ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย"

การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน

ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น

ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า

แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ

เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด

สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น

ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว

ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน

แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ

เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท

#Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย" การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
Like
4
0 Comments 0 Shares 588 Views 0 Reviews