• 💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC
    เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่

    🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME
    ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ
    ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง
    กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง
    ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ
    อยู่ในระดับต่ำ

    นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ
    ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์
    ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า

    ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME
    ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน
    ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย
    และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด
    การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน
    ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ
    ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม
    การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ

    🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ
    กับความท้าทายรอบด้าน
    จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน
    กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย
    ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย

    อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ
    กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ

    อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ
    กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
    โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก
    ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ
    ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

    🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ
    ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว
    โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน
    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า
    และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้
    เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย
    ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน
    ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร
    และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก

    ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ
    จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro)
    ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ
    และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา
    ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์
    เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ

    🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ
    กับกระแส ESG
    SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย
    ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์
    รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด
    โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

    ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย
    โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว
    อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ
    ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้
    ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก
    และมีต้นทุนสูง

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC
    #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    💥💥ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ SCBEIC เผยแพร่ข้อมูล SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ 🚩1. มุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME ของไทยในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำ ความกังวลต่อกำลังซื้อในประเทศที่เปราะบาง กอปรกับปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ SME ไทย มีมุมมองความเชื่อมั่นของธุรกิจ อยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ เรายังเริ่มเห็นสัญญาณความกังวลใจ ต่อปัจจัยเชิงโครงสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ที่สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันให้กับสินค้านำเข้า ทั้งนี้การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้แก่เหล่าธุรกิจ SME ควรเริ่มจากการเพิ่มบทบาทของภาครัฐและภาคการเงิน ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายส่งเสริมการใช้จ่าย และท่องเที่ยว เร่ง/เพิ่มการลงทุนภาครัฐ ลดความเข้มงวด การปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการดำเนินนโยบายการเงิน ที่ผ่อนคลายลง ขณะที่ในระยะยาว ควรมีมาตรการสนับสนุน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ ควบคู่กับการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มเติมสำหรับอุตสาหกรรม การผลิต เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่ตลาดใหม่ ๆ 🚩2. การดำเนินธุรกิจ SME ไทย กำลังเผชิญ กับความท้าทายรอบด้าน จากต้นทุนการผลิต/การดำเนินงานสูงและผันผวน กอปรกับปัญหากลยุทธ์การตลาดและกระบวนการผลิตล้าสมัย ทำให้การดำเนินธุรกิจของ SME ไทย กำลังเผชิญความท้าทาย อีกทั้ง ยังขาดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า เพราะเผชิญ กับการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง จากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการในแต่ละขนาดวิสาหกิจมีการรับมือ กับความท้าทายต่าง ๆ เหล่านี้ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยธุรกิจขนาดย่อม (Micro) จะเน้นมาตรการลดค่าใช้จ่ายเป็นหลัก ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางส่วนใหญ่จะหันมายกระดับธุรกิจ ผ่านการพัฒนาสินค้า กระบวนการผลิต และการตลาดให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 🚩3. SME ไทย เริ่มหันมาให้ความสำคัญ กับการยกระดับ ศักยภาพธุรกิจในระยะยาว โดย SME ไทย จะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และการพัฒนาสินค้า และบริการให้มีคุณภาพสูง ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจเหล่านี้ เกิดขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาด้านต้นทุน ความล้าสมัย ของกระบวนการทำงาน และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงจากรอบด้าน ซึ่งพบว่าอุตสาหกรรมที่มีความตื่นตัวมากที่สุด คือ กลุ่มผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักสำหรับธุรกิจ SME ยังคงพึ่งพาสินเชื่อ จากสถาบันการเงินเป็นหลัก จะมีเพียงวิสาหกิจขนาดย่อม (Micro) ที่จำเป็นต้องอาศัยแหล่งเงินทุน จากกำไรสะสมของธุรกิจ และทรัพย์สินของผู้ประกอบการ เนื่องจากส่วนใหญ่เผชิญปัญหา ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการจัดทำบัญชียังไม่เป็นระบบ 🚩4. SME มีมุมมองเชิงบวก และ กำลังเตรียมพร้อมรับมือ กับกระแส ESG SME ไทยส่วนใหญ่ได้กำหนดแผนการดำเนินงานภายใต้เป้าหมาย ความยั่งยืนแล้ว ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างในอุตฯ ปั๊มน้ำมัน จำหน่ายเคมีภัณฑ์ รับเหมาและขายวัสดุก่อสร้าง นับว่าตื่นตัวกับกระแสดังกล่าวมากที่สุด โดยการปรับตัวจะเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ทั้งนี้การปรับตัวของ SME ให้สอดรับกับกระแส ESG จำเป็นต้องอาศัย โครงการจัดอบรมให้ความรู้ และโครงการมีที่ปรึกษาที่กระจายตัว อย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ เนื่องจากผู้ประกอบการขนาดย่อมและธุรกิจ ในจังหวัดเมืองรอง ยังเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือเหล่านี้ ได้ค่อนข้างจำกัด จนมีส่วนทำให้การปรับตัวทำได้ค่อนข้างยาก และมีต้นทุนสูง #หุ้นติดดอย #การลงทุน #SME #เอสเอมอี #SCBEIC #ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ #thaitimes
    0 Comments 0 Shares 812 Views 0 Reviews
  • #เลื่อนร้านค้าลงทะเบียนไม่เลื่อนได้ไงไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง
    หลังจากที่รัฐบาลได้ยื่นให้คณะรัฐมนตรี ลงมติว่าจะทำดิจิตอลวอลเลท
    ได้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัต "หลักการ"
    หากตามขั้นตอน ต้องมีการยื่นเมื่อขอมติในเชิง วิธีการ ขั้นตอน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนเสร็จสิ้นกระบวนการ
    ...แต่ปรากฏว่า รัฐบาลได้สั่งดำเนินการจัดสร้างแอพ รวมถึงให้ประชาชนทำการสมัครลงทะเบียนผ่านแอพที่เอกชนได้เป็นผู้รับจ้าง โดยย้ำว่า ทั้งหมดนี้ เป็นการทำโดยพละการ ไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และอย่าว่าผ่านมติรัฐมนตรีเลย แค่คณะวางแผนยังไม่สเด็ดน้ำกันเลย เปลี่ยนกันได้วันต่อวัน
    ...เมื่อสืบต่อจะทราบ ว่ายังไม่มีการคอนเนคใดๆกับธนาคารพาณิชย์ ที่ท้ายที่สุดต้องมีการเชื่อมต่อกับธนาคารต่างๆ
    ...ยังไม่รวมไปถึง ที่มาขอการใช้งบ ที่มีสภาวะคลุมเคลือ แต่สุดท้าย มีคนจับได้ว่าจะนำเงินฉุกเฉินของชาติ ที่ปกติจะต้องมีสำรองสำหรับปัญหาฉุกเฉินจริงๆ หรือเรื่องของการนำงบก้อนนี้ไปอยู่ในงบที่ผิดประเภท เอาง่ายๆว่า จะเอาเงินมาจากตรงไหนนั้น ส่วนนี้ ก็ยังไม่มีมติจากคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
    ...พอมาดูเรื่องของระบบการทำงานของแอพ ที่หลายคนไม่รู้ ว่ากระบวนการจ้างเอกชน เข้ามาดำเนินการ ยังมีอีกบางส่วน ที่ขณะนี้เองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะให้ใครมารับผิดชอบ หรือรับงานส่วนนี้
    ...พี่คิงส์โพธิ์แดง ยิ่งรับรู้ก็ยิ่งงง ว่าโดยปกติ ทุกอย่างมันต้องทำเสร็จสำเร็จ พร้อมแล้ว จึงให้ประชาชนลงทะเบียน แต่ครั้งนี้ ยังไม่มีอะไรเสร็จซักอย่าง แต่กลับให้ประชาชนเร่งลงทะเบียน อย่างรวดเร็ว
    โดยมีคำถามว่า ขั้นตอนต่างๆที่ยังไม่เสร็จ ทั้งมติคณะรัฐมนตรี ทั้งด้านเทคนิค รวมถึงระบบการคอนเน็คกับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเอกชน รวมถึงที่มาของงบประมาณ หากมีเรื่องผิดขั้นตอนที่ผิดกฏหมาย หรือมีหลายส่วนที่หากเกิดการสะดุด นั่นหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่ดิจิตอลวอลเลทจะไม่สำเร็จ ก็ยังมีสูงมาก
    คำถามคือ
    1. ถ้ามันไปต่อไม่ได้ แล้วข้อมูลที่ประชาชนแห่ลงทะเบียน อยู่บนมือบริษัทเอกชน ดาต้านี้ ใครจะรับผิดชอบ
    2. ถ้านายกนิดไม่ได้ไปต่อ นายกคนต่อไปไม่ต่อแน่สำหรับโปรเจคนี้ แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบกับสิ่งที่เสียไปในภาคประชาชน
    3. ประชาชนที่มีความมั่นใจว่าจะได้ จำนวนไม่น้อย ยอมลงทุนกับการซื้อโทรศัพท์มือถือมาเพื่อการนี้ แต่กลับไม่ได้ในสิ่งที่รัฐบาลสัญญาไว้ เหมือนทำให้เชื่อโดยไม่มีใครรับผิดชอบ
    ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่ภูมิธรรม ต้องมาประกาศเลื่อนสำหรับการลงทะเบียนร้านค้า เพราะมันไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง และโดยเฉพาะโครงการนี้คนละเรื่องกับคนละครึ่ง เพราะร้านค้ารายย่อยที่ไม่มีสายป่านยาวพอจะไม่สามารถเข้าร่วมกับโครงการนี้ จะมีก็แต่ระดับร้านเจ้าสัวเท่านั้นที่มีระบบสายป่านรองรับ นี่ก็เป็นทางตันจุดสำคัญของโครงการนี้
    ฝ่ายที่ให้กำลังใจและเชียร์โครงการนี้ น่าเห็นใจที่สุด
    เพราะไม่รู้เลยว่า โครงการนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนสร้างคอนเซ็บเท่านั้น
    ไม่ได้พร้อมใช้งานสำหรับประชาชน
    ดิจิตอลวอลเลท สำเร็จก็พัง
    ไม่สำเร็จก็พัง นักการเมืองมาแล้วก็ไป
    แต่ความเสียหายยังคงอยู่กับคนไทย ที่ต้องนั่งรับภาระความเสียหายไปอีกนาน
    ไม่ว่าจะเป็น เอาปตท สมบัติชาติ ไปเป็นของนายทุน ค่าน้ำมันคอนโทรลไม่ได้ กำไรมหาศาลบนความเดือดร้อนของคนทั้งประเทศ
    ค่าไฟ ยิ่งลักษณ์ไปเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชน เกินกว่าความเป็นจริง ทำให้เราจ่ายค่า ft รวมถึงเป็นหนี้เอกชน คนไทยจึงต้องมาโดนคิดไฟเพิ่มเพื่อใช้หนี้เอกชน จนแทบลืมหูลืมตาไม่ขึ้น ยิ่งลักษณ์ได้ค่าตอบแทนจากสัญญานี้ไปแล้ว แต่คนไทยยังคงต้องชดใช้ไปอีกเกือบยี่สิบปี ลุงตู่เคยพยายามฟ้องเอกชนที่ฮั๊วสัญญากับยิ่งลักษณ์ ให้สัญญาเป็นโมฆะ แต่เอกชนและยิ่งลักษณ์ทำสัญญาไว้รัดกุม กลายเป็นว่า คนไทยต้องโดนค่าไฟที่แพงกว่านี้อีกมาก แค่ตอนนี้ พีระพันธิ์พยายามแก้ที่โครงสร้าง ที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เพื่อต่อสู้กับทั้งนายทุน ปตท และบริษัทเอกชนผู้ถือสัญญากับการไฟฟ้า แต่พอน้ำมันขึ้นเพราะนายทุนผู้ถือหุ้นแสวงหาประโยชน์ พีระพันโดนด่า พอค่าไฟขึ้นเพราะสัญญาที่ยิ่งลักษณ์ฮั๊วกับเอกชน พีระพันธิ์โดนด่า เออ สนุกดี
    ของจริงมันเป็นแบบนี้ ก่อนจะเถียงไปหาข้อมูลก่อนสวน
    พี่คิงส์ของจริงอย่าทะลึ่ง บอกไว้ก่อนเลย
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #เลื่อนร้านค้าลงทะเบียนไม่เลื่อนได้ไงไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง หลังจากที่รัฐบาลได้ยื่นให้คณะรัฐมนตรี ลงมติว่าจะทำดิจิตอลวอลเลท ได้คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัต "หลักการ" หากตามขั้นตอน ต้องมีการยื่นเมื่อขอมติในเชิง วิธีการ ขั้นตอน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ...แต่ปรากฏว่า รัฐบาลได้สั่งดำเนินการจัดสร้างแอพ รวมถึงให้ประชาชนทำการสมัครลงทะเบียนผ่านแอพที่เอกชนได้เป็นผู้รับจ้าง โดยย้ำว่า ทั้งหมดนี้ เป็นการทำโดยพละการ ไม่ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และอย่าว่าผ่านมติรัฐมนตรีเลย แค่คณะวางแผนยังไม่สเด็ดน้ำกันเลย เปลี่ยนกันได้วันต่อวัน ...เมื่อสืบต่อจะทราบ ว่ายังไม่มีการคอนเนคใดๆกับธนาคารพาณิชย์ ที่ท้ายที่สุดต้องมีการเชื่อมต่อกับธนาคารต่างๆ ...ยังไม่รวมไปถึง ที่มาขอการใช้งบ ที่มีสภาวะคลุมเคลือ แต่สุดท้าย มีคนจับได้ว่าจะนำเงินฉุกเฉินของชาติ ที่ปกติจะต้องมีสำรองสำหรับปัญหาฉุกเฉินจริงๆ หรือเรื่องของการนำงบก้อนนี้ไปอยู่ในงบที่ผิดประเภท เอาง่ายๆว่า จะเอาเงินมาจากตรงไหนนั้น ส่วนนี้ ก็ยังไม่มีมติจากคณะรัฐมนตรีเช่นกัน ...พอมาดูเรื่องของระบบการทำงานของแอพ ที่หลายคนไม่รู้ ว่ากระบวนการจ้างเอกชน เข้ามาดำเนินการ ยังมีอีกบางส่วน ที่ขณะนี้เองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะให้ใครมารับผิดชอบ หรือรับงานส่วนนี้ ...พี่คิงส์โพธิ์แดง ยิ่งรับรู้ก็ยิ่งงง ว่าโดยปกติ ทุกอย่างมันต้องทำเสร็จสำเร็จ พร้อมแล้ว จึงให้ประชาชนลงทะเบียน แต่ครั้งนี้ ยังไม่มีอะไรเสร็จซักอย่าง แต่กลับให้ประชาชนเร่งลงทะเบียน อย่างรวดเร็ว โดยมีคำถามว่า ขั้นตอนต่างๆที่ยังไม่เสร็จ ทั้งมติคณะรัฐมนตรี ทั้งด้านเทคนิค รวมถึงระบบการคอนเน็คกับธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเอกชน รวมถึงที่มาของงบประมาณ หากมีเรื่องผิดขั้นตอนที่ผิดกฏหมาย หรือมีหลายส่วนที่หากเกิดการสะดุด นั่นหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่ดิจิตอลวอลเลทจะไม่สำเร็จ ก็ยังมีสูงมาก คำถามคือ 1. ถ้ามันไปต่อไม่ได้ แล้วข้อมูลที่ประชาชนแห่ลงทะเบียน อยู่บนมือบริษัทเอกชน ดาต้านี้ ใครจะรับผิดชอบ 2. ถ้านายกนิดไม่ได้ไปต่อ นายกคนต่อไปไม่ต่อแน่สำหรับโปรเจคนี้ แล้วใครจะเป็นคนรับผิดชอบกับสิ่งที่เสียไปในภาคประชาชน 3. ประชาชนที่มีความมั่นใจว่าจะได้ จำนวนไม่น้อย ยอมลงทุนกับการซื้อโทรศัพท์มือถือมาเพื่อการนี้ แต่กลับไม่ได้ในสิ่งที่รัฐบาลสัญญาไว้ เหมือนทำให้เชื่อโดยไม่มีใครรับผิดชอบ ดังนั้น จึงไม่แปลก ที่ภูมิธรรม ต้องมาประกาศเลื่อนสำหรับการลงทะเบียนร้านค้า เพราะมันไม่มีอะไรเสร็จจริงซักอย่าง และโดยเฉพาะโครงการนี้คนละเรื่องกับคนละครึ่ง เพราะร้านค้ารายย่อยที่ไม่มีสายป่านยาวพอจะไม่สามารถเข้าร่วมกับโครงการนี้ จะมีก็แต่ระดับร้านเจ้าสัวเท่านั้นที่มีระบบสายป่านรองรับ นี่ก็เป็นทางตันจุดสำคัญของโครงการนี้ ฝ่ายที่ให้กำลังใจและเชียร์โครงการนี้ น่าเห็นใจที่สุด เพราะไม่รู้เลยว่า โครงการนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนสร้างคอนเซ็บเท่านั้น ไม่ได้พร้อมใช้งานสำหรับประชาชน ดิจิตอลวอลเลท สำเร็จก็พัง ไม่สำเร็จก็พัง นักการเมืองมาแล้วก็ไป แต่ความเสียหายยังคงอยู่กับคนไทย ที่ต้องนั่งรับภาระความเสียหายไปอีกนาน ไม่ว่าจะเป็น เอาปตท สมบัติชาติ ไปเป็นของนายทุน ค่าน้ำมันคอนโทรลไม่ได้ กำไรมหาศาลบนความเดือดร้อนของคนทั้งประเทศ ค่าไฟ ยิ่งลักษณ์ไปเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชน เกินกว่าความเป็นจริง ทำให้เราจ่ายค่า ft รวมถึงเป็นหนี้เอกชน คนไทยจึงต้องมาโดนคิดไฟเพิ่มเพื่อใช้หนี้เอกชน จนแทบลืมหูลืมตาไม่ขึ้น ยิ่งลักษณ์ได้ค่าตอบแทนจากสัญญานี้ไปแล้ว แต่คนไทยยังคงต้องชดใช้ไปอีกเกือบยี่สิบปี ลุงตู่เคยพยายามฟ้องเอกชนที่ฮั๊วสัญญากับยิ่งลักษณ์ ให้สัญญาเป็นโมฆะ แต่เอกชนและยิ่งลักษณ์ทำสัญญาไว้รัดกุม กลายเป็นว่า คนไทยต้องโดนค่าไฟที่แพงกว่านี้อีกมาก แค่ตอนนี้ พีระพันธิ์พยายามแก้ที่โครงสร้าง ที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เพื่อต่อสู้กับทั้งนายทุน ปตท และบริษัทเอกชนผู้ถือสัญญากับการไฟฟ้า แต่พอน้ำมันขึ้นเพราะนายทุนผู้ถือหุ้นแสวงหาประโยชน์ พีระพันโดนด่า พอค่าไฟขึ้นเพราะสัญญาที่ยิ่งลักษณ์ฮั๊วกับเอกชน พีระพันธิ์โดนด่า เออ สนุกดี ของจริงมันเป็นแบบนี้ ก่อนจะเถียงไปหาข้อมูลก่อนสวน พี่คิงส์ของจริงอย่าทะลึ่ง บอกไว้ก่อนเลย #คิงส์โพธิ์แดง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 563 Views 0 Reviews
  • ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย"

    การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน

    ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น

    ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า

    แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ

    เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด

    สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น

    ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว

    ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน

    แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ

    เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท

    #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย" การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    Like
    4
    0 Comments 0 Shares 772 Views 0 Reviews
  • #ธนาคารพาณิชย์ ซ่-อ-ง โ-จ-ร ถูกกฎหมาย
    - โกยเงินคนแก่
    - ฉกเงินคนเกษียณ
    - ล่-อ ห-ล-อ-ก ซื้อกองทุน ซื้อประกัน
    - ปล่อยข้อมูลลูกค้า จนไปถึงมือแกงค์Call เซ็นเตอร์
    - ขูดรีดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด
    - ยึดบ้านผิดหลัง ยึดรถผิดคัน
    - และกำไรกันปีละ 2 หมื่นกว่าล้านบาท ขณะที่คนลำบากค่อนประเทศ
    ถามหาแบ๊งค์ชาติ ทำอะไรอยู่ หรือสาระวนกับดิจิตอลวอลเลท
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #ธนาคารพาณิชย์ ซ่-อ-ง โ-จ-ร ถูกกฎหมาย - โกยเงินคนแก่ - ฉกเงินคนเกษียณ - ล่-อ ห-ล-อ-ก ซื้อกองทุน ซื้อประกัน - ปล่อยข้อมูลลูกค้า จนไปถึงมือแกงค์Call เซ็นเตอร์ - ขูดรีดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด - ยึดบ้านผิดหลัง ยึดรถผิดคัน - และกำไรกันปีละ 2 หมื่นกว่าล้านบาท ขณะที่คนลำบากค่อนประเทศ ถามหาแบ๊งค์ชาติ ทำอะไรอยู่ หรือสาระวนกับดิจิตอลวอลเลท #คิงส์โพธิ์แดง
    Like
    Sad
    4
    0 Comments 0 Shares 293 Views 0 Reviews
  • ♣ เรื่องกลไกธนาคาร ไม่ถามแบงก์ชาติ ไม่ถามธนาคารพาณิชย์ แต่มาถามรัฐบาล หวังโยนบาปโยนผิด ดักดานฝ่ายค้านจริงๆ
    #7ดอกจิก
    #โรม
    #รังสิมันต์โรม
    ♣ เรื่องกลไกธนาคาร ไม่ถามแบงก์ชาติ ไม่ถามธนาคารพาณิชย์ แต่มาถามรัฐบาล หวังโยนบาปโยนผิด ดักดานฝ่ายค้านจริงๆ #7ดอกจิก #โรม #รังสิมันต์โรม
    0 Comments 0 Shares 274 Views 0 Reviews