สหกรณ์ออมทรัพย์
อุดมการณ์สหกรณ์
  • 51 คนติดตามเรื่องนี้
  • 4 โพสต์
  • 1 รูปภาพ
  • 1 วิดีโอ
  • 0 รีวิว
  • การศึกษา
อัปเดตล่าสุด
  • มุมมองสมาชิกผู้กู้สหกรณ์ มองเห็น บ้านที่ได้มาจากเงินกู้ ลูกที่ได้เรียนจบเพราะทุนจากเงินกู้ ทั้งบ้านและการศึกษาของลูกนั้น เป็นการออมของเขา และยังมองเห็นด้วยว่า การถือหุ้นสหกรณ์ เป็นการสะสมเงินออมที่แท้จริงของพวกเขา ส่วนเงินฝากสหกรณ์ เป็นภาระต้นทุนที่สหกรณ์ต้องจ่ายเสมอ แม้ว่าสหกรณ์ประสบปัญหาการเงิน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกู้ จึงไม่เหลือเงินมากพอที่จะนำมาฝาก ดังนั้น สมาชิกส่วนน้อยที่ไม่กู้ ฝากอย่างเดียว จึงควรพอใจกับอัตราดอกฝากที่พอเหมาะพอควร ซึ่งไม่ควรเกิน 1 เท่า ของอัตราดอกฝากธนาคาร เพราะส่งผลให้อัตราดอกกู้สูงเกินไป ความจริง สหกรณ์ระดมเงินฝาก เมื่อขาดสภาพคล่องเท่านั้น สถานการณ์ขาดสภาพคล่อง เป็นเพียงระยะสั้น ๆ ไม่เคยเกิน 3-6 เดือน บางครั้งเมื่อขาดสภาพคล่อง สหกรณ์หลายแห่ง หันไปกู้ธนาคาร แม้ว่าอัตราดอกกู้แพง แต่เมื่อสภาพคล่องกลับมา สหกรณ์ก็ส่งใช้คืนธนาคารทันที ทำให้การกู้ธนาคาร เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ในราคาที่ถูกกว่ามาก ถูกกว่าการรับฝากเงินจากสมาชิก ที่เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย เมื่อครบ 12 เดือน หรือ ตลอดไป จนกว่าสมาชิกจะถอนเงินฝากออกไป การระดมเงินฝาก เพื่อวัตถุประสงค์นำเงินไปลงทุนภายนอกสหกรณ์ จึงอาจถูกมองว่า ไม่ใช่อุดมการณ์แท้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และ อาจเป็นการใช้สหกรณ์เป็นเกาะกันชน ความเสี่ยงต่อการลงทุนนั้น โดยตรงด้วยตนเอง นอกจากนี้ ในจำนวนสมาชิกผู้ฝากอย่างเดียว ไม่กู้ เป็นสมาชิกผู้ฝากรายย่อย มากที่สุด (ไม่ใช่สมาชิกผู้ฝากรายใหญ่) สมาชิกผู้ฝากรายย่อย จึงมักถูกอ้างเป็นตัวประกัน ใช้เป็นเหตุผลที่สหกรณ์ไม่ยอมลดอัตราดอกฝาก ทั้ง ๆ ที่สูงกว่าธนาคารหลายเท่า เมื่อกล่าวถึง ธนาคารกับสหกรณ์ เราจะเห็นว่า ธนาคารมีบทบาทในสังคม บริการรับฝากงินของลูกค้า ผู้ฝากที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป ส่วนสหกรณ์เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีฐานะปานกลางลงมา ทั้งนี้ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนแล้ว ระหว่างธนาคารและสหกรณ์ ด้วยการกำหนดภาระภาษีรายได้ ซึ่งสหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้ ไม่เหมือนกับธนาคาร ดังนั้น ใครผู้ใด จึงไม่ควรอย่างยิ่ง ในการใช้ช่องว่างนี้ เอาเปรียบสังคม เอาเปรียบสมาชิกสหกรณ์ผู้กู้ ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากธนาคาร
    มุมมองสมาชิกผู้กู้สหกรณ์ มองเห็น บ้านที่ได้มาจากเงินกู้ ลูกที่ได้เรียนจบเพราะทุนจากเงินกู้ ทั้งบ้านและการศึกษาของลูกนั้น เป็นการออมของเขา และยังมองเห็นด้วยว่า การถือหุ้นสหกรณ์ เป็นการสะสมเงินออมที่แท้จริงของพวกเขา ส่วนเงินฝากสหกรณ์ เป็นภาระต้นทุนที่สหกรณ์ต้องจ่ายเสมอ แม้ว่าสหกรณ์ประสบปัญหาการเงิน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกู้ จึงไม่เหลือเงินมากพอที่จะนำมาฝาก ดังนั้น สมาชิกส่วนน้อยที่ไม่กู้ ฝากอย่างเดียว จึงควรพอใจกับอัตราดอกฝากที่พอเหมาะพอควร ซึ่งไม่ควรเกิน 1 เท่า ของอัตราดอกฝากธนาคาร เพราะส่งผลให้อัตราดอกกู้สูงเกินไป ความจริง สหกรณ์ระดมเงินฝาก เมื่อขาดสภาพคล่องเท่านั้น สถานการณ์ขาดสภาพคล่อง เป็นเพียงระยะสั้น ๆ ไม่เคยเกิน 3-6 เดือน บางครั้งเมื่อขาดสภาพคล่อง สหกรณ์หลายแห่ง หันไปกู้ธนาคาร แม้ว่าอัตราดอกกู้แพง แต่เมื่อสภาพคล่องกลับมา สหกรณ์ก็ส่งใช้คืนธนาคารทันที ทำให้การกู้ธนาคาร เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ในราคาที่ถูกกว่ามาก ถูกกว่าการรับฝากเงินจากสมาชิก ที่เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย เมื่อครบ 12 เดือน หรือ ตลอดไป จนกว่าสมาชิกจะถอนเงินฝากออกไป การระดมเงินฝาก เพื่อวัตถุประสงค์นำเงินไปลงทุนภายนอกสหกรณ์ จึงอาจถูกมองว่า ไม่ใช่อุดมการณ์แท้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และ อาจเป็นการใช้สหกรณ์เป็นเกาะกันชน ความเสี่ยงต่อการลงทุนนั้น โดยตรงด้วยตนเอง นอกจากนี้ ในจำนวนสมาชิกผู้ฝากอย่างเดียว ไม่กู้ เป็นสมาชิกผู้ฝากรายย่อย มากที่สุด (ไม่ใช่สมาชิกผู้ฝากรายใหญ่) สมาชิกผู้ฝากรายย่อย จึงมักถูกอ้างเป็นตัวประกัน ใช้เป็นเหตุผลที่สหกรณ์ไม่ยอมลดอัตราดอกฝาก ทั้ง ๆ ที่สูงกว่าธนาคารหลายเท่า เมื่อกล่าวถึง ธนาคารกับสหกรณ์ เราจะเห็นว่า ธนาคารมีบทบาทในสังคม บริการรับฝากงินของลูกค้า ผู้ฝากที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป ส่วนสหกรณ์เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีฐานะปานกลางลงมา ทั้งนี้ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนแล้ว ระหว่างธนาคารและสหกรณ์ ด้วยการกำหนดภาระภาษีรายได้ ซึ่งสหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้ ไม่เหมือนกับธนาคาร ดังนั้น ใครผู้ใด จึงไม่ควรอย่างยิ่ง ในการใช้ช่องว่างนี้ เอาเปรียบสังคม เอาเปรียบสมาชิกสหกรณ์ผู้กู้ ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากธนาคาร
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 416 มุมมอง 1 0 รีวิว
  • #การสหกรณ์

    อธิบายการสหกรณ์อย่างง่าย ๆ กรณีผู้ใหญ่ 3 คน รวมเงินกันเพื่อจะไปเที่ยวปีใหม่ ที่ชายทะเล หรือภูเขา หรือน้ำตก ก็ได้ เก็บเงินคนละ 1000 บาท ด้วยความสมัครใจ แล้วทั้งสามคนก็ไปเที่ยวชายทะเล ภูเขา หรือน้ำตก ตามที่ต้องการ ไปเที่ยวแล้วได้ความสุข จ่ายค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เมื่อกลับมาแล้วพบว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์สหกรณ์ได้ 3 กรณี

    1. กรณีพอดี กรณีค่าใช้จ่าย ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ พอดีกับเงินที่เก็บไป ทุกคนที่ไปเที่ยวร่วมกัน ได้ความสุข การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง

    2. กรณีมีส่วนเกิน (surplus) ศัพท์คำนี้มีในหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 จ่ายค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้วเงินที่เก็บยังเหลืออยู่ใช้ไม่หมด สมมุติว่าเหลืออยู่ 300 บาท ทุกคนที่ไปได้รับความสุขจากการไปเที่ยวครั้งนี้ ก็นำเงินที่เก็บมาเกินเฉลี่ยคืนคนละ 100 บาท การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง

    3. กรณีมีส่วนขาด (deficit) จ่ายค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่น แล้ว ปรากฏว่า เงินที่เก็บมาไม่พอขาดไป 900 บาท ทุกคนได้รับความสุขจากการมาเที่ยวครั้งนี้ และลงมติว่า จะเก็บเงินเพิ่มอีกคนละ 300 บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากประมาณการค่าใช้จ่ายผิด การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้งสามกรณี ผู้ที่มาร่วมทุน ร่วมแรง ร่วมใจกัน (สมาชิก) ได้รับความสุข จากการบริการของการมาร่วมกัน (การสหกรณ์) อย่างง่าย ๆ

    หากมีคนใจร้าย มาบอกว่า เงิน 300 บาท สำหรับกรณีที่เป็นส่วนเกิน (Surplus) เป็น กำไร (Profit) ซึ่งต้องมุ่งให้เกิดกำไรสูง ๆ จนถึงสูงสุด ก็เกิดปัญหา ไม่ได้รับความสุขจากการแบ่งปันเท่าที่ควร อาจเกิดการขัดแย้ง

    หากมีคนใจร้าย บอกว่า เงิน 900 บาท สำหรับกรณีส่วนขาด (deficit) เป็นขาดทุน (Loss) โดยมุ่งจะไม่ให้เกิดขาดทุน ก็จะไม่ได้รับความสุขจากการร่วมมือกัน

    ความเป็นจริง คือ เงินที่เก็บมาจากความสมัครใจ เพื่อต้องการบริการคือความสุขจากการรวมกันไปเที่ยว สหกรณ์นั้นสมาชิกเป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการ เป็นคน ๆ เดียวกัน ไม่มีกำไร ไม่มีขาดทุน มีส่วนเกิน (Surplus) เฉลี่ยคืน มีส่วนขาด (deficit) ก็เก็บเพิ่ม เพื่อความสุขจากการร่วมมือกัน แบ่งปันกัน และจะมีการประหยัดเนื่องจากระดับขนาดของการรวมกัน (Economies of scale) เช่น ใช้รถคันเดียวแทนที่จะต้องใช้ถึง 3 คัน ในกิจกรรมที่เกิดขึ้น

    สหกรณ์จึงมุ่งที่จะบริการสมาชิก member service ให้เกิดความสุขร่วมกันจากการรวมกัน ด้วยน้ำใจไมตรี

    ตามหลักการสหกรณ์สากลที่สากลโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน จะไม่ใช้คำว่า "profit" หรือ "กำไร" กับสหกรณ์แต่จะใช้คำว่า "surplus" หรือ "ประโยชน์ส่วนเกิน" กับสหกรณ์ จะเห็นได้ชัดเจนจากหลักการสหกรณ์สากล ข้อที่ 3 ด้านล่างนี้

    3rd Principle : Member Economic Participation

    Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership.

    หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก

    สมาชิกสหกรณ์พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใดประการหนึ่ง หรือทั้งหมดจากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ

    บทความ : พีระพงศ์ วาระเสน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ชุมชนออนไลน์ GotoKnow ชุมชนออนไลน์เพื่อจัดการความรู้

    https://www.gotoknow.org/posts/514689

    ภาพประกอบ : facebook แบบโปร์ไฟล์ ชื่อบัญชี Kanharith Khieu
    #การสหกรณ์ อธิบายการสหกรณ์อย่างง่าย ๆ กรณีผู้ใหญ่ 3 คน รวมเงินกันเพื่อจะไปเที่ยวปีใหม่ ที่ชายทะเล หรือภูเขา หรือน้ำตก ก็ได้ เก็บเงินคนละ 1000 บาท ด้วยความสมัครใจ แล้วทั้งสามคนก็ไปเที่ยวชายทะเล ภูเขา หรือน้ำตก ตามที่ต้องการ ไปเที่ยวแล้วได้ความสุข จ่ายค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เมื่อกลับมาแล้วพบว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์สหกรณ์ได้ 3 กรณี 1. กรณีพอดี กรณีค่าใช้จ่าย ค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พักและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ พอดีกับเงินที่เก็บไป ทุกคนที่ไปเที่ยวร่วมกัน ได้ความสุข การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง 2. กรณีมีส่วนเกิน (surplus) ศัพท์คำนี้มีในหลักการสหกรณ์สากลที่ 3 จ่ายค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้วเงินที่เก็บยังเหลืออยู่ใช้ไม่หมด สมมุติว่าเหลืออยู่ 300 บาท ทุกคนที่ไปได้รับความสุขจากการไปเที่ยวครั้งนี้ ก็นำเงินที่เก็บมาเกินเฉลี่ยคืนคนละ 100 บาท การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง 3. กรณีมีส่วนขาด (deficit) จ่ายค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าใช้จ่ายอื่น แล้ว ปรากฏว่า เงินที่เก็บมาไม่พอขาดไป 900 บาท ทุกคนได้รับความสุขจากการมาเที่ยวครั้งนี้ และลงมติว่า จะเก็บเงินเพิ่มอีกคนละ 300 บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่าย เนื่องจากประมาณการค่าใช้จ่ายผิด การสหกรณ์ครั้งนี้ก็จบลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้งสามกรณี ผู้ที่มาร่วมทุน ร่วมแรง ร่วมใจกัน (สมาชิก) ได้รับความสุข จากการบริการของการมาร่วมกัน (การสหกรณ์) อย่างง่าย ๆ หากมีคนใจร้าย มาบอกว่า เงิน 300 บาท สำหรับกรณีที่เป็นส่วนเกิน (Surplus) เป็น กำไร (Profit) ซึ่งต้องมุ่งให้เกิดกำไรสูง ๆ จนถึงสูงสุด ก็เกิดปัญหา ไม่ได้รับความสุขจากการแบ่งปันเท่าที่ควร อาจเกิดการขัดแย้ง หากมีคนใจร้าย บอกว่า เงิน 900 บาท สำหรับกรณีส่วนขาด (deficit) เป็นขาดทุน (Loss) โดยมุ่งจะไม่ให้เกิดขาดทุน ก็จะไม่ได้รับความสุขจากการร่วมมือกัน ความเป็นจริง คือ เงินที่เก็บมาจากความสมัครใจ เพื่อต้องการบริการคือความสุขจากการรวมกันไปเที่ยว สหกรณ์นั้นสมาชิกเป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการ เป็นคน ๆ เดียวกัน ไม่มีกำไร ไม่มีขาดทุน มีส่วนเกิน (Surplus) เฉลี่ยคืน มีส่วนขาด (deficit) ก็เก็บเพิ่ม เพื่อความสุขจากการร่วมมือกัน แบ่งปันกัน และจะมีการประหยัดเนื่องจากระดับขนาดของการรวมกัน (Economies of scale) เช่น ใช้รถคันเดียวแทนที่จะต้องใช้ถึง 3 คัน ในกิจกรรมที่เกิดขึ้น สหกรณ์จึงมุ่งที่จะบริการสมาชิก member service ให้เกิดความสุขร่วมกันจากการรวมกัน ด้วยน้ำใจไมตรี ตามหลักการสหกรณ์สากลที่สากลโลกใช้อยู่ในปัจจุบัน จะไม่ใช้คำว่า "profit" หรือ "กำไร" กับสหกรณ์แต่จะใช้คำว่า "surplus" หรือ "ประโยชน์ส่วนเกิน" กับสหกรณ์ จะเห็นได้ชัดเจนจากหลักการสหกรณ์สากล ข้อที่ 3 ด้านล่างนี้ 3rd Principle : Member Economic Participation Members contribute equitably to, and democratically control, the capital of their co-operative. At least part of that capital is usually the common property of the co-operative. Members usually receive limited compensation, if any, on capital subscribed as a condition of membership. Members allocate surpluses for any or all of the following purposes: developing their co-operative, possibly by setting up reserves, part of which at least would be indivisible; benefiting members in proportion to their transactions with the co-operative; and supporting other activities approved by the membership. หลักการที่ 3 : การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจโดยสมาชิก สมาชิกสหกรณ์พึงมีความเที่ยงธรรมในการให้ และควบคุมการใช้เงินทุนในสหกรณ์ตามแนวทางประชาธิปไตย ทุนของสหกรณ์อย่างน้อยส่วนหนึ่งต้องเป็นทรัพย์สินส่วนร่วมของสหกรณ์ สมาชิกจะได้รับผลตอบแทนสำหรับเงินทุนตามเงื่อนไขแห่งสมาชิกภาพในอัตราที่จำกัด (ถ้ามี) มวลสมาชิกเป็นผู้จัดสรรผลประโยชน์ ส่วนเกินเพื่อจุดมุ่งหมายประการใดประการหนึ่ง หรือทั้งหมดจากดังต่อไปนี้ คือ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์ของตนโดยจัดให้เป็นทุนของสหกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนนี้ต้องนำมาแบ่งปันกัน เพื่อเป็นผลประโยชน์แก่สมาชิกตามส่วนของปริมาณธุรกิจที่ทำกับสหกรณ์ และเพื่อสนับสนุนกิจกรรมอื่นใดที่มวลสมาชิกเห็นชอบ บทความ : พีระพงศ์ วาระเสน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ชุมชนออนไลน์ GotoKnow ชุมชนออนไลน์เพื่อจัดการความรู้ https://www.gotoknow.org/posts/514689 ภาพประกอบ : facebook แบบโปร์ไฟล์ ชื่อบัญชี Kanharith Khieu
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 707 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม