มุมมองสมาชิกผู้กู้สหกรณ์ มองเห็น บ้านที่ได้มาจากเงินกู้ ลูกที่ได้เรียนจบเพราะทุนจากเงินกู้ ทั้งบ้านและการศึกษาของลูกนั้น เป็นการออมของเขา และยังมองเห็นด้วยว่า การถือหุ้นสหกรณ์ เป็นการสะสมเงินออมที่แท้จริงของพวกเขา ส่วนเงินฝากสหกรณ์ เป็นภาระต้นทุนที่สหกรณ์ต้องจ่ายเสมอ แม้ว่าสหกรณ์ประสบปัญหาการเงิน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกู้ จึงไม่เหลือเงินมากพอที่จะนำมาฝาก ดังนั้น สมาชิกส่วนน้อยที่ไม่กู้ ฝากอย่างเดียว จึงควรพอใจกับอัตราดอกฝากที่พอเหมาะพอควร ซึ่งไม่ควรเกิน 1 เท่า ของอัตราดอกฝากธนาคาร เพราะส่งผลให้อัตราดอกกู้สูงเกินไป ความจริง สหกรณ์ระดมเงินฝาก เมื่อขาดสภาพคล่องเท่านั้น สถานการณ์ขาดสภาพคล่อง เป็นเพียงระยะสั้น ๆ ไม่เคยเกิน 3-6 เดือน บางครั้งเมื่อขาดสภาพคล่อง สหกรณ์หลายแห่ง หันไปกู้ธนาคาร แม้ว่าอัตราดอกกู้แพง แต่เมื่อสภาพคล่องกลับมา สหกรณ์ก็ส่งใช้คืนธนาคารทันที ทำให้การกู้ธนาคาร เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ในราคาที่ถูกกว่ามาก ถูกกว่าการรับฝากเงินจากสมาชิก ที่เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย เมื่อครบ 12 เดือน หรือ ตลอดไป จนกว่าสมาชิกจะถอนเงินฝากออกไป การระดมเงินฝาก เพื่อวัตถุประสงค์นำเงินไปลงทุนภายนอกสหกรณ์ จึงอาจถูกมองว่า ไม่ใช่อุดมการณ์แท้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และ อาจเป็นการใช้สหกรณ์เป็นเกาะกันชน ความเสี่ยงต่อการลงทุนนั้น โดยตรงด้วยตนเอง นอกจากนี้ ในจำนวนสมาชิกผู้ฝากอย่างเดียว ไม่กู้ เป็นสมาชิกผู้ฝากรายย่อย มากที่สุด (ไม่ใช่สมาชิกผู้ฝากรายใหญ่) สมาชิกผู้ฝากรายย่อย จึงมักถูกอ้างเป็นตัวประกัน ใช้เป็นเหตุผลที่สหกรณ์ไม่ยอมลดอัตราดอกฝาก ทั้ง ๆ ที่สูงกว่าธนาคารหลายเท่า เมื่อกล่าวถึง ธนาคารกับสหกรณ์ เราจะเห็นว่า ธนาคารมีบทบาทในสังคม บริการรับฝากงินของลูกค้า ผู้ฝากที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป ส่วนสหกรณ์เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีฐานะปานกลางลงมา ทั้งนี้ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนแล้ว ระหว่างธนาคารและสหกรณ์ ด้วยการกำหนดภาระภาษีรายได้ ซึ่งสหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้ ไม่เหมือนกับธนาคาร ดังนั้น ใครผู้ใด จึงไม่ควรอย่างยิ่ง ในการใช้ช่องว่างนี้ เอาเปรียบสังคม เอาเปรียบสมาชิกสหกรณ์ผู้กู้ ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากธนาคาร
มุมมองสมาชิกผู้กู้สหกรณ์ มองเห็น บ้านที่ได้มาจากเงินกู้ ลูกที่ได้เรียนจบเพราะทุนจากเงินกู้ ทั้งบ้านและการศึกษาของลูกนั้น เป็นการออมของเขา และยังมองเห็นด้วยว่า การถือหุ้นสหกรณ์ เป็นการสะสมเงินออมที่แท้จริงของพวกเขา ส่วนเงินฝากสหกรณ์ เป็นภาระต้นทุนที่สหกรณ์ต้องจ่ายเสมอ แม้ว่าสหกรณ์ประสบปัญหาการเงิน เนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกู้ จึงไม่เหลือเงินมากพอที่จะนำมาฝาก ดังนั้น สมาชิกส่วนน้อยที่ไม่กู้ ฝากอย่างเดียว จึงควรพอใจกับอัตราดอกฝากที่พอเหมาะพอควร ซึ่งไม่ควรเกิน 1 เท่า ของอัตราดอกฝากธนาคาร เพราะส่งผลให้อัตราดอกกู้สูงเกินไป ความจริง สหกรณ์ระดมเงินฝาก เมื่อขาดสภาพคล่องเท่านั้น สถานการณ์ขาดสภาพคล่อง เป็นเพียงระยะสั้น ๆ ไม่เคยเกิน 3-6 เดือน บางครั้งเมื่อขาดสภาพคล่อง สหกรณ์หลายแห่ง หันไปกู้ธนาคาร แม้ว่าอัตราดอกกู้แพง แต่เมื่อสภาพคล่องกลับมา สหกรณ์ก็ส่งใช้คืนธนาคารทันที ทำให้การกู้ธนาคาร เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ในราคาที่ถูกกว่ามาก ถูกกว่าการรับฝากเงินจากสมาชิก ที่เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย เมื่อครบ 12 เดือน หรือ ตลอดไป จนกว่าสมาชิกจะถอนเงินฝากออกไป การระดมเงินฝาก เพื่อวัตถุประสงค์นำเงินไปลงทุนภายนอกสหกรณ์ จึงอาจถูกมองว่า ไม่ใช่อุดมการณ์แท้ของสหกรณ์ออมทรัพย์ และ อาจเป็นการใช้สหกรณ์เป็นเกาะกันชน ความเสี่ยงต่อการลงทุนนั้น โดยตรงด้วยตนเอง นอกจากนี้ ในจำนวนสมาชิกผู้ฝากอย่างเดียว ไม่กู้ เป็นสมาชิกผู้ฝากรายย่อย มากที่สุด (ไม่ใช่สมาชิกผู้ฝากรายใหญ่) สมาชิกผู้ฝากรายย่อย จึงมักถูกอ้างเป็นตัวประกัน ใช้เป็นเหตุผลที่สหกรณ์ไม่ยอมลดอัตราดอกฝาก ทั้ง ๆ ที่สูงกว่าธนาคารหลายเท่า เมื่อกล่าวถึง ธนาคารกับสหกรณ์ เราจะเห็นว่า ธนาคารมีบทบาทในสังคม บริการรับฝากงินของลูกค้า ผู้ฝากที่มีฐานะปานกลางขึ้นไป ส่วนสหกรณ์เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีฐานะปานกลางลงมา ทั้งนี้ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แบ่งแยกหน้าที่ชัดเจนแล้ว ระหว่างธนาคารและสหกรณ์ ด้วยการกำหนดภาระภาษีรายได้ ซึ่งสหกรณ์เป็นองค์กรที่ไม่ต้องเสียภาษีรายได้ ไม่เหมือนกับธนาคาร ดังนั้น ใครผู้ใด จึงไม่ควรอย่างยิ่ง ในการใช้ช่องว่างนี้ เอาเปรียบสังคม เอาเปรียบสมาชิกสหกรณ์ผู้กู้ ที่เข้าไม่ถึงแหล่งทุนจากธนาคาร
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
419 มุมมอง
1
0 รีวิว