• ## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ##
    ..
    ..
    วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ
    .
    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
    .
    จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540
    .
    ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท
    .
    คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท
    .
    ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน
    .
    หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF
    และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม
    .
    ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย
    .
    รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้
    นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ
    รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น
    .
    รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น
    เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้
    .
    ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543
    .
    ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544
    .
    นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด
    .
    ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น
    และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF
    .
    แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้
    โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ
    ....
    ....
    โดย เพจ ฤๅ - Lue History
    .
    https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/
    ## เบื้องหลังมายากลระดับตำนาน ทักษิณ ผู้ปลดหนี้ IMF ด้วยเงิน 5 แสนล้าน ที่ตนเองไม่ได้หา ## .. .. วิกฤตต้มยำกุ้ง เกิดขึ้นในสมัยพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงปีพศ. 2540 มีการโจมตีค่าเงินบาทจากต่างชาติ . ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยในเวลานั้นตัดสินใจใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศสู้การโจมตี ในการพยุงค่าเงินบาท ที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้คงที่ ที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด . จนในที่สุด ทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก ก็แทบจะไม่เหลือ เมื่อพลเอกชวลิตทราบเรื่อง จึงตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาท คือไม่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ 27 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์สหรัฐ แต่ให้ขึ้นลง ตามมูลค่าจริง ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 . ค่าเงินบาทต่อ 1 ดอลล่าห์สหรัฐเคยขึ้นไปสูงถึง 50-56 บาท . คนที่เคยเป็นหนี้เงินกู้ต่างประเทศ 1000 ดอลล่าร์ เทียบเป็นเงินไทย 27000 บาท กลายเป็น 50000 – 56000 บาท . ทุกอย่างพังพินาศในชั่วคืน . หลังเกิดวิกฤต รัฐบาล ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และทาง IMF ก็ออกมาตรการที่เข้มงวดต่อระบบการเงินการคลังให้ไทยตัดรายจ่ายงบประมาณแผ่นดินและเพิ่มภาษีมูลค่าเป็นร้อยละ 10 ทั้ง ๆ ที่วิกฤตนี้เป็นวิกฤตภาคการเงิน ไม่ได้มาจากการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ และไทยเองก็มีการเกินดุลการคลังมาตลอดก่อนหน้า 10 ปี ทำให้มีเงินสะสมในคลังจำนวนมาก แต่ก็อาจจะเป็นเพราะสถานการณ์ในขณะนั้นที่ไทยมีการเติบโตที่ติดลบไปแล้วจึงต้องยอมปฏิบัติตาม . ผลจากวิกฤตนี้ ทำให้นายกชวลิต ลาออก ได้นายกคนใหม่ชื่อ ชวน หลีกภัย . รัฐบาลชวน หลีกภัย ในสมัยที่เข้ามารับช่วงต่อปี 2540 ได้เจรจาให้ IMF ยอมลดเงื่อนไขโดยให้ภาษีมูลค่าเพิ่มไปอยู่ที่ร้อยละ 7 และยอมให้มีการขยายรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเงินกู้จากญี่ปุ่นหลังจากที่เหล่าธนาคารไม่ยอมปล่อยกู้จนทำให้เศรษฐกิจไม่สามารถเดินได้ นอกจากนี้การกอบกู้ไทยจาก IMF โดยมีญี่ปุ่นเป็นหัวหอกและประเทศอื่นๆ ในอาเซียนร่วมใจกัน ซึ่งสามารถระดมเงินมาได้ 17.2 พันล้านเหรียญฯ รัฐบาลชวน ได้เข้ามาควบคุม บริหารจัดการทั้งภาครัฐและเอกชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน โดยการจัดตั้ง องค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงิน (ปรส.) เพื่อจัดการควบรวมกิจการ ประกาศขายกิจการที่มีปัญหาเรื่องสินทรัพย์และหนี้สิน ท่ามกลางข้อครหาว่า เอากิจการที่มีมูลค่าสูงมาขายเลหลังในราคาถูก จนเรียกกันแบบล้อเลียนว่า ออกกฎหมายขายชาติ และมีแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ จนกระทั่งสถานการณ์ทางการเงินการคลังค่อยๆ ดีขึ้น . รัฐบาลไทยเบิกเงินจาก IMF จริงเพียงแค่ 14 พันล้านเหรียญ และทิ้งเงินส่วนที่เหลือ ราว 3 พันล้านเหรียญ และไม่เบิกจาก IMF ต่อในเดือนกันยายน 2542 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ต้องกู้เพิ่มเพราะการกู้มักจะยืดเยื้อไม่จบสิ้น เท่ากับว่า รัฐบาลชวนฯ สามารถกอบกู้ปัญหาดุลการชำระเงินให้เข้าสู่สภาวะปกติและมีเงินสำรองระหว่างประเทศกลับคืนมาอย่างรวดเร็วกว่าที่ IMF คาดไว้ . ดังนั้นกระทรวงการคลังของไทยจึงได้ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยคืนหนี้ IMF ก่อนกำหนด เพราะเงินสำรองที่ถูกใช้เกือบหมดนั้น ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติ แต่ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย อยากให้เก็บเงินสำรองไว้ก่อน จนรัฐบาลชวนหมดวาระในปี 2543 . ประเทศไทยได้นายกคนใหม่ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ในปีพ.ศ. 2544 . นายกทักษิณ ชินวัตรได้เข้ามาบริหารประเทศ เห็นว่ารัฐบาลที่แล้ว เพิ่งใช้หนี้ IMF ไปแค่ส่วนหนึ่ง และเห็นว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลที่แล้วสะสมเอาไว้มีมากพอที่จะใช้หนี้ เพื่อดึงเงินทุนสำรองนี้มาใช้ นายกทักษิณจึงปลดผู้ว่าของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นออก แล้วนำเงินจากกองทุนเงินสำรองที่ได้สะสมเอาไว้จากการบริหารงานของรัฐบาลก่อนหน้าบวกกับเงินกู้จาก ADB อีกส่วนหนึ่ง คืนเจ้าหนี้ IMF ก่อนกำหนด . ข้อดีคือ ความเชื่อมั่นที่มีต่อประเทศไทยของนักลงทุนดีขึ้น สถานการณ์ของประเทศดีขึ้น และใช่ ทักษิณเป็นคนปลดหนี้จาก IMF . แต่เราจะพูดถึงแต่คนที่เอาเงินจากกระเป๋าที่มีเงินอยู่แล้ว ไปปลดหนี้ โดยที่ไม่พูดถึงหรือไม่ให้เครดิตคนที่หาเงิน และบริหารเงินจนมีเงินในกระเป๋ามากพอที่จะใช้หนี้เลย คงจะไม่เป็นการยุติธรรมต่อกลุ่มคนเหล่านั้น มิใช่หรือ .... .... โดย เพจ ฤๅ - Lue History . https://www.facebook.com/share/p/1EqubFQLrq/
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 79 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ณวัฒน์” เผยเคส “ชาล็อต” ตอนนี้ทางปปง.ได้ยึดเงินจากมิจฉาชีพมาได้แล้ว 70 ล้าน ภายใน 1 ปีเตรียมเฉลี่ยคืนให้กับผู้เสียหายที่โดนในเคสเดียวกันนี้ ยอมรับเป็นเคสคนดังที่โชคดีได้เงินคืนและดำเนินการเร็ว บอกมีการเสนอให้ยื่นเรื่องเข้าสภาฯ ให้ทุกธนาคารมีส่วนต้องรับผิดชอบ 70:30 เพราะทุกวันนี้แม้จะร่วมคืนแล้ว 50% แต่ก็ไม่เพึยงพอ และขอให้คนที่ต้องการเปิดบัญชีที่มากกว่า 10 บัญชี ต้องไปขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ถึงจะมาเปิดเพิ่มได้

    ถือว่าเป็นเคสที่โดนมิจฉาชีพหลอกเงินและมีความคืบหน้าที่เร็วมาก ในกรณีที่ “ชาล็อต ออสติน” โดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงินไป 4 ล้านบาท และตอนนี้สามารถจับคนที่เป็นบัญชีม้าที่รับโอนไปได้เรียบร้อย ล่าสุดทาง “บอสณวัฒน์ อิสรไกลศีล” ได้ออกมาบอกความคืบหน้าว่า ได้มีการเข้าประชุมกับคณะกรรมาธิการตำรวจแห่งชาติ พร้อมกับปปง. ว่ามีการยึดเงินจากเคสนี้มาได้ 70 กว่าล้าน เตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหายภายใน 1 ปี

    “เรื่องชาล็อตยังไม่เรียบร้อย มันก็เหมือนความรักแหละ รู้ว่ามีแต่ไม่มา คือเมื่อวันก่อนได้ข้อสรุปว่าเราไปประชุมกับคณะกรรมาธิการตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับปปง. และทางผู้การตำรวจ มากันคณะใหญ่ องค์ประชุมประมาณ 50 คน เยอะมากๆ เป็นวาระที่ใหญ่มากๆ ก็ได้สรุปคุยกันเยอะแยะ ข้อสรุปเลยก็คือตอนนี้ได้ยึดเงินมา 70 กว่าล้านบาท จากโครงสร้างคนที่เป็นเจ้าของบัญชีที่ชาล็อตโอนไป และเจ้าของบัญชีนี้ไม่น่าจะใช่เป็นเพียงบัญชีม้า น่าจะเป็นคนที่ร่วมขบวนการ เพราะมีประวัติข้ามไปประเทศเพื่อนบ้าน ไปและกลับๆ และบัญชีที่ได้มาส่วนมากแล้วจะไปซื้อบิทคอยน์ทันที แต่ก่อนบัญชีม้าจะมีหลายเลเยอร์ คนนี้เอาไป 2 ล้าน ไปกระจายคนละแสนๆ 20 บัญชีก็ถอยไปอีกคนละ 2-3 บัญชี มันก็จะย่อยลงไป"

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000003263

    #MGROnline #ณวัฒน์ #ชาล็อต
    “ณวัฒน์” เผยเคส “ชาล็อต” ตอนนี้ทางปปง.ได้ยึดเงินจากมิจฉาชีพมาได้แล้ว 70 ล้าน ภายใน 1 ปีเตรียมเฉลี่ยคืนให้กับผู้เสียหายที่โดนในเคสเดียวกันนี้ ยอมรับเป็นเคสคนดังที่โชคดีได้เงินคืนและดำเนินการเร็ว บอกมีการเสนอให้ยื่นเรื่องเข้าสภาฯ ให้ทุกธนาคารมีส่วนต้องรับผิดชอบ 70:30 เพราะทุกวันนี้แม้จะร่วมคืนแล้ว 50% แต่ก็ไม่เพึยงพอ และขอให้คนที่ต้องการเปิดบัญชีที่มากกว่า 10 บัญชี ต้องไปขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ถึงจะมาเปิดเพิ่มได้ • ถือว่าเป็นเคสที่โดนมิจฉาชีพหลอกเงินและมีความคืบหน้าที่เร็วมาก ในกรณีที่ “ชาล็อต ออสติน” โดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงินไป 4 ล้านบาท และตอนนี้สามารถจับคนที่เป็นบัญชีม้าที่รับโอนไปได้เรียบร้อย ล่าสุดทาง “บอสณวัฒน์ อิสรไกลศีล” ได้ออกมาบอกความคืบหน้าว่า ได้มีการเข้าประชุมกับคณะกรรมาธิการตำรวจแห่งชาติ พร้อมกับปปง. ว่ามีการยึดเงินจากเคสนี้มาได้ 70 กว่าล้าน เตรียมเฉลี่ยคืนผู้เสียหายภายใน 1 ปี • “เรื่องชาล็อตยังไม่เรียบร้อย มันก็เหมือนความรักแหละ รู้ว่ามีแต่ไม่มา คือเมื่อวันก่อนได้ข้อสรุปว่าเราไปประชุมกับคณะกรรมาธิการตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับปปง. และทางผู้การตำรวจ มากันคณะใหญ่ องค์ประชุมประมาณ 50 คน เยอะมากๆ เป็นวาระที่ใหญ่มากๆ ก็ได้สรุปคุยกันเยอะแยะ ข้อสรุปเลยก็คือตอนนี้ได้ยึดเงินมา 70 กว่าล้านบาท จากโครงสร้างคนที่เป็นเจ้าของบัญชีที่ชาล็อตโอนไป และเจ้าของบัญชีนี้ไม่น่าจะใช่เป็นเพียงบัญชีม้า น่าจะเป็นคนที่ร่วมขบวนการ เพราะมีประวัติข้ามไปประเทศเพื่อนบ้าน ไปและกลับๆ และบัญชีที่ได้มาส่วนมากแล้วจะไปซื้อบิทคอยน์ทันที แต่ก่อนบัญชีม้าจะมีหลายเลเยอร์ คนนี้เอาไป 2 ล้าน ไปกระจายคนละแสนๆ 20 บัญชีก็ถอยไปอีกคนละ 2-3 บัญชี มันก็จะย่อยลงไป" • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/entertainment/detail/9680000003263 • #MGROnline #ณวัฒน์ #ชาล็อต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 161 มุมมอง 0 รีวิว
  • 11ม.ค.2568 เมื่อเวลา 19.00 น.ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กทม. นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ(คปท.) ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยถึงทิศทางการจัดกิจกรรม “ปีเช็คบิลป่วยทิพย์ชั้น 14 แพทยสภาถึงเวลารักษาความยุติธรรม หยุด-ระบอบชินวัตร หยุด-เอ็มโอยู 44 หยุด-บ่อนคาสิโน” ว่า จากที่เราประกาศชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ม.ค.67 ซึ่งเป็นวันเด็ก จนถึงวันนี้เราชุมนุมครอบรอบ 1 ปีพอดี การต่อสู้กับระบอบชินวัตรที่ผ่านมาของพวกเรา เห็นผลได้ชัดเจนจากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ จากการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รวมถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรมว.คลัง ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติในการมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (บอร์ดแบงค์ชาติ) ผ่านมาจนปีนี้มีเรื่องที่เราต้องติดตาม ตนอยากชวนให้ทุกคนเตรียมรองเท้าผ้าใบให้พร้อม ปีนี้เราจะเช็คบิลเทวดาชั้น 14 เพื่อสร้างระบบนิติรัฐ
    นิติธรรม

    นายพิชิต กล่าวต่อว่า เรามี 2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.ขอให้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แสดงความรับผิดชอบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ไปช่วยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โดยการลาออก 2.เรียกร้องให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง ลาออก จากกรณีเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ เป็นประธานบอร์แบงค์ชาติ จนไม่ผ่านคุณสมบัติ ขณะที่ 5 เรื่องที่ต้องคัดค้าน คือ 1.ยกเลิก MOU44 2.คัดค้านบ่อนคาสิโน 3.คัดค้านพนันออนไลน์ 4.เช่าที่ 99 ปี ที่เป็นการขายชาติ และ 5.คัดค้านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำให้ประเทศเสียหาย

    ส่วน 2 เรื่องที่ต้องให้กำลังใจ คือ 1.ให้กำลังใจป.ป.ช. เดินหน้าเอานักโทษมาติดคุกให้ได้ และ 2.ให้กำลังใจแพทยสภาในการเรียกเวชระเบียนมาตรวจสอบเพื่อผดุงจรรยาบรรณทางการแพทย์ แพทยสภาต้องฉีดยาความจริงให้ประเทศ อย่าไปเอื้อแพทย์ด้วยกันที่ทำผิด ทั้งนี้ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ขอให้ทุกคนใส่รองเท้าผ้าใบ เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) เพื่อทวงถามเวชระเบียนจากโรงพยาบาลตำรวจ และวันที่ 15 ม.ค. จะเดินทางไปที่แพทยสภา ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจในการทวงถามเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันอาการป่วยของนายทักษิณ แต่ถ้าในวันดังกล่าวแพทยสภาบอกว่ายังไม่ได้รับเอกสารใดๆ เราก็จะพร้อมใส่รองเท้าผ้าใบมาทวงถามที่ทำเนียบรัฐบาล

    นายพิชิต กล่าวว่า และอีก 1 เรื่องต้องจับตาที่จะเป็นชนวนในการเช็คบิลนายทักษิณ คือการที่นายทักษิณประกาศพาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ น้องสาว กลับบ้านในเดือนเม.ย.นี้ ถ้ากลับมาแล้วเป็นนักโทษนางฟ้าเหมือนพี่ชาย เราก็เตรียมออกมาไล่รัฐบาลของน.ส.แพทองธารได้ทันที อย่างไรก็ตาม เรามีสิ่งต้องตามทวงถาม โดยเฉพาะกรณีชั้น 14 นอกเหนือจากการทำลายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังทำลายประเทศเราด้วย ด้วยการที่มีบุคคลหนึ่งทำลายเสาหลักของระบบนิติรัฐ นิติธรรม นอกจากที่แพทยสภาแล้ว ผบ.ตร.ต้องสั่งการให้ส่งเวชระเบียนนายทักษิณไปที่ป.ป.ช.ที่มีการเรียกขอมาก่อนหน้านี้ด้วย เพราะตามหลักการแล้วหลักฐานอยู่ในมือตำรวจก็ต้องมาแสดง แต่ถ้ากลับทำลายหลักฐานเสียเอง หรือยับนิ่งเฉย ผบ.ตร.ก็ต้องลาออกด้วย

    นายพิชิต กล่าวต่อว่า นายทักษิณ ใช้อำนาจเหนือรัฐ เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ไปประกาศว่า จะนำกำลังไปบุกประเทศเพื่อนบ้าน ประกาศทุบค่าไฟ ใช้อำนาจอะไรสั่งการ วันนี้ประเทศไทยมีอำนาจซ้อนอำนาจ มีอำนาจเหนือรัฐ นายทักษิณใช้อำนาจเต็มที่ กลายเป็นรัฐบาลไม่กล้าใช้อำนาจรัฐ ขณะเดียวกันวันนี้เป็นวันเด็ก มีเด็กๆไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจ แต่ตนบอกว่าเรามีเด็กนั่งเป็นนายกฯมานานหลายเดือนแล้ว อย่าว่าแต่เด็กไปนั่งเก้าอี้นายกฯเลย ทุกวันนี้นายกฯยังเป็นนั่งอยู่ในเก้าอี้อยู่เลย นายกฯไม่มีผลงานอะไรเด่นเลยสักเรื่อง มีเด่นอยู่อย่างเดียว คือแต่งตัวให้ถูกเขาด่าได้ทุกวันทั้งประเทศ

    นายพิชิต กล่าวด้วยว่า ที่นายทักษิณ บอกว่าเป็นโรคเอ็นเปื่อย ทางการแพทย์ไม่มีระบุ มันมีที่ไหน มันไม่ใช่ลูกชิ้นเนื้อเปื่อย คนเป็นโรคเอ็นเปื่อยจะไปตีกอล์ฟออกแรงสวิงได้อย่างไร คนป่วยติดเตียง 180 วันออกมามันจะแข็งแรงได้อย่างไร และที่นายทักษิณ บอกว่ายังไงก็เอาเขากลับเข้าเรือนจำไม่ได้ เมื่อความจริงปรากฎ แนวร่วมเริ่มเกิดขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดกองกฐินที่มาเรื่อยๆจะมาไหลรวมกันที่ทำเนียบรัฐบาล มันหนีไม่ออก น.ส.แพทองธาร ก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยเช่นกัน

    “ที่นายทักษิณบอกว่าให้นำพนันออนไลน์ขึ้นมาบนดิน แล้วจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส บอกว่าสามารถทำได้ ทักษิณพูดรัฐมนตรีทำแบบนี้ไม่เรียกสั่งการครอบงำได้อย่างไร คนเห็นทั้งประเทศ ที่มองไม่เห็นอยู่ 5 คนคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. วันนี้กกต.เริ่มพูด การหาเสียงท้องถิ่นหากไปพูดนโยบายรัฐ สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย เข้าข่ายการซื้อเสียงผ่านนโยบายรัฐหรือไม่ เราก็ไปยื่นให้กกต.ตรวจสอบแล้ว ตามสิทธิ์ของประชาชนที่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ พอเข้าไปตรวจสอบ ก็หาว่าก่อความวุ่นวาย ตกลงจะให้เราจะนั่งอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พวกคุณโกงกันหรือไง พอเข้าไปตรวจสอบตามระบบ ก็บอกว่าจะฟ้องกลับ ผมก็ยินดี คดีผมเยอะแล้ว เพิ่มอีกคดีไม่เห็นเป็นอะไร“ แกนนำคปท. กล่าว

    ที่มา : แนวหน้า
    https://www.naewna.com/politic/852717?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR19m8JG0ju8L-nNUgU4KBHxiBlnVnUyNAETuDlRU-38FCSvoWDScdrkQ5A_aem_xZPNNwpQAvULZKuNZxIqKQ#nwrsmlxrnogt5ygxo7xkpqorilo2jdzh
    11ม.ค.2568 เมื่อเวลา 19.00 น.ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน กทม. นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ(คปท.) ขึ้นเวทีกล่าวปราศรัยถึงทิศทางการจัดกิจกรรม “ปีเช็คบิลป่วยทิพย์ชั้น 14 แพทยสภาถึงเวลารักษาความยุติธรรม หยุด-ระบอบชินวัตร หยุด-เอ็มโอยู 44 หยุด-บ่อนคาสิโน” ว่า จากที่เราประกาศชุมนุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ม.ค.67 ซึ่งเป็นวันเด็ก จนถึงวันนี้เราชุมนุมครอบรอบ 1 ปีพอดี การต่อสู้กับระบอบชินวัตรที่ผ่านมาของพวกเรา เห็นผลได้ชัดเจนจากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ จากการแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รวมถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรมว.คลัง ที่ไม่ผ่านคุณสมบัติในการมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (บอร์ดแบงค์ชาติ) ผ่านมาจนปีนี้มีเรื่องที่เราต้องติดตาม ตนอยากชวนให้ทุกคนเตรียมรองเท้าผ้าใบให้พร้อม ปีนี้เราจะเช็คบิลเทวดาชั้น 14 เพื่อสร้างระบบนิติรัฐ นิติธรรม นายพิชิต กล่าวต่อว่า เรามี 2 ข้อเรียกร้อง คือ 1.ขอให้พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แสดงความรับผิดชอบกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลข้าราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ที่ไปช่วยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ โดยการลาออก 2.เรียกร้องให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯ และรมว.คลัง ลาออก จากกรณีเสนอชื่อนายกิตติรัตน์ เป็นประธานบอร์แบงค์ชาติ จนไม่ผ่านคุณสมบัติ ขณะที่ 5 เรื่องที่ต้องคัดค้าน คือ 1.ยกเลิก MOU44 2.คัดค้านบ่อนคาสิโน 3.คัดค้านพนันออนไลน์ 4.เช่าที่ 99 ปี ที่เป็นการขายชาติ และ 5.คัดค้านการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต ที่ทำให้ประเทศเสียหาย ส่วน 2 เรื่องที่ต้องให้กำลังใจ คือ 1.ให้กำลังใจป.ป.ช. เดินหน้าเอานักโทษมาติดคุกให้ได้ และ 2.ให้กำลังใจแพทยสภาในการเรียกเวชระเบียนมาตรวจสอบเพื่อผดุงจรรยาบรรณทางการแพทย์ แพทยสภาต้องฉีดยาความจริงให้ประเทศ อย่าไปเอื้อแพทย์ด้วยกันที่ทำผิด ทั้งนี้ ในวันที่ 13 ม.ค.นี้ เวลา 10.30 น. ขอให้ทุกคนใส่รองเท้าผ้าใบ เดินทางไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) เพื่อทวงถามเวชระเบียนจากโรงพยาบาลตำรวจ และวันที่ 15 ม.ค. จะเดินทางไปที่แพทยสภา ที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้กำลังใจในการทวงถามเอกสารสำคัญเพื่อยืนยันอาการป่วยของนายทักษิณ แต่ถ้าในวันดังกล่าวแพทยสภาบอกว่ายังไม่ได้รับเอกสารใดๆ เราก็จะพร้อมใส่รองเท้าผ้าใบมาทวงถามที่ทำเนียบรัฐบาล นายพิชิต กล่าวว่า และอีก 1 เรื่องต้องจับตาที่จะเป็นชนวนในการเช็คบิลนายทักษิณ คือการที่นายทักษิณประกาศพาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ น้องสาว กลับบ้านในเดือนเม.ย.นี้ ถ้ากลับมาแล้วเป็นนักโทษนางฟ้าเหมือนพี่ชาย เราก็เตรียมออกมาไล่รัฐบาลของน.ส.แพทองธารได้ทันที อย่างไรก็ตาม เรามีสิ่งต้องตามทวงถาม โดยเฉพาะกรณีชั้น 14 นอกเหนือจากการทำลายกระบวนการยุติธรรมแล้ว ยังทำลายประเทศเราด้วย ด้วยการที่มีบุคคลหนึ่งทำลายเสาหลักของระบบนิติรัฐ นิติธรรม นอกจากที่แพทยสภาแล้ว ผบ.ตร.ต้องสั่งการให้ส่งเวชระเบียนนายทักษิณไปที่ป.ป.ช.ที่มีการเรียกขอมาก่อนหน้านี้ด้วย เพราะตามหลักการแล้วหลักฐานอยู่ในมือตำรวจก็ต้องมาแสดง แต่ถ้ากลับทำลายหลักฐานเสียเอง หรือยับนิ่งเฉย ผบ.ตร.ก็ต้องลาออกด้วย นายพิชิต กล่าวต่อว่า นายทักษิณ ใช้อำนาจเหนือรัฐ เป็นผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น แต่ไปประกาศว่า จะนำกำลังไปบุกประเทศเพื่อนบ้าน ประกาศทุบค่าไฟ ใช้อำนาจอะไรสั่งการ วันนี้ประเทศไทยมีอำนาจซ้อนอำนาจ มีอำนาจเหนือรัฐ นายทักษิณใช้อำนาจเต็มที่ กลายเป็นรัฐบาลไม่กล้าใช้อำนาจรัฐ ขณะเดียวกันวันนี้เป็นวันเด็ก มีเด็กๆไปนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีถ่ายรูปด้วยความภาคภูมิใจ แต่ตนบอกว่าเรามีเด็กนั่งเป็นนายกฯมานานหลายเดือนแล้ว อย่าว่าแต่เด็กไปนั่งเก้าอี้นายกฯเลย ทุกวันนี้นายกฯยังเป็นนั่งอยู่ในเก้าอี้อยู่เลย นายกฯไม่มีผลงานอะไรเด่นเลยสักเรื่อง มีเด่นอยู่อย่างเดียว คือแต่งตัวให้ถูกเขาด่าได้ทุกวันทั้งประเทศ นายพิชิต กล่าวด้วยว่า ที่นายทักษิณ บอกว่าเป็นโรคเอ็นเปื่อย ทางการแพทย์ไม่มีระบุ มันมีที่ไหน มันไม่ใช่ลูกชิ้นเนื้อเปื่อย คนเป็นโรคเอ็นเปื่อยจะไปตีกอล์ฟออกแรงสวิงได้อย่างไร คนป่วยติดเตียง 180 วันออกมามันจะแข็งแรงได้อย่างไร และที่นายทักษิณ บอกว่ายังไงก็เอาเขากลับเข้าเรือนจำไม่ได้ เมื่อความจริงปรากฎ แนวร่วมเริ่มเกิดขึ้นเรื่อยๆ ท้ายที่สุดกองกฐินที่มาเรื่อยๆจะมาไหลรวมกันที่ทำเนียบรัฐบาล มันหนีไม่ออก น.ส.แพทองธาร ก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองด้วยเช่นกัน “ที่นายทักษิณบอกว่าให้นำพนันออนไลน์ขึ้นมาบนดิน แล้วจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอีเอส บอกว่าสามารถทำได้ ทักษิณพูดรัฐมนตรีทำแบบนี้ไม่เรียกสั่งการครอบงำได้อย่างไร คนเห็นทั้งประเทศ ที่มองไม่เห็นอยู่ 5 คนคือคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต. วันนี้กกต.เริ่มพูด การหาเสียงท้องถิ่นหากไปพูดนโยบายรัฐ สุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย เข้าข่ายการซื้อเสียงผ่านนโยบายรัฐหรือไม่ เราก็ไปยื่นให้กกต.ตรวจสอบแล้ว ตามสิทธิ์ของประชาชนที่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ พอเข้าไปตรวจสอบ ก็หาว่าก่อความวุ่นวาย ตกลงจะให้เราจะนั่งอยู่เฉยๆ ปล่อยให้พวกคุณโกงกันหรือไง พอเข้าไปตรวจสอบตามระบบ ก็บอกว่าจะฟ้องกลับ ผมก็ยินดี คดีผมเยอะแล้ว เพิ่มอีกคดีไม่เห็นเป็นอะไร“ แกนนำคปท. กล่าว ที่มา : แนวหน้า https://www.naewna.com/politic/852717?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR19m8JG0ju8L-nNUgU4KBHxiBlnVnUyNAETuDlRU-38FCSvoWDScdrkQ5A_aem_xZPNNwpQAvULZKuNZxIqKQ#nwrsmlxrnogt5ygxo7xkpqorilo2jdzh
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 363 มุมมอง 0 รีวิว
  • "จบข่าว"

    คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะได้มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติของ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจากการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพิจารณาคุณสมบัติในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พิจารณาแยกเป็นข้อๆ ตามแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
    .
    กรรมการกฤษฎีกากล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของนายกิตติรัตน์ไม่ได้ดูข้อใดข้อหนึ่งเป็นพิเศษ แต่พิจารณาทั้งพฤติกรรมและการทำงานทั้งหมด จึงมีความเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. ซึ่งถือเป็นการตัดสินที่สำคัญ

    https://www.thansettakij.com/business/615414
    "จบข่าว" คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะได้มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติของ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังจากการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยพิจารณาคุณสมบัติในภาพรวมทั้งหมด ไม่ได้พิจารณาแยกเป็นข้อๆ ตามแหล่งข่าวจากคณะกรรมการกฤษฎีกา . กรรมการกฤษฎีกากล่าวว่า การพิจารณาคุณสมบัติของนายกิตติรัตน์ไม่ได้ดูข้อใดข้อหนึ่งเป็นพิเศษ แต่พิจารณาทั้งพฤติกรรมและการทำงานทั้งหมด จึงมีความเห็นว่าไม่ผ่านเกณฑ์สำหรับตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. ซึ่งถือเป็นการตัดสินที่สำคัญ https://www.thansettakij.com/business/615414
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายกฯ บอก “กิตติรัตน์” ไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ด ธปท.ให้เป็นไปตามขั้นตอน ปัดตอบเรื่องค่าแรง 400 บาท มอบหมาย "สมคิด" คุย"สนธิ" ทวงคำตอบให้ยุติ MOU44

    วันนี้(24 ธ.ค.) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยก่อนเข้าประชุม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ

    เมื่อถามต่อว่าจะต้องล้มกระบวนการและมีการสรรหาใหม่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตอบคำถาม

    ผู้สื่อข่าวจึงถามถึงมาตรการค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ไม่ตอบเช่นเดียวกัน

    ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินเข้าตึกบัญชาการผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าขอให้นายกรัฐมนตรี เตรียมคำตอบ เพราะวันนี้ครบกำหนดที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะทวงคำตอบเรื่องให้ยุติเอ็มโอยู 2544 ที่เคยยื่นไว้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีหันมาพร้อมผายมือไปที่นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมระบุว่า เดี๋ยวมีคนคุย

    #MGROnline #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ด #ธปท. #ค่าแรง #400บาท
    นายกฯ บอก “กิตติรัตน์” ไม่ผ่านคุณสมบัตินั่งประธานบอร์ด ธปท.ให้เป็นไปตามขั้นตอน ปัดตอบเรื่องค่าแรง 400 บาท มอบหมาย "สมคิด" คุย"สนธิ" ทวงคำตอบให้ยุติ MOU44 • วันนี้(24 ธ.ค.) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยก่อนเข้าประชุม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ต้องว่ากันไปตามกระบวนการ • เมื่อถามต่อว่าจะต้องล้มกระบวนการและมีการสรรหาใหม่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ตอบคำถาม • ผู้สื่อข่าวจึงถามถึงมาตรการค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีก็ไม่ตอบเช่นเดียวกัน • ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินเข้าตึกบัญชาการผู้สื่อข่าวจึงบอกว่าขอให้นายกรัฐมนตรี เตรียมคำตอบ เพราะวันนี้ครบกำหนดที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล จะทวงคำตอบเรื่องให้ยุติเอ็มโอยู 2544 ที่เคยยื่นไว้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรีหันมาพร้อมผายมือไปที่นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง พร้อมระบุว่า เดี๋ยวมีคนคุย • #MGROnline #กิตติรัตน์ #ประธานบอร์ด #ธปท. #ค่าแรง #400บาท
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 286 มุมมอง 0 รีวิว
  • สะพัดปลัดกระทรวงการคลังระบุ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์แบงก์ชาติ แต่ให้ไปถาม "พิชัย" เอาเอง คาดขัดคุณสมบัติดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง เผย 2 แนวทาง เลือก "กุลิศ สมบัติศิริ" อดีตปลัดพลังงาน 1 ในแคนดิเดตที่เหลือ หรือคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น
    .
    วันนี้ (24 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนรายละเอียดในฐานะปลัดกระทรวงการคลังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยข้อมูล
    .
    “มีการคอนเฟิร์มแล้วว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ผ่านคุณสมบัติ รายละเอียดต้องไปถามรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง” นายลวรณ กล่าว
    .
    ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังไม่เคยเกิดปัญหาแบบนี้มาก่อน ส่วนแนวทางการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติขั้นตอนต่อไปอาจจะออกมาสองแนวทางคือ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และในฐานะประธานคัดเลือก ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะเลือกนายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ รมว.คลังพิจารณา หรืออีกแนวทางคือ เริ่มการคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น
    .
    รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับรายชื่อที่เข้ารับการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มี 3 ราย คือ นายกิตติรัตน์ เสนอโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ศาสตราจารย์ประจำสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
    .
    ปรากฎว่าที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 มีมติเลือกนายกิตติรัตน์เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หลังการประชุมผ่านไป 5 ชั่วโมง แต่ไม่มีกรรมการคนใดออกมาให้สัมภาษณ์ รวมทั้งนายสถิตย์เอง ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ก็เดินทางกลับไปในทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์ที่น้อมนำธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยื่นหนังสือคัดค้านนายกิตติรัตน์ และมีผู้ชุมนุมจากกองทัพธรรม ร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ปักหลักชุมนุมหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม
    .
    ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุที่นายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจาก คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2485 ข้อ 4 ระบุไว้ว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" และข้อ 5 ระบุว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วหนึ่งปี"
    .
    หากพิจารณาจากตำแหน่งในทางการเมืองของนายกิตติรัตน์ ทั้งในบทบาทของประธานที่ปรึกษาของนายกฯ ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย จึงน่าจะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติ และอาจจะกลายเป็นปัญหาหากมีผู้ร้องว่าเป็นการแต่งตั้งที่ขัดกฎหมายดังกล่าว
    .
    ก่อนหน้านี้ นายพิชัย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ว่า เรื่องดังกล่าวอาจล่าช้าและจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือน ม.ค. 2568
    ..............
    Sondhi X
    สะพัดปลัดกระทรวงการคลังระบุ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติประธานบอร์แบงก์ชาติ แต่ให้ไปถาม "พิชัย" เอาเอง คาดขัดคุณสมบัติดำรงตำแหน่งทางการเมืองและพรรคการเมือง เผย 2 แนวทาง เลือก "กุลิศ สมบัติศิริ" อดีตปลัดพลังงาน 1 ในแคนดิเดตที่เหลือ หรือคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น . วันนี้ (24 ธ.ค.) หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ รายงานโดยอ้างแหล่งข่าว นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้รับทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.คลัง และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่วนรายละเอียดในฐานะปลัดกระทรวงการคลังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เปิดเผยข้อมูล . “มีการคอนเฟิร์มแล้วว่า นายกิตติรัตน์ ไม่ผ่านคุณสมบัติ รายละเอียดต้องไปถามรองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง” นายลวรณ กล่าว . ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีดังกล่าวยังไม่เคยเกิดปัญหาแบบนี้มาก่อน ส่วนแนวทางการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติขั้นตอนต่อไปอาจจะออกมาสองแนวทางคือ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และในฐานะประธานคัดเลือก ประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย อาจจะเลือกนายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงแรงงาน ให้ รมว.คลังพิจารณา หรืออีกแนวทางคือ เริ่มการคัดเลือกกันใหม่ตั้งแต่ต้น . รายงานข่าวเพิ่มเติมระบุว่า สำหรับรายชื่อที่เข้ารับการคัดเลือกประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มี 3 ราย คือ นายกิตติรัตน์ เสนอโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และนายสุรพล นิติไกรพจน์ ศาสตราจารย์ประจำสาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอโดยธนาคารแห่งประเทศไทย . ปรากฎว่าที่ประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2567 มีมติเลือกนายกิตติรัตน์เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หลังการประชุมผ่านไป 5 ชั่วโมง แต่ไม่มีกรรมการคนใดออกมาให้สัมภาษณ์ รวมทั้งนายสถิตย์เอง ที่มีข่าวก่อนหน้านี้ว่าจะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ก็เดินทางกลับไปในทันที โดยไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ ซึ่งในวันดังกล่าวได้มีตัวแทนคณะศิษยานุศิษย์ที่น้อมนำธรรมองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ยื่นหนังสือคัดค้านนายกิตติรัตน์ และมีผู้ชุมนุมจากกองทัพธรรม ร่วมกับเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ปักหลักชุมนุมหน้าธนาคารแห่งประเทศไทย บางขุนพรหม . ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุที่นายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากเมื่อพิจารณาจาก คุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย 2485 ข้อ 4 ระบุไว้ว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" และข้อ 5 ระบุว่า "ต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหน่งมาแล้วหนึ่งปี" . หากพิจารณาจากตำแหน่งในทางการเมืองของนายกิตติรัตน์ ทั้งในบทบาทของประธานที่ปรึกษาของนายกฯ ในสมัยรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน และตำแหน่งประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย จึงน่าจะเข้าข่ายขัดคุณสมบัติ และอาจจะกลายเป็นปัญหาหากมีผู้ร้องว่าเป็นการแต่งตั้งที่ขัดกฎหมายดังกล่าว . ก่อนหน้านี้ นายพิชัย ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2567 ว่า เรื่องดังกล่าวอาจล่าช้าและจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ในช่วงเดือน ม.ค. 2568 .............. Sondhi X
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 812 มุมมอง 0 รีวิว
  • ด่วน!
    กฤษฎีกาชี้ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัตินั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" เตรียมเปิดสรรหาใหม่เร็วๆ นี้

    ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงการคลังทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
    ขณะที่รายละเอียดต้องรอ พิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง ออกมาเปิดเผยอีกครั้งหนึ่ง
    ด่วน! กฤษฎีกาชี้ "กิตติรัตน์" ขาดคุณสมบัตินั่ง "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" เตรียมเปิดสรรหาใหม่เร็วๆ นี้ ลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยเรื่องดังกล่าวว่า กระทรวงการคลังทราบผลการตีความทางกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" ไม่ผ่านคุณสมบัติที่จะเข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขณะที่รายละเอียดต้องรอ พิชัย ชุณหวชิร รมว.คลัง ออกมาเปิดเผยอีกครั้งหนึ่ง
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 235 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน

    น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน

    ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น

    ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568

    อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ

    เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ

    สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล

    #Newskit
    ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568 อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 589 มุมมอง 0 รีวิว
  • "พิชัย" ขอเวลาสอบคุณสมบัติ "กิตติรัตน์" นั่ง ปธ.บอร์ด ธปท. ถึง ม.ค.68 (11/12/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #คลัง #ธนาคารแห่งประเทศไทย # ปธ.บอร์ด ธปท.
    "พิชัย" ขอเวลาสอบคุณสมบัติ "กิตติรัตน์" นั่ง ปธ.บอร์ด ธปท. ถึง ม.ค.68 (11/12/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #คลัง #ธนาคารแห่งประเทศไทย # ปธ.บอร์ด ธปท.
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 758 มุมมอง 38 0 รีวิว
  • 25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้

๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
    25 พ.ย.2567 - นายแก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง ปัญหา “ความเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”ของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง มีเนื้อหาดังนี้

๑.ข้อเท็จจริง นายกิตติรัตน์ ถือได้ว่าเป็นมือไม้ทำงานทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยโดยแท้ พ้นจาก กลต.แล้ว ก็รับงานเป็นรัฐมนตรีทั้งคลังและพาณิชย์ ให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ แม้ช่วงพรรคเพื่อไทยต้องหยุดงานการเมืองสมัย คสช. นายกิตติรัตน์ก็ไปรับเป็นที่ปรึกษา ให้ นายกฯอบจ.เชียงใหม่ เมื่อเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาล นายกฯเศรษฐา ก็ตั้งให้เป็นประธานที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และพ้นตำแหน่งตามนายกฯเศรษฐาไปในที่สุด๒. พรรคเพื่อไทยกับธนาคารกลาง แนวทางเศรษฐกิจ “ทักษิโณมิคส์” ของทักษิณเน้นการอัดฉีดเงินเข้าระบบมาโดยตลอด ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดกับผู้บริหารธนาคารกลางเป็นระยะเรื่อยมา ทั้งนโยบายดอกเบี้ย และการจัดการเงินเฟ้อ จนมาถึงปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยพบปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงนี้ นโยบายแจกเงินดิจิตอลก็บานปลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างฐานคิดทางการเมือง กับฐานคิดในเรื่องความมั่นคงทางการเงินของชาติอย่างชัดเจนยิ่ง มีรัฐมนตรีของพรรคออกมาตำหนิติเตียนธนาคารกลางอย่างเปิดเผยกร้าวร้าวเป็นระยะ ดังตัวนายกิตติรัตน์เองก็เคยประกาศเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีคลังว่า เฝ้าคิดจะปลดผู้ว่าธนาคารกลางอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันเลยทีเดียว๓. พฤติการณ์ “ยึดครองส่วนราชการ” ของ “ระบอบทักษิณ” ระบอบนี้ไม่เคยยอมรับและเคารพในอิสระของราชการประจำที่ต้องยึดมั่นในระเบียบแบบแผนและเหตุผลเป็นหลัก เหตุเพราะพรรคชินวัตรนี้เป็น “เผด็จการพรรคการเมืองนายทุน” มุ่งเอาเงินมาสร้างอำนาจและเอาอำนาจมาสร้างเงินตลอดเวลา ครองอำนาจเมื่อใดก็จะหาทางยึดครองส่วนราชการมาเป็นเบ๊ทุกครั้งไป ทั้งกระทรวงทบวงกรม รัฐวิสาหกิจ ธนาคารของรัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร จนปัจจุบันก็ได้สร้างคดีความให้เจ้าหน้าที่กับลูกมือของพรรคต้องโทษติดคุกมากมายหลายคน ซึ่งตัวทักษิณเอง ก็ได้ยอมรับความผิดนานาของตนในคำขอพระราชทานอภัยโทษมาแล้วเช่นกัน ด้วยพฤติการณ์ยึดครองอันเป็นนิสัยฝังลึกเช่นนี้นี่เอง ที่ทำให้การส่งนายกิตติรัตน์ผ่านกระบวนการสรรหาจนสำเร็จ ผ่านเป็นรายชื่อเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารกลางในครั้งนี้ ต้องถูกมองว่า เป็นก้าวแรกของการแทรกซึมเข้ายึดครองการบริหารโดยเด็ดขาดต่อไป ทั้งในการแต่งตั้งผู้ว่าการธนาคาร และคณะกรรมการสำคัญสามคณะ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ แล้วกลายเป็นเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านต่อต้านขึ้นทั่วไป จนทุกวันนี้ในที่สุด๔. ความผิดพลาดในการแต่งตั้งนายกิตติรัตน์ เป็นประธานธนาคารกลาง ระยะห่างจากการเมืองของธนาคารกลางเป็นหลักการสากลที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายธนาคารชาติก็พยายามวางหลักประกันไว้หลายมาตรการด้วยกัน โดยเฉพาะในการแต่งตั้งตำแหน่งสำคัญทุกตำแหน่งนั้น ก็กำหนดไว้ว่า จะต้องไม่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเคยเป็น ก็ต้องพ้นตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ซึ่งก็ทำให้กรณีของนายกิตติรัตน์ เกิดปัญหาเป็นข้อพิจารณาสองประการดังนี้๔.๑) ความขัดแย้งต่อกฎหมาย มีข้อพิจารณาว่า การที่นายกิตติรัตน์ พ้นตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ในสมัยนายกฯเศรษฐามาไม่ถึง ๑ ปี นั้น ตำแหน่งนี้เป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ที่ต้องห้ามตาม มาตรา ๑๘ ของ พรบ.ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือไม่ ต่อปัญหานี้มีแนววินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ ๔๘๑/๒๕๓๕ เคยวางไว้เป็นบรรทัดฐานแล้วว่า คำนี้ครอบคลุมถึง “ผู้ช่วยรัฐมนตรี”ด้วย ทั้งๆที่ตำแหน่งนี้มิใช่ตำแหน่งตามกฎหมายฉบับใด สำหรับเหตุผลนั้นกฤษฎีกาก็อธิบายว่า เป็นคำที่กว้างกว่า “ข้าราชการการเมือง” หมายมุ่งให้ครอบคลุมบุคลากรทั้งหมดที่มีหน้าที่หรือมีส่วนร่วมในการอำนวยการปกครองประเทศ ดังนั้นหากยึดถือตามความหมายอย่างกว้างนี้ ตำแหน่ง “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ที่นายกฯใช้อำนาจตามกฎหมายแต่งตั้งขึ้น แล้วกำหนดให้ทุกส่วนราชการให้ความร่วมมือตามที่ท่านสั่งการนั้น จึงอยู่ในวิสัยที่จะตีความให้ถือเป็น “ตำแหน่งทางการเมือง”ได้ ซึ่งหาก ครม.นี้ ด่วนมีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งและนำความขึ้นกราบบังคมทูลแล้ว กรณีก็อาจเป็นปัญหาโต้แย้งขึ้นมาได้ในภายหลัง หนทางที่รัดกุมที่สุดจึงควรที่จะมีมติให้นำปัญหานี้ปรึกษาคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน เพื่อที่หากภายหลังมีผู้นำคดีขึ้นสู่ศาลปกครองแล้ว รัฐบาลก็จะมีความเห็นทางกฎหมายที่รัดกุมอธิบายได้เสมอ๔.๒) การใช้ดุลพินิจโดยผิดพลาด ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่นายกฯรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานั้น อาจเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีอิสระทางความคิดเคารพตนเอง หรืออาจเป็นเพียงมือไม้ที่คอยรับใช้คิดอ่านให้ตามที่พรรคการเมืองต้องการเท่านั้นก็ได้ ดังนั้นแม้กรรมการสรรหาจะเห็นว่าตำแหน่งนี้ไม่ใช่ “ตำแหน่งทางการเมือง”ก็ตาม กรรมการก็ยังจำเป็นต้องพิจารณาถึงระยะห่างจากพรรคการเมือง ของนายกิตติรัตน์อยู่ดี ซึ่งหากไม่ผ่านเกณฑ์ในข้อนี้แล้ว ก็ไม่ควรที่จะสนับสนุนเลยแม้แต่น้อยด้วยเหตุนี้หากคณะกรรมการสรรหาละทิ้งไม่พิจารณาประเด็นนี้ เพราะเห็นว่านายกิตติรัตน์ ผ่านด่านทางกฎหมายแล้ว ตนจะสรรหาอย่างไรก็ได้ไม่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติความใกล้ชิดพรรคการเมืองอีกต่อไป จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ผิดพลาดยิ่ง และจำเป็นที่ ครม.พึงจะต้องเล็งเห็นถึงปัญหาความไม่เหมาะสมในข้อนี้ให้ถี่ถ้วนด้วยเช่นกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 643 มุมมอง 0 รีวิว
  • แบงก์ชาติไม่ควรเป็นอิสระ!.#MGRInfographics #ทักษิณชินวัตร #แบงก์ชาติ #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    แบงก์ชาติไม่ควรเป็นอิสระ!.#MGRInfographics #ทักษิณชินวัตร #แบงก์ชาติ #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 295 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตั้ง “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ “นายกฯอิ๊งค์” เสี่ยงหลุด ซ้ำรอยเศรษฐา.“ธีระชัย” ฟันธง “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัติ ไม่สามารถนั่ง “ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ” เหตุ “ที่ปรึกษาของนายก” ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะงานที่ทำไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของนายกฯเศรษฐา และเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักนายกฯ เตือน นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯทั้งที่มีปัญหา เป็นเรื่องมิบังควร โป๊ะแตก ! “เสี่ยนิด” พูดเอง “โต้ง” ขาดคุณสมบัติ ด้าน “รศ.ดร.เจษฎ์” แจง หากมีผู้ร้อง “อุ๊งอิ๊งค์” อาจหลุดจากเก้าอี้นายกฯ เหมือนกรณีที่ “เศรษฐา” แต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน ลือสะพัด “เรืองไกร” เตรียมร้องเอาผิดคนเสนอชื่อ.หนึ่งในประเด็นร้อนขณะนี้ก็คือเรื่องการแต่งตั้ง “ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย” หรือประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ซึ่งมีกระแสข่าวยืนยันว่าในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตัดสินใจเลือก “โต้ง-กิตติรัตน์ ณ ระนอง” อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ตัวเต็งจากพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ด้วยเกรงว่าจะเป็นการส่งคนจากฝั่งการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สำคัญยังมีการทักท้วงว่านายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากนายเขาเคยเป็น “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” นายเศรษฐา ทวีสิน โดยเพิ่งพ้นจากตำแหน่งมาไม่ถึง 1 ปี.แต่ทางด้าน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ในฐานะประธานที่ทำหน้าที่คัดเลือกประธานบอร์ดและกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง แต่ตำแหน่งของกิตติรัตน์คือ “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ถือเป็นตำแหน่งส่วนตัว ซึ่งมิได้เป็นคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ.ขณะนี้สถานการณ์จึงยังอึมครึม คือเป็นการแต่งตั้งโดยไม่มีการประกาศรายชื่อ และจะเสนอรายชื่อดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับทราบ ในวันที่ 19 พ.ย. 2567 เพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป.ส่วนว่า นายกิตติรัตน์ จะขาดคุณสมบัติหรือไม่ ? และหากขาดคุณสมบัติจะมีผลอย่างไรตามมา ? คงต้องไปฟังความเห็นจากผู้รู้.อ่านเพิ่มเติม>>https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000109902.#กิตติรัตน์ณระนอง #นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ #แบงก์ชาติ
    ตั้ง “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ “นายกฯอิ๊งค์” เสี่ยงหลุด ซ้ำรอยเศรษฐา.“ธีระชัย” ฟันธง “กิตติรัตน์” ขาดคุณสมบัติ ไม่สามารถนั่ง “ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ” เหตุ “ที่ปรึกษาของนายก” ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะงานที่ทำไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของนายกฯเศรษฐา และเบิกค่าใช้จ่ายจากสำนักนายกฯ เตือน นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯทั้งที่มีปัญหา เป็นเรื่องมิบังควร โป๊ะแตก ! “เสี่ยนิด” พูดเอง “โต้ง” ขาดคุณสมบัติ ด้าน “รศ.ดร.เจษฎ์” แจง หากมีผู้ร้อง “อุ๊งอิ๊งค์” อาจหลุดจากเก้าอี้นายกฯ เหมือนกรณีที่ “เศรษฐา” แต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน ลือสะพัด “เรืองไกร” เตรียมร้องเอาผิดคนเสนอชื่อ.หนึ่งในประเด็นร้อนขณะนี้ก็คือเรื่องการแต่งตั้ง “ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย” หรือประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ซึ่งมีกระแสข่าวยืนยันว่าในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ เมื่อวันที่ 11 พ.ย.2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการตัดสินใจเลือก “โต้ง-กิตติรัตน์ ณ ระนอง” อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ตัวเต็งจากพรรคเพื่อไทย ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ด้วยเกรงว่าจะเป็นการส่งคนจากฝั่งการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สำคัญยังมีการทักท้วงว่านายกิตติรัตน์ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากนายเขาเคยเป็น “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” นายเศรษฐา ทวีสิน โดยเพิ่งพ้นจากตำแหน่งมาไม่ถึง 1 ปี.แต่ทางด้าน นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ในฐานะประธานที่ทำหน้าที่คัดเลือกประธานบอร์ดและกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง แต่ตำแหน่งของกิตติรัตน์คือ “ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี” ถือเป็นตำแหน่งส่วนตัว ซึ่งมิได้เป็นคุณสมบัติต้องห้ามในการเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ.ขณะนี้สถานการณ์จึงยังอึมครึม คือเป็นการแต่งตั้งโดยไม่มีการประกาศรายชื่อ และจะเสนอรายชื่อดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรับทราบ ในวันที่ 19 พ.ย. 2567 เพื่อเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป.ส่วนว่า นายกิตติรัตน์ จะขาดคุณสมบัติหรือไม่ ? และหากขาดคุณสมบัติจะมีผลอย่างไรตามมา ? คงต้องไปฟังความเห็นจากผู้รู้.อ่านเพิ่มเติม>>https://mgronline.com/specialscoop/detail/9670000109902.#กิตติรัตน์ณระนอง #นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ #แบงก์ชาติ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 677 มุมมอง 0 รีวิว
  • จับตาเคาะประธาน ธปท.'กิตติรัตน์' ไปต่อหรือจบ แรงต้านแรงต่อเนื่อง

    ตลอดทั้งวันของวันที่ 11 พฤศจิกายน ต้องจับไปที่การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่าจะสามารถเดินหน้าเลือบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธปท.ได้หรือไม่ หรือจะต้องเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3
    .
    โดยแคนดิเดทประธานคณะกรรมการธปท.ยังคงมีด้วยกัน 3 คนตามรายชื่อเดิม คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกเสนอชื่อโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยธปท.
    .
    ขณะที่แรงต่อต้านของการป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีจากอดีตผู้ว่าฯธปท.อย่างนายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Veerathai Santiprabhob” ระบุว่า ขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของแบงก์ชาติ แต่เป็นเรื่องอนาคตของชาติ candidate ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่ถ้ามีประวัติเป็นคนการเมืองแบบแนบแน่น มีทัศนคติและวิธีคิดที่อยากแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางเพื่อตอบโจทย์การเมือง ก็ไม่สมควรครับ"
    .
    "ถ้าเรายอมให้ฝ่ายการเมืองส่งคนการเมืองเข้ามาครอบงำแบงก์ชาติได้โดยง่าย จะเป็นอันตรายยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง และทำลายหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจของประเทศให้อ่อนแอจนไม่เหลือสักหน่วยงานเดียวที่จะทัดทานนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ถูกไม่ควรได้"
    .
    ด้าน คนในรัฐบาลก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ยุติการนำเรื่องนี้มาสร้างความขัดแย้ง เช่น นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ระบุว่า เรื่องตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติและเรื่องตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยที่มีการปลุกระดมคัดค้านเหมือนจะเป็นคนละเรื่องดัน แต่เนื้อแท้แล้วมีความคล้ายคลังกันมา
    .
    "ทั้งสองตำแหน่งในแต่ละกรณี ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทย เป็นเพียงแค่ผู้กำกับดูแล ให้แนวทางการทำงานสอดคล้องประสานกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันมากขึ้น การทำงานไปคนละทิศละทางกับรัฐบาลทุกเรื่อง หรือถึงกับคอยขัดขวางก้าวก่ายนโยบายเสริมของรัฐ ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ของประชาชนก็เป็นไปได้ยาก" นายศึกษิษฏ์ ระบุ
    ..............
    Sondhi X
    จับตาเคาะประธาน ธปท.'กิตติรัตน์' ไปต่อหรือจบ แรงต้านแรงต่อเนื่อง ตลอดทั้งวันของวันที่ 11 พฤศจิกายน ต้องจับไปที่การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงษ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ว่าจะสามารถเดินหน้าเลือบุคคลเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธปท.ได้หรือไม่ หรือจะต้องเลื่อนออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 . โดยแคนดิเดทประธานคณะกรรมการธปท.ยังคงมีด้วยกัน 3 คนตามรายชื่อเดิม คือ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถูกเสนอชื่อโดยกระทรวงการคลัง นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งถูกเสนอชื่อโดยธปท. . ขณะที่แรงต่อต้านของการป้องกันไม่ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงการทำงานของธปท.ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะท่าทีจากอดีตผู้ว่าฯธปท.อย่างนายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) โพสต์เฟซบุ๊ก “Veerathai Santiprabhob” ระบุว่า ขอย้ำอีกครั้งนะครับ ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของแบงก์ชาติ แต่เป็นเรื่องอนาคตของชาติ candidate ชื่ออะไรไม่สำคัญ แต่ถ้ามีประวัติเป็นคนการเมืองแบบแนบแน่น มีทัศนคติและวิธีคิดที่อยากแทรกแซงการทำงานของธนาคารกลางเพื่อตอบโจทย์การเมือง ก็ไม่สมควรครับ" . "ถ้าเรายอมให้ฝ่ายการเมืองส่งคนการเมืองเข้ามาครอบงำแบงก์ชาติได้โดยง่าย จะเป็นอันตรายยิ่งต่อการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจไทย ทำลายความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง และทำลายหน่วยงานหลักทางเศรษฐกิจของประเทศให้อ่อนแอจนไม่เหลือสักหน่วยงานเดียวที่จะทัดทานนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ถูกไม่ควรได้" . ด้าน คนในรัฐบาลก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเรียกร้องให้ยุติการนำเรื่องนี้มาสร้างความขัดแย้ง เช่น นายศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ระบุว่า เรื่องตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติและเรื่องตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทยที่มีการปลุกระดมคัดค้านเหมือนจะเป็นคนละเรื่องดัน แต่เนื้อแท้แล้วมีความคล้ายคลังกันมา . "ทั้งสองตำแหน่งในแต่ละกรณี ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอำนาจบริหารโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หรือผู้บริหารแผนฟื้นฟูการบินไทย เป็นเพียงแค่ผู้กำกับดูแล ให้แนวทางการทำงานสอดคล้องประสานกับนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลปัจจุบันมากขึ้น การทำงานไปคนละทิศละทางกับรัฐบาลทุกเรื่อง หรือถึงกับคอยขัดขวางก้าวก่ายนโยบายเสริมของรัฐ ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ของประชาชนก็เป็นไปได้ยาก" นายศึกษิษฏ์ ระบุ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 953 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ภูมิธรรม" ร้องโอ้โห! "กิตติรัตน์" ถูกมองแทรกแซงแบงค์ชาติ ถูกส่งมาจากฝ่ายการเมือง หลังเคยเป็นสมาชิกเพื่อไทย - มองเป็นคนมีความรู้การเงินการคลัง หากเข้าไปได้ จะเต็มเติม - ชี้ยังไม่เห็นประเด็นที่ต้องคัดค้าน

    วันนี้ (4พ.ย.) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการเลื่อนประชุมคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท. หลังมีชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในแคนดิเดต ว่า ตนได้ยินว่าวันนี้เขาเลื่อน ต้องไปถาม นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ุ ประธานคัดเลือกประธานกรรมการคัดเลือกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ธปท. ว่าทำไมถึงเลื่อน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และไม่ใช่เรื่องของตน

    ส่วนที่มีกระแสโจมตีว่านายกิตติรัตน์ มาจากฝ่ายการเมืองนั้น ถึงแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทยแล้วนั้น นายภูมิธรรม กล่าวว่า ต้องไปหาข้อสรุป และต้องว่ากันไปตามกระบวนการ ตัวบทกฎหมาย เมื่อนายกิตติรัตน์อยากสมัคร เมื่อมีโอกาสและเงื่อนไขอยากสมัครก็สมัคร แต่ถ้าตามกฎระเบียบ มันเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องถูกปฏิเสธไปแต่ถ้าเป็นได้ก็ไปว่ากัน แล้วจริงๆ ตนยังไม่เห็นประเด็น ว่าทำไมต้องคัดค้านนายกิตติรัตน์

    เมื่อถามว่าเพราะมองว่านายกิตติรัตน์มาจากฝ่ายการเมืองอาจจะมีการแทรกแซง ผู้ว่า ธปท.เกิดขึ้น นายธรรม ร้อง โอ้โห ถ้าวันนี้รัฐธรรมนูญบอกว่าทุกคน เป็นสมาชิกพรรคการเมือง เสร็จแล้วก็ไปทำงานไม่ได้เลย ซึ่งตนคิดว่าการที่นายกิตติรัตน์เข้าไป ก็เป็นมืออาชีพมีความรู้เรื่องทางการเงินและการคลัง หากนายกิตติรัตน์เข้าไปก็เป็นมองว่าเป็นการเข้าไปเติมเต็มให้มีการพูดคุยกัน ในมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ก็ต้องไปถามนายกิตติรัตน์ ตนตอบแทนไม่ได้ แต่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเข้าสู่กระบวนการ และกระบวนการตัดสินใจ เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ก็อยู่ที่บอร์ดของแบงค์ชาติ ที่ตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา ก็ต้องไปถามทางนั้น

    #MGROnline #ภูมิธรรม #กิตติรัตน์ #แบงค์ชาติ
    "ภูมิธรรม" ร้องโอ้โห! "กิตติรัตน์" ถูกมองแทรกแซงแบงค์ชาติ ถูกส่งมาจากฝ่ายการเมือง หลังเคยเป็นสมาชิกเพื่อไทย - มองเป็นคนมีความรู้การเงินการคลัง หากเข้าไปได้ จะเต็มเติม - ชี้ยังไม่เห็นประเด็นที่ต้องคัดค้าน • วันนี้ (4พ.ย.) นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงการเลื่อนประชุมคัดเลือกประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ ธปท. หลังมีชื่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหนึ่งในแคนดิเดต ว่า ตนได้ยินว่าวันนี้เขาเลื่อน ต้องไปถาม นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธ์ุ ประธานคัดเลือกประธานกรรมการคัดเลือกและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน ธปท. ว่าทำไมถึงเลื่อน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และไม่ใช่เรื่องของตน • ส่วนที่มีกระแสโจมตีว่านายกิตติรัตน์ มาจากฝ่ายการเมืองนั้น ถึงแม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคเพื่อไทยแล้วนั้น นายภูมิธรรม กล่าวว่า ต้องไปหาข้อสรุป และต้องว่ากันไปตามกระบวนการ ตัวบทกฎหมาย เมื่อนายกิตติรัตน์อยากสมัคร เมื่อมีโอกาสและเงื่อนไขอยากสมัครก็สมัคร แต่ถ้าตามกฎระเบียบ มันเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องถูกปฏิเสธไปแต่ถ้าเป็นได้ก็ไปว่ากัน แล้วจริงๆ ตนยังไม่เห็นประเด็น ว่าทำไมต้องคัดค้านนายกิตติรัตน์ • เมื่อถามว่าเพราะมองว่านายกิตติรัตน์มาจากฝ่ายการเมืองอาจจะมีการแทรกแซง ผู้ว่า ธปท.เกิดขึ้น นายธรรม ร้อง โอ้โห ถ้าวันนี้รัฐธรรมนูญบอกว่าทุกคน เป็นสมาชิกพรรคการเมือง เสร็จแล้วก็ไปทำงานไม่ได้เลย ซึ่งตนคิดว่าการที่นายกิตติรัตน์เข้าไป ก็เป็นมืออาชีพมีความรู้เรื่องทางการเงินและการคลัง หากนายกิตติรัตน์เข้าไปก็เป็นมองว่าเป็นการเข้าไปเติมเต็มให้มีการพูดคุยกัน ในมุมมองที่กว้างขึ้น แต่ก็ต้องไปถามนายกิตติรัตน์ ตนตอบแทนไม่ได้ แต่คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเข้าสู่กระบวนการ และกระบวนการตัดสินใจ เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ก็อยู่ที่บอร์ดของแบงค์ชาติ ที่ตั้งคณะกรรมการสรรหาขึ้นมา ก็ต้องไปถามทางนั้น • #MGROnline #ภูมิธรรม #กิตติรัตน์ #แบงค์ชาติ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 420 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข่าว 4 พ.ย.

    เลื่อนเคาะเลือกประธาน ธปท. 'กิตติรัตน์' ตัวเต็งแต่มีชนัก เหตุคดีขายข้าวติดตัว
    .
    วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นวันที่บรรดาคนในแวดวงการเงินการธนาคารต่างจับตาไปที่การประชุมคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ เนื่องจากมีชื่อของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นตัวเต็งคนสำคัญที่มีโอกาสคว้าเก้าอี้ตัวนี้ไปครอง
    .
    นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 4 พ.ย.นี้เวลา 14.00 น.เพื่อประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดธปท.คนใหม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมการสรรหาฯแต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระของตัวเอง และต้องเป็นไปตามหลักการ คือ บุคคลที่จะได้รับเลือกมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ และมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยยะสำคัญกับธปท.หรือไม่ โดยลักษณะต้องห้ามนั้นมีหลายกรณี เช่น ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในคณะทำงานของพรรคการเมือง ส่วนเรื่องคุณสมบัติ จะต้องมีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธปท.และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธปท.
    .
    ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาฯ ได้มีการให้เจ้าหน้าที่และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯไปตรวจสอบหาข้อมูลคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสามคน คือนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯและอดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ เบื้องต้นพบว่าทั้งสามคนยังไม่มีกรณีต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ว่าในกรณีของทั้งนายกุลิศ และ นายกิตติรัตน์ จะต่างเคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในอดีตมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเป็นเพียงที่ปรึกษาทั่วไปไม่มีเงินเดือน และไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับข้าราชการเมืองตามกฎหมาย อีกทั้งนายกิตติรัตน์ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนายกิตติรัตน์นั้นมีประเด็นที่คณะกรรมการสรรหาฯต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ก่อนหน้านี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.มีมติให้อุทธรณ์คดีขายข้าวอินโดนีเซียหรือคดี BULOG อินโดนีเซีย ที่นายกิตติรัตน์เคยตกเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ฟ้องคดีว่าจะเห็นด้วยกับป.ป.ช.หรือไม่ จึงต้องรอดูว่าคณะกรรมการสรรหาฯจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร
    .
    ข่าวแจ้งว่า นายสถิตย์ ได้สั่งเลือกประชุมกรรมการสรรหาจากบ่าย2โมงวันนี้ ไปก่อน
    ..............
    Sondhi X
    ข่าว 4 พ.ย. เลื่อนเคาะเลือกประธาน ธปท. 'กิตติรัตน์' ตัวเต็งแต่มีชนัก เหตุคดีขายข้าวติดตัว . วันที่ 4 พฤศจิกายน เป็นวันที่บรรดาคนในแวดวงการเงินการธนาคารต่างจับตาไปที่การประชุมคณะกรรมการสรรหาประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ เนื่องจากมีชื่อของนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นตัวเต็งคนสำคัญที่มีโอกาสคว้าเก้าอี้ตัวนี้ไปครอง . นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯ เปิดเผยว่า คณะกรรมการสรรหาฯ จะมีการประชุมในวันจันทร์ที่ 4 พ.ย.นี้เวลา 14.00 น.เพื่อประชุมลงมติว่าจะคัดเลือกบุคคลใดเป็นประธานบอร์ดธปท.คนใหม่ ซึ่งยืนยันว่ากรรมการสรรหาฯแต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระของตัวเอง และต้องเป็นไปตามหลักการ คือ บุคคลที่จะได้รับเลือกมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือไม่ และมีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยยะสำคัญกับธปท.หรือไม่ โดยลักษณะต้องห้ามนั้นมีหลายกรณี เช่น ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ต้องไม่เป็นข้าราชการการเมือง ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง หรือมีตำแหน่งในคณะทำงานของพรรคการเมือง ส่วนเรื่องคุณสมบัติ จะต้องมีความรู้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับกิจการของธปท.และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธปท. . ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่าคณะกรรมการสรรหาฯ ได้มีการให้เจ้าหน้าที่และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสรรหาฯไปตรวจสอบหาข้อมูลคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้งสามคน คือนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกฯและอดีตรมว.คลัง ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกุลิศ สมบัติศิริ อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน อดีตอธิบดีกรมศุลกากร -อดีตผอ.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) อดีตผู้ตรวจกระทรวงการคลัง และนายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยผลการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามต่างๆ เบื้องต้นพบว่าทั้งสามคนยังไม่มีกรณีต้องห้ามตามกฎหมาย แม้ว่าในกรณีของทั้งนายกุลิศ และ นายกิตติรัตน์ จะต่างเคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในอดีตมาก่อนก็ตาม เนื่องจากเป็นเพียงที่ปรึกษาทั่วไปไม่มีเงินเดือน และไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินเหมือนกับข้าราชการเมืองตามกฎหมาย อีกทั้งนายกิตติรัตน์ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยแล้ว . อย่างไรก็ตาม ในกรณีของนายกิตติรัตน์นั้นมีประเด็นที่คณะกรรมการสรรหาฯต้องพิจารณาเป็นพิเศษ คือ ก่อนหน้านี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.มีมติให้อุทธรณ์คดีขายข้าวอินโดนีเซียหรือคดี BULOG อินโดนีเซีย ที่นายกิตติรัตน์เคยตกเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดในฐานะโจทก์ฟ้องคดีว่าจะเห็นด้วยกับป.ป.ช.หรือไม่ จึงต้องรอดูว่าคณะกรรมการสรรหาฯจะมีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร . ข่าวแจ้งว่า นายสถิตย์ ได้สั่งเลือกประชุมกรรมการสรรหาจากบ่าย2โมงวันนี้ ไปก่อน .............. Sondhi X
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1082 มุมมอง 0 รีวิว
  • เพจเฟซบุ๊ก "พระลาน" เผยแพร่ตำแหน่งที่ตั้งจุดอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ในการเฝ้ารับเสด็จฯ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 งานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ทางขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567

    1. แนวริมน้ำ ธนาคารแห่งประเทศไทย
    2. ใต้สะพานพระราม ๘ (ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย)
    3. ใต้สะพานพระราม ๘ (ฝั่งธนบุรี)
    4. ทางเดินริมน้ำ สวนสันติชัยปราการ
    5. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
    6. ลาน 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
    7. สวนสุขภาพฯ รพ.ศิริราช
    8. ลานปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
    9. อัฒจันทร์ อุทยานสถานพิมุข รพ.ศิริราช
    10. ท่าช้าง
    11. วัดระฆังโฆสิตาราม
    12. ท่าเตียน
    13. ท่าเรือวัดโพธิ์
    14. วัดอรุณราชวราราม

    - จุดติดตั้งจอแอลอีดี พร้อมเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ประชาชนรับชมในการเฝ้ารับเสด็จฯ
    1. วัดอรุณ
    2. วัดระฆัง
    3. ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า
    4. ลาน 60 ปี ธรรมศาสตร์
    5. สวนสันติชัยปราการ จำนวน 2 จอ
    6. ราชนาวีสโมสร
    7. อุทยานพิมุขสถาน
    8. ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ จำนวน 2 จอ
    9. ลานทัศนาภิรมย์ หอประชมกองทัพเรือ จำนวน 2 จอ
    10. ลานปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์
    11. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งบางพลัด จำนวน 2 จอ 12. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
    13. สวนนคราภิรมย์
    14. ลานคนเมือง

    - ข้อแนะนำของประชาชน ในการเดินทางมาเฝ้าฯ รับเสด็จ และชมขบวนพยุหยาตราชลมารค
    1. พกบัตรประชาชน บัตรแสดงตน หนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวก
    2. เขียนชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองติดไว้กับตัวเด็ก
    3. พกยาประจำตัวมาด้วย
    4. เตรียมน้ำดื่ม ร่ม/หมวก
    5.สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ชุดจิตอาสา

    ที่มา เพจเฟซบุ๊ก“พระลาน”

    #Thaitimes
    เพจเฟซบุ๊ก "พระลาน" เผยแพร่ตำแหน่งที่ตั้งจุดอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ในการเฝ้ารับเสด็จฯ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 งานพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ทางขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 1. แนวริมน้ำ ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. ใต้สะพานพระราม ๘ (ศูนย์การเรียนรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย) 3. ใต้สะพานพระราม ๘ (ฝั่งธนบุรี) 4. ทางเดินริมน้ำ สวนสันติชัยปราการ 5. ใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า 6. ลาน 60 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 7. สวนสุขภาพฯ รพ.ศิริราช 8. ลานปรีดีพนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 9. อัฒจันทร์ อุทยานสถานพิมุข รพ.ศิริราช 10. ท่าช้าง 11. วัดระฆังโฆสิตาราม 12. ท่าเตียน 13. ท่าเรือวัดโพธิ์ 14. วัดอรุณราชวราราม - จุดติดตั้งจอแอลอีดี พร้อมเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ประชาชนรับชมในการเฝ้ารับเสด็จฯ 1. วัดอรุณ 2. วัดระฆัง 3. ใต้สะพานพระปิ่นเกล้า 4. ลาน 60 ปี ธรรมศาสตร์ 5. สวนสันติชัยปราการ จำนวน 2 จอ 6. ราชนาวีสโมสร 7. อุทยานพิมุขสถาน 8. ลานพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ จำนวน 2 จอ 9. ลานทัศนาภิรมย์ หอประชมกองทัพเรือ จำนวน 2 จอ 10. ลานปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ 11. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งบางพลัด จำนวน 2 จอ 12. ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย 13. สวนนคราภิรมย์ 14. ลานคนเมือง - ข้อแนะนำของประชาชน ในการเดินทางมาเฝ้าฯ รับเสด็จ และชมขบวนพยุหยาตราชลมารค 1. พกบัตรประชาชน บัตรแสดงตน หนังสือเดินทาง เพื่อความสะดวก 2. เขียนชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ปกครองติดไว้กับตัวเด็ก 3. พกยาประจำตัวมาด้วย 4. เตรียมน้ำดื่ม ร่ม/หมวก 5.สอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ชุดจิตอาสา ที่มา เพจเฟซบุ๊ก“พระลาน” #Thaitimes
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1125 มุมมอง 0 รีวิว
  • 💥💥ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)
    ครั้งที่ 5 ในวันพุธ ที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้
    ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง
    ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25% ต่อปี
    จากเดิม 2.50% เป็น 2.25%
    โดยให้มีผลในทันที

    ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กนง.
    #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย #thaitimes
    💥💥ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 5 ในวันพุธ ที่ 16 ตุลาคม 2567 นี้ ผลการประชุม คณะกรรมการมีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25% ต่อปี จากเดิม 2.50% เป็น 2.25% โดยให้มีผลในทันที ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย #หุ้นติดดอย #การลงทุน #กนง. #อัตราดอกเบี้ยนโยบาย #thaitimes
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 343 มุมมอง 0 รีวิว
  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที

    16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง

    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567

    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว

    ธนาคารแห่งประเทศไทย
    16 ตุลาคม 2567

    #Thaitimes
    คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที 16 ตุลาคม 2567-รายงานผลการประชุม กนง. ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ธนาคารแห่งประเทศไทย 16 ตุลาคม 2567 #Thaitimes
    Like
    Love
    3
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 692 มุมมอง 0 รีวิว
  • มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที
    .
    วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที
    .
    โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
    .
    เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง
    .
    อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567
    .
    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
    .
    ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว
    .............
    Sondhi X
    มติ กนง. 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี มีผลทันที . วันนี้ (16 ต.ค.) นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 2.50 เป็นร้อยละ 2.25 ต่อปี โดยให้มีผลทันที . โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการฯ เห็นว่า จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปี ในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมยังสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ และให้น้ำหนักกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมถึงการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า . เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ที่ร้อยละ 2.7 และ 2.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยมีแรงขับเคลื่อนสําคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยังถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง . อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 1.2 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสดมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 0.5 และ 0.9 ในปี 2567 และ 2568 ตามลําดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านําเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 . ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก และปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการกู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลง โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อและบัตรเครดิต ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับน้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะกรรมการฯ ยังสนับสนุน นโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุด และมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ . ภายใต้กรอบการดําเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนําไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว ............. Sondhi X
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1124 มุมมอง 0 รีวิว
  • “เศรษฐพุฒิ”ผู้ว่าแบงก์ชาติเทวดา-หัวใจฝรั่ง บนซากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่
    .
    ผมไม่อยากจะพูดว่า 4 ปีเต็มที่คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิเป็นผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ที่หล่อเหลา บุคลิกดี จบปริญญาโท ปริญญาเอก จากเยล พูดภาษาอังกฤษคล่องแบบน้ำไหลไฟดับเหมือนคนต่างชาติ ท่านคิดแบบฝรั่งหมดเลย ท่านไม่เข้าใจถึงบริบท ข้อเท็จจริงทางการเมือง หรือข้อเท็จจริงในสังคมไทย ไม่มีเหตุผลอะไรอื่นที่แบงก์ชาติจะต้องทำให้ค่าเงินบาทแข็งเพื่อลดแต้มต่อให้คู่แข่ง
    .
    เพราะฉะนั้นแล้วราคาสินค้าส่งออกไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ ทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน โรงงานใหญ่โรงงานน้อยปิดกันไปหมด แล้วประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร สภาพมันลามไปถึงโรงงานใหญ่แล้ว SME ถูกปิดไปแล้ว สินค้าการเกษตรตกต่ำไปแล้ว ต่อไปนี้จะลามถึงโรงงานใหญ่ๆ ซึ่งโรงงานรถยนต์ปิดไปแล้ว โรงเหล็กก็ปิดไปแล้ว ธุรกิจขนาดเล็กของเรามีแต่ตายกับตาย คนงานที่เคยได้เงินเดือนประจำมาใช้จ่ายในครอบครัว แล้วมาโดนหนี้นอกระบบกระทืบซ้ำอีก คนพวกนี้เป็นคนที่น่าสงสารมาก
    .
    ทั้งหมดที่เขาโดนปิดโรงงานเพราะค่าเงินบาทแข็งจนเกินไป เพราะว่าท่านยึดถือ Dollar Index จริงๆ แล้วท่านน่าจะอยู่FED มากกว่านะ
    .
    คุณเศรษฐพุฒิ มักให้สัมภาษณ์ว่า เพราะเคยทำงานอยู่ธนาคารโลก จึงทำให้รู้ว่าธนาคารโลก และ ไอเอ็มเอฟ ต้องการอะไร คล้ายๆ อ่านทางอีกฝ่ายได้ทะลุปรุโปร่ง การเจรจาระหว่างประเทศไทยกับ 2 องค์กรการเงินโลกที่เป็นเจ้าหนี้ หยิบยื่นเงินกู้มาให้ไทยฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วงนั้น จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
    .
    ผมอยากจะถามคำว่า "สำเร็จลุล่วงไปได้ดี" นั้น ดีอย่างไร ? ดีกับนายทุนฝรั่ง แต่เลวร้ายอย่างยิ่งกับคนไทยและนักธุรกิจไทย ใช่หรือเปล่า ? คำตอบ ใช่ครับ เพราะประวัติของ ปรส. ชี้ชัดเลยว่าคนไทยต้องฉิบหายวายป่วงเพราะฝรั่งอีแร้งเข้ามาสูบเลือดคนไทยไปหมด และนี่คือ "ลุล่วงไปด้วยดี" ของคุณเศรษฐพุฒิ
    .
    ท่านผู้ว่าฯ ครับ ผมไม่อยากจะพูดว่า ท่านกับคุณวิรไท สันติประภพ ทำให้ประเทศชาติฉิบหายไปแล้วในช่วงไอเอ็มเอฟ และ World Bank ตอนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งครั้งหนึ่งแล้ว นี่จะเป็นครั้งที่สอง ท่านเกษียณไปบนซากปรักหักพังของหลายส่วนในภาคสังคมธุรกิจเล็กๆ กลางๆ และกำลังจะลามมาใหญ่แล้ว ท่านจะมีความสุขมากนักหรือ ท่านก็จะมีความสุข เพราะว่าท่านยังคงเท่เหมือนเดิม ท่านยังคงมี FC ที่เชื่อท่านอยู่
    .
    ท่านทั้งหล่อ เท่ มาดแมน ชงกาแฟได้ เป็นบาริสต้าที่เก่ง ถ้าทำได้อย่างที่พูดมาก็ดี แต่การที่ประชาชนมีหนี้ท่วมอย่างมหาศาล มากมาย ประเทศชาติตกอยู่ในวังวนของเงินฝืด เศรษฐกิจโตต่ำ ขณะที่นายแบงก์ นายทุนธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย กำไรอย่างมากมายมหาศาลโตขึ้นทุกปีๆ ด้วยความสัตย์จริง นี่คือผลงานในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของแบงก์ชาติ และนี่คือสิ่งที่สังคมควรจะได้รับจากความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเปล่า ปล่อยให้บรรดานายทุน นายแบงก์เหล่านี้ทำนาบนหลังคน กอบโกยกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ภาวะวิกฤตหนี้ครัวเรือนของคนไทยอยู่ประมาณ 91% ของ GDPซึ่งGDPอยู่ที่18 ล้านล้านบาท
    .
    หลักฐานที่ผมพูดมานี้เป็นความจริง และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่พิสูจน์แล้ว นี่ล่ะคือผลงานของผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนปัจจุบัน ท่านผู้ว่าฯ ครับ กรุณาอย่าโกรธผม ท่านเป็นผู้ว่าฯเทวดา คนไทยหัวใจฝรั่ง
    “เศรษฐพุฒิ”ผู้ว่าแบงก์ชาติเทวดา-หัวใจฝรั่ง บนซากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหม่ . ผมไม่อยากจะพูดว่า 4 ปีเต็มที่คุณเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิเป็นผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ที่หล่อเหลา บุคลิกดี จบปริญญาโท ปริญญาเอก จากเยล พูดภาษาอังกฤษคล่องแบบน้ำไหลไฟดับเหมือนคนต่างชาติ ท่านคิดแบบฝรั่งหมดเลย ท่านไม่เข้าใจถึงบริบท ข้อเท็จจริงทางการเมือง หรือข้อเท็จจริงในสังคมไทย ไม่มีเหตุผลอะไรอื่นที่แบงก์ชาติจะต้องทำให้ค่าเงินบาทแข็งเพื่อลดแต้มต่อให้คู่แข่ง . เพราะฉะนั้นแล้วราคาสินค้าส่งออกไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญ ทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน โรงงานใหญ่โรงงานน้อยปิดกันไปหมด แล้วประเทศไทยจะอยู่ได้อย่างไร สภาพมันลามไปถึงโรงงานใหญ่แล้ว SME ถูกปิดไปแล้ว สินค้าการเกษตรตกต่ำไปแล้ว ต่อไปนี้จะลามถึงโรงงานใหญ่ๆ ซึ่งโรงงานรถยนต์ปิดไปแล้ว โรงเหล็กก็ปิดไปแล้ว ธุรกิจขนาดเล็กของเรามีแต่ตายกับตาย คนงานที่เคยได้เงินเดือนประจำมาใช้จ่ายในครอบครัว แล้วมาโดนหนี้นอกระบบกระทืบซ้ำอีก คนพวกนี้เป็นคนที่น่าสงสารมาก . ทั้งหมดที่เขาโดนปิดโรงงานเพราะค่าเงินบาทแข็งจนเกินไป เพราะว่าท่านยึดถือ Dollar Index จริงๆ แล้วท่านน่าจะอยู่FED มากกว่านะ . คุณเศรษฐพุฒิ มักให้สัมภาษณ์ว่า เพราะเคยทำงานอยู่ธนาคารโลก จึงทำให้รู้ว่าธนาคารโลก และ ไอเอ็มเอฟ ต้องการอะไร คล้ายๆ อ่านทางอีกฝ่ายได้ทะลุปรุโปร่ง การเจรจาระหว่างประเทศไทยกับ 2 องค์กรการเงินโลกที่เป็นเจ้าหนี้ หยิบยื่นเงินกู้มาให้ไทยฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วงนั้น จึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี . ผมอยากจะถามคำว่า "สำเร็จลุล่วงไปได้ดี" นั้น ดีอย่างไร ? ดีกับนายทุนฝรั่ง แต่เลวร้ายอย่างยิ่งกับคนไทยและนักธุรกิจไทย ใช่หรือเปล่า ? คำตอบ ใช่ครับ เพราะประวัติของ ปรส. ชี้ชัดเลยว่าคนไทยต้องฉิบหายวายป่วงเพราะฝรั่งอีแร้งเข้ามาสูบเลือดคนไทยไปหมด และนี่คือ "ลุล่วงไปด้วยดี" ของคุณเศรษฐพุฒิ . ท่านผู้ว่าฯ ครับ ผมไม่อยากจะพูดว่า ท่านกับคุณวิรไท สันติประภพ ทำให้ประเทศชาติฉิบหายไปแล้วในช่วงไอเอ็มเอฟ และ World Bank ตอนวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งครั้งหนึ่งแล้ว นี่จะเป็นครั้งที่สอง ท่านเกษียณไปบนซากปรักหักพังของหลายส่วนในภาคสังคมธุรกิจเล็กๆ กลางๆ และกำลังจะลามมาใหญ่แล้ว ท่านจะมีความสุขมากนักหรือ ท่านก็จะมีความสุข เพราะว่าท่านยังคงเท่เหมือนเดิม ท่านยังคงมี FC ที่เชื่อท่านอยู่ . ท่านทั้งหล่อ เท่ มาดแมน ชงกาแฟได้ เป็นบาริสต้าที่เก่ง ถ้าทำได้อย่างที่พูดมาก็ดี แต่การที่ประชาชนมีหนี้ท่วมอย่างมหาศาล มากมาย ประเทศชาติตกอยู่ในวังวนของเงินฝืด เศรษฐกิจโตต่ำ ขณะที่นายแบงก์ นายทุนธนาคารพาณิชย์ทั้งหลาย กำไรอย่างมากมายมหาศาลโตขึ้นทุกปีๆ ด้วยความสัตย์จริง นี่คือผลงานในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของแบงก์ชาติ และนี่คือสิ่งที่สังคมควรจะได้รับจากความเป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือเปล่า ปล่อยให้บรรดานายทุน นายแบงก์เหล่านี้ทำนาบนหลังคน กอบโกยกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ภาวะวิกฤตหนี้ครัวเรือนของคนไทยอยู่ประมาณ 91% ของ GDPซึ่งGDPอยู่ที่18 ล้านล้านบาท . หลักฐานที่ผมพูดมานี้เป็นความจริง และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่พิสูจน์แล้ว นี่ล่ะคือผลงานของผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคนปัจจุบัน ท่านผู้ว่าฯ ครับ กรุณาอย่าโกรธผม ท่านเป็นผู้ว่าฯเทวดา คนไทยหัวใจฝรั่ง
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1077 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออนุญาต​ส่งมาในที่นี้ เนื่องจากถูก FB block ไม่ให้ส่งต่อๆข้อความ​ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (หากเห็นด้วย ช่วยกระจาย)​
    ________

    ในขณะนี้มีแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือก​ประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่จะยับยั้งหายนะทางเศรษฐกิจได้

    ที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งในเรื่องไม่ลดดอกเบี้ย และการคัดค้านนโยบายการแจกเงินหนึ่งหมื่นบาท เป็นต้น ล่าสุดก็มีการคาดหมายว่ารัฐบาลจะส่งคนของตนเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อจะได้สามารถใช้ ธปท. เป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหากภาพนี้เกิดขึ้น หายนะของเศรษฐกิจไทยก็จะตามมาอย่างแน่นอน เหมือนที่เราเห็นในต่างประเทศที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในธนาคารกลาง การกระทำดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจสั่นคลอน เพราะธนาคารกลางที่ถูกแทรกแซงจะไม่สามารถมีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เศรษฐกิจจึงเสี่ยงที่จะเสียหายจากนโยบายที่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว

    ในกรณีของประเทศไทยนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทซึ่งจะเป็นภาระทางการคลังอย่างมหาศาล ก็ได้สร้างความเสี่ยงที่ประเทศจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว หากธนาคารแห่งประเทศไทยถูกแทรกแซงจนขาดความเป็นอิสระ ความเสี่ยงของการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก ผลเสียต่อธุรกิจและเศรษฐกิจย่อมตามมาอย่างแน่นอน

    วงการเศรษฐกิจของไทยได้ชี้ให้เห็นถึงผลเสียหายอันใหญ่หลวงของการแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย แต่รัฐบาลก็ไม่ต้องการรับฟังคำเตือนเหล่านี้ ในขณะนี้ จึงมีเพียงแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือกประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไม่ให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจนี้ อันที่จริง กฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของการที่กรรมการสรรหาจะถูกแทรกแซงจากทางการเมืองหากกรรมการยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ กฎหมายจึงได้กำหนดให้กรรมการสรรหาเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกษียณอายุแล้วทั้งสิ้น เพื่อจะได้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซง ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งสำคัญๆของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระไม่ยอมรับการแทรกแซง ผู้ที่ได้รับการสรรหาจึงเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่เข้าใจบทบาทของธนาคารกลาง และสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม ดิฉันจึงได้แต่คาดหวังว่าคณะกรรมการคัดเลือกในครั้งนี้จะสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ด้วยหลักการเดียวกัน คงไม่มีท่านใดอยากจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบในการทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกผันไปสู่ก้าวแรกของความหายนะ

    ธาริษา วัฒนเกส
    อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    ขออนุญาต​ส่งมาในที่นี้ เนื่องจากถูก FB block ไม่ให้ส่งต่อๆข้อความ​ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง (หากเห็นด้วย ช่วยกระจาย)​ ________ ในขณะนี้มีแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือก​ประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นที่จะยับยั้งหายนะทางเศรษฐกิจได้ ที่ผ่านมารัฐบาลได้แสดงความไม่พอใจอย่างชัดเจนต่อธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งในเรื่องไม่ลดดอกเบี้ย และการคัดค้านนโยบายการแจกเงินหนึ่งหมื่นบาท เป็นต้น ล่าสุดก็มีการคาดหมายว่ารัฐบาลจะส่งคนของตนเข้าไปเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งวัตถุประสงค์ก็เพื่อจะได้สามารถใช้ ธปท. เป็นเครื่องมือในการสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งหากภาพนี้เกิดขึ้น หายนะของเศรษฐกิจไทยก็จะตามมาอย่างแน่นอน เหมือนที่เราเห็นในต่างประเทศที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงในธนาคารกลาง การกระทำดังกล่าวทำให้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศต่อระบบเศรษฐกิจสั่นคลอน เพราะธนาคารกลางที่ถูกแทรกแซงจะไม่สามารถมีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เศรษฐกิจจึงเสี่ยงที่จะเสียหายจากนโยบายที่เน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นเพียงอย่างเดียว ในกรณีของประเทศไทยนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทซึ่งจะเป็นภาระทางการคลังอย่างมหาศาล ก็ได้สร้างความเสี่ยงที่ประเทศจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว หากธนาคารแห่งประเทศไทยถูกแทรกแซงจนขาดความเป็นอิสระ ความเสี่ยงของการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากนานาประเทศก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีก ผลเสียต่อธุรกิจและเศรษฐกิจย่อมตามมาอย่างแน่นอน วงการเศรษฐกิจของไทยได้ชี้ให้เห็นถึงผลเสียหายอันใหญ่หลวงของการแทรกแซงธนาคารแห่งประเทศไทย แต่รัฐบาลก็ไม่ต้องการรับฟังคำเตือนเหล่านี้ ในขณะนี้ จึงมีเพียงแต่จิตสำนึกของคณะกรรมการคัดเลือกประธานธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้น ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการยับยั้งไม่ให้เกิดหายนะทางเศรษฐกิจนี้ อันที่จริง กฎหมายของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้คำนึงถึงความเสี่ยงของการที่กรรมการสรรหาจะถูกแทรกแซงจากทางการเมืองหากกรรมการยังอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ทางราชการ กฎหมายจึงได้กำหนดให้กรรมการสรรหาเป็นอดีตข้าราชการระดับสูงของหน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกษียณอายุแล้วทั้งสิ้น เพื่อจะได้ปลอดภัยจากการถูกแทรกแซง ที่ผ่านมาคณะกรรมการสรรหาตำแหน่งสำคัญๆของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระไม่ยอมรับการแทรกแซง ผู้ที่ได้รับการสรรหาจึงเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่เข้าใจบทบาทของธนาคารกลาง และสามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นที่ยอมรับของสังคม ดิฉันจึงได้แต่คาดหวังว่าคณะกรรมการคัดเลือกในครั้งนี้จะสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ด้วยหลักการเดียวกัน คงไม่มีท่านใดอยากจะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ว่าท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบในการทำให้เศรษฐกิจไทยพลิกผันไปสู่ก้าวแรกของความหายนะ ธาริษา วัฒนเกส อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง

    โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป

    อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1]

    นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร

    การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

    ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง

    ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป

    แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย

    ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย

    และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น

    โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

    ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

    และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น

    อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ

    อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี

    เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด

    สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น

    หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น

    การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น

    ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น

    อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ

    หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป

    หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี

    และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4]

    โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ

    ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ

    แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย

    ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​

    เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน

    เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา

    ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย

    โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“

    เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    4 ตุลาคม 2567

    อ้างอิง
    [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01
    https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL

    [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2
    https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4

    [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?,
    https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE

    [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY)
    https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    ยิ่งไม่สามารถใช้ดอกเบี้ยสูงตรึงเงินดอลลาร์ได้ ยิ่งเร่งสงครามโลกและสงครามโรคเร็วขึ้น/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ความขัดแย้งกันในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์นั้น ต้องพิจารณาในยุคนี้ด้วยว่า นอกจากมาตรการตอบโต้กันทางด้านการเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ สงครรามทุนระหว่างประเทศ สงครามค่าเงิน ถึงขนาดที่เรียกว่าเรื่องนี้อาจมีจุดจบที่ต้องมีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดชนะกันไปข้างหนึ่ง โดยเฉพาะสถานภาพของเงินสกุลสหรัฐอเมริกา ก็ไม่สามารถดำรงสถานภาพเป็นเงินสกุลหลักของโลกได้เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายปิโตรเลียมที่ไม่ได้ยึถถือเงินสกุลดอลลาร์ (ปิโตรดอลลาร์)แต่เพียงสกุลเดียวได้เหมือนเดิม แต่ถึงกระนั้นสหรัฐอเมริกาก็เลือกหนทางในการทำให้เกิดการโจมตีแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช่พันธมิตรอเมริกาทั่วโลก เพื่อให้ราคาปิโตรเลียมของธุรกิจในเครือสหรัฐอเมริกายังคงดำรงสถานภาพปิโตรดอลลาร์ต่อไป อย่างไรก็ตามการเปลี่ยแปลงเงินสกุลหลักของโลกแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงแบบยืดเยื้อ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเครื่องมือเป็นเงินกู้เข้าแทรกแซงช่วยเหลืออยู่หลายประเทศ โดยสถานภาพของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นเจ้าหนี้ของประเทศต่างๆที่มีพันธะผูกพันจำนวน 94 ประเทศ มีมูลค่าหนี้คงค้างกว่า 112 ล้านเหรียญสหรัฐ[1] นอกจากนั้นทุนสำรองระหว่างประเทศของทุกประเทศทั่วโลกยังคงเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐอเมริกามากถึงร้อยละ 54.06[2] โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปพันธบัตรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็กลายเป็นประเทศที่ออกพันธบัตรก่อหนี้มหาศาลมากถึง 35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐแล้ว[3] โดยยังไม่เพียงแค่ปัญหาว่าสหรัฐอเมริกาจะมีทางว่าจะชำระหนี้คืนได้อย่างไรเท่านั้น แต่ยังไม่มีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะหยุดการก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร การที่สหรัฐอเมริกาก่อหนี้อย่างมหาศาล อีกทั้งธนาคารกลางหลายประเทศเทขายพันธบัตรสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้ปริมาณอุปทานเงินดอลลาร์สหรัฐล้นระบบเกินความต้องการของอุปสงค์เงินดอลลาร์สหรัฐในตลาดเงิน และทำให้ธนาคารกลางได้เพิ่มสัดส่วนเงินสกุลของคู่ค้าประเทศอื่นๆและทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาที่แท้จริงในเรื่องนี้คือปัญหา “ความไม่เชื่อมั่น” ในเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ที่ก่อหนี้ไม่หยุด หรือไม่หยุดการพิมพ์ธนบัตรดอลลาร์ออกมาโดยที่ไม่มีอะไรหนุนหลัง ส่งผลทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐเสื่อมค่าลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ข้าวยากหมากแพง และทำให้ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาต้องตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อดึงเงินจากทั่วโลกให้ยังคงรักษาเงินดอลลาร์สหรัฐให้เป็นที่ต้องการในทุนสำรองระหว่างประเทศต่อไป แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงของสหรัฐอเมริกา กลับทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่ง ด้วยเพราะทำให้ธุรกิจเอกชนในสหรัฐอเมริกาประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง หนี้สินครัวเรือน และหนี้สินส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การก่อหนี้เสีย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อสถานภาพธนาคารในสหรัฐอเมริกาด้วย ปรากฏการณ์เพียงแค่ธนาคารกลางผ่อนปรนลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคาคารกลางลงเท่านั้น เม็ดเงินทั่วโลกก็ได้ทยอยเทขายทรัพย์สินในเงินดอลลาร์สหรัฐไหลไปสู่ทรัพย์สินที่มั่นคงกว่าทันที และทำให้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐอ่อนลงฉับพลันและยังมีแนวโน้มว่าจะเสื่อมค่าอย่างต่อเนื่องด้วย และนั่นทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐถูกเปลี่ยนมาลงทุนหุ้นในภูมิภาคเอเชีย และทำให้ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินสกุลหลายประเทศในเอเชียจึงแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายเพิ่มสัดส่วนทองคำในทุนสำรองระหว่างประเทศติดอันดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นเป็นเป้าหมายในการลงทุนไปด้วย ดัชนีราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทะยานต่อเนื่อง และค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งคือเงินดอลลาร์ที่กำลังเสื่อมค่าถูกนำมาแปลงสภาพผ่านทุนเคลื่อนย้ายสุทธิเข้าในตลาดหุ้น กองทุน หรือพันธบัตรในเอเชีย ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางของประเทศที่เป็นเป้าหมายในการลงทุนกลับยิ่งมีเงินดอลลาร์ในทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้ธนาคารกลางต้องเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินทองคำเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ราคาทองคำจึงมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และเมื่อมีแนวโน้มว่าอิสราเอลจะตั้งเป้าโจมตีทำลายแหล่งปิโตรเลียมอิหร่าน ก็ยิ่งทำให้ราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั่วโลกราคาเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยเพราะธนาคารกลางของหลายประเทศทั่วโลกพยายามจะได้พยายามลดการถือครองพันธบัตร เพื่อหวังจะทำให้การเปลี่ยนสัดส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศจากเงินดอลลาร์สหรัฐให้น้อยลง แล้วเปลี่ยนเป็นสกุลเงินอื่นๆ หรือทองคำนั้นให้มากขึ้นนั้น เป็นการคิดพร้อมๆกันของหลายประเทศทั่วโลก จึงทำให้หลายประเทศไม่สามารถจะเปลี่ยนได้ตามใจชอบ อย่างไรก็ตามประเทศใดมีทุนสำรองระหว่างประเทศที่มีเงินดอลลาร์สหรัฐมากขึ้นเท่าไหร่ ย่อมเท่ากับว่าประเทศนั้นถือครองทรัพย์สินที่อ่อนค่าลงมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สกุลเงินในประเทศที่มีทรัพย์สินเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐด้อยค่าไปด้วยอยู่ดี เมื่อถึงสถานการณ์ที่นโยบายดอกเบี้ยสูงของธนาคารกลางกลายเป็นข้อจำกัด และถูกบีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยลง หากสหรัฐอเมริกาจะยังคงสถานภาพเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อต้องบีบให้ทุกประเทศทั่วโลกมีความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้มากที่สุด สถานการณ์ใกล้ตีบตันแล้ว จึงเหลือหนทางแค่ 2 ทางเท่านั้น หนทางที่หนึ่ง คือ “ก่อสงคราม” เพื่อทำให้ประเทศที่มีสงครามต้องสั่งซื้อ สั่งผลิต อาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐอเมริกาให้มากขึ้น และเมื่ออาวุธ ยุทโธปกรณ์เหล่านี้ขายในรูปของดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นผลทำให้ประเทศคู่ขัดแย้งมีความต้องการเงินดอลลาร์ศหรัฐมากขึ้น การสร้างสถานการณ์เพื่อทำให้เกิดสงครามยังจะเป็นผลทำให้ราคาปิโตรเลียมทั่วโลกราคาสูงขึ้น และทำให้ดึงความมั่งคั่งของโลกมาซื้อทรัพยากรปิโตรเลียมของสหรัฐอเมริกามากขึ้น ตัวอย่างสมรภูมิที่เกิดขึ้นระหว่างยูเครน กับรัสเซีย ชี้ชัดว่าสหรัฐอเมริการสามารถทำกำไรอย่างมหาศาลทั้งจากธุรกิจอาวุธ ยุทโธปกรณ์ และธุรกิจน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการสมรู้ร่วมคิดสนับสนุนอิสราเอลเพื่อก่อสงครามในตะวันออกลาง ก็เพื่อเร่งการซื้ออาวุธ ยุทโธปกรณ์ ให้มากขึ้น อย่างไรก็ตามแสนยานุภาพของมหาอำนาจหลายขั้วอยู่ในระดับที่ไม่แพ้กัน ทำให้การก่อสงครามด้วยสหรัฐอเมริกาเป็นลักษณะของการจำกัดพื้นที่ ”ในประเทศอื่นๆ“ และให้มีความยืดเยื้อ และมีเป้าหมายในการทำลายแหล่งปิโตรเลียมที่ไม่ใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หนทางที่สอง “ก่อโรคระบาดใหม่” เพื่อทำให้ทุกประเทศต้องก่อหนี้สินมหาศาลในการช่วยเหลือประชาชน หากล้มละลาย และยังเป็นการดูดความมั่งคั่งเหล่านี้ไปซื้อวัคซีน และยารักษาโรคจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป หากประเทศเหล่านั้นยากจนเงินไม่เพียงพอ ก็ต้องให้มีการกู้ยืมเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็เป็นหนทางในการบีบให้ต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐในประเทศนั้นๆอยู่ดี และเป็นที่แน่ชัดว่า เมื่อธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินดอลลาร์สหรัฐ ย่อมเท่ากับยอมรับว่าไม่สามารถใช้อัตราดอกเบี้ยสูงในการรักษาการยอมรับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา “แบบสันติวิธี” ได้นานกว่านี้ได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อมูลของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐได้พิสูจน์ว่าสถานการณ์ความขัดแย้งในระดับที่ก่อสงคราม หรือการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลทำให้เกิดการก่อหนี้อันมหาศาลของหลายประเทศนั้น ได้ส่งผลดำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สูงขึ้นอย่างชัดเจน และยังคงเป็นยุทธวิธีที่ดำรงสถานภาพของเงินดอลลาร์สหรัฐได้[4] โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐกำลังลดลงอย่างต่อเนื่อง[4] สถานการณ์นี้เป็นตัวนบีบเงื่อนไขในรักษาเงินดอลลาร์ “มีเวลาน้อยลง” เรื่อยๆ ดังนั้นโลกกำลังเข้าสู่ความเสี่ยงในการเร่งทำสงครามจำกัดพื้นที่แต่ยืดเยื้ออย่างชัดเจนขึ้น โดยมีเป้าหมายในการทำลาายแหล่งปิโตรเลียมของประเทศที่ออกจากการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ แต่หากความเสียหายเกิดขึ้นเกินกว่าที่ประเทศที่ถูกอิสราเอลหรือนาโต้จะรับได้ ทั้งต่อประเทศในตะวันออกกลางคู่ขัดแย้งกับอิสราเอล หรือ การทำสงครามรัสเซียกับยูเครนก็ตาม “ความยืดเยื้อ” ในระหว่างประเทศอาจถูกทำให้ยุติ ได้ด้วยการตอบโต้ที่รุนแรงและเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงในการทำสงครามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ซึ่งเชื่อว่าประเทศมหาอำนาจทั่วโลกพยายามยับยั้งชั่งใจไม่ให้สถานการณ์บานปลายไปสู่สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์​ เพราะหากถึงจุดนั้น ก็เท่ากับสงครามต้อง “หมดยก” และต้องยุติลงด้วยชัยชนะหรือพ่ายแพ้กันไปข้างหนึ่ง และทำให้สงครามเศรษฐกิจที่เพิ่มความต้องการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐต้องยุติลงฉับพลันเช่นกัน เมื่อสถานการณ์การเร่งสถานการณ์สงครามมีความเสี่ยงที่ทุกฝ่ายต้องยับยั้งชั่งใจในมิติการก่อสงคราม จึงเหลืออีกหนทางหนึ่งคือ “การก่อโรคระบาด” ที่อาจจะเป็นหนทางสุดท้ายที่ทำให้ทั่วโลกต้องมาหาเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกามาซื้อวัคซีนหรือยารักษาโรคที่มีราคาแพงจากสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์-เศรษฐกิจเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยควรจะมีผู้นำที่มาชี้นำทางความคิดในการเตรียมตัวในการรับมือกับสถานการณสงครามโลก สงครามโรค ในสงครามความโลภทั้งหลาย โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมทางด้าน ”ความมั่นคงทางพลังงาน, ความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงทางยาสมุนไพรเพื่อการพี่งพาตนเอง“ เอาจริงๆแล้วยังไม่เห็นรัฐบาลเตรียมความพร้อมในเรื่องเหล่านี้เลย ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 4 ตุลาคม 2567 อ้างอิง [1] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Total IMF Credit Outstanding �Movement From September 01, 2024 to October 01 https://www.imf.org/external/np/fin/tad/balmov2.aspx?type=TOTAL [2] INTERNATIONAL MONETARY FUND, Currency Composition of Official Foreign Exchange Reserve (COFER), World allocated Reserves by Currency for 2023 Q2 https://data.imf.org/?sk=e6a5f467-c14b-4aa8-9f6d-5a09ec4e62a4 [3] Peterson G. Foundation, What is the National Debt Today?, https://www.pgpf.org/national-debt-clock?gad_source=1&gbraid=0AAAAABdefgYCJ8Ko6Ivna9fcfHx0Y_lqt&gclid=EAIaIQobChMIhbGExczxiAMVyqpLBR2NuhvEEAAYASAAEgJXjvD_BwE [4] marketwatch, US Dollar Index(DXY) https://www.marketwatch.com/investing/index/dxy
    Like
    Love
    Yay
    86
    7 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 2971 มุมมอง 1 รีวิว
  • ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้

    การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว

    ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว

    น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น

    ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568

    ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้

    ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม

    #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    ไม่ใหม่แต่แปลก เซเว่นฯ สแกนจ่ายได้ การเปิดทดลองชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด My Prompt QR ผ่านร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 480 สาขา หลังเฟซบุ๊ก "ผู้บริโภค" ทดสอบเมื่อเช้าวันที่ 27 ก.ย. 2567 ที่ผ่านมา กลายเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับผู้บริโภค เพราะทราบกันดีว่า ร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอันดับ 1 ในไทย ไม่รับสแกนจ่าย แตกต่างจากร้านสะดวกซื้อรายอื่น อาทิ โลตัสโกเฟรช บิ๊กซีมินิ ซีเจเอ็กซ์เพรส ท็อปส์เดลี่ ลอว์สัน 108 เทอร์เทิล และร้านถุงเงินที่ขายของชำ สแกนจ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคารได้ตั้งนานแล้ว ถึงกระนั้น สาขาที่ใช้บริการได้ ห่างไกลจากจำนวนสาขารวม 14,854 แห่งทั่วประเทศ อีกทั้ง QR Code ที่สแกนจ่าย เป็นบริการ My Prompt QR ที่ให้ร้านค้าสแกนคิวอาร์โค้ดของลูกค้า รองรับเฉพาะแอปพลิเคชัน 5 ธนาคาร ได้แก่ K PLUS (ธนาคารกสิกรไทย) SCB Easy (ธนาคารไทยพาณิชย์) Krungthai NEXT (ธนาคารกรุงไทย) Bangkok Bank (ธนาคารกรุงเทพ) และ KMA (ธนาคารกรุงศรี) ซึ่งที่ผ่านมาได้นำมาใช้กับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ 7-Eleven มาแล้ว น่าเสียดาย เมื่อสอบถามไปยังสำนักบริหารการสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กลับได้รับคำตอบว่า รับทราบข้อมูล "เท่าที่เห็น" ในสื่อสังคมออนไลน์ขณะนี้ เพิ่งเปิดทดลองให้บริการเท่านั้น ปัจจุบัน ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนอกจากรับชำระด้วยเงินสดแล้ว ยังมีแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และ 7-App ทั้งรูปแบบเงินในวอลเล็ต ผูกกับบัตรเครดิต บัญชี My Saving รวมทั้งรับชำระผ่านบัตรเครดิต ขั้นต่ำ 200 บาท และอี-วอลเล็ทจากต่างประเทศ 13 แอปพลิเคชันในเครือข่าย Alipay+ แต่สำหรับบัตร 7-Card หรือบัตรสมาร์ทเพิร์ส ซึ่งใช้มาตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2548 กำลังจะยกเลิกให้บริการ โดยสมาชิกบัตรสามารถใช้เงินภายในบัตรได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 ที่ผ่านมา เซเว่นอีเลฟเว่นเน้นทำการตลาดกับผู้ใช้งาน TrueMoney Wallet เป็นหลัก แต่ไม่มีสแกนจ่าย เมื่อเทียบกับร้านสะดวกซื้อรายอื่น โดยเฉพาะซีเจเอ็กซ์เพรส ของกลุ่มคาราบาวกรุ๊ป กว่า 1,000 สาขา พบว่ามีหลายสาขาเปิดแข่งกัน นอกจากสินค้าราคาถูกกว่าแล้ว ยังสแกนจ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ กลายเป็นข้อเปรียบเทียบกับเซเว่นอีเลฟเว่น ที่กลับไม่มีตรงนี้ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ในปี 2566 มีการโอนเงินและการชำระเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ 19,900 ล้านครั้ง และธุรกรรมการชำระเงินผ่าน QR payment 5,700 ล้านครั้ง ซึ่งโมบายแบงกิ้งมีเจ้าตลาดหลักอย่าง K PLUS ธนาคารกสิกรไทย พบว่าในปี 2566 มีลูกค้าใช้งานมากถึง 21.7 ล้านราย และมีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 9,600 ล้านธุรกรรม #Newskit #เซเว่นอีเลฟเว่น #สแกนจ่าย
    Like
    Haha
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1051 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🔥🔥ความท้าทายของประเทศไทย
    ในภาวะที่เงินบาทแข็งค่าติดอันดับต้นๆของภูมิภาค
    และของโลก ในขณะนี้
    รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีแนวทางอย่างไร
    เพื่อดำเนินการต่อไป ให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่ามากเกินไป
    จนกระทบกับฟันเฟืองที่เป็นวงล้อสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย
    นั่นคือ การส่งออก และ การท่องเที่ยว
    ล่าสุด 26/09/2567 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

    #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    🔥🔥ความท้าทายของประเทศไทย ในภาวะที่เงินบาทแข็งค่าติดอันดับต้นๆของภูมิภาค และของโลก ในขณะนี้ รัฐบาล และ ธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีแนวทางอย่างไร เพื่อดำเนินการต่อไป ให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่ามากเกินไป จนกระทบกับฟันเฟืองที่เป็นวงล้อสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย นั่นคือ การส่งออก และ การท่องเที่ยว ล่าสุด 26/09/2567 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 32.66 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ #หุ้นติดดอย #การลงทุน #thaitimes
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1114 มุมมอง 0 รีวิว