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเขาไม่ได้จบลงด้วยการเป็นนักการทูต หลังจบการศึกษา ต้ากงเป้า(大公报)ได้ชวนจินยง(金庸)เป็นบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ สำหรับจินยง(金庸)ที่เพิ่งเรียนจบ นี่เป็นงานที่ดีมาก ดังนั้นเขาจึงยอมรับอย่างง่ายดาย หลังจากนั้นไม่นาน "ต้ากงเป้า(大公报)" ก็วางแผนที่จะกลับมาตีพิมพ์ในฮ่องกงและกำลังต้องการกำลังคนอย่างเร่งด่วน ดังนั้น จินยง(金庸)จึงถูกย้ายไปฮ่องกงด้วยวิธีนี้ ฟันเฟืองแห่งโชคชะตากำลังพลิกผันอย่างไม่ทันตั้งตัว และจินยง(金庸)ต้องห่างไกลจากความฝันในการเป็นนักการทูตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขากลายเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบไม่ด้อยไปกว่านักการทูต ในปีค.ศ. 1959 จินยง(金庸)ออกจาก "ต้ากงเป้า(大公报)" และก่อตั้ง "หมิงเป้า(明报)"ที่มีชื่อเสียงด้วยตัวเขาเอง "หมิงเป้า(明报)"มีชื่อเสียงในเวลาต่อมาเนื่องจากออกพิมพ์นิยายกำลังภายในอย่างต่อเนื่องของจินยง(金庸) อย่างไรก็ตาม "หมิงเป้า(明报)" ไม่ได้มีแค่คอลัมน์นิยายกำลังภายใน อันที่จริง จินยง(金庸)มักจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันใน "หมิงเป้า(明报)"เสมอ ในเวลานั้น เติ้งกง(邓公)ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงทั้งในและต่างประเทศ และจินยง(金庸)ไม่เข้าใจปรากฏการณ์นี้ เพราะแม้ว่าเขาจะไม่มีสายสัมพันธ์กับเติ้งกง(邓公)ในขณะนี้ แต่เขาได้เรียนรู้แนวคิดทางการเมืองบางอย่างของเติ้งกง(邓公) และเชื่อว่าเติ้งกง(邓公) เป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและเป็นคนที่สามารถเปลี่ยนชะตากรรมของจีนได้ เขาไม่สามารถยอมรับการใส่ร้ายต่อเติ้งกง(邓公)ของคนอื่นได้ ดังนั้น ในฐานะบรรณาธิการ เขาจึงตีพิมพ์บทความหลายบทความใน "หมิงเป้า(明报)"เพื่อพูดแทนเติ้งกง(邓公) เนื่องจากในเวลานั้นเขามีชื่อเสียงมาก บทความเหล่านี้ทำให้เกิดกระแสคลื่นลมไม่เบาในฮ่องกงและแม้แต่ในแผ่นดินใหญ่ แต่แม้ว่าจะเกิดการโต้แย้งกันขึ้น จินยง(金庸)ยังคงยืนยันในมุมมองของเขาเหมือนเดิม เขาถึงกับยังได้เขียนคำทำนายว่า "เติ้ง เสี่ยวผิง(邓小平)จะกลับมาแน่นอน" ในบทความ เหตุผลที่ทำให้ จินยง(金庸)มีความมั่นใจในตนเองคือในปีค.ศ. 1975 เติ้งกง(邓公)ได้กลับมาในช่วงสั้นๆ จากนั้นได้ดำเนินการแก้ไขภายในประเทศหลายครั้งด้วยความกล้าหาญอย่างยิ่งและใช้นโยบายใหม่ อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้กินเวลาเพียงหนึ่งปี และเติ้งกง(邓公)ก็ออกจากเวทีการเมืองอีกครั้ง ในเวลานั้นคนส่วนใหญ่เชื่อว่าคราวนี้เติ้งกง(邓公)จะเลือนหายไปจากเวทีการเมืองตลอดไป แต่จินยง(金庸)ไม่เชื่อ เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่งเติ้งกง(邓公)จะกลายเป็นผู้นำที่แท้จริงของจีนใหม่และนำจีนไปสู่บรรยากาศใหม่ หลายคนไม่เข้าใจการสนับสนุนที่ร้อนแรงแข็งแกร่งของจินยง(金庸)ที่มีต่อเติ้งกง(邓公) ในตอนนั้น แม้ว่าจินยง(金庸)จะกระตือรือร้นใฝ่ใจในการแสดงความคิดเห็นวิภาษวิจารณ์เกี่ยวกับการเมือง แต่เขาก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเขาไม่เคยมีมิตรภาพกับเติ้งกง(邓公) ยิ่งไปกว่านั้นฮ่องกงยังไม่ได้กลับสู่มาตุภูมิในเวลานั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสองฝั่งของช่องแคบไต้หวันก็อ่อนไหวมาก จินยง(金庸)เสี่ยงที่จะถูกปิดล้อมโดยผู้อ่านเนื่องมาจากการประสงค์ที่จะพูดแทน เติ้งกง(邓公) ทำไมเขาถึงมั่นใจในความสามารถของเติ้งกง(邓公)ถึงขนาดนั้น? ในการสัมภาษณ์ครั้งต่อมา จินยง(金庸)ชื่นชมต่อเติ้งกง(邓公)มาก เขากล่าวว่า: 😎"ผมชื่นชมบุคลิกที่แข็งแกร่งและไม่ยอมแพ้นี้ของเขามาโดยตลอด เหมือนกับวีระบุรุษผู้กล้าหาญที่เขียนบรรยายไว้ในนิยายต่อสู้กำลังภายในของผม.......เพียงแค่ความแข็งแกร่งนั้น แน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ ต้องยืนหยัดในข้อเสนอที่ถูกต้องโดยไม่คำนึงถึงเกียรติยศ ความอับอาย และความปลอดภัยของตนเอง นี่ถึงจะทำให้ผู้อื่นยอมรับ”😎 สำหรับการเคลื่อนไหวของ จินยง(金庸) ความจริงแล้ว เติ้งกง(邓公)ก็ได้สัมผัสรู้มา เมื่อเวลาที่เขาถูกส่งไปที่ เจึยงซี(江西) เขาได้ยินว่ามีนักเขียนที่มีชื่อเสียงมากในฮ่องกงซึ่งมักจะตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการเมือง หลังจากเติ้งกง(邓公)อ่านบทความเหล่านี้ เขาคิดว่า จินยง(金庸) อยู่ในฮ่องกง แม้ว่าเขาจะมีมุมมองที่จำกัดในฮ่องกงก็ตาม ยังมีความเฉียบแหลมทางการเมืองของเขาและความสามารถของเขาในการพูดเพื่อความยุติธรรม จึงเป็นคนที่ควรค่าแก่การเคารพ แน่นอน สิ่งที่คาดไม่ถึงที่สุดคือตัวเติ้งกง(邓公)เองเป็นคนรักอ่านนวนิยายศิลปะการต่อสู้กำลังภายในมาก ทันทีที่เขาเห็นนิยายของจินยง(金庸) เขาก็เต็มไปด้วยคำชมและหมกมุ่นในการอ่านนวนิยายนั้น จนกระทั่งหลายปีต่อมา การอ่านนวนิยายของ จินยง(金庸)เป็นหนึ่งในงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุดของเติ้งกง(邓公) ด้วยประการฉะนี้แม้ว่าทั้งสองจะยังไม่ได้พบหน้ากันแต่ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเป็นเพื่อนในฐานะเพื่อนรู้ใจ 🥳โปรดติดตามบทความ #มังกรหยกเยือนสำนักแมวขาวแมวดำ ตอน 02.ต่อไป.ในโอกาสหน้า🥳 🥰กราบขออภัยในความผิดพลาดและกราบขอบพระคุณของข้อชี้แนะ🥰
    0 Comments 0 Shares 354 Views 0 Reviews
  • หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน

    หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน

    หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป

    ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ
    (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ
    (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม
    (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ
    (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ
    (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น

    แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949
    https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083
    https://baike.baidu.com/item/六艺/238715
    http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm
    https://baike.baidu.com/item/五礼/491424

    #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน

    หกทักษะของสุภาพบุรุษจีนโบราณ ตอน 1 ‘หลี่’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> จะจำได้ว่าองค์หญิงหลี่หรงจัดงานเลี้ยงเพื่อทำความรู้จักกับแคนดิเดทราชบุตรเขย โดยในระหว่างงานเลี้ยงได้กำหนดให้เหล่าคุณชายแสดงความสามารถตาม ‘จวินจื่อลิ่วอี้’ (君子六艺) หรือหกทักษะของสุภาพบุรุษ (หมายเหตุ อี้ แปลได้ว่าทักษะความสามารถ) และหกทักษะนี้ได้รับการกล่าวถึงในหลากหลายละครและนิยายจีนโบราณด้วยเช่นกัน หกทักษะนี้คือพื้นฐานความรู้ด้านต่างๆ อันแฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคำสอนของขงจื๊อ เชื่อว่าเพื่อนเพจเคยผ่านตาผ่านหูว่า หกทักษะนี้คือ พิธีการ (หลี่/礼) ดนตรี (เยวี่ย/乐) ยิงธนู (เซ่อ/射) ขับขี่ (อวี้/御) อักษรศาสตร์ (ซู/书) และคำนวณ (ซู่/数) แต่เชื่อว่าเพื่อนเพจคงไม่รู้ถึงรายละเอียดของมัน หกทักษะปรากฏอยู่ในบันทึกพิธีการโจวหลี่ (เป็นบันทึกที่จัดทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่นเพื่อรวมรวมข้อมูลพิธีการและความรู้ด้านต่างๆ จากสมัยราชวงศ์โจว) ในรายละเอียดประกอบด้วย ห้าพิธีการ หกดนตรี ห้าธนู ห้าขับขี่ หกอักษร และเก้าคำนวณ และมีการอธิบายไว้ชัดเจนว่าองค์ประกอบของมันมีอะไรบ้าง Storyฯ อ่านแล้วก็รู้สึกว่ามีหลายอย่างที่เหนือความคาดหมาย เลยมาเล่าสู่กันฟัง แต่ขอแบ่งเล่าเป็นหลายตอนเพื่อไม่ให้บทความยาวเกินไป ทักษะแรกคือ ‘หลี่’ (礼) ซึ่งแปลได้ว่าพิธีการหรือมารยาท โดยบัณฑิตต้องรู้ถึงรายละเอียดของการเตรียมงาน ขั้นตอนในงาน กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการวางตัว เสื้อผ้าข้าวของเครื่องใช้ และคำพูดที่ถูกต้องเหมาะสม และห้า ‘หลี่’ ที่บัณฑิตต้องรู้คือ (1) จี๋หลี่ (吉礼) หมายถึงพิธีการเสริมดวงเสริมบารมี คืองานเซ่นไหว้สักการะและงานบวงสรวงทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ ตามเทศกาลสำคัญหรือกราบไหว้บรรพบุรุษ (2) ซยงหลี่ (凶礼) หมายถึงพิธีการเกี่ยวกับภยันตราย โดยหลักคืองานศพ และหมายรวมถึงพิธีการขับไล่สิ่งอัปมงคลในยามที่เกิดอุทกภัยหรือโรคระบาด หรือพิธีการเซ่นไหว้ไว้อาลัยหลังสงคราม (3) จวินหลี่ (军礼) หมายถึงพิธีการด้านการทหาร (การจัดขบวน การเคลื่อนทัพ การบวงสรวงต่างๆ เมื่อองค์กษัตริย์ทรงยาตราทัพเอง การเยี่ยมชมและตรวจการกองทัพ และการต้อนรับกองทัพที่กลับจากสงคราม โดยพิธีการมีจำแนกว่าชนะศึกหรือพ่ายศึกกลับมา ฯลฯ) และยังรวมถึงพิธีการเกี่ยวกับงานล่าสัตว์ประจำฤดูของกษัตริย์ และหมายรวมงานก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านมาร่วมทำเช่นอารามหลวง พระราชวัง ฯลฯ (4) ปินหลี่ (宾礼) หมายถึงมารยาทและพิธีการในการต้อนรับแขก โดยจำแนกตามยศศักดิ์ของแขกและผู้ที่ให้การต้อนรับ เช่น กษัตริย์ต้อนรับกษัตริย์แขกเมืองหรือขุนนาง ข้าราชการต้อนรับประชาชนธรรมดา ต้อนรับแขกเมืองระดับต่างๆ ฯลฯ (5) เจียหลี่ (嘉礼) หมายถึงพิธีการมงคล ซึ่งจำแนกรายละเอียดตามยศศักดิ์ของเจ้าของงาน เช่นงานราชพิธีต่างๆ (พิธีราชาภิเษก งานแต่งตั้งองค์รัชทายาท งานเลือกชายาและสนม ฯลฯ) งานมงคลสมรส พิธีปักปิ่น พิธีสวมหมวกกวาน พิธีการขอบคุณ พิธีการอำลา งานเลี้ยงสังสรรค์ทั่วไป เป็นต้น แน่นอนว่าแต่ละพิธีการเหล่านี้มีรายละเอียดอีกมากมายที่เราไม่ได้ลงรายละเอียดในที่นี้ (หมายเหตุ Storyฯ เคยกล่าวถึงบางพิธีการ เช่นพิธีการปักปิ่น ฯลฯ ลองค้นอ่านบทความเก่าได้จากสารบัญนะคะ) แต่โดยภาพรวมเราจะเห็นได้ว่า ทักษะว่าด้วย ‘หลี่’ นี้ หมายรวมถึงความเข้าใจอย่างละเอียดถึงพิธีการต่างๆ หลักการปฏิบัติและวางตนต่อผู้อื่นและมารยาททางสังคม โดยมาจากแนวคำสอนของขงจื๊อที่ว่า ผู้ที่บกพร่องในทักษะนี้ จะขาดการวางตนที่ดี ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติต่อผู้อื่นหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างไร ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง หรือทำให้เกิดความวุ่นวายสร้างความขุ่นเคืองหรือสับสนต่อผู้อื่นได้ และทำให้สังคมไม่สมานฉันท์ สัปดาห์หน้าเรามาคุยกันต่อค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.upmedia.mg/news_info.php?Type=196&SerialNo=204949 https://guoxue.ifeng.com/c/7qhsbaO24FU Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/newsDetail_forward_20109083 https://baike.baidu.com/item/六艺/238715 http://www.dfg.cn/gb/ssht/ly/07-junli.htm https://baike.baidu.com/item/五礼/491424 #องค์หญิงใหญ่ #ทักษะสุภาพบุรุษจีน #ศิลปะสุภาพบุรุษจีน #คำสอนขงจื๊อ #จวินจื่อลิ่วอี้ #สาระจีน
    WWW.UPMEDIA.MG
    張凌赫新劇《度華年》對打王星越《墨雨雲間》 他與趙今麥演歡喜冤家3關鍵獲好評--上報
    張凌赫近年事業蒸蒸日上,他2022年擔任王鶴棣、虞書欣的爆款劇《蒼蘭訣》男配嶄露頭角,接著又在2023年與虞......
    Like
    1
    1 Comments 0 Shares 394 Views 0 Reviews
  • #วิมานลอย

    วันนี้ขออนุญาตแนะนำหนังสือที่เคยอ่าน เป็นวรรณกรรมคลาสสิกฝั่งอเมริกา และคิดว่าอย่างน้อยผู้ที่สามารถอ่านหนังสือได้ และมีโอกาส ควรหามาอ่านให้ได้สักครั้งในชีวิต แม้ส่วนตัวจะตอบได้ไม่เต็มปากนักว่าชื่นชอบเล่มนี้ แต่ยืนยันได้ว่าคือหนังสือดีมีค่าที่คู่ควรกับการสละเวลาจริง

    เชื่อว่าคุ้นหูทุกคนอยู่แล้ว แต่ไม่ทุกคนที่จะได้อ่าน เพราะด้วยความยาวของแถวอักษรยาวเหยียด ความหนาของจำนวนหน้า พาให้รู้สึกท้อต่อการที่จะหยิบมาอ่านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเล่มที่ผมอ่านนั้น เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ในไทย ของ สนพ.แพรว ปี พ.ศ. 2550 หนา 1,184 หน้า แปลโดย รอย โรจนานนท์ ซึ่งทำสวยงามเลอค่าน่าสะสมมาก ปกแข็งมีปกนอกหุ้ม เย็บกี่ ซึ่งเรื่องนี้ยืมจากห้องสมุดประชาชนมาอ่าน เพราะต้องใช้วิธีนี้เท่านั้น จึงจะกระตุ้นตัวเองให้มีความเพียรพอที่จะตั้งใจอ่านจนจบเรื่องได้ ไม่อย่างนั้นคงซื้อมาแล้วก็วางไว้ก่อน แต่ต้องใช้เวลาในการอ่านและยืมต่ออยู่หลายครั้ง ถ้าจำไม่ผิดก็ 3-4 หนต่อเนื่อง

    และขอยืนยันว่าฉบับพิมพ์นี้ไม่เหมาะกับการถืออ่านขณะนอนหงาย เพราะอาจหน้าแหก ดั้งยุบ หรือสลบเหมือดคาที่ได้ ขนาดนั่งอ่านยังต้องวางหนังสือกับโต๊ะ ยกอ่านได้ไม่นานเกิดอาการล้ามาก

    เรื่องที่กล่าวถึงนี้คือ Gone With The Wind หรือชื่อไทย วิมานลอย โดยผู้เขียนนาม มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ รู้สึกชอบชื่อเรื่องมากทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่ให้ความหมายชัดเจนดีมาก ยิ่งอ่านจบแล้วยิ่งย้ำยืนยันว่าเป็นชื่อเรื่องที่เหมาะสมที่สุด ความจริงได้ยินเสียงล่ำลือถึงเรื่องนี้มานานมากตั้งแต่เด็ก แต่ได้สัมผัสครั้งแรกจากภาพยนตร์ก่อน เมื่อช่วงเรียนจบใหม่ๆ พอได้ชมแล้วชอบจึงเริ่มอยากอ่านฉบับหนังสือว่าจะแตกต่างอย่างไรบ้าง นั่นคือจุดเริ่มต้น

    เนื้อหาของเรื่องนี้ ถูกวางฉากหลังไว้ในช่วงสงครามกลางเมืองของอเมริกา ในยุคที่มีการใช้แรงงานทาสผิวดำ การทำกสิกรรมปลูกไร่ฝ้าย ไปจนถึงความขัดแย้งของคนชาติเดียวกัน แต่ต่างที่มา ซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ต่อเนื่องยาวไปจนถึงเริ่มสงคราม และสงครามสิ้นสุด รวมถึงพิษภัยจากไฟสงครามที่ลามเลียต่อเนื่อง ผลกระทบทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ของฝ่ายผู้ชนะที่กระทำต่อผู้แพ้ ที่แม้คือชาติเดียวกันอย่างโหดร้าย แล้งน้ำใจ การเลิกทาส ความชุลมุน จราจลทั่วทุกหย่อมหญ้า ผ่านความคิด มุมมองและการเลือกกระทำของตัวเอกที่เป็นตัวดำเนินเรื่องหลักอย่างนางเอก คือ สการ์เลตต์ โอฮารา และตัวเดินเรื่องเสริมคือพระเอก หรือ เรตต์ บัตเลอร์

    ความจริงผมไม่ชอบสการ์เลตต์ และยิ่งไม่ชอบเรตต์ บัตเลอร์เลยจากใจจริง ออกจะเหม็นเบื่อ หมั่นไส้ และรู้สึกทุเรศทุรังกับอุปนิสัยของตัวละครทั้งสอง โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มได้ทำความรู้จักกันผ่านหน้าหนังสือ ด้วยเหตุที่นางเอกนั้น ช่วงต้นเป็นหญิงที่ใช้ชีวิตอย่างลูกคุณหนู สมองกลวงไปวันๆ ไม่คิดทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน คำนึงถึงแต่เรื่องผู้ชาย การได้แต่งงานกับลูกชายบ้านโน้นบ้านนี้ การแวดล้อมไปด้วยเพื่อนสาวที่มีค่านิยม แนวคิด ฝักใฝ่ความหรูหรา ติดสบาย ต้องมีคนคอยรับใช้ เกียรติยศ ความหลงใหลยึดติดกับศักดินา ข้าทาส บริวาร ชื่อเสียงตระกูล ความฟุ่มเฟือย สารพัดที่ผู้หญิงใฝ่สุขนิยมมักเป็นกัน

    ส่วนฝ่ายชายนั้นเล่าก็แบดบอย ยโสโอหัง กวนบาทา พูดจายียวน ชอบยั่วโมโห หน้าเลือด นิสัยพ่อค้าที่ทำอย่างไรตนจึงจะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าได้เยอะสุดในภาวะสงคราม ที่คนจำนวนมากเดือดร้อนอดอยาก อายุมากกว่านางเอกหลายปี อยู่ในวัยหนุ่มใหญ่ผู้มีสายตาและประสบการณ์ที่ผ่านโลกมาอย่างโชกโชน

    เริ่มต้นนางเอกนั้นเกลียดขี้หน้าพระเอก และก็รู้สึกอย่างนั้นในแทบทุกครั้งที่ได้พบเจอ แต่ก็แปลกที่ในยามวิกฤตกลับนึกถึงเขา เพราะใจลึกๆนั้นรู้ดีว่าชายคนนี้เชื่อถือได้ว่าสามารถนำพาเธอให้พ้นจากสถานการณ์ร้ายต่างๆอย่างแน่นอน

    ส่วนใหญ่เวลาเจอหน้ากัน มักจะเป็นการสนทนาวิวาทะ ประคารมอย่างถึงพริกถึงขิง แม้นภายในใจจะรู้สึกต่างชอบกันอยู่บ้าง แต่โชคชะตานำพาให้พลาดกันไปพลาดกันมา กว่าจะได้มาเป็นคู่ชีวิตกัน นางเอกต้องผ่านการแต่งงานมาแล้วถึง 2ครั้ง

    ผู้อ่านจะได้เห็นถึงความเติบโตของสการ์เลตต์ผ่านประสบการณ์ชีวิตซึ่ง การศึกสงครามจากด่านหน้าที่สู้รบกันของฝ่ายสมาพันธรัฐชาวใต้ที่หยิ่งผยองในเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และต้องการความเป็นอิสระในการถือครองทาส กับฝ่ายเหนือที่เป็นสหภาพซี่งยึดรัฐธรรมนูญเหนืออื่นใด ได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อแนวหลังที่รอคอยด้วยใจกระวนกระวายอยู่กับบ้าน ผลการแพ้ชนะแต่ละครั้ง ได้สร้างรอยแผลไว้ในใจอย่างฝังลึกยากถอดถอน

    จนถึงวันที่รู้ว่าฝ่ายของตน ดินแดนอันเป็นที่รัก เชิดชูและศรัทธา ได้แพ้พ่ายอย่างราบคาบ คนรักและรู้จัก พลเมืองจำนวนมากต่างตายไปในสงคราม ที่เหลือรอดกลับมาก็สภาพน่าอเนจอนาถ รวมถึงผลพวงหลังจากรัฐบาลกลางเข้ามากุมอำนาจ มีบทบาทตั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นการขูดรีด เอาเปรียบ เหยียบย่ำ ฉีกทึ้ง เกียรติยศ ศักดิ์ศรีความเป็นคน การฉ้อฉลคดโกง ใช้อำนาจโดยมิชอบ รีดนาทาเล้น ปล้นฆ่า โกงสมบัติชาติเป็นของตน ของผู้มีอำนาจที่ได้รับเลือกจากรัฐบาลกลางมาปกครองดูแลชาวใต้ สมาพันธรัฐล่มสลาย ประชาชนเดือดร้อน อดอยาก แร้นแค้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริม และเปลี่ยนแปลงให้นางเอกต้องกลายสภาพจากคุณหนูผู้ไร้เดียงสา ไปเป็นผู้ทำทุกทางเพื่อจะอยู่รอดให้ได้ในยามวิกฤต เพื่อประคับประคองข้าทาสผิวดำที่ซื่อสัตย์ เพื่อรักษาบ้านและที่ดินของพ่อเอาไว้ เพราะเธอต้องขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนหลังสูญเสียพ่อไป

    ยอมกระทั่งให้คนใต้ด้วยกันหยามเหยียด รังเกียจเดียดฉันท์ เพราะเธอตัดสินใจเลือกคบค้าสมาคม ทำธุรกิจกับพวกพ่อค้า ผู้มีอำนาจ ที่มาปกครองบ้านเมืองของตน ซึ่งครั้งหนึ่งเธอรังเกียจและเจ็บแค้น เพื่อจะดำรงสถานะของครอบครัวให้ไปต่อได้

    การเติบโตทางอารมณ์ และความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องชั่งใจเลือก ในสิ่งซึ่งขัดแย้งกับอุดมการณ์ ความศรัทธา ภาคภูมิที่ตนเชื่อมั่นมาตลอด กับความจริงตรงหน้าที่บีบคั้นให้กระทำสวนทางก็ตาม

    สการ์เลตต์ โอฮารา รวมถึง เรตต์ บัตเลอร์ จึงเป็นตัวละครที่มีความเรียลริสติก มีบุคลิกที่ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์ปุถุชน ที่มีทั้งดีชั่วปะปน และดิ้นรนเพื่อหาทางเอาชีวิตรอดไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่ตัวละครที่พาฝัน ภาพลักษณ์สวยงาม เป็นคนดีพร้อม ทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ ที่มักพบได้ในตัวพระนางทั่วไป หากกล่าวอย่างตรงๆแล้ว ทั้งสองออกจะมีด้านที่เป็นสีเทาดำ มากกว่าสีขาวด้วยซ้ำ แต่นี่อาจเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เรื่องนี้ยังคงอยู่ในใจของนักอ่านทั่วโลกมาอย่างยาวนานจนปัจจุบัน ถึงกับได้รับการยกย่องมากมายจากหลายสถาบัน ให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมคลาสสิกชิ้นเยี่ยม

    ทว่าสำหรับส่วนตัวแล้ว ไม่ได้สนใจในเรื่องนั้นเลย ยังคงยืนยันเช่นเดิมว่าไม่ชอบนางเอก และพระเอก รวมถึงไม่อาจบอกได้ว่านี่คือเรื่องที่รักชอบหลังอ่านจบ แต่สิ่งหนึ่งที่กล้ายืนยันอย่างมั่นใจอีกครั้งคือ

    นี่คือหนังสือที่ดี มีค่าเพียงพอต่อเวลาที่ต้องสละไปในการอ่าน

    ใครอ่านเรื่องนี้จบเกินกว่า 1 รอบ ขอยอมรับนับถือเลย
    สุดท้ายที่จะบอกคือ นี่เป็นหนังสือที่ดูดพลังอย่างมาก เหนื่อยที่สุดในชีวิตการเป็นนักอ่าน แม้นอ่านนิยายไทยยาวๆอย่างเพชรพระอุมา หรือนิยายจีนกำลังภายในที่ยาว 20-30 เล่ม ก็ยังไม่เคยเหนื่อยเท่า

    ป.ล. เนื่องจากไม่มีหนังสือเป็นของตน จึงขอใช้ภาพจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบครับ

    #นิยายแปล
    #วรรณกรรมคลาสสิก
    #วิมานลอย
    #gonewiththewind
    #หนังสือน่าอ่าน
    #สงครามกลางเมือง
    #สหรัฐอเมริกา
    #ชนชั้น
    #แรงงาน
    #บริวาร
    #ทาส
    #คนผิวดำ
    #thaitimes
    #นิยาย
    #หนังสือ
    #วิมานลอย วันนี้ขออนุญาตแนะนำหนังสือที่เคยอ่าน เป็นวรรณกรรมคลาสสิกฝั่งอเมริกา และคิดว่าอย่างน้อยผู้ที่สามารถอ่านหนังสือได้ และมีโอกาส ควรหามาอ่านให้ได้สักครั้งในชีวิต แม้ส่วนตัวจะตอบได้ไม่เต็มปากนักว่าชื่นชอบเล่มนี้ แต่ยืนยันได้ว่าคือหนังสือดีมีค่าที่คู่ควรกับการสละเวลาจริง เชื่อว่าคุ้นหูทุกคนอยู่แล้ว แต่ไม่ทุกคนที่จะได้อ่าน เพราะด้วยความยาวของแถวอักษรยาวเหยียด ความหนาของจำนวนหน้า พาให้รู้สึกท้อต่อการที่จะหยิบมาอ่านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเล่มที่ผมอ่านนั้น เป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 7 ในไทย ของ สนพ.แพรว ปี พ.ศ. 2550 หนา 1,184 หน้า แปลโดย รอย โรจนานนท์ ซึ่งทำสวยงามเลอค่าน่าสะสมมาก ปกแข็งมีปกนอกหุ้ม เย็บกี่ ซึ่งเรื่องนี้ยืมจากห้องสมุดประชาชนมาอ่าน เพราะต้องใช้วิธีนี้เท่านั้น จึงจะกระตุ้นตัวเองให้มีความเพียรพอที่จะตั้งใจอ่านจนจบเรื่องได้ ไม่อย่างนั้นคงซื้อมาแล้วก็วางไว้ก่อน แต่ต้องใช้เวลาในการอ่านและยืมต่ออยู่หลายครั้ง ถ้าจำไม่ผิดก็ 3-4 หนต่อเนื่อง และขอยืนยันว่าฉบับพิมพ์นี้ไม่เหมาะกับการถืออ่านขณะนอนหงาย เพราะอาจหน้าแหก ดั้งยุบ หรือสลบเหมือดคาที่ได้ ขนาดนั่งอ่านยังต้องวางหนังสือกับโต๊ะ ยกอ่านได้ไม่นานเกิดอาการล้ามาก เรื่องที่กล่าวถึงนี้คือ Gone With The Wind หรือชื่อไทย วิมานลอย โดยผู้เขียนนาม มาร์กาเร็ต มิตเชลล์ รู้สึกชอบชื่อเรื่องมากทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่ให้ความหมายชัดเจนดีมาก ยิ่งอ่านจบแล้วยิ่งย้ำยืนยันว่าเป็นชื่อเรื่องที่เหมาะสมที่สุด ความจริงได้ยินเสียงล่ำลือถึงเรื่องนี้มานานมากตั้งแต่เด็ก แต่ได้สัมผัสครั้งแรกจากภาพยนตร์ก่อน เมื่อช่วงเรียนจบใหม่ๆ พอได้ชมแล้วชอบจึงเริ่มอยากอ่านฉบับหนังสือว่าจะแตกต่างอย่างไรบ้าง นั่นคือจุดเริ่มต้น เนื้อหาของเรื่องนี้ ถูกวางฉากหลังไว้ในช่วงสงครามกลางเมืองของอเมริกา ในยุคที่มีการใช้แรงงานทาสผิวดำ การทำกสิกรรมปลูกไร่ฝ้าย ไปจนถึงความขัดแย้งของคนชาติเดียวกัน แต่ต่างที่มา ซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ต่อเนื่องยาวไปจนถึงเริ่มสงคราม และสงครามสิ้นสุด รวมถึงพิษภัยจากไฟสงครามที่ลามเลียต่อเนื่อง ผลกระทบทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ของฝ่ายผู้ชนะที่กระทำต่อผู้แพ้ ที่แม้คือชาติเดียวกันอย่างโหดร้าย แล้งน้ำใจ การเลิกทาส ความชุลมุน จราจลทั่วทุกหย่อมหญ้า ผ่านความคิด มุมมองและการเลือกกระทำของตัวเอกที่เป็นตัวดำเนินเรื่องหลักอย่างนางเอก คือ สการ์เลตต์ โอฮารา และตัวเดินเรื่องเสริมคือพระเอก หรือ เรตต์ บัตเลอร์ ความจริงผมไม่ชอบสการ์เลตต์ และยิ่งไม่ชอบเรตต์ บัตเลอร์เลยจากใจจริง ออกจะเหม็นเบื่อ หมั่นไส้ และรู้สึกทุเรศทุรังกับอุปนิสัยของตัวละครทั้งสอง โดยเฉพาะช่วงแรกเริ่มได้ทำความรู้จักกันผ่านหน้าหนังสือ ด้วยเหตุที่นางเอกนั้น ช่วงต้นเป็นหญิงที่ใช้ชีวิตอย่างลูกคุณหนู สมองกลวงไปวันๆ ไม่คิดทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน คำนึงถึงแต่เรื่องผู้ชาย การได้แต่งงานกับลูกชายบ้านโน้นบ้านนี้ การแวดล้อมไปด้วยเพื่อนสาวที่มีค่านิยม แนวคิด ฝักใฝ่ความหรูหรา ติดสบาย ต้องมีคนคอยรับใช้ เกียรติยศ ความหลงใหลยึดติดกับศักดินา ข้าทาส บริวาร ชื่อเสียงตระกูล ความฟุ่มเฟือย สารพัดที่ผู้หญิงใฝ่สุขนิยมมักเป็นกัน ส่วนฝ่ายชายนั้นเล่าก็แบดบอย ยโสโอหัง กวนบาทา พูดจายียวน ชอบยั่วโมโห หน้าเลือด นิสัยพ่อค้าที่ทำอย่างไรตนจึงจะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าได้เยอะสุดในภาวะสงคราม ที่คนจำนวนมากเดือดร้อนอดอยาก อายุมากกว่านางเอกหลายปี อยู่ในวัยหนุ่มใหญ่ผู้มีสายตาและประสบการณ์ที่ผ่านโลกมาอย่างโชกโชน เริ่มต้นนางเอกนั้นเกลียดขี้หน้าพระเอก และก็รู้สึกอย่างนั้นในแทบทุกครั้งที่ได้พบเจอ แต่ก็แปลกที่ในยามวิกฤตกลับนึกถึงเขา เพราะใจลึกๆนั้นรู้ดีว่าชายคนนี้เชื่อถือได้ว่าสามารถนำพาเธอให้พ้นจากสถานการณ์ร้ายต่างๆอย่างแน่นอน ส่วนใหญ่เวลาเจอหน้ากัน มักจะเป็นการสนทนาวิวาทะ ประคารมอย่างถึงพริกถึงขิง แม้นภายในใจจะรู้สึกต่างชอบกันอยู่บ้าง แต่โชคชะตานำพาให้พลาดกันไปพลาดกันมา กว่าจะได้มาเป็นคู่ชีวิตกัน นางเอกต้องผ่านการแต่งงานมาแล้วถึง 2ครั้ง ผู้อ่านจะได้เห็นถึงความเติบโตของสการ์เลตต์ผ่านประสบการณ์ชีวิตซึ่ง การศึกสงครามจากด่านหน้าที่สู้รบกันของฝ่ายสมาพันธรัฐชาวใต้ที่หยิ่งผยองในเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และต้องการความเป็นอิสระในการถือครองทาส กับฝ่ายเหนือที่เป็นสหภาพซี่งยึดรัฐธรรมนูญเหนืออื่นใด ได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อแนวหลังที่รอคอยด้วยใจกระวนกระวายอยู่กับบ้าน ผลการแพ้ชนะแต่ละครั้ง ได้สร้างรอยแผลไว้ในใจอย่างฝังลึกยากถอดถอน จนถึงวันที่รู้ว่าฝ่ายของตน ดินแดนอันเป็นที่รัก เชิดชูและศรัทธา ได้แพ้พ่ายอย่างราบคาบ คนรักและรู้จัก พลเมืองจำนวนมากต่างตายไปในสงคราม ที่เหลือรอดกลับมาก็สภาพน่าอเนจอนาถ รวมถึงผลพวงหลังจากรัฐบาลกลางเข้ามากุมอำนาจ มีบทบาทตั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นการขูดรีด เอาเปรียบ เหยียบย่ำ ฉีกทึ้ง เกียรติยศ ศักดิ์ศรีความเป็นคน การฉ้อฉลคดโกง ใช้อำนาจโดยมิชอบ รีดนาทาเล้น ปล้นฆ่า โกงสมบัติชาติเป็นของตน ของผู้มีอำนาจที่ได้รับเลือกจากรัฐบาลกลางมาปกครองดูแลชาวใต้ สมาพันธรัฐล่มสลาย ประชาชนเดือดร้อน อดอยาก แร้นแค้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งเสริม และเปลี่ยนแปลงให้นางเอกต้องกลายสภาพจากคุณหนูผู้ไร้เดียงสา ไปเป็นผู้ทำทุกทางเพื่อจะอยู่รอดให้ได้ในยามวิกฤต เพื่อประคับประคองข้าทาสผิวดำที่ซื่อสัตย์ เพื่อรักษาบ้านและที่ดินของพ่อเอาไว้ เพราะเธอต้องขึ้นมาเป็นหัวหน้าครอบครัวแทนหลังสูญเสียพ่อไป ยอมกระทั่งให้คนใต้ด้วยกันหยามเหยียด รังเกียจเดียดฉันท์ เพราะเธอตัดสินใจเลือกคบค้าสมาคม ทำธุรกิจกับพวกพ่อค้า ผู้มีอำนาจ ที่มาปกครองบ้านเมืองของตน ซึ่งครั้งหนึ่งเธอรังเกียจและเจ็บแค้น เพื่อจะดำรงสถานะของครอบครัวให้ไปต่อได้ การเติบโตทางอารมณ์ และความเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องชั่งใจเลือก ในสิ่งซึ่งขัดแย้งกับอุดมการณ์ ความศรัทธา ภาคภูมิที่ตนเชื่อมั่นมาตลอด กับความจริงตรงหน้าที่บีบคั้นให้กระทำสวนทางก็ตาม สการ์เลตต์ โอฮารา รวมถึง เรตต์ บัตเลอร์ จึงเป็นตัวละครที่มีความเรียลริสติก มีบุคลิกที่ใกล้เคียงความเป็นมนุษย์ปุถุชน ที่มีทั้งดีชั่วปะปน และดิ้นรนเพื่อหาทางเอาชีวิตรอดไปตามสถานการณ์ ไม่ใช่ตัวละครที่พาฝัน ภาพลักษณ์สวยงาม เป็นคนดีพร้อม ทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ ที่มักพบได้ในตัวพระนางทั่วไป หากกล่าวอย่างตรงๆแล้ว ทั้งสองออกจะมีด้านที่เป็นสีเทาดำ มากกว่าสีขาวด้วยซ้ำ แต่นี่อาจเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เรื่องนี้ยังคงอยู่ในใจของนักอ่านทั่วโลกมาอย่างยาวนานจนปัจจุบัน ถึงกับได้รับการยกย่องมากมายจากหลายสถาบัน ให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมคลาสสิกชิ้นเยี่ยม ทว่าสำหรับส่วนตัวแล้ว ไม่ได้สนใจในเรื่องนั้นเลย ยังคงยืนยันเช่นเดิมว่าไม่ชอบนางเอก และพระเอก รวมถึงไม่อาจบอกได้ว่านี่คือเรื่องที่รักชอบหลังอ่านจบ แต่สิ่งหนึ่งที่กล้ายืนยันอย่างมั่นใจอีกครั้งคือ นี่คือหนังสือที่ดี มีค่าเพียงพอต่อเวลาที่ต้องสละไปในการอ่าน ใครอ่านเรื่องนี้จบเกินกว่า 1 รอบ ขอยอมรับนับถือเลย สุดท้ายที่จะบอกคือ นี่เป็นหนังสือที่ดูดพลังอย่างมาก เหนื่อยที่สุดในชีวิตการเป็นนักอ่าน แม้นอ่านนิยายไทยยาวๆอย่างเพชรพระอุมา หรือนิยายจีนกำลังภายในที่ยาว 20-30 เล่ม ก็ยังไม่เคยเหนื่อยเท่า ป.ล. เนื่องจากไม่มีหนังสือเป็นของตน จึงขอใช้ภาพจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบครับ #นิยายแปล #วรรณกรรมคลาสสิก #วิมานลอย #gonewiththewind #หนังสือน่าอ่าน #สงครามกลางเมือง #สหรัฐอเมริกา #ชนชั้น #แรงงาน #บริวาร #ทาส #คนผิวดำ #thaitimes #นิยาย #หนังสือ
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 1734 Views 0 Reviews
  • ธรรมะในนิยายจีนจากเรื่อง แปดเทพอสูรมังกรฟ้า

    .

    ตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่องที่เป็นตัวละครหลักหนึ่งในสาม คือ องค์ชายต้วนอี้ รัชทายาทแห่งอาณาจักร ต้าหลี่ หรือแถบยูนนานของจีนปัจจุบัน นับเป็นตัวละครที่มีความเป็นบุคคลที่หาได้ยากมากในเหล่าชาวยุทธ หรือตัวเอกในอาณาจักรนิยายจีนมากมายเท่าที่เคยผ่านสมองและสองตามา

    .
    .

    แรกทีเดียวที่ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องนี้ในสมัยเรียนชั้นมัธยมต้น กว่าสามสิบปีมาแล้วนั้น รู้สึกไม่ชอบพระเอกที่ชื่อต้วนอี้นี้เลย ออกจะรำคาญ และเบื่อในความเหลาะแหละ โลเล ใจไม่อยู่กับร่องกับรอย เป็นพวกชอบเพ้อฝัน บัณฑิตที่โง่งมยึดอยู่กับตำราเหมือนนักศึกษาที่จะสอบเป็นจอหงวน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด อ่อนแอ รักหยกถนอมบุบผา คือมีความนุ่มนิ่มตุ้งติ้ง สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะกับสตรีเพศยิ่งเข้ากลุ่มไปสนทนาร่วมด้วยอย่างค่อนข้างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว ไม่สมชายชาตรี

    .
    .

    ฝึกวิชาก็ไม่เอาไหน ทั้งที่มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์ โชคนำพาวาสนาส่งให้ได้มีโอกาสไขว่คว้าตำรายุทธ์ หรือร่ำเรียนวิชาสุดยอดฝีมือที่เรียกได้ว่าเป็นยอดวิทยายุทธ์ในใต้หล้า ที่น้อยคนจะได้พานพบ ทว่ากลับเหมือนลิงได้แหวน ไก่ได้พลอย มีของดีกับตัวแต่ไม่ใช้ ไม่ฝึกฝน ปล่อยเสียของไปอย่างเปล่าดาย หรือถ้าฝึกก็อย่างขอไปที หรือเหตุการณ์บังคับ ไม่กระตือรือร้นที่จะพาตนให้กลายเป็นคนเก่ง หรือจอมยุทธ์อันดับหนึ่ง เช่นที่พระเอกควรจะเก่งและควรจะเป็น

    .
    .

    ไม่เหมือนเฉียวฟง ประมุขพรรคกระยาจก ที่แม้นไม่หล่อเหลา แต่มีบุคลิกองอาจกล้าหาญ ฮึกเหิม และมีวิทยายุทธ์สูงส่งเป็นไต้เฮียบ หรือผู้กล้าอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ได้รับการยกย่องขนานนามเป็น เฉียวฟงเหนือ มู่หยงใต้ เรียกได้ว่าต้วนอี้เป็นหนึ่งในตัวละครเอกของจักรวาลนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ที่ไม่น่าประทับใจเลย

    ทว่า แท้จริงข้าพเจ้ามองต้วนอี้ตื้นเขินเกินไปในเวลานั้น ด้วยวัยที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวได้เหมือนดังปัจจุบัน

    .
    .

    แท้จริง องค์ชายต้วน หรือคุณชายต้วน เป็นตัวละครที่น่ายกย่องในหลายด้าน เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามฝังอยู่ในกมลสันดาน ที่ไม่นิยมการฝึกวิชายุทธ์ ก็เพราะไม่อยากจะเกี่ยวข้องทำร้ายคน ไม่ชอบการเข่นฆ่า พยายามหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด โดยกลับไปชอบถึงขั้นหลงใหลในด้านศิลปะแทน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในทางดนตรี บทกวี การเขียนอักษรจีน การวาดภาพ และการเล่นหมากล้อม

    .
    .

    เขามีจิตใจอ่อนโยน แม้กระทั่งกับศัตรูที่คิดจะฆ่าตัวเองให้ตาย แต่เขาก็ไม่ยอมที่จะเป็นฝ่ายกระทำตอบ แม้นในเมื่อตนมีโอกาส ยามศัตรูพลั้งพลาด จนในที่สุดความดีของเขาสามารถเอาชนะใจจอมโฉดอันดับสาม จากสี่จอมโฉด คือ หนานไห่เอ้อเซิน จนยอมเรียกต้วนอี้ว่าอาจารย์ และยอมเป็นศิษย์แม้นด้วยความจำนน จากการแพ้เดิมพันก็ตาม (ถือว่าเป็นจอมโฉดที่มีจิตใจดีงามอยู่หลายส่วน มากกว่าพี่น้องร่วมสาบานคนอื่น โดยเฉพาะความสัตย์ซื่อ)

    .
    .

    นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ให้โอกาสคนอื่น ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติม มีน้ำใจต่อคนแทบทุกชนชั้น เห็นใจแม้กระทั่งคนชั่วที่คนอื่นเกลียด ชอบช่วยเหลือ ชอบคบค้าสมาคมกับคนจำนวนมาก เป็นผู้มีบุคลิกภายนอกที่อาจไม่ต้องใจสาวงามที่ชมชอบบุรุษเข้มแข็ง อีกทั้งก็ไม่ได้หล่อเหลา แม้นจะไม่ขี้เหร่ แต่ด้วยความเป็นคนมาดคุณชายหนอนหนังสือ จึงไม่ได้รับการใส่ใจจากหญิงที่ตนรัก

    .
    .

    โดยรวมแล้ว แม้ต้วนอี้จะมีข้อด้อยหลายประการ แต่ข้อด้อยเหล่านั้น บางข้อก็ถือเป็นข้อดีหากเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ให้แง่คิดกับเราได้ว่า การจะวิเคราะห์หรือมองคนคนหนึ่งให้ทะลุนั้น เราจะมองแต่แค่แง่ใดหรือบางแง่หาได้ไม่ เพราะเบื้องหลังความเป็นมาของแต่ละคนที่บ่มเพาะให้คนคนนั้น กลายเป็นคนที่มีบุคลิก หรืออุปนิสัยเช่นไร เป็นความซับซ้อนหลายชั้น

    ในความเป็นคนดี ก็ยังมีความชั่วแฝงซ่อนอยู่ หรือกระทั่งจอมโฉดชั่วสุดสามานย์ ก็ยังมีมุมที่น่าเห็นใจ น่าสงสาร ไปจนกระทั่งน่ารักอยู่ไม่น้อย สมดังชื่อเรื่องที่มีทั้งเทพและมารอยู่รวมกัน

    .

    แต่ที่เห็นได้ชัดคือ คนที่พยายามอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ด้วยการทำทุกวิธีแม้จะต้องผิดต่อมโนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม มักจะต้องผิดหวัง

    .

    ทว่าคนที่ยิ่งไม่ต้องการ ยิ่งไม่อยากได้ในสิ่งที่คนอื่นอยาก มักจะเป็นผู้ที่ได้รับในสิ่งซึ่งตนไม่ต้องการอยู่เสมอ

    ดังเช่นชีวิตขององค์ชายต้วนอี้ เป็นต้น ซึ่งได้พบกับความสุขสมหวังในช่วงท้าย ต่างจากมู่หยงฟู่ที่ไขว่คว้าตลอด แต่ต้องสูญสิ้นทุกอย่างจนกลายเป็นบ้า

    ............

    บทความโดย ชลธิศ รมณียางกูร

    ป.ล. ฉบับนิยายที่อ่านเป็นฉบับที่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยผู้แต่งในภายหลัง

    รูปภาพประกอบจากกูเกิ้ล เวอร์ชั่นปี 1982 คุณชายต้วน รับบทโดย ทัง เจิ้นเยี่ย (จีนตัวย่อ: 汤镇业; จีนตัวเต็ม: 湯鎮業; พินอิน: Tāng Zhènyè)ข้อมูลชื่อจีน และคำอ่านจากวิกิพีเดีย

    #แปดเทพอสูรมังกรฟ้า
    #ต้วนอี้
    #นิยายกำลังภายใน
    #นิยายจีน
    #กิมย้ง
    #thaitimes
    #บทวิเคราะห์
    #บทความ
    #ข้อคิด
    #นิยายแปล
    ธรรมะในนิยายจีนจากเรื่อง แปดเทพอสูรมังกรฟ้า . ตัวละครเอกตัวหนึ่งของเรื่องที่เป็นตัวละครหลักหนึ่งในสาม คือ องค์ชายต้วนอี้ รัชทายาทแห่งอาณาจักร ต้าหลี่ หรือแถบยูนนานของจีนปัจจุบัน นับเป็นตัวละครที่มีความเป็นบุคคลที่หาได้ยากมากในเหล่าชาวยุทธ หรือตัวเอกในอาณาจักรนิยายจีนมากมายเท่าที่เคยผ่านสมองและสองตามา . . แรกทีเดียวที่ข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องนี้ในสมัยเรียนชั้นมัธยมต้น กว่าสามสิบปีมาแล้วนั้น รู้สึกไม่ชอบพระเอกที่ชื่อต้วนอี้นี้เลย ออกจะรำคาญ และเบื่อในความเหลาะแหละ โลเล ใจไม่อยู่กับร่องกับรอย เป็นพวกชอบเพ้อฝัน บัณฑิตที่โง่งมยึดอยู่กับตำราเหมือนนักศึกษาที่จะสอบเป็นจอหงวน ตัดสินใจไม่เด็ดขาด อ่อนแอ รักหยกถนอมบุบผา คือมีความนุ่มนิ่มตุ้งติ้ง สุภาพเรียบร้อย โดยเฉพาะกับสตรีเพศยิ่งเข้ากลุ่มไปสนทนาร่วมด้วยอย่างค่อนข้างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียว ไม่สมชายชาตรี . . ฝึกวิชาก็ไม่เอาไหน ทั้งที่มีประสบการณ์ปาฏิหาริย์ โชคนำพาวาสนาส่งให้ได้มีโอกาสไขว่คว้าตำรายุทธ์ หรือร่ำเรียนวิชาสุดยอดฝีมือที่เรียกได้ว่าเป็นยอดวิทยายุทธ์ในใต้หล้า ที่น้อยคนจะได้พานพบ ทว่ากลับเหมือนลิงได้แหวน ไก่ได้พลอย มีของดีกับตัวแต่ไม่ใช้ ไม่ฝึกฝน ปล่อยเสียของไปอย่างเปล่าดาย หรือถ้าฝึกก็อย่างขอไปที หรือเหตุการณ์บังคับ ไม่กระตือรือร้นที่จะพาตนให้กลายเป็นคนเก่ง หรือจอมยุทธ์อันดับหนึ่ง เช่นที่พระเอกควรจะเก่งและควรจะเป็น . . ไม่เหมือนเฉียวฟง ประมุขพรรคกระยาจก ที่แม้นไม่หล่อเหลา แต่มีบุคลิกองอาจกล้าหาญ ฮึกเหิม และมีวิทยายุทธ์สูงส่งเป็นไต้เฮียบ หรือผู้กล้าอันดับหนึ่งในแผ่นดิน ได้รับการยกย่องขนานนามเป็น เฉียวฟงเหนือ มู่หยงใต้ เรียกได้ว่าต้วนอี้เป็นหนึ่งในตัวละครเอกของจักรวาลนิยายกำลังภายในของกิมย้ง ที่ไม่น่าประทับใจเลย ทว่า แท้จริงข้าพเจ้ามองต้วนอี้ตื้นเขินเกินไปในเวลานั้น ด้วยวัยที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์เรื่องราวได้เหมือนดังปัจจุบัน . . แท้จริง องค์ชายต้วน หรือคุณชายต้วน เป็นตัวละครที่น่ายกย่องในหลายด้าน เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงามฝังอยู่ในกมลสันดาน ที่ไม่นิยมการฝึกวิชายุทธ์ ก็เพราะไม่อยากจะเกี่ยวข้องทำร้ายคน ไม่ชอบการเข่นฆ่า พยายามหลีกเลี่ยงอย่างถึงที่สุด โดยกลับไปชอบถึงขั้นหลงใหลในด้านศิลปะแทน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในทางดนตรี บทกวี การเขียนอักษรจีน การวาดภาพ และการเล่นหมากล้อม . . เขามีจิตใจอ่อนโยน แม้กระทั่งกับศัตรูที่คิดจะฆ่าตัวเองให้ตาย แต่เขาก็ไม่ยอมที่จะเป็นฝ่ายกระทำตอบ แม้นในเมื่อตนมีโอกาส ยามศัตรูพลั้งพลาด จนในที่สุดความดีของเขาสามารถเอาชนะใจจอมโฉดอันดับสาม จากสี่จอมโฉด คือ หนานไห่เอ้อเซิน จนยอมเรียกต้วนอี้ว่าอาจารย์ และยอมเป็นศิษย์แม้นด้วยความจำนน จากการแพ้เดิมพันก็ตาม (ถือว่าเป็นจอมโฉดที่มีจิตใจดีงามอยู่หลายส่วน มากกว่าพี่น้องร่วมสาบานคนอื่น โดยเฉพาะความสัตย์ซื่อ) . . นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ให้โอกาสคนอื่น ไม่เหยียบย่ำซ้ำเติม มีน้ำใจต่อคนแทบทุกชนชั้น เห็นใจแม้กระทั่งคนชั่วที่คนอื่นเกลียด ชอบช่วยเหลือ ชอบคบค้าสมาคมกับคนจำนวนมาก เป็นผู้มีบุคลิกภายนอกที่อาจไม่ต้องใจสาวงามที่ชมชอบบุรุษเข้มแข็ง อีกทั้งก็ไม่ได้หล่อเหลา แม้นจะไม่ขี้เหร่ แต่ด้วยความเป็นคนมาดคุณชายหนอนหนังสือ จึงไม่ได้รับการใส่ใจจากหญิงที่ตนรัก . . โดยรวมแล้ว แม้ต้วนอี้จะมีข้อด้อยหลายประการ แต่ข้อด้อยเหล่านั้น บางข้อก็ถือเป็นข้อดีหากเรามองในอีกแง่มุมหนึ่ง จึงเป็นเรื่องที่ให้แง่คิดกับเราได้ว่า การจะวิเคราะห์หรือมองคนคนหนึ่งให้ทะลุนั้น เราจะมองแต่แค่แง่ใดหรือบางแง่หาได้ไม่ เพราะเบื้องหลังความเป็นมาของแต่ละคนที่บ่มเพาะให้คนคนนั้น กลายเป็นคนที่มีบุคลิก หรืออุปนิสัยเช่นไร เป็นความซับซ้อนหลายชั้น ในความเป็นคนดี ก็ยังมีความชั่วแฝงซ่อนอยู่ หรือกระทั่งจอมโฉดชั่วสุดสามานย์ ก็ยังมีมุมที่น่าเห็นใจ น่าสงสาร ไปจนกระทั่งน่ารักอยู่ไม่น้อย สมดังชื่อเรื่องที่มีทั้งเทพและมารอยู่รวมกัน . แต่ที่เห็นได้ชัดคือ คนที่พยายามอยากได้ในสิ่งที่ตนต้องการ ด้วยการทำทุกวิธีแม้จะต้องผิดต่อมโนธรรม คุณธรรม และศีลธรรม มักจะต้องผิดหวัง . ทว่าคนที่ยิ่งไม่ต้องการ ยิ่งไม่อยากได้ในสิ่งที่คนอื่นอยาก มักจะเป็นผู้ที่ได้รับในสิ่งซึ่งตนไม่ต้องการอยู่เสมอ ดังเช่นชีวิตขององค์ชายต้วนอี้ เป็นต้น ซึ่งได้พบกับความสุขสมหวังในช่วงท้าย ต่างจากมู่หยงฟู่ที่ไขว่คว้าตลอด แต่ต้องสูญสิ้นทุกอย่างจนกลายเป็นบ้า ............ บทความโดย ชลธิศ รมณียางกูร ป.ล. ฉบับนิยายที่อ่านเป็นฉบับที่ยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขใหม่โดยผู้แต่งในภายหลัง รูปภาพประกอบจากกูเกิ้ล เวอร์ชั่นปี 1982 คุณชายต้วน รับบทโดย ทัง เจิ้นเยี่ย (จีนตัวย่อ: 汤镇业; จีนตัวเต็ม: 湯鎮業; พินอิน: Tāng Zhènyè)ข้อมูลชื่อจีน และคำอ่านจากวิกิพีเดีย #แปดเทพอสูรมังกรฟ้า #ต้วนอี้ #นิยายกำลังภายใน #นิยายจีน #กิมย้ง #thaitimes #บทวิเคราะห์ #บทความ #ข้อคิด #นิยายแปล
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 805 Views 0 Reviews