• วิธีหยุดจ่ายขั้นต่ำหนี้บัตรเครดิต
    วิธีหยุดจ่ายขั้นต่ำหนี้บัตรเครดิต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 245 มุมมอง 2 0 รีวิว
  • ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน

    น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน

    ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น

    ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568

    อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ

    เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ

    สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล

    #Newskit
    ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568 อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 606 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย"

    การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน

    ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น

    ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า

    แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ

    เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด

    สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น

    ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว

    ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน

    แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ

    เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท

    #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ผ่อนปรนจ่ายขั้นต่ำ 8% ลูกหนี้ "ดีที่ไม่ตาย" การตัดสินใจผ่อนปรนอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต (Minimum Pay) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ให้ยังคงที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จากเดิมวันที่ 1 มกราคม 2568 ต้องเข้าสู่เกณฑ์ปกติ 10% ในมุมมองลูกหนี้ถือว่า "ดีที่ไม่ตาย" หลังสถาบันการเงินปรับอัตราจากเดิม 5% ขึ้นเป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 ทำเอาลูกหนี้แทบปรับตัวไม่ทัน ยกตัวอย่างแบบกลมๆ วงเงินบัตรเครดิต 100,000 บาท ใช้เต็มวงเงิน ช่วงโควิด-19 จ่ายขั้นต่ำลดลงมาเหลือประมาณ 5,000 บาท ก่อนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,000 บาทในปัจจุบัน หากยังคงมาตรการเดิมต่อไป ต้องจ่ายขั้นต่ำสูงถึงประมาณ 10,000 บาท ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูงขึ้น รายได้ไม่ฟื้นตัว กำลังซื้อลดลง ส่งผลกระทบทำให้ชำระหนี้ได้ลำบากขึ้น ย้อนกลับไปในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน แบงก์ชาติขอความร่วมมือสถาบันการเงินต่างๆ พิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ หนึ่งในนั้นคือปรับลดอัตราผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% ตั้งแต่ปี 2563 ถึงสิ้นปี 2566 ก่อนขยับมาเป็น 8% ในปีนี้ และมีแผนกลับสู่เกณฑ์ปกติในปีหน้า แม้กระทรวงสาธารณสุขประกาศยกเลิกโควิด-19 เป็นโรคอันตรายตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2565 เป็นต้นมา ประชาชนทั้งประเทศได้รับวัคซีนมากกว่า 70% แต่เศรษฐกิจไทยยังคงซบเซาแม้จะเปลี่ยนรัฐบาล ค่าครองชีพสูงขึ้น ซ้ำด้วยปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง สินเชื่อบางประเภทที่หยุดเฉพาะเงินต้น แต่ไม่หยุดดอกเบี้ย คนที่เคยเจ็บตัวจากโควิด-19 แทบไม่ฟื้นเป็นปกติ เมื่อสถาบันการเงินเลิกใจดีกับผู้ถือบัตรเครดิต ที่มีมากถึง 26 ล้านใบ ปรับอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจากเดิม 5% เป็น 8% ในขณะที่ประชาชนซึ่งบาดเจ็บทางการเงินจากโควิด-19 ยังไม่หายดี หนำซ้ำแบงก์ชาติยังมองโลกสวย คิดว่าส่งผลดีต่อลูกหนี้ปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ผลก็คือผู้ที่เคยจ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่ส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน จ่ายกันกระอักเลือด สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ถึงกับบอกว่า แค่ไตรมาสแรกของปี 2567 หนี้เสียเพิ่มขึ้นถึง 14.6% เป็น 6.4 หมื่นล้านบาท แถมหนี้ที่ต้องจับตาส่อจะเป็นหนี้เสียเพิ่มขึ้นอีก 32.4% เป็น 1.2 หมื่นล้านบาท เมื่อส่องที่มาพบว่ามีแต่คนเจนวาย (เกิดปี 2524-2539) แบกหนี้กันหลังแอ่น ขณะที่แบงก์ชาติกลับออกแคมเปญโลกสวยอย่าง "มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง" ให้สถาบันการเงินเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี โดยต้องแลกกับการต้องปิดวงเงินของสินเชื่อที่เข้าร่วม เหลือเพียงแค่วงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ทั้งที่ประชาชนยังเจ็บตัวไม่หาย และเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว ที่ผ่านมามีความพยายามจากรัฐบาล เฉกเช่นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน เป็นประธาน มีข้อห่วงใยขอให้แบงก์ชาติพิจารณาปรับลดอัตราการชำระคืนขั้นต่ำบัตรเครดิตกลับมาที่ 5% เนื่องจากขณะนี้เป็นภาวะที่ประชาชนกำลังยากลำบาก เรื่องวินัยทางการเงินค่อยกลับมาแก้ไขอีกครั้ง นำไปสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน แต่สุดท้ายแบงก์ชาติเลือกที่จะใช้มาตรการผ่อนปรน 8% ยาวไปถึงปีหน้า ไม่ได้ปรับลดเหลือ 5% ตามที่นายกรัฐมนตรีร้องขอ เป็นอีกหนึ่งความเห็นต่างและรอยร้าว ระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลเศรษฐา ไม่ต่างจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่แบงก์ชาติคัดค้านตั้งแต่ต้น และยังนับเป็นก้าวที่พลาดของแบงก์ชาติ ที่ดำเนินมาตรการโลกสวย แต่ไม่ดูความเป็นจริงว่า ประชาชนกำลังเผชิญกับอะไรอยู่ ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ชั้นนำโชว์ผลประกอบการ ด้วยกำไรหลักหมื่นล้านบาท #Newskit #หนี้บัตรเครดิต #ธนาคารแห่งประเทศไทย
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 938 มุมมอง 0 รีวิว